นำของจากราชการหรือของจากบริษัทมาให้คนที่บ้านใช้...กรรมตกกับใคร

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย somemaybe, 14 กรกฎาคม 2009.

  1. somemaybe

    somemaybe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2009
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +143
    [​IMG]

    นำของจากราชการหรือของจากบริษัทมาให้คนที่บ้านใช้...กรรมตกกับใคร


    1. กรณีนำข้าวของเครื่องใช้จากบริษัทฯหรือโรงเรียน
    จำพวกเครื่องเขียนต่างๆ กระดาษสำนักงาน แม๊กซ์หนีบกระดาษ หมึกปริ้นเตอร์
    สารพัดที่จะเอามาได้ ฯลฯ หรือจำพวกเครื่องดื่ม เป็นซองๆ
    กระดาษชำระก็มี แอบหยิบกลับมาบ้าน เพื่อให้คนที่บ้านใช้
    คนที่บ้านก็รู้ว่าพวกของเหล่านั้นมาจากไหนก็ยังใช้
    บางคนก็เอางานของลูกหลานที่บ้านไปปริ้นซ์ให้ที่บริษัทที่โรงเรียนบ้าง
    ใช้กระดาษโรงเรียน หมึกโรงเรียน ฟรีไม่ต้องจ่าย
    แบบนี้กรรมจะตกกับใครบ้าง


    2.กรณีอาหารหรือขนมนั้น มีคนที่บริษัททิ้งไว้แล้วติดช่วงวันหยุด
    ก็หยิบมาด้วยความเสียดาย
    คิดว่าถ้าทิ้งของไว้ที่นั่นยังไงของก็ต้องเสียแล้วก็ต้องเอาไปทิ้ง
    หรือกรณีนมโรงเรียนที่เหลือ ทิ้งไว้ก็จะเสีย
    เลยหยิบมาฝากคนที่บ้านกินบ้าง แจกหมาที่บ้านบ้าง
    คนที่บ้าน ที่กินของนั้น ก็รู้ ว่าขนมหรืออาหารนั้นมาจากไหน
    แบบนี้จะบาปมั๊ย แล้วกรรมจะตกกับใครบ้าง


    oishi_



    เมื่อก่อนเราไปห้องน้ำที่ไหน เราแฮ๊บกระดาษทิชชู่จำนวนมากๆ
    มาเป็นประจำ
    แต่ตอนนี้เลิกแล้วฮะ หยิบพอเท่าที่จะใช้ [​IMG]

    แต่พี่เราดิ เวลาไปว่ายน้ำหรือกลับจากบริษัทชอบหยิบทิชชู่


    กลับมาที่บ้านเย๊อะเลย ทำมาประจำ คนที่บ้านก็ใช้รวมถึงเราก็ใช้
    ใช้เช็ดโต๊ะมั๊ก อะไรอย่างเงียะ เพราะเอามาวางให้ใช้ ไม่รู้จะบอกยังไงดี
    กลุ้ม!@_@
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กรกฎาคม 2009
  2. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    บาปทั้งสองกรณี แต่จะหนักหรือไม่ ขึ้นกับเจตนา

    คนรับบาป คือ คนที่เกี่ยวเนื่องในผลของบาปนั้น

    โมทนาครับ
     
  3. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    แต่ว่า เค้ามักจะวางไว้ ให้เป็นสาธารณะ นะครับ


    เช่นตอนผมอยู่ มหาวิทยาลัย มีที่กดน้ำเย็น ในมหาวิทลัย ดึกๆ ออกจากหอแบกถังน้ำ 5ลิตร ไปด้วย เราก็เอา ถัง5 ลิตร กดใส่น้ำซะ ทุ่นค่าน้ำได้หลาย เฮ่อ ๆๆๆๆ

    ของบางอย่างเป็นของราชการ แต่ เรามีสิทธิและหน้าที่ในการใช้ แม้ไม่เกี่ยวกับงาน แต่มันก็อญุ่ในอำนาจเรา
    เช่น ผมใช้คอมของโรงพยาบาลที่ผมทำงานอยู่เล่นเน็ต ณ ตอนนี้

    จะตีขุมว่าอทินนาทาน ก็ ทะแม่งๆ
     
  4. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130


    1. กรณีนำข้าวของเครื่องใช้จากบริษัทฯหรือโรงเรียน
    จำพวกเครื่องเขียนต่างๆ กระดาษสำนักงาน แม๊กซ์หนีบกระดาษ หมึกปริ้นเตอร์
    สารพัดที่จะเอามาได้ ฯลฯ หรือจำพวกเครื่องดื่ม เป็นซองๆ
    กระดาษชำระก็มี แอบหยิบกลับมาบ้าน เพื่อให้คนที่บ้านใช้
    คนที่บ้านก็รู้ว่าพวกของเหล่านั้นมาจากไหนก็ยังใช้
    บางคนก็เอางานของลูกหลานที่บ้านไปปริ้นซ์ให้ที่บริษัทที่โรงเรียนบ้าง
    ใช้กระดาษโรงเรียน หมึกโรงเรียน ฟรีไม่ต้องจ่าย
    แบบนี้กรรมจะตกกับใครบ้าง


    >>> คนไหนเอามา คนไหนเอาไปใช้ .... กรรมบาปก็ตกอยู่กับคนนั้น



    2.กรณีอาหารหรือขนมนั้น มีคนที่บริษัททิ้งไว้แล้วติดช่วงวันหยุด
    ก็หยิบมาด้วยความเสียดาย
    คิดว่าถ้าทิ้งของไว้ที่นั่นยังไงของก็ต้องเสียแล้วก็ต้องเอาไปทิ้ง
    หรือกรณีนมโรงเรียนที่เหลือ ทิ้งไว้ก็จะเสีย
    เลยหยิบมาฝากคนที่บ้านกินบ้าง แจกหมาที่บ้านบ้าง
    คนที่บ้าน ที่กินของนั้น ก็รู้ ว่าขนมหรืออาหารนั้นมาจากไหน
    แบบนี้จะบาปมั๊ย แล้วกรรมจะตกกับใครบ้าง



    >>> เจ้าของอาหารหรือขนม นั้นเขาหวงแหน หรือเปล่า

    ...ถ้าเขาหวง เขาไม่อนุญาติให้เอาไปทาน

    ... กรรมบาปก็ต้องตกอยู่ที่คนกิน และคนเอาไปครับ
     
  5. natspdo

    natspdo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +1,505
    มีทุกที่ครับ แต่เขาไม่ถืออะไรกันมากมาย เพราะเป็นเรื่องการบริการ ที่เจ้าของ เขารู้ดี และไม่ได้มีกฎลงโทษอะไร(หยิบกระดาษชำระ แล้วมีโทษถึงกับออกจากงาน) หากเราทำหน้าที่ทำประโยชน์ได้มากกว่า เจ้าของกิจการท่านไม่ว่าหรอกครับ แต่บางคนทำน่าเกลียดมาก ทำแบบมากไปเป็นหัวหน้างาน สั่งให้ทำรายงานของตนส่งอาจารย์ที่ตนเรียน มีเยอะเสียด้วย ผมเองยังถูกใช้ให้ไปทำรายงานให้เด็ก มัธยม ม.3 เรื่องกฐิน เลย จะพูดว่า
    "ไม่ได้นะครับ มันผิดนี่ มาใช้ผมทำงานแบบนี้ได้อย่างไร .... คิดไม่เป็นหรือไง"
    ท่านก็บอกว่า "ช่วยพี่แค่นี้ไม่ได้ใช่ไหม " งานนี้ยาวแน่
    ทำอะไรก็อย่าให้มันน่าเกลียดมากนัก กรรมอย่างแรกที่จะได้คือ อาจจะถูกตำหนิได้ มีผลต่อความเจริญก้าวหน้าในอาชีพเหมือนกัน คงต้องทำตนให้มีคุณค่า น่าใช้งาน เป็นประโยชน์กับองคกรที่เราอยู่ให้มากที่สุด "ก่อนจะทำอะไรให้คิดเสมอว่า วันนี้ท่านทำอะไรให้กับที่ทำงาน สังคม ประเทศชาติบ้าง " เช่น
    1.ไม่มาสาย
    2.ทำงานมากกว่าจับกลุ่มคุยกันเรื่องไร้สาระ
    3.ออกความคิดทางสร้างสรรค มีแนวคิดการแก้ปัญหา ดีกว่า ออกแนวคิดที่สร้างปัญหาว่าทำไม่ได้ ติดปัญหาสารพัด ยังไม่ลองทำเลยก็ล่มเสียแล้ว
    4.ทำงานโดยการวางแผน การทำงาน
    ฯลฯ
    แล้วแค่กระดาษชำระ กาแฟ เขาจะไม่ท่านเลยหรือ... ทำถึงขนาดนี้แล้วนะ
     
  6. ZeGiNe_SiN

    ZeGiNe_SiN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +270
    rat_wting..........อนุโมทนากับคำตอบดีๆ ให้กระจ่างชัดขึ้นในศีลข้อ 2 ค่ะ
     
  7. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973


    แล้วของนั้น ผู็ใดหวงแหน เล่าครับ

    ของบางอย่างเป็นสาธารณะ แก่บุคคลทั่วไป
    ของบางอย่างเป็นสาธารณะแก่ บุคคลบางกลุ่ม ที่มีสิทธิตรงนั้น

    ถ้าอย่่างนี้เรามิต้อง ติดอทินนาทานกันทุกคนรึ พื้นดินที่ย่ำอยู่เป็นของ รัฐ
    เศษดินถนนติดเข้าบ้าน เรา มิต้องอทินนาทาน กันทุกวันรึ
    ทรัพย์บางอย่าง เช่นวัตถุโบราณ ถ้ามีไว้ครอบครอง ไม่แจ้งรัฐ ผิดกฏหมาย
    พระหลายรูป ถือเอาสิทธิในวัตถุโบราณเช่น พระเครื่องเก่า พระพุทธรูปเก่า
    เช่นดังหลวงปู่ หลวงพ่อหลายรูป มิผิดกฏหมายรึ
    ...........................................................
    อย่างพระพุทธรูป เก่าๆ องค์หนึ่ง พระธุดงค์ ต้องการเอาไปบูรณะบูชา อาราธนาท่านไป ซ่อมแซม ที่วัด บอกกล่าวสงฆ์ให้รู็ว่ามาการย้ายเจดีย์ ให้สงฆ์อนุญาต
    แต่ พระนั้นเป็นวัตถุโบราณ ไม่ได้แจ้งแก่ทางการ พระรูปนั้น ว่าตามตรรกะ ย่อมผิดกฏหมาย
    ท่านจะ"โลกวัชชะ" อาบัติรึไม่

    นี่ไม่ใช่ปัญหาโลกแตก
    แต่....
    ความคิดผม น่ะ ใครเห็นค้านได้
    ผมชอบใจคำว่า "คนที่เข้าวัด เศษดินติดเท้า เข้าบ้านตัวเอง คนนั้น ติดหนี้สงฆ์"

    คำว่าหนี้ ตามพจนานุกรม คือ "น. เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง, หนี้สิน ก็ว่า; (กฎ) นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไป ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ ให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. obligation); โดยปริยายหมายถึงการที่จะต้องตอบแทนบุญคุณเขา."

    เราติดหนี้รัฐ แต่เราไม่ได้ลัก ขโมย จากรัฐ

    ศีลข้อสอง จึงไม่ผิด

    เพียงแค่ เราติด "หนี้"ซึ่งต้อง ชำระ ด้วยประการต่างๆ ต่างหาก
     
  8. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973


    แล้วของนั้น ผู็ใดหวงแหน เล่าครับ

    ของบางอย่างเป็นสาธารณะ แก่บุคคลทั่วไป
    ของบางอย่างเป็นสาธารณะแก่ บุคคลบางกลุ่ม ที่มีสิทธิตรงนั้น

    ถ้าอย่่างนี้เรามิต้อง ติดอทินนาทานกันทุกคนรึ พื้นดินที่ย่ำอยู่เป็นของ รัฐ
    เศษดินถนนติดเข้าบ้าน เรา มิต้องอทินนาทาน กันทุกวันรึ
    ทรัพย์บางอย่าง เช่นวัตถุโบราณ ถ้ามีไว้ครอบครอง ไม่แจ้งรัฐ ผิดกฏหมาย
    พระหลายรูป ถือเอาสิทธิในวัตถุโบราณเช่น พระเครื่องเก่า พระพุทธรูปเก่า
    เช่นดังหลวงปู่ หลวงพ่อหลายรูป มิผิดกฏหมายรึ
    ...........................................................
    อย่างพระพุทธรูป เก่าๆ องค์หนึ่ง พระธุดงค์ ต้องการเอาไปบูรณะบูชา อาราธนาท่านไป ซ่อมแซม ที่วัด บอกกล่าวสงฆ์ให้รู็ว่ามาการย้ายเจดีย์ ให้สงฆ์อนุญาต
    แต่ พระนั้นเป็นวัตถุโบราณ ไม่ได้แจ้งแก่ทางการ พระรูปนั้น ว่าตามตรรกะ ย่อมผิดกฏหมาย
    ท่านจะ"โลกวัชชะ" อาบัติรึไม่

    นี่ไม่ใช่ปัญหาโลกแตก
    แต่....
    ความคิดผม น่ะ ใครเห็นค้านได้
    ผมชอบใจคำว่า "คนที่เข้าวัด เศษดินติดเท้า เข้าบ้านตัวเอง คนนั้น ติดหนี้สงฆ์"

    คำว่าหนี้ ตามพจนานุกรม คือ "น. เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง, หนี้สิน ก็ว่า; (กฎ) นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไป ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ ให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. obligation); โดยปริยายหมายถึงการที่จะต้องตอบแทนบุญคุณเขา."

    เราติดหนี้รัฐ แต่เราไม่ได้ลัก ขโมย จากรัฐ

    ศีลข้อสอง จึงไม่ผิด

    เพียงแค่ เราติด "หนี้"ซึ่งต้อง ชำระ ด้วยประการต่างๆ ต่างหาก
    และ หนึ่งในการชำระ นั้น คือ "ภาษี" นั่นเอง
     
  9. somemaybe

    somemaybe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2009
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +143
    เมื่อก่อนเราก็ไม่คิดอะไรหรอก
    แต่เดี๋ยวนี้มีความรู้สึกว่าถ้าคนที่ทำแบบนี้บ่อยๆ
    จะเกิดมีความโลภขึ้นในจิตใจและในอุปนิสัยโดยที่ไม่รู้สึกตัว

    อันนี้เราจะยกตัวอย่างที่เราเคยเจอ
    พี่คนหนึ่งที่เรารู้จักเป็นญาติกันด้วย สมัยลูกยังเล็กอยากพิมพ์ภาพการ์ตูนสวยๆ
    ก็เอาไปพิมพ์ที่โรงเรียน ไม่ก็เอาลูกไปพิมพ์ภาพสีที่โรงเรียน มากมายเย๊อะแย๊ะค่าหมึกสีเลเซอร์แพงจะตาย บางที่ได้งบซื้อหนังสือหรืออุปกรณ์ทางด้านคอม
    ซื้อแล้วก็เอามาเก็บเต็มบ้าน เค้าบอกว่าที่โรงเรียนไม่มีใครใช้
    แต่ตัวเค้าเอามาก็ไม่ได้ใช้อยู่ดี

    อีกคนก็ชอบขนข้าวของเครื่องใช้มาให้น้องชายและหลานที่บ้าน แถมบอกอีกว่า
    ขาดเหลืออะไรให้บอก เดี๋ยวจะเอาที่บริษัทมาให้ น้องชายคนนั้น
    ก็ว่าดี แถมขาดเหลืออะไรก็บอกให้พี่สาวเอามาให้อีก

    เราว่าของอะไรถ้าใช้แต่พอสมควร ถึงแม้ว่าเค้าจะให้เราใช้
    การรู้จักจ่ายบ้าง ไม่รับในสิ่งที่เป็นทานโดยไม่จำเป็น มันก็น่าจะดีกว่า

    พูดแบบนี้ แต่บ่อยครั้ง เราก็ทำไม่ได้เหมือนกัน เพราะการทำใจให้ไม่โลภในข้าวของเครื่องใช้หรือของกินฟรีๆ มันยากหน่ะ

    อย่างกรณีกระดาษทิชชู่นั้น จริงๆเป็นเรื่องเล็กน้อย
    แต่บางคนที่เรารู้จักทำจนเป็นนิสัย(อันนี้เรื่องจริงในชีวิตเราเลย) เวลาไปไหน
    ขอให้หยิบมาเกิน ขอให้เอามาเผื่อ เอามาให้คนที่บ้านได้ใช้อีก
    บางทีก็แอบขนขนม ขนชาลิปตันเป็นซองๆมาฝากคนที่บ้าน
    (ความที่ไม่อยากซื้อ แต่อยากมีของมาฝากน้องที่บ้าน)
    น้องนุ่งที่ไม่รู้เรื่องก็กินกันอร่อย แถมกินไปกินมา โลภก็เกิด บอกต่อไปอีกว่า
    ถ้ามีแบบนี้ให้เอามาอีก จะได้ไม่ต้องซื้อ เราว่ากรรมมันก็เกิดแล้ว
    ทันทีที่กินแล้วโลภขึ้นมา

    เราว่าถ้าทำบ่อยๆ กรรมก็ตกกับคนกินคนใช้โดยอาจคิดไม่ถึง
    ว่าไปกินของไปใช้ของที่เจตนาหยิบมาโดยที่เจ้าของ
    เค้าไม่ได้อนุญาติมาให้

    อันนี้เป็นความคิดเห็นของเราน๊ะ


    ;20
     
  10. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">
    ในการรักษาศีล เราจึงควรศึกษาทำความเข้าใจในเรื่ององค์ประกอบของศีล ซึ่งเป็นหลักในการพิจารณาว่า ศีลขาดหรือไม่ โดยพิจารณาจากองค์ประกอบชองศีล ๕ ดังนี้คือ

    ศีลข้อที่ ๒ เว้นจากการลักทรัพย์ ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ

    ๑. ทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
    ๒. รู้อยู่ว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน
    ๓. มีจิตคิดจะลักทรัพย์นั้น
    ๔. มีความพยายามลักทรัพย์นั้น
    ๕. ลักทรัพย์ได้ด้วยความพยายามนั้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    คุณเม


    สมมุตินะ ผมเป็นเจ้าของบริษัท ที่คุณsomemaybe ทำงานอยู่

    ผมอนุญาติให้ พนักงานใช้ของใช้สำนักงาน ใช้ได้แค่ในบริษัท เท่านั้นครับ

    ดังนั้น

    ถ้าคุณ somemaybe เอาของใช้สำนักงาน กลับไปใช้ที่บ้าน

    คุณ somemaybe ผิดศีลไหมครับ ?
     
  11. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    หากว่าเป็น ของบริษัท เพราะ มีเจ้าของ คงผิด อทินนาทาน ครับ
    เพราะเงื่อนไขของเจ้าของนั้น คือ "ให้ใช้ในบริษัท"เท่านั้น


    แต่หากเป็นของรัฐ หรือเอกชน ส่วนอื่นที่ "หยวน"หรือ "ให้ใช้เพื่อความสะดวกในการทำงาน" หรือ " อำนวยความสะดวกแก่พนักงาน " ตรรกกะ ตรงนี้ ย่อมไม่น่าผิดในเงื่อนไข ของ อทินนาทาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 กรกฎาคม 2009
  12. somemaybe

    somemaybe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2009
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +143

    กรณีหน่วยงานรัฐ ใครกันจะแสดงเป็นเจ้าของหวนแหน
    แต่แน่ๆที่เราเคยได้ยินมา
    "โกงรัฐ ขโมยของรัฐ" บาปหนักกว่าขโมยของส่วนบุคคล

     
  13. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973

    พอๆ กะติดหนี้สงฆ์ ที่เราไม่ตั้งใจ เช่น ดินวัดติดเท้า นะแหละนา

    ผมถึงไม่แน่ใจว่า จะผิดอทินนาทาน แต่ เรื่องหนี้ หากไม่ชำระคืน ถือว่า ฉายา อทินนาทาน ครับ
    แต่ตั้งใจชำระคืน ในรูป"ภาษี" หรือ "การกระทำในตำแหน่งหน้าที่ ที่ถูกต้อง สมควร เต็มหน้าที่ เพื่อปกป้อง เอื้อประโยชน์แก่รัฐ "
    ก็น่าจะถือว่า ชำระหนี้รัฐ ชำระหนี้หลวง ไปได้ นา พอๆกะ ชำระหนี้สงฆ์
    แต่ว่าสร้างพระปิดทอง 4ศอกชำระหนี้รัฐ หนี้หลวง นี่ ไม่รู้ว่าทำใด้จริงไหม แต่หนี้สงฆ์ ชำระได้แน่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 กรกฎาคม 2009
  14. somemaybe

    somemaybe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2009
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +143
    วานก่อนไปเซเว่น เจอหนังสือเล่มหนึ่งเลยซื้อมาอ่าน
    อ่านไปเจอสองเรื่องนี้เลยเป็นเหตุให้เกิดกระทู้นี้ขึ้นมาในใจ




    โยม: โยมคิดว่าโยมไม่ได้ทำกรรมอะไร เพราะโยมมีความสุขดีค่ะ แม่ชี
    แม่ชี: แต่แม่ชีเห็นผ้าห่มบนเครื่องบินไปอยู่บ้านโยม มีไหมคะ แก้วน้ำสีสวยอยู่ในตู้โชว์อีก 4 ใบ มันเป็นกรรมนะคะ

    โยม: เป็นกรรมอย่างไรคะ ดิฉันจำไม่ได้
    แม่ชี: จำไม่ได้ก็ไม่เป็นไรค่ะ แม่ชีคิดว่า
    ถ้าเราไม่มีสติเราก็จะทำผิดพลาดศีลห้าได้ง่าย เพราะเราคิดไม่ถึง ว่าสิ่งที่เราทำ
    ไปแล้วจะส่งผลมาที่เรา แม่ชีขอโทษโยมนะคะ ถ้าแม่ชีพูดให้โยมทุกข์ใจ

    โยม: อ๋อ จำได้แล้วค่ะ มันนานมากแล้วนะคะ คุณแม่ชี
    แม่ชี: ไม่เป็นไรค่ะ เรื่องที่ทำไปแล้วจะแก้ไขอะไรก็คงไม่ได้ เอาเป็นว่า ถ้าขึ้นเครื่องบินเมื่อไรก็คิดไว้ว่า มันไม่ใช่ของเรา อย่าทำอีก กรรมก็คงไม่เกิดอีก
    ชอบอะไรก็ซื้อเอาเถอะนะค่ะ เพราะเรื่องนี้ผิดศีลข้อสอง

    แม่ชี: โยมมีกรรมเรื่องผ้าห่ม กรรมส่งผลให้โยมมีปัญหาในเรื่องการหลับนอน เพราะสามีโยมจะดึงผ้าที่ใช้ผืนเดียวกันไปอยู่ที่เขาหมดผืน ในที่สุดโยมต้องแยกห้องนอน
    โยม: คุณแม่ชีค่ะ ดิฉันขอขอบคุณแม่ชีมากค่ะ ตาสว่างแล้วค่ะ

    =========

    แม่ชี: โยมเป็นครูบาอาจารย์หรือเปล่า เพราะเห็นสมุดดินสอ
    โยม: ใช่ค่ะ หนูเป็นอาจารย์
    แม่ชี: แล้วใครเลี้ยงวัวที่บ้าน
    โยม: สามีเลี้ยง
    แม่ชี: สามีเลี้ยงแล้วประสบความสำเร็จมั๊ย
    โยม: ไม่ประสบความสำเร็จ
    แม่ชี: เลี้ยงมากี่ครั้งแล้ว
    โยม: เลี้ยงมาหลายครั้งมาก พอถึงเวลาที่จะขายเนี่ย วัวตายทุกที ไอ้ที่เป็นหนี้ ก็เพราะวัวนี้แหละ
    แม่ชี: แม่ชีขออนุญาตพูดเรื่องโยมนะ

    โยมเป็นคนดูแลเรื่องนมเด็ก อาหารกลางวันเด็กหรือเปล่า
    โยม: ดูค่ะ ดูแลอาหารกลางวันเด็ก
    แม่ชี: นมที่เค้าให้เด็กเนี่ย โยมเก็บกลับบ้านหรือเปล่า
    โยม: เก็บค่ะ
    แม่ชี: โยมไม่มีสิทธิ์เก็บนมอันนั้นนะ
    โยม: โถ แม่ชี เก็บไว้มันก็บูด
    แม่ชี: บูดก็ให้มันบูดที่โรงเรียน เพราะมันไม่ใช่หน้าที่ของเรา

    ถ้ามองตามโลก เราก็ยอมๆกันใช่ไหมค่ะ เอาไว้มันก็บูด ถ้าเห็นว่ามันบูด
    แล้วไปคิดแทนว่า เราเอากลับไปดีกว่า เดี๋ยวมันบูด แล้วเอาไปทำอะไรรู้ไหมคะ
    เอาไปตัดกล่อง แล้วเทใส่กาละมัง เทใส่อ่างให้วัวกินทุกวัน
    อาหารกลางวันก็ให้ลูกกิน ทุกข์มันมาเยือน เพราะว่า พอติดต่อคนที่จะให้
    มาซื้อวัวปุ๊บ คืนนี้วัวตาย อัศจรรย์ไหมคะ อันนี้กรรมที่เห็นชัดเจน

    มีหน้าที่ทำอะไรก็แล้วแต่ เป็นครูบาอาจารย์
    อาหารกลางวันเด็กก็เป็นของเด็ก ไม่ใช่ของอาจารย์
    ต้องมีความพร้อมด้วยว่า ขณะที่เรากำลังทำอะไร ขณะที่เห็น ของที่จะเสีย
    ก็ถ้ามันเสียก็ให้มันเสีย เราอย่าไปเกี่ยวข้อง เราอย่าไปคิดแทน

    อย่างคนนี้เป็นอาจารย์ที่สอนนักเรียน แล้วก็เป็นแม่พิมพ์ มันก็ต้องทำให้เป็น
    ตัวอย่างกับนักเรียน แต่ตรงนี้เป็นธรรมทานนะ เพราะว่าถ้าถามแม่ชีว่าเอาไหม
    ถ้าเป็นแม่ชีก็เอานะเพราะไม่รู้เรื่องธรรมะ แต่พอธรรมะตรงนี้เกิดขึ้น
    แม่ชีถึงเข้าใจว่า ที่ไปจับปลากันกลางทะเล เค้าก็มีเขตนะ
    เขตทะเลของประเทศอะไร ถ้าวิ่งไปเลยเขตประเทศไทยไปจับเขตอื่น

    นี่ถือว่าขโมยเค้านะคะ ถือว่าลักทรัพย์ คนกินครึ่งหนึ่ง คนลากครึ่งหนึ่ง

    .
    .
    .
    ใครทำบุญอย่าเบรคบุญเค้า แล้วเรื่องหน้าที่การงาน
    อะไรที่เป็นขององค์กรอย่าเอากลับบ้าน
    กรรมมันจะส่งผลมาหาเราเป็นหนี้เป็นสินอย่างไม่มีเหตุผล



    ที่มา บางส่วนของหนังสือ
    "ธรรมะเอาตัวให้รอด สำหรับคนหาทางออกไม่ได้"
    ฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ 4 โดย แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2009
  15. somemaybe

    somemaybe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2009
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +143
    เราเคยได้ยินมาว่าคนโบราณขนดินเข้าวัด เพราะเรื่องไปเหยียบดินวัดติดเท้า
    กลับบ้านนี่แหละ ไม่รู้ประเพณีขนทรายเข้าวัดนี้จะเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยรึเปล่า
    อ่านแล้วก็นึกได้ วันไหนไปวัดคงต้องเอาเงินไปชำระหนี้สงฆ์ที่เคยติดหนี้
    มาทั้งหมดทั้งที่จำได้หรือไม่ได้ หรือที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์
    กะจะอธิษฐานของชำระหนี้สงฆ์ เผื่อไปถึงอนาคตจนกว่าเราจะตายไปเลย
    (กันลืมหน่ะ) เลยคิดจะชำระล่วงหน้าเกินไปด้วย [​IMG]
     
  16. PRiMrATA

    PRiMrATA สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +4
    ถ้าทำบ่อยคงเป็นกรรมสะสม เห็นเพื่อนบางคน รอจนคนกลับบ้านหมด แล้วหิ้วกระดาษ A4 ไปใช้ที่บ้าน แบบนี้เรียกว่าตั้งใจได้เลยมั้งคะ
     
  17. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,473
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,012
    เห็นด้วยกับพี่ PRiMrATA ครับ ทําบ่อยๆจะเป็นการสะสมกรรมไป อีกหน่อยก็ต้องตามไปใช้กัน เเต่ในกรณีนี้นําอาหารมาให้สุนัขที่บ้านทาน อันนั้นผมว่าเข้าท่านะครับ เพราะถ้าทิ้งไว้ที่บริษัทอาจจะเน่าเสียไปได้เพราะไม่มีคนกิน ถ้านําของกินที่คนอื่นไม่ทานเเล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์เเก่ผู้อื่นได้ ผมว่าก็คงไม่น่าผิดเท่าใดนัก ขึ้นอยู่กับเจตนาครับ ยังไงก็ขอชื่นชม จขกท ที่กล้ามาสารภาพกับพวกเรา คนที่ใช้ประสบการณ์ของตนเองให้คนอื่นได้เรียนรู้นับว่าน่ายกย่องครับ เจริญในธรรมยิงๆขึ้นไปนะครับ เเต่ถ้าทําได้ ก็อย่าทําอีกเลยครับเรื่องทิชชู่ เเหะๆ
     
  18. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    เรามาตีความคำว่า ของราชการ กับ ของบริษัทกันดีกว่า

    ในส่วนราชการ

    วัสดุ หมายถึง สินทรัพย์ที่หน่วยงานมีไว้เพื่อใช้ในการดำเนินงานตามปกติ โดยทั่วไปมีมูลค่าไม่สูงและไม่มีลักษณะคงทนถาวร เช่น วัสดุสำนักงาน เป็นต้น

    ครุภัณฑ์ หมายถึง สินทรัพย์ที่หน่วยงานมีไว้เพื่อใช้ในการดำเนินงานมีลักษณะคงทนและมีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 ปี โดยให้บันทึกรับรู้ครุภัณฑ์ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 5,000 บาท ขึ้นไปตามราคาทุนเป็นรายการสินทรัพย์ถาวรในบัญชีของหน่วยงาน โดยบันทึกรายละเอียดครุภัณฑ์ในทะเบียนคุมทรัพย์สินและให้คำนวณค่าเสื่อมราคาประจำปี สำหรับครุภัณฑ์ที่มีมูลค่า ไม่ถึง 5,000 บาท ให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายประเภทค่าครุภัณฑ์มูลค่าต่ำกว่าเกณฑ์ และให้บันทึกรายละเอียดของหลักเกณฑ์ดังกล่าวในทะเบียนคุมทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ในการควบคุมรายการทรัพย์สินของทางราชการโดยไม่ต้องคำนวณค่าเสื่อมราคาประจำปี


    สรุป : วัสดุ คุรภัณฑ์ คือ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ทางราชการจัดหาไว้ให้พนักงานราชการหรือลูกจ้างในงานราชการใช้ในการดำเนินงานของราชการเพื่อผลประโยชน์แก่หน่วยราชการนั้นๆ ซึ่งการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มาจากการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน และถือว่าเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน


    ในส่วนของบริษัท

    วัสดุ สำนักงาน หมายถึง สิ่งที่ใช้ในสำนักงานในการทำงานต่างๆที่ใช้เเล้วหมดไป หรือสิ้นเปลืองไป เรื่อยๆจนหมด ต้องซื้อมาใหม่ทดเเทน
    เช่น กระดาษ หมึก เทปกาวฯ


    อุปกรณ์สำนักงาน หมายถึง สิ่งที่ใช้ในสำนักงาน ในการทำงานต่างๆที่ใช้เเล้วไม่หมดไป เเต่มีการเสื่อมสภาพลงไปเรื่อยๆจนถึงระยะเวลาก็ต้องเปลี่ยนใหม่เหมือกัน เช่น คอมพิวเตอร์ โต๊ะ เก้าอี้ printer ฯ

    สรุป : วัสดุ และอุปกรณ์สำนักงาน คือ เครื่องใช้ต่างๆที่นายจ้าง ได้จัดหาไว้เพื่อความสะดวกและการดำเนินงานในสำนักงาน และเกิดประโยชน์แก่การดำเนินธุรกิจของนายจ้าง ซึ่งทางบัญชีและกฏหมายแล้วถือเป็นทรัพย์สินของนายจ้าง


    พระท่านสอนว่าหลักการของบาปจะเกิดขึ้นแบบได้แต้มเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ
    1. เจตนาเป็นกรรม
    2.ไ ด้ลงมือกระทำ
    3. การกระทำบรรลุผล

    ศีล ๕ และ กรรมบถ ๑๐
    จาก หนังสือ พรหมวิหาร ๔
    โดยพระราชพรหมยาน​

    ศีล ๕ ประการ มีตามนี้

    ๑. ปาณาติบาต ( ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ) พระพุทธเจ้าบอกว่า ทรงให้เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ทางที่ดีก็เว้นจากการทรมานสัตว์เสียด้วย

    ๒. อทินนาทาน ( อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ) ไม่ถือเอาทรัพย์สินที่บุคคลอื่นไม่ให้มาเป็นของตนโดยไม่ชอบธรรม

    ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ( กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ) ให้เว้นจากการละเมิดความรัก คือ เป็นสามีและภรรยาของบุคคลอื่น ยินดีเฉพาะสามีและภรรยาของตนเอง

    ๔. เว้นจากการมุสาวาท ( มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ) คือ การพูดไม่ตรงตามความเป็นจริง เป็นการทำลายประโยชน์ของบุคคลผู้รับฟัง

    ๕. เว้นจากการดื่มสุราและเมรัย ( สุราเมระยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ) ข้อนี้หนักมาก ถ้าเมาเมื่อไหร่แย่เมื่อนั้น จำอะไรไม่ได้ ดีไม่ดี เห็นว่าพ่อเป็นเพื่อนไปอีก แต่บางคนเห็นพ่อเป็นฟุตบอลไปก็มี เตะพ่อตีแม่ อย่างนี้ก็มี


    ฟังหลวงพ่อแล้วก็มาพิจารณากันนิดนึง

    ๒. อทินนาทาน ( อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ) ไม่ถือเอาทรัพย์สินที่บุคคลอื่นไม่ให้มาเป็นของตนโดยไม่ชอบธรรม

    1. ไม่ถือเอา ต้องประกอบด้วย 1.ไม่มีเจตนา 2.ไม่กระทำ และ 3.ผลไม่เกิดจึงจะไม่เป็นบาป

    2. ทรัพย์สิน คือ สิ่งของ หรือบุคคล ที่มีเจ้าของ และผู้ปกครอง

    3. บุคคลอื่น คือ ใครก็ตามที่ไม่ใช่เรา รวมถึง ราชการ นิติบุคล สถาบันต่างๆ

    4. ไม่ชอบธรรม คือ อยู่นอกเหนือกรอบของ ศีล 5 และกรรมบถ 10


    หากจะเอาสิ่งของจากผู้ใด ต้องขออนุญาตเจ้าของ หรือผู้ปกครอง เสียก่อน สิ่งของใดที่เป็นสาธารณะให้ถือว่าเป็นสมบัติส่วนรวมมิควรยึดถือเอาเป็นสมบัติส่วนตัว ให้ใช้ได้ในที่ๆกำหนดเท่านั้น อย่าอาศัยความเคยชินในกรรม เช่น แชมพูของในห้องน้ำอยากใช้ก็บอกเจ้าของสักคำเสียก่อนอย่าคิดว่าเสียเวลา ขนมบนโต๊ะเห็นวางอยู่ก็ถามซิว่าของใคร? แล้วไปขอกับเจ้าของ ของสำนักงานก็ต้องขอนายจ้างผู้เป็นเจ้าของ อยากเอาของราชการก็ต้องขอทางราชการให้เรียบร้อย

    บทบัญญัติในพระธรรมวินัย มีข้อที่ว่า "ห้ามหยิบของผู้อื่นให้เคลื่อนแม้เพียงองคุลี ( 1 ข้อนิ้วมือ) "

    หยิบไปใช้ ส่วนตัว โดยทึกทักเอาว่ารู้แล้ว คิดว่าอนุญาติแล้ว คิดว่าไม่เรื่องมาก นั้น ทำให้เกิดบาปกรรมติดตัวกันมามาก โดยเฉพาะคนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิด เนื่องจากการถือวิสาสะโดยความเคยชิน แม้แต่สามีภรรยาจะหยิบของกันก็ควรขออนุญาตและแจ้งให้เจ้าของทราบก่อน

    การยึดเอาทรัพย์ราชการมาเป็นของตน เท่ากับผู้นั้นฉ้อฉลกับทางราชการไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะมีมูลค่าเท่าใด ไม่ว่าชาติไหนผู้นั้นถือว่าเป็นกรรม "หนี้แผ่นดิน" จักต้องชดใช้ทุกๆชาติจนกว่าจะหมดมูลกรรม

    เช่นเดียวกับการใช้ของสงฆ์ แม้กระทั่งทรายที่ติดเท้าจากวัดมาบ้านก็ถือเป็นของสงฆ์ จึงต้องมีการ ชำระหนี้สงฆ์ เกิดขึ้น และ เช่นเดียวกับทรัพย์สินของนายจ้างที่ยักยอกมาใช้ส่วนตัว ก็จักติด หนี้นายจ้าง จึงต้องมาทนให้เค้าเก็บหนี้โขกสับเกินเงินเดือนทุกวันนี้นั่นเอง

     
  19. กระติ๊บ

    กระติ๊บ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    672
    ค่าพลัง:
    +939
    สรุปว่า อะไรที่ไม่ใช่ของเรา ไม่มีใครเอ่ยปากให้เรา เราก็อย่าไปเอาดีกว่านะคะ
    โมทนาในธรรมทาน
     
  20. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973


    ชี้แจงได้ชัดเจนดีครับ

    อนุโมทนาเลย 555+
    แต่ ... ข้อห้าม "ห้ามหยิบของผู้อื่นให้เคลื่อนแม้เพียงองคุลี ( 1 ข้อนิ้วมือ) อยู่ในวินัยข้อ ปาราชิก ซึ่งห้ามเฉพาะ "พระภิกษุสงฆ์ และ พระภิกษุณี " เท่านั้น ฆราวาส ไม่ห้าม
    แต่ เรื่องการเอาของหลวงมา อันนี้ ยอมครับ มติเอกฉันท์ ผิดอทินนาทาน จริงๆ



    ที่มามาจาก ...

    " การที่คนทำงาน เอางานส่วนตัวมาใช้คอมพิวเตอร์และเวลางานของราชการ ถือว่าเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์หรือไม่

    ผมเห็นว่า เป็นเรื่องที่หลายคนน่าจะสงสัยเหมือนกัน (บางคนก็เห็นเป็นประจำ) ก็เลยขอยกเอามาตอบตรงนี้เลยแล้วกัน เผื่อมีผู้เชี่ยวชาญผ่านมาแถวนี้ มาช่วยผมตอบ เพราะผมเอง ตอบตามตรงก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน คนที่น่าจะช่วยตอบได้ดีที่สุด น่าจะเป็นนักนิติศาสตร์ ถ้าผมคิดเห็น หรือตีความผิดประการใด ก็ทักท้วงด้วยแล้วกันนะครับ

    ในทางนิตินัย ถ้าเริ่มต้นจากง่าย ๆ ก็คือ น่าจะดูจากกฏหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime) โดยตรง ถ้าอย่างบ้านเราก็ พรบ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ผมก็ลองแว๊บ ๆ ไปดูของที่อเมริกา กับของแคนาดามาเหมือนกัน ผมไม่เห็นข้อความตรงไหน ที่สามารถตีความว่า การใช้คอมพิวเตอร์ของทางราชการไปในการส่วนตัว เป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

    เท่าที่ผมเข้าใจ ปัจจุบันนิยามของ อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ในตัวบทกฏหมาย มันมีอยู่ 2 นัย คือ 1) การใช้คอมพิวเตอร์เป็น “เครื่องมือ”​ ก่ออาชญากรรม หรือ 2) คอมพิวเตอร์เป็น “พื้นที่” ที่เกิดอาชญากรรม (เช่น การละเมิดสิทธิในการเข้าถึง – เข้าถึงเครื่องหรือข้อมูลที่เค้าไม่อนุญาต – โดยจะเน้นไปที่พวกเครือข่ายมากกว่า)

    แต่ถ้ามองในเชิงอาญาล้วน ๆ ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ความผิดทางอาญาในบ้านเรานั้น ครอบคลุมไปถึงเรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการด้วย ซึ่งได้แก่

    * เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ของทางราชการ
    * เจ้าพนักงานรับสินบนจากประชาชน
    * เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
    * เจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่
    * เจ้าพนักงานละทิ้งหน้าที่ (ที่มา Pantown.com)

    ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์และเวลาราชการมาใช้ประโยชน์ส่วนตน ก็คือ การยักยอกทรัพย์ ฉ้อราษฏร์บังหลวง นั่นเอง ทำให้หลวงเสียผลประโยชน์ จากทรัพยากรที่สูญเสียไป สำคัญมันอยู่ที่เรื่อง เวลา, bandwidth, และค่าเสื่อม ซึ่งก็เหมือนกับว่า การที่เอาปากกากับกระดาษของรัฐ ไปเขียนจดหมายหาแฟนในเวลาทำงาน กับลักปากกากับกระดาษของรัฐไป ผมว่ามันก็ไม่น่าจะต่างกัน ในเชิงการกระทำความผิด เพราะยักยอกของหลวงเหมือนกัน (เว้นแต่ว่า ปากกาได้เกิดจากการได้เป็นรางวัลตอบแทน อะไรซักอย่างหนึ่ง)

    ดังนั้น ถ้ามองในมุมนี้ การเอาคอมพิวเตอร์และเวลาทำงานมาใช้ในเรื่องส่วนตัว น่าจะเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ซึ่งมันก็คือ การก่ออาชญากรรมนั่นเอง (เพราะอาชญากรรม – ถ้าเข้าใจไม่ผิด – คือการกระทำความผิดทางอาญา)

    แต่กระนั้นก็ไม่น่าจะอยู่ในกรอบของ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เพราะในที่นี้คอมพิวเตอร์ถูกเปรียบเทียบเป็น “สินทรัพย์” ไม่ใช่ “เครื่องมือ” หรือ​ “พื้นที่” ที่เป็นตัวกลาง ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

    งงมั๊ยเนี่ย? คือ ถ้าอย่างเช่น ถึงแม้ตัวข้อมูลคอมพิวเตอร์สูญหาย แต่การกระทำนั้น ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ หรือไม่ได้เกิดขึ้นภายในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การจุดไฟเผาหรือทุบเครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรืออะไรทำนองนั้น ก็ไม่น่าจะเรียกได้ว่า เป็น อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

    อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ข้างต้น ก็เป็นการวิเคราะห์เฉพาะในบริบทขององค์กรของรัฐ ที่ข้าราชการเป็นคน “ของ” ประชาชน

    ซึ่งถ้าเป็นองค์กรเอกชน การวิเคราะห์คงจะต้องไปดูทางแพ่งแทนมากกว่า เนื่องจากมันมีกรอบขององค์กรครอบอยู่อีกชั้นนึง นั่นก็ขึ้นอยู่กับกฏระเบียบและวิธีปฏิบัติขององค์กรนั้น ๆ เช่น สัญญาจ้างงาน ระเบียบการใช้วัสดุครุภัณฑ์ อะไรทำนองนี้ แต่โดยทางพฤตินัย ก็ค่อนข้างจะหยวน ๆ ทั้งนี้ ในเชิงการบริหารจัดการองค์กรและบุคคล ก็สามารถมองได้ว่า เรื่องส่วนบุคคลก็มีผลต่อ ประสิทธิภาพของการทำงานอยู่ไม่ใช่น้อย ดังนั้น ถ้าจะให้ชี้ชัดและน่าจะเข้าท่าเข้าทางหน่อย น่าจะเป็นเรื่อง จริยธรรม (Ethic) และมารยาท (Etiquette) ในการทำงานมากกว่า"



    .... กระทู้ นี่ทำให้ผมรู็้้้้ ว่า ยันต์เกาะเพชร ที่รับมา เสด็จกลับไปซะแล้ว
    ต้องหา ของอื่นกันตัวซะแล้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...