พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ถ้ามีคู่กัน จะดีมาก

    แต่ถ้าไม่มีตะกรุด ก็ยังใช้ได้อยู่ครับ
     
  2. chantasakuldecha

    chantasakuldecha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,331
    ขอด้วยคนครับ...........
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สำหรับท่านที่มีตะกรุด ผมได้ส่งให้แล้วนะครับ

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ความรู้ใหม่ๆ มาอยู่เป็นประจำ สำหรับพระวังหน้า หรือ พระพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับพระวังหน้า

    ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าอึ้ง ทึ่ง มึน งง และอัศจรรย์ ครับ

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระนางพญากรุสุดสวาท สีสวาทนิยมสุด

    คัดลอกจาก หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก โดย พล.ต.ต.ศิลป์พร ภูมะธน


    หากกล่าวถึงพระเครื่องเมือง"พิษณุโลก"แล้วนักเลงพระส่วนใหญ่จะต้องนึกถึง "พระนางพญา กรุวัดนางพญา" นับเป็นพระเครื่องยอดปรารถนาของนักเลงพระทั่วไป เป็น 1ใน 5 ของพระชุดเบญจภาคีที่หายากยิ่งและมีราคาแพงมาก แต่ในความทรงจำของนักเลงพระรุ่นเก่าๆสมัยคุณปู่คุณตาและคุณพ่อ ยังคงกล่าวขวัญถึง"พระนางพญา"อีกกรุหนึ่ง ก็คือ "พระนางพญา กรุวัดสุดสวาสดิ์" หรือที่เซียนพระบางท่านเรียกว่า "พระนางพญาสุดสวาท"อันเนื่องมาจากพระกรุนี้บางองค์มีเนื้อพระ "สีสวาด" (คือสีเทาอมเขียว) (สวาด,สวาท,สวาสดิ์ มีความหมายว่า "รักใคร่ ยินดี")

    วัดสุดสวาสดิ์ อยู่หมู่ที่ 3 บ้านบางสะแก ต.บ้านคลอง อ.เมืองจ.พิษณุโลก จากนิตยสารรายสองเดือน"ศิลปากร" ของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการปีที่ 38 ฉบับที่2 มีนาคม-เมษายน 2538 หน้าในปกท้าย อธิบายไว้ว่า "....วัดสุดสวาสดิ์เป็นวัดร้าง เหลือเพียงเนินดินร่องรอยแห่งซากเจดีย์เก่าซึ่งกลายเป็นทุ่งนาไปแล้วพระเครื่องจากกรุนี้ได้มีผู้ค้นพบปีพ.ศ.2465 มีพระขึ้นจากกรุประมาณ400 องค์เศษพุทธศิลป์อยุธยา ยุคเดียวกัน หรืออาจจะก่อนหน้าพระนางพญา วัดนางพญาพิษณุโลกเชื่อกันว่า "พระวิสุทธิกษัตรี" พระราชธิดาใน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ทรงเป็นพระมเหสีของ พระมหาธรรมราชา และทรงเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระนเรศวร และ สมเด็จพระเอกาทศรถ โปรดให้จัดสร้างขึ้น

    พระนางพญาสุดสวาทหาชมได้ยากมาก ในปัจจุบัน..." (เขียนโดย...คุณทรงวิทย์แก้วศรี)

    และจากหนังสือ "นครสุโขทัย" หน้า 157 โดยคุณสรวง ปุญญฤทธิ์ กล่าวไว้ว่า "....ขึ้นชื่อว่า "พระพิมพ์สุดสวาท" แล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกันนักบางคนถือว่าจะหาพระเครื่องอื่นใดเปรียบให้เสมอเหมือนได้ยากสันนิษฐานว่าสร้างสมัยเดียว อาจารย์เดียวกับพระพิมพ์นางพญา กรุวัดนางพญา พิษณุโลก"

    ด้วยเหตุที่ "พระนางพญาสุดสวาท" หาชมได้ยากมากนี่เองกลับเป็นแรงจูงใจให้นักเลงพระรุ่นใหม่กลุ่มหนึ่ง นำโดยคุณสันต์ วิวัฒนวาณิชย์ และเพื่อนซึ่งต่างมีความศรัทธาพระกรุนี้ ร่วมแรงร่วมใจกันติดตามค้นหาใช้ความพยายามอยู่นานจึงเช่าพระได้มาบ้าง ทำให้พระที่เกือบจะสูญหายไป จากตลาดพระกลับมาสดใสขึ้นอีกวาระหนึ่ง


    สำหรับ "สีของพระนางพญาสุดสวาท" ชุดนี้มีอยู่ด้วยกัน 6 สี ได้แก่ สีเหลือง สีเขียว สีแดงสีดำ สีผ่าน (หรือ 2 สี เท่าที่ปรากฎมี สีแดงดำ แดงเขียว สวาทดำ) และสีสวาทสีคล้ายลูกสวาท หรือสีเทาอมเขียว มีทั้งเทาอ่อนและเทาแก่เกือบดำนับได้ว่าเป็นพระชุดที่มีสีแปลกแตกต่างไปจากพระกรุอื่นๆ ของจังหวัดพิษณุโลกสีสวาทนี้เป็นสีที่มีเฉพาะกรุนี้กรุเดียวและพระองค์ที่มีสวาทจะมีราคาแพงกว่าสีอื่นๆ อีกด้วย

    หลักการพิจารณา"พระนางพญาสุดสวาท"

    1.กรอบพระด้านขวา(องค์พระ)จะเป็น เส้นคู่ขนาน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพระกรุนี้ ต้องจำให้แม่นยำ เว้นเฉพาะ "พระพิมพ์อกนูน" จะไม่มีเส้นคู่ขนานที่ว่านี้
    2.พิจารณาจากคราบราดำเพราะพระกรุนี้อายุหลายร้อยปี อยู่ในกรุและจมดินอยู่นานพระบางองค์จะเกิดคราบราดำเกาะติดอยู่ไม่มากก็น้อยเฉพาะพระสีดำหรือสีเขียวแก่มักจะปรากฏ คราบสีขาว แต่เท่าที่ผู้เขียนเห็นพระหลายองค์พระบางองค์ ก็มีทั้งคราบราดำและคราบสีขาว ในองค์เดียวกัน
    3.หากพระที่ท่านพบหรือได้มาเป็นสีสวาทเทา เชื่อได้ว่าเป็นพระแท้เพราะเป็นสีเฉพาะของพระกรุนี้เท่านั้น
    4.พิจารณาจากแร่ดอกมะขามหากพระองค์ใดถูกใช้มาแล้วจะปรากฏให้เห็น โดยเฉพาะพิมพ์หูถ่างจะพบแร่ดอกมะขามมากกว่าพิมพ์อื่นๆ
    5.พิจารณาจากแร่ทรายทอง เพราะพระบางองค์จะมีทรายสีทองปรากฏให้เห็น

    ปัจจุบัน "วัดสุดสวาสดิ์" มิได้เป็นวัดร้างดังเช่นแต่ก่อนอีกแล้ว เพราะชาวบ้านบางสะแกและบุคคลในตระกูล"อมรวิวัฒน์" ได้ร่วมใจกันพัฒนาก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะวัตถุ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่บ้านเกิด โดยมีนายโชจันทรโชติ เป็นผู้แทนชาวบ้านทำหนังสือถึงนายอำเภอ เมืองพิษณุโลกเพื่อขอยกฐานะ"วัดสุดสวาสดิ์"ขึ้นเป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา

    พร้อมกับทำหนังสือขออนุญาตอาราธนา "พระภิกษุสมปอง ตโมนุโท" จากเจ้าอาวาสวัดราชบูรณะ จ.พิษณุโลกเข้าไปจำพรรษาและเป็นพระภิกษุหัวหน้าปกครองวัดสุดสวาสดิ์...จนถึงทุกวันนี้<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    ผู้เขียนมีโอกาสเห็นพระชุดนี้หลายองค์ จึงใคร่ขอจำแนกพิมพ์ โดยอาศัยคำบอกเล่าของนักเลงพระรุ่นเก่าๆ ประกอบกับการพิจารณาจากที่ได้เห็น ในขณะนี้ สรุปได้ดังนี้ หน้าเอียง 1 หน้าตรง 2 <O:p></O:p>
    พิมพ์ต่างๆมีดังนี้ครับ
    1.พิมพ์หูชิดหรือ หูกระต่ายพระพิมพ์นี้ นับว่าเป็นพระที่มีความงามกว่าทุกๆ พิมพ์ของพระกรุนี้เริ่มแต่พระเกตุมาลาที่เรียวแหลม พระกรรณ สองข้างแนบชิดพระพักตร์อย่างสมส่วนพระพักตร์แบบผลมะตูมมีทั้งเอียงขวา(องค์พระ)เล็กน้อย และพระพักตร์ตั้งตรงสังฆาฏิคมชัดทั้งสองเส้น และองค์พระโดยรวมแล้วจะมีขนาดเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ
    2.พิมพ์สังฆาฎิปลายพระกรรณด้านขวา(องค์พระ)กางออกมาผิดจากพระพิมพ์แรก และเห็นได้อย่างชัดเจนและมีสังฆาฏิเหมือนกับพิมพ์แรก พระเกตุมาลาไม่ค่อยชัดเจนเท่าที่พบขณะนี้แยกได้เป็นพิมพ์เล็กกับพิมพ์ใหญ่
    3.พิมพ์หูถ่าง หรือพิมพ์หูช้างเป็นพระที่มีพระกรรณด้านซ้าย (พระ) ใหญ่มากและถ่างออกมามากกว่าพิมพ์อื่นๆ เส้นสังฆาฏิจะเป็นเส้นคู่ขนานกัน มีเนื้อละเอียดนุ่มกว่าพิมพ์อื่นๆ บางองค์มีแร่ดอกมะขามปรากฎให้เห็นอีกด้วย มีอยู่สองพิมพ์คือพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่
    4.พิมพ์ตุ๊กตาพระกรรณทั้งสองข้างแตกต่างไปจากสามพิมพ์แรกคือพระกรรณทั้งสองข้างอยู่ขนาบข้างพระพักตร์ โดยอยู่ลอยๆ ไม่มีส่วนใดติดพระพักตร์เลย และพระกโบร(ข้อศอก)ซ้าย(องค์พระ)หักฉาก
    5.พิมพ์อกนูนพระพิมพ์นี้มีรูปสัญลักษณ์ใกล้เคียงกับพระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์อกนูน มากทีเดียว ทรงพิมพ์ของพระโดยทั่วไปไม่ค่อยชัดเจนเท่าใดนัก พระที่พบขณะนี้มีไม่กี่องค์ กรอบพระด้านขวา(องค์พระ)ก็ไม่เป็นเส้นคู่ขนานมีนักเลงพระบางท่านเรียกว่าพระพิมพ์นี้ว่า "พิมพ์เทวดา"
    6.พิมพ์หูแหลมพระกรรณทั้งสองข้างของพระพิมพ์นี้แนบพระพักตร์ยาวลงมาจนจรดพระอังสา(บ่า)ปลายพระกรรณเรียวแหลม พระเกตุมาลา เล็กแหลมกว่าทุกพิมพ์ พิมพ์หูชี้
    7.พิมพ์หูชี้พระกโบร(ข้อศอก)ทั้งสองข้างกางออกต่างจากพิมพ์อื่นๆโดยที่พระกรรณทั้งสองข้างแนบพระพักตร์ แต่ปลายพระกรรณทั้งสอง ข้างกลับชี้ออก
    8.พิมพ์หูติดบ่าเป็นพิมพ์ที่พระกรรณของพระทั้งสองข้างยาวลงมาจนถึงพระอังสา(บ่า)อีกพิมพ์หนึ่งโดยพระกรรณเป็นเส้นนูนขนาดใหญ่ ปลายพระกรรณทั้งสองข้างไม่เรียวแหลมเช่นพิมพ์ที่ 6 หรือพิมพ์หูแหลม


    พระนางพญากรุสุดสวาท สีสวาทนิยมสุด พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภฦlt;/a>


    .

    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระนางพญาพิษณุโลกราชินีในเบญจภาคี

    พระนางพญาพิษณุโลก เป็นอีกหนึ่งในพระชุดเบญจภาคี จัดว่าเป็นพระชั้นนำแห่งยุคนิยม เรียกกันว่าเป็น "ราชินีแห่งพระเครื่อง" เป็นพระเครื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของเมืองพิษณุโลก พระนางพญาพิษณุโลก เป็นพระเครื่องที่พบอยู่ในพระเจดีย์ และบริเวณวัดนางพญา ในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก ริมแม่น้ำน่าน ซึ่งเดิมนั้นเป็นวัดเดียวกันกับวัดราชบูรณะ ซึ่งเป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชที่สำคัญยิ่ง และเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง

    วัดราชบูรณะเป็นวัดที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาเป็นผู้สร้างขึ้นมา แล้วก็ถือว่าเป็นวัดหลวงวัดใหญ่ ต่อมาทางการได้ตัดถนนผ่านกลางพื้นที่วัด จึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน แต่ก็ยังเป็นวัดราชบูรณะอยู่ จนกระทั่งมีการพบพระนางพญา ก็มีการแบ่งแยกฝั่งที่ไม่ใช่เจดีย์ใหญ่ คือฝั่งที่เจอพระนางพญาที่มีเจดีย์เล็กกว่าว่า "วัดนางพญา"

    พระนางพญาพิษณุโลก สร้างโดยพระวิสุทธิกษัตริย์ พระมเหสีของพระมหาธรรมราชา และทรงเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงสร้างพระนางพญาขึ้น บรรจุไว้ในเจดีย์วัดราชบูรณะ ในราวปี พ.ศ.2090-2100 เหตุที่สร้างก็เพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาตามคตินิยมมาแต่โบราณกาล ตามความเชื่อและคตินิยมของคนในสมัยนั้น และเพื่อเสริมสร้างบารมีให้แก่ผู้สร้าง ในครั้งที่ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะ ซึ่งเป็นวัดที่สร้างโดยพระมหาธรรมราชา

    สมัยนั้นพิษณุโลกเป็นเมืองลูกหลวง ขณะนั้นพระองค์ดำรงพระอิสริยยศเป็นแม่เมืองสองแคว และพระมหาธรรมราชาทรงพระอิสริยยศที่ พระอุปราช แห่งแผ่นดินพระมหาจักรพรรดิ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

    พระนางพญาถูกค้นพบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ.2444 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ครั้งที่พระองค์เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เพื่อทรงทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง เพื่อนำมาเป็นพระประธานที่วัดเบญจมบพิตร และได้เสด็จวัดนางพญา เมื่อเสด็จฯ ถึงเมืองพิษณุโลก ทางจังหวัดได้เตรียมการต้อนรับเสด็จฯ ที่วัดนางพญา จึงมีการปรับพื้นที่และขุดหลุมเพื่อฝังเสาจัดสร้างปะรำพิธี ได้พบพระเครื่องจำนวนมาก ก็คือพระนางพญานั่นเอง ทางจังหวัดและเจ้าอาวาสวัดได้ทำการเก็บพระเครื่องที่พบเหล่านั้นไว้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ ถึง จึงได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย พระองค์ได้พระราชทานแจกจ่ายแก่ประชาชน และข้าราชบริพารที่ตามเสด็จฯ พระเครื่องที่เหลือก็นำกลับกรุงเทพฯ
    พระนางพญามีลักษณะเป็นพระพุทธปฏิมาแบบนูนต่ำ ในรูปทรงสามเหลี่ยมทุกพิมพ์ ประทับนั่งปางมารวิชัย ไม่มีอาสนะหรือฐานรองรับ รูปทรงอ่อนหวานละมุนละไมและงามสง่า งดงามแทบทุกพิมพ์ โดยเฉพาะจะเน้นบริเวณอกที่ตั้งนูนเด่นและลำแขนทอด อ่อนช้อยคล้ายกับ "ผู้หญิง" จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่า พระพิมพ์นางพญา อีกประการหนึ่งใช้ชื่อตามผู้สร้างคือ "พระวิสุทธิกษัตรีย์" นั่นเอง พิมพ์ทรงของพระนางพญา หากดูในเรื่องสัดส่วน ทรวดทรง ศิลปะ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย จะเห็นว่าน่าได้จะรับอิทธิพลทางพุทธศิลป์มาจากสกุลช่างสุโขทัยในพระราชสำนักโดยตรง เพราะว่าความสัมพันธ์ระหว่างเมืองพิษณุโลกและสุโขทัย มีความใกล้ชิดกันมาตั้งแต่ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองเป็นใหญ่ในดินแดนภาคเหนือ อาจกล่าวได้ว่า การสร้างพระนางพญาเป็นการสืบสานพุทธศิลปะสมัยสุโขทัยในรูปพระเครื่องอีกประการหนึ่ง

    ลักษณะของเนื้อพระนางพญา เป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ 108 ชนิด ตลอดจนมีแร่ กรวด ทรายต่างๆ เมื่อกดพิมพ์และตากแห้งแล้วจึงนำไปเผา อาจแบ่งเนื้อพระนางพญาออกได้ 2 ประเภทคือ
    1.เนื้อละเอียด คือ เนื้อพระจะมีส่วนผสมของว่านและเกสรดอกไม้มาก แต่มีแร่ กรวด ทรายน้อย หรือเกือบไม่มี ทำให้เนื้อพระดูหนึกนุ่มและสวยงาม แต่พบจำนวนน้อย
    2.เนื้อหยาบ คือ มีเนื้อพระผสมว่านน้อยหรืออาจจะไม่มีเลย จะมีส่วนผสมของแร่ กรวด ทรายมาก เนื้อพระจึงดูค่อนข้างหยาบ แกร่ง และแข็งมาก จะพบมากกว่าเนื้อละเอียด ถ้าหากนำไปใช้เนื้อพระสึกจะพบแร่ทรายปรากฏบนเนื้อขององค์พระ ที่เรียกว่า "แร่ลอย"

    พระนางพญา เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อหยาบที่สุดในบรรดาพระเนื้อดินชุดเบญจภาคี มีสีสันของเนื้อพระเนื้อดินเผาทั่วไปคือ เนื้อสีอิฐ เนื้อแดง เนื้อเหลือง เนื้อเขียว เนื้อดำ ส่วนมากจะพบเนื้อเหลืองนวล จุดเด่นของเนื้อพระนางพญา คือ มวลดินประเภทเม็ดทรายที่แทรกปนอยู่ในเนื้อเป็นจำนวนมาก เรียกกันว่าเม็ดแร่ ขนาดสัณฐานของเม็ดทรายจะต้องใกล้เคียงกัน และกลมกลืนไม่เป็นเหลี่ยมคมอยู่ทั่วองค์พระ เพราะเป็นเนื้อที่ผ่านการกรองมาแล้ว พระนางพญาในองค์ที่ยังไม่ผ่านการใช้ จะมีลักษณะของผิวมีคราบนวลขาวบางๆ ฝังแน่นอยู่ในเนื้อองค์พระ ลักษณะด้านข้างจะเห็นรอยตัดตอกครูดเป็นแนวเฉียง หรือแนวราบตามยาว และมีแร่โผล่ ขอบจะมีความคมโดยรอบ มีรอยมือจับยกออกจากพิมพ์ ซึ่งมักจะพบตามมุมบนหรือมุมซ้าย

    ลักษณะของด้านหลังพระนางพญา
    1.จะพบรอยยุบตามธรรมชาติของเนื้อดิน และรอยปูดคล้ายผิวของมะระ ซึ่งเกิดจากการดันตัวของเม็ดแร่
    2.มีลายมือกดพิมพ์ทุกองค์
    3.ปรากฏเม็ดแร่และผุดขึ้นมาบนพื้นผิวเนื้อขององค์พระ
    4.รอยครูดที่เกิดจากการพิมพ์พระและรอยบุบย่นขณะที่ดันพระออกจากพิมพ์
    5.คราบราดำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
    6.ว่านดอกมะขามเห็นได้อย่างชัดเจน
    7.คราบกรุที่เกิดจากการบรรจุไว้ในกรุที่ต่างกัน
    8.รอยครูดตามธรรมชาติเห็นเป็นริ้วๆ และรอยบุบเล็กๆ โดยทั่วไป

    พระนางพญาทุกพิมพ์ เป็นพระนั่งปางมารวิชัย กรอบตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีด้วยกัน 3 พิมพ์หลัก 7 พิมพ์เล็ก และ 1 พิมพ์พิเศษ แบ่งตามลักษณะพิมพ์ได้ดังนี้
    1.กลุ่มพิมพ์ใหญ่ประกอบด้วย
    1.1 พิมพ์เข่าโค้ง 1.2 พิมพ์เข่าตรง (ซึ่งมีด้วยกัน 2 พิมพ์คือ พิมพ์เข่าตรงธรรมดาและ
    พิมพ์มือตกเข่า) อยู่ในความนิยมเหมือนกันทั้งคู่ 1.3 พิมพ์อกนูน พิมพ์ใหญ่ มีจำนวนน้อยมาก
    2.กลุ่มพิมพ์กลาง มีเฉพาะพิมพ์สังฆาฏิ
    3.กลุ่มพิมพ์เล็ก มี
    3.1 พิมพ์ทรงเทวดา หรือพิมพ์อกแฟบ 3.2 พิมพ์อกนูนเล็ก
    4.พิมพ์ใหญ่พิเศษ คือพิมพ์เข่าบ่วง อยู่ในกลุ่มพิมพ์ใหญ่ แต่พบน้อยมาก ไม่รู้จักแพร่หลายเหมือนพิมพ์อื่นๆ

    การค้นพบพระนางพญาในยุคหลังในเวลาประมาณ พ.ศ.2470 องค์พระเจดีย์ด้านตะวันออกของวัดนางพญาได้พังลง เจ้าอาวาสในยุคนั้นคือ พระอธิการถนอม ได้ให้ชาวบ้านและพระเณรช่วยกันขนเอาดิน และเศษอิฐ เศษปูน จากซากเจดีย์ล่มนั้นมาถมคูน้ำ ต่อมาอีกหลายปีก็กลายเป็นดงกล้วย เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2485 ชาวบ้านได้หนีภัยสงครามเข้าไปหลบอยู่ในดงกล้วย และได้ทำการขุดหลุมหลบภัย จึงพบพระพญากระจายตัวจมอยู่ใต้พื้นดิน
    นอกจากค้นพบที่วัดนางพญาแล้ว พระนางพญาถูกค้นพบต่อมาอีกหลายกรุ แต่ก็เป็นพระพิมพ์เดียวกันกับพระที่พบที่วัดนางพญาทุกอย่าง และเนื้อพระก็เนื้อเดียวกัน อาจจะแตกต่างกันก็เพียงภูมิประเทศที่ค้นพบ เช่น กรุบางสะแกหรือ ที่เรียกว่ากรุน้ำ พบบริเวณพื้นที่ตำบลบางสะแก ริมฝั่งของแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันตกของพิษณุโลก มักเรียกกันว่ากรุเหนือ พบประมาณปี พ.ศ.2497 พบพระนางพญาบรรจุอยู่ในหม้อดินฝังในดินจำนวน 3 ใบ พบพระมากกว่า 1,000 องค์ ที่พบพระนั้นมักจะมีน้ำท่วมขัง พระจึงเสียผิวและมีเม็ดแร่กรวดทรายปรากฏอยู่เรียกกันว่า "แร่ลอย"

    กรุวังหน้าพบที่พระอุโบสถวัดพระแก้ววังหน้า ข้างโรงละครแห่งชาติ (ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยนาฏศิลป์) โดยกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ได้จากเจ้าเมืองพิษณุโลก จึงทรงบรรจุไว้ในพระอุโบสถ ขณะที่กำลังบูรณะพระอุโบสถพบพระที่บริเวณใต้ฐานชุกชี พระที่พบเนื้อแห้งสนิทและลงรักปิดทองทุกองค์ สภาพของรักแห้งและร่อนออกง่าย พบจำนวนไม่มาก ต่อมามีผู้ค้นพบพระนางพญาที่วัดเลียบ (ราชบูรณะ) ในกรุงเทพฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะโดนระเบิดโจมตีโรงไฟฟ้าวัดเลียบจำนวนไม่มาก เป็นพระลงรักปิดทอง อีกครั้งพบที่วัดสังข์กระจาย ฝั่งธนบุรีที่กำลังรื้อพระเจดีย์ครั้งนี้ได้พระที่แห้งสนิท แต่ไม่ลงรักปิดทองจำนวนไม่มากนัก

    ปี พ.ศ.2497 พบที่พระเจดีย์องค์เล็ก ที่วัดอินทรวิหาร คนร้ายได้แอบเจาะพบพระนางพญาใส่ไว้ในบาตรพระที่ผุแล้ว พระชุดนี้จะมีคราบของสนิมเหล็กติดอยู่พบพระนางพญาครบทุกพิมพ์ และยังพบลานทองจารึกไว้ว่า "พระที่บรรจุอยู่ในกรุนี้เป็นพระพิมพ์ที่ได้นำมาจากวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกในปี พ.ศ.2444" ซึ่งตรงกับปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ ประพาสเมืองพิษณุโลก

    ครั้งสุดท้ายพบที่วัดราชบูรณะ จังหวัดพิษณุโลก อีกครั้ง เมื่อมีการทำท่อระบายน้ำในบริเวณวัดในประมาณปี พ.ศ.2532 พุทธคุณ เป็นพระสร้างความเด่น ด้านเมตตากรุณา.

    @ ราช รามัญ

    พระนางพญาพิษณุโลกราชินีในเบญจภาคี | ไทยโพสต์


    .


    .



    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สำหรับเรื่องของพลังอิทธิคุณ หรือ องค์ผู้อธิษฐานจิต และรายละเอียดอื่นๆ

    คงต้องไว้คุยกันหลังไมค์(โทร.) หรือ ไปคุยกับที่บ้านท่านอาจารย์ประถม ครับ

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระมเหศวร กรุวัดพระศรีฯ สุพรรณบุรี

    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]

    คมชัดลึก :วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาแต่สมัยโบราณ เดิมชาวบ้านเรียก วัดพระธาตุ ตั้งอยู่ที่ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
    <SCRIPT type=text/javascript>google_ad_channel = '9989085094'; //slot numbergoogle_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads//google_image_size = '300X250';//google_skip = '3';var ads_ID = 'adsense_inside'; // set ID for main Element divvar displayBorderTop = false; // default = false;//var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type imagevar position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail</SCRIPT><SCRIPT src="http://www.komchadluek.net/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT>

    ฝั่งทิศตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณ (ท่าจีน) ห่างจากเชิงสะพานข้ามแม่น้ำสุพรรณประมาณ ๒๐๐ เมตร มีองค์พระปรางค์เป็นประธาน และมีเจดีย์รายรอบที่มีสภาพปรักหักพังหมด
    ประวัติการสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ยังเป็นข้อถกเถียง และโต้แย้งกันอยู่ว่า สร้างขึ้นในสมัยใดกันแน่ แม้จะปรากฏหลักฐานเป็นแผ่นลานทองจารึกประวัติการสร้าง ที่พบเมื่อครั้งเปิดกรุในปี ๒๔๕๖ แต่ก็ยังขาดความสมบูรณ์ เนื่องจากแผ่นลานทองสูญหายและชำรุดไปเป็นจำนวนมาก
    จากหลักฐานเอกสารแผ่นจารึกต่างๆ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ให้ข้อสันนิษฐานว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้มีโอกาสที่จะเป็นไปได้มากว่าสร้างในรัชสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ ๒ (เจ้าสามพระยา พ.ศ.๑๙๖๗-๑๙๙๑) และบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งในรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑)
    วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณบุรี มาแต่ครั้งโบราณ ในสมัยอู่ทองจำต้องร้าง เพราะภัยสงครามระหว่างไทย-พม่า เมื่อคราวกรุงศรีอยุธยาแตก พ.ศ.๒๓๑๐ ทหารพม่าได้ปล้นสะดมประชาชนคนไทย พร้อมทั้งกวาดต้อนครอบครัวไทยไปเป็นเชลยยังเมืองพม่า ชาวสุพรรณที่รักอิสระจึงต้องหนีซอกซอนไปอาศัยอยู่ตามป่าดงพงไพร ทิ้งบ้าน ทิ้งวัด ปล่อยให้รกร้าง ปราศจากผู้คนดูแล เมืองสุพรรณจึงรกร้างไปร่วมร้อยปี
    กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ นับเป็นแหล่งที่ค้นพบพระพิมพ์ที่สำคัญ และได้รับความนิยมสูงหลายต่อหลายพิมพ์ รวมถึงพระพิมพ์หนึ่งในชุดเบญจภาคี คือ พระผงสุพรรณ และอีกพิมพ์หนึ่งในชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพล คือ พระมเหศวร
    นอกจากนี้ยังมีพระพิมพ์สำคัญๆ อีกหลากหลาย อาทิ พระสุพรรณหลังผาน (หลังพระ) พระสุพรรณยอดโถ พระปทุมมาศ พระกำแพงศอก พระท่ามะปรางค์ พระถ้ำเสือ พระอรัญญิก พระร่วงยืน พระร่วงนั่ง พระลีลาพิมพ์ต่างๆ ฯลฯ
    ประวัติที่มาของกรุแตก และพบแผ่นลานทอง ที่เล่าขานกันมาคือ มีชาวจีนคนหนึ่งปลูกผักอยู่ใกล้วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดร้าง) วันหนึ่ง ได้ปีนขึ้นไปบนองค์พระปรางค์ แล้วงไปในกรุ ได้พบแก้วแหวนเงินทองเป็นจำนวนมาก จึงขโมยออกมา แล้วหนีไปเมืองจีน
    ต่อมามีคุณลุงอาชีพพายเรือจ้าง ลงไปในกรุเป็นคนที่ ๒ ได้แผ่นลานทอง และพระกำแพงศอกขึ้นมาหลายองค์ แผ่นลานทองเอาไปหลอมได้ทองราว ๒๐-๓๐ บาท นับเป็นการทำลายหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างน่าเสียดายยิ่ง
    จากนั้นเมื่อชาวบ้านรู้ข่าวต่างก็แห่กันไปลงกรุ ขนเอาพระเครื่อง พระบูชา ตลอดจนพระกำแพงศอก ไปเป็นจำนวนมาก กว่าทางราชการจะรู้เรื่อง การขุดกรุล่วงเลยไปถึงประมาณ ๑๐ วัน ผู้ว่าราชการเมือง พระทวีประชาชน (อี้ กรรณสูต) ต่อมาเป็น พระยาสุนทรสงคราม จึงตั้งกรรมการขุดกรุขึ้นมาชุดหนึ่ง ได้พระเครื่องพระบูชาเป็นเล่มเกวียน กับลานทอง ๓-๔ แผ่น ส่งไปให้กรมศิลปากร สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส ทรงแปลอักษรในลานทอง แล้วส่งสำเนาคำแปลกลับมายังผู้ว่าราชการเมืองสุพรรณ พระมเหศวร จัดได้ว่า เป็นพระที่มีพิมพ์ลักษณะแปลกพิมพ์หนึ่งของพระเครื่องเมืองไทย ที่ขุดพบในกรุวัดพระศรีฯ แห่งนี้ เป็นพระเนื้อ ชินเงิน ศิลปะอู่ทอง เช่นเดียวกับ พระผงสุพรรณ สันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์เมืองอู่ทอง
    ความแปลกของพระพิมพ์นี้ซึ่งเรียกได้ว่า มีเพียงแห่งเดียวในเมืองไทย คือ พระเศียรพระมเหศวรหน้าหนึ่ง กับพระเศียรอีกหน้าหนึ่งจะวางกลับกัน หรือสวนทางกัน
    ด้วยเหตุที่พระเศียร ๒ ด้านวางสวนกลับกันไปมา นักพระเครื่องจึงเรียกพระพิมพ์นี้ “พระมเหศวร”
    มีบางท่านเข้าใจว่าตั้งชื่อตามชื่อของขุนโจรชื่อดังของเมืองสุพรรณ คือ เสือมเหศวร แต่ข้อเท็จจริงชื่อ พระมเหศวร มีมาก่อนไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ปี ก่อนหน้าที่จะมี เสือมเหศวร เกิดขึ้นในเมืองสุพรรณ ไม่น้อยกว่า ๓๐ กว่าปี ล่วงมาแล้ว
    พระมเหศวร มีหลายพิมพ์ทรง แบ่งตามขนาดได้เช่น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก และพิมพ์ใหญ่พิเศษ หากแยกลงรายละเอียดก็จะได้อีกหลายสิบพิมพ์
    ขณะเดียวกัน หากแบ่งตามพระพักตร์ (ใบหน้า) ก็จะได้อีกหลากหลาย อาทิ หน้าอู่ทอง หน้าพระเศียรขนนก หน้าพระเนตรโปน ฯลฯ
    พระมเหศวร นอกจากจะมีพิมพ์พระเศียรสวนกลับกันคนละหน้าแล้ว ยังมี พิมพ์สวนเดี่ยว คือเป็นพระหน้าเดียว ด้านหลังเรียบ บางองค์ด้านหลังมีลายผ้า
    นอกจากนี้ ยังมีพระพิมพ์ ๒ หน้า โดยมีพระเศียรไปทางด้านเดียวกัน เรียกว่า พิมพ์สวนตรง เหมือนกับพระพิมพ์ ๒ หน้าทั่วๆ ไป
    บางองค์ด้านหน้าเป็นองค์พระ ด้านหลังเป็นซุ้มระฆัง หรือเป็นพระนาคปรกก็มี จัดเป็นพระพิมพ์พิเศษที่หาได้ยากกว่าปกติ
    พุทธลักษณะพระมเหศวร หากพิจารณาและวิเคราะห์จากรูปลักษณ์แล้ว พระมเหศวรมีสัณฐานเป็นทรงสี่เหลี่ยม ตรงกลางของด้านข้าง ทำเป็นรอยเว้าโค้งเข้าหาองค์พระ เป็นลักษณะการออกแบบแม่พิมพ์ที่มีมาแต่เดิม นับเป็นความอัจฉริยภาพของช่างโบราณ ที่ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้แตกต่างกันออกไปเดิมๆ ได้อย่างงดงามลงตัว
    เมื่อดูจากด้านหน้าขององค์พระ บริเวณข้างพระเศียร อันปรากฏเส้นรัศมี หรือที่บางท่านเรียกว่า "เส้นม่าน" มีลักษณะคล้ายปีก หากเมื่อพลิกด้านหลังตรงบริเวณนี้จะเป็นบริเวณส่วนของพระเพลา และฐานของพระอีกด้าน เป็นการวางรูปลักษณ์ได้สัดส่วนลงตัวพอดีของพระทั้งสองด้าน
    นับเป็นจินตนาการงานศิลป์ชั้นบรมครูอย่างแท้จริง ในการออกแบบพิมพ์ทรงองค์พระได้อย่างงดงามยิ่ง โดยไม่เหมือนกันพระพิมพ์อื่นๆ ที่พบเห็นกันมาก่อน
    เส้นรัศมี นับเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของ พระมเหศวร ที่มักจะปรากฏให้เห็นเป็นเส้นขีดๆ บริเวณข้างพระเศียรทั้งซ้ายและขวา สองขีดบ้าง สามขีดบ้าง และบางครั้งถึงขั้นระบุว่า ต้องมีจำนวนเท่านั้นเท่านี้เส้น ยึดถือเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวของแต่ละแบบพิมพ์
    การกำหนดกฎเกณฑ์เช่นนั้น อาจจะมีการเข้าใจผิด และคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง เนื่องจากจำนวนเส้นรัศมีใน พระมเหศวร ของแต่ละพิมพ์นั้น มีทั้งสองขีด และสามขีด ไม่แน่นอนตายตัว
    ในจำนวนพระที่มีขีดรัศมีนั้น ลักษณะของขีดและตำแหน่งที่ปรากฏ แม้จะพอประมาณได้ว่า อยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่ก็ยังมีความแตกต่างออกไปเช่นกัน รวมไปถึงพระบางองค์ที่ไม่มีเส้นรัศมีเลยก็มี แต่ก็เป็นพระแท้เช่นกัน
    พระมเหศวร เป็นพระเนื้อชินเงิน ซึ่งเป็นโลหะผสมจากเนื้อตะกั่ว ดีบุก เงิน และปรอท บางองค์ที่แก่ดีบุกองค์พระจะออกผิวพรรณสีขาวคล้ายสีเงิน บางองค์ที่แก่ตะกั่ว องค์พระจะออกสีเทาดำ และบางองค์ที่มีส่วนผสมของตะกั่วค่อนข้างสูง จะปรากฏสนิมแดง (แดงส้ม) ของตะกั่วอยู่ประปรายทั่วองค์พระทั้ง ๒ ด้าน
    พระมเหศวร เป็นพระยอดนิยมอีกพิมพ์หนึ่งของเมืองสุพรรณบุรี แม้ว่าช่วงที่พระพิมพ์นี้ขึ้นจากกรุใหม่ๆ สู่สนามพระเครื่อง ได้รับความนิยมน้อยกว่า พระสุพรรณหลังผาน ก็ตาม แต่เนื่องจาก พระสุพรรณหลังผาน มีจำนวนพระขึ้นจากกรุน้อยกว่า ทำให้พบเห็นได้ยากกว่า
    ขณะเดียวกัน พระมเหศวร มีจำนวนพระมากกว่า และแพร่หลายในวงกว้างกว่า จึงทำให้ พระมเหศวร ได้รับความนิยมมากกว่า จนได้รับการยกย่องให้เป็น ๑ ใน ๕ ของ ชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพล เนื้อชิน อันประกอบด้วย พระร่วงหลังรางปืน (หลังลายผ้า) พระหูยาน พระท่ากระดาน พระชินราชใบเสมา และ พระมเหศวร
    พระพุทธคุณ เยี่ยมยอดด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดมหาอุด โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี ถือว่าสุดยอดที่สุด ความนิยมของพระมเหศวรจัดอยู่ในระดับแถวหน้าของวงการพระเครื่องประเภทเนื้อชินยอดขุนพล
    ขนาดองค์พระ พระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์ใหญ่พิเศษ (หน้าใหญ่) กว้างประมาณ ๒.๕ ซม. สูงประมาณ ๓.๗๕ ซม. พิมพ์กลางและพิมพ์เล็กมีขนาดและรูปทรงย่อมลงมาเล็กน้อย แทบจะดูไม่แตกต่างกันมากนัก
    พระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ (พิเศษ) องค์สวยๆ ระดับแชมป์ ราคาซื้อขายกันอยู่ที่หลักล้านมานานแล้ว พิมพ์อื่นๆ ราคาลดหลั่นลงมาตามสภาพองค์พระ และพระทุกพิมพ์นับวันจะทวีค่าราคาเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ เพราะ พระแท้พระสวย หายาก ในขณะที่ พระปลอม มีมากกว่า และระบาดมานานแล้ว
    ผู้สนใจเช่าหาจึงต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ให้ดีที่สุด
    "ชาติ วิศิษฏ์สรอรรถ"

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2010
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ประวัติ พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร


    พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเอกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่อมตะ ทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชิน ก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระประติมากรรม ในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระนั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ

    พระกำแพงซุ้มกอ ที่ค้นพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ประกอบด้วย
    1. พิมพ์ใหญ่ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “พระกำแพงซุ้มกอดำ”
    2. พิมพ์กลาง
    3. พิมพ์เล็ก
    4. พิมพ์เล็กพัดโบก
    5. พิมพ์ขนมเปี๊ย
    พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปนกับศิลปะศรีลังกา โดยเฉพาะไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาอย่างเด่นชัด พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระ ใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที

    ลักษณะของเนื้อที่เด่นชัดอีกประการหนึ่ง คือตามผิวขององค์พระจะมีจุดสีแดง ๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ว่านดอกมะขาม” และตามซอกขององค์พระจะมีจุดดำ ๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ราดำจับอยู่ตามบริเวณซอกของพระ”
    • พระกำแพงซุ้มกอ นั้นนอกจากเนื้อดินยังพบเนื้อชินและชนิดที่เป็นเนื้อว่านล้วน ๆ ก็มีแต่น้อยมาก
    • พระกำแพงซุ้มกอ ที่ขุดค้นพบนั้นจะปรากฏอยู่ตามบริเวณวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดฤาษีและตลอดบริเวณลานทุ่งเศรษฐี
    • พระกำแพงซุ้มกอ ที่ไม่มีลายกนกที่มีสีน้ำตาลนั้นจัดเป็นพระที่หาได้ยากมาก เพราะส่วนใหญ่จะมีสีดำ
    • พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระพุทธคุณนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะพระกำแพงซุ้มกอ มีครบเครื่องไม่ว่าเรื่อง เมตตา มหานิยม แคล้วคลาด ตลอดจนเรื่องโชคลาภ จนมีคำพูดที่พูดติดปากกันมาแต่โบราณกาลว่า “มีกูแล้วไม่จน” ประกอบกับพระกำแพงซุ้มกอ ถูกจัดอยู่หนึ่งในห้าของชุดเบญจภาคี ความต้องการของนักนิยมพระเครื่องจึงมีความต้องการสูงเพราะทุกคนต้องการแต่พระกำแพงซุ้มกอทั้งนั้น ราคาเช่าหาจึงแพงมาก และหาได้ยากมากด้วย
    • พระกำแพงซุ้มกอ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนก็ตามหรือจะเป็นเนื้อดินเนื้อว่าน ตลอดจนเนื้อชิน พุทธคุณเหมือนกันหมด แล้วแต่ว่าท่านจะหาพิมพ์ไหนมาได้
    • พระกำแพงซุ้มกอ จึงจัดว่าอยู่ในพระอมตะพระกรุอันทรงคุณค่าที่ควรค่าแก่การหา และนำมาเพื่อเป็นศิริมงคล เป็นอย่างมากทีเดียว
    ประวัติความเป็นมาของพระซุ้มกอ
    พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชรมีอยู่ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระ อุปเท่ห์การอาราธนาพระ รวมถึงพุทธานุภาพอย่างมหัศจรรย์ ของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย นอกจากนี้ในพระราชนิพนธ์ เรื่องเสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนในปี พ.ศ. 2449 ก็ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ในราวปี พ.ศ.1279

    จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่เชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะได้ทรงรับสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอจนถึงปัจจุบัน จึงมีประมาณ 700-800 ปี

    พระซุ้มกอที่ได้รับความนิยมมีทั้งหมด 4 พิมพ์คือ
    1. พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกนก
    2. พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ไม่มีกนก
    3. พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง
    4. พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปี๊ยะ
    เนื้อของพระกำแพงซุ้มกอมีดังนี้
    • เนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมสูงสุด
    • เนื้อว่าน แบ่งเป็นเนื้อว่านล้วน ๆ และเนื้อว่านหน้าทองคำ เนื้อว่านหน้าเงิน
    • เนื้อชินเงิน
    • เนื้อว่านและเนื้อชินเงิน ปัจจุบันหาพบยาก
    พิมพ์ใหญ่มีลายกนก เป็นพิมพ์ที่พบเห็นแพร่หลาย เป็นพระปางสมาธิ บนฐานบัว มีซุ้มลายกนกรอบองค์พระ เป็นพระดินเผา ผสมว่านและเกสรดอกไม้ ตามผิวจะมีจุดแดง ๆ เรียกว่า แร่ดอกมะขาม ซึ่งเป็นวัตถุธาตุตะกูลเหล็กไหล จุดดำเรียกรารัก จับกระจายเป็นหย่อม ๆ
    • พิมพ์ใหญ่ไมมีลายกนก คือพระซุ้มกอดำ เป็นเนื้อที่หายากมาก ราคาแพง พบที่กรุวัดบรมธาตุ, วัดพิกลุล, และกรุนาตาคำ
    • พิมพ์กลาง มีลักษณะใกล้เคียงกับพิมพ์ใหญ่ลายกนก เพียงแต่บางและตื้นกว่า หายากครับ
    • พิมพ์ขนมเปี๊ยะ ความจริงก็เป็นพิมพ์ต่าง ๆ นั่นเอง เพียงแต่ไม่ได้ตัดขอบมนออก จึงดูคล้ายขนมเปี๊ยะ
    ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ไม่ขอพูดถึง เพราะหาชมได้ยากมาก
    การค้นพบพระกำแพงซุ้มกอ
    เมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆัง ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงชักชวนเจ้าเมืองออกสรวจ ก็พบเจดีย์ 3 องค์ อยู่ใกล้ ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนเจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดียเก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน เมื่อรื้อถอนจึงพบพระเครื่องซุ้มกอจำนวมาก หลวงปู่จึงนำเข้ากรุงเทพ ฯ ส่วนหน่งพร้อมเศษอิฐหิน และบรรทึกใบลาน แล้วนำมาสร้างพระสมเด็จของท่านจนขึ้นชื่อลือกระฉ่อน เพราะสร้างตามสูตรการสร้างพระซุ้มกอ ส่วนการสร้างเจด์ยังไม่ทันแล้วเสร็จ เจ้าเมืองก็ด่วนลาลับ ต่อมาพระยาตะก่า ขุนนางพม่า จึงปฏิสังขรณ์ต่อ จนเสร็จ จึงมีรูปลักษ์เป็นเจดีย์พม่า
    พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระศิลปะสุโขทัยยุคต้น สร้างประมาณ พ.ศ.1900 สมัยพญาลิไท ขุดค้นพบหลายกรุ โดยครั้งแรกพบ ณ วัดพระบรมธาตุ โดยหลวงปู่โต ต่อมา พ.ศ.2490, และ 2501 ก็พบอีก แต่ไม่มาก ปี 2505 และ 2509 พบจากกรุวัดพิกุลทอง, วัดฤาษี วัดหนองลังกา และวัดซุ้มกอ
    พระซุ้มกอ พิมพ์มีกนก
    ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า " ลานทุ่งเศรษฐี " หรือโบราณเรียกว่า " เมืองนครชุมเก่า " บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฎซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก ขุดพบที่กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดพิกุล หรือหนองพิกุล กรุฤาษี กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุลานดอกไม้ กรุวัดหนองลังกา และเจดีย์กลางทุ่ง
    ส่วนพระนามของพระซุ้มกอนั้น เป็นเอกลักษณ์ของซุ้มประภามณฑล ที่ครอบเศยรองค์พระ เป็นซุ้มโค้งงอเหมือน ก ไก่ เลยเรียกติดปากมาตั้งแต่โบราณว่า " พระซุ้มกอ " พระกำแพงซุ้มกอ สันนิษฐานว่า จะสร้างในสมัย พระมหาธรรมราชาลิไท แห่งสุโขทัย พระพุทธศิลปะขององค์พระจะสง่างาม มีความล้ำสัน นั่งขัดสมาธิราบอยู่บนบัลลังก์บัวเล็บช้าง ภายใต้ซุ้มเรือนกนก
    พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก

    เป็นพระที่ขุดพบมีจำนวนค่อนข้างน้อย เนื้อดินเผา เป็นพระที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่เหมือนพระเครื่องดินเผาทั่วไป เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อค่อนข้างนิ่ม ละเอียด ไม่มีเม็ดกรวดเจือปน เนื้อขององค์พระจะดูค่อนข้างจะเปื่อยและยุ่ยง่าย เหมือนพระดินดิบ คือเหมือนพระที่ไม่ผ่านการเผามา มีว่านดอกมะขามสีแดงปรากฎให้เห็นทั่วองค์พระ

    ตำหนิเอกลักษณ์ การสังเกตุพระซุ้มกอ
    1. พระเกศเป็นเกศปลี ปลายแหลมสอบเข้า
    2. พระเนตรรี ลอยอยู่ในเบ้า
    3. พระนาสิกเป็นแท่งแหลม พระโอษฐ์เล็ก
    4. พระกรรณโค้งเป็นแบบหูบายศรีเบาๆ
    5. ยอดองค์ใต้คอเป็นแอ่งกระทะเบาๆ
    6. กนกข้างแขนขวาองค์พระเป็นเลข 6 ฝรั่ง
    7. สังฆาฏิเป็นลำเล็ก
    8. ซอกแขนลึก
    9. ชายจีวรยาวเข้าไปซอกแขน
    10. พระหัตถ์ขวากระดกขึ้นเล็กน้อย
    ประวัติ พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร

    .


    .


    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อาณาจักรทวาราวดี
    ที่มา คลังปัญญาไทย
    .:: อาณาจักรทวาราวดี - คลังปัญญาไทย ::.

    <DL><DD>เมื่อประมาณ พ.ศ. ๗๐๐ ชนชาติละว้าซึ่งเข้าครอบครองถิ่นเจ้าพระยา ได้ตั้งอาณาจักรใหญ่ขึ้นสามอาณาจักรคือ </DD></DL><DL><DD>อาณาจักรทวาราวดี มีอาณาเขตประมาณตั้งแต่ราชบุรี ถึงพิษณุโลก มีนครปฐมเป็นเมืองหลวง </DD></DL><DL><DD>อาณาจักรโยนกหรือยาง เป็นอาณาจักรทางเหนือในเขตพื้นที่เชียงราย และเชียงแสน มีเงินยางเป็นเมืองหลวง </DD></DL><DL><DD>อาณาจักรโคตรบูรณ์ มีอาณาเขตตั้งแต่นครราชสีมาถึงอุดรธานี มีนครพนมเป็นเมืองหลวง </DD></DL>
    ทวารวดี เป็นคำภาษาสันสกฤต เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ โดยนายแซมมวล บีล (Samuel Beal ) ได้แปลงมาจากคำว่า “โถ-โล-โป-ติ” (T’o-lo -po-ti) ที่มีอ้างอยู่ในบันทึกของภิกษุจีนเฮี้ยนจัง(Hiuan -tsang) ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ กล่าวว่า “โถโลโปติ” เป็นชื่อของอาณาจักรหนึ่งตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร (พม่า) และอาณาจักรอีสานปุระ (กัมพูชา) และเขาได้สรุปด้วยว่าอาณาจักรนี้เดิมตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน และยังสันนิษฐานคำอื่นๆที่มีสำเนียงคล้ายกันเช่น จวนโลโปติ (Tchouan-lo-po-ti) หรือ เชอโฮโปติ (Cho-ho-po-ti) ว่าคืออาณาจักรทวารวดีด้วย
    ต่อมาความคิดเห็นนี้ได้มีผู้รู้หลายท่านศึกษาต่อและให้การยอมรับเช่น นายเอดัวร์ ชาวาน(Edourd Chavannes) และ นายตากากุสุ(Takakusu) ผู้แปลจดหมายเหตุการเดินทางของภิกษุอี้จิงในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ และ นายโปล เปลลิโอต์(Paul Pelliot) ผู้ขยายความอาณาจักรทวารวดีเพิ่มอีกว่ามีประชาชนเป็นชาวมอญในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นต้น ดังนั้นบรรดาเมืองโบราณรวมทั้งโบราณวัตถุสถานต่างๆที่พบมากมายโดยเฉพาะในบริเวณลุ่มน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งแต่เดิมไม่สามารถจัดกลุ่มได้ว่าเป็นของขอมหรือของไทย แต่มีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียสมัยราชวงศ์คุปตะ - หลังคุปตะ ราวพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๓ ที่พันตรีลูเนต์ เดอ ลาจองกีเยร์(Lunet de Lajonguiere) เรียกว่า "กลุ่มอิทธิพลอินเดียแต่ไม่ใช่ขอม" จึงถูกนำมาสัมพันธ์กลายเป็นเรื่องเดียวกัน โดยศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. ๒๔๖๘) และสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พ.ศ. ๒๔๖๙) เป็นกลุ่มบุคคลแรกที่กำหนดเรียกชื่อดินแดนที่เมืองโบราณเหล่านี้ตั้งอยู่ รวมทั้งงานศิลปกรรมที่พบนั้นว่าคือดินแดนแห่งอาณาจักรทวารวดี และศิลปะแบบทวารวดี โดยใช้เหตุผลของตำแหน่งที่ตั้งอาณาจักรตามบันทึกจีนกับอายุของบันทึก และอายุของงานศิลปกรรมที่ตรงกัน อาณาจักรทวารวดีจึงกลายเป็นอาณาจักรแรกในดินแดนไทย กำหนดอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๖
    ทวาราวดี แปลว่า ประตูที่ดี มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 มีศูนย์กลางอยู่ที่นครปฐม จากหลักฐาน ทางโบราณคดีที่ค้นพบบ่งบอกว่า อาณาจักรทวาราวดีมีการติดต่อค้าขายทางทะเล อย่างกว้างขวาง เพราะทวาราวดีมีทางออกสู่ทะเลมากมาย เนื่องจากมีอาณาเขต ติดต่อกับอาณาจักรศรีวิชัยทางทิศใต้และติดต่อไปจนถึงลำพูนทางทิศเหนือ ทาง ทิศตะวันตกติดต่อกับทางตอนกลางของพม่า ทิศตะวันออกติดต่อกับอาณาจักรเขมร ซึ่งได้เริ่มสร้างอาณาจักรขึ้นมาในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ เกี่ยวกับทวาราวดีเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็ยังไม่สามารถบ่งบอกเรื่องราวของทวาราวดี ได้มากนัก เพราะส่วนมากจะเป็นบันทึกที่กล่าวถึงแต่เรื่องทางศาสนา ไม่ค่อยจะได้ กล่าวถึงเหตุการณ์ต่างๆมากนัก ถึงจะมีอยู่บ้างแต่ก็น้อยเต็มทีและเป็นเรื่องที่ไม่ปะ ติดปะต่อกัน ทำให้เรื่องราวที่เกี่ยวกับทวาราวดียังไม่มีความชัดเจนพอที่จะหาข้อสรุป ได้ บอกแต่เพียงว่า อาณาจักรทวาราวดีมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ส่วนใดบ้าง ประชาชนนับถือศาสนาอะไร พูดภาษาอะไร ซึ่งสรุปได้อย่างกว้างๆเท่านั้น
    บันทึกของพระถังซำจั๋งในศควรรษที่ 12 ได้กล่าวถึงอาณาจักรทวาราวดีว่าชื่อ โถโล โปลี มีความเจริญรุ่งเรืองมากทางด้าน การค้า และศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ทิศตะ วันตกติดต่อกับอาณาจักรศรีเกษตร (คือพม่าปัจจุบัน) ตะวันออกติดต่อกับอาณาจักร อิสานปุระ (อาณาจักรเขมร)
    เมื่อเขมรสร้างอาณาจักรจนเป็นปึกแผ่น และมีความเข้มแข็งมากขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นเวลา เดียวกับที่ทวาราวดีเกิดความอ่อนแอ ทำให้เขมรเข้ามาครอบครองทวาราวดีในหลาย ยุคหลายสมัย แต่บางครั้งที่เขมรอ่อนแอ มอญก็เข้ามาครอบครองทวาราวดีแทนเช่น ในสมัยของพระเจ้าอนุรุ แห่งเมืองพุกาม
    อาณาจักรทวารวดี มีแหล่งชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย แหล่งชุมชนของทวารวดีในภาคกลางที่สำรวจพบมีถึง 15 แห่ง ทิศเหนือสุดจดจังหวัดพิจิตร ทิศใต้จรดจังหวัดเพชรบุรี เมืองที่กระจายห่างออกไปทางตอนเหนือ เช่น เมืองหริภุญชัย ในภาคเหนือ และเมืองฟ้าแดดสูงยาง ในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีเมืองนครปฐมเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญ หลวงจีนอี้จิง หรือ พระภิกษุอีจิ๋นและหลวงจีนเฮียนจัง(ยวนฉ่าง) พ.ศ.1150 ได้กล่าวไว้ในจดหมายเหตุของท่านว่า มีอาณาจักรอันใหญ่โตอาณาจักรหนึ่ง อยู่ในระหว่างเมืองศรีเกษตร (พม่า) และอิสานปุระ (เขมร)ชื่อโตโลปอตี้ (ทวารวดี) และอาณาจักรนี้ก็เป็นอาณาจักรที่นักโบราณคดีได้สำรวจพบโบราณสถาน และพระพุทธรูปที่สร้างตามแบบฝีมือช่างครั้งราชวงศ์คุปตะของอินเดีย (พ.ศ.860-1150) เป็นจำนวนมากที่นครปฐม และเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เรื่อยไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงเมืองนครราชสีมา และเมืองบุรีรัมย์
    นครปฐมเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยแรกสร้างพระปฐมเจดีย์ คือราว ๆ พ.ศ.300 เคยมีอำนาจสูงสุดครั้งหนึ่ง และเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษ11-16) ปูชนียสถานที่ใหญ่โตสร้างไว้เป็นจำนวนมาก และยังเหลือเป็นพยานปรากฏอยู่อย่างเช่น วัดพระประโทนเจดีย์ วัดพระเมรุ วัดพระงาม และวัดดอยยายหอม เป็นต้น โบราณสถานที่ค้นพบล้วนฝีมือประณีต งดงาม มีเครื่องประดับร่างกายสตรีทำด้วยดีบุก เงิน และทอง รูปปูนปั้นชาวต่างประเทศก็มี ทำให้สันนิษฐานได้ว่าชาวทวารวดีมีการติดต่อกับประเทศอื่น เช่น ประเทศจีน ศิลปต่าง ๆ ขณะนี้เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์
    นครปฐมมีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ เพราะปรากฎว่าได้พบปราสาทราชวังเหลือซากอยู่ เช่น ตรงเนินปราสาทในพระราชวังสนามจันทร์ เคยทำเงินตราขึ้นใช้เอง เช่นเงินตราสมัยนั้นมีหลายรูปแบบ ซึ่งนอกจากเป็นรูปสังข์และประสาทยังมีตราแพะ ตราปรูณกลศ (หม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม)ฯลฯจึงเป็นสิ่งยืนยันว่า อาณาจักรทวารวดีมีจริง และมีพระมหากษัตริย์ปกครองแน่นอน ศาตราจารย์ยอร์ช เซเดส ได้อ่านจารึกที่เงินตราแล้วแปลได้ความว่า บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี
    นครปฐมมีอำนาจสูงสุดประมาณ 200 ปี แล้วค่อยเสื่อมลง พวกขอมขณะนั้นกำลังรุ่งเรืองก็ถือโอกาสตีเมืองของอาณาจักรทวารวดีทีละเมืองสองเมืองจน พ.ศ. 1500 อาณาจักรทวารวดีก็เสื่อมลงเป็นธรรมดาหลังจากที่เจริญรุ่งเรืองอย่างที่สุด และตกอยู่ในอำนาจของขอม พวกขอม คงจะกวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลย นำไปใช้เป็นกำลังทำงานต่าง ๆ คนไทยยังมีตามหัวเมืองโบราณในแคว้นสุวรรณภูมิหลายเมือง เช่น ลพบุรี อู่ทอง กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี แต่ยังไม่มีอำนาจในการปกครองแต่อย่างใด ครั้นเมื่อ พ.ศ. 1800 ซึ่งเป็นเวลาที่ไทยยึดอำนาจการปกครองจากขอมได้ นครปฐมกลายเป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว จึงไม่ปรากฎในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง สาเหตุที่เป็นเมืองร้าง เนื่องจากแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำแม่กลองซึ่งแต่เดิมเคยไหลผ่านนครปฐมเปลี่ยนทิศทางเดินใหม่ ไหลผ่านจากตัวเมืองไปมากจนทำให้นครปฐมเป็นที่ดอนขึ้น ไม่เหมาะแก่การทำไร่ทำนา ผู้คนจึงถอยร่นไปอยู่ริมแม่น้ำด้วยเหตุนี้เมืองนครปฐมจึงเสื่อมลง
    อาณาจักรทวารวดี เป็นที่น่าเชื่อถือขึ้นอีกเมื่อพบเหรียญเงิน ๒ เหรียญ มีจารึกภาษาสันสกฤตอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ จากเมืองนครปฐมโบราณ มีข้อความว่า ศรีทวารวดีศวรปุณ-ยะ ซึ่งแปลได้ว่า บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี หรือ บุญของผู้เป็นเจ้าแห่ง(ศรี)ทวารวดี หรือ พระเจ้าศรีทวารวดีผู้มีบุญอันประเสริฐ อาณาจักรทวารวดีจึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีอยู่จริง และยังเชื่อกันอีกด้วยว่าเมืองนครปฐมโบราณน่าจะเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงของอาณาจักร (แต่ปัจจุบันพบเหรียญลักษณะคล้ายกันอีก ๒ เหรียญ ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และที่อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ความสำคัญของเมืองนครปฐมจึงเปลี่ยนไป) แต่ขณะเดียวกันนักวิชาการบางท่านก็เชื่อว่าอำเภออู่ทอง หรืออาจเป็นจังหวัดลพบุรี ที่น่าจะเป็นเมืองหลวงมากกว่า


    [แก้ไข] พระพุทธศาสนา สมัยทวาราวดี

    ผืนแผ่นดินจุดแรกของอาณาจักรสุวรรณภูมิ หรือที่เรียกกันว่า "'แหลมทอง'" ซึ่งท่าน พระโสณะกับพระอุตตระได้เดินทางจากชมพูทวีปเข้ามาประดิษฐานนั้น จดหมายเหตุของหลวงจีนเหี้ยนจัง เรียกว่า "ทวาราวดี" สันนิษฐานว่าได้แก่ที่จังหวัดนครปฐม เพราะมีโบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ ศิลารูปพระธรรมจักร เป็นต้น ปรากฏว่าเป็นหลักฐานประจักษ์พยานอยู่ พระพุทธศาสนาที่เข้ามาในครั้งนี้ เป็นแบบเถรวาทดั้งเดิม พุทธศาสนิกชนได้มีความศรัทธาเลื่อมใสบวชเป็นพระภิกษุจำนวนมาก และได้สร้างสถูปเจดีย์ไว้สักการะบูชา เรียกว่า สถูปรูปฟองน้ำ เหมือนสถูปสาญจีในอินเดีย ที่พระเจ้าอโศกทรงสร้างขึ้น ศิลปะในยุคนี้เรียกว่า ศิลปะแบบทวาราวดี
    จากหลักฐานโบราณสถาน โบราณวัตถุในดินแดนประเทศไทย ทำให้เราได้ทราบว่าอารยธรรมอินเดีย ได้หลั่งไหลแผ่เข้ามายังดินแดนประเทศไทย ตั้งแต่ครั้งพุทธศตวรรษที่ 6-7 ชาวอินเดียเรียกประเทศไทยว่า ดินแดนสุวรรณภูมิ และได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งในแหลมอินโดจีนพร้อมทั้งได้นำวัฒนธรรมและศาสนา คือ ศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา เข้ามาเผยแพร่ด้วย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 7 ถึง 11 ตามหลักฐานจากจดหมายเหตุของจีนว่ามีอาณาจักร "ฟูนัน" ตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ และได้แผ่อาณาเขตไปทางทิศตะวันตกถึงแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย เมื่ออาณาจักร "ฟูนัน" สลายตัวในต้นพุทธศตวรรษที่ 12 แล้ว ในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้เกิดอาณาจักรที่สำคัญทางพุทธศาสนาขึ้น ชื่อว่า อาณาจักรทวาราวดี
    คำว่า "ทวาราวดี" เดิมเป็นเพียงข้อสันนิษฐานจากชื่ออาณาจักรที่จดหมายเหตุจีนเรียกว่า "โถโลโปติ" (To-lo-po-ti) ว่า ตรงกับคำสันสกฤตว่า "ทวาราวดี" และคำนี้ได้ติดอยู่เป็นสร้อยชื่อของนครหลวงของประเทศไทย มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2512 ได้มีผู้พบเหรียญเงินมีอักษรจารึกที่นครปฐมคำจารึกเป็นอักษรสันสกฤต รุ่นพุทธศตวรรษที่ 13 มีข้อความว่า "ศรีทวาราวดี ศวรปุณยะ" แปลว่า งง"บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวาราวดี" อันแสดงว่าอาณาจักรทวาราวดีนั้นมีจริงในประเทศไทย
    อาณาจักรทวารวดีเป็นอาณาจักรประวัติศาสตร์สมัยแรกในประเทศไทย อาณาจักรนี้มีเมืองอู่ทองอาจเป็นราชธานีอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง มีการค้นพบแผ่นทองแดง ของพระเจ้าหรรษาวรมันที่เมืองอู่ทอง ซึ่งมีจารึกใช้ตัวอักษรอยู่ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ก็อาจหมายความว่า พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้เป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์แรก ที่ทราบพระนามสำหรับอาณาจักรทวารวดี เมืองอู่ทองจึงเป็นเมืองสำคัญในอาณาจักรทวารวดีในพุทธศตวรรษที่ 11-12
    ประวัติของไทยนั้นเก่าแก่มาก จดหมายเหตุจีนเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนพุทธกาลกล่าวถึงภูมิลำเนาเดิมของไทยว่าอยู่ในลุ่มน้ำตอนกลางของแม่น้ำเหลือง ซึ่งอยู่ในท้องที่มณฑลฮูเป และโฮนานในบัดนี้ ในสมัยเดียวกันนั้น จีนก็ได้มาตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามที่ราบสูง ในลุ่มน้ำเหลืองตอนบน คือ มณฑลกังซูในบัดนี้ ซึ่งเห็นจะเป็นเพราะถูกพวกต้นตระกูลตาดรุกราน จึงได้ร่นลงมาและปะทะกับไทยเข้า ไทยมีจำนวนน้อยจำต้องร่นลงมาทางใต้หลายทิศหลายทาง
    พวกไทยส่วนมากร่นลงมาตามแม่น้ำแยงซีเข้าไปในยูนนาน ต่อสู้ชนะพวกพื้นเมืองเดิมและได้ตั้งอาณาจักรน่านเจ้า โดยมีตาลีฟูเป็นเมืองหลวง ต่อมาเมืองหลวงก็ได้ย้ายไปตั้งอยู่ ปูเออฟู อาณาจักรน่านเจ้าครอบครองท้องที่มณฑลยูนนานปัจจุบัน พม่าเหนือและภาคเหนือของสิบสองปันนาประวัติของไทยในสมัยที่กล่าวนี้ รุ่งเรืองที่สุดและอำนาจอยู่อย่างนี้ 4 ศตวรรษ
    เมื่อจีนรุกรานหนักเข้า ไทยก็จำต้องอพยพร่นลงมาอีก และกว่าจะต่อสู้เอา ชัยชนะขอมเจ้าของถิ่นเดิมได้ ก็เป็นเวลาตั้งหลายศตวรรษ แล้วจึงได้ตั้งอาณาจักรใหม่ ณ เชียงแสน บนฝั่งแม่น้ำโขง อาณาจักรใหม่นี้มีประวัติรุ่งเรืองเหมือนอาณาจักรเดิมต่อมานั้นได้ย้ายจากเชียงแสนไปทางตะวันตกเฉียงใต้ และตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่ที่ลุ่มแม่น้ำสาลวิน มีภุกามเป็นเมืองหลวง แต่อาณาจักรนี้ไม่ยั่งยืนเพราะอยู่ใกล้ขอมมาก จึงถูกขอมขับกลับไปเลยไปสร้างเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองหลวงใหม่ขึ้นที่ แม่น้ำปิง

    การอพยพลงมาทางใต้ยังคงดำเนินไปอยู่เรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเรียกกันว่าดินแดนแหลมทองหรือสุวรรณภูมิ อันเป็นที่ตั้งประเทศไทยปัจจุบันนี้ ได้มีชนชาติอื่นอาศัยอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่พวกละว้า ซึ่งได้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ 3 แคว้นด้วยกัน คือ
    1. แคว้นโยนก อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย คือ ดินแดนที่เป็นมณฑลพายัพ และลานนาไทยปัจจุบัน มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองเชลียง (สวรรคโลก) ขึ้นไปจนตลอดหัวเมืองลานนา และลานช้าง ได้ตั้งราชธานี อยู่ที่เมืองเงินยาง (เชียงแสน)
    2. แคว้นทวารวาดี อยู่ตรงตอนกลางของประเทศไทย คือ ดินแดนบริเวณจังหวัดนครปฐม อยุธยา พิษณุโลก นครสวรรค์ ปราจีนบุรี รวมทั้งแหลมมลายู ตั้งราชธานีอยู่ที่นครปฐม
    3. แคว้นโคตรบูร อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยปัจจุบัน มีราชธานีอยู่ที่สกลนคร
    สำหรับแคว้นทวารวดีนั้น ต่อมาได้ถูกพวกมอญขยายอาณาเขตเข้ามาทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าครอบครองกลายเป็นอาณาจักรหนึ่งของชนชาติมอญ สันนิษฐานว่า พวกมอญคงจะได้ตั้งอาณาจักรนี้ขึ้น เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 10 และสิ้นสุดลงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 เนื่องจากอำนาจของขอมได้แผ่เข้ามายังภาคกลางของประเทศไทย อาณาจักรทวารวดี ก็เปลี่ยนมาเป็นอาณาจักรของขอม ซึ่งเรียกเป็นเฉพาะว่าอาณาจักรลพบุรี


    [แก้ไข] ภาพจำหลักศิลปทวาราวดีอายุกว่า 1000 ปี

    พระพุทธเจ้าแสดงธรรม วัดถ้ำพระโพธิสัตว์ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี (คัดลอกข้อมูลจาก น.ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูโกศลวิหารกิจ หน้า 32)
    ถ้ำพระโพธิสัตว์ มีอีกชื่อว่าถ้ำพระงามหรือถ้ำเขาน้ำพุ ประกอบด้วยคูหาน้อยใหญ่ 6 คูหา คูหาที่มีภาพสลักบนผนังเป็นคูหาติดทางปากเข้า และเป็นคูหาที่มีแสงสว่างส่องถึงมากที่สุด คูหานี้มีเจดีย์ปิดทองตั้งอยู่บนฐานโบกปูน ปูด้วยกระเบื้อง เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยปัจจุบัน ณ ผนังด้านเหนือของคูหานี้สูงขากพื้นถ้ำ 3.27 -5.25 เมตร มีภาพสลักนูนต่ำศิลปกรรมสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 13-14 ) ขอบเขตของภาพ 3.30 x 2.08เมตร เป็นภาพที่ประกอบด้วยรูปบุคคล 6 ภาพในอิริยาบถ ที่ต่างกัน
    สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นภาพตอนที่บรรดาเทพเจ้าเผ้าทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อโปรดสรรพสัตว์ในโลกและเมื่อทรงแสดงธรรมก็มีเทพเข้า มนุษย์ อสูร คนธรรพ์ มาเฝ้าเพื่อสดับธรรม ดังที่มีรายละเอียดปรากฏอยู่ในลลิตวิสตระอันเป็นคัมภีร์แสดงพุทธประวัติฝ่ายมหายาน ซึ่งเข้าใจว่าความรู้เรื่องคัมภีร์นี้มีแพร่หลายในสมัยนั้น อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม สันนิษฐานถ้ำนี้ว่า “ น่าจะเป็นที่จำศีลภาวนาของนักบวชและฤาษี ภายในถ้ำโอ่โถงพอสมควร พอเป็นที่อาศัยพำนักได้ ถึงแม้ว่าจะอยู่ในระดับที่สูงแต่ก็ไม่มีอะไรที่ลำบากแก่การดำรงชีวิต อันเนื่องมาจากบริเวณที่ตีนเขาตรงหน้าถ้ำนั้นมีธารน้ำตกเหมาะกับการตั้งหลักแหล่งพำนักอาศัยของบรรดานักบวชหรือไม่ก็ชุมชน และผู้คนที่อยู่ในที่สูงป่าเขา อาศัยผลผลิตของป่าในบริเวณนั้นหาเลี้ยงชีพ ”
    ถ้ำพระโพธิสัตว์เป็นถ้ำหินอ่อนล้วน มีภาพศิลปะนูนต่ำ ดังที่กล่าวมาและมีหินงอก หินย้อย รูป ช้าง สิงโต เต่า หัวจระเข้ ลิ้นพญามัจจุราช พระปางนั่งสมาธิบนเพดานถ้ำ เพชรน้ำ (น้ำหยดลงหินเป็นประกายลักษณะคล้ายหินปะการัง) ถัดจากถ้ำพระโพธิสัตว์ คือถ้ำธรรมทัศน์ มีความยาวประมาณ 800 เมตรเศษ เป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์ในอดีต ภายในมีหินงอกหินย้อยรูปหัวพญานาค สันนิษฐานว่าเป็นเสาหลักเมืองเก่า
    จากถนนมิตรภาพมุ่งหน้าไปทางโคราช ถึงโรงปูน 2 (ปูนนครหลวงนกอินทรี) กลับรถบนสะพานจากสะพานกลับรถถึงทางแยกระยะทางประมาณ 3 ก.ม. จะเห็นป้ายวัดถ้ำดาวเขาแก้ว ตรงสะพานลอยคนข้ามเลี้ยวซ้ายเข้าไปถึงทางแยกมีป้ายบอกให้เลี้ยวซ้ายไปวัดถ้ำพระโพธิสัตว์ จากทางแยกไปอีกประมาณ 6.5 กม. ก็ถึง



    .


    แหล่งข้อมูลอ้างอิง
    1. www.geocities.com/nashville/opry/3009/history/014.htm/
    2. www.geocities.com/sakyaputto/tavaravadee.htm
    3. www.dhammathai.org/thailand/thailand.php
    4. th.wikipedia.org/wiki
    5. www.moohin.com/
    6. www.baanjomyut.com/76province/center/02.html
    .
    .


    .



    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <CENTER>พระกรุเก๋งจีน ระยอง</CENTER>
    ที่มา pantown.com

    วัดเก๋งจีน ระยองเป็นวัดที่สร้างในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย ปัจจุบันได้กลายเป็นวัดร้างซึ่งก็คือบริเวณโรงพยาบาลประจำจังหวัดระยองในปัจจุบันนี้นั่นเอง ผู้สร้างคือพระอุปัฌชาย์ก๋งเจ้าอาวาสวัดเก๋งจีนในสมัยนั้น ท่านเป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐานและยังเป็นอาจารย์ใหญ่ภาคตะวันออกสายเมืองระยอง มีความเชื่อกันว่าท่านน่าจะเป็นอาจารย์และเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาให้กับหลวงพ่อโตวัดเขาบ่อทอง หลวงพ่ออ่ำวัดหนองกระบอก หลวงพ่อทาบวัดกระบกขี้ผึ้ง หลวงพ่อวงศ์วัดบ้านค่าย และหลวงปู่ทิมวัดละหารไร่ พระกรุวัดเก๋งจีนแตกกรุออกมาประมาณปี ๒๕๑๕ เป็นพระเนื้อชินปนตะกั่วเพียงเนื้อเดียว ด้านหลังจะเรียบ พระเกือกทั้งหมดจะลงรักปิดทอง มีพิมพ์ต่างๆมากมายนับไม่ถ้วนนับได้ร่วม ๑๐๐ แม่พิมพ์ ดังนั้นพระที่แตกออกมาจากกรุวัดเก๋งจีนจึงมีจำนวนมาก แต่ส่วนมากพระจะชำรุดงอและไม่ค่อยสวย พิมพ์นิยมคือพิมพ์มารวิชัยฐานผ้าทิพย์ พิมพ์สมาธิฐานสองชั้น พิมพ์โมคคัลลาร์ และพิมพ์พิเศษที่หายากพิมพ์ต่าง ๆ เช่น พิมพ์พระสังกัจจายน์ พิมพ์พระประจำวัน พิมพ์นาคปรกและพิมพ์พระประธานฐานผ้าทิพย์ ฯ

    พระกรุเก๋งจีน เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงลงรักปิดทอง
    เมื่อผลิกดูด้านหลังจะพบคราบปูนสีขาวอมเหลืองติดอยู่ทุกองค์ไม่มากก็น้อย
    ทั้งนี้เนื่องจากพระวัดเก๋งมิได้ถูกบรรจุอยู่ในกรุ แต่ใช้น้ำอ้อยผสมกับปูนขาวนำไปทาด้านหลังพระทุกองค์
    แล้วนำไปแปะติดประดับประดาตามผนังอุโบสถ

    ลองพิจารณางานช่าง,ศิลปะเอาครับว่าเหมือนกันไหน
    ส่วนใหญ่จะเหมือนกันหมดครับซึ่งจะแตกต่างไปบ้างในพิมพ์ที่แปลกๆแต่ก็ช่างสกุลเดียวกันจึงมีส่วนเหมือนส่วนคล้ายกันอยู่บ้างครับ

    ด้านหลังนั้นจะเรียบตรึงและส่วนมากจะมีรอยกาบหมาก(เสี้ยนไม้)ลายสามเหลี่ยมนั้นเขาเรียกบัวฟันปลามั่ง


    [​IMG]
    พระกรุเก๋งจีนระยอง(พิมพ์ปางห้ามสมุทร)

    [​IMG]
    พระกรุเก๋งจีนปางประทานพร


    [​IMG]
    พระกรุเก๋งจีน ปางนาคปรก


    [​IMG]
    พระกรุเก๋งจีนปางถวายพระเพลิง


    [​IMG]
    พระกรุเก๋งจีนปางอุ้มบาตร


    [​IMG]
    พระกรุเก๋งจีนปางอุ้มบาตรเนื้อสนิมแดงสีลูกหว้า


    [​IMG]
    พระกรุเก๋งจีนปางมารวิชัย


    [​IMG]
    พระกรุเก๋งจีนปางนางกวัก


    [​IMG]
    พระกรุเก๋งจีนปางพระมาลัย


    [​IMG]
    พระกรุเก๋งจีนพิมพ์พระภิกษุณี


    [​IMG]
    พระกรุเก๋งจีนปางพระนอน


    [​IMG]
    พระกรุเก๋งจีนปางเจดีย์ใหญ่


    .



    .

    .<CENTER>
    </CENTER>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2010
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    พระสมเด็จ

    ----------------------------------------------------------------
    ----------------------------------------------------------------


    จังหวัดกำแพงเพชร
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <DL><DD>สำหรับกำแพงเพชร ในความหมายอื่น ดูที่ กำแพงเพชร (แก้ความกำกวม)
    </DD></DL>จังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 358 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศเหนือ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ และตาก
    <TABLE class=toc id=toc sizcache="0" sizset="0"><TBODY sizcache="0" sizset="0"><TR sizcache="0" sizset="0"><TD sizcache="0" sizset="0">เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>
    [แก้] ประวัติ

    กำแพงเพชรเป็นเมืองเก่าแก่มีอายุไม่น้อยกว่า 700 ปี มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงและเป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนหน้านั้นเคยเป็นที่ตั้งของเมืองใหญ่ 2 เมือง คือ "ชากังราว" และ "นครชุม"
    [แก้] สภาพทางภูมิศาสตร์

    แม่น้ำปิงซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งที่มาบรรจบเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านตอนกลางของจังหวัดจากเหนือจรดใต้ ทางตะวันออกเป็นที่ราบ ส่วนทางตะวันตกเป็นภูเขาสลับซับซ้อน อุดมด้วยธรรมชาติ ป่าไม้ และน้ำตก
    [แก้] หน่วยการปกครอง

    การปกครองแบ่งออกเป็น 11 อำเภอ 78 ตำบล 823 หมู่บ้าน
    <TABLE><TBODY><TR vAlign=top><TD>
    1. อำเภอเมืองกำแพงเพชร
    2. อำเภอไทรงาม
    3. อำเภอคลองลาน
    4. อำเภอขาณุวรลักษบุรี
    5. อำเภอคลองขลุง
    6. อำเภอพรานกระต่าย
    </TD><TD>
    1. อำเภอลานกระบือ
    2. อำเภอทรายทองวัฒนา
    3. อำเภอปางศิลาทอง
    4. อำเภอบึงสามัคคี
    5. อำเภอโกสัมพีนคร
    </TD><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [แก้] อุทยาน

    [แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

    [แก้] ดูเพิ่ม

    [แก้] งานประเพณี

    • ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง
    • ประเพณีงานสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร
    • งานเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพง
    [แก้] อ้างอิง

    1. <LI id=cite_note-0>^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
     
  13. bcbig_beam

    bcbig_beam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +3,246
    ขอโมทนาบุญสำหรับข้อมูล ความรู้ดีๆ ที่นำมาให้อ่านด้วยครับ
    สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระหูยานลพบุรี
    โดย จ.ส.อ. เอนก เจกะโพธิ์
    ที่มา ศูนย์พระดอทคอม


    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width="6%"><TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=670 bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle width=670>พระหูยานพิมพ์กลาง กรุใหม่
    กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top width="94%">พระหูยานลพบุรี
    •••••••••••••••••••••••••
    ในบรรดาพระเครื่องของเมืองละโว้หรือเมืองลพบุรี ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในอดีตและปัจจุบัน ที่นักนิยมสะสมพระเครื่องทั้งหลายชื่อชอบและประทับใจยิ่งนั้น คงได้แก่พระหูยานและรองลงไปอีกหลายสิบชนิด อาทิเช่น พระร่วง, พระนาคปรก, พระเทริดขนนก, พระซุ้มนครโกษา, พระยอดขุนพลวัดไก่, พระเดี่ยวดำ-เดี่ยวแดง,พระรอดหนองมน, พระร่วงกรุม่วงค่อม, พระกรุถ้ำมหาเถร, พระกรุช่างกล, เหล่านี้เป็นต้น พระประเภทนี้โดยมากมักจะเป็นที่นิยมชมชอบ ของบรรดานักสะสมทั้งหลาย ได้พยายามใฝ่หาไว้ในครอบครอง เพราะปรากฏการณ์ในอดีตที่ผ่านมาในเรื่องอำนาจปาฏิหาริย์ของพระพุทธคุณ เป็นที่เชื่อถือได้ เป็นที่เลื่องลือระบือไกล จนมีชื่อเสียงดังกระฉ่อนไปทั่วทุกสารทิศ ไม่ว่าจะอยู่นอกหรือในแคว้นเดนไกล ลือลั่นดังกระหึ่มก้องไม้รู้หาย พระประเภทดังกล่าวมานี้เป็นที่สนใจของทุกๆ คนมาโดยตลอด ไม่ว่าเจ้านายฝ่ายใดทุกระดับชั้นที่เข้ามารับราชการในเมืองนี้ พอย่างเข้ามาถึง อันดับแรกที่จะพูดก็คือ พระหูยานเมืองลพบุรี กิติศัพท์และพุทธคุณอันสูงส่งเป็นที่โจษขานกันอย่างระเบ็งเซ็งแช่มาแต่อดีต จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เสียงลือเสียงเล่าอ้างนั้นคงจะดังกระหึ่มอยู่อย่างนี้ชั่วกัปชั่วกัลป์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระหูยานมีด้วยกันหลายสิบกรุ และมีอยู่โดยทั่วไปในพื้นที่ใกล้เคียงกับจังหวัดลพบุรี อาทิเช่น พระหูยานสุพรรณบุรี พระหูยานสรรค์บุรี(ชัยนาท) พระหูยานราชบูรณะ อยุธยา พระหูยาานสิงห์บุรี พระหูยานทุ่งยั้ง (อุตรดิตถ์) พระหูยานสมอปรือเพชรบุรี พระหูยานที่กล่าวนามจังหวัดเหล่านี้ มีพุทธศิลปและพุทธลักษณะ ส่วนสัดใกล้เคียงกันมาก สำหรับเนื้อันเป็นวัตถุที่นำมาสร้างคงได้แก่ ดีบุกหรือเงิน เนื้อตะกั่ว เนื้อดิน บางกรุมีเนื้อผงปูขาว (หรือที่บางคนเรียกว่าเนื้อหุ้มข้าวก็มี) เหตุที่ยืนยันว่ามีเนื้อผงปูนขาวนั้นเพราะเห็นของแท้มาจริงๆ ยืนยันได้ (กรุถ้ำมหาเถรไงครับ)
    เรื่องของความสมบูรณ์แบบหรือเรื่องของสนิมกรุนั้น แล้วแต่การฝังกรุหรือกรุเสื่อมสภาพหรือไม่เท่านั้น กรุบางกรุอยู่ในชั้นสมบูรณ์ ก็ทำให้พระมีความงามมากไม่ผุกร่อนหรือมีรอยระเบิดเกินไป แต่ถ้ากรุใดถูกเปียกชื้นมาก หรือน้ำท่วมกรุ ไหบรรจุเกิดแตกหรือบุบสลายก็จะทำให้พระภายในกรุชำรุดสูญเสียได้มาก ดังนั้นสภาพพระมักจะไม่เหมือนกัน จะมีเหมือนกันบ้างก็ส่วนน้อยส่วนสนิมกรุนั้นก็เช่นกันถ้าเป็นเนื้อตะกั่ว ก็อาจจะเกิดสนิมแดง ถ้าเป็นเนื้อดีบุก หรือชินก็จะเกิดสนิมขุมจับเกาะแน่นทั่วๆ บริเวณองค์พระ ถ้าเป็นเนื้อปูขาวหรือผงขาว ฝังกรุนานเข้าก็จะเกิดคราบฟองเต้าหู้ อันหมายถึงว่า น้ำมันส่วนผสมของปูนเช่นตั้งอิ๊ว จะลอยออกนอกเนื้อมาจับอยู่รอบๆองค์พระเกาะแนบแน่น มีสีขาวอมเหลืองบ้างหรือสีอื่นบ้างแล้วแต่สภาพกรุเช่นกัน พระเช่นว่านี้จะมีลักษณะเดียวกับพระกรุวัดใหม่ปากบาง ความเก่าของผิวกรุทำให้เราสามารถเปรียบเทียบและพิสูจน์ได้ว่าเป็นของแท้หรือของเทียม ซึ่งมีลักษณะหรือส่วนที่ใกล้เคียงกันระหว่างพระเนื้อชิน(ดีบุก) เนื้อดิน เนื้อตะกั่ว ถ้าเราเอาทั้ง 3-4 อย่างมาพิจารณาเปรียบเทียบกันแล้วก็จะรู้ได้ไม่ยากนักว่าแท้หรือเทียมเป็นอย่างไร
    กรุพระหูยานของจังหวัดลพบุรี มีด้วยกันหลายกรุ เพราะผู้สร้างมักจะสร้างพระหูยานเข้าบรรจุไว้ในพระเจดีย์ต่างๆ หรือวัดต่างๆ ที่มีบริเวณใกล้เคียงกันอยู่ไม่น้อยเลย จึงทำให้พระแต่ละกรุมีเอกลักษณ์และจุดสังเกต (หรือที่บางคนเรียกว่าตำหนิ) นั้นมีไม่เหมือนกัน นับเป็นสัญญาลักษณ์อย่างหนึ่งที่เราสามารถจะบอกได้ว่าเป็นพระกรุไหนแน่ (ต้องรู้จริงชำนาญจริง) ถ้าไม่รู้หรือเดาเอาเฉยๆ ก็แสดงว่าจับพระนั้นยัดเข้าที่นั่นที่นี่ (ไม่รู้จริง) เป็นสิ่งที่น่าอดสูใจยิ่ง คนบางคนเข้าใจว่าพระหูยานกรุช่างกลมี ที่จริงแล้วไม่เคยปรากฏว่ามีเลย จำไว้ด้วย เหตุที่ยัดกรุอย่างนี้ผู้เขียนเชื่อว่าต้องการเอากรที่ดังๆ มาตั้งสรรพคุณมากกว่า หรือเพื่อจะได้ให้คนเชื่อมากกว่าจึงกล่าวเช่นนั้น
    พระหูยานต่างกรุจึงมักจะไม่เหมือนกันในเอกลักษณ์ของแต่ละกรุ แต่ละทรวงทรงหรือลักษณะเล็ก-ใหญ่ ใกล้เคียงกันมาก พระหูยานบางกรุอยู่ในชั้นที่สมบูรณ์แบบ ผิวของชิน (ดีบุก) ยังขาวฝังจับเนื้อแน่นดูคล้ายของใหม่เลยก็มี ต้องดูให้ดีว่าผิวนั้นเป็นมันอยู่หรือเปล่า ถ้าเป็นมันอยู่หรือผิวไม่แห้งสนิทเลยนั้นอาจจะเป็นของเทียมค่อนข้างแน่ ถ้าเป็นของแท้จริงผิวของดีบุกหรือชินจะแลดูผิวขาวนวลแห้งสนิทเหมือนดังปุยเมฆ (แหงมองท้องฟ้า) เปรียบเทียบดู แห้งแบบด้านๆ จะมีส่วนหมองคล้ำของผิวนิดๆ สิ่งสำคัญที่สุดนั้นต้องพิสูจน์ให้ถูกต้องเนื้อถูกต้อง คนลพบุรีเองบางคนคล้องพระหูยานเก๊ก็มีมากมาย ของแท้ถูกนักนิยมสะสมพระเครื่องชาวกรุงหรือผู้มั่งคั่งจังหวัดอื่นๆเช้าไปแทบหมดแล้ว คงเหลืออยู่บ้างเล็กน้อยเท่านั้น พอจะกำหนดตัวคนที่มีได้ พระหูยานเป็นยอดจักรพรรดิของพระเครื่องพิมพ์หนึ่ง เป็นยอดมหาอุตและคงกระพันชาตรี จนกระทั่งมีนักนิยมพระรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ให้สมญานามท่านว่า "ยอดจักรพรรดิแห่งกรุงละโว้" ไม่ว่าจะเป็นอภินิหารปาฏิหาริย์ความศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ และสิ่งมหัศจรรย์ นานับประการอยู่ในองค์พระหูยานทั้งหมด พระอื่นๆ ก็มีผู้กล่าวขานเป็นรองๆ ลงไป
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=670 bgColor=#000000>[​IMG][​IMG]</TD><TD vAlign=top width=670 bgColor=#000000></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2>พระหูยานพิมพ์ใหญ่ กรุใหม่ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ความเกรียงไกรและยิ่งใหญ่ของพระหูยาน มีผู้พูดหลายร้อยหลายพันคน ซ้ำแล้วซ้ำเล่าครั้งแล้วครั้งเล่าว่า พระหูยานนั้นเหนียวชะมัด (ไม่ใช่เหนียวหนี้) ขนาดปืนยังไม่ดังหนังไม่ถลอกซึ่งเป็นเรื่องที่เล่าติดต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นับเป็นร้อยเป็นพันราย ไม่มีเสื่อมคลาย เหตุนี้เองจึงมีนักสะสมทั้งรุ่นใหม่สนใจหากันอยู่มิได้ขาด และยังจะหากันต่อไปอีกนานเท่านานไม่มีวันจบสิ้น
    เมืองลพบุรี เป็นเมืองที่มีพระเครื่องมากเมืองหนึ่ง และเป็นพระที่นักนิยมทั้งหลายยอมรับนับถือในคุณค่า ตลอดจนกระทั่งศิลปกรรม อันเป็นโบราณวัตถุที่มีความเก่าแก่มาแล้วช้านานและจัดเป็นพระเครื่องที่มีศิลปสมัยสูงสมัยหนึ่ง นักสะสมหรือนักนิยมพระที่รู้จริงสามารถบอกได้ว่าเป็นพระสมัยลพบุรี ที่บอกได้เพราะเขารู้ศิลปจริง จะมีผิดพลาดบ้างก็เล็กน้อย เว้นไว้แต่ว่าพระที่ลอกเลียนแบบสมัยสูงๆ โดยก๊อปปี้หรือถอดพิมพ์แล้วนำมาทำใหม่ในยุคที่ต่ำกว่า หรือระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยกัน เป็นเรื่องที่มีปัญหาถกเถียงกันอยู่เสมอ บางคนว่าถึงยุค บางคนบอกว่าไม่ถึงยุคสมัย คนประเภทนี้ไม่รู้ศิลปที่แท้จริง ไม่เคยเรียนศิลปมาก่อน ย่อมจะพูดชนิดบิดเบือนความเป็นจริงอยู่ตลอด คนประเภทนี้ไม่รู้จักศิลปะ และไม่รู้จักวิธีการลอกเลียนแบบอีกด้วย จึงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันเสมอมา (คนที่เรียนศิลปมาจึงจะรู้แจ้ง) พระเครื่องในสมัยอยุธยา มีศิลปลพบุรีก็มี เพราะอยุธยาต้องเลียนแบบมาจากสมัยสูงกว่านั่นเอง หรือในสมัยอยุธยานำเอาพระเครื่องที่มีศิลปสมัยสูงกว่าเช่นลพบุรีนำไปบรรจุยังกรุอยุธยา ก็มีพบกันอยู่บ่อยๆ และเสมอๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์ (ปัจจุบันนี้) ก็มีการลอกเลียนแบบสร้างพระทุกสมัยที่เหนือกว่าก็มีมากมี เป็นการสืบทอดเจตนาของช่างผู้สร้างเอาว่าอย่างไหนดีและไม่ดี
    พระหูยานแต่ละกรุที่ผู้เขียนจำได้และรวบรวมไว้มีประมาณ 21 กรุ ดังนี้คือ

    1. พระหูยานกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (กรุต้นกำเนิดหรือกรุหัวปี) 2440 ลพบุรี
    2. พระหูยานกรุวัดปืน ลพบุรี
    3. พระหูยานกรุวิหารกรอ (เนื้อดินบัวคว่ำ-บัวหงาย)
    4. พระหูยานกรุอินทรา ลพบุรี (ที่ฐานมีรอยตาปูตอกเป็นกรุ)
    5. พระหูยานกรุตาพริ้ง พิมพ์คอพอก ลพบุรี
    6. พระหูยานกรุตาอิน ลพบุรี
    7. พระหูยานกรุถ้ำมหาเถร (พระเกศมาลาแหลม)
    8. พระหูยานกรุวัดเจาะหู
    9. พระหูยานกรุยอดพระปรางค์
    10. พระหูยานกรุวัดกำแพง เนื้อตะกั่วสนิมแดง (ลำน้ำบางขาม) บ้านหมี่ลพบุรี
    11. พระหูยานกรุวัดราชบูรณะ (หลังวัดพรหมมาสตร์) ลพบุรี
    12. พระหูยานกรุวัดราชบูรณะ (อยุธยา)
    13. พระหูยานเนื้อดิน สุโขทัย
    14. พระหูยานกรุน้ำผึ้ง จ.สิงห์บุรี อำเภอบางระจัน
    15. พระหูยานกรุวัดขื่อคำ สรรค์บุรี (เนื้อตะกั่วสนิมแดง)
    16. พระหูยานกรุวัดมหาธาตุ สุพรรณบุรี
    17. พระหูยานกรุสมอปรือ เมืองเพชรบุรี (วัดค้างคาว)
    18. พระหูยานกรุกรุทุ่งยั้ง อุตรดิตถ์
    19. พระหูยานกรุวัดพระธาตุ สรรค์บุรี (บัวพันปลา) หรือวัดศรีษะเมือง ชัยนาท
    20. พระหูยานกรุวัดสิงหล (เหนือวัดป่าธรรมโสภณ วัดร้าง ชินผุทั้งหมดเห็นแต่รูปร่างเท้านั้น)
    21. พระหูยานกรุวัดมหาธาตุ อยุธยา
    พระหูยานที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มีรูปลักษณะหรือทรวงทรงใกล้เคียงกันมาก เว้นไว้แต่สิ่งที่ผิดเพี้ยนในเรื่องของแม่พิมพ์หรือจุดสังเกตุในพิมพ์บ้าง (ที่บางคนเรียกว่า "ตำหนิ") พระหูยานมีอยู่ 3 พิมพ์ด้วยกันคือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก ส่วนจะเรียกว่าหน้าพระ หน้านาง หน้าเทวดา หน้ายักษ์ นั้นก็แล้วแต่จะเรียกตามความคิดเห็น ส่วนบัวซึ่งเป็นที่ประทับนั้นมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ บัวคว่ำและบัวหงาย พระที่แตกกรุออกมาครั้งแรกนั้น คนทั้งหลายเรียกว่า "พระหูยานกรุเก่า" พระที่แตกกรุเมื่อปี 2508 คนทั้งหลายเรียกกันว่า "พระหูยานกรุใหม่" ทั้งกรุเก่าและกรุใหม่เป็นพระพิมพ์เดียวกัน

    [​IMG] [​IMG]
    พระหูยานพิมพ์ใหญ่ กรุเก่า กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี


    การพบพระหูยานนั้นเพราะคนร้ายหลายรุ่น หลายกลุ่ม หลายยุค หลายสมัย ได้ซ่องสุมชุมนุมพลวางแผนกันขุดบางทีได้มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่โอกาสหรือความมากน้อยในแต่ละพระเจดีย์ที่บรรจุ ทางเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรก็พยายามค้นหาหลักฐานเหล่านั้นด้วย และได้ไว้ในพิพิธภัณฑ์บ้างแต่ก็ยังไม่ได้มากเท่ากับคนร้าย ในการลักลอบขุดแต่ละครั้งบางทีก็พบแม่พิมพ์พระชนิดต่างๆ รวมอยู่ด้วย แต่โดยมากเป็นเนื้อดิน (พิมพ์ดิน) ส่วนพิมพ์สำริดมีน้อยมาก พิมพ์พระหูยาน พิมพ์พระเหวัชระและพิมพ์หลวงพ่อจุก สามพี่น้อง (ตรีกาย) ก็พบเห็น พิมพ์ดินทั้งหมด มีช่างชาวอยุธยาได้เช่าจากร้านค้าของเก่าในเมืองลพบุรีไปแทบหมด และออกลูกหลาน เหลน มาให้ได้ชมกันต่อ
    พระหูยานผู้เขียนเชื่อว่ามีต้นกำเนิดมาจากพระแผงสาม (ตรีกาย) นั่นเอง ใครจะเชื่อหรือไม่นั้นดูเอาเองและคิดให้ถ้วนถี่ว่าที่ผมพูดเช่นนี้มีความจริง หรือความเท็จแค่ไหน (ถ้าเห็นว่าเป็นเท็จอย่าเชื่อ) พระหูยานมีลักษณะเป็นศิลปสกุลช่างสมัยลพบุรี รูปองค์พระปฏิมากรประทับนั่งปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบบนอาสนะบัวเล็กช้าง 5 กลีบ มีเกสรบัวเป็นเม็ดๆ จุดๆ คล้ายไข่ปลาบนกลีบบัวทั้ง 5 พระศกแบบผมหวี พระเกศมาลามุ่นขมวดคล้ายดอกบัวตูม มีลายเส้น 2 เส้น เฉลียงไปทางขวามือของเรา (ทางซ้ายมือขององค์พระ) คล้ายกับดอกบัวเริ่มผลิตกลีบออกจากกัน (เริ่มบาน) พระกรรณ (หู) ทั้งสองข้างยานยาวจากระดับพระขนงเกือบจรพระอังสา (บ่า) พระพักตร์แสดงอวัยวะแต่ละส่วนออกมาอย่างชัดเจน ดูหน้าดุถมึงทึง บางคนเรียกว่าหน้ายักษ์ รอบบริเวณบนใบหน้า (พระพักตร์) จะแลดูอิ่มเอิบส้นพระขนง (คิ้ว) คล้ายนกบิน คือมีเส้นติดต่อกันตลอด ดวงเนตรเป็น 2 ชั้น ริมฝีพระโอษฐ์แสยะยิ้มเป็นร่อง ด้านหนึ่งทางซ้ายมือของเราจะแลเห็นริมฝีพระโอษฐ์งอนขึ้น (ด้านล่าง) ริมบนงอนลง ในพระกรรณจะมีรอยเส้นลึกลงอย่างเห็นได้ชัด (ของปลอมมักจะไม่ชัด) กรองศอหรือกรองคอจะมีเส้นนูนขึ้นคล้าย กระดูกไหปลาร้าของคนเราแต่กลมกลืนว่า ใบหู (พระกรรณ) ยานยาวเกือบจรดพระอังสา (บ่า) สังฆาฏิจะมีเส้นนูนขึ้น (ไม่ลึกลง) ดูคล้าย 2 เส้น แต่ความจริงด้านบนจะมีเส้นนูนเล็กๆ แซมมาอีก (เส้นนี้สำคัญมากเป็นข้อสังเกตที่น่าพิจารณา) รอยปะหรือรอยขอบจีวรด้านซ้ายมือของเราจะมองเห็นเป็นแผ่นคล้ายแม่พิมพ์แตกจรดกับขอบสบงด้านล่างซ้ายมือ (รอยปะนี้นูนขึ้นคมชัดเป็นจุดสังเกตที่สำคัญยิ่งจุดหนึ่ง) ยิ่งไปกว่านั้นจุดสังเกตที่สำคัญที่สุดในพระหูยานพิมพ์ใหญ่ (นิยม) ใต้ขอบสบงด้านซ้ายมือของตัวเรา จะมีเส้นเล็กๆ ซึ่งเป็นรอยขอบสบง (ซึ่งนักนิยมสะสมทั้งหลายไม่คำนึงถึงนัก) แต่เป็นจุดหนึ่งที่มีความหมายมากและสำคัญมาก ส่วนพิมพ์อื่นหรือกรุอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ จุดสังเกตในองค์ปฏิมาอาจจะไม่มีก็ได้ ซึ่งก็เป็นของแท้เหมือนกัน แต่ชาวกรุงไม่นิยม จะนิยมเฉพาะคนรู้เท่านั้น (โดยส่วนรวมชาวกรุงเทพนิยมเฉพาะพิมพ์ใหญ่ เพียงพิมพ์เดียว)
    ด้านหลังขององค์พระหูยานนั้นมีทั้งแอ่งเล็ก หลังลายผ้า หลังเรียบและหลังตัน และโดยมากจะมีลายผ้าหยาบ(ผ้าใบ) ปรากฏอยู่ทั่วๆ แทบทุกองค์ บางองค์บางมาก บางองค์ก็หนาเทอะทะบางองค์ถูกสกัดด้วยของมีคมริมๆ หรือขอบขององค์พระ บางองค์ก็ไม่มี ขนาดของพระหูยานโดยส่วนรวมแล้วมี 3 ขนาด คือ

    พิมพ์ใหญ่ มีขนาดสูงประมาณ 5.5 เซนติเมตร
    พิมพ์กลาง มีขนาดสูงประมาณ 5.5 เซนติเมตร
    พิมพ์เล็ก มีขนาดสูงประมาณ 4.0 เซนติเมตร

    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=670 bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>
    [​IMG]
    เปรียบเทียบพระหูยานพิมพ์ใหญ่กับพิมพ์กลาง กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    หลักการพิจารณาเกี่ยวกับพระกรุเก่า และพระกรุใหม่ มีอยู่ว่า
    พระกรุเก่าหรือพระกรุใหม่ เป็นพระที่สร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน ใช้แม่พิมพ์อันเดียวกัน แต่ต่างกันที่สภาพของกรุ เวลาของการพบและการนำออกจากรุ พระกรุเก่ามักจะเกิดมีผิวสนิมดำความอับชื้นที่ทำให้เกิดเชื้อรา และได้ถูกความเค็มเข้าก็จะทำให้พระเปลี่ยนจากสภาพไปได้ทุกโอกาสคือ จากผิวที่ขาวแห้งสนิท เป็นสีดำได้ เหงื่อของคนเราสามารถทำให้พระที่มีความงามเปลี่ยนแปลงเป็นไม้งามได้ (ควรระวัง) เนื้อพระทั่วๆ ไปของกรุเก่าโดยมากมักจะมีรอยผุกร่อนและระเบิดทั่วไปมีสนิมจับซับซ้อน เนื่องจากสภาพของกรุหรือไหแตก เหงื่อหรือหยดเหื่อได้ผสมกับดินเกาะกินเนื้อดีบุกหรือชิน หรือตะกั่วเข้าแล้วจะทำให้เกิดสนิมได้ไวหรือมากกว่า กรุที่สมบูรณ์แบบคือไหไม่แตก ดินไม่สามารถจะเข้าไปคลุกเคล้ากับเนื้อดีบุก ชิน ตะกั่วได้ จึงทำให้พระอยู่สภาพเดิม ซึ่งก็เหมือนกับพระกรุใหม่ปี 08 นั่นเอง จะมีรอยระเบิดหรือผุกร่อนน้อยมาก บางองค์ไม่มีเลย
    พระพิมพ์ใหญ่ (นิยม) ให้สังเกตจุดสังเกตในแม่พิมพ์ซึ่งปรากฏในองค์พระตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น กลีบบัวกลีบที่สองนับจากซ้ายมือขององค์พระจะยื่นล้ำออกมาข้างหน้ามากกว่ากลีบอื่นๆ รอยนิ้วก้อยนิ้วที่ 5 จะหันกับกลีบบัวกลีบหนึ่งแลดูเป็นเส้นนูนเส้นเดียวกัน รายละเอียดอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้วอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ แล้วแต่คนกดพิมพ์(เวลาเทพระลงเบ้า) สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ด้านหลังขององค์พระจะต้องมีลายผ้าหยาบอันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง หากเป็นลายละเอียดมากเกินไปมักจะปลอม เป็นของปลอม ส่วนพิมพ์หลังแบบก็มี แต่น้อยคนจะรู้จัก
    ในปัจจุบันนี้ได้มีนักผลิตพระปั๊มขึ้นจำนวนมาก และหลายจังหวัดด้วยโดยเอาพระเก่าๆ (เนื้อเก่าๆ) มาปั๊มให้เกิดความสมบูรณ์หรือมีค่านิยมมากกว่าของเดิม เช่นพระหูยานนี้ก็มีผู้ปั๊มซึ่งเป็นพระที่มีราคามาก เมื่อทำการปั๊มเสร็จแล้ว ผู้ปั๊มก็จะทำการตบแต่ง หรือไม่ก็มีบรรดาพวกลูกค้ามาว่าจ้างให้ผลิตเพื่อนำจำหน่ายอีกครั้ง ลูกค้าอาจจะนำไปตบแต่งเอง นับเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เนื้อพระก็เก่า-แท้ พิมพ์ก็ถูก ที่กล่าวมานี้เป็นการเตือนสตินักเล่นพระเนื้อชินบางคนเท่านั้น (ที่เชื่อถือผม) ได้ตระหนักและไตร่ตรองให้จงดีซะก่อน ราคาต้นทุนองค์ละ 100-200-300 บาท ใครทำปลอมไม่ต้องกล่าวนามเพราะเสียหน้ากระดาษ แต่สามารถนำไปพบตัวได้ (จากพิษณุโลกลงมาถึงกรุงเทพฯ) นี่เป็นเรื่องจริงที่ยกตัวอย่างให้ท่านฟัง ใครไม่เชื่อก็ตามใจ ผมเป็นกรรมการรับพระเนื้อชินครั้งไรเป็นต้องมีพระปั๊มส่งเข้าประกวดทุกที นับเป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่ง บางครั้งผมบอกไปก็หาว่าผมกลั่นแกล้ง ไม่ยอมพูดจากับผมก็มี ชัดชัดช่า….ๆ…..ๆ ไม่จำแปลกและไม่วอรี่เลยสำหรับคนประเภทนั้น และไม่เคยอวดอ้างกับใครๆ เลยว่าดูพระเนื้อชินเก่ง แต่คนก็ยังรู้กันทั้งเมืองจนได้
    พระหูยานมีคุณวิเศษหลายร้อยหลายพันอย่าง ไม่ว่าทางคงกระพันชาตรีหรือแคล้วคลาดพระหูยานสามารถแผ่อิทธิปาฏิหาริย์ให้กับผู้ใช้เป็นที่พึงพอใจมาแล้วเป็นอย่างดียิ่ง นอกจากนั้นพระหูยานยังเป็นพระที่เป็นของกำนัล สำหรับผู้ให้กับผู้รับเป็นอย่างดียิ่ง นอกจากนั้นพระหูยานยังเป็นพระที่เป็นของกำนัล สำหรับผู้ให้กับผู้รับเป็นอย่างดี เช่น การโยกย้าย ของขวัญวันเกิด ของขวัญวันแต่งงาน ของขวัญสำหรับผู้ว่า ของขวัญสำหรับผู้หมวด ของขวัญสำหรับ ผบ.ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการย้ายเข้าย้ายออกหรือเลื่อนยศ ปลดย้าย คนที่เคารพนับถือกันในเมืองลพบุรี มักจะมีพระประเภทดังว่านี้ให้เป็นของขวัญเสมอๆ ซึ่งของขวัญหรือของกำนัลเหล่านี้ดีกว่าการให้เงินให้ทองเสียอีก
    ผมไม่ได้ว่าใครนะครับ ขอให้ผู้ที่ได้รับจงภูมิใจ เถอะครับว่า พระหูยานนี้คนทั้งเมืองเขาหากันเขาอยากได้กันทั้งบ้านทั้งเมือง ก็ขอท่านที่เคารพทั้งหลายเลือกสรรหาว่าทั้ง 2 กรุดังกล่าวมานั้น พิศมัยกรุไหนมากเลือกเอาเอง พระหูยานที่แท้องค์ละเป็นหมื่นหรือหลายสิบหมื่นขึ้นไป ใครเขาจะให้ท่าน ในเมื่อเศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ คนลพบุรีเองยังคล้องหูยานเก๊กันบานตะไท สัมมหาอะไรกับคนต่างจังหวัด จริงไหมฮับ
    ถ้าท่านสงสัยว่าพระหูยานมีปลอมไหม ขอตอบดังๆ และชัดๆ เลยมีปลอมกันมาตั้งแต่ผมยังไม่เกิด เพราะพระหูยานใครๆ ก็รู้ว่าเป็นพระยอดดังของเมืองลพบุรี จึงมีผู้ทำปลอมกันเรื่อยๆ มา ขณะนี้ก็ยังปลอมอยู่ สตังค์ดีบุกก็มีคนนำมาหลอมละลายทำเป็นพระหูยานมาแล้ว เนื้อพระประเภทนี้ดูยากมากถ้าเกิดระเบิด มีคนเช่าผิดก็หลายราย มีคนนำมาส่งเข้าประกวดก็มาก ซึ่งก็ไม่ค่อยจะผ่านสายตากรรมการไปได้มากนัก จึงขอเรียนให้ท่านทั้งหลายได้รับทราบว่า พระหูยานเนื้อสตางค์ 10-20 หรือ 1 สตางค์นั้น ดูยากพอสมควร แต่เราก็สามารถหาจุดได้โดยอาศัยความชำนาญ คือ ลายกนกอันเป็นลายไทยที่เราเห็นนั้นจะไม่ละลายตัวจะมีเศษเล็กๆ น้อยๆ ให้เราได้เห็น (ถ้าส่องกล้องดู) เราสังเกตให้ดี จะรู้เองว่าเนื้อสตางค์ 1 สตางค์ 10 สตางค์ หรือเนื้อสตางค์ 20 นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ถ้าเนื้อดีบุก การเกิดมีรอยระเบิดหรือผุกร่อนจะทำให้ดูยาก มีคนผิดพลาดเรื่องนี้มาก การดูพระหูยานไม่ใช่เรื่องหมูๆ เป็นเรื่องที่ดูได้ยากมาก แต่ก็ไม่สุดความสามารถถ้าสนใจ และพยายามดูของจริงให้มาก อ่านหนังสือทุกเรื่องทุกเล่ม แล้วท่านจะเก่งเอง สำคัญที่สุดถ้าเป็นพระเนื้อสตางค์น้ำหนักจะเบา
    สาเหตุที่เรียกชื่อว่าพระหูยานนั้น ผู้ขุดครั้งแรกคงจะเห็นพุทธลักษณะของท่านตรงใบหู (พระกรรณ) ยานยาวจรดบ่านั่นเอง จึงขนานนามของท่านว่าพระหูยาน เพราะใบหูขององค์พระปฏิมายาวกว่าพระประเภทอื่นๆ นั่นเอง ผู้ขุดพบครั้งแรกจึงเรียกท่านว่า "พระหูยาน"
    เรื่องพุทธคุณนั้น เห็นจะไม่ต้องกล่าวอ้างมากเกินไป บอกได้ว่าเป็นที่ยอมรับของสังคมพระเครื่องโดยทั่วไป อย่างมิมีวันเสื่อมคลาย "คงกระพันชาตรี มหาอุตม์ สุดยอดดีทุกอย่าง"
    จุดสังเกตที่พึงจดจำไว้ เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับพระหูยานที่มีอยู่ตามพุทธลักษณะ ดังต่อไปนี้

    1.พระโมลีหรือพระเกศมาลาคล้ายดอกบัวตูมเริ่มผลิกกลีบ (แตกกลีบ)
    2. เส้นพระศกมักเกล้าเป็นเส้นถักแนวตั้ง
    3. ไรพระศกเป็นเส้นนูนอิสระกลมกลืน
    4. พระขนงเป็นเส้นนูนติดต่อกันเหมือนวิหคเหิรลม(นกบิน)
    5. ม่านพระเนตรอูม
    6. เส้นพระกรรณ ทั้งสองข้างชัดเจน ซ้ายมือเราชัดเจนว่า
    7. ริมพระโอษฐ์ด้ายซ้ายมือเราแสยะยิ้มสูงกว่าอีกข้างหนึ่ง
    8. ขอบสังฆาฏิ ด้านขวามือเราจะจรดกับปลายพระกรรณ (ปลายหู)
    9. เส้นแซมภายในสังฆาฏิ (เส้นสำคัญเส้นหนึ่ง)
    10. สร้อยพระศอหรือกรองคอนูนขึ้น
    11. เส้นนูนพระปรัศว์ มี 2 จุดคล้ายฟันหนู (บางองค์ชัดเจน บางองค์อาจจะไม่มี
    12. รอยซ้อนหรือรอยปะทับของจีวรจะปรากฏลึก แต่นูนขึ้น
    13. ขอบอันตวาศกเป็นเส้นนูนกลมกลืนพระอุทรจรดรอยปะ
    14. เส้นแซมซ้อนของอันตวาศก (จุดสังเกตที่สำคัญยิ่งจุดหนึ่ง)
    15. ขอบจีวรเป็นเส้นนูนจรดข้อพระกร
    16. นิ้วเท้าทั้ง 5 ชัดเจนมาก
    17. เกษรบัวมี 13 จุด
    18. บัวกลีบที่ 2 ขวามือเราจะนูนมากกว่าบัวกลีบอื่นๆ (ยื่นออก)
    19. นิ้วก้อยจรดพระชานุทับกลีบบัวกลีบแรก (ซ้ายมือเรา) เป็นเส้นเดียวกัน



    .


    .


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 04.jpe
      04.jpe
      ขนาดไฟล์:
      14.6 KB
      เปิดดู:
      539
    • 011.jpe
      011.jpe
      ขนาดไฟล์:
      14.1 KB
      เปิดดู:
      355
    • 012.jpe
      012.jpe
      ขนาดไฟล์:
      13.9 KB
      เปิดดู:
      199
    • 021.jpe
      021.jpe
      ขนาดไฟล์:
      14.3 KB
      เปิดดู:
      339
    • 022.jpe
      022.jpe
      ขนาดไฟล์:
      16.3 KB
      เปิดดู:
      274
    • 05.jpe
      05.jpe
      ขนาดไฟล์:
      26.7 KB
      เปิดดู:
      2,260
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2010
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nongnooo [​IMG]
    ว่าแต่ 11องค์ คอเคล็ดปล่าวครับ หุ หุ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]

    จิ๊บๆ อิอิ

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    มาบอกอีกครั้งครับว่า จิ๊บๆๆๆ

    ขนาดพระกริ่งปวเรศยังห้อยมาแล้ว 9 องค์ อิอิ

    แต่ไม่ต้องทำหน้าเหยเกครับ หุหุหุ<!-- google_ad_section_end -->
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nongnooo [​IMG]
    ว่าแต่ 11องค์ คอเคล็ดปล่าวครับ หุ หุ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]

    จิ๊บๆ อิอิ

    .


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    มาบอกอีกครั้งครับว่า จิ๊บๆๆๆ

    ขนาดพระกริ่งปวเรศยังห้อยมาแล้ว 9 องค์ อิอิ

    แต่ไม่ต้องทำหน้าเหยเกครับ หุหุหุ<!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 25 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 23 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, psombat+ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><THEAD><TR><TD class=tcat colSpan=2>[​IMG] (View-All) สมาชิกที่ได้อ่านกระทู้นี้แล้ว : 1122 (Set) </TD></TR></THEAD><TBODY></TBODY></TABLE>

    ต่อไปจะห้อยชุด เป็นที่รักของสามโลกครับท่านลูกน้อง หุหุหุ


    .<!-- google_ad_section_end --> <!-- / message --><!-- sig -->
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 26 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 24 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, psombat+ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เรียนท่านลูกน้อง

    วันนี้ ห้อยชุด พระกริ่งปวเรศ (เนื้อนาค) , พระปิดตา(หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง) , พิมพ์เตารีด (หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้) , พิมพ์ขี้ตา (หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน) และพิมพ์อรหันต์กลาง (หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร อธิษฐานจิต 2 องค์ คือหลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า และหลวงปู่อิเกสาโร)

    ตกลงแล้ว ดีป่าวครับ แรงป่าวครับ อิอิ


    .
     
  18. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    บังเอิญไม่สามารถจัดชุดนี้ด้วยซีครับ :)

    วันไหนห้อยชุดทองคำ บอกด้วยนะครับว่า hot! ขนาดไหน
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  20. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    อย่าร้องไห้เลยพี่ สงสัย ผบทบ จะเป็นห่วงพี่อะนะ

    ไว้ผมรอถามท่านเจ้าสัวกับท่านพี่สิทธิพรดีกว่าครับ :)
     

แชร์หน้านี้

Loading...