ลป.บุญหัวเขา ลพ แช่มดอนยายหอม ลป .เริ่ม จุกกะเฌอลป.อินทร์กลางคลองสี่

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,731
    ค่าพลัง:
    +21,341
    เหรียญพรพอาจารย์ฝั้นหลังพระอาจารย์ปิ่น ชลิโต พิธีวัดอริยวงศาราม2521
    เหรียญพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถ วัดอริยวงศาราม จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ.2521 ครูบาอาจารย์ที่เคยเข้าร่วมพิธีนี้ กล่าวกันว่า เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่แห่งยุค มีบันทึก ของคุณบัว ปากช่องกล่าวไว้ มีพระคณาจารย์มาร่วมพิธี ได้แก่
    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    หลวงปู่สาม อกิญฺจโน
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
    หลวงปู่คำดี ปภาโส
    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    หลวงปู่วัน อุตฺตโม
    หลวงปู่จวน กุลเชษฺโฐ
    หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
    ---------- สุดยอดวัตถุมงคลพิธีใหญ่ครูบาอาจารย์สายกรรมฐานลป.มั่น
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของที่มาบทความข้อมูลอย่างสูงครับ
    ให้บูชา 200 บาทครับค่าจัดส่ง30บาทระบบflashหรือJ&Tและ 50บาทemsไปรษณีย์ไทย(ปิดรายการ)

    IMG_20220901_145305.jpg IMG_20220901_145333.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2022
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,731
    ค่าพลัง:
    +21,341
    หลวงพ่อท้วมจับเข่า 600_ กรอบมีโลโก้.jpg

    เทพเจ้าแห่งเมืองคนดี ... พระครูพิเศษเขมาจาร ( หลวงพ่อท้วม เขมจาโร)
    หลวงพ่อท้วม เขมจาโร เจ้าอาวาสวัดศรีสุวรรณ ชื่อเดิม เขียม อักษรสม เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ ที่บ้านสมอทอง หมู่ ๒ ต.สมอทอง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ปัจจุบันหลวงพ่อท้วม อายุ ๙๑ ปี พรรษา ๖๔ บิดาชื่อ นายเชื่อม มารดาชื่อ นางทา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด ๗ คน พี่ชายคนโตคือ พระราชวีรมุนี (สีหนาทภิกขุ ) อดีตเจ้าคณะจังหวัดเลย ปัจจุบันมรณภาพแล้ว และพี่ๆอีก ๔ คนก็ได้เสียชีวิตแล้วเช่นกัน คงเหลือแต่ พระครูสิริรัตนโสภณ (หลวงพ่อแดง ) เจ้าคณะตำบลเสี้ยว วัดกอไร่ใหญ่ อ.เมือง จ.เลย น้องชายเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีสุวรรณ หลวงพ่อท้วม จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ เมื่ออายุครบเกณฑ์ทหารได้สมัครใจเป็นทหารเพื่อรับใช้ชาติอยู่ ๒ ปี หลังจากปลดประจำการ ท่านมาเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาลอยู่ระยะหนึ่ง หลังจากนั้นท่านได้อุปสมบทเพื่อทดแทนคุณบิดามารดา เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ณ วัดศรีสุวรรณ โดยมีพระครูประสงค์สารการ (หลวงพ่อเทศน์ โยธารักษ์) วัดวิชิตดิตถาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูฮอด หิรัญโญ อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีสุวรรณลำดับที่ ๒ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระวีรญาณมุนี วัดศรีบุญเรือง จังหวัดเลย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “เขมจาโร” อันหมายถึง ผู้มีความประพฤติเรียบร้อยดีงาม ระหว่างอุปสมบทได้เดินทางไปปฎิบัติธรรมและศึกษาพระธรรมวินัยในหลายจังหวัด ทางภาคอีสาน ก่อนกลับมาจำพรรษาที่วัดศรีสุวรรณ
    พ.ศ. ๒๔๙๙ได้ศึกษาพระธรรมจนจบชั้นนักธรรมเอก และดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดศรีสุวรรณ เมื่อแก่พรรษามากขึ้นก็ได้รับตำแหน่งหน้าที่และสมณศักดิ์สูงขึ้นเป็นลำดับ ดังนี้
    พ.ศ. ๒๕๐๒ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีสุวรรณ ซึ่งเป็นลำดับที่ ๓ จนถึงปัจจุบัน
    พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท (จร.ชท.) ในราชทินนามที่พระครูพิเศษเขมาจาร
    พ.ศ. ๒๕๑๙ เลื่อนยศเป็นพระครูชั้นพิเศษที่ พระครูพิเศษเขมาจาร และเมื่อวันที่ ๑๖ ก.พ. พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับตำแหน่งเป็น พระอุปัชฌาย์


    พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้รับโปรดเกล้าฯ ตราตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ (ชั้นสามัญ ) ราชทินนามว่า “ พระสุวรรณสุมงคล ”
    หลวงพ่อท้วม เขมจาโร เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตา ยามได้รับกิจนิมนต์ก็ไม่เคยปฏิเสธแม้ว่าท่านจะย่างเข้าสู่วัยชราและมีปัญหา ด้านสุขภาพ เพราะท่านถือว่าเป็นกิจของสงฆ์ที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หากท่านรับกิจนิมนต์แล้วท่านจะต้องเดินทางไปถึงงานก่อนเสมอ มีหลายคราวที่ต้องไปรอเจ้าภาพเสียด้วยซ้ำไป การเข้าพบกราบนมัสการสะดวกมากไม่มีพิธีรีตองหรือเลือกชนชั้นแต่อย่างใด จึงทำให้ท่านมีเวลาพักผ่อนน้อยมาก ในแต่ละวันจะมีชาวบ้านที่ศรัทธา มากราบขอพร ขอความเมตตาให้ท่านเจิมรถ จารแผ่นชนวนเสกสิ่งของ ประพรมน้ำมนต์ตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้าจนมืดค่ำ ในฐานะพระอุปัชฌาย์ท่านก็ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ไม่บกพร่อง รับหน้าที่ในการบรรพชาอุปสมบทให้พระภิกษุสามเณรอีกทั้งบวชชีพราหมณ์เพื่อ เป็นการสืบทอดและบำรุงพระศาสนา กิจนิมนต์งานพุทธาภิเษกวัตถุมงคลยังวัดต่างๆต้องเดินทางเสมอๆ แม้นจะไกลหรือจะเหน็ดเหนื่อยเพียงใด ท่านก็มีความสุขที่ได้ปฏิบัติเช่นนั้น ศิษย์ผู้คอยดูแลปรนนิบัติก็ไม่สามารถทัดทานได้ หลวงพ่อเคยกล่าวว่า “ เมื่อเขาพร้อมเราก็พร้อม ฤกษ์ดีอยู่ที่สะดวก ในเมื่อเขาตั้งใจมาหาเพื่อให้เราช่วยแล้วเราก็ต้องทำให้ทันทีด้วยความเต็มใจ ” ด้านการศึกษา ท่านก็ให้ความสำคัญ และเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะท่านมีความผูกพันกับการเรียนการสอนมาตั้งแต่ก่อนจะอุปสมบท ปัจจุบันท่านยังเป็นกรรมการสถานศึกษาถึงสองแห่งคือ โรงเรียนวัดศรีสุวรรณ และโรงเรียนบ้านคลองสงค์ ท่านให้การอุปถัมภ์นักเรียนด้วยการมอบทุนการศึกษาแก่เด็กที่เรียนดีแต่ขาด แคลนทุนทรัพย์เสมอมา ส่วนวัตถุมงคลรุ่นต่างๆที่ท่านได้สร้างและทำการอธิษฐานจิตปลุกเสกนั้น ก็ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์เล่าสู่กันฟังมากมาย ถึงแม้นว่าค่านิยมทางด้านราคายังไม่สูงมากมายนัก แต่ด้วยพลังแห่งพุทธคุณที่ปรากฏครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นด้านความคงกระพันชาตรี โชคลาภมหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย ด้วยพลังแห่งศรัทธาที่มีต่อหลวงพ่อท้วม มักมีการแสวงหามาเพื่อบูชาติดตัวอย่างกว้างขวาง ด้วยเหตุปัจจัยเหล่านี้จึงทำให้ท่านเป็นที่ยกย่องกล่าวขานถึงความ ศักดิ์สิทธิ์และความเมตตา มีศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศ นับเป็นเป็นอริยะสงฆ์แห่งแดนใต้อีกรูปหนึ่งที่ควรค่าแก่การเคารพกราบไหว้ สมกับเป็น พระเกจิหนึ่งในดวงใจ เทพเจ้าแห่งเมืองคนดี

    ผู้ไม่มีคู่ จะมีคู่ครอง"
    หลวงพ่อท้วมท่านเล่าตำนานเกี่ยวกับเรื่องสมอทอง ไว้ว่า... เนื่องจากในอดีตมีเรื่องเล่ากันว่าบริเวณที่แห่งนี้นานมาแล้วเดิมทียังเป็น ทะเล มีเรือสำเภาจีนขนาดใหญ่ได้เจอพายุถูกคลื่นยักษ์ซัดเข้ามา กัปตันเรือไม่สามารถบังคับเรือได้จึงสั่งให้ลูกเรือทอดสมอลงทะเลเพื่อหลบ พายุ แต่ไม่สามารถทำให้เรือจอดได้ จึงได้สั่งลูกเรือให้ทอดสมออีกครั้งโดยครั้งนี้ได้สั่งให้ทอดสมอพร้อมกัน คราวเดียวถึง ๗ ตัว แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จเรือสำเภาก็ไม่หยุดนิ่ง ยังคงลอยไร้ทิศทางมาจนถึงบริเวณที่ตั้งบ้านสมอทองปัจจุบัน กัปตันได้สั่งให้ลูกเรือเอาสมอเรือทอดลงอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ต่างกว่าครั้งก่อนๆเพราะว่าสมอที่ใช้ทอดนั้นเป็น สมอทอง ปรากฏว่าครั้งนี้สามารถทำให้เรือสำเภาจอดนิ่งได้อย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อพายุคลื่นลมสงบเรือสำเภาจะออกเดินทางต่อ แต่ไม่สามารถถอนสมอทองกลับคืนมาได้ เวลาล่วงมาถึงยุคปัจจุบัน สถานที่ทอดสมอเรือทั้ง ๗ ตัว ชาวบ้านจึงมีชื่อเรียกกันว่า “ บ้านสมอเจ็ด” บริเวณที่ทอดสมอทองมีชื่อเรียกว่า “ บ้านสมอทอง ” และทางด้านใต้ของบ้านสมอทองที่หูรั้งของสมอเรือพาดไปนั้น มีชื่อเรียกว่า “ บ้านหูรั้ง ” ซึ่งปัจจุบันได้เรียกเพี้ยนไปเป็น “ บ้านหูรัง ” ซึ่งปัจจุบันสถานที่ในตำนานดังกล่าวคือ… ตำบลสมอทองอันเป็นที่ตั้งของวัดศรีสุวรรณ
    ๒๘ ธันวาคมของทุกๆปี ศิษยานุศิษย์จะจัดงานทำบุญอายุพระครูพิเศษเขมาจาร (หลวงพ่อท้วม เขมจาโร) ณ.วัดศรีสุวรรณ ต.สมอทอง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ขณะเดียวกันหลวงพ่อท้วมจะทำพิธีป้อนข้าวเหนียวดำ ซึ่งการหุงข้าวเหนียวดำกับน้ำว่านตามโบราณ ถือว่าเป็นหมอยาอย่างหนึ่ง ใช้เพื่อป้องกันอันตราย แคล้วคลาดทั้งปวง โดยส่วนนี้ได้จัดทำขึ้นมาแจกเป็นมงคลให้กับประชาชนที่มาร่วมงานในวันดังกล่าวด้วย


    ... วาระสุดท้ายของชีวิต พระอาจารย์หลวงปู่ท้วม เขมจาโร ได้ละสังขารด้วยโรคชรา เมื่อเวลาประมาณ 5.00 นาฬิกา วันที่ 31 มีนาคม 2561 ณ โรงพยาบาลกรุงเทพสุราษฎร์ธานี สิริอายุรวม 95 ปี 3 เดือน 4วัน ครองสมณเพศเป็นเวลา 69 พรรษา
    เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์พระสงฆ์ ประจำปี ๒๕๕๗
    หลวงปู่ท้วม เขมจาโรได้รับโปรดเกล้าฯ ตราตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ (ชั้นสามัญ ) ราชทินนามว่า “ พระสุวรรณสุมงคล ” ถือได้ว่าท่านเป็นพระราชาคณะองค์แรกของอำเภอท่าชนะ โดยศิษยานุศิษย์ได้พร้อมใจกันจัดงานฉลองแสดงมุทิตาเนื่องในโอกาสท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์ และทำบุญอายุวัฒนมงคลครบ ๙๒ ปีบริบูรณ์ในวาระเดียวกันด้วย ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ เวลา ๙.๐๙ น. จะมีการประกอบพิธีสวดทักษิณานุปาทาน โดยพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานน้ำสรง พานพุ่มดอกบัว ผ้าไตร เนื่องในโอกาสทำบุญอายุวัฒนะมงคลของพระอาจารย์หลวงปู่ท้วมอีกด้วย โดยมีพระธรรมวิมลโมลี วัดไตรธรรมาราม เจ้าคณะภาค ๑๖ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ ว่าที่ร้อยตรีวิชวุทย์ จินโต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานฝ่ายคฤหัสภ์ สร้างความปลาบปลื้มใจแก่ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างมาก
    พระขุนแผนสาริกาคู่ หลวงพ่อท้วม เขมจาโร วัดศรีสุวรรณ อีกหนึ่งของดีแห่งมนตรามหานิยมที่หลวงพ่อท้วมได้จัดสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในดินแดนศรีวิชัย หรือนับเป็นการสร้างขึ้นครั้งแรกแห่งผืนแผ่นดินภาตใต้เลยทีเดียว ประกอบด้วยสุดยอดแห่งมวลสารที่หลวงพ่อกำหนดขึ้นด้วยความตั้งใจ อาทิ ผงมหาเสน่ห์ ผงสาริกาหลงรัง ฯลฯ ทั้งของมงคลพิเศษคือ กาฝากไม้แดง (ศิวลึงค์) จากป่าลึกที่เกิดจากการเกาะตัวของกาฝากมานานนับร้อยปี จนเกิดเป็นรูปศิวลึงค์ขึ้นมา นำมาบดปลุกเสกอธิฐานจิตเป็นเมตตามหานิยม เด่นเรื่องความรัก ครอบครัว เป็นที่รักใคร่แก่ผู้พบเห็น ทั้งหลวงพ่อยังเมตตากำหนดอักขระเลขยันต์จารตะกรุดเพื่อฝังในองค์พระให้สมกับมงคลนาม "พระขุนแผน" นี้ด้วยตนเอง และกำหนดปลุกเสกเดี่ยวอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้พลังแห่งองค์พระขุนแผนสาริกาคู่ช่วยเสริมบารมี อำนาจวาสนา นำโชคลาภสู่ผู้บูชาอีกด้วย คุณแห่งสาริกา โดยเฉพาะ "สาริกาคู่" นั้นตามหลักวิชามีกล่าวไว้อย่างเป็นอัศจรรย์ ถึงขนาดที่หลวงพ่อท้วมได้กล่าวถึงพุทธคุณพระพระขุนแผนสาริกาคู่นี้ว่า ผู้ไม่มีคู่จะมีคู่ครอง และประสบการณ์ตรงไม่เพียงแต่ได้คู่ครองจริงๆ ครับ ยังแคล้วคลาดปลอดภัยจากกิ่งไม้ใหญ่ที่ตกลงมาใส่หัวของผู้เขียนเอง เมื่อลุกขึ้นจากร้านอาหารตามสั่งที่อยู่บริเวณลานจอดรถของวัดสระเกศ (ภูเขาทอง) เพียงไม่กี่วิที่ลุกขึ้นกิ่งไม้ขนาดใหญ่ก็ตกลงตรงที่นั่งกินข้าวพอดี เลยรอดจากหัวแตกไม่งั้นจะได้เย็บหรือสลบไปก่อนก็ยังไม่รู้

    นี่เหละครับข้อมูลเล็กๆน้อยๆ ที่พยายามรวบรวมและมีอยู่ในความทรงจำตั้งแต่สมัยหลวงพ่อท้วมสร้างขึ้นและนำออกให้บูชา พระขุนแผนชุดนี้จะมีทั้งแบบฝังตะกรุด ซึ่งเป็นแบบพิเศษแบบเดียวเหมือนกันหมด และแบบไม่ฝังตะกรุดเนื้อผงสีขาวครับ พูดถึงเรื่อง สาริกา ทำให้นึกถึงสมัยหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่ทิมก็ได้เมตตาจารสาลิกาไว้ที่ฟันของศิษย์ผู้หนึงที่มีรูปร่างไม่งาม จนได้ภรรยาสมใจ จะมีกี่คนนั้นไม่แน่ใจ แต่ท่านผู้นี้ก็รำลึกถึงพระคุณของหลวงปู่อยู่เสมอ เพราะแม้แต่เมื่อผลแห่งวิชาสาริกาปรากฎขึ้นจนมีศิษย์ท่านอื่นมาขอให้หลวงปู่ทิมลงให้บ้าง ท่านก็ยังเมตตาให้เป็นตะกรุดสาลิกาซึ่งมีคุณดุจเดียวกันไปแทน
    พระขุนแผนสาริกาคู่ หลวงพ่อท้วม เขมจาโร วัดศรีสุวรรณ อีกหนึ่งของดีแห่งมนตรามหานิยมที่หลวงพ่อท้วมได้จัดสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในดินแดนศรีวิชัย หรือนับเป็นการสร้างขึ้นครั้งแรกแห่งผืนแผ่นดินภาตใต้เลยทีเดียว ประกอบด้วยสุดยอดแห่งมวลสารที่หลวงพ่อกำหนดขึ้นด้วยความตั้งใจ อาทิ ผงมหาเสน่ห์ ผงสาริกาหลงรัง ฯลฯ ทั้งของมงคลพิเศษคือ กาฝากไม้แดง (ศิวลึงค์) จากป่าลึกที่เกิดจากการเกาะตัวของกาฝากมานานนับร้อยปี จนเกิดเป็นรูปศิวลึงค์ขึ้นมา นำมาบดปลุกเสกอธิฐานจิตเป็นเมตตามหานิยม เด่นเรื่องความรัก ครอบครัว เป็นที่รักใคร่แก่ผู้พบเห็น ทั้งหลวงพ่อยังเมตตากำหนดอักขระเลขยันต์จารตะกรุดเพื่อฝังในองค์พระให้สมกับมงคลนาม "พระขุนแผน" นี้ด้วยตนเอง และกำหนดปลุกเสกเดี่ยวอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้พลังแห่งองค์พระขุนแผนสาริกาคู่ช่วยเสริมบารมี อำนาจวาสนา นำโชคลาภสู่ผู้บูชาอีกด้วย คุณแห่งสาริกา โดยเฉพาะ "สาริกาคู่" นั้นตามหลักวิชามีกล่าวไว้อย่างเป็นอัศจรรย์ ถึงขนาดที่หลวงพ่อท้วมได้กล่าวถึงพุทธคุณพระพระขุนแผนสาริกาคู่นี้ว่า ผู้ไม่มีคู่จะมีคู่ครอง และประสบการณ์ตรงไม่เพียงแต่ได้คู่ครองจริงๆ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของที่มาบทความข้อมูลอย่างสูงครับ
    ขุนแผนสาริกาคู่หลวงพ่อท้วมให้บูชา 300 บาทครับค่าจัดส่ง30บาทระบบflashหรือJ&Tและ 50บาทemsไปรษณีย์ไทย
    IMG_20220901_150311.jpg IMG_20220901_150347.jpg IMG_20220901_150258.jpg

     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,731
    ค่าพลัง:
    +21,341
    1662021826739.jpg
    วัดดักคะนน เป็นวัดซึ่งสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา แต่เดิมก็ไม่ได้เรียกเช่นปัจจุบันนี้ ชื่อวัดดักคะนน คำว่า "คะนน" คือหม้อที่ตักน้ำใส่ตุ่ม เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า พม่าอาจต้อนเชลยศึกชาวไทยไปยังพม่า และเมื่อเกิดศึกสงคราม ประเทศชาติต้องตกอยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง ผู้คนทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดเพื่อหลบหนีภัยสงคราม หรืออพยพไปประกอบอาชีพยังแหล่งใหม่ วัดชีดักคะนน จึงต้องกลายสภาพเป็นวัดร้างที่ขาดพระภิกษุ-สามเณรอยู่จำพรรษา จะเป็นเวลานานเท่าใดไม่ปรากฎ จนลุถึงประมาณปี พ.ศ.2400 วัดชีดักคะนนจึงได้รับการบูรณะให้คืนสภาพเป็นวัดอีกครั้ง โดยมีหลวงพ่ออยู่ เป็นผู้บุกเบิกร่วมกับชาวบ้านและได้เป็นองค์ปฐมเจ้าอาวาส พร้อมทั้งได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น "วัดดงคะนน" จากนั้นมาจนถึงปี พ.ศ.2483 จะด้วยเหตุใดไม่ทราบวัดก็ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "วัดดักคะนน" จนถึงปัจจุบัน และได้ทำการผูกพัทธสีมาในปี พ.ศ.2505 พระประธานในพระโบสถเป็นพุทธศิลป์ในสมัยอู่ทอง วัดดักคะนน ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านดักคะนน หมู่ที่ 3 ต.ธรรมามูล อ.เมือง จ.ชัยนาท บนเนื้อที่ 85 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย

    ชีวประวัติ
    พระครูธรรมจักรชโยดม มีนามเดิมว่า ผล เกิดในตระกูล โต๊ะสัมฤทธิ์ เป็นบุตรชายคนโตของ คุณพ่อเชื่อม-คุณแม่นาค โต๊ะสัมฤทธิ์ ท่านเกิดวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2457 ตรงกับวันพุธ แรม 11 ค่ำ เดือน 11 ปีขาล ที่หมู่บ้านดักคะนน ต.ธรรมมมูล อ.เมือง จ.ชัยนาท มีพี่น้องร่วมสายเลือดดังนี้คือ
    1.พระครูธรรมจักรชโยดม (ล.พ.ผล ฐานทัตโต)
    2.นางผิ่ว พูนทอง
    3.นายผ่อง โต๊ะสัมฤทธิ์
    4.นางผุด บุญเพ็ง
    5.นางทับทิม แซ่เตีย
    6.นางน้อย แซ่เฮง
    7.นายทองสุข โต๊ะสัมฤทธิ์ (แพทย์แผนโบราณ)

    เมื่อหลวงพ่อผลอายุได้ประมาณ 10 ขวบ โยมพ่อได้พาท่านไปถวายเป็นบุตรบุญธรรมต่อหลวงพ่ออยู่ วัดดักคะนน หลวงพ่ออยู่เห็นหน่วยก้านเข้าลักษณะคนดีมีปัญญา จึงรับตัวท่านไว้เป็นบุตรบุญธรรม ได้สอนให้อ่านหนังสือไทยจนเจนจบ พออายุครบ 20 ปี หลวงพ่ออยู่ก็เป็นเจ้าภาพอุปสมบทให้หลวงพ่อผลอีก
    หลวงพ่ออยู่นั้นตามประวัติกล่าวว่าท่านเป็นพระเก่งเรื่องเวทย์วิทยาคมท่านหนึ่งทีเดียว เป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และหลวงพ่อคง วัดบางกะพี้ หลวงพ่ออยู่ท่านเคยร่ำเรียนบาลีที่วัดสระเกศ กทม. ถึง 8 ปี มีความรอบรู้เชี่ยวชาญด้านภาษาบาลีเป็นอย่างยิ่ง และยังแตกฉานในพระไตรปิฎก รอบรู้ในไตรสิกขาต่างๆ

    อุปสมบท
    หลวงพ่อผล เมื่อมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ ในราวปี พ.ศ.2477 หลวงพ่ออยู่ ผู้เป็นอาจารย์ก็จัดการเป็นเจ้าภาพอุปสมบทให้ โดยมี พระครูธรรมจักรชโยดม (พูน ปภัทสโล) วัดธรรมามูล เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดนวม วัดขวาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระสมุห์ปลั่ง วัดดักคะนน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ฐานทัตโต"
    เมื่ออุปสมบทแล้วก็ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยตลอดจนวิชาอาคม, การลบผงอิทธิเจ ตลอดจนผงนะต่างๆ ตามสูตรของหลวงพ่ออยู่ ซึ่งเป็นทั้งอาจารย์และบิดาบุญธรรมจนมีความเชี่ยวชาญ และเป็นที่รักเมตตาของหลวงพ่ออยู่

    การศึกษา
    พ.ศ.2477 สอบได้นักธรรมตรี
    พ.ศ.2478 สอบได้นักธรรมโท
    พ.ศ.2484 สอบได้นักธรรมเอก
    งานด้านสาธารณูปโภค
    พ.ศ.2488 - 2489 สร้างกุฏิสงฆ์ กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร
    พ.ศ.2507 สร้างศาลาการเปรียญ 1 หลัง กว้าง 22.50 เมตร ยาว 30 เมตร และหอสวดมนต์ กว้าง 9.50 เมตร 18 เมตร
    พ.ศ.2511 สร้างพระอุโบสถ และศาลาพิพิธภัณฑ์ เสร็จภายในปีเดียวกัน

    หน้าที่ทางสงฆ์
    พ.ศ.2484 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระปลัด ฐานะของพระปลัดทองเลื่อน วัดศรีวิชัย
    พ.ศ.2498 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลธรรมามูล
    พ.ศ.2505 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูธรรมจักรชโยดม
    พ.ศ.2506 ได้รับแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ของจังหวัดชัยนาทให้เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมามูลวรวิหาร ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นชั้นโท ในพระราชทินนามเดิม เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมามูลจนถึงปี พ.ศ.2528 รวมระยะเวลา 22 ปี
    พ.ศ.2528 กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดดักคะนน จวบจนมรณะภาพในปี พ.ศ.2538
    หลวงพ่อผล นอกจากท่านจะเป็นพระเกจิฯ
    ขมังเวทย์องค์หนึ่งของชัยนาทแล้ว ท่านยังเป็นแพทย์แผนโบราณที่เลื่องชื่อในการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อน (ถึงขั้นนอนใบตองก็ยังหายได้) และยารักษาอัมพาต ที่ช่วยคนหายทุกข์เวทนามามากต่อมากทีเดียว

    วัตถุมงคล
    พ.ศ.2522 สร้างพระสมเด็จรุ่นแรก ล้อพิมพ์สมเด็จวัดระฆัง ทรงเจดีย์
    พ.ศ.2529 สร้างเหรียญขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นที่ระลึกอายุครบ 6 รอบ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่หูในตัว หลวงพ่อผลครึ่งองค์ใบหน้าตะแคงไปทางขวามือ หลังเหรียญเป็นรูปพระสังกัจจายณ์ (จำลองมาจากองค์พระสังกัจจายณ์เชียงแสนทองคำแท้ที่ท่านขุดได้ตามนิมิตร)
    พ.ศ.2530 สร้างพระสมเด็จสัมฤทธิผล หลังรูปเหมือนหลวงพ่อผล มีชนิดฝังตะกรุด 3 กษัตริย์, ตะกรุดเงิน, ตะกรุดทองแดง
    พ.ศ.2530 สร้างเหรียญเป็นรุ่นที่ 2 เรียกว่ารุ่น ช่องบกผู้ชนะ เพื่อแจกแก่ทหารที่ไปรบที่ช่องบก จ.อุบลราชธานี จำนวนสร้าง 12,000 เหรียญ ลักษณะเหรียญเป็นรูปไข่หูในตัวหลวงพ่อนั่งสมาธิเต็มองค์ มีหนังสือโค้งตามเหรียญว่า หลวงพ่อผล วัดดักคะนน อ.เมือง จ.ชัยนาท 15 มิ.ย.2530 ใต้อาสนะที่หลวงพ่อนั่งเขียนว่า ช่องบกผู้ชนะ ดำเนินการสร้างโดย ร.อ.พูนศักดิ์ พสุนนท์ (ร้อยเอกคือยศในขณะนั้น)
    พ.ศ.2531 สร้างสมเด็จพุทธกวักไตรมาส ซึ่งปลุกเสกในไตรมาสของปี 2531 ตลอดพรรษา
    พ.ศ.2531 สร้างเหรียญขึ้นเป็นรุ่น 3 เพื่อแจกในวาระที่หลวงพ่อมีอายุครบ 73 ปี ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่หูในตัว หลวงพ่อผลครึ่งองค์ใบหน้าตรง ห่มจีวรลดไหล่เห็นริ้วจีวร 5 เส้น พาดสังฆาฏิมีหนังสือโค้งตามขอบเหรียญ ขอบบนว่า วัดดักคะนน อ.เมือง จ.ชัยนาท ส่วนขอบล่างมีอักษรไทยว่า พระครูธรรมจักรชโยดม (ผล) ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ มะอะอุ (ยันต์ครูที่หลวงพ่ออยู่ใช้ลงหลังเหรียญรุ่นแรกของท่าน)
    พ.ศ.2532 สร้างเหรียญรุ่น 4 โดยการนำบล๊อกเหรียญรุ่นแรกด้านหน้ามาใช้ปั๊มใหม่ และแกะบล๊อกด้านหลังเหรียญใหม่ให้เป็นรูปท้าวเวสสุวรรณ เพราะสร้างในครั้งที่ทางวัดดักคะนน ทำพิธีสวดภาณยักษ์ รุ่นนี้บูชาติดตัวเพื่อกันคุณผี-คุณไสย และป้องกันภูตผีปีศาจดีมาก
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จสัมฤทธิ์ที่ผลปี 2530 มวลสารผสมเกศาและมวลสารอย่างดีสภาพสวยเดิมๆครับ
    ให้บูชา 300 บาทครับค่าจัดส่ง30บาทระบบflashหรือJ&Tและ 50บาทemsไปรษณีย์ไทย
    IMG_20220901_152556.jpg IMG_20220901_152535.jpg IMG_20220901_152515.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2022
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,731
    ค่าพลัง:
    +21,341
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-phun/lp-phun-hist-01-01.htm
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    พระปิดตา๙องค์หลังพระสิวลี ธุดงค์สถานน้ำตกกะอางค์ นครนายก เนื้อหามวลสารสายพระป่าปฎิบัติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต โดยมีพระอาจารยฦ์ฝั้นอาจาโร อธิฐานจิต และครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆ เช่น พระอาจารย์ จันทร์ เขมปัตโต พระอาจารย์กว่า สุมโน พระอาจารย์วัน อุตโม พระอาจารย์หลวง กตปุญโญ พระอาจารย์สม พุทธจาโร พระอาจารย์พุธ ฐานิโย
    พิมพ์นี้หายากไม่ค่อยเจอสภาพสวยสมบูรณ์ๆ พระสร้างมาร่วม 40 กว่าปีครับ

    ให้บูชา 4500 บาทครับ e0-b8-ad-e0-b8-9d-e0-b8-b1-e0-b9-89-e0-b8-99-jpg-jpg.jpg e0-b8-ad-e0-b8-9d-e0-b8-b1-e0-b9-89-e0-b8-99-e0-b8-ab-e0-b8-a5-e0-b8-b1-e0-b8-87-jpg-jpg.jpg
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,731
    ค่าพลัง:
    +21,341
    วัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่)
    หมู่ 1 บ้านกุดแห่ ต.กุดแห่
    อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร 35120

    พระครูสุนทรศลีขันธ์ (หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร) เจ้าอาวาส


    วัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

    หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร เป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์ดี ฉนฺโน
    และเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของพระครูวิมลสีลาภรณ์ (หลวงปู่เนย สมจิตฺโต)


    วัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่)
    หมู่ 1 บ้านกุดแห่ ต.กุดแห่
    อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร 35120

    พระครูสุนทรศลีขันธ์ (หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร) เจ้าอาวาส


    วัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

    หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร เป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์ดี ฉนฺโน
    และเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของพระครูวิมลสีลาภรณ์ (หลวงปู่เนย สมจิตฺโต)

    • ประวัติความเป็นมาของวัดป่าสุนทราราม •

    ครั้งในสมัย พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรืองท่าแขก บ้านกุดแห่ วัดเจริญรุ่งเรืองมากทั้งทางโลกและทางธรรม ท่านเป็นพระนักพัฒนา พระนักก่อสร้าง ได้นำพาคณะญาติโยมทำบุญตามประเพณีจริงๆ เดือน ๓ เอาบุญข้าวจี่ เดือน ๔ เอาบุญพระเวสสันดรชาดก เดือน ๕ ก็บุญสงกรานต์ เดือน ๖ บุญบั้งไฟหมื่นบั้งไฟแสน ฯลฯ

    แต่ก่อนใกล้จะถึงวันทำบุญป่าวประกาศประชุมกันทำตูบ ทำปะรำสำหรับต้อนรับพระ ปัจจุบันใช้เต็นท์แทน ญาติโยมที่มาทำบุญใส่ฉลากมาเป็น ๖๐ กว่าบ้าน แต่ละหมู่บ้านที่มาจะประกอบด้วยหนุ่มสาว ผู้เฒ่าผู้แก่ พระเณรจะเดินทางมา บางวัดมีม้า พระจะขี่ม้ามา ญาติโยมหนุ่มสาวเดินตามหลังสนุกสนานร่าเริง พอไปถึงวัด เจ้าภาพจัดกันไว้เป็นคุ้มเป็นกลุ่ม คุ้มไหนรับบ้านไหนก็จะพาไปพักที่ตูบที่ประจำที่เตรียมไว้ ใครรับบ้านไหนจะตกลงกันในวันประชุมก็เป็นที่รับบ้านนั้น พอถึงเวลาแห่พระเวสก็จะไปรวมกัน มีกลองตุ้ม กลองหาง กลองเลง กลองกริ่ง มีวงระนาด ฆ้องวง มีหัวงิ้วหัวโขน เข้าขบวนแห่ สมัยนั้นถือเป็นของแปลกประหลาดมาก กลางคืนก็มีมหรสพ แต่ก่อนไต้กระบองไม่มีไฟฟ้า เครื่องเสียงไม่มี คนมาเที่ยวงานชมงาน ๑๐๐ กว่าหมู่บ้าน แออัดเต็มบ้านเต็มวัด คำว่าทะเลาะกันตีกันไม่มีเหมือนทุกวันนี้ มีแต่สนุกสนานร่าเริง คนหนุ่มสาวก็พูดเกี้ยวกันเป็นคำเว่าผญา แต่โบราณอาหารการกิน เลี้ยงกันเลี้ยงแขกที่มาเอาบุญอุดมสมบูรณ์ การทะเลาะวิวาทไม่มีเลย พระอาจารย์ในตอนนั้นท่านจะเป็นช่าง ทำอะไรเป็นหมด และให้ดีสมชื่อท่านด้วย ที่เห็นของเก่าที่ท่านทำไว้ก็ตู้เก็บคัมภีร์เทศนา ซึ่งจารึกด้วยตัวธรรมตัวขอมทั้งนั้นเลย ท่านมีม้าเป็นพาหนะ ท่านจะไปเทศนาบ้านกุดเชียงหมี บ้านไกลท่านจะขี่ม้า ญาติโยมก็เดินตามไป แต่ก่อนไม่มีรถเลย

    268_1242818991.jpg_376.jpg
    ท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน

    _paragraphparagraphparagraph__920.jpg
    พระครูสุนทรศลีขันธ์ (หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร)
    เจ้าอาวาสวัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) รูปปัจจุบัน
    ......................................................................................
    ครั้นต่อมา ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พร้อมน้องชายได้เดินทางออกจากวัดศรีบุญเรืองท่าแขก บ้านกุดแห่ ด้วยเกิดอยากไปเที่ยวหาเรียนวิชาอาคม หาของดีหาวิชาความรู้เพิ่มเติม จึงเดินทางท่องเที่ยวขึ้นไปทางเหนือไปทางจังหวัดสกลนคร นครพนม ด้วยคงเป็นบุญกุศลแต่ชาติปางก่อนหนุนส่ง จึงจำเพาะให้การเดินทางไปมืดค่ำลงที่บ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ซึ่งในขณะนั้นที่วัดบ้านสามผง ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พักปฏิบัติธรรมอบรมญาติโยมอยู่ที่นั้นพอดี เมื่อพระอาจารย์ดีเข้าไปนมัสการกราบไหว้ ท่านพระอาจารย์มั่นได้ทักท้วงทักทายได้ถูกต้องเหมือนตาเห็น เป็นอัศจรรย์มาก พระอาจารย์ดีเข้าใจทันทีว่าท่านพระอาจารย์มั่นเป็นผู้มีหูทิพย์ ตาทิพย์ สำเร็จแล้ว ท่านเป็นผู้วิเศษจริงๆ เมื่อมาพบของดีเข้าแล้วจึงขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ทันที ท่านพระอาจารย์มั่นก็แสดงธรรมให้ฟัง ชี้ทางประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย

    ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ท่านได้บวชญัตติเป็นพระสงฆ์คณะธรรมยุตใหม่อีกครั้ง ที่วัดสร่างโศก อำเภอยโสธร ในครั้งนั้น ซึ่งปัจจุบันคือ วัดศรีธรรมาราม (พระอารามหลวง) วัดธรรมยุตวัดแรกในอำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อบวชแล้วก็ได้ออกเผยแผ่พระธรรมกรรมฐาน เป็นศิษย์เอกในสมัยบุกเบิกนั้นอย่างกว้างขวาง ท่านเดินทางกลับบ้านกุดแห่ หลังจากฝึกข้อวัตรปฏิบัติจากท่านพระอาจารย์มั่น ๑ ปี พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ได้ไปพักอยู่ที่ดอนปู่ตา ปักกลดอยู่ดอนปู่ตา รื้อหอปู่ตาทิ้งปลูกกุฏิชั่วคราวขึ้น ปฏิบัติธรรมสั่งสอนประชาชนอยู่ ๑ เดือน ให้เลิกนับถือปู่ตา ให้เลิกนับถือผีฟ้า ให้นับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกสูงสุด

    ครั้นต่อมา พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พิจารณาเห็นว่าสถานที่ของวัดไม่เหมาะสมและไม่สัปปายะ จึงได้ย้ายจากดอนปู่ตาไปจับจองเอาดอนคอกวัวของ พ่อเฒ่าฝ่ายหน้า บุราณรัตน์ ซึ่งเป็นผู้บริจาคที่ดินแปลงนี้ให้เพื่อสร้างวัด พระอาจารย์ดีจึงสั่งคณะญาติโยมรื้อศาลากุฏิจากวัดศรีบุญเรืองท่าแขก บ้านกุดแห่ เอาไปปลูกสร้างไว้ที่วัดใหม่ดอนคอกวัวทั้งหมด วัดศรีบุญเรืองท่าแขกจึงเป็นวัดร้างแต่นั้นมา ปัจจุบันเป็นที่ธรณีสงฆ์ของ วัดป่าสุนทราราม ดอนปู่ตาก็เป็นบ้านดอนสวรรค์ทุกวันนี้ พระอาจารย์ดีท่านจะไม่ค่อยอยู่ประจำ แต่ไปๆ มาๆ เพื่อจัดหาทุนทรัพย์มาก่อสร้างเสนาสนะ ที่ดินทั้งหมดที่พ่อเฒ่าฝ่ายหน้า บุราณรัตน์ ถวายมีทั้งหมด ๖๐ ไร่ ๓ งาน ๒๐ ตารางวา

    สำหรับความเป็นมาของชื่อวัดนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ พระอธิการอินทร์ สุนทโร ซึ่งเป็นบิดาของพระอาจารย์ดี ฉนฺโน อุปสมบทมาหลายพรรษาแล้ว จึงนำเรื่องเสนอพระเถระ ต่อมาพระอธิการอินทร์ สุนทโร ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก จึงได้ตั้งชื่อวัดให้คล้ายกับนามฉายาของเจ้าอาวาสรูปแรก รูปปฐมฤกษ์ ว่า “วัดสุนทราราม” สภาพเป็นป่า เป็นวัดป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต สายปฏิบัติกรรมฐาน เลยเพิ่มป่าเข้าไปแล้วเรียกว่า “วัดป่าสุนทราราม” พระอธิการอินทร์ สุนทโร ได้พัฒนาก่อสร้างเสนาสนะ กุฏิ ศาลาการเปรียญ ฯลฯ วัดป่าสุนทรารามมีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาไม่เคยขาดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

    แต่ก่อน วัดป่าสุนทราราม เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ปัจจุบันเป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย มี พระครูสุนทรศลีขันธ์ (หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร) เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    เปิดดูไฟล์ 4450845

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญรุ่นแรกท่านราคาสูงหายากพอควร

    เหรียญไตรมาสรุ่น๒ หลวงปู่สิงห์ทอง ให้บูชา 3000 บาทครับ

    ลป.สิงห์ทอง.jpg ลป.สิงห์ทองหลัง.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2022
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,731
    ค่าพลัง:
    +21,341
    budd2825.jpg
    ประวัติหลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา ปัจจุบันนี้มีหลวงพ่อดี ๆ ดังๆ อยู่หลายองค์ด้วยกัน ที่อำเภอบางปะหัน จ. พระนครศรีอยุธยา ยังมีคณาจารย์อยู่รูปหนึ่งทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ ในเรื่องวิชาไสยศาสตร์เครื่องรางของขลัง เป็นที่น่าเคารพเลื่อมใสอย่างยิ่ง คณาจารย์ที่จะกล่าวถึงรูปนี้คือหลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง ต.หันสังข์ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ด้วยกิตติศัพท์ในด้านพุทธาคมของท่านอาจารย์หน่าย อินฺทสีโล วัดบ้านแจ้ง ต.หันสังข์ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ดังขจรขจายไปทั้งใกล้และไกลทุกทิศานุทิศมาเนิ่นนานแล้วแต่ของท่านดังแบบไฟสุมขอน ค่อยเป็นค่อยไป ผู้ประสบพบเห็นเหตุการณ์อันเต็มไปด้วยอภินิหารนานาประการ ต่างโจทก์จรรย์กันไปแบบปากต่อปาก ไม่มีการประชาสัมพันธ์แต่อย่างใด ดังนั้น คณะผู้จัดทำหนังสือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ – พระพุทธรูปพระเครื่อง จึงได้เดินทางไปหาประวัติความเป็นมาแต่ภูมิหลังของท่าน ท่านเป็นอาจารย์ ที่มีศีลจริยาวัตรงดงาม ตั้งอยู่ในสมณรูปโดยครบถ้วน ไม่ด่างพร้อยแต่ประการใด หลวงพ่อหน่าย อินฺทสิโล นามเดิมชื่อ หน่าย มีความดี วันที่เกิดจำไม่ได้จำได้แต่ พ.ศ. 2446 เกิดที่ตำบลหันสังข์ อำเภอบางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อ นายหลาบ มารดาชื่อ นางพลอย จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัด ในสมัยนั้นการศึกษายังไม่ค่อยเจริญ พออ่านออกเขียนได้ เมื่อหลวงพ่อจบการศึกษาแล้ว ได้ช่วยพ่อแม่ทำงานอยู่กับบ้าน หลวงพ่อบวชเณรเมื่ออายุ 12 ปี ที่วัดบ้านแจ้ง มีพระครูพัด เป็นพระอุปัชฌายะ ในขณะที่เป็นเณรได้ศึกษาธรรมวินัยและวิชาไสยศาสตร์บ้างเล็กน้อยเพราะตอนนั้นอายุยังน้อยอยู่ เมื่ออายุครบ 22 ปี ได้อุปสมบทที่วัดบ้างแจ้ง โดยมีพระครูพัด เป็นพระอุปัชฌายะ ได้ฉายาว่า อินฺทสีโล พอหลวงพ่อบวชเป็นพระหลังพรรษาแรก ก็เริ่มออกเดินธุดงค์ไปในอ่า ในเขาตามภาคต่าง ๆ ซึ่งมีสัตว์ดุร้ายที่ชุกชุม หลวงพ่อหามีความเกรงกลัวกับสัตว์ร้ายเหล่านั้นไม่ หลวงพ่อเล่าว่ามีอยู่วันหนึ่งขณะที่เดินธุดงค์เข้าไปในปาได้พบช้างยืนขวางหน้าอยู่ เมื่อหลวงพ่อเดินเข้าไปใกล้มันได้ใช้งวงของมันมาเกี่ยวจีวรที่หลวงพ่อครองอยู่ไปพันกับงวงมันหลวงพ่อจึงก้มลงแล้วหยิบดินขึ้นมาก้อนหนึ่งเสกแล้วโยนไปทีช้าง ช้างจึงได้วางจีวรลงแล้วได้เดินหายเข้าไปในป่า มิได้ทำร้ายหลวงพ่อเลย เมื่อหลวงพ่อเดินธุดงค์อยู่ในป่าเป็นที่พอใจแล้ว จึงได้กลับมายังวัดแจ้ง เพื่อเยี่ยมญาติโยม กลับมาอยู่วัดบ้างแจ้งได้ 3 เดือน หลวงพ่อได้เดินทางไปศึกษาวิชาไสยศาสตร์กับหลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ขณะที่หลวงพ่อเรียนวิชาไสยศาสตร์ อยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า ได้พบกับท่านกรมหลวงชุมพร ได้ศึกษาวิชาไสยศาสตร์กับท่านบ้างพอควร ส่วนมากหลวงพ่อจะได้วิชาจากหลวงพ่อศุข เป็นส่วนใหญ่ ยังไม่ทันที่หลวงพ่อหน่ายจะได้วิชาแขนงสุดท้าย จากหลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อท่านก็ได้มรณภาพไปเสียก่อน หลวงพ่อหน่าย จึงไปศึกษาวิชาเครื่องรางของขลัง และวิชาไสยศาสตร์ต่อ กับอาจารย์ย่ามแดง อาจารย์ย่ามแดงองค์นี้ ซึ่งเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ขณะที่หลวงพ่อศุข ยังมีชีวิตอยู่ หลวงพ่อศุข ได้ถ่ายทอดวิชาให้อาจารย์ย่ามแดงจนหมดสิ้นเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของหลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เมื่อหลวงพ่อหน่ายเรียนวิชาไสยศาสตร์เครื่องรางของขลังจากอาจารย์ย่ามแดง จนแก่กล้าดีแล้ว จึงได้กลับมาจำพรรษาอยู่ยังวัดบ้านแจ้ง เมื่อตอนที่หลวงพ่อหน่ายมาอยู่ ที่วัดบ้านแจ้งในขณะนั้นได้มี พระครูอนุวัติสังฆกิจ(เคลือบ) เป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อหน่ายได้ไปจำพรรษาอยู่ ในป่าช้านานถึง 20 ปี ไม่ยอมขึ้นมาจำพรรษาอยู่บนกุฏิ หลวงพ่อบอกว่าในป่าช้าเงียบและสงบดี เหมาะแก่การวิปัสสนากัมมัฎฐาน ขณะที่หลวงพ่อบวชเป็นพระอยู่ ได้ช่วยพระครูสังฆกิจ(เคลือบ) พัฒนาวัดได้สร้างอุโบสถ กุฏิ ศาลาการเปรียญที่วัดบ้านแจ้ง เมื่อพระครูสังฆกิจมรณภาพแล้ว ญาติโยมมีศรัทธาในตัวหลวงพ่อ จึงได้นิมนต์หลวงพ่อหน้ายขึ้นเป็นเจ้าอาวาส แทนเจ้าอาวาสองค์ที่มรณภาพไป เมื่อ พ.ศ. 2512 ปัจจุบันนี้หลวงพ่อมีอายุได้ 71 ปี พรรษาที่ 59 หลวงพ่อไม่ยอมรับสมณศักดิ์ใดๆ ทั้งสิ้น ขออยู่อย่างพระธรรมดา หลวงพ่อหน่ายท่านได้สร้างเครื่องรางของขลังไว้หลายอย่างด้วยกัน อาทิ เช่นมีตะกรุดโทน ตะกรุดมหาอุด พระโมคคัลลา มีแบบใหญ่ แบบเล็ก พระพุทธโคดมแบบใหญ่ แบบเล็ก และเหรียญรุ่นต่างๆ อีกหลายรุ่น ถ้าท่านผ่านไปทางวัดบ้านแจ้ง ลองแวะคุยกับหลวงพ่อดูบ้างท่านจะได้รับแจกวัตถุมงคลต่าง ๆ จาหลวงพ่อ ถึงแม้หลวงพ่อจะชราภาพมากแล้ว แต่ท่านยังแข็งแรงดี ท่านจะนั่งคุยกับโยม ที่ไปเยี่ยมท่านได้ตลอดทั้งวันโดยไม่รู้สึกเหนื่อย มีอารมณ์ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ บางท่านที่ยังไม่เคยได้พบหลวงพ่อ ได้ยินแต่เพียงเกียรติศัพท์ของหลวงพ่อเท่านั้น ยังเกิดศรัทธาเลื่อมใสหลวงพ่ออย่างมากมาย ถ้าท่านได้พบพูดคุยกับหลวงพ่อ ท่านจะเกิดศรัทธาเลื่อมใสหลวงพ่อมากยิ่งขึ้น วัตถุมงคลของหลวงพ่อที่ลูกศิษย์ลูกหานำไปใช้มักจะเจอกับประสบการณ์ต่าง ๆ หลายรายด้วยกัน เช่น รายที่หนึ่ง นายอุบล อยู่ที่แปดริ้ว เขาเองได้ถูกยิงด้วยปืนเอ็ม 16 ที่สัตหีบ ซึ่งคนร้ายจะปล้นเอาทรัพย์สิน แต่คนร้ายไม่อาจที่จะเอาทรัพย์สินของเขาไปได้ เกิดการต่อสู้กันเขาไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด โดยมีเหรียญ หลวงพ่อหน่าย ติดตัวเพียงเหรียญเดียว รายที่สอง นายตี๋ อยู่บ้านที่ตำบลบ้านบึงถูกยิงด้วยปืนจุด 38แต่ไม่เข้า เพราะมีเครื่องรางของขลัง ของหลวงพ่อติดตัวอยู่ หลวงปู่หน่าย วัดบ้านแจ้งได้รับการ คัดเลือกและยกย่อง จากหลวงปู่ดู่ วัดสะแกให้ท่านเป็นหนึ่งในพระเกจิ จตุรพิธพรชัย ตามคำปรึกษาของ ท่านเรียน นุ่มดี จึงเป็นที่มาของเหรียญ จตุรพิธพรชัย หลวงปู่หน่ายวัดบ้านแจ้ง จะสังเกตุว่าเนื่องจากท่านเป็น ศิษย์หลวงปู่ศุข วัดปากคลอง ท่านจึงได้รับการนิมนต์มาปลุกเสกวัตถุมงคล หลวงปู่ศุข ในหลายๆรุ่น ..
    ... (ข้อมูลจากหนังสือเก่าสมัยหลวงพ่อหน่ายยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่ได้มรณะภาพ ในปี พ.ศ. 2532) ...
    ขอบคุณที่มาข้อมลอย่างสงครับ


    พระสมเด็จรุ่นแรก หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง จ.อยุธยา
    ผงมวลสารวิเศษที่ลป.รวบรวมไว้ เคลือบแล็คเดิมจากวัดเนื่องจากผงล้วนๆเพื่อรักษาเนื้อพระ รับมาจากมือลป.หน่ายโดยตรง มั่นใจได้เลยครับ

    ให้บูชา 5000 บาทครับ

    ลป.หน่าย.JPG ลป.หน่ายหลัง.JPG
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,731
    ค่าพลัง:
    +21,341
    CR4_2539.jpg ประวัติหลวงปู่ละมัย ฐิตมโน
    สำนักสวนป่าสมุนไพร จ.เพชรบูรณ์

    เป็นพระอริยะสงฆ์ที่ควรเคารพบูชาอย่างสูงยิ่ง ไม่สามารถหาหลักฐานใดๆของทางราชการมายืนยันได้ว่าท่านเกิดปีใด พบเพียงข้อมูลจากหนังสือบทสวดมนต์ของวัดคีรีบัววนาราม ตำบลเขาน้อย อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี โดยพระครูปัญญาวุธากร(เจ้าอาวาส) ท่านได้บันทึกไว้ว่า ในหนังสือสุทธิของหลวงปู่ละมัย ท่านเกิดปี พ.ศ. ๒๔๐๓ ที่บ้านกระสัง ตำบลเย้ยปราสาท อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์(ปัจจุบันเป็นอำเภอหนองกี่) อายุ ๔ ขวบ โยมบิดามารดาพาอพยพไปอยู่ที่จังหวัดพระตระบอง ประเทศกัมพูชา เมื่ออายุ ๑๔ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร
    จากนั้นมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ท่านก็ได้บวชเป็นพระในจังหวัดพระตระบอง ประเทศกัมพูชา และในช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๓ - ๒๕๐๔ หลวงปู่ละมัยท่านได้ย้ายกลับมาอยู่ที่เมืองไทย ที่จังหวัดจันทบุรี ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ ท่านได้บรรจุเป็นพระไทย ซึ่งตอนนั้นท่านอายุได้ ๑๐๑ ปี
    หลวงปู่ละมัยท่านเป็นพระผู้ทรงอภิญญาองค์หนึ่ง ในดินแดนพระพุทธศาสนาไม่มีที่ไหนที่ท่านไม่เคยไป หลวงปู่ท่านเคยบอกว่า ท่านอยู่ในประเทศเขมร ๓๐ ปี ประเทศลาว ๓๐ ปี และในประเทศไทยมากกว่า ๓๐ ปี เคยเดินธุดงค์ด้วยเท้าเปล่าไปถึงประเทศศรีลังกา ได้สรรพวิชาต่างๆมามากมาย
    หลวงปู่ละมัยท่านสำเร็จวิชาการหุงปรอท อานุภาพปรอทสำเร็จของท่าน พระเกจิอาจารย์หลายองค์ต่างยกย่องว่ามีพลังงานมหาศาล พุทธานุภาพของพระปรอทของท่านนั้นมีประสบการณ์มากมาย ทั้งด้านแคล้วคลาด คงกระพันและเมตตามหานิยม หลวงปู่ท่านมีเมตตามาก ช่วยเหลือลูกศิษย์ลูกหาด้วยปรอทและยาสมุนไพรต่างๆ
    หลวงปู่ละมัยท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล พระอริยสงฆ์ผู้ทรงอภิญญาแห่งวัดบ้านจาน จ.ศรีสะเกษ โดยท่านได้ร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลหลายๆรุ่นของหลวงปู่หมุน อาทิ รุ่นเสาร์ห้าบูชาครู รุ่นไตรมาสรวยทันใจ เป็นต้น หลวงปู่หมุนจะเรียกหลวงปู่ละมัยว่า "ท่านใหญ่" และทุกครั้งที่ทำพิธีเดียวกัน ท่านจะอาราธนาท่านใหญ่ก่อนเสมอ
    หลวงปู่ละมัยท่านมีคุณธรรมขั้นสูง เปี่ยมล้นด้วยเมตตา บารมี พระเกจิดังหลายองค์เดินทางไปกราบท่าน เช่น หลวงพ่อรวย วัดตะโก,หลวงปู่นะ วัดหนองบัว,หลวงพ่อบุญลือ วัดคำหยาด,หลวงปู่เปรี่ยม วัดกำแพง เป็นต้น
    หลวงปู่ละมัยท่านได้เป็นองค์อุปภัมป์และสร้างวัดขึ้นหลายแห่ง เช่น สร้างพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี วัดแดนคงคาวนาราม จ.ชัยภูมิ วัดโคกว่านใหม่ อ.ละหารทราย จ.บุรีรัมย์ ที่ อ.มะขาม อ.โป่งน้ำร้อน วัดป่าตง วัดตามูล วัดเขาสะงอ ที่ อ.คลองหาด วัดเขาฉกรรจ์ ที่ จ.ปราจีนบุรี สร้างวัดทุ่งกบินท์ จันตคาม วัดทุ่งโพธิ์ วัดนาคี ที่ อ.ปากช่อง วัดถ้ำพระธาตุ วัดถ้ำไก่แจ้
    ในบั้นปลายหลวงปู่ท่านย้ายมาอยู่วัดโพธิ์เย็น อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ได้ ๖ - ๗ ปี แล้วจึงมาสร้าง "สำนักสวนป่าสมุนไพรคีรีนามทาสุขาวดี" เพื่อปลูกสมุนไพรและเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
    หลวงปู่ละมัยท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ สิริรวมอายุได้ ๑๕๑ ปี เวลาประมาณ ๐๑.๕๐ น. ระหว่างเข้าสมาธิจิต
    ที่มา : หนังสือรวมวัตถุมงคลหลวงปู่ละมัย
    : เอกสารวัดบ้านโคกว่านใหม่
    วัดแดนคงคาวนาราม นี้หลวงปู่บุญมา เจ้าอาวาส ท่านได้เคยธุดงค์ไปในประเทศต่างๆของแหลมอินโดจีนนี้มาอย่างทะลุปรุโปร่ง และได้พบกับหลวงปู่ละมัยในป่า ได้รับการสั่งสอนอบรมสมาธิจิต วิชา คาถาอาคมต่างๆพอสมควร จึงกราบลาหลวงปู่ออกธดงค์ต่อไป และเมื่อผ่านไปยังประเทศอินเดีย ก็ได้รับพระบรมสารีริกธาตุมาด้วย และท่านก็ได้นำมาเก็บรักษาไว้ ณ วัดแดนคงคาวนาราม ลุถึงปีพ.ศ.๒๕๔๕ หลวงปู่บุญมา อายุได้ ๑๐๘ ปี มีความต้องการที่จะสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้น เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ก็เกรงว่าจะไม่สำเร็จ จึงปรึกษากับเหล่าศิษยานุศิษย์ และได้ทราบว่า หลวงปู่ละมัย ยังดำรงขันธ์อยู่ จึงให้คณะศิษย์ ไปกราบอาราธนานิมนต์
    พระเดชพระคุณหลวงปู่ละมัยมาเป็นประธาน ซึ่งท่านก็รับนิมนต์จนการก่อสร้างสำเร็จ และยกฉัตรไปแล้วเมื่อปีพ.ศ.2552
    หลวงปู่บุญมาได้บอกกับลูกศิษย์ว่า "หลวงปู่(ละมัย)เป็นครูบาอาจารย์ของหลวงปู่(บุญมา)นะ เคยพบกับท่านตอนธุดงค์ ตอนนั้นเราอายุ 15 ปีได้ ท่านจะเป็นผู้ที่สร้างพระธาตุสำเร็จ เพราะท่านมีบารมีมาก" หลังจากหลวงปู่ละมัยรับนิมนต์ได้ไม่นาน หลวงปู่บุญมาก็มรณภาพลง
    วัตถุมงคลของหลวงปู่ละมัย ที่เด่นๆคือพระปรอท และแม่ซื้อประจำวันครับ
    ที่มา : ข้อความบางตอนจากเพื่อนสมาชิกเว็ปจี
    #บางคำจากพระอริยสงฆ์ที่กล่าวถึงหลวงปู่ละมัย
    "พระของท่านมีค่ามากกว่าทองและมีพุทธคุณครอบจักรวาล"
    หลวงพ่อรวย วัดตะโก อยุธยา
    "ท่านใหญ่ ท่านมีบารมีมาก ทุกพิธีเกี่ยวกับฉันต้องอาราธนาท่านทุกครั้ง"
    หลวงปู่หมุนวัดบ้านจาน
    "หลวงปู่ท่านศักดิ์สิทธิ์มาก เพียงแค่เศษชานหมาก หรือก้อนหินที่หลวงปู่ลูบคลำ ล้วนทรงคุณค่ามากล้น"
    หลวงพ่อบุญลือ พระทรงอภิญญาใหญ่แห่งวัดคำหยาดอ่างทอง
    "ฉันยังต้องไปกราบท่านเลย และขอบารมีจากท่าน"
    หลวงปู่นะ วัดหนองบัว
    "จะหาพระแบบหลวงปู่ละมัย ไม่ได้แล้วนะ"
    หลวงปู่สุภา
    "พระแบบนี้ นานๆ จะออกมาโปรดพวกเราสักที ท่านเป็นผู้ใหญ่ พระโบราณ ตักตวงเข้านะ"
    หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน
    "ท่านเป็นพระโบราณ มีความศักดิ์สิทธิ์มากนะ"
    หลวงปู่จิต
    "ท่านเป็นอาจารย์ของฉันตั้งแต่สมัยฉันเป็นเณร ท่านเก่งมาก ถ้าฉันตายไปแล้ว ให้ไปหาไปกราบเอาธรรมจากท่านให้ได้ ท่านอยู่ที่เพชรบูรณ์"
    หลวงปู่บุญมา วัดแดนคงคาราม สั่งศิษย์ไว้ให้ไปหาหลวงปู่ละมัย
    "จิตท่านไปไกลมาก นั่นคือดวงธรรมแห่งพุทธะที่หนึ่งเดียว"
    หลวงปู่เที่ยงธรรม
    "ท่านใหญ่ ท่านบารมีมากหลายเด้อ"
    หลวงปู่คำน้อย
    "ท่านยังอยู่หรือนี่ ท่านเคยเป็นอาจารย์ฉันมาก่อน ท่านเก่งรอบด้าน ทุกอย่างเลย ฉันยังต้องเรียนจากท่านเลย"
    หลวงปู่กลอย เขาหิน
    ที่มา : เว็ปกาหลง.คอม
    #จากใจแอดมิน
    เมื่อครั้งที่หลวงปู่ละมัยท่านยังดำรงค์ธาตุขันธ์อยู่นั้น ได้มีโอกาสได้เห็นท่านตัวเป็นๆ เพียงครั้งเดียว คือวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๔ ในงานพพิธีพุทธาพิเษกวัตถุมงคลรุ่น เสาร์ห้าอจินตรัยรวยทันตา ณ วิหารพระแก้วมรกต วัดป่าหนองหล่ม จ.สระแก้ว เนื่องจากครั้งนั้นแอดมินเป็นผู้ประสานงานจัดสร้างวัตถุมงคลชื่อ "พระชัยไพรีพินาศเพชรกลับชนะมารรุ่นบูชาครู ๕๔" ของครูบาโฮม วัดป่าโนนตะคร้อ อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ เอาเข้าเสกในพิธีรวยทันตานั้นด้วย ซึ่งเมื่อถึงเวลาพุทธาภิเษกแล้วหลวงปู่ละมัยก็ยังไม่มาถึงในมณฑลพิธี ทุกคนในที่นั้นต่างรอ แล้วก็รอแล้วรออีก ผมเองขับรถจาก อ.นาโพธิ์ตอนเวลาตีสอง ขับเส้นทางข้ามช่องเขาช่วง อ.โนนดินแดง มาถึงวัดป่าหนองหล่มก็พอดีเช้า ง่วงสุดง่วง ในใจก็คิดว่า "หลวงตาเฒ่าผู้นี้เป็นใครกันหรือ ถึงได้ให้ผู้คนตั้งมากมายเขาเฝ้ารอกันนัก" เวลาก็ล่วงเลยผ่านไปจวบจนบ่าย หลวงปู่ละมัยก็มาถึงงานพิธี ทุกอย่างก็แลว่าราบรื่นปกติดี แต่เมื่อครั้นเสร็จพิธีราวบ่ายห้าโมงเย็น ฝนก็กระหน่ำตกลงมาห่าใหญ่ ซึ่ง ณ เวลานั้นวันที่ 23 เมษายน ก็ยังไม่เข้าสู่ฤดูฝน และวันนั้นก็ไม่มีทีท่าว่าฝนจะตกเลยแม้แต่น้อย
    "ไอ้จ่อย!! กูจะไม่ไปงานนิมนต์ของใครอีกแล้วล่ะ" นี่คือคำพูดของหลวงปู่ละมัยกล่าวไว้ในงานพิธี(หลวงพ่อใช้ วัดหนองระกำ จ.ระยอง ยืนยันว่าได้ยินท่านพูดกับพระอาจารย์จ่อย) และซึ่งในปีเดียวกันนั้นท่านก็ได้สั่งให้พระอาจารย์จ่อยไปจำพรรษาด้วยที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนผมกับครูบาโฮมก็ได้เตรียมงานเททองหล่อพระที่สำนักวัดป่าโนนตะคร้อ จ.บุรีรัมย์ กำหนดการคือวันที่ 1 เมษายน 2555 ครูบาโฮมท่านก็ได้โทรศัพท์ไปคุยกับพระอาจารย์จ่อยเพื่อให้นิมนต์หลวงปู่ละมัยมาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการเททองหล่อพระนั้น ซึ่งครูบาโฮมก็ได้บอกกับผมว่าหลวงปู่ละมัยรับนิมนต์แล้ว "หลวงปู่ท่านว่าจะไม่ไปงานใครแล้วนี่ครับ" ผมพูดแย้งกับครูบาโฮม
    จนครั้นเมื่อเวลาล่วงเลยมาเช้ามืดของวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๔ ครูบาโฮมก็โทรศัพท์มาถามผมตอนเช้ามืดว่า " ได้ข่าวไหม หลวงปู่ละมัยละสังขารแล้วนะ เมื่อเวลาตีหนึ่งกว่าๆ" ผมนี่สุดอึ้งเลย เพราะท่านบอกว่าจะไม่ไปงานใครอีกแล้ว และเมื่อนึกถึงคนที่เคยเข้าไปหาหลวงปู่ละมัย บอกว่าเห็นหลวงปู่ท่านเขียนเลข ๗ เลข ๘ ไว้ในวัดหลายที่เลย บ้างก็ตีเป็นหวย บ้างก็มาตีเป็นปริศนาธรรา ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว หลวงปู่ท่านล่วงรู้วันปลงวางสังขารของท่านคือวันที่ ๗ ต่อเข้าสู่วันที่ ๘ นี่เอง จนวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔ ผมจึงได้ไปจุดธูปกราบเพื่อบอกกล่าวขอขมา
    เป็นความเชื่อส่วนบุคคล_โปรดใช้วิจารณญาณ
    เปิดดูไฟล์ 6002669
    แม่ซื้อรุ่นแรก หลวงปู่ละมัย
    สร้างเมื่อ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๓
    จำนวนสร้าง ๒๐๐๐ ชุด พิธีหลวงปู่ละมัยเสกเองที่วัดมีมวลสาร ว่านยาของหลวงปู่ถือว่าคัดที่สุดๆทั้งนั้นครับผงปรอดและมวลสารอื่นๆอีกมากมาย
    หลวงปู่ได้ตำรับวิชาบารมีแม่ซื้อมาจากคัมภีร์ใบลานเก่าโบราณอาณาจักรศรีเทพกล่าวว่าองค์แม่ซื้อทั้ง ๗ องค์ เปรียบเสมือนองค์ธาตุกำเนิด แม่กำเนิดแห่งโลกธาตุหรือเป็นแม่องค์แรกของโลกธาตุและเป็นแม่ที่คอยปกปักษ์ดูแลรักษาพระพุทธเจ้าตอนประสูติจนเติบโต

    หลวงปู่ได้กล่าวเป็นอมตะวาจาว่าคนเราทุกวันนี้ไปวัด ไปวา ไปศาลเจ้า ไปบนบาน ไปขออะไรต่างๆจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้กับตนเองนั้น เป็นการขอที่ปลายเหตุทั้งสิ้นคนเราอยากจะได้อะไร ปรารถนาสิ่งใดต้องการสิ่งใดต้องขอจากแม่ซื้อประจำวันเกิดของตัวเองซึ่งเปรียบเสมือนเป็นแม่ของเราเป็นแม่กำเนิดของเราทั้งทางโลกและทางธรรมจึงเป็นการขอที่ต้นเหตุที่แท้จริง จึงจะสำเร็จผล

    พระแม่ซื้อเป็นเทพประจำตัวที่คอยปกปักษ์รักษามนุษย์ทุกๆคน
    แม่ซื้อของวันอาทิตย์ตามตำราหลวงปู่ละมัยท่านมีชื่อว่าทิพวัลย์
    แม่ซื้อของวันจันทร์ตามตำราหลวงปู่ละมัยท่านมีชื่อว่านงคราญ
    แม่ซื้อของวันอังคารตามตำราหลวงปู่ละมัยท่านมีชื่อว่า บริสุทธิ์
    แม่ซื้อของวันพุธตามตำราหลวงปู่ละมัยท่านมีชื่อว่า บริพัฒน์
    แม่ซื้อของวันพฤหัสตามตำราหลวงปู่ละมัยท่านมีชื่อว่าพิมลทุกข์
    แม่ซื้อของวันศุกร์ตามตำราหลวงปู่ละมัยท่านมีชื่อว่านงเยาว์
    แม่ซื้อของวันเสาร์ตามตำราหลวงปู่ละมัยท่านมีชื่อว่ากมลทิพย์

    พระคาถาบูชาแม่ซื้อทั้ง ๗ องค์ ให้ตั้งนะโม ๓ จบ
    แล้วภาวนาว่า มะอะ มะอุมะนะ (ให้บริกรรมไว้ในใจตลอดเวลา)
    วิธีปฏิบัติบูชา
    น้ำ ๑ ขัน
    ข้าวสุก ๑ ปั้น
    เกลือ ๑ถ้วย
    (เปรียบเสมือนเป็นธาตุกำเนิดธรรมชาติ )
    อธิฐานขอพรท่าน
    หากมีเหตุร้ายให้ภาวนาว่า
    " เป สะ กะ "
    ให้บูชายกชุด 3500 บาทครับ
    U15117246366371800579478521.jpg U15117246366371800587278532.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2022
  8. kiati_sak

    kiati_sak เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    7,380
    ค่าพลัง:
    +13,255
    ทุกข้อมูลแน่นปึก สมกับที่ได้ท่องเที่ยวไปกราบพ่อแม่ครูบาอาจารย์สมัยก่อนมาแล้วเกือบทั่วประเทศ
     
  9. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +6,844
    ขอจองรายการนี้ครับ
     
  10. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +6,844
    ขอจองรายการนี้ครับ
     
  11. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +6,844
    ขอจองรายการนี้ครับ
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,731
    ค่าพลัง:
    +21,341
    รับทราบครับ ขอบคุณครับ
     
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,731
    ค่าพลัง:
    +21,341
    ประวัติโดยย่อหลวงปู่ภาท่านเคยเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงปู่ภาท่านเกิดประมาณปี2416ท่านเป็นมหาดเล็กของกรมหลวงชุมพร ท่านได้ติดตามกรมหลวงชุมพรเสด็จมาหาหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าจังหวัดชัยนาทอยู่บ่อยๆเลยฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข หลวงปู่ภาท่านบวชเป็นพระตอนอายุเยอะแล้ว และได้เล่าเรียนวิชากับหลวงปู่ศุข จนมาจำพรรษาอยู่วัดเทพพนมบูรณะวัดเทพพนม
    ท่านมรณะภาพประมาณปี2533มรณะภาพอายุประมาณ116ปี ถือว่าเป็นพระเกจิอีกท่านหนึ่งที่อายุยืน เทียบกับพระเกจิท่านอื่นๆที่ดังๆถือว่าก็ไม่แพ้กันเลยเรื่องความศักศิษย์แต่ไม่เป็นที่โด่งดังอย่างเช่นท่านอื่นๆเท่านั้นเอง
    #เกิดประมาณปี2416มรณะภาพอายุประมาณ116ปีสร้างเหรียญนี้ประมาณปี2516ชื้อรุ่นที่เรียกกันว่ารุ่นM16มีพิธีการปลุกเสกใหญ่มีหลายเกจิในยุคนั้นมาร่วมปลุกเสกด้วย ปล.ทีชื่อรุ่นM16เพราะว่าลูกศิษย์ท่านส่วนมากเป็นทหารและได้นำปืนM16มาลองยิงเหรียญรุ่นนี้ที่บริเวณหลังวัดและยิงไม่ออก เหรียญรุ่นนี้ชาวบ้านในพื้นที่ก็เลยเรียกว่ารุ่นM16(ตอนผมบวชเป็นพระอยู่ที่วัดเทพพนมผมได้รับฟังมาจากหลวงพ่อบุญส่งโดยตรงและก็ได้รับฟังมาจากปากชาวบ้านคนเฒ่าคนแก่ในพื้นที่พูดเล่ามาด้วยครับแต่พระของหลวงปู่ก็มีหลายรุ่นและดีทุกรุ่นนะครับ ขอบคุณครับ)
    ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขออภัยชี้แนะด้วยครับ
    ประวัติ วัดเทพพนม
    วัดเทพพนม ตั้งวัดเมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ. ศ. ๒๕๑๒ เดิมเป็นที่ดินของพ่อกา แม่แป้นกัณหาวารี ได้ถวายที่ดินให้สร้างวัดจำนวน ๓๒ ไร่ หลังจากนั้นชาวบ้านได้ช่วยกันก่อสร้างมาโดยลำดับเดิมชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า“ วัดสูงเนิน ” เพราะตั้งอยู่บนเนินเขา ต่อมาได้ขออนุญาตสร้างวัดโดยนายบุญมี กัณหาวารี เป็นผู้ขออนุญาต ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ. ศ. ๒๕๑๐ วัดเทพพนม มีพระประธานในอุโบสถปางคันธารราฐ ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ในรัชกาลที่ ๗ ในสมัยที่พระอธิการภา ธมฺมทินฺโน ซึ่งพระคันธารราฐองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง และได้พระราชทาน ณ วังสุโขทัย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ. ศ. ๒๕๑๗ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตรยาว ๘0 เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระครูนิวาสวุฒิคุณ เจ้าคณะตำบลลำพยนต์
    สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๓๒ ไร่ อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร สร้างเมื่อ พ. ศ. ๒๕๑๗ ศาลาการเปรียญ กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร สร้างเมื่อ พ. ศ. ๒๕๒๗ หอสวดมนต์ กว้าง 5 เมตร ยาว ๔ เมตร สร้างเมื่อ พ. ศ. ๒๕๔๒ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์ จำนวน ๑๑ หลัง เป็นอาคารไม้ ๔ หลัง อาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ๑ หลัง อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๖ หลัง วิหาร กว้าง 5 เมตร ยาว ๔ เมตร สร้างเมื่อ พ. ศ. ๒๕๕๒ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน ๑ หลัง สร้างเมื่อ พ. ศ. ๒๕๓๗ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ นอกจากนี้มี ฌาปนสถาน ๑ หลัง หอระฆัง ๑ หลัง หอกลอง ๑ หลัง โรงครัว ๑ หลัง เรือนเก็บพัสดุ ๑ หลัง
    อาณาเขต
    ทิศเหนือ: จดถนนพหลโยธิน
    ทิศใต้: จดภูเขา
    ทิศตะวันออก: จดถนนสาธารณะ
    ทิศตะวันตก: จดหมู่บ้าน
    เจ้าอาวาส วัดเทพพนม
    พระครูนิวาสวุฒิคุณ
    วัตถุมงคล วัดเทพพนม
    มีพระประธานประจำอุโบสถ ปางคันธารราฐ ขนาดหน้าตักกว้าง ๗๐ นิ้ว สูง ๔๕ นิ้ว สร้างเมื่อ พ. ศ. ๒๕๒๕ พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง ๔๕ นิ้ว สูง ๖๕ นิ้ว สร้างเมื่อ พ. ศ. ๒๕๓๖
    ที่อยู่ วัดเทพพนม
    A: ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ #cr.ประวัติวัดจากgoogle
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จนาคปรกคะแนนหลวงปู่ภา ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่ง 30 บาท flash หรือ j&t
    IMG_20220913_163212.jpg IMG_20220913_163230.jpg


     
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,731
    ค่าพลัง:
    +21,341

    ขอนำเสนอชีวประวัติของพระเถราจารย์รามัญแห่งเมืองดอกบัวหลวง พระมหาเถระผู้ทรงอภิญญาภูมิขั้นสูง ผู้เปรียบประดุจดั่งร่มโพธิ์ร่มไทรของชาวลาดหลุมแก้ว สุดยอดพระเกจิอาจารย์เชื้อสายรามัญผู้สร้างตำนานสุดยอดพระเครื่องยอดนิยมจังหวัดปทุมธานี พระมอญรูปนี้ก็คือ.
    S__28205072.jpg

    พระครูบริรักษ์ธรรมากร (บุญเทียม ภูริปญฺโญ)
    อดีตเจ้าคณะตำบลลาดหลุมแก้ว
    อดีตเจ้าอาวาสวัดลาดหลุมแก้ว ต. ลาดหลุมแก้ว อ.ลาดหลุมแก้ว จ. ปทุมธานี
    ***************************

    พระครูบริรักษ์ธรรมมากร หรือ หลวงพ่อบุญเทียม ภูริปญฺโญ เทพเจ้าแห่งความเมตตาของชาวลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ท่านมีนามเดิมว่า บุญเทียม นามสกุล เอกเอี่ยม ท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะเมีย ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๑ ณ บ้านหมู่ที่ ๔ ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี (เรียกชื่อตามสมัยนั้น ปัจจุบันคือ หมู่ที่ ๑ ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี) โดยท่านเป็นบุตรชายของโยมพ่อ เมฆ เอกเอี่ยม และโยมแม่ เล็ก(มิด๊วด) เอกเอี่ยม ซึ่งท่านมีพี่ต่างบิดา ๒ คน และมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก ๗ คน ซึ่งตัวท่านเองเป็นบุตรคนที่ ๗
    ในวัยเด็ก หลวงพ่อบุญเทียม ท่านได้เรียนหนังสือไทยที่ โรงเรียนประชาบาลวัดระแหง(ปัจจุบันคือ โรงเรียนชุมชนวัดบัวแก้วเกษร วรพงษ์อนุกูล) โดยในขณะนั้น ครูทัน รุจิเรข เป็นครูใหญ่ ซึ่งท่านมีอุปนิสัยส่วนตัวคือชอบอ่านหนังสือ และชอบความสงบ โดยในช่วงแรกท่านยังอ่านเขียนมิค่อยคล่องนัก แต่ท่านชอบดูรูปภาพต่าง ๆ จึงทำให้มีความสนใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น ท่าน ได้เล่าเรียนหนังสือจนกระทั่งจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ กระทั่งเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ท่านจึงไปขอบิดามารดามาเป็นเด็กวัด เพื่อที่จะได้เล่าเรียนหนังสือในวัดกับพระกับเณรด้วย ซึ่งบิดามารดาก็เห็นด้วยที่จะได้ให้ลูกชายอยู่ใกล้พระใกล้วัด
    พระสมเด็จหลวงพ่อบุญเทียมวัด
    ท่านจึงได้มาเป็นเด็กวัดอยู่ที่วัดลาดหลุมแก้ว ซึ่งมี พระอธิการเขียน เป็นเจ้าอาวาสวัดอยู่ในขณะนั้นต่อมาท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ในขณะที่อายุท่านได้ ๑๓ ปี ณ วัดระแหง(วัดบัวแก้วเกษร) เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วก็ได้มาอยู่ที่วัดลาดหลุมแก้ว ซึ่งในขณะนั้นที่วัดลาดหลุมแก้ว มี่พระเณรจำพรรษาอยู่เพียง ๓ รูปเท่านั้น และสภาพพื้นที่เดิมของวัดลาดหลุมแก้วในสมัยนั้นยังเต็มไปด้วยป่าที่รกชัฏ ยังไม่มีผู้คนเข้าไปหักป่าถางพงกันมากนัก ทำให้บริเวณของวัดนั้นร่มรื่น และวังเวง ดูน่ากลัว ในสมัยที่ท่านบวชเณรอยู่นั้น หลวงพ่อบุญเทียม ท่านเป็นคนที่กลัวผีเป็นทุนเดิม ท่านจึงได้ทำการถางป่าจนเตียนโล่ง สามเณรบุญเทียม ได้บวชเป็นสามเณรอยู่เพียง ๒ ปี และได้จำต้องสึกออกมาช่วยบิดามารดาทำนา เพราะพี่ ๆ น้อง ๆ ของท่านได้แยกย้ายไปมีครอบครัวกันหมด หลังจากที่สึกจากเณรออกมา ท่านก็กำลังเป็นหนุ่มแตกพาน คือ อยู่ในวัยกำลังเที่ยว กำลังสนุก คึกคะนองตามวัย แต่หลวงพ่อบุญเทียม หาได้เป็นเหมือนวัยรุ่นหนุ่มทั่ว ๆ ไปไม่ ท่านกลับชอบการทำบุญ เข้าวัดเข้าวา สร้างความดีด้วยการช่วยเหลือผู้อื่นตลอด เช่น ช่วยชาวบ้านปลูกบ้าน ขุดสระ ลอกคลอง เป็นต้น จึงเป็นที่รักใคร่ของชาวบ้านในย่านนั้นเป็นอย่างยิ่ง
    กระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ในขณะที่ท่านมีอายุครบ ๒๒ ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ณ พัทธสีมาวัดระแหง(วัดบัวแก้วเกษร) เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยมี พระครูปราโมทย์ศีลขันธ์(หลวงพ่อปลื้ม) วัดระแหง(วัดบัวแก้วเกษร) เป็นพระอุปัชฌาย์ และมี พระอธิการโนรี ภาวณฺโณ วัดลาดหลุมแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมี พระอธิการสุมนต์ วัดบัวสุวรรณประดิษฐ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยท่านได้รับฉายาทางธรรมว่า “ภูริปญฺโญ”
    S__28205077.jpg
    หลังจากที่ท่านได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว ท่านจึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดลาดหลุมแก้ว และได้เล่าเรียนศึกษาพระธรรมวินัยขั้นต้นกับพระอธิการโนรี ภาวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดลาดหลุมแก้วในขณะนั้น ต่อมาท่านได้เรียนพระปริยัติธรรม และได้เข้าสอบนักธรรมสนามหลวง จนสอบไล่ได้นักธรรมชั้น ตรี-โท-เอก ตามลำดับ เมื่อท่านได้เรียนรู้ในพระธรรมวินัยเป็นที่เข้าใจแล้ว ท่านก็มุ่งมั่นศึกษาต่อในวิชาอาคมจากพระอาจารย์ต่างๆที่มีความรู้ความสามารถในยุคนั้นด้วย ซึ่งในระยะแรกหลวงพ่อบุญเทียม ท่านได้เริ่มต้นเล่าเรียนวิชาอาคมสายมอญ และวิชากรรมฐาน จาก พระอธิการโนรี ภาวณฺโณ วัดลาดหลุมแก้ว ก่อนเป็นเบื้องต้น ต่อมาท่านได้เดินทางไปศึกษาในทางพุทธาคมกับ หลวงพ่อทองสุก แห่งวัดตาล ตำบลบางตะไนย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยหลวงพ่อทองสุก ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาทางด้านอยู่ยงคงกระพัน มหาอุตม์ เพื่อนำไปถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์ลูกหาสืบไป ต่อมาหลวงพ่อบุญเทียม ท่านได้ไปศึกษาเล่าเรียนวิชากับ หลวงพ่อชื่น แห่งวัดตำหนัก จังหวัดนนทบุรี ด้วย ซึ่งหลวงพ่อชื่น ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชา การเสริมดวง สะเดาะเคราะห์ต่อชะตา ซึ่งเป็นวิชาที่หลวงพ่อชื่น ท่านถ่ายถอดให้กับหลวงพ่อบุญเทียม อย่างละเอียดลึกซึ้ง และนำมาใช้ช่วยผู้คนได้ผลเป็นอันมาก หลังจากที่หลวงพ่อบุญเทียมได้ไปเรียนกับหลวงพ่อชื่น แล้ว ท่านก็ได้ไปเรียนวิชากับอาจารย์ฆราวาสด้วย คือ หมอเปลี่ยน ซึ่งท่านเก่งทางด้านยาสมุนไพร ยาโบราณ รักษาโรค หลวงพ่อบุญเทียมจึงตั้งใจที่จะศึกษาและค้นคว้ายาสมุนไพร เพื่อมาใช้รักษาโรคแก่ผู้คนที่เจ็บไข้ได้ป่วยไร้ที่พึ่ง ต่อมาท่านได้ไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับ พระมหาพูน ท่านได้อยู่ฝึกเรียนวิปัสสนากรรมฐานจนชำนาญ แล้วท่านจึงเดินทางไปเรียนต่อยังสำนักหลวงปู่กลิ่น จันทรังษี แห่งวัดสะพานสูง โดยท่านได้มาศึกษาวิชาการทำตะกรุด เครื่องราง และวิชาการเขียนยันต์ตรีนิสิงเห จากหลวงปู่กลิ่น ซึ่งในช่วงนี้เองท่านจึงมีความสนิทสนม และเป็นสหธรรมมิก กับหลวงพ่อทองสุข อินทสาโร วัดสะพานสูง ด้วย
    หลวงพ่อบุญเทียม ภูริปญฺโญ เป็นพระที่คงแก่เรียน ชอบศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ แม้กระทั่งท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดลาดหลุมแก้วแล้วนั้น ท่านก็ยังเที่ยวเดินทางไปแลกเปลี่ยนวิชากับพระอาจารย์ต่างๆอยู่เสมอๆ อาทิเช่น หลวงปู่เส็ง วัดบางนา , หลวงปู่หลุย วัดท่าเกวียน , หลวงปู่ภักดิ์ วัดสุทธาวาส เป็นต้น พระอาจารย์ที่กล่าวมานั้นล้วนแล้วแต่เป็น พระสหธรรมมิกกับหลวงพ่อบุญเทียมทั้งสิ้น กระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒ พระอธิการโนรี ภาวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดลาดหลุมแก้วในขณะนั้น ได้ถึงกาลมรณภาพลง เจ้าคณะพระสังฆาธิการพร้อมด้วยชาวบ้านจึงมีมติแต่งตั้งให้ พระบุญเทียม ภูริปญฺโญ เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดลาดหลุมแก้ว ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ท่านจึงได้รับตราตั้ง แต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดลาดหลุมแก้ว และเป็น พระอธิการ
    S__28205075.jpg

    ในสมัยที่หลวงพ่อบุญเทียม ภูริปัญโญ เป็นเจ้าอาวาสนั้น ท่านได้พัฒนาปรับขยายพื้นที่บริเวณของวัดให้กว้างขวางขึ้น เพื่อสร้างเสนาสนะต่างๆขึ้นใหม่ และทดแทนของเดิมที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา อาทิ ศาลาการเปรียญ อุโบสถ วิหาร หอระฆัง และกุฏิสงฆ์ เป็นต้น ซึ่งนับได้ว่าในยุคสมัยนั้นเป็นยุคทองของวัดลาดหลุมแก้วก็ว่าได้ เพราะหลวงพ่อบุญเทียม ท่านได้พัฒนาวัดให้เจริญทัดเทียมกับวัดอื่น ๆ ในย่านนั้น อีกทั้งท่านยังได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนในด้านการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรตลอดทั้งบุตรหลานของชาวบ้านให้มีความรู้ อ่านเขียนหนังสือได้ ซึ่งหลวงพ่อบุญเทียม ท่านได้เมตตาสอนหนังสือและอบรมสั่งสอนอันเตวาสิกอันสัทธิวิหาริกของท่านด้วยตัวท่านเอง โดยท่านมักนำเอานิทานธรรมบท ในพระไตรปิฎกเรื่องต่าง ๆ มายกกล่าวอ้างและเปรียบเทียบให้เหล่าลูกศิษย์ลูกหาได้ฟังกันอยู่เสมอๆ จึงทำให้มีญาติโยมนิยมมาฟังท่านเทศน์เป็นจำนวนมาก เพราะท่านเป็นพระนักเทศน์ที่มีไหวพริบปฏิภาณ สามารถเทศน์ให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย ท่านจึงเป็นพระสงฆ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก
    กระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งเป็น เจ้าอธิการ เจ้าคณะตำบลลาดหลุมแก้ว และในปีเดียวกันท่านก็ได้เป็น พระอุปัชฌาย์
    กระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ หลวงพ่อบุญเทียม ภูริปัญโญ ท่านจึงได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นตรี ในราชทินนาม ที่ “พระครูบริรักษ์ธรรมากร”
    S__28205073.jpg

    ปทุมธานีหลังยันต์ตรีนิ
    อีกทั้ง หลวงพ่อบุญเทียม นั้นท่านเป็นพระหมอที่ประชาชนทั้งในเขตและนอกเขตให้การยอมรับนับถือเป็นอย่าง โดยท่านเป็นทั้งหมอยาสมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆของชาวบ้าน อีกทั้งท่านยังเป็นพระหมอที่คอยช่วยเหลือชาวบ้านในเรื่องแก้คุณแก้ไสย เสริมดวง สะเดาะเคราะห์ต่อชะตาอีกด้วย หลวงพ่อบุญเทียม ท่านเป็นพระมหาเถระที่ทรงอภิญญาอีกรูปหนึ่งของเมืองปทุมธานี ท่านเป็นพระที่มีวาจาสิทธิ์ กำหนดรู้กาลล่วงหน้าได้ แต่ท่านก็มิเคยอวดตนว่าเก่ง แต่ชาวบ้านสามารถทราบถึงบารมีของท่านได้ และท่านยังเป็นพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังมีชื่อเสียงในยุคนั้น ท่านเคยได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีพุทธาภิเศกงานสำคัญๆอยู่หลายครั้ง และท่านยังสร้างวัตถุมงคลไว้ใช้แจกแก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาไว้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น พระพิมพ์สมเด็จฯ พิมพ์ต่าง ๆ , พระปิดตา พิมพ์ต่างๆ , ตะกรุด , พระเหรียญรูปเหมือนตัวท่าน , พระเหรียญพระพุทธ , ผ้ายันต์ , พิรอด , พระเนื้อผงพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งวัตถุมงคลของท่านที่โด่งดัง และเป็นที่ต้องการของนักสะสมในยุคปัจจุบันนี้ก็คือ ตะกรุดโทน และเหรียญรูปเหมือนตัวท่าน รุ่นแรก ซึ่งนับเป็นวัตถุมงคลยอดนิยมอีกชิ้น

    หนึ่งของจังหวัดปทุมธานี วัตถุมงคลของหลวงพ่อบุญเทียม ทุกชนิดล้วนแล้วแต่ดีมีประสบการณ์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม ทำให้มีประชาชนจากทั่วสารทิศมากราบไหว้ขอพร ขอของขลัง ให้ท่านอาบน้ำมนต์ สะเดาะเคราะห์ ทุกวันมิได้ขาดสาย ทำให้ท่านต้องสูบดมควันธูปที่ประชาชนมาทำพิธีทุกวันๆ ทำให้สุขภาพของท่านมิค่อยแข็งแรงนัก ประกอบกับท่านเป็นคนที่มีร่างกายเล็ก ผอม และมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว คือ โรคภูมิแพ้ ในบั้นปลายชีวิตของท่าน ท่านต้องอยู่กับควันธูปทุกวัน ๆ โดยมีอาการของโรคปอดกำเริบ ทำให้ร่างกายของท่านซูบผอมลงและทรุดโทรมลงอย่างเห็นได้ชัด ต่อมาเมื่อช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ท่านได้มีอาการอาพาธอย่างหนัก เหล่าศิษยานุศิษย์ใกล้ชิดจึงจะพาท่านไปทำการรักษาที่โรงพยาบาล แต่ท่านมิยอมไป ทำให้อาการของท่านได้กำเริบหนักมาตามลำดับ แต่ท่านก็ยังปฏิบัติกิจของสงฆ์ได้ตามปกติ และท่านยังเปิดกุฏิรับแขกที่มาหาท่าน มาให้ท่านทำพิธีให้ตามปกติ โดยเสมือนว่าร่างกายของท่านยังแข็งแรงอยู่ กระทั่งเมื่อช่วงงานพิธีผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิตอุโบสถวัดลาดหลุมแก้ว โดยทางคณะกรรมการวัด ได้ทำเรื่องกราบทูลเชิญ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เสด็จมาเป็นองค์ประธานตัดหวายลูกนิมิต เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๙ ท่านก็ได้มีอาการอาพาธดีบ้างทรุดบ้างตามลำดับ กระทั่งเมื่อช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ท่านได้อาพาธหนักขึ้น บรรดาลูกศิษย์จึงได้นำตัวท่านไปรักษาที่โรงพยาบาล จนกระทั่งวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ หลวงพ่อบุญเทียม ภูริปญฺโญ จึงได้ละสังขารลงอย่างสงบ ท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจของบรรดาศิษยานุศิษย์และชาวบ้านวัด
    ศิษยานุศิษย์และชาวบ้านวัดลาดหลุมแก้วเป็นอย่างยิ่ง สิริรวมอายุท่านได้ ๖๘ ปี พรรษา ๔๖
    หลังจากที่หลวงพ่อบุญเทียม ภูริปญฺโญ ได้มรณภาพลงแล้วนั้น คณะสงฆ์และบรรดาศิษยานุศิษย์จึงได้จัดงานการบำเพ็ญกุศลศพ และบรรจุสรีระสังขารของหลวงพ่อบุญเทียม ภูริปญฺโญ ลงในโลงแก้ว แล้วตั้งบำเพ็ญกุศลไว้เป็นเวลา ๔ ปีเศษ และจึงได้จัดให้มีพิธีการพระราชทานเพลิงศพ พระครูบริรักษ์ธรรมากร(บุญเทียม ภูริปญฺโญ) ณ เมรุลอยวัดลาดหลุมแก้ว เมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓
    @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
    เรียบเรียงโดย : ขุนแผน แดนรามัญ
    รายละเอียด
    #พระสมเด็จหลวงพ่อบุญเทียมวัดลาดหลุมแก้วปทุมธานีหลังยันต์ตรีนิสิงเห หลวงพ่อบุญเทียมวัดลาดหลุมแก้วปทุมธานีสมเด็จองค์นี้ท่านสร้างเองครับและปลุกเศกหลายครั้ง สร้างในปี2521โดยใช้ดินดำผสมกับผงพุทธคุณต่างๆ และเนื้อกล้วยหอม โดยให้ศิษฐ์วัดเด็กๆ รวมทั้งพระช่วยกันกดพิมพ์ทีละองค์แล้วหลวงพ่อจะปลุกเศกแต่หลวงพ่อท่านจะสร้างพระสมเด็จในช่วงท่านยังแข็งแรงอยู่ คุณเก็บไว้ให้ดีเถอะครับ พุทธคุณหายห่วงเมตามหานิยม แคล้วคลาด ป้องกันจากภูมิผี สิ่งชั่วร้าย มีคนได้ประสบการตรงหลายครั้ง หลวงพ่อเป็นพระที่มีจิรวัตรน่าเลื่อมใส และท่านเป็นพระที่สมถะไม่หยิบจับเงินทอง มีวิชาอาคมมาก ท่านเป็นพระที่เก็บตัว ในช่วงท่านมีชีวิตอยู่ ถนนหนทางมาวัดลำบากมาก แต่ก็มีผู้คนพยามเข้ามาให้ท่านช่วยเหลือทุก ๆ วัน เหมือนมีงานเทศกาล ทั้งที่ในสมัยนั้นความเจริญบริเวณนั้นกล้าบอกได้ว่ายังเข้าไม่ถึง ยังไม่มีไฟฟ้า ปะปา โทรศัพท์แต่ไม่ว่าจะดึกดื่นเพียงใด ที่ท่านทำก่อนจำวัดคือต้องไปนั่งสมาธิในอุโบสภทุกวัน ซึ่งประวัติหลวงพ่อนั้นดังถึงขนาดมี บุคคลที่มีชื่อเสียงมาพบท่านมากมายเช่น นักการเมืองดารานำฟิลมหนังที่ท่านสร้างมาให้หลวงพ่อเจิม เป็นต้นครับ.
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จหลวงพ่อบุญเทียมให้บูชา 300 บาทค่าส่ง 30 บาท flash หรือ j&t

    IMG_20220913_170524.jpg IMG_20220913_170540.jpg
     
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,731
    ค่าพลัง:
    +21,341
    ประวัติเหรียญครูบาศรีวิชัย วัดม่วงม้า ปี 2515
    ผู้สร้าง นายถาวร อภิชัย
    ปลุกเสกโดย พระครูอภินันท์เขมธรรม (พระอธิการเสาร์ เขมิโย) อดีตเจ้าอาวาสวัดม่วงม้าเนือ และอดีตเจ้าคณะตำบลร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
    จำนวนการสร้าง 15,000 เหรียญ แบ่งเป็นกะไหล่ทอง 7,500 เหรียญ รมดำ 7,500 เหรียญ
    แบ่งพิมพ์ มี 2 พิมพ์ พิมพ์หลังพระพุทธ จำนวน 7,500 เหรียญ (กะไหล่และรมดำอย่างละครึ่ง)พิมพ์หลังนางกวัก จำนวน 7,500 เหรียญ (กะไหล่และรมดำอย่างละครึ่ง) โดยปั๊มเหรียญที่กรุงเทพโดยคณะกฐินของนายถาวร อภิชัย (หมายเหตุ:พิมพ์หลังนางกวักจะมีแหนบพระเจ้า 5 พระองค์ จำนวน 3,750 เหรียญ)พิธีปลุกเสก ครั้งแรกที่วัดม่วงม้าเหนือ ปี 2515 โดยพระครูอภินันท์เขมธรรมปลุกเสกเดี่ยวตลอดปี ครั้งที่สองทำพิธีที่วัดอุปคุต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2516 โดยทำพิธีเสร็จที่วัดอุปคุตก็ออกนำมาให้เช่าบูชาเหรียญละ 10 บาทในสมัยนั้น โดยเงินปัจจัยในการบูชาในครั้งนี้นำมาสร้างวิหารวัดม่วงม้าเหนือ ในปี 2516

    พุทธคุณ เด่นในทางเมตตามหานิยม โชคลาภ

    (จากคำสัมภาษณ์พ่อหนานบุญมี ใจมูล อายุ 85 ปี อดีตมัคทายกวัดม่วงม้าเหนือ)
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ให้บูชา 300 บาทค่าส่ง 30 บาท flash หรือ j&t
    IMG_20220913_171756.jpg IMG_20220913_171812.jpg
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,731
    ค่าพลัง:
    +21,341
    หลวงพ่อเสนาะ ปัญญาวโร วัดบางคาง จ.ปราจีนบุรี

    A-1-1.jpg



    หลวงพ่อเสนาะ ปัญญาวโร วัดบางคาง จ.ปราจีนบุรี – คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6
    หลวงพ่อเสนาะ ปัญญาวโร – วันศุกร์ที่ 5 มิ.ย.2563 น้อมรำลึกครบรอบ 101 ปี ชาตกาล “พระครูสุนทรธรรมยุต” หรือ “หลวงพ่อเสนาะ ปัญญาวโร” อดีตเจ้าอาวาสวัดบางคาง ต.รอบเมือง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี และที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองปราจีนบุรี
    เป็นพระเถระที่มีอาวุโสสูงอีกรูปหนึ่งของเมืองหน่อไม้ไผ่ตง มีศีลาจารวัตร ปฏิบัติดี ดำรงตนอย่างสมถะเรียบง่าย เรื่องทำวัตรเช้า-เย็นเป็นประจำมิได้ขาด
    ทุกวันพระจะขึ้นศาลาการเปรียญเทศนาโปรดญาติโยมที่มาทำบุญ ซึ่งการเทศน์นั้นไพเราะเสนาะหู สร้างความประทับใจและความศรัทธาให้แก่ผู้ได้ยินได้ฟังอย่างยิ่ง
    พื้นเพเดิมเป็นชาวปราจีนบุรีโดยกำเนิด เกิดที่บ้านหมู่ 5 ต.รอบเมือง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 มิ.ย.2462 มีนามเดิมว่า เสนาะ ชาวเมือง บิดา-มารดาชื่อ นายทอง และนางนิ่ม ชาวเมือง
    ในช่วงวัยเยาว์ได้เข้าศึกษาหาความรู้ที่โรงเรียนวัดบางคางจนสำเร็จวิชาสามัญชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่ออายุ 13 ปี
    เมื่ออายุ 21 ปี เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทที่วัดบางคางเมื่อวันพุธที่ 17 เมษายน 2483 โดยมีพระครูด้วง เกสโร วัดหลวงปรีชากูล เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า ปัญญาวโร
    หนึ่งพรรษาผ่านไปได้ติดตามพระอาจารย์เชย วัดสันติ ออกเดินธุดงค์จากวัดบางคางมุ่งหน้าไปนมัสการพระพุทธบาท จ.สระบุรี ซึ่งเส้นทางในสมัยนั้นยังเป็นป่ารกชัฏเต็มไปด้วยอันตรายและความยากลำบาก แต่ท่านก็ผ่านมาได้ด้วยดี
    ครั้นกลับมาวัดแล้วได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ คือ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2484-2486
    พ.ศ.2486 ได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ตั้งแต่นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2514
    พ.ศ.2490 เจ้าอาวาสวัดบางคางได้ลาสิกขาเพื่อกลับภูมิลำเนาที่ประเทศกัมพูชา ท่านจึงได้รับการเสนอชื่อให้เป็นเจ้าอาวาสเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และได้เป็นพระอุปัชฌาย์ในปีพ.ศ.2513
    เคยไปปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา พระเกจิอาจารย์ชื่อดังยุคสงครามอินโดจีน และเคยไปกราบสนทนาธรรมกับหลวงพ่อผิว วัดสง่างาม พระเกจิชื่อดังยุคนั้นอีกหลายรูป โดยเล่าว่าไปกราบด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ซึ่งหลวงพ่อทุกองค์บอกว่า “ทุกอย่างขึ้นอยู่ที่จิต ที่กาย และวาจา ถ้าจิตดี กายบริสุทธิ์ วาจาสัจจะ ทำอะไรตั้งจิตมุ่งไปให้ถึง ทุกอย่างก็สำเร็จสมประสงค์ทุกประการ”
    ด้วยเหตุที่ท่านเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ มีความจำเป็นเลิศ เป็นผู้สังเกตการณ์ จึงเก็บเกี่ยวประสบการณ์ความรู้ต่างๆ จากครูบาอาจารย์ ในลักษณะครูพักลักจำ ศึกษาวิชาอาคมต่างๆ รวมทั้งการเขียนอักขระเลขยันต์ ท่านได้ศึกษาจากคัมภีร์ใบข่อยเป็นตำราโบราณจนสามารถอ่านออกเขียนได้ และนำมาปฏิบัติฝึกฝนจนมีพลังจิตแก่กล้า
    สำหรับวัตถุมงคลยอดนิยมคือ เหรียญรุ่นแรก ปีพ.ศ.2510 สร้างแจกผู้ร่วมทำบุญบูรณะวัด เหรียญรุ่นนี้ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวนานมาก มีประสบการณ์ทั้งแคล้วคลาด คุ้มภัย ค้าขายดี มีมูลค่าเช่าหาบูชากันที่หลักหมื่น
    ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง จึงมรณภาพอย่างสงบเมื่อเวลา 05.20 น. วันที่ 6 ก.พ.2558 ที่โรงพยาบาลพญาไท 2 กรุงเทพฯ หลังเข้ารักษาตัวด้วยโรคมะเร็ง
    สิริอายุ 96 ปี พรรษา 76
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จหลังหลวงพ่อเสนาะวัดบางคางครบรอบ 80 ปี ให้บูชา 300 บาทค่าส่ง 30 บาทflashหรือ j&t
    IMG_20220913_173321.jpg IMG_20220913_173335.jpg
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,731
    ค่าพลัง:
    +21,341
    87482017113102_view_resizing_images_1_.jpg
    หลวงพ่อโด่ อินทโชโต - พระครูพินิจสมาจาร
    วัดนามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

    "พระครูพินิจสมาจาร" หรือ "หลวงพ่อโด่ อินทโชโต" เจ้าอาวาสวัดนามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมรุ่นเก่าอีกรูปหนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วภาคตะวันออก

    เกิดในสกุลชัยเสมอ เมื่อวันจันทร์ที่ 22 ต.ค.2420 ที่บ้านเนินมะกอก ต.นามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

    ในช่วงวัยเยาว์ บิดา-มารดาให้ไปอยู่ในความอุปการะของนายฮวด และนางแตงกวา คหบดีบ้านหัวสะพาน เรียนหนังสือขอมและหนังสือไทย

    กระทั่งอายุครบ 21 ปีเข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดนามะตูม โดยมีพระอาจารย์เพ็ง วัดหน้าพระธาตุ เป็นพระอุปัชฌาจารย์, พระอาจารย์ปั้น วัดนามะตูม เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์คง วัดประชาระบือธรรม (วัดบางกระบือ) กรุงเทพฯ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ศึกษาพระธรรมวินัยตามควรแก่พระนวกะสมัยนั้น จน พ.ศ.2446 ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนามะตูม

    พ.ศ.2476 เป็นเจ้าคณะตำบลนามะตูม พ.ศ.2481 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2503 เป็นเจ้าคณะอำเภอพนัสนิคม

    พ.ศ.2481 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในราชทินนามที่พระครูพินิจสมาจาร

    พ.ศ.2511 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

    ศึกษาวิทยาคมอีกหลายแขนง โดยได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อเอี่ยม วัดนอก จ.ชลบุรี ส่วนด้านการแพทย์แผนโบราณนั้นท่านก็ได้ศึกษาจากหลวงพ่อปั้นและโยมจอกอย่างรอบรู้

    เป็นผู้ริเริ่มสร้างวัด 3 วัด คือ วัดเนินหลังเต่า ต.บ้านช้าง อ.พนัสนิคม, วัดทุ่งเหียง และวัดหนองยาง ต.หนองบอนแดง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี

    นอกจากนี้ ยังได้ซื้อที่ดินถวายวัดเกาะโพธิ์ ต.ท่าบุญมี เพื่อขยายให้กว้าง 1 ไร่ และสมทบสร้างโรงพยาบาลสงฆ์ที่ชลบุรี อุปการะเลี้ยงพระภิกษุ-สามเณรที่สำนักสงฆ์จิตภาวัน อ.บางละมุง

    สำหรับการบูรณะวัดวาอารามให้อยู่ในสภาพดี ทั้งวัดในปกครองและวัดที่อยู่ในความดูแลของท่าน สร้างตั้งแต่กุฏิ หอฉัน มณฑป อุโบสถ ศาลาการเปรียญ เมรุเผาศพศาลาหน้าเมรุ

    หลวงพ่อโด่ยังสร้างวัตถุมงคลเป็นจำนวนมาก ล้วนแต่ได้รับความนิยมจากบรรดานักสะสมนิยมพระเครื่อง อาทิ เหรียญหลวงพ่อโด่รุ่นแรก ปี พ.ศ.2496 เหรียญสร้างโบสถ์วัดบ้านใหม่ พ.ศ.2500 เหรียญฉลองเลื่อนสมณศักดิ์ พ.ศ.2503 เหรียญกลมและเหรียญจักร พ.ศ.2513 พระปิดตาท่านก็ได้สร้างไว้หลายรุ่น

    ท่านมีลูกศิษย์มากมาย ที่มีชื่อเสียงเป็นรู้จัก คือ หลวงปู่โทน กันตสีโล วัดเขาน้อยคีรีวัน อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี

    ในช่วงปีพ.ศ.2500 จนถึงปี พ.ศ.2515 ท่านนับว่าเป็นพระเกจิ ที่ดังที่สุดของอำเภอพนัสนิคม และมีชื่อเสียงในแถบตะวันออกอย่างมาก พิธีปลุกเสกของวัดต่างๆ ในสมัยนั้นจะต้องมีชื่อของหลวงพ่อโด่ เช่น พิธีปลุกเสกพระหลวงพ่อโสธรรุ่นเก่าๆ หลายรุ่น พิธีจักรพรรดิปี 2515 พิษณุโลก และพิธีปลุกเสกพระพุทธ 25 ศตวรรษ เป็นต้น

    ต่อมามีอาการอาพาธ ทางคณะศิษย์นำท่านส่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ด้วยวัยที่ชราภาพทำให้อาการมีแต่ทรุดหนักลง

    ในที่สุดมรณภาพด้วยอาการอันสงบ ในคืนวันที่ 10 เม.ย.2515 สิริอายุ 95 ปี พรรษา

    ผมขออนุญาตก็อปนำข้อมูลของ หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม พระอุปัชฌาย์ และ เป็นอาจารย์ของ หลวงพ่อซ่วน วัดท่าลาดใต้ ที่ท่านเคารพนับถือ และ ยังได้ร่ำเรียนวิชาจากท่านอีกครับ
    หลวงพ่อโด่ อินทโชโต วัดนามะตูม เป็นสุดยอดพระเกจิสายภาคตะวันออกใน ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีอายุยืนยาวมาก ท่านมรณภาพ เมื่อปี 2515 เรื่องความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังด้านอยู่ยงคงกระพันของท่านนั้น นักเลงเมืองชลบุรีในยุคนั้นจะทราบกันดี และนับถือหลวงพ่อโด่เป็นอย่างยิ่ง
    หลวงพ่อโด่ ท่านยังเป็นสหธรรมิกกับ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ครับ
    ความสัมพันธ์ของ หลวงปู่ทิม และ หลวงพ่อโด่ ท่านเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกัน คือ ท่านทั้ง2ได้เรียนวิชา กับ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ แต่ หลวงพ่อโด่ ท่านจะอาวุโสกว่า หลวงปู่ทิม ประมาณ 2 ปี เหตุที่ทำให้ท่านทั้ง2สนิทกันนั้น นอกจากจะเป็นศิษย์อาจารย์เดียวกันแล้ว ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ทิม ท่านเดินทางมาจากบ้านค่าย จ.ระยอง เพื่อที่จะไปเรียนวิชากับ หลวงปู่สิม วัดบ้านซ่อง และ เรียนวิชาทำสีผึ้ง ที่ บ้านซ่อง เช่นกัน (เกษตรสุวรรณ บ่อทอง)กับ ฆราวาส สวนมะพร้าว ซึ่ง ฆราวาส ท่านนี้สมัยก่อน มีเมียถึง 12 คน โดยไม่ทะเลาะกันเลย ด้วยบารีสีผึ้งเมตตานี้ จึงทำให้ หลวงปู่ทิม ท่านจึงอยากมาเรียนด้วย แต่ด้วยการเดินทางสมัยก่อนยากลำบากมาก ท่านได้ธุดงมาจนจึง วัดนามมะตูม อีกไม่เกิน 7-8 วัน ก็จะเข้าพรรษาแล้ว ท่านเห็นว่าการจะเดินทางไป บ้านซ่อง ต่อคงมิทันการแน่ จึงตัดสินใจเข้าจำพรรษา ที่วัดนามมะตูม(สมัยนั้นไม่มีถนนเส้น 331) และ แลกเปลี่ยนความรู้ ที่ร่ำเรียนมากับ หลวงพ่อโด่ หลังจากนั้น ท่านก็ไปๆมาๆ หาสู่กันประจำ จนเป็น สายสัมพันธ์ พนัสนิคม-บ้านค่าย ดังที่กล่าวมา บางคนบอกท่านมาขอเรียนวิชา ไม่ใช่เลยครับวิชาของท่านทั้ง 2 เก่งพอๆกัน โดยเฉพาะ วิชาสร้างปลัดขิก ต้องบอกว่าแน่พอกันเลยก็ว่าได้ จึงทำให้ท่านทั้งสองมีความสนิทสนมกับเป็นพิเศษ จะบอกแบบภาษาชาวบ้านก็คือ เพื่อนสนิทนั่นเอง หลวงปู่ทิม ท่านเรียก หลวงปู่โด่ ว่า
    ท่านพ่อโด่
    ความเข้มขลังของหลวงพ่อโด่ นั้น หลวงปู่วิเวียร เคยเล่าไว้ว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงพ่อโด่ สอนการเสกพระให้หลวงปู่วิเวียร ในบาตรของท่านมี ปลัดขิก 1 ตัว เมื่อหลวงพ่อโด่เข้าสมาธิภาวนาคาถา ปลัดขิกก็ลอยออกมาจากบาตร แล้ววิ่งหมุนรอบกุฎิจากช้าไปเร็ว แล้วค่อยๆ ลงมาในบาตร หลวงพ่อโด่ สอนให้หลวงปู่วิเวียรทำบ้าง อีก 3 วันต่อมา หลวงปู่วิเวียร จึงสามารถเสกปลักขิกให้กระดุกกระดิกได้
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อโด่วัดนามะตูมออกวัดท่าลาดใต้หลังหลวงพ่อโยกให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่ง 30 บาท flash หรือ j&t
    IMG_20220913_181256.jpg IMG_20220913_181310.jpg

     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,731
    ค่าพลัง:
    +21,341
    IMG_20220913_184423.jpg pic_108.jpg


    วัดจันทร์เจริญสุข ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านปรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นวัดเก่าวัดหนึ่ง ที่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างมาแต่สมัยใด “วัดจันทร์เจริญสุข” เจริญรุ่งเรืองมากในยุคสมัยก่อน มีพระสงฆ์ จำพรรษาประมาณ 100 รูป เป็นแหล่งศึกษาอักขระสมัย มีกุฏิหลายหลัง แบ่งเป็นหลายคณะการปกครอง ภายหลังชำรุดผุพังไปตามสภาพกาลเวลาพระอธิการเขียน พระอธิการสวาท พระแจ้ง พระใจ พระครูเหว่า พระอธิการผึ่งพระครูแหร่ม พระรอด พระครูสมุทรมงคล (สาย สุมงฺคโล) พระครูสมุทรนวการ (สวัสดิ์ อภิสมาจาโร) ย้ายมาจากวัดขันแตก เมื่อปี พ.ศ.2518 และเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน พระครูรัตนปัญญาโสภณ (โชคชัย ธฺมมทฺธโช) ด้านการศึกษา พระครูสมุทรมงคล (หลวงปู่สาย) ได้ริเริ่มเปิด “โรงเรียนประชาบาล” ขึ้นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2483 โดยอาศัยศาลาต่างๆ ภายในวัดเป็นที่เรียน ต่อมาสร้างเป็นอาคารถาวร 1 หลัง ปัจจุบันย้ายอาคารเรียนมาปลูกในที่ใหม่มีอาคาร 2 หลัง มีโรงฝึกงาน โรงอาหาร มีสนามกว้างขวาง มีนักเรียนมาก ปัจจุบันมีครู 13 คน
    ประวัติความเป็นมาของ “พระครูสมุทรมงคล (หลวงปู่สาย สุมงฺคโล เอี่ยมสะอาด) หลวงปู่สาย ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 8 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2452 ที่บ้านฝั่งตรงข้ามวัดจุฬามณี อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 5 คน ของพ่อสังข์ แม่คุ้ม เอี่ยมสะอาด เมื่อเยาว์บิดามารดา ส่งไปศึกษาอยู่กับพระที่ “วัดธรรมนิมิต” เรียนต่อที่ “วัดนางวัง” ใกล้บ้านจนจบการศึกษาในสมัยนั้น แล้วกลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ พออายุได้ 20 ปี ในปี พ.ศ.2472 บิดามารดาและญาติจัดให้อุปสมบท ณ พัทธสีมา “วัดบางกะพ้อม” อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมี “ท่านเจ้าอธิการคง ธมฺมโชโต” วัดบางกะพ้อม เป็นพระอุปัชฌาย์ “ท่านพระอธิการแช่ม โสฬะสะ” วัดจุฬามณี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ “พระอาจารย์เกิด” วัดบางกะพ้อม เป็นอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดบางกะพ้อม จนสามารถสอบนักธรรม ตรี โท เอก ได้ตามลำดับ จนได้เป็นครูสอนนักธรรมอยู่ที่วัดบางกะพ้อม และสอนนักเรียนประถมที่วัดนางวังเป็นครั้งคราว ได้ทำหน้าที่เป็นเลขา ช่วยเหลือ “หลวงพ่อคง” เพราะสมัยนั้น “หลวงพ่อคง” ท่านเป็นเจ้าคณะตำบล ปกครองวัดต่างๆ ตลอดทั้งช่วยหลวงพ่อ ปกครองดูแลพระสงฆ์ภายในวัด/font>
    นอกจากนั้นหลวงพ่อสาย ยังใช้เวลาว่าง ศึกษาเล่าเรียนหนังสือขอม เรียนมูลกัจจายน์ ฝึกหัดปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนศึกษาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อคงเป็นเวลานานหลายปี และในการสร้าง “เหรียญรูปหลวงพ่อคง” หลวงพ่อสายมีส่วนร่วมในการสร้างด้วย วัดจันทร์เจริญสุข ได้ว่างเจ้าอาวาสลง ชาวบ้านจึงพร้อมกันไปหา “หลวงพ่อคง” มาขอ “หลวงพ่อสาย” มาเป็นเจ้าอาวาส วัดจันทร์เจริญสุข เมื่อหลวงพ่อคงอนุญาตแล้ว ชาวบ้านย่านวัดจันทร์เจริญสุข จึงแห่หลวงพ่อสายมาเป็นเจ้าอาวาส และได้รับแต่งตั้งเป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมของ “ท่านพระครูธรรมวิถีสถิติ์” เจ้าคณะอำเภอเมืองสมุทรสงคราม เมื่อปี พ.ศ.2496 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลบ้านปรก อำเภอเมืองสมุทรสงคราม เมื่อปี พ.ศ.2501 ได้รับการแต่งตั้ง เป็นพระอุปัชฌาย์ และเลื่อนจากพระใบฎีกา เป็นพระครูใบฎีกา ฐานานุกรม ในตำแหน่งของท่านเจ้าคุณพระเทพเมธี วันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2502 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สัญญาบัตรเป็น พระครูสมุทรมงคล พ.ศ.2518 จัดงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต อุโบสถวัดจันทร์เจริญสุข ในช่วงก่อนงานปิดทองฝังลูกนิมิต คือ พ.ศ.2517 ได้ป่วยหลายโรคและไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลบ้าง กลับมารักษาเองที่วัดบ้าง ภายหลังจากการจัดงานปิดทองฝังลูกนิมิตอุโบสถหลังที่ได้ตรากตรำก่อสร้างมาเป็นเวลาหลายปี เป็นผลสำเร็จแล้ว ไม่นานนักท่านก็ล้มป่วยลงอีก อาการทรุดลงเรื่อยๆจนในที่สุด หลวงพ่อสาย ก็ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2518 สิริอายุรวมได้ 67 ปี พรรษา 45

    เหรียญหลวงพ่อสาย วัดจันทร์เจริญสุข จ.สมุทรสงคราม ปี 2517 รุ่น3เนื้อทองแดงรมดำทันหลวงพ่อครับ ตามสภาพ
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่ง 30 บาท flash หรือ j&t
    IMG_20220913_184423.jpg IMG_20220913_184436.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2022
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,731
    ค่าพลัง:
    +21,341
    วัตถุมงคลหลากหลายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศครับค่าจัดส่งต่อครั้ง 30 บาทระบบflash หรือ J&Tและ 50 บาทems ไปรษณีย์ไทย 08--1--70--4--72--64 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง line ตามเบอร์โทรศัพท์
    บัญชีธนาคาร กรุงไทย 125-00-89-239
    Supachai thu
    โอนแล้วแจ้งบอก ทางข้อความ พร้อมที่อยู่จัดส่ง ป้อง กัน การเอาข้อมูลจากมิจฉาชีพครับ
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,731
    ค่าพลัง:
    +21,341
    pic_160.jpg
    พระครูสุวิชานวรวุฒิ เคยเล่าให้พระภิกษุ สามเณร ฟังถึงความยากลำบากในวัยเด็กของเด็กชายปี้ ชูสุข ว่า "มันถึงที่สุดแค่นั้นเอง เพราะถ้ามันเกินกว่านี้ไป ชีวิตก็ทนไม่ได้ ต้องตายแน่ๆ"
    การปกครอง และสมณศักดิ์
    พ.ศ. 2481 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเชิงคีรี

    พ.ศ. 2485 ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลานหอย และได้รับตราตั้งกรรมวาจาจารย์

    พ.ศ. 2492 เป็นพระอุปัชฌาย์

    พ.ศ. 2496 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลบ้านด่านลานหอย

    พ.ศ. 2510 เลื่อนขึ้นเป็นพระครูสัญญาบัตร พระครูเจ้าคณะตำบลชั้นโท

    พ.ศ. 2510 เป็นเจ้าคณะตำบลกิตติมศักดิ์

    ท่านได้อบรมพระภิกษุสามเณร และอุบาสก อุบาสิกาที่ไปกราบนมัสการท่านในเทศกาลต่างๆ เช่นในวันตรุษสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษาเป็นต้น การอบรมของท่านส่วนใหญ่จะเป็นไปในแบบ "สนทนาธรรม" และ "ปริศนาธรรม" ท่านมีปริศนาธรรมมาก ได้แนะนำให้ประชาชนงดเว้นจากการทุจริต กลับมาประพฤติตนเป็นสุจริตชนได้เป็นจำนวนมาก คนที่มีปัญหาเดือดร้อนมักไปนมัสการท่าน เล่าถึงปัญหาความเดือดร้อนให้ท่านฟัง ถ้าช่วยได้ท่านก็จะช่วยทันที พร้อมกับให้คติธรรมแนะนำสั่งสอนให้ทำแต่ความดีต่อไปว่า ผลของการทำความดีจะต้องตอบสนองอย่างไม่ต้องสงสัย ท่านเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนได้เป็นอย่างดี

    นอกจากวัดในเขตอำเภอบ้านด่านลานหอยแล้ว ท่านยังได้ให้การอุปถัมภ์การสร้างถาวรวัตถุให้กับวัดในอำเภอ และจังหวัดอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ที่ไปขอความอุปถัมภ์จากท่านในงานสาธารณอื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ประชาชนและทางราชการ ท่านได้ให้แนวความคิดในการงานนั้นๆ ให้แก่เจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องถ้าเป็นงานที่จะต้องมีการใช้จ่ายเงิน ท่านก็จะมอบวัตถุมงคลของท่านให้เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนำไปดำเนินการ นับว่าท่านเป็นพระที่ทำประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาและประเทศชาติเป็นอย่างมากรูปหนึ่ง

    เด็กชายปี้ เป็นผู้ที่มีความเมตตากรุณาต่อคนและสัตว์มาตั้งแต่ยังเป็นเด็กๆ เคยไปพบคนฆ่าสัตว์ คือเก้ง-กวาง ก็เกิดเมตตาสงสารจับใจ จนไม่สามารถรับประทานเนื้อสัตว์เหล่านั้นได้ เด็กชายปี้ ได้ใช้ชีวิตอยู่ในเพศฆราวาส ซึ่งเต็มไปด้วยความยากลำบากจนอายุได้ 20 ปี ก็เกิดศรัทธามีความปรารถนาจะบรรพชาอุปสมบทเป็นพุทธบุตรในพระพุทธศาสนา

    การศึกษาทางพระพุทธศาสนา
    เมื่ออายุครบ 20 ปี มีความเลื่อมใสศรัทธาที่บวชในพระพุทธศาสนา แต่ยังไม่สามารถจะบวชได้เพราะความยากจน ไม่มีเงินจะซื้อผ้าไตร แม่จึงต้องพาไปหา นายโจทย์ เข็มคง กำนันตำบลลานหอยในขณะนั้น โดยได้ขอร้องนายโจทย์ ให้ช่วยเป็นเจ้าภาพจัดการให้ได้บวชในพระพุทธศาสนา นายโจทย์ ก็รับเป็นเจ้าภาพจัดการบวชให้สมความปรารถนายังความปลื้มปิติให้กับ นายปี้ และมารดาเป็นอย่างยิ่ง แม่ของนายปี้ มีเงินไปร่วมในการบวชลูกชายเพียง ๒๕ สตางค์เท่านั้นเอง ได้บวชเป็นพระภิกษุสมความปรารถนา เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2465 ณ พัทธสีมา วัดสังฆารามตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย โดยมีพระครูวินัยสาร (พระราชประสิทธิคุณ) เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการน้อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า ทินโน เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงคีรี ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย

    การศึกษาพระปริยัติธรรม ได้ศึกษานักธรรมชั้นตรีด้วยตนเองแล้วไปสมัครสอบสนามหลวง แต่สอบไม่ได้ เนื่องจากไม่สู้จะมีหนังสือเรียนและขาดครูสอน แต่ก็พยายามศึกษาด้วยตนเองมาโดยตลอด สอบนักธรรมชั้นตรีได้เมื่อปี พ.ศ. 2475 และได้เรียนวิปัสนากรรมฐาน และการธุดงค์กับพระอุปัชฌาย์ของท่านที่วัดราชธานี จนมีความเข้าใจในเรื่องการเดินธุดงค์ เป็นอย่างดี และมีศรัทธาเลื่อมใสตั้งใจออกธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เพื่อปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ท่านได้ออกจาริกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ หลายจังหวัด คือ เมืองร่างกุ้ง ประเทศพม่า ปาดังเบซา ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น ปรากฏว่า ท่านได้ออกเดินธุดงค์อยู่หลายปี ท่านเป็นพระที่มีความเพียรสูง เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและมีความมานะอดทนเป็นเลิศรูปหนึ่ง
    ผู้ที่เคยได้ไปนมัสการพระเดชพระคุณหลวงพ่อในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ จะเห็นสัญลักษณ์ประจำวัดลานหอยอยู่ชนิดหนึ่งที่ตรึงใจท่านที่ไป คือ บรรดาสัตว์ป่าทั้งหลายที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้เลี้ยงไว้มากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเก้ง กวาง หมูป่า วัวป่า ฯลฯ ท่านเลี้ยงไว้ด้วยความเมตตา พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้ปรารภว่า "สัตว์นั้นแม้จะเป็นสัตว์ป่า แต่ก็มีความจริงและซื่อตรงยิ่งกว่ามนุษย์ ที่มีความคิดความอ่านที่ดีเสียอีก" พระเดชพระคุณหลวงพ่อเล่าว่า แม้กระทั่งผึ้งที่เกาะในวัดก่อนจะมาอยู่อาศัย จะมีหัวหน้ามาบินวนท่านเป็นเชิงบอกกล่าว แม้เวลาจะไปก็บอกเช่นเดียวกับตอนมาอาศัย พระเดชพระคุณหลวงพ่อก็ให้ศีลให้พรไป ท่านบอกว่าคนบางคนจะมาจะไปไม่บอกไม่กล่าวกับเจ้าของสถานที่ (จะไปก็ไม่ลา จะมาก็ไม่บอก) แย่กว่าสัตว์เสียอีก สัตว์ป่าบางชนิดดุร้าย ประชาชนที่มานมัสการหลวงพ่อจะไม่มีโอกาสเข้าใกล้แต่พระเดชพระคุณหลวงพ่อสามารถจับและเล่นกับสัตว์เหล่านี้ได้ จากสัตว์ที่ดุร้ายกลายเป็นสัตว์ที่เชื่องไปในพริบตา และสัตว์เหล่านี้ก็มีความรักใคร่ในพระเดชพระคุณหลวงพ่อมากแม้กระทั่งวัวแดง (ชื่อไอ้ต่อม) ครูเกิน ไชยเชิงชน ซึ่งเป็นครูอยู่ที่ท่าดินแดง อำเภอคีรีมาศ มาขอไปเพื่อเป็นพ่อพันธุ์ หลวงพ่อให้ไป แต่วัวแดงไม่ยอมขึ้นรถ จนหลวงพ่อไปบอกวัวด้วยตัวท่านเองว่า "ไปเถอะ" วัวจึงยอมไป และก็ไปตาย หลวงพ่อบอกว่ามันคงเสียใจ ท่านสร้างแท็งก์น้ำไว้ ณ โรงพยาบาลสุโขทัยตรงตึกสงฆ์เขียนที่แท้งก์น้ำว่า "อุทิศให้ไอ้ต่อม" บางครั้งผู้ที่ไปโรงพยาบาลสุโขทัยไปพบเห็นสิ่งเหล่านี้ จะเข้าใจเรื่องราวได้โดยตลอด

    ปัจจุบันวัดลานหอยไม่มีสัตว์เหล่านั้นอยู่คู่วัดลานหอยอีกแล้ว ในอดีตวัดซึ่งเคยเป็นที่พำนักพึ่งพิงของสัตว์ทั้งหลาย เหลือเพียงความทรงจำของคนรุ่นเก่าเท่านั้น ตลอดชีวิตของพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านอยู่เพื่อที่จะให้ ไม่ว่าใครจะนิมนต์ไปปลุกเสกวัตถุมงคลที่ใด ท่านไม่เคยขัดนิมนต์ ท่านปลุกเสกแผ่เมตตาให้แก่วัตถุมงคลของทางราชการ ช่วยเหลือประเทศชาติของเรา วัตถุมงคลที่ปลุกเสกมีหลากหลาย เช่น พระเครื่อง แหวนผ้า ธนบัตรขวัญถุง ฯลฯ

    ตลอดชีวิตของพระเดชพระคุณหลวงพ่อได้สร้างความเจริญให้กับพุทธศาสนามากมายในบริเวณวัดลานหอย ท่านได้สร้างพระอุโบสถ สำหรับประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเสร็จเรียบร้อยสวยงามเด่นเป็นสง่า ก็ด้วยบารมีของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ อภินิหารของน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อสามารถสร้างพระอุโบสถได้เป็นหลังๆ มีคนจากทั่วสารทิศมากราบนมัสการท่านมากมายมืดฟ้ามัวดินทีเดียว และจตุปัจจัยที่ได้จากผู้มากราบนมัสการก็ได้กลายมาเป็นพระอุโบสถ หอสวดมนต์ และสิ่งก่อสร้างอันเป็นสาธารณกุศลอีกมากมาย
    ไม่สรงน้ำ
    ไม่เคยมีผู้ใดเห็นพระเดชพระคุณหลวงพ่อสรงน้ำเลยตลอดชีวิตของบรรพชิตเรื่องการไม่เคยสรงน้ำนี้เอง มีเรื่องเล่าลือมากมายบางคนบอกว่าท่านสรงน้ำในโหลอันนี้เป็นไปได้ ถ้าเราเคยศึกษาประวัติของปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นอาจารย์ของกรมหลวงชุมพร ฯ แล้วจะพบว่าเป็นเรื่องจริงของผู้สำเร็จวิชาชั้นสูง และเป็นที่น่าสังเกตว่าเนื้อตัวของท่านสะอาดอยู่ตลอดเวลา เคยมีคนนมัสการถามเกี่ยวกับการสรงน้ำของท่านว่า "ไม่เห็นหลวงพ่อสรงน้ำ?" พระเดชพระคุณหลวงพ่อตอบว่า "ท่านสรงทุกวัน" ทุกคนในที่นั้นเลยนิ่ง พระเดชพระคุณหลวงพ่อให้นำน้ำมาหนึ่งถัง ทุกคนเฝ้ามองการสรงน้ำของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ไม่เห็นท่านสรงได้แต่พูดคุย เอามือลูบตามเนื้อตัวอยู่ตลอดเวลา ทันใดนั้นปรากฎมีน้ำเปียกชุ่มตามตัวของท่าน ท่านได้บอกว่า "เอ้าข้าอาบแล้ว" นับเป็นความประหลาดและสร้างความตะลึงแก่ผู้ที่อยู่ ณ ที่นั้นเป็นอย่างยิ่ง

    ธรรมปฏิบัติและความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์
    คณาจารย์ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อปี้นับถือมากและยกย่องอยู่ตลอดเวลาได้แก่พระราชประสิทธิคุณ (เจ้าโบราณวัตถาจารย์) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อปี้ ไม่ว่าท่านเจ้าคุณจะเอ่ยปากในเรื่องใด ๆ พระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นต้องสนองความต้องการของท่านเจ้าคุณอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นการจัดงานปลุกเสก ณ วัดราชาธานีครั้งใดๆ พระเดชพระคุณหลวงพ่อต้องไปช่วยทุกงานตลอดเวลา ซึ่งนับว่าท่านเป็นแบบอย่างที่ดีของบุคคลที่มีความกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์เป็นอย่างดียิ่ง ตลอดชีวิตของท่าน ท่านยึดมั่นในคุณความดี ยึดมั่นในส่วนรวม เมื่อท่านมรณภาพไปแล้ว ไม่มีสิ่งใดที่ท่านสะสมไว้เพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง นอกจากส่วนรวมเท่านั้น

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้ปรารภกับผู้ใกล้ชิดเสมอว่า อย่ายึดมั่นถือมั่นสิ่งใดเป็นเด็ดขาด และอย่าดำรงตนอยู่ในความประมาท มีผู้ที่ต้องการของดีจากหลวงพ่อมากมายเมื่อมากราบนมัสการพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ท่านไม่ได้ขัดความต้องการ ท่านให้คาถาบทสำคัญ คือ "ระวัง" ถ้าใครไม่คิด นึกว่าเป็นคำพูดธรรมดา แต่ถ้าผู้ที่มีความรู้สึกนึกคิดในทางธรรมแล้วนั่นแหละพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านได้ให้ของดีแก่เขาแล้ว คือ "ความไม่ประมาท" นั่นเอง
    พระภิกษุที่นั่งฟังหลวงพ่อเล่าความฝันในคืนนั้น คือ พระครูสมบูรณ์ วิสารโท เจ้าอาวาสวัดลานหอย ในปัจจุบัน นั่งฟังพร้อมกันกับพระภิกษุในรุ่นนั้นอีกหลายรูป ตอนเช้าวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2517 หลังจากฉันภัตตาหารเช้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระทองคำ โชติปญโญ พระสมบูรณ์ วิสารโทร (พระครูสมบูรณ์) และพระภิกษุอีก 2 รูป เข้าไปกราบเพื่อขอลาไปอยู่ปริวาสกรรมที่วัดดอนศัก จังหวัดอุตรดิตถ์ ท่านก็อนุญาตให้ไปได้ ในตอนท้ายท่านได้พูดว่า "กว่าพวกท่านจะกลับมาผมก็คงจะไม่อยู่ที่นี่แล้ว"

    ช่วงสายวันนั้นท่านมีอาการอ่อนเพลีย จึงให้นายบุญช่วย น้อยผล ลูกศิษย์ของท่าน ซึ่งทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลสุโขทัย และมีบ้านอยู่ใกล้ๆ วัด มาให้น้ำเกลือและกลูโคส แต่อาการของท่านไม่ดีขึ้นจึงต้องนำส่งโรงพยาบาลสุโขทัย เมื่อไปถึงโรงพยาบาล แพทย์และพยาบาลได้ให้การรักษากันอย่างสุดความสามารถ แต่อาการก็ยังทรงอยู่ ไม่ดีขึ้น

    วันที่ 10 มกราคม 2517 ตลอดทั้งวัน อาการของท่านก็ยังทรงอยู่ ไม่ดีขึ้น

    วันที่ 11 มกราคม 2517 ปรากฎว่ามีโรคแทรกซ้อน คือไตไม่ทำงานอาการเริ่มทรุดลง แพทย์และพยาบาลได้ถวายการรักษาอย่างเต็มกำลังความสามารถแต่อาการกลับทรุดลงโดยลำดับ ในที่สุดท่านก็ถึงกาลมรณภาพไป เมื่อเวลา 19.27 น. ด้วยโรคหัวใจวาย ณ โรงพยาบาลสุโขทัย ด้วยอาการสงบ สิริอายุ 71 ปี 2 เดือน 26 วัน

    แม้ว่าท่านจะมรณภาพไปแล้ว ด้วยคุณงามความดี กอปรกับอิทธิบารมี พระครูสุวิชานวรวุฒิ (หลวงพ่อปี้ ทินโน) แห่งวัดลานหอย ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ยังเป็นปูชนียบุคคลทางด้านศาสนาที่ชาวสุโขทัย และประชาชนทั่วไปให้ความเคารพสักการะอย่างไม่เสื่อมคลาย
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    รูปกระดาษสีหลวงพ่อปี้วัดด่านลานหอยหลังยันต์ รูปทำตัวท่านอธิษฐานจิตนะครับ
    ให้บูชา
    300 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash หรือ j&t(ปิดรายการ)
    IMG_20220914_212442.jpg IMG_20220914_212458.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2022

แชร์หน้านี้

Loading...