สักกายทิฏฐิ ๒๐

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย งูๆปลาๆ, 21 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    สักกายทิฏฐิ ๒๐

    จะได้แสดงคำว่าสักกายทิฏฐิ ความเห็นว่ากายของตน คำนี้แสดงเป็นสังโยชน์ข้อที่ ๑
    ในสังโยชน์ ๑๐ ได้มีคำอธิบายที่เป็นพระพุทธาธิบายในที่ทั้งปวงว่า

    สักกายทิฏฐิ ๒๐ ก็คือทิฏฐิความเห็นว่ากายของตนในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ นั้นก็ได้แก่

    รูปขันธ์ กองรูป
    เวทนาขันธ์ กองเวทนา
    สัญญาขันธ์ กองสัญญา
    สังขารขันธ์ กองสังขาร
    วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ


    เป็น ๒๐ อย่างไร ก็คือ
    เห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นตน คือ
    เห็นว่า รูปเป็นตน
    เวทนาเป็นตน
    สัญญาเป็นตน
    สังขารเป็นตน
    วิญญาณเป็นตน
    ก็ได้ ๕ ข้อ
    เห็นว่าตนมีขันธ์ ๕ คือเห็นว่า
    ตนมีรูป
    ตนมีเวทนา
    ตนมีสัญญา
    ตนมีสังขาร
    ตนมีวิญญาณ
    ก็ได้อีก ๕
    เห็นขันธ์ ๕ ในตน คือ
    เห็นรูปในตน
    เห็นเวทนาในตน
    เห็นสัญญาในตน
    เห็นสังขารในตน
    เห็นวิญญาณในตน
    ก็เป็นอีก ๕
    เห็นตนในขันธ์ ๕ คือ
    เห็นตนในรูป
    เห็นตนในเวทนา
    เห็นตนในสัญญา
    เห็นตนในสังขาร
    เห็นตนในวิญญาณ
    ก็เป็นอีก ๕

    ห้าสี่หนก็เป็น ๒๐ จึงเรียกว่าสักกายทิฏฐิ ๒๐ ความเห็นว่ากายของตน ๒๐

    อ้างอิง
    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    วัดบวรนิเวศวิหาร
    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต
     
  2. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    จิตเห็นจิต แต่ยังยึดจิตก้เป็นเช่นนั้นแล
    ท่าเห็นว่าเวทนาเป็นตนก้ยึดเวทนาไว้ไม่ปล่อยเวทนาไป
    เห็นว่าจิตเป็นตนก้คิดว่าตนเองนี่แหละเห็น ยึดตัวตนไว้อีกเช่นกันวางสิ่งที่เห็นแต่ยึดว่าตนดู
    ความปรุงแต่งทั้งหลาย สังขารไม่ใช่ตน และอย่าเห็นตนในสังขาร
     
  3. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    สักกายทิฏฐิ

    พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เราจักแสดงปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึง สักกายสมุทัย (ความเกิดขึ้น แห่งกายตน)
    และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงสักกายนิโรธ (ความดับ แห่งกายตน)

    เธอทั้งหลาย จงฟังปฏิปทาทั้ง ๒ นั้น.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันจะยังสัตว์ ให้ถึงสักกายสมุทัยเป็นไฉน?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็น พระอริยเจ้าทั้งหลาย
    ไม่ฉลาดในธรรมแห่งพระอริยะ มิได้รับการแนะนำในอริยธรรม
    ไม่ได้เห็น สัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในสัปปุริสธรรมย่อมตาม

    เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ (มีความคิดเห็นว่า รูปขันธ์หรือกาย อันเป็นสังขารสิ่งถูกปรุงแต่งขึ้น ว่ามีตัวตนแท้จริงหรือถาวร)
    ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ (เพราะเห็นว่า มีตัวตนจริง จึงมีรูปขันธ์หรือสังขารร่างกายขึ้น จึงเที่ยงแท้เพราะเหตุปัจจัย หรือปฏิสนธิวิญญาณ จึงเที่ยงแท้คงทน โดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา)

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอันจะยังสัตว์ ให้ถึงสักกายสมุทัย.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำที่กล่าวแล้วนี้ เรียกว่า การตามเห็นอันจะยังสัตว์ ให้ถึงทุกขสมุทัย (ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์) นี้แล เป็นใจความข้อนี้.

    [๙๐]สักกายนิโรธเป็นไฉน?

    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในศาสนานี้ ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย
    ฉลาดในธรรม ของพระอริยะ ได้รับการแนะนำดีแล้วในอริยธรรม
    ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม

    ย่อมไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นตน๑
    ย่อมไม่ตามเห็นตนมีรูป๑
    ย่อมไม่ตามเห็นรูปในตน๑
    ย่อมไม่ตามเห็นตนในรูป๑


    ไม่ตามเห็นเวทนาโดย ความเป็นตน.... ฯลฯ
    ไม่ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน.... ฯลฯ
    ไม่ตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน.... ฯลฯ

    ไม่ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน๑
    ไม่ตามเห็นตนมีวิญญาณ๑
    ไม่ตามเห็นวิญญาณใน ตน๑
    ไม่ตามเห็นตนในวิญญาณ๑.


    (กล่าวคือ มีความเห็นความเข้าใจที่ถูกต้องว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือขันธ์ ๕ ล้วนไม่ใช่ตัวตน เกิดแต่เหตุปัจจัยหรือเป็นไปตามสักกายนิโรธ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำที่กล่าวแล้วนี้ เรียกว่า การพิจารณาเห็นอันจะยังสัตว์ให้ ถึงทุกขนิโรธ นี้แล เป็นใจความในข้อนี้.

    ที่มา http://www.nkgen.com/786.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2018
  4. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
  5. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
    ธรรมสังคณีปกรณ์

    [​IMG]
    [​IMG][๖๗๑] บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน?
    ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
    ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า
    ไม่ได้เห็นสัตบุรุษไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อม

    เห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป
    เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป
    ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน หรือเห็นตนมีเวทนา
    เห็นเวทนาในตน เห็นตนในเวทนา
    ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน หรือเห็นตนมีสัญญา
    เห็นสัญญาในตน เห็นตนในสัญญา
    ย่อมเห็นสังขารเป็นตน หรือเห็นตนมีสังขาร
    เห็นสังขารในตน เห็นตนในสังขาร
    ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ
    เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ


    ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิ เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ.


    [๖๗๒] วิจิกิจฉา เป็นไฉน?
    ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัย
    ในพระศาสดา
    ในพระธรรม
    ในพระสงฆ์
    ในสิกขา ในส่วนอดีต
    ในส่วนอนาคต
    ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต
    ในปฏิจจสมุปปาทธรรมที่ว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น
    การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง
    ความเคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่างๆ นานา
    ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่
    ความเห็นเหมือนทางแพร่ง
    ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้
    ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป
    ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้
    ความกระด้างแห่งจิต
    ความลังเลใจ อันใด
    นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.


    [๖๗๓] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน?
    ความเห็นว่า
    ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต
    ด้วยศีลพรตของสมณพราหมณ์ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้
    ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ
    ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ
    ความผันแปรแห่งทิฏฐิ
    สัญโญชน์คือทิฏฐิ
    ความยึดถือ ความยึดมั่น
    ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด
    ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ
    การถือโดยวิปลาส อันมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด
    นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส.


    [๖๗๔] สัญโญชน์ ๓ นี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น
    , เวทนา-ขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ๓ นั้น,
    กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีสัญโญชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน
    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.


    ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน?
    โลภะ โทสะ โมหะ ที่เหลือ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะ
    นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะ นั้น, กายกรรม
    วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
    ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ

    ธรรมอันโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ เป็นไฉน?
    กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ
    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม-
    *อันโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ.

    [๖๗๕] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุ อันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน?
    สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
    บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน ฯลฯ นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ.
    วิจิกิจฉา เป็นไฉน ฯลฯ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา
    สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน ฯลฯ นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส.
    สัญโญชน์ ๓ นี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ

    วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ๓ นั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมี
    สัญโญชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรค-
    *ประหาณ.

    สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
    ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ, โลภะ โทสะ โมหะ ที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น
    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ ส่วนกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียว
    กันกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ
    โทสะ โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมี โลภะ โทสะ โมหะ นั้น เป็น
    สมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.

    ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน?
    โลภะ โทสะ โมหะ ที่เหลือ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรค
    เบื้องบน ๓ ประหาณ, กิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ เวทนาขันธ์ ฯลฯ
    วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
    อันมี โลภะ โทสะ โมหะ นั้น เป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุ
    อันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ.

    ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณเป็นไฉน?
    เว้นธรรมนั้น กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร
    รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์,
    รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรค
    และมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ.


    [๖๗๖] ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ เป็นไฉน?
    กุศลธรรมและอกุศลธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร
    คือเวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ.

    ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน?
    มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน.
    ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ และไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน?
    วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็น กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ
    คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, ธรรมเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่
    กรรมวิบาก, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ
    และไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน.

    [๖๗๗] ธรรมเป็นของเสกขบุคคล เป็นไฉน?
    มรรคที่เป็นโลกุตตระทั้ง ๔ และสามัญญผลเบื้องต่ำ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
    เป็นของเสกขบุคคล.

    ธรรมเป็นของอเสกขบุคคล เป็นไฉน?
    อรหัตตผลเบื้องสูง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นของอเสกขบุคคล.
    ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคล และไม่เป็นของอเสกขบุคคล เป็นไฉน?
    เว้นธรรมคือมรรค ๔ ผล ๔ เหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม
    ที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือเวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด
    และอสังขตธาตุ สภาวะธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคลและไม่เป็นของอเสกข-
    *บุคคล.

    [๖๗๘] ธรรมเป็นปริตตะ เป็นไฉน?
    กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจรทั้งหมด คือ รูปขันธ์ ฯลฯ
    วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นปริตตะ.

    ธรรมเป็นมหัคคตะ เป็นไฉน?
    กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ
    วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นมหัคคตะ.

    ธรรมเป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน?
    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
    เป็นอัปปมาณะ.

    [๖๗๙] ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เป็นไฉน?
    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภปริตตธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
    ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ.

    ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ เป็นไฉน?
    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภมหัคคตธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
    ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ.

    ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน?
    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภอัปปมาณธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
    ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ.

    [๖๘๐] ธรรมทราม เป็นไฉน?
    อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ กิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ โลภะ โทสะ
    โมหะนั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะนั้น, กายกรรม
    วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
    ธรรมทราม.

    ธรรมปานกลาง เป็นไฉน?
    กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร
    คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมปานกลาง.

    ธรรมประณีต เป็นไฉน?
    มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
    ธรรมประณีต.

    [๖๘๑] ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน?
    อนันตริยกรรม ๕ และนิยตมิจฉาทิฏฐิ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะ
    และให้ผลแน่นอน.

    ธรรมเป็นสัมมาสภาวะและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน?
    มรรคที่เป็นโลกุตตระทั้ง ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นสัมมาสภาวะและให้ผล
    แน่นอน.

    ธรรมให้ผลไม่แน่นอน เป็นไฉน?
    เว้นธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมที่เหลือที่เป็นกามาวจร
    รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และ
    อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมให้ผลไม่แน่นอน.

    [๖๘๒] ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์ เป็นไฉน?
    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภอริยมรรคเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
    มีมรรคเป็นอารมณ์.

    ธรรมมีเหตุคือมรรค เป็นไฉน?
    เว้นองค์แห่งมรรคเสีย เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยองค์แห่งมรรค
    นั้น ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุคือมรรค.
    สัมมาทิฏฐิของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เป็นมรรคด้วย เป็นเหตุด้วย, เว้นสัมมา-
    *ทิฏฐิเสีย เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐินั้น สภาวธรรมเหล่านี้
    ชื่อว่า ธรรมมีเหตุคือมรรค.
    อโลภะ อโทสะ อโมหะ ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
    เหตุคือมรรค, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ นั้น
    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุคือมรรค.

    ธรรมมีมรรคเป็นอธิบดี เป็นไฉน?
    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ทำอริยมรรคให้เป็นอธิบดีเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้
    ชื่อว่า ธรรมมีมรรคเป็นอธิบดี.
    เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคที่กำลังเจริญมรรค
    มีวิมังสาเป็นอธิบดี อันสัมปยุตด้วยวิมังสานั้น เว้นวิมังสาเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
    มีมรรคเป็นอธิบดี.

    ๖๘๓] ธรรมเกิดขึ้นแล้ว เป็นไฉน?
    ธรรมเหล่าใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว
    ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว เกิดขึ้นแล้ว
    สงเคราะห์ด้วยส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้
    ชื่อว่า ธรรมเกิดขึ้นแล้ว.

    ธรรมยังไม่เกิดขึ้น เป็นไฉน?
    ธรรมเหล่าใด ยังไม่เกิดแล้ว ยังไม่เป็นแล้ว ยังไม่เกิดพร้อมแล้ว ยังไม่บังเกิดแล้ว
    ยังไม่บังเกิดเฉพาะแล้ว ยังไม่ปรากฏแล้ว ยังไม่เกิดขึ้นแล้ว ยังไม่เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ยังไม่
    ตั้งขึ้นแล้ว ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ยังไม่เกิดขึ้นแล้ว สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ยังไม่เกิดขึ้น คือ
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมยังไม่เกิดขึ้น.

    ธรรมจักเกิดขึ้น เป็นไฉน?
    วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่ยังไม่ให้ผล เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร
    โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และรูปซึ่งจักเกิดขึ้นเพราะกรรมแต่ง สภาวธรรม
    เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมจักเกิดขึ้น.

    [๖๘๔] ธรรมเป็นอดีต เป็นไฉน?
    ธรรมเหล่าใด ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว อัสดงคตแล้ว
    ถึงความดับสูญแล้ว เกิดขึ้นแล้วปราศไป ล่วงไป สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ล่วงไปแล้ว คือ รูป
    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอดีต.

    ธรรมเป็นอนาคต เป็นไฉน?
    ธรรมเหล่าใด ยังไม่เกิดแล้ว ยังไม่เป็นแล้ว ยังไม่เกิดพร้อมแล้ว ยังไม่บังเกิดแล้ว
    ยังไม่บังเกิดเฉพาะแล้ว ยังไม่ปรากฏแล้ว ยังไม่เกิดขึ้นแล้ว ยังไม่เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ยังไม่
    ตั้งขึ้นแล้ว ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ยังไม่มาถึง สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ยังไม่มาถึง คือ รูป
    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอนาคต.

    ธรรมเป็นปัจจุบัน เป็นไฉน?
    ธรรมเหล่าใด ซึ่งเกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว
    ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว เกิดขึ้นเฉพาะแล้ว
    สงเคราะห์ด้วยส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะแล้ว คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรม
    เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นปัจจุบัน.

    [๖๘๕] ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต เป็นไฉน?
    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภอดีตธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
    มีอารมณ์เป็นอดีต.

    ธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคต เป็นไฉน?
    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภอนาคตธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
    ธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคต.

    ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน?
    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภปัจจุบันธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
    ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน.

    [๖๘๖] ธรรมเป็นภายใน เป็นไฉน?
    ธรรมเหล่าใด เป็นภายใน เป็นเฉพาะตน เกิดแก่ตน เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคล
    เป็นอุปาทินนะ ของสัตว์นั้นๆ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้
    ชื่อว่า ธรรมเป็นภายใน.

    ธรรมเป็นภายนอก เป็นไฉน?
    ธรรมเหล่าใด เป็นภายใน เป็นเฉพาะตน เกิดแก่ตน เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคล
    เป็นอุปาทินนะ ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้นๆ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นภายนอก.

    ธรรมเป็นภายในและเป็นภายนอก เป็นไฉน?
    ธรรมทั้ง ๒ ประเภทนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นภายในและเป็นภายนอก.

    [๖๘๗] ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน เป็นไฉน?
    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภธรรมเป็นภายในเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
    ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน.

    ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก เป็นไฉน?
    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภธรรมเป็นภายนอกเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้
    ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก.

    ธรรมมีอารมณ์เป็นภายในและเป็นภายนอก เป็นไฉน?
    ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภธรรมเป็นภายใน ธรรมเป็นภายนอกเกิดขึ้น
    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นภายในและเป็นภายนอก.

    [๖๘๘] ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ เป็นไฉน?
    รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้.

    ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เป็นไฉน?
    จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ
    รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้.

    ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ เป็นไฉน?
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์, รูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้ ซึ่ง
    นับเนื่องในธัมมายตนะ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบ
    ไม่ได้.
    ติกะ จบ
     
  6. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    เห็นบางท่านนั้นมีสักกายทิฐิอยุ่อยากให้ท่านได้พิจารณาสักกายทิฐินั้นดู
     
  7. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    สัมมาทิฏฐิ ๑๐
    ความรู้จักสักกายทิฏฐิ
    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    วัดบวรนิเวศวิหาร
    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
    อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุก ๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

    ได้แสดงอัตตวาทุปาทาน และได้กล่าวถึงศัพท์ธรรมะ ที่หมายถึงอุปาทานบางคำ เช่น สักกายทิฏฐิ ความเห็นยึดถือกายของตน แต่ว่าตามศัพท์ว่าสักกายทิฏฐิ ไม่มีคำว่ายึดถืออยู่ มีแต่คำว่าความเห็น ความเห็นว่ากายของตน แต่เมื่อแปลโดยความก็มักจะเติมคำว่ายึดถือเข้าด้วย กับคำว่า อัตตานุทิฏฐิ ความตามเห็นว่าอัตตาตัวตน กับอีกคำหนึ่ง มานะ ความสำคัญหมาย อย่างละเอียดก็คือ อัสมิมานะ ความสำคัญหมายว่าเรามีเราเป็น บางแห่งก็เรียกด้วยถ้อยคำที่ยาวว่า อัสมิมานะทิฏฐิมานะและทิฏฐิว่าเรามีเราเป็น

    สักกายทิฏฐิ ๒๐

    จะได้แสดงคำว่าสักกายทิฏฐิ ความเห็นว่ากายของตน คำนี้แสดงเป็นสังโยชน์ข้อที่ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐ ได้มีคำอธิบายที่เป็นพระพุทธาธิบายในที่ทั้งปวงว่า สักกายทิฏฐิ ๒๐ ก็คือทิฏฐิความเห็นว่ากายของตนในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ นั้นก็ได้แก่ รูปขันธ์ กองรูป เวทนาขันธ์ กองเวทนา สัญญาขันธ์ กองสัญญา สังขารขันธ์ กองสังขาร วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ

    เป็น ๒๐ อย่างไร ก็คือ เห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นตน คือเห็นว่า รูปเป็นตน เวทนาเป็นตน สัญญาเป็นตน สังขารเป็นตน วิญญาณเป็นตน ก็ได้ ๕ ข้อ เห็นว่าตนมีขันธ์ ๕ คือเห็นว่า ตนมีรูป ตนมีเวทนา ตนมีสัญญา ตนมีสังขาร ตนมีวิญญาณ ก็ได้อีก ๕ เห็นขันธ์ ๕ ในตน คือเห็นรูปในตน เห็นเวทนาในตน เห็นสัญญาในตน เห็นสังขารในตน เห็นวิญญาณในตน ก็เป็นอีก ๕ เห็นตนในขันธ์ ๕ คือเห็นตนในรูป เห็นตนในเวทนา เห็นตนในสัญญา เห็นตนในสังขาร เห็นตนในวิญญาณ ก็เป็นอีก ๕ ห้าสี่หนก็เป็น ๒๐ จึงเรียกว่าสักกายทิฏฐิ ๒๐ ความเห็นว่ากายของตน ๒๐

    พระโสดาบัน

    สักกายทิฏฐินี้ที่แสดงเป็นสังโยชน์ก็แสดงว่า พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้างต้นได้ ก็คือละ สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่ากายของตน วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงสงสัยในพระรัตนตรัยเป็นต้น สีลัพพตปรามาส ความลูบคลำยึดถือศีลและวัตร พระโสดาบันนั้นเป็นอริยะบุคคลขั้นที่ ๑ ซึ่งแสดงว่าเป็นผู้ที่ไม่ตกต่ำ ไม่ไปเกิดในอบาย คือไม่ไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเปรต เป็นอสุรกายต่าง ๆ และจะท่องเที่ยวเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในมนุษย์ในเทพซึ่งเป็นสุคติ ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง ก็จะบรรลุถึงมรรคผลขั้นสูงสุด เป็นพระอรหันต์ขีณาสพสิ้นชาติสิ้นภพ คือจะท่องเที่ยวเวียนเกิดเวียนตายอยู่ต่อไปอีก ก็ท่องเที่ยวเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในสุคติภพทั้งหลาย และจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ขีณาสพภายใน ๗ ชาติเป็นอย่างมาก ไม่เกิน ๗ ชาติไป

    โสดาบันบุคคลในครั้งพุทธกาล

    และโสดาบันบุคคลนี้ ในครั้งพุทธกาลที่แสดงไว้ ก็มีคฤหัสถ์บรรลุเป็นอันมาก และก็ยังเป็นผู้ครองเรือน มีภรรยา มีสามี เหมือนอย่างชาวบ้านทั้งหลาย เพราะยังมีกามราคะ มีปฏิฆะ ยังละไม่ได้ เพราะฉะนั้น สักกายทิฏฐิที่ละได้นั้น จึงไม่หมายถึงว่าละอุปาทานได้ทั้งหมด และสักกายทิฏฐินั้นหากหมายถึงอุปาทาน ก็หมายถึงอุปาทานที่เป็นขั้นแรก หรือเป็นขั้นต่ำ ซึ่งเมื่อละได้ก็ทำให้ไม่ละเมิดศีล ๕ ไม่มีอกุศลมูล คือ โลภ โกรธ หลง อย่างแรง อันเป็นเหตุให้ละเมิดศีล ๕ อันจะนำให้ไปอบาย แต่ก็ยังมีอุปาทานที่เป็นขั้นละเอียด ซึ่งจะต้องละต่อไป

    ฉะนั้น จึงน่าคิดว่า ท่านจึงใช้คำว่าสักกายทิฏฐิ ความเห็นว่ากายของตน และแม้ว่าจะอธิบายเป็น สักกายทิฏฐิ ๒๐ คือความเห็นขันธ์ ๕ ว่าเป็นตน เห็นตนว่ามีขันธ์ ๕ เห็นขันธ์ ๕ ในตน เห็นตนในขันธ์ ๕ และเมื่อละได้ ก็แสดงว่าละความเห็นดังกล่าวนั้นได้ มองเห็นขันธ์ ๕ ว่าเป็นอนัตตามิใช่อัตตาตัวตน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็มองเห็นอัตตาตัวตน ว่ามิใช่ขันธ์ ๕ ไม่มีขันธ์ ๕ เมื่อเป็นดั่งนี้ จึงส่องความว่ายังมีอัตตาตัวตนอยู่ แต่ว่าอัตตาตัวตนนั้นไม่ใช่ขันธ์ ๕ และขันธ์ ๕ ก็ไม่ใช่อัตตาตัวตน แต่ว่าอัตตาตัวตนนั้นยังมีอยู่ เมื่อยังมีอัตตาตัวตนอยู่ แม้จะมิใช่ขันธ์ ๕ หรือขันธ์ ๕ มิใช่อัตตาตัวตน เมื่อยังมีอัตตาตัวตนอยู่ที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น คือที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปกว่าขันธ์ ๕ จึงยังมีกามราคะปฏิฆะเป็นต้น ซึ่งอริยมรรคอริยผลขั้นสูงขึ้นไปจึงจะละได้ขึ้นไปโดยลำดับ

    แต่แม้เช่นนั้น เมื่อเห็นว่าขันธ์ ๕ มิใช่อัตตาตัวตน หรืออัตตาตัวตนมิใช่ขันธ์ ๕ ดังกล่าว ก็ทำให้ละวิจิกิจฉา ละสีลัพพตปรามาสได้ และไม่บังเกิดอกุศลมูล โลภ โกรธ หลง อย่างแรง ที่เป็นเหตุแห่ง กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตต่าง ๆ ก็คือมีศีล ๕ โดยธรรมดา เพราะฉะนั้น พิจารณาดูตามถ้อยคำดังกล่าวมานี้ พระโสดาบันท่านละสักกายทิฏฐิ ก็คือละอุปาทานในขั้นที่ว่า ขันธ์ ๕ มิใช่อัตตาตัวตน อัตตาตัวตนมิใช่ขันธ์ ๕ แต่ว่าอัตตาตัวตนยังมีอยู่ และอัตตาตัวตนที่ท่านละได้ที่เป็นสักกายทิฏฐิดั่งนี้ ก็เป็นข้อที่ให้บังเกิดผลดังกล่าวแล้ว เมื่อทำความเข้าใจดั่งนี้ ก็ย่อมจะเห็นว่า ท่านจึงยังครองเรือนได้ และก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ได้ ถ้ายังไม่บรรลุมรรคผลที่สูงขึ้นไปในภพชาติที่เป็นโสดาบันบุคคลนั้น แต่ก็ไม่เกิน ๗ ชาติตามที่ท่านแสดงไว้

    สังโยชน์ ๑๐

    และในสังโยชน์ ๑๐ นั้นเอง ที่เป็นสังโยชน์เบื้องบน ที่จะพึงละได้ด้วยอรหัตตมรรคอรหัตผล มีคำว่ามานะ ก็คือสังโยชน์ ๑๐ นั้น สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ละได้ด้วยโสดาปฏิมรรค โสดาปฏิผล ละได้ก็เป็นโสดาบัน ละสังโยชน์ทั้ง ๓ เบื้องต่ำนั้นได้

    ทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลงมากขึ้นไปอีกได้ ก็ด้วยสกทาคามิมรรค สกทาคามิผล ก็เป็นสกทาคามีบุคคล และเมื่อละเพิ่มกามราคะ ปฏิฆะได้อีก ๒ รวมเป็น ๕ ก็ด้วยอนาคามิมรรค อนาคามิผล ก็เป็นอนาคามีบุคคล ทั้ง ๕ นี้ก็เป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ ยังมีสังโยชน์เบื้องสูงอีก ๕ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ละได้ด้วยอรหัตตมรรค อรหัตตผล เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ

    และมานะนี้เองดังที่กล่าวแล้วว่า อย่างละเอียดก็คืออัสมิมานะ ความสำคัญหมายว่าเรามีเราเป็น ก็คือยึดถือว่าเรามีเราเป็น เป็นอุปาทานอย่างละเอียด เมื่อละมานะนี้ได้ซึ่งรวมอยู่ในสังโยชน์เบื้องสูง ๕ ข้อ ก็เป็นอันว่าละความยึดถือว่าอัตตาตัวตนได้หมด จึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ

    ส่วนคำว่า อัตตานุทิฏฐิ ความตามเห็นว่าอัตตาตัวตน และคำว่า อัตวาทุปาทาน ความยึดถือวาทะว่าตัวตน เป็นคำกลาง ๆ ครอบคลุมได้ถึงอุปาทานความยึดถือทุกชั้น ทั้งชั้นหยาบ ชั้นกลาง ชั้นละเอียด เพราะฉะนั้น ศัพท์ธรรมะดังกล่าวนี้ จึงเป็นข้อที่ควรเพ่งพิจารณาให้เข้าใจ ถ้าไม่เช่นนั้นแล้วก็ย่อมจะมีความสงสัย เช่นสงสัยว่าละสักกายทิฏฐิได้ ก็น่าจะไม่ต้องครองบ้านครองเรือน ไม่ต้องแต่งงานแต่งการอย่างชาวบ้าน แต่ทำไมละได้แล้วจึงยังครองเรือนเป็นชาวบ้านอยู่ได้ แต่เมื่อมีความเข้าใจในความหมายถึงขั้นตอนของอุปาทานดังกล่าว ว่ามีอย่างหยาบ อย่างละเอียด ก็ย่อมจะเข้าใจ

    อัตตวาทุปาทาน

    และในอุปาทาน ๔ นี้ ข้อที่ ๔ อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นหรือยึดถือวาทะว่าตน ย่อมเป็นข้อสำคัญ เมื่อมีข้อนี้อยู่จึงมีกามอันทำให้ยึดถือเป็น กามุปาทาน จึงมีทิฏฐิคือความเห็นที่ผิดต่าง ๆ อันทำให้ยึดถือเป็น ทิฏฐุปาทาน จึงมีศีลและวัตรต่าง ๆ ที่ปฏิบัติ อันทำให้ยึดเป็น สีลัพพตุปาทาน เพราะเมื่อมีความยึดถือวาทะว่าตน ยึดถือสมมติบัญญัติว่าตน ก็คือยึดถือที่ตั้งของสมมติบัญญัตินั้น ๆ ว่าตัวเราของเราที่ยึดถือนั้น จึงยังมีทิฏฐิคือความเห็นที่ผิด ตั้งแต่อย่างหยาบ จนถึงอย่างละเอียด เพราะยังมีอวิชชาคือความไม่รู้ในสัจจะที่เป็นตัวความจริง อันเป็นปรมัตถสัจจะ ดังที่กล่าวแล้ว จึงมีความยึดถืออยู่ในความเห็นนั้น ก็คือยึดถืออยู่ในความเห็นว่าตัวเราของเรา ยึดถืออยู่ในวาทะว่าตัวเราของเรา ยึดถืออยู่ในที่ตั้งของสมมติบัญญัติของวาทะว่าตัวเราของเรานั้น คือยังเห็นว่าตัวเราของเรามี เรามีเราเป็น

    เหตุให้เกิดความยึดถือในศีลวัตร

    และเมื่อเป็นดั่งนี้ ศีลที่ปฏิบัติวัตรที่ปฏิบัติ จะเป็นภายในภายนอกพุทธศาสนาก็ตาม จะเป็นอย่างหยาบอย่างละเอียดก็ตาม จึงอดไม่ได้ที่จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่งเสริมสนับสนุนอัตตาตัวตน คือตัวเราของเราที่ยึดถือไว้นั้น เพื่อตัวเราของเราที่ยึดถือไว้นั้น และศีลและวัตรที่ปฏิบัตินั้น ในเบื้องต้นก็ย่อมอาจยึดถือศีลและวัตรภายนอกพุทธศาสนาต่าง ๆ แต่เมื่อได้สดับฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติศีลสมาธิปัญญาของพระพุทธเจ้า ได้ความรู้มากขึ้น ก็มาปฏิบัติในศีลและวัตรในพุทธศาสนา แม้เช่นนั้นก็ยังทิ้งตนไม่ได้ เพราะยังมีอัตตาตัวตนที่ยึดถืออยู่ ยังอาจจะไขว้เขวไปได้น้อยหรือมาก แต่แม้ว่าไม่ไขว้เขวไปเลย ปฏิบัติในศีลและวัตรที่เป็นมรรคมีองค์ ๘ เป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญาอันถูกต้องจริง ๆ และแม้ว่าไม่มุ่งมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ แต่ก็ยังมุ่งนิพพานสมบัติ ก็คือเพื่อให้ตนที่ยึดถือไว้นี้บรรลุถึงนิพพาน บรรลุถึงมรรคผล เพราะฉะนั้น ก็นับว่ายังเป็นสีลัพพตุปาทานอยู่ แต่เป็นอย่างละเอียด

    เพราะฉะนั้น ท่านพระอานนท์ท่านจึงอธิบายในข้อว่า ที่ตรัสสอนว่าให้อาศัยตัณหาละตัณหา ก็คือผู้ที่ปฏิบัติธรรมะด้วยปรารถนาว่า ไฉนหนอเราจักบรรลุมรรคผลนิพพาน ดั่งนี้ จนกว่าที่จะได้ละอัตตวาทุปาทานนี้ได้ ถอนอัตตานุทิฏฐิความเห็นว่าอัตตาตัวตนได้ ละมานะที่เป็นอย่างละเอียดคืออัสมิมานะ หรือว่าอัสมิมานะทิฏฐิความสำคัญหมายเห็นว่าเรามีเราเป็น ละได้หมด ละอุปาทานได้หมด ดั่งนี้ จึงจะละกามได้หมด ละทิฏฐิที่เป็นมิจฉาทิฏฐิได้หมด เพราะละอวิชชาได้ และละสีลัพพตุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในศีลและวัตรได้ทุกอย่าง เพราะว่าเสร็จกิจที่จะต้องปฏิบัติแล้ว เพราะฉะนั้น อุปาทานทั้ง ๔ นี้จึงควรพิจารณาให้มีความเข้าใจ แม้จะยังละไม่ได้ ก็ให้มีความเข้าใจ และตั้งใจปฏิบัติตามที่ท่านพระสารีบุตรท่านแสดงไว้ต่อไปว่า เหตุเกิดของอุปาทานก็คือตัณหา ดับอุปาทานอุปาทานก็คือดับตัณหา ทางปฏิบัติให้ถึงความดับอุปาทานก็คือมรรคมีองค์ ๘



    bar-white-lotus-small.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...