ตามรอยพระขลังเมืองดอกบัว พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นันตโร) "ญาท่านดีโลด" ผู้เป็นต้นวงศ์กรรมฐานสายพระบ้าน

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ลูกพ่อลิงดำ, 29 ตุลาคม 2008.

  1. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    ตามรอยพระขลังเมืองดอกบัว พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นันตโร) "ญาท่านดีโลด" ผู้เป็นต้

    [​IMG]

    พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นันตโร) "ญาท่านดีโลด" ผู้เป็นต้นวงศ์กรรมฐานสายพระบ้าน
    ท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) หรือ
     
  2. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <DD>และสำหรับปฐมเหตุที่ทำให้ประชาชนทั้งหลายต่างถวายสมญาท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล(บุญรอด นนฺตโร)ว่า "พระครูดีโลด"หรือ "ญาท่านดีโลด" ในภาษาอีสาน เพราะท่านพระครูวิโรจน์ฯนี้ เป็นผู้สุภาพอ่อนโยนสงบเสงี่ยมหนักแน่นในธรรมวินัย มองโลกในแง่ดี ไม่ว่าใครจะพูดร้ายหรือพูดดีท่านก็ว่า
    "ดี ๆๆ.. "

    เวลามีอารมณ์มากระทบ ก่อนท่านจะพูดอะไร ก็เปล่งอุทานว่า"ดีๆ..." อีกนั่นแล้ว
    ด้วยเหตุดังกล่าว ศรัทธาสาธุชนทั้งปวงจึงถือเป็นเหตุถวายนามพิเศษแด่ท่านว่า "ท่านพ่อครูดีโลด "หรือ"ญาท่านดีโลด" ด้วยประการฉะนี้......
    </DD>
    ขอขอบคุณเนาว์ เป็นอย่างสูง
     
  3. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]
    [​IMG]

    เหรียญรุ่นแรกปี 2483


    เหรียญพระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด) วัดทุ่งศรีเมือง รุ่นแรก สร้างเมื่อปี พ.ศ.2483 โดยหลวงวิจิตรวาทการในฐานะที่องค์ท่านเป็นผู้บูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม มีอย่ด้วยกัน 2 พิมพ์คือ
    1. พิมพ์นิยมพิมพ์ใหญ่ มี 2 แบบคือ หลังยันต์ และหลังจาร
    2. พิมพ์ต้อ จะองค์เล็กกว่าดูค่อมกว่า
    ค่านิยมการเช่าหาเป็นเหรียญยอดนิยมอันดับหนึ่งของจังหวัดอุบลฯ พิมพ์นิยมมูลค่าการเช่าหาอยู่ที่หลังหมื่นกลางขึ้นไป แบบหลังจารจะมีมูลค่าสูงกว่าเล็กน้อย ส่วนพิมพ์ต้อนั้นจะอยู่ที่หลักหมื่นต้นๆไปถึงกลาง ซึ่งเหรียญรุ่นแรกของพระครูวิโรจน์นั้นมูลค่าการเช่าหาในภาคอีสาน จะเป็นรองแค่เหรียญพระอาจารย์ฝั้นรุนแรกเท่านั้น ที่มีราคาหลักแสนนอกจากเหรียญพิมพ์รูปเหมือนรุ่นแรกแล้ว ยังมีเหรียญพิมพ์พระธาตุพนมที่สร้างในคราวเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีเสื้อยันต์ที่แจกให้ทหารไปรบในสงครามอินโดจีนปี พ.ศ.2485
    หลังจากที่หลวงปู่รอดมรณะภาพเมื่อปีพ.ศ.2485 ได้มีหลายวัดในจังหวัดอุบลจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนขึ้นประมาณปี พ.ศ.2515 ซึ่งความนิยมยังสู้เหรียญรุนแรกไม่ได้

    อ้างอิงจาก
    http://tapra.blogspot.com/2007/12/blog-post_25.html
     
  4. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    เหรียญอีกรุ่นของญาท่านด๊โลด

    เหรียญพระธาตุพนมเหรียญหนึ่ง ซึ่งพบเห็นค่อนข้างยาก อีกทั้งประวัติการสร้างไม่อาจระบุแน่ชัดได้ แต่สันนิษฐานว่า อาจสร้างขึ้นในห้วงระยะที่ทำการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมในช่วงปี พ.ศ. 2444 ดังที่นำภาพมาให้ชมกัน

    แต่สำหรับเหรียญพระธาตุพนม "เหรียญนิยม" อีกเหรียญหนึ่งที่จะกล่าวถึง มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2483

    โดยในช่วงปี พ.ศ. 2483-2484 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยได้ต่อยอดองค์พระเจดีย์ให้สูงสง่างามขึ้น ซึ่งระหว่างนั้นไทยกับฝรั่งเศสมีข้อพิพาทดินแดนกันอยู่ พลโทประยูร ภมรมนตรี ได้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐบาลบูรณะพระธาตุพนม เพื่อหวังผลในทางการเมือง โดยต่อยอดสูงขึ้นไปอีก 10 เมตร พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น รับเป็นผู้ดำเนินการ

    และด้วยเหตุที่พระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร) วัดทุ่งศรีเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เคยบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมมาก่อนในปี พ.ศ. 2444 อีกทั้งเป็นพระเถระที่ได้รับความนับถือจากประชาชนในจังหวัดนครพนม และอุบลราชธานี จึงได้ดำเนินการสร้างเหรียญปั๊มพระธาตุพนมช่วยไทยขึ้นมา เพื่อสมนาคุณแก่ผู้ร่วมบริจาคทรัพย์ในการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม แล้วให้พระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นฺนตโร) เป็นผู้ปลุกเสก

    โดยช่างจากโรงเรียนเพาะช่างเป็นผู้ออกแบบเหรียญ และพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นผู้ตรวจแบบแก้ไข พ.อ.หลวงกล้ากลางสมร นายทหารประจำจังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้ดำเนินการงานพิธีกรรม

    เป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ หูเชื่อม

    ด้านหน้า เป็นรูปจำลององค์พระธาตุพนม มีเปลวรัศมีเป็นแฉกๆ สองข้างองค์พระธาตุเป็นรูปคบเพลิง ขอบเหรียญทำเป็นสันและมีเม็ดไข่ปลาโดยรอบ

    ด้านหลัง มีอักษรเรียงกัน 3 บรรทัด และมีตัวกระหนกปิดบนล่างว่า "พระธาตุพนมช่วยไทย" ขอบเหรียญทำเป็นสันและมีเม็ดไข่ปลาโดยรอบ

    กล่าวสำหรับความผูกพันของพระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร) และองค์พระธาตุพนม ในปี พ.ศ. 2444 ขณะนั้นท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีสมณศักดิ์ที่ "พระครูอุดรพิทักษ์คณะเดช" ได้รับนิมนต์จากพระอาจารย์สีทา พระอาจารย์มั่น และพระอาจารย์เสาร์ ให้ไปช่วยบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

    ดังปรากฏในหนังสือ "เถรประวัติ" ที่ระลึกในคราวฉลองอายุครบ 5 รอบ ของพระเทพรัตนโมลี (แก้ว กนฺโตภาโส) เจ้าคณะจังหวัดนครพนม และเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร มีรายละเอียดว่า

    "การบูรณะพระธาตุพนมนี้ ถ้าผู้ไม่มีบุญวาสนาได้บำเพ็ญมาพอสมควรทำมิค่อยได้ เป็นเจดีย์อาถรรพ์เป็นที่หวาดกลัวของประชาชนทั่วไป นับแต่เกิดการวุ่นวายทางการเมืองระหว่างเวียงจันทน์กับกรุงเทพมหานครสงบลงแต่ปี 2371 ประชาชนพลเมืองแตกตื่นและโยกย้ายที่อยู่อาศัยเข้าไปอยู่ภาคกลางมาก หันเข้าป่าเข้าดงก็มาก พระธาตุฯ ขาดผู้บำรุงเอาใจใส่นับแต่เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (หรือเจ้าราชครูขี้หอม) ได้พาศิษย์โยมลงมาปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมแต่ พ.ศ. 2233-2235 ก็ไม่มีผู้ใดบูรณะต่อมา รู้สึกว่าเศร้าหมองคร่ำคร่า ลานพระธาตุและกำแพงหักพัง ที่กราบไหว้ก็มีหญ้าขัดหญ้าคาเกิดตามซอกอิฐปูน พระธาตุก็ขลังประหลาดเพราะอำนาจเทพารักษ์หึงหวง ใครไปแตะต้องประมาทลบหลู่ตามปูชนียะคือ พระธาตุและบริเวณพระธาตุ เช่น เสาหิน ตุ๊กตาหิน ผู้ใดไปจับต้องเหยียบย่ำหรือปีนป่ายก็เกิดป่วยเป็นปัจจุบันทันใด แต่ถ้านำเครื่องสักการะมาขมาต่อพระธาตุแล้วก็สงบ ประชาชนจึงกลัวกัน องค์พระธาตุก็เช่นเดียวกัน นอกจากคร่ำดำแล้วยังมีต้นหญ้า ต้นไทร ต้นโพธิ์ ขึ้นเกาะจับอยู่หลายแห่ง แม้จะมีการกราบไหว้ขออนุญาตแกะดึงออก ก็ออกมาแต่ลำต้นและใบ ส่วนรากโคนยังอยู่ก็งอกใหม่ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ราว พ.ศ. 2444 พระอุปัชฌาย์ทา วัดบูรพาฯ เมืองอุบล พระอาจารย์มั่น และพระอาจารย์เสาร์ กับคณะเดินธุดงค์มาพักจำพรรษาอยู่ในบริเวณโดยรอบสระพัง ซึ่งอยู่ด้านหรดีขององค์พระธาตุ เวลานั้นมีป่าไผ่โดยรอบเป็นที่สงัด ท่านทั้งสามได้เห็นองค์พระธาตุเศร้าหมองคร่ำคร่า และพระธาตุเป็นของโบราณบรรจุพระอุรังคธาตุตามตำนานหาได้ยากในแผ่นดินส่วนนี้ควรรักษาไว้ให้ยั่งยืน เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระพุทธเจ้าผู้บรมครู แต่ท่านทั้งสามมิค่อยชำนาญจะทำเองก็ไม่ได้ เห็นแต่พระครูอุดรพิทักษ์คณะเดช วัดทุ่งศรีเมือง เมืองอุบลราชธานี ท่านรูปนั้นเป็นช่างมีความเพียรหนักแน่น เคยตรากตรำทำงานใหญ่มาแล้ว จึงเรียกหัวหน้าญาติโยมชาวธาตุพนมมาแนะนำให้ไปนิมนต์มาบูรณะ ชาวบ้านก็ตกลงด้วย

    ออกพรรษาแล้ว ญาติโยมชาวธาตุพนมเป็นทูตทำหนังสือท่านพระอาจารย์ทั้งสามไปนิมนต์ท่านพระครูวิโรจน์ฯ ท่านรับรองจะขึ้นมาทำและให้ญาติโยมกลับก่อน

    ครั้นวันขึ้น 14 ค่ำ เดือนอ้าย พ.ศ. 2444 ท่านพร้อมด้วยคณะได้ขึ้นมาธาตุพนม เดินทางด้วยเกวียนออกจากอุบลฯ ไปลงเรือที่เขมราฐ ขึ้นไปตามลำแม่น้ำโขงผ่านอำเภอมุกดาหารและสุวรรณเขต เวลานั้นกำลังตั้งใหม่ ถึงธาตุพนมพอดีเป็นวันเพ็ญ เดือนอ้าย ตามท่านเล่าว่า

    ถึงเวลาเย็นให้นัดประชุมกันทั้งพระและฆราวาสที่ศาลาโรงธรรมวัดพระธาตุ (ศาลาการเปรียญหรือหอแจก) เมื่อมาประชุมพร้อมกันแล้วท่านได้ปรารภขึ้นว่า "พวกโยมลงไปนิมนต์อาตมาทำอันใด" หัวหน้าชาวบ้านเรียนท่านว่า "ขอนิมนต์มาพาทำความสะอาดและปูลานพระธาตุ พอให้มีที่กราบไหว้สะดวกสบายเท่านั้นแหละเจ้าข้า" อาตมาคิดว่า "ถ้าจะให้พาทำก็ทำให้หมดทั้งองค์พระธาตุเลย ถ้าไม่ได้ทำแต่ดินถึงยอด แต่ยอดถึงดินแล้วอย่าทำดีกว่า" พวกโยมตกใจ เกรงเทวาอารักษ์ที่รักษาพระธาตุจะไม่พอใจแล้วพากันเบียดเบียนมนุษย์ชาวบ้านให้เดือดร้อนดังเคยมา จึงคัดค้านขึ้นว่า "ทำไม่ได้จะเดือดร้อนบ้านเมือง (บ้านจะฮ้อน)" ท่านบอกว่า "จะร้อนอย่างไร เราทำได้ดี ให้สะอาด สวยงาม เรียบร้อย เทพเจ้าจะไม่อยากได้บุญด้วยหรือ" ชาวบ้านบอกว่าไม่ได้ ไม่ได้ และจะไม่ร่วมมือด้วย ท่านบอกว่าไม่ได้ก็ไม่ทำและจะกลับ เขาบอกว่า "กลับก็กลับพระอะไรรื้อม้างเจดีย์ ฟันโพธิศรี ลอกหนังพระเจ้าเป็นพระอุปชน (นอกรีต)" แล้วที่ประชุมก็เลิกด้วยจิตขุ่นวุ่นวาย ไม่พอใจ ส่วนพระครูวิโรจน์ฯ คงมีจิตใจแจ่มใสสงวนท่าทีคอยเชิงอยู่

    เรื่องเป็นที่น่าอัศจรรย์มาก พอชาวบ้านแตกฮือเข้าไปบ้านยังมิทันได้พักหายเหนื่อย บรรดานางเทียมศักดิ์ (คนทรง) 3 องค์ที่เป็นอารักษ์ใหญ่รักษาพระธาตุ ได้แสดงปฏิกิริยาขึ้นทันทีทันใด คือ เทพารักษ์เข้าทรงทันที มีการสั่นลุกลนร้องสำทับชนทั้งหลายว่า "บักใด อ้ายใด มันไปคัดค้านเจ้ากู ท่านจะทำให้งามมั่นคง ทำไมสูจึงไปคัดค้านเจ้ากู แต่กูยังเกรงท่าน ปล่อยให้ท่านทำ กูจะหักคอผู้คัดค้าน" ดังนี้ชาวบ้านพอได้ยินก็รู้ว่าอะไรเป็นอะไรแล้วก็แตกฮือเข้ามาในวัดอีก พากันเข้าไปกราบไหว้ท่านว่า "แล้วแต่ท่านจะกูนาเถิด จะทำตามใจ ตูข้าไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย" ดังนี้พระครูวิโรจน์ฯ เล่าว่า "เรารู้สึกโล่งใจ นึกว่าเอาละเทวดาช่วยเราแล้ว เราต้องทำให้สำเร็จ" ดังนี้

    ในคืนนั้นก่อนนอนท่านจุดธูปเทียนเครื่องสักการะถวายบูชาพระบรมธาตุ เข้าที่ภาวนาอธิษฐานด้วยความชุ่มชื่นปีติและมั่นใจว่าจะขอทำการปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุด้วยความสุจริตใจ และจงรักภักดีต่อพระบรมครูสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอให้คุณพระศรีพระรัตนตรัยมีพระบรมธาตุเป็นประธาน และเทพเจ้าผู้เฝ้ารักษา ก็ขอให้ช่วยเป็นศรัทธานาบุญอันหนึ่งอันเดียว อย่ามีอุปสรรคใดๆ มาขัดขวาง ขอให้ผู้มีฤทธิ์อำนาจทางสติปัญญาและทรัพย์สินและบ้านเมือง จงเข้าเป็นมิตรร่วมมหากุศลครั้งนี้ ดังนี้แล้วจึงจำวัด ใกล้รุ่งปรากฏมีนิมิตเห็นชีพ่อขาวมาหาแล้วยิ้มใส่ บอกว่า "เอานะหลาน เป็นวาระของเจ้าแล้วให้ทำเอาเต็มที่สุดฝีไม้ลายมือเถิด" ดังนี้ แล้วก็ตื่นนอนด้วยความชุ่มชื่นเบิกบาน และเต็มไปด้วยความหวังอันงาม"

    การบูรณะองค์พระธาตุพนมครั้งพระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร) ได้ทำการขูดเทาะสทายเก่าออกโบกใหม่ ประดับแก้วปิดทองส่วนบน ติดดาวที่ระฆังแผ่แผ่นทองคำหุ้มยอดเรียบร้อย ปูลานพระธาตุซ่อมแซมกำแพงชั้นใน ชั้นกลาง ทาน้ำปูนพระธาตุกำหนดให้มีชุมชนไหว้พระธาตุเป็นกิจจะลักษณะประจำปีสืบต่อมาทุกวันนี้

    นอกจากนั้นยังเหลือเงินบริจาคในการบูรณะครั้งนั้น ประมาณแสนบาท และได้มอบให้เจ้าเมืองนครพนมเพื่อเป็นทุนในการบูรณะต่อไป

    พระธาตุพนม ประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จากการสำรวจของนักโบราณคดีมีความเห็นว่า พระธาตุพนมมีอายุเก่าแก่ประมาณ 1,500 ปี ภายในบรรจุพระอุรังคธาตุ เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงสวยมาก มีฉัตรทองคำบนยอดหนัก 10 กิโลกรัม

    ก่อนหน้าที่ทางราชการจะซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ องค์พระธาตุพนมเดิมสูง 43 เมตร เมื่อบูรณะซ่อมแซมได้ต่อยอดขึ้นไปจนสูง 53 เมตร และยอดฉัตรสูง 4 เมตร รวมเป็น 57 เมตร

    องค์พระธาตุพนมซึ่งได้รับการต่อเติมในครั้งนั้น ใช้ระบบคอนกรีตเสริมเหล็ก หากมิได้แก้ไขฐานส่วนล่างแต่ประการใด จึงเป็นส่วนทำให้องค์พระธาตุทรุดลงมา

    องค์พระธาตุได้ทรุดล้มลงมาทั้งองค์เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 หลังจากนั้นทางรัฐบาลได้บูรณะขึ้นมาใหม่ตามแบบอย่างเดิม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในองค์พระธาตุพนม เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2522



    พระธาตุพนมเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะผู้ที่เกิดในปีนักษัตร...................

    สำหรับพุทธศาสนิกชนผู้มานมัสการพระธาตุพนม มีคำแนะนำบางประการ ดังต่อไปนี้

    องค์พระธาตุพนม เป็นพุทธเจดีย์บรรจุอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ บรมครูของชาวพุทธทั่วโลก พระองค์เป็นเอกอัครบุคคลพิเศษ สิ้นกิเลสบาปกรรมหมดแล้ว เป็นครูของเทวดาและมนุษย์อินทร์พรหมทั้ง 3 โลก เป็นที่เคารพบูชาของชาวพุทธทุกชาติชั้นวรรณะ เป็นมิ่งขวัญของไทยอีสาน อันสืบสายมาจากไทยล้านช้างโบราณ จึงเป็นที่หึงหวงของชาวไทยในลุ่มแม่น้ำโขงนี้ดุจดั่งชีวิต โดยเฉพาะชาวธาตุพนม ซึ่งถือว่าทุกคนสืบเชื้อสายมาจากข้าโอกาสพระบรมธาตุมานมนาน ฉะนั้นผู้มานมัสการจึงควรรู้ธรรมเนียมไว้ จะได้ปฏิบัติระมัดระวังเป็นสิริมงคลแก่ตน และเจ้าถิ่น คือ

    1. ภายในกำแพงแก้วชั้นในชิดกับพระธาตุนั้น เป็นเขตของพระภิกษุสามเณรเข้าไหว้ ห้ามมิให้เข้าไปพลุกพล่านสับสน โดยเฉพาะสตรีเพศห้ามมิให้เข้าไปเลย เว้นแต่บุรุษเมื่อว่างพระภิกษุสามเณรแล้ว

    2. บริเวณกำแพงแก้วชั้น 1-2 ชาวพุทธในถิ่นนี้ ตั้งแต่พระเถระลงมา เคารพในคุณพระรัตนตรัย มิเคยใส่รองเท้ากั้นร่มสวมหมวกเข้าไปเลย ถ้าท่านจะให้เกียรติแก่ปูชนียสถานแห่งนี้และเคารพเจ้าถิ่น ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่ง และช่วยรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยไว้ด้วย

    3. บริเวณภายในกำแพงชั้นนอก ซึ่งมีวิหารคดรอบนั้นเข้าไปในเขตพุทธสถาน ท่านมิควรจะประพฤติทุจริตกรรมใดๆ ให้เป็นภัยแก่ตนและคนอื่น ท่านจะแพ้ภัยเร็วกว่าทำในที่อื่นมาก

    4. สิ่งของที่มีผู้นำมาสักการบูชาพระบรมธาตุจะเป็นวัตถุใดก็ตาม ท่านอย่าลุอำนาจแก่ความโลภ หยิบฉวยเบียดบังเอาไปเป็นของส่วนตัวโดยผิดธรรม ท่านจะฉิบหายและเดือดร้อนตลอดถึงป่วยและเป็นบ้า เพราะองค์พระธาตุมีสิ่งลึกลับคุ้มครองอยู่ จึงถือกันว่า "ศักดิ์สิทธิ์" เพราะมีฤทธิ์ลึกลับคุ้มครองบันดาลให้โทษแก่คนทุจริตอยู่เสมอ

    5. เวลาเข้าไปไหว้บูชา ให้ทำด้วยความคารวะอยากได้สิ่งใดที่ชอบธรรม อธิษฐาน และปรารถนาเอาจะสำเร็จมโนรถในเวลาอันควร

    6. น้ำตาเทียนที่คนนำมาบูชา หยดหยาดอยู่ตามราวเทียน และพื้นสะเก็ดอิฐปูนที่ตกลงมา และไคลพระบรมธาตุ อย่าดูเบาถือเอาเป็นของเล่น เมื่อท่านต้องการเอาไปบูชา ก็ขอให้ตั้งจิตอธิษฐานไหว้วอนเอาไปได้ แต่ต้องบอกว่าเอาประจำตัวตลอดอายุ ถ้าตกหายพลั้งเผลอขอให้อดโทษให้ หรือสิ้นธุระแล้วจะเอามาส่ง ท่านต้องนำมาจริงๆ มิฉะนั้น ท่านหรือคนในครัวเรือนของท่านจะประสบเหตุการณ์แปลกๆ จนนำมาส่งจึงจะหาย เอาไปแล้วต้องเก็บให้ดี เคารพคารวะ อย่าทิ้งขว้างเป็นอันขาด

    7. องค์พระมหาธาตุนี้เป็นสมบัติอันมีค่าร่วมกันของชาวเรา ที่ถาวรรุ่งเรือง รอดเหลือจากการแตกสลายมาได้ก็เพราะบรรพบุรุษของชาวเราได้บำรุงไว้ ฉะนั้นท่านจึงควรมีส่วนบริจาคร่วมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเป็นกำลังรักษา เป็นการคุ้มครองมรดกอันมีค่าไว้ให้ลูกหลานและเราเอง ติดต่อกับเจ้าอาวาส เจ้าหน้าที่ หรือหย่อนตู้ อย่าวางไว้ตามที่บูชา หรือให้กับคนไม่มีหลักฐาน

    8. ก่อนนั่งไหว้ ท่านควรจุดธูปเทียน แล้วตั้งจิตเคารพเดินเทียนเวียนขวา (ไปทางใต้) ประทักษิณพระเจดีย์ 3 รอบ แล้วจึงนั่งไหว้ ณ ทิศใดทิศหนึ่ง ดังนี้

    ทิศตะวันออกว่า ปุริมาย ทิสาย "กปณคิริสฺมึ ปพฺพเต มหากสฺสเปน ฐาปิตํ พุทฺธอุรงฺคธาตํ สิรสา นมามิ"

    ทิศใต้ว่า ทกฺขิณาย ทิสาย "กปณคิริสฺมึ ปพฺพเต มหากสฺสเปน ฐาปิตํ พุทฺธอุรงฺคธาตํ สิรสา นมามิ"

    ทิศตะวันตกว่า ปจฺฉิมาย ทิสาย "กปณคิริสฺมึ ปพฺพเต มหากสฺสเปน ฐาปิตํ พุทฺธอุรงฺคธาตํ สิรสา นมามิ"

    ทิศเหนือว่า อุตฺตราย ทิสาย "กปณคิริสฺมึ ปพฺพเต มหากสฺสเปน ฐาปิตํ พุทฺธอุรงฺคธาตํ สิรสา นมามิ"

    หรือจะไหว้เป็นทิศโดยเวียนขวาก็ได้ อันนี้เป็นธรรมเนียมของท้องถิ่นนี้ ก่อนจะไหว้พระธาตุนั้น ให้ไหว้พระรัตนตรัย 3 บท คือ อรหํ ก่อน เป็นระเบียบอันงามดี

    9. นอกจากการเคารพในเขตลานพระบรมธาตุแล้ว ตามอาคารสถานที่สักการบูชา เช่น โบสถ์ วิหาร หอพระ เวลาท่านจะเข้าไปมิควรสวมรองเท้า และหมวกเข้าไปจะเป็นการกระเทือนใจกับผู้รักษาโดยใช่เหตุ เพราะที่นั้นเป็นเขตเคารพบูชา เมื่อท่านไม่นับถือ ก็ควรเกรงใจเจ้าของถิ่น อันเป็นสัญลักษณ์แห่งสัตบุรุษในพระพุทธศาสนา

    10. สัตว์น้ำสัตว์บก ในเขตวัดโดยรอบนอก ท่านควรมีเมตตาจิตแก่เขา เพราะบริเวณภูกำพร้าทั้งหมด (เขตวัด) โบราณชนได้ถือเป็นเขตให้อภัยสัตว์ และมนุษย์ได้แช่งไว้แก่ผู้ขาดเมตตาจิต ในเหล่ามนุษย์ผู้มีภูมิจิตใจสูง มิควรเบียดเบียนข่มเหงกันโดยประการใดๆ ให้สมกับเรามาแสวงหาบุญและอยู่ในเขตบุญสถานแล้ว ถ้าท่านฝืนก็จะถูกธรรมชาติลึกลับลงโทษ

    11. ถ้าผู้ใดได้พลั้งพลาดไปในเขตพุทธสถานอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว สำนึกตัวกลัวบาปกรรม ให้นำธูปเทียนและเครื่องสักการบูชา เข้าขอขมาต่อพระบรมธาตุตามอย่างธรรมเนียมพุทธศาสนิกชนที่ดี ก็จะอยู่ดีมีสุขสืบไป ให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่จะสะดวกยิ่งขึ้น

    12. การบนบาน มนุษย์เราเมื่อมีภัยแก่ตัวก็ย่อมหาที่พึ่ง แม้แต่ต้นไม้ก็ได้รับการเคารพเซ่นไหว้ อันนี้เป็นธรรมดาของปุถุชน ในแถบถิ่นนี้ก็เช่นเดียวกัน เมื่อได้รับภัยต่างๆ ก็วิ่งเข้าหาองค์พระธาตุทั้งชาวไทย จีน และญวน การบนก็คือถวายทองคำเปลว, ต้นผึ้ง, ผ้าไตร หรือต้นกัลปพฤกษ์ ด้านละต้นละไตรบ้าง ต้นเดียวบ้าง แล้วแต่อัธยาศัย ข้อสำคัญบนแล้วอย่าลืมเสีย ต้องรักษาสัตย์ปฏิญาณ ถ้ามีเหตุการณ์ภายหลังจะแก้ยาก บางจำพวกก็พากันมาขอลูก โดยถือกันว่า ต้องสละทองเครื่องประดับมาบูชาด้วย จึงจะขลัง จะเป็นเพราะเหตุใดก็ตามยังเป็นที่นิยมกันอยู่ไม่จืดจาง

    [​IMG]

    http://article.pornpra.com/topic_detail.php?id=176
     
  5. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <SUP>ในอดีตที่เมืองอุบลยังพลุกพล่านไปด้วยนักปราชญ์ ทั้งที่ถือกำเนิดเอาในเมือง และผู้มาจากนอกเมือง ชื่อของท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นันตโร) แห่งวัดทุ่งศรีเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี หรือที่มหาชนขนานสมญาโดยเคารพว่า “ญาท่านดีโลด” นั้นนับว่าอยู่แถวหน้าอย่างยืดอกได้ไม่อายใคร หากผู้ใดจะออกปากว่าตนเป็นศิษย์
    ค่าที่ท่านพระอาจารย์ใหญ่ของวงศ์กัมมัฏฐานคือ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ออกปากรับรองถึงความเป็นพระดี และมากด้วยบุญญาบารมี ถึงขนาดให้ประชาชนไปนิมนต์พระครูวิโรจน์ฯ มาบูรณะองค์พระธาตุพนมแทนตัวท่าน และหลวงปู่หนู ฐิตปัญโญ วัดปทุมวนาราม เลยทีเดียว
    นอกเหนือไปจากความเป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว ยังมีเรื่องแห่ง “ปาฏิหาริย์” ในท่านที่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีอยู่จริงและเป็นอีกกระแสหนึ่งที่โหมชื่อของท่านให้ระบือไปทั่วแคว้นแดนอีสาน
    หลวงปู่คำพัน โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม ให้ความเคารพในองค์หลวงปู่ดีโลดเป็นยิ่งนัก ไม่ว่าจะเดินทางไปกิจธุระที่ใดหากท่านพบเห็นภาพถ่ายไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กของหลวงปู่ดีโลด ท่านเป็นต้องยกมือไหว้อย่างนอบน้อมทุกครั้งไป
    </SUP>
    อ้างอิงจาก http://www.suankhung.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=526616&Ntype=6
     
  6. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
  7. anoldman

    anoldman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,950
    ค่าพลัง:
    +4,558
    สาธุๆ

    ลูกหลานขอแสดงมุฑิตาจิต แด่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ขอรับ

    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...