##พระกริ่งปวเรศเจ้าสัว จ่อซัว 座山.......พระกริ่งที่เป็นตำนานไปแล้ว##หมดเเล้ว

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย jummaiford, 5 พฤศจิกายน 2010.

  1. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    ๓ พี่น้องแห่งบ้านบ่อชะเนงผู้เจริญในธรรม
    [​IMG]
    บ้านบ่อชะเนง นอกจากจะเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวรเถระ) แล้ว ยังเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของ “หลวงปู่ขาว อนาลโย” พระกรรมฐานชื่อดังลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู ด้วย
    หลวงปู่ขาว ฉายา อนาลโย ซึ่งมีความหมายว่า ขาวบริสุทธิ์ คือ กายกับใจของท่านบริสุทธิ์ สมกับนามเดิมของท่านชื่อ “ขาว” โคระถา เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ณ บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันจังหวัดอำนาจเจริญ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๗ คน หลวงปู่ขาวเป็นบุตรคนที่ ๔ ของ นายพั่ว และ นางลอด โคระถา
    [​IMG]
    หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู
    เมื่ออายุประมาณ ๒๐ ปี ได้สมรสกับนางมี มีบุตรธิดาด้วยกัน ๗ คน ภายหลังการครองเพศฆราวาสไม่ราบรื่น เพราะภรรยาไม่ตั้งอยู่ในความสันโดษทำให้ครอบครัวมีปัญหา จึงตัดสินใจออกบวชเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ ที่วัดโพธิ์ศรี บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภออำนาจเจริญ โดยมีพระครูพุฒิศักดิ์ เจ้าคณะอำเภออำนาจเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์ อยู่จำพรรษา เพื่อศึกษาหลักพระธรรมวินัยที่วัดโพธิ์ศรี ถึง ๖ ปี ด้วยความบริสุทธิ์ใจดังที่ตั้งไว้ จึงตัดสินใจกราบลาอุปัชฌาย์ออกเที่ยวธุดงค์กรรมฐาน
    ในปี พ.ศ ๒๔๖๒ ได้ออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือ ซึ่งในเวลานั้นท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้มาจำพรรษาอยู่ทางภาคเหนือ เช่นกัน จึงได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระอาจารย์มั่น เสมอ บางครั้งได้จำพรรษาด้วย จึงทำให้บารมีเริ่มเกิดขึ้นกับหลวงปู่ขาวตามลำดับ จิตสงบไม่คิดถึงกิเลสตัณหาในอดีตต่อไป
    จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๘ ได้เดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดบ่อชะเนงบ้านเกิด ในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๖–๒๕๐๐ ได้ธุดงค์ไปจำพรรษาที่วัดหม้อทอง จังหวัดสกลนคร
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="51%">
    [​IMG]
    วิหารหลวงปู่ขาว อนาลโย ภายในวัดบ่อชะเนง
    </TD><TD width="49%">
    [​IMG]
    รูปเหมือนหลวงปู่ขาว อนาลโย ภายในวิหาร
    </TD></TR><TR><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    คำจารึกหน้าวิหารหลวงปู่ขาว อนาลโย ภายในวัดบ่อชะเนง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สุดท้าย ก่อนที่จะเข้าจำพรรษาที่วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู (เดิมจังหวัดอุดรธานี) บำเพ็ญภาวนาบารมีแก่กล้ายิ่ง เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ จนทำให้วัดถ้ำกลองเพลเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปอย่างกว้างขวาง
    หลวงปู่ขาว มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ สิริอายุได้ ๙๕ ปี ๕ เดือน ถึงแม้ว่าจะมรณภาพไปนานปีแล้วก็ตาม แต่ชื่อเสียงบารมีและคำสอนของหลวงปู่ขาว ยังเป็นอมตะชั่วนิรันดร์
    ปัจจุบัน “หลวงปู่ขาว” เป็นเสมือนสัญลักษณ์แห่งดินแดนธรรมะ ที่ชาวจังหวัดหนองบัวลำภู ภาคภูมิใจ และขนานนามดินแดนแห่งนี้ว่าเป็น “แผ่นดินธรรมของหลวงปู่ขาว”
    เจ้าพระคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร กล่าวถึงหลวงปู่ขาว เอาไว้ว่า....
    “เมื่อระลึกถึงหลวงปู่ขาว อนาลโย ก็อดมิได้ที่จะระลึกถึงพระสังฆคุณ ว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน สามีจิปฏิปนฺโน
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฎิบัติดีแล้ว ปฎิบัติตรงแล้ว ปฎิบัติถูกต้องแล้ว ปฎิบัติเหมาะสมแล้ว จึงเกิดความเลื่อมใส เคารพในสุปฏิบัติ อุชุปฏิบัติ สามีจิปฏิบัติ ของท่าน ตั้งแต่ได้ไปกราบนมัสการท่านเป็นครั้งแรก ได้เห็น ได้เข้าไปนั่งใกล้ ได้ฟังธรรมจากถ้อยคำของท่าน
    พร้อมกับรู้สึกสัมผัสจิตใจท่าน อันเปี่ยมด้วยเมตตา กรุณา จากสายตา สีหน้า กาย วาจา ที่ต้อนรับด้วยธรรมปฏิสันถารอันบริสุทธิ์ เป็นที่ประทับใจให้ไประลึกถึงและไปกราบนมัสการได้เห็นได้สดับธรรมรสจากท่านอีกโดยลำดับ
    แม้ขันธ์ของท่านจะแตกดับไป ตามธรรมดาของสังขาร คุณของท่านอันพึงกล่าวได้ว่า อนาลโย คุโณ ย่อมดำรงอยู่เป็นที่ระลึกถึง และเคารพกราบไหว้ตลอดไป”
    หลวงปู่ขาว กับ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ นั้นมีเป็นญาติที่มีความใกล้ชิดกันอย่างยิ่ง เพราะมารดาของหลวงปู่ขาว กับ มารดาของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ นั้น เป็นญาติกัน หลวงปู่ขาว จึงมีศักดิ์เป็นพี่ หรือญาติผู้พี่ของ เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์
    หลวงปู่ขาว กับ เจ้าประคุณ สมเด็จฯ แม้จะมีอายุห่างกัน ๒๙ ปี แต่ท่านทั้งสองพระมหาเถระก็เจริญไปตามเส้นทางแห่งธรรมของพระพุทธเจ้า
    ขณะที่ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กับ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ก็ถือเป็นธรรมยุตรุ่นพี่ – รุ่นน้อง ที่ไล่เลี่ยกันทั้งพรรษาและอายุ นั่นก็คือ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระญาณสังวร(เจริญ สุวฑฺฒมหาเถร) มีชนมพรรษาถึงปัจจุบัน ๙๔ พรรษา ส่วน เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีอายุครบ ๙๐ ปี ในวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๐
    [​IMG]
    พระราชปรีชาญาณมุนี (หลอม มหาวิริโย) เจ้าคณะจังหวัดอำนาจเจริญ
    นอกจากหลวงปู่ขาว กับ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ แล้ว ยังมีพระมหาเถระอีกรูปหนึ่งที่มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับหลวงปู่ขาว และ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ นั่นก็คือ พระราชปรีชาญาณมุนี (หลอม มหาวิริโย ป.ธ.๗) เจ้าอาวาส วัดบ่อชะเนง และเจ้าคณะจังหวัดอำนาจเจริญ ปัจจุบัน
    พระราชปรีชาญาณมุนี นั้นเป็นลูกชายของน้องสาวแม่กา ก่อบุญ มารดาของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ จึงมีศักดิ์เป็นผู้น้องของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    พระราชปรีชาญาณมุนี (หลอม) เจ้าคณะจังหวัดอำนาจเจริญ
    ขณะรับบาตรจากเจ้าประคุณ สมเด็จฯ ที่วัดสัมพันธวงศ์
    </TD><TD>
    [​IMG]
    พระราชปรีชาญาณมุนี (หลอม) เจ้าคณะจังหวัดอำนาจเจริญ
    ขณะกำลังให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเจ้าประคุณ สมเด็จฯ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ปัจจุบัน พระราชปรีชาญาณมุนี กำลังเติบใหญ่เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา สำหรับสมณศักดิ์ เริ่มจาก พระครูศรีเสตุวรคณาภิรักษ์ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นเจ้าคุณชั้นสามัญหรือพระราชาคณะ ที่ พระสิริพัฒนาภรณ์ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชปรีชาญาณมุนี เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๗
    นี่คือ ๓ พระมหาเถระที่เป็นผลผลิตจากบ้านบ่อชะเนง
     
  2. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    การกำเนิดของพระธุดงคกรรมฐานสายอีสาน
    [​IMG]
    หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ถ่ายร่วมกับคณะศิษยานุศิษย์ ณ วัดป่าบ้านข่าโคม จ.อุบลราชธานี
    พระธุดงคกรรมฐานสายอีสาน ภายใต้การนำของพระอาจาย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ๒ พระกรรมฐานจากจังหวัดอุบลราชธานี ที่ได้ชื่อว่าเป็นตักศิลาธรรมะแห่งภาคอีสาน ที่ได้บุกเบิกกองทัพธรรมแห่งอีสาน วางรากฐานแนวการปฎิบัติให้หยั่งรากแก้วมั่งคงในผืนแผ่นดินไทย ถือว่ามีอิทธิพลต่อประชาชนค่อนข้างมาก รวมทั้งเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ที่ได้ติดตามครูอาจารย์ออกธุดงค์ ก่อนที่จะหักเหชีวิตทางธรรมจากกรรมฐานสู่พระปริยัติธรรม
    การกำเนิดของพระธุดงคกรรมฐานสายอีสาน กล่าวกันว่า มาจากเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ เงื่อนไขทางการเมือง เงื่อนไขทางภูมิศาสตร์และเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรม
    กล่าวคือมีความเชื่อกันว่า สังคมชาวนาอีสาน นั้น มีความใฝ่ฝัน และความเชื่อ ที่จะถึงซึ่งสังคมพระศรีอาริย์ หรือ สังคมอุดมทิพย์และสังคมอุดมธรรม ที่ปราศจากความอดอยากและแร้นแค้น ทางกายและทางใจ
    ดังคำกล่าวโบราณของชาวอีสานที่ว่า “ใจบ่ศรัทธาแล้วแสนสิออยกะปานด่า ใจบ่ศรัทธานำเฮ็ดดีกะปานฮ้าย” หมายความว่า สังคมอีสานให้ความสำคัญกับใจเป็นใหญ่และว่าการที่ชาวนาจะถึงซึ่งสังคมพระศรีอาริย์ได้จะต้องฟังเทศน์อย่างน้อย ๑,๐๐๐ คาถา ใน ๑ วัน
    พระมหาไกรวุฒิ มะโนรัตน์ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล เขียนไว้ในงานวิจัยของท่านว่า การโหยหาถึงสังคมอุดมคติ แบบสังคมพระศรีอาริย์ เกิดจากการที่มนุษย์ไม่พอใจสภาพความเป็นอยู่ของตนเองในปัจจุบัน ทั้งจากสภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น รัฐ การปกครองรัฐ กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม การสงคราม และเกิดจากความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ ที่คนมีฐานะทางการเงินแตกต่างกันมาก ในขณะที่คนหนึ่งมีกินมีใช้อย่างฟุ่มเฟือย มีความสุขเลิศลอย แต่อีกคนหนึ่งอดอยาก มีทุกขเวทนา ในสังคมที่อยู่ในสภาพเงื่อนไขเช่นนี้ ก่อให้เกิดความไม่พอใจในสภาพความเป็นอยู่ จึงพยายามสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างขึ้นมาใหม่
    ในสังคมพระศรีอาริย์ ชาวนาอีสานเชื่อว่า เมื่อพุทธศาสนาของพระโคดมล่วงถึง ๕,๐๐๐ ปี โลกจะมีแต่ความเลวร้ายที่สั่งสมกันมาเป็นเวลานาน ผู้คนระส่ำระสายบ้านเมืองอยู่ในยุคมิคสัญญี ต่อมาจะมีผู้มีบุญมาปราบทุกเข็ญ คือ พระศรีอาริย์ ซึ่งเป็นศาสดาของศาสนาพุทธองค์ใหม่ ยุคพระศรีอาริย์ เป็นยุคที่มีแต่ความสุข เป็นยุคที่มีแต่ความอุดมสมบูรณ์ เช่นเดียวกับในคัมภีร์อนาคตวงศ์ กล่าวว่า สังคมอุดมคติในยุคพระศรีอาริย์ที่จะมาถึง จะมีความอุดมสมบูรณ์ทุกประการ แผ่นดินในสกลชมพูทวีป ได้ราบเรียบเสมอกันดังหน้ากลองชัย มีข้าวหอมมะลิเกิดขึ้น มหาชนไม่ได้ค้าขาย ไม่ได้ไถนา ก็มีอาหารบริบูรณ์ มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ฝนจะตกทุกๆ ๑๕ วัน สัตว์ ทั้งหลายไม่ยอมแก่ คนทั้งหลายมีอายุยืน ๘๐,๐๐๐ ปี ผู้คนมีรูปร่างสวยงาม มีเสรีภาพและภราดรภาพ มนุษย์ทุกคนมีคุณธรรมความดี ตั้งมั่นในทาน ศีล ภาวนา เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ มีทรัพย์สินเป็นของกลาง มนุษย์ทุกคนไม่เบียดเบียนกัน เพราะรักษาศีล ๕
    ฉะนั้นคนอีสานจึงใฝ่ฝันและรอคอยสังคมอุดมคติ เพราะสังคมดังกล่าว ถือว่าเป็นสังคมที่ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ ดังสามารถมองผ่านวรรณกรรมหรือเรื่องเล่าทางวัฒนธรรมของอีสานหลากหลายเรื่อง เช่น ในกาพย์หลานสอนปู่ กาพย์วิฑูรบัณฑิต คอกลอยสอนโลก และตำนานพญาอินทร์โปรดโลก ที่มักจะมีเรื่องราว “สังคมพระ ศรีอาริย์” อันถือว่าเป็นความหวังของชาวนาอีสานเสมอ แม้นในความเป็นจริงพวกเขาเพียงแค่ปรารถนาในสังคมอยู่ดีกินดี ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบและได้ทำบุญก็พอ
    การเกิดขึ้นของพระธุดงคกรรมฐานสายอีสานภายใต้การนำของพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และ พระอาจารย์ มั่น ภูริทตฺโต แม้จะมีอิทธิพลอย่างยิ่งจากพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบธรรมยุต แต่การเกิดของพระธุดงค์จากอุบลราชธานีในขณะนั้น ก็อยู่ในช่วงเงื่อนไขหรือบริบทของความเร้นแค้นของภาคอีสาน เช่น เดียวกับบริบทแห่งการเกิดกบฏชาวนาอีสานในการต่อต้านอำนาจรัฐ ในราวปี พ.ศ.๒๔๔๒ – ๒๔๔๕ ที่อาศัยอุดมการณ์พระศรีอาริย์ ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยความยากลำบากของชีวิตชาวนา
    บริบทและเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรมอีสานเช่นนั้นน่าจะมีอิทธิพลต่อการเกิดขึ้นและการแสวงหาสังคมอุดมคติหรือสังคมอุดมธรรมของกลุ่มชาวนาอีสานให้เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน มากกว่าที่จะรอการมาถึงซึ่งผู้มีบุญหรือพระโพธิสัตว์ที่จะมาประกาศศาสนาใหม่ “พระศรีอาริยเมตไตย” อันเป็นระบบความเชื่อสำคัญของชาวนาอีสาน หรือ การสร้างสังคมอุดมธรรมด้วยการต่อสู้กับรัฐหรือชนชั้นปกครองด้วยขบวนการอนาธิปัตย์ แม้ว่าพุทธศาสนาในเมืองไทยจะประดิษฐานทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่ที่มีความชัดเจนและตั้งใจในการประพฤติปฎิบัติให้ถึงซึ่งจุดสูงสุดของพระพุทธศาสนา น่าจะมีความชัดเจน มีแบบแผนหรืออุดมการณ์ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด คือ ในภาคอีสาน โดยเฉพาะในกลุ่มพระธุดงคกรรมฐานสายพระอาจารย์ มั่น ภูริทตฺโต หรือที่เรียกกันว่าพระป่าหรือพระกรรมฐานที่ถือ ธุดงควัตร ๑๓ และให้ความสำคัญในการอยู่ป่าเป็นวัตร
    ดังจะเห็นว่าในระหว่างที่พระอาจารย์มั่น ได้จำพรรษาที่ป่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี หรือ พระราชนิโรธรังสี ผู้เป็นศิษย์ ได้กล่าวกับพระอาจารย์มั่น เกี่ยวกับการจะตั้งสำนักภาคเหนือว่า “แล้วเราจึงปรารถถึงคนภาคอีสานว่า เหมาะสมแก่การปฎิบัติธรรมมากกว่าทุกๆ ภาค โดยเฉพาะภาคเหนือแล้วได้ผลน้อย เราได้ชี้ให้ท่านเห็นว่า ดูแต่ท่านอาจารย์อยู่ทางนี้ได้ ๗-๘ ปีแล้วมีใครบ้างที่ออกปฎิบัติตาม หมู่ที่ตามๆ ท่านอาจารย์มานี้ล้วนแต่ลูกศิษย์เก่าคนภาคอีสานทั้งนั้น บัดนี้คนภาคอีสานไม่ว่าจะเป็นพระ ฆราวาส มีเจ้าคุณธรรมเจดีย์ เป็นต้น ต่างพากันบ่นถึงท่านอาจารย์”
    คณะพระธุดงคกรรมฐานสานอีสานเริ่มออกธุดงค์ไปตามป่าริมฝั่งแม่น้ำโขงครั้งแรกๆ ประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๔๕ ตามหัวไร่ปลายนา ตามผืนป่า และผ่านหมู่บ้านชาวนา และได้ชาวนาในหมู่บ้านภาคอีสาน เป็นลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมาก เช่น พระอาจารย์ สิงห์ ขนตฺยาคโม พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พระอาจารย์ลี ธมฺมโร พระอาจารย์ แหวน สุจิณฺโณ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์ขาว อนาลโย พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์เทส เทสรังสี พระอาจารย์จันทร์ เขมิโย พระอาจารย์พรหม จิรปุญฺโญ พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์ชา สุภทฺโท พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นต้น และเป็นกำลังสำคัญในการสร้างพระธุดงคกรรมฐานสายอีสานและสร้างความมั่นคงของพุทธศาสนาในภาคอีสานและทั่วประเทศไทย
    แม้ตัวพระอาจารย์มั่น ซึ่งเป็นลูกชาวนาในสกุลแก่นแก้ว อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี จะมีความสำคัญ จนกระทั่งมีการอุปมาอุปมัยความสำคัญของพระอาจารย์มั่น ว่าเหมือนกับพระพุทธเจ้าในสังคมชาวนาอีสาน เพราะเป็นผู้ถากถางเส้นทางของมรรคผลนิพพานหรือเส้นทางอริยะ หรือการสร้างสังคมอุดมทิพย์อุดมธรรมในประวัติศาสตร์อีสาน แต่คณะศิษยานุศิษย์ของท่านก็มีความสำคัญยิ่งในการสร้างพระพุทธศาสนาที่สามารถก่อให้เกิดสังคมอุดมธรรมขั้นสูงสุดในยุคปัจจุบันที่ไม่มีการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย หรือ การแร้นแค้น ทุกข์ยาก เช่นที่มีในสังคมชาวนาอีสานต่อไป โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนชาวนาอีสานที่อาศัยอยู่ตามบ้านป่า ชายป่าชายเขา อย่างหมู่บ้านหนองผือ ในจังหวัดสกลนคร บ้านสามผง ในจังหวัดนครพนม บ้านห้วยทราย ในจังหวัดมุกดาหาร ฯลฯ ที่มีพื้นฐานของการใฝ่หาสังคมแห่งความผาสุก ที่สนับสนุนอุปัฏฐากพระธุดงคกรรมฐานตลอดมา
    ปรัชญาหรือแนวคิดของพระธุดงคกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น เชื่อว่าความแร้นแค้น ความอดอยาก ความไม่เป็นธรรมในสังคม เป็นความทุกข์ ถึงจะมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาปรับปรุงจนมีความบริบูรณ์พูนสุขด้วยวัตถุและความสะดวกสบาย หรือความเชื่อของปรัชญาสังคมอุดมธรรมแบบคอมมิวนิสต์หรือแนวใดก็ตาม แต่มนุษย์ยังจะต้องเผชิญกับความยากลำบากของการเจ็บ การแก่และการตาย จากกฎธรรมชาติ
    ฉะนั้นคณะพระธุดงคกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น เห็นว่า สังคมอุดมคติหรือสังคมอุดมธรรมที่แท้จริงคือสังคมแห่งอริยะ นั่นหมายถึงความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาตนเองและหมู่พวกให้ถึงซึ่งอริยะ โดยการวางสังคมอุดมคติในเชิงรูปแบบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา(ไตรสิกขา) หรือ มรรค ๘ รวมทั้งธุดงค์วัตร ๑๓ ซึ่งเป็นสังคมไม่มีชนชั้น ทุกคนเสมอภาคกันด้วยศีล ด้วยพรรษา และพยายามเผยแพร่แนวคิดหลักปฎิบัติดังกล่าวให้กับกลุ่มชน ชาวนาตามหมู่บ้านชนบทภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ของไทย สร้างสังคมอุดมทิพย์ อุดมธรรม ทั้งในระดับต้นโดยการไม่เบียดเบียน การไม่ลักขโมย การเผยแผ่ การอยู่รวมกันในสังคมชาวนาด้วยศีล ๕ หรือในระดับสูงสุดในการเจริญภาวนา
    การเปลี่ยนเปลวจากเถ้ากระดูกกลายเป็นพระธาตุบริสุทธิ์ของคณะพระธุดงคกรรมฐานสายอีสานหลังการมรณภาพ เช่น พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์ตื้อ พระอาจารย์ฝั้น พระอาจารย์ขาว พระอาจารย์แหวน พระอาจารย์จันทร์ พระอาจารย์พรหม พระอาจารย์หลุย พระอาจารย์คำดี พระอาจารย์ชอบ พระอาจารย์หล้า พระอาจารย์จวน พระอาจารย์วัน ฯลฯ ซึ่งเป็นพระชาวนาอีสาน ตอกย้ำให้ผู้คนในสังคมชาวนาเห็นว่า การใฝ่ฝันหาสังคมอุดมธรรม มิได้หมายความว่าจะเป็นเรื่องที่รอคอยชาติหน้า หรือ รอคอยการมาถึงพระศรีอาริย์เสียอย่างเดียว
    พระอาจารย์มั่น เป็นเสมือนผู้มีบุญ ที่ได้มาสร้างสังคมอุดมธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมชาวนา ทั้งสังคมอุดมธรรมที่เป็นเนื้อหาและรูปแบบในหมู่พระกรรมฐาน และการสร้างสังคมอุดมธรรมในหมู่ชาวนา โดยการนำพาการต่อสู้ทางชนชั้นในหัวใจหรือการศึกษาเพื่อพัฒนาสติปัญญาด้วยวิธีการต่างๆ อย่างเข้มข้น เช่น การรักษาศีล เจริญภาวนา เพื่อให้ได้เสรีภาพทางจิตวิญญาณ อันเป็นเสรีภาพจากการไม่เบียดเบียน ความโลภ การเอารัดเอาเปรียบหรือการขูดรีด หรือที่เรียกกันว่า เผด็จการทางชนชั้นที่แท้จริง ทั้งระดับต้น คือผู้ไม่เบียดเบียนและระดับสูงคือหลุดพ้นเป็นอริยะ ดำรงชีวิตด้วยความเมตตากรุณาเป็นปรกติ ก่อให้เกิดความร่มเย็นในหมู่สังคมชาวนาและสังคมเมือง
     
  3. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    เปลี่ยนจาก กรรมฐานสู่ ปริยัติธรรม"
    [​IMG]
    พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาขโม
    พ.ศ. ๒๔๗๓ สามเณรกงมา ในอดีต หรือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ปัจจุบัน หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรก็ได้เดินออกธุดงค์กรรมฐานตามแนวทางของพระธุดงคกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และลูกศิษย์ที่ได้มาจำพรรษาที่บ้านบ่อชะเนง ในช่วง พ.ศ.๒๔๗๐ เรื่อยมา
    สามเณรกงมาพร้อมกับคณะธุดงค์ผ่านจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม ไปยังจังหวัดขอนแก่น จำพรรษาที่ป่าช้าเหล่างา ปัจจุบันนี้เรียกว่าวัดป่าวิเวกธรรม ตำบลพระลับ อำเภอเมือง ญัตติเป็นสามเณรธรรมยุตที่นี่ โดยมีพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระอุปัชฌาย์
    สำหรับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม หรือ พระญาณวิศิษฏ์ ที่เป็นพระอุปัฌาย์ของสามเณรกงกา หรือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ นั้น นอกจากจะเป็นคนจากอำเภออำนาจเจริญด้วยกันแล้ว ยังได้ชื่อว่าเป็น ๑ ใน ๓ เสนาธิการของกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ที่ได้วางแนวทางการวิปัสสนากรรมฐานของพระสายกรรมฐาน
    พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เกิดที่บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๒ มีพี่น้องร่วมกัน ๗ คน ท่านเป็นคนที่ ๔ และพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นคนที่ ๕ อายุห่างจากท่าน ๓ ปี ท่านมีนามเดิมว่า สิงห์ บุญโท บิดาชื่อ เพียอินทวงษ์ (อ้วน) (เพียอินทวงษ์ เป็นตำแหน่งข้าราชการหัวเมืองลาวกาว-ลาวพวน มีหน้าที่จัดการศึกษา และการพระศาสนา) มารดาชื่อ หล้า บุญโท การศึกษาในสมัยที่ท่านเป็นฆราวาส ท่านได้ศึกษาจนเป็นครูสอนวิชาสามัญได้ดีผู้หนึ่ง
    บรรพชา เป็นสามเณร ฝ่ายมหานิกายในสำนักพระอุปัชฌาย์ป้อง ณ บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่ออายุ ๑๕ ปี
    บรรพชาอีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นสามเณรธรรมยุตในสำนักพระครูสมุห์โฉม เจ้าอาวาสวัดสุทัศนาราม ในตัวเมืองอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙
    เมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดสุทัศนาราม วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ขณะดำรงตำแหน่งพระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลอีสาน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาเสน ชิตเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดทัศน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงปู่สิงห์ เป็นสัทธิวิหาริก อันดับ ๒ ของสมเด็จมหาวีรวงศ์ ได้ฉายาว่า ขนฺตยาคโม
    เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยต่อในโรงเรียนสร่างโศกเกษมศิลป์ สอบไล่ได้มัธยมปีที่ ๓ ปี พ.ศ.๒๕๕๔ เข้าสอบไล่ได้วิชาบาลีไวยากรณ์ ในสนามวัดสุปัฏนาราม
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงธรรมการ (ศึกษาธิการ) ให้เป็นครูมูลและครูมัธยมประจำอยู่ที่โรงเรียนสร่างโศกเกษมศิลป์
    ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ท่านได้จัดการให้น้องชาย คือนายปิ่น บุญโท ได้บวชในพระบวรพุทธศาสนา เมื่อมีอายุได้ ๒๒ ปี และได้มาอยู่ที่วัดสุทัศนารามด้วยกัน
    หลวงปู่สิงห์ได้เรียนพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรี ใน พ.ศ. ๒๔๕๘
    ในขณะที่หลวงปู่สิงห์เป็นครูสอนนักเรียนอยู่นั้น ท่านเป็นอาจารย์เทศนาสั่งสอนประชาชนด้วย ได้ค้นคว้าหลักธรรมคำสั่งสอนของพระศาสนาสอนสัปบุรุษอยู่เรื่อยๆ วันหนึ่ง เผอิญท่านค้นพบหนังสือธรรมเทศนาเรื่อง เทวสูตร ซึ่งมีใจความว่า พระบรมศาสดาทรงตำหนิการบรรพชาอุปสมบทที่มีความบกพร่อง คือ การบวชแล้วไม่มีการประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยมีโทษมาก ตกนรกไม่พ้นอบายภูมิทั้ง ๔ จึงเป็นเหตุให้หลวงปู่สิงห์เกิดความสลดสังเวชสำนึกในตน ออกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ โดยลาออกจากตำแหน่งครูผู้สอน
    เมื่อลาออกจากหน้าที่ครูแล้ว ท่านอาจารย์สิงห์ก็ได้ออกปฏิบัติกรรมฐาน ท่านได้พิจารณาว่า การปฏิบัติธรรมในสมัยนี้หมดเขตที่จะบรรลุมรรคผลหรือยัง? ซึ่งท่านก็ได้รู้ว่า การบรรลุมรรคผลนิพพานยังมีอยู่แก่ผู้ที่ปฏิบัติจริง ท่านจึงได้มุ่งหน้าปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐานอย่างจริงจัง
    และในปีนั้นเอง หลังจากท่านอาจารย์มั่นฯ ได้จำพรรษาที่กรุงเทพฯ ในปีนั้นแล้ว ท่านก็มีดำริว่า ท่านควรจะได้แนะนำสั่งสอนธรรมปฏิบัติที่ท่านได้รู้ ได้เห็นมา ซึ่งเป็นธรรมที่ยากที่จะรู้ได้ ซึ่งท่านได้อุตส่าห์พยายามบำเพ็ญมาเป็นเวลานับสิบๆ ปี ควรจะได้แนะนำบรรดาผู้ที่ควรแก่การปฏิบัติให้ได้รู้และจะได้แนะนำกันต่อ ๆ ไป
    ดังนั้นเมื่อออกพรรษาแล้วท่านจึงได้ลาท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ กลับไปจังหวัดอุบลราชธานี จำพรรษาที่วัดบูรพา ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ นั้น ปีนั้นท่านมีพรรษาได้ ๒๕ พรรษา ขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่นั้น ท่านก็พิจารณาว่า ใครหนอจะเป็นผู้ควรแก่การสั่งสอน
    พระราชธรรมเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) ได้บันทึกเรื่องราวหลวงปู่สิงห์ไว้ในหนังสือประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ดังนี้
    “ในขณะนั้นท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นครูสอนนักเรียนอยู่เหมือนกับครูอื่น ๆ เป็นครูที่สอนวิชาสามัญแก่นักเรียนเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ท่านอาจารย์สิงห์ ท่านได้ยินกิตติศัพท์ว่า ท่านอาจารย์มั่นฯ เป็นพระนักปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก ก็ใคร่ที่จะได้ศึกษาธรรมปฏิบัติ
    ในวันหนึ่งหลังจากเลิกสอนนักเรียนแล้ว ท่านก็ได้ไปนมัสการท่านอาจารย์มั่นฯ ที่วัดบูรพา ขณะนั้นเป็นเวลา ๑ ทุ่มแล้ว เมื่อเข้าไปเห็นท่านอาจารย์มั่นฯ กำลังเดินจงกรมอยู่ ท่านก็รออยู่ครู่ใหญ่ จนท่านอาจารย์เลิกจากการเดินจงกรม เหลือบไปเห็นท่านอาจารย์สิงห์ซึ่งนั่งอยู่ที่โคนต้นมะม่วง ท่านจึงได้เรียกและพากันขึ้นไปบนกุฏี หลังจากท่านอาจารย์สิงห์กราบแล้ว ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้พูดขึ้นว่า
    “เราได้รอเธอมานานแล้ว ที่อยากจะพบและต้องการชักชวนให้ปฏิบัติธรรมด้วยกัน”
    เมื่อได้ยินเช่นนั้น ท่านอาจารย์สิงห์ถึงกับตกตะลึง เพราะท่านได้ทราบจิตใจของท่านอาจารย์สิงห์มาก่อน เนื่องจากท่านอาจารย์ได้ตั้งใจมาหลายเวลาแล้วที่จะขอมาพบกับท่าน เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ปฏิบัติธรรมด้วย พอท่านอาจารย์สิงห์ฯ ได้ฟังเช่นนั้นก็รีบตอบท่านไว้ว่า
    “กระผมอยากจะปฏิบัติธรรมกับท่านมานานแล้ว”
    กล่าวจบท่านอาจารย์มั่น ฯ จึงได้อธิบายให้ฟังว่า
    “การบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์นั้นจักต้องปฏิบัติกัมมัฏฐาน คือพิจารณา ตจปัญจกกัมมัฏฐาน เป็นเบื้องแรกเพราะเป็นหนทางพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงตรัสรู้ธรรมด้วยการปฏิบัติอริยสัจจธรรม ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค”
    เมื่ออธิบายไปพอสมควร ท่านก็แนะนำวิธีนั่งสมาธิ ท่านอาจารย์มั่น ฯ เป็นผู้นำนั่งสมาธิในตอนนั้นเป็นเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ท่านอาจารย์สิงห์ก็เกิดความสงบ แล้วจิตสว่างไสวขึ้นทันที เป็นการอัศจรรย์ยิ่ง ภายหลังจากนั่งสมาธิเสร็จแล้ว ท่านอาจารย์มั่นฯ ก็ได้อธิบายถึงวิธีพิจารณากาย โดยใช้กระแสจิตพิจารณาจนเป็นที่พอใจแล้ว ท่านอาจารย์สิงห์ก็ได้ลากลับไป
    จ ากนั้นมาท่านก็พยายามนั่งสมาธิทุกวัน จนเกิดความเย็นใจเกิดขึ้นเป็นลำดับ
    อยู่มาวันหนึ่งท่านอาจารย์สิงห์ก็ไปสอนนักเรียนตามปกติ (ขณะนั้นท่านเป็นครูสอนนักเรียนชั้นวิสามัญใน โรงเรียนสร่างโศกเกษมศิลป์) ซึ่งเด็กนักเรียนในสมัยนั้น เรียนรวมกันทั้งชายและหญิง และอายุการเรียนก็มาก ต้องเรียนถึงอายุ ๑๘ ปี เป็นการบังคับให้เรียนจบ ป. ๔
    ขณะที่ท่านกำลังสอนนักเรียน มองดูเด็กนักเรียนเห็นแต่โครงกระดูกนั่งอยู่เต็มห้องไปหมด ไม่มีหนังหุ้มอยู่เลยสักคนเดียว จำนวนนักเรียนประมาณ ๓๘ คน ได้มองเห็นเช่นนั้นไปหมดทุกคนเลย แม้ท่านจะพยายามขยี้ตาดูก็เห็นเป็นเช่นนั้น ที่สุดก็เกิดความสังเวชใจขึ้นแก่ท่านเป็นอย่างมาก แล้วก็เกิดความเบื่อหน่ายต่อสังขารเป็นอย่างยิ่ง. จึงนับเป็นสิ่งมหัศจรรย์นัก เพราะธรรมดาปฏิภาคนิมิตต้องเกิดในขณะหลับตาอยู่ในฌานจริง ๆ แต่ท่านกลับเห็นทั้งหลับตาและลืมตา อาการที่ท่านเห็นเป็นอยู่เช่นนั้นเป็นเวลานาน จนนักเรียนพากันสงสัยว่า ทำไมครูจึงนั่งนิ่งอยู่เช่นนั้น ทุกคนเงียบกริบ เวลาได้ล่วงไปนานโขทีเดียว ตาของท่านจึงค่อยปรากฏเห็นร่างของเด็ก นักเรียนในชั้นเหล่านั้นมีเนื้อหนังขึ้นจนปรากฏเป็นปกติ หลังจากนั้นท่านก็พูดกับเด็กนักเรียนทั้งหลายเป็นการอำลาว่า
    “นักเรียนทุกคน บัดนี้ครูจะได้ขอลาออกจากความเป็นครูตั้งแต่บัดนี้แล้ว เนื่องจากครูได้เกิดความรู้ในพระพุทธศาสนา ได้เห็นความจริงเสียแล้ว”
    และท่านก็ได้ลาออกจากการเป็นครู เพื่อตั้งหน้าปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังต่อไป และในปีนั้นหลังจากที่ได้กราบถวายตัวเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว หลวงปู่สิงห์ก็ได้นำพระปิ่น ปญฺญาพโล ผู้น้องชายเข้ากราบนมัสการและฟังธรรมกับพระอาจารย์มั่นด้วย ทำให้พระมหาปิ่นเกิดความศรัทธามาก และได้ให้ปฏิญาณว่า จะขอลาไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่กรุงเทพฯ สัก ๕ - ๖ ปี แล้วจึงจะออกมาปฏิบัติธรรมด้วย
    หลังจากที่สามเณรกงมา ญัตติเป็นธรรมยุตแล้ว เมื่อออกพรรษาแล้วเดินธุดงค์กรรมฐาน ไปยังจังหวัดชัยภูมิ กับอาจารย์กรรมฐานผู้เป็นหัวหน้าคณะชื่อท่าน อุ่นเนื้อ

    (บันทึกเพิ่มเติมของผู้จัดทำเว็บ วัดที่จังหวัดชัยภูมิน่าจะเป็น "วัดป่าสุวรรณไพโรจน์" อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็นวัดธรรมยุตเก่าแก่ของเขตนั้นวัดแรกตามบันทึกของพระอาจารย์ิสิงห์ ขนฺตฺยาขโม และท่านเคยไปจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้เมื่อคราวขยายวัดธรรมยุตตามนโยบายขยายการปฏิบัติวิปัสสนา โดยมีพระอาจารย์ิสิงห์ เป็นหัวหน้า ต่อมา ได้มอบให้พระอาจารย์ทองอยู่ ต่อมาได้ดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูวิทิตธรรมวัฒน์ อดีตเจ้าคณะอำเภอบำเหน็จณรงค์ ปัจจุบันมรณภาพแล้ว ให้อยู่จำพรรษาและพัฒนาวัดนี้ต่อมา จากประวัติของท่านพระครูวิทิตธรรมวัฒน์ ก็ได้กล่าวถึงอาจารย์ที่นำพามาเผยแพร่ธรรมในเขตนี้ชื่ออาจารย์อุ่น ซึ่งน่าจะเป็นองค์เดียวกับพระอาจารย์อุ่นเนื้อ)
    พ.ศ. ๒๔๗๔ จำพรรษาที่วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นปีที่เริ่มสร้างวัดนั้น ซึ่งหลวงชาญนิคม ผู้ถวายที่ดินให้สร้างวัด ได้นิมนต์ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จากจังหวัดขอนแก่นมาเป็นเจ้าอาวาส และอบรมสั่งสอนประชาชนชาวนครราชสีมาที่นี่ ท่านจึงนิมนต์พระกรรมฐานที่เป็นศิษยานุศิษย์ ให้มาจำพรรษารวมกัน ที่วัดนั้น สามเณรกงมาจึงติดตามอาจารย์อุ่นเนื้อ มาจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้นด้วย
    [​IMG]
    พระธาตุพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
    ประดิษฐานภายในบูรพาจารย์เจดีย์
    วัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา​
    พ.ศ. ๒๔๗๕ ออกพรรษาแล้วเดินทางกลับไปเยี่ยมญาติโยม ที่บ้านบ่อชะเนง จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ จากนั้นตั้งใจจะออกธุดงค์กรรมฐาน ติดตามอาจารย์และเพื่อนสามเณรที่แยกย้ายกันไปหลังจากจำพรรษาที่วัดป่าสาลวันแล้ว พอดีได้ทราบข่าวว่าเพื่อนสามเณร ๒ รูป ที่เข้าป่าออกกรรมฐานล่วงหน้าไปก่อนถึงมรณภาพเพราะไข้ป่า จึงเกิดความคิดว่าเรายังเด็กเกินไปที่จะเข้าป่า ในวัยนี้ควรจะศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมดีกว่า จึงตัดสินใจเดินทางไปยังจังหวัดนครพนม เพื่อแสวงหาสถานที่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ได้อยู่จำพรรษาที่วัดอรัญญิกาวาส (วัดโพนแก้ว) อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เริ่มเรียนปริยัติธรรมที่นั้นเป็นเวลา ๔ ปี
    [​IMG]
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม - ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
    ในงานฉลองสมโภช ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐
    ณ วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ​
    การเปลี่ยนแนวทางการปฎิบัติจากพระกรรมฐาน ที่ได้รับอิทธิพลมาจากครูอาจารย์สายกรรมฐาน สู่การศึกษาพระปริยัติธรรม ในช่วงเวลานั้น ไม่มีใครสามารถล่วงรู้ความคิดของท่านได้ แต่อย่างไรก็ตามพระครูภาวนากิจจาทร เจ้าอาวาสวัดบ้านเก่าบ่อ เจ้าคณะตำบลหนองแก้ว อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี ได้สะท้อน ผนึกความคิดเกี่ยวกับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ว่าด้วยการออกธุดงค์ตามแนวทางพระกรรมฐาน ไว้อย่างน่าสนใจว่า...
    “...ท่านให้ข้อคิดหลังจากอาตมาตั้งใจว่าจะออกธุดงค์กรรมฐาน ท่านก็บอกว่าดี และเล่าความเป็นมาของท่าน รวมทั้งประสบการณ์ต่างๆ แต่สุดท้าย ท่านสรุปว่า ถ้าจะให้ดีจริงๆ อยู่เป็นหลักดีกว่า เพราะถ้าเราอยู่เป็นหลักจะทำประโยชน์ได้มากกว่าเที่ยวธุดงค์ไปเรื่อยๆ การธุดงค์จะมีแต่ประสบการณ์ส่วนตัว แต่ที่จะช่วยสังคมจริงๆ นั้น อยู่เป็นที่จะดีกว่า…”
    อาจจะด้วยสาเหตุนี้กระมัง ที่ทำให้สามเณรกงมา หรือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตแห่งธรรมจากพระธุดงคกรรมฐาน มาเป็นพระปริยัติธรรม
     
  4. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width=700 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    ตักศิลาที่วัดศรีเทพประดิษฐาราม
    [​IMG]
    วัดศรีเทพประดิษฐาราม จ.นครพนม ก่อนการบูรณะ
    วัดศรีเทพประดิษฐาราม คือสถานที่ที่สามเณรกงมา หรือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เริ่มต้นชีวิตของนักเรียนพระปริยัติธรรม โดยเลือกเรียนแผนกภาษาบาลี
    สำหรับวัดศรีเทพประดิษฐาราม ได้ชื่อว่าเป็นตักศิลาทางการศึกษาของคณะสงฆ์ ก่อตั้งโดยพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) ซึ่งถือเป็นองค์ปฐมกำเนิดวงศ์ธรรมยุตจังหวัดนครพนม การศึกษาบาลีและฝ่ายโลกแผนใหม่ พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตในภาคอีสานที่เติบใหญ่ทั้งในอดีตและปัจจุบัน กล่าวกันว่า ล้วนผ่านการอบรมสั่งสอนของพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) มาแล้วทั้งสิ้น
    [​IMG]
    พระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย)
    พระเทพสิทธาจารย์ มีนามเดิมว่า จันทร์ สุวรรณมาโจ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๔ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑ (เดือนอ้าย) ปีมะเส็ง เป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำนวน ๖ คน ของนายวงศ์เสนา สุวรรณมาโจ และนางไข สุวรรณมาโจ มีอาชีพทำนาทำไร่ ชาติภูมิอยู่บ้านท่าอุเทน หมู่ ๓ ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ในวัยเยาว์ เด็กชายจันทร์ สุวรรณมาโจ มีสุขภาพไม่ค่อยจะแข็งแรง เพราะป่วยเป็นโรคหืดครั้นเจริญวัยใหญ่โตขึ้นมาโรคนี้ก็หายขาดไป จนกระทั่งท่านมีอายุได้ ๖๐ ปี โรคนี้ก็กลับกำเริบขึ้นมาอีก
    พ.ศ.๒๔๓๑ เด็กชายจันทร์ ได้เรียนหนังสืออักษรไทยน้อย หัดเขียนหัดอ่านจากหนังสือผูกโบราณ วรรณคดีพื้นบ้านซึ่งประชาชนในสมัยนั้นนิยมอ่านกันมาก
    พ.ศ. ๒๔๓๔ ขณะที่เด็กชายจันทร์ อายุได้ ๑๐ ขวบ นายวงศ์เสนา สุวรรณมาโจ ผู้เป็นบิดาได้ล้มป่วยและถึงแก่กรรม ในการทำปฌาปนกิจศพของบิดา เด็กชายจันทร์ ได้บรรพชาเป็นสามเณร (บวชหน้าไฟ) เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บิดา โดยมีพระขันธ์ ขนฺติโก วัดโพนแก้ว ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากเสร็จงานศพของบิดาแล้ว สามเณรจันทร์ ก็มิได้ลาสิกขา มุ่งหน้าบวชต่อไป เพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียนตามประเพณี การศึกษา เล่าเรียนในสมัยนั้น หนังสือที่ใช้เป็นอุปกรณ์ ล้วนเป็นคัมภีร์โบราณ เขียนจารเป็นอักษรขอม อักษรธรรม ยากแก่การศึกษาเล่าเรียน ต้องอาศัยความเพียร พยายาม อย่างมาก จึงจะประสบความสำเร็จ
    สามเณรจันทร์ได้ศึกษาอักษรสมัย กับพระอาจารย์เคน อุตฺตโม เมื่อแตกฉานเชี่ยวชาญดีแล้ว จึงเรียนบาลีเดิมที่เรียกว่า มูลกัจจายน์ และคัมภีร์ สัททาสังคหปฏิโมกข์ ปรากฏว่าสามเณรจันทร์อ่านเขียน และท่องจำได้คล่องแคล่ว จนมีผู้มาขอร้องให้ท่าน ช่วยจารหนังสืออักษรขอม อักษรธรรมอยู่เสมอ นอกจากสนใจในด้านปริยัติแล้ว สามเณรจันทร์ สุวรรณมาโจ ก็ยังสนใจในการปฏิบัติกรรมฐานอีกด้วย จึงได้ไปศึกษากรรมฐาน ในสำนักของ พระอาจารย์ศรีทัศน์ ที่วัดโพนแก้ว เป็นเวลาหลายปี พระอาจารย์ศรีทัศน์นับว่าเป็นพระสงฆ์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบองค์หนึ่ง เคยเดินธุดงค์ ไปบำเพ็ญกรรมฐาน แสวงหาวิเวกในสถานที่ต่างๆ จนถึงเขตประเทศพม่า และได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากพม่า
    ครั้นเดินทางกลับถึงอำเภอท่าอุเทนแล้ว ได้ชักชวนประชาชนก่อสร้าง พระธาตุท่าอุเทนขึ้น เพื่อบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้มาจากประเทศพม่าใช้เวลา สร้าง ๗ ปี จึงแล้วเสร็จ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระธาตุท่าอุเทน จึงเป็นปูชนียสถานแห่งหนึ่งของจังหวัดนครพนม ตั้งตระหง่านอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำโขงจนถึงทุกวันนี้ ส่วนสามเณรจันทร์ สุวรรณมาโจ ศึกษาเล่าเรียนอักษรสมัย และปฏิบัติกรรมฐาน อยู่มาจนถึงอายุ ๑๙ ปี ในขณะเดียวกัน ท่านก็รู้สึกเป็นห่วงโยมมารดาและครอบครัว อยากจะช่วยเหลือ ครอบครัว ให้รอดพ้นจากความอยากยากจน คราวใดได้ลาภสักการะมา ก็มักจะส่งไปให้โยมมารดา ในกาลต่อมา เพื่อสามเณรรุ่นเดียวกัน มาชักชวนให้ลาสิกขา ไปทำการค้า สามเณรจันทร์ เห็นว่าเป็นหนทางที่จะร่ำรวย ช่วยเหลือทางบ้านได้ จึงตัดสินใจไปขอลาสิกขา กับพระอุปัชฌาย์ ซึ่งท่านก็อนุญาตให้สึกได้ตามประสงค์
    หลังจากสึกแล้ว นายจันทร์ก็เข้าหุ้นกับเพื่อนร่วมกันทำมาค้าขาย ตอนแรกรู้สึกว่าร่ำรวยทำมาค้าขึ้น ในระหว่างนั้นก็มีเจ้านายที่เคารพนับถือ มาขอร้องให้ไปช่วยจารหนังสือขอม หนังสือธรรม ให้อยู่เสมอ ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาดูแลการค้าขายอย่างเต็มที่ ส่วนเวลากลางคืน ยังมีเจ้านายมากะเกณฑ์ให้ไปอยู่เวรยามมิได้ขาด ชั่วเวลาเพียงไม่กี่เดือน การค้าขายที่คาดกันไว้ว่าจะรวยกลับมีแต่ทรุด เป็นเหตุให้นายจันทร์ เกิดความเบื่อหน่าย ต้องล้มเลิกกิจการไป ท่านรู้สึกไม่สบายใจในชีวิตฆราวาส ซึ่งมีแต่ความสับสนวุ่นวายแก่งแย่งเอารัดเอาเปรียบกัน หาความเที่ยงธรรม และความสงบสุขได้ยาก นอกจากนี้ตลอดระยะเวลา ๕ เดือน ที่อยู่เป็นฆราวาส นายจันทร์ ยังมีสตรีเพศเข้ามาติดต่อพัน ยั่วยวนด้วยวิธีการต่างๆ นานา ยิ่งทำให้รู้สึกอึดอัดใจ ในที่สุดนายจันทร์ ก็ตัดสินใจแน่วแน่ว่า จะกลับมาบวชอีก ประกอบกับตอน นั้นอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงมุ่งหน้าเข้าสู่ร่มเงาผ้ากาสาวพัสตร์ ขอบรรพชาอุปสมบท เป็นพระภิกษุ ในปี พ.ศ.๒๔๔๕ โดยมีพระภิกษุเหล่า ปญฺญาวโร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เคน อุตฺตโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์หนู วิริโย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "เขมิโย" อุปสมบท ณ วัดโพนแก้ว และประจำอยู่ที่วัดนี้
    หลังจากที่อุปสมบทแล้ว พระภิกษุจันทร์ เขมิโย ก็ถูกพวกสตรีเพศ ที่เคยมาติดพันท่านสมัยเป็นฆราวาส มารบกวนไปมาหาสู่อยู่เนืองๆ ท่านเห็นว่า ถ้าขืนอยู่ที่วัดโพนแก้วต่อไป สตรีเพศคงจะมารบกวนยั่วยวนเช่นนี้เรื่อยไป จะทำให้เกิดความเศร้าหมองแก่เพศพรหมจรรย์เข้าสักวัน จึงตัดสินใจกราบลาพระอุปัชฌาย์ ย้ายไปอยู่วัดพระอินทร์แปลง และในขณะเดียวกัน พระอาจารย์เคน อฺตฺตโม ผู้ที่เคยอบรมสั่งสอนท่าน ต้องย้ายไปอยู่วัดพระอินทร์แปลง เพื่อเป็นเจ้าอาวาส ดังนั้น พระภิกษุจันทร์ เขมิโย จึงย้ายติดตามพระอาจารย์เคนไปด้วย
    ในปี พ.ศ.๒๔๔๕ นั่นเอง พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล วัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายกรรมฐาน พร้อมด้วย พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู ฐิตปญฺโญ) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ ซึ่งตอนนั้นยังเป็นพระครู อยู่วัดใต้ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้เดินทางผ่านมา ถึงจังหวัดนครพนม มาปักกลด ปฏิบัติธรรมอยู่ภายใต้ต้นโพธิ์ ตอนใต้เมืองนครพนม ประชาชนจำนวนมากพากัน ไปกราบไหว้ฟังธรรม และขอรับแนวทางการปฏิบัติธรรม บำเพ็ญสมาธิมิได้ขาด พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวงเมืองนครพนมทราบข่าว จึงไปกราบนมัสการ และสนทนาธรรมกับพระอาจารย์ทั้งสอง กราบพบปะสนทนากัน ในครั้งนั้น ท่านพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ได้ชี้แจงความเป็นมาของตน ว่าเคยเป็นศิษย์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิราญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ พร้อมทั้งได้เล่าถึง พฤติกรรมของพระภิกษุสามเณร ในจังหวัดนครพนมให้ท่านทราบ และขอให้ช่วยหาทางแก้ไขด้วย
    พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล จึงแนะนำ ให้เสาะหาคัดเลือกพระภิกษุสามเณร ผู้เฉลียมฉลาดมีความประพฤติดี และสมัครใจที่จะทำทัฬหีกรรมญัตติ เป็นภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุตติกนิกาย เพื่อไปอยู่ศึกษา ข้อวัตรปฏิบัติในสำนัก ของพระอาจารย์ทั้งสอง ให้มีความหนักแน่นมั่นคงในพระธรรมวินัย แล้วจึงส่งกลับ มาอยู่นครพนมตามเดิม จะได้ช่วยกันแก้ไข ความประพฤติปฏิบัติ ของพระภิกษุสามเณร ในจังหวัดนครพนมให้ดีขึ้น ท่านพระยาสุนทรฯ ข้าหลวงเมืองนครพนมได้เสาะแสวงหาพระภิกษุสามเณร ที่มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ทาบทามพระภิกษุได้ ๕ รูป และสามเณรอีก ๑ รูป ๔ รูปนั้นมีพระภิกษุจันทร์ เขมิโย รวมอยู่ด้วย
    พระยาสุนทรฯ ได้นำพระภิกษุสามเณร ทั้ง ๕ รูปมาถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์เสาร์และพระปัญญาพิศาลเถระ สำหรับพระภิกษุจันทร์ เขมิโย นั้นมีความรู้พื้นฐานทางสมถกรรมฐานอยู่ก่อนแล้ว เมื่อเข้ามาเป็นศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์ จึงรู้สึกถูกอัธยาศัยเป็นอย่างยิ่ง ข้อวัตรปฏิบัติใดที่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจ ก็ตั้งใจศึกษาและเรียนถามจากครูบาอาจารย์ พร้อมทั้งใส่ใจฝึกปฏิบัติสมาธิอย่างจริงจัง มีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติ กรรมฐานอย่างรวดเร็ว ในปลายปี พ.ศ.๒๔๔๕ พระอาจารย์เสาร์และพระปัญญาพิศาลเถระ ก็ได้อำลาประชาชนเดินทางกลับสู่จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยพระภิกษุ ๔ รูป คือ พระภิกษุจันทร์ เขมิโย พระภิกษุสา พระภิกษุหอม พระภิกษุสังข์และสามเณรอีก ๓ รูป ในจำนวน ๓ รูปนี้ มีสามเณรจูม จันทรวงศ์ ต่อมาได้เป็นพระธรรมเจดีย์ รวมอยู่ด้วย
    คณะของพระอาจารย์เสาร์ ได้จาริกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ หยุดพักรอนแรมกลางป่าดงพงไพร ได้พบสัตว์ป่านานาชนิด มีเสือ มีช้าง กวาง ละมั่ง ควายป่า เป็นต้น เมื่อเจอสัตว์ป่า พระอาจารย์เสาร์ ก็สั่งให้คณะ นั่งลงกับพื้นดิน แล้วแผ่เมตตาให้สัตว์เหล่านั้น พระภิกษุสามเณรทุกรูป ก็แคล้วคลาดปลอดภัย
    ในการเดินทางครั้งนั้น คณะของพระอาจารย์เสาร์ได้เดินทางมาทางพระธาตุพนม ไปมุกดาหาร อำนาจเจริญแล้วเข้าสู่ตัวเมืองอุบลราชธานี ไปพำนักอยู่วัดเลียบ ในขณะเดียวกันพระภิกษุจันทร์ เขมิโย ก็เป็นพระพี่เลี้ยงอบรมอักขระ ฐานกรณ์ และคำขอญัตติ เพื่อทำทัฬหีกรรมเป็นพระธรรมยุตต่อไป เมื่อท่องบทสวดต่างๆ ได้คล่องแคล่วแล้ว พระอาจารย์เสาร์ก็นำคณะพระภิกษุจันทร์ ไปประกอบพิธีทัฬหีกรรม ญัตติเป็นพระภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุตโดย สมบรูณ์ ณ พระอุโบสถ วัดศรีทอง หรือ วัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ในปัจจุบัน โดยมีพระสังฆรักขิโต (พูน) วัดศรีทองเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูหนู ฐิตปญฺโญ (คือ พระปัญญาพิศาลเถระ) วัดใต้ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษอุบลคุณ (พระอาจารย์สุ้ย) เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาเดิมคือ "เขมิโย"
    หลังจากที่อุปสมบทแล้ว พระภิกษุจันทร์ ก็พักอาศัยอยู่วัดเลียบ ศึกษา ข้อวัตรปฏิบัติกับพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ทางด้านการศึกษาปริยัติธรรม พระภิกษุจันทร์ก็มิได้ทอดทิ้ง ท่านสนใจในการเรียนรู้ อย่างมิรู้เบื่อหน่าย พยายามศึกษาพระปริยัติธรรมแผนใหม่ได้แก่ วิชาธรรมะ วิชาวินัย วิชาพุทธประวัติ และวิชาอธิบายกระทู้ธรรม ซึ่งพระอุบาลี คุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้นำมาเผยแพร่ที่จังหวัดอุบลราชธานี
    ส่วนแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานนั้น พระภิกษุจันทร์ได้ฝึกอบรม ในสำนักของ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และพระปัญญาพิศาลเถระ จนมีความรู้ความก้าวหน้าทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติอย่างแท้จริง มีจิตใจคงมั่น ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งเย้ายวน
    ทางด้านพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวงประจำเมืองนครพนมได้มีหนังสือไป นมัสการพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล อีกฉบับหนึ่งส่งไปกราบทูลพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ ประจำมณฑลอุบลราชธานี เพื่อขอนิมนต์ตัวพระภิกษุจันทร์ เขมิโย กลับไปตั้งสำนักคณะกรรมยุตติกนิกายขึ้นที่เมือง นครพนม พระอาจารย์เสาร์ จึงนำพระภิกษุจันทร์เข้าพบกรมหลวงสรรพสิทธิฯ พระองค์ ท่านทอดพระเนตรเห็น พระภิกษุจันทร์ยังหนุ่มน้อย เช่นนั้นจึงรีบสั่งด้วยความห่วงใยว่า "พระอย่างคุณน่ะหรือจะนำคณะธรรมยุตไปตั้งที่จังหวัดนครพนม รูปร่างเล็ก ยังหนุ่มแน่น ประสบการณ์ยังอ่อน หาพอที่จะรักษาตัวและหมู่คณะได้ไม่ น่าจะไปตายเพราะผู้หญิง ฉันเกรงว่าจะนำวงศ์ธรรมยุตไปทำเสื่อมเสียซะมากกว่า... "
    พระอาจารย์เสาร์ได้ฟังดังนั้น จึงถวายพระพร เล่าถึงปฏิปทาจรรยามารยาท และความเป็นผู้หนักแน่นในพระธรรมวินัยของพระภิกษุจันทร์ผู้เป็นศิษย์ ให้ทราบทุกประการ หลังจากได้ฟังคำบอกเล่าจากพระอาจารย์เสาร์แล้ว กรมหลวงสรรพสิทธิฯ ก็ทรงอนุญาตให้พระภิกษุจันทร์กับคณะเดินทางไปนครพนม พร้อมกับทรงออกหนังสือรับรอง เป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้หนึ่งฉบับ มีใจความว่า "ให้นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเส้นทางที่เดินผ่าน ให้จัดคนตามส่งตลอดทาง พร้อมทั้งให้จัดที่พักอาศัยและภัตตาหารถวายด้วย"
    พระภิกษุจันทร์ เขมิโย พร้อมด้วยคณะได้ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่นครพนม ผ่านป่าดงเข้าหมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่ในเส้นทาง ประชาชนทราบข่าวก็พากันไปกราบไหว้ แสดงความชื่นชมโสมนัส ท่านได้แสดงธรรมโปรดประชาชน มาเป็นระยะๆ การเดินทางไปสมัยนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะไม่มีถนน รถยนต์ก็ไม่มี คงมีแต่ทางเดินเท้ากับทางเกวียน ซึ่งพวกพ่อค้าใช้เป็นเส้นทางติดต่อค้าขาย คณะของพระภิกษุจันทร์ เดินทางรอนแรมมาเป็นเวลา ๒๑ วันจึงลุถึงเขตเมืองนครพนมไปหยุด ยับยั้งอยู่บ้านหนองขุนจันทร์ ทางทิศใต้เมืองนครพนม พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ เจ้าเมืองนครพนม ทราบข่าวก็จัดขบวนออกไปต้อนรับ นิมนต์พระสงฆ์สามเณร ขึ้นนั่งบนเสลี่ยงหามแห่เข้า เมืองนำไปพักอาศัยอยู่ ณ วัดศรีขุนเมือง หรือ วัดศรีเทพประดิษฐารามปัจจุบัน นับจำเดิมตั้งแต่นั้น คือ พ.ศ.๒๔๔๙ เป็นต้นมา และคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตติกนิกาย ได้ปักหลักตั้งมั่นในจังหวัดนครพนม
    พระภิกษุจันทร์ เขมิโย ได้ใช้ความรู้ความสามารถ พัฒนาวัดศรีคุณเมืองให้เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา แต่ก่อนวัดศรีคุณเมือง เป็นวัดรกร้างว่างเปล่าไม่มีพระสงฆ์อยู่อาศัย สภาพโดยทั่วไปจึงรกร้าง เสนาสนะและพระอุโบสถ ทรุดโทรม พระภิกษุจันทร์ได้ขอความอุปถัมภ์บำรุงจากทางราชการ ซึ่งมีพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์เป็นประธาน และขอความอุปถัมภ์จากชาวบ้าน ซึ่งมีขุนทิพย์สมบัติ เป็นหัวหน้า ปรากฏว่าได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายด้วยดี หลังจากที่กลับมาอยู่นครพนม พระภิกษุจันทร์มีงานที่ต้องรับผิดชอบหลายอย่าง ทั้งงานปกครองงานการศึกษา และงานเผยแผ่อบรมสั่งสอนประชาชน ในโอกาสต่อมาทาง ราชการประสงค์จะแต่งตั้งท่านให้เป็นเจ้าคณะเมือง หรือปัจจุบันเรียกว่า เจ้าคณะจังหวัดฝ่ายธรรมยุต ท่านได้พิจารณาเห็นว่าตัวเองยังมีอายุพรรษาน้อยเพียง ๗ พรรษาเท่านั้นขาดประสบการณ์และความรู้ก็น้อย ท่านจึงปฏิเสธ ไม่ขอรับตำแหน่งดังกล่าว แต่ขอเวลาไปศึกษา หาความรู้เพิ่มเติมที่กรุงเทพฯ
    เมื่อทราบความประสงค์ดังนั้นพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ก็ได้ทำหนังสือส่วนตัวฉบับหนึ่ง กราบเรียนท่าน เจ้าคุณ พระสาสนโสภณ เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส เพื่อขอฝากฝังพระภิกษุจันทร์ เขมิโย กับคณะให้ได้พักอาศัย เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ในปี พ.ศ.๒๔๕๑ พระภิกษุสามเณรจำนวน ๕ รูป ซึ่งมีพระจันทร์ เขมิโย เป็น หัวหน้าก็ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยเดินเท้าจากนครพนมไปขึ้นรถไฟที่โคราช สิ้นเวลา ๒๔ วัน จากนั้นนั่งรถไฟจากโคราชเข้ากรุงเทพฯ ไปพักอยู่วัดเทพศิรินทราวาส ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี ได้รับพัดตราธรรมจักรไว้เป็นประกาศนียบัตร ส่วนบาลีสอบไล่ได้ประโยค ๒ กำลังหัดแปลพระธรรมบท เพื่อสอบประโยค ป.ธ.๓ ก็ได้รับหนังสือนิมนต์จากพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ เจ้าเมืองนครพนม ในหนังสือฉบับนั้นกล่าวว่า พระสงฆ์ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวง ที่เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีเทพประดิษฐาราม ได้มรณภาพลง ไม่มีผู้ใดจะทำหน้าที่ ดูแลวัด และปกครองพระสงฆ์สามเณร ดังนั้นจึงขอให้พระภิกษุจันทร์ เขมิโย เดินทางกลับนครพนม ในขณะเดียวกัน พระยาสุนทรฯ ก็มีหนังสืออีกสองฉบับไปถวาย ท่านเจ้าคุณพระสาสนโสภณ และทูลถวายพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กราบทูลถึงความเป็นมาของคณะธรรมยุต ในเมืองนครพนม และขอให้ส่งตัวพระภิกษุจันทร์ เขมิโย กลับไปเพื่อเป็นกำลังสำคัญ ในการบริหารงานของคณะสงฆ์ต่อไป
    เมื่อเห็นความจำเป็นจนไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้พระภิกษุจันทร์ เขมิโย จึงเข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ เพื่อกราบทูลลา พระองค์ทรงมีพระเมตตา ประทานโอวาท และนโยบายในการบริหารงานคณะสงฆ์ธรรมยุต พร้อมทั้งได้ประทานกับปิยภัณฑ์เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับ จำนวน ๘๐ บาท ซึ่งในสมัยนั้น ถือว่าเป็นจำนวนมากพอสมควร นอกจากนี้ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ยังได้ประทานหนังสือเรียนทั้งนักธรรม และบาลี เป็นจำนวนมากมายบรรทุกรถลากได้ ๓ คันรถ พระภิกษุจันทร์เดินทางจาก กรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมาโดยรถไฟ ต่อจากนั้น จึงจ้างเกวียนบรรทุกสิ่งของ และหนังสือ เดินทางผ่านจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย ครั้งถึงหนองคายก็หมดระยะทางเกวียน ต้องจ้างเรือกลไฟของฝรั่งเศส บรรทุกสิ่งของไปตามแม่น้ำโขง จนกระทั่งถึงนครพนม
    นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระภิกษุจันทร์ เขมิโย ก็ทำหน้าที่บริหารงานคณะสงฆ์ อุทิศชีวิตเพื่อพิทักษ์ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ท่านได้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยแผนใหม่ ขึ้นที่วัดศรีเทพฯ พร้อมทั้งได้เปิดสอนปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรม แผนกธรรมศึกษา และแผนกบาลี
    ในปี พ.ศ.๒๔๖๔ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ผู้เคยเป็นอาจารย์ของพระภิกษุจันทร์ เขมิโย ได้ออกเดินธุดงค์กรรมฐาน แสวงหาวิเวกจากจังหวัดอุบลราชธานี มาถึงจังหวัดนครพนม และได้มาพำนักอยู่วัดศรีเทพประดิษฐาราม ซึ่งตอนนั้นยังเป็นป่าใหญ่เหมาะสมแก่การบำเพ็ญเพียร พระภิกษุจันทร์ เขมิโย ได้ออกธุดงค์ติดตามพระอาจารย์เสาร์ ไปด้วย โดยมุ่งข้ามไปฝั่งประเทศลาว เนื่องจากมีภูเขาสลับซับซ้อน มีถ้ำหรือเงื้อมเขามากมาย ควรแก่การเข้าไปพักอาศัยบำเพ็ญภาวนาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อท่านเดินธุดงค์ ผ่านไปถึงหมู่บ้านใด ก็จะชี้แจงแสดงธรรม ให้ชาวบ้านเข้าใจหลักพระพุทธศาสนา และให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลห้า
    คุณงามความดีที่พระภิกษุจันทร์ เขมิโย ได้ประพฤติปฏิบัติมา ด้วยความเพียรพยายามอย่างสุดความสามารถ ทำให้กิจการพระศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ สามารถปลูกศรัทธาปสาทะ ให้เกิดขึ้นในจิตใจของประชาชน จึงทำให้ทางการบ้านเมือง และคณะสงฆ์เห็นความสำคัญของท่าน จึงได้ยกย่องเทิดทูนท่านไว้ในตำแหน่งสมณศักดิ์ ตามลำดับดับนี้ พ.ศ.๒๔๗๔ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรพัดยศที่ พระครูสารภาณพนมเขต ตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดนครพนม พ.ศ.๒๔๘๐ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสารภาณมุนี พ.ศ.๒๔๙๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสารภาณมุนี พ.ศ.๒๕๐๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสิทธาจารย์
    หากนับถาม พ.ศ.แล้ว สามเณรกงมา หรือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ น่าจะมีอายุประมาณ ๑๕ – ๑๖ ปี และ เรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในช่วงที่พระเทพสิทธาจารย์ ยังดำรงสมณศักดิ์ ที่ พระครูสัญญาบัตรพัดยศที่ พระครูสารภาณพนมเขต ตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดนครพนม ส่วนอาจารย์ที่สอนบาลีที่สำนักเรียนวัดศรีเทพประดิษฐาราม คือ พระราชสุธาจารย์ (พรหมา โชติโก)
    [​IMG]
    พระราชสุธาจารย์ (พรหมา โชติโก)
    สามเณรกงมา เรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สอบไล่ได้ประโยค ๒ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิตสมณเพศอีกครั้ง
    </TD></TR><TR><TD class=style5>
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%"> </TD><TD width="50%"> </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width=700 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    พ่อแม่ครูอาจารย์ที่ชื่อพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก
    [​IMG]
    พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตตโก วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
    สามเณรกงมา ก่อบุญ เมื่อครั้งที่เป็นสามเณรอยู่ที่วัดโพนแก้วหรือวัดอรัญญิกาวาส ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม นั้น พระอาจารย์ที่เป็นผู้ชักนำและนำพาสามเณรกงมา ที่เดินธุดงคกรรมฐานจากวัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา ก่อนที่จะกลับมาเยี่ยมญาติโยม ที่บ้านบ่อชะเนง จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ และตั้งใจจะออกธุดงค์กรรมฐาน ติดตามอาจารย์และเพื่อนสามเณรที่แยกย้ายกันไปหลังจากจำพรรษาที่วัดป่าสาลวันแล้ว ก่อนจะตัดสินใจหันมาศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม แล้วจึงตัดสินใจเดินทางมายังจังหวัดนครพนม เพื่อแสวงหาสถานที่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ได้อยู่จำพรรษาที่วัดอรัญญิกาวาส (วัดโพนแก้ว) อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ก่อนเริ่มเรียนปริยัติธรรมที่นั้นเป็นเวลา ๔ ปี คือ พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก วัดโพธิ์ชัย ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
    ฐานะของ พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก นั้น อาจจะเปรียบได้ว่าเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ทีเดียว เพราะหากไม่มีพระอาจารย์เกิ่ง สมเด็จพระมหาวีวงศ์ หรือ สามเณรกงมา จะมีอนาคตไปทางใดคงไม่มีใครรู้ได้
    สำหรับพระอาจารย์เกิ่ง นั้น พระอาจารย์บุญมา มหายโส หรือ พระครูไพโรจน์ปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดอรัญญิกาวาส ที่ สามเณรกงมาหรือสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ไปจำพรรษาเพื่อเรียนพระปริยัติธรรม เล่าว่า พระอาจารย์เกิ่ง เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม มีความรู้อ่านออกเขียนได้ และเป็นผู้ที่ชอบนำพระภิกษุสามเณรที่มีความสมัครใจอยากจะออกฝึกธุดงคกรรมฐาน แสวงหาความวิเวกออกฝึกธุดงคกรรมฐานแสวงหาอาจารย์ที่มีความรู้ ความสามารถเชี่ยวชาญกรรมฐาน
    และพระอาจารย์เกิ่งนี่เองที่เป็นผู้ชักนำ พระอาจารย์บุญมา มหายโส หรือ พระครูไพโรจน์ปัญญาคุณ และพระภิกษุสามเณรที่ร่วมไปในคณะ เข้าไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม หรือ พระญาณวิศิษฏ์ พระอาจารย์มหาปิ่น เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๕ เพื่อกราบนมัสการมอบกายถวายตัวเป็นลูกศิษย์เข้ารับการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อพระอาจารย์มั่น มาเผยแผ่วิปัสสนากรรมฐานอยู่ที่บ้านหนองลาด อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร และนิมนต์พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม หรือ พระญาณวิศิษฏ์ พระอาจารย์มหาปิ่น พาเดินรุกขมูลมาทำการเผยแผ่สมถวิปัสสนากรรมฐานที่ตำบลสามผง เป็นเวลา ๓ เดือน พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ออกจากวัดป่าสามผงไปไม่นาน พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ก็เดินรุกขมูลมาที่จังหวัดอุดรธานีจนมาถึงวัดป่าสามผง และอยู่จำพรรษาก่อนจะนำพระอาจารย์บุญมา มหายโส หรือ พระครูไพโรจน์ปัญญาคุณ วัดอรัญญิกาวาส กับ พระเทพสิทธาจารย์ วัดศรีเทพประดิษฐาราม กับพระภิกษุรูปอื่นๆ ที่ยังเป็นพระมหานิกายอยู่ในเวลานั้นมาญัตติเป็นธรรมยุต
    ในประวัติของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ได้มีการกล่าวถึงพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก ว่า...”หลังจากไปเที่ยวธุดงค์ไปหลายแห่งแล้ว พระอาจารย์ฝั้น ก็กลับมายังวัดอรัญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นวัดที่ท่านจำพรรษา แต่ขณะที่กลับมาถึง ปรากฏว่าก่อนหน้านั้น พระอาจารย์มั่นออกเดินธุดงค์ไปที่ตำบลหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ท่านจึงได้ติดตามไป พอถึงอำเภอสว่างแดนดิน ท่านก็เกิดอาพาธขึ้น การเดินทางจึงช้าลง และมาทราบภายหลังว่า พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และ พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ได้อาราธนานิมนต์พระอาจารย์มั่นไปอยู่บ้านสามผง อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอศรีสงคราม) จังหวัดนครพนม พระอาจารย์ฝั้นได้พยายามติดตามไปจนพบพระอาจารย์มั่น แต่อาการอาพาธของท่านก็ยังไม่หายดี พระอาจารย์มั่นจึงให้ท่านนั่งพิจารณาภายในร่างกายตลอดคืน ก็น่าอัศจรรย์อยู่ไม่น้อย พอรุ่งเช้า อาการอาพาธของท่านก็หายไปราวปลิดทิ้ง ท่านจึงตั้งใจว่า ในปีต่อไปจะจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์มั่นอีก …
    ….พอเดือน ๗ ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ พระอาจารย์ฝั้นได้เข้าร่วมทำญัตติกรรมพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร พร้อมทั้งพระภิกษุที่เป็นศิษย์ของท่านทั้งสองอีกประมาณ ๒๐ องค์ อีกด้วย ในจำนวนพระภิกษุที่มาทำการญัตติ มีพระอาจารย์สิม พุทธาจาโร ซึ่งครั้งนั้นยังเป็นสามเณรรวมอยู่ด้วยรูปหนึ่ง ที่อุทกเขปสีมา (โบสถ์น้ำ) หนองสามผง สำหรับโบสถ์น้ำที่ท่านจัดสร้างขึ้นนี้ ใช้เรือ ๒ ลำลอยเป็นโป๊ะ เอาไม้พื้นปูเป็นแพ แต่ไม่มีหลังคา เหตุที่สร้างโบสถ์น้ำทำสังฆกรรมคราวนี้ ก็เพราะในป่าจะหาโบสถ์ให้ถูกต้องตามพระวินัยไม่ได้ การทำญัตติกรรมครั้งนี้ ได้อาราธนาท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อครั้งเป็นพระครูชิโนวาทธำรง มาเป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้นอีก ๗ วัน ท่านญาครูดี ซึ่งเป็นอาจารย์ของพระอาจารย์ฝั้นมาก่อน ก็เดินทางมาขอญัตติอีกรูปหนึ่ง ณ ที่เดียวกันนี้”
    ขณะที่ในพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินโน วัดมหาชัย ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู กรรมฐานรูปสำคัญก็กล่าวถึงพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก ว่า “...พระอาจารย์กู่กับพระอาจารย์อ่อน เมื่อธุดงค์ไปถึงพระพุทธบาทบัวบกแล้ว พระอาจารย์ฝั้นยังไม่มา ท่านจึงออกธุดงค์ต่อไปทางบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ เพื่อติดตามท่านพระอาจารย์มั่นซึ่งขณะนั้นพระอาจารย์มั่นออกเดินธุดงค์ไปที่ตำบลหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร และที่หนองลาดนี้เองที่ท่านพระอาจารย์มั่นได้พบกับ พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และ พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ซึ่งทั้งสองท่านเป็นพระเถระที่มีพรรษามากแล้ว พระอาจารย์เกิ่ง ในขณะนั้นพรรษาได้ ๑๙ พรรษา ส่วนพระอาจารย์สีลา ๑๗ พรรษา พระอาจารย์เกิ่งเป็นพระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนแถบลุ่มแม่น้ำศรีสงคราม จนกระทั่งได้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นเจ้าสำนักเรียนนักธรรมและบาลี และเป็นครูใหญ่ท่านแรกของโรงเรียนประถมศึกษาแห่งตำบลสามผง ที่ตั้งอยู่ในวัดนี้ด้วย
    ....พระอาจารย์เกิ่งเคยได้ยินกิตติศัพท์ในทางธรรมของท่านพระอาจารย์มั่นมาก่อน ครั้นเมื่อได้ทราบว่าท่านพระอาจารย์มั่นมาอยู่ที่ตำบลหนองลาด ท่านก็ได้ชวนพระอาจารย์สีลา พร้อมพระเณรลูกวัด เดินทางจากบ้านสามผง จังหวัดนครพนม มาถึงหนองลาด จังหวัดสกลนคร ไปฟังเทศน์และสนทนาไต่ถามปัญหาข้ออรรถธรรมที่สงสัยค้างคาใจต่างๆ พร้อมทั้งสังเกตข้อวัตรของหลวงปู่มั่นอย่างใกล้ชิด จนเกิดความอัศจรรย์ใจในข้ออรรถข้อธรรมและจริยาวัตรของท่าน ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส และได้นิมนต์พระอาจารย์มั่น ให้ไปโปรดญาติโยมและพักจำพรรษาที่บ้านสามผง ถิ่นที่พำนักของท่าน พร้อมทั้งขอถวายตัวเป็นศิษย์อยู่ปฏิบัติธรรมใกล้ชิด จนเกิดผลประจักษ์ทางใจอย่างที่ไม่เคยได้สัมผัสรับรู้มาก่อน
    หลังจากออกพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ แล้ว พระอาจารย์เกิ่งก็ได้ติดตามคณะพระอาจารย์มั่นซึ่งประกอบด้วยพระภิกษุสามเณรประมาณ ๗๐ รูป เดินทางมาที่บ้านโนนแดง อำเภอท่าอุเทน ปัจจุบันอยู่ในกิ่งอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม และที่นั้นได้มีการประชุมหารือกันในเรื่องที่จะไปเผยแพร่ธรรมและไปโปรดเทศนาญาติโยมที่เมืองอุบลราชธานี รวมทั้งได้วางระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการอยู่ป่า เกี่ยวกับการตั้งสำนักปฏิบัติ เกี่ยวกับแนวทางแนะนำสั่งสอนปฏิบัติจิต เพื่อให้คณะศิษย์นำไปปฏิบัติให้เป็นระเบียบเดียวกัน
    การเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานีอันเป็นถิ่นบ้านเกิดเมืองนอนของท่านในครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง เพราะบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งใหญ่และเล็กก็ได้เตรียมที่จะเดินทางติดตามท่านในครั้งนี้แทบทั้งนั้น การเดินทางเป็นการเดินแบบเดินธุดงค์ แต่การธุดงค์นั้นเพื่อให้เป็นประโยชน์ด้วย ท่านจึงจัดเป็นคณะๆ ละ ๓ รูป ๔ รูปบ้าง ท่านเองเป็นหัวหน้าเดินทางไปก่อน เมื่อคณะที่ ๒ ไปก็จะพักที่เดิมที่คณะที่ ๑ พัก คณะที่ ๓ – ๔ เมื่อตามคณะที่ ๒ ไปก็จะพักที่เดิมนั้น ทั้งนี้เพื่อจะได้สอนญาติโยมตามรายทางด้วย การสอนนั้นก็เน้นหนักไปในทางกัมมัฏฐาน และการถึงพระไตรสรณาคมน์ ที่ให้ละการนับถือภูตผีปีศาจต่าง ๆ นานา เป็นการทดลองคณะศิษย์ไปในตัวด้วยว่า องค์ใดจะมีผีมือในการเผยแพร่ธรรม
    ในการเดินทางนั้น พอถึงวันอุโบสถก็จะนัดทำปาฏิโมกข์ หลังจากนั้นแล้วก็จะแยกย้ายกันไปตามที่กำหนดหมาย

    การเดินธุดงค์แบบนี้ท่านบอกว่าเป็นการโปรดสัตว์ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พุทธบริษัททั้งหลาย และก็เป็นจริงเช่นนั้น แต่ละแห่งที่ท่านกำหนดพักนั้น ตามหมู่บ้าน ประชาชนได้เกิดความเลื่อมใสยิ่งในพระคณะกัมมัฏฐานนั้นเป็นอย่างดีและต่างก็รู้ผิดชอบในพระธรรมวินัยขึ้นมาก ตามสถานที่เป็นที่พักธุดงค์ในการครั้งนั้น ได้กลับกลายมาเป็นวัดของคณะกัมมัฏฐานเป็นส่วนใหญ่ในภายหลัง โดยญาติโยมทั้งหลายที่ได้รับรสพระธรรมได้พากันร่วมอกร่วมใจกันจัดการให้เป็นวัดขึ้น โดยเฉพาะให้เป็นวัดพระภิกษุสามเณร ฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร บำเพ็ญสมาธิกัมมัฏฐาน
    พ.ศ. ๒๔๗๐ ในพรรษานี้พระอาจารย์เกิ่ง ได้ธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่น มาพักอยู่บ้านหนองขอน ตามที่ชาวบ้านได้อาราธนา ส่วนหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระมหาปิ่นจำพรรษาที่บ้านหัวตะพาน บริเวณใกล้เคียงกัน
    ครั้นออกพรรษาในปี ๒๔๗๐ แล้ว พระอาจารย์มั่น ก็ได้เดินธุดงค์ไปถึงตัวจังหวัดอุบลราชธานี และพักที่วัดบูรพา คณะสานุศิษย์เก่า ๆ ทั้งหลาย อันมีอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร, อาจารย์อ่อน ญาณสิริ, อาจารย์ฝั้น อาจาโร, อาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก พร้อมด้วยศิษย์ อาจารย์หลุย อาจารย์กว่า สุมโน, อาจารย์คูณ, อาจารย์สีลา อาจารย์ดี (พรรณานิคม) อาจารย์บุญมา (วัดป่าบ้านโนนทัน อุดรธานี ในปัจจุบันนี้ ) อาจารย์ทอง อโสโก อาจารย์บุญส่ง (บ้านข่า) อาจารย์หล้า หลวงตาปั่น (อยู่พระบาทคอแก้ง) เมื่อได้ทราบข่าวว่าพระอาจารย์มั่น เดินทางมาพำนักอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ทุกองค์เหล่านี้ก็ได้ติดตามมาในเดือน ๓ เพ็ญ บรรดาศิษย์ทั้งหมด มีหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นต้น ก็ได้ร่วมประชุมอบรมธรรมปฏิบัติอย่างที่เคย ๆ ปฏิบัติกันมา
    ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ระหว่างนี้หลวงปู่สิงห์และพระมหาปิ่น พระมหาเกิ่ง กับพระภิกษุสามเณรรวมกันถึง ๘๐ รูป ก็ได้เดินทางเที่ยววิเวกไปในสถานที่ต่างๆ ก็ได้เที่ยวเทศนาอบรมศีลธรรมประชาชนโดยการขอร้องของเจ้าเมืองอุบลฯ เมื่อจวนเข้าพรรษาได้ไปพักจำพรรษาอยู่วัดบ้านหัวงัว อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นบ้านญาติท่าน
    ในช่วงที่หลวงปู่สิงห์ และพระอาจารย์มหาปิ่นอยู่ที่บ้านหัวงัว ท่านก็ได้ทราบข่าวจากพระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดขอนแก่น เจ้าอาวาสวัดศรีจันทราวาส ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นญาติของท่านด้วย ว่าทางขอนแก่นมีเหตุการณ์ไม่สู้ดี ขณะนั้นพระอาจารย์ฝั้นซึ่งจำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์ที่หนองน่อง บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนมก็ได้มากราบนมัสการและได้ร่วมปรึกษาหารือกับหลวงปู่สิงห์ และพระอาจารย์มหาปิ่นในเรื่องดังกล่าว และเห็นควรลงไปช่วยพระครูพิศาลอรัญเขต เมื่อเห็นพ้องต้องกันแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันออกเดินทาง โดยกำหนดให้ไปพบกันก่อนเข้าพรรษาที่ที่วัดเหล่างา ขอนแก่น
    เมื่อเป็นดังนั้น ชาวอำเภอยโสธร มีอาจารย์ริน อาจารย์แดง อาจารย์อ่อนตา เป็นหัวหน้า พร้อมด้วยชาวบ้านร้านตลาด ได้จ้างเหมารถยนต์ให้ ๒ คัน ท่านและคณะได้พากันออกเดินทางจากอำเภอยโสธรโดยทางรถยนต์ไปพักแรมอยู่ จังหวัดร้อยเอ็ด ๑ คืน แล้วออกเดินทางไปพักอยู่ที่ จังหวัดมหาสารคามที่ดอนปู่ตา ที่ชาวบ้านกล่าวกันว่าผีดุ มีชาวบ้านร้านตลาดและข้าราชการพากันมาฟังเทศน์มากมาย จากนั้นเดินทางต่อไปถึงบ้านโนนยาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เดือน ๓ แรม ๖ ค่ำ และได้ไปรวมกันอยู่ที่วัดเหล่างา ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองขอนแก่น
    ที่เมืองขอนแก่น นั้นคณะหลวงปู่สิงห์และพระมหาปิ่น ได้พบว่าเหตุการณ์ก็ไม่สู้ดี ตามที่พระครูพิศาลอรัญเขตว่าไว้ ดังที่ปรากฏในหนังสือ อัตโนประวัติหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ซึ่งในสมัยนั้นท่านได้ร่วมอยู่ในคณะด้วย ท่านได้เขียนไว้ว่า
    “ข้าได้พักอยู่กับพระอาจารย์สิงห์ ฟังเสียงพวกโยนคนเมืองขอนแก่น ไม่เคยเห็นพระกรรมฐาน ตื่นเต้นกล่าวร้ายติเตียนกันไปสารพัดต่างๆ นานา มิใช่เขาตื่นเต้นไปทางกลัวทางเสื่อมใส ดังพวกชาวเมืองราชคฤห์ ตื่นเต้นคราวได้เห็นพระพุทธเจ้าออกบรรพชาใหม่ไปเที่ยวบิณฑบาตนั้น
    เมืองขอนแก่นพากันตื่นเต้นอย่างเห็นพระกรรมฐานเป็นสัตว์ เรียกพวกพระกรรมฐานว่า “พวกบักเหลือง” คำว่า “บักเหลือง” นี้เขาว่าพระกรรมฐานทั้งหลายเป็นงูจงอาง อีหล้าคางเหลือง
    ฉะนั้นจึงมีคนเขาออกมาดูพวกพระกรรมฐาน เขาจำต้องมีมือถือไม้ ค้อน กันมาแทบทุกคน เมื่อมาถึงหมู่พวกข้าแล้ว ถือค้อนเดินไปมาเที่ยวดูพระเณรที่พากันพักอยู่ตามร่มไม้และร้านที่เอากิ่งไม้ แอ้ม และมุงนั้นไปๆ มาๆ แล้วก็ยืนเอาไม้ค้อนค้ำเอว ยืนดูกันอยู่ก็มีพอควร แล้วก็พากันกลับบ้าน เสียงร้องว่าเห็นแล้วละพวกบักเหลือง พวกอีหล้าคางเหลือง พวกมันมาแห่น (แทะ) หัวผีหล่อน (กะโหลก) อยู่ป่าช้าโคกเหล่างา มันเป็นพวกแม่แล้ง ไปอยู่ที่ไหนฝนฟ้าไม่ตกเลยจงให้มันพากันหนี ถ้าพวกบักเหลืองไม่หนีภายในสามสี่วันนี้ ต้องได้ถูกเหง้าไม้ไผ่ค้อนไม้สะแกไปฟาดหัวมันดังนี้ไปต่างๆ นานา จากนี้ไปก็มีเขียนหนังสือปักฉลากบอกให้หนี ถ้าไม่หนีก็จะเอาลูกทองแดงมายิงบูชาละ ดังนี้เป็นต้น
    ไปบิณฑบาตไม่มีใครยินดีใส่บาตรให้ฉัน จนพระอาจารย์สิงห์ภาวนาคาถาอุณหิสสวิชัย ว่าแรงๆ ไปเลยว่า ตาบอดๆ หูหนวกๆ ปากกืก ๆ (ใบ้) ไปตามทางบิณฑบาตนั้นแหละ
    ทั้งมีแยกกันไปบิณฑบาต ตามตรอกตามบันไดเรือนไปเลย จึงพอได้ฉันบ้าง ทั้งพระอาจารย์ก็มีการประชุมลูกศิษย์วันสองวันต่อครั้งก็มี
    ท่านให้โอวาทแก่พวกลูกศิษย์ได้มีความอบอุ่นใจไม่ให้มีความหวาดกลัวอยู่เสมอ แต่ตัวข้าก็ได้อาศัยพิจารณากำหนดจิตตั้งอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ นี้อยู่เรื่อยไป”
    ที่วัดเหล่างา ปัจจุบันคือวัดวิเวกธรรม จังหวัดขอนแก่น พระปฏิบัติสัทธรรมชุดนี้ ได้ประชุมตกลงให้แยกย้ายกันไปตั้งเป็นสำนักสงฆ์วัดป่าฝ่ายอรัญวาสีขึ้นหลายแห่งในจังหวัดขอนแก่น เพื่อเผยแผ่ธรรม เทศนาสั่งสอนประชาชนให้ละมิจฉาทิฏฐิ เลิกจากการเคารพนับถือภูตผีปีศาจ และให้ตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์ โดยได้แยกกันอยู่จำพรรษาตามสำนักสงฆ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
    ๑. หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์หลุย อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ป่าวิเวกธรรม ตำบลโนนทัน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
    ๒. พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ปธ.๕ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ป่าบ้านพระคือ อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
    ๓. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ป่าบ้านผือ ตำบลโนนทัน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
    ๔. พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ป่าชัยวัน บ้านสีฐาน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
    ๕. พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ป่าบ้านคำไฮ ตำบลเมืองเก่า อำเภอพระลับ จังหวัด ขอนแก่น
    ๖. พระอาจารย์อุ่น พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ป่าบ้านทุ่ง อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
    ๗. พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ป่าบ้านโคกโจด อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
    ๘. พระอาจารย์ซามา อุจุตฺโต พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ป่าบ้านยางคำจังหวัดขอนแก่น
    ๙. พระอาจารย์นิน อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ป่าสุมนามัย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
    เมื่อเหตุการณ์สงบ พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺโต พระอาจารย์บุญมา มหายโส พระอาจารย์ทอง อโสโก พระอาจารย์สนธิ์ พระอาจารย์คำ คมฺภีโร พระอาจารย์จรัส พร้อมด้วยภิกษุและสามเณรหมวดละ ๗ องค์ ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในท้องที่จังหวัดนครพนม
    เมื่อไปถึงจังหวัดนครพนมแล้ว ท่านได้แยกกันอยู่ตามสำนักต่างๆ ดังนี้
    ๑. พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺโต อยู่สำนักวัดโพธิ์ชัย ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้รับตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์
    ๒. พระอาจารย์บุญมา มหายโส อยู่สำนักวัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร มีนามว่าพระครูไพโรจน์ปัญญาคุณ
    ๓. พระอาจารย์ทอง อโสโก อยู่สำนักสงฆ์ป่าเกาะแก้ว อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
    ๔. พระอาจารย์สนธิ์ อยู่สำนักสงฆ์ถ้ำบ้านนาโสก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
    ๕. พระอาจารย์คำ คมฺภีโร อยู่สำนักสงฆ์ป่าสิลาวิเวก อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม
    ๖. พระอาจารย์จรัส อยู่สำนักสงฆ์ป่าท่าควาย อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
    วัตรปฎิบัติของพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก นั้นเลื่องลือ พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือหลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี กล่าวถึงไว้ว่า “ท่านอาจารย์เกิ่ง นี่ก็เป็นคนสามผง ลูกศิษย์องค์สำคัญองค์หนึ่งของหลวงปู่มั่น ท่านเป็นพระที่จริงจังมากนะ เด็ดเดี่ยว ท่านอาจารย์เกิ่ง เราก็คุ้นเคยกับท่านอยู่แล้ว อันนี้เราไม่ได้เห็นด้วยตาตัวเอง ได้ทราบว่าอัฐิธาตุของท่านเป็นพระธาตุ เราเชื่อไว้ก่อนแล้วแหล่ะ เรายังไม่ไปเห็นแต่เราก็เชื่อไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว เพราะเชื่อปฎิปทาการดำเนินความสัตย์ ความจริงของท่าน เคร่งครัดในธรรมวินัยมาก เพราะเชื่อปฎิปทาของท่านเป็นความเด็ดเดี่ยวจริงจังมากทุกอย่าง คล้ายคลึงกับนิสัยพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นเรา นิสัยเด็ดเดี่ยวจริงๆว่าอะไรเป็นอันนั้นเลยเที่ยว นี่แหละหลวงปู่มั่นเราเป็นอย่างนั้น เด็ดเดี่ยว ว่าอะไรเป็นอันนั้น ท่านอาจารย์เกิ่งก็เหมือนกัน นิสัยแบบเดียวกัน”
    [​IMG]
    หลวงปู่เกิ่ง อธิมุตฺตโก
    พระอาจารย์เกิ่ง ในฐานะที่นอกจากจะเป็นพระกรรมฐานแล้ว ยังเป็นเป็นเจ้าสำนักเรียนนักธรรมและบาลี และเป็นครูใหญ่ท่านแรกของโรงเรียนประถมศึกษาแห่งตำบลสามผง นี่เองที่เป็นผู้ที่ชักนำและชี้ช่องทางให้สามเณรกงมา ซึ่งขณะนั้นเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ที่วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม และน่าจะเห็นแววการเรียนเก่ง เรียนดีของสามเณรกงมา ในช่วงที่ได้รับใช้ใกล้ชิดอยู่ที่วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม ได้ก้าวเข้าสู่โลกของการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี อย่างจริงจัง
    กล่าวคือ พ.ศ. ๒๔๗๙ พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก ได้พบกับ ท่านเจ้าคุณพระรัชชมงคลมุนี เจ้าอาวาสวัด สัมพันธวงศ์ ขณะท่านเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่จังหวัดระยอง ท่านอาจารย์เกิ่ง ได้กล่าวฝากสามเณรกงมา หรือสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กับท่านเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ท่านก็เมตตารับ เมื่อฝากเรียบร้อยแล้ว ท่านอาจารย์เกิ่ง ก็ส่งข่าวไปบอกสามเณรกงมาว่า ได้ฝากให้อยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ให้เดินทางลงมาจากนครพนมเพื่อมาอยู่วัดสัมพันธวงศ์ โดยกำชับให้พระช่วยอธิบายเส้นทางการเดินทางและซักซ้อมจนเข้าใจดี จึงพร้อมกับเพื่อนชื่อ สามเณรทองทิพย์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นไพบูลย์ ภายหลังได้กลับไปอยู่สกลนคร สุดท้ายได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ที่ พระเทพสุเมธี เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดศรีโพนเมือง อดีตเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธ) ) ออกเดินทางจากนครพนม ไปพักจังหวัดสกลนคร และเดินทางไปขึ้นรถไฟที่จังหวัดอุดรธานี ในสมัยนั้นรถไฟไม่ได้แล่นรวดเดียวถึงกรุงเทพฯ ต้องแวะพักที่จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดนครราชสีมา
    [​IMG]
    เมื่อลงรถไฟที่สถานีรถไฟหัวลำโพงแล้ว ก็เข้าไปถามตำรวจว่าวัดสัมพันธวงศ์ไปทางไหน เมื่อทราบแล้วก็เดินเท้ามาและแวะถามมาเรื่อย ๆ จนถึงกำแพงวัดก็จวนพลบค่ำ เมื่อเข้ามาในวัด ทราบว่าท่านเจ้าอาวาสไม่อยู่ไปประชุม วันนั้นกว่าท่านจะกลับก็ประมาณสี่ทุ่ม พระจึงจัดให้พักที่กุฎีสนธิ์ประสาท
    เช้าวันรุ่งขึ้นหลังฉันเช้าแล้ว ก็ไปกราบท่านเจ้าอาวาส เขียนใบรับรอง ท่านก็เมตตาให้ไปอยู่ที่กุฎีนิตยเกษม โดยอยู่ในความกำกับดูแลของท่านเจ้าคุณ พระเนกขัมมมุนี (เฉย ยโส) ภายหลังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพปัญญามุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ รูปที่ ๑๐ จากนั้นก็อยู่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดสัมพันธวงศ์ตามที่ได้ตั้งใจไว้
    </TD></TR><TR><TD class=style5>
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%"> </TD><TD width="50%"> </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width=700 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    บรรพชาเป็นพระภิกษุ เปลี่ยนชื่อจาก กงมาเป็น มานิต"
    สมเด็จพระราชาคณะรูปแรกของวัดสัมพันธวงศ์

    [​IMG]
    อาจจะกล่าวได้ว่าชีวิตของการศึกษาพระปริยัติธรรมของสามเณรกงมา ก่อบุญ เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงที่ ณ วัดสัมพันธวงศ์ ในสำนักเรียนของวัดนั่นเอง นี่อาจจะเป็นการมองการณ์ไกลของพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก ที่เปรียบเสมือนผู้ชี้ทางธรรมและมีความลึกซึ้งเข้าใจในหน้าที่ของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ที่จะต้องสืบทอดพระพุทธศาสนาไม่ว่าจะอยู่ในฝ่ายคันถธุระ หรือฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    งานของฝ่ายคันถธุระ คือ ศึกษาพระปริยัติธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อนำหลักธรรมไปปฎิบัติ และอบรมสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดาต่อไป พระภิกษุที่เน้นด้านคันถธุระการศึกษาพระปริยัติธรรม มักจะอยู่วัดในเมือง เพื่อความสะดวกในการแสวงหาความรู้ ดังนั้นจึงมักเรียกกันว่าพระภิกษุฝ่ายคามวาสี อีกชื่อหนึ่ง
    ส่วนพระภิกษุที่เน้นวิปัสสนาธุระ คือ นำเอาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไปประพฤติปฎิบัติอย่างเคร่งครัด โดยเน้นที่การฝึกจิตสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญาในลักษณะของภาวนามยปัญญา เพื่อให้เข้าถึงหลักธรรมของศาสนา ปัญญาที่เกิดการปฎิบัติภาวนาคือแพรวิเศษที่พาข้ามทะเลสังสารวัฏ พระภิกษุฝ่ายนี้จึงปลีกเร้นเดินธุดงค์เข้าป่า หาสถานที่อันเหมาะสมแก่การบำเพ็ญภาวนา เรียกพระภิกษุฝ่ายนี้ว่า ฝ่ายอรัญวาสี หรือ พระป่าหรือ พระธุดงค์ แนวทางนี้เป็นเส้นทางหลักของพระภิกษุธรรมยุติกนิกายสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ที่ได้ถือเป็นหัวใจที่ปฎิบัติสืบทอดกันลงมาจนถึงปัจจุบัน
    เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ นั้น เริ่มต้นจากเส้นทางจากฝ่ายวิปัสสนาธุระ ก่อนจะก้าวเข้าสู่ฝ่ายคันถธุระ เริ่มเรียนเปรียญธรรมประโยค ๓ ต่อจากประโยค ๒ และนักธรรมชั้นตรี นักธรรมชั้นโทที่ได้มาแล้วจากวัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม
    ชีวิตนักเรียนพระปริยัติธรรม ของสามเณรกงมา ไม่มีอะไรติดขัด เนื่องจากเป็นคนหัวดี ความจำเป็นเลิศ เนื่องเพราะเคยผ่านการวิปัสสนากรรมฐานซึ่งช่วยได้มากในเรื่องสมาธิในการเรียนการสอน และสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยคในปีที่เดินทางมาอยู่จำพรรษาที่วัดสัมพันธวงศ์
    จากนั้น พ.ศ.๒๔๘๐ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีสามเณรกงมา ก็เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๐ โดยมีพระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ รูปที่ ๙ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระรัชชมงคลมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุวรรณรังษี (สุวรรณ ชุตินฺธโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูปลัด (เส็ง ทินฺนวโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ต่อมาภายหลังได้พระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระเนกขัมมมุนี
    พร้อมกันนั้นพระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) ก็ได้เปลี่ยนชื่อให้กับสามเณรกงมา ก่อบุญ เป็นมานิต หรือเรียกว่า พระมหามานิต ถาวโร
    [​IMG]
    สำหรับพระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) พระอุปัชฌาย์ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ นั้น เป็นพระราชาคณะชั้นรองสมเด็จ เป็นชาวจังหวัดระยอง เบื้องต้นศึกษาอักขรสมัยอยู่กับบิดา ต่อมามีอายุพอสมควร คือประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๙ ถึง พ.ศ. ๒๔๔๐ ไปอยู่เรียนหนังสือกับพระครูสังฆการบูรพทิศ (เคลิ้ม) เจ้าอาวาสวัดสมมติเทพฐาปนาราม (วัดแหลมสน) ผู้เป็นลุง ถึง พ.ศ. ๒๔๔๑ มาอยู่วัดรังษีสุทธาวาส พระนคร กับพระภิกษุปานและพระภิกษุเฟื้อ ได้ระยะหนึ่ง ป่วยเป็นไข้จึงกลับไปอยู่บ้านที่อำเภอแกลง พ.ศ. ๒๔๔๒ เมื่อหายไข้แล้วได้เข้าเรียนหนังสือไทยและสอบไล่ได้ชั้นมูล ๑ – ๒ – ๓ ได้ ที่โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
    พ.ศ. ๒๔๔๒ – ๒๔๔๓ มาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร พระนคร กับพระสุคุณคณาภรณ์ คือ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์) ได้ศึกษาและสอบประโยคประถม ๑ – ๒ – ๓ - ๔ ได้ที่โรงเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
    พ.ศ. ๒๔๔๕ เรียนและสอบประโยค ๑ ได้ที่โรงเรียนสายสวลีภิรมย์ (โรงเลี้ยงเด็ก)
    พ.ศ. ๒๔๔๖- ๒๔๔๗ ไปเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดสุทัศนเทพวราราม และสอบประโยค ๒ ได้ ที่โรงเรียนวัดราชบูรณะ เป็นอันจบการศึกษาในสมัยนี้
    [​IMG]
    ขณะที่อยู่วัดบวรนิเวศวิหารกับพระสุคุณคณาภรณ์ หรือเจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ นั้น ท่านมีโอกาสได้เฝ้ารับใช้ในเจ้าพระคุณ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสอยู่เสมอ เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า พิจารณาเห็นว่า เจ้าพระคุณ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯลฯ ทรงพอพระหฤทัย จึงนำไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กอยู่ในสำนัก ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า พระองค์นั้น
    ครั้นจบการศึกษาอักขรสมัยแล้ว เจ้าพระคุณ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงพระกรุณาโปรดให้ท่านเข้าทำงานในหน้าที่เลขานุการในพระองค์ ผู้ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ทั่วสังฆมณฑล ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา นับว่าท่านทำการงานรับใช้พระศาสนามาตั้งแต่ยังมิได้อุปสมบท
    ระหว่างนั้น ท่านตั้งใจจะศึกษาวิชากฎหมาย ได้เตรียมตำราเรียนตลอดจนเครื่องแต่งกายไว้พร้อมแล้ว เผอิญเป็นไข้หวัด มีอาการมากจนอาเจียนเป็นโลหิต คิดว่าตัวจะต้องตาย แต่เมื่อค่อยทุเลา เกิดศรัทธาปรารถนาจะอุปสมบทเสียก่อนสัก ๓พรรษา เมื่อลาสิกขาแล้วถึงจะเข้าเรียนกฎหมายตามที่ตั้งใจไว้ต่อไป
    เมื่ออายุครบอุปสมบทแล้ว เจ้าพระคุณ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภก โปรดจัดกาอุปสมบทให้ โดยพระองค์ทรงเป็นพระอุปัชฌายะ และทรงโปรดให้ เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระญาณวราภรณ์ เป็นพระกรรมวาจารย์ อุปสมบทกาลเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๙ ณ พัทธสีมาวัดบวรนิเวศวิหาร
    ในระยะแรกนั้น ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยตามธรรมเนียมของภิกษุใหม่ในสำนักของสมเด็จพระอุปัชฌาย์บ้าง ในสำนักของสมเด็จพระกรรมวาจาจารย์บ้าง เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในทางปฏิบัติ ความตั้งใจที่จะลาสิกขาออกไปศึกษากฎหมายเพื่อความเจริญในทางโลกจางไป จึงสละตำรากฎหมายและเครื่องแต่งกายที่เตรียมไว้จนหมดสิ้น คิดว่าเมื่ออยู่ในหมู่คณะครบ ๕ พรรษา ใด้นิสัยมุตก์แล้ว จะกราบทูลลาสมเด็จพระอุปัชฌาย์ ออกจากหมู่แสวงหาที่สงบ เจริญสมณธรรมตามอัธยาศัยต่อไป
    แต่การมิได้เป็นไปตามที่ท่านคิด ทั้งนี้เนื่องมาจากพระโอวาทสมเด็จพระอุปัชฌาย์ ที่ทรงประทานแก่ พระมหาวัน วัดมกุฏกษัตริยาราม มีความเกี่ยวเนื่องคล้ายคลึงกับความนึกคิดและชีวิตของท่าน เมื่อใคร่ครวญไป ทำให้ต้องคำนึงถึงตัว ถึงความเป็นอยู่เนื่องด้วยผู้อื่น และอะไรต่ออะไรอีกหลายเรื่อง ที่สุดความที่ตั้งใจไว้ก็เป็นอันต้องระงับไปอีก ปลงใจว่าจะทำไปตามอำนาจแห่งเหตุ จึงยอมรับตำแหน่งฐานานุกรม ช่วยทำการงานของหมู่คณะ ตั้งใจศึกษาพระปริยัติธรรมจนแปลหนังสือได้ แต่ก็ไม่มุ่งหมายที่จะเข้าสอบเอาประโยคประธาน เพราะต้องการแต่เพียงศึกษาเพื่อคุ้มตัว และพอรับใช้ในหมู่คณะให้สมกับเวลาที่ผ่านไปเท่านั้น
    เมื่อพรรษา ๙ ทรงโปรดให้ย้ายไปเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส
    ในเวลาต่อมาต่อมา ได้ทรงโปรดให้ย้ายกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ด้วยทรงมีพระประสงค์จะส่งมาเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ตามที่พระพินิตวินัย (แจ้ง ปิยสีโล) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ สมัยนั้นทูลขอ
    หน้าที่การงานเมื่อมาอยู่วัดสัมพันธวงศ์ เมื่อย้ายจากวัดบวรนิเวศวิหาร มาอยู่เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ในระยะแรกได้ทำหน้าที่สอนนักธรรมชั้นตรี - โท - เอก ตลอดจนสอนบาลีไวยากรณ์และแปลธรรมบทเบื้องต้น นอกจากนั้นได้จัดตั้งโรงเรียนราตรีสัมพันธวงศ์ สอนภาษาอังกฤษแก่เด็ก ๆ เป็นวิทยาทานด้วย
    พ.ศ. ๒๔๖๐ พระพินิตวินัย เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ มรณภาพ ได้จัดการบำเพ็ญกุศล และขอพระราชทานเพลิงศพตามประเพณี ทรงโปรดให้เป็นเจ้าอาวาสวัดครองวัดสัมพันธวงศ์ ตั้งแต่ศกนี้เป็นต้นมาจนถึงมรณภาพ เป็นเวลา ๕๐ ปี
    ตลอด ๕๐ ปี พระมหารัชชมังคลาจารย์(เทศ นิทฺเทสโก) ได้เฉพาะการศึกษาในวัด โดยการฟื้นฟูทั้งนักธรรมและบาลี จนมีเปรียญประโยคสูงเกิดขึ้นมาก นอกจากนั้น ได้จัดหลักสูตรสวดมนต์ให้ภิกษุสามเณรที่มาอยู่ใหม่ได้ท่องบ่นทรงจำ แล้วทำการสอบเดี่ยวสอบหมู่ให้ได้เสียก่อน จึงรับเข้าเป็นภิกษุสามเณรในวัด ได้จัดให้ภิกษุสามเณรตั้งแต่พระเถระจนถึงนวกะ หัดเทศน์ปฏิภาณ เมื่อเวลาทำวัตรเย็นแล้ววันละรูปตามลำดับ หลังจากนั้นได้จัดให้มีการปฏิบัติ คือเจริญสมถกัมมัฏฐาน วิปัสสนากัมมัฏฐาน วันละประมาณ ๒๐ – ๓๐ นาที เป็นอย่างน้อย
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ก็ถือเป็น ๑ ในผลิตจากการจัดการศึกษาของพระมหารัชชมังคลาจารย์ พ.ศ.๒๔๘๑ พระมหามานิต สอบได้เปรียญธรรมประโยค ๔ พร้อมกับนักธรรมชั้นเอกและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูผู้ช่วยสอนบาลีไวยากรณ์ในปีนั้น
    [​IMG]
    พ.ศ.๒๔๘๔ สอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยคได้รับการแต่งตั้งเป็นครูสอนบาลีไวยากรณ์ ขณะเดียวกันในปีถัดมาคือ พ.ศ.๒๔๘๕ ก็ก้าวเข้าสู่สายงานการปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุต โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขานุการเจ้าคณะธรรมยุต จังหวัดธนบุรี – นนทบุรี – ปทุมธานี เรียกว่าทำควบคู่กันไปทั้งงานด้านการศึกษาและงนด้านการปกครอง
    พ.ศ.๒๔๘๖ สอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค ถัดมาอีก ๑ ปี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูสอนธรรมบทให้กับนักเรียนบาลีประโยค ๓ ของสำนักเรียนวัดสัมพันธวงศ์และได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจบาลีสนามหลวง ในปี พ.ศ.๒๔๘๗
    พ.ศ.๒๔๘๘ สอบได้เปรียญธรรม ๗ ประโยคและได้รับการแต่งตั้งเป็นครูสอนเปรียญธรรมประโยค ๔ และเป็นครูสอนประโยคสูงขึ้นคือ ๕ – ๖ ในปีต่อๆมา จนก้าวขึ้เป็นครูใหญ่ประจำสำนักเรียนวัดสัมพันธวงศ์ เป็นผู้อำนวยการศึกษา เป็นกรรมการสงฆ์ เป็นเลขานุการวัดสัมพันธวงศ์และเลขานุการกรรมการจัดผลประโยชน์
    พ.ศ.๒๔๙๒ สอบได้เปรียญธรรม ๘ ประโยค
    พ.ศ.๒๔๙๘ ได้รับตราตั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดสัมพันธวงศ์ ก่อนที่จะก้าวถึงจุดสุดยอดทางการศึกษาของคณะสงฆ์ นั่นก็คือ พ.ศ.๒๔๙๙ สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค และเป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยคของคณะสงฆ์คณะธรรมยุตไม่กี่รูปที่สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ในช่วงเวลานั้น โดยก่อนหน้านั้นที่รู้จักกันดี มี สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร ) กรรมการมหาเถรสมาคม วัดเทพศิรินทราวาส ต่อมา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระญาณวโรดม และสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ก็ได้ร่วมกันทำงานร่วมกันสร้างความเจริญก้าวหน้ามั่นคงให้กับคณะสงฆ์และคณะธรรมยุต
    [​IMG]
    หลังสอบได้เป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค พระมหามานิต ถาวโร ได้รับพระราชสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ มีราชทินนาม ที่ พระอริยเมธี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ในปี พ.ศ.๒๔๙๙ พร้อมกับรับธุระพระศาสนาด้านการปกครองได้รับการแต่งตั้งเป็น พระวินัยธรจังหวัด ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๐๓ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยหัวหน้าพระธรรมธรคณะธรรมยุต
    พ.ศ.๒๕๐๗ พระอริยเมธี (มานิต ถาวโร) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชกวี
    ถัดมา พ.ศ.๒๕๑๑ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ และ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค ๘ – ๑๐ ของคณะธรรมยุต
    พ.ศ.๒๕๑๔ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ รูปที่ ๑๑ รับช่วงจากพระเทพปัญญามุนี (เฉย ยโส) เจ้าอาวาสรูปที่ ๑๐ ซึ่งเป็นพระที่ดูแลสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มาตั้งแต่ก้าวเข้าสู่วัดสัมพันธวงศ์ วันแรก และปีเดียวกันได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายะวิสามัญและที่สำคัญในปีนั้น พระราชกวี (มานิต ถาวโร) ได้รับ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนาม พระเทพปัญญามุนี อันเป็นราชทินนามเดียวกับพระเทพปัญญามุนี (เฉย ยโส) เจ้าอาวาสรูปที่ ๑๐
    พ.ศ.๒๕๑๖ พระเทพปัญญามุนี (มานิต ถาวโร) ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าคณะภาค ๑๐ – ๑๑(ธรรมยุต) ต่อมา พ.ศ.๒๕๑๙ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะภาค ๙ – ๑๑ (ธรรมยุต) และขึ้นเป็นเจ้าคณะภาค ๑๑ ในเวลาต่อมา และในปีเดียวกันนั้นเอง ก็ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ จาก พระเทพปัญญามุนี เป็น พระธรรมบัณฑิต
    พระธรรมบัณฑิต (มานิต ถาวโร) ได้เจริญก้าวหน้าในด้านการปกครองและสมณศักดิ์เรื่อยมา กล่าวคือ ในปี พศ.๒๕๒๑ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) และยังดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน และได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระอุดมญาณโมลี ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ (การสถาปนาสมณศักดิ์ในราชทินนามที่ "พระอุดมญาณโมลี" เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นรูปแรกที่ดำรงสมณศักดิ์ในราชทินนามนี้)
    พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นกรรมการตวจชำระพิมพ์อรรถกถาพระไตรปิฎก ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ และเป็นพระอุปัชฌาย์อุปสมบทพระภิกษุสามเณร จำนวน ๗๐ รูป เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ นอกจากนั้ในปีนั้น ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าพระธรรมฑูตสายที่ ๕ ด้วย
    [​IMG]
    พ.ศ.๒๕๔๔ วันที่ ๕ ธันวาคม ถือเป็นปีประวัติศาสตร์ของวัดสัมพันธวงศ์ และของชาวบ่อชะเนง จังหวัดอำนาจเจริญหรืออาจจะตลอดภาคอีสาน เมื่อเด็กชายลูกชาวนาแห่งตระกูลก่อบุญ ที่ตัดสินใจไม่เรียนหนังสือเพราะไม่ได้รับความยุติธรรมจากครูประจำโรงเรียน ก่อนก้าวเข้าสู่ผ้าเหลืองจากสามเณรน้อยที่เติบโตในกองทัพธรรมตั้งใจจะเป็นพระป่าหรือพระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล จะได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เป็น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นสมณศักดิ์สมเด็จพระราชาคณะในราชทินนามเดียวที่ใช้เฉพาะสมณศักดิ์สมเด็จพระราชาคณะของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
    </TD></TR><TR><TD class=style38>
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%"> </TD><TD width="50%"> </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width=781 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=777 background=pic/somdej01.JPG><TABLE borderColor=#ffffff cellPadding=0 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>
    เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวรเถระ ป.ธ.๙)
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พระสุปฏิปันโน ผู้ปักธง “กรรมฐาน” กลางมหานคร


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD background=pic/somdej01.JPG><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width=700 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    เส้นทางพระสุปฏิปันโน

    [​IMG]
    ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าเส้นทางของพระสุปฏิปันโน นั้น ไม่ใช่เส้นทางของผู้ใดผู้หนึ่ง หากแต่เป็นเส้นทางที่เปิดกว้างสำหรับทุกๆ คน ที่จะสามารถเข้าถึงเส้นทางแห่งธรรม พระพุทธศาสนานั้นอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน หลายยุคหลายสมัย แม้เวลาเปลี่ยนแปลงไป แต่คำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังเป็นที่นับถือศรัทธา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของสังคมไทยอย่างไม่เปลี่ยน
    บรรดาลูกศิษย์พระกรรมฐานหรือสาแหรกพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ทุกๆ องค์ก็ได้พยายามสืบทอดธรรมะที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นต่อรุ่นสืบๆ ต่อกันมาจนถึงปัจจุบันได้สร้างคุณประโยชน์หลายอย่างใหกั้บพระพุทธศาสนาและสังคมไทยมากมาย
    [​IMG]
    เจ้าประคุณ สมเด็จฯ เป็นหนึ่งในนั้นที่ได้พยายามสืบทอดธรรมะที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นต่อรุ่นสืบๆ ต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน นำเอาความรู้จากการที่ฝึกปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานตั้งแต่เป็นสามเณรที่มุ่งมั่นจะก้าวตามรอยธรรมของพระอาจารย์มั่น และจากศึกษาพระปริยัติธรรม มาผสมผสานกันได้อย่างลงตัวออกเผยแผ่ให้กับพระภิกษุรุ่นต่อมาและพุทธศาสนานิกชนให้เข้าถึงธรรมและเข้าใจชีวิต อาทิ กฎแห่งกรรม บาป - บุญ กุศล - ชั่ว สังสารวัฏ อานิสงส์ของการเกิดเป็นคน
    [​IMG]
    เพราะการที่ใครคนหนึ่งจะหันมาสนใจหลักปฏิบัติธรรมทางศาสนานั้น หมายถึงเขาจะต้องมีความสนใจศึกษาข้อธรรมในศาสนามาบ้างไม่มากก็น้อยโดยเฉพาะชาวพุทธศาสนามาตั้งแต่เด็กว่า ทำดีได้ดี - ทำชั่วได้ชั่ว กฎแห่งกรรม บาป - บุญ สร้างกุศล รักษาศีล ความกตัญญู สมาธิ - ปัญญา เป็นสิ่งพบเห็นได้ทั่วๆ ไปในสังคมไทย ความเชื่อเหล่านี้คือรากฐานของคุณงามความดี เปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์ที่พร้อมจะเตรียมปลูกลงดินเพียงแต่ยังรอเวลาให้ตระหนักถึงคุณค่าอย่างแท้จริงเท่านั้น
    [​IMG]
    สอนให้ตัดปลิโพธ หมายถึงตัดความเป็นห่วง ความกังวล ถ้าผู้ใดที่ยังมีห่วงเป็นกังวลก็ยากที่จะปฏิบัติธรรมได้ บางคนกว่าจะหาเวลามาปฏิบัติธรรมมักมีข้ออ้างเหตุผลนานา ส่วนใหญ่จะบอกเป็นห่วงบ้านทิ้งเอาไว้ไม่ปลอดภัย ห่วงรถ ห่วงหน้าที่การงาน ห่วงเงินห่วงธุรกิจ ห่วงลูกหลาน ทำให้ “ห่วง” เหล่าผูกรั้งตัวเอาไว้ หลวงปู่ขาว ได้เมตตาแสดงธรรมให้เห็นโทษของความเป็นห่วงดังนี้
    “พ่อแม่ก็มีคุณสมบัติทางโลก ต้องการให้ไปหาเงินหาทอง และต้องการให้มีครอบครัว ถ้าว่าถึงความจริงล่ะมันเป็นตัวถ่วงอย่างมหันต์มองดูให้ลึกๆ มองดูให้ถึงใจสงบที่สุดแล้ว การมีครอบครัว มีลูกเต้า เลี้ยงลูก เลี้ยงหลาน นั่นแหละมันแสนที่จะกังวลเดือดร้อนวุ่นวาย ไม่มีเวลาที่จะได้ทำบุญทำทาน โอกาสเวลาจะนั่งภาวนาก็ไม่มี คนเราทางโลกมันนิยมกันอย่างนั้น”
    สอนให้ยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ เป้าหมายสูงสุดของชาวพุทธคือ “นิพพาน” แต่ระยะทางก่อนที่จะถึงนิพพานของแต่ละคนไม่เท่ากัน เพื่อกันการผิดพลาดไม่ให้ก้าวพลาดออกนอกเส้นทางลงนรก สิ่งแรกที่ต้องยึดถือเอาไว้เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวคือ “พระรัตนตรัย” ประกอบไปด้วยพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสงฆ์คุณอันประเสริฐทั้งสามประการ
    [​IMG]
    สอนให้แผ่เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง เจ้าประคุณ สมเด็จฯ เคยเล่าว่า หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ท่านเน้นย้ำกับญาติโยมเกี่ยวกับความสำคัญของการแผ่เมตตา เป็นอย่างมากว่า “ให้ทุกคนได้แผ่เมตตาต่อคน สัตว์ หมู่มาร ศัตรู ให้แผ่ไปทั่วสากลจักรวาล ยิ่งแผ่มากยิ่งทำให้ใจสบาย รักชีวิตและทรัพย์สินของคนอื่นเหมือนกับของตนเอง สังคมก็จะมีความสุขสงบอย่างทั่วถ้วนทั่ว”
    “วิธีแผ่เมตตาให้บังเกิดผล โดยให้ทำตนและจิตใจเหมือนมารดาที่เลี้ยงลูก ให้ความรักเอ็นดูสงสาร มุ่งหวังที่จะให้ลูกสุขกายสบายใจ มีอาชีพการงาน มีวิชาเลี้ยงตนเองได้ ความรักที่แม่ให้กับลูกเป็นความรักที่บริสุทธิ์ไม่มีพิษภัย และไม่ต้องการผลตอบแทนจากลูก มีแต่ให้อย่างเดียว ถ้าเราแผ่เมตตาเหมือนกับพระอาทิตย์ส่องแสง เมตตานั้นจะมีพลังสูงยิ่ง เพราะธรรมชาติของพระอาทิตย์ขณะที่ส่องแสง ไม่ได้เลือกชุมชน สรรพสัตว์ยากดีมีจน อยู่ที่สูงหรือที่ต่ำ จะใกล้หรือไกลก็ได้รับความร้อนเท่ากัน เมตตาธรรมก็เช่นกัน ขอให้แผ่ไปให้แก่ทุกชนทุกชั้นทุกระดับ ใครจะได้รับมากน้อยสุดแต่วาสนาบารมีของผู้นั้น”
    [​IMG]
    รักษาศีลอย่างน้อยศีลห้า ซึ่งเป็นสิ่งสุดท้ายที่พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต กล่าวก่อนที่ท่านจะมรณภาพ
    นี่คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    ห้ามพลาดนะครับจะลงภาพให้ชมสุดยอดจริงๆพระรุ่นนี้
     
  9. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศ์ สมเด็จเเห่งสายกรรมฐาน(เกสาธาตุหลวงปู่สมเด็จเเปรเป็นพระธาตุ) เสกเดี่ยว พระกริ่งเจ้าสัว :cool::cool::cool:ภาพหายากเมื่อสมเด็จกรรมฐานกลางกรุงอัญเชิญญาณบารมีหลวงพ่อทวด สุดยอดเเห่งภาพประวัติศาสตร์เป็นหนึ่งเดียวไม่มีสองเสมอเหมือนอีกเเล้ว
    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0333.JPG
      IMG_0333.JPG
      ขนาดไฟล์:
      365.1 KB
      เปิดดู:
      131
    • IMG_0337.JPG
      IMG_0337.JPG
      ขนาดไฟล์:
      430.4 KB
      เปิดดู:
      132
    • IMG_0340.JPG
      IMG_0340.JPG
      ขนาดไฟล์:
      391.8 KB
      เปิดดู:
      135
    • IMG_0342.JPG
      IMG_0342.JPG
      ขนาดไฟล์:
      357.8 KB
      เปิดดู:
      2,818
    • IMG_0344.JPG
      IMG_0344.JPG
      ขนาดไฟล์:
      397.6 KB
      เปิดดู:
      132
    • IMG_0347.JPG
      IMG_0347.JPG
      ขนาดไฟล์:
      338.2 KB
      เปิดดู:
      126
    • IMG_0356.JPG
      IMG_0356.JPG
      ขนาดไฟล์:
      392.6 KB
      เปิดดู:
      2,690
    • IMG_0364.JPG
      IMG_0364.JPG
      ขนาดไฟล์:
      373 KB
      เปิดดู:
      131
    • IMG_0371.JPG
      IMG_0371.JPG
      ขนาดไฟล์:
      460.9 KB
      เปิดดู:
      2,695
    • IMG_0380.JPG
      IMG_0380.JPG
      ขนาดไฟล์:
      448 KB
      เปิดดู:
      2,700
    • IMG_0359.JPG
      IMG_0359.JPG
      ขนาดไฟล์:
      108.7 KB
      เปิดดู:
      2,843
    • IMG_0387.JPG
      IMG_0387.JPG
      ขนาดไฟล์:
      427.5 KB
      เปิดดู:
      158
    • IMG_0388.JPG
      IMG_0388.JPG
      ขนาดไฟล์:
      435.6 KB
      เปิดดู:
      131
    • IMG_0391.JPG
      IMG_0391.JPG
      ขนาดไฟล์:
      141.2 KB
      เปิดดู:
      176
    • IMG_0398.JPG
      IMG_0398.JPG
      ขนาดไฟล์:
      471.3 KB
      เปิดดู:
      160
    • IMG_0400.JPG
      IMG_0400.JPG
      ขนาดไฟล์:
      161 KB
      เปิดดู:
      137
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 มกราคม 2011
  10. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0528.JPG
      IMG_0528.JPG
      ขนาดไฟล์:
      199.8 KB
      เปิดดู:
      125
    • IMG_0530.JPG
      IMG_0530.JPG
      ขนาดไฟล์:
      317.2 KB
      เปิดดู:
      160
    • IMG_0351.JPG
      IMG_0351.JPG
      ขนาดไฟล์:
      411.4 KB
      เปิดดู:
      130
    • IMG_0535.JPG
      IMG_0535.JPG
      ขนาดไฟล์:
      142.2 KB
      เปิดดู:
      141
    • IMG_0536.JPG
      IMG_0536.JPG
      ขนาดไฟล์:
      258.5 KB
      เปิดดู:
      1,130
    • IMG_0553.JPG
      IMG_0553.JPG
      ขนาดไฟล์:
      274.9 KB
      เปิดดู:
      110
    • IMG_0554.JPG
      IMG_0554.JPG
      ขนาดไฟล์:
      279.4 KB
      เปิดดู:
      1,262
    • IMG_0555.JPG
      IMG_0555.JPG
      ขนาดไฟล์:
      288 KB
      เปิดดู:
      1,218
    • IMG_0558.JPG
      IMG_0558.JPG
      ขนาดไฟล์:
      283 KB
      เปิดดู:
      1,225
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 มกราคม 2011
  11. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    หลวงพ่อทวดท่านเมตตาเสกพระเจ้าสัว
    เมื่อพระกริ่งเจ้าสัวนี้สงสัยจะมีการเดินทางที่ยังอีกยาวไกล พระที่เสกให้เเต่ละรูปเรียกได้ว่าไม่ธรรมดาจริงๆเเละสังเกตว่าทุกครั้งจะเกี่ยวข้องกับหลวงพ่อทวดเสมอสมดังที่พ่อท่านหวาน วัดสะบ้าย้อย(พระที่หลวงพ่อเฉลิมยกย่องว่าพระมหาเถระองค์นี้สำคัญ) ท่านบอกด้วยองค์ท่านเองว่า หลวงพ่อทวด มาเสกเเละคุมพระรุ่นนี้ด้วยองค์เอง พระมหาเถราจารย์พูดไม่ล้อเล่นหรือไม่ใช่เรื่องธรรมดาอย่างเเน่นอนเพราะศิษย์วงในของพ่อท่านหวานรู้ดีว่าท่าน ไม่พูดเล่นเพราะท่านจริงจัง เเละเสกเอาเเบบเดิมพันเอากันเเบบเเลกชีวิตเพื่อให้พระที่เสกนั้นดีจริงๆ <!-- google_ad_section_end -->
     
  12. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    ตอนนี้มีพระเสกพระกริ่งเจ้าสัวเเล้วดังนี้
    1 พ่อท่านหวาน วัดสะบ้าย้อย ประธานเททอง เเละ เสกเดี่ยว(ศิษย์น้องพ่อท่านเเดง วัดศรีมหาโพธิ์ สหธรรมิก หลวงปู่ทิม วัดช้างให้ เเละ สหธรรมิกเจ้าคุณโชดก)
    2 หลวงปู่เจ้าคุณทองย้อย วัดปลดสัตว์ อ่างทอง(ศิษย์ชั้นหลานสมเด็จกรมพระยาปวเรศวิริยลงกรณ์)
    3 หลวงปู่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระกรรมฐานอริยเจ้ากลางกรุง(ศิษย์พระอาจารย์สิงห์ ขันตยขโม วัดป่าสาลวัน)


    คอยติดตามนะครับว่าพระองค์ไหนจะเสกบ้างลำพังเเค่นี้ก็เหลือเฟือจริงๆ
     
  13. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    พระที่นำไปให้เสกเเต่ละรูปมีประวัติดีงามน่าเลื่อมใสไม่ได้เน้นไปที่พระดังเหมือนทั่วๆไป โชคดีเจอพระดีๆหลายรูปนับว่าเป็นวาสนา เเต่ละองค์เมตตามากๆเเม้จะมีอายุเเต่ละองค์90กว่าๆเกือบทั้งสิ้น ผมเองกะว่าจะนำพระกริ่งรุ่นนี้ไปเสกเรื่อยๆเเละประมาณเดือนพฤษภาคมจะนำไปฉลองเเละสมโภชให้สมพระเกียรติอีกครั้งหนึ่ง
     
  14. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    พระกริ่งเจ้าสัว เเค่พระนามก็บ่งบอกในทางโภคทรัพย์ ซึ่งทรัพย์ทั้งทางโลกเเละธรรมอันมี นิพพานเป็นที่สุด สมกับเป็นนัยยะของพระกริ่งอันว่าด้วย กึ กุสโล หรือ นิพพุติ คือ พระนิพพพาน นั่นเอง ความสงบ เป็นความสุขยิ่ง

    ในภาวะโลกยุคปัจจุบันมีโรคภัยไข้เจ็บไม่ทราบสาเหตุมากมายหลายคนพึ่งทางพระทางเเพทย์ทางเลือกมากมาย หนึ่งในนั้นคือพระไภสัชคุรุพุทธเจ้า หรือพระกริ่งนั่นเอง ไว้รักษาโรค สมเด็จพระสังฆราชแพ ทรงศรัทธาอานุภาพของพระกริ่งเป็นอันมากถึงกับทรงใช้เวลาเกือบทั้งชีวิตของพระองค์ศึกษาการทำพระกริ่งจากครูบาอาจารย์ต่างๆเเละค้นหาเเร่ที่ทรงคุณวิเศษมากมายจนท่านกล่าวว่า

    กว่าจะหาธาตุต่างๆมาได้หมดถ่านไปหลายลำเรือ เห็นจะจริงเพราะเเร่ต่างๆท่านมากมายเหลือเกิน เรามันศิษย์ชั้นหลานเเล้ว คือเป็นศิษย์ของลูกศิษย์พระองค์ท่านอีกที จึงไม่มีโอกาสเห็นของหายากเหล่านั้น
     
  15. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    พระกริ่งเจ้าสัวนี้อีกหน่อยสงสัยจะดังใหญ่เพราะมีเเต่พระดีๆเสกอย่างตั้งใจผมว่า สุดยอดจริงๆครับรุ่นนี้ทั้งยังหลวงพ่อทวดมาเสกเองอีก
     
  16. khongbeng

    khongbeng เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +657
    เป็นกำลังใจให้คุณหมอที่น่านับถือครับ...........
     
  17. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932

    ขอบพระคุณมากๆครับ:cool::cool::cool:
     
  18. นายเอก

    นายเอก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2007
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +645
    คงเป็นพระอีกองค์ที่ต้องขึ้นทำเนียบพระกริ่งดังแน่ๆเรยครับ หมอจากเจตนา มวลสาร ครูบาอาจารย์ผู้อธิษฐานจิตก็ สุดยอด โมทนาด้วยครับท่านอาจารย์ฟอร์ด
     
  19. amnon

    amnon สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +8
    หมอฟอร์ดครับช่วยบอกพระคาถา "มหาธารณีสูตร" ให้หน่อยครับ
     
  20. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    วันนี้มีผู้ร่วมบุญ พระกริ่งเจ้าสัวเพิ่มอีก 3 องค์ครับ ท่านใดที่สนใจร่วมบุญโทรจองด่วนเลยครับ ขออนุโมธนาบุญกับทุกท่านครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...