พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 67 คน ( เป็นสมาชิก 4 คน และ บุคคลทั่วไป 63 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, nongnooo+, เทพารักษ์+, chantasakuldecha+ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อ่า ตกลงแล้ว พระสมเด็จ ที่ได้ไปในวันทำบุญที่โรงพยาบาลสงฆ์ ดีป่าวครับ แรงเกิน 100 ป่าวครับ เพราะ น้องรักจะได้หักคอผมแน่นอน อิอิ

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ทั้งคุณpsombat และน้องพรสว่าง ในฐานะใจเกินร้อย ผมจะหาวัตถุมงคลให้นะครับ

    สำหรับคุณpsombat ผมจะหาพระสมเด็จให้ เนื่องจากชอบพระสมเด็จ
    ส่วนน้องพรสว่าง ชอบเครื่องราง ผมจะให้ตะกรุด โสณะ-อุตระ 1 ดอก

    อย่าลืมทวงนะครับ ถ้าไม่ทวงแล้วผมลืม ช่วยไม่ได้ ไว้พบกันครั้งหน้า อย่าลืมทวงผมด้วย ไม่งั้นอด อิอิ

    ตะกรุด โสณะ-อุตระ ดอกที่ผมนำไปในวันงานผ้าป่า เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมานั้น ผมถวายพระอาจารย์นิลไปเรียบร้อยแล้วครับ

    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 70 คน ( เป็นสมาชิก 4 คน และ บุคคลทั่วไป 66 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, ล้อมเดช, เทพารักษ์+, chantasakuldecha+ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    .
     
  3. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    โอ๊ะชัวร์ครับ2เรื่องคือ 1ดีอ่ะชัวร์ครับกับ2.น้องรักหักคอชัวร์ครับ หุ หุ
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อย่าลืมกันนะครับ

    นำมาย้ำเตือนกันอีก(แล้ว)ครับ(ท่าน)

    ไหว้ 5 ครั้ง<O:p</O:p
    ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญ ญาณวรเถระ )<O:p</O:p
    วัดเทพศิรินทราวาส<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    [​IMG]

    คัดลอกจาก http://www.konmeungbua.com/saha/Lung...pu_armpan.html<O:p</O:p

    ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ไม่ว่าเวลาไร ตามแต่เหมาะต้องไหว้ให้ได้ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย ในคราวเดียวนั้น ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนก็บูชา ถ้าไม่มีก็มือ 10 นิ้วและปากกับใจ ควรไหว้จนตลอดชีวิต คือ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ครั้งที่ 1 พึงนั่งกระโหย่งเท้าประณมมือว่า<O:p</O:p
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ 3 หน แล้วว่าพระพุทธคุณ คือ<O:p</O:p
    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ ฯ<O:p</O:p
    หยุดระลึกถึงพระปัญญาคุณทรงรู้ดีรู้ชอบสิ้นเชิง พระบริสุทธิคุณทรงละความเศร้าหมองได้หมด พระกรุณาคุณทรงสงสารผู้อื่นและสั่งสอนให้ปฏิบัติตามของพระพุทธเจ้า จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ครั้งที่ 2 ว่าพระธรรมคุณ คือ<O:p</O:p
    สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโน สนฺทิฆฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติ ฯ<O:p</O:p
    หยุดระลึกถึงคุณพระธรรมที่รักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ครั้งที่ 3 ว่าพระสังฆคุณ คือ<O:p</O:p
    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโยทกฺขิเนยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติฯ<O:p</O:p
    หยุดระลึกถึงคุณ คือ ความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบ ของพระอริยสงฆ์ จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ<O:p</O:p
    นั่งพับเพียบประณมมือตั้งใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะไม่ถือสิ่งอื่นยิ่งกว่าจนตลอดชีวิต ว่าสรณคมน์ คือ<O:p</O:p
    พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ<O:p</O:p
    ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ<O:p</O:p
    สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ<O:p</O:p
    ทุติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ <O:p</O:p
    ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ<O:p</O:p
    ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ <O:p</O:p
    ตติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ <O:p</O:p
    ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ<O:p</O:p
    ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ครั้งที่ 4 ระลึกถึงคุณมารดาบิดาของตน จนเห็นชัดแล้ว กราบลงหน 1 ฯ<O:p</O:p
    ข้า ฯ ขอ กราบไหว้คุณท่านบิดาและมารดา<O:p</O:p
    เลี้ยงลูกเฝ้ารักษา แต่คลอดมาจึงเป็นคน<O:p</O:p
    แสนยากลำบากกายไป่คิดยากลำบากตน<O:p</O:p
    ในใจให้กังวลอยู่ด้วยลูกทุกเวลา<O:p</O:p
    ยามกินพอลูกร้องก็ต้องวางวิ่งมาหา<O:p</O:p
    ยามนอนห่อนเต็มตาพอลูกร้องก็ต้องดู<O:p</O:p
    กลัวเรือดยุงไรมดจะกวนกัดรีบอุ้มชู<O:p</O:p
    อดกินอดนอนสู้ ทนลำบากหนักไม่เบา<O:p</O:p
    คุณพ่อแม่มากนักเปรียบน้ำหนักยิ่งภูเขา<O:p</O:p
    แผ่นดินทั้งหมดเอามาเปรียบคุณไม่เท่าทัน<O:p</O:p
    เหลือที่ จะแทนคุณ ของท่านนั้น ใหญ่อนันต์<O:p</O:p
    เว้นไว้ แต่เรียนธรรม์ เอามาสอนพอผ่อนคุณ<O:p</O:p
    สอนธรรมที่จริงให้ รู้ไม่เที่ยงไว้เป็นทุน<O:p</O:p
    แล้วจึงแสดงคุณ ให้เห็นจริงตามธรรมดา<O:p</O:p
    นั่นแหละจึงนับได้ ว่าสนองซึ่งคุณา<O:p</O:p
    ใช้ค่าข้าวป้อนมาและน้ำนมที่กลืนกิน ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ครั้งที่ 5 ระลึกถึงคุณของบรรดาท่านผุ้มีอุปการคุณแก่ตน เช่น พระมหากษัตริย์และครูบาอาจารย์ เป็นต้นไป จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ<O:p</O:p
    ข้า ฯ ขอนอบน้อมคุณแด่ท่านครู ผู้อารี<O:p</O:p
    กรุณาและปรานีอุตส่าห์สอนทุก ๆ วัน<O:p</O:p
    ยังไม่รู้ ก็ได้รู้ ส่วนของครูสอนทั้งนั้น<O:p</O:p
    เนื้อความทุกสิ่งสรรพ์ดีชั่วชี้ ให้ชัดเจน<O:p</O:p
    จิตมากด้วยเอ็นดูอยากให้รู้เหมือนแกล้งเกณฑ์<O:p</O:p
    รักไม่ลำเอียงเอนหวังให้แหลมฉลาดคม<O:p</O:p
    เดิมมืดไม่รู้แน่เหมือนเข้าถ้ำเที่ยวคลำงม<O:p</O:p
    สงสัยและเซอะซมกลับสว่างแลเห็นจริง<O:p</O:p
    คุณส่วนนี้ควรไหว้ ยกขึ้นไว้ ในที่ยิ่ง<O:p</O:p
    เพราะเราพึ่งท่านจริงจึงได้รู้ วิชาชาญ ฯ<O:p</O:p

    (บทประพันธ์สรรเสริญคุณมารดาบิดา และ ครูบาอาจารย์ของ ท่านอาจารย์ จางวางอยู่ เหล่าวัตร วัดเทพศิรินทราวาส<O:p</O:p

    ลิขสิทธิ์เป็นของ ท่านเจ้าคุณพระโศภนศีลคุณ (หลวงปู่หลุย พาหิยาเถร) วัดเทพศิรินทราวาส)
    <O:p</O:p
    ต่อไปนี้ไม่ต้องประณมมือ ตั้งใจพิจารณาเรื่อง และร่างกายของตนว่า จะต้องแก่ หนีความแก่ไปไม่พ้น จะต้องเจ็บ หนีความเจ็บไปไม่พ้น จะต้องตาย หนีความตายไปไม่พ้น จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น มีกรรมเป็นของตัว คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เป็นทุกข์ลำบากเดือดร้อน เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตน ฯ ครั้งพิจารณาแล้ว พึงแผ่กุศลทั้งปวงมีการกราบไหว้เป็นต้นนี้ อุทิศให้แก่ท่านผู้มีคุณมีมารดาบิดา เป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุด คือพระมหากษัตริย์ ทั้งเทพยดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายว่า จงเป็นสุข ๆ อย่ามีเวรมีภัยเบียดเบียนกันและกัน รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
    <O:p</O:p
    การไหว้ 5 ครั้งนี้ ถ้าวันไหนขาด ให้ไหว้ใช้ 5 ครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้านั่งกระโหย่งเท้าไม่ได้ ก็นั่งพับเพียบ ถ้าไม่ได้ ก็นอนไหว้ เมื่อยกมือไม่ขึ้น ก็ปากกับใจ ถ้าทำได้อย่างนี้เป็นเครื่องพยุงตนให้เป็นคนดี ไม่ให้เป็นคนชั่ว และให้ตั้งอยู่ในที่ดี ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าผู้ใดประพฤติได้เสมอตลอดชีวิต ผู้นั้นจะอุ่นใจในตัวของตัวเอง มีความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่ง ๆ ขึ้นเสมอทุกคืนทุกวัน คุ้มครองป้องกันภยันตรายปราศจากความเสียหายที่ไม่เหลือวิสัย และ ตั้งตัวได้ในทางคดีโลกและทางคดีธรรม เต็มภูมิเต็มขั้นของตน ๆ ทุกประการ จบเท่านี้ ฯ
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญญาณวรเถระ )

    http://72.14.235.104/search?q=cache:...h&ct=clnk&cd=7

    [​IMG]

    สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ นามเดิม เจริญ สุขบท เกิดในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2415
    ที่จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรนาย ทองสุก และนางย่าง

    เมื่ออายุ 8 ปี ได้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุณี (พุฒ ปุณณกเร) ปฐมวัยอาวาสวัดเขาบางทราย

    เมื่ออายุ 12 ปีได้บรรพชาที่วัดเขาบางทราย และเข้าศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดราชบพิธอุปสมบท
    เมื่อวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2435 ที่วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2439 ได้ศึกษาพระ
    วินัยปิฎกในสำนัก สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่วัดเทพศิรินทราวาส


    "ตาบุญ (พระยาธรรมปรีชา) ผู้เป็นอาจารย์สอนบาลีของ
    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มอบช้างเผือกส่งเข้ามาให้ "
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา วชิรญาณวโรรส ออกพระโอษฐ์รับสั่งเมื่อครั้ง
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร) สอบไล่ภาษาบาลี ในมหามงกุฎราชวิทยาลัย
    ได้ที่ 1ทุกชั้นเป็นลำดับมา



    พ.ศ.2441 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระราชาคณะที่พระอัมราภิลักขิต เป็นผู้อำนวยการศึกษา
    มณฑลปราจีนบุรี ต่อมาได้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสได้เลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา


    พ.ศ.2471 โปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์


    พ.ศ.2476กรรมการเถรสมาคมมีมติให้ท่าน เป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์
    แทนพระสังฆราชเจ้าซึ่งสิ้นพระชนม์ ประมวลเกียรติคุณพิเศษสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร)
    เป็นพระเถระบริหารงานพระศาสนาถึง 5 แผ่นดิน คือแต่รัชกาลที่ 5-9 เป็นพระราชาคณะแต่อายุ 28 ปี เป็น
    สมเด็จพระราชาคณะแต่อายุ 57 ปี นับเป็นพระเถระที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พรรษาน้อยกว่า พระเถระ
    หลายรูปเป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แต่อายุ 28 ปี ถึง 80 ปีรวม 53 ปี นับว่ายาวนานที่สุดไม่มีใครเทียบได้
    เมื่อสอบนักธรรม หรือบาลีจะสอบได้ที่ 1 ทุกชั้นทุกประโยคเป็นรูปเดียวในสังฆมณฑล ดำรงตำแหน่งแม่กองธรรม
    สนามหลวง แม่กองบาลีสนามหลวง องค์เดียวกัน ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2494
    เวลา 10.30 น. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเระ)
    มรณภาพด้วยโรคเนื้องอกที่ตับรวมอายุได้ 80 ปี พรรษาที่ 59
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) ท่านบอกกับผู้ที่ไปกราบท่านว่า ขอให้ทุกๆวันได้ไหว้ 5 ครั้ง จะได้เป็นศิริมงคลกับตนเอง จะเหมือนกับชื่อของท่าน (เจริญ) ครับ ท่านเจ้าคุณนรเอง ก็มีความเคารพในท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ)มาก โดยท่านเจ้าคุณนรเอง เวลาเดินผ่านกุฎิของท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ)ทุกครั้ง ท่านเจ้าคุณนร ก็จะก้มลงกราบที่กุฎิอยู่ทุกครั้งครับ

    ส่วนประวัติท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) นั้น ลองหาอ่านกันได้ในกระทู้เจ้าคุณนรฯ พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต
    เจ้าคุณนรฯ พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต - PaLungJit.com<!-- google_ad_section_end -->
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วันที่ 14 สิงหาคม 2550
    ขอเพิ่มเติมเรื่องราว ไหว้ 5 ครั้ง
    http://www.saktalingchan.com/index.p...icle&Id=262016

    [​IMG]



    เจ้าพระคุณสมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถร​

    เจ้าพระคุณสมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถร
    วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร

    1. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงนี้ เมื่อพระคุณท่านมีอายุเพียง 27 ปี มีพรรษา 7 ยั่งยืนตลอดมาเป็นเวลาช้านานถึง 53 ปีฯ

    2. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ นั้นมีอายุเพียง 56 ปี เท่านั้น ฯ

    3. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งธรรมเนียมการเทศนาธรรมในวันอาทิตย์ขึ้นเป็นแห่งแรก เริ่มเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2471 ติดต่อกันมาถึงปัจจุบันนี้ นับเป็นเวลา 45 ปี ล่วงแล้ว ฯ

    4. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ แลบัญชาการคณะสงฆ์โดยตรงสืบต่อมาเป็นเวลา 5 ปี ( ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 ถึง พ.ศ. 2481 ) ฯ

    5. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้ถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถาติดต่อกันถึง 4 รัชกาล คือตั้งแต่รัชกาลที่ 6-7-8-9 เป็นเวลาถึง 25 ปี ฯ

    6. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ มีสัทธิวิหาริก-อันเตวาสิก มากที่สุดถึง 6,666 องค์ ฯ

    7. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เป็นต้นกำเนิดตำราไหว้ 5 ครั้งให้ศิษยานุศิษย์ปฏิบัติตาม หากผู้ใดไหว้ครบ 1 ปี เป็นกำหนด ผู้นั้นจักได้รับรูปที่ระลึกจากองค์ท่านด้านหน้าเป็นรูปองค์ท่าน ด้านหลังเป็นรูปยันต์ภควัม จากกรึกนามองค์ท่านเป็นอักษรย่อ โดยลำดับแห่งราชทินนามนั้น ๆ กระทั่งครั้งสุดท้ายได้จารึก 3 อักษรว่า พ.ฆ.อ. ซึ่งย่อจากราชทินนามว่า พุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระราชาคณะ ฯ

    8. สัทธิวิหาริกของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ที่มีอายุยืนยาวที่สุด คือ ท่านเจ้าคุณพระโศภณศีลคุณ ( หลวงปู่หลุย พาหิยเถร ) ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกองค์ที่ 23 ปัจจุบันอายุ 92 ปี พรรษา 67 ( เกิด 9 สิงหาคม 2426 ) ยังเดินลงโบสถ์ลงสวดมนต์ทำวัตรได้เป็นประจำทุก ๆ วัน เป็นพระเถราจารย์องค์สำคัญ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือยิ่งของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ

    9. สัทธิวิหาริกของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ที่ประพฤติปฏิบัติยอดเยี่ยม และเป็นพระเถระองค์สำคัญที่มีเกียรติคุณโด่งดังในปัจจุบัน คือ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ธมมฺวิตกฺโก ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกองค์ที่ 1740 ฯ

    ไหว้ 5 ครั้ง ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส

    ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ไม่ว่าเวลาใด ตามแต่เหมาะ ต้องไหว้ให้ได้ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย ในคราวเดียวกัน ถ้ามีดอกไม้ ธูปเทียน ก็บูชา ถ้าไม่มีก็มือ 10 นิ้วและปากกับใจ ควรไหว้จนตลอดชีวิต คือ

    ครั้งที่ 1 พึงนั่งกระโหย่งเท้าประนมมือว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสฺมพุทฺธสฺส ฯ 3 หน แล้วว่าพระพุทธคุณ คือ อิติปิ โส ภควา อรหสมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสาน° พุทฺโธ ภควาติ ฯ หยุดระลึกถึงพระปัญญาคุณทรงรู้ดีรู้ชอบสิ้นเชิง พระบริสุทธิคุณทรงละความเศร้าหมองได้หมด พระกรุณาคุณทรงสงสารผู้อื่นและสั่งสอนให้ปฏิบัติตาม ของพระพุทธเจ้า จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ครั้งที่ 2 ว่าพระธรรมคุณ คือ สฺวากฺขาโต ภควตา ธฺมโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺ จตฺต เวทิตพฺโพ วิญฺญหีติ ฯ หยุดระลึกถึงคุณพระธรรมที่รักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ครั้งที่ 3ว่าสังฆคุณ คือ สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ ยทิทฺ จฺตตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐ ปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสฺงโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนฺยโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรฺ ปุญฺญกฺเขตตฺ โลกสฺสาติ ฯ หยุดระลึกถึงคุณ คือ ความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบของพระอริยสงฆ์ จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    นั่งพับเพียบประนมมือ ตั้งใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ไม่ถือสิ่งอื่นยิ่งกว่าจนตลอดชีวิต ว่าสรณคมน์ คือ

    พุทฺธสรณคจฺฉามิ
    ธมฺมสรณคจฺฉามิ
    สงฺฆสรณคจฺฉามิ ฯ
    ทุติยมฺปิ พุทฺธสรณคจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ ธมฺมสรณคจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ สงฺฆสรณคจฺฉามิ ฯ
    ตติยมฺปิ พุทฺธสรณคจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ ธมฺมสรณคจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ สงฺฆสรณคจฺฉามิ ฯ

    ครั้งที่ 4 ระลึกถึงคุณมารดาบิดาของตน จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ครั้งที่ 5 ระลึกถึงคุณของบรรดาท่านผู้มีอุปการคุณแก่ตน เช่น พระมหากษัตริย์ และครูบาอาจารย์เป็นต้นไป จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ต่อนี้ไปไม่ต้องประนมมือ ตั้งใจพิจารณาเรื่องและร่างกายของตนว่า จะต้องแก่ หนีความแก่ไปไม่พ้น จะต้องเจ็บ หนีความเจ็บไปไม่พ้น จะต้องตาย หนีความตายไปไม่พ้น จะต้องพลัดพราก จากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น มีกรรมเป็นของตัว คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงไม่แน่นอน เป็นทุกข์ลำบากเดือดร้อน เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตน ฯ ครั้นพิจารณาแล้ว พึงแผ่กุศลทั้งปวงมีการกราบไหว้เป็นต้นนี้ อุทิศให้แก่ท่านผู้มีคุณ มีบิดามารดาเป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุด คือ พระมหากษัตริย์ ทั้งเทพดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายว่า จงเป็นสุข ๆ อย่ามีเวรมีภัยเบียดเบียนกันและกัน รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

    การไหว้ 5 ครั้งนี้ ถ้าวันไหนขาด ให้ไหว้ใช้หนี้ 5 ครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้านั่งกระโหย่งเท้าไม่ได้ ก็นั่งพับเพียบ ถ้าไม่ได้ ก็นอนไหว้ เมื่อยอมือไม่ขึ้นก็ปากกับใจ ถ้าทำได้อย่างนี้ เป็นเครื่องหยุดตนให้เป็นคนดีไม่ให้เป็นคนชั่ว และให้ตั้งอยู่ในที่ดีไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าผู้ใดประพฤติได้เสมอจนตลอดชีวิต ผู้นั้นจะอุ่นใจในตัวของตัวเอง มีความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่งๆ ขึ้นเสมอทุกคืนทุกวัน คุ้มครองป้องกันภยันตรายปราศจากความเสียหายที่ไม่เหลือวิสัย และตั้งตัวได้ในทางคดีโลกและทางคดีธรรม เต็มภูมิเต็มชั้นของตน ฯ ทุกประการ จบเท่านี้ ฯ

    ปัจฉิมโอวาท
    ของ

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรมหาเถระ
    วัดเทพศิรินทราวาส

    ไม่ตายควาวนี้ ก็ตายคราวหน้า อย่างเศร้าโศก เสียทีที่ศึกษาปฏิบัติมา ร้องให้เศร้าโศก ก็ร้องไห้เสร้าโศกสังขารที่
    เกิดแก่เจ็บตายนั้นเอง ที่ไม่ร้องไห้เศร้าโศกนั้นมิใช่จะเป็นคนใจไม้ใส้ระกำอะไร

    ธรรมของพระก็คือ
    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
    ย่นลงก็ สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา แล้วปรินิพพาน
    ไม่ต้องเกิดมาแก่ มาเจ็บ มาตายอีก

    (มีบัญชาให้บันทึกไว้เมื่อเช้าวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๙๔)<!-- google_ad_section_end -->
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วิธีการไหว้ ๕ ครั้ง ( มนต์พิธี )


    คนเราทุกคน ในวันหนึ่งๆ จะต้องไหว้ให้ได้ ๕ ครั้ง เป็นอย่างน้อยคือ ในเวลาค่ำใกล้จะนอน ตั้งใจระลึกถึงพระรัตนตรัยอันเป็นสรณะอันสูงสุดและท่านผู้มีพระคุณแก่ตน คือ มารดาบิดา และครูอาจารย์ โดยประนมมือ


    ๑. นมัสการพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า
    อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
    กราบลงหนหนึ่ง

    ๒. ไหว้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ว่า
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ
    กราบลงหนหนึ่ง

    ๓. ไหว้พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ว่า
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ
    กราบลงหนหนึ่ง

    ๔. ไหว้คุณมารดาบิดา ว่า
    มัยหัง มาตาปิตูนังวะปาเท วันทามิ สาทะรัง
    กราบลงหนหนึ่ง

    ๕. ไหว้ครูอาจารย์ ว่า
    ปัญญาวุฑฒิกะเร เต เต ทินโน วาเท นะมามิหัง
    กราบลงหนหนึ่ง

    ต่อจากนั้น พึงตั้งใจแผ่เมตตาจิตไปในเพื่อนมนุษย์ และสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ว่า ขอท่านทั้งหลายอย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยด้วยกันหมดทั้งสิ้น เทอญ.<!-- google_ad_section_end -->
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://palungjit.org/showthrea...22445&page=762

    [​IMG]

    [​IMG]

    "บุญเราไม่เคยสร้าง...ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า"..!

    "ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด
    เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเองคือบารมีของตนลงทุนไปก่อน
    เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่ว ย
    มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สิน ในบุญบารมี
    ที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว... เมื่อทำบุญทำกุศลได้
    บารมี ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว..
    แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้..แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง"...!

    "จงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้....
    ครั้นถึงเวลา...ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่..
    จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดินเมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า..."

    นี่คือคำเทศนา ของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรมรังษี ที่ได้โปรดชี้ธรรมไว้ในนิมิตหลังจากที่ท่านล่วงลับไป แล้วเมื่อ 100 กว่าปี อันเป็นปฐมเหตุที่ต้องสร้างความดีอย่างไม่มีที่สิ้นสุด<!-- google_ad_section_end -->
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เหอๆๆๆ ไหนว่าไม่มีชาน ผมว่ามีแน่ แต่ชานอ้อยที่ทานแล้วต้องทิ้งนะครับ

    ส่วนที่บอกไม่มียาน ผมว่ามีอีกเช่นกัน สงสัยว่าเป็นยานอวกาศของท่านโด อิอิ
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สำหรับเรื่องของการไหว้ 5 ครั้ง นี่ หากผมนำมาลงบ่อยๆ ท่านที่อ่านกระทู้พระวังหน้าฯบ่อยๆ อย่าพึ่งเบื่อกัน เพราะว่า มีท่านผู้อ่านที่เข้ามาอ่านเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

    ผมเห็นว่า เป็นเรื่องที่ดีมากที่สุด เลยนำมาลงหลายๆครั้ง เพื่อท่านที่เข้ามาอ่านใหม่ จะได้ทราบว่า เป็นเรื่องที่ดีมากครับ

    ขอบคุณครับ
    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>นิทานสอนใจ : คนแจวเรือจ้าง
    Life & Family - Manager Online

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>30 สิงหาคม 2552 10:58 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=307 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=307>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ขอบคุณภาพจาก Thaiza.com</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ในอดีตกาล ณ เมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ เมื่อเจริญวัยเแล้วสำเร็จการศึกษาศิลปศาสตร์หลายแขนง ท่านก็บวชเป็นฤาษี เลี้ยงชีวิตด้วยผลไม้น้อยใหญ่ในป่าหิมพานต์เป็นเวลานาน

    ต่อมา ท่านต้องการลิ้มรสอาหารที่ปรุงแต่งบ้าง จึงเดินทางมายังเมืองพาราณสี พระเจ้าพรหมทัต พระราชาได้ทอดพระเนตรแล้วทรงเลื่อมใสในอิริยาบถของท่าน จึงรับเป็นอุปัฏฐาก ขอให้ท่านพักอยู่ในพระราชอุทยาน

    โอวาทที่พระโพธิสัตว์ทรงถวายแด่พระเจ้าพรหมทัตก็คือ ขอให้ทรงเว้นอคติ 4 ได้แก่ ไม่ประมาท สมบูรณ์ด้วยพระขันติ และพระเมตตากรุณา ครองราชสมบัติโดยธรรม

    โดยพระโพธิสัตว์ทูลเน้นว่า "ขอมหาบพิตรอย่าทรงพิโรธ พระราชาผู้ไม่ทรงพิโรธตอบผู้โกรธ ย่อมได้รับการบูชาจากประชาชน อาตมาภาพขอถวายอนุศาสน์นี้ในที่ทุกสถาน ไม่ว่าจะเป็นในบ้าน ในป่า ในที่ลุ่มหรือที่ดอน ขอพระองค์อย่าทรงพิโรธเลย"

    เหตุที่ถวายอนุศาสน์พระราชามิให้ทรงพิโรธนั้น เพราะพระราชาทั้งหลายมีพระบรมราชโองการเป็นอาวุธ คนเป็นอันมากต้องเสียชีวิตเพราะพระบรมราชโองการในขณะที่ทรงพิโรธ

    ทุกครั้งที่พระราชาเสด็จมาประทับ พระดาบสโพธิสัตว์ก็ถวายอนุศาสน์แบบเดียวกัน พระราชาจึงทรงเลื่อมใส พระราชทานทรัพย์สินต่าง ๆ มากมาย แต่พระโพธิสัตว์ทูลปฏิเสธ ด้วยเห็นว่าไม่จำเป็นแก่ตน

    12 ปีผ่านไป อยู่มาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์ดำริว่าอยู่ในที่แห่งนี้มานานแล้ว ควรเที่ยวจาริกไปชนบทอื่นบ้าง แล้วค่อยกลับมาใหม่ ก็มิได้ทูลลาพระราชา แต่เรียกคนเฝ้าสวนมาบอกให้ทราบไว้ แล้วเดินทางจากไปยังท่าเรือริมแม่น้ำคงคา

    ที่ท่าเรือนั้น มีคนแจวเรือจ้างชื่อ "อาวาริยปิตา" เขาเป็นคนพาล โง่เขลา และดุร้าย ไม่รู้จักคุณของผู้มีคุณ ไม่รู้จักอุบายอันเหมาะสมเพื่อตน เขาจะส่งคนที่ต้องการข้ามแม่น้ำคงคาให้ข้ามก่อน แล้วจึงขอค่าจ้างราคาแพง ๆ ในภายหลัง ทำให้มักจะทะเลาะกับผู้โดยสารอยู่เนือง ๆ เพราะไม่ได้ตกลงราคากันไว้ก่อน มีการด่าทอ ทุบตีกันบ้างจึงจะได้ค่าจ้างมา

    ขณะที่ดาบสโพธิสัตว์นั่งอยู่เรือเพื่อข้ามไปฝั่งตรงข้ามนั้น อาวาริยปิตา ก็ถามขึ้นว่า

    "ท่านจะให้ค่าจ้างข้าพเจ้าเท่าใด"

    "อาตมาจะบอกทางเจริญแห่งโภคทรัยพ์และความเจริญแห่งอรรถธรรมให้"

    เขาฟังไม่เข้าใจถึงข้อความที่ท่านดาบสกล่าว แต่คิดว่าคงจะได้อะไรบ้างเป็นแน่ เมื่อไปถึงฝั่งตรงข้ามแล้ว เขาก็เอ่ยปากขอค่าจ้าง

    ดาบสจึงสอนทางเจริญแห่งโภคทรัพย์ว่า

    "โยมจงขอค่าจ้างแก่ผู้ที่ข้ามไปฝั่งโน้นก่อน แล้วจึงไปส่งเขา เพราะจิตใจของคนที่ข้ามฟากแล้วเป็นอย่างหนึ่ง จิตใจของคนที่ต้องการจะข้ามฟากแต่ยังไม่ได้ข้ามก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนกัน"

    กระนั้น อาวาริยปิตาก็คิดว่า ดาบสคงให้อะไรที่เป็นวัตถุแก่ตนบ้าง แต่ดาบสกลับกล่าวว่า ที่พูดนั้นเพื่อความเจริญแห่งโภคทรัพย์ในอาชีพของอาวาริยปิตาเอง ต่อไปจะให้โอวาทเพื่อความเจริญแห่งอรรถธรรม นั่นก็คือ "จงอย่าโกรธ"

    แต่เนื่องจากคนแจวเรือจ้างเป็นคนโง่เขลา จึงไม่เห็นว่า ในโอวาทนั้นมีอะไรซ่อนอยู่ และเมื่อทราบว่า ดาบสไม่มีวัตถุใด ๆ จะมอบให้แก่ตน เขาก็โกรธมาก ผลักดาบสให้ล้มลง นั่งทับอกท่านและตบปาก

    ขณะนั้น ภรรยาของเขาถืออาหารมาส่ง เห็นดาบสเข้าจึงจำได้ จึงรีบร้องห้ามว่า "ดาบสนี้เป็นชีต้นประจำราชตระกูล อย่าตีท่านเลย"

    อาวาริยปิตาโกรธภรรยาที่ห้าม จึงพุ่งเข้าตบตีภรรยาจนล้มลงไป ถาดข้าวตกแตก ภรรยาซึ่งท้องแก่อยู่ก็คลอดลูกบนพื้นดิน ชาวบ้านก็พากันมาล้อมดู และช่วยกันจับเขามัดเอาไว้ ก่อนจะส่งตัวให้กับพระราชาเพื่อลงพระราชอาญา แต่พระโพธิสัตว์ก็ตรัสว่า

    "ภรรยาก็ถูกตบ ถาดข้าวก็แตก เด็กในครรภ์ก็หล่นลงสู่พื้นดิน เขาไม่อาจให้ประโยชน์เกิดขึ้นเพราะโอวาทนั้น เหมือนเนื้อได้ทองคำ ไม่อาจทำประโยชน์อะไรได้"

    นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า จะให้โอวาทแก่ใคร ก็ควรดูให้ดีเสียก่อนว่า เหมาะสมแล้วจึงให้ ไม่ควรให้แก่ผู้ไม่เหมาะสม ดาบสถวายโอวาทนี้แด่พระราชา แล้วได้รับพระราชทานหมู่บ้านชั้นดี ขณะเดียวกัน การบอกโอวาทอย่างเดียวกันกับคนแจวเรือจ้างผู้เป็นอันธพาล ได้รับการตบปาก เปรียบเหมือนสัตว์ประเภทเนื้อหรือลิงได้ทองคำ หรือแก้วมณี ที่มันไม่เห็นคุณค่า เหยียบย่ำเสียบ้าง นอนทับเสียบ้าง ไม่อาจใช้สิ่งนั้นให้เกิดเป็นประโยชน์เพิ่มพูนแก่ตนฉันใด คนอันธพาลก็ฉันนั้น แม้ได้ฟังโอวาทของบัณฑิตแล้วก็ไม่สามารถเอาไปทำประโยชน์อะไรได้ กลับจะเพ่งโทษให้แก่ผู้ให้โอวาทนั้นเสียอีก

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>เงิน-ทะเบียนสมรส-พิธี-เรือนหอ ฯลฯ...10 สิ่งที่ควรเคลียร์ก่อนแต่ง
    Life & Family - Manager Online
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>29 สิงหาคม 2552 22:47 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> อีกไม่กี่เดือนก็จะเข้าสู่ช่วงปลายปี เวลาที่หลายคนตั้งใจจะเข้าสู่ประตูวิวาห์กันนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะช่วงเดือนตุลาคม กินเวลาข้ามปีไปถึงเดือนมกราคมกันเลยทีเดียว

    ซึ่งการแต่งงานนั้นก็คงไม่ใช่พิธีฟ้าแลบอะไรแน่นอนเพราะกว่าจะถึงวันวิวาห์จริงๆ ทั้งว่าที่บ่าวสาวก็ต้องเตรียมอะไรเยอะแยะไปหมดเพื่อให้งานสมรสออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด ไม่ใช่เพียงนวดหน้า ขัดตัว และตัวชุดบ่าวสาวเท่านั้น

    การที่คนสองคนตัดสินจะใช้ชีวิตคู่ด้วยกันไปตลอดชีวิตมันยิ่งกว่าการลงทุนทำธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งเสียอีก เพราะชีวิตหลังแต่งงานต้องช่วยกันแบ่งปันซึ่งกันและกัน มีความรักและความเข้าใจกันทุกเวลา ขณะเดียวกัน ตำแหน่งลูกเขย ลูกสะใภ้ของทั้งคู่ก็สำคัญไม่แพ้กันด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ขอขอบคุณภาพจาก www.photopassion.multiply.com</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> แต่นอกเหนือจากสัญญาใจที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีอีก 10 สิ่งสำคัญที่คนที่กำลังจะแต่งงานกันไม่ควรพลาด...ดังนี้

    1. พิธีรีตรอง-กฏหมาย

    กว่าจะลงตัวว่าจะลงเอยกันก็ต้องผ่านการวัดใจกันหลายขั้นตอนและกลายเป็นการแต่งงานมักไม่ใช่เรื่องของ เราสองคน ต้องผ่านการออกความเห็นหรืออาจจะเป็นการตัดสินใจของผู้ใหญ่สองฝ่ายอีกชุดหนึ่ง ซึ่งต่างก็อ้างประสบการณ์และความต้องการของฝ่ายตน จนคนแต่ง อาจแค่เออออห่อหมก เพื่อตัดปัญหารกใจก็ได้

    ก่อนการแต่งงานจึงมักมีการหมั้นหมาย ขันหมากต้องยกกันให้สินสอดเท่าไร ต้องมาแฉให้กระจ่างกลางงานพิธี จากนั้นอาจมีการดน้ำอวยพรหรือทำบุญประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อใจศาสนาของแต่ละฝ่าย ยิ่งต่างศาสนายิ่งอาจต้องเป็นทวิพิธีเข้าไปใหญ่ หรืออาจขยายกลายเป็นทั้งพุทธ คริสต์ และปิดด้วยประเพณีจีนอีกก็ได้ เรื่องหน้าตาหรือธรรมเนียมก็ว่ากันไป

    แต่เรื่องทางกฎหมายก็ต้องใส่ใจด้วยเช่นกัน การหมั้นทำให้เกิดความผูกพันกันทางกฎหมายแต่ไม่สามารถบังคับให้แต่งงานได้ ถ้าเบี้ยวขันหมากเมื่อไหร่ก็ยังสามารถเรียกร้องค่าทดแทนค่าเสียหายได้ และถ้าผู้หญิงเกิดนอกใจไปมีสัมพันธ์กับใครจนถึงขั้นเกิดความเสียหายก็กลายเป็นผิดสัญญาหมั้น เป็นอันถูกอีกฝ่ายบอกเลิกสัญญาได้( อาจแล้วอาจดูเหมือนเป็นความรัก หรือเป็นธุรกิจ กันแน่ แต่ก็กันไว้หรือคิดเผื่อไว้ก็ไม่เห็นเป็นไร )

    2. ทะเบียนสมรสจดหรือไม่จดดี

    พิธีแต่งนั้นเป็นการแสดงตนทางพฤตินัย แต่ไม่ใช่การรับรองความเป็นสามีภรรยาทางกฎหมาย ต้องมีการจดทะเบียนสมรสไว้ให้ชัดเจน จดวันไหนก็ถือว่ามีสิทธิหน้าที่เกิดขึ้นในวันนั้นไม่มีการย้อนหลังไปถึงวันที่เข้าหอส่งตัว ทะเบียนสมรสไม่จดก็ได้ เพราะไม่ใช่โทษทางอาญา แต่จะใ้ห้มีสิทธิเหมือนคู่ผัวตัวเมียที่จดทะเบียนไม่ได้ เพราะกฎหมายไม่รับรองสถานะให้ จะบอกว่าจดนั้นดีก็ใช่ที่

    ของพรรค์นี้ต้องดูปัจจัยหลายประการ ศึกษาหลักกฎหมายถึงสิทธิพึงมีพึงได้จากการจดทะเบียน และต้องเข้าใจว่าข้อเสียก็มีได้จากการจดทะเบียน ที่สำคัญพร้อมกับสิทธิที่จะได้ก็มีหน้าที่ตามกฎหมายให้ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน ก่อนแต่งคุยกันว่าจะจดทะเบียนหรือไม่

    ทั้งนี้หลายคู่ที่เลือกจะไม่จดทะเบียนสมรส ส่วนหนึ่งให้เหตุผลว่าเป็นเพราะฝ่ายชายมีหน้าที่ความรับผิดชอบทางธุรกิจ หากฝ่ายหญิงมาใช้นามสกุลเดียวกันก็จะก่อให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น กล่าวคือถ้าธุรกิจฝ่ายชายล้มละลายขึ้นมา ฝ่ายหญิงก็จะพลอยเดือดร้อนไปด้วย ซึ่งในเรื่องนี้คนทั้งคู่ควรทำความเข้าใจให้ชัดเจน อย่าปล่อยให้ฝ่ายหญิงไม่เข้าใจหรือไม่มั่นใจเด็ดขาด

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ขอขอบคุณภาพจาก www.photopassion.multiply.com</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> 3. เรือนหอเรือนรัก

    แต่งแล้วจะไปอยู่ไหน มีบ้านเป็นของตนเองหรือไม่ แล้วพ่อแม่อีกฝ่ายจะให้ย้ายไปอยู่ในบริเวณเดียวกัน หรือจะร่วมหลังคากับพ่อตาแม่ยายหรือแม่ผัวพ่อผัวอย่างไร ถ้ามีความสามารถจะปลูกเรือนรักเอาไว้รอก็เป็นเรื่องดีของคู่นั้นไป แต่บางรายต้องกู้เงินไปผ่อนบ้านหรืออาศัยพ่อแม่อยู่ต่อไป จะแยกเรือนออกมาต่างหากหรือไม่ ปัญหาว่าบ้านนี้ใครมีสิทธิแค่ไหนก็อาจกลายเป็นประเด็นถกเถียงกัน

    การซื้อบ้านไว้เพื่อใช้เป็นเรือนหอ ต่อให้ซื้อด้วยเงินร่วมกัน ถ้าซื้อไว้ก่อนแต่งงานจะอนุมานเป็นสินสมรสได้ ก็ต้องอาศัยเอกสารหลักฐานเพื่อความชัดเจนในโฉนดที่ดิน ถ้าซื้อกันหลังแต่งก็จะถือว่ามีส่วนแบ่งคนละครึ่งในฐานะสินสมรส ถ้าพ่อแม่ยกที่ดินและบ้านให้ แต่ถ้าไม่ใส่ชื่อให้ครบก็จะจบลงตรงชื่อที่อยู่ในโฉนดคือเจ้าของโดด ๆ คนเดียว

    4. เข้าใจคำว่า "เจ้าบ้าน กับ เจ้าของบ้าน"

    หลังจากมีบ้านเป็นของตนเอง และเข้าใจกันแล้วว่า บ้านหลังนี้มีเราสองเป็นเจ้าของร่วมกัน แต่ทะเบียนบ้านนั้นกำหนดให้มีเจ้าบ้านเพียงคนเดียว ซึ่งการเป็นเจ้าบ้านไม่ได้แปลว่าคนนั้นเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวเสมอไป

    เจ้าบ้านเป็นอะไรที่ต้องมีไว้เพื่อทำหน้าที่ดูแลทางทะเบียน จะย้ายใครเข้ามาย้ายใครออกไปมีคนในบ้านมากไปก็ไม่ได้ ต้องดูแลจัดการให้เรียบร้อย

    ดังนั้น เมื่อคนหนึ่งเป็นเจ้าของบ้าน อีกคนหนึ่งจึงเป็นเพียงผู้อาศัยที่ถูกระบุไว้ในทะเบียน คุยกันให้ดีก่อนมีเรื่องนิดเดียวจะปีนเกลียวกลายเป็นเรื่องใหญ่

    5. นามสกุลของใคร

    ก็รู้กันอยู่ว่ากฎหมายทันสมัยจนสามารถตกลงกันได้ว่า จะใช้นามสกุลของใครหลังจากที่ได้แต่งงาน กฎหมายก็ยังให้สิทธิคู่สมรสที่จะใช้นามสกุลของอีกฝ่ายหากได้จดทะเบียนสมรสไม่ว่าจะเป็นเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวก็ตามที หรืออาจจะคงนามสกุลเดิมของตนไว้ไม่เปลี่ยนไปก็ได้เหมือนกัน

    จะเปลี่ยนนามสกุลกันหรือไม่ ก็ไม่เกี่ยวกับลูกที่จะเกิดมา เพราะกฎหมายยังกำหนดว่า ลูกมีสิทธิใช้นามสกุลของพ่อเหมือนกัน แม้กฎหมายจะกำหนดเอาไว้อย่างนั้น ก็ไม่ต้องหารแบ่งครึ่งกันแบบเอาเป็นเอาตาย ถ้าจะใช้มากน้อยกันอย่างไรก็ทำได้ เพราะเป็นกระเป๋าเดียวกัน อาการหารสองจะเกิดขึ้นในยามต้องเลิกร้างกันไปแต่ก็ต้องรู้ไว้ก่อนแต่งงาน

    6. รายได้หารสอง

    ใครมีปัญญาหาเงินได้มากกว่ากัน ไม่ทำให้สิทธิในรายได้ลดเพิ่มต่างกันไป ต่อให้แยกบัญชีรายได้โดยต่างคนต่างเปิดเอาไว้คนละธนาคารก็ยังต้องหารสองแบ่งครึ่งกัน และต่อให้เขาหาแทบตายฝ่ายเดียว เราก็มีส่วนด้วยในฐานะเป็นสินสมรส

    แม้กฎหมายจะกำหนดเอาไว้อย่างนั้น ก็ไม่ต้องหารแบ่งครึ่งกันแบบเอาเป็นเอาตาย ถ้าจะใช้มากน้อยกันอย่างไรก็ทำได้ เพราะเป็นกระเป๋าเดียวกัน อาการหารสองจะเกิดขึ้นในยามต้องเลิกร้างกันไปแต่ก็ต้องรู้ไว้ก่อนแต่งงาน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ขอขอบคุณภาพจาก www.photopassion.multiply.com</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> 7. รายจ่ายในบ้านเรา

    เมื่อรายได้อีกฝ่ายมีส่วนร่วม ก็ใช่ว่าเรื่องจ่ายจะเป็นภาระของคนที่มีรายได้มากกว่าเสมอไป ความสามารถในการรับผิดชอบอาจไม่เท่ากันได้ สาวกของหลักที่ว่า “เรื่องเล็กไม่ เรื่องใหญ่ขอมีส่วน” ก็ต้องชัดเจนในเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เอาไว้

    แม้หน้าที่ตามกฎหมายก็คือ ร่วมรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายของครอบครัว แต่ในชีวิตจริงแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่จะแบ่งกันได้ชัดเจนทุกรายการ การร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นต้องหารสองเสมอ

    และไม่ว่าจะตกลงกันตอนแรกอย่างไร สถานการณ์ย่อมเปลี่ยนปรับไปได้ ไม่ผูกมัดตามกฎหมายว่าต้องทำตามที่วางแผนไว้ตลอดไป แต่ถ้าถูกเรียกร้องจากคนนอกให้ต้องจ่ายอะไรที่เป็นเรื่องของครอบครัว เมื่อไหร่ ต่อให้เราไม่ได้สร้างหนี้เอาไว้ ก็ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ร่วมกับเขาไปในฐานะที่เป็นหนี้สินสมรส

    8. ซื้ออะไรให้ใส่แต่ชื่อฉัน

    เมื่อต้องถือกระเป๋าสตางค์ใบเดียวร่วมกันตามกฎหมาย เวลาซื้อหาอะไรมาได้ในระหว่างแต่งงานก็ต้องเป็นสินสมรสร่วมกัน ซึ่งไม่สำคัญว่าจะใส่ชื่อใครในเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของนั้น หรือจ่ายจากเงินเดือนของใคร เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการฉวยโอกาสที่ไม่ใส่ชื่ออีกฝ่ายร่วมไปในเอกสาร

    การงุบงิบเงินจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นเจ้าของร่วมกันไปนั้น ทำให้เราสามารถเพิกถอนการจำหน่ายจ่ายโอนได้ แต่ก็อาจต้องไปเถียงกับคนที่ได้ทรัพย์สินนั้นไปว่า เข้าซื้อไว้โดยสุจริตใจไม่สามารถทราบได้ว่าเป็นสินสมรสของคนที่ขายให้ ก็คงต้องเดือดร้อนไปเรียกร้องกันเองระหว่างสามีภรรยา การเตรียมการเรื่องการได้ทรัพย์สินมา ก็น่าจะทำไว้ว่าจะบริหารจัดการอย่างไรไม่ให้รั่วไหล

    9. พ่อแม่ หรือญาติมาขออาศัย

    หลังจากอยู่ร่วมเรียงเคียงหมอนกันไป ญาติมาเยี่ยมมาขออาศัยก็อาจสร้างความลำบากใจถ้าเขาไม่ยอมย้ายออกไปเสียที เราจะมีสิทธิในการขับไล่ญาติของเขาได้แค่ไหน เป็นเรื่องที่เราต้องเข้าใจข้อกฎหมายแล้วเตรียมระวังเผื่อไว้ก่อนแต่งเป็นดี

    เมื่อบ้านเป็นสินสมรส ต่างก็มีสิทธิที่จะให้ใครเข้ามาอยู่อาศัยได้ก็จริงอยู่ แต่ตามหลักของกฎหมาย การเข้ามาอยู่อาศัยนั้น เจ้าของจะทำได้ในขอบเขตที่ต้องไม่ทำให้เจ้าของร่วมอีกฝ่ายต้องได้รับความเดือนร้อนเกินควร การที่เขาหรือเราให้พ่อแม่มาอยู่อาศัย

    ถ้าเป็นเพราะท่านไม่มีที่จะไปเป็นหน้าที่ตามศีลธรรมที่อีกฝ่ายต้องยอมให้ทำได้ เพียงแต่คนที่มาอาศัยจะมีสิทธิมีเสียงใหญ่กว่าเราไม่ได้เพราะไม่ใช่เจ้าของบ้านการสร้างสมดุลทางความสัมพันธ์จึงต้องอาศัยศิลปะด้วย

    10. หนี้สินค้างจ่ายหรือรายได้ค้างรับ

    เธอจะเป็นใครเมื่อในอดีตนั้น อาจทำใจได้ แต่เธอมีเรื่องตกค้างที่ต้องรับแบกเอาไว้อย่างไร ฉันก็ควรรู้เอาไว้ เพื่อจะได้ไม่ต้องมาเซอร์ไพรส์ภายหลังงาน แต่ใครจะไปบอกได้หมดเปลือก อาจมีอะไรตกค้างหลงลืมหรือตั้งใจจะไม่บอกให้ทราบก็ไม่เป็นไร แต่เมื่อต้องเคลียร์เรื่องหนี้สินค้างจ่าย ก็จงจำไว้ว่ากฎหมายไม่ให้มารบกวนส่วนของอีกฝ่าย

    หนี้สินส่วนตัวก็เรียงร้องเอากับลูกหนี้ได้ ไม่กระจายมาถึงคู่สมรสของลูกหนี้ แต่เจ้าหนี้เข้าก็มีสิทธิจะเรียกร้องเอากับสินสมรสได้ ถ้าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินเงินทองเงินจ่าย เพียงแต่เจ้าหนี้เรียกได้ครึ่งหนึ่งของสินสมรสที่ฝ่ายลูกหนี้มีสิทธิเท่านั้น

    ส่วนรายได้ เมื่อได้มาระหว่างแต่งงานก็ถือเป็นสินสมรสไม่ยกเว้นแม้กระทั่งดอกผลของสินส่วนตัว แม้จะออกดอกออกผลภายหลังการแต่งงาน กฎหมายท่านเป็นสินสมรสแม้ว่าการเป็นหุ้นส่วนชีวิตไม่เหมือนกับการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ แต่หากไม่คิดไว้ให้รอบคอบก็อาจมีการล้ำขอบเส้นกันได้ ทำให้ชีวิตคู่ไม่เป็นไปอย่างที่ตั้งใจเอาไว้

    อย่าเพิ่งถอดใจที่ต้องเตรียมการเอาไว้ก่อนแต่ง คิดเสียว่าเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนเอาไว้ ส่วนไหนที่วางไม่ได้ก็ต้องเตรียมใจหรือจะทำใจว่าอาจมีความเสี่ยงของการได้เสีย แต่ทุกอย่างย่อมผ่านไปได้หากความรักที่มีให้กันอยู่บนรากฐานแห่งความเข้าใจ กฎหมายเป็นเพียงข้อมูลเพื่อให้การแต่งงานมีรากฐานที่แข็งแรงเท่านั้น

    เรียบเรียงข้อมูลบางส่วนจาก :: เว็ดดิ้ง แมกกาซีน

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. พรสว่าง_2008

    พรสว่าง_2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2008
    โพสต์:
    356
    ค่าพลัง:
    +402
    __/|\__

    .....ขอบคุณครับพี่หนุ่ม ผมไปด้วยใจจริงๆ ครับ ...โมทนาสาธุทุกประการครับ...
     
  15. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    น่าสนใจมาก..........
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ในการประชุมชมรมรักษ์พระวังหน้า ในเดือนหน้า(กันยายน 2552) นั้น ผมจะขอเช็คเวลาของท่านประธานชมรม ,รองประธานชมรม(คุณnongnooo) ,พี่แอ๊ว ก่อนนะครับว่า จะว่างกันเมื่อไหร่

    ผมจะนำเรื่องของคณะกรรมการทุนนิธิสงฆ์อาพาธ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร (คุณ นายสติ หรือคุณปุ๊) ได้คุยกับผมในเรื่องของหนังสือปู่เล่าให้ฟัง ฉบับสมบูรณ์

    [​IMG]
    (ในรูปจะเป็นหนังสือปู่เล่าให้ฟัง เล่มที่พิมพ์ครั้งแรก แต่มีความบกพร่องค่อนข้างเยอะ)

    จะมีการจัดทำกันใหม่ และรายได้ส่วนหนึ่งจะนำไปเป็นทุนในการพิมพ์หนังสือวิเคราะห์พระสมเด็จ และสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า

    [​IMG]

    รายละเอียด จะไปคุยกันในวันประชุมชมรมรักษ์พระวังหน้า ผมเองจะเชิญคุณ นายสติ ไปพูดคุยกันด้วยครับ

    รายละเอียด จะนำมาแจ้งให้ท่านสมาชิกชมรมทราบกันอีกครั้ง

    ในความเห็นส่วนตัวผม หากท่านอื่นๆที่ไม่ใช่สมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า , ท่านที่ร่วมทำบุญกับทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร(บ่อยๆ) ,ท่านที่เคยร่วมทำบุญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง มีความสนใจที่จะได้หนังสือปู่เล่าให้ฟัง ฉบับสมบูรณ์ ผมคงต้องให้จองในจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูง น่าจะเป็นพันบาท ขอแจ้งให้ทราบไว้ก่อนครับ

    http://palungjit.org/threads/พระวัง...โลกอุดรเสก-ถ้าต้องการที่จะได้.22445/page-1669

    PaLungJit.com - เกี่ยวกับกระทู้พระวังหน้า พลังจิต , อกาลิโก และเว็บอื่นๆ

    PaLungJit.com - ชมรม รักษ์พระวังหน้า
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]

    ท่านเจ้าคุณพระเทพวราลังการ

    ลูกศิษย์ หลวงพ่อลี วัดอโศการาม

    ตอนที่หลวงปู่ท่านเทศน์ให้ฟังแล้ว ท่านก็กลับไปที่กุฎิของท่าน ตอนที่เดินผ่านผม หลวงปู่ท่านนำมือมาตบไหล่ผมเบาๆ 3-4 ครั้ง

    รู้สึกดีใจมากครับ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ผมจำไม่ได้ว่า หลวงปู่ท่านบอกอะไรกับผม

    แต่ท่านไม่ได้ตบไหล่ท่านอื่นๆเลยนะครับ

    องค์นี้ก็ไม่ธรรมดานะครับคุณเพชร
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ่า เปิดอ่าน 950,068 ครั้งแล้วครับ ใกล้จะถึง 1,000,000 ครั้งแล้วครับ

    .
    <TABLE class=tborder id=threadslist cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY id=threadbits_forum_179><TR><TD class=alt2></TD><TD class=alt1 id=td_threadtitle_22445 title="" style="CURSOR: default"> พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้..... (16 คน กำลังดูอยู่) ([​IMG] 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 ... หน้าสุดท้าย)
    [​IMG] sithiphong
    </TD><TD class=alt2 title="จำนวนตอบ: 33,377, จำนวนอ่าน: 950,068">
    วันนี้ 09:53 AM
    โดย sithiphong [​IMG]
    </TD><TD class=alt1 align=middle>33,377</TD><TD class=alt2 align=middle>950,068</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949


    สำหรับน้องรัก

    แรกๆผมเห็นนั่งอยู่ด้านหลังสุด

    ตอนที่จะถวายผ้าป่า มาได้ไง แป๊บเดียวอยู่แถวหน้าเลยครับ

    เร็วจริงๆ อิอิ
     
  20. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    ก่อนอื่น ก็ต้องขอกราบขอบพระคุณในน้ำใจผู้ให้นั่นก็คือท่านเลขาชมรมรักษ์พระวังหน้าของเราซึ่งย่อมสูงกว่าผู้รับด้วยประการทั้งปวง ผมว่ามนต์คลายเหนื่อยของท่านเลขาฯนั่นก็คือ ท่านได้ทำงาน ได้ทำหน้าที่ที่ท่านรักและได้เป็นผู้ให้นั่นเอง ในทางตรงกันข้ามเราที่เป็นผู้รับก็ได้ตระหนักในน้ำใจกันดีนี้ และจะได้สนองตอบเจตนารมณ์ของชมรมฯ ผ่องถ่ายความรู้ความดีงามนี้เป็นเส้นสายที่ดีและมั่นคงยั่งยืน ให้ประจักษ์โดยเร็ววันต่อไปครับ ทั้งสองวันที่ผ่านมาได้พบเจอพูดคุณเพื่อนๆพี่ๆโดยเฉพาะพี่เบิ้มซึ่งพึ่งได้รู้จักเป็นการส่วนตัว ดีใจและยินดียิ่งแม้จะเหน็ดเหนื่อยทางกายอยู่บ้าง แต่เมื่อเห็นคนที่เขาทำงานหนักกว่าเราหลายเท่าก็บ่ได้ยั่นต่อไปแล้วหล่ะครับ :)

    หุหุ
    ในพระพิมพ์โบราณยุคแรกๆ ก็ไม่อยากจะแสดงความเห็นมากนักเพราะเพียงได้ยินเสียงก็รู้ว่าใช่ เนื้อหามวลสารดีมาก ไม่รู้ว่าแรงหรือเปล่า แต่ก่อให้เกิดกิเลสขึ้นมาบ้างตามประสาคนธรรมดาสามัญครับ ... หึ! ปล่อยให้อยากแล้วจากไป เก็บมาได้เพียงภาพถ่าย แต่ก็นั่นแหละเป็นความพลั้งเผลอของเราเองครับ ยังไงเสียให้พี่ใหญ่ท่านได้พิจารณาแล้วก็อย่าได้ลืมสมาชิกท่านอื่นๆได้ศึกษาด้วยนะครับ เฮ้อ... ขอย้ำว่า ของเก่ายังไปไม่ถึงไหน ของใหม่ก็มาให้ปวดเศียรกันอีก ขอรับ ::: โมทนาสาธุกับบุญที่พึ่งได้กระทำร่วมกันมาในนามรักษ์พระวังหน้านะครับ! ::: วันนี้กลับประมาณบ่ายโมงครึ่งครับ สวัสดีเด้อ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...