ทริปออกพรรษา ทอดกฐิน วัดหินหมากเป้ง ชมบั้งไฟพญานาค 4-6 ตุลาคม 2552

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 19 สิงหาคม 2009.

  1. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    พี่ชานนท์ ฝากเงินไว้ที่ผม แล้ว
    จะโอนให้คุณกุ้งพรุ่งนี้ครับ
     
  2. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    พี่ชานนท์ ฝากเงินไว้ที่ผม แล้ว
    จะโอนให้คุณกุ้งพรุ่งนี้ครับ
     
  3. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,633
     
  4. Natthakorn

    Natthakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,003
    ค่าพลัง:
    +7,078
    มาดูข้อมูล

    เดี๋ยวไปโอนนะครับบบ
     
  5. Forever In LoVE

    Forever In LoVE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,349
    ค่าพลัง:
    +3,864
    (*) รับทราบและอัพเดทข้อมูลให้ทุกๆท่านแล้วนะคะ

    (*) ทริปนี้มีเซอไพรซ์ มีคุณป้าแอ๊ด addsiripun จาก pantip มาร่วมทริปด้วยนะคะ

    (*) มีสาวๆบอกว่า ในทริปดูท่าจะมีเวลามากอยู่ อยากเรียนถักนิตติ้งเป็นหมวกถวายพระ

    ได้เลยค่ะ เผื่อมีท่านอื่นเรียนด้วย ขอให้นำอุปกรณ์ ไหมพรม และเข็มนิตติ้ง หรือโครเชต์ ตามที่ต้องการเรียน ติดไม้ติดมือมาด้วยได้เลยค่ะ

    (*) พี่กุ้ง เขียนบทความเกี่ยวกับวัดเทสรังสี ส่งมาให้ทางอีเมล์ จะทะยอยนำมาลงไว้ให้ได้อ่านกันค่ะ
     
  6. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    พี่ชานนท์ โอนเงิน 500.05 บาท วันนี้ เวลา 10.30 scb bank ครับ
     
  7. JINTAWADEE

    JINTAWADEE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +4,728
    โอนเงินพร้อมส่งรายละเอียดให้คุณกุ้งเรียบร้อยแล้วค่ะ
     
  8. พุทธโกมุท

    พุทธโกมุท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    314
    ค่าพลัง:
    +2,807
    หลังจากลังเลใจอยู่นาน เนื่องจากคิดถึงบรรยากาศอบอุ่นที่เคยร่วมทริปด้วย
    แต่เนื่องจากวันลาที่มีอยู่จำกัดทำให้ต้องตัดสินใจเก็บไว้ไปธุดงค์ปลายปีที่วัดท่าซุง

    ไปด้วยไม่ได้นะครับ เสียดายจริงๆ ขอให้ชาวคณะสนุกกับการเดินทางแล้วเอาบุญมาฝากด้วยนะคร๊าบ
     
  9. malee123

    malee123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2008
    โพสต์:
    484
    ค่าพลัง:
    +2,843

    คุณ JINTAWADEE ไม่ต้องกังวลใจเลยว่าจะเป็นคนแปลกหน้า ขออ้างอิงโพสของคนที่เคยไปร่วมทริปแล้ว เป็นหลักฐาน อิ อิ ว่าคนที่เคยไป
    ร่วมทริปแล้วรู้สึกอย่างไร ขอให้สบายใจนะจ๊ะ เพราะทริปของเราเป็นแบบ
    พี่ ๆ น้อง ๆ มี ฮา ฮา ด้วย บางคนก็ติดตลก เป็นบรรยากาศที่สนุก ๆ จ้า
    มีอะไรก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกันไป ไม่ถือโทษโกรธเคืองกันและกัน
    เป็นการฝึกคุณธรรมของพรหมค่ะ อะไรเอ่ย??? ติ๊ก ตอก ติ๊ก ตอก...
    เฉลย พรหมวิหาร 4 จ้า เว้ากันม่วน ๆ เด้อ...
     
  10. Natthakorn

    Natthakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,003
    ค่าพลัง:
    +7,078
    แจ้งแล้ว โอนแล้วครับ

    ขอบคุรพี่ซันที่ช่วยแนะนำ

    เกือบไปแล้ว

    รู้กันสองคนนะครับ
     
  11. Forever In LoVE

    Forever In LoVE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,349
    ค่าพลัง:
    +3,864
    ได้คุยกับพี่ไก่ทาง msn แล้วนะคะ
    พี่ไก่ฝากข้อความมาค่ะ

    ทริปนี้ขอผ่านก่อนเพราะติดสอนที่ธรรมศาสตร์ จันทร์ พฤหัส ศุกร์ เลยค่ะ เลื่อนไมไ่ด้เลย
    "ฝากอนุโมทนาบุญล่วงหน้าค่ะ"





    *ขออภัยที่จำเป็นต้อง edit ข้อความที่คุยกันส่วนบุคคลออกนะคะ ...
    อนุโมทนากับทุกดวงจิตอันตั้งอยู่ในกุศลค่ะ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2009
  12. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    มีโอกาศดีดีได้เดินทางไปปฎิบัติธรรมเพื่อละกิเลส ดีกว่าครับ
     
  13. mink3266

    mink3266 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +549
    นึกว่าจะตกขบวนมองหาชื่อไม่มี ;aa8;k01rabbit_run_awayเกือบไม่ทันแล้ว<!-- google_ad_section_end -->
    ข้าน้อยขอตามหลังพี่ล่ะกัน อิอิ
    โอนหลังสุดปิดท้าย SCB 09-09-09 tine 23:24 = 500.07
     
  14. สิงหนวัติ

    สิงหนวัติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    788
    ค่าพลัง:
    +2,107
    คำแนะนำจากประสบการณ์ครับ

    อนุโมทนากับทุกท่านด้วยนะครับ พอดีว่าติดเรื่องทำรายงานกำหนดส่งวันที่ 5 และ 15 ตุลาคม จึงร่วมเดินทางไปด้วยไม่ได้

    หากพอมีเวลาเหลือ จากที่ทางทีมงานได้วางแผนการเดินทางไว้ ผมมีข้อแนะนำ เกี่ยวกับ จังหวัดหนองคาย และเวียงจันทร์อยู่บ้าง ในฐานะที่เคยอยู่หนองคายมาประมาณ 10 ปี

    สถานที่น่าสนใจ

    ฝั่งไทย-หนองคาย-ท่าบ่อ-ศรีเชียงใหม่
    1.สักการะหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
    2.สักการะหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ บ้านน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
    3.สักการะพระธาตุบังพวน (บรรจุพระบรมสารีริกธาตุหัวเหน่า - ลางแห่งว่าส่วนบังโพน คือกระเพาะอาหาร) อยู่ระหว่างอำเภอเมือง กับอำเภอท่าบ่อ
    4.สักการะหลวงปู่เหรียญ (มรณภาพแล้ว แค่ยังไม่ได้พระราชทานเพลิงศพ) วัดอรัญบรรพต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
    5.สักการะอัฐิธาตุ หลวงปู่เทศก์ เทศรังสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่

    อาหาร-ของฝาก
    1.แวะชิม แหนมเนือง ที่ร้านแดงแหนมเนือง ตลาดท่าเสด็จ อำเภอเมืองหนองคาย
    2.เดินซื้อของฝากที่ตลาดท่าเสด็จ - ตลาดอินโดจีน (ต่อลองราคาทุกชิ้น) - มีของบางประเภทเกี่ยวกับความเชื่อ จงพินิจพิจารณาด้วยวิจารณญาณให้จงหนัก
    3.หมูยอ แหนม กุนเชียง (โดนส่วนมากเป็นของชาวญวน หรือเวียดนาม) มีรสชาติดี ชิมก่อนซื้อเพื่อความพึงพอใจส่วนบุคคล ราคาไม่แพง (ต่อๆเอาหน่อย) ดูหลายๆ ร้าน เปรียบเทียบ อย่าใจร้อน หรืออายแม่ค้า


    ฝั่งลาว-เวียงจันทร์ (แบบเวลาจำกัด)
    1.พระธาตุหลวง เมืองเวียงจันทร์ (ถ้าไม่ไปสักการะพระธาตุหลวง ก็ยังไปไม่ถึงเวียงจันทร์)
    2.วัดพระแก้ว เวียงจันทร์ อดีตเคยใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้ว
    3.วัดหลวงพ่อองค์ตื้อ ฝั่งลาว (พระคู่แฝดกับพระองค์ตื้อฝั่งไทย)
    4. วัดสีสะเกด วัดเก่าแก่ของลาว มีสถาปัตยกรรมที่งดงามอ่อนช้อย และเก่าๆๆ ดีมาก
    5.ประตูไซ (ประตูชัย) สัญลักษณ์อย่างหนื่องของลาว

    อาหาร-ของฝาก และอื่นๆ
    1. การแลกเงิน แลกพอประมาณที่จะใช้ พยายามคำนวนเทียบบาทกับกีบไว้ก่อน จดอัตราแลกเปลี่ยนไว้ก็ได้ เช่น 10000 กีบ = 40 บาท (ให้ยึดกีบเป็นหลักเวลาคิด)
    เหตุก็เพราะ เวลาซื้อของให้ถามราคาเป็นเงินกีบ ใช้เงินกีบจะประหยัดได้มากกว่า ตัวอย่างเช่น จะซื้อของชิ้นหนึ่ง ถามแม่ค้าว่ากี่บาท แม่ค้าลาวจะตอบว่า 100 บาท (คนไทยจำนวนมากพอใจราคานี้ แต่มันไม่ไช่ราคาที่ดีที่สุด เพราะบอกผ่านเยอะ) แต่ถ้าถามว่า อันนี้กี่กีบ แม่ค้าจะตอบว่า 20 พันกีบ (20000 นั่นแหละ) เทียบเงินไทยดู มันก็แค่ 80 บาท (แล้วอีก 20 หายไปไหน???)
    จากนั้นก็เป็นเรื่องของการต่อรองราคา (ต่อเป็นเงินกีบอีกเช่นกัน) คนไทยบางราย ไปตลาดลาว เห็นของที่คิดว่าราคาถูกแล้ว ซื้อกันใหญ่ แต่จงจำไว้ว่า ราคาไม่ยุติธรรม ต้องต่อรอง
    2. อาจเจอแจ็คพอต ถ้าเดินไปจับของเขาดูแล้วไม่ซื้อ (ส่วนใหญ่แล้ว หากเป็นแม่ค้าแกว - ญวน - หรือเวียดนาม บางคน นิสัยจะแย่มาก ถ้าเป็นแม่ค้าลาวจะยิ้ม แต่ยิ้มแบบหลอกๆ หรือปล่าว????)
    3. ซึ่งอาจเป็นเพราะ คนไทยบางคนมีอคติกับชาวพม่า ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ คนลาวก็เช่นกัน ไม่ต่างกันนักหรอก
    4. อาหารการกินในลาว จะแปลกๆหน่อย ถ้าใครอยากกินของแปลกๆก็ไม่ว่ากัน แต่ต้องระวังท้องไส้นิดนึง เพราะต้องเดินทาง ปลอดภัยที่สุดคือพวกโจ๊ก ข้าวต้ม หรือมาม่าในซูเปอร์มาเก็ต (มีsupermarket ไม่กี่แห่ง ที่ใกล้ๆสุด ก็ supermarket ที่ดงป่าลาน อยู่ก่อนเข้าเขตพระนคร (ของลาว) ลองอ่านป้ายดู อ่านไม่ยาก หรือใครยากกินเฝอก็ไม่ว่ากัน เฝอก็คือก๋วยเตี๋ยว
    5. ของกินที่เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ นำเข้าจากไทย ราคาแพงกว่านิดหน่อย
    6. คนที่คิดจะซื้อเครื่องเงินเครื่องทอง อันนี้no comment แต่จากประสบการณ์ที่เคยซื้อมา เครื่องเงินลาว เป็นอนิจจัง ใส่ไปใส่มา สีเปลี่ยนเป็นนาก ลองคิดดูเอา ??
    7. เหล้าจีนที่ขายในลาว ขวดสวยมากราคาไม่แพง มีตั้งแต่ 10 พันกีบ ขึ้นไป เอามาตั้งโชว์ได้ สวยดี
    8. เหล้ายี่ห้อดัง แท้ที่ขวด น้ำข้างในไม่รู้
    9. อย่าตื่นเต้นกับชอคโกแลต เฟอเรโร่ ลอตเช่อร์ ราคาถูกมาก รสชาติห่วยมากกก เพราะมันเป็นของเลียนแบบไง
    10. อย่าคิดว่าจะเก็บบัตรผ่านแดนไว้เป็นที่ระฤกได้ เพราะขาออกเขาจะเก็บคืน และก็มีการตรวจด้วย ว่าเอาอะไรมา
    11. สินค้าอิเลคโทรนิคส์ คุณภาพ กับราคา ก็พอๆกัน
    12. สินค้าแบรนด์เนม ต้องดูอย่างละเอียด มากๆๆๆ

    คำแนะนำการเดินทาง
    1. ในช่วงวันออกพรรษา มีบั้งไฟพญานาค บั้งไฟจะขึ้นมากเป็นพิเศษถ้าตรงกับวันออกพรรษาของลาว ในจังหวัดหนองคาย
    - ห้ามดูบั้งไฟพญานาคที่อำเภอท่าบ่อ เพราะไม่เคยปรากฏว่ามี เป็นอำเภอเดียวของหนองคายที่ติดแม่น้ำโขงที่ไม่มีบั้งไฟขึ้น
    - ส่วนใหญ่ บั้งไฟจะขี้นที่ อ่างปลาบึก อยู่ในเขตอำเภอสังคม เลยวัดหินหมากเป้งไปอีกหน่อย ที่วัดไทย อำเภอโพนพิสัย ที่กิ่งอำเภอรัตนวาปี (สองอำเภอนี้อยู่ทางขวาของหนองคาย ส่วนศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ สังคม อยู่ฝั่งซ้าย)
    - ที่วัดหินหมากเป้ง มีบั้งไฟขึ้นพอประมาณ แต่บางปีก็ไม่ขึ้น นะจ๊ะ
    2. พยายามไปถึงจุดชมบั้งไฟก่อน 15.00 น. เพราะเกินนั้นจะเดินทางได้ลำบากมาก เพราะคลื่นมหาชนมาจากทั่วประเทศในวันนั้น และหาที่ชมแบบใกล้ๆ ได้ แต่ถ้าเส้นใหญ่ อันนี้ก็ไม่ว่ากัน
    3. การชมบั้งไฟ ไม่เหมือนดูหนัง ดูละคร ปกติ จะใช้เวลานาน คือ ตั้งแต่หัวค่ำ ไปยันเที่ยงคืน หรือมากกว่านั้น อากาศอาจจะเย็น และมีน้ำค้าง แต่โดยรวมแล้ว บรรยากาศดี ระหว่างชม คุยกันได้ แต่อย่าเสียงดัง ท่านอาจจะเห็นกลุ่มคนบางพวกที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะไม่ควร เช่น เสียงดัง จุดพลุไฟ กินเหล้า ก็ให้ยึดขันติไว้ ดูบั้งไฟแบบศรัทธาแล้วจะมีความสุข บางคนอาจจะเลือกอธิษฐานไปด้วย ก็แล้วแต่สะดวก
    4. (อ้างอิงตามแผนการเดินทางของทีมงาน) จากกรุงเทพฯ ไปหนองคาย อาจจะพักรถที่วัดหลวงพ่อโต ของสรพงษ์ ชาตรีที่โคราช เพราะใกล้ถนนใหญ่ที่สุดแล้ว ที่อื่นค่อนข้างยาก พอเข้าเขตจังหวัดหนองคายไปแล้ว ก่อนถึงตัวเมือง 10 กม. รถจะเลี้ยวซ้ายไปอำเภอท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่
    ระหว่างเดินทางไปจะผ่านวัดพระธาตุบังพวน สังเกตได้จากรถจะเลี้ยวโค้งมากๆหน่อย อยู่ทางขวามือ ถ้าสังเกตจะเห็นยอดพระธาตุ จากนั้นก็จะเป็นอำเภอท่าบ่อ มี Tesco Lotus ตรงไปอีกหน่อย จะพบปากทางเข้าวัดศรีชมภูองค์ตื้อ เข้าไปอีก 100 เมตรก็ถึง หากสังเกตจากถนนใหญ่จะเห็นวิหารหลังใหญ่ วัดนี้มีพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ สร้างโดยสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช มหาราชของลาว เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนาผสมล้านช้าง พระพักตร์จึงงามกว่าพระองค์อื่นๆ
    ออกจากอำเภอท่าบ่อ จะผ่าน ตำบลกองนาง หัวทราย (ระยะนี้ หากมองไปทางขวามือ ก็จะเห็นแม่น้ำโขง และฝั่งลาว ได้อย่างชัดเจน) พานพร้าว ศรีเชียงใหม่ บ้านหม้อ พระพุทธบาท ก็จะถึงวัดอรัญบรรพต ตรงไปอีกก็จะเป็นวัดหินหมากเป้ง สังเกตได้จาก จะต้องขึ้นเนิน ทั้งหมด 3 เนิน
    5.วันที่ 5 ต้องเดินทางย้อนกลับมาที่อำเภอเมืองหนองคาย แล้วก็ผ่านด่านไปลาว (เตรียมรูปไปเองจะสะดวกกว่า) จากท่าแขกเชิงสะพานไทยลาว ก็จะตรงเข้าสู่เวียงจันทร์ ปะมาณ 15 กม. มั้ง?? พอเข้าเมือง หากอยากได้วิวสวยต้องไปถนนเส้นดงป่าลานตรงไปจนสุด ก็เลี้ยวขวาตัดเข้าถนนล้านซ้าง ตรงไปจะพบประตูไซ และสวนสาธารณะประตูไซ รถต้องเลี้ยวขวาไปอ้อมหลังสวนสาธารณะไปทางวัดพระธาตุหลวง เพราะถนนเส้นนั้นเป็นที่ตั้งของสถานฑูตไทย การท่องเที่ยวได้แนะนำไว้แล้ว ขาดเหลืออะไรก้ถามน้องชายท่านฑูตกันเอาเอง (เส้นใหญ่กันจริงๆ)
    6. ออกจากลาว ไหว่พระใส ไปตลาดอินโดจีน และร้านแดงแหนมเนือง (ดีแล้ว)
    7. มีเวลาว่างก็ลองหาที่เด่นๆๆๆ ไปกันนะครับ

    ด้วยความปรารถนาดี และขออนุโมทนา ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ แลสำเร็จเสร็จการตามความมุ่งมาตรปรารถนาทุกประการ สาธุ
     
  15. สิงหนวัติ

    สิงหนวัติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    788
    ค่าพลัง:
    +2,107
    หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีพระรูปลักษณ์งดงามมาก ขนาดหน้าตัก กว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว สวนสูงจากพระสงฆ์เบื้องล่างถึงยอดพระเกศ 4 คืบ 1 นิ้ว ของชางไม้ ปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวง) เป็นพระพุทธรูปที่ชาวจังหวัดหนองคายนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มากและเป็น ที่เคารพสักการะอย่างยิ่ง

    [​IMG]

    ตามประวัติกล่าวไว้ว่า พระธิดาสามพี่น้องของกษัตริย์ล้านช้าง (บางท่านเชื่อว่า เป็นธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช) ได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ขึ้น 3 องค์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา แล้วขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามว่า พระสุก พระเสริม และพระใส มีขนาดลดกันตามลำดับ พระสุกนั้นเป็นพระประจำพี่ผู้ใหญ่ พระเสริมประจำคนกลาง ส่วนพระใสประจำคนสุดท้อง
    ตามประวัติการสร้างเล่าว่า มีพิธีการทางบ้านและทางวัดช่วยกันใหญ่โต มีคนสูบเตาหลอมทองอยู่ไม่ขาดระยะ นำเป็นเวลา 7 วันแล้วทองก็ยังไม่ละลาย ถึงวันที่ 8 เวลาเพล เหลือหลวงตากับสามเณรน้อย รูปหนึ่งสูบเตาอยู่ได้ปรากฏชีปะขาว ตนหนึ่งมาขอช่วยทำ หลวงตากับเณรน้อยจึงไปฉันเพล ญาติโยมที่มาส่งเพลจะลงไปช่วยแต่มองไปเห็นชีปะขาวจำนวนมากช่วยกันสูบเตาอยู่ แต่เมื่อถามพระ พระมองลงไปก็เห็นเป็นชีปะขาวตนเดียว พอฉันเพลเสร็จคนทั้งหมดจึงลงมาดู ก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง เหตุเพราะได้เห็นทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้ง 3 เบ้า แล้ว และไม่เห็นชีปะขาวแล้ว


    [​IMG]

    หลังสร้างเสร็จพระสุก พระเสริม และพระใส ได้ประดิษฐานไว้ ณ เมืองหลวงอาณาจักรล้านช้าง มาช้านาน คราใดที่เกิดสงครามบ้านเมืองไม่สงบสุข ชาวเมืองก็จะนำพระพุทธรูปทั้งสามไปซ่อนไว้ที่ภูเขาควาย หากเหตุการสงบแล้วจึงนำกลับมาไว้ดังเดิม ส่วนหลักฐานที่ว่าประดิษฐานอยู่ ณ เมืองเวียงจันทร์ตั้งแต่เมื่อใดนั้นยังไม่มีปรากฏแน่ชัด ทราบเพียงว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ขึ้นที่เมืองเวียงจันทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำลายเมืองเวียงจันทร์เสียสิ้น จึงให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ได้เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ เมื่อเมืองเวียงจันทร์สงบแล้ว จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใสมาที่จังหวัดหนองคาย
    มีคำบอกเล่าว่า คราที่อัญเชิญมานั้น ไม่ได้อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทร์โดยตรงแต่อัญเชิญมาจากภูเขาควาย ซึ่งชาวเมืองนำไปซ่อนไว้ การอัญเชิญนั้นได้ประดิษฐานหลวงพ่อทั้งสามไว้บนแพไม้ไผ่ล่อง มาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงเวินแท่นได้เกิดอัศจรรย์ คือ แท่นของพระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุแรงจัดพัดแพจนเอียงชะเนาะที่ขันพระแท่นติดกับแพไม่สามารถ ที่จะทนน้ำหนักของพระแท่นไว้ได้ บริเวณนั้นจึงชื่อว่า “เวินแท่น” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา



    ครั้นล่องแพต่อมาจนถึงแม่น้ำโขง ตรงปากงึม เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้บังเกิดฝนฟ้าคะนอง พระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ ท้องฟ้าที่วิปริตต่างๆ จึงหายไป บริเวณนั้นจึงได้ชื่อ “เวินสุก”ตั้งแต่นั้นมา ด้วยเหตุข้างต้น การอัญเชิญครั้งนี้จึงเหลือแต่พระเสริม และพระใสมาถึงหนองคาย สำหรับพระเสริมนั้นได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใสได้ อัญเชิญไปไว้ยังหอก่อง หรือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ ณ ปัจจุบัน
    ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริมจากวัดโพธิ์ชัยลงไปยังกรุงเทพฯ ขุนวรธานีจะอัญเชิญพระใสไปพร้อมกับพระเสริมด้วย แต่เกิดปาฏิหารย์ โดยพราหมณ์ผู้อัญเชิญนั้นไม่สามารถขับเกวียนนำพระใสไปได้ แม้จะใช้กำลังคนหรืออ้อนวอนอย่างไรก็ตาม จนในที่สุดเกวียนได้หักลง เมื่อหาเกวียนใหม่มาแทนก็ไม่สามารถเคลื่อนไปได้อีก จึงปรึกษาตกลงกันว่าให้อัญเชิญพระใสมาไว้ที่วัดโพธิ์ชัยเมื่ออธิษฐานดัง กล่าวพอเข้าหามเพียงไม่กี่คนก็อัญเชิญพระใสมาได้
    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงลงความเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ว่า เป็นพระพุทธรูปล้านช้างที่งดงามยิ่งกว่าพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ และทรงสันนิษฐานเรื่องการสร้างเป็น 2 ประการ คือ อาจจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากเมืองหนึ่งเมืองใดทางตะวันออกของอาณาจักร ล้านช้าง และต่อมาตกอยู่ในเขตล้านช้าง หรืออาจสร้างขึ้นในเขตล้านช้างโดยฝีมือช่างลาวพุงขาว


    [​IMG]

    หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ (อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย) เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่หล่อด้วยทอง ฝีมือของช่างฝ่ายเหนือและช่างล้านช้าง เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามมาก นั่งขัดสมาธิปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๓.๒๙ เมตร สูง ๔ เมตร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงเคารพนับถือมาก จากหลักฐานศิลาจารึกทำให้ทราบว่า พระเจ้าองค์ตื้อสร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๑๐๕ ผู้สร้างคือ พระไชยเชษฐา กษัตริย์นครเวียง หล่อโดยใช้ทองคำ ทองเหลือง และเงินผสมกัน รวมน้ำหนักได้ ๑ ตื้อ (ตื้อ เป็น มาตราโบราณของอีสาน) ใช้เวลาในการสร้าง ๗ ปี ๗ เดือน ทางจังหวัดได้จัดงานนมัสการหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔

    [​IMG]

    [​IMG]


    วัดองค์ตื้อมหาวิหาร เมืองเวียงจันทร์

    [​IMG]วัด องค์ตื้อมหาวิหาร เป็นหนึ่งในจำนวนหลาย ๆวัดที่เก่าแก่ที่สุด ในนครหลวงเวียงจันทน์และมีความหมายความสำคัญทางโบราณสถานและประวัติศาสตร์ เป็นวัดที่ทั้งประชาชนลาวและต่างชาวต่างประเทศให้ความเคารพนับถือวามสำคัญ เป็นพิเศษ
    ดั่งจะได้เห็นจากคำพูดที่ว่า "ผู้ใดเข้ามาในเวียงจันทน์ ไม่ได้ไปไหว้หลวงพ่อองค์ตื้อ ถือว่าไม่ได้มาถึงเวียงจันทน์"นอก จากนี้วัดองค์ตื้อยังเป็นที่ ประกอบ พิธีที่สำคัญต่าง ๆทางราชการในสมัยก่อน เช่น พิธีถือน้ำ(ดื่มน้ำสัตยาบรรณ) ๆ อีกทั้งงานประเพณีบุญพระธาตุหลวงเสร็จสิ้นลง ยังต้องมาประกอบ พิธี ทำบุญอยู่วัดองตื้อ - วัดอินแปง อีกจึงจะถือว่างานประเพณีบุญพระธาตเสร็จสิ้นลงอย่างสมบูรณ์วัดองตื้อ ตั้งอยู่บนถนนพระไชยเชษฐา อยู่ห่างจากหอพระแก้ว
    มาทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร ในสมัยก่อนวัดองค์ตื้อมีอาณาเขตติด กับวัดอินแปง วัดมีไชย และวัดหายโศก แต่ในปัจจุบันนี้ การพัฒนาของบ้านเมือง มีการขยายตัว มีการตัดถนนหนทางเพื่อความสวยงาม และการ เป็นระเบียบเรียบร้อย ดังนั้นจึกทำให้วัดทั้ง 4 คือ วัดองค์ตื้อ วัดอินแปง วัดมีไชย วัดหายโศก ต้องแยกออกจากกันดังที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้

    [​IMG]

    ในปัจจุบันนี้วัดองค์ตื้อ มีพระอุโบสถใหญ่อยู่ 1 หลัง กว้าง 16 เมตร 34 เซนติเมตร ยาว 40 เมตร สูงประมาณ 25 เมตร มีพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
    เป็นพระประธาน หน้าตักกว้าง 3 เมตร 40 เซนติเมตร สูง 5 เมตร 80 เซนติเมตร สร้างโดย พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อปี พ.ศ.2109 พร้อมด้วย
    พระสุก พระใส พระเสริม
    เดิมวัดองค์ตื้อมีชื่อว่า "วัดสีภูมิ หรือ ไชยภูมิ ต่อมาถึงปี พ.ศ.2109 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้มาสร้างพระเจ้าองค์ตื้อขึ้นแล้วนำมา ประดิษฐานไว้
    ในวัดสีภูมิแห่งนี้ จึงได้ตั้งชื่อวัดใหม่ว่า "วัดองค์ตื้อ" ตามชื่อของพระพุทธรูปใหญ่ (ตื้อ มาตราโบราณของชาวลาว)
    พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระมาหากษัตรย์ลาว พระองค์มีศรัทธาอย่างแรงกล้าปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้า จึงได้ตั้งความเพียร และ การเสียสละอย่างสูง
    ที่จะสร้างพระพุทธรูป ทองหล่อให้ใหญ่ที่สุด(ในสมัยนั้น ปี พ.ศ.2019) ได้มีการเตรียมพร้อมทุกอย่างจนเป็ที่เรียบร้อยทุกประ การ เมื่อถึงเวลาอันเป็นมหาฤกษ์
    มหาชัยตามพิธีของโหราจารย์ แล้วพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ก็ทรงมอบพระราชกรณียกิจทุกอย่างไว้กับพระมเหสี แล้วพระองค์ทรงนุ่งขาวห่มขาวไปสมาทาน
    ศีล 8อยู่ในวังพิธี ที่วัดอินแปง แต่ก่อนถึงเวลามหาฤกษ ์มหาชัยนั้นได้มีกษัตริย์ของพม่า ได้ยกกองทัพมาถึงประตูเวียงแล้ว และได้ทำหนังสือยื่นคำขาด ให้แม่ทัพทั้ง 4 ถือ เข้ามายื่นให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชอยู่ในวังพิธีหล่อนั้น ในคำขาดนั้นมีอยู่ 2 ข้อ
    1.ให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชยอมเป็นเมืองขึ้นของพม่า
    2.ถ้าไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นให้ออกมารบกัน และให้ตอบคำถามนี้ไปกับผู้ที่ถือหนังสือมามิให้ชักช้า
    หลังจากยื่นหนังสือให้แล้วแม่ทัพของพม่าทั้ง 4 ก็เดินดูช่างที่กำลังสูบเตาหลอมทองที่กำลังร้อนแดง ๆ อยู่นั้นพวกเขาได้แสดงอิทธิฤทธิ์โดย เอามือไปจับเบ้า
    หลอมพระที่กำลังแดง ๆ โดยไม่มีอาการร้อนเลย พระเจ้าไชยเชษฐาเห็นดังนั้นก็ตกพระทัย จึงได้เข้าไปในพระราชวังด้วยความรีบเร่ง พอพระมเหสีเห็นความผิดปรกติของพระองค์ก็ทรงถามว่า “ยังไม่ถึงเวลาทำพิธีเททองหล่อพระ ทำไมพระองค์จึงรีบกลับมา” พระองค์จึงเล่าเหตุการณ์ทุกอย่างให้
    พระมเหสีฟัง พระมเหสีจึงกล่าวให้สติว่า “พระองค์ไม่ต้องเสียพระทัย ที่พระองค์สร้างพระใหญ่คราวนี้ เพื่อปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้าในวันข้างหน้า ถ้าคำ
    ปรารถนานี้ไม่สำเร็จ และจะพ่ายแพ้แก่พม่า ก็ขอให้มือของพระองค์กุด(ขาด) ไปกับเบ้าหล่อพระนั้นเสีย แต่ถ้าความปรารถนาของพระองค์จะสำเร็จ และได้รับชัยชนะจากพม่านั้นขอให้เบ้าทองที่จะหล่อพระมีอาการเย็น และไม่หนัก ให้มีอาการเหมือนจับ หมวกใส่หัว” เมื่อพระองค์ได้สติจากพระมเหสีแล้ว
    พระองค์เข้าสู้ห้องไหว้พระ กล่าวสักการะเทวดาตั้งสัตยาอธิษฐานอย่างหนักแน่นแล้วกลับสู่วังพิธีหล่อพระ พอดีได้เวลาพระองค์ จึงให้คำตอบแก่แม่ทัพพม่า
    ทั้ง 4 คน ว่า “คำขาดของกษัตริย์พม่าทั้งสองข้อนั้นเรายินดีรับหมดทุกอย่าง แต่ว่าเวลานี้เรากำลังทำบุญ ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าขอเชิญพวกท่าน มาทำบุญร่วมกันกอ่นแล้วจึงค่อยปฏิบัติตามคำขาดนั้นภายหลัง” ว่าแล้วพระองค์พระก็เสด็จสู่หอที่เททองใส่เบ้าหล่อ และ พระองค์จับพระขรรค์ ด้วยมือเบื้องซ้าย เบื้องขวารับเอาเบ้าต้มทองที่กำลังแดงและร้อนที่ช่างยื่นให้พระองค์ โดยที่พระองค์ไม่มีความรู้สึกร้อนเลยจนทองหมด ส่วนที่เหลือก็หล่อพระพุทธรูปได้อีก 3 องค์ คือพระสุก พระใส และพระเสริม
    เมื่อเสร็จพิธีแล้วแม่ทัพพม่าทั้ง 4 ก็เดินทางกลับไปพร้อมหนังสือ คำตอบของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อกลับไปถึงก็เล่าเหตุการณ์ทุกอย่างให้กษัตริย์ฟังตาม
    ความเป็นจริง แล้วก็พากันผ่อนพักหลับนอนตามเวลาอันสมควร และในคืนนั้นเองพระองค์ได้ไปแอบไปหากษัตริย์พม่า แต่ก่อนที่จะไปพระองค์ได้กล่าวสักการะเทวดา
    และตั้งสัจจะอธิฐานว่า “ 1.ถ้าข้าพเจ้าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า 2.ถ้าข้าพเจ้าจะได้รับชัยชนะกองทัพพม่าในครั้งนี้ ขอให้เทพเจ้าเทพาอารักษ์จงช่วยเป็นสักขีพยานบันดาล ให้กองทัพพม่าพร้อมทั้งช้าง ม้า จงพากันหลับไหล ในเวลาที่ข้าพเจ้าไปยาม(ไปหา) นั้นอย่าได้รู้สึกตัวเลย” เมื่อพระองค์ตั้งพระทัยอย่างหนักแน่นดั่งกล่าว แล้วก็ออก
    เดินทาง โดยมีทหารคนสนิทเพียงคนเดียว เมื่อไปถึงปรากฎว่ากองทัพพม่าททั้งหมด คนและสัตว์พาหนะพากันนอนหลับหมดไม่มีใครรู้สึกตัวเลย เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเห็นสภาพดั่งนั้นก็มีความแน่ใจในคำอธิฐานของตน ครั้งแรกพระองค์ถอดพระขรรค์ออกมาจะตัดคอกษัตริย์พม่าที่กำลังนอนหลับ
    แต่แล้วพระองค์ก็นึกขึ้นได้ว่า ตนเองทำบุญปรารถนาพุทธภูมิ แล้วจะมาทำบาปฆ่าคนเช่นนี้ไม่ได้เด็ดขาด แล้วพระองค์ก็ได้ปรึกษากับทหารว่าจะทำอย่างไรดี ให้เขารู้ว่าเรามาหาพอดีทหารคนนั้นมองเห็นตลับปูนวางอยู่ข้าง ๆของกษัตริย์พม่า ก็แนะนำให้พระองค์ใช้ปูนผสมน้ำ แล้วเอาไปป้ายที่คอของกษัตริย์พม่าและ
    แม่ทัพทั้ง 4 เป็นกากบาท หลังจากนั้นเดินทางกลับพระราชวัง
    พอกษัตริย์พม่าตื่นขึ้นมา ทั้งกษัตริย์และแม่ทัพทั้ง 4 ต่างก็เห็นปูนป้ายคอของตัวเอง ซึ่งคนต่างปฏิเสธไม่มีใครทำ จึงสัณนิฐานได้ว่าต้องเป็น พระเจ้าไชยเชษฐา
    แน่นอน จึงได้ปรึกษากับแม่ทัพทั้ง 4 ว่า ถ้าต้องทำศึกกับพระองค์ต้องปราชัยแน่นอน จึงเปลี่ยนแนวคิดจากศัตรูมาขอเป็นมิตร
    ในขณะที่กษัตริย์พม่ากับแม่ทัพทั้ง 4 กำลังปรึกษากันอยู่นั้นก็มีทหารคนใช้ของพระองค์เข้ามาบอกว่า “เมื่อคืนนี้พระองค์พระองค์มาหาพวกท่าน แต่เห็นพวก
    ท่านกำลังหลับ ถ้าจะปลุกก็จะเป็นการรบกวนจึงกลับไป บัดนี้ตื่นขึ้นมาแล้ว ขอถือเป็นเกียรติทูลเชิญพระองค์ท่านไปสู่พระราชวังของเราเพื่อปรึกษาเวียก บ้านการเมือง” เมื่อกษัตริย์พม่าได้ยินดังนั้นก็รู้สึกดีใจ จึงได้เตรียมเครื่องบรรณาการจำนวนหนึ่งพร้อมแม่ทัพทั้ง 4 เข้าพบพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อมาถึงก็ได้รับการต้อนรับ
    อย่างสมเกียรติทั้งสองกษัตริย์ก็ได้ให้คำมั่นสัญญา จะมีความซื่อสัตย์ให้แก่กันและกัน ถ้าฝ่ายหนึ่งผ่ายใดขาดเขินสิ่งใดให้ร้องขอต่อกันและช่วยกันจนเต็มความ
    สามารถ การเจรจาสิ้นสุดลงด้วยการดื่มน้ำสาบาน(น้ำสัตยาบรรณ) และกษัตริย์พม่าก็ได้ขอเรียนวิชา “ก่านปูน” วิชาป้ายปูนที่ลำคอ พระองค์จึงได้เล่าความจริง
    ให้ฟังว่า “ก่านปูน” ไม่ใช่วิชาอาคมอะไร ตั้งแต่ได้รับคำถ้าจากกษัตริย์พม่าแล้ว ตนได้รับคำเตือนสติจากพระมเหสี จึงแค่เอาปูนไปป้ายที่คอของกษัตริย์พม่า
    และแม่ทัพทั้ง 4 เท่านั้น ด้วยสำนึกถึงบุญคุณของพระมเหสี กษัตริย็พม่าจึงขออนุญาตแกะสลัก(ควัด) รูปเหมือนพระอัครมเหสีเท่าองค์จริงด้วยหินไว้เป็นอนุสรณ์ จากนั้นพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงให้ช่างแกะสลักพระอัคระมเหสีของพม่าขึ้นอีกองค์หนึ่งไว้เป็นคู่กัน เพราะเป็นสัญญาสำคัญแห่งสัมพันธไมตรี
    ในครั้งประวัติศาสตร์ พวกช่างก็แกะสลักรูปพระนางทั้งสองด้วยแผ่นหินและดิษฐานไว้ที่วัดอินแปงจนถึงทุกวันนี้
    ตามประวัติศาสตร์ได้บันทึกการรุกของสงครามศักดินาดังนี้
    ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2127 ในรัชกาลของพระสุรินทลือไชย(จัน) ศักดินาพม่าเขามาตีนครหลวงเวียงจันทน์ได้สำเร็จพร้อมทั้งเผาทำลายวัดวาอาราม วัตถุมีค่า
    มูลเชื้อวัฒนธรรม รวมถึงวัดองค์ตื้อด้วย
    ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2322 ในรัชกาลพระเจ้าสิริบุยสาร ศักดินาสยามได้เข้ามารุกรานครั้งที่ 1
    ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ.2370 ในรัชกาลเจ้าอนุวงศ์ ศักดินาสยามได้เข้ามารุกรานเป็นครั้งที่ 2 พร้อมกับทำลายเผาผลาญนครหลวงเวียงจันทน์ จนเป็นเถ้าถ่านไปทั้งเมืองและร้ายแรงที่สุดคือวัดองค์ตื้อ พร้อมพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ แต่ไม่สามารถทำอะไรได้
    ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2416 โจรฮ้อ ได้เข้ามาปล้นสะดมขุดค้นเอาวัตถุมีค่าไปจนหมดในนั้น รวมพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อด้วย
    เขียนโดย พระอาจารย์ผ่อง เจ้าอาวาสวัดองค์ตื้อ


    หอพิพิธภัณฑ์วัดสีสะเกด
    [​IMG]วัด สีสะเกด หรือ วัดสะตะสะหัดสาราม ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางตัวเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ ติดกับหอคำ พระราชวังหลวงของกษัตริย์ลาวสมัยก่อน สร้างขึ้นใน
    ปี พ.ศ. 2094 โดยพระเจ้าโพธิสารราช พระบิดาของพระเจ้า
    ไชยเชษฐาธิราช ในศตวรรษที่ 16 ในระยะที่ 2 วัดสิสะเกด สร้างขึ้นในวัดพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 ปีขาน พ.ศ. 2361 โดย เจ้าอนุวงศ์กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ล้านช้างเวียงจันทน์ ถือว่าเป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งในนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งอยู่ในระหว่างศึกสงครามหลายยุคหลายสมัย และเป็นวัดเดียวที่ไม่เคยถูกทำลายเหมือนวัดอื่น ๆในเวียงจันทน์
    หลังจากสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2367 พระเจ้าอนุวงศ์ก็ได้นำพาประชาชนลาวบำเพ็ญบุญกุศุล
    เฉลิมฉลองเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน<table class="menuBar" id="zoomedInMenu" style="background-color: rgb(189, 189, 189);" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>
    </td><td>
    </td><td>
    </td><td>

    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> </tr> </tbody></table> <script language="JavaScript"> MenuController.getInstance().bindHandlers($('zoomedInMenu'),{"zoomedInMenu":{"on":"#F7F7F7","off":"#BDBDBD","link":"#000000","border":"#000000"},"btn_decorateimage_menu_in":{"on":"#E3E4E6","off":"#F7F7F7","link":"#000000","border":"#000000"},"btn_share":{"on":"#E3E4E6","off":"#F7F7F7","link":"#000000","border":"#000000"}}); </script> <script language="JavaScript"> FullViewMenuController.getInstance().bindHandlers($('zoome</script>[​IMG]

    สิ่งที่ได้ก่อสร้างพร้อมกันนี้มี หอพระไตรปิฎก ภายในบริเวณหอพิพิธภัณฑ์มีกมเลียนล้อมรอบ
    ทั้ง 4 ด้าน แต่ละด้านมีพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ อยู่ตามฝาผนังที่ทำด้วยดินเผา ไม้ และอื่น ๆรวม
    ทั้งหมดมี 6,840 องค์ ส่วนอยู่ด้านบนทำด้วยประทายเพชร มีจำนวน 120 องค์ แม่พิมพ์เดียวกันพระพุทธรูปรวมทั้งหมด ทั้งองค์ใหญ่และเล็กรวมทั้งสิ้น 10,136 องค์ ซึ่งประชาชนได้พร้อมใจกันหล่อนำมาถวาย พระพุทธรูปจำนวนมากมายเหล่านี้หมายถึงศิษยานุศิษย์สาวกของพระพุทธเจ้า ตามพุทธ
    ประวัติได้กล่าวไว้ว่า เวลาพระองค์เสด็จไปแห่งหนใดสาวก และบริวารต้องติดตามเพื่อรับฟังคำโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์มิได้ขาด
    [​IMG]

    พระประธานในสิม

    เดิมเป็นพระพุทธรูปองค์เล็กทำด้วยทองสำริด แต่เจ้าอนุวงศ์ได้ปฏิสังขรณ์ก่อครอบด้วยประทานเพชรฟอกด้วยน้ำปิว และให้พระประธานองค์ใหญ่หันหน้าไปทางด้านเหนือ เพื่อความสะดวกสบายในไปกราบไหว้สักการะบูชา
    ราวเทียน ในสิม
    ราวเทียนในสิม มีความสูงประมาณ 1.88 เมตร กว้าง 2.10 เมตร ซึ่งเป็นศิลปผสมระหว่างล้านช้างกับล้านนา ทำด้วยไม้เนื้อดีและแกะสลักเป็นรูปพญานาคสองตนเอาหางพันกัน เป็นรูปสวยงามซึ่งหมายถึง ความสามัคคีระหว่างล้านช้างและล้านนา ที่พิเศษคือฟอกด้วยน้ำทองคำปิว สร้างในสมัยเดียวกันกับ
    วัดสิสะเกด ศตวรรษที่ 19
    หอพระไตรปิฎก
    สำหรับเก็บรักษาพระไตรปิฎก และตำราคัมภีร์ เอการทางพระพุทธศาสนา ถึงแม้วัดสีสะเกดจะไม่ถูกเผาทำลายเหมือนวัดอื่น ๆ แต่ก็ถูกปล้นสะดมจี้เอาพระไตรปิฎก
    ไปจนหมดเกลี้ยง ปัจจุบันมีเพียงหอพระไตร ที่แสดงไว้ให้แขกต่างด้าวท้าวต่างเมืองมาเที่ยวชม ส่วนของหลังคาหอพระไตรปิฎกจะมีความคล้ายคลึงศิลปะของพม่าเพราะในสมัยนั้น อาจได้รับ
    อิทธิพลจากพม่า นอกจากนี้ยังมีแผ่นศิลาจารึก ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวประวัติของวัดสีสะเกดอีกด้วย
    ในสมัยก่อนวัดสิสะเกดมีอาณาเขตกว้างขวางมากมีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ต่อมาในปี ค.ศ.1963 ได้ตัดเส้นทางใหม่ คือถนนเชษฐาธิราช

    พระธาตุหลวง
    [​IMG]พระธาตุหลวง หรือ พระเจดีย์โลกะจุฬามณี เป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่ง แห่งนครหลวง
    เวียงจันทน์ มี ประวัติกล่าวไว้ ในหนังสือนิทานอุรังคธาตุได้สร้างขึ้นในสมัยเดียวกันกับการตั้ง เมืองเวียงจันทน์ครั้งแรก หลักจากการสร้างพระธาตุพนมแล้ว ผู้สร้างครั้งแรก คือ พระเจ้าจันทบุรีประสิทธิศักดิ์เจ้าครองนครเวียงจันทน์พระองค์แรก พร้อมกับพระอรหันต์ 5 องค์ ดังมีข้อความกล่าวไว้ในหนังสืออุรังคนิทาน ซึ่งขอคัดเอาแต่ใจความสำคัญมากล่าวให้ฟังดังนี้
    “เมื่อพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้วได้ 8 ปีกว่า พระมหากัสปะ เถระ ได้นำเอาอุรังคธาตุคือกระดูกส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้า มาประดิษฐานไว้ที่ ภูกำพร้า
    ซึ่งเรียกว่า “ดอยกะปะนะคีรี(พระธาตุพนมในปัจจุบัน) ในการก่อสร้างพระธาตุครั้งแรกที่ภูกำพร้านั้นได้มีพระกษัตริย์ 5 นครมาร่วมชุมนุมกันคือ
    1. พระยาสุวรรณพิงคาน เจ้าเมืองหนองหานหลวง
    1. พระคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย
    1. พระยานันทะเสน เจ้าเมืองมะรุกขนคร (คือท่าแขก)
    1. พระยาอินทะปัตถะนคร เจ้าเมืองอินทปัตยะ ประเทศเขมร
    5. พระยาจุลณีพรมหัสดี เจ้าเมืองแก้วประกัน (แขวงเชียงขวาง)


    [​IMG]


    ต่อมาพระยาสุวรรณพิงคาน เมืองหนองหานหลวง และพระยาคำแดง เมืองหนองหาน้อย ได้สวรรคต เลย [​IMG]เกิดน้ำท่วมเมืองทั้งสอง ชาวเมืองทั้งสองจึงอพยพหนีขึ้นมา
    ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง โดยมีท้าวคำบาง ซึ่งเป็นน้าของ พระสวรรณพิงคาน เมืองหนองหานหลวง ได้นำบ่าวไพร่และบริวารขึ้นมาตั้ง
    เมืองใหม่อยู่ริมห้วยเก้าเลี้ยว ใกล้กับแม่น้ำโขง ใส่ชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองสุวรรณภูมิ ส่วนบ่าวไพร่บริวาร ก็แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือน
    ในบริเวณรอบ ๆ นั้น
    ในเวลานั้น มีชายคนหนึ่งชื่อ บุรีจัน" ได้พาญาติพี่น้องมาตั้งบ้านอยู่ริมร่องแก ปากหนองคันแทเสื้อน้ำ ซึ่งเรียกว่า
    “บ้านหนองคันแทเสื้อน้ำ”
    ในปางนั้นพระอรหันต์สององค์ เดินทางมาเผยแผ่ที่บ้านหนองคันแท องค์ชื่อ พระมหาพุทธวงศ์
    พักอยู่ที่ริมแม่น้ำโขง และอีกองค์ขื่อ พระมหาสัสดี พักอยู่ป่าโพน เหนือน้ำบึง (อาจจะเป็นวัดพระธาตุฝุ่นในปัจจุบันนี้) บุรีจันทน์ หัวหน้าหมู่บ้านหนองคันแท ได้เป็นผู้อุปฐาก พระอรหันต์สององค์นี้
    ในสมัยเดียวกันนี้ ทางเมืองสาเกตุนคร (เมืองร้อยเอ็ดในปัจจุบัน) เกิดความวุ่นวาย เนื่องด้วยมีข้าศึกจาก กุรุนนคร คือ ทวาราวดีอยุธยา ยกทัพมาตี ชาวเมืองสาเกตุนคร จึงแตกหนีขึ้นมาพึ่งบารมีท้าวคำบาง มีหมื่นหลวงกางโฮง กับ หมื่นนันทะอาฮามได้พาเอา เจ้าสังขวิชากุมาร กับครอบครัวบ่าวไพร่สองแสนคนหนีขึ้นมา ในเวลานั้น เจ้าสังขะวิชา
    ได้พาบ่าวไพร่แสนคนตั้งอยู่บ้าน หนองคาย และขยายมาตามริมแม่น้ำโขง ถึงห้วยบังพวน หมื่นหลวงกางโฮง พาครอบครัว 50,000 คน มาตั้งอยู่ห้วยคุคำ หมื่นนันทะอาฮาม พาครอบครัว 50,000 คน มาตั้งอยู่ริมห้วยนกยุง หรือห้วยน้ำโมง บริเวณนี้จึงมีคนอยู่หนาแน่นต่อมา



    ต่อมา บุรีจัน หัวหน้าบ้านหนองคันแท ได้แต่งงานกับนางอินทะสว่าง ธิดาของ ท้าวคำบาง เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ แล้ว บุรีจัน จึงตั้งบ้านหนองคันแทขึ้นเป็นเมืองเรียกว่า “ เมืองจันทบุรี” ตามนามของตน เมื่อจันทบุรี ตั้งเมืองขึ้นแล้ว จึง จัดแจงแต่งเครื่องราชบรรณาการ ไปถวาย พระเจ้าสุมิตตะธรรมวงศ์ พระเจ้าแผ่นดินแห่งเมือง
    มะรุกขนคร(คือเมืองท่าแขก หรือ ศรีโคตรบูรณ์) องค์เป็นเจ้าแผ่นดินเอกราช พระเจ้าสุมิตตะธรรมวงศ์ จึงแต่งตั้งให้พราหมณ์ 5 คน ขึ้นมาอภิเษกบุรีจัน ให้เป็น เจ้านครจันทบุรี มีพระนามว่า “พระเจ้าจันทบุรีประสิทธิศักดิ์” พร้อม กันนี้ ยังได้พระราชทานนางกัลยานี ที่เป็นเชื้อชาติแขกมาให้สองนาง แล้วพระเจ้าสุมิตตะธรรมวงศ์จึงกำหนดเขตแดนเมืองจันทบุรี ให้คือ “ทางใต้นับจากแม่น้ำกระดิ่งขึ้นมา และฟากแม่น้ำโขง นับแต่ห้วยบางบาดขึ้นมา”
    บุรีจัน เมื่อได้ครองนครเวียงจันทน์แล้ว จึงสร้างสะพานข้ามน้ำบึงไปหาบ้านเก่า และสร้างวัดขึ้นในบ้านเก่านั้น เรียกว่า “วัดสวนอ่วยล่วย” แห่งหนึ่ง สร้างวิหารขึ้นอีก 4 หลัง ที่ป่าใต้ และป่าเหนือ สำหรับให้พระอรหันต์ 4 องค์นั้นอยู่
    ต่อมาพระมหาพุทธวงศ์จึงไปนำเอาพระธาตุพระอรหันต์ มาบรรจุไว้ในวัดป่ามหาพุทธวงศ์ ได้ถมดินลงลึก 5 วา กว้าง 3 วา ก่อด้วยอิฐแดง เป็นรูป ปราสาท เอาแผ่นเงินเรียงปูรองไว้ จึงเอาธาตุลงบรรจุ แล้วเอาหินถมให้แน่น และ ฝั่งหลักศิลาหมายไว้ และหลักศิลานั้น สูง 3 วา กว้าง 1 วา
    ในกาลต่อมา จึงมีพระอรหันต์ 5 องค์ ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า มาจากเมืองราชคฤชค์ ประเทศอินเดีย พระธาตุที่นำมานั้น คือ พระธาตุหัวเหน่า 27 องค์ พระธาตุแข้วฝาง(เขี้ยวฝาง) 7 องค์ พระธาตุฝ่าตีนขวา 9 องค์ เวลาพระอรหันต์ 5 องค์มานั้น ได้ผ่านมาทางเมืองละโว้ (ลพบุรี) และเมืองโคราช แล้วได้เอาพระบรมธาตุไป บรรจุไว้ในที่ต่าง ๆ ดังนี้
    พระธาตุหัวเหน่า บรรจุไว้ที่ภูเขาหลวง หรือภูเขาลวง(เข้าใจว่าเป็นพระธาตุหลวง) เพราะในศิลาจารึกพระธาตุหลวงเรียกว่า “คุยหะถูปาโย” แปลว่า“ ที่ลับคือกระดูกหัวเหน่า” แต่ในหนังสือตำนานพระธาตุบังพวน อยู่บ้านห้วยบังพวน จังหวัดหนองคาย ที่เขียนเป็นอักษรธรรม “เรียกว่าภูเขาลวง คำว่า ลวง แปลว่านาค ดังนั้นภูเขาลวงอาจจะแปลว่า “โพนนาค” หรือโพนชื่อนาค ก็ได้
    พระธาตุฝ่าตีนขวา บรรจุไว้ที่เมืองหล้า หนองคาย (พระธาตุกลางน้ำ)
    พระธาตุแข้วฝาง บรรจุไว้ที่ เวียงงัว และท่าหอแพ (บ้านปะโค เวียงคุก)
    ในการบรรจุพระธาตุหัวเหน่า 27 องค์ ไว้ที่ภูเขาลวงนั้น พระเจ้าจันทบุรีประสิทธิศักดิ์ เจ้านครเวียงจันทน์ ได้เป็นประธานระองค์ได้ให้ก่อ อุโมงค์หินครอบไว้เต้าฝาอุโมงค ์ทั้งสี่ด้าน กว้างด้านละ 5 วา หนา 2 วา และสูงได้ 4 วา 3 ศอก เมื่อได้ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว พระเจ้าจันทบุรี จึงได้มีพระราชดำรัสให้เสนาอำมาตย์สร้างวิหาร ขึ้นในเวียงจันทน์ 5 หลัง เพื่อให้เป็นที่อยู่จำพรรษาของ พระอรหันต์ 5 องค์นั้น
    ครั้นต่อมาพระอรหันต์ 2 องค์ที่อยู่ก่อนนั้น คือพระมหาพุทธวงศ์ ที่อยู่วัดป่ามหาพุทธวงศ์ และพระมหาสัสดี ก็ถึงแก่ปรินิพพาน พระเจ้าจันทบุรี ได้กระทำการฌาปณกิจศพแล้วได้นำเอาพระอัฐิธาตุของพระอรหันต์ 2 องค์ มาบรรจุไว้ ในวัดสวนอ่วยล่วย ที่พระองค์ได้สร้างไว้
    ตามประวัตินี้ พระธาตุหลวงองค์เดิม ที่พระยาจันทบุรีสร้างนี้ จึงสูงเพียงแค่ 4 วา 3 ศอก และกว้างด้านละ 4 วา เท่านั้น​
    สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงสร้างพระธาตุหลวง (พ.ศ.2109 )​
    ประวัติศาสตร์การสร้างเวียงจันทน์ และพระธาตุหลวงเวียจันทน์ ตั้งแต่ดั้งเดิมนั้น คือ พระเจ้าจันทบุรีประสิทธิศักดิ์ (บุรีอ่วยล่วย) และได้สร้างขึ้น ระหว่าง พ.ศ. 238 ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ในสมัยต่อมา ชื่อเสียงของนครเวียงจันทน์ ก็ไม่ได้ปรารฎในหนังสือเรื่องใดอีก ทั้งความสำคัญของเวียงจันทน์และเหตุการณ์บ้านเมืองในเขตนี้ไม่มีเรื่องราวใด กล่าวถึงเวียงจันทน์ ถึงอยางไรก็ตาม เมืองเวียงจันทน์ก็ยังคง เป็นเมืองอยู่อย่างนั้น เพราะว่า ใน ปี พ.ศ. 1828 เมื่อพ่อขุนรามคำแหง ได้ครองกรุงสุโขทัย พระองค์ได้ทำศิลาจารึกบอกเขตแดนเมืองสุโขทัยไว้ว่า
    “ เขตแดนเมืองสุโขทัยนี้ ด้านตะวันออก ถึงเวียงจันทน์ เวียงคำ เป็นที่แล้ว” ตาม จารึกนี้เป็นเวลาก่อนที่เจ้าฟ้างุ่มจะมาตี เวียงจันทน์ และเวียงคำ ถึง 72 ปี ฉะนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า เวียงจันทน์ เวียงคำ นี้เป็นเมืองเก่าแก่มีชื่อมาแล้วแต่โบราณนับเป็นพัน ๆ ปี ดังมีรายชื่อเจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ตาม ที่สืบรู้ในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่สมัยเจ้าฟ้างุ่มลงมา

    1. ท้าวเชียงมุง เป็นเจ้านครเวียงจันทน์ พ.ศ. 1899
    2. พระเจ้าฟ้างุ่มตีเวียงจันทน์ได้ ได้ตั้งให้ บาคุ้ม เป็นหมื่นจัน และเป็นเจ้านครเวียงจันทน์แทน ท้าวเชียงมุง
    3. ท้าววังบุรี โอรสของพระยาสามแสนไท ได้รับตำแหน่งเป็น พระยาเมืองขวา ครองนครเวียงจันทน์ ในระหว่าง พ.ศ. 1960 ท่านผู้นี้ได้สร้าง วัดสีหอม ครอบ อัฐิพระนางมหาไก น้องสาว (ท้าววังบุรี ได้เป็นพระเจ้าไชยะจักรพรรดิ์แผ่นแผ้ว)
    4. เจ้าชายมุ่ย (โอรสของใคร ไม่ปรากฎ) เป็นเจ้าเวียงจันทน์ ระยะหนึ่งแต่ถูกพระเจ้าไชยะจักรพรรดิ์ กำจัดเสีย
    5. พระยาจันหงอก (หลานพระเจ้าไชยจักรพรรดิ์ ในระหว่าง พ.ศ.2022
    6. พระยาแสนสุรินทะลือไชย (ท่านผู้นี้เป็นคนเมืองหนองคาย ภายหลังมาได้เป็นเจ้าแผ่นดินเวียงจันทน์ สืบต่อจากพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช)
    7. พระยาสุริสัทธรรมไตรโลก ( พ.ศ. 2093) ท่านผู้นี้สร้างวัดจันทบุรี และวัด เพียวัด
    ผู้ที่ได้เป็นเจ้าครองนครเวียงจันทน์ ตั้งแต่สมัยเจ้าฟ้างุ่ม มาถึงสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช มีทั้งหมด 7 คน​
    ปี พ.ศ. 2103 สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ลงมาตั้งนครเวียงจันทน์ขึ้นเป็นนครหลวงของประเทศใส่ชื่อว่า
    “นครเวียงจันทบุรีศรีสัตตะนาคนหุตอุตมะราชธานี” แล้วถึงปี พ.ศ.2109 พระองค์จึงได้สร้างพระธาตุหลวงขึ้น ในพระราชอุทยาน ด้านตะวันออกของเมือง โดยสร้างครอบพระธาตุเก่าลูกหนึ่งที่มีมาแต่โบราณ

    การลงมือสร้าง พระองค์ ได้มีพระราชโองการประกาศข่าวให้ประชาชนราษฎรลาวทั่วทั้งแผ่นดินสองฟากฝั่ง แม่น้ำโขงพากันมาสร้างสัญลักษณ์แห่งความหมายว่าพระธาตุ
    ใหญ่องค์นี้คือแรงงานและน้ำใจของชาวลาวร่วมกันเข้าเป็นหนึ่งเดียวและใหญ่โต มโหฬารกว่าพระธาตุใด ๆ ในแผ่นดิน หรือ ชมพูทวีป เริ่มในวันเพ็ญ เดือนอ้าย พระองค์ทั้งเป็น ผู้นำในการก่อสร้าง และนำทัพออกสงครามเพื่อปกป้องรักษาแผ่นดิน
    ในการสร้างพระะธาตุนี้ พระองค์ได้สร้างพระธาตุองค์เล็ก ๆ ล้อมรอบพระธาตุใหญ่ จำนวน 30 องค์ ซึ่งหมายถึงบารมี 30 ทัศ ของพระพุทธเจ้า พระองค์ได้หล่อทองคำบรรจุไว้ในพระธาตุองค์ละ 4 บาท และใช้ทำทองคำหล่อเป็นใบลานจารึก คำสอนของพระพุทธเจ้าไว้
    พอสร้างพระธาตุหลวงเสร็จแล้ว จึงขนานนามพระธาตุนี้ว่า “ พระเจดีย์โลกะจุฬามณี” หรือ “พระธาตุใหญ่” แต่คนส่วนมาก มักเรียกว่า “พระธาตุลวง” เพื่อ อนุรักษ์รักษาให้พระธาตุสภาพเป็นปกติอยู่เสมอพระองค์มีพระราลโองการให้ 35 ครอบครัว อยู่เฝ้ารักษา ซึ่งพระองค์อุทิศไร่น่าให้ทุกครอบครัว เพื่อทำมาหากิน​
    การปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุหลวงในสมัยต่อมา
    พระมหากษัตริย์องเสวยราชสมบัติในนครเวียงจันทน์ ต่อจากพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ไม่ปรากฎพระองค์ได้
    รูปลักษณของพระธาตุหลวง
    เป็นพระธาตุใหญ่สูง 45 เมตร รูปลักษณะคล้ายดอกบัวตูม อันหมายถึงสัญลักษณ์คำสอนของพระพุทธเจ้า มีพระธาตุเล็กอยู่บนพระธาตุใหญ่ชั้นที่สอง รองทั้งสี่ด้าน มี 30 องค์เรียกวา “สัมมติงสบารมี”อยู่ ในธาตุองค์เล็กทั้ง 30 องค์นี้ ผู้สร้างได้นำเอาทองคำมาหล่อเป็นรูปพระธาตุเล็ก ๆ 30 องค์ แต่ละองค์หนัก 4 บาท และเอาทองคำมาตีเป็นแผ่น รุปลักษณะเหมือนใบลาน เรียกว่า “ลานคำ” 30 แผ่น แต่ละแผ่นยาวศอกกำมือ (คือวัดศอก โดยกำมือไว้ ไม่วัดจากปลายมือ กำมือแล้วยื่นนิ้วก้อยออกมา วัดที่สุยปลายนิ้วก้อยเท่านั้น) แล้วเขียนคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลงในใบลานคำทุกใบว่า “เยธัม มา เหตุปปัพวา เตสัง เหตุง คถาคโต เตสัญจะ โย นิโรโธ จะ เอวัง วาทิ มหาสมโณ” แปลว่า “ธรรมทั้งหลายเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้า ตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และเพราะเหตุเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสเช่นนี้”
    แล้วเอาทองคำและใบลานลงไว้ในพื้นธาตุเล็ก ทั้ง 30 องค์ การที่ได้สร้างพระธาตุขนาดเล็กนี้ขึ้นมา มีความหมายว่า “ผู้ ที่จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะต้องได้สร้างคุณงามความดีไว้ให้ถึง 30 ประการ มีทานบารมี เป็นต้น จนถึงอุเบกขา ปรมัตถบารมีเป็นปริโยสาน"
    รูปชั้นล่างสุดเป็นฐานพระธาตุ 4 เหลี่ยม ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกยาวด้านละ 69 เมตร ส่วนทางทิศเหนือและทางทิศใต้ยาวด้านและ 68 เมตร ด้านล่างมีใบเสมรอบ 4 ด้าน มีทั้งหมด 323 ใบ มีหอไหว้ทั้ง 4 ด้าน มีบันใดขึ้นหอไหว้ทุกหอ ที่หอไหว้ทิศตะวันออก ชั้นบนขึ้นไป มีธาตุเล็กองค์หนึ่งที่มีลวดลายสวยงาม และได้สร้างหอครอบไว้อีกชั้นหนอ หอที่สร้างครอบมีลวดลายวิจิตรสวยงามเช่นเดียวกัน ธาตุเล็กนี้เรียกว่า “ พระธาตุศรีธรรมทายโลก
    ด้านที่สอง ถัดจากหอไหว้ขึ้นไป แต่ละด้านยาว 48 เมตร มีกลีบดอกบัวล้อมรอบ ทั้งหมดมีจำนวน 120 กลีบ ภายในกลีบดอกบัวทำด้วยกระดูกงู (เส้นลวดเป็นขอบล้อมทั้ง 4 ด้าน) แล้วตั้งใบเสมาบนกระดูกงูนั้น ใบเสมาในชั้นนี้ จำนวน 228 ใบ ตรงกลางใบเสมาทุกใบเป็นโพลง(ไม่ทะลุ) สำหรับใส่พระพิมพ์ใบละองค์ บนชั้นนี้มีประตูโขงตรงกับทางขึ้นหอไหว้ทั้ง 4 ด้านพอเข้าไปที่ประตูโขงนั้นก็จะพบพระธาตุบารมีที่กล่าวแล้ว และธาตุบารมีก็มีชื่อเรียกทุกองค์ คือเริ่มแต่ทานบารมี ทานอุปบารมีในจนครบ ทั้ง 30 องค์
    ชั้นที่สาม สร้างขึ้นถัดจากพระธาตุองค์เล็ก 30 องค์นั้น ขึ้นไปบนชั้นนี้จะเห็นว่า มีความกว้าง ด้านละ 30 เมตร พื้นด้านที่สามนี้ มีรูปลักษณะเป็นหลังเต่า หรือโอคว่ำ (ขันตักน้ำคว่ำ) อยู่บนชั้นหลังเต่า เป็นฐานของยอดพระธาตุ มีรูปเป็นสี่เหลียมล้อมรอบด้วยกลีบดอกบัวใหญ่ ซึ่งมีปลายกลีบเริ่มบานออก ถัดจากดอกบัวไปจึงมีรูปรัดเอว เหนือจากที่รัดเอวไปจะเป็นฐานจอมธาตุ ฐานนี้จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเหวอ (บาน) ขึ้นด้านบนนิดหน่อย ต่อจากฐานนี้ คนโบราณเรียกว่า “ดวงปี” ดังมีอยู่ในคำกลอนว่า “เจดีย์ดิ้ว ดวงปีพ้นพุ่ง” อยู่บนดวงปี จึงเป็นสเวตฉัตรเป็นยอดพระธาตุที่สูงสุด”
    อยู่รอบฐานะพระธาตุ ก็ได้สร้างบริเวณล้อมรอบติดกันทั้ง 4 ด้าน มีประตูเข้าทั้ง 4 ด้าน ประตูอยู่ระหว่างกลาง บริเวณแต่ละด้านพอดี บริเวณยาวด้านละ 91 เมตร 75 เซนติเมตร
    นอกบริเวณทางทิศเหนือ และทางทิศใต้ มีวัดสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย เรียกว่า “วัดธาตุหลวงเหนือและวัดธาตุหลวงใต้”
    ประเพณีนมัสการพระธาตุหลวง
    ประเพณีบุญนมัสการพระธาตุหลวงนี้ ได้ทำสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณกาล โดยมีพระมหากษัตริย์องค์เป็นประมุขของชาติทรงเป็นประทาน จึงนับว่าบุญนมัสการพระธาตุหลวงนี้เป็นบุญของหลวง โดยแท้
    ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 12 ตอนบ่ายประชาชนทุกภาคส่วน มารวมกันที่ วัดศรีสัตนาค เพื่อแห่ปราสาทผึ้ง และต้นกัลปพกฤษ์ ไปทอดถวายที่วัดศรีเมืองอนค่ำมีงานมหรสมโภชน์ตลอดทั้งคืน
    วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ตอนเช้า ทำพิธีดื่มน้ำพระพิพัธสัจจาอยู่สิมวัดองตื้อ ผู้ที่เข้ารับน้ำสาบาน มีตั้งแต่ระดับหัวหน้าขึ้นไป ถึงคณะรัฐมนตรี
    ตอนบ่าย 2 โมง ประชาชนทุกภาคส่วนตั้งขบวนแห่ปราสาทผึ้ง และต้นกัลปพฤกษ์ ออกไปธาตุหลวง
    เวลาบ่าย 3 โมง ประมุขรัฐ และเจ้านาย ทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ออกไปสู่พระธาตุหลวง เพื่อเป็นเกียรติแห่ปราสาทผึ้งเดินรอบบริเวณพระธาตุหลวงร่วมกับประชาชนที่มา จากทั่วสารทิศ เมื่อเวียนครบ 3 รอบแล้วก็ทำพิธีถวาย ถึงเวลากลางคืนก็มีมหรสพคบงัน
    วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตในบริเวณพระธาตุ แล้วฟังพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ ตอนกลางคืนฉลองเป็นวันสุดท้าย
    วันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 เสร็จงานจากพระธาตุหลวงแล้ว ก็มีการแห่ปราสาทผึ้งมาถวายที่วัดองค์ตื้อ และวัดอินแปง อีกจึงจะถืองานนมัสการพระธาตุหลวงเสร็จสิ้นสมบูรณ์……​
    ดูภาพ และข้อมูลเพิ่มเติม http://www.bondstreettour.com/8_trip_gallery/lao/trip_lao02.htm
     
  16. พุทธเมตตา

    พุทธเมตตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +174
    แนะนำนิดนึงนะครับ วันที่จะเดินทางไปชมบั้งไฟ วันนั้นคนจะเยอะ

    การเดินทาง ต้องเผื่อเวลาด้วย เคยประสบกับตนเองมาแล้วครับ

    เพราะระยะทางแค่ 4 กิโล รถติดยาวววววววววววววววววววววววววววววววมาก

    ขอบคุณครับ

    แนะนำอีกที่นะครับ ถ้าได้ไปแถวนั้นแล้ว วิ่งแถมไปอีกหน่อย กราบพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ด้วยซิครับ

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=bottom background=/images007/gu_07.jpg width="98%" align=middle>
    พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดพระโต บ้านปากแซง
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%"><TBODY><TR><TD><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD>

    <TABLE border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยอิฐผสมปูนขาว ขนาดหน้าตักกว้าง 2.90 เมตร สูง 4.36 เมตร มีอายุเก่าแก่ และเป็นที่เคารพนับถือ ของประชาชนไทยและลาว ปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระโต บ้านปากแซง ต.พะลาน กิ่ง อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี
    <TABLE border=0 width="19%" align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ประวัติความเป็นมา ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ซึ่งได้เล่าสืบทอดกันมากล่าวว่า มีกษัตริย์สมัยขอมพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระยาแข้วเจ็ดถัน ได้เสด็จล่องเรือลงมาตามลำแม่น้ำโขงในฤดูฝน พอถึงบ้านปากแซงก็ค่ำลง จึงได้หยุดประทับแรม 1 คืน วันรุ่งขึ้น พระองค์ได้เสด็จขึ้นไปยังหมู่บ้าน และได้พบกับเจ้ากวนของหมู่บ้านในสมัยนั้น พระยาแข้วเจ็ดถัน ได้ตรัสถามถึงประวัติของหมู่บ้าน เจ้ากวนได้เล่าให้ฟังว่า บ้านนี้มีหาดสวยงามกว้างใหญ่ ในฤดูแล้ง หาดทรายจะโผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำ และหาดทรายแห่งนี้มีสิ่งอัศจรรย์อยู่คือ ถ้าปีใดหาดทรายโผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำระหว่างหมู่บ้าน ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อพระองค์ได้ทราบก็เกิดศรัทธาในใจว่า สักวันหนึ่งจะต้องย้อนกลับมาสร้างหมู่บ้านนี้ให้เป็นเมือง
    ในราว พ.ศ. 1154 พระองค์ ก็ได้เสด็จมา พร้อมด้วยข้าทาสบริวารเป็นจำนวนมาก เมื่อเสด็จมาถึง พระองค์จึงได้มอบให้เจ้าแสง (คงจะเป็นนายชั้นผู้ใหญ่) เป็นคนควบคุมการก่อสร้างพร้อมกันนี้ก็ได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง ซึ่งสร้างแล้วเสร็จเมื่อประมาณ พ.ศ. 1180 และขนานนามว่า พระอินทร์ใส่โฉม (ต่อมาเรียก พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ) เมื่อเจ้าแสงก็ถึงกรรมลง ชาวเมืองได้สร้างหอหลักเมืองขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ และขนานนามว่า หอแสง ต่อมาวัดแห่งนี้ก็ขาดคนบูรณะ และกลายเป็นวัดร้าง จนกระทั่งเวลาผ่านไปหลายร้อยปี ควาญช้างในหมู่บ้านนี้ ได้ไปพบพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว และได้บอกบุญชาวบ้านร่วมกันบูรณะวัดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งและต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดพระโต”
    <TABLE border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2009
  17. Forever In LoVE

    Forever In LoVE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,349
    ค่าพลัง:
    +3,864
    ขอบคุณสำหรับข้อมูล คำแนะนำ และความห่วงใยชาวทริป

    ของคุณสิงหนวัติ
    และ คุณพุทธเมตตา

    และเชื่อว่ายังมีอีกหลายท่านที่ยกมือไปร่วมทริปนี้ด้วยกัน แต่ด้วยภาระกิจที่ต้องรับผิดชอบอยู่ ทำให้ต้องรอทริปหน้านะคะ

    ซึ่งอานิสงส์ใดๆที่หมู่คณะพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ นำทีมโดยอาจารย์คณานันท์ ทวีโภค หรืออาจารย์พี่เล็ก ของน้องๆหลายท่าน ซึ่งจะได้เดินทางไปปฏิบัติทั้งทางโลกและทางธรรมในครั้งนี้ ขอให้ได้รับถึงถ้วนทั่วกันทุกๆท่านค่ะ


    และเพื่อให้การจัดการทริป ในส่วนของพาหนะ, กิจกรรม และ ค่าใช้จ่ายต่างๆ
    เป็นไปโดยสะดวกแก่การประสานงานของทุกๆท่านที่ช่วยเหลือกันอยู่

    (*) ก็จำเป็นต้องขอรับคนผู้ร่วมทริปในครั้งนี้ เพียง 29 ท่าน นี้เท่านั้นค่ะ(*)
    ซึ่งเป็นจำนวนพอดีที่รถตู้ 3 คันค่ะ

    ซึ่งเป็นจำนวนคนที่แจ้งชื่อและข้อมูลการผ่านแดนแ้ล้วทั้งหมดค่ะ



    (*) และในวันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน 52(*)

    ขอเชิญชาวทริปออกพรรษาฯ ร่วมประชุมกันถึงข้อสรุปต่างๆในทริปนี้
    ที่เกาะลอย สวนลุมพินี กทม ค่ะ


    ในวันนั้นอาจารย์พี่เล็กมีสอนสมาธิ นะคะ หากมาช่วงเช้าร่วมปฏิบัติสมาธิด้วยกันก่อนประชุมช่วงบ่ายก็จะเป็นการดีต่อการประชุมค่ะ เพราะจะมีในส่วนของการอธิษฐานจิต ต่อการรอชมบั้งไฟพญานาค ค่ะ พวกเราจะรออยู่ชมบั้งไฟพญานาคกันที่ วัดเทสรังสี ไม่ต้องไปเข้าคิวยาวรถติดในจุดชมบั้งไฟพญานาค จุดอื่นๆนะคะ งานนี้อาจารย์พี่เล็กจะได้กล่าวแนะนำถึงการอธิษฐานขอให้บั้งไฟพญานาคปรากฎเพื่อให้พวกเราได้โมทนาบุญกันที่วัดเทสรังสีค่ะ

    แต่หากช่วงเช้ามีภาระกิจอื่นอยู่ สะดวกมาประชุมในเฉพาะช่วงบ่ายก็ได้ค่ะ

    ซันจะส่ง pm แจ้งทุกๆท่านในทริปนี้ถึงกำหนดการประชุมอีกครั้งนะคะ


     
  18. สังสารวัฏ

    สังสารวัฏ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    562
    ค่าพลัง:
    +5,382
    วันอาทิตย์ที่ 13 ก.ย. 52 ไม่ไปหล่อองค์ปฐมส่วนพระศอ
    ที่วัดหนองหญ้าปล้องกันเหรอค้า ..
     
  19. Forever In LoVE

    Forever In LoVE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,349
    ค่าพลัง:
    +3,864
    พี่ปาฏิหาริย์ ฝากแจ้ง ..ทาง msnว่าให้ถอนชื่อออกจากทริปด้วยค่ะ
     
  20. Forever In LoVE

    Forever In LoVE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,349
    ค่าพลัง:
    +3,864

    มองซ้ายแลขวา .. ไม่เห็นท่านใดจัดไปเลยค่ะ

    ซันไม่มีรถส่วนตัว หากมีพี่ท่านใดจัดไป

    ก็ว่าจะขอติดรถไปกราบพระอาจารย์และร่วมหล่อพระค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...