เพื่อการกุศล วัตถุมงคลสายพญานาค ปรอทสายวิชาเก่า เครื่องรางหายาก น.สุดท้าย

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย ตันติปาละ, 9 พฤศจิกายน 2010.

  1. Lek2010

    Lek2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    8,925
    ค่าพลัง:
    +42,467
    เราว่าอย่างน้อยพระท่านก็ตรงๆไม่เน้นขายบุญมากเกินไป
    งานพัฒนาคนทำยากกกกกกควบคู่กับงานด้านศาสนา เหนื่อยเหมือนกัน
    แค่ตีกับกลุ่มชาวบ้านในเมืองเรายังปวดหัวเลย อุเบกขากระเจิง ธาตุอะไรก็เอาไม่อยู่แล้ว สู้กับความโลภของคนเนี่ยทางโลก อุเบกขาคงไม่ไหวอะนะ
     
  2. ุเพตารี

    ุเพตารี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1,048
    ค่าพลัง:
    +800
    ย้อนไปหาดูเอาเอง ถ้าท่านอยากไปด้วยก็หาเจอเองแหละ

    ค่าใบจองม๊อคค่าเย็นเพิ่มวิปครีม 1 ขันน๊ะ 555555:cool:
     
  3. Lek2010

    Lek2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    8,925
    ค่าพลัง:
    +42,467

    อันนี้ลุงแกคิดค่าใบจองแบบกรุณาน้องยม เพราะไงน้องยมก็ครือๆใกล้เคียงกับลูกกุมารที่บ้านแกแหละ

    แต่ใบจองของเจ้าป้า ท่าทางจะเป็นอาหารญี่ปุ่น 1 มื้อ (ชงให้แล้วนะเจ้าป้ารีบเรียกราคาใบจองด่วน)
     
  4. ุเพตารี

    ุเพตารี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1,048
    ค่าพลัง:
    +800

    อาหารยุ่นไม่แซบหรอก

    ต้องส้มตำปูปลาร้า น้ำตกหมู ปลาดุกย่าง เวิร์คกว่า อิอิ
     
  5. kamontad

    kamontad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2010
    โพสต์:
    678
    ค่าพลัง:
    +574
    ส้มตำ ใส่วาซาบิแทนแทนน้ำปลาเหนื่อย ใส่ซูชิแทนปูเค็ม
     
  6. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    5555เล็กเหมาะที่จะเป็นเลียขา เอ๊ย เลขา วางแผนให้เรียบโร้ยยยยย

    ส้มตำปูปลาร้า ถ้าสั่งมาอย่างนี้ไม่กินเด็ดขาด เหม็นปลาร้า แฮ่ม !!!!ต้องใส่ปลาร้าเป็นตัวๆ อิ อิ อา-หย่อยยยยยย(eek)
     
  7. Ton_PB

    Ton_PB เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    4,463
    ค่าพลัง:
    +2,005

    มีวิธีฝึกเองหรือเปล่าครับ
     
  8. Ton_PB

    Ton_PB เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    4,463
    ค่าพลัง:
    +2,005
    เข้ามาเห็นพูดถึงธาตุทั้ง 4 ปกติแล้วตัวเองเป็นใจร้อนโมโหง่าย ไม่รู้เกี่ยวกับว่ามี
    ธาตุไฟเยอะเกินไปหรือเปล่า
     
  9. Ton_PB

    Ton_PB เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    4,463
    ค่าพลัง:
    +2,005
    จัดไป..................
     
  10. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,863
    <TABLE border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center>[​IMG]</TD><TD vAlign=center>การดำเนินของจิตในแนวปฏิบัติ (๑)
    « เมื่อ: กันยายน 14, 2010, 08:30:53 am »
    </TD><TD style="FONT-SIZE: smaller" height=20 vAlign=bottom align=right></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <HR class=hrcolor SIZE=1 width="100%">
    การดำเนินของจิตในแนวปฏิบัติ (๑)

    พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
    แสดง ณ วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขนกรุงเทพมหานคร
    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517​


    วิธี ดำเนินจิตที่เราปฏิบัติกันอยู่นั้นเรียกว่า ปฏิปทาของจิต มี 3 นัยที่เป็นหลักใหญ่ควรจดจำ การทำความเพียรภาวนาไม่หนีจากทั้ง 3 หลัก ที่จะอธิบายต่อไปนี้


    ถ้า หากเราจับหลักได้แล้ว จิตของเราจะเดินไปในแบบใด เราก็จะได้รู้ว่า อ้อ! มันเดินอยู่ในแบบนี้ขั้นนี้ เราจะได้รู้เรื่อง ถ้าหากไม่รู้เรื่องของมัน เวลาจิตเดินแบบนี้ ก็อยากให้เป็นแบบโน้น มันเดินแบบโน้น ก็อยากให้เดินแบบนั้นอะไรต่างๆ แล้วก็เลยจับอะไรไม่ถูก คือไม่รู้จักหลักของความจริง เหตุนั้นจึงอธิบายให้ฟังเมื่อคืนที่แล้ว แต่จะขออธิบายซ้ำอีก บางทีผู้ที่ยังไม่เคยได้ยิน ก็จะได้เข้าใจ และจดจำไว้ในการปฏิบัติต่อไป


    การดำเนินของจิตในการปฏิบัติ มีหลักอยู่ 3 อย่าง


    อย่างที่ 1 หัดให้จิตสงบอย่างเดียว เรียกว่า เดินสมถะ

    อย่างที่ 2 เดินปัญญา-วิปัสสนา

    อย่างที่ 3 เดินโพธิปักขิยธรรม คือ เดินองค์ปัญญาโดยเฉพาะ


    ถ้า ไม่เข้าใจ เวลาเดินสมถะอย่างเดียว เมื่อจิตเข้าไปนิ่งแน่ว อยู่ในความสงบ ก็เข้าใจว่าอันนั้นเป็นของดีแล้ว หมดจดบริสุทธิ์ จิตละเอียดเพียงพอแล้ว เท่านั้นพอแล้ว ถ้าหากว่าผู้ที่เดินปัญญาวิปัสสนา ก็เห็นว่าการหัดสมถะคือหัดทำความสงบของจิตนี้ ไม่ใช่ทาง ต้องดำเนินทางวิปัสสนาจึงจะใช่ทาง หรือบางทีผู้ที่เดินปัญญา ที่เรียกว่าเดินแถวโพธิปักขิยธรรม ก็เข้าใจว่าจิตของตนฟุ้งและส่งไปเสีย ไม่ใช่ปัญญา มันสับสนกันอยู่อย่างนี้แหละ จึงควรเข้าใจหลักใหญ่ในการดำเนินของจิต ซึ่งมีหลักอยู่ 3 หลัก ทีนี้จะอธิบายเป็นข้อ ๆ ไป


    สมถะ อธิบายสมถะ หัวข้อแรกเสียก่อน วิธีเดินสมถะ ถ้าจะเรียกอีกนัยหนึ่งก็เรียกว่า สมาธิ หรือว่า ฌาน ก็เรียก ผู้เดินสมถะ เช่น กำหนดพุทโธ พุทโธ ให้จิตกำหนดอยู่กับพุทโธ หรือว่ากำหนดอานาปานสติ ให้จิตจดจ่ออยู่แต่ในเรื่องลมหายใจนั้น หรือมิฉะนั้นเราเพ่ง อสุภะปฏิ...ล เห็นสังขารร่างกายของเราเป็นอสุภะ ของเปื่อยเน่า ก็ได้เหมือนกัน จิตจะสงบอยู่ในเรื่องนั้นๆ หรือมิฉะนั้น จิตอาจจะเกิดภาพนิมิต ปรากฏเป็นปฏิภาครูปอันใดอันหนึ่งก็ตาม อันนั้นก็ยังอยู่ในขั้นสมถะ


    มีสิ่งปลีกย่อยอีกเหมือนกันเรื่องสมถะ อาจจะสงสัยว่าการเดินสมถะ จะมีวิปัสสนาเกิดขึ้นได้ไหม? ตอบว่ามี เรื่องสมถะมันมีวิปัสสนาได้อยู่เหมือนกัน ไม่ใช่ไม่มีปัญญา สมถะก็ต้องใช้ปัญญาเหมือนกัน คือเราเพ่งพิจารณาพุทโธ พุทโธ ก็จะต้องระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า จิตใจที่น้อมนึกถึงพระคุณความดีของพระองค์ จนเห็นความชัด เกิดความซาบซึ้งในพระคุณของพระองค์ มันก็มีปัญญาเหมือนกัน เมื่อเห็นชัดเจนอย่างนี้แล้ว จิตมันจะสงบลงไป


    เบื้องต้นนั้นเรียดว่าบริกรรม ที่ท่านเรียกกันว่า ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ นี่พูดเป็นเรื่องเป็นราว แต่เราพูดกันง่ายๆ ว่า เรากำหนดอารมณ์อันนั้น ไม่ใช่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เรากำหนดจิตให้อยู่กับอารมณ์อันนั้น จะบริกรรมอะไรก็ตาม เราไม่ต้องพูดให้เป็นเรื่องยืดยาวเช่นนั้น ถ้าพูดว่า “ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์” ดูมันเป็นเรื่องใหญ่โตมโหฬาร เราไม่ต้องพูดว่า “ยกจิต” ละ คือ กำหนดเอาอันใดอันหนึ่งมาเป็นอารมณ์ อันนี้เรียกว่าบริกรรม แล้วเราก็ตั้งจิตให้แน่วอยู่ในอารมณ์อันนั้น นี่เรียกว่า วิธีเดินสมถะ ยังไม่ถึงตัวสมถะ เป็นการเดินให้เข้าถึงสมถะ


    ตราบใดที่จิตสงบ จนกระทั่งวางคำบริกรรม หรือวางอุบายที่เราใช้กำหนดนั้น โดยที่มันวางของมันเอง จิตเข้าไปสงบเป็นเอกเทศของมันอยู่อันหนึ่งต่างหาก อันนั้นเป็นตัว สมถะแท้ เรียกว่า จิตเข้าภวังค์ มันวางอารมณ์หรือคำบริกรรม วางหายไปเลย จิตเข้าไปสงบอยู่อันหนึ่งของมันต่างหาก นั่นเรียกว่า ถึงสมถะ แล้ว


    จิตที่เข้าถึงสมถะ ตามลักษณะที่พูดมานี้ ยังมีผิดแผกอีกนะ บางทีมีหลายเรื่องไม่ใช่น้อยๆ ที่จิตรวมลงไปสนิทอย่างนี้บางครั้งเวลารวมมันวูบลงไปจนสะดุ้งตกอกตกใจ บางทีมีเสียงดังเหมือนกับเสียงฟ้าผ่านี่ก็มี บางทีตกลงไปเหมือนตกหลุมตกเหว ให้สะดุ้งฮวบขึ้นมา ตื่นตกใจเลย บางทีพอจิตรวมก็อาจจะเกิดภาพขึ้นมา ผู้ที่ภาวนาพุทโธ บางทีพอจิตรวมก็เกิดภาพพระพุทธเจ้าก็มี


    หรือพวกที่พิจารณา อสุภะปฏิ...ล เป็นของเปื่อยเน่า ในสังขารร่างกายมีของสกปรกโสโครก พอจิตรวมลงแล้ว ภาพที่ปรากฏมันไม่เป็นอย่างที่พิจารณานั่น มันปรากฏพิสดารยิ่งกว่านั้นอีก ตัวของเราเวลาที่พิจารณาว่า ตรงนั้นก็เป็นของปฏิ...ลโสโครก ตรงนั้นก็ของเน่า น้ำเลือด น้ำหนอง เป็นอะไรต่างๆ เมื่อจิตรวมเวลามันเกิดภาพนิมิตขึ้นมา มันไม่ใช่อย่างนั้น มันเปื่อยเละไปหมดเลย บางทีเหม็นฉุนขึ้นมาจริงๆ จังๆ ถึงกับอาเจียนออกมาก็มี หลายเรื่องที่มันจะเป็น


    บางคนสงบนิ่งเฉยลงไป บางคนนั้นเงียบหายไปเหมือนกับนอนหลับตั้งหลายชั่วโมง จึงค่อยรู้สึกตัวขึ้นมาก็มี ถ้าหากทำชำนิชำนาญแล้ว มันไม่ถึงขนาดนั้น มันจะรวมละเอียดลงไปถึงขนาดไหนก็รู้ มันจะรวมหยาบขนาดไหนก็รู้ รู้ว่าจิตมันปล่อยมันวางรวมเข้ามา ถ้าชำนาญแล้วจะรู้ได้ นี่อยู่ในขั้น สมถะ ทั้งนั้น แบบนี้โดยมากมักจะไปในทางที่เรียกว่า จิตเข้าภวังค์ หรือไปในทาง ฌาน


    จิตสงบอีกแบบหนึ่ง คือว่า ถ้าหากจิตมันค่อยสงบ ค่อยรวมลงไป รู้ตัวอยู่ตลอดว่า จิตมันอยู่อย่างไร วางอย่างไร รู้เรื่องรู้ตัวอยู่เสมอ แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว มันปล่อยวางอย่างมีสติ รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา อันนี้จิตเป็นพวกสมาธิ ไม่ได้จัดเป็นพวก ฌาน มันหลายเรื่อง อย่างนี้ก็เรียกว่าสมถะเหมือนกัน


    บางทีจิตมันรวม ที่ท่านเรียกว่า ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ เราไม่ได้แต่งให้มันเป็นไปหรอก แต่เมื่อเราปฏิบัติเป็นไปแล้ว เราจึงมาเทียบกันดู ขณะที่จิผายลมำเนินเป็นไปนั้นเราไม่รู้


    ขณิกสมาธิ จิตของเราวูบๆ วาบๆ เข้าไปแล้วถอนออกมา เข้าไปอีกแล้วก็ถอนออกมา หรือมิฉะนั้น จิตของคนปกติไม่ได้ฝึกฝนภาวนาก็ตาม มันอาจมีพักหนึ่งได้เหมือนกัน มันรวมประเดี๋ยวประด๋าวแล้วก็พุ่งออกไป


    อุจารสมาธิ ขณะที่เรากำหนดเพ่งอยู่อย่างนั้นไม่ท้อถอย ทีหลังมันคล้ายกับว่ามันละเอียด แต่มันไม่ละเอียด มันเสียดายอะไรสักอย่างก็ไม่ทราบละ มันไม่ทอดธุระลงไปจริงๆ จังๆ อันนั้นเรียกว่า อุปจารสมาธิ


    อัปปนาสมาธิ พอจิตมันทอดธุระ วางหมดพรึบลงไป แน่วลงไปเลยทีเดียวถึงอัปปนา ในลักษณะที่มันถึง อัปปนา แล้วนั่นแหละเราจะรู้จักรสชาติของมันว่า ความสงบ สุขสบาย ความเบา ความผ่องใสเบิกบาน จิตใจอิ่มเอิบ พร้อมบริบูรณ์ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในขณะนั้นหมด


    อัปปนา นี้ก็มีหลายอย่าง ละเอียดลงไปกว่านี้ก็มี จิตรวมลงครั้งแรกนั่น มันลงจนกระทั่งจะไม่ปรากฏลมหายใจเลยก็มี เวลาจิตเข้าไปถึงอัปปนานั้น คล้ายกับไม่มีลมหายใจ ถ้าหากเราตั้งสติกำหนดดูลมหายใจว่า มีหรือไม่มีหนอ? นั่นแหละ จึงค่อยรู้สึกว่าลมนั้นค่อยระบายออกมา อันนี้เรียกว่า อัปปนาสมาธิ


    ทีนี้ ภวังค์ ก็มี 3 อย่างเหมือนกัน เรียกว่า ภวังคุบาท ภวังคจารณะ ภวังคุปัจเฉทะ


    ภวังคุบาท ถ้าพูดตามที่ท่านแสดง เป็นขณะจิตอันหนึ่ง ถ้าพูดตามแนวปฏิบัติแล้ว ภวังคุบาท คล้ายกับขณิกสมาธิ เราเพ่งพิจารณาอยู่ มันมีอาการคล้ายๆ กับจะวูบไปนิดหนึ่ง แต่มันก็ไม่ลง หรือบางทีลงไปนิดเดียว ไม่ถึงอึดใจ เป็นสักแต่ว่า


    ภวังคจารณะ พิจิตมันรวมลงไปแล้ว คราวนี้เพลิดเพลินชอบอกชอบใจ ยินดีในอารมณ์ของมันตรงนั้นแหละ


    ภวังคุปัจเฉทะ มันทิ้งอารมณ์ต่างๆ หมดเลย ไม่เอาอะไรทั้งนั้น ไม่เยื่อใยในของที่พิจารณาอยู่ ไม่เอาอะไรทั้งหมด โน่นแน่ ไปชอบใยใจอารมณ์ความสุข ขั้นละเอียดของมันนั่น แน่วแน่อยู่จนกระทั่งสติไม่มี จนกระทั่งเหมือนกับหลับก็มี ภวังคุปัจเฉทะ เหมือนๆ กันกับหลับ ทีแรก ๆ นั่นเหมือนกับหลับจริง ๆ ถ้านาน ๆ ไปบ่อยเข้ามีความชำนาญ ก็จะไม่เหมือนหลับ มันพลิกไปอยู่ของมันอีกหนึ่งต่างหาก เหล่านี้ล้วนแต่เรียกว่า เดินสมถะ การเดินสมถะเป็นอย่างนี้


    ในระหว่างวิธีเดินสมถะนี้ มันอาจเกิดปัญญาขึ้นมาก็ได้ ในขณะใดขณะหนึ่ง โดยมากเกิดจากสมาธิ เมื่อจิตสงบเข้าไปแน่วแน่อยู่ในเรื่องอารมณ์ที่เราพิจารณานั้น เดี๋ยวมันก็สว่างขึ้นมา คำว่า “สว่าง” ในที่นี้ไม่ใช่แสงสว่าง ถ้ามันเป็นแสงสว่าง นั่นเป็นเรื่องของณานเสียแล้ว


    ถ้า “สว่าง” ด้วยอุบายปัญญา มันมีความปลอดโปร่งขึ้นมาในที่นั้น คิดค้นพิจารณาอะไรทั้งปวงหมด มันชัดเจนแจ่มแจ้งในเวลานั้น การที่มันชัดเจนแจ่มแจ้งนั้น มันเลยเป็นปัญญาขึ้นมาอีก


    หรือบางทีมันอาจจะหยิบยกเอาธรรมะอะไรขึ้นมาพิจารณา เช่นเรื่องสติปัฏฐาน 4 อะไรเป็นสติปัฏฐาน กาย เวทนา จิต หรืออะไรเป็น? คำว่า สติ นั้นคืออะไร? คำว่า สติปัฏฐาน ทำไมจึงต้อง เป็นกายานุปัสสนา - เป็นเวทนานุปัสสนา - เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทำไมมันจึงต้องเป็นอย่างนี้


    ทีนี้มาวิพากษ์วิจารณ์ลำดับเรื่อง สติปัฏฐาน 4 จะต้องคิดค้นถึงเรื่องกายพิจารณาถึงเรื่องกาย เป็นอสุภะปฏิ...ล เห็นเป็นธาตุ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม พิจารณาเรื่องเดียวอยู่ในที่เดียวนั่น บางทีมันเข้าไปถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา บางทีมันเข้าไปเป็นสัจจธรรม เป็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มันเลยกลายเป็นปัญญาไป อันนี้เป็น ปัญญา เกิดขึ้นมาจาก สมถะ สมถะ กลายเป็นปัญญา


    ถ้าพิจารณานานหนักเข้าแล้ว คราวนี้มันหมดเรื่องหมดราวคือว่า มันรู้เห็นชัดเจนหมดทุกสิ่งทุกอย่าง (เช่น เห็นกายเป็นธาตุชัดเจน) มันก็มารวมเป็นอันเดียว อยู่ในที่เดียวอีกเหมือนกัน เรื่องที่พิจารณาอยู่นั้น มันทิ้งหมด ไม่เอาแล้วคราวนี้ เลยมารวมเข้าเป็นอันเดียว มาเป็นสมถะอีก คล้ายๆกับว่า ทำงานเสร็จสรรพแล้ว เก็บเครื่องไม้เครื่องมือเสีย แล้วพักผ่อน เป็นทำนองนั้น


    นอกจากนั้นอีก มันยังมีอีก เมื่อพิจารณาถึงเรื่องกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนี่ละ เดินแบบสมาธิ พิจารณาคิดค้นอะไรต่างๆ จะเป็นธาตุ ขันธ์ หรืออายตนะหรืออะไรก็ตาม ในเรื่องหนึ่งเรื่องใด พิจารณาไปๆ สติมันอ่อนลงไป มันชอบสงบสุข ยินดีกับความวิเวกสงัด ยินดีกับความชัดความจริงในการพิจารณานั้น เลยนิ่งแน่วเข้าไปหาความสงบ จิตน้อมไปตาม เลยเข้าไปเป็นฌาน จิตเป็นภวังค์หายเงียบไป นี่มันสลับซับซ้อนทีเดียว


    ในผลที่สุด จะเป็นวิธีใดก็ช่างมันเถิด เราแต่งมันไม่ได้หรอก เพียงแต่ให้เราจับหลักที่ได้อธิบายนี้ไว้ก็แล้วกันว่า วิธีเดินสมถะเป็นแบบนี้ๆ อย่างนี้ๆ มันจะเป็นอะไรก็ช่าง ปล่อยให้มันเป็นไปแล้วจึงค่อยมาพิจารณาทีหลังว่า ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น?


    ทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้น? ขณะใดถ้าสติ สมาธิ มีกำลังเพียงพอ จิตมันจะไม่รวมเข้าเป็นภวังค์ สมาธิ นั้นก็เลยเป็น มรรค จนเกิด ปัญญา ขึ้นมา ดังที่อธิบายเมื่อครู่นี้ เหตุผลชัดเจนแจ่มแจ้งอยู่ในที่เดียว จนทอดธุระหมดทุกสิ่งทุกอย่างทั้งปวดหมด มาอยู่ในที่เดียว ธรรมเกิดมาจากที่เดียว ความรู้เกิดจากในที่เดียว แจ่มแจ้งในที่เดียวนั้น เลยเป็นวิธีเดินมรรค มันต้องเป็นแบบนั้น มันเป็นเองของมัน


    ถ้าบางทีอาจจะเกิดพลั้งเผลอ หรืออาจจะเกิดจากสุขภาพไม่ดี หรือมิฉะนั้น สมถะ เกิดจากมึนเมาอาหารก็ได้ เหตุมีหลายเรื่อง เหตุเหล่านี้จิตรวมดีเหลือเกิน ตรงนั้นสงบง่าย เข้าภวังค์ง่ายที่สุด ที่เรียกกันว่า โมหะสมาธิ เป็นภาษาสำนวนของนักปฏิบัติ แต่แท้ที่จริงก็คือภวังค์นั่นเอง


    เหตุนั้นนักปริยัติ หรือปัญญาจารย์ทั้งหลาย จึงโทษนักหนาเมื่อจิตเข้าถึงภวังค์ ก็ว่า อวิชชา โมหะ หลง อย่างที่เขาพูดกันพูดในการปาฐกถาทุกวันนี้ (พ.ศ. 2517) ทางวิทยุกระจายเสียง เขาโจมตีกันเหลือเกินว่า นั่งหลับตาภาวนาเป็นโมหะอวิชชา พวกนี้ตายแล้วเกิด นับภพนับชาติไม่ถ้วน ไปไหนไม่รอดหรอกพวกนี้ จมอยู่นี่แหละพวกโมหะอวิชชา ภาวนาหาอวิชชาหรือหาปัญญา? เขาถือกันเป็นอย่างนั้น


    จริงบางอย่าง แต่ว่าไม่ถูกทั้งหมด เดี๋ยวนี้เรากำลังคิดค้นหาความโง่ คือโมหะอวิชชา มันจะโง่แบบไหนก็ให้มันเห็นเสียให้หมดเรื่องหมดราว แล้วเราจึงจะฉลาด ถ้ามัวแต่กลัวโง่ก็เลยไม่เห็นโง่ ไม่รู้จักความโง่นั้นสักที ว่ามันเป็นอย่างไร? ไม่เห็นโง่ก็เลยไม่ฉลาดเท่านั้นซี เรื่องมันอยู่ตรงนั้นแหละ อันที่ว่าไม่ถูกทั้งหมดมันอยู่ตรงนี้


    เราจะไปฉลาดรู้ก่อนเกิดอย่างที่พูดกันว่า “ตายก่อนเกิด” มันก็แย่เหมือนกัน คำโบราณท่านว่าไว้น่าฟังมาก “คนตายก่อนเกิดดูเอาเถิดหลานเกิดก่อนยาย” มันก็แปลกเหมือนกันนะ หลานเกิดก่อนยาย มันก็เข้าทำนองเดียวกันนั่น “ยังไม่ทันเกิดก็ตายแล้ว” ก็เหมือนกันกับหลานเกิดก่อนยาย มันก็พอกันนั่นซี


    จึงว่า ให้มันรู้จักความโง่ ให้มันรู้จักความหลง มันจะหลงโดยวิธีไหน แบบไหนก็ตาม ที่อธิบายมาวิธีทั้งหมดนั่นแหละคือ ทำให้รู้จักความโง่ความหลง ค้นคว้าหาความโง่ความหลงนั่น จึงว่าทำลงไปมันก็ไปหาความโง่ความหลงนั่นแหละ แต่เราจะไปหา ไปรู้ความหลงอย่างที่ว่านั่น รู้ว่ามันคือ เป็นเรื่องสมถะ เรียกว่า ฌาน นั่นเอง


    การที่มันติดมันหลงในฌานนี่แหละสำคัญนัก ทีนี้เรารู้เรื่องของมันแล้ว ทีหลังเราก็จะได้ไม่หลง ไม่ติดฌาน นั่นแหละ ปัญญาเกิดจากความไม่รู้


    สิ่งทั้งหลายทั้งปวงหมด ถ้าผิดเสียก่อนถึงจะทำถูก กฎหมายของบ้านเมืองทั้งหลาย ถ้าไม่มีคนทำผิด เขาก็ไม่ตราเป็นกฎหมายขึ้นมา พระวินัยคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน ถ้าไม่มีผู้ทำผิด พระองค์ก็ไม่ทรงบัญญัติสิกขาบท สิกขาบท 227 ข้อล้วนแต่ผิดแล้วจึงทรงบัญญัติ ไม่ใช่พระองค์ทรงบัญญัติก่อนผิด คณาจารย์ปัญญาจารย์ทั้งหลายสมัยเดี๋ยวนี้ ไม่ต้องให้ผิดละ บัญญัติหมด บัญญัติผิดก่อนเลย มันไม่ใช่วิสัยของผู้มีปัญญาญาณ ผู้ฉลาดนั่นเป็นเรื่องความเห็นของคนบางคน จึงว่า พวกเราพากันเรียนให้รู้ถึงเรื่องความโง่ เรื่องความหลงเสีย


    ที่อธิบายในวันนี้ เป็นการอธิบายถึงเรื่อง ในการภาวนาการดำเนินจิตของเรา มันมี 3 แนว เดินทางสมถะ เดินทางปัญญาวิปัสสนา เดินทางปัญญาโพธิปักขิยธรรม วันนี้พูดเฉพาะเรื่อง สมถะ


    เอาเพียงเท่านี้เสียก่อน เอาละ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2011
  11. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,863
    <TABLE border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center>การดำเนินของจิตในแนวปฏิบัติ (๒) หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    « เมื่อ: กันยายน 14, 2010, 08:32:01 am »

    </TD><TD style="FONT-SIZE: smaller" height=20 vAlign=bottom align=right></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <HR class=hrcolor SIZE=1 width="100%">คืนที่แล้วได้พูดถึงเรื่องแรก คือ ทางสงบ แนวสมถะ วันนี้จะเทศน์ถึง 2 ข้อต่อไปคือ จิผายลมำเนินแนววิปัสสนา กับดำเนินแบบโพธิปักขิยธรรมที่เรียกว่า เดินแบบปัญญา



    ถึง จะเดินแบบวิปัสสนา หรือเดินแบบปัญญาก็ตาม ก็ต้องอาศัยหลักคือความสงบเหมือนกัน ถ้าความสงบไม่มีกำลัง จะเดินวิปัสสนาก็ไม่ตลอด จะเดินปัญญาก็ไม่ไหว ต้องอาศัยความสงบเป็นหลัก คือต้องมีความสงบในเบื้องต้น


    เหตุ นั้น ถึงแม้ว่าความสงบเขาจะเรียกว่าโง่ หรือไม่มีความฉลาดก็ช่างเถิด ทำความสงบให้มันมีพลังเต็มที่ เหมือนกับเราอัดลมเข้าลูกโป่ง พออัดลมเข้าเต็มที่แล้ว มันลอยขึ้นไปเอง ถ้าอัดลมยังไม่ทันเต็มที่มันก็ไม่ลอย


    ธรรมะ ถ้าหากว่าไม่มีความสงบ มันก็ไม่มีธรรม ความสงบมีมากพลังก็เต็มที่ คือ สมถะมีพลังเต็มที่แล้ว มันค่อยระเบิดของมันออกมาเอง คือ มันฉายแสงออกมา ให้มีอะไรปรากฏขึ้นมาเป็นแบบต่างๆ


    คำ ว่า "ฉายแสง" ในที่นี้ อย่าไปคิดว่าแสง คือ แสงสว่าง แสงสว่างมันเป็นภาพนิมิต เช่น ขณะภาวนาเห็นแสงสว่างอยู่ในที่ต่างๆ เป็นดาว หรือ เห็นเป็นดวงสว่างท่ามกลางหน้าอก ฯลฯ อันนั้นไม่ใช่แสงปัญญา อันนั้นเป็นภาพนิมิตเกิดในสมถะ


    นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี


    ที่ ท่านพูดเช่นนั้น ท่านไม่ได้พูดถึงเรื่องแสง ท่านพูดถึง แสงสว่างของปัญญา คือไปตามรู้ตามเห็นในสิ่งต่าง ๆ เช่น ไปตามรู้เรื่องทุกข์ ดังที่เรามีทุกข์อยู่แล้ว ปรากฏว่าทุกข์อยู่แล้ว แต่หากว่าไม่รู้จักตัวทุกข์ ถ้าหากว่าเรามีความสงบแล้ว จะรู้ทุกข์ขึ้นมาชัดเจน


    หรือ หากว่าจะรู้ทุกข์แต่มันก็ไม่ชัด รู้เหมือนคนทั่วๆ ไป ทุกข์จนกระทั่งออกปาก ปรากฏร้องโวยวาย เพราะว่าเมื่อทุกข์แล้วก็ไม่รู้จะแก้ไข มีอย่างเดียวคืออยากตาย อยากหนีให้พ้นจากทุกข์ ตายให้พ้นจากทุกข์นั้น เป็นทำนองนั้นไป รู้ทุกข์อย่างนี้ยังไม่จัดเข้าในพวกรู้ทุกข์ ที่เกิดจากความสงบ เห็นทุกข์แบบนี้ไม่เหมือนรู้ทุกข์ เห็นทุกข์ในความสงบ รู้ทุกข์แบบนี้เป็นแบบฟุ้งแบบระเบิด ไม่เป็นตนเป็นตัว มันกระจายออกไป


    ถ้า หาก รู้จักทุกข์ แบบที่เข้าถึงสัจจะ ต้องมีความสงบเป็นรากฐาน เห็นตัวทุกข์เฉพาะในตัวของเรา ที่ตัวของเรา แล้วก็เกิดสลดสังเวชในตัวเองที่หลงทุกข์ มัวเมาในกองทุกข์ ติดทุกข์ ยึดทุกข์เข้ามาเป็นอารมณ์ ในลักษณะที่เห็นเช่นนี้ คือว่า มีคนหนึ่งเป็นผู้เห็นทุกข์ ถ้ามีความสงบมันมีหลักอย่างนี้ ผู้ที่ไม่มีความสงบแล้ว มันไม่มีใครเป็นตัวเห็นทุกข์ ตัวเรากับทุกข์เป็นอันเดียวกันไปหมด เหตุนั้นจึงแตกกระจาย ทุกข์ไปถึงไหน ก็แตกกระจายไปถึงนั่น


    ส่วน ทุกข์ที่เห็นในความสงบนั้น คือจิตมันสงบแล้ว จึงเห็นทุกข์ที่เกิดอยู่ก่อน เห็นเพราะความสงบ มันมีผู้เห็น แล้วก็อาการที่เห็น แล้วก็ทุกข์ที่เห็น 3 อย่างประกอบกัน นี่เป็นปัญญา ที่เกิดจากความสงบแล้วเห็นทุกข์ มันผิดแผกกันตรงนี้


    เหตุ นั้นเห็นแบบนี้ จึงมีหนทางแก้ทุกข์ ไม่มีการอยากจะตายเพื่อให้พ้นจากทุกข์ คือ ขณะที่เห็นนั้นมันพ้นจากทุกข์แล้ว จึงค่อยเห็นได้ ถ้าหากว่าอยู่ในทุกข์ ไม่มีความสงบแล้ว ผู้เห็นทุกข์กับตัวทุกข์ มันเข้าอยู่ในอันเดียวกัน เลยเป็นอันเดียวกัน ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้ เลยอยากตาย อยากหนีพ้นจากทุกข์นั้นพร้อมกัน ทั้งผู้เห็นและตัวทุกข์นั่นเลย เหตุนั้นจึงพ้นจากทุกข์ไม่ได้ ไปอยู่ที่ไหนๆ ทุกข์มันก็ตามไปอยู่ที่นั่น


    ถ้า หากมีผู้เห็นแล้วมันไม่เป็นอย่างนั้น ทุกข์ก็สักแต่ว่าทุกข์ จึงว่า ต้องอาศัยความสงบ จึงจะเห็นทุกข์ นั่นเป็นปัญญา มันเข้าไปสอดส่องเห็นชัดถึงจิต


    นอก จากนั้นอีก ที่มันเห็นเหตุที่เกิดทุกข์ นั่นคือว่า เห็นอาการของจิตที่มันเกิดทุกข์ เพราะจิตตัวนี้เข้าไปยึดไปถือในทุกข์อันนั้น ไปหลงยึดถือเอาทุกข์อันนั้นมาเป็นของตัว


    เห็น เรื่องที่มันจะทำให้เกิดทุกข์ด้วย ถ้าหากเราไม่เอามาเป็นของตัว ไม่เอามาเป็นของเราเสียแล้ว ทุกข์อันนั้นมันก็เป็นสักแต่ว่าทุกข์ มันไม่เข้าไปยึดเอามาเป็นของตัว มันไม่เข้าไปอยู่ในทุกข์ เป็นเพียงแต่ว่า เห็นทุกข์เฉยๆ มองเห็นได้ชัดเลยว่าเหตุที่จะทำให้เกิดทุกข์คือตรงนี้ เมื่อไม่ต้องการจะให้เกิดทุกข์ เราก็ไม่เข้าไปยึดไปถือ มันเห็นพร้อมกันเลย ไปเห็นความจริงตรงนั้น


    ใน ขณะที่เห็นการเกิดทุกข์นั่น พร้อมกันนั่นจะเห็นเป็น อนัตตา พร้อมกันไป คือ ทุกข์นั้นไม่ใช่เรา เป็นอันหนึ่งต่างหาก อนัตตาชัดขึ้นมาก่อนไตรลักษณ์ ที่เกิดนี้ อนัตตา มาก่อน ไม่ใช่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันเห็นเป็นอนัตตา แล้วจึงค่อยเป็นทุกข์ แล้วจึงค่อยเป็นอนิจจัง


    ที่ เห็นว่า ทุกข์ไม่ใช่เรา มันเป็นอนัตตาตรงนั้นแหละ แล้วก็เห็นชัดในขณะนั้นด้วยว่า ทุกข์นั้นเกิด ดับ ไม่ใช่มั่นคงถาวร เปลี่ยนสภาพอยู่ตลอดเวลา จึงว่า อนัตตา แล้วไปหา ทุกขัง แล้วเป็น อนิจจัง ความรู้เห็นเกิดจากความสงบมันกลับกัน ถ้าหากพูดตามบัญญัติตำราต้องเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ก็ได้เหมือนกัน มันก็อันเดียวกันนั่นแหละ แต่ในทางปฏิบัติที่เกิดปัญญา มันต้อง อนัตตา เกิดก่อน ต้องเป็นอย่างนั้น ที่พูดนี่พูดตามแนวปฏิบัติ การที่เห็นเช่นนี้ (ไตรลักษณ์) เรียกว่า ปัญญาวิปัสสนา อันเกิดจากความสงบ


    ปัญญา วิปัสสนา คือ รู้แจ้งเห็นชัดตามความเป็นจริง วิปัสสนาคือ ความรู้แจ้ง "รู้แจ้ง" ก็หมายความถึง แสงสว่าง แจ้งก็คือสว่างนั่นเอง มันไม่ได้ "รู้" เฉยๆ มัน "รู้แจ้ง" มันสว่าง ท่านจึงว่า แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี แสงสว่างจากอย่างอื่น เช่น แสงไฟ ถ้ามีอะไรมาบังแล้ว แสงนั้นเข้าไม่ถึง


    แต่ แสงปัญญาอันนี้มันทะลุปรุโปร่งหมด คือ มันเห็นตัวของเรา มันเห็นตัวสมุทัย ที่เกิดขึ้นในตัวเรา อย่างที่อธิบายมาแล้ว ทุกข์ มันเกิดขึ้นเพราะอย่างนี้ ละสมุทัยได้อย่างนี้ๆ อนัตตา ทุกขัง อนิจจัง เป็นอย่างนี้ๆ ชัดขึ้นมา มันทะลุปรุโปร่งหมด ไม่มีเครื่องปกปิด ใครจะมาโกหกก็ไม่ได้ ไม่ยอมเชื่ออะไรทั้งนั้น ใครจะมาว่าไม่จริงก็ไม่ได้ ใครจะมาปิดป้องกำบังก็ไม่ได้ แม้จะอยู่ในตัวของเรา ก็ไม่มีอะไรจะส่องเข้าไปภายใน เห็นภายในตัวได้เท่าปัญญา ปัญญามันส่องเข้าไปเห็นตัวของเรา


    เมื่อ เห็นตัวของเราแล้ว มันเห็นอย่างอื่นทะลุปรุโปร่งไปหมดทุกอย่าง บรรดาขันธ์ทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกอันนี้ ได้แก่ขันธ์ 5 ขันธ์ 4 และขันธ์ 1 ก็เห็นทะลุปรุโปร่งด้วยกันหมด มันเหมือนกันหมด ไม่มีผิด


    ขันธ์ 5 มีรูป มีนาม คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เช่นตัวของเรา มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย


    ขันธ์ 4 มีแต่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ได้แก่พวกอรูปพรหม


    ขันธ์ 1 ที่ท่านอธิบายไว้ในตำราว่า "พรหมลูกฟัก" นั้น ถ้าหากพูดตามแนวปฏิบัติ คือว่า จิตเข้าไปรวมอยู่นิ่ง แล้วไม่มีความรู้สึก แข็งนิ่งอยู่คนเดียว ไม่มีอะไร ปรากฏอยู่เฉพาะตัวเท่านั้น ใจไม่ทราบหายไปไหน เห็นเฉพาะกาย คือไปถือ "รูปจิต" นั่นแหละเป็นกาย มันไปถือมั่นเหมาะอยู่แต่ในอันนั้น คือรูปจิตไม่ใช่รูปกายนี้ แต่ทางบัญญัติท่านถือเอารูปกาย ก็คิดดูซิว่า เป็นอรูปพรหมแล้ว ทำไมถึงยังจะไปถือ รูป อีกเล่า


    อรูป พรหม ก็แปลว่าไม่มีรูป คราวนี้ขันธ์ 1 มันเลยนั่นไปอีก และจะมีแต่รูป แล้วไม่มีนาม จะใช้ได้หรือ มันไม่สมเหตุสมผล ถ้าสมเหตุสมผลคือว่า รูปจิต เป็นความว่าง ในการภาวนา จิตไปถือเอาความว่าง เอาวิญญาณ ถือเอาความไม่มีเป็นอารมณ์ เป็นภพของอรูปพรหม ได้แก่ อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญาตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ที่ท่านแสดงไว้ ไปถือเอาตัวจิต


    คราว นี้เมื่อมันว่างเรื่องเหล่านี้แล้ว มันจึงไปถือเอาความที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวนั่น จิตมีอยู่อันเดียว เลยไปถือเอาอันหนึ่งเดียว คือ รูปจิต นั่นแล้วก็ไม่มีอุบายปัญญาคิดค้นอะไร คือ หยุดอยู่นิ่ง อันนั้นท่านจึงเรียกว่า พรหมลูกฟัก เรียกว่า ขันธ์ 1 มีแต่รูป คือ รูปจิต


    ขันธ์ 5 มีรูป มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือตัวของเรานี่


    ขันธ์ 4 ไม่มีรูป มีแต่เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


    ขันธ์ 1 มีแต่รูป คือ รูปจิต


    แล้วอะไรจะดีกว่ากัน ลองคิดดูซิ? 1 ดี หรือว่า 4 ดี หรือว่า 5 ดี ของมากมันก็เป็นของดี มีความรู้กว้างขวาง ถ้าอัน 1 แล้วไม่มีความรู้กว้าง อัน 4 ก็ไม่กว้าง คนเรามันต้องการของมาก มันจึงจะแตกฉานมาก ไม่ใช่อันเดียวแตกฉาน ถ้าอันเดียวแล้วมันไม่แตกฉาน


    แต่ ความแตกฉานเกิดขึ้นในที่เดียวนั้น ไปรู้รอบ 5 (ขันธ์ 5) ไปรู้รอบ 6 คือ อายตนะ 6 ไปรู้รอบ 4 คือ อริยสัจจ์ 4 ไปรู้รอบ 12 คือ ปัจจยาการ 12 (ปฏิจจสมุทปบาท) รู้รอบ 37 คือ โพธิปักขิยธรรม มันมารู้ขึ้นในที่อันเดียว


    นี่ แหละเรื่อง ปัญญา มันสว่างอย่างนี้ มันสว่างจ้า คือความชัดตามความเป็นจริง ในแสงสว่างทั้งหลายเสมอด้วยแสงสว่างของปัญญาไม่มี แสงไฟแสงฟืน แสงดาวแสงเดือน ไม่ได้ส่องให้เห็นทุกข์เห็นภัยหรอก นอกจากแสงปัญญาแล้วไม่มี จึงเรียกว่า ปัญญาวิปัสสนา รู้แจ้ง รู้จริง รู้ทั้งภายนอกภายใน หรือที่เรียกว่า ทั้งรู้ ทั้งเห็น รู้ด้วยเห็นด้วย มีแต่รู้อย่างเดียวก็ยังใช้ไม่ได้ มีแต่เห็นอย่างเดียวก็ยังใช้ไม่ได้


    เห็นอย่างเดียวไม่รู้คืออย่างไร? คือ เห็นภาพนิมิต อย่างที่อธิบายมาแล้ว ภาพนิมิตที่เกิดจากการทำภาวนาสมาธิ ไปเห็นนรกเห็นสวรรค์ชั้นฟ้า เห็นนางฟ้า เห็นภูตผีปีศาจฯ อันนี้ไม่มีความรู้ มีแต่เห็น เห็นด้วยใจ "ตาใจ" เป็นผู้เห็น ไม่มีความรู้ มันเห็นภาพ แต่หาได้รู้เหตุผลต้นตอของภาพไม่ ว่าเกิดจากอะไร? จึงเรียกว่าไม่มีความรู้ ได้แต่เห็นอย่างเดียว


    มีแต่รู้อย่างเดียวคืออย่างไร? คือ รู้เฉพาะตนเอง เข้าใจเฉพาะตนเอง เช่นว่า เราไปเห็นดวงจิต ผ่องใสสะอาด นุ่มนวล เบาสบาย แวววาว สวยงาม ชัดเจนแจ่มแจ้ง แล้วก็เพลิดเพลิน มัวเมา หลงชอบ รักเพลินอยู่แต่ในสิ่งนั้น นั่นเรียกว่ารู้ด้วยใจ มันรู้ชัดขึ้นมาในที่นั้น รู้ภายในด้วยจิต แต่หาได้เทียบของภายนอกไม่ คือ ไม่ได้เทียบเหตุผล ต้นตอ กับของภายนอก


    ถ้า หากทั้งรู้ทั้งเห็นแล้ว เทียบกันได้เลยทั้งภายในภายนอก เช่น เราเห็นทุกข์ เห็นเป็นอนัตตา เห็นเป็นทุกขัง เห็นเป็นอนิจจัง ไม่มีใครมาค้านสักคน ทั้งภายในก็เห็นเป็นอนัตตาแท้ๆ ทีเดียว ชัดเลยเรียกว่า ญาณทัสนะ ทั้งรู้เห็นตามเป็นจริง แล้วเทียบดูกับภายนอก ภายนอกก็เห็นอยู่ กายของคนมันเปลี่ยนสภาพเรื่อยไป เกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องเปลี่ยนไปเป็นแก่ เป็นชรา ต้องแตกดับเห็นชัดทีเดียว ตรงกันเป๋งไม่มีผิด ใครก็ค้านไม่ได้สักคนเดียว


    รู้ ภายในเป็นอย่างนั้น เห็นภายนอกก็เป็นอย่างนั้น เป็น อนิจจังแท้ แปรสภาพไปเรื่อยแท้ทีเดียว ไม่มีใครค้าน เป็น อนัตตา คือว่าไม่ใช่ของเรา เราบอกไม่ได้ บังคับไม่ให้แปรสภาพไม่ได้ การแปรสภาพนั้นแหละเป็นของไม่เที่ยง เป็น อนิจจัง เพราะการแปรสภาพมันยักย้ายไม่คงที่ มันถึงเป็นทุกข์ พูดเรื่องเดียวกันนั่นแหละ


    เมือ ภายในรู้เห็นด้วยใจชัดแล้ว ส่วนภายนอกก็เป็นสักขีพยาน เป็นไปตามนั้นจริงๆ ต้องรับรองทุกคน จึงว่า ทัสสนะ ทั้งรู้ทั้งเห็นแล้วก็มีสักขีพยานในสิ่งที่รู้เห็น เรียกว่า สัจจธรรม เป็นของจริง นี่เป็นปัญญาวิปัสสนา


    พระ พุทธเจ้าตรัสรู้สัจจธรรม ความเป็นจริงอย่างนี้ อริยสงฆ์สาวกทั้งหลาย ท่านก็รู้ความจริงอย่างนี้ ของจริงมีอยู่ตั้งแต่พระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้นมาในโลก พระสาวกก็ยังไม่มีขึ้นมาในโลก แต่ผู้คนจะรู้ความจริงอย่างนี้ ต่อเมื่อพระองค์ทรงค้นคว้าด้วย ความวิริยะพากเพียรของพระองค์ จึงไปทรงเห็นชัดขึ้นมาว่า อ้อ! ไม่ใช่มาจากอื่นไกล สัจจธรรม ก็อยู่ในนี้เอง


    แล้ว จึงสอนพระสาวกทั้งหลายว่า มันต้องเป็นอย่างนี้ๆ นา ผู้มีบุญอย่างพระอัญญาโกญธัญญะ ขณะที่ฟังธัมมจักกัปวัตนสูตร (ครั้งแรกที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนา อริยสัจจ์) ท่านตั้งจิตพิจารณาไปตามกระแสธรรมที่พระองค์ตรัส จิตเลยชัดเจนขึ้นมาว่า อ้อ! มันเป็นจริงอย่างที่พระองค์ตรัสโดยแท้ จิตก็หนักแน่นมั่นคงในสัจจธรรมนั้น เป็นคนแรกที่เป็นพยานให้พระพุทธเจ้าเรียกว่า สาวก คือ ผู้ฟังแล้วเห็นตามรู้ตาม ไม่ได้เห็นด้วยตนเอง พระพุทธเจ้าทรงรู้เห็นด้วยพระองค์เอง เรียกว่า สัพพัญญู ไม่มีครูอาจารย์สั่งสอน


    ถึง แม้ว่า พระสาวกทั้งหลายจะเห็นชัดด้วยตนเองก็ตาม จะฟังพระองค์ทรงเทศนาแล้วจึงเห็นก็ตาม แต่การเห็นชัดนั้นก็ไม่เหมือนกัน มีระดับต่ำ สูง หยาบ ละเอียด ต่างกัน ไม่เสมอภาคกัน และความเห็นอันนั้นที่ชัดหรือไม่ชัดนั่น ระดับความชัด ต่ำสูงก็ไม่เหมือนกัน ไม่มีใครมาวัด วัดด้วยตนเอง เรียกว่า ปัจจัตตัง

    ปัจ จัตตัง อันนี้ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าทรงให้ ถึงแม้ว่าจะฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์ แล้วเกิดความรู้เห็นชัดขึ้นมา แต่ปัจจัตตังที่เกิดไม่ใช่พระองค์ทรงให้ อาศัยพุทธโอวาทเป็นเครื่องกำหนดพิจารณา มันเป็นเรื่องเฉพาะแต่ละบุคคล วิปัสสนาต้องเป็นอย่างนั้น


    อย่า ไปนึกมันจะเป็นวิปัสสนึก ไม่ดี ไปนึกว่าอันนั้นเป็นอนิจจัง อันนั้นเป็นทุกขัง เป็นอนัตตา หรือว่า อันนั้นเป็นอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ อันนั้นเป็น ภังคานุปัสสนาญาณ อันนั้นเป็น ภยตูปัฏฐานญาณ ฯลฯ อย่าไปนึก ถ้ามันไม่ได้เกิดจากจิตอันสงบจากสมถะแล้ว ไม่เป็นวิปัสสนาเลย ถ้าหากเราไปนึก มันก็เป็น วิปัสสนึกเสีย พอหมดจากเรื่องนึก กิเลสมันก็อยู่เท่าเก่า เท่าเดิม


    ถ้า เป็น วิปัสสนา เกิดเองแล้ว กิเลสที่มีอยู่เก่า ความยึดมั่นถือมั่น สำคัญว่าตน ว่าตัว เรา เขา ต่างๆ มันหายไปไหนไม่ทราบ มันวางเสีย มันเบามันเยือกเย็น จิตใจสว่างแจ่มจ้าภายใน เกิดปิติ ปัสสัทธิ มีความพออกพอใจ ยึดมั่นอันนั้นไว้ภาวนา ไม่ท้อถอยจึงเรียก วิปัสสนา


    มรรค ทีนี้วิปัสสนานี่แหละ ถ้าหากว่ามันดำเนินเข้าไปถึง มรรค คือ เมื่อพิจารณาเห็นชัดเห็นจริงแจ่มแจ้งแล้ว (มันเป็นไปอีกระยะหนึ่ง กว่าจะเข้าไปถึงมรรค) มันทิ้งวิปัสสนาแล้วคราวนี้ เข้าไปอยู่ในที่เดียวของมันต่างหาก เรื่องทั้งหลายไปรวมหมด ชัดอยู่ในที่แห่งเดียวนั่น ไม่ต้องส่งไปพิจารณาตามหมวด ตามกระทู้ ถ้อยคำอะไรต่างๆ เช่น ขันธ์ 5 เป็นอย่างนั้น อายตนะ เป็นอย่างนั้น ธาตุ เป็นอย่างนั้นๆ ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างนั้น ฯลฯ ไม่ต้องไปตามพิจารณาเลย แต่ว่ามาปรากฏอยู่ในที่แห่งเดียวนั่น ชัดเจน


    ญาณ ทัสสนะ การเห็นทั้งภายนอกภายใน ไม่ต้องพูดถึงละขณะนั้น ตรงนั้น มันไม่มีนอกมีในแล้วคราวนี้ เมื่อไปเห็นตรงนั้นแล้วมันรู้เห็นครอบหมด เรียกว่า มรรค เกิดมรรคอยู่ในที่เดียว


    แต่ มันก็ไม่ได้พักอยู่ที่นั่นตลอดไป มันอยู่ในที่เดียวนั้นพักเดียว มันเป็นอยู่พักหนึ่ง แล้วก็ถอนออกมา ทีหลังมันก็ทำอย่างนี้ไม่ได้อีกเหมือนกัน


    การเดินปัญญา เมื่อจิตถอนออกมาจากมรรค คราวนี้มันเดินปัญญา ตอนมันเดินปัญญานี้ จะยกอะไรขึ้นมา มันก็เรื่องคิดเรื่องพิจารณาทั้งนั้น


    เช่น ยก สติปัฏฐาน 4 ขึ้นมาพิจารณาถึงเรื่อง กาย เวทนา จิต ธรรม ในขณะนั้นมันเป็นเรื่องที่น่าคิดน่าค้น น่าพิจารณา น่าตรวจตราจริงๆ กายานุปัสสนา พิจารณากายให้เป็น อสุภะ มันก็ชัด เป็น ธาตุ ก็ชัด พิจารณาเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ชัด หรือจะพิจารณา อริยสัจจธรรมทั้ง 4 มันก็ชัด แม้จะพิจารณาในแนว ปฏิจจสมุปบาท มันก็ชัดอยู่ในแนวนี้หมด


    หมวด ธรรมทั้งหลาย ที่ท่านแสดงไว้ในที่ต่างๆ จะพิจารณาอะไรมันก็ชัดอยู่ในที่นี้หมด นี่แหละที่ท่านว่า ธรรมทั้งหลาย 84,000 พระธรรมขันธ์อยู่ในที่เดียวก็คือ ตัวนี้อันนี้แหละ ที่ว่า รู้แจ้งแทงตลอดเลย ธรรมทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน การที่ไปตามดูตามศึกษาในคัมภีร์ต่างๆ การเรียนรู้ทะลุปรุโปร่งหมดแล้ว จะหายสงสัยนั้น หามิได้ พอมารู้ในที่นี้แล้ว หมดสงสัยเลย ชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้นมาในที่นี้แล้ว หมดสงสัย
    เหตุ นั้น เมื่อเราพิจารณาตรงนี้นั้น ใช้ปัญญาตรวจตราไปตามอาการต่างๆ มันจะไปโดยรอบเอง อย่างเช่น เมื่อเดินปัญญาพิจารณาถึงเรื่อง กาย พอเราพิจารณากายเท่านั้น มันกลายเป็นเรื่อง จิต ไปในตัว คือว่าใครเป็นผู้พิจารณากาย ก็จิตนั่นซิเป็นผู้พิจารณากาย ใครเป็นคนว่า เวทนา ก็จิตน่ะซีเป็นผู้ว่า เวทนาก็เกิดจากกาย กับใจ พอพิจารณา กาย มันเห็น เวทนา ขึ้นที่ในนั้น ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย มันก็เกิดจากกายกับใจ นั่นซี ไม่มี กายกับใจ มันจะเกิดความสุข ความทุกข์ได้อย่างไร?


    ท่าน บัญญัติว่า กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นเรื่องๆ เป็นวรรคเป็นตอนไป ความเป็นจริงอันเดียวกันนั่นเอง แต่ท่านแยกออกเป็น 4 อย่าง เพราะมีอาการ 4 เมื่อพิจารณา กาย ก็เห็นเวทนาไปด้วย เวทนาเกิดขึ้นที่กายกับใจ เมื่อพิจารณา เวทนา มันก็เป็นการพิจารณาจิต มันเห็นจิต เห็นกาย อยู่ในนั้น มันเกิดเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ก็เพราะจิตไปยึดไปถือ มันเลยเป็นการพิจารณา กาย เวทนา จิต อยู่ในนั้นพร้อมแล้ว ทั้ง กาย ทั้ง เวทนา ทั้งจิตก็เป็น ธรรม ก็เป็นการพิจารณา ธรรม ไปในตัว


    ทาง บัญญัติท่านแยกกันไว้เป็นส่วนหนึ่งๆ ถ้าไม่แยกเป็นอันเดียวกัน ในทางปฏิบัติเห็นในที่เดียวกันเลย พอพิจารณากายก็เห็นเวทนา เห็นจิต พร้อมกันไปเลย


    ถ้าหากใครวิตกขึ้นมาว่า ทำไมจึงต้องเป็นอย่างนี้?


    ให้ตั้งจิตใจของเราให้มันแน่วแน่ เพ่งพิจารณาตรวจค้นแล้วจะสนุกเหมือนกัน แบบนี้เรียกว่า เดินปัญญา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2011
  12. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,863
    (ต่อ)

    สัม มัปปธาน 4 หากพิจารณาต่อไปถึงเรื่อง การละ การถอน การติด เรียกว่า สัมมัปปธาน 4 ได้แก่ การละบาป การบำเพ็ญบุญ และเจริญบุญไว้ และบาปที่ละแล้วอย่าให้มันเกิดขึ้นมาอีก คือว่า ละบาปแล้วรักษาไว้อย่าทำบาปนั้นอีก บำเพ็ญบุญแล้วพยายามรักษาไว้ อย่าให้บุญสูญไป หมายความว่า พยายามอย่าให้ความดีเสื่อมไป


    เมื่อ เป็นเช่นนี้ มันก็ละบาปอยู่ในตัว ละความชั่วไปในตัวแล้ว และทำอยู่อย่างนั้น ก็เท่ากับทำความดี และรักษาความดีอยู่ในตัวแล้วเหมือนกัน ก็เป็นอันเดียวกัน แล้วจะเอาอย่างไรกันอีกเล่า? อันส่วนปลีกย่อยนั้น ก็แล้วแต่ใครหรอก แต่หลักมันต้องเป็นอย่างนี้


    พละ 5 ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ก็อันเดียวกันอีก ศรัทธา ความเชื่อมั่นของเรา เมื่อเราพิจารณาเห็นชัดแจ้งขึ้นมา มันก็เกิดความเชื่อมั่นขึ้นในที่นั้น แน่วแน่แล้วมันก็ไม่ท้อถอย บางคนนั่งภาวนาอยู่ได้ตั้ง 3-4 ชม. มันไม่ใช่ วิริยะ หรืออันนั้น?


    อินทรีย์ 5 สัทธินทรีย์ ความเชื่อเป็นใหญ่ วิริยินทรีย์ ความเพียรเป็นใหญ่ มันก็เป็นใหญ่น่ะสิ มีความขยันไม่ท้อถอย นั่งอยู่ได้ตั้งหลายชั่วโมง มันก็เพียรเป็นใหญ่ ความที่จิตตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในที่เดียว ในอารมณ์อันเดียวก็เป็นสตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มีอยู่ในที่เดียวนั่นครบหมดเลย พิจารณาดูเถิด พละ 5 เมื่อมันเป็นใหญ่แล้ว มันก็เป็นกำลัง ดังนั้น พละ 5 อนิทรีย์ 5 เมื่อมันเป็นใหญ่แล้ว มันก็เป็นอันเดียวกัน


    อิทธิบาท 4 ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ก็อยู่ในอันเดียวกันนั้น ทำนองเดียวกันกับที่อธิบายไปแล้ว


    โพชฌงค์ 7 สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา มีอยู่ในที่เดียวกันนั่น พิจารณาดูเถิด


    อัฏฐังคิกมรรค หรือ มรรคมีองค์ 8 มีสัมมทิฏฐิ เป็นต้น มันก็อยู่ในอันเดียวกันนั่น มีพร้อมกันหมดเลย


    ถ้า ปฏิบัติถูกทางแล้ว มันเป็นอย่างนั้น พิจารณาธรรมะข้อใดมันชัดแจ้งอยู่ในที่เดียวนั่น มันไม่ได้ส่งออกไปภายนอก ถ้าหากส่งออกไปหยิบอันโน้นอันนี้แล้ว นั่นยังไม่ถูกทาง ถ้าเราจับจุดตรงนี้ได้แล้ว เรียกว่า เดินปัญญา ปัญญาอันนี้ท่านเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม หมายความถึงว่า การพิจารณาธรรมแบบนี้ เป็นคล้ายกันกับว่า นกที่บินไปในอากาศ มันบินไปข้างหน้า นกเวลาบิน มันบินไปข้างหน้าเท่านั้น ไม่ได้บินกลับหลังหรอก


    ผู้ ที่พิจารณาเช่นนี้ เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ เจริญงอกงามในด้านปัญญา จิตใจสว่างเบิกบานแจ่มจ้า ปัญญาเจริญโดยลำดับๆ มีถึงที่สุดจุดหมายปลายทาง คือ พ้นจากทุกข์


    ที่ ท่านว่า โพธิปักขิยธรรม ธรรม 37 ประการ ประกอบด้วย สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 รวมเป็น 37 แล้วคิดค้นพิจารณาเหมือนที่อธิบายมานี้ เป็นการตรวจตราพิจารณาธรรมแบบ เดินปัญญา เป็นเหมือนอย่างนก ที่บินไปข้างหน้าในอากาศ มีหวังที่จะถึงจุดหมายปลายทาง คือ ความพ้นจากทุกข์


    นี่ พูดถึงเรื่อง วิปัสสนา กับ วิธีเดินปัญญา มันแฝงกันอยู่อย่างนี้ บางทีเราเดินวิปัสสนา เดินไป เดินไป มันรวมลงในที่เดียวเป็น มัคคสมังคี พอมันถึงมัคคสมังคี จิตรวมลงไปพักอยู่พักหนึ่งออกจากมัคคสมังคี แล้วก็เดินปัญญา


    จิต จะดำเนินแบบใดก็ตาม จะเข้าไปรวมแบบใดก็ช่างเถิด แต่ขอให้เข้าใจหลักตามนี้ เวลาจิผายลมำเนินไป มันไปเองของมันหรอก เราไม่ได้ตั้งใจจะให้มันเป็นแบบนี้ แบบโน้น แต่มันเป็นไปของมันเอง ให้เข้าใจหลักเอาไว้ก็แล้วกัน อยากจะให้นักปฏิบัติเข้าใจถึงสิ่งที่มันเป็นไปเอง ไม่ใช่แต่งเอา ถ้าแต่งแล้วผิดไม่ใช่หนทาง ในทางปฏิบัติจิตมันดำเนินไปแล้ว การปฏิบัติมันเป็นไปแล้ว เราจึงค่อยมาตามรู้เท่าทีหลัง ว่ามันเป็นอย่างนั้น ๆ เราไปตามรู้เรื่องของมัน ก็เพื่อไม่ให้มันเดินแหวกจากทาง ให้มันเดินตรงแน่วไป


    ที่ ว่า "มันแหวกจากทาง" เช่นว่า จะเดินสมถะ พิจารณาอสุภะกัมมัฏฐานอยู่ หรือบริกรรม พุทโธ พุทโธอยู่ กำหนดอยู่เพียงประเดี๋ยวเดียว มันก็ไปทางอื่นเสียแล้ว วิ่งไปเอาอย่างอื่น ไปเอาอานาปานสติ ไปเอาพิจารณาธาตุ ฯลฯ เรียกว่ามันแหวกแนว


    หรือ หากว่าเราจะ เดินปัญญา พิจารณากายคตาสติปัฏฐานหรือพิจารณาสติปัฏฐาน 4 กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นต้น พิจารณาไปประเดี๋ยวเดียวมันก็ไม่เอาเสียแล้ว มันไม่อยู่ที่สติปัฏฐาน 4 แล้ว มันวิ่งไปเอาอรหังสัมมา ไปเอาพุทโธ ไปเอาอย่างอื่นๆ นี่รียกว่ามันแหวกแนว มันไม่เข้าทาง


    เหตุ นั้น เราจึงต้องตั้งสติประคองจิตของเรา ให้มันเดินตามแนวนี้ มันจะเดินสมถะ หรือจะเดินวิปัสสนา หรือจะเดินปัญญา ก็ตาม ให้มันเดินตามแนวที่อธิบายมานี้ ให้รู้ว่า อ้อ! อันนี้จิตมันเดินปัญญานะ อันนี้เดินสมถะ อันนี้เดินวิปัสสนานะ เข้าใจตามเป็นจริงแล้วก็พอ เปรียบเหมือนกันกับเรื่องทุกข์ ทุกข์ทั้งหลายเรามีอยู่ตามเป็นจริง แต่เราไม่เข้าใจทุกข์ เมื่อไม่เข้าใจทุกข์เลย เป็นคนหลงเสีย ไปมัวเมาในกองทุกข์ เลยไม่เห็นทุกข์


    เช่น เดียวกัน อันนี้ ธรรม มีอยู่ เมื่อจิตของเราไม่เดินตามธรรม เราก็เลยไม่เห็นธรรม หรือว่าเมื่อเดินไปตามธรรม แต่เราไม่เข้าใจถึงว่าจิตเดินตามทางธรรม มันก็เลยไม่รู้เรื่องของธรรม ไม่รู้ว่าจิตเดินแบบไหน


    จึง ว่าให้เห็นตามเป็นจริงแล้วก็พอ อย่าไปแต่งมัน จะไปแต่งให้ทุกข์เป็นสุขก็ไม่ได้ จะไปแต่งสมุทัยให้เป็นทุกข์ก็ไม่ได้ หรือจะไปแต่งอนิจจัง ให้เป็นอนัตตาก็ไม่ได้ หรือแต่งมันก็ไม่ถูก


    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันมีอยู่แล้ว เมื่อจิตเข้าถึงไปเห็นในที่อันเดียวตรงนั้นแล้ว เห็นชัดตามเป็นจริง ทีนี้ความเห็นไม่กลับมาแล้ว มันเป็นอย่างไรก็เห็นชัดตามเรื่องที่เป็นจริงของมัน ก็เรียกว่า เห็นชัด เห็นแจ้ง เห็นจริง เท่านั้น


    วันนี้ประมวลรวมเรื่อง การดำเนินของจิตในแนวปฏิบัติ 3 ข้อ คือ สมถะแบบ 1 วิปัสสนา อีกแบบ 1 แล้วก็ปัญญาอีกแบบ 1


    ทั้ง สมถะ ทั้งวิปัสสนา ทั้งปัญญา อาศัยซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น เวลาปฏิบัติ จิตจะเดินแบบใดก็ช่าง แต่เราเป็นคนไปตามรู้ตามเห็น เข้าใจเรื่องของมันแล้วก็พอ เราอย่าไปแต่งมัน ให้มันเดินไปตามทางตามเรื่องของมัน ถ้าไปแต่งมันแล้ว มันผิดแผกแหวกแนวใช้ไม่ได้


    พา กันจำอันนี้ไว้ให้มั่นคง แล้วดำเนินต่อไป จะได้รู้ความเป็นจริงด้วยตนเอง และมีหลักฐานมั่นคงในการที่จะดำเนิน ในทางที่จะปฏิบัติธรรมต่อไป
     
  13. kamontad

    kamontad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2010
    โพสต์:
    678
    ค่าพลัง:
    +574
    อนุโมทนาครับ สาระดีดีมีทุกวัน
     
  14. Piticha

    Piticha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +2,057
    อนุโมทนาค่ะพี่พรหมณี..ของเก่ายังอ่านไม่หมดเลยค่ะ 555 ดีคะ ชอบค่ะ จัดไปค่ะพี่:cool:
    คุณตันค่ะ เรื่องนิวรณ์ 5 กับการปรับธาตุ รอฟังต่อนะค่ะ เผื่อมีอะไรเพิ่มเติมค่ะ
    ฟังแล้วถ้าเราไม่รู้จักตัวเองนี่น่ากลัวนะค่ะ แต่ปรับธาตุโดยใช้วัตถุธาตุ เช่น อารมณ์ร้อนแล้วดันไปใช้วัตถุธาตุที่ร้อนอีก ไฟไหม้กันพอดีค่ะ 555:cool:
     
  15. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    [​IMG]<link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CSamsung%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]-->​
    <style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:1627421319 -2147483648 8 0 66047 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} h2 {mso-margin-top-alt:auto; margin-right:0cm; mso-margin-bottom-alt:auto; margin-left:0cm; mso-pagination:widow-orphan; mso-outline-level:2; font-size:18.0pt; font-family:Tahoma;} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> อาหารปรับธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ

    <link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CSamsung%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->[FONT=&quot]ธาตุดิน[/FONT] [FONT=&quot]คนเกิดปีจอ (หมา) และปีฉลู (วัว)[/FONT][FONT=&quot]

    [/FONT][FONT=&quot]โรคที่มักจะเป็น[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]โรค ท้องผูก ระบบย่อยอาหารไม่ค่อยปกติ ท้องอืดท้องเฟ้อ ความดันต่ำ[/FONT][FONT=&quot]ไขมันอุดตัน หินปูนเกาะกระดูก ปวดตามข้อ เส้นเลือดตีบ โรคหัวใจ ไต[/FONT][FONT=&quot]ชักกระตุก[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]อาหารที่ควรรับประทาน[/FONT][FONT=&quot]
    -
    [/FONT][FONT=&quot]อาหารรสฝาด เชน กะหล่ำปลี ชะอม ถั่วพู ใบบัวบก ผักกวางตุ้ง ยอดกระถิน[/FONT][FONT=&quot]ยอดมะม่วงหิมพานต์ รากบัว สะตอ หัวปลี อาหารเหล่านี้รับประทานได้ทุกวัน[/FONT][FONT=&quot]
    -
    [/FONT][FONT=&quot]อาหารรสมัน เช่น กะทิ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง นม เนย เผือก ฟักทอง มัน[/FONT][FONT=&quot]แห้ว อาหารเหล่านี้ควรรับประทานพอประมาณ สัปดาห์ละ ๑-๒ ครั้ง[/FONT][FONT=&quot]อย่าให้มากกว่านั้น จะเป็นโทษ[/FONT][FONT=&quot]
    -
    [/FONT][FONT=&quot]อาหารรสหวาน เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก เงาะ แตงโม ฝรั่ง มังคุด มะม่วงสุก มะละกอ และน้ำผึ้ง นอกจากนี้รับประทานได้แต่นิดหน่อย[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]อาหาร ที่บำรุงธาตุได้ดี คือ น้ำนมข้าวผสมน้ำผึ้ง ใส่เกลือนิดหน่อย[/FONT][FONT=&quot]หรือไม่ก็น้ำข้าวกล้องข้นๆ ผสมน้ำผึ้งพอหวาน ใส่เกลือลงไปพอปะแล่มๆ[/FONT][FONT=&quot]รับประทานทุกเช้าตอนท้องว่าง แล้วจึงออกกำลังกาย สุดแต่สังขารอำนวย[/FONT][FONT=&quot]

    [/FONT][FONT=&quot]สรรพคุณของอาหารประจำธาตุดิน[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]กระถิน--- สรรพคุณ ช่วยขับลมในกระเพาะ บำรุงโลหิต เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]กระหล่ำปลี--- สรรพคุณ ช่วยลดความเครียด โรคหัวใจ และมีสารต้านทานมะเร็งในลำไส้[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]กล้วย--- สรรพคุณ ช่วยให้ร่างกายขับถ่ายได้คล่อง[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]ชะอม--- สรรพคุณ ขับสารที่ก่อมะเร็งต่างๆ ภายในกาย ป้องกันโรคหัวใจ ขาดเลือด แต่จะทำให้น้ำนมมารดาแห้ง[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]แตงโม--- สรรพคุณ ดับพิษร้อนภายในกาย เป็นยาระบายอ่อนๆ น้ำแตงโมปั่นช่วยล้างลำไส้และกระเพาะอาหารได้ดี[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]ถั่ว พูล--- สรรพคุณ ในการเสริมวิตามินให้แก่ร่างกาย ซึ่งในถั่วพูอ่อน[/FONT][FONT=&quot]มีสารประกอบไปด้วย วิตามินเอ วิตามินบี[/FONT][FONT=&quot]1 [/FONT][FONT=&quot]วิตามินซี วิตามินอี ฟอสฟอรัส[/FONT][FONT=&quot]และโปรตีน อีกทั้งยังมีกากใยอาหารมากด้วย[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]ถั่วเขียว--- สรรพคุณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ลดอาการอักเสบในช่องปาก ป้องกันโรคหัวใจ ขับลมในลำไส้[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]นม--- สรรพคุณ ให้โปรตีน แคลเซียม วิตามินบี เหล็ก และสังกะสี[/FONT][FONT=&quot]ผู้ที่มีวัยกลางคนแล้วไม่ควรดื่ม จะทำให้ท้องอืด ย่อยยาก[/FONT][FONT=&quot]ควรดื่มนมเปรี้ยวแทน[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]น้ำผึ้ง--- สรรพคุณ เป็นยาบำรุงกำลัง เป็นยาระบายอ่อนๆ[/FONT][FONT=&quot]เป็นยาฆ่าเชื้อโรคบางชนิด เป็นยาสมานแผล[/FONT][FONT=&quot]คนสูงอายุไม่ควรกินน้ำตาลควรกินน้ำผึ้งแทน เพราะร่างกายดูดซึม[/FONT][FONT=&quot]และย่อยสลายได้ง่าย[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]ใบบัวบก--- สรรพคุณ ช่วยลดความเครียด แก้ร้อนใน ช่วยละลายลิ่มเลือดภายใน ทำให้ความจำดี เอามาตำสดๆ พอกแผลหายเร็ว[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]ฝรั่ง--- สรรพคุณ ระงับกลิ่นปาก แก้อาการท้องเสีย บำรุงโลหิต[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]ฟักทอง--- สรรพคุณ ป้องกันมะเร็งในปอด ป้องกันเบาหวาน ป้องการโรคทางเดินหายใจ บำรุงสายตา คุมน้ำตาลในเลือด[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]มังคุด--- สรรพคุณ ช่วยลดความร้อนภายใน แก้กระหายน้ำ[/FONT][FONT=&quot]ช่วยเพิ่มเมือกภายในลำไส้ และกระเพาะ ทำให้ถ่ายคล่อง[/FONT][FONT=&quot]เปลือกนำมาฝนผสมน้ำทาแผลพุพองเป็นยาฆ่าเชื้อ[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]มันเทศ--- สรรพคุณ แก้โรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน บำรุงสายตา[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]มะละกอ--- สรรพคุณ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นยาระบาย บำรุงผิว[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]มะม่วงสุก--- สรรพคุณ ช่วยทำให้ระบายของเสียภายในได้ดี น้ำมะม่วงสุก เป็นยาบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]รากบัวหลวง--- สรรพคุณ เป็นยาเย็น แก้ร้อนใน ดับพิษไข้ บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]หัวปลีกล้วย--- สรรพคุณ ช่วยเพิ่มน้ำนมมารดา ลดไข้ระดู ทำให้เลือดสมบูรณ์ บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง มีกากใยอาหารมากทำให้ถ่ายสะดวก[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]แห้ว--- สรรพคุณ เป็นยาดับพิษร้อนในร่างกาย ขับพยาธิ ขับลมในลำไส้[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]สะตอ--- สรรพคุณ ทำให้เจริญอาหาร ขับลมในกระเพาะ บำรุงสายตา[/FONT][FONT=&quot]


    <!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
    <!--[endif]-->[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2011
  16. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    [​IMG]
    <meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=utf-8"><meta name="ProgId" content="Word.Document"><meta name="Generator" content="Microsoft Word 11"><meta name="Originator" content="Microsoft Word 11"><link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CSamsung%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->[FONT=&quot]คนเกิดปีชวด (หนู) และปีกุน (หมู)[/FONT][FONT=&quot]

    [/FONT][FONT=&quot]โรคที่มักจะเป็น[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]โรค ภูมิแพ้ โรคหวัด โรคติดเชื้อต่างๆ แผลพุพองที่เรียกว่าน้ำเหลืองเสีย[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]น้ำหนองไหล ปอดชื้น น้ำท่วมปอด โรคไตวายฉับพลัน โลหิตจาง เลือดออกตามไรฟัน[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]และโรคอ้วน[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]อาหารที่ควรรับประทาน[/FONT][FONT=&quot]
    - [/FONT][FONT=&quot]อาหารรสเปรี้ยว ได้แก่ กระท้อน กระเทียมดอง ขี้เหล็ก ดอกแค มะกอก[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]มะเขือเทศ มะดัน มะนาว มะปราง มะม่วง ยอดมะขามอ่อน สับปะรด ส้มทุกชนิด[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]และผักใบเขียวทุกชนิด อาหารรสเปรี้ยว แม้จะถูกกับผู้ที่มีธาตุน้ำมาก[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]แต่ถ้ารับประทานมากไปก็จะทำให้ท้องอืด ถ้าเป็นแผลก็จะหายยาก[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]อาจทำให้เกิดแผลในปาก และร้อนในได้[/FONT][FONT=&quot]
    - [/FONT][FONT=&quot]ลำดับของอาหารที่ควรรับประทาน เปรี้ยว เผ็ด หวาน เค็ม มัน พยายามหลีกเลี้ยงอาหารมันๆ[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]อาหารที่บำรุงธาตุได้ดี[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]เช้าๆ ควรดื่มน้ำผักผลไม้รวม หรือน้ำข้าวกล้องผสมน้ำผึ้งก่อนออกกำลังกาย[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]จะทำให้สุขภาพดี อาหารที่กล่าวมาแล้ว ควรรับประทานทุกมื้อ รับประทานแต่พอดี[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]สรรพคุณของอาหารประจำธาตุน้ำ[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]กระเทียม---สรรพคุณ ช่วยลดความดัน รักษาโรคปอด โรคหอบหืด ไขข้ออักเสบ โรคเกาต์ และกำจัดพยาธิ ไม่มีผลข้างเคียงกับผู้ที่กินเป็นประจำ[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]กระ หล่ำดอก--- สรรพคุณ ช่วยสำหรับผู้มีบุตรยากทั้งหญิงและชาย[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยป้องกันโรคมะเร็งเต้านม[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]บำรุงภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]ขี้เหล็ก--- สรรพคุณ แก้นิ่วในไต แก้ท้องผูก บำรุงสายตา ทำลายเชื้อมะเร็ง เป็นยานอนหลับ[/FONT][FONT=&quot]

    [/FONT][FONT=&quot]ขึ้นฉ่าย--- สรรพคุณ ช่วยให้เจริญอาหาร เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]สามารถกำจัดเชื้อมะเร็งได้เกือบทุกชนิด บำรุงไตให้แข็งแรง[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]นำมาปั่นกับแครอทผสมน้ำส้มดื่มทุกเช้า จะช่วยให้สุขภาพดี[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]คะน้าและ ผักใบเขียวทุกชนิด--- สรรพคุณโดยรวม คือ ทำให้ผิวพรรณชุ่มชื้น[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารต่างๆ ได้ดี มีกากใยมาก[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ทำให้ขับถ่ายคล่อง ลดอาการมะเร็งในลำไส้และปอด รวมทั้งต่อมลูกหมากได้ดี[/FONT][FONT=&quot]

    [/FONT][FONT=&quot]แค--- สรรพคุณ รักษาโรคหวัดคัดจมูก บำรุงสายตา ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]มะเขือเทศ--- สรรพคุณ บำรุงโลหิต ช่วยทำให้ผิวพรรณดี แก้อาการสิวฝ้า ป้องกันมะเร็งในต่อมลูกหมาก[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]มะนาว--- สรรพคุณ รักษาโรคหวัด[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]เจ็บคอด้วยวิธีนำน้ำมะนาวมาผสมน้ำผึ้งเกลือเล็กน้อยผสมน้ำอุ่นแล้วดื่มทีละ[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]น้อยทุกเวลาที่รู้สึกกระหายน้ำ ห้ามคนที่ปวดตามข้อดื่ม[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]สับปะรด--- สรรพคุณ เป็นยาแก้ไข้ ขับเสมหะ[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ช่วยย่อยอาหารประเภทเนื้อสัตว์ให้แก่ร่างกายได้ดี แก้โรคคอหอยพอก ขับพยาธิ[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]และเป็นยาระบายอ่อนๆ น้ำสับปะรดใช้กลั้วปาก ช่วยลดอาการเหงือกบวม[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]และดับกลิ่นปาก แกนสับปะรดช่วยขับปัสสาวะ ละลายนิ่ว[/FONT][FONT=&quot]


    <!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
    <!--[endif]-->[/FONT]
     
  17. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    [​IMG]<meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=utf-8"><meta name="ProgId" content="Word.Document"><meta name="Generator" content="Microsoft Word 11"><meta name="Originator" content="Microsoft Word 11"><link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CSamsung%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->[FONT=&quot]
    คนเกิดปีเถาะ (กระต่าย) ปีมะเมีย (ม้า) ปีมะแม (แพะ) ปีวอก (ลิง)[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]โรคที่มักจะเป็น[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]โรค กระดูกเปราะ โรคน้ำตาแห้ง โรคตาต่างๆ โรคลมจุกเสียด โรคลมดันหัวใจ[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]โรคนอนกรน โรคผอมแห้งแรงน้อย โรคปวดหัววิงเวียนศีรษะ โรคท้องอืดท้องเฟ้อ[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]โรคอ่อนเพลีย[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]อาหารที่ควรรับประทาน--- อาหารที่รับประทานแล้วทำให้เกิดความร้อนในร่างกาย เช่น[/FONT][FONT=&quot]
    - [/FONT][FONT=&quot]อาหารรสเผ็ด ได้แก่ กระชาย กระเทียม ขิง ขึ้นฉ่าย ขมิ้นขาว ตะไคร้[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ถั่วต่างๆ ใบกะเพรา ใบชะพลู ใบแมงลัก ใบโหระพา ใบสะระแหน่ ผักชีฝรั่ง พริก[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ฟักทอง ยี่หร่า และพืชผักใบเขียวต่างๆ เช่นผักบุ้ง[/FONT][FONT=&quot]
    - [/FONT][FONT=&quot]ผลไม้ ก็มี ชมพู่ แตงไทย แตงโม พุทรา เม็ดบัว เม็ดแมงลัก[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]อาหารดังกล่าวมานี้ ควรเป็นส่วนประกอบของอาหารแต่ละมื้อ[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]และรับประทานพอประมาณ[/FONT][FONT=&quot]
    - [/FONT][FONT=&quot]ลำดับของอาหารที่ควรรับประทาน เผ็ดร้อน เค็ม หวาน เปรี้ยว ควรหลีกเลี่ยง อย่างปรุงให้รสใดรสหนึ่งจัดเกินไปจะเป็นโทษ[/FONT][FONT=&quot]

    [/FONT][FONT=&quot]อาหารบำรุงธาตุได้ดี[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]น้ำ กระชายหมัก น้ำขิง น้ำตะไคร้ น้ำลูกเดือย หรือเม็ดแมงลักกับน้ำผึ้ง[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]หรืองาดำคั่วแล้วบดนำมาผสมน้ำผึ้งและน้ำอุ่น[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ดื่มวันละแก้วตอนเช้าก่อนออกกำลังกาย จะช่วยรักษาสมดุลของธาตุภายในได้ดี[/FONT][FONT=&quot]

    [/FONT][FONT=&quot]สรรพคุณของอาหารประจำธาตุลม[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]กระชาย--- สรรพคุณ แก้โรคปากเปื่อย ปากเป็นแผล แก้โรคลมจุกเสียด[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]รักษาโรคบิด ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]เหง้ากระชายนำมาตำครั้นน้ำมาทารักษากลากเกลื้อน และงูสวัด[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]กะเพรา--- สรรพคุณ ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน ขับลมในกระเพาะ[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด ช่วยบำรุงกระดูกทำให้เจริญอาหาร[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]และดับกลิ่นคาว[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]ขมิ้น--- สรรพคุณ ช่วยในการย่อยอาหาร แก้โรคท้องอืด จุดเสียด[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]รักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ แต่ต้องกินแต่พอดี[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]นำขมิ้นมาฝนเอาน้ำทารักษาโรคผิวหนัง และช่วยลดอาการเสียน้ำของผิวหนังได้[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ทำให้ผิวหนักชุ่มชื้น ใช้รักษาแผล น้ำกัดเท้า เล็บขบได้ดี[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]ขมิ้นอ้อย--- สรรพคุณ รักษาโรคท้องร่วง อาเจียน แก้ไข้ สมานแผล[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]ขิง--- สรรพคุณ ช่วยป้องกันอาหารเมารถเมาเรือได้ดี[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ด้วยการดื่มน้ำขิงแก่ก่อนจะขึ้นรถ ลงเรือ ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]และขับเหงื่อ แก้อาการเกร็งท้อง ท้องเป็นตะคริว[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]ตะไคร้--- สรรพคุณ เป็นยาขับลม ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดแน่นเฟ้อ[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]แตง โม--- สรรพคุณ ช่วยดับพิษร้อนภายใน ลดอาการทุรนทุรายจากพิษไข้[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ขับปัสสาวะ น้ำแตงโมช่วยล้างไต ล้างลำไส้และกระเพาะอาหาร[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]เปลือกแตงโมแกงส้มช่วยรักษาอาการไข้หวัด[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]ถั่วฝักยาว--- สรรพคุณ เป็นยาบำรุงไต และม้าม แก้ร้อนใน และแก้อาการตกขาว[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]ใบโหระพา--- สรรพคุณ เป็นยาแก้ท้องอืด ขับลมในลำไส้ ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ช่วยให้เจริญอาหาร เมล็ดเป็นยาระบาย[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]ผักชีฝรั่ง--- สรรพคุณ สร้างภูมิคุ้มกัน บำรุงสายตา รักษาสมดุลของธาตุภายในกาย ดับกลิ่นคาว[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]พริก--- สรรพคุณ แก้อาการผอมแห้งแรงน้อย ซูบซีดพุงโรก้นปอด ขับเสมหะ[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ขับเหงื่อ ช่วยระบบย่อยอาหาร และทำให้ดูดซึมอาหารได้ดี ละลายลิ่มเลือด[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ป้องกันมะเร็ง[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]พุทรา--- สรรพคุณ เป็นยาแก้อาการไอ แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]เมล็ดใช้เผาไฟแล้วบดหรือตำ นำมาไว้ใกล้ๆ[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]เด็กอ่อนช่วยรักษาอาการเป็นหวัดคัดจมูก[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]หรือไม่ก็ใช้ผงที่บดละเอียดแล้วมาผสมน้ำเล็กน้อย แล้วกวาดลิ้นเด็ก[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]แก้อาการเป็นซางลิ้นขาว[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]แมงลัก--- สรรพคุณ แก้ไข้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้ท้องร่วง[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ใบนำมาตำเอาน้ำมาทาแก้โรคผิวหนัง เมล็ดนำมาแช่น้ำผสมน้ำผึ้งทานเป็นยาระบาย[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]แก้โรคกระเพาะ ลดความอ้วน เพราะมีสรรพคุณในการดูดซึมน้ำตาลในเส้นเลือด[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ทำให้ขับถ่ายสะดวก[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]ราก บัว--- สรรพคุณ เป็นยาคุมธาตุภายใน ช่วยรักษาอาการท้องร่วง[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ เหง้า และเมล็ด เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงน้ำดี[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]แก้อาการน้ำเหลืองเสีย[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ดีบัวที่อยู่ใจกลางเมล็ดมีรสขมเป็นขาขยายหลอดเลือดหัวใจ[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]สะระแหน่--- สรรพคุณ ช่วยขับลมในลำไส้และกระเพาะ แก้อาการปวดท้อง ท้องอืด ขยี้ทาขมับ แก้อาการปวดหัว ดมแก้ลม ทาแก้อาการช้ำ[/FONT][FONT=&quot]


    <!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
    <!--[endif]-->[/FONT]
     
  18. kamontad

    kamontad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2010
    โพสต์:
    678
    ค่าพลัง:
    +574
    โอนเงินเข้าบัญชี 900บาทครับ เวลา 12.31 20/01.11
    S1A7897 ครับ
     
  19. I_DreaM_PartY

    I_DreaM_PartY เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +217
    เจริญพร ทุกท่าน
     
  20. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    [​IMG]<meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=utf-8"><meta name="ProgId" content="Word.Document"><meta name="Generator" content="Microsoft Word 11"><meta name="Originator" content="Microsoft Word 11"><link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CSamsung%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:595.3pt 841.9pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:35.4pt; mso-footer-margin:35.4pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]คนเกิดปีขาล (เสือ) ปีมะโรง (งูใหญ่) ปีมะเส็ง (งูเล็ก) ปีระกา (ไก่)[/FONT]
    [FONT=&quot]โรคที่มักจะเป็น[/FONT]
    [FONT=&quot]ท้อง ผูก ริดสีดวง ความดันสูง เส้นโลหิตเปราะบาง ปวดศีรษะ โรคไต โรคกระษัย[/FONT] [FONT=&quot]ปัสสาวะกะปริบกะปรอย วิตกกังวล เบื่ออาหาร โรคหัวใจ โรคไทรอยด์ ร้อนใน[/FONT] [FONT=&quot]โรคกระเพาะ กระดูกเสื่อมเร็วก่อนวัย หงุดหงิดง่าย ใจสั่น แผลพุพอง[/FONT] [FONT=&quot]น้ำเหลืองเสีย เลือดเป็นพิษ โรคเลือดลักปิดลักเปิด[/FONT]
    [FONT=&quot]อาหารที่ควรรับประทาน--- อาหารที่เหมาะสำหรับธาตุไฟ มีรสขม รสจืด รสเย็น[/FONT]
    - [FONT=&quot]รสขม ได้แก่ ใบปอ ใบยอ ผักขมจีนและไทย มะระขี้นก มะระจีน[/FONT]
    - [FONT=&quot]รสจืด ได้แก่ กระเจี๊ยบขาว ดอกกะหล่ำปลี ดอกสลิด ดอกโสน ถั่วพลู[/FONT] [FONT=&quot]ถั่วฝักยาว บวบงู บวบอ่อน ใบทองหลาง ผักกาดขาว ผักกระเฉด ผักกูลป่า[/FONT] [FONT=&quot]ผักชีฝรั่ง ผักบุ้งจีน มะเขือยาว ยอดผักปลัง สายบัว[/FONT]
    - [FONT=&quot]รสเย็น ได้แก่ เก๊กฮวย เฉาก๊วย แตงกวา แตงไทย แตงล้าน แตงโม น้ำใบเตย[/FONT] [FONT=&quot]ใบตำลึง ใบบัวบก ฟักเขียว มะตูม ะละกอ รากบัวหลวง ลูกตำลึงอ่อน สายบัว[/FONT] [FONT=&quot]หัวไชเท้า[/FONT]
    [FONT=&quot]อาหารที่บำรุงธาตุไฟได้ดี คือ มะระจีนตุ๋น กับเห็ดหอม น้ำใบบัวบก[/FONT]
    [FONT=&quot]สรรพคุณของอาหารประจำธาตุไฟ[/FONT]
    [FONT=&quot]กระเจี๊ยบมอญ--- สรรพคุณ เป็นยาบำรุงสมอง ลดความดันโลหิต รักษาโรคกระเพาะ ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อที่เสียหาย เป็นยาระบาย[/FONT]
    [FONT=&quot]เฉาก๊วย--- สรรพคุณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้อาการปากเปื่อย[/FONT]
    [FONT=&quot]ดอกสลิด--- สรรพคุณ เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้ร้อนใน ลดอาการปอดบวม ทำให้เจริญอาหาร[/FONT]
    [FONT=&quot]ตำลึง--- สรรพคุณ เป็นยาดับพิษร้อนภายในร่างกาย ลดอาการไข้[/FONT] [FONT=&quot]เป็นยาระบายอ่อนๆ ผลดิบนำมาปรุงเป็นอาหารช่วยลดอาการเบาหวาน ใบสดๆ[/FONT] [FONT=&quot]นำมาขยี้ให้ละเอียดเอาน้ำมาทาแก้อาการคัน ช่วยถอนพิษจากหนอนกัด[/FONT] [FONT=&quot]และพิษจากหมามุ่ย ใช้หยอดตาแก้อาการตาแดง ตาเจ็บ[/FONT]
    [FONT=&quot]เตย--- สรรพคุณ บำรุงหัวใจ ทำให้หัวใจชุ่มชื้น แก้กระษัย ขับปัสสาวะ แก้เบาหวาน[/FONT]
    [FONT=&quot]บวบ--- สรรพคุณ ทำให้ชุ่มคอ ช่วยขับปัสสาวะ ขับน้ำนม ทำให้ถ่ายสะดวก[/FONT]
    [FONT=&quot]ปอ--- สรรพคุณ บำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร ช่วยขับลม เป็นยาระบาย เป็นยากระตุ้นหัวใจ[/FONT]
    [FONT=&quot]ผักกาดขาว--- สรรพคุณ ช่วยย่อยอาหาร แก้ไข้ ขับเสมหะ แก้พิษสุราเรื้อรัง แก้อาการท้องผูก ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์[/FONT]
    [FONT=&quot]ผักปลัง--- สรรพคุณ รักษาอาการท้องผูก แก้อาการไส้ติ่งอักเสบ เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ แก้บิด[/FONT]
    [FONT=&quot]ผักบุ้ง--- สรรพคุณ บำรุงกระดูก และฟัน บำรุงเลือด ลดไข้ แก้เบาหวาน แก้ร้อนใน บำรุงสายตา[/FONT]
    [FONT=&quot]ผัก โขมหรือผักขม--- สรรพคุณ บำรุงโลหิต ช่วยลดเชื้อมะเร็ง ทำให้สายตาดี[/FONT] [FONT=&quot]แก้โรคท้องผูก แก้อาการตกขาวในสตรี สตรีมีครรภ์[/FONT] [FONT=&quot]หรือกำลังมีประจำเดือนห้ามทาน[/FONT]
    [FONT=&quot]ฟักเขียว--- สรรพคุณ เป็นยาเย็นดับพิษร้อนภายใน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ[/FONT] [FONT=&quot]ขับเสมหะ แก้ไอ ลดอาการบวมน้ำ แก้อาการหลอดลมอักเสบ[/FONT] [FONT=&quot]บรรเทาอาการริดสีดวงทวาร แก้หนองใน[/FONT]
    [FONT=&quot]มะเขือยาว--- สรรพคุณ แก้อาการตกเลือดในกระเพาะ ลำไส้ แก้อาการปวดเมื่อย[/FONT]
    [FONT=&quot]มะระขี้นก--- สรรพคุณ บำรุงน้ำดี เป็นยาเจริญอาหาร ขับพยาธิ แก้โรคตับอักเสบ แก้โรคเบาหวาน[/FONT]
    [FONT=&quot]มะตูม--- สรรพคุณ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้บิด แก้ร้อนใน ขับลม แก้โรคลำไส้[/FONT]
    [FONT=&quot]ยอ--- สรรพคุณ แก้อาการไข้วิงเวียนคลื่นเหียนอาเจียน แก้กระษัย แก้อาการปวดตามข้อ แก้อาการเป็นวัณโรค[/FONT]
    [FONT=&quot]หัวไชเท้า--- สรรพคุณ ล้างพิษภายใน เป็นยาเย็นดับพิษร้อน บำรุงไต ขับปัสสาวะ ละลายนิ่ว[/FONT]
    [FONT=&quot]สายบัว--- สรรพคุณ ลดอาการเกร็งของลำไส้ และกระเพาะ ลดความเครียดทางสมอง บรรเทาอาการท้องผูก ขับปัสสาวะ ดับพิษร้อนในกาย[/FONT]
    [FONT=&quot]อาหารที่ควรระวัง และบริโภคให้น้อยที่สุด[/FONT]
    [FONT=&quot]ไขมัน[/FONT]
    [FONT=&quot]เนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่[/FONT]
    [FONT=&quot]น้ำตาลทรายขาว[/FONT]
    [FONT=&quot]กาแฟ และน้ำอัดลม[/FONT]
    [FONT=&quot]อาหารที่ใส่สีผสม และผงชูรส[/FONT]
    [FONT=&quot]เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์[/FONT]
    [FONT=&quot]อาหารที่รับประทานได้ไม่จำกัด[/FONT]
    [FONT=&quot]ปลาน้ำจืด และปลาน้ำเค็ม[/FONT]
    [FONT=&quot]ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ข้าวเหนียวดำ ลูกเดือย [/FONT][FONT=&quot]และพืชผักต่างๆ[/FONT]
    [FONT=&quot]อาหาร และเครื่องดื่มที่รักษาสมดุลของธาตุ ทั้ง ๔[/FONT]
    [FONT=&quot]น้ำผักผลไม้รวม มีส้ม ขึ้นฉ่าย กระชาย งาดำ น้ำผึ้งผสมเกลือเล็กน้อย นำมาปั่นรวมกัน[/FONT]
    [FONT=&quot]อัตราส่วน [/FONT][FONT=&quot]ส้ม [/FONT]3 [FONT=&quot]ส่วน [/FONT][FONT=&quot]ขึ้นฉ่าย [/FONT]2 [FONT=&quot]ส่วน[/FONT][FONT=&quot] ระชาย [/FONT]1 [FONT=&quot]ส่วน [/FONT][FONT=&quot]งาดำ [/FONT]1 [FONT=&quot]ส่วน [/FONT][FONT=&quot]น้ำผึ้ง [/FONT]1 [FONT=&quot]ส่วน [/FONT][FONT=&quot]เกลือ เล็กน้อย[/FONT]


     

แชร์หน้านี้

Loading...