เพื่อการกุศล :::(เปิดจอง)ล็อกเกตพระแก้วมรกต"ภูริทัตตเถรานุสรณ์-สมเด็จองค์ปฐมอมฤตศุภมงคลญาณสังวร":::

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย dekdelta2, 13 พฤศจิกายน 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 30 ผงวิเศษหัวเชื้อของหลวงปู่บุญตา วัดคลองเกตุ

    [​IMG]
    ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2472 ที่วัดหนองม้า ต.หนองฮะ อ.ศรีขรภูมิ จ.สุรินทร์
    โดยมีพระอธิการกลัด เจ้าอาวาสวัดสะเม็ด เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์กา วัดสะเม็ด เป็นพระกรรมวาจา
    พระอธิการเผือ วัดบ้านเครือ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ท่านได้รับฉายาว่า "วิสุทธสีโล" แปลว่า "ผู้มีศีลอันบริสุทธิ์"
    เมื่อบวชแล้วได้จำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์กลัด พระอุปัชฌาย์ในวัดสะเม็ด
    ได้เริ่มเรียนการปฏิบัติกัมมัฏฐานอย่างจริงจังกับผู้เป็นอุปัชฌาย์
    พร้อมกับเรียนพระปริยัติธรรมควบคู่ไปด้วยและก็สอบได้นักธรรมชั้นตรีในพรรษาแรก

    เมื่อจิตใจพึงพอใจอยู่กับความสงบประกอบกับหลวงปู่ท่านได้สมาธิแล้ว
    ก็ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายที่จะต้องอยู่กับสิ่งแวดล้อมแห่งผู้คน
    จึงขออนุญาตพระอาจารย์กลัดแสวงหาครูบาอาจารย์สอนวิชา
    โดยไปจำพรรษาที่วัดกลาง จังหวัดบุรีรัมย์
    เพราะทราบว่ามีครูบาอาจารย์ดีในวัดหลายองค์
    ท่านจึงได้ศึกษาวิชาต่างๆ หลายแขนงทั้งทางด้านปฏิบัติธรรม ด้านคาถาอาคม
    ไสยศาสตร์ แต่เนื่องจากวิชาอาคมต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นภาษาขอมท่านจึงคิดที่หาที่เรียนภาษาขอม
    จึงเดินทางไปยังวัดเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
    เรียนภาษาบาลีและอักขระขอม ใช้เวลาเรียนอยู่ 4 ปีเต็มจนแตกฉานในภาษาบาลีและอักขระขอม

    จบแล้วจึงไปจำพรรษาที่วัดพระเสาร์เป็นเวลา 3 พรรษา
    และท่านก็ปรารถนาจะกราบนมัสการพระธาตุพนม ซึ่งไม่เคยไปมาก่อน
    ท่านจึงออกเดินทางธุดงค์ไปยังวัดพระธาตุพนม ค่ำไหนก็ปักกลดที่นั่น
    ทำการสำรวจจิตใจด้วยตนเอง ทบทวนด้วยเรื่องของสังขารอยู่ในป่าทึบ
    จนกระทั่งถึงวัดพระธาตุพนม และอยู่ที่วัดพระธาตุพนม 7 วัน

    จากนั้นออกธุดงค์ต่อไปทางจังหวัดเชียงใหม่ไปพักอยู่วัดอุโมงค์
    เป็นวัดที่พระชาวศรีลังกามาสอนธรรมะ
    ท่านอยู่ที่นั่น 15 วัน ก็ธุดงค์ต่อไปทั่วภาคเหนือและภาคอิสาน


    [​IMG]

    ปี พ.ศ. 2474 หลวงปู่เดินธุดงค์อยู่เชียงใหม่
    ท่านทราบว่าเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) แสดงธรรมอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง
    ท่านดีใจมากที่จะได้พบพระสุปฏิปันโน
    และท่านก็ได้รับความเมตตาชี้แนะแนวทางธรรม
    หลังจากนั้นท่านจึงธุดงค์ไปวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
    ไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเสาร์ กันตสีโล
    ซึ่งหลวงพ่อเสาร์ ท่านเชี่ยวชาญเรื่องปัฏฐวีกสิณ เตโชกสิณ อาโปกสิณ และวาโยกสิณ
    หลวงพ่อเสาร์ท่านได้เมตตาสอนปัฏฐวีกสิณให้
    โดยนำดินมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ ขนาดเท่าหม้อใหญ่และขนาดขันน้ำ โดยมองให้เห็นอยู่อย่างนั้น
    แล้วลืมตามาเพ่งใหม่คือ การเพ่งดินเป็นอารมณ์ และในการฝึกนั้นจะมีพระมหาปิ่น ปญฺญาธโร
    และพระอาจารย์สิงห์ ขันตคยาโม
    เป็นผู้เข้มงวดในการฝึก
    จนกระทั่งหลวงปู่บุญตา เข้าถึงปฐวีกสิณอย่างรวดเร็วกว่าศิษย์ท่านอื่นๆ

    จากนั้นท่านจึงกราบลาหลวงพ่อเสาร์ และพระมหาปิ่น ธุดงค์มาทางจังหวัดลพบุรี
    และมาพักอยู่วัดพรหมมาสตร์ มาอยู่กับหลวงพ่อพุทธวรญาณ ได้ศึกษาธรรมะอยู่ 1 พรรษา
    จากนั้นจึงเดินทางเข้าไปกรุงเทพฯ ไปอยู่วัดมหาธาตุ
    พร้อมกับปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานกับพระเทพสิทธิมุนี ภาวนายุบหนอ พองหนอ
    เพ่งสติให้เป็นมหาสติปัฏฐาน ปฏิบัติได้ 2 เดือนเศษก็มีความชำนาญและช่ำชองอย่างรวดเร็ว

    ออกจากวัดมหาธาตุ ย้อนกลับไปยังจังหวัดนครสวรรค์
    ได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเดิม พุทธสโร แห่งวัดหนองโพ ได้ศึกษาวิชากับหลวงพ่อเดิมหลายอย่าง
    เช่น การสร้างมีดหมอเทพศาสตราตามตำรับเดิมแท้ ฯลฯ
    และท่านได้ไปเรียนวิชากับหลวงพ่อทองวัดเขากบ ซึ่งท่านมีชื่อเสียงในการเล่นแร่แปรธาตุ

    จากนั้นได้เข้าศึกษาพระธรรมที่วัดศรีษะเมือง หรือวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีชื่อเสียงทางปริยัติธรรม
    หลวงปู่บุญตาจึงได้ศึกษาจนสำเร็จนักธรรมชั้นโทและนักธรรมชั้นเอก
    ท่านอยู่ที่ในนครสวรรค์ 4 พรรษา จากนั้นก็กลับมาลพบุรี มาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองบัว ต.คลองเกตุ
    อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส ในปี 2483
    ท่านอยู่ที่วัดหนองบัว 3 พรรษา จากนั้นจึงกลับไปเยี่ยมภูมิลำเนาเกิด โดยไปจำพรรษาที่วัดพระเสาร์
    เป็นเวลา 3 พรรษา จากนั้นก็กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวอีกครั้งหนึ่ง
    ในการอยู่วัดหนองบัวท่านก็ได้โน้มน้าวจิตใจของญาติโยมเข้าวัดปฏิบัติธรรม
    ควบคู่ไปกลับการสอนปริยัติธรรมให้กับพระภิกษุสามเณร
    รวมทั้งเป็นที่พึ่งของญาติโยมในภาวะเจ็บไข้ท่านก็ใช้พลังอำนาจทางจิตทำการรักษา
    รวมทั้งผู้ที่ถูกคุณไสยมนต์ดำ หลวงปู่สยบมาแล้วทั้งนั้น
    ชื่อเสียงด้านการสอนธรรมะและปฏิบัติธรรมของหลวงปู่ ทำให้ผู้ใหญ่ระดับสูงในอำเภอโคกสำโรง
    อาราธนานิมนต์ไปยังอารามแห่งใหม่
    ท่านอยู่วัดหนองบัวครั้งหลัง 3 พรรษา ปี 2492 ก็ได้รับคำสั่งให้ไปปกครองวัดสิงห์คูยาง
    ซึ่งอยู่ใจกลางชุมชนตลาดอำเภอโคกสำโรง ท่านพัฒนาวัดสิงห์คูยาง จนก้าวหน้า
    และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระครูสังฆรักษ์บุญตา พระฐานานุกรมของพระกิตติญาณมุนี
    (พระพุทธวรญาณ) เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี รวมระยะเวลาปกครองวัดสิงห์คูยาง 23 พรรษา

    ขณะที่ท่านพำนักอยู่วัดสิงห์คูยางนั้นท่านเดินทางสู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
    เพื่อขอรับการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวทางของพระธรรมธีราชมุนี (โชดกญาณสิทธิ ป.ธ.9)
    ในรุ่นที่ 3 และได้รับการยกย่องจากพระเดชพระคุณ พระพิมลปัญญาว่า เป็นพระวิปัสสนาจารย์ชั้นเยี่ยม
    เพราะเข้าสมาธิได้เป็นที่ 1 สามารถทำให้ร่างกายไม่ไหวติงนานนับ ถึง 1 วัน 1 คืน
    ถึงขั้นมีผู้ทดสอบยกร่างของท่านจากที่เดิมไปที่แห่งใหม่ โดยที่ท่านั่งของท่านยังคงเดิมไม่ไหวติง
    เพราะหลวงปู่ท่านเข้าถึงสภาวะจิตขั้นสูงแล้ว


    วัดคลองเกตุ ต.คลองเกตุ อ.โคกสำโรง ถึงยุคเสื่อมโทรมร้างเจ้าอาวาส
    ชาวบ้านตำบลคลองเกตุได้พร้อมใจกันไปขอร้องท่านผู้ใหญ่ในอำเภอ
    ขออาราธนานิมนต์ไปปกครองวัดคลองเกตุไปเป็นหลักของชาวบ้านคลองเกตุ
    เพราะความศรัทธาที่มีต่อท่านตั้งแต่ครั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัว ซึ่งอยู่ในตำบลเดียวกัน

    คณะสงฆ์ผู้ใหญ่ได้สอบถามหลวงปู่ หลวงปู่ก็ตอบตกลงเพราะว่าวัดสิงห์คูยางเจริญแล้ว
    และอยู่กลางอำเภอ และเห็นว่าวัดคลองเกตุเงียบสงบ
    เหมาะแก่การเจริญภาวนา ปฏิบัติธรรม ท่านจึงตอบตกลงทันที

    วันที่ 25 มกราคม 2514 ขบวนชาวบ้านคลองเกตุ ได้จัดขบวนไปรับหลวงปู่ถึงวัดสิงห์คูยาง
    เพื่อไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคลองเกตุ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    หลวงปู่ท่านก็ได้ไปบริหารจัดการและพัฒนาจนเจริญก้าวหน้าจนเป็นวัดคลองเกตุในปัจจุบัน


    หลวงปู่บุญตาท่านมีความช่ำชองในการเพ่งกสิณไฟเป็นพิเศษ
    ถึงขนาดที่กำหนดจิตเสกพระให้แก่ผู้ศรัทธาเพียงชั่วอึดใจ
    พระที่ท่านเสกให้ถึงกับร้อนจัดขึ้นทันที
    และที่น่าอัศจรรย์คือมีผู้ห้อยพระของท่านถูกฟ้าผ่า แต่รอดตายได้อย่างปาฏิหารย์
    วัตถุมงคลของท่านทุกรุ่น ประสบการณ์เพียบ....เรื่องแคล้วคลาด ปลอดภัย โชคลาภ
    มีพูดคุยปากต่อปากของลูกศิษย์ของท่านไม่ขาดปากตลอดจนถึงปัจจุบันนี้
    และวัตถุมงคลของท่านไม่มีวางให้เห็นตามแผงพระทั่วไป เพราะลูกศิษย์เห็นจะเก็บไว้หมด
    นานๆ ทีจึงจะเห็นวัตถุมงคลของท่านออกมาให้เห็นตามตลาดพระบ้าง



    ความเกี่ยวข้องคือ ผงวิเศษหัวเชื้อของท่านครับ เจ้าของเดิมไม่ทราบว่าเป็นผงอิทธิเจ หรือผงชื่ออะไร เพราะหลวงปู่มอบให้มาสร้างพระครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01696.JPG
      DSC01696.JPG
      ขนาดไฟล์:
      646.4 KB
      เปิดดู:
      131
  2. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    เดี๋ยวมวลสารว่างๆจะมาลงเรื่อยๆนะครับ ลงได้อีกเป็นเดือนๆไม่หมดไม่สิ้นครับ

    พี่ๆที่จองทำบุญไว้แล้ว ยังไงก็ทำลืมๆพระชุดนี้ไปบ้างนะครับ เพราะกว่าจะได้มันอาจจะช้าบ้าง เพราะ ผมไม่อยากทำพระออกไปแบบรวกๆ นอกจากนี้การบรรจุอุดหลังก็ต้องละเอียด แถมการอธิษฐานจิตในล็อตท้ายๆต้องเอาไปฝากท่านลงนานๆ แต่เมื่อได้ไปแล้วพุทธคุณเพียงพอต่อการคุ้มกายแน่นอน

    ปล พี่ๆท่านใดพอมีมวลสารดีๆนำมาแบ่งผมบ้างได้นะครับ อยากให้พระมีพุทธคุณใช้ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2010
  3. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    กสิณไฟเหนือฟ้า วาจาสิทธิ์
    [​IMG]
    ลูกศิษย์ของหลวงพ่อบุญตา ทั้งใกล้และไกลได้ประจักษ์ถึงคุณวิเศษของท่านคือ วาจาสิทธิ์
    ถ้อยคำที่ท่านพูดออกไปนั้นมักเป็นความจริงเสมอ จนได้รับการยกย่องว่า หลวงปู่บุญตาวาจาสิทธิ์
    หลวงปู่ท่านเป็นพระกัมมัฏฐานที่มีจิตใจสะอาดมองโลกในงแง่ดีเสมอ
    กายวาจาและจิตใจของท่านบริสุทธิ์จริงไม่มีการพลั้งเผลอขาดสติ
    จิตใจแน่วแน่อยู่ในพุทธคุณ วาจาที่กล่าวออกมาจึงบังเกิดความศักดิ์สิทธิ์
    เป็นที่รู้กันไม่ว่าหลวงปู่จะพูดอะไรก็เป็นไปอย่างนั้น จะทักใครให้อยู่ดีมีความสุข
    คนนั้นก็จะเป็นไปตามที่หลวงปู่พูด คนเกเรข่มเหงไม่ว่าผู้เฒ่าผู้เฒ่าผู้แก่ระรานเขาไปทั่ว
    เมื่อหลวงปู่ทราบก็จะสั่งสอนให้กลับเนื้อกลับตัวเสียใหม่
    ให้ปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีงามก่อนจะสาย หากคนนั้นรับปากแล้วไม่กระทำตามหรือดูหมิ่น
    ในคำสอนของหลวงปู่ก็จะต้องได้รับความวิบัติจนถึงหายนะไปในที่สุดดังที่ประจักษ์กันมาแล้ว
    คำพูดของท่านที่ลูกศิษย์ได้ยินเสมอคือ ช่างเขาเถอะ


    หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่ให้เสมอ ผู้ใดขออะไร ท่านก็มีแต่ให้ ท่านมักพูดน้อย
    วาจาไพเราะ ผิวพรรณผ่องใสงดงาม ผู้ที่เข้ามากราบท่าน พบท่านแล้วจะเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง
    สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของท่านก็คือ การเพิ่มพลังกำลังใจให้แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก
    หรือที่ภาษาของชาวบ้านเรียกว่า ต่ออายุหรือต่อชะตา
    ชาวบ้านใกล้ไกลจะมาให้ท่านสงเคราะห์อยู่อย่างสม่ำเสมอ คนป่วยที่ว่าไม่น่ารอด
    ไปหาหมอไหนๆ ก็ส่ายหน้า แต่ถ้ามากราบนิมนต์ให้ท่านทำหรือแนะนำให้ไปปฏิบัติ
    ก็จะหายจากอาการที่เป็นอยู่ และจะดีขึ้นในวันต่อมา เป็นความมหัศจรรย์จริงๆ

    หลวงปู่ท่านจะอบรมสั่งสอนให้ศิษย์เป็นคนดีหนีทุกข์ยากได้สำเร็จ
    ดั่งคำพูดของท่านว่า "อาตมาเป็นพระภิกษุสงฆ์ บวชแล้วได้อาศัยอาหารของชาวบ้าน
    เลี้ยงตัวตนจึงนับด้วยพระคุณ ดุจทองคำอันมีค่า
    แต่ยังด้อยกว่าข้าวเพียงหนึ่งคำที่ฉันผ่านลำคอ
    ดังนั้น แม้เวลาใดขณะใดญาติโยมมาหา อาตมาก็ต้องต้อนรับขับสู้ด้วยจิตที่มีเมตตายินดี"

    หลวงปู่ท่านได้เมตตาอบรมความคิดคติธรรมคำพรประสิทธิ์แด่ลูกศิษย์ ดังนี้
    1. ให้ทำความสงบทางจิตใจ
    2. ให้ขยันหมั่นเพียร
    3. อย่าเกียจคร้านให้สร้างเนื้อสร้างตัวโดยเร็ว
    4. ให้ทำตัวเป็นคนดี จะได้หลุดพ้นความยากจนและความทุกข์
    5. มีให้เกินใช้ มีมากใช้น้อย
    6. ได้ให้เกินเสีย คือทำงานมีเงินควรเก็บไว้แต่เวลาใช้ก็อย่าใช้มากให้ประหยัด
    7. คบเพื่อนที่ดี เพื่อนที่แนะนำไปในทางที่ดี
    8. สวดมนต์ภาวนา สร้างกุศลเพื่อหลุดพ้นภพชาติ
    ขอให้ญาติโยมทุกคนหมั่นเจริญภาวนาหาเหตุผลแยกแยะความดีความชั่ว
    ดูให้ออกมองให้เห็นและหมั่นทำความดีรักษาศีล เจริญธรรม
    ชีวิตที่อับเฉาของญาติโยมก็จะดีขึ้นมีความสุขขึ้น
    เพราะพระธรรมย่อมนำความสุขสงบความร่มเย็นมาให้
     
  4. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 31 หลวงปู่ครูบาเณรสุใจ สำนักสงฆ์ดอยหลวงขุนวิน

    ประวัติของท่าน

    [​IMG]

    ประวัติของปู่กะเหรี่ยง หรือ สามเณรสุใจ๋ (ปู่กะเหรี่ยง) อายุ ๙๕ ปี นั้นน่าสนใจเป็นอย่างยื่ง เดิมท่านเกิดที่ อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน พอโตเป็นวัยรุ่นได้ติดตามโยมพ่อไปช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ทำให้ตอนนั้นท่านได้ฝึกปฏิบัติธรรมไปด้วย จนการสร้างทางแล้วเสร็จท่านจึงบวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๗ ปี ณ.วัดศรีโสดา เชิงดอยสุเทพ โดยมีครูบาเสาร์เป็นอุปัชฌาย์ ต่อมาปู่เณรได้ลงมาเรียนหนังสือที่วัดอุโมงค์ เชียงใหม่ จึงพบกับครูบาอุ่นเรือน สุภัทโธ ซึ่งในขณะนั้นถือว่าเป็นศิษย์มือซ้ายของครูบศรีวิชัย ไปรักษาตัวอยู่ที่นั่น ครูบาอุ่นเรือนชอบปู่เณรใจ๋มากจึงชวนมาบูรณพระธาตุที่ดอยหลวงขุนวินด้วยกัน ปู่เณรใจ๋ก็ตกลงเดินทางมากับท่านช่วยกันบูรณพระธาตุสร้างวัดหลวงขุนวินมาโดยลำดับและก่อนครูบาอุ่นเรือนจะมรณภาพได้ขอให้ท่านอยู่ดูแลวัดอย่าได้ทอดทิ้ง ท่านก็รับปากและมิได้ย้ายไปไหนแม้ต้องอยู่รูปเดียวบนดอยล้างโดยมิได้ติดต่อใครๆเป็นเวลาหลายสิบปีก็ตาม อีกทั้งยังคงมิได้บวชเป็นพระยังเป็นสามเณรมาตลอดจนมรณะภาพ โดยก่อนหน้านี้ประมาณ ๑ ปีหลานๆท่านได้สืบหาจนกระทั่งพบว่าท่านอยู่วัดหลวงขุนวิน จึงไปรับท่านกลับมาอยู่ยังหมู่บ้านกะเหรี่ยงดินแดนเกิดของท่าน

    สำหรับปริศนาการไม่อุปสมบทของปู่เณร เคยมีผู้ไปสอบถามแล้วว่า เหตุที่ท่านไม่อุปสมบทเป็นภิกษุเพราะอะไร ท่านตอบว่าท่านนั้นอยู่ป่าดอย จะเก็บผักหักหน่อยก็กลัวจะผิดพระวินัยจึงดำรงเพศสามเณรมาตลอด ส่วนบางท่านก็บอกว่าสมัยก่อนครูบาศรีวิชัยเคยคุยกับเณรใจ๋ก่อนไปช่วยสร้างวัดที่อื่นว่าให้รอท่าน ท่านจะกลับมาบวชให้ เณรใจ๋ก็รับปากว่าครับ ต่อมาครูบาศรีวิชัยเกิดมรณภาพเสียก่อน ปู่เณรท่านจึงรักษาสัจจะวาจาที่ได้รับคำครูบาศรีวิชัยไปแล้ว ท่านจึงยังคงรอให้ครูบาศรีวิชัยมาเป็นผู้บวชจนกระทั่งปัจจุบัน

    ปล.ประวัติการสร้างวัดศรีโสดาและทางขึ้นดอยสุเทพ
    วัดศรีโสดา มีความผูกพันธ์กับการสร้างถนนขึ้นบนพระธาตุดอยสุเทพ พ.ศ.๒๔๗๗ หลวงศรีประกาศ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่และผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ มีความคิดที่จะนำไฟฟ้าขึ้นไปติดตั้งบนดอยสุเทพ แต่ไม่มีงบประมาณ จึงได้ขอพึ่งบุญบารมีครูบาศรีวิชัยท่านเห็นด้วยแต่ขออธิษฐานดูก่อนว่าเป็นไปได้หรือไม่ ท่านอธิษฐานถึง ๒ ครั้ง ปรากฏว่าเป็นไปได้ยากแต่การสร้างถนนขึ้นไปนั้นจะเสร็จเร็วกว่าจึงตกลงที่จะสร้างถนนขึ้นไปยังพระธาตุดอยสุเทพโดยมีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นผู้ลงจอบแรกเป็นปฐมฤกษ์ วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๗

    ระหว่างการสร้างถนน ครูบาศรีวิชัยได้สร้างวัดขึ้นควบคู่กันไป ๔ วัด โดยตั้งชื่อให้มีความหมายเกี่ยวโยงถึงขั้นคุณภาพที่ผู้ปฏิบัติธรรมพึงบรรลุได้คือมรรค ผล นิพพาน เทียบพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา ๔ ชั้น วัดแรกที่สร้างคือ วัดโสดาบัน ต่อไปอีก ๔ กิโลเมตร สร้าง วัดสกิทาคามี ถัดไปอีก เรียกว่า วัดอนาคามี ลำดับสุดท้ายบนยอดดอยสร้างอีกวัดหนึ่งเรียกว่า วัดอรหันต์
    วัดโสดาบัน ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดศรีโสดา ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าเปลี่ยนในสมัยใดน่าจะอยู่ในช่วง พ.ศ.๒๔๗๙ - ๒๕๐๙ สมัย ครูบาเสาร์ นารโท เป็นเจ้าอาวาส สาเหตุที่เติมคำว่า ศรี เข้าใจว่ามาจากชื่อครูบาศรีวิชัย เพื่อเป็นอนุสรณีย์ ยกย่องเชิดชู น้อมรำลึกคุณูปการที่ท่านสร้างวัดนี้ขึ้นมา


    อัฐิของท่านแปรสภาพเป็นพระธาตุ

    [​IMG]
    [​IMG]


    ความเกี่ยวข้องในล็อกเกตคือ มวลสารได้แก่ผงอัฐิ อังคารของหลวงปู่ครับ
    ใส่ไป 1 ช้อนโต๊ะ ครับ ขอบุญบารมีของหลวงปู่ อีกทั้งเทพเทวดาที่เกี่ยวข้องกับท่าน จงคุ้มครองผู้ที่บูชาด้วยเทอญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01805.JPG
      DSC01805.JPG
      ขนาดไฟล์:
      256.5 KB
      เปิดดู:
      98
  5. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 32 ผงอิทธิเจ&ยันต์พัดโบก หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]


    มวลสารผสมผงที่ท่านเขียนเป็นหัวเชื้อครับ หายากมาก
    ท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ขนาดวัดห่างกัน 50 กว่ากิโล ยังรู้ว่าต่างคนต่างทำอะไรอยู่

    ผสมเฉพาะล็อกเกตฉากธรรมดา ฉากทองอุดไปก่อน เดี๋ยวอะไรที่อุดเฉพาะฉากธรรมดาผมจะมี marker ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01752.JPG
      DSC01752.JPG
      ขนาดไฟล์:
      139.6 KB
      เปิดดู:
      119
  6. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 33 พระครูขันตยาภรณ์ (คำ ขันติโก) สุสานไตรลักษณ์แม่วาง

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD width=261>[​IMG]</TD><TD width=283></TD></TR></TBODY></TABLE>

    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]พระครูขันตยาภรณ์ เกิดในตระกูล “จันทร์แดง “ โยมบิดาชื่อ แก้ว จันทร์แดง โยมมารดาชื่อ ติ๊บ จันทร์แดง เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2461 [/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]พ่อแก้ว จันทร์แดง และแม่ติ๊บ จันทร์แดง มีอาชีพทำนา พออายุได้ 7 ปี พ่อได้นำไปฝากกับท่านครูบาคันธา เจ้าอาวาสวัดดอนแก้วให้อยู่กับพี่เณรจันทร์ จันทร์แดง ต.ทุ่งปี้ อ.แขวงแม่วาง จ.เชียงใหม่ ครั้นต่อมาอำเภอแม่วางได้ย้ายไป อยู่ที่บ้านเปียง ต.บ้านแม จึงเรียกว่าอำเภอแม และได้ย้ายอำเภอออกไปตั้งในเขตสันป่าตอง คือที่ตั้งอำเภอสันป่าตองปัจจุบันนี้ พออายุได้ 10 ขวบ ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2471 โดยมีท่านพระครูโสภา วัดป่าแดด ต.บ้านกาด เจ้าคณะอำเภอแม่วาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า “คัมภีโร”[/FONT]

    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]พ.ศ. 2472 ได้ย้ายไปอยู่สำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู อยู่กับท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง ได้เรียนกรรมฐานแบบพุทโธ ตลอดถึงตจะปัญจะกะกรรมฐาน และ กายคตาสติ และได้เรียนนักธรรมชั้นตรี ที่สำนักวัดพันตน โดยมีพระอาจารย์คำอ้ายเป็นครูสอน ต่อมาได้สอนนักธรรมชั้นตรีที่สำนักวัดพันตน[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]เมื่ออายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ โยมแม่พร้อมกับญาติและศรัทธาทั้งหลายของวัดดอนแก้วก็ได้ทำการอุปสมบท เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2482 ณ วัดดอนแก้ว ไปลงอุโบสถเหล่ายาง ต.บ้านกาด อ.บ้านแม ในสมัยนั้น โดยมีท่านเจ้าอธิการกองแก้ว คนฺธาโร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์บุญตัน สุวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดจอมแจ้งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์คำอ้าย โฆสโก เป็นพระอนุสาวนาจารย์[/FONT]

    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]จากนั้นได้เรียนบาลี ณ สำนักเรียนวัดช่างกระดาษ อ.บ้านแมเชียงใหม่ และได้กลับมาสอนนักธรรมที่วัดดอนแก้ว ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการคณะกรรมการสงฆ์อ.สันป่าตอง และได้รับ สมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชื่อพระครูขันตยาภรณ์ ในวันที่ 5 ธ.ค. 2497 จากนั้น ได้สร้างถาวรวัตถุ ทั้งทางด้านศาสนาและสาธารณประโยชน์ต่างๆ เช่น วัดศรีบันไดเงิน วัดถ้ำดอยโตน เจดีย์มหามงคล รัชกาลที่ 9 โรงพยาบาลแม่วางขนาด 10 เตียง ตึงสงฆ์ ต่อมาในปี 2536 ได้ย้ายไปอยู่ที่สุสานไตรลักษณ์ แม่วาง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ จนกระทั่งมรณภาพ[/FONT]

    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]สิริอายุ 86 ปี 3 เดือน 8 วัน 65 พรรษา[/FONT]

    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]ธรรมโอวาท[/FONT]
    [FONT=Tahoma, MS Sans Serif]๑. “ศีล 5 มีหื้อครบ จะไปฮื้อศีลเสียเน้อลูกเน้อ”[/FONT]

    [​IMG]


    รูปอังคารของท่านผมถ่ายๆรวมกับอังคารของหลวงปู่หลวงพ่อองค์อื่นๆ โดยใส่ไปทั้งหมดครับ อังคารนี้เองเป็นต้นกำเนิดการแปรสภาพเป็นพระธาตุครับ

    มีคนสัมผัสพลังงานในองค์พระของท่าน แล้วอุทานออกมาว่า นี่มันพลังมหาโพธิสัตว์ ช่วงท้ายๆของชีวิตท่านอธิษฐานไม่นอนครับ ท่านว่ามีหน้าที่ต้องวางข่ายญาณ

    ท่านเป็นศิษย์ผู้น้องของ หลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญครับ
    จำได้ตอนหนึ่งว่า เคยนำอังคารของหลวงปู่ครูบาอาจารย์สายเหนือ ทั้ง ครูบาพรหมมา หลวงปู่สิม ครูบาอิน ครูบาบุญปั๋น ครูบาก๋องคำ ครูบาคำ สุสานไตรลักษณ์ ฯลฯ ไปให้ หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน อธิษฐานจิตให้ ท่านว่าจะเอาไปทำอะหยัง ผมตอบว่าไปทำพระครับ ท่านว่าหมดนี่เลยก๋า เสียดายขนาด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC00312.JPG
      DSC00312.JPG
      ขนาดไฟล์:
      183.1 KB
      เปิดดู:
      135
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2010
  7. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 34 ผงในตำนาน ผงปถมังขรัวตาคง วัดแค

    หลวงปู่คง (ตาขรัวคง) ตามประวัติศาสตร์เป็นอาจารย์ขุนแผน อยู่วัดตาลหรือวัดแค เมืองสุพรรณบุรี สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เป็นอาจารย์ของขุนแผนองค์แรก ท่านได้สร้างพระเครื่องทรงขุนแผนเรือนแก้วมอบไว้ให้กับขุนแผนบูชาติดตัว
    ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2496 อาจารย์ชุม ไชยคีรีได้มาเข้าประทับทรงข้าราชการผู้หนึ่งที่จังหวัดพัทลุง บอกตำราสร้างพระผงให้กับอาจารย์ชุม ไชยคีรี ชนิดหนึ่งเรียกว่าพระผงเทพนิมิต ในขณะที่กำลังทำพิธีพุทธาภิเษกพระผงเทพนิมิตรอยู่นั้น ท่านได้มาเข้าประทับทรงช่วยปลุกเสกอีกตลอดไตรมาส 3 เดือน ยิ่งกว่านั้นท่านได้ขอร้องให้ อ.ชุม ไชยคีรี ช่วยเอากระดูกของท่านและพระยอดขุนพล พระผงขุนแผน ขึ้นจากใต้ฐานของเจดีย์ที่ท่านได้บรรจุเอาไว้ที่วัดตาลแต่ครั้งโบราณ อ.ชุม จึงได้ขออนุญาตทำการขุดขึ้นตามคำสั่งของท่าน จากกรมศิลปากร และขออนุญาตจากวิญญาณท่านสร้างเป็นรูปของท่านแล้วเอากระดูกที่ขุดขึ้นมาได้ดังกล่าวบรรจุไว้ในองค์พระ เพื่อให้คณะศิษย์ได้มีไหว้กราบไหว้สักการะบูชา


    ผงนี้ อยู่ใต้กรุที่ดินชาวบ้านใกล้วัดศรีจันทร์ จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งคือวัดแคในอดีต ผู้ที่เคยมานำเอาผงนี้ไปใช้สร้างพระนอกจากอาจารย์ชุมแล้ว ยังมี หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ
    ล่าสุดมีการสร้างขุนแผนของหลวงปู่นาม วัดน้อยชมพู่ ก็มีการนำผงทั้งหมดที่เหลือผสมไปจนสิ้น

    พุทธคุณ เมตตามหานิยม ตามตำราของไสยศาสตร์ทุกประการ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01712.JPG
      DSC01712.JPG
      ขนาดไฟล์:
      252.9 KB
      เปิดดู:
      148
  8. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 35 ผง 12 ตำนาน ลบถมหนึ่งหมื่นจบ อาจารย์รอด สุขเจริญ

    “อาจารย์รอด สุขเจริญ” อาจารย์ฆราวาสผู้กล้าวิทยาคมศิษย์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ศิษย์รุ่นน้องที่เคยเดินธุดงค์ร่วมกับ”หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม” สุดยอดพระคณาจารย์อันดับหนึ่งแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง และครูญาณวิลาศ หรือที่ทุกคนคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดีที่สุดในนาม”หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ” ซึ่งมีความชำนาญในสรรพอาคม ยังนับถือท่าน
    มีการ”ลบผง 12 คัมภีร์”อันล้ำลึกพิศดารที่สุด (หารูปถ่ายไม่ได้ เพราะไม่ว่าใครก็ถ่ายรูปอาจารย์รอดไม่ติดแม้แต่สักครั้ง) ก็ได้ลบผงวิเศษตามตำราต่อไปนี้

    1.ผงปถมัง
    2.ผงมหาราช
    3.ผงอิทธิเจ
    4.ผงตรีนิสิงเห
    5.ผงสุกิตติมา
    6.ผงโมโน
    7.ผงอาการวัตตาสูตร
    8.ผงอิติปิโสรัตนมาลา
    9.ผงพระสีวลี
    10. ผงนะ 108

    11. ผงสุริยประภา
    12. ผงจันทรุปภา

    ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯอนึ่ง ในการ”ลบผง”ของอาจารย์รอด สุขเจริญนี้ อาจารย์เบิ้มเล่าให้ฟังว่า เป็นการ”ลบ”และ”ถม”ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างโบราณจริงๆ นับเป็น”หมื่นๆ” ครั้ง แถมยังต้องมีการ”สวดธาตุ”คุมซ้ำอีกต่างหาก อานุภาพของผงวิเศษเหล่านี้ จึงเข้มขลังอย่างเหนือคำบรรยาย สุดที่จะกล่าวให้เข้าใจโดยแจ่มแจ้งโดยง่ายได้..........."

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01722.JPG
      DSC01722.JPG
      ขนาดไฟล์:
      583.8 KB
      เปิดดู:
      109
  9. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 36 ผงรวม 40 ชนิด วัดเทพศิรินทร์

    ผงรวมต่อไปนี้ เกิดจากมวลสารทั้ง 40 ชนิด ผงหลักเป็นผงอธิษฐานหัวเชื้อของเจ้าคุณนรรัตน์ ผงของหลวงปู่มหาอำพัน บุญหลง น้ำมันชาตรีหัวเชื้อ หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง ผงสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ปฐวีธาตุเจ้าคุณนรรัตน์ ฯลฯ

    ซึ่งผงนี้ผมได้รับจากพระอาจารย์มนตรี ศิษย์อุปัฏฐากใกล้ชิดของหลวงปู่มหาอำพันโดยตรง สังเกตจะเห็นปฐวีธาตุปนอยู่ในหัวเชื้อเป็นเม็ดๆเลยทีเดียว

    นอกจากนี้ ผมยังได้ผงหัวเชื้อที่ยังไม่ได้ผสม แต่ละชนิด มาจากผู้ร่วมสร้างพระชุดวัดเทพศิริรนทร์เมื่อวันลอยกระทง ปีที่แล้ว อีกต่างหาก นับว่าเป็นบุญวาสนาร่วมกันของเจ้าของพระชุดนี้โดยแท้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2010
  10. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 37 ชิ้นส่วนพระกรุสัมพันธวงศ์

    พระกรุวัดสัมพันธวงศ์ หรือ พระกรุวัดเกาะ
    พระเครื่องชุดนี้ ตามที่ปรากฏหลักฐานจากท่านผู้มีความรู้ทางโบราณคดี
    แจ้งว่า พระชุดนี้สร้างในสมัยเดียวกันกับ "วัดราชบูรณะ"
    ค้นพบตามซุ้มกำแพงแก้ว พระเจดีย์ พระวิหาร และพระประธาน ของพระอุโบสถหลังเดิม


    <CENTER>[​IMG][​IMG]</CENTER>

    <CENTER></CENTER>

    <CENTER>ความเก่าแก่ของวัดสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะ)</CENTER>


    <P align=justify
    ตามประวัติว่า ใน ร.ศ.๑๕ ตรงกับปีมะโรง อัฐศก จ.ศ. ๑๑๕๘ พ.ศ. ๒๓๓๙ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ผู้มีศรัทธาใน พระพุทธศาสนาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเกาะซึ่งเป็นวัดโบราณ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีคูคลองรอบวัดสร้างมาก่อนกรุงเทพพระมหานคร

    <P align=justify
    ครั้นปฏิสังขรณ์ใหม่หมดทั้งอารามเสร็จแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดเกาะแก้วลังการาม” ตามหลักฐานที่ปรากฏนี้ จึงพอประมาณได้ว่า เป็นวัดที่มีมาก่อนยุครัตนโกสินทร์

    <P align=justify
    ต่อมา ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชศรัทธาให้ทำการปฏิสังขรณ์วัดเกาะแก้วลังการามอีก แต่ค้นหาหลักฐานไม่พบว่าได้ทรงปฏิสังขรณ์อะไรบ้าง

    <P align=justify
    ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารภว่า วัดเกาะแก้วลังการาม เป็นวัดที่เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่หมดทั้งอาราม สมควรที่จะเฉลิมพระเกียรติให้ปรากฏสืบต่อไปภายหน้า เพื่อให้เกิดปิติปราโมทย์แก่ผู้สืบสกุลในเมื่อได้ทราบว่าบรรพบุรุษของตนได้สร้างกุศลไว้เป็นเหตุเจริญศรัทธาให้บำเพ็ญกุศลตามสติกำลัง จึงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามของวัดใหม่ว่า “วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร”

    <CENTER>การค้นพบพระกรุของวัดสัมพันธวงศ์ หรือ วัดเกาะ</CENTER>

    <P align=justify
    ดังกล่าวไว้ข้างต้น วัดสัมพันธวงศ์ หรือ วัดเกาะ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาแต่ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ทางวัดได้พบพระกรุหลายครั้งด้วยกัน

    <P align=justify
    พระกรุที่ค้นพบนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าใครเป็นผู้สร้างไว้แต่เมื่อไหร เพียงแต่สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างโบสถ์ วิหาร และกำแพงรอบโบสถ์วิหาร เพราะได้พบพระกรุมีอยู่ที่ซุ้มระหว่างโบสถ์กับวิหารเก่า ซุ้มประตูกำแพงรอบโบสถ์ วิหาร และพบท้ายสุดที่ฐานพระประธาน การค้นพบในอดีตมี ๓ ครั้ง คือ

    <P align=justify
    ครั้งที่ ๑ ซุ้มทางเดินติดต่อกันระหว่างโบสถ์กับวิหารเก่าพังลง ปราฏว่ามีพระเครื่องชนิดนี้ ตกกระจัดกระจายอยู่ทั่ว ทางวัดจึงได้รวบรวมสร้างเจดีย์บรรจุไว้ในระหว่างโบสถ์กับวิหาร และแจกให้ต้องการออกไปบ้าง

    <P align=justify
    ครั้งที่ ๒ ซุ้มประตูกำแพงโบสถ์วิหาร ด้านทิศตะวันตกพังลงปรากฏว่า มีพระเครื่องชนิดเดียวกันนี้ ตอนแรกไม่มีใครสนใจมากนัก เกิดแตกตื่นเล่าลือกันมาก เนื่องจากทหารเรือเอาไปทดลองยิงดูที่บางนาปรากฏว่ายิงไม่ออก จึงเป็นที่แสวงหากันมากในช่วงนั้น

    <P align=justify
    ครั้งที่ ๓ เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตให้รื้อพระอุโบสถ วิหาร และเจดีย์ พบพระเครื่องชนิดเดียวกันอีกที่ฐานพระประธาน ในส่วนที่อยู่ใต้ฐานของพระประธานนั้น เป็นการค้นพบโดยบังเอิญ โดยค้นพบคณะที่สกัดทำการเคลื่อนย้าย ได้พบพระเครื่องเนื้อชินเงินพิมพ์ต่างๆ ๆ บรรจุอยู่ในองค์พระและใต้ฐานพระเป็นจำนวนมากนับเป็นหมื่น ๆ องค์

    <P align=justify
    ส่วนที่บรรจุอยู่ในองค์พระประธานและฐานพระ แต่เดิมทางวัดเองก็ไม่ทราบว่ามีพระเครื่องบรรจุอยู่ มาเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ทางวัดได้ดำเนินการอัญเชิญพระประธานจากพระอุโบสถเดิมขึ้นพระอุโบสถหลังใหม่ มีการสกัดฐานเพื่อใช้รถยกพระประธานขึ้น ตามเอกสารของวัดเกี่ยวกับองค์พระประธานองค์เก่าของวัดได้บันทึกไว้ ดังนี้

    <P align=justify
    พระพุทธรูปที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถเดิมไม่ปรากฏพระนาม ต่อมา ท่านเจ้าคุณ พระมหารัชชมังคลาจารย์ นิทฺเทสกเถร อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ รูปที่ ๙ ได้ถวายพระนามว่า "พระพุทธนราสภะทศพล"

    <P align=justify
    บนฐานแท่นชุกชีที่พระพุทธรูปประทับนั่งลดหลั่นกันลงมาเป็น ๓ องค์ มีพระอัครสาวกยืนซ้ายขวา ๒ องค์ พระอัครสาวกนั่งซ้ายขวา ๔ องค์ รวมบนฐานชุกชีมีพระทั้งหมด ๙ องค์

    <P align=justify
    สำหรับพระประธานองค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปทีสร้างด้วยไม้ เป็นซุงคว้านไส้กลวง ภายนอกถือปูนทับ พระพาหาเป็นไม้ทั้งลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าพระเพลากว้าง ๒ ศอก ๑ คืบ ๑๑ นิ้ว สูงแต่ที่ประทับสุดพระรัศมี ๔ ศอก ๒ นิ้วครึ่ง

    <P align=justify
    พระพุทธรูปองค์รองลงมาซึ่งเป็นองค์กลาง ห้าพระเพลากว้าง ๒ ศอก ๕ นิ้ว ปางมาวิชัย ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง องค์ล่าสุดเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะ หน้าพระเพลากว้าง ๑ ศอก ๕ นิ้ว ใต้ฐานองค์พระโปร่ง มีพระมงกุฎ เครื่องราชูปโภคเบญจราชกกุธภัณฑ์ จำลองเป็นส่วนเล็ก ทำด้วยทองคำ สำหรับพระมงกุฎภายในและบริเวณรอบๆบรรจุพระอังคารของสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ยอดพระมงกุฎบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๒ องค์ โดยมีผอบเป็นแก้วครอบอีกชั้นหนึ่ง เดิมที่เดียวทางวัดเองก็ไม่ทราบว่ามีสิ่งต่างๆ และพระองคารบรรจุอยู่ภายใน ต่อมาในวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๒ หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ (หม่อมมารดาของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์) ผู้เป็นกุลทายาทในสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพิทักษ์มนตรี ผู้สถาปนาวัดนี้ ได้มาบำเพ็ญกุศลฉลองชนมายุครบ ๗ รอบ ที่พระอุโบสถวัดสัมพันธวงศ

    <P align=justify
    ก่อนที่พระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์ หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ ได้แจ้งแก่ทางวัดว่าประสงค์จะบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานกิจ สดับปกรณ์พระอังคารสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ผู้ทรงเป็ตนต้นราชสกุลของท่าน โดยให้พนักงานโยงผ้าภูษาโยงไปที่พระพุทธรูปองค์ล่างสุด โดยทานกล่าวยืนยันเป็นแม่นยำว่าพระพุทธรูปองค์นี้ภายในบรรจุพระอังคารของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพิทักษ์มนตรี ต้นราชสกุล "มนตรีกุล" สำหรับพระอัฐินั้นประดิษฐานอยู่ที่หอพระนาก ในพระบรมมหาราชวัง (ซึ่งแต่เดิมที่เดียวประดิษฐานอยู่ที่วังหน้าจนหอชำรุดรื้อลงในรัชกาลที่ ๕ จึงได้เชิญไปไว้ที่หอพระนาก)

    <P align=justify
    ในคราวอัญเชิญพระพุทธรูปจากพระอุโบสถหลังเดิม เพื่อนำขึ้นไปประดิษฐานบนพระอุโบสถหลังใหม่ ได้พบปูชนียวัตถุต่างๆ ดังกล่าวมาข้างต้น จึงนับว่าหม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ ท่านมีความทรงจำในอดีตเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของต้นสกุลท่านเป็นเยี่ยม แม้จะมีอายุชราถึง ๘๔ พรรษา (ขณะที่มาบำเพ็ญกุศลในวันนั้น)

    <P align=justify
    สำหรับแผ่นเงิน แผ่นนาก และแผ่นทองคำ ที่พบรวมอยู่กับพระมงกุฎ ได้จารึกอักษรขอม กล่าวถึงพระสูตร พระอภิธรรมต่างๆ ซึ่งบรรดาของมีค่าเหล่านั้น ทางวัดได้เก็บรักษาได้วเป็นอย่างดี เพื่อที่จะนำเข้าบรรจุไว้ในพระพุทธรูปองค์เดิมที่พบโดยจะได้บำเพ็ญกุศลถวายเป็นกรณีพิเศษ ตามพระประสงค์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ มีพระประสงค์ในคราวที่พระเทพปัญญามุนี (ปัจจุบันได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ถาวรเถระ) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน และคณะได้นำสิ่งต่างๆไปถวายที่วังเพื่อของพระวินิจฉัยในอันที่ปฏิบัติต่อปูชนียวัตถุนั้น ทั้งนี้โดยที่พระวรวงศ์บพิตร เสด็จในกรมฯ ทรงเป็นกุลทายาทผู้สูงศักดิ์ และทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์อุปถัมภ์ของวัดสัมพันธวงศ์มาเป็นเวลาช้านาน

    <P align=justify
    ส่วนพระประธานองค์ใหญ่ ขณะที่สกัดทากรเคลื่อนย้าย ได้พบพระเครื่องเนื้อชินเงินพิมพ์ต่างๆ บรรจุอยู่ในองค์พระและใต้ฐานพระเป็นจำนวนมากนับเป็นหมื่นองค์ พระเครื่องชุดนี้ตามที่ปรากฏหลักฐานจากท่านผู้มีความรูทางโบราณคดีแจ้งว่า พระชุดนี้สร้างในสมัยเดียวกันกับกรุวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเมื่อสร้างแล้วนำมาบรรจุไว้ตามซุ้มกำแพงแก้วบ้าง ในองค์พระเจดีย์บ้าง ในองค์พระประธานบ้าง

    <P align=justify
    พระกุรุที่บรรจุอยู่ตามซุ้มประตูกำแพงแก้ว และในพระเจดีย์ ทางวัดได้เคยเปิดกรุนำออกแจกจ่ายแก่ประชาชนสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ อีกครั้งหนึ่ง และนำออกในคราวรื้อซุ้มประตูเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นครั้งสุดท้าย การนำออกจากซุ้มประตูแต่ละคราวก็เจ้าเป็นซุ้มๆเฉพาะที่ต้องการ ซุ้มไหนยังไม่ได้เจาะก็ให้คงไว้ เหลือมาถึงในคราวสุดท้ายที่ทำการรื้อกำแพงแก้ว

    <P align=justify
    แต่เดิมทางวัดเองก็ไม่ทราบว่ามีพระเครื่องบรรจุอยู่ มาเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ทางวัดได้ดำเนินการอัญเชิญพระประธานจากพระอุโบสถเดินขึ้นสู่พระอุโบสถหลังใหม่มีการสกัดฐานเพื่อสกัดฐานเพื่อใช้รถยกพระประธานขึ้น จึงได้พบพระจำนวนมา มีพิมพ์ต่างๆ คือ

    <P align=justify
    ๑. พระทากระดาน เกศบัวตูม (มีทั้งพิมพ์ใหญ่-พิมพ์เล็ก)

    <P align=justify
    ๒. พระปางห้ามญาติ ยกพระหัตถ์ซ้ายบ้าง ยกพระหัตถ์ขวาบ้าง

    <P align=justify
    ๓. พระปางปรกโพธิ์

    <P align=justify
    ๔. พระปางห้ามสมุทร ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้าง

    <P align=justify
    ๕. พระปางไสยาสน์

    <P align=justify
    ๖. พระปางทรงเครื่อง หรือที่นักสะสมพระเรียกว่า พระทรงธิเบต

    <P align=justify
    พระเครื่องทั้งหมด มีชนิดปิดทองก็มี ชนิดอาบปรอทก็มี ทางวัดได้นำออกให้ประชาชนบูชาเพื่อนำทุนทรัพย์สมทบทุนในการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๑๕ มีประชาชนสนใจบูชาไปเป็นจำนวนมาก
    </P>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01797.JPG
      DSC01797.JPG
      ขนาดไฟล์:
      78.2 KB
      เปิดดู:
      89
  11. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    พระรุ่นนึ้รุ่นแรงที่สุดเท่าที่สัมผัสพลังพุทธคุณมา เมื่อรวมพระเกจิอาจารย์ตั้่งแต่ยุคก่อน2500 และหลัง2500 มาร่วมกัน พลังงานเป็นกระจุกร้อนแรงมาก ตอนแรกขึ้นมาร้อนจนตัวแทบสั่น เปรียบเสมือแสงอาทิตย์ให้ความอบอุ่น พอลงมาหนาวก็จนแทบสั่น เย็นยะเหยือกเหมือนน้ำแข็ง จับพลังพระรุ่นนึ้ไป จับไข้เลย แรงที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา เราขออนุโมทนาด้วย

    พูดโดย ศิษย์หลวงปู่หลอดที่หลวงปู่หลอด ให้คำรับรองว่า เป็นพระโพธิสัตว์ พร้อมอนุโมทนารับรองไว้และหลวงตาพวง กล่าวสรรเสริญต่อหน้าญาติโยม ว่า ท่านผู้นึ้ทำได้เหมือนเราแล้ว จะนำมาให้เสกทำไม ท่านผู้นึ้มีจิตสัมผัสที่บริสุทธิ์มาก ถึงขนาดมีผู้เห็นกายทิพย์ของท่านไปปรากฏต่อหน้า นั่งสมาธิที่ตัวไม่กระดิกนั่งนานมาก 3-4 ชั่วโมง
    มีคนขอถ่ายรูปท่านไม่อนุญาติ ปรากฏรูปไฟล์หาย แม้แต่คุณเดลต้าเจ้าของกระทู้ยังเคยกล่าวว่า ท่านผู้นึ้มีพลังจิตที่แก่กล้ามาก เคยนำพระไปให้ท่านจับพลังไม่เคยผิดพลาด 100 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดี่ยว ท่านเป็นนักปฏิบัติธรรมที่ผู้คนเทียบได้ยากผู้หนึ่ง
     
  12. supatach

    supatach เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,638
    ค่าพลัง:
    +6,666
    คำว่า พระรุ่นนี้ หมายถึงล็อกเก็ตพระแก้วมรกตใช่ไหมครับ แล้วพระลูกศิษย์หลวงปู่หลอดรูปนี้ ท่านชื่ออะไรเหรอครับ อยู่ที่วัดไหนครับ พอจะมีรูปถ่ายและประวัติท่านไหมครับ
    ขอบคุณครับ
     
  13. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    อันนี้ผมก็จำไม่ได้เหมือนกันครับ ว่าเป็นท่านใด ลอง pm ถามคุณลูกวัดท่าซุงดู เพราะเคยนำไปจับพลังมาหลายท่าน บางทีก็ไปคนเดียว บางทีก็ไปกันหลายๆคน แต่ละคนก็ดูๆต่างกันไป แต่ที่แน่ๆ ทุกคนไม่มีใครว่าไม่ดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2010
  14. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    อัพเดท วันที่ 8 พฤศจิกายน 2553
    ล็อกเกตพระแก้วมรกต ผ่านการพุทธาภิเษกแล้วดังนี้
    พิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษก-มังคลาภิเษก
    1. พิธีพุทธาภิเษกพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอินทาราม วันที่ 15 พ.ย. 2552
    2. พิธีพุทธาภิเษก พญาวานร วัดบางพลีน้อย วันที่ 29 พ.ย. 2552
    3. พิธีพุทธาภิเษก วัดบางแคน้อย จ.สมุทรสงคราม วันที่ 6 ธ.ค. 2552
    4. พิธีพุทธาภิเษก วัดบวรสถานมงคล(อดีตวัดพระแก้ววังหน้า) วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    5. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ทำบุญครบรอบมรณภาพหลวงปู่หลุย จันทสาโร วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    6. พิธีมหาพุทธาเษก "โครงการสร้างพระในใจ เทิดไท้องค์ราชันย์" วัดโฆสมังคลาราม จ.นครพนม วันที่ 26-28 ธ.ค. 2552
    7. พิธีสวดสักขีและเจริญพระพุทธมนต์จากพระสุปฏิปันโนสายวัดป่ากรรมฐาน 92 รูป วัดธรรมมงคล วันที่ 10 มกราคม 2553 (ด้วยความกรุณาอย่างหาที่สุดไม่ได้ของท่านพระอาจารย์ไม อินทสิริ ถือนำเข้าพิธี)
    8. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลจัดสร้างโดยโรงพยาบาลภูมิพล ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553
    9. พิธีสมโภชน์และพุทธาภิเษกหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ณ วัดแคราชานุวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553
    10. พิธีพุทธาภิเษก ที่วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ในวิหารโยงสายสิญจน์จากหน้าพระสิกขี(แม่พระรอด) วันที่ 26 มีนาคม 2553
    11. พิธีพุทธาภิเษกล็อกเกตพระแก้วมรกตภูริทัตตเถรานุสรณ์ วัดป่าสันติสามัคคีธรรม จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 4 เมษายน 2553 พระเถราจารย์ที่เข้าร่วมพิธี

    - หลวงปู่ใสย ปัญญพโล วัดเขาถ้ำตำบล ประธานจุดเทียนชัย
    - หลวงตาเอียน วัดป่าโคกม่อน อริยเจ้าผู้เร้นกาย พระอาจารย์ของพระอาจารย์วัน อุตตโม ดับเทียนชัย
    - หลวงพ่อคูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง จ.อุดรธานี
    - พระอาจารย์ไม อินทสิริ
    - พระอาจารย์อุทัย วัดภูย่าอู่
    - หลวงปู่บุญมา วัดถ้ำโพงพาง จ.ชุมพร
    - พระอาจารย์แดง วัดลุมพินี จ.พังงา
    - หลวงปู่สุมโน วัดถ้ำสองตา
    - พระอธิการใจ วัดพระยาญาติ
    - หลวงปู่บุญมี วัดถ้ำเต่า
    ฯลฯ
    12. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ในงานประจำปีของชมรมรักษ์พระธาตุแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ วันที่ 15 พฤษภาคม 2553
    13. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดตาลเอน(วัดสาขาของวัดอัมพวัน สิงห์บุรี) จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 20 ตุลาคม 2553
    13. พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งชินบัญชรเพ็ชรกลับเหนือโลกและเหรียญหล่ออจิณไตย หลวงปู่ละมัย ฐิตโน ณ คณะเวฬุวัน อ.พยุห์ จ.ศรีษะเกษ วันที่ 6 พ.ย. 2553

    พิธีปลุกเสก/อธิษฐานจิตเดี่ยว
    เรียงตามวาระดังนี้
    1. หลวงพ่อยวง วัดหน้าต่างใน
    2. หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก
    3. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว(3 วาระ)
    4. หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
    5. หลวงปู่เก๋ วัดปากน้ำ
    6. หลวงพ่อวิชัย วัดถ้ำผาจม
    7. หลวงปู่คำบ่อ วัดใหม่บ้านตาล(2 วาระ)
    8. พระราชวรคุณ(สมศักดิ์) วัดบูรพาราม
    9. หลวงปู่แปลง วัดป่าอุดมสมพร
    10. หลวงปู่เณรคำ(พระวิรพล) ขันติโก
    11. หลวงปู่สุมโน วัดถ้ำสองตา(2 วาระ)
    12. หลวงปู่เนย สมจิตโต วัดโนนแสนคำ
    13. หลวงปู่ผ่าน ปัญญาทีโป
    14. พระอาจารย์เจริญ วัดโนนสว่าง
    15. ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน(2 วาระ)
    16. ครูบาจันทร์แก้ว คันธสีโล วัดศรีสว่าง (2 วาระ)
    17. ครูบาสาย วัดร้องขุด
    18. หลวงปู่ดี วัดเทพากร(2 วาระ)
    19. หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ สุสานทุ่งมน
    20. พ่อท่านหวาน วัดสะบ้าย้อย
    21. พระอาจารยไพบูลย์ สุมังคโร วัดอนาลโย
    22. หลวงปู่บุญมา วัดป่าสีห์พนม (4 วาระ)
    23. พระอาจารย์คูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง(5 วาระ)
    24. หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางจาก
    25. หลวงปู่โปร่ง วัดตำหนักเหนือ
    26. หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต สวนอาหารสวนทิพย์
    27. หลวงพ่ออ้อน วัดบางตะไนย์
    28. หลวงพ่อสินธุ์ วัดสะพานสูง
    29. หลวงตาวาสน์ วัดสะพานสูง
    30. หลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตธรรมวนาราม
    31. หลวงพ่อพระมหาวิบูลย์ วัดโพธิคุณ
    32. พระอาจารย์ประกอบบุญ วัดมหาวัน
    33. หลวงปู่นาม วัดน้อยชมภู่(2 วาระ)
    34. หลวงปู่น่วม วัดโพธิ์ศรีเจริญ
    35. หลวงพ่อมนตรี วัดป่าวิสุทธิธรรม จังหวัดตราด
    36. หลวงปู่เกลี้ยง วัดเนินสุทธาวาส(2 วาระ)
    37. หลวงตาแตงอ่อน วัดป่าโชคไพศาล(2 วาระ)
    38. หลวงปู่วิไล วัดถ้ำพญาช้างเผือก(4 วาระ)
    39. พระอาจารย์สมหมาย วัดสันติกมลาวาส
    40. หลวงปู่สรวง วัดศรีฐานใน
    41. พระอาจารย์ทองพูล สิริกาโม วัดภูกระแต
    42. หลวงปู่สำลี วัดถ้ำคูหาวารี(2 วาระ)
    43.พระอาจารย์อุทัย วัดถ้ำภูวัว
    44. หลวงพ่อปริ่ง วัดโพธิ์คอย
    45. พระอาจารย์ประสิทธิ์ วัดโฆสมังคลาราม
    46. ครูบาตั๋น ปัญโญ ที่พักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น จังหวัดเชียงใหม่
    47. ครูบาอินถา วัดอินทราพิบูลย์
    48. ครูบาบุญมา วัดศิริชัยนิมิตร
    49. ครูบาบุญเป็ง วัดทุ่งปูน
    50. ครูบาสิงห์แก้ว วัดปางกอง
    51. ครูบากฤษดา วัดสันพระเจ้าแดง
    52. หลวงปู่บุญมา ข้างวิหารพระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก
    53. พระอุดมญาณโมลี(จันทร์ศรี) วัดโพธิสมภรณ์
    54. พระอาจารย์สมบูรณ์ วัดป่าสมบูรณ์ธรรม
    55. หลวงปู่อ่ำ ธุดงคสถานสันติวรญาณ เพชรบูรณ์
    56. พระอาจารย์ไม อินทสิริ วัดหนองช้างคาว(2 วาระ)
    57. หลวงพ่อวิโรจน์ สำนักสงฆ์ดอยปุย
    58. หลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้
    59. หลวงปู่ลี ถาวโร วัดป่าหนองทับเรือ(3 วาระ)
    60. พระเทพเจติยาจารย์(วิริยังค์) วัดธรรมมงคล
    61. หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิต
    62. หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูนวรวิหาร
    63. หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม (ปลุกเสกขณะเกิดสุริยุปราคาเมื่อวันที่ 15 มกราคม)
    64. หลวงพ่อวงศ์ สุภาจาโร วัดคำพระองค์ หนองคาย
    65. หลวงปู่ทองอินทร์ วัดกลางคลองสี่
    66. หลวงปู่บุญ โสณโภ วัดทุ่งเหียง ชลบุรี
    67. พระครูวิจิตรธรรมารัตน์ วัดนามะตูม จังหวัดชลบุรี
    68. หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี
    69. หลวงพ่อฉาบ วัดศรีสาคร
    70. หลวงพ่อเอิบ วัดซุ้มกระต่าย (หนองหม้อแกง) จ.ชัยนาท
    71. หลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้
    72. หลวงพ่อแป๋ว วัดดาวเรือง
    73. หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล
    74. พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดบางเนียน จังหวัดนครศรีธรรมราช
    75. หลวงพ่อจำลอง วัดเจดีย์แดง
    76. พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ จังหวัดปัตตานี
    77. หลวงปู่เยี่ยม(ศรีโรจน์) วัดประดู่ทรงธรรม<!-- google_ad_section_end --> จ.อยุธยา(2 วาระ)
    78. ครูบาข่าย วัดหมูเปิ้ง ลำพูน
    79. ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย ลำพูน
    80. ครูบาอุ่น วัดโรงวัว เชียงใหม่
    81. ครูบาบุญทา วัดเจดีย์สามยอด จ.ลำพูน
    82. ครูบาศรีวัย วัดหนองเงือก จ.ลำพูน
    83. หลวงพ่อผาด วัดบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์(2 วาระ)
    84. หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลา ชลบุรี
    85. หลวงปู่ใสย วัดเขาถ้ำตำบล ลพบุรี
    86. พระอาจารย์เจริญ วัดถ้ำปากเปียง เชียงใหม่
    87. พระอาจารย์อุทัย วัดภูย่าอู่ อุดรธานี
    88. หลวงพ่อบุญลือ วัดคำหยาด จ. อ่างทอง(2 วาระ)
    89. หลวงปู่ผาด วัดไร่้ จ.อ่างทอง
    90. หลวงพ่อเสียน วัดมะนาวหวาน จ.อ่างทอง(2 วาระ)
    91. หลวงปู่เปรี่ยม วัดบ้านคลองทรายเหนือ จ.สระแก้ว
    92. หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี
    93. หลวงปู่ครูบาสิงห์โต วัดดอยแก้ว
    94. ครูบาเลิศ วัดทุ่งม่านใต้ ลำปาง
    95. ครูบาบุญมา วัดบ้านสา ลำปาง
    96. หลวงปู่ภัททันตะอาสภะมหาเถระอัครบัณฑิต วัดท่ามะโอ
    97. พระอาจารย์พรสิทธิ์ วัดสว่างอารมณ์<!-- google_ad_section_end -->
    98. หลวงพ่อสิน วัดละหารใหญ่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
    99. หลวงตาวรงคต วิริยธโร วัดถ้ำเมืองนะ จ.เชียงใหม่(อธิษฐานเฉพาะพระปิดตาที่ใช้อุดหลังล็อกเกต)
    100. หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี (2 วาระ)
    101. หลวงปู่อ่อง วัดเทพสิงหาร จ.อุบลราชธานี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2010
  15. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 38 หลวงปู่ทองสี วัดป่าสุทธิมงคล

    [​IMG]
    หลวงปู่ทองสี กตปุญโญ วัดป่าสุทธิมงคล อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร

    พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบสายพระอาจารย์มั่น ภูรทัตโต....ท่านคือน้าชายแท้ๆ ของท่นพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร

    แต่ท่านมาบวชเมื่อตอนอายุมากแล้ว ท่านมรณะเมื่อปีพ.ศ.2547 และหลังถวายเพลิงอัฐิท่านกลายเป็นพระธาตุ

    มวลสารที่ผสมในรุ่นนี้ คือ พระธาตุของหลวงปู่ที่แปรสภาพจากอังคาร นับพันองค์ อันนี้ผมสงสารคนที่บรรจุ จึงอธิษฐานขอ นำไปผสมกับมวลสารรวม รับรองว่าล็อกเกตทุกองค์(ยกเว้นฉากทอง) จะมีพระธาตุของหลวงปู่บรรจุอยู่แน่นอน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01868.JPG
      DSC01868.JPG
      ขนาดไฟล์:
      289.9 KB
      เปิดดู:
      123
    • DSC01870.JPG
      DSC01870.JPG
      ขนาดไฟล์:
      398.3 KB
      เปิดดู:
      109
  16. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 39 ชิ้นส่วนพระเกศ ของพระบูชาเชียงแสนสิงห์หนึ่ง

    พระพุทธสิหิงค์ คือพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่ได้มีปรากฏบันทึกไว้ในชินกาลมาลีปกรณ์ ว่าได้สร้างขึ้นตามคติของพุทธศาสนา แบบเถรวาทสายลังกาวงศ์ ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๗๐๐ โดยพระเจ้าสีฬหะ แห่งลังกาทวีป โดยได้ร่วมพระทัยพร้อมกับพรอรหันต์ ด้วยหมายจะให้ได้พุทธลักษณะที่ตรงกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริง ๆ ถึงกับต้องอัญเชิญพญานาคที่เคยพบพระพุทธเจ้า มาแปลงร่างให้ดูเป็นต้นแบบในการปั้นหุ่นในครั้งนั้น

    ชิ้นส่วนจากพระเกศแท้ๆ สังเกตจากดินที่บรรจุในการหล่อหุ่นดิน
    มวลสารของโบราณ ทรงคุณค่า พลังมหาศาล ไม่จำเป็นต้องเป็นมวลสารแบบเบญจภาคีแค่ขอให้แท้ก็พอ เห็นหลายที่สร้างพระมวลสารเป็นพระแตกหักระดับเบญจภาคี ส่วนใหญ่เป็นพระ(เก๊)ดูง่ายทั้งนั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01774.JPG
      DSC01774.JPG
      ขนาดไฟล์:
      88.2 KB
      เปิดดู:
      165
    • DSC01775.JPG
      DSC01775.JPG
      ขนาดไฟล์:
      87.2 KB
      เปิดดู:
      138
  17. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 40 หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูนวรวิหาร

    [​IMG]

    ชาติภูมิ ท่านเจ้าคุณพระราชสิทธิมงคล ( สวัสดิ์ จิตตะทส ) เกิดวันศุกร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือนสิบสอง ปีมะเส็ง ตรงกับ
    วันที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2460 ณ บ้านเลขที่ 15 หมู่ 2 ตำบลราชคราม อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรี

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]อยุธยา บิดาชื่อ นายอยู่ จิตตะทส มารดาชื่อ นางไหม จิตตะทส ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 3 คน เป็นหญิง 2 คน ชื่อจัน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]และอิน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]บรรพชา ครั้งที่1 เมื่ออายุ 12 ปี ได้บรรพชาในงานฌาปนกิจศพของมารดา คลองเพศสามเณรอยู่ 3 ปี ครั้งที่ 2[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]หลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดบ้านสร้าง ได้จัดบรรพชาให้อีกครั้งหนึ่ง จนอายุครบบวชท่านจึงทำการอุปสมบทให้[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]อุปสมบท เมื่อวันอังคาร ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 7 ปีชวด ตรงกับวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2480 ณ วัดทองจันทริการาม[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พระอุปัชฌาย์ พระครูนิเทศธรรมกถา เจ้าอาวาสวัดบ้านสร้าง พระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการกรีสัมมานัย เจ้าอาวาสวัด[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ทองจันทริการาม พระนุสาวนาจารย์ พระครูนิเทศธรรมโกศล เจ้าอาวาสวัดพะยอม ปัจจุบันท่านเจ้าคุณพระราชสิทธิมงคล[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อายุ 89 ปี พรรษา 69 ปี ท่านเป็นที่เคารพรักศรัทธา เป็นที่เลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน ไม่ว่าจะ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]เป็นพ่อค้า ประชาชน ครูบาอาจารย์ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียง แม้บุคคล[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ต่างศาสนา ต่างชาติ เช่น ชาวสิงคโปร์ก็เดินทางมาปฏิบัติธรรมและพักค้างคืนที่วัดศาลาปูนอยู่เป็นประจำจนท่านได้เปิด[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]สาขาวัดไทยในประเทศสิงคโปร์มีพระภิกษุไทยไปประจำเป็นสาขาของวัดศาลาปูน ชื่อ " วัดพุทธสันติธรรม "[/FONT]

    "ถ้าอยากกราบพระเกจิอยุธยา ให้ไปกราบหลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูนเถอะ..!!!!!!"

    หลวงปู่ดู่ วัดสะแก อยุธยาสั่งความกับครูโรงเรียนวัดศาลาปูนที่ดั้นด้นไปกราบหลวงปู่ดู่ครั้งหนึ่ง โดยมองข้ามพระดีใกล้ตัวไป

    "ที่จังหวัดอยุธยาปัจจุบันนั้น หากไม่นับหลวงปู่ชื้น วัดญาณเสนแล้ว หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูนถือว่ามีระดับจิตที่สูงที่สุดน๊ะ..!!???!!"
    และ
    "หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูนน่ะ ท่านถึงที่สุดแห่งธรรมแล้วนะเธอ"

    หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย นครพนม

    "หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูนเป็นพระเถระซึ่งมีจิตที่เย็นที่สุดในอยุธยาตอนนี้..!!!!!!!!"

    หลวงพ่อ
    อุดม วัดพิชัยสงครามวิสัชนาแก่คุณสุธันย์ สุนทรเสวี(ผู้สร้างพระกริ่งรุ่นแรก หลวงพ่ออุดม)

    "หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูน ถึงที่สุด(แห่งธรรม)แล้ว และยังมีวิชาดีแบบคมในฝักหรือเสือซ่อนเล็บด้วยน๊ะ..!!?!"

    หลวงปู่ธรรมรังสี วัดพระพุทธบาทเขาพนมดิน สุรินทร์ (พระอาจารย์ของเจ้าสีหนุ เขมร)
    หลวงหลวงพ่อคง วัดตะคร้อ นครราชสีมา

    "ในอยุธยาตอนนี้ จะมีใครเล่าจะเสมอด้วยหลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูนอีก วิชชาท่านก็เป็น จิตท่านก็ได้ถึงขนาดนี้ฯ"

    หน่วยสืบราชการลับทางจิตสาย"โพธิ"

    และที่สุด แม้ก่อนที่จะ
    "นิพพาน" หลวงปู่ทิม อัตตสันโต ซึ่งเป็น"พุทธภูมิลา บารมีสูงสุด" แห่งวัดพระขาว อยุธยาก็ยังได้มา"กราบลา"หลวงพ่อสวัสดิ์ ถึงที่วัดศาลาปูน เป็นครั้งสุดท้ายก่อนละสังขารเลยทีเดียว..!!!!!!!!!!


    ที่มา เว็บพุทธวงศ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    ท่านเป็นฆราวาสครับไม่ใช่พระแต่เป็นฆราวาสที่บริสุทธิ์มากครับ ครูบาอาจารย์รับรองในภูมิธรรมเบื้องสูงไว้หลายท่าน ครับท่านรับรองล็อกเกตรุ่นนึ้ครับ คุณเดลต้าเคยนำมีดไปให้ท่านดู ท่านยังไม่ได้ดูเลยรู้ว่าเป็นมีดของใคร
     
  19. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 41 พระธาตุข้าวบิณฑ์ ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

    [​IMG]
    พระธาตุข้าวบิณฑ์

    <!-- Main -->พระธาตุข้าว (ข้าวก้นบาตรพระพุทธเจ้า)

    หลังๆ เรียกว่า พระธาตุข้าวบิณฑ์

    ในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปตามที่ต่างๆ เพื่อ
    โปรดเวไนยสัตว์ ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปทางทิศตะวันออกเฉียง
    เหนือของแม่น้ำระมิงค์ เพื่อโปรดพวกละว้า พวกละว้าเหล่านั้นอยู่ในภาวะ
    อดอยาก ผืนดินแห้งแล้ง ทำการเพาะปลูกไม่ได้ผล ต้องหาหัวเผือกหัวมัน
    มาต้มผสมกับข้าวกินเป็นอาหาร เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงที่นั่น

    พวกละว้าก็เอาข้าวผสมหัวมันซึ่งเป็น โภชนาหารของตนมาใส่บาตร พระบรม
    โลกนาถก็ทรงรับ แล้วฉันภัตตาหารเช้า ณ ที่นั้น ซึ่งเรียกว่า ดอนน้อย เสร็จแล้วก็ทรงให้ศีลให้พรพวกละว้าทั้งหลาย หลังจากนั้นจึงทรงนำข้าวที่เหลือก้นบาตร ไปเทคว่ำไว้ และแสดงปาฎิหารย์ ให้ข้าวนั้นกลายเป็นหิน (เป็นพระธาตุข้าวที่เห็นในปัจจุบัน)

    พวกละว้าเมื่อเห็นดังนั้นก็เกิดเลื่อมใสศรัทธาเป็นอันมาก พระพุทธองค์จึงทรงให้ศีลห้า และแสดงธรรม และรับสั่งให้พวกละว้ารักษาดอนน้อยไว้ให้ดี และให้รักษาศีลห้าเป็นปกติ ถ้ารักษาได้ก็เหมือนอยู่ใกล้พระพุทธองค์ ถ้ารักษาไม่ได้ก็เหมือนอยู่ไกลสุดขอบฟ้าจักรวาล

    การแสดงพุทธปาฎิหารย์แต่ละครั้ง ก็เพราะมีสาเหตุอันสมควรเท่านั้น พวกละว้าเหล่านี้แต่เดิม นับถือภูติผีต่างๆ การแสดงธรรมให้ผู้ที่ขาดความเลื่อมใส
    ศรัทธาฟัง ก็เป็นการเสียเวลาเปล่า ดังนั้นพระพุทธองค์จึงได้ให้พวกละว้าเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระองค์ก่อน จึงบังเกิดผล

    ข้าวก้นบาตรที่กลายเป็นหินนี้ แต่ละเม็ดมีเทพคุ้มครองอยู่ จากนั้นพระธาตุข้าวก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

    เมื่อหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ได้มาจำพรรษา เพื่อพัฒนาวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ที่อำเภอลี้จังหวัดลำพูน

    ท่านได้นิมิตรเห็นพระธาตุข้าว ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 200 กิโลเมตร ที่ดอยเกิ้ง ท่านจึงได้อันเชิญพระธาตุข้าวบางส่วนมาไว้ที่วัด และแจกให้ลูกหลานนำไปสักการะบูชา

    ผู้ที่อยู่ในศีลในธรรม และมีพระธาตุข้าวไว้บูชาแล้ว ความอดอยากขาดแคลนจะไม่บังเกิดขึ้นการทำมาค้าขายโดยสุจริตจะได้ผลเจริญงอกงาม


    เมื่อประสงศ์สิ่งใด ให้ทำสมาธิจิตระลึกถึงคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา แล้วให้ตั้งจิตอฐิษฐานในสิ่งที่ปราถนา จะได้ผลดีมากสำหรับผู้ที่รักษาศีลห้าเป็นปกติ


    พระธาตุข้าวบิณฑ์มีผลต่อ ผู้ที่เป็นสัมมาทิฐิบุคคล สามารถเสด็จมาเพิ่มเติม และลดจำนวนลงได้

    ถ้าหากเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ที่รับประทานยาแผนปัจจุบันแล้ว ไม่สามารถบรรเทาทุกข์เวทนาให้หายลงได้

    ก็ให้ทำน้ำพระพุทธมนต์โดยจุ่มพระธาตุข้าวลงในภาชนะ ใส่น้ำที่จะทำน้ำพระพุทธมนต์ ตั้งจิตอธิษฐานแล้วดื่มน้ำพระพุทธมนต์นั้น จะบรรเทาทุกข์และเวทนาที่เกิดขึ้นได้ และพระธาตุข้าวนี้อาจแตกหักได้ 2 กรณี คือ

    1. แตกโดยการชำรุด

    2. แตกหักโดยนำไปในสถานที่ ที่ไม่เป็นมงคล



    บางส่วนจาก ... ประวัติพระธาตุข้าว (ข้าวบิณฑ์) เรียบเรียงโดย นันทวัน หนังสือธรรมะปกิณกะ เล่ม 1

    เป็นข้อความนำมาจากเวป ซึ่งคุณสันติ ได้นำมาลงในเวปพลังจิต และ ผมได้อ่านจากหนังสือพลังเหนือโลก (ไม่รู้ฉบับ ปีที่พิมพ์) เพื่อนถ่ายเอกสารมาให้นานแล้ว (เกิน10ปี) เขียนโดย มนธิรา หน้า 117-134
    [​IMG]

    ขอเสริมเรื่องพุทธคุณของพระธาตุข้าวบิณฑ์ บางส่วนไว้ตรงนี้

    ได้ให้ผู้ที่มีการฝึกสมาธิ และสามารถตรวจสอบเรื่องพุทธคุณของพระธาตุข้าวฯ (ความเชื่อของแต่ละบุคคล) พบว่า พระธาตุข้าว แต่ละองค์ มีพุทธคุณไม่เหมือนกัน (มีพุทธคุณเด่นหลายด้านแตกต่างกัน) ซึ่งตรงนี้ผมสันนิฐานว่า เกิดจากบุคคลต่างๆที่นำพกติดตัวแล้ว อยู่ในศีลในธรรมมากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญ มีการสวดมนต์ทำสมาธิมากน้อยแค่ไหน ดังนั้น ถ้าผู้ที่พกติดตัว หมั่นสวดมนต์และนั่งสมาธิอยู่เสมอๆ

    พุทธคุณของพระธาตุข้าวฯ มีมากมายหลายด้าน ไม่ได้เฉพาะให้มีกินมีใช้ หรือว่ารักษาโรค ยังคงมีหลายๆอย่าง คุ้มครองเรื่องเดินทาง หรือเรื่องที่พักอาศัย ฯ

    .........................................................................


    ล็อกเกตทุกฉากสี บรรจุพระธาตุข้าวที่ทันหลวงปู่ครูบาชัยวงศ์ อันละ 1 องค์
    พลานุภาพมหาศาล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01747.JPG
      DSC01747.JPG
      ขนาดไฟล์:
      182.9 KB
      เปิดดู:
      135
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2010
  20. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 42 หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ

    [​IMG]



    หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ เป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    ท่านเป็นผู้มีความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ ดังคำยกย่องของท่านพระอาจารย์มั่น
    “เป็นผู้มีความพากเพียรสูงยิ่ง มีความตั้งใจแน่วแน่
    ได้ประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดที่สุด
    เป็นตัวอย่างที่ดีแก่พระภิกษุทั้งหลาย ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง”


    หลวงปู่พรหมในสมัยเป็นฆราวาส
    ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน แห่งหมู่ที่ ๑ บ้านดงเย็น
    ได้ปกครองลูกบ้านด้วยความยุติธรรม จึงเป็นผู้ที่ได้รับการนับถือเป็นอย่างมาก
    พรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สินทั้งวัวควายและไร่นา
    ตลอดจนได้รับการเรียกขานว่า “นายฮ้อยพรหม” มีเกียรติสูงมากในสังคม
    (“นายฮ้อย” คือผู้ที่เป็นหัวหน้าในการนำโคกระบือจากภาคอีสานไปขายยังภาคกลาง
    ต้องเป็นผู้ที่มีความเข้มแข็ง สามารถปกป้องชีวิตคนในขบวนเดินทาง
    และจัดการดูแลวัวควายจำนวนหลายร้อยตัวได้)

    แม้ว่าจะมีชีวิตทางโลกที่ควรมีความสุขเพียงใด แต่ท่านกลับพบว่าไม่ใช่เช่นนั้น
    เฝ้าสงสัยตลอดมาว่าความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ไหน ทำอย่างไรจะได้พบ
    เมื่อได้ฟังธรรมจาก พระอาจารย์สาร (ท่านเป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์มั่น
    และเป็นพระอาจารย์คนแรกของหลวงปู่พรหม) ซึ่งวิสัชนาว่า

    “ถ้าอยากประสบความสุขที่ปรารถนาอยู่นั้น
    ต้องละอารมณ์คือรักใคร่พอใจในกามคุณ ๕
    คือ ความพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส
    อันเป็นเหยื่อล่อให้ติดอยู่ในกองทุกข์ เสียให้หมดสิ้นไปจากใจ
    ความสุขที่ปรารถนาอยู่นั้นก็จะฉายแสงออกมาให้ปรากฏเห็น
    ตามสมควรแก่ความเพียร ที่ได้ทุ่มเทลงไปในทางที่ถูกที่ชอบ”


    อุบาสกพรหมซาบซึ้งในรสพระธรรมยิ่งนักและตัดสินใจออกบวชในที่สุด
    เมื่อคิดดังนั้นแล้ว จึงได้ทำการมอบทรัพย์ทั้งหมดแก่คนทั่วไป
    เว้นแต่อุปกรณ์จับปลาล่าสัตว์ ที่ท่านนำไปทำลาย
    ใช้เวลาในการแจกทรัพย์สินทั้งหมดรวม ๓ วัน ๓ คืน
    หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านตั้งใจพากเพียรอย่างไม่ย่อท้อ
    หลังจากได้รับการสั่งสอนจากพระอาจารย์สาร จนเพียงพอต่อการปฏิบัติแล้ว
    ก็กราบลาเพื่อออกธุดงค์ โดยนำหลานชายชื่อบุญธาตุ
    ซึ่งอายุน้อยและยังไม่ได้เข้าโรงเรียนไปด้วย


    ท่านจาริกจากเขตจังหวัดอุบลราชธานี ไปยังเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว
    การเดินทางเต็มไปด้วยความยากลำบาก กว่าจะพบหมู่บ้าน แล้วจึงจะได้พักผ่อน
    ท่านดูแลจนหลานชายหลับไปแล้ว จึงบำเพ็ญเพียรภาวนาเพื่อเอาชนะกิเลส
    พอรุ่งเช้าก็ออกเดินทางต่อไป วันแล้ววันเล่าที่ต้องบุกป่าฝ่าดง
    ปีนภูเขาลูกแล้วลูกเล่า เต็มไปด้วยความยากลำบากและแร้นแค้น
    บางวันไม่พบหมู่บ้านที่จะบิณฑบาตได้ ก็ไม่มีอาหารสำหรับท่านและหลานชาย
    เด็กน้อยบุญธาตุร้องไห้ด้วยความหิว ได้แต่อาศัยน้ำประทังชีวิตไปเท่านั้น
    ท่านเล่าถึงการธุดงค์ในสมัยแรกๆ ว่า

    “ปฏิบัติธรรมเพื่อเอาความดีนั้น จะต้องอดทน มีความพยายามอย่างสูงสุด
    จึงจะได้มาซึ่งคุณงามความดี การเดินป่าหาธรรมะ ต้องต่อสู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่มันเกิดขึ้นมา
    บางวันก็ต้องหอบหิ้วสัมภาระทั้งหมดนี้ เช่น บาตร กลด กาน้ำ
    และยังต้องอุ้มหลานชายไปด้วย ทั้งนี้เพื่อจะได้เดินทางได้เร็ว ทำอยู่อย่างนี้ตลอดวัน”


    แม้ต้องเผชิญความยากลำบากเพียงไหนก็ไม่ย่อท้อ จนเดินทางถึงยังเมืองหลวงพระบาง
    ขณะที่พักอยู่ที่นี่ ท่านอาพาธหนักด้วยโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
    ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลและด้วยยาของหมอพระ แต่อาการไม่ดีขึ้น
    ในที่สุดท่านตัดสินใจว่าจะไม่ฉันยาขนานใดๆ อีก

    “ต่อไปนี้เราจะไม่รักษาด้วยยาอีก จะไม่ฉันยาขนานใดๆ อีกต่อไป
    ถ้าจะเกิดล้มตายลงไปก็ถือเป็นกรรมเก่าของเรา
    แต่ถ้าหากเรายังพอจะมีบุญอยู่บ้าง ก็คงจะหายไปเป็นปกติได้”


    หลังจากนั้นท่านได้เจริญสมาธิ ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง พิจารณาธาตุขันธ์
    แล้วเพ่งเพียรรักษาด้วยอารมณ์จิตใจที่เป็นสมาธิ
    ด้วยคุณธรรมและบุญบารมีของท่าน ในที่สุดอาการอาพาธก็ค่อยๆ หาย
    ได้เดินทางกลับประเทศไทย นำหลานชายกลับไปสู่พ่อแม่ของเขา
    และออกธุดงค์ต่อไปเพื่อตามหาจนได้พบกับพระอาจารย์ใหญ่มั่น
    และรับโอวาทในการปฏิบัติ ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย

    หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ เป็นพระสงฆ์สาวกผู้ประเสริฐ
    ดำเนินตามพระธรรมคำสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    แม้ว่าจะพร้อมด้วยสถานะทางสังคมและทรัพย์ศฤงคาร แต่ก็สละเสียสิ้น
    แล้วออกบวชเพื่อความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง
    นับเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นแบบอย่างของผู้สละชีวิตเพื่อโมกขธรรม
    ดังพระธรรมเทศนาที่ท่านได้สั่งสอนไว้เป็นคติเตือนใจแก่สาธุชนทั้งปวง


    “คนเราเกิดมาทุกรูปทุกนาม รูปสังขารเป็นของไม่เที่ยง
    เกิดขึ้นแล้วล้วนตกอยู่ในกองทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น
    ไม่ว่าพระราชา มหากษัตริย์ พระยานาหมื่น คนมั่งมี เศรษฐี และยาจก
    ล้วนตกอยู่ในกองทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น
    มีทางพอจะหลุดพ้นทุกข์ได้ คือทำความเพียร เจริญภาวนา
    อย่าสิมัวเมาในรูปสังขารของตน มัจจุราชมันบ่ไว้หน้าผู้ใด
    ก่อนจะดับไป ควรจะสร้างความดีเอาไว้”



    --------------------------------------------------------

    เอกสารประกอบการเขียน

    “บูรพาจารย์” จัดดำเนินงานและพิมพ์โดยมูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ฉบับพิมพ์ปี ๒๕๔๕.

    “ตามรอยพระอาจารย์พรหม จิรปุญโญ พระอรหันต์แห่งบ้านดงเย็น” พิมพ์เมื่อเมษายน ๒๕๔๙.

    “๒๘ พระอรหันต์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์” พระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม
    ธรรมบรรณาการในงานบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
    (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) ครบรอบวันมรณภาพปีที่ ๔๘ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๒.


    โดย เทียบธุลี
    http://www.dlitemag.com/
    <!-- google_ad_section_end -->

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD background=../../../../bg/c.gif><TABLE width="88%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD><TABLE width=500 align=center><TBODY><TR><TD>
    พระธาตุหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ พรรณสีทับทิม ของพระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป ภาพจากหนังสือประวัติพระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ffd013> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013> </TD><TD background=../../../../bg/c.gif><TABLE width=500 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระธาตุหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ พรรณใส ภาพจากปกหนังสือ สัจธรรม
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    ความเกี่ยวข้องกับล็อกเกตรุ่นนี้คือ ชานหมากของหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ และผงอังคารธาตุของท่าน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...