@เปลือกไม้@สายกรรมฐานสรุปรายการหน้า93 มาใหม่เหรียญหลวงพ่อจาดปี89สวยๆหน้าท้ายครับ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย เปลือกไม้, 4 กันยายน 2010.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    ประวัติความเป็นมาและพิธีพุทธาภิเษกเหรียญฟ้าลั่น เบ็ญจะมหามงคล วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ปี2516

    คณะกรรมการสมาคมเบ็ญจะมะมหาราชได้จัดสร้างพระเครื่องขึ้น เพื่อที่จะหาเงินสักจำนวนหนึ่งมาสร้างสำนักงานของสมาคม โดยได้จัดสร้างเหรียญเป็นรูปของพระอริยสงฆ์ทั้ง 5 องค์ที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดอุบลราชธานีและบุคคลทั่วไป และได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกครั้งแรก ณ พระอุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2516 เวลา 16.00 น. ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2516 เวลา 05.40 น. โดยมี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เป็นองค์ประธานในพิธี และได้อาราธนาพระคุณเจ้าที่มีศีลาจาริวัตรเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธามาร่วมพิธีพุทธาภิเษก จำนวน 62 องค์ เช่นพระอาจารย์ขาว วัดถ้ำกลองเพล, พระอาจารย์วัน วัดถ้ำภูเหล็ก, พระอาจารย์ฝั้น วัดถ้ำขาม, พระอาจารย์บุญมา วัดศิริสาลวัน, พระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง, พระอาจารย์หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอ, พระอาจารย์หลวงพ่อเทียม วัดกษัตริยาธิราช อยุธยา, พระอาจารย์หลวงพ่อทองอยู่ สมุทรสาคร, พระอาจารย์เจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์ วัดวชิราลงกรณ์ ปากช่อง, เจ้าคุณพระโพธิญาณมุนี ชัยภูมิ, พระครูโอภาสสมณกิจ (หลวงพ่อผาง) วัดธรรมวิเวก ชนบท, เป็นต้น ในวันทำพิธีปลุกเสก ได้เกิดนิมิตอันดีปรากฏให้เห็นชัดเจน กล่าวคือ ขณะที่พราหมณ์กำลังกล่าวอัญเชิญเทวดา ท้องฟ้ามืดครึ้มขึ้นมาทันที ลมกระโชกแรง มีเสียงฟ้าคำรามอย่างกึกก้อง ฝนตกปรอยๆ ประมาณ 2-3 นาที แล้วก็หายไปราวปาฏิหาริย์ ประชาชนที่มาร่วมพิธีจึงให้ชื่อว่า “เหรียญฟ้าลั่น” เพราะเป็นนิมิตดี น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ในขณะที่เจ้าประคุณสมเด็จฯท่านกำลังนำเทียนชนวนที่จุดไฟเพื่อนำไปจุดเทียนชัยอยู่นั้นบังเกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นคือ “ฟ้าลั่นเปรี้ยงดังสนั่นหวั่นไหวที่ท่าน้ำวัดสุปัฏนารามถึง 2 ครั้งซ้อน และฟ้าได้มืดครึ้มลงอย่างกะทันหันพร้อมมีฝนโปรยปรายลงมาอยู่ครู่ใหญ่แล้วจึงหายไป”ในขณะที่เจ้าประคุณสมเด็จฯท่านกำลังจุดเทียนชัยอยู่นั้นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ก็ได้เจริญพระพุทธมนตร์ ดังมีรายนามดังต่อไปนี้
    1.พระธรรมบัณฑิต วัดสุทธจินดา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
    2.พระเทพมงคลเมธี วัดมณีวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    3.พระเทพกวี วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    4.พระวิโรจน์รัตนโนบล วัดทุ่งศรีเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    5.พระศาสนดิลก วัดสุปัฏนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    6.พระครูประจักษ์อุบลคุณ วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    7.พระครูศีลคุณาภรณ์ วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    8.พระครูวิรุฬสุตการ วัดวารินทราราม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    9.พระครูสังวรศีลขันธ์ วัดสุทัศนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    10.พระครุกิตยาภรณ์โกศล วัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

    การอธิษฐานจิตปลุกเสกนั้นได้ประกอบพิธีเป็นชุด ๆ ไปมีทั้งหมด 3 ชุด ดังนี้
    ชุดที่ 1.
    พระพิธีธรรม ชุดที่ 1.
    1.พระครูศีลคุณาภรณ์ วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    2.พระครูบวรคณานุศาสน์ วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี(ในสมัยนั้นอ.ป่าติ้วยังขึ้นอยู่กับจ.อุบลราชธานีครับ)
    3.พระครูปลัดสวัสดิ์ วัดใต้ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    4.พระครูใบฎีกามานะ วัดไชยมงคล อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

    พระกัมมัฏฐานที่เมตตามาอธิษฐานจิต ชุดที่ 1.
    1.พระญาณสิทธาจารย์(สิงห์ สุนทโร) หรือ ลป.เมตตาหลวง วัดเทพพิทักษณ์ปุณณาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    2.พระครูภาวนานุศาสน์(สาย จารุวัณโณ) วัดป่าหนองยาว อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
    3.พระครูสังฆรักษ์(ลป.พั่ว) วัดบ้านนาเจริญ อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
    4.พระญาณวิริยาจารย์(วิริยังค์ สิรินธโร)วัดะรรมมงคล บางจาก กรุงเทพฯ
    5.พระครูนวกรรมโกวิท วัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    6.พระครูภัทรคุณาธาร วัดพรหมวิหาร อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร
    7.พระครูญารวิจิตร วัดประชาอุทิศ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี
    8.พระครูพินิจสังฆภาร วัดศรีนวล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    9.พระอาจารย์ประยูร วัดป่าธรรมรังษี อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี(ขณะนั้น)
    10.พระอาจารย์ภา วัดหนองบัว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

    ชุดที่ 2.
    พระพิธีธรรม ชุดที่ 2.
    1.พระครูอุบลเดชคณาจารย์ วัดศรีอุบลรัตนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    2.พระครูธรรมประเวที วัดสุทัศนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    3.พระครูใบฎีกาจันทร์ วัดบ้านท่าบ่อ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    4.พระปลัดหมูน วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ อ.อุบลราชธานี

    พระกัมมัฏฐานที่เมตตามาอธิษฐานจิต ชุดที่ 2.
    1.พระราชสุทธาจารย์(โชติ คุณสัมปันโน) วัดวชิราลงกรณ์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    2.พระครูพิบูลธรรมภาณ(โชติ อาภัคโค)วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    3.พระโพธิญาณมุนี วัดศรีแก้งค้อ อ.แก้งค้อ จ.ชัยภูมิ
    4.พระครูอรุณรังษี วัดแสนสุข อ.วารินชำราบ อ.อุบลราชธานี
    5.พระครูพิเนตสมณกิจ วัดประชารังสรรค์ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
    6.พระครูโอภาสสมณกิจ วัดป่าธรรมวิเวก อ.เมือง จ.ขอนแก่น
    7.พระครูวิจิตรธรรมภาณี วัดหนองบัว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    8.พระครูอมรวิสุทธิ์(ลต.พวง สุขินทริโย) วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร
    9.พระครูพุทธิสารสุนทร วัดประดิษฐ์ธรรมาราม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
    10.พระครูวินัยธรอุทิศ วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ อ.อุบลราชธานี

    ชุดที่ 3.
    พระพิธีธรรม ชุดที่ 3.
    1.พระครูประจักษ์อุบลคุณ วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    2.พระครูชิโนวาทสาธร(อุไทย์ ปภัสสโร) วัดไชยมงคล อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    3.พระครูวินัยะร(พิมพ์) วัดสุทัศนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    4.พระครูวินัยธร(แดง)วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

    พระกัมมัฏฐานที่เมตตามาอธิษฐานจิต ชุดที่ 3.
    1.ลพ.มุม อินทปัญโญ วัดปราสาทเยอร์เหนือ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ
    2.พระราชมุนี(โฮม) วัดปทุมวนาราม ปทุมวัน กรุงเทพฯ
    3.พระโพธิญาณเถร(ลป.ชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    4.พระชินวงศาจารย์(ลพ.พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา
    5.ลป.บุญมี โชติปาโล วัดสระประสานสุข อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    6.พระครูทัศนประกาศ วัดสำราญนิเวศ อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี
    7.พระครูชโยบลบริบาล วัดหอก่อง อ.มหาชนะชัย จ.ยโสะร
    8.พระอาจารย์บุญกอง วัดโพนทัน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี
    9.พระครูโอภาสธรรมคุณ วัดสุภรัตนาราม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    10.พระมหามณี วัดบ้านก้านเหลือง จ.อุบลราชธานี

    หมายเหตุ ก่อนทำพิธีพุทธาภิเษกนั้นพระทุกรูปได้ทำสังฆกรรมปลงอาบัติเพื่อความบริสุทธิ์ก่อนทุกรูป และในพิธีนี้ได้มีพระเถระที่เมตตานั่งอธิษฐานจิตให้ตลอดคืนจนสว่างเลย ได้แก่
    1.ลพ.มุม อินทปัญโญ วัดปราสาทเยอร์เหนือ
    2.ลป.บุญมี โชติปาโล วัดสระประสานสุข
    3.ลป.ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง
    4.ลพ.พุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน
    ต่อมาคณะกรรมการสมาคมได้นำเหรียญ “เบ็ญจะมหามงคล” เข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกในโอกาสสำคัญๆ อีก 3 ครั้ง คือ
    1.ที่วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) เมื่อ พ.ศ. 2518 พร้อมปลุกเสกพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง และเหรียญพระแก้วบุษราคัมของจังหวัด จัดทำเป็นที่ระลึกสร้างศาลหลักเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
    2. ที่วัดดอยตุง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เป็นองค์ประธาน
    3. ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ที่วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
     
  2. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    [​IMG]

    "หลวงปู่คำ วัดหนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ สุดยอดเกจิห้าแผ่นดิน ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่นาควัดหัวหิน ท่านเกิดในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวงล้นเกล้ารัขกาลที่ 5 และมรณภาพในปีพ.ศ. 2540 รวมศิริอายุได้ 104 ปี 81 พรรษา หลวงปู่คำ ถึงแม้ว่าท่านจะตาบอดข้างนึง แต่ท่านก็ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ทรงอภิญญามีทิพยจักษุ(ตาทิพย์), วาจาสิทธิ์, หยั่งรู้อนาคต, เจ้าตำรับยาสมุนไพรแผนโบราณ อีกอย่างเรื่องการสักยันต์ ถ้าใครได้สักกับหลวงพ่อคำแล้ว ที่พบส่วนใหญ่ศพของผู้ที่สักจะเผาไม่ไหม้ จนกว่าหลวงปู่คำท่านจะมาถอนวิชา ออกไป จึงเผาได้"

    "เหตุการณ์เมรุระเบิด เกิดขึ้น วันที่ 24 มิถุนายน 2537 ในขณะที่พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั้ง 12 รูป นั่งปรกอฐิษฐานจิต อยู่ ณ พระอุโบสถวัดหนองแก(หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก,หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ,หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก,หลวงพ่อเบิ้ม วัดวังยาว,หลวงพ่อพาน วัดเฉลิมราษฎร์,หลวงพ่อหวล วัดนิคมวชิราราม,พระอาจารย์พงษ์ทิพย์ วัดเขาตะเกียบ,หลวงพ่อแผ่ว วัดโตนดหลวง,หลวงพ่อห่วย วัดห้วยทรายใต้ พระอธิการทองหล่อ วัดไตรรัตน์เจริญผล,หลวงพ่อตัด วัดชายนา,หลวงปู่คำ วัดหนองแก) เกิดเหตุการมหัศจรรย์คือ ฟ้าคำรามลั่นอยู่หลายครั้งโดยไม่มีฝนตก และปล่องเมรุได้ระเบิด อย่างไม่มีสาเหตุ มีผู้ไปบอกให้หลวงปู่คำทราบว่าเมรุระเบิด หลวงปู่คำท่านกลับพูดขึ้นว่า"เออ เมรุมันระเบิดได้อย่างไง ฉันสร้างด้วยตัวของฉันเอง สงสัยมันจะน้อยใจว่า เขาสร้างเมรุขึ้นใหม่ ไม่เรียกใช้เมรุเก่าแล้ว" พูดจบท่านก็หัวเราะชอบใจ"
    ข้อมูลจากเว็บไซด์ต่างๆ นำมารวมกัน

    อ่านเต็มๆได้ที่นี่ครับ ขอบคุณคุณหน่องด้วยครับ
    http://palungjit.org/threads/หลวงปู่คำ-สุวณณโชโต-อริยะสงฆ์-๕-แผ่นดินผู้หยั่งรู้กาลอนาคต.254433/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2010
  3. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    เหรียญหล่อเสมา เนื้อทองผสม
    หลวงปู่คำ วัดหนองแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เกจิ ๕ แผ่นดิน ปี 2538

    [​IMG]

    [​IMG]


    หลวงปู่คำ สุวัณณโชโต" วัดหนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ยอดพระสงฆ์ 5 แผ่นดิน เป็นศิษย์สายตรงอดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง "หลวงปู่นาค" วัดหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งท่านได้รับถ่ายทอดวิทยาคม

    เหรียญหล่อเสมา หลวงปู่คำ วัดหนองแก หัวหิน จ.ประจอบคีรีขันธ์ เกจิ ๕ แผ่นดิน ปี 2538 สร้างเนื้อเดียวจำนวน 7200 องค์ สวยเดิมๆน่าเก็บสะสมครับ
    บูชา 350 บาทครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT2303.jpg
      PICT2303.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90.1 KB
      เปิดดู:
      1,253
    • PICT2304.jpg
      PICT2304.jpg
      ขนาดไฟล์:
      91.4 KB
      เปิดดู:
      1,319
  4. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    เหรียญนั่งพานหลวงปู่คำ วัดหนองแก เกจิ ๕ แผ่นดิน

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    เหรียญนั่งพานหลวงปู่คำ วัดหนองแก ประจวบคีรีขันธ์ เกจิ ๕ แผ่นดิน
    เนื้อทองแดงรมดำ ปลุกเสกเสาร์ห้า ปี 2537 ครับ
    สภาพสวยเดิมๆ บูชา 360 บาทครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    [​IMG]


    ๏ อัตโนประวัติ
    หลวงปู่สาม อกิญฺจโน” อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าไตรวิเวก ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ พระป่าปฏิบัติศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่ดูลย์ อตุโล และหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
    หลวงปู่สาม มีนามเดิมว่า สาม เกษแก้วสี เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 ตรงกับเดือนกันยายน พ.ศ.2443 ณ บ้านนาสาม ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายปวม และนางถึง เกษแก้วสี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 11 คน ท่านเป็นบุตรคนโต (หัวปี)
    ๏ การบรรพชาและอุปสมบท
    ชีวิตในวัยเด็กนั้นสุดแสนยากลำบาก เพราะท่านต้องทำงานทุกอย่าง ลักษณะคล้ายผู้หญิงด้วยว่า น้องๆ ของท่านเป็นผู้ชายเสียหมด ไม่มีผู้หญิงเลย เมื่ออายุ 19 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร สายมหานิกาย ณ วัดบ้านนาสาม อันเป็นวัดใกล้บ้านเกิดของท่าน
    จนกระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระครูวิมลศีลพรต เป็นพระอุปัชฌาย์
    ๏ พระป่าศิษย์สาย “หลวงปู่มั่น”
    ภายหลังอุปสมบท ท่านได้มุ่งมั่นศึกษาพระธรรมวินัย ต่อมาใน พ.ศ.2467 เมื่อทราบข่าวและกิตติศัพท์ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่าได้กลับจากธุดงค์และจำพรรษาที่วัดป่าหนองเสม็ด ต.เฉนียง อ.เมือง จ.สุรินทร์ จึงได้ไปกราบขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน
    หลวงปู่ดูลย์ เห็นถึงความตั้งใจและความพากเพียรที่จะเอาดีทางด้านประพฤติปฏิบัติของศิษย์ จึงแนะนำให้ไปศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่จังหวัดสกลนคร
    ท่านจึงกราบลาออกเดินธุดงค์รอนแรมไปท่ามกลางป่าเขาเป็นเวลาหลายเดือน กว่าจะได้เข้านมัสการหลวงปู่มั่น แล้วท่านก็ได้พักปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่น 3 เดือน ภายหลังจากสามเดือนผ่านไป หลวงปู่มั่นได้แนะนำให้หลวงปู่สาม ไปพบกับหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม เพื่อเป็นพระผู้ฝึกฝนอบรมสั่งสอนต่อไป
    ในปีที่มาอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่สิงห์นั้น ท่านได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจอยู่กับการปฏิบัติจนต้องล้มป่วยอย่างหนักเกือบเสีย ชีวิต แต่ด้วยจิตใจเข้มแข็งแรงกล้าในธรรมะของพระศาสดาเจ้า พร้อมกับได้เห็นความจริงที่เกิดขึ้นภายในใจ ท่านไม่ยอมละลดต่อสู้กับโรคภัยนั้น ชนิดผอมหนังหุ้มกระดูก ต้องอาศัยกำลังใจ และไม้เท้ายันตัวเดิน
    ท่านเคยเล่าไว้ตอนหนึ่งว่า “เรานักต่อสู้ลูกพระพุทธเจ้า ถ้ามันยังไม่ตายยังหายใจอยู่ แม้ขาเดินไม่ได้เอาไม้เท่าเดินก็ต้องยอมตายกับความดีงามนะพวกเธอ”
    ครั้นได้พบหลวงปู่มั่นและหลวงปู่สิงห์ และหลวงปู่ทั้งสองได้รับตัวท่านไว้เป็นศิษย์ ให้การอบรมสั่งสอนแล้ว ท่านจึงกราบลาไปจำพรรษาที่จังหวัดสุรินทร์
    ๏ ญัตติเป็นธรรมยุต
    หลวงปู่สาม แต่เดิมท่านบวชพระเป็นฝ่ายมหานิกาย เพราะในจังหวัดสุรินทร์สมัยนั้นยังไม่มีพระฝ่ายธรรมยุตเลย ต่อมา หลวงปู่สามได้ย้อนกลับไปพบหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม เพื่อญัตติเป็นสายธรรมยุต ณ วัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดยมีพระครูจิตวิโส เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงปู่สิงห์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์มหามึน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อกิญฺจโน”
    ๏ ออกเดินธุดงค์เพื่อมุ่งปฏิบัติภาวนา
    หลวงปู่สาม เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านไม่ค่อยยอมอยู่กับที่ จะอยู่ก็เพียงเข้าพรรษา หรือขออุบายธรรมจากครูบาอาจารย์ชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น ท่านก็จะเดินธุดงค์ต่อไปตั้งแต่เหนือจดใต้จากภาคกลางจดภาคตะวันออก ภาคอีสานทั้งหมด ท่านเป็นพระนักธุดงค์กรรมฐานที่มีความมานะอดทนเป็นพิเศษ
    ท่านถือคติที่ว่า “ท่านเป็นศิษย์ของพระตถาคต แม้ยังมีลมหายใจอยู่ ก็ต้องสู้กันให้ถึงที่สุด”
    หลวงปู่สิงห์ได้ชี้แนะให้ท่านไปธุดงค์ฝึกจิตกัมมัฏฐาน เทศนาสั่งสอนญาติโยม ร่วมกับพระอาจารย์ลี ธัมมธโร ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี
    เมื่อถึงช่วงออกพรรษา หลวงปู่สาม จะเสาะหาสถานที่วิเวกตามป่าเขา เพื่อประกอบความเพียร เมื่อเดินทางกลับทุกครั้ง หลวงปู่สามจะไปพบหลวงปู่ดูลย์ ที่วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ เพื่อช่วยบูรณะสร้างอุโบสถ และได้ไปธุดงค์ในภาคตะวันออก เช่น จันทบุรี ระยอง เป็นต้น
    ตั้งแต่สมัยเป็นพระภิกษุหนุ่มจนเข้าสู่วัยชรา ท่านได้ต่อสู้ชีวิตทุ่มเทกับการปฏิบัติมาอย่างโชกโชน ท่านเพ่งเพียรภาวนาอยู่เป็นนิจ ครั้นมาปรารภกับตนเองว่า “บัดนี้กำลังกายของเราก็อ่อนแอลงไปมากแล้ว น่าจะกลับมาอยู่ถิ่นเดิม คือในจังหวัดสุรินทร์
    นอกจากนี้แล้วก็ยังจะได้อยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ คือหลวงปู่ดูลย์ อีกทั้งมารดาของท่านก็ได้ชราภาพมากแล้ว เป็นโอกาสอันดีที่จะได้นำธรรมะที่ท่านได้รับมาทั้งหมดเผยแผ่แก่บรรดาสาธุชน ต่อไปอีกด้วย” หลวงปู่สาม จึงได้เดินทางกลับจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่บัดนั้น
    ท่านเคยเล่าเหตุการณ์ของพระธุดงค์สมัยก่อนนั้นว่า “สมัยโน้นพระธุดงค์ก็ลำบาก ชาวบ้านก็ลำบาก เพราะไม่เจริญอย่างปัจจุบันนี้นะ แต่มีความเพียรแรงกล้า มุ่งอรรถมุ่งธรรมกันจริงๆ มาสมัยนี้หละหลวมไม่เอาดีเลย สอนแล้วก็ลืม…ลืมปฏิบัติกัน !”
    ผลแห่งความเพียรปฏิบัติธรรม ท่านได้ฝึกจิตให้แกร่งกล้า ถึงขั้นฌานสมาบัติ อันเป็นรูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4
    ต่อมา พระอาจารย์ลี ธัมมธโร แจ้งให้ทราบว่า หลวงปู่มั่นจำพรรษาที่จังหวัดสกลนคร จึงพากันเดินทางไปขอคำปรึกษาข้อปฏิบัติธรรมที่ติดขัด หลวงปู่มั่นแนะให้ไปฝึกกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ที่วัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
    เมื่อทราบว่า หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ถึงแก่มรณภาพลงที่จังหวัดสกลนคร หลวงปู่เทสก์, หลวงปู่ดูลย์, หลวงปู่แหวน, หลวงปู่ฝั้น, หลวงปู่สาม, พระอาจารย์ลี, พระอาจารย์อ่อน, พระอาจารย์วัน และพระอาจารย์จวน ไปร่วมจัดงานบุญให้หลวงปู่มั่น
    ๏ เผยแผ่แนวทางกัมมัฏฐานในภาคใต้
    วันหนึ่ง หลวงปู่สามได้รับจดหมายจากหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ส่งจากมาจากจังหวัดภูเก็ต ให้ไปช่วยเผยแผ่แนวทางกัมมัฏฐานให้พระภิกษุ-สามเณร ในภาคใต้
    หลวงปู่สาม ท่านจึงเป็นกำลังใน “กองทัพธรรม” ที่สำคัญองค์หนึ่ง กล่าวคือ ท่านเดินทางร่วมไปปูพื้นฐานทางธรรมกับหลวงปู่เทสก์ และคณาจารย์อีกหลายสิบองค์ทางภาคใต้ การเผยแผ่ในครั้งนั้น แม้จะมีอุปสรรคอย่างมากมาย แต่ด้วยกำลังใจอันแน่วแน่มั่นคงของพระธุดงค์กรรมฐาน จึงสามารถฟันฝ่าอุปสรรคนั้นๆ ได้สำเร็จผลอย่างงดงาม เป็นที่ยอมรับในหมู่ชนชาวภาคใต้เป็นอันมาก
    คติธรรมที่หลวงปู่เทสก์ปรารภแก่คณะผู้ออกเผยแผ่ธรรมยึดมั่นในจิตใจ คือ “เปียกได้…ไหม้เสีย” หลวงปู่สาม ได้นำมาสอนอบรมบรรดาศิษย์ในกาลต่อมา เป็นกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติธรรม ควรน้อมเข้ามาพิจารณาคำนี้ให้จงหนัก หลวงปู่สามท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนำธรรมะออกเผยแผ่สู่ ประชาชนด้วยเมตตาธรรม
    หลวงปู่สาม เผยแผ่ธรรมที่ภาคใต้ เป็นเวลา 5 ปี จึงเดินทางกลับจังหวัดสุรินทร์
    ก่อนย้อนกลับไปที่จังหวัดภูเก็ต และที่ภาคตะวันออก รวมระยะเวลา 20 ปี ในการแสวงบุญธุดงค์ทำให้หลวงปู่สาม บังเกิดความเพียร ลดละกิเลส คือ ความอยาก ความรัก และความชัง หากปล่อยวางได้จนหมดสิ้นแล้ว
    ภายหลังได้ทราบข่าวว่า หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ได้มรณภาพลง ณ วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา จึงไปช่วยงานบุญพระราชทานเพลิงศพ
    ก่อนเดินทางไปธุดงค์ที่จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ.2510 ได้มีญาติโยมนิมนต์หลวงปู่สาม ไปพำนักจำพรรษาที่บ้านขนาดปริ่ง ต.เชื้อเพลิง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ แต่ได้มีหน่วยงานราชการ ชี้แจงว่า บริเวณสำนักสงฆ์เป็นพื้นที่ป่าทำเลเลี้ยงสัตว์
    พ.ศ.2512 หลวงปู่สาม ได้ย้ายไปอยู่ในป่าละเมาะ บ้านตระงอน กิโลเมตรที่ 11 ถนนสุรินทร์-ปราสาท ต.นาบัว ไม่วายโดนร้องอีก
    แต่ถึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ก็ยังถูกลอบทำร้ายจากมนุษย์ใจบาป ในเรื่องนี้ท่านกล่าวว่า “ลูกเอ๋ย..มันเป็นกรรมนะต้องใช้กรรมเวร ยุติธรรมดีแล้ว แม้พระพุทธเจ้าของเราลูกเห็นไหม ? พระองค์ยังต้องประสบในเรื่องเช่นนี้นะ ฉะนั้น จงปล่อยไปตามกรรมที่ทำไว้แต่หนหลัง ปัจจุบันทำจิตใจของตนเองให้บริสุทธิ์ก็พอแล้ว ทำอย่างไรหนอ จึงจะพ้นทุกข์นี้ไปได้เท่านั้น”
    ๏ สร้างวัดป่าไตรวิเวก
    เวลาไม่นาน ได้มีคณะญาติโยมมีจิตศรัทธาถวายที่ดิน กิโลเมตรที่ 12 สร้างเป็นสำนักสงฆ์เล็กๆ เพื่อพำนักปฏิบัติธรรม กลายเป็นที่มาของการจัดตั้งวัดป่าไตรวิเวก
    ๏ การสร้างวัตถุมงคล
    ด้านวัตถุมงคล พ.ศ.2512 อนุญาตให้ศิษยานุศิษย์จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นเหรียญรูปเหมือน รุ่น 1 และอีกหลายรุ่นในปีถัดมา เช่น กริ่งรูปเหมือน พระผงสมเด็จ พระผงรูปเหมือน เป็นต้น วัตถุมงคลทุกรุ่นได้รับความนิยมสูง ทำให้พัฒนาถาวรวัตถุภายในวัดเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ
    ๏ ปฏิปทา
    “ปฏิปทาของหลวงปู่สาม อกิญฺจโน นั้น สาธุชนที่เคยเดินทางไปกราบนมัสการคงจะตระหนักดีว่า มีความคล้ายคลึงกับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล มากทีเดียว ท่านมากไปด้วยขันติ โสรัจจะ อดทน สงบเงียบ เยือกเย็น ชีวิตเพศแห่งสมณะหลวงปู่ไม่เคยว่างเว้นในการเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาและใน จังหวัดต่างๆ จิตของท่านเต็มไปด้วยเมตตา ไม่เคยขัดศรัทธาคณะศรัทธาญาติโยมใครๆ เลย”
    ๏ การมรณภาพ
    หลวงปู่สาม อกิญฺจโน ท่านเป็นพระนักปฏิบัติที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย บ่อยครั้งเกิดอาการอาพาธ ต้องเข้า-ออกรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จนกระทั่งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 หลวงปู่สามได้มรณภาพลงอย่างสงบ สิริอายุรวม 91 พรรษา 71 ท่ามกลางความเศร้าสลดของคณะศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นยิ่งนัก
    ที่มา :::

    [​IMG]

    พระธาตุหลวงปู่สาม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2010
  6. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    เหรียญหลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก รุ่นรวมน้ำใจ ปี 2528

    [​IMG]

    [​IMG]

    รุ่นนี้สร้างเป็นที่ระลึกในการสมทบทุนสร้างพระอุโบสถวัดสว่างนามน จ.ชัยภูมิ เมื่อปี 2538
    วัตถุมงคลของหลวงปู่ไม่มีมากรุ่นนัก แม้จะราคาไม่ค่อยแพงแต่ส่วนใหญ่จะหาพบเจอได้ยากครับ
    เหรียญนี้สภาพเหรียญสวยเดิมๆ บูชา 390 บาทครับ
    ปิดรายการนี้ให้คุณโอครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT2305.jpg
      PICT2305.jpg
      ขนาดไฟล์:
      100.7 KB
      เปิดดู:
      1,022
    • PICT2306.jpg
      PICT2306.jpg
      ขนาดไฟล์:
      99.1 KB
      เปิดดู:
      1,169
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2010
  7. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก รุ่นฉลองพิพิธภัณฑ์ ปี 2528

    [​IMG]

    [​IMG]

    หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก รุ่นฉลองพิพิธภัณฑ์ ปี 2528
    องค์นี้สภาพพอสวย บูชา 350 บาทครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT2228.jpg
      PICT2228.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.7 KB
      เปิดดู:
      1,401
    • PICT2229.jpg
      PICT2229.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.7 KB
      เปิดดู:
      1,421
  8. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    พระหลวงพ่อเเย้ม วัดสามง่าม รุ่น 43 เกศาเพชรหน้าทั่ง

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    หลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม ผู้สืบทอดวิทยาคมจากหลวงพ่อเต๋ คงทอง
    ท่านได้สร้างพระผงเกศารุ่นนี้โดยรวมเกศาของพระสุปฏิปัณโณถึง 43 องค์
    รายละเอียดตามใบฝอยที่แนบมากับองค์พระครับ
    สภาพสวยเดิมๆบูชา 450 บาทครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. tuaang

    tuaang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    818
    ค่าพลัง:
    +1,634

    เสียดายมาไม่ทัน..ตามเคย..

    สาธุ..ปีใหม่ บินไปกราบพระอ.เปลี่ยน+ลพ.ประสิทธิ์ ดีไหมหนอ..
     
  10. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    เป็นความคิดที่ดีครับ อนุโมทนาสาธุด้วยครับคุณปู
     
  11. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    พระสมเด็จซุ้มรัศมี เนื้อดิน หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย

    [​IMG]

    [​IMG]

    สมเด็จซุ้มรัศมีแหวกม่านหลวงพ่อสนิทออกปี 34 เนื้อผงพุทธคุณครบ
    ทุกเรื่องจะเก็บสะสมหรือขึ้นคอบูชาไม่ผิดหวังครับ
    หลวงพ่อสนิทวัดลำบัวลอยท่านสร้างของหลายอย่างเช่นพระผงว่าน,
    สาริกา,เต่า,จรเข้,ไข่พญากาเผือก,ผ้ายันต์และอื่นๆอีกมากมาย
    ส่วนสมเด็จซุ้มรัศมีเป็นหนึงในของดีหายากน่าบูชาครับ
    องค์นี้สภาพสวยไม่ผ่านการใช้มาพร้อมกล่องเดิมๆครับ
    บูชา 450 บาทครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT2285.jpg
      PICT2285.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.3 KB
      เปิดดู:
      1,036
    • PICT2286.jpg
      PICT2286.jpg
      ขนาดไฟล์:
      57.4 KB
      เปิดดู:
      1,128
    • PICT2297.jpg
      PICT2297.jpg
      ขนาดไฟล์:
      58.4 KB
      เปิดดู:
      124
  12. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    [​IMG]

    พระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ)
    วัดป่าสำราญนิวาส อ.เกาะคา จ.ลำปาง

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width=210> นามเดิม

    </TD><TD width=23></TD><TD colSpan=6>
    หลวง สอนวงศ์ษา ​


    </TD><TD bgColor=#ffd013>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013></TD><TD>
    เกิด


    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๔​


    </TD><TD bgColor=#ffd013></TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013></TD><TD>
    บ้านเกิด


    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    บ้านบัว ต.สว่าง อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร​


    </TD><TD bgColor=#ffd013></TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013></TD><TD>
    บิดามารดา


    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    นายสนธิ์ และนางสียา สอนวงศ์ษา ​


    </TD><TD bgColor=#ffd013>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013 rowSpan=2></TD><TD>
    พี่น้อง


    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    รวม ๖ คน ท่านเป็นพี่ชายคนโต ​


    </TD><TD bgColor=#ffd013 rowSpan=2></TD></TR><TR><TD>
    อุปสมบท


    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    อายุ ๒๒ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕(มหานิกาย) ณ พัทธสีมา วัดศรีรัตนาราม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ได้รับฉายาว่า ​


    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013></TD><TD>

    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    ขนฺติพโล ญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ วัดเชตวัน อ.เมือง จ.ลำปาง โดยมีพระครูธรรมาภิวงค์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่แว่น ธนปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาใหม่ว่า กตปุญฺโญ​


    </TD><TD bgColor=#ffd013>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013></TD><TD>
    เรื่องราวในชีวิต


    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    เมื่ออายุได้ ๗-๘ ขวบ ได้ไปปรนนิบัติหลวงลุง ซึ่งเป็นพระมหานิกายอยู่วัดใกล้บ้าน ​


    </TD><TD bgColor=#ffd013>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013></TD><TD>

    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    พร้ามกับเรียนหนังสือไปด้วย จึงมีจิตใจโน้มเอียงมาทางพระพุทธศาสนา จนได้อ่านหนังสือ พระไตรสรณคมน์ ของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จึงมีความเลื่อมใสมากขึ้น

    เมื่ออุปสมบทแล้วท่านมีความขยันอดทน ทั้งปริยัติและปฏิบัติ จนสอบได้ นักธรรมชั้นโท ระยะนั้นหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร กลับไปเยี่ยมบ้านเกิดพระหลวงจึงได้ไปกราบศึกษาข้อวัตร ปฏิปทา และอุปัฏฐากรับใช้อยู่หลายเดือน ครั้งหนึ่งท่านได้ไปกราบพระธาตุพนม และได้แวะกราบนมัสการหลวงปู่แว่น ธนปาโล ที่อำเภอเมืองสกลนคร จึงได้มีโอกาสพบหลวงปู่มั่น จนซาบซึ้งในรสพระธรรม จึงเดินทางแสวงหาครูบาอาจารย์ทางภาคเหนือ
    ท่านได้ติดตามครูบาอาจารย์หลายองค์ เช่น หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร หลวงปู่แว่น ธนปาโล ไปในหลายจังหวัดในเขตภาคเหนือ เพื่อฝึกปฏิบัติอบรมกัมมัฏฐานภาวนา จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสำราญนิวาส ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ และในปีเดียวกันก็ได้เป็นเจ้าคณะตำบลอำเภอเกาะคา แม่ทะ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๙ ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูการุณยธรรมนิวาส และปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่หลวงได้ดูแลรักษา พัฒนาวัดป่าสำราญนิวาส ทั้งทางด้านศาสนสถานและศาสนวัตถุ เทศนาสั่งสอนญาติโยม หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่มีปฏิปทาอันงดงามเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม เป็นที่เคารพเลื่อมใส ศรัทธาของสาธุชน ​


    </TD><TD bgColor=#ffd013>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013 rowSpan=10></TD><TD>
    มรณภาพ


    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    วันจันทร์ที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เวลา ๐๑.๑๐ น.ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพ สิริอายุได้ ๘๒ ปี ​



    </TD><TD bgColor=#ffd013 rowSpan=10>

    </TD></TR><TR><TD>

    </TD><TD></TD><TD colSpan=6>
    ๕๓ พรรษา (เฉพาะญัตติธรรมยุติกนิกาย)​


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    [​IMG]

    พระธาตุหลวงปู่หลวง กตปุญโญ

    [​IMG]

    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ-หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม-หลวงปู่แว่น ธนปาโล
     
  13. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    พระปิดตามหาลาภ หลวงปู่หลวง กตปุญโญ จ. ลำปาง (องค์ที่ 1)

    [​IMG]

    [​IMG]

    หลวงปู่หลวงเป็นพระนักปฏิบัติ ท่านออกธุดงค์กรรมฐานไปหลายจังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศไทย ท่านได้ถวายตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และหลวงปู่เทศก์ เทสรังษี หลวงปู่หลวงท่านเป็นผู้ทรงศีลตามรอยพระพุทธบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ควรค่ายิ่งแห่งความเคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนชาวพุทธทั้งหลาย......

    พระปิดตามหาลาภ หลวงปู่หลวง กตปุญโญ จ. ลำปาง เป็นพระปิดตาที่ออกแบบพิมพ์ได้สวยงาม สร้างปี 2542
    รุ่นสร้างกุฏิสงฆ์
    บูชา 190 บาทครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT2242.jpg
      PICT2242.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44.6 KB
      เปิดดู:
      968
    • PICT2243.jpg
      PICT2243.jpg
      ขนาดไฟล์:
      35.6 KB
      เปิดดู:
      933
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2010
  14. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    พระปิดตามหาลาภ หลวงปู่หลวง กตปุญโญ จ. ลำปาง (องค์ที่ 2)

    [​IMG]


    [​IMG]

    หลวงปู่หลวงเป็นพระนักปฏิบัติ ท่านออกธุดงค์กรรมฐานไปหลายจังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศไทย ท่านได้ถวายตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และหลวงปู่เทศก์ เทสรังษี หลวงปู่หลวงท่านเป็นผู้ทรงศีลตามรอยพระพุทธบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ควรค่ายิ่งแห่งความเคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนชาวพุทธทั้งหลาย......

    พระปิดตามหาลาภ หลวงปู่หลวง กตปุญโญ จ. ลำปาง เป็นพระปิดตาที่ออกแบบพิมพ์ได้สวยงาม สร้างปี 2542
    รุ่นสร้างกุฏิสงฆ์
    บูชา 190 บาทครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT2244.jpg
      PICT2244.jpg
      ขนาดไฟล์:
      45.6 KB
      เปิดดู:
      909
    • PICT2245.jpg
      PICT2245.jpg
      ขนาดไฟล์:
      38 KB
      เปิดดู:
      920
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2010
  15. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    พระผงรูปเหมือนหลังโต๊ะหมู่ รุ่นแรก
    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดศีรีสุบรรพต(วัดป่าสำราญนิวาส) องค์ที่ 1

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระผงรูปเหมือนหลังโต๊ะหมู่ รุ่นแรก หลวงปู่หลวง กตปุญโญ เรียกว่ารุ่นสร้างกุฏิสงฆ์
    วัตถุประสงค์เพื่อสร้างหมู่กุฏิสงฆ์วัดคีรีสุบรรพต
    และสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกขนาด 9 วา
    9 คืบ 9 นิ้ว เมื่อปี 2542 ครับ
    สภาพสวยเดิมๆ บูชา 220 บาทครับ
    คุณเทวานินจองแล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT2234.jpg
      PICT2234.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.4 KB
      เปิดดู:
      1,791
    • PICT2235.jpg
      PICT2235.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.8 KB
      เปิดดู:
      1,814
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2010
  16. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    พระผงรูปเหมือนหลังโต๊ะหมู่ รุ่นแรก
    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดศีรีสุบรรพต(วัดป่าสำราญนิวาส) องค์ที่ 2


    [​IMG]


    [​IMG]

    พระผงรูปเหมือนหลังโต๊ะหมู่ รุ่นแรก หลวงปู่หลวง กตปุญโญ เรียกว่ารุ่นสร้างกุฏิสงฆ์
    วัตถุประสงค์เพื่อสร้างหมู่กุฏิสงฆ์วัดคีรีสุบรรพต
    และสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกขนาด 9 วา
    9 คืบ 9 นิ้ว เมื่อปี 2542 ครับ
    สภาพพอสวยมีรอยกระเทาะเส้นซุ้มเล็กน้อย บูชา 200 บาทครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT2236.jpg
      PICT2236.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.8 KB
      เปิดดู:
      923
    • PICT2237.jpg
      PICT2237.jpg
      ขนาดไฟล์:
      42.5 KB
      เปิดดู:
      929
  17. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    พระผงรูปเหมือนหลังโต๊ะหมู่ รุ่นแรก
    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดศีรีสุบรรพต(วัดป่าสำราญนิวาส) องค์ที่ 3


    [​IMG]


    [​IMG]

    พระผงรูปเหมือนหลังโต๊ะหมู่ รุ่นแรก หลวงปู่หลวง กตปุญโญ เรียกว่ารุ่นสร้างกุฏิสงฆ์
    วัตถุประสงค์เพื่อสร้างหมู่กุฏิสงฆ์วัดคีรีสุบรรพต
    และสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกขนาด 9 วา
    9 คืบ 9 นิ้ว เมื่อปี 2542 ครับ
    สภาพสวยเดิมบูชา 220 บาทครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT2238.jpg
      PICT2238.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.5 KB
      เปิดดู:
      1,009
    • PICT2239.jpg
      PICT2239.jpg
      ขนาดไฟล์:
      42 KB
      เปิดดู:
      994
  18. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    พระผงรูปเหมือนหลังโต๊ะหมู่ รุ่นแรก
    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดศีรีสุบรรพต(วัดป่าสำราญนิวาส) องค์ที่ 4

    [​IMG]


    [​IMG]


    พระผงรูปเหมือนหลังโต๊ะหมู่ รุ่นแรก หลวงปู่หลวง กตปุญโญ เรียกว่ารุ่นสร้างกุฏิสงฆ์
    วัตถุประสงค์เพื่อสร้างหมู่กุฏิสงฆ์วัดคีรีสุบรรพต
    และสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกขนาด 9 วา
    9 คืบ 9 นิ้ว เมื่อปี 2542 ครับ
    สภาพพอสวยมีรอยกระเทาะเล็กน้อย
    บูชา 200 บาทครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT2240.jpg
      PICT2240.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.9 KB
      เปิดดู:
      1,088
    • PICT2241.jpg
      PICT2241.jpg
      ขนาดไฟล์:
      41.4 KB
      เปิดดู:
      1,023
  19. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    เหรียญนั่งพานรุ่นแรกหลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดคีรีสุบรรพต

    [​IMG]

    [​IMG]

    สร้างเป็นที่ระลึกหลวงปู่อายุครับ 79 ปี 27 ก.พ. 43 ครับ
    สภาพสวยมากพร้อมกล่องเดิมๆ
    บูชา 350 บาทครับ
    คุณNattawut8899จองแล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2010
  20. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    ท่านพ่อลีเนื้อตะกั่วหลังยันต์ ส 2 วัดป่าสำราญนิวาส องค์ที่ 1

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระหลวงพ่อลีชุดนี้ออกวัดป่าสำราญนิวาส ลำปาง
    เนื่องในงานฉลองกำแพง เป็นเหรียญเนื้อตะกั่ว เลี่ยมเดิมๆจากวัด
    องค์นี้เลี่ยมสีแดงครับ อธิฐานจิตโดยหลวงปู่หลวง กตปุญโญ ครับ
    บูชา 200 บาท
    ปิดรายการนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT2246.jpg
      PICT2246.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46.9 KB
      เปิดดู:
      961
    • PICT2247.jpg
      PICT2247.jpg
      ขนาดไฟล์:
      48.4 KB
      เปิดดู:
      987
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2010
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...