มาดูสมเด็จกัน

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย wasabi san, 25 พฤศจิกายน 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. cc192

    cc192 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +372
    สวัสดีท่าน xlmen

    เรื่องการศึกษาพระพิมพ์ หรือ พระเครื่อง โดยเฉพาะพระสมเด็จนั้น ผมว่าตลอดอายุของเรา ๆ ท่าน ๆ ก็คงจะรู้ได้ไม่หมดหรอกครับ.... เพราะไม่มีใครรู้ได้หมดทุกเรื่อง ตั้งแต่สร้างองค์พระมา จนถึงปัจจุบันนี้ ..... ถือเสียว่ารุ่นเรามาศึกษา ต่อยอดจากรุ่นก่อน ๆ ที่ได้ทำการศึกษา และมีตำราอ้างอิงไว้

    พระสมเด็จของสมเด็จโตนั้น มีสร้างมาหลายยุค หลายสมัย สร้างในโอกาสต่าง ๆ กัน ก็แยะ สร้างมาหลายสิบปี ..... จะมีแค่ไม่กี่ร้อยองค์ ที่เป็นพิมพ์มาตรฐานที่เซียนใหญ่เขาเล่นหาสะสมกันเท่านั้นหรือที่เป็นพระแท้.....
    เราทุกคนก็ไม่เคยเห็นสภาพการเก็บรักษา การแปรเปลี่ยน การเปลี่ยนแปลง ของพระแต่ละองค์ว่าเป็นมาหรือไร เพราะเกิดไม่ทันกันทั้งนั้น ..... ได้แต่หาเหตุ หาผล เท่าที่หาได้ แล้วจึงมาสันนิษฐานว่า .... เป็นแบบนี้ .... แบบนั้น.....เป็นผลสรุปที่ได้..... ซึ่งอาจถูกบ้าง ผิดบ้างเป็นเรื่องธรรมดา ...... เรื่องนี้ถ้ามีเครื่องมือวิทยาศาสตร์มาตรวจสอบได้ก็จะีดีมากทีเดียว
     
  2. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    [​IMG][​IMG]

    คุณcc192 เรื่องสีของชาด ที่ผมรับได้เพราะการลงชาด มีการลงหลายกาล หลายครั้ง ชาดที่เห็นนี้น่าจะลงที่หลัง เคยเห็นในพระหลวงปู่นาคท่านก็ลงชาดตัวนี้ แดงและบาง แต่ถ้าให้ไปไกลถึงรัตนโกสินทร์ยุคต้น เห็นจะไม่ใช่ เพราะรักช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เนื้อรักจะออกแดงเลือดนกอมสีม่วง

    สรุปว่า การลงรักของพระองค์นี้ลงที่หลัง ถ้าลงนานแล้วหรือตั้งแต่ช่วงที่พระเสร็จหรือได้รับพระใหม่ๆ ผิวน่าจะมีรอยรานเป็นร่างแห มีการหดตัวภายในองค์พระมากกว่านี้นะครับคุณcc192 พระที่ผมเห็นเป็นพระแท้แน่นอน คุณสบายใจได้ครับ


    ส่วนวัดสามปลื้มของคุณxlmen สวยใช่ย่อย

    ผมเลยขออนุญาตเอาเรื่องของรักเก่ามาเล่าใหม่ พระพิมพ์สามเหลี่ยมใหญ่ ฐานผ้าทิพย์ กรุวัดสามปลื้ม ลองเทียบรักดู จะได้เห็นภาพจะได้เพิ่มความเข้าใจมากขึ้นในเรื่องของรัก

    [​IMG]

    คิดๆดู ขอเพิ่มรูปให้คนดู-คนศึกษา จะน่าสะใจขึ้น

    ว่าด้วยเรื่องของรัก wasabi จัดให้ก็แล้วกัน


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5555.jpg
      IMG_5555.jpg
      ขนาดไฟล์:
      417.2 KB
      เปิดดู:
      4,265
    • IMG_รัก.jpg
      IMG_รัก.jpg
      ขนาดไฟล์:
      498.9 KB
      เปิดดู:
      3,458
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กุมภาพันธ์ 2010
  3. behappy99

    behappy99 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +3
    องค์นี้ตกลงก็ยังคงไม่รู้ผู้สร้างต่อไป แต่เป็นสมเด็จแน่ๆ ครับ

    อย่างไรรบกวนผู้รู้ช่วยบอกด้วยนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SomDej.jpg
      SomDej.jpg
      ขนาดไฟล์:
      88 KB
      เปิดดู:
      386
    • SomDej Back.jpg
      SomDej Back.jpg
      ขนาดไฟล์:
      81.2 KB
      เปิดดู:
      182
  4. cc192

    cc192 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +372
    ภาพเล็กเกินไป และไม่ค่อยชัดนัก ขอภาพใหญ่ ๆ หน่อยนะครับ.... เพราะผู้รู้หลาย ๆ ท่านในกระทู้นี้จะช่วยฟันธงให้ครับ....
     
  5. cc192

    cc192 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +372
    ขอบคุณคุณ wasabi san ที่นำความรู้มาแบ่งปัน..... เก๊ หรือ แท้ ก็อยู่ที่องค์พระครับ....

    เรื่องรักนั้น คนสมัยปัจจุบันนี้ ยังแยกกันไม่ออก ระหว่างรักเก่า รักใหม่ ความแห้งของรักที่เห็นเป็นยุคไหน เช่น รัก 50 ปี แห้งขนาดไหน รัก 100 ปี แห้งขนาดไหน เป็นต้น ..... เป็นแต่ รับทราบมากันทั่วไปว่า รักเก่าต้องแดงเพราะมาจากเมืองจีน รักใหม่ต้องเป็นสีดำ แต่ยังไม่ทราบอีกว่า รักแดงนั้นแดงอย่างไร...... เรื่องนี้น่าศึกษาครับ......

    ส่วนเรื่องชาดนั้น ผมเองยังต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกครับ.....
     
  6. cc192

    cc192 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +372
    <a href="http://www.uppicweb.com/show.php?id=b356ba73eaeed66c38a19f999f858e21" target="_blank"><img border="0"
    ลองชมภาพพระที่มีรักเก่า ติดมาแต่เดิม และแห้ง.... น่าศึกษากันครับ

    src="http://www.uppicweb.com/i/ie/bsd2f.jpg" alt="images by uppicweb.com"/></a><br><font size=1>Thanks: <a href="http://www.uppicweb.com" target="_blank">ฝากรูปฟรี</a> <a href="http://www.thaihostweb.com" target="_blank">เว็บโฮสติ้ง</a> <a href="http://www.trip.in.th" target="_blank">ข้อมูลท่องเที่ยว</a></font>
     
  7. cc192

    cc192 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +372
    ภาพไม่ขึ้น ขอลองดูใหม่ครับ....

    [​IMG]
     
  8. cc192

    cc192 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +372
    ภาพมาแล้ว แบบนี้สนุกแน่ครับ.... เพราะภาพใหญ่พอควรที่จะให้ได้พิจารณา และศึกษากันครับ....
    ภาพด้านหลังพระสมเด็จองค์นี้ .... ลองพิจารณารักเก่าที่แห้ง ติดมาแน่นมาแต่เดิมครับ.... อ้อ ลืมบอกไปองค์นี้ เป็นพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เจดีย์ครับ.... ส่วนจะเก๊ หรือแ็ท้ ก็แล้วแต่การพิจารณาของแต่ละท่านครับ....

    [​IMG]
     
  9. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    เอาพระคู่เทียบมาฝาก คุณcc192

    [​IMG]

    ส่วนรักนั้น ผมจะขอเดานะครับ เป็นรักน้ำเกลี้ยงผสมสมุก ไม่ใช่รักจีนนะครับ รักตัวนี้เป็นรักตัวเดียวกับรักในตะกรุดของหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง

    รักสมุกดิบ มาจาก ยางไม้จากต้นรัก เคี้ยวเอาน้ำออกจนเหนียวผสมด้วยผงไม้ใบลานเผาหรือผงถ่านใบตองสด แล้วผสมรักน้ำเกลี้ยงที่มีความใส จึงออกมาเป็นรักที่คุณเห็นกันในพระองค์นี้ ออกจะโบราณสักหน่อย อ่านเอาความรู้ก็แล้วกัน

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กุมภาพันธ์ 2010
  10. cc192

    cc192 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +372
    ขอบคุณคุณ wasabi san ที่นำพระฝาแฝดมาแบ่งกันชมด้วย
    ซึ่งข้อนี้ก็เป็นสิ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า พระสมเด็จ พิมพ์เดียวกันนั้น คงมี
    หลาย ๆ องค์ มิใช่ เพียงไม่กี่องค์ตามที่เขาเล่นหาเชิงพาณิชย์กัน

    องค์ของผมที่ลงรัก นั้นน่าจะมาศึกษากันว่า ลักษณะของรัก และความแห้งของรักนั้น มีอายุสักกี่ปี เกิน 50 ปีไหม หรือ เกิน 100 ปี หรือ กว่านั้น..... เพราะรักที่ติดเคลือบองค์พระอย่างน้อยก็บอกอายุได้เวลาหนึ่ง.....

    พระแบบนี้แหละที่คนสะสมเชิงอนุรักษ์ จะเก็บรักษาไว้ ..... มิใช่ด้วยมูลค่า ราคาเชิงพาณิชย์ แต่ด้วยเพราะความเก่าขององค์พระที่ทำกันไม่ได้ เพื่อการศึกษาต่อ ๆ ไป ....

    ที่จริงแล้วยังมีพระลงรักเก่า อีกหลายองค์ ไว้จะค่อย ๆ นำมาลงให้ศึกษากันครับ.....
     
  11. A-Ho-Si

    A-Ho-Si เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +739
    ใกล้วันวาเลนไทน์ เลยได้อ่านแต่เรื่องรัก รัก
    เมื่อไหนจะได้แต๊ะเอียจากคุณwasabi น้า.....:cool:
     
  12. xlmen

    xlmen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +3,291
    [​IMG]
    องค์นี้ก็แลดูรักสวยดีเหมือนกันครับ....พิมพ์อาจจะไม่ใช่พิมพ์นิยมแต่ก็ถือว่าเป็นพิมพ์ที่แปลกดีครับน่าเก็บเหมือนกันครับ

    ด้านหน้ามีรอยแตกลายงา....ในระดับลึกงามดีแท้ครับ....

    [​IMG]
    ส่วนองค์นี้ถึงแม้ว่าจะแลดูว่าพิมพ์จะเหมือนกับองค์ด้านบน....แต่เนื้อหาของเนื้อพระผมว่าไม่ผ่านนะครับ

    สรุป พิมพ์นี้ไม่น่าจะใช่พิมพ์ของหลวงวิจารครับ....อาจจะเป็นพิมพ์ของหลวงวิจิตรครับ...
     
  13. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    [​IMG]
    องค์นี้จะมีส่วนคล้ายพิมพ์ทางบางขุนพรหม ดูจากเส้นสาย วงแขนกลม ออกไปทางหลวงวิจารณ์มากกว่า

    ถ้าเป็นพระของท่านหลวงวิจิตรนฤมลแกะแม่พิมพ์ เนื้อพระเป็นพระยุคปลาย บางองค์มีรอยย่นถึงรานทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เนื่องจากการผสมที่มีสัดส่วนต่างกัน เส้นสายจะคม มีการหักมุมที่คมกว่า
    ผมเอาพระสมเด็จวัดระฆัง ทรงเจดีีย์ที่ท่านแกะพิมพ์มาให้ดู

    3.สมเด็จวังหลัง กรมหมื่นอดุลย์ลักษณสมบัติ์ สมัยรัชกาลที่4 ทรงให้เจ้ากรมช่างสิบหมู่ หลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง จิตรปฏิมากร) แกะพิมพ์ลักษณะสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ถวายสมเด็จโต เป็นพิมพ์ทรงชลูด ทรงต้อลังกา ทรงกรวย ทรงโย้เกศเอียง พิมพ์จะลึกกว่ายุคต้น องค์พระเส้นซุ้มเล็กโปร่งบาง เน้นความเรียบร้อย ความอ่อนช้อยสวยงามเป็นหลัก เส้นซุ้มจะเรียบมีขนาดกลาง มักจะทารงค์ - ลงรัก - ชาด - ทอง - เทือก เพื่อรักษาเนื้อพระไม่ให้แตกหัก ปัจจุบันรักชาด ทองเทือก จะร่อนหลุดแล้ว เหลือเป็นบางจุด ทำให้พื้นผิวพระจะแตกเป็นลายงาหรือลายสังคโลก มวลสารละเอียดเพราะใช้เครื่องบดยามาบดผงพระ มีพิมพ์ที่งดงามอยู่หลายพิมพ์เช่น พิมพ์เกศทะลุซุ้ม พิมพ์ทรงเทวดา พิมพ์ทรงเจดีย์ ไม่มีฐานปิดพิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ซุ้มระฆัง เป็นต้น

    [​IMG]

    องค์นี้ไม่ใช่ของผม
    อ้างอิง:พระสมเด็จวัดระฆัง-สำนักกฎหมาย

    [​IMG]

    ส่วนฐานแซมองค์นี้เป็นของผมเอง องค์นี้น่าจะเป็นของท่านหลวงวิจิตรนฤมลแกะแม่พิมพ์เช่นกัน อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ไม่ใช่ข้อยุติในการวิเคราะห์ แต่ที่เขียนอย่างนี้เพราะดูจากสาระมวลสาร การแตกรานบนผิว ปลิแตกขององค์พระ องค์นี้ยังขาดความความหนึกนุ่มในสายตาผม ผมเชื่อว่าถ้าได้คล้องสัก 1-2 ปี องค์นี้จะดูหนึกนุ่มกว่านี้มาก การหดตัวยุบตัวจะเห็นได้ชัดเจน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 20091112_55411.jpg
      20091112_55411.jpg
      ขนาดไฟล์:
      380 KB
      เปิดดู:
      4,629
    • IMG_383.jpg
      IMG_383.jpg
      ขนาดไฟล์:
      190.1 KB
      เปิดดู:
      3,110
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2010
  14. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    กรมหมื่นอดุลย์ลักษณสมบัติ์ สมัยรัชกาลที่4 ทรงให้เจ้ากรมช่างสิบหมู่ หลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง จิตรปฏิมากร) แกะพิมพ์ลักษณะสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ถวายสมเด็จโต เป็นพิมพ์ทรงชลูด ทรงต้อลังกา ทรงกรวย ทรงโย้เกศเอียง พิมพ์จะลึกกว่ายุคต้น องค์พระเส้นซุ้มเล็กโปร่งบาง เน้นความเรียบร้อย ความอ่อนช้อยสวยงามเป็นหลัก เส้นซุ้มจะเรียบมีขนาดกลาง มักจะทารงค์ - ลงรัก - ชาด - ทอง - เทือก เพื่อรักษาเนื้อพระไม่ให้แตกหัก ปัจจุบันรักชาด ทองเทือก จะร่อนหลุดแล้ว เหลือเป็นบางจุด ทำให้พื้นผิวพระจะแตกเป็นลายงาหรือลายสังคโลก มวลสารละเอียดเพราะใช้เครื่องบดยามาบดผงพระ มีพิมพ์ที่งดงามอยู่หลายพิมพ์เช่น พิมพ์เกศทะลุซุ้ม พิมพ์ทรงเทวดา พิมพ์ทรงเจดีย์ ไม่มีฐานปิดพิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ซุ้มระฆัง เป็นต้น

    มาดูกันชัดๆว่า

    พื้นผิวพระจะแตกลายงาหรือลายสังคโลก เป็นอย่างไร
    [​IMG]

    พระเกศทะลุซุ้มเป็นอย่างไร

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. xlmen

    xlmen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +3,291
    การจะวิเคราะห์เพียงแค่ว่าพิมพ์สวยเป็นหลวงวิจารณ์ หรือพิมพ์ที่สวยน้อยกว่าเป็นหลวงวิจิตรนั้น

    ผมมองว่า สมัยที่หลวงวิจารณ์เริ่มมีการแกะพิมพ์แก้ไขพิมพ์เดิมที่หลวงวิจิตร ทำไปนั้น

    ตามธรรมดาเจ้าของพิมพ์เดิมก็น่าจะมีการพัฒนาแม่พิมพ์ของตนเองต่อไปในรุ่นต่อๆ ไปครับ

    จะเป็นเรื่องที่ผิดปกติวิสัยของมนุษย์อย่างยิ่งถ้ามีใครแกะพิมพ์สวยกว่าแล้วตนเองไม่ปรับปรุงแก้ไขพิมพ์เพื่อพัฒนาตนเองครับ

    แต่ถึงจะมีการพัฒนาพิมพ์ก็ตาม....เอกลักษณ์ของช่าง หรือเคล็ดกลวิธีในการแกะพิมพ์ก็ยังแตกต่างกันอยู่ดีครับ.....

    ถ้าเป็นพิมพ์ที่หลวงวิจารณ์แกะเองจริงๆ เอกลักษณ์ที่ตายตัวเลยก็คือ ช่องแขนทั้ง 2 ข้างจะต้องสูงไม่เท่ากันครับ....ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนจะเหมือนกันหมดครับ

    ระนาบการเอียงขององค์พระจะต้องเอียงไปทางขวานิดๆ ตลอดทั้งองค์ การรับกันของฐานสิงห์ หมอนรองอาสนะ ขาขององค์พระไปถึงเกศจะต้องเอียงขวานิดๆ รับกันตลอดองค์....การลาดเอียงจะต้องไม่ขัดแย้งกันครับ


    ถ้าผิดจากนี้ก็ไม่ใช่หลวงวิจารณ์แกะพิมพ์แน่นอนครับ....

    ผมจึงคิดว่าพิมพ์นี้เป็นหลวงวิจิตแกะพิมพ์สมัยยุคหลังๆ ที่หลวงวิจารณ์ได้พัฒนาพิมพ์ไปแล้วซักระยะหนึ่งครับ

    สรุป ก็คือเรื่องนี้เป็นเพียงดุลย์พินิจส่วนตัวของผมนะครับหาใช่ข้อเท็จจริงที่ชี้ขาดว่าใครถูกหรือใครผิดขอรับ
     
  16. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915

    ต้องขอขอบคุณ คุณxlmen ในความรู้ดีๆที่นำมาเผยแพร่ ทุกอย่างล้วนมีประโยชน์ในเชิงการวิเคราะห์ทั้งสิ้น

    อนุโมทนากับทุกท่านที่ขวนขวายหาความรู้ เพื่อเป็นเครื่องเตือน-ระวังในการศึกษาพระเครื่องทุกคน
     
  17. cc192

    cc192 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +372
    มารับข้อมูลดี ๆ ของทั้งคุณ wasabi san และคุณ xlmen ด้วยความขอบคุณ

    นี่ก็เป็นพระสมเด็จอีกพิมพ์หนึ่ง นำมาแบ่งกันศึกษาครับ.....

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  18. xlmen

    xlmen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +3,291
    [​IMG]

    สำหรับองค์นี้ถ้าเป็นหลักสากลนั้น....ในวงการเขาไม่เล่นกันครับ

    ลักษณะของสีเนื้อหาใช่ปูนเปลือกหอยครับ....แต่เป็นปูนปอตแลนด์ที่ใช้ในการสร้างพระบางขุนพรหมครับ

    การสร้างพระบางขุนพรหมบรรจุกรุนั้นได้เริ่มมีการนำปูนปอตแลนด์ของฝรั่งนำมาใช้ในการผสมพระเนื่องจากหาง่าย ราคาถูก วิธีการทำไม่ยุ่งยาก

    ลักษณะปูนประเภทนี้จะอกสีอมเขียวแบบองค์นี้แหละครับ....ถ้าสีปูนผิดไปจากนี้ (เฉพาะพระที่ไม่บรรจุกรุ)
    จะถือว่าผิดเนื้อ ผิดสี ทันทีครับ

    สำหรับองค์นี้นั้นผมคิดว่าเป็นบางขุนพรหมรุ่นตกเบ็ดครับ....น่าจะตกเบ็ดหลังจากนำพระบรรจุกรุได้เพียงไม่นานนักเพราะคราบกรุไม่มีให้เห็นซักเท่าไหร่ครับ

    มวลสารในเนื้อพระพวกว่าน เกสรดอกไม้น้อยมากครับไม่ใช่วัดระฆังแน่นอนครับ
    หลวงวิจารณ์เป็นผู้แกะพิมพ์ครับ
     
  19. xlmen

    xlmen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +3,291
    คุณ cc192<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2957440", true); </SCRIPT>
    นำพระสวยมาลงอีกแล้ว.......ช่างมีวาสนากับสมเด็จซะยิ่งกระไร หุหุหุ

    [​IMG]

    องค์นี้เป็นพระสวยอีกพิมพ์นึงที่หาชมได้ยากเช่นกันครับ.....เสียดายที่วงการไม่เล่นหากันครับ

    องค์นี้พิมพ์เกศโย้ เคียรกลม คอยาว แขนกล้าม ฐานหมอน และฐานสิงห์หนาใหญ่
    ถ้าออกแนวนี้ก็ต้องเป็นหลวงวิจิตรแกะพิมพ์ถวายแน่นอนครับ

    ตามองค์พระทั้งหน้า-หลัง มีคราบน้ำอ้อยเคี่ยวติดอยู่ ไม่ใช่ตั่งอิ๋ว
    เนื้อพระแตกรานในระดับลึก งดงามเชียวครับ

    เนื่องจากพิมพ์นี้ไม่ใช่พิมพ์นิยม จึงไม่น่าจะมีการทำปลอมขึ้นครับ..

    สรุป องค์นี้ผมขอได้ป่ะคุณ cc192<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2957440", true); </SCRIPT> อิอิอิ
     
  20. cc192

    cc192 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +372
    ต้องขอบคุณ คุณ xlmen ที่กรุณาวิจารณ์พระองค์นี้ให้ด้วย อันที่จริงผมเองได้พระชุดที่นำมาให้ชมแต่ละองค์นี้มาจากบ้านคุณหลวงท่านหนึ่ง ที่ตกทอดกันมาสู่ลูก สู่หลาน จนถึงมือผม.... เห็นว่าพิมพ์ทรงไม่เหมือนพิมพ์มาตรฐานเขา ก็ไม่ค่อยกล้านำมามาให้ชมกันหรอก เพราะไม่อยากให้คนที่ไม่มีความรู้ (ที่ยังไม่ทราบว่าตนเองนั้นไม่รู้) มาวิพากวิจารณ์ ...... ด้วยคำสั้น ๆ ที่ได้ยินกันบ่อยว่า "ผิดเนื้อ ผิดพิมพ์" โดยไม่มีคำอธิบายอะไรเป็นแก่นสาร พอดีมาเห็นกระทู้นี้ มีูผู้รู้หลายท่าน จึงนิมนต์มาให้ดูกันครับ...

    ส่วนองค์นี้คุณ xlmen ขอมา ผมก็ให้ได้เหมือนกัน ...... แต่เป็นภาพองค์นี้นะครับ..... อิอิ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...