ขอบพระคุณทุกท่านครับ สาธุ...

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย จิตตานุปัสสนา, 2 ธันวาคม 2010.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    มีอีกหลายรายการ แต่วันนี้ยุ่งมากๆ ขออนุญาตอัพเดทพรุ่งนี้นะครับ...
     
  2. โคมฉาย

    โคมฉาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    3,058
    ค่าพลัง:
    +26,744
    โอนเงินให้แล้วครับ
    1550 บาท
    ตามรายการใน sms
     
  3. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    รับทราบครับ พรุ่งนี้จัดส่งให้ครับ...
     
  4. คุณบุญยัง

    คุณบุญยัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2009
    โพสต์:
    382
    ค่าพลัง:
    +890
    โอนแล้วครับ 3,550 บาทครับ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
     
  5. วาตานาเบ้

    วาตานาเบ้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2009
    โพสต์:
    990
    ค่าพลัง:
    +2,283
    ได้รับพระแล้วครับ ขอบคุณ สำหรับ พระอมิตะพระ ด้วยครับ สาธุ
     
  6. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    ส่งให้แล้วครับพร้อมของที่ระลึก
    รหัส EH 724 873 554 TH
    อนุโมทนาครับ
    :cool:
     
  7. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    ส่งให้แล้วครับท่านพี่ พร้อมของที่ระทึก...
    รหัส EH 724873568 TH
    รวยๆๆๆๆๆๆ
    :cool:
     
  8. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    พระสมเด็จ ท่านเจ้าคุณนรฯ ออกวัดศีลขันธาราม ปี 13 เนื้อผงใบลาน ยันต์นูน คุณ w.สุรพล ปิดรายการแล้วครับ

    [​IMG]

    พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่แบบเดียวกับสมเด็จสายรุ้ง แต่เป็นสีดำเนื้อผงใบลาน เจ้าคุณนรฯอธิษฐานจิต ออกที่วัดศีลขันธาราม จ.อ่างทอง เมื่อปี 2513

    พระมีขนาด 2.3 X 3.9 c.m. พระหนา ด้านหลังเป็นยันต์นูน เนื้อใบลานสร้างน้อยหายากกว่าเนื้ออื่นๆ

    เปิดเบาๆ ครับ 450 บาทครับ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04480.jpg
      DSC04480.jpg
      ขนาดไฟล์:
      573.3 KB
      เปิดดู:
      125
    • DSC04483.jpg
      DSC04483.jpg
      ขนาดไฟล์:
      669.4 KB
      เปิดดู:
      122
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2011
  9. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    พระเครื่องดัง"องค์บดินทร์" เพียบพร้อมอิทธิฤทธิ์-บุญฤทธิ์

    คอลัมน์ มุมพระเก่า - สรพล โศภิตกุล

    พระเครื่องเนื้อผงที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ชื่นชอบในอิทธิปาฏิหาริย์ เนื่องเพราะเมื่อครั้งทำพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดจักรวรรดิราชาวาส หรือวัดสามปลื้ม โดยหลวงพ่อผ่อง วัดจักรวรรดิฯ ร่วมกับพระเกจิอาจารย์เลื่องชื่อในสมัยนั้น ระหว่างการประกอบพิธีได้เกิดลมพายุพัดเข้ามาในพระอุโบสถหมุนอยู่เหนือกล่องที่บรรจุพระเครื่องเป็นเวลานาน ยังความตื่นตะลึงแก่ทุกคนที่อยู่ในพิธีครั้งนั้น ทั้งยังปรากฏงูเหลือมขนาดใหญ่ได้ตกลงมาจากเพดานโบสถ์ นอกเหนือจากพายุ ลม ฝน ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง เสียงดังกึกก้อง

    พระเครื่องเนื้อผงที่ทำพิธีในครั้งนั้น คือ พระเครื่อง "องค์บดินทร์" ที่บังเกิดมงคลนิมิตอันดี เสมือนหนึ่งว่าดวงวิญญาณเจ้าพระยาบดินทรเดชา ตลอดจนเทวดาอารักษ์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้รับรู้แซ่ซ้องสาธุการในการปลุกเสกพระเครื่อง "องค์บดินทร์" ในครั้งนั้น

    "องค์บดินทร์" เป็นนามพระเครื่องเนื้อผงที่สร้างขึ้นมาโดย จอมพลประภาส จารุเสถียร เมื่อปี พ.ศ.2525 ครั้งฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี นาม "องค์บดินทร์" นั้น ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนีย์) แม่ทัพทหารเอกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่ทัพไปปราบกบฏเขมร และชื่อเสียงของเจ้าพระยาบดินทรเดชานั้น ยังกึกก้องอยู่ในดินแดนเขมร

    ในการดำเนินการจัดสร้างพระเครื่อง "องค์บดินทร์" นี้ จอมพลประภาสได้มอบมวลสารจากทั่วทุกสารทิศทั่วประเทศไทย ซึ่งจอมพลประภาสได้รวบรวมเก็บไว้

    และสำคัญยิ่ง คือ ชิ้นส่วนสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) ที่จอมพลประภาสเป็นประธานในการเปิดกรุเมื่อปี พ.ศ.2500 นอกเหนือจากนั้นยังมี ผงพระกรุต่างๆ ที่ชำรุด ชิ้นส่วนพระคง กรุวัดพระคง ชิ้นส่วนพระกรุวัดสามปลื้ม

    ผงพระวัดปากน้ำ ผงงาช้างโบราณ ผงธนบัตรชำรุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ย่อมทำลายเป็นเศษ ผงตะไบอาวุธ หอก ดาบ ง้าว โบราณ ผงว่าน 108 ผงอัญมณีต่างๆ ทรายเสกพระเกจิอาจารย์ 108 รูป ผงพุทธคุณของพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ ที่จอมพลประภาสได้เก็บรวบรวมเอาไว้

    โดยผู้ออกแบบแม่พิมพ์พระเครื่อง "องค์บดินทร์" คือ อาจารย์อนันต์ สวัสดิสวนีย์

    เป็นพระเครื่องรูปทรงสามเหลี่ยมยอดตัดเล็กน้อย ด้านหน้าเป็นองค์พระพุทธปฏิมากรปางสมาธิ ประทับบนอาสนะฐานด้านหน้าเป็นฐานผ้าทิพย์

    ด้านหลัง เป็นยันต์อุณาโลม และอักษรไทยว่า "องค์บดินทร์"

    พระเครื่องชุดนี้พระครูพิมลสรภาณได้เก็บสะสมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 ซึ่งจะนำออกให้เช่าบูชากัน เพื่อหารายได้เป็นปัจจัยในการบูรณปฏิสังขรณ์บริเวณศาลาการเปรียญวัดสุทัศน์ ให้งดงามตา โดยให้ผู้บริจาคเช่าองค์ละ 999 บาท พิมพ์ธรรมดาเนื้อขาว และพิมพ์กรรมการเนื้อออกเขียวมีชิ้นส่วนของพระสมเด็จบางขุนพรหม ที่เปิดกรุเมื่อปี พ.ศ.2500 ผสมอยู่เป็นอย่างมาก บูชาองค์ละ 1,599 บาท

    สอบถามได้ที่ศาลาการเปรียญวัด ถนนตีทอง ประตูทางเข้าตรงข้ามกับปั๊มน้ำมันเชลล์

    สำหรับญาติโยมที่ต้องการบูชาผ่านทางธนาณัตินั้น โดยเหตุที่พระครูพิมลสรภาณมีอายุมากแล้ว การเดินทางไปมาไม่สะดวกจึงมอบหมายให้ลูกศิษย์เป็นผู้ดำเนินการ ผู้ต้องการบูชาโดยส่งธนาณัติมาในนามของ นายยอดชาย ชาญช่างทหาร 126 ซอยบวรรังษี ถนนดินสอ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 ป.ณ. ราชดำเนิน โดยเขียนรายละเอียดถึงวัตถุมงคลที่ต้องการ สถานที่จัดส่งพร้อมค่าจัดส่ง 50 บาท งดธนาณัติออนไลน์

    ซึ่งนอกเหนือจากการปลุกเสก ณ วัดจักรวรรดิราชาวาสแล้ว ยังได้นำพระเครื่อง "องค์บดินทร์" ไปให้หลวงปู่แหวน สุจิณโณ อริยสงฆ์แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่ ปลุกเสกนานถึง 6 เดือนเต็ม

    [​IMG]

    เบาๆ ครับ 450 บาท...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04495.jpg
      DSC04495.jpg
      ขนาดไฟล์:
      280.6 KB
      เปิดดู:
      133
    • DSC04497.jpg
      DSC04497.jpg
      ขนาดไฟล์:
      281.7 KB
      เปิดดู:
      300
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2010
  10. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    พระเทพนิมิตร 2549 องค์สุดท้ายครับ...อ.ชุม ขุนพันธ์ อ.ปาล สายเขาอ้อ

    [​IMG]


    สร้างและปลุกเสกเมื่อประมาณปี 2496 องค์นี้พิมพ์พระนาคปรก แบบที่มีรายละเอียดต่างๆ ด้านหลังเป็นยันต์

    มวลสารได้กำหนดเอาดอกไม้บูชาพระจากพระอารามหลวง และอารามราษฎร์ที่ศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศไทย ตะไคร่เจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุ, ตะไคร่พระศรีมหาโพธิ์, ผงของอาจารย์ต่างๆหลายสำนัก เช่น ผงวิเศษของอาจารย์คง อาจารย์ของขุนแผน ที่ขุดพบจากโคกโบสถ์เก่าใต้ฐานพระเจดีย์ บ้านศรีประจันต์ สุพรรณบุรีฯลฯ

    อาจารย์ชุมได้นำเข้าพิธีปลุกเสกตลอด 3 เดือน และในงานของท่านจะมีขุนพันธ์ ตลอดจนคณาจารย์สายเขาอ้อร่วมปลุกเสกด้วยเสมอ พระนี้นำออกแจกแก่บรรดาศิษย์ที่เข้าพิธียกครูในปี 2496

    พุทธคุณเชื่อถือได้ตามแบบฉบับสายเขาอ้อ พระเทพนิมิตรนี้ อาจารย์ชุมท่านว่าดีทางกันศาสตราวุธทุกชนิด ตลอดถึงกันโจรและสัตว์ร้าย และยังดีทางเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ อีกทั้งดีทางบอกเหตุล่วงหน้า ใช้ได้ทั้งหญิงชายเด็กผู้ใหญ่ พระรุ่นนี้พิมพ์นี้ลูกศิษย์อาจารย์ชุมจึงนิยมบูชาติดตัวกันมากครับ


    เปิดเบาๆๆๆๆๆ 750 บาทครับ ตามสภาพครับ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04487.jpg
      DSC04487.jpg
      ขนาดไฟล์:
      469.6 KB
      เปิดดู:
      210
    • DSC04489.jpg
      DSC04489.jpg
      ขนาดไฟล์:
      449.6 KB
      เปิดดู:
      145
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2010
  11. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    สมเด็จอรหัง น่าจะออกวัดมหาธาตุ แท้แน่นอน ปิดรายการแล้วครับ

    ใครชอบเชิญครับ ของเก่าเก็บ
    เบาๆ 250 บาทครับ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04491.jpg
      DSC04491.jpg
      ขนาดไฟล์:
      445 KB
      เปิดดู:
      107
    • DSC04493.jpg
      DSC04493.jpg
      ขนาดไฟล์:
      342.4 KB
      เปิดดู:
      111
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2010
  12. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    หลวงพ่ออุตตมะ เลี่ยมพร้อมใช้ มีพระธาตุเสด็จ...อนาคตวงศ์ครับ...สาธุ
    คุณล้อมเดช จองครับ...

    [​IMG]

    หลวงพ่ออุตตมะ หรือ พระครูอุดมสิทธาจารย์ สมณศักดิ์ล่าสุดคือ พระราชอุดมมงคล พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดวังก์วิเวการาม ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพระภิกษุที่ได้ความเคารพเลื่อมใสในหมู่คนไทยเชื้อสายมอญและชาวพุทธทั่วไป เป็นพระนักเดินธุดงคกรรมฐาน ออกเดินธุดงค์ไปบำเพ็ญธรรมอยู่บนเขา หลายครั้งเป็นเวลานาน
    หลวงพ่ออุตตมะ เดิมชื่อ เอหม่อง เกิดเมื่อ พ.ศ. 2453 ที่หมู่บ้านโมกกะเนียง ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง ประเทศพม่า เป็นบุตรคนโตในครอบครัวเชื้อสายมอญ จำนวน 12 คน ของนายโง และนางทองสุก หลังเรียนหนังสือจบจากพม่าเมื่ออายุ 18 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดเกลาสะ ได้ศึกษาภาษาบาลี และพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมโท อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเกลาสะ ได้รับฉายาว่า อุตตมรัมโภ แปลว่า ผู้มีความพากเพียรอันสูงสุด โดยได้ตั้งเจตจำนงที่จะบวชไม่สึกจนตลอดชีวิต
    เมื่อ พ.ศ. 2475 อุตตมรัมโภภิกขุสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก จากสำนักเรียนวัดปราสาททอง อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง ต่อมา พ.ศ. 2484 สอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ในประเทศพม่า ที่สำนักเรียนวัดสุขการี อำเภอสะเทิม จังหวัดสะเทิม อุตตมรัมโภภิกขุจึงได้เดินทางไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานที่วัดตองจอย และวัดป่าเลไลยก์ จนมีความรู้ความสามารถในเรื่องวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนวิชาไสยศาสตร์และพุทธคมเป็นอย่างดี และชอบออกเดินธุดงค์ไปตามที่ต่างๆในประเทศพม่า
    อุตตมรัมโภภิกขุเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกทางจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2486 โดยเดินธุดงค์มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสวนดอก ก่อนจะออกธุดงค์ไป แม่ฮ่องสอน ตาก เชียงราย น่าน กาญจนบุรี
    เนื่องจากเหตุการณ์บ้านเมืองในประเทศพม่าขณะนั้น อุตตมรัมโภภิกขุจึงเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้งทางหมู่บ้านอีต่อง ตำบลปิล็อก อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีคนมาแจ้งข่าวว่าที่สังขละบุรีมีชาวมอญจากบ้านเดิมของท่าน อพยพเข้าเมืองไทย และต้องการนิมนต์ท่านไปเยี่ยม ท่านได้พบกับชาวมอญที่อพยพมาจากโมกกะเนียง เจ้าคะเล และมะละแหม่ง และพาชาวมอญเหล่านี้ไปอาศัยอยู่ที่บ้านวังกะล่าง ถือเป็นจุดกำเนิดของชุมชนชาวมอญในสังขละบุรี
    ในปี พ.ศ. 2499 หลวงพ่ออุตตมะร่วมกับชาวบ้านชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญ ได้พร้อมใจกันสร้างศาลาวัดขึ้น มีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่ออุตตมะ ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่า สามประสบ เพราะมีแม่น้ำ 3 สายไหลมาบรรจบกัน คือแม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ แม่น้ำรันตี ในปี พ.ศ. 2505 ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนาให้ใช้ชื่อว่า วัดวังก์วิเวการาม ซึ่งตั้งตามชื่ออำเภอวังกะ ในวัดมีการก่อสร้างเจดีย์จำลองแบบจาก เจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย เริ่มก่อสร้าง พ.ศ. 2518 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2529
    ต่อมาทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้ก่อสร้างเขื่อนเขาแหลม หรือ เขื่อนวชิราลงกรณ์ ซึ่งเมื่อกักเก็บน้ำในปี พ.ศ. 2527 น้ำในเขื่อนเขาแหลมจะท่วมตัวอำเภอเก่ารวมทั้งหมู่บ้านชาวมอญ ทางวัดจึงได้ย้ายมาอยู่บนเนินเขาในที่ปัจจุบัน โดยทางราชการได้ช่วยเหลือในการอพยพผู้คนซึ่งมีอยู่ราว 1,000 หลังคาเรือน บนพื้นที่ 1,000 ไร่เศษ ส่วนบริเวณวัดหลวงพ่ออุตตมะเดิม ปัจจุบันจมอยู่ใต้น้ำ และมีชื่อเสียงเป็นสถานที่ท่องเที่ยว Unseen Thailand เป็นที่รู้จักในชื่อว่า วัดใต้น้ำ สังขละบุรี
    หลวงพ่ออุตตมะ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูอุดมสิทธาจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2512 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่พระอุดมสังวรเถร เมื่อ พ.ศ. 2524 และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชอุดมมงคลพหลนราทร เมื่อ พ.ศ. 2534
    หลวงพ่ออุตตมะ เข้ารับรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ด้วยโรคไต โรคหัวใจ โรคปอด สมองขาดเลือดไปเลี้ยง ท่านไม่รู้สึกตัวและไม่สามารถลืมตาเองได้เป็นเวลากว่า 1 ปี จนกระทั่งเกิดอาการติดเชื้ออย่างรุนแรง และมรณภาพจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากภาวะปอดอักเสบ เมื่อเวลา 7.22 น. ของวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 อายุรวม 97 ปี

    [​IMG]

    ใครชอบเชิญนิมนต์ครับ เบาๆ 650 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04504.jpg
      DSC04504.jpg
      ขนาดไฟล์:
      591.7 KB
      เปิดดู:
      138
    • DSC04506.jpg
      DSC04506.jpg
      ขนาดไฟล์:
      603.7 KB
      เปิดดู:
      156
    • DSC04509.jpg
      DSC04509.jpg
      ขนาดไฟล์:
      923.6 KB
      เปิดดู:
      121
    • DSC04510.jpg
      DSC04510.jpg
      ขนาดไฟล์:
      538.9 KB
      เปิดดู:
      141
    • DSC04512.jpg
      DSC04512.jpg
      ขนาดไฟล์:
      629.1 KB
      เปิดดู:
      124
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2010
  13. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    ทานข้าวก่อนครับ มาใหม่อีกหลายรายการ..
     
  14. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    เหรียญหลวงปู่ครูบาอิน อินโท


    “พระครูวรวุฒิคุณ” หรือ “หลวงปู่ครูบาอิน อินโท” หรือ “ครูบาฟ้าหลั่ง-ฟ้าลั่น” อมตะมหาเถราจารย์แห่งนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ผู้สูงยิ่งด้วยศีล จริยาวัตร และพุทธาคม เชี่ยวชาญสรรพวิชาตามตำราโบราณล้านนา จนเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป ดังคำกล่าวของบรรดาพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่ว่า


    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท ถือเป็นพระเถระสำคัญผู้เจริญด้วยพรรษาสูงแห่งเชียงใหม่ อีกทั้งยังเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและเมตตาธรรม ที่มีให้แก่ผู้เคารพนับถือตราบวาระสุดท้ายของชีวิต อันเป็นเหตุให้สมควรนำเถรประวัติและคำสอนของท่าน มาเผยแพร่เป็นสังฆบูชาสืบต่อไป

    พระครูวรวุฒิคุณ มีนามเดิมว่า อิน วุฒิเจริญ เป็นบุตรของนายหนุ่ม-นางคำป้อ เขียวคำสุข ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๖ (ตรงกับวันเสาร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๓ เหนือ ปีเถาะ) ณ บ้านทุ่งปุย ตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (ปีที่ครองราชย์ พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓) โดยเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้นคือ เจ้าอินทรวโรรสสุริยวงษ์ (ครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๔๔-๒๔๕๒) ท่านได้เล่าชีวประวัติว่า ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๕ คนด้วยกัน คือ

    ๑. นายแก้ว เขียวคำสุข (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๒. พระครูวรวุฒิคุณ (มรณภาพแล้ว)
    ๓. นางกาบ ใจสิทธิ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๔. พ่อหนานตัน เขียวคำสุข (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๕. นางหนิ้ว ธัญญาชัย (ถึงแก่กรรมแล้ว)

    พระครูวรวุฒิคุณ อธิบายถึงเรื่องที่ท่านใช้นามสกุลต่างไปจากบิดามารดาและพี่น้องว่า เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีการใช้นามสกุล เมื่อมาเริ่มใช้ในสมัยหลัง (รัชกาลที่ ๖) ต่างคนต่างก็ตั้งนามสกุลกันเอง ตัวท่านบวชอยู่ ท่านก็แต่งนามสกุลเองว่า “วุฒิเจริญ” เพื่อให้เป็นความหมายมงคลในความเจริญในพระพุทธศาสนา

    ท่านเล่าว่า ท่านเติบโตมาในครอบครัวชาวนา ชีวิตในวัยเด็กก็เรียบง่ายไม่ต่างไปจากเด็กสมัยนั้นโดยทั่วไป คือช่วยเหลือครอบครัวทำงาน พออายุได้ ๑๑-๑๒ ปี ก็ไปอยู่วัดเพื่อเรียนหนังสือ ท่านว่าสมัยก่อนเด็กอายุเท่านี้ก็ยังดูเป็นเด็กอยู่ ตัวไม่ใหญ่โต เนื่องจากสมัยก่อนเด็กกินนมแม่ ไม่ได้บำรุงด้วยนมวัวเช่นในปัจจุบัน เมื่อมีลูกศิษย์ถามถึงอุปนิสัยในวัยเด็กของท่านว่ามีแววอย่างไรบ้าง ถึงทำให้ท่านบวชอยู่ในพระพุทธศาสนานานจนถึงทุกวันนี้ ท่านตอบแต่เพียงว่าท่านก็มีความเมตตาเอ็นดูสัตว์ ไม่เคยทรมานสัตว์

    การเรียนสมถกรรมฐาน

    การเรียนสมถกรรมฐานมีอยู่ทั่วไปทุกวัดในสมัยนั้น เมื่อท่านเป็นเณรอายุได้ ๑๕ ปี ท่านก็เริ่มปฏิบัติสมถกรรมฐาน แบบอานาปานสติใช้คำภาวนาว่า “พุทโธ” โดยมีท่านครูบามหายศ พระอุปัชฌาย์ของท่านเป็นผู้สอน หลังจากท่านปฏิบัติกรรมฐานแล้วก็เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งวันหนึ่ง หลังจากดูหนังสือแล้วท่านก็ลุกมาอาบน้ำล้างหน้า และเอาข้าวมาถวายพระพุทธเจ้า กล่าวคำถวายว่า จะถวายชีวิตเป็นทาน วันนั้นไม่ฉันข้าวฉันแต่น้ำ และปฏิบัติตลอดหนึ่งวันกับหนึ่งคืน จนได้ความปิติเป็นพิเศษเกิดขึ้น

    ตามธรรมเนียมเมื่อเณรเรียนจบแล้ว ก็จะมีการปรึกษาหารือกันระหว่างเณรกับครูบาอาจารย์เจ้าอาวาสว่า เห็นสมควรจะอุปสมบทเป็นพระต่อหรือไม่ ถ้าอุปสมบทพ่อแม่ก็จะดีใจ ถ้าไม่อุปสมบท ก็จะลาสิกขาออกไปใช้ชีวิตฆราวาส ผู้ที่ลาสิกขาจากการเป็นเณรไปเป็นฆราวาสจะมีคำเรียกนำหน้าชื่อว่า “น้อย” ต่างกับผู้ที่ลาสิกขาหลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว จะเรียกว่า “หนาน” หรือคำว่าทิดในภาษากลาง

    ครูบาอินท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดทุ่งปุย โดยอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดป่าลาน ตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. อายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ฉายาในตอนนั้นคือ พระอิน อินโท โดยมีเจ้าอธิการยศ (ครูบามหายศ อินทปัญโญ) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการกว้าง วัดสองแคว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการอ้าย วัดทุ่งปุย เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ปฏิบัติวิปัสสนาธุระ

    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท เมื่อครั้งอายุได้ ๕๑ ปี ได้เดินทางไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ซึ่งท่านได้เล่าถึงความแตกต่างระหว่างสมถกรรมฐานกับวิปัสสนาว่า สมถกรรมฐานคือการทำใจให้สงบ เป็นเรื่องของสมาธิ ส่วนวิปัสสนากรรมฐานเป็นเรื่องการฝึกสติ การฝึกตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ท่านได้ฝึกกับพระเทพสิทธิมุณี โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภเถระ) ซึ่งขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรม เป็นประธาน ครูบาอาจารย์จากทางเหนือที่ไปปฏิบัติวิปัสสนาในครั้งนั้นก็มี ครูบาพรหมา พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า, ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง, พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล วัดร่ำเปิง (ปัจจุบันเป็นพระเทพสิทธาจารย์ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร)

    เมื่อศึกษาสำเร็จกลับมาแล้วก็มาฝึกอบรมสั่งสอนพระภิกษุ สามเณร คณะศรัทธาญาติโยม ตามวิธีนี้ท่านว่าลูกศิษย์ของท่านปฏิบัติกันได้ผล บางองค์ได้ผลดีมาก แต่น่าเสียดายที่ลาสิกขากันไปหมด ปัจจุบันท่านไม่ได้สอนในลักษณะเป็น “สำนัก” แต่ถ้าใครไปถามธรรมะหรือเรื่องการปฏิบัติจากท่าน ท่านก็มักจะเมตตาให้ความกระจ่างอยู่เสมอ อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย

    ๏ รับนิมนต์สู่วัดฟ้าหลั่ง

    ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ จำนวนราษฎรในหมู่บ้านสันหินเพิ่มมากขึ้น จึงต้องการโรงเรียนสำหรับบุตรหลาน จึงได้ร่วมกันเข้าชื่อขออนุญาตใช้ที่ดินของกรมทางหลวงที่สงวนไว้มาสร้างโรงเรียน ซึ่งกรมทางหลวงก็ได้อนุญาต เมื่อเตรียมที่ทางแล้ว ชาวบ้านสันหิน (ฟ้าหลั่ง) โดยการนำของนายปั๋น เผือกผ่อง, นายจันทร์ ปัญญาไว, นายวัง โพธาติ๊บ และนายจันทร์ทิพย์ เรือนรักเรา (จันทร์ติ๊บจ้างซอ) ได้ร่วมกันไปอาราธนานิมนต์หลวงปู่ครูบาอิน อินโท (สมณศักดิ์ขณะนั้นเป็นพระครูอิน) มานั่งหนักเป็นประธานงานก่อสร้างโรงเรียน ซึ่งท่านก็ได้รับนิมนต์ และพอดีจะถึงฤดูเข้าพรรษา ทางคณะศรัทธาจึงช่วยกันแผ้วถางที่วัดร้างฟ้าหลั่ง สร้างเป็นอาราม และอาราธนาให้ท่านจำพรรษาอยู่ที่นั้นเลย และขณะเดียวกันก็เตรียมการสร้างโรงเรียนต่อไป

    โรงเรียนวัดฟ้าหลั่งได้วางศิลาฤกษ์สร้างอาคารเรียน เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๕ ช่วงที่ออกพรรษาแล้ว อาคารเรียนที่ก่อสร้างนั้น เป็นอาคารเรียนตามแบบ ป ๑ ของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นแบบตึกชั้นเดียว ๓ ห้องเรียน (เพิ่งรื้อไปเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒ นี้เอง เครื่องไม้ที่ประกอบอาคารเรียนหลังนั้น ยังได้นำบางส่วนมาใช้สร้างศาลาการเปรียญหลังปัจจุบันนี้ด้วย) การสร้างโรงเรียนในครั้งนี้ ไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการเลย เกิดจากพลังศรัทธาของสาธุชนที่มีต่อองค์หลวงปู่ครูบาอินแทบทั้งสิ้น ท่านได้ใช้เวลาในการก่อสร้าง ๑ ปี ๖ เดือน จึงแล้วเสร็จ ได้ทำพิธีเปิดป้ายอาคารเรียนเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๗ ตั้งชื่อว่า “โรงเรียนวัดฟ้าหลั่ง”

    ส่วนทางวัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) ซึ่งเป็นวัดเดิมของท่าน ท่านก็ได้มอบให้พระบุญปั๋น ปัญโญ ผู้มีศักดิ์เป็นญาติผู้พี่ผู้น้อง และได้บวชหลังท่าน ๑ พรรษา รักษาการแทน ต่อมาท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ เรียกขานกันว่า ครูบาบุญปั๋น ปัญโญ และเพิ่งถึงแก่มรณภาพไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒ นี้

    ๏ วัดร้างฟ้าหลั่ง

    วัดฟ้าหลั่งก่อนที่พระครูวรวุฒิคุณ (หลวงปู่ครูบาอิน อินโท) จะมาอยู่นั้นเป็นวัดร้าง ยังมีโบราณวัตถุ โบราณสถานเหลืออยู่ ที่ชื่อว่าวัดฟ้าหลั่งนั้น ตามคำบอกเล่าของคนโบราณที่สืบทอดกันมา ก็คือ “เป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์มาก” กล่าวคือ หากปีใดฟ้าฝนแห้งแล้ง ไม่ตกต้องตามฤดูกาล พวกชาวบ้านจะพากันเอาข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน และนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีบวงสรวงเทวดาเพื่อขอฝน เมื่อทำพิธีถูกต้องจะปรากฏว่าบนท้องฟ้าจะมืดครึ้ม เต็มไปด้วยก้อนเมฆ แล้วฝนก็จะหลั่งลงมาจากฟ้าไม่ขาดสาย ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า “วัดร้างฟ้าหลั่ง” เนื้อที่ของวัดตามแนวรากฐานกำแพง มีเนื้อที่ประมาณ ๘ ไร่ และมีที่ดินนอกแนวกำแพงวัดอีกมาก ประมาณกว่า ๒๐๐ ไร่ เป็นป่าไม้ประเภทต่างๆ เช่น ไม้เหียง ไม้ตึง ไม้แงะ และไม้เปา

    ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๐ กรมทางหลวงแผ่นดิน ได้สร้างถนนสายเชียงใหม่-ฮอด ผ่านที่ดินของวัด จึงทำให้ที่ดินของวัดฟ้าหลั่งแยกออกเป็นสองแปลง ส่วนที่เป็นโบสถ์ วิหารเก่า อยู่ตรงข้ามกับบริเวณวัดปัจจุบัน นอกจากนั้น กรมทางหลวงยังได้ปักหลักเอาที่ดินของวัดและป่าข้างๆออกไปอีกประมาณ ๒๐ ไร่ ประกาศเป็นที่ดินกองทางสงวน พอกรมทางหลวงสร้างถนนเสร็จ ราษฎรบ้านใกล้เรือนเคียงก็พากันมาจับจองแผ้วถางที่ดินสองฟากถนน เป็นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ประมาณ ๖๐ ครอบครัว

    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ โรงเรียนบ้านสามหลังเก่าถูกพายุพัดล้มทั้งหลัง นายทิพย์ มณีผ่อง ครูใหญ่ นำชาวบ้านไปขออาราธนาเอาท่านครูบาขาวปี มานั่งหนัก (เป็นประธาน) สร้างโรงเรียนสามหลังขึ้นมาใหม่ พอครูบาขาวปีสร้างโรงเรียนเสร็จแล้ว คณะกรรมการสร้างโรงเรียนโดยนายสมบูรณ์ ไชยผดุง (เจ้าน้อยสมบูรณ์) ได้อาราธนาให้ท่านอยู่นั่งหนัก (เป็นประธาน) สร้างวัดฟ้าหลั่งต่อ ท่านบอกว่าท่านไม่ใช่เจ้าของที่จะสร้าง ตัวเจ้าของมีแล้ว แต่ยังไม่ปรากฏเพราะยังไม่ถึงเวลา หากถึงเวลาเมื่อใดเขาจะมาสร้างเอง ขอให้เหล่าญาติโยมจงรอไปก่อน


    ๏ บูรณะวัดร้างฟ้าหลั่ง

    หลวงปู่ครูบาอินเล่าว่า ท่านมาอยู่วัดฟ้าหลั่งเมื่ออายุได้ ๕๗ ปี วัดฟ้าหลั่งยังเป็นป่าอยู่ ชาวบ้านเชื่อกันว่าที่นี้แรง บริเวณกำแพงวัดปัจจุบัน เป็นที่ที่ชาวบ้านมาเลี้ยงผีกัน เข้าใจว่าเป็นพวกผีตายโหง เมื่อท่านมาอยู่ชาวบ้านก็ได้สร้างกุฏิเป็นกระท่อมเล็กๆ ให้ท่านอยู่ ท่านก็ได้สอนให้ชาวบ้านแผ่เมตตาให้ดวงวิญญาณเหล่านั้นได้รับส่วนกุศล ท่านก็อยู่มาได้โดยไม่มีอะไรมารบกวน สภาพของวัดที่เห็นในปัจจุบัน ท่านค่อยๆ สร้างขึ้นทั้งสิ้น คติการสร้างของครูบาอินก็คือค่อยทำไป ท่านไม่บอกบุญให้ชาวบ้านต้องเป็นทุกข์ เดือดร้อน ท่านมักจะสั่งสอนลูกศิษย์เสมอว่า อย่าทำบุญให้ตนเองเดือดร้อน ให้ทำตามกำลัง

    เรื่องที่ครูบาขาวปีกล่าวถึงเจ้าของที่จะมาสร้างนั้น ครูบาอินท่านก็ได้ยินที่ครูบาขาวปีว่า “เจ้าเปิ้นมี เจ้าตึงมาสร้าง” เมื่อมีผู้เรียนถามท่านว่า ท่านใช่เจ้าของตามที่ครูบาขาวปีท่านกล่าวถึงหรือไม่ ท่านตอบแบหัวเราะๆ ว่า “ถ้าจะแม่แต้เน่อ หลวงปู่มาอยู่นี่นะ ทีแรกมาอยู่มีบ้านสักสิบสักซาว มุงคามุงต๋อง (ตองตึง) กะต๊อบหลวงปู่ ได้ซื้อข้าวสารมานึ่ง บอกเขาว่าสตางค์มีก่อซื้อข้าวสารมาไว้ เขาก่อซื้อมาหื้อหลายเตื้อ เอามาเตื้อถังๆ โอถ้าเป็นพระเณรสมัยนี้ มันก่อไปแล้วแล้วเน้อ บ่ออยู่ละ อยู่มาก็ดีขึ้นๆ บ้านก็หลายหลังขึ้น ก็เจริญขึ้น”

    ๏ กลับวัดทุ่งปุย

    ภายหลังจากที่หลวงปู่ครูบาอินได้ไปสร้างความเจริญ ที่วัดฟ้าหลัง ร่วม ๓๐ ปี จนวัดฟ้าหลั่งมีความสวยงามและรุ่งเรืองยิ่งอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนแล้ว เมื่อกาลล่วงมาถึงปี พ.ศ.๒๕๔๓ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๓ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๗ เหนือ หลวงปู่ครูบาอิน อินโท ก็ได้หวนกลับมาสู่ “บ้านเกิด” ที่วัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของหลวงปู่ที่เคยเป็นเด็กวัด และได้บรรพชาเป็นสามเณร อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และเคยเป็นเจ้าอาวาสที่นี่มาก่อน และได้เป็นเจ้าคณะตำบลยางคาม มาตามลำดับ

    มูลเหตุสำคัญ เนื่องจากวัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) กำลังพัฒนาเสนาสนะสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ทรุดโทรมไปตามกาลสมัย อย่างเช่น กุฏิ ศาลา กำแพง เป็นต้น อีกทั้งการกลับมาของท่านด้วยอายุที่สูงถึง ๙๘ ปี ด้วย “วุฒิ” อัน “เจริญ” จนถึงขั้นสูงสุด หาใดเปรียบมิได้อย่างเต็มภูมิ เป็นการกลับมาของท่านในวัยชรามากแล้ว ได้กลับมาอยู่ใกล้ลูกหลาน ลูกศิษย์ลูกหาของท่าน

    นับว่าหลวงปู่ครูบาอิน เป็นปูชนียบุคคลที่ควรเคารพบูชาอย่างยิ่ง ถึงแม้นจะไปอยู่ที่อื่น ไปสร้างที่อื่นให้เจริญรุ่งเรืองแล้ว แต่ท่านก็ยังไม่ลืมบ้านเดิมถิ่นฐานบ้านเกิดของท่าน คงเป็นเพราะบุญกุศลที่ศรัทธาญาติโยมได้มาร่วมกันทำกับหลวงปู่ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างศาลาการเปรียญ ๑๐๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ การสร้างกำแพง ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ และการสร้างกุฏิวรวุฒิคุณ เพื่อเป็นที่พำนักของหลวงปู่ ในปีเดียวกัน ในแต่ละวันจึงมีผู้คนมากราบนมัสการเยี่ยมเยียนหลวงปู่ไม่ขาดสาย ถึงแม้นว่าท่านจะอาพาธ นอนพักรักษาตัวอยู่ที่วัดหรือที่โรงพยาบาล ท่านก็ยังเมตตาให้ศรัทธาญาติโยมที่มานั้นได้เข้าไปกราบไหว้จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต

    ๏ ปัจฉิมวัยและการมรณภาพ

    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท ได้เพียรอุทิศตนไว้ในบวรพระพุทธศาสนา บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ให้แก่ศาสนจักร คือ การสร้างถาวรวัตถุ สร้างวัดวาอาราม ให้ความช่วยเหลือไว้หลายวัด ฝ่ายอาณาจักรท่านก็ได้สร้างอาคารสถานที่ และสาธารณประโยชน์แก่ทางราชการบ้านเมืองอย่างมากมายมาโดยตลอด ใครมาขอให้ท่านช่วยสร้างอะไร ท่านก็เมตตาให้ ท่านทำแบบเงียบๆ ใช้ชีวิตอย่างสมถะเรียบง่าย ไม่ค่อยจะพูดจามากนัก หลวงปู่ท่านมีข้อวัตรปฏิบัติที่เสมอต้นเสมอปลาย ทำให้ผู้ที่ได้มาพบเห็นกราบไหว้ เห็นปฏิปทาการปฏิบัติของท่านแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงปู่

    ช่วงสุดท้ายของชีวิต ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ สังขารร่างกายของท่านไม่แข็งแรงซึ่งเป็นไปตามอายุขัย อาพาธบ่อย หลวงปู่ท่านมีความอดทนสูงมาก มีสติและสมาธิความจำที่ดีเลิศอยู่เสมอ ยามเจ็บไข้เกิดทุกขเวทนาท่านจะไม่ยอมบอกใครง่ายๆ ท่านเกรงใจ ไม่อยากให้เป็นภาระแก่ลูกหลาน ศิษยานุศิษย์ และญาติโยม

    ยามเมื่อท่านไม่สบายพักรักษาตัวอยู่ที่วัด ต้องให้ออกซิเจนอยู่เป็นระยะ เมื่อมีญาติโยมมากราบนมัสการท่าน ท่านก็ให้เข้าพบ พร้อมกับให้พรอันยาวนานตามปกติของท่าน จนญาติโยมที่มากราบไหว้รับพรจากท่านนั้นเหนื่อยแทน ขอร้องท่านให้พรสั้นๆ เพราะกลัวท่านเหนื่อย ท่านก็ไม่ยอม ลุกขึ้น ไม่นอนให้ศีลให้พรแก่ญาติโยม ไหว้พระสวดมนต์อยู่ตลอด ท่านบอกว่าไม่เหนื่อย

    หลวงปู่เข้าโรงพยาบาลครั้งแรกเมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๕ หมอวินิจฉัยว่าท่านติดเชื้อในปอด และน้ำท่วมหัวใจ พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จนกระทั่งถึงวันที่ ๑๘ เมษายน ก็กลับมาพักรักษาตัวอยู่ที่วัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) อาการดีขึ้น

    วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕ นิมนต์หลวงปู่ขึ้นอยู่บนกุฏิหลังใหม่ (กุฏิวรวุฒิคุณ) ที่คณะศรัทธาญาติโยม ลูกศิษย์ลูกหา สร้างถวาย

    วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖ คณะศรัทธาศิษยานุศิษย์ ทำบุญฉลองอายุ ๑๐๑ ปี ถวาย

    หลวงปู่เข้าโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๖ ถึงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๖ เวลา ๑๓.๑๕ น. อาการเริ่มทรุดลงเรื่อยๆ จนถึงเวลา ๑๙.๔๐ น. ท่านก็จากไปอย่างสงบ ปัจจุบันนี้ได้ตั้งสรีระของท่านไว้บำเพ็ญกุศล ณ วัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) จังหวัดเชียงใหม่

    คณะศรัทธาศิษยานุศิษย์ขอขอบคุณและอนุโมทนา ผู้บริหาร นายแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ทุกๆ ท่าน ที่ให้การรักษาดูแลหลวงปู่มาด้วยดีโดยตลอด ตั้งแต่ต้นจวบจนถึงวาระสุดท้ายในชีวิตของหลวงปู่ โดยเฝ้าดูแลอุปัฏฐากแวะเวียนเยี่ยมดูอาการ ให้กำลังใจหลวงปู่อยู่มิได้ขาด

    ขอให้ท่านทั้งหลายจงได้รับพรของหลวงปู่ที่เคยให้เราและท่านไว้ว่า “ตั้งแต่นี้ไปปายหน้า ขอให้ทุกคนจงอยู่ดีมีสุข มีอายุมั่นยืนยาว ขอหื้อพ้นเสียยังโรค ภัย ไข้ เจ็บ เป็นต้นว่าเคราะห์ปายหลังอย่าได้มาท่า เคราะห์ปายหน้าอย่าได้มาจน เคราะห์ปายบนอย่าได้มาใกล้ เคราะห์ขี้ไร้อย่าได้มาปานถูกต้อง ฝูงปาปะเคราะห์พร่ำพร้อมคือว่าเคราะห์ปี เคราะห์เดือน เคราะห์วัน เคราะห์ยาม เคราะห์เมื่อหลับเมื่อตื่น เคราะห์เมื่อยืมเมื่อเตียว เคราะห์เมื่อเหลียวเมื่อผ่อ เคราะห์เมื่อคืนบ่อหัน เคราะห์เมื่อวันบ่อฮู้ เคราะห์เมื่ออู้เมื่อจ๋า เคราะห์นานาต่างต่าง จุ่งกลับกลายเป็นเป็นโสมะ ตัวใดเป๋นโสมะแล้ว จุ่งนำมายังลาภะสะก๋าร คือ โจคลาภ ขอหื้อทุกคนมีอายุปี๋ อายุเดือน อายุวัน อายุยาม โจคปี๋ โจคเดือน โจคยาม อยู่ก็ขอหื้อมีจัย ไปก็ขอหื้อมีโจคมีลาภ ฮิมาก๊าขึ้นเหมือนกั๋นทุกผู้ทุกคน นั้นจุ่งจักมี วิรุฬหา พุทธศาสเน อะโรคาสุขิตา โหนตุ อายุ วัณโณ สุขัง พะลังฯ สาธุ สาธุ สาธุ”


    “ขอเธอจงไปกราบครูบาอินที่เชียงใหม่และขอศึกษาวิชาจากท่านให้ดีๆ เถิด ท่านเป็นพระผู้เก่งกล้าสามารถมากจริงๆ” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม บ้านบ้านเเค ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

    “ดีอยู่แล้ว ดีอยู่แล้ว พระของครูบาอิน ไม่ต้องเสกอะไรอีกแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

    “จิตของครูบาอิน ประภัสสรยิ่งแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อชม วัดโป่ง จังหวัดชลบุรี

    “ครูบาอิน ท่านมีจิตมีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งเลยทีเดียว” เป็นคำกล่าวของครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

    “หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งนั้น ดีที่หนึ่งเลย” เป็นคำกล่าวของหลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

    “ครูบาอินท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบนะ” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต บ้านลูกกลอน ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ฯลฯ

    [​IMG]

    เบาๆ ครับ 250 บาท สาธุ....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04499.jpg
      DSC04499.jpg
      ขนาดไฟล์:
      272.3 KB
      เปิดดู:
      151
    • DSC04501.jpg
      DSC04501.jpg
      ขนาดไฟล์:
      290.1 KB
      เปิดดู:
      166
  15. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต หนองคาย..

    [​IMG]

    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต ตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    นามเดิม เหรียญ ใจขาน เกิดวันที่ 8 มกราคม 2455 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด ณ บ้านหม้อ ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย บิดาชื่อ ผา มารดาชื่อ พิมพา

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    จิตมีธรรมปรารถนาออกบวช

    เมื่อย่างเข้าอายุ 20 ปี เห็นจะด้วยบุญบารมีแต่ปางก่อน รู้สึกว่าชีวิตปุถุชนไม่มีแก่นสาร จึงลาบิดามารดาเข้าเรียนครองบวชอยู่สิบห้าวันก็ได้บวชที่อุโบสถวัดบ้านหงษ์ทอง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย มี ท่านพระครูวาปีดิฐวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์พรหม เป็นพระกรรมวาจารย์ บวชแล้วได้กลับมาอยู่ วัดโพธิ์ชัย บ้านหม้อ บวชเมื่อ เดือนมกราคม 2475 อาจารย์วัดโพธิ์ชัย สอนให้ภาวนา อนุสสติ 10 ด้วยวิธีท่องเอา แล้วบริกรรมในใจว่า พุทธานุสสติ สังฆานุสสติ ไปจนถึง อปสมานุสสติ จบแล้วตั้งต้นใหม่เรื่อยไป จิตสงบเบิกบานดี บริกรรมทุกอิริยาบถเป็นอารมณ์ติดต่อกันไป

    ในระหว่างนั้นโยมบิดาได้นำหนังสือเกี่ยวกับการเจริญสมถะและวิปัสสนาของ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม มาให้อ่าน ท่านอธิบายเรื่อง สติปัฏฐาน4 โดยเฉพาะเรื่องกายานุปัสสนา ให้พิจารณาร่างกายเพ่งดูแยกออกเป็นส่วนๆ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ตลอดจนอาการ 32 แล้วให้ถามตัวเองว่า ตัวตน อยู่ที่ไหน แท้จริงก็ไม่มี เมื่อไฟเผาแลัว ย่อมเหลือแต่เถ้ากระดูก

    กำหนดเอากระดูกใส่ครกบดให้ละเอียดแล้วซัดไปตามลมพัดหายก็ไม่เหลืออะไร ร่างกายนี้ไม่มีอะไรเป็นของตนสักอย่างเดียว มีแต่เกิดแล้วดับไปดังปรากฏ

    แล้วใครเป็นผู้รู้ว่าร่างกายเป็นอย่างนั้น ก็จิตนี้เป็นผู้รู้ เมื่อสติกลับมา รู้จิต จิตก็รวมลงเป็นหนึ่ง แสดงว่า จิตปล่อยวางร่างกายได้ตามสภาพ จึงประคองจิตให้สงบอยู่ต่อไปนานเท่าที่จะอยู่นานได้ ในขณะนั้นจะมีความรู้สึกว่า กายก็เบา จิตก็เบา คิดจะไปอยู่ป่า พอดำริจะไปอยู่ป่าเท่านั้น มาร คือ กิเลส ก็แสดงอาการขัดขวาง เกิดความรู้สึกนึกคิดเป็นสองทาง ใจหนึ่งอยากสึกออกไปครองเรือน ใจหนึ่งอยากออกปฏิบัติเจริญสมถะวิปัสสนาตามที่ตั้งใจไว้ วันแล้ววันเล่ายังตัดสินใจไม่ได้ จึงลองอดข้าวหนึ่งวัน พอตกค่ำเวลาประมาณสามทุ่ม ก็ห่มผ้าสังฆาฎิแล้วทำวัตร อธิษฐานจิตว่า บัดนี้ข้าพเจ้าจะนั่งสมาธิภาวนาเพื่อพิจารณาตัดสินใจลงทางใด ทางหนึ่งให้ได้ ถ้าตัดสินใจไม่ได้จะไม่ลุกออกจากที่นั่งนี้เลย ภายหลังได้ตัดสินใจประพฤติพรหมจรรย์ต่อไป ได้พบพระอารย์กู่ ธมฺมทินฺโน บ้านเดิมท่านอยู่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ท่านเที่ยวธุดงค์ไปทางหนองคาย พักอยู่ที่วัดเดียวกัน ได้รับคำอธิบายในอุบายภาวนาเพิ่มเติมจนเข้าใจดี ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ได้พบกับ ท่านอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม อยู่วัดสิริสาลวัน ได้พาบวชเป็นพระธรรมยุตที่วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี

    พ.ศ. 2476 จำพรรษาวัดป่าสาระวารี บ้านค้อ อำเภอผือ อุดรธานี

    เป็นที่ซึ่งพระอาจารย์มั่นเคยจำพรรษา ได้ตั้งใจทำความเพียรสงบใจมาก แต่วิปัสสนายังไม่แกกล้า ได้แต่สมถะ ออกพรรษาแล้วจึงธุดงค์ไปจังหวัดเลย พักวิเวกอยู่ถ้ำผาปู่ และ ถ้ำผาบิ้ง ได้ความสงบสงัดมาก

    พ.ศ. 2477 พรรษาสอง จำพรรษาวัดอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ หนองคาย

    มีพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน เป็นหัวหน้า ตั้งใจไม่นอนกลางวัน ค่ำลงทำความเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิ ถึงตีสอง แล้วลุกขึ้นทำความเพียรจนสว่าง พอถึงเดือนหกเดินทางกลับมาจำพรรษาที่ วัดป่าบ้านค้อ ตามเิด

    พ.ศ. 2478 พรรษาสาม จำพรรษาที่วัดป่าสาระวารี

    พ.ศ. 2479-2480 พรรษาสี่และห้า จำพรรษาที่วัดอรัญญบรรพต

    ทำภาวนาจิตสงบแล้วพิจารณาขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาตามสภาพความเป็นจริง แล้วปล่อยวาง จิตสงบพร้อมกับความรู้เป็นอย่างดี คล้ายหมดกิเเลส แต่ต่อมามีเรื่องต่างๆ มากระทบ ก็รู้สึกจิดผิดปกติ หวั่นไหวไป ตามอารมณ์นั้นๆ อยู่บ้าง แต่ไม่รุนแรง ก็แสดงว่ากิเลสยังไม่หมดสิ้น พยายามแก้ก็ไม่ตก นึกในใจว่าใครหนอจะช่วยแก้จิตให้ได้ จึงนึกไปถึงกิตติศัพท์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จึงชวนภิกษุรูปหนึ่งลงเรือจากหลวงพระบางขึ้นไปทางอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เดินทางไปหาท่าน

    พ.ศ. 2481 ได้พบท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

    ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยความเมตตาของหลวงตาเกต ซึ่งเป็นสัทธิ วิหาริก ของท่าน ได้พาไปพบที่ป่าละเมาะใกล้ๆ โรงเรียนแม่โจ้ อำเภอสันทราย ได้เห็นด้วยความอัศจรรย์ใจเพราะตรงกับในนิมิตทุกประการ ท่านได้แนะนำว่านักภาวนา พากันติดสุขจากสมาธิจึงไม่พิจารณาค้นคว้าหาความจริงของชีวิตกัน

    ท่านซักรูปเปรียญให้ฟังว่า ธรรมดาเขาทำนาทำสวน เขาไม่ได้ทำใส่บนอากาศแลย เขาทำใส่บนพี้นดินจึงได้ผล ฉันใด โยคาวจรผู้บำเพ็ญเพียรทั้งหลายควร พิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ จนเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายในนามรูป ด้วยอำนาจแห่งปัญญานั้นแหละจึงจะเป็นทางหลุดพ้นได้ ไม่ควรติดอยู่ในความสงบโดยส่วนเดียว

    เมื่อท่านให้โอวาทแล้วจึงพิจารณาดูตังเองว่าได้เจริญเพียงสมถะไม่ได้เจริญ วิปัสสนาเพียงรู้แจ้งในธรรมที่ควรรู้ คือ อริยสัจสึ่ จึงเจริญวิปัสสนาเรื่อยมา ตั้งแต่พรรษาที่ 6 อยู่ในเขตภาคเหนือจนถึงพรรษาที่ 16 แล้วเดินทางกลับธุดงค์ ผ่านหลวงพระบาง ประเทศลาว เข้าเวียงจันทน์ มายังหนองคาย

    พรรษาที่ 19 ถึง 26 จำพรรษาเผยแพร่ธรรมะปฏิบัติอยู่ภาคใต้ แล้วจึงย้ายไปอยู่วัดอรัญญบรรพต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 เรื่อยมา

    ธรรมโอวาท

    1. นาทั่งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นโทษทั่งนักบวช ทั้งคฤหัสถ์ ถ้าใครสะสมกิเลอให้แน่นหนาทั้งในใจ ใจก็ให้ทุกข์ ให้โทษกับผู้นั้น ไม่ใช่ให้ทุกข์แก่นักบวชฝ่ายเดียว
    2. อันสตินี้ สัมปชัญญะนี้ ก็สมมติเป็นโชเฟอร์กำพวงมาลีย มีสติคอยระมัดระวัง กาย วาจา จิต อยู่เสมอๆ คอยระวังเรื่องต่างๆ ระมัดระวังไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องเที่ยวประกาศ ห้ามใครมาติชมเรา ที่ว่าระวังนั้น คือ เมื่อมีเรื่องมากระทบให้รู้ทัน ในทันที เราจะห้ามจิตไม่ให้หวั่นไหวไปไม่ได้ แต่ให้ระวัง ต้องควบคุมจิตด้วยสติให้ถี่ๆ กระชับสติสัมปชัญญะให้มันถี่เข้ามา จะได้ไม่หวั่นไหวกับคำพูดเสียดแสงใจต่างๆ
    3. ถ้าจิตสงบมีกำลังพักผ่อนเต็มที่แล้ว มันก็จะอยากรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ ต้องกำหนดหาเรื่องที่ควรจะรู้ สิ่งใดที่เรายังไม่รู้ก็ต้องกำหนดพิจารณา เช่น กำหนดพิจารณาทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เบื่อในทุกข์ของขันธ์5 อันไม่เที่ยงแปรปรวน อาการหวั่นไหวกันไปมานั่นแหละ เรียกว่า ทุกขลักษณะ เมื่อจิตรู้อย่างนี้ ก็จะได้ไม่หวั่นไหว ไม่ยึดเอาของไม่เที่ยงมาเป็นทุกข์

    ปัจฉิมบท

    พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นพระสงฆ์แห่งจังหวัดหนองคาย ที่มีอาวุโสที่ชาวพุทธควรกราบไหว้บูชาเป็นอย่างยิ่ง

    เบาๆ ครับ 250 บาท สภาพเดิมๆ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04517.jpg
      DSC04517.jpg
      ขนาดไฟล์:
      700.7 KB
      เปิดดู:
      241
    • DSC04520.jpg
      DSC04520.jpg
      ขนาดไฟล์:
      559.6 KB
      เปิดดู:
      96
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มกราคม 2011
  16. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    หลวงปู่เปรี่ยม อติภัทโท เมตตาโชคลาภ... ปิดรายการแล้วครับ

    [​IMG]

    พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดบ้านคลองทรายเหนือ จ.สระแก้ว "หลวงปู่เปรี่ยม อติภัทโท" สิริอายุ 97 ปี ท่านได้ศึกษาวิชาพิธีลงนะหน้าทองมหานิยม ตำรับหลวงปู่หิน วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ สายวิชาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ผู้สร้างพระพิมพ์สมเด็จอันลือลั่น

    เบาๆ ครับ 150 บาท....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04514.jpg
      DSC04514.jpg
      ขนาดไฟล์:
      671.1 KB
      เปิดดู:
      96
    • DSC04516.jpg
      DSC04516.jpg
      ขนาดไฟล์:
      499.9 KB
      เปิดดู:
      107
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2010
  17. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    หลวงปู่ืทิม วัดพระขาว พระพิิมพ์หลวงพ่อปาน ทรงไก่...

    [​IMG]


    ประวัติหลวงปู่ทิม อัตตสันโต วัดพระขาว "พระครูสังวรสมณกิจ"


    ประวัติหลวงปู่ทิม อัตตสันโต วัดพระขาว "พระครูสังวรสมณกิจ"

    เมืองกรุงเก่าพระนครศรีอยุธยา มีพระเกจิอาจารย์เรืองนามอยู่ 3 รูปร่วมสมัยและเป็นสหธรรมิกกัน

    ประกอบด้วย หลวงปู่เมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา, หลวงปู่มี วัดมารวิชัย และหลวงปู่ทิม วัดพระขาว ซึ่งมีวัยวุฒิไล่เลี่ยกัน โดยเฉพาะด้านไสยเวทวิทยาคมก็เป็นเอกอุต่างกัน

    แต่ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ หลวงปู่เมี้ยน และหลวงปู่มี ละสังขารไปก่อน

    ภาระเจตนาบุญได้รับการสืบสานต่อโดยหลวงปู่ทิม พระเกจิอาจารย์แห่งวัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ล้วนแล้วแต่ต้องนิมนต์หลวงปู่ทิม เพื่อทำหน้าที่ประธานฝ่ายสงฆ์ จุดเทียนชัยหรือดับเทียนชัย

    แต่แล้วเมื่อช่วงเช้าวันที่ 22 มีนาคม 2552 คณะศิษย์ของหลวงปู่ทิม อัตตสันโต ต้องได้รับข่าวเศร้า เมื่อหลวงปู่ทิมหรือพระครูสังวรสมณกิจ ได้มรณภาพลงอย่างสงบ ขณะเข้ารับการรักษาอาการป่วย ณ โรงพยาบาลโรคทรวงอก อ.เมือง จ.นนทบุรี สิริอายุ 96 พรรษา 62

    อัตโนประวัติหลวงปู่ทิม มีนามเดิมว่า ทิม ชุ่มโชคดี เกิดวันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2456 ปีฉลู ที่ต.พระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายพร้อม และนางกิ่ม ชุ่มโชคดี เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนลูกทั้งหมด 6 คน
    คนแรก พี่ทอง ชุ่มโชคดี เป็นหญิง เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์วัย
    คนที่ 2 พี่เทียบ ชุ่มโชคดี
    คนที่ 3 พี่ทัศน์ ชุ่มโชคดี เป็นผู้ใหญ่เก่า หมู่ 5 ต.พระขาว (เสียชีวิตแล้ว)
    คนที่ 4 พี่ทอด ชุ่มโชคดี
    คนที่ 5 หลวงปู่ทิม ชุ่มโชคดี มรณภาพ วันที่ 22 มีนาคม 2552
    คนที่ 6 นายสังวาลย์ ชุ่มโชคดี

    ช่วงวัยเยาว์ หลวงปู่ทิมได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดพิกุล จนถึงอายุ 13 ปี เมื่อจบ ป.4 จึงออกจากโรงเรียนมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำนา ก่อนจะถูกเกณฑ์เป็นทหาร ถูกส่งตัวไปปฏิบัติราชการสงครามฝรั่งเศส รวมทั้งสงครามโลกครั้งที่ 2

    กระทั่งปลดประจำการ หลวงปู่ทิมจึงได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2475 ณ วัดพิกุล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี หลวงพ่อปุ๋ย วัดขวิด เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อหลิ่ว วัดโพธิ์กบเจา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการหลิ่ว เจ้าอาวาสวัดพิกุล เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    แต่บวชอยู่ในบวรพระพุทธศาสนาได้เพียง 1 พรรษา ท่านได้ลาสิกขาแต่งงานมีครอบครัวและมีบุตร-ธิดา 4 คน

    หลังจากนั้น หลวงปู่ทิมท่านได้กลับมาอุปสมบทอีกครั้ง เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2491 ขณะอายุได้ 35 ปี ณ วัดพิกุล อ.บางบาล โดยมี พระครูอุดมสมาจารย์ (หลวงพ่อสังข์) วัดน้ำเต้า เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา อัตตสันโต

    หลังอุปสมบท หลวงปู่ทิมได้อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดพิกุล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ในระหว่างที่หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดพิกุลนั้นได้มีชาวบ้านนำเอาศพคนตายมาฝากไว้ในกุฏิถึง 2ศพด้วยกัน ทำให้เกิดมีแนวกรรมฐานด้วยตนเองอย่างถ่องแท้ พร้อมทั้งอาศัยหลักกรรมฐานด้วยตนเองอย่างถ่องแท้ พร้อมทั้งอาศัยหลักกรรมฐานที่ว่า สามัญในลักษณะ หมายความว่า ลักษณะที่เสมือนกันใน สังขารทั้งหลายทั้งปวง สิ่งนั้นก็คือ
    อนิจจัง ( ความไม่แน่นอนในสังขาร )
    ทุกข์ขัง (ความวุ่นวาย , ไม่สงบสุข ในสังขาร )
    อนัตตา (ความตาย , ไม่มีตัวตน )

    จากนั้นหลวงปู่ทิม ท่านได้ไปจำวัดอยู่ยังวัดน้ำเต้ากับอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อสังข์ อยู่กับหลวงพ่อวัดน้ำเต้าประมาณ 1 เดือน ในระหว่างที่อยู่กับหลวงพ่อสังข์นั้น หลวงพ่อสังข์ได้ไต่ถามถึงความเป็นมาของการปฏิบัติกรรมฐานที่ผ่านๆ มาเมื่อหลวงพ่อสังข์ ทราบเรื่องแล้ว หลวงพ่อสังข์ก็กล่าวชมเชยว่า ใช้ได้ทั้งๆที่ยังไม่มีใครสอนหรือต่อให้มากอน พร้อมทั้งพูดเสริมขึ้นอีกว่า "ฉันบวชให้คุณฉันได้บุญหลาย" ต่อจากนั้น หลวงปู่ทิมก็ได้นั่งปุจฉา-วิสัชนาอยู่กับหลวงพ่อวัดน้ำเต้าอย่างใก้ลชิด และทราบซึ้งในธรรมะมาก นับว่าเป็นครั้งแรกที่หลวงปู่ท่านได้รับรู้แนวทางการเจริญธรรมกรรมฐานอย่าง จริงจังหลวงปู่ทิมมีเวลาอยู่เจริญกรรมฐานกับหลวงพ่อวัดน้ำเต้าอย่างใก้ลชิดเป็นเวลา 1 เดือนเต็ม

    ต่อมาหลวงปู่ทิมจึงย้ายมาจำพรรษายังวัดพระขาว ตั้งแต่ พ.ศ.2492 และขึ้นเป็นเจ้าอาวาส พ.ศ.2498 จวบจนปัจจุบัน

    ด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม หลวงปู่ทิม วัดพระขาว สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก เมื่อ พ.ศ.2500

    พ.ศ.2510 ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลน้ำเต้า ตำบลพระขาว พร้อมทั้งได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

    พ.ศ.2512 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูสังวรสมณกิจ

    พ.ศ.2520 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม

    ผลงานด้านการพัฒนา หลวงปู่ทิมท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์สภาพของวัดที่เก่าแก่แต่เดิม ให้มั่นคงถาวรทั้งหมด

    ดังที่ได้เห็นทุกวัน ซึ่งเกิดจากบุญญาบารมีของหลวงปู่ทิม วัดพระขาวอย่างแท้จริง ซึ่งมีผลงานปรากฏดังนี้คือ

    หลวงปู่ทิมปรับปรุงกุฏิทั้งหมด รวม 9 หลัง เมื่อปี พ.ศ.2499-2500 สร้างหอสวดมนต์ เมื่อปี 2501 เปลี่ยนกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถจากกระเบื้องดินให้เป็นกระเบื้องเคลือบ ยกช่อฟ้าพระอุโบสถ ทำหน้าบันพระอุโบสถทำกำแพงรอบพระอุโบสถ ทำรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กรอบๆ บริเวณวัดสร้างศาลาพักร้อนหน้าวัด สร้างฌาปนสถาน (เมรุเผาศพ)

    ปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ และสร้างศาลาเรียงพร้อมทั้งเปลี่ยนกระเบื้องศาลาทั้งหมด ทำห้องสุขาชาย-หญิง พร้อมห้องน้ำ สร้างถังน้ำคอนกรีตใหญ่และศาลา สร้างสะพานคอนกรีตจากกุฏิไปยังศาลาการเปรียญ เปลี่ยนกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถ จากกระเบื้องเคลือบมาเป็นกระเบื้องลายเทพนม สร้างภาพเขียนฝาผนังในพระอุโบสถ เป็นภาพพุทธประวัติ และเรื่องราวของพระเวสสันดรชาดก

    หลวงปู่ทิม วัดพระขาว เป็นพระนักปฏิบัติ และชอบการปลีกวิเวกอยู่ในป่าช้า สมถะรักสันโดษ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ไม่จับต้องปัจจัยเงินทอง มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ มีความเมตตาต่อทุกคนที่ไปกราบไหว้โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ หรือคนรวยคนจน ท่านให้ความเสมอภาค

    การเข้ากราบไหว้ขอพรหลวงปู่ทิม วัดพระขาว ทุกคนมีโอกาสเหมือนกันหมด และจะได้รับแจกของดีจากมือท่านโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลัง อาทิ พระขุนแผน ปลาเงินปลาทอง ลูกอมชานหมาก ภาพถ่ายสี ขนาดพกติดตัวที่เลื่องลือกันว่ามีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภสูง

    หลวงปู่ทิม วัดพระขาว โดดเด่นด้านวัตถุมงคลประเภทพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง ท่านได้ศึกษาวิชาอาคมจากหลวงพ่อสังข์ พระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นต้น จนมีความเชี่ยวชาญชำนาญในวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมต่างๆ

    หลวงปู่ทิม วัดพระขาวท่านมีปริศนาธรรม คำสอนอันทรงคุณค่า รวมทั้งการสร้างและเสกวัตถุมงคลจนเลื่องชื่อ เป็นที่ต้องการของนักสะสมและลูกศิษย์ลูกหา โดยเฉพาะ ลูกอมชานหมาก

    สำหรับวัตถุมงคลหลวงปู่ทิม วัดพระขาว พระกริ่ง พระขุนแผน และเหรียญมีสร้างหลากรุ่นหลายปีมาก รุ่นที่หยิบยกมาเอ่ยถึงนี้ นับวันเริ่มหายากแล้ว พระกริ่งสร้างปี 2539 พระขุนแผนเคลือบ สร้างปี 2540 และเหรียญรูปเหมือน สร้างปี 2540 จัดสร้างถวายหลวงปู่ทิม สำหรับแจกฟรีให้กับบรรดาลูกศิษย์ลูกหา โดยนักธุรกิจใจบุญ "บุญมา บุญเลิศวณิชย์" ซึ่งขออนุญาตสร้างไว้ทั้งหมด 14 พิมพ์ด้วยกัน

    โดยเฉพาะเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ทิม วัดพระขาว ห้วงนี้ลูกศิษย์ลูกหาสายตรงตามเก็บหมด ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทิมนั่งเต็มองค์ ด้านบนเขียนว่า พระครูสังวรสมณกิจ (หลวงปู่ทิม อตฺตสนฺโต) ด้านล่างเขียนว่า รุ่นแรก ส่วนด้านหลังส่วนบนเขียนว่า "แจกวันเกิดอายุ ๘๔-๑๕ ม.ค.๔๐ วัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา" ตรงกลางมียันต์ ด้านล่างเขียนว่า "รุ่นบุญรวยมา"

    ก่อนหลวงปู่ทิม วัดพระขาวท่านละสังขารยังเมตตาอธิษฐานจิตพระขุนแผนและพระนางพญา ให้วัดโล่ห์สุทธาวาส จ.อ่างทอง เปิดให้ประชาชนทั่วไปร่วมบุญบูชา เพื่อนำปัจจัยสมทบทุนสร้างอุโบสถวัดโล่ห์ฯ นอกจากนี้ ยังอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นสุดท้าย รุ่นที่ระลึกครบ 8 รอบ 96 ปี เพื่อนำรายได้บูรณะวัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา

    ท้ายที่สุด ด้วยสภาพสังขารที่ร่วงโรยไปตามวัย กอปรด้วยอายุที่ล่วงเลยเข้าสู่บั้นปลาย หลวงปู่ทิม อัตตสันโตท่านย่อมไม่สามารถหลีกหนีสัจธรรมชีวิตที่เคยกล่าวปรารภไว้ได้เช่นกัน เมื่อเวลา 10.55 น. วันที่ 22 มีนาคม 2552 หลวงปู่ทิมได้ละสังขารจากไปอย่างสงบ ด้วยอาการปอดบวมและติดเชื้อในกระแสโลหิต

    หลวงปู่ทิม วัดพระขาว หรือ"พระครูสังวรสมณกิจ"ย้ำอยู่เสมอว่า วัตถุมงคลทั้งหลายล้วนเข้มขลังด้วยอำนาจแห่ง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แต่ไม่ว่าใครจะมีพระเครื่องที่ดี เด่น ดังเพียงใดก็ตาม ที่สุดแล้วก็ไม่สามารถหนีความตายไปได้
    เพราะนี่คือสัจธรรมของชีวิต
    คอลัมน์ มงคลข่าวสด ที่มา...หนังสือพิมพ์ข่าวสด

    เบาๆ ครับ 150 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04523.jpg
      DSC04523.jpg
      ขนาดไฟล์:
      421.7 KB
      เปิดดู:
      135
    • DSC04524.jpg
      DSC04524.jpg
      ขนาดไฟล์:
      447 KB
      เปิดดู:
      110
  18. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    เหรียญ "หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว" ปี 2524 แท้ดูง่าย ๆ แต่หายาก

    [​IMG]


    เหรียญรุ่นนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้อันเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภปร.ประดิษฐานไว้ด้านหลังเหรียญ พิธีการจัดสร้างยิ่งใหญ่อลังการ โดยมีพระคณาจารย์ที่ร่วมนั่งปรกปลุกเสก คือ หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง , หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม , หลวงปู่เหมือน วัดกำแพง , หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส , หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า , หลวงพ่อสุด วัดกาหลง , ฯลฯ เป็นเหรียญดี ราคาเบาที่น่าสะสม โดยเฉพาะเหรียญนี้ สภาพเรียกว่าส่งประกวดกันได้เลยทีเดียว เหรียญมีขนาดกำลังดีไม่เล็กไม่ใหญ่ไป ห้อยคอบูชากำลังสวย ใครอยากได้เหรียญดี ๆ ที่ราคาไม่แพงมาก แนะนำเหรียญนี้เลยครับ


    หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จ.ฉะเชิงเทรา ชื่อเกจินามนี้ สำนักนี้ แห่งเมืองแปดริ้ว นักเลงพระทั่วถ้วนทุกคนตองรู้จัก เพราะเหรียญของท่านเป็น หนึ่ง” ในเบญจภาคีเหรียญ หรือแม้แต่เครี่องรางของขลังจำลองรูป “ลิง ก็เป็นหนึงโนทำเนียบเครืองรางของขลังที่เล่นหากันราคาสูงยิงโนขณะนี้ พระครูพิบูลย์คณารักษ์ คงฺคสุวณฺโณ หรือหลังพ่อดิ่งเป็นชาวบ้านตำบลบางวัว ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “เกาะหลัง บ้าน” เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ .ศ. 2420 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 11 คำ เดือน 4 ปีฉลู จ. ศ .1239 เป็นบุตรโยมเหม โยม ล้วน นามสกุลเหมล้วน มีพี่เองด้วยกัน 16 คน ท่านเป็น บุตรคนที่ 8 พอเข้าวัยการศึกษา บิดามารดาได้นำท่านไปฝาก ศึกษาเลาเรียนให้อยูกับพระที่วัดบางวัว ด้วยชีวิตในวัยเด็ก ได้รับการอุปถัมภ์อยูกับพระรสพระธรรม ได้ขึมซาบเข้าไปใน จิตใจของท่านอย่างลึกชึ้ง ยามว่างก็จะเข้ามาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพคีอการทำนา สมัยก่อนทำนาจะทำปี ละครั้ง ด้วยเหตุนี้ชาวนาจึงมีเวลาว่างมาก เพราะต้องรอ คอยฤดูฝนจึงจะทำนากันได้ จนกระทังทานอายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ โยมบิดามารดา จึงได้จัดการโหทานบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธฉมาวัดบางวัว เมื่อวันที่10 เมษายน พ .ศ.2440 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา โดยมีหลวงพอดิษฐ์ วัดบางสมัคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ่าง วัดบางสมัคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ปลอด วัดบางวัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระวา คงฺคสุวณฺโณ เมื่อบวชแล้วได้อยู่จำพรรษาที่วัดบางวัว ศึกษาพระธรรมวินัย จากพระอุปัชฌาย์เป็นเวลา 2 พรรษา แล้ว

    ท่านก็ได้เดินทางเข้ามาศึกษาปริยัติธรรมที่วัดไตรมิตรวิทยาราม (วัดสามจีน) ในสมัยที่หลวงพ่อโมยังมีชีวิตอยู่ จากคำบันทึกทีหลังพอดิ่งเล่าให้ศิษย์ฟังวา ขณะที่มาอยู่ที่วัดไตรมิตรฯ เพียง 1 พรรษา พระอธิการเปีย เจ้าอาวาส วัดบางวัวก็มรณภาพลง พระภิกษุในวัดและญาติโยมได้ประชุมปรึกษากันมีมติให้ไปนิมนต์ท่านกลับมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อไป ด้วยเหตุนี้ท่านจึงไม่อาจขัดศรัทธาของญาติโยมได้ จึงเดินทางมาครองวัดบางวัว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2443 เรียกว่าบวชเพียง 3 พรรษาก็ไดเป็นเจ้าอาวาส วัดบางวัวเพิ่มเป็นสำนักสงฆ์ตั้งอยู่บนที่นาของนายถ้วย สร้อยสุพรรณ ทางจากวัดในปัจจุบันไป 1 กม ต่อมาได้ย้าย มาตั้งอยู่ใกล้วัดปัจจุบันนี้ประมาณ 10 เส้นเศษ ครั้งหลังสุด ได้ย้ายออกมาอีก โดยนายหร่าย-นางเพียน ชัวล่ำ นางสังข์ นางทิ้ง น้อยจินดา นายเงิน นางสังวาลย์ อู่เจริญ ได้ถวายที่ดินให้สร้างวัดซึ่งเป็นที่ตั้งในปัจจุบันนี้

    เมื่อหลวงพ่อดิ่งได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสท่านก็เริ่มพัฒนาถาวรวัตถุต่าง ๆ ในวัดซึ่งขณะนั้นกำลังชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ได้พัฒนาให้มีการศึกษาพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ-สามเณร

    หลวงพ่อดิ่งได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังเสมอว่า อาจารย์ที่ฉันได้เล่าเรียนวิชามาด้วยกันจริง ๆ มีอยู่ 3 องค์อคือ 1.หลวงพ่อดิษฐ์ วัดบางสมัคร ซึ่งเป็ฯพระอุปัชฌาย์ของฉันเอง 2.หลวงพ่อเปิ้น วัดบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี องค์นี้ท่านเก่งมาก ขนาดปราบฝรั่งที่มันมาเผยแพร่ศาสนาศริสต์จนต้องยอมสยบต่อท่าน แน่ไม่แน่ขนาดฝรั่งยิงปืนไปที่โบสถ์วัดบ้านเก่าไม่ออกก็แล้วกัน 3.หลวงพ่อเปอะ วัดจวนเขื่อนขันธ์ พระประแดง สมุทรปราการ องค์นี้ท่านเก่งทางสมุนไพร แพทย์แผนโบราณ

    หลวงพ่อดิ่งมรณภาพเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2495 สิริรวมอายุ 75 ปี 55 พรรษา
    วัตถุมงคลที่หลวงพ่อดิ่งสร้าง เหรียญรูปเหมือน รุ่นแรก ปีพ.ศ.2481 ที่เป็นที่นิยมเล่นหากันมาก และยังมีลิงจับหลัก เหรียญพระพุทธ ตะกรุด ผ้ายันต์ ตลอดจนพระปิดตาเนื้อเมฆพัด

    เบาๆ พ.ศ.ลึกๆ อย่างนี้ 450 บาทครับ...
    ใครชอบเชิญนิมนต์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04531.jpg
      DSC04531.jpg
      ขนาดไฟล์:
      500 KB
      เปิดดู:
      117
    • DSC04535.jpg
      DSC04535.jpg
      ขนาดไฟล์:
      365.9 KB
      เปิดดู:
      120
  19. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    พระพิมพ์หลวงปู่ศุข วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ

    [​IMG]


    วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ ได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นชุดใหญ่ขึ้นมาหลายพิมพ์ในปี พ.ศ.2506 โดยรวบรวมมวลสารสำคัญต่างๆทั่วประเทศ อาทิเช่น ผงพุทธคุณจากคณาจารย์ต่างๆ และพระเครื่องต่างๆที่แตกหักชำรุดเช่น พระหลวงปู่ทวด และพระกรุสำคัญต่างๆทั่วประเทศ ทำพิธีพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืน เมื่อวันที่ 13-14-15 พย. 2506 และในวันที่ 16 พย. 2506 เวลา 5 โมงเย็น อาราธนาพระคณาจารย์ 108 รูป ร่วมมหาพุทธาภิเษก พระเกจิอาจารย์ที่เรืองเวทย์ด้านคาถาอาคมมาร่วมพิธีปลุกเสกมากกว่า 108 รูป อาทิ เช่น

    - อาจารย์ทิม วัดช้างให้
    - หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
    - หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    - หลวงปู่นาค วัดระฆัง
    - หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
    - หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
    - หลวงปู่ดู่ วัดสะแก
    - หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
    - หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
    - หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
    - หลวงพ่อสุด วัดกาหลง
    - หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
    - หลวงปู่เขียว วัดหรงบน
    - อาจารย์นำ วัดดอนศาลา เป็นต้น
    และคณาจารย์ชื่อดังอีกมากมายกว่า 100 รูป พระเครื่องชุดนี้จึงถือได้ว่าเป็นเป็นพระดีที่น่ามีไว้บูชาสะสมเป็นอย่างยิ่งครับ

    เบาๆ ครับ 550 บาท ของดี ราคาเบา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04526.jpg
      DSC04526.jpg
      ขนาดไฟล์:
      658.2 KB
      เปิดดู:
      136
    • DSC04529.jpg
      DSC04529.jpg
      ขนาดไฟล์:
      854.6 KB
      เปิดดู:
      178
  20. โคมฉาย

    โคมฉาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    3,058
    ค่าพลัง:
    +26,744
    องค์นี้สุดยอดของสำนักเขาอ้อครับ
    ผมได้มาจากน้องจิตตาหนึ่งองค์เลยเอามาเลี่ยมเงิน
    เพราะเป็นของแท้ๆครับ
    รับจากน้องจิตตาแล้วสบายใจครับ
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...