คำว่า "ปล่อยวาง"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xtrem, 22 กรกฎาคม 2016.

  1. alkuwaiti

    alkuwaiti เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,257
    การปล่อยวางเป็นบารมีที่กระทำได้ยากยิ่งที่สุดเพราะมันจะสวนทางกับบารมีอื่นๆ ตรงที่เมื่อเรายิ่งปฏิบัติธรรมมากเราจะยิ่งปล่อยวางได้ยากขึ้น เรื่องบางอย่างเราอาจพอปล่อยวางได้ แต่จะถึงจุดๆหนึ่งที่เราจะปล่อยวางไม่ได้เนื่องเพราะเราได้เข้าถึงธรรมมากขึ้น จากนั้นมารหรือกิเลสจะมาทดสอบเราอย่างหนักหน่วง ต้องใช้ความอดทนอดกลั้นอย่างสูง ขั้นตอนนี้ผู้ที่ยังมีอัตตา ยังละทิ้งอัตตาไม่ได้จะผ่านไปไม่ได้เลยถ้าไม่มีผู้อื่น หรือสิ่งอื่นๆยื่นมือเข้ามาช่วยให้ผ่านพ้นไป(นี่คือเหตุผลที่จักรวาลต้องมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติเพื่อชี้ทางสว่างให้แก่มนุษย์ ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้ามนุษย์จะกระทำได้สูงสุดแค่ ฌาน 8 เท่านั้น ไม่ได้บรรลุธรรมใดๆ)

    การปล่อยวางนั้นจะสัมพันธ์กับอัตตาของตัวเราเป็นหลัก ซึ่งการจะผ่านไปให้ได้ง่ายๆที่สุดเลยก็คือการบรรลุโสดาบัน เพราะถ้าบรรลุโสดาบันได้เมื่อไหร่การปล่อยวางในเรื่องอื่นๆจะกระทำได้ง่ายตามไปด้วย เราไม่จำเป็นต้องไปดิ้นรนขวนขวายอะไรมากกับการปล่อยวาง เพราะมันพูดง่ายแต่ทำยาก จู่ๆนึกจะให้มาปล่อยวางอะไรง่ายๆก็ไม่มีใครทำได้หรอก ออกจากเว็บพลังจิตไปทำกระเป๋าเงินหายก็สติหลุดกันแล้ว

    ถ้าเราอยากปล่อยวางให้ได้เราควรมองหาเป้าหมายตามศักยภาพของตน และตามครรลองที่พระพุทธเจ้าได้กระทำไว้ เช่น การดำรงตนปฏิบัติตนให้บรรลุโสดาบันในเบื้องต้น(พระพุทธเจ้ามาเพื่อทำให้มนุษย์บรรลุธรรม เราจะปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างได้เด็ดขาดก็ต่อเมื่อบรรลุอรหันต์ ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆแค่ใจคิดหรือปากพูด)
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ถ้าจำไม่ผิด ตอนเข้าเว็บใหม่ๆ คุณจะมีคำถามเรื่อง มือ กับ แก่น

    ข้อความข้างบน ผิดธรรมไปมาก ให้พิจารณา ความจงใจ
    จะประกอบฌาณ ตัวพฤติจิตแบบนั้น พระพุทธองค์ทรงชี้
    ว่า เปน ปัจจัยแก่ ความกำหนัด มือ กับ แก่น ให้สังเกต

    การปล่อยวาง จะเกิดตั้งแต่ ปญมฌาณ

    เพราะ จิตจะละ ราคสัญญา ได้ จิตจึงลุถึง ปฐมฌาณ
    ด้วนอำนาจ วิปัสสนา พ้นการเจตนาจงใจปล่อย

    ตอนที่ มันกลับมาจับ

    จะต้องกำหนดรู้เหต ของการกำเริบกลับ ถ้าอินทรีย
    ภาวนามีอยู่บ้าง จะกำหนดเหน จิตไม่เที่ยง

    ถ้าอินทรียภาวนาไม่มี ให้ฝึกหัด เหนคุณของฌาณ
    ที่ทำให้พ้น ราคะสัญญา อยู่สุข แต่เปนโทษ เพราะ
    ฌาณเปนสังขาร มันไม่เที่ยง และ ย้อมจิตปิดบังนิพพาน

    เมื่อตามพิจารณา จิตจะโคจรไปใน ฌาณยิ่งๆขึ้นไป

    วนเวียนอยู่ใน รูปภพ อรูปภพ วนในโยคะกรรรม
    ไม่เกษมจากโยคะ เพราะฌาณใดๆ ก็ไม่เที่ยง

    ดังนั้น พระพุทธองค์ไม่ได้สอนให้ อยู่ในฌาณ

    แต่ให้กำหนดรู้ สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นดับ

    ดับไปเพราะ เหตุ ของสิ่งเหล่านั้น ดับเปนธรรมดา

    จนกว่าจะเกิดอินทรียภาวนา ก้จะเหน จิตไม่เที่ยง

    เพราะเหนตามความเปนจริง จึง อาทีนวญาน

    คลายกำหนัด รู้ว่าพ้น ทราบการรู้ว่าพ้น

    เหนการทราบรู้ว่าพ้นก้ดับ จึงปฏิภานเปน
    โสดาปฏิมรรค ปฏิผลาผล ตกกระแส มีที่สุด
    ของการสิ้นกิเลส แน่นอน



    ตรงคำท้ายๆ เอาแค่ตกกระแส ก้ เกิดความแน่นอน

    เพื่อให้ อาจหาญ ภาวนา ด้วยอย่า จงใจเจตนา อีก

    ความกำหนัด จะกำเริบ ทำให้รีบร้อน กล่าวธรรมผิดไปมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กรกฎาคม 2016
  3. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    เห็นทุกข์แล้วจะปล่อยเอง ไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้น รู้อยู่เห็นอยู่
    ถ้าไม่เห็น แม้จะว่าปล่อย ที่จริงก็แค่ผลัก ๆ ออกไปเท่านั้นเอง
    ค่อย ๆ รู้ทุกข์ตามความเป็นจริงไป
     
  4. Snooty

    Snooty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +670
    วางที่ไหน ที่ใจ หรือคำพูด...

    เมื่อถึงเวลา จิตเค้าวางของเค้าเอง
    หน้าที่เราคือ สอนจิตให้ฉลาด

    เวลาเกิดการกระทบ สู้ด้วยการไม่สู้ รู้เฉยๆ (รู้สึกตัว)
    (สติ คือ เบรค สมาธิ คือ หน่วงให้ช้าลง จนเราเห็นกระบวนการของใจ)
    เด่วจิตมันก็เห็นเอง ปัญญามันจะเกิดเอง (รู้เท่าทัน)

    จนเรื่องนั้นๆไม่มีผลกับใจอีกต่อไป
     
  5. บุญพลัง

    บุญพลัง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2016
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +1
    การยกสมมุติ มันก็ต้องอิงสมมุติ ต้องรู้จักสมมุติ มันจะไม่เพี้ยนไป ถ้ายกมาแต่ไม่รู้จักสมมุติ ไปยึดมันก็จบ ดูแต่ละคำตอบสิจะรุ้......
     
  6. คุณกันฌามี

    คุณกันฌามี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +65
    ขำ เจ้าของกระทู้ดีนะ ตั้งเอง ถาม เอง ตอบ เอง แล้วยังอ้างพระพุทธเจ้าเล่าไว้อีก

    แล้วคุณ จขกท อยากรู้แบบไหนละจริงแท้หรือแค่ความคิดส่วนตัว

    ถ้าจริงแท้จะมีคนบรรลุธรรมมาตอบคุณหรือป่าวนะ

    แต่ถ้าความคิดส่วนตัว ผมคงคิดว่าเหมือน "เราสูดลมหายใจลึกๆแล้วปล่อยออกมา" นั้นแหละปล่อยวาง
     
  7. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    บรอด ก็มีไว้ตั้งคำถาม พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ไม่ได้จะมาหาใครบรรลุไม่บรรลุ หรือมาอวดคุณธรรมวิเศษอะไร อีกอย่างเขาก็ไม่ได้มีกฎห้ามว่า ห้ามตั้งกระทู้เอง ถามเอง ตอบเอง แต่ก็ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นนะครับ :cool:
     
  8. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    585
    ค่าพลัง:
    +3,151
    ข้าพเจ้าขออนุโมทนาในธรรมทุกท่าน

    การปล่อยวาง จะปล่อยวางได้ เราต้องรู้แจ้งในสิ่งนั้น มันจึงจะวางเอง เป็นธรรมชาติของมันเอง

    ถ้าปล่อยเพียงความคิด โดยตั้งใจคิด ว่าจะปล่อย มันจะปล่อยเพียงชั่วคราว เพียงแค่ช่วงขณะนั้นเท่านั้น เมื่อมีเหตุให้เราต้องเจอหรือคลุกคลีกับสิ่งนั้นอีก มันก็จะยึดมั่นถือมั่นเช่นเดิม เหมือนคนที่ตั้งใจจะเลิกบุหรี่เลิกเหล้า เขาก็เลิกได้ แต่ถ้ามีเหตุใดก็ตาม ให้ต้องกลับไปคลุกคลีกับสิ่งเหล่านั้นอีก ก็จะติดอีกเช่นเดิม

    ที่เราปล่อย เราปล่อยเพราะอะไร เพราะไม่ไหว เพราะเบื่อ เพราะเห็นโทษ หรือ เพราะมันเป็นเช่นนั้นเอง

    การปฏิบัติ ที่เราปฏิบัติกันมา ก็เจอสภาวะปล่อยวางกันอยู่ แต่ทำไมยังไม่พ้นไปได้ ก็เพราะเรายังปล่อยแค่เปลือกของมัน ยังปล่อยแค่รอบนอก ยังรู้ไปไม่ถึงแก่นแท้ของธรรม เมื่อไหร่ที่รู้แจ้งถึงแก่นแท้ของธรรมแล้ว เราจะปล่อยทั้งหมดเอง

    มีนิทานสักเล็กน้อย

    เรื่องที่ 1 มีนักรบอยู่นายนึง เขามีดาบอยู่ในมือ เพื่อฟาดฟันศัตรูที่รุกรานเข้ามา
    วันนึงเขาเกิดความรู้จากบทสรุปของการรบที่ผ่านมา โดยการใคร่ครวญพิจารณาของเขา ลูกเมีย พ่อแม่ ญาติพี่น้องของศตรูที่เขาฆ่าตาย พากันร้องไห้เสียใจ ที่บุคคลอันเป็นที่รักของเขาต้องจากไป เขาเองก็มีลูกเมีย พ่อแม่ ญาติพี่น้องเช่นกัน เขารู้สึกสลดใจกับสิ่งที่เห็น แต่ถ้าไม่ฆ่าเขา เขาก็ฆ่าเรา แล้วทั้ง 2 ดินแดนนี้ ต่างก็รบราฆ่าฟันกัน เพราะต่างก็กลัวความอดอยากของตนเองและบุคคลอันเป็นที่รัก และกลัวอีกฝ่ายจะรุกรานตนเอง เขาเห็นการวนเวียนฆ่าฟันกันไปมา ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ เขาเห็นความจริงของวัฏจักรนั้นที่วนเวียนไม่มีวันจบสิ้น จึงเกิดความเบื่อหน่าย แล้วทิ้งดาบลง เดินออกไปจากกองทัพ มุ่งแสวงหาความสงบ

    เรื่องที่ 2 นักรบอีกผู้หนึ่ง เขาเองก็มีประสบการณ์ผ่านสนามรบมาอย่างโชกโชนเช่นคนแรก แต่เขามีความรักต่อลูกเมีย พ่อแม่ ญาติพี่น้อง และมิตรสหายเป็นอันมาก เขาคิดไว้ว่า เขาจะวางมือไปต่อเมื่อเขามั่นใจแล้วว่า ทุกคนที่เขารักปลอดภัยจริงๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เขาเริ่มท้อแท้ และเหนื่อยจากการเชี่ยวกรำในการรบมานาน เขาจึงเลือกพาเอาเฉพาะบุคคลที่เขารักเป็นที่สุด อันมี พ่อแม่ ลูกเมีย พี่น้อง หนีไปอยู่ในสถานที่อันสงบด้วยกัน เพียงแค่นั้น

    เรื่องที่ 3 นักรบอีกผู้หนึ่ง คนนี้มีความตั้งใจที่แน่วแน่เด็ดเดี่ยว ว่า เขาจะวางมือ ต่อเมื่อ เขาปราบศัตรูให้พินาศย่อยยับไปจนหมดสิ้น ไม่เหลือให้รบกวนบุคคลอันเป็นที่รักอีกต่อไป แต่ความหวังของนักรบผู้นี้ ช่างยาวนานเหลือเกิน จนไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะจบ.

    สุดท้ายนี้ขออย่าได้เชื่อถือหรือยึดมั่นในสิ่งใดที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปเลย

    ขออนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2016
  9. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ชอบ
     
  10. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ปล่อยวางคือวางกำลังใจสบาย ไม่ต้องคิดมาก อะไรผ่านไปแล้วก้ผ่านไป อยู่กับปัจจุบัน ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ไม่มีใครดีไปเสียหมด ก็มีบกพร่องกันบ้าง ต้องตั้งสติให้เกิดปัญญาว่าเราจะแก้ไขปัญหาอย่างไร
     
  11. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    เข้าท่านะรู้เท่าทัน จนเรื่องต่างๆนั้นๆไม่มีผลต่อใจ
     
  12. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    เรียนถาม ในเรื่องสมมติต้องจริงจังกับสมมติแค่ไหน ต้องหาแก่นในสมมติหรือเปล่า แล้ววิมุติกับสมมติแยกกันยังไง
     
  13. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    เมื่อจิตปราศจากนิวรณ์ กิเลส และความทะยานอยาก จิตย่อมเป็นอิสระต่อสิ่งที่แบกหรือถือไว้ จิตจะปล่อยไปเองโดยอัติโนมัติ โดยไม่ต้องฝืนบังคับจิตกล่าวโทษตัวเอง ว่าเป็นคนไม่ปล่อยวาง
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เมื่อ เห็น หนทางการพ้นกิเลส อันเกิดจากการภาวนา

    การจะอบรมจิต ให้ใส่ใจ ภาวนา โดยไม่ต้องเจตนา จงใจ

    จะอาศัย จิตที่พ้นจากกิเลส มีความเบา มีการปล่อยโดย ไม่เจตนา

    ให้ยก เห็นสภาวะจิต เบา พ้นจากกิเลส นั้นก็ มีสภาพเกิด แล้วก็ดับ
    เป็นธรรมดา

    ปัญญาที่เป็นการภาวนา จะต้อง มีรส เกิด แล้วก็ดับ

    เมื่อเห็น ปัญญาการภาวนา ก็เป็น สิ่งเกิดดับ จะเริ่มกำหนดรู้ อริยสัจจ
    เห็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ที่ไม่ได้เกิดจาก เปรียบเทียบ แบบ ปุถุชน

    จะเห็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา อันเกิดจากการ อาศัย ระลึก "ธรรมในธรรม"


    ปัญญา(ทางพุทธศาสนา) จึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดในภพ ไม่ใช่ การตกแต่งขันธ์5 [ ตัดกิเลสในปัจจุบันธรรม แล้ว จบ ไม่ค้างคา เป็นเขม่า เกิดเบาหนักที่จิต ]

    หากกำหนดรู้ได้อย่างนี้ จะเริ่ม เดิน โพฌงค์7

    เมื่อจิตเคล้าเคลียร โพชฌงค์7 เจริญก็ช่าง เสื่อมก็ช่าง ไม่เลิกภาวนา
    ก็จะเริ่มเห็น ธรรมโอสถ ที่รักษาได้ทุกโรค ในโลก [ อยู่กับ ปัจจุบัน ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2016
  15. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    ปล่อยวาง ใช้เมื่อจิตมีโมหะไปยึดมั่นเป็นสัตว์ ตัวตน บุคคล เรา เขา และมีสติสัมปชัญญะพอจะรู้ธรรมอันจะให้หลุดพ้นจากทุกข์

    แต่ถ้า จิตมีโมหะแก่กล้า ไปยึดมั่นเป็นสัตว์ ตัวตน บุคคล เรา เขา อย่างรุนแรง ไม่มีสติสัมปชัญญะพอจะรู้สภาพธรรมอันจะให้หลุดพ้นจากทุกข์ ปล่อยวาง ก็ยกขึ้นมาไม่ได้

    ถ้าจิตขณะใดแม้โมหะไม่ออกฤทธิ์ แต่อวิชชานอนเนื่องอยู่ ไม่ทำลายอวิชชาให้เด็ดขาดไป จิตที่ยึดมั่นเป็นสัตว์ ตัวตน บุคคล เรา เขา ยังมีกำลังแรงอยู่ ก็เป็นวิบากให้ติดอยู่ เพราะจิตไม่ทำความคลายตัว และแม้ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดในขณะนั้น ทุกข์อย่างหยาบ และอย่างกลาง ก็ไม่ปรากฎ ดุจดั่ง ปล่อยวาง ได้ แต่ก็เพียงชั่วขณะ เพราะยังไงจิตก็จะยึดมากกว่า ในสภาวะใดสภาวะหนึ่ง แม้จะน้อยนิดก็ตาม แต่คำว่าน้อยนิด เป็นเพียงความรู้สึก แต่สัจธรรม คือ เนิ่นนาน อย่างยิ่ง วนเวียน อย่างยิ่ง

    สติ อย่างพระอรหันต์จะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อ เพียรอย่างยิ่งยวดด้วยสัมมาทิฏฐิที่ถูกต้อง ในชาตินี้ แต่ถ้าเห็นเหตุปัจจัยแบบข้ามภพข้ามชาติ อินทรีย์และพละของเรามีเท่าใด ก็อัดเต็มๆ ไปตามกำลังของสติ(คุณภาพของสติที่มีอยู่ในขณะรับวิบากกรรมอยู่)

    ดังนั้น ปล่อยวาง ได้ ไม่ว่าระดับใดขณะใดก็เกิดประโยชน์ คือดับทุกข์เฉพาะหน้าหรือดับทุกข์ชั่วคราว ในเรื่องที่ยึดนั้นลงทันที เมื่อเพียรบ่อยๆ ด้วยปัญญาสักวัน ท่านทั้งหลายย่อมจะหลุดพ้นได้ ก็น่ายินดีแล้ว แต่ถ้าคนใดพร้อมจะปล่อยวางแบบพระอรหันต์ ก็อนุโมทนาสาธุด้วยอย่างยิ่ง
     
  16. ศิษย์น้อย

    ศิษย์น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +3,047
    แท้จริงแล้ว
    การ "ปล่อยวาง"
    มีตั้งแต่ระดับหยาบ
    กลาง และ ละเอียด
    ในทางกรรมฐาน...

    แต่..มันคือตัวปัญญา
    ที่รู้เท่าทัน....
    และ รู้สักแต่ว่ารู้
    รู้ ไปตามสภาพนั้น
    รู้ ว่า นั่นเป็นผลของวิบาก
    รู้ ว่า สิ่งที่เกิดนั้น จะดับในไม่ช้า

    ตัวรู้ทันเช่นนี้ เป็น "ปัญญา"

    โดยสมมติบัญญัติของคนทั่วไป
    เข้าใจว่า สิ่งนี้ คือ "ปล่อยวาง"

    แต่..โดยเนื้อแท้ของการกรรมฐาน
    คือ ...

    "ปัญญารู้ทันสรรพสิ่งตามความเป็นจริง
    แล้ว..ไม่ทุกข์ไปกับมัน ไม่หลงว่าเป็น
    สิ่งที่เป็นความสุขในจิตของเรา"..

    ผมเข้าใจเช่นนี้ครับ
     
  17. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228


    ...."ตัวรู้ทันเช่นนี้ เป็น "ปัญญา" "

    ....ถามว่า ตัวรู้ทัน คืออะไร จิตหรือเปล่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...