สถาปนิกกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ปาฏิหาริย์, 6 สิงหาคม 2008.

  1. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    เชิญร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ
    “สถาปัตยปาฐะครั้งที่ 7”
    ในหัวข้อ: สถาปนิกกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ
    ...
    เอามาฝากพี่น้องในวงการสถาปนิก และ ผู้สนใจครับ
    ...



    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=0 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=left colSpan=2>รายละเอียด </TD></TR><TR><TD align=left colSpan=2 height=25>การประชุมวิชาการนานาชาติ
    “สถาปัตยปาฐะครั้งที่ 7”: สถาปนิกกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ<O:p</O:p


    ระยะเวลา วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม 2551<O:p</O:p

    สถานที่ ห้องกิ่งเพชร โรงแรมเอเชีย พญาไท กรุงเทพฯ<O:p</O:p
    ผู้เข้าร่วมโครงการ 200 คน<O:p</O:p
    ขั้นตอนการลงทะเบียน<O:p</O:p
    1. กรุณากรอกข้อมูลในแบบตอบรับ แล้วส่งแฟกซ์กลับมาที่หมายเลข โทรสาร: 0-2221-8837<O:p</O:p
    และกรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันการเข้าร่วมประชุมฯ ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2551<O:p</O:p
    2. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    http://www.arch.su.ac.th<O:p</O:p
    หรือสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณกุลจิรา, คุณอารีรัตน์ หรือ คุณมุกดา<O:p</O:p
    โทรศัพท์: 0-2222-0248, 0-2221-5877 ต่อ 1215-9 หรือ มือถือ: 087-552-8841<O:p></O:p>
    อี-เมล์: patha@su.ac.th
    ลงทะเบียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (รับจำนวนจำกัด 200 ที่นั่ง)
    <O:p</O:p
    กำหนดการ<O:p</O:p
    08:30 – 09:00 ลงทะเบียน
    <O:p</O:p

    09:00 – 09:15 คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
    <O:p</O:p
    กล่าวรายงานการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ “สถาปัตยปาฐะครั้งที่ 7”<O:p</O:p


    09:15 – 09:30 อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร<O:p</O:p
    กล่าวเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ “สถาปัตยปาฐะครั้งที่ 7”<O:p</O:p


    09:30 – 10:15 สถานการณ์และแนวโน้มภัยพิบัติทางธรรมชาติ<O:p</O:p
    โดย ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ<O:p</O:p


    10:15 – 10:30 พักรับประทานอาหารว่าง<O:p</O:p


    10:30 – 11:15 การวางผังเมืองเพื่อป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ<O:p</O:p
    โดย ดร.ธงชัย โรจนกนันท์ กรมโยธาธิการและผังเมือง<O:p</O:p


    11:15 – 12:00 Disaster Management<O:p</O:p
    โดย Dr. Amit Kumar, Asian Disaster Preparedness Center (ADPC)<O:p</O:p


    12:00 – 13:00 รับประทานอาหารกลางวัน<O:p</O:p


    13:00 – 13:45 การเตรียมพร้อมอาคารและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรับภัยธรรมชาติ<O:p</O:p
    โดย ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ <O:p</O:p
    หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<O:p</O:p


    13:45 – 15:15 เสวนากลุ่ม “การออกแบบอาคาร/สิ่งก่อสร้างเพื่อป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติจากธรรมชาติ”<O:p</O:p
    โดย ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<O:p</O:p
    คุณสมภพ พร้อมพอชื่นบุญ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)<O:p></O:p>
    รศ.จรัญพัฒน์ ภูวนันท์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร<O:p</O:p
    ดำเนินรายการโดย ผศ. ดร. พิบูลย์ จินาวัฒน์ <O:p</O:p
    คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร<O:p</O:p
    (รับประทานอาหารว่างในห้องสัมมนา)<O:p</O:p


    15:15 – 16:15 Architectural Designs for Natural Disasters<O:p</O:p
    โดย Professor Izumi Shibata, Shiga Prefecture University <O:p</O:p
    (วิทยากรพิเศษจากประเทศญี่ปุ่น)<O:p</O:p


    16:15 – 16:45 แลกเปลี่ยนความคิดเห็น/สรุปเนื้อหาการประชุมวิชาการนานาชาติ “สถาปัตยปาฐะครั้งที่ 7”<O:p</O:p
    โดย อ. ดร. ณัฐวุฒิ ปรียวนิตย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร<O:p</O:p


    16:45 – 17:00 คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร<O:p</O:p
    กล่าวปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ “สถาปัตยปาฐะครั้งที่ 7”<O:p</O:p



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ...
    ตอนนี้ มีการเตรียมการระมัดระวัง ในภัยพิบัติมากขึ้น
    เมื่อต้นเดือน ทางกรุงเทพมหานคร ก็มีการประชุมเรื่อง
    ภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นต่อกรุงเทพ ในอนาคตครับ
    (ผมไม่มีรายละเอียดของเนื้อหาการประชุมในส่วนนี้)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2008
  2. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,116
    ค่าพลัง:
    +62,425
    น่าสนใจครับคุณปาฎิหาริย์
    เห็นอาจารย์แต่ละท่านตื่นตัวและมุ่งเน้นเรื่องการป้องกันเหล่านี้เป็นพิเศษ
    คงได้อะไรดีๆจากงานนี้แน่ ขอบคุณครับ
     
  3. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    ครับ ถ้าคุณ มีด ว่าง
    ก็มาร่วมฟังน่าจะดีครับ
    โทรไปสำรองที่นั่งดู
    อาจจะได้ประเด็นที่น่าสนใจ
    และควรระมัดระวังเพิ่ม ในการออกแบบของพวกเรา
    ถ้าเกิดภัยพิบัติขึ้นมา
     
  4. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    ถ้าท่านใดสนใจ เชิญมาฟังนะครับ
     
  5. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    กลับจากงานสัมมนาแล้วครับ
    แล้วจะสรุปหัวข้อสำคัญในงาน
    โพสต์ลงกระทู้ครับ
     
  6. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    สร้างบ้านไม้เล็กๆ ไว้บนทุ่นยางรถสิบล้อ
    ผูกไว้กับปลายฟ้า..
    ยางรถสิบล้อเด้งได้
    รับแผ่นดินไหว ลอยยามน้ำท่วม...

    จะรอฟังความเห็นนักวิชาการค่ะ
     
  7. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    ครับวันนี้ ดร.ธงชัย โรจนกนันท์
    ท่านได้พูดถึงเรือนแพที่ลอยน้ำแล้วลอยลิ่วไปปะทะกองตามตอม่อเสาสะพานครับ
    ...
    แพยางรถสิบล้อ คงไม่ปลอดภัย จากการปะทะของวัสดุต่างต่างที่ไหลมาด้วยความเร็วครับ
     
  8. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    ถ้าผูกได้คงไม่ชนตอหม้อค่ะ
    แต่จะผูกด้วยวัสดุอะไร ใครจะปีนขึ้นไปผูก...
    อาจต้องฝันแบบ Howl's Moving Castle
     
  9. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    Laputa Castel in The sky
    ของค่ายเดียวกัน อาจารย์ไก่ลองหามาให้น้องน้องดูกันนะครับ
    ...
    ผมเองเปิดให้หลานดูประจำเลยครับ
    ...
    เรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับ
    อาณาจักรลอยฟ้าที่อยู่ในตำนาน
    กับ ศิลาลอย

    [​IMG]

    และก็มีผู้ที่ต้องการค้นหา...
    "Laputa" หรืออาณาจักรลอยฟ้าที่ว่านั่น
    ที่ถึงกาลล่มสลายไปแล้ว
    แต่มีวิทยาการล้ำยุคซุกซ่อนไว้
    เมืองลอยฟ้าไร้ผู้คน
    แต่ยังเหลือไว้ซึ่งธรรมชาติที่สวยงาม...

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 สิงหาคม 2008
  10. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    [​IMG]
     
  11. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    สรุป
    สถานการณ์และแนวโน้มภัยพิบัติทางธรรมชาติ<O:p</O:p
    โดย ดร.สมิทธ ธรรมสโรช
    ...
    ภัยพิบัติตามธรรมชาติ
    ท่านพูดถึงการรับรู้ข้อมูล พิจารณา เตรียมการ และจัดการเมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้นมา
    ยกตัวอย่าง

    -สึนามิมาลูกที่หนึ่งแล้ว ผู้คนออกไปเก็บของที่ลอยตามน้ำกัน
    เมื่อโดนลูกที่สอง สาม และสี่(สึนามิจะมี2-4ลูกเป็นคลื่นยอดตัด ความสูงเท่ากัน)
    ก็จะเสียชีวิตลงได้

    -สึนามิ สามารถเกิดที่อ่าวไทยได้ โดยมีรอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่ตอนใต้ของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ที่ต้องระวังไว้ แต่ความรุนแรงอาจจะไม่เท่าที่ฝั่งอันดามันเนื่องจากสภาพอ่าวไทยเป็นอ่าวน้ำตื้น ความลึกเฉลี่ยประมาณ100เมตร จะเกิดฟริคชั่นช่วยชลอแรงปะทะ
    (อีก3รอยเลื่อน ใหญ่ อยู่เรียงลงมาจากหมู่เกาะอันดามัน จนถึงอินโดนีเซีย)

    -เวลาหนี สึนามิ ให้ขึ้นที่สูง แต่ไม่ใช่วิ่งไปชายเขาไกลไกล
    ให้วิ่งไปอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างที่สูงใกล้ที่สุด ในส่วนนี้ ท่าน
    ดร.สมิทธ ได้ยกตัวอย่างอาคารหลบภัยซึนามิ ริมชายหาดญึ่ปุ่น เป็นโครงสร้างคอนกรีต ข้างล่างโล่ง และมีพื้นชั้นบนสูง16 เมตร (จากยอดคลื่นสึนามิ ที่เคยมาที่ฝั่ง)

    อาคารแบบนี้ ควรมีการก่อสร้างไว้ใน 6 จังหวัดที่มีการเสี่ยงอันตรายจากสึนามิครับ
    เวลาปกติอาจทำเป็นโอทอป ลานกิจกรรมของชุมชนได้

    -ถนนเชื่อมอ่าวไทย ระหว่างชลบุรี ไปยังหัวหิน อันนี้ผมจำได้ว่าเคยได้ยินท่านพูดตอนงานสัมมนาที่ธรรมศาสตร์แล้ว เพื่อช่วยเรื่องการเดินทาง การขาดแคลนน้ำจืดในอนาคต และเป็นการป้องกันพื้นดินที่จะหายไปเนื่องจากน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากภาวะโลกร้อน

    -ท่านให้ระวังstrom surge ซึ่งช่วง4เดือน สิงหา-พฤศจิกา
    ตามสถิติ55ปี มีพายุเข้ามามากที่สุด และการเกิดstrom surge เคยมีแล้วอย่างน้อย2ครั้ง
    ที่ปากอ่าว แต่ไม่มีการอ้างอิงเป็นทางการ และท่านเองก็มีข้อขัดเห็นแย้งกับนักวิชาการของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่เป็นลูกน้องของท่าน
    ว่าจะไม่มีการเกิดstrom surgeขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากพายุมีกำลังไม่แรงพอครับ

    -ประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลัง แต่ไม่รุนแรงเหมือนกับที่จี<WBR>นและพม่า เพราะฉะนั้นจะยังไม่ทำให้เกิ<WBR>ดแผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์<WBR>กลางในประเทศไทยในระยะนี้ แต่มีแนวโน้มที่จะได้รั<WBR>บผลกระทบจากการสั่นสะเทื<WBR>อนของรอยเลื่อนในประเทศจีน พม่า และมหาสมุทรอินเดียมากขึ้น
    ขณะเดียวกันกำลังเร่<WBR>งตรวจสอบรอยเลื่อนในภาคเหนือ และ จ.กาญจนบุรี ว่าเป็นรอยเลื่อนที่มีพลั<WBR>งมากเพียงใด แต่การเกิดแผ่นดินไหวนั้น ไม่สามารถแจ้งเตือนล่วงหน้าได้ เนื่องจากไม่มีเทคโนโลยีที่<WBR>พยากรณ์ได้ จึงต้องเตรียมพร้อมในการอพยพ และกู้ภัย รวมทั้งทำให้ความรู้ในการปฏิบั<WBR>ติตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหวแก่<WBR>ประชาชน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2008
  12. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    สรุป
    การวางผังเมืองเพื่อป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ
    นายธงชัย โรจนกนันท์
    สถาปนิกกรมโยธาธิการและผังเมือง

    แม้กฎกระทรวงระบุว่าให้อาคารที่<WBR>อยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยงกว่า 10 จังหวัด
    รวมทั้งอาคารใหม่ ต้องก่อสร้างตามมาตรฐานที่<WBR>กำหนดเพื่อรองรับการเกิดแผ่นดิ<WBR>นไหว แต่อาคารและบ้านเรื<WBR>อนในประเทศไทยร้อยละ 99
    ยังไม่มีโครงสร้างที่รองรั<WBR>บการเกิดแผ่นดินไหว
    ดังนั้นทางออกของปัญหาจึงต้<WBR>องทำควบคู่กันทั้ง 2 ระดับ
    คือการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริ<WBR>งจัง และการเรียนรู้ถึงการป้องกันตั<WBR>วเอง
    ซึ่งต้องเริ่มจากการตระหนักถึ<WBR>งภัยแผ่นดินไหว
    ว่าเป็นภัยธรรมชาติที่ใกล้ตั<WBR>วคนไทยมากยิ่งขึ้น

    ได้ยกกรณีถึงการศึกษาที่กาญจนบุรี
    (ตามเอกสารระบุไว้ว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยน้อยถึงปานกลาง)
    ซึ่งมีแนวรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และด่านเจดีย์สามองค์ เป็นรอยเลื่อนใหญ่ทีควรจับตามองและกรณี ภัยทีอาจจะเกิดจากจากน้ำในเขื่อน ดังนั้นทางจังหวัดจึงต้องให้มีกฏหมายกำหนดความแข็งแรงมากขึ้น

    และจากกรณี การศึกษาของการไฟฟ้า ถึงระดับน้ำในแควใหญ่และแควน้อย เพิ่มฉับพลัน
    ซึ่งการศึกษานี่ไม่ได้คำนึงแพ ใหญ่น้อย ที่ไม่ได้พูกมัดอย่างมั่นคง เมื่อโดนแรงน้ำก็จโดนพัดไปกองที่ตอม่อ ก่อให้เกิดอันตรายเพิ่มต่อสองฝั่งน้ำเพิ่มขึ้น
     
  13. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    การเตรียมพร้อมอาคารและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรับภัยธรรมชาติ<O:p</O:p
    โดย ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์

    ...
    ท่านดร.ปณิธาน ได้แนะนำหลักสำคัญในการออกแบบเพื่อทนต่อภัยพิบัติ
    -กรณีสึนามิ ควรทำโครงสร้างให้แข็งแรง มีใต้ถุนสูงให้น้ำลอดไปได้
    (กรณีแบบนี้ ต้องคิดถึงความสูงของยอดคลื่นด้วยว่าจะสูงเท่าไหร่

    -อาคารที่ทนต่อแผ่นดินไหวดีนั้น ต้องมีลักษณะสมม่าตร ไม่เป็นรูปร่างที่อสมมาตร หรือพิสดาร ยกตัวอย่างที่โกเบ มีอาคารสูงอาคารหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมธรรมดา
    และสร้างมาก่อนกฏหมายแผ่นดินไหวจะออกมาใช้ด้วย เมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่กลับเสียหายน้อยมาก

    -strong column weak beam
    ออกแบบเสาให้แข็งแรง แต่ให้คานนั้นอ่อนกว่าเสา

    -หลีกเลี่ยงการออกแบบเสาสั้น บ้าง บาวบ้าง ในชั้นเดียวกัน
    เพราะในกรณีนี้ เสาสั้น จะมีแรงเฉือนมากที่สุด
    ทางที่ดีควรออกแบบเสาให้สูงเท่ากัน เพื่อเป็นการกระจายน้ำหนัก

    -เพิ่มเหล็กปลอกเสริมตรงหัวเสา และ หัวคาน
    การล้วงเหล็กต้องล้วงเข้าไปในโครงสร้างจริงจริง
     
  14. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,116
    ค่าพลัง:
    +62,425
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>[​IMG] สิ่งประดิษฐ์เพื่อลดผลกระทบของแผ่นดินไหวในการก่อสร้างอาคาร </TD></TR><TR><TD>รายละเอียด [​IMG]
    [​IMG]



    <TR><TD bgColor=#eeeeee>[​IMG] สิ่งประดิษฐ์เพื่อลดผลกระทบของแผ่นดินไหวในการก่อสร้างอาคาร เป็นผลงานวิจัยด้านการก่อสร้างอาคาร เพื่อให้ทนแผ่นดินไหวระดับปานกลาง นำโดยเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ศ.ดร. ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผลงานโครงการส่วนหนึ่ง คือการประดิษฐ์คลิปยึดขาของเหล็กปลอก 90 องศา เพื่อปรับปรุงความเหนียวของเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ทำให้เสาสามารถทนการโยกตัวไปมาจากแรงแผ่นดินไหวได้มากกว่าเสาที่ไม่มีคลิปยึดขาของอเหล็กปลอกดังกล่าว ขณะนี้สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ได้จดสิทธิบัตรแล้ว



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คงหมายถึงคลิปเหล็กยึดขาตัวนี้นะครับ
    ขอบคุณคุณปาฎิหาริย์ครับเอาที่ข้อมูลมาฝาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2008
  15. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    Disaster Management<O:p</O:p
    โดยตัวแทน Dr. Amit Kumar, Asian Disaster Preparedness Center (ADPC)

    ...
    ได้พูดถึงการจัดการเมื่อภัยพิบัติมี3 ประการหลัก
    -prevention
    การป้องกันตนจากภัยที่จะเกิด เช่นรู้ว่าตรงนี้น้ำจะท่วม ก็ต้องอพยพไปก่อน
    -mitigation
    to take action to reduce the risk
    ถ้ารู้ว่าต้องอยู่ในเขตแผ่นดินไหวก็ ต้องจัดการปลูกสร้างอาคารให้แข็งแรงเป็นพิเศษ
    -preparedness
    และการเตรียมการถ้าเกิดประสพภัย

    มหันตภัยนั้นสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
    disastor=f (hazard,vulnerable )
    ...
    รายละเอียดเพิ่มเติมมีให้อ่านที่
    www.adpc.net
    ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...