ไม่รู้ว่ามีใครเห็น Planet X หรือยัง?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย 21.12.2012=11, 17 สิงหาคม 2010.

  1. beenboyd

    beenboyd สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +4
    รูปภาพเป็นของปีที่แล้วนะครับ (16 Jan 2010) และก็มีคนมาแจ้งว่ามันเป็นสัญญาณเรดาห์ถูกรบกวนตามปกติที่มีโอกาศเกิดได้ครับ

    "If you notice any circular patterns or straight lines originating from the centre of the radar location, this is due to occasional interference to the radar data. The Bureau is currently investigating ways to reduce these interferences."


    Some checking revealed that the strange ring is perfectly centred on the radar station at Kalgoorlie, and comparison to the photo at the top indicates it's roughly located between the 256km and 512km ranges.. (extreme range is usually where this interference appears)

    512 km composite Kalgoorlie Radar Loop

     
  2. AmpeerA

    AmpeerA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,248
    ค่าพลัง:
    +900
    ขอบคุณคร้าบ คุณbeenboyd

    อืม..เหมือนเค้าจะบอกว่าคลื่นความถี่สูงมีผลทำให้เกิดเมฆ หรือทำให้ความชื้นในบรรยากาศเกิดการควบแน่น?? หรือไม่ก็มีผลต่อการถ่ายภาพจากดาวเทียม??? น่าคิดๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2011
  3. AmpeerA

    AmpeerA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,248
    ค่าพลัง:
    +900
    ผมตามอีตา carnadianvandal เข้าไปดูใน YT
    แกสรรหาเรื่องPXมานำเสนอเยอะเลยคับ

    อันนี้ไม่รู้ที่ไหน เพิ่งอัพมาได้วันเดียว
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Fg15zlZk9hc&feature=player_profilepage]YouTube - Nibiru 2011: Planet X[/ame]

    ถ้าจำได้ เราคงเคยเห็น Cross ลอยอยู่ท่ามกลาง mega stick แถวๆกลางกระทู้
    ผมเพิ่งเห็นตะแกมาจ่ายตลาดแถวนี้ด้วยแฮะ
    YouTube - Nibiru Red Cross Photo - Planet X SOHO

    ในคลิปเหมือนจะบอกว่า เมื่อเวลามาถึง เราจะเห็นสิ่งนี้ได้ด้วยตาเปล่า..เท่จริงๆ
     
  4. mawmee

    mawmee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +622
    เห็นในคลิปบอกว่าที่โตรอนโต้ แคนาดานะคะ คงจะได้เห็นจริงๆล่ะค่ะ
     
  5. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ช่วยหาข้อมูล support แต่ไม่รู้จะเกี่ยวกันไหม

    Pulsating Star That Hosts A Giant Planet Discovered

    A group of researchers from the Institute of Space Sciences (IEEC-CSIC) at Universitat Autònoma de Barcelona has discovered, for the first time, a delta Scuti pulsating star that hosts a hot giant transiting planet.

    [​IMG]

    This new finding suggests the star's pulsations could be caused by the presence of the giant planet, something never seen before in any other planetary system. A small periodic signal, visible in the overall signal during the transit of the planet, called the attention of the researchers and through a thorough study, the pulsating modes of the star were determined and their possible relationship with the planet.

    FULL ARTICLE - http://bit.ly/idvl1H
     
  6. ยัย fame

    ยัย fame เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2011
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +104
    <object style="height: 390px; width: 640px;">น้ำท่วมหรือแผ่นดินทรุดที่ประเทศอินโดนีเซีย

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/KC57GD6MZjA?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/KC57GD6MZjA?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>

    ภาพนี้ คุณ oldman and car เคยเอามาลงไว้ แต่อันนี้เพิ่มเติม




    <embed src="http://www.youtube.com/v/KC57GD6MZjA?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowscriptaccess="always" height="390" width="640"></object>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2011
  7. ChainQLel2

    ChainQLel2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    356
    ค่าพลัง:
    +618
    อยากเห็น PX ไวๆ ปีนี้มีให้ซ้อมก่อนครับ เรามานัดกันชม Comet ELENIN ในช่วง Oct 2011 กันนะครับ ถูกค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวรัสเซียนามว่า Leonid Elenin แค่ชื่อก็เท่ห์แล้วครับ เป็นชื่อที่เตะตาใครหลายๆคนเพราะดันคล้ายกับเลข 11(eleven) และ 9(nine)

    แต่นั่นไม่ได้สำคัญเท่ากับที่มันถูกคำนวนว่าอาจโคจรเฉียดโลกเราไปแค่ 0.24 Au และอาจใกล้ถึง 0.15 Au เพื่อให้เห็นภาพ ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกที่ 0.00256 Au การที่วงโคจรของมันเฉียดใกล้โลกมากจึงเป็นไปได้ว่าหางของดาวหาง Elenin อาจส่งผลกระทบและผ่านเข้ามาในชั้นของบรรยากาศโลกนั่นเอง ซึ่งหางของมันถูกคำนวนไว้ว่าจะผ่านโลกของเราในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2011 หรือหลังจากที่ดาวหาง Elenin ผ่านโลกเราไป 1 เดือนนั่นเองครับ

    มีหลายคนให้ข้อสังเกตุว่าดาวหางนี้อาจเป็นอันตรายกับโลกของเรา แต่กลับไม่มีสื่อใดสนใจที่จะหยิบยกขึ้นมาเป็นข่าว หรืออาจจะรอให้ใกล้เข้ามาก่อนเพื่อคำนวนระยะห่างที่แน่นนอนของดาวหาง Elenin กับโลกของเราก่อน เนื่องจากนักดาราศาสตร์ที่ค้นพบดาวหางดวงนี้อ้างว่าวงโคจรของมันไม่เสถียรขึ้นอยู่กับว่ามันจะผ่านแรงดึงดูดของดาวดวงใหญ่อื่นๆหรือ Dark matter ก่อนเข้ามาในวงโคจรชั้นในของระบบสุริยะนั่นเอง

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=CVs7glXfXzM&feature=related]YouTube - Comet Elenin - Path and Information - Oct. 2011 - It will be Upon Earth[/ame]

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=KbsKSKrsncI&feature=related]YouTube - Comet Elenin or Nibiru.[/ame]

    บทความที่ผมเขียนและเรียบเรียงต่างอ้างอิงจากวีดีโอสองอันนี้ครับ
     
  8. ภวโลกร้อน

    ภวโลกร้อน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    444
    ค่าพลัง:
    +1,272
    ปล่อยให้ชุมนุมคนแก่ไปก่อนนะคะลุง..คงเพราะคนหนุ่มสาวตอนนี้มีภาระกิจปากท้องมากน่ะ..อันเนื่องจากเศรษฐกิจแย่เหลือเกินค่ะลุง..จะอีกนานไหมเนี่ย..
    เรื่องสูตรทำน้ำคลอโรฟิล..สนใจค่ะ..ทำเองได้คงดีนะ..ยังงัยก็ขอให้ลุงทดลองไปก่อนนะคะ..รูปแทนตัวเองเปนรูปลุงเองเลยดีมั๊ย..จะได้รู้ว่าแก่แ่ค่ไหนค่ะ:VO:VO
     
  9. ยัย fame

    ยัย fame เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2011
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +104
    คุณ oldman and a car รุ่นนี้ต้อง ยาลม ยาดม ยาหม่อง เท่านั่น
     
  10. AmpeerA

    AmpeerA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,248
    ค่าพลัง:
    +900
    ก็ไม่เชิงครับน้า
    ผมพอมีเวลาเลยลองเจ๊าะแจ๊ะเข้าไปดูให้หายสงสัย
    เรื่องของเรื่องมีคนไปพบวงแหวนนี้ลอยอยู่เหนือออสเตรเลียเมื่อประมาณต้นปีที่แล้ว ทางการออกมาอธิบายว่าเป็นปรากฎการณ์ interference ระหว่างสถานนีส่งกับดาวเทียม ซึ่งก็น่าจะจบแต่มีบางคนไม่เชื่อ เค้าบอกว่าไอ้ที่รัฐชี้แจงมันแปร่งๆ ซึ่งน่าจะเป็นแบบนี้
    [​IMG]
    Broome Weather Radar Loop - BoM Rain Rate - IDR173 : 21:00 21/01/2010 UTC - 21:00 22/01/2010 UTC
    เฟรมที่ 16-20

    ไม่ใช่แบบนี้
    [​IMG]
    แบบนี้
    [​IMG]
    แบบนี้
    [​IMG]
    แบบนี้
    [​IMG]
    แบบนี้
    [​IMG]
    แบบนี้
    [​IMG]
    หรือแบบนี้
    [​IMG]

    บางคนตั้งข้อสังเกตุว่าเกิดจาก HAARP project
    YouTube - HAARP IN ISRAEL !!! SCALAR WEAPONS PUNCH CLOUDS !!! RUSSIA CHINA ?? !!!
    แต่ส่วนตัวดูแล้วไม่น่าใช่

    ซึ่งแหวนบางวงทำให้เกิดผลกระทบกับบริเวณรอบๆพอสังเกตุได้จากภาพดาวเทียม
    ..สุดท้ายเรื่องเงียบไปเพราะไม่มีใครตอบได้ จนมาเกิดเหตุน้ำท่วมในบริเวณที่สัมพันธ์กับตำแหน่งของวงแหวน เค้าเลยถึงบางอ้อกันว่าไอ้นี่มันมาทำอะไรแถวนี้

    อ้นนี้คร้บเพียบเลย
    Huge rings appear over Australia, is HAARP involved? | EUTimes.net

    ก็เลยได้คิดว่า เออ มันก็มีข้อจำกัดในการรับรู้เนอะ เพราะเราต่างก็เอาข่าวเขามาเล่ากันต่ออีกที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2011
  11. nongnai99

    nongnai99 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +82
    โอ้ว ขอบคุณมากเลยครับสำหรับข่าวตื่นเต้นมากครับ
    แสดงว่าถ้าเรื่องนี้เกิดขึ้นจริงอีก พวกรังสีคอสมิกกับแกมมาก็จะมาที่โลกด้วยใช่ไหมครับ
     
  12. plamo

    plamo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +28
    มันยิ่งกว่านั้นสิครับ

    จริงด้วยครับลุง รู้เรื่องนี้เข้าไป px เป็นเรื่องจิ๊บๆ ไปเลย

    แต่คิดซะว่า ซูปเปอร์โนวา ก็เทห์กว่าเป็นดาวยุบตัวนะครับ

    หยองแฮะ
     
  13. plamo

    plamo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +28
    ซูเปอร์โนวา หรือ มหานวดารา เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ระเบิดที่มีพลังมากที่สุดที่รู้จัก นั่นคือเป็นการระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากเมื่อสิ้นอายุไขแล้ว จะเปล่งแสงสว่างมหาศาลและระเบิดออกรัศมีสว่างวาบเป็นรัศมีเพียงชั่วครู่ ก่อนจะเลือนจางลงในเวลาสัปดาห์หรือเดือนเท่านั้น

    ระหว่างช่วงเวลาสั้นๆ ที่เกิดซูเปอร์โนวานี้ มันจะปลดปล่อยพลังงานมหาศาลขนาดเท่ากับพลังงานของดวงอาทิตย์ดวงหนึ่งสามารถปลดปล่อยได้ทั้งชีวิตทีเดียว การระเบิดจะขับไล่ดวงดาวและวัตถุต่างๆ ที่อยู่ใกล้ให้กระเด็นออกไปไกลด้วยความเร็วแสง และเกิดคลื่นกระแทกแผ่ออกไปโดยรอบตรงช่องว่างระหว่างดวงดาว การกระแทกนี้ได้กวาดเหล่าแก๊สและฝุ่นละอองออกไปอย่างรวดเร็ว เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าการเกิดซากซูเปอร์โนวา

    แต่ละประเภทของซูเปอร์โนวา ที่ยังปรากฏให้เห็นอยู่ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ซึ่งเกิดพลังงานที่เกิดจากนิวเคลียร์ฟิวชัน หลังจากแกนกลางของดาวมีอายุมวลมากเข้าสู่ความตาย และเริ่มสร้างพลังงานจากนิวเคลียร์ฟิวชัน อยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงที่จะนำไปสู่การยุบตัวของดวงดาว จนอาจกลายเป็นดาวนิวตรอนหรือไม่ก็หลุมดำ การปลดปล่อยพลังงานศักย์โน้มถ่วง ทำให้เกิดทั้งความร้อนและสาดผิวชั้นนอกของดวงดาวให้กระเด็นออกไป ในทางกลับกัน ดาวแคระขาวอาจสะสมเพิ่มพูนสสารจนเพียงพอจากดาวข้างเคียงกัน หรือที่เรียกว่าระบบดาวคู่(binary star system) เป็นการเพิ่มอุณหภูมิแกนกลางจนกระทั่งเกิดฟิวชันถึงระดับของธาตุคาร์บอน แกนกลางของดาวฤกษ์ที่ร้อนระอุซึ่งอยู่ในสภาวะยุบตัวเนื่องจากมีมวลเกินค่าขีดจำกัดของจันทรเศกขาร ( Chandrasekhar limit) ซึ่งมีค่าประมาณ 1.38 เท่าของดวงอาทิตย์ เกิดเป็นซูเปอร์โนวาประเภท T1 (Type I Supernovae) แต่ว่าดาวแคระขาวจะแตกต่างตรงที่มีการระเบิดที่เล็กกว่าโดยใช้เชื้อเพลิงจากไฮโดรเจนที่ผิวของมัน เรียกว่า โนวาดาวที่มีมวลน้อย (ประมาณไม่ถึงเก้าเท่าของดวงอาทิตย์) เช่นดวงอาทิตย์ของเรา จะวิวัฒน์ไปเป็นดาวแคระขาวโดยปราศจากการเกิดซูเปอร์โนวา

    ประเภทของซูเปอร์โนวาที่เราคุ้นเคยที่สุดก็คือ ซูเปอร์โนวาประเภท T2 (Type II Supernovae) เกิดจากการสิ้นสุดวงจรชีวิตของดาวฤกษ์ เป็นการดับของดาวฤกษ์ที่มีขนาดยักษ์กว่าดวงอาทิตย์ของเรา โดยการระเบิดจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว เมื่อเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในแกนกลางของดาวฤกษ์หมดลง แรงดันที่เกิดจากอิเลคตรอนผลักกันก็จะหายไป ดาวฤกษ์จะยุบตัวลงเนื่องจากแรงโน้มถ่วงอะตอมธาตุในแกนกลางดาวฤกษ์บีบอัดตัวจนชนะแรงผลักจากประจุ อะตอมจึงแตกออกเหลือแต่นิวตรอนอัดตัวกันแน่นแทน เปลือกดาวชั้นนอกๆ ที่บีบอัดตามเข้ามาจะกระแทกกับแรงดันจากนิวตรอน จนกระดอนกลับและระเบิดกลายเป็นซูเปอร์โนวา วัสดุสารจากการระเบิดซูเปอร์โนวาจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกือบเท่าความเร็วแสง ที่ใจกลางของซูเปอร์โนวาจะมีก้อนนิวตรอนซึ่งจะเรียกว่า ดาวนิวตรอน (neutron star)

    โดยเฉลี่ยแล้ว ซูเปอร์โนวาจะเกิดประมาณห้าสิบปีครั้งหนึ่งในดาราจักรที่มีขนาดเท่าๆ กับทางช้างเผือกของเรา มีบทบาทสำคัญกับการเพิ่มมวลให้กับมวลสารระหว่างดวงดาว นอกจากนั้น การแผ่กระจายของคลื่นกระแทกจากการระเบิดของซูเปอร์โนวาสามารถก่อให้เกิดดาวดวงใหม่ได้มากมาย

    คำว่า “โนวา” มาจากภาษาลาติน แปลว่าใหม่ หมายถึงการเกิดใหม่ของดาวดวงใหม่ส่องแสงสว่างในท้องฟ้า ส่วนคำว่า “ซูเปอร์” จำแนกซูเปอร์โนวาออกจาก โนวา ธรรมดา ต่างกันที่ความสว่างที่สว่างกว่า ขนาดและทางกลที่ต่างกันด้วย คำว่าซูเปอร์โนวาใช้ครั้งแรกในหนังสือ Merriam-Webster's Collegiate Dictionary ตีพิมพ์เมื่อปี 1926

    ครั้งแรกที่ทำการบันทึกการเกิดซูเปอร์โนวา คือ SN 185 ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวจีน ในปี ค.ศ.185 ซูเปอร์โนวาที่สว่างที่สุดเท่าที่เคยบันทึกคือ SN 1006 อธิบายรายละเอียดโดยนักดาราศาสตร์ชาวจีนและอาหรับ ซูเปอร์โนวาที่สังเกตง่ายอีกอันหนึ่งคือ SN 1054 หรือ เนบิวลารูปปู ซูเปอร์โนวาที่ค้นพบทีหลังด้วยสายตาคือ SN 1572 และ SN 1604 ซึ่งอยู่ในดาราจักรทางช้างเผือก ถูกบันทึกว่ามีผลกระทบต่อการพัฒนาทางดาราศาสตร์ ในยุโรป เพราะพวกเขาใช้เป็นข้อถกเถียงกับความคิดของอริสโตเติล ที่กล่าวว่า “จักรวาลที่อยู่นอกเหนือจากดวงจันทร์และดาวเคราะห์ ไม่มีอยู่จริง”

    หลังจากมีการพัฒนากล้องดูดาวจึงสามารถค้นพบซูเปอร์โนวาได้จากดาราจักรอื่นๆ ได้ เริ่มจากปี 1885 การสังเกตซูเปอร์โนวา S Andromedae ในดาราจักรแอนโดรเมดา ซูเปอร์โนวาก่อให้เกิดความรู้ที่สำคัญด้านจักรวาลวิทยา ในช่วงศตวรรษที่ยี่สิบ แบบจำลองแบบต่างๆ ของซูเปอร์โนวาถูกพัฒนามากขึ้น และทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจวงจรชีวิตของดาวของดวงดาวได้มากขึ้นด้วย ซูเปอร์โนวาที่อยู่ห่างไกลซึ่งถูกค้นพบเร็วๆ นี้ พร่ามัวมากกว่าที่คาดเอาไว้ ซึ่งเป็นหลักฐานว่า จักรวาลอาจมีการขยายตัวด้วยความเร่ง

    7 พฤษภาคม 2550 มีรายงานการค้นพบซูเปอร์โนวาที่สว่างที่สุด เอสเอ็น 2006 จีวาย (SN2006gy) ในดาราจักร เอ็นจีซี 1260 (NGC 1260) เป็นการดับสลายของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 150 เท่า มีช่วงสูงสุดของการระเบิดยาวนานถึง 70 วันต่างจากซูเปอร์โนวาอื่น ๆ ที่มีช่วงสูงสุดเพียงแค่ 2 สัปดาห์ และมีความสว่างมากกว่าอีกหลายร้อยซูเปอร์โนวาที่นักดาราศาสตร์เคยสังเกตเห็น

    เพราะว่าซูเปอร์โนวาเกิดขึ้นน้อยในดาราจักรของเรา เกิดทุกๆ ห้าสิบปี การได้มาซึ่งตัวอย่างของการเกิดซูเปอร์โนวา ต้องศึกษามาจากการสังเกตหลายๆ ดาราจักร

    แต่ซูเปอร์โนวาในดาราจักรอื่นๆ ไม่สามารถทำนายล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำนัก แสงหรือการส่องสว่างจากการระเบิดของซูเปอร์โนวาทำให้นักดาราศาสตร์ใช้ซูเปอร์โนวาเป็นเทียนมาตรฐาน เพื่อวัดใช้ระยะทางจากโลกถึงดาราจักรที่มีซูเปอร์โนวาปรากฏอยู่ นอกจากนี้นักเอกภพวิทยาซึ่งศึกษาซูเปอร์โนวาประเภทนี้ยังบอกได้ว่าเอกภพของเรากำลังขยายตัวด้วยความเร่ง และยังมีความสำคัญมากในการค้นหามันก่อนที่มันจะเกิดการระเบิด นักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นที่มีจำนวนมากกว่านักดาราศาสตร์มืออาชีพ มีบทบาทอย่างมากในการค้นพบซูเปอร์โนวา โดยทั่วไปจากการมองไปยังดาราจักรใกล้ๆ ผ่านกล้องโทรทรรศน์แสง และเปรียบเทียบมันกับรูปที่เคยบันทึกไว้ก่อนหน้า

    จนกระทั่งถึงปลายศตวรรษที่ยี่สิบ นักดาราศาสตร์หันมาใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมกล้องโทรทรรศน์และซีซีดี ในการตามล่าค้นหาซูเปอร์โนวา เมื่อสิ่งนี้เป็นที่นิยมสำหรับนักดาราศาสตร์มือสมัครเล่น จึงมีการติดตั้งเครื่องมืออย่าง Katzman Automatic Imaging Telescope (เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ถ่ายภาพได้) เป็นต้น เร็วๆ นี้ โปรเจกต์ที่ชื่อว่า Supernova Early Warning System (SNEWS) เริ่มมีการใช้การตรวจจับนิวตริโนเป็นตัวช่วยในการค้นหาซูเปอร์โนวาในดาราจักรทางช้างเผือก เพราะนิวตริโนเป็นอนุภาคที่ถูกผลิตขึ้นจากการระเบิดของซูเปอร์โนวา และไม่ถูกดูดกลืนโดยแก๊สและฝุ่นละอองต่างๆ ในระหว่างดวงดาวในดาราจักรนั้น

    การค้นหาซูเปอร์โนวาแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม โดยจะให้ความสนใจเรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งใกล้ๆกัน กับการมองหาการระเบิดที่ไกลออกไป เพราะการระเบิดของจักรวาล ทำให้วัตถุต่างๆ ในจักรวาลเคลื่อนห่างออกจากกัน การถ่ายภาพสเปกตรัมของดาราจักรหลายสิบดวงจะพบว่า แสงจากดาราจักรเกือบทุกดาราจักรมีลักษณะการเลื่อนทางแดง นั่นคือวัตถุที่อยู่ไกลออกไปมากจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงกว่าวัตถุที่อยู่ใกล้กว่าและเรียกได้ว่ามีการเลื่อนไปทางแดงสูงกว่า (higher redshift)

    การค้นหาการเลื่อนแดงสูงจะช่วยในการจับสังเกตซูเปอร์โนวา และสามารถคำนวณหาระยะห่างและความเร็วเคลื่อนออกของซูเปอร์โนวานั้นได้ด้วย โดยการสังเกตว่าการเลื่อนแดงเลื่อนไปมากน้อยเพียงใด ความสัมพันธ์นี้อยู่ในกฎของฮับเบิล

    ซูเปอร์โนวาที่ค้นพบจะถูกรายงานไปให้ International Astronomical Union's Central Bureau for Astronomical Telegrams ทราบเพื่อตั้งชื่อ ชื่อจะใส่ปีที่ถูกค้นพบหลังชื่อที่เป็นอักษรหนึ่งหรือสองตัว ซูเปอร์โนวายี่สิบหกอันแรกของปีถูกตั้งโดยใช้อักษร A ถึง Z เป็นอักษรตัวใหญ่ หลังจากนั้นอักษรตัวเล็กที่เป็นคู่จึงถูกใช้ตามมา เช่น aa, ab ประมาณนี้ นักดาราศาสตร์ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นต่างค้นหาซูเปอร์โนวาได้มากถึงกว่าร้อยอันในหนึ่งปี (367 ในปี 2005, 551 ในปี 2006, 572 ในปี 2007) ยกตัวอย่างเช่น ซูเปอร์โนวาอันสุดท้ายที่ค้นพบในปี 2005 ชื่อว่า SN 2005nc ทำให้รู้ว่ามันเป็นซูเปอร์โนวาที่ค้นพบลำดับที่ 367 ในปี 2005 (nc ระบุว่าเป็นลำดับที่สามร้อยหกสิบเจ็ด)

    ชื่อของซูเปอร์โนวาที่เคยบันทึกไว้โดยใช้การระบุปีที่ค้นพบได้แก่ SN 185, SN 1006, SN 1054, SN 1572 (Tycho's Nova) และ SN 1604 (Kepler's Star) ตั้งแต่ปี 1885 ตัวอักษรจึงได้ใช้ต่อท้ายปีนั้นด้วย เช่น SN 1885A, 1907A เป็นต้น โดยซูเปอร์โนวาอันสุดท้ายที่ค้นพบคือ SN 1947A โดยใช้ SN เป็นตัวขึ้นต้น
    [แก้]
    การจัดแบ่งประเภท

    ความพยายามที่จะทำความเข้าใจซูเปอร์โนวาอย่างถ่องแท้ ทำให้นักดาราศาสตร์ต้องมีการจัดแบ่งประเภทตามข้อกำหนดของ เส้นการดูดกลืนของความแตกต่างทางเคมีของธาตุซึ่งจะปรากฏในสเปคตราของมัน ธาตุแรกที่จะแบ่งคือการปรากฏหรือไม่ปรากฏของเส้นสเปคตรัมไฮโดรเจน ถ้าหาสเปคตรัมของซูเปอร์โนวามีเส้นของไฮโดรเจน (รู้จักในนามของ อนุกรมของบัลเมอร์ในส่วนหนึ่งของสเปคตรัมที่มองเห็นได้) มันถูกจัดไว้ใน Type II หรือประเภทที่สอง นอกจากนั้นก็เป็นประเภทที่หนึ่ง หรือ Type I ประเภทเหล่านี้ยังจำแนกเป็นซับดิวิชันได้อีก โดยจัดตามเส้นที่มีอยู่หรือปรากฏอยู่จริงจากธาตุต่างๆ และรูปร่างของเส้นโค้งแสง (light curve…เป็นกราฟของโชติมาตรปรากฏของซูเปอร์โนวากับเวลา)

    ซูเปอร์โนวาประเภทที่สอง Type II จะเป็นซับดีวิชันอะไรนั้นขึ้นอยู่กับสเปคตราของมัน ในขณะที่ส่วนใหญ่แล้วซูเปอร์โนวาประเภทที่สองแสดงเส้นการแผ่รังสีค่อนข้างกว้าง ซึ่งบ่งชี้ถึงการกระจายตัวของความเร็วในค่าเป็นพันกิโลเมตรต่อวินาที บางอันแสดงความสัมพันธ์เฉพาะในช่วงแคบ เหล่านี้เรียกว่า Type IIn โดยตัว n คือ narrow หรือแคบ นั่นเอง

    ซูเปอร์โนวาส่วนน้อยอีกส่วนหนึ่ง เช่น SN 1987K and SN 1993J แสดงการเปลี่ยนประเภท คือมีการแสดงเส้นไฮโดรเจนในช่วงแรกๆ แต่ว่า เมื่อผ่านไปเป็นสัปดาห์หรือเดือน เส้นที่เด่นจะเป็นเส้นฮีเลียม ประเภท Type IIb จะใช้อธิบายการรวมกันของ TypeII และ Ib

    โดยทั่วไปแล้ว ซูเปอร์โนวาเกิดจากการระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากเมื่อมันหมดอายุขัย ดาวฤกษ์เมื่อยังมีชีวิตจะประกอบไปด้วยก๊าซไฮโครเจนเป็นส่วนใหญ่ ก๊าซปริมาณมหาศาลรวมตัวจึงเกิดสนามแรงโน้มถ่วง ทำให้หดตัวเข้าสู่จุดศูนย์กลาง แต่แรงโน้มถ่วงเหล่านั้นก็ทำให้อะตอมอยู่ชิดกันและเสียดสีกันเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน (Fusion Nuclear Reaction) ซึ่งจะเปลี่ยนไฮโดรเจนรวมเป็นธาตุที่หนักกว่านั่นคือฮีเลียมและแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งความร้อนและแสงสว่างออกมา ถ้าหากว่าไม่มีอะไรหยุดยั้ง ปฏิกิริยาฟิวชันก็จะดำเนินไปจนเกิดธาตุหนักไปเรื่อยๆ เช่น จากไฮโดรเจนรวมเป็นฮีเลียม คาร์บอน ออกซิเจน หลอมรวมกันจนผลสุดท้ายที่หนักที่สุดก็คือธาตุเหล็ก และจะสะสมธาตุหนักเหล่านี้ไว้ที่แกนกลางผิวนอกก็จะเป็นธาตุที่เบากว่า แต่มันเป็นไปไม่ได้ตลอดกาล เพราะเมื่ออะตอมมีการชิดกันขึ้น จะเกิดแรงดันที่เรียกว่าแรงดันสภาพซ้อนสถานะของอิเล็กตรอน(electron degeneracy pressure) อันเกิดจากการที่อิเล็กตรอนถูกบีบให้ชิดกันจนเกิดแรงผลักต่อกันเอง ช่องว่างระหว่างสสารย่อมน้อยลงจนถึงระดับที่อิเล็กตรอนเต็มช่องว่างเหล่านั้นหมดแล้ว อิเล็กตรอนที่อยู่ผิวนอกกว่าก็ไม่สามารถอัดเข้ามาได้อีก เป็นสภาพที่ไม่สามารถดันให้ปริมาตรเล็กลงได้อีก

    ดาวฤกษ์จะอยู่ในสภาพนี้โดยไม่ยุบตัว จนกว่ามันจะเผาไฮโดรเจนหมดลงซึ่งทำความดันต้านแรงโน้มถ่วงไม่มีอีกต่อไป สำหรับดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยกว่า 1.38 เท่าของดวงอาทิตย์ ในขณะที่ยุบตัว แรงดันสภาพซ้อนสถานะของอิเล็กตรอนจะต้านทานการยุบตัวของดาวได้ทำให้มันกลายเป็นดาวแคระขาวและไม่เกิดซูเปอร์โนวา

    แต่มันจะกลายเป็นซูเปอร์โนวาได้ ถ้าหากว่าดาวแคระขาวดวงนั้นเป็นระบบดาวคู่ และจะนำไปสู่ซูเปอร์โนวาแบบ Type Ia ส่วนที่เหลือนั้นจะเป็นซูเปอร์โนวาที่เกิดจากดาวมวลมาก (massive star) ทั้งสิ้น ซึ่งจะเป็นประเภท Type Ib Type Ic และ Type II

    Type I

    แผนภาพจำลอง การเกิดซุปเปอร์โนวาประเภท Ia

    เป็นการระเบิดภายในระบบเทหวัตถุคู่ที่ดวงหนึ่งเป็นดาวแคระขาวอีกดวงเป็นดาวฤกษ์ธรรมดาหรือไม่ก็เป็นดาวแคระขาวทั้งสองดวง เมื่อดาวแคระขาวดูดกลืนเอาก๊าซจากดาวฤกษ์อีกดวงจนกระทั่งกระตุ้นให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง การดูดกลืนก็มีสองแบบดังนี้

    แบบแรก มีระบบดาวคู่ ประกอบด้วยดาวฤกษ์ดวงใหญ่สองดวงมีการโคจรรอบกันเองซึ่งบางทีอาจจะแคบลงเรื่อยๆ ทำให้ง่ายต่อการแชร์เปลือกนอกซึ่งกันและกัน และอาจจะพัฒนาตัวเป็นดาวยักษ์แดง ดวงหนึ่งจะใช้เชื้อเพลิงรอบตัวมันเองไปกับการจุดฟิวชัน มวลก็หายไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่สามารถเกิดฟิวชันได้อีก แล้วมันก็จะกลายเป็นดาวแคระขาวซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและออกซิเจน ดวงที่สองก็เผาผลาญตัวเองเช่นกันโดยใช้เชื้อเพลิงจากมวลสารของตัวมันเองและดูดมวลสารจากดาวเคระขาวข้างๆ กัน เพิ่มมวลให้ตัวมันเองจนเป็นดาวยักษ์แดงจากนั้นจะพัฒนาเป็นซูเปอร์โนวาในที่สุด

    แบบที่สอง เป็นการรวมตัวระหว่างดาวแคระขาวสองดวงที่อยู่ใกล้กัน บางทีอาจเป็นดาวคู่ซึ่งกันและกัน จนมีมวลมีค่ามากกว่าขีดจำกัดของจันทรเสกขา แล้วทำให้เกิดการระเบิดในลำดับต่อมา การระเบิดประเภทนี้ค่อนข้างจะให้ความสว่างคงที จึงใช้เป็นตัววัดระยะระหว่างกาแลคซีได้

    ซูเปอร์โนวา Type Ia Ib Ic ต่างกันตรงรายละเอียดในเส้นสเปกตรัม ซึ่งจะปรากฏต่างกันดังตารางข้างต้น แต่ล้วนเกิดจากดาวมวลมากทั้งสิ้น ซึ่งจะกล่าวในลำดับต่อไป

    Type II

    จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าดาวฤกษ์ซึ่งเต็มไปด้วยไฮโดรเจนจะถูกจุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเมื่อมีอุณหภูมิและความดันสูงพอ แต่จะมีความดันดีเจนเนอเรซีของอิเล็กตรอนคอยดันไม่ให้ดาวยุบตัวต่อไปได้ หลังจากที่ดาวสะสมธาตุคาร์บอนไว้ที่แกนกลาง ดาวมวลน้อยจะไม่สามารถยุบตัวลงมากพอที่อุณหภูมิที่จะมีอุณหภูมิภายในเพียงพอสำหรับการจุดฟิวชันคาร์บอนและจบชีวิตลง ถ้าเป็นดาวมวลปานกลางก็จะจุดได้ ยุบตัวลงไปอีกชั้นหนึ่ง ประมาณ 600 ล้านเคลวิน แกนกลางเปลี่ยนจากคาร์บอนเป็นออกซิเจนและนีออน แต่ไม่สามารถลงไปถึง 1500 เคลวินสำหรับจุดฟิวชันนีออนได้ และมีความดันอิเล็กตรอนดีเจนเนอเรซียับยั้งการยุบตัวเอาไว้

    แต่สำหรับดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่า 8 เท่าของดวงอาทิตย์ไม่เป็นเช่นนั้น ดาวจะมีแรงโน้มถ่วงสูงมากจนความดันดีเจนเนอเรซีของอิเล็กตรอนไม่มีบทบาทเข้ามาขัดขวางการยุบตัวของดาวเลย เมื่อฮีเลียมที่แกนกลางหมดลง ดาวมวลมากจะยุบตัวจนแกนกลางมีอุณหภูมิสูงถึง 600 ล้านเคลวิน เพื่อจุดฟิวชันคาร์บอนได้อย่างง่ายดายในเวลาไม่เกิน 500 ปี คาร์บอนในแกนกลางก็จะถูกแทนที่ด้วยออกซิเจนที่เป็นขี้เถ้าของฟิวชันคาร์บอนไปจนหมดสิ้น ฟิวชันคาร์บอนที่แกนกลางหยุดลง ดาวจะยุบอัดตัวลงอีกจนมีอุณหภูมิสูงถึง 1,500 ล้านเคลวิน และจุดฟิวชันของนีออนและออกซิเจนต่อไปอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ฟิวชันออกซิเจถูกจุดขึ้นที่แกนกลาง ฟิวชันเปลือกคาร์บอน ฟิวชันเปลือกฮีเลียม และฟิวชันเปลือกไฮโดรเจนก็กำลังดำเนินต่อไปเช่นกัน จึงเรียกว่า การเกิดปฏิกิริยาฟิวชันเปลือกหลายชั้น (Multiple Shell Burning)

    ฟิวชันในระยะท้ายๆ ของดาวฤกษ์มวลมากเป็นการเกิดปฏิกิริยาฟิวชันที่มีความซับซ้อนมาก เมื่อธาตุใดที่แกนกลางหมดลง ดาวก็จะยุบตัวจนกว่าจะมีอุณหภูมิสูงมากพอที่จะจุดฟิวชันของธาตุหนักกว่าลำดับต่อไปได้ ชั้นเปลือกของฟิวชันของธาตุต่างๆ จึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนดาวมีชั้นฟิวชันหลายสิบชั้นซ้อนกันดูคล้ายหัวหอม ในขณะที่อุณหภูมิที่แกนกลางของดาวเพิ่มขึ้นถึงระดับหลายพันเคลวิน ธาตุที่หนักขึ้นเรื่อยๆ ก็กำเนิดขึ้นในแกนกลาง จากคาร์บอน (6 โปรตอน) ออกซิเจน (6 โปรตอน) นีออน (10 โปรตอน).... เรื่อยไป

    ดาวจะใช้เวลาเผาผลาญธาตุนั้นและเริ่มชั้นใหม่น้อยลงอย่างมาก ในชั้นท้ายๆ ดาวจะใช้เวลาเผาผลาญเชื้อเพลิงหมดไปภายในไม่กี่วันเท่านั้น ซึ่งนับว่าสั้นมากเมื่อเทียบกับอายุหลายล้านปีของดาว แล้วในที่สุดธาตุก็รวมกันจนเกิดเป็นขี้เถ้าธาตุเหล็กในแกนกลาง ซึ่งเป็นธาตุที่ไม่สามารถจุดฟิวชันเป็นธาตุที่หนักกว่าได้

    ชั้นเปลือกที่อยู่เหนือแกนเหล็กขึ้นไปต่างปล่อยขี้เถ้าเหล็กลงมาทับถมที่แกนกลาง ทำให้น้ำหนักของแกนกลางเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แกนเหล็กถูกบีบอัดที่ความดันสูงอย่างยิ่งยวดและความดันนี้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในเวลานี้แกนยังคงรูปอยู่ได้เพราะแรงดันดีเจนเนอเรซีของอิเล็กตรอน แต่เมื่อความกดดันเพิ่มขึ้นจนถึงจุดวิกฤติ อิเล็กตรอนในแกนเหล็กจะไม่อาจทนได้อีกต่อไป จึงถูกอัดรวมเข้ากับโปรตอนเกิดเป็นนิวตรอน (Neutron) และอนุภาคนิวตริโน (Neutrino) การรวมตัวนี้ทำให้จำนวนอิเล็กตรอนในแกนกลางลดหายไปเกือบทั้งหมด ความดันดีเจนเนอเรซีของอิเล็กตรอนที่ประคับประคองแกนเหล็กไว้จึงหมดไปด้วย เมื่อไม่มีความดันดีเจนเนอเรซีคงรูปแกนไว้ แรงโน้มถ่วงจะอัดแกนกลางของดาวลงเป็นดาวนิวตรอนในชั่วพริบตา และในเสี้ยววินาทีน้นเอง พลังงานที่ถูกปลอปล่อยจากการยุบตัวของแกนที่หนาแน่นอย่างที่สุดจะระเบิดออกมาในทุกทิศทาง เปล่งแสงสว่างและพลังงานมากกว่าพี่ดาวได้ผลิตมาตลอดชั่วชีวิต ความร้อนและความดันอันมหาศาลจากการระเบิดทำให้เกิดธาตุหนัก เช่น ปรอท เงิน หรือ ทองคำขึ้นได้ การระเบิดนี้เรียกว่า ซูเปอร์โนวา จะฉีกดาวทั้งดวงออกเป็นธุลีและสาดเศษส่วนของดาวออกไปในห้วงอวกาศด้วยความเร็วกว่า 10,000 กิโลเมตร/วินาที

    ซูเปอร์โนวาจะทำลายดาวลงโดยสิ้นเชิง เหลือเพียงแต่ซากแกนกลางของดาว คือ ดาวนิวตรอน ซึ่งเป็นดาวที่มีความหนาแน่นสูงมากเพราะเต็มไปด้วยนิวตรอนอัดแน่น ดาวนิวตรอนมักมีขนาดประมาณ 20 – 30 กิโลเมตรเท่านั้น แต่ถึงกระนั้นก้มีมวลเทียบได้กับดวงอาทิตย์ของเรา นอกจากดาวนิวตรอนแล้ว รอบๆ ซูเปอร์โนวาก็จะเต็มไปด้วยเศษซากของดาว เรียกว่า ซากซูเปอร์โนวา (Supernova Remnant) แล้วก็เป็นต้นกำเนิดของเนบิวลาด้วยเช่นกัน

    การเกิดซูเปอร์โนวาไม่ได้ให้ผลแค่กลายเป็นดาวนิวตรอนสถานเดียวเท่านั้น ณ จุดสิ้นอายุขัยของดาวมวลมากจะระเบิดมวลส่วนใหญ่ของดาวออกไป แต่ถ้ามวลส่วนหนึ่งตกกลับมายังดาวนิวตรอนที่ยังเหลืออยู่ตรงกลาง ในกรณีของดาวฤกษ์ที่มีมวลเริ่มต้นมากกว่า 18 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ (ค่าทางแบบจำลองคณิตศาสตร์) เศษซากดาวที่ตกกลับลงมายังดาวนิวตรอนจะมีมวลมากพอที่จะทำให้ดาวนิวตรอนมีมวลเพิ่มขึ้นเกินกว่า 3 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ได้ ซึ่งเกินกว่าลิมิตดาวนิวตรอน ความดันดีเจนเนอเรซีของนิวตรอนจึงไม่อาจต้านทานแรงโน้มถ่วงที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ได้อีกต่อไป ดาวนิวตรอนจะถูกยุบตัวลงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะไม่มีแรงใดๆ ในจักรวาลที่จะต้านทานการยุบตัวได้ ชัยชนะเด็ดขาดจึงเป็นของแรงโน้มถ่วง คือดาวนิวตรอนจะยุบตัวลงเป็นหลุมดำ (Black Hole) ซึ่งเป็นวัตถุที่มีขนาดเป็นศูนย์มวลเป็นอนันต์ นอกจากนี้ยังมีอีกทางหนึ่งที่ดาวฤกษ์สามารถกลายเป็นหลุมดำได้คือ แกนเหล็กของดาวมวลมากที่สิ้นอายุขัยสามารถยุบตัวลงผ่านลิมิตดาวนิวตรอนกลายเป็นหลุมดำได้โดยตรง ในกรณีนี้ จะไม่เกิดปรากฏการณ์ซูเปอร์โนวาอีกเลย (เกิดขึ้นในดาวที่มีมวลเริ่มต้นหลายสิบเท่าของมวลดวงอาทิตย์)
    [แก้]
    กลุ่มดาวในทางช้างเผือกที่น่าจะเป็นซูเปอร์โนวา (Milky Way Candidates)

    กลุ่มเนบิวล่า รอบๆ ดาวหมาป่า (Wolf-Rayet starWR124) ที่ตั้งอยู่ในระยะห่างออกไป 21,000 ปีแสง มีดาวขนาดใหญ่มากมายในทางช้างเผือกที่สามารถเปลี่ยนเป็นซูเปอร์โนวาได้ภายในหนึ่งพันถึงหนึ่งร้อยล้านปีข้างหน้า รวมทั้ง Rho Cassiopeiae, Etha Carinae และ RS Ophiuchi, the Kitt Peak Downes star KPD1930+2752, HD 179821, IRC+10420, VY Canis Majoris, Betelgeuse Antares and Spica กลุ่มดาวหมาป่าหลายดวง เช่น Gamma Velorma , WR 104, และกลุ่ม Quintuplet ซึ่งสามารถทำนายได้ว่าจะเกิดซูเปอร์โนวาได้ในอนาคตข้างหน้า

    ดาวที่มีโอกาสเป็นซูเปอร์โนวาได้ในเร็วๆนี้ คือ IK Pegasi (HR 8210) ตั้งอยู่ห่างไป 150 ปีแสง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มดาวเรียงกันและดาวแคระขาว ห่างกันแค่ 31 ล้านกิโลเมตร โดยดาวแคระขาวมีมวลเป็น 1.15 เท่าของดวงอาทิตย์ และต้องใช้เวลาหลายล้านปีก่อนที่จะกลายเป็นซูเปอร์โนวาประเภทที่ 1 ได้


    ขอบคุณ วิกิพิเดีย มา ณ.โอกาศนี้
     
  14. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    พลังงานมหาศาลกำลังเดินทางมาสู่โลกใบนี้ โดย คิช่า ลิทเทิลเเกรนด์มาเทอร์

    <iframe title="YouTube video player" class="youtube-player" type="text/html" width="640" height="390" src="http://www.youtube.com/embed/eTUXu7ZOh0M" frameborder="0" allowFullScreen></iframe>

    ข้อความโดย คิช่า ลิทเทิลเเกรนด์มาเทอร์

    ที่เมือง ซูริค ประเทศ เยอรมัน กุมภาพันธ์ 2010

    เราอยู่ในช่วงเวลาเเห่งความมหัศจรรย์ของโลกใบนี้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

    โลกกำลังจะได้เกิดใหม่อีกครั้งกลายเป็นสรวงสวรรค์อันงดงามด้วยตัวเอง

    การเปลี่ยนเเปลงได้เกิดขึ้นเเล้วเเละพวกเราได้มีโอกาสค้นพบเเสงสว่างในตัวเองไปพร้อมๆกับเธอ

    เรามีเวลาสองปีในการเปลี่ยนเเปลงวิถีชีวิตของพวกเรา

    ในสังคมมีหนังสือเกี่ยวกับปี 2012 มากกว่าพันเล่มให้พวกเราได้เรียนรู้ในมุมมองที่หลากหลาย

    คุณรู้จักชาวมายันไหม? ชนกลุ่มนี้ คือ ชนชาติเดียวที่อยู่รอดมาจากการเปลี่ยนขั้วเเม่เหล็กโลก

    พวกเขาเริ่มพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้สองสามเดือนที่เเล้ว

    พวกเขาได้พูดว่าอย่าได้กลัวไปเลย...จงมีความสุขกับหัวใจของตัวเอง

    เพราะสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นสิ่งที่งดงามมากเหลือเกิน

    พวกเรามีโอกาสที่จะได้ก้าวไปสู่ยุคเเห่งความศิวิไลซ์ของมนุษยชาติไปสู่การตื่นรู้

    ทุกสิ่งทุกอย่างดูสมเหตุสมผล พวกเราจะอยู่ด้วยความรู้สึกจากหัวใจ

    คุณรู้ไหมว่าพวกเราใช้สมองน้อยกว่า 1 ใน สามของเราซึ่งในไม่ช้าเราจะได้ทุกอย่างคืนมา

    สิ่งที่เรากลัวตอนนี้เป็นเพราะว่าเราไม่เข้าใจ

    ในขณะที่คุณอยู่ในช่วงเเห่งการค้นพบเเสงสว่างในตัวคุณทุกอย่างจะลงตัวเเละไม่มีอะไรที่ต้องกลัว

    คุณตาอาลาฮันโดร คุณตาของชาวมายันทั้งหมด ได้กล่าวว่า

    กำเเพงที่คุณเห็นรอบๆตัวเรานั้น คือ กำเเพงเดียวที่ขังเราไว้ในคุก

    เราควรที่จะตื้นเต้นดีใจเเละมีความสุขที่จะได้ก้าวออกมาจากที่นั้น

    นั้นจะเป็นพลังให้เกิดความรู้สึกเเละกลายมาเป็นโลกเเห่งความเป็นจริง

    สิ่งนี้ คือ ของขวัญของมนุษย์ทุกคน

    ไม่ว่าคุณจะรู้สึกอะไรจะกลายเป็นโลกเเห่งความเป็นจริงของคุณ

    อีกสองสามปีหลายสิ่งหลายอย่างจะเกิดการเปลี่ยนเเปลง

    เราสามารถอยู่ได้ด้วยความกลัวเพราะเราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตคุณก็จะต้องอยู่โลกเเห่งความกลัว

    เเต่ถ้าคุณเชื่อมั่นในใจเเละตื่นเต้นดีใจในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตคุณก็จะมีความสุข

    ขอบอกอีกครั้งว่า...ไม่มีอะไรที่จะต้องกลัว

    ถ้าพรุ่งนี้คุณรู้ว่าโลกทั้งโลกจะเปลี่ยนเเปลงไปในทางที่สวยงามมากขึ้นกว่าเดิมเหลือประมาณ...คุณจะกลัวไหม?

    สวรรค์บนโลกมนุษย์กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้า...เเละพวกเราจะได้อยู่บนสวรรค์...นี้คือ ทางเลือกของพวกเรา

    ถ้าคุณเชื่อมั่นในใจเเละรู้จักรักให้เป็น..คุณจะได้รับคำตอบเเละไปพร้อมๆกับเเม่โลกไปสู่สิ่งที่เหนือกว่า

    ชาวมายันที่รอดพ้นจากการสลับขั้วเเม่เหล็กครั้งก่อน กล่าวว่า การเปลี่ยนเเปลงเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาทีเปลี่ยนเเปลงอย่างรวดเร็วมาก

    เเต่โลกจะอยู่ในความมืดสนิทประมาณสองสามวัน เเละช่วงเวลานี้จำเป็นมากที่พวกเราจะต้องเชื่อมั่นในใจ

    ให้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัวด้วยความรักเเละอยู่ด้วยความสงบ

    อย่าให้อำนาจความกลัวอยู่เหนือตัวคุณทุกอย่างจะไม่เป็นไร

    เเละเมื่อพระอาทิตย์ส่องเเสงอีกครั้งคุณจะเห็นโลกใบใหม่

    ทุกอย่างจะลงตัวอย่างสมเหตุสมผล

    พวกเราจะก้าวไปสู่ยุคศิวิไลซ์ของมนุษยชาติด้วยการนำทางจากความรัก

    หลายๆคนไม่เข้าใจการสลับขั้วของโลกที่กำลังจะเกิดขึ้น

    นำไปสู่ความกลัวเเละคิดว่าจะทำให้เกิดการทำลายล้างอย่างยิ่งใหญ่

    จะมีภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้น

    เเต่มีตอนไหนบ้างที่มนุษย์ไม่เคยเจอภัยพิบัติทางธรรมชาติ..มันเกิดขึ้นตลอดเวลา

    ดาวโลกมีจุดศูนย์กลางที่เเข็งเเกร่งเเละรอบๆโลก คือ ลาวาร้อน เหมือนกับ ลูกบอลที่เต็มไปด้วยน้ำมัน

    เเละเปลือกโลกคลุมรอบๆลาวาไว้รอบนอกอีกชั้น

    เมื่อเเม่เหล็กเปลี่ยนขั้วโลกจะไม่หมุนไปทั้งใบ

    จุดศูนย์กลางจะอยู่นิ่งๆ ส่วนเปลือกโลกจะค่อยๆเคลื่อนไปเรื่อยๆ

    จะไม่เกิดโศกนาฎกรรมน่าสะพรึงกลัวอย่างที่ทุกคนคิด

    เเม่โลกจะค่อยๆขยับเเละเคลื่อนไหวไปอย่างช้าๆจนกว่าจะสมบูรณ์เเบบ

    สววรค์บนโลกจะปรากฎขึ้นมาจริงๆเเละพวกเราจะได้อยู่เห็นตรงจุดนั้นเช่นกัน

    การเปลี่ยนเเปลงได้เกิดขึ้นเเล้วขั้วเเม่เหล็กก็กำลังเคลื่อนเช่นกัน

    เเละพลังงานมหาศาลกำลังมาสู่โลกใบนี้

    เพราะฉันเห็นพลังงานเเละเห็นว่าพลังงานกำลังเดินทางมา

    นักวิทยาศาสตร์สามารถอ่านค่าพลังงานที่มีบนโลกอยู่

    คุณรู้ไหมว่าพลังงานดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นกว่าสามเท่า

    พลังงานมหาศาลกำลังเดินทางมาสู่โลกใบนี้

    พลังดังกล่าวกำลังพยายามมาในระยะสั้นเพื่อให้เราเตรียมตัวรับพลังงานดังกล่าว

    พวกเราบางคนเกิดอาการข้างเคียงกับพลังงานที่กำลังจะมาถึง

    ร่างกายของพวกเรากำลังพยายามปรับตัวรับพลังที่กำลังเข้ามา

    เมื่อเกิดการเปลี่ยนเเปลงครั้งใหญ่ พลังงานมหาศาลจะเข้ามาสู่ดาวโลก

    ถ้าเราไม่รู้จักปรับตัวให้การเคยชินกับการรับพลังงานร่างกายมนุษย์จะตายทันที

    เป็นเรื่องจริงที่ได้เกิดขึ้นเเล้ว...ทั้งโลกเเละร่างกายมนุษย์เกิดการสั่นสะเทือนมากกว่าที่เคยเป็นมาก่อน

    คนในโลกมนุษย์หลายๆคนคิดว่า นี้คือ เรื่องราวที่ถูกเล่ามานานมากเหลือเกินเเต่ไม่เกี่ยวกัน

    ขณะนี้กำลังเกิดขึ้นเเล้วโลกกำลังเปลี่ยนเเปลง ร่างกายของเรากำลังเปลี่ยนเเปลง โครงสร้างดีเอ็นเอกำลังเปลี่ยนเเปลง เป็นเรื่องจริง

    เราจะได้พบกับการเปลี่ยนเเปลง เราจะเป็นผู้อยู่รอดช่วงการเปลี่ยนเเปลงเเละทุกอย่างขึ้นอยู่กับเราที่จะเปลี่ยนเเปลงวิถีชีวิตของเรา

    ถ้าเรายังไม่เปลี่ยนเเละยังใช้ชีวิตอยู่ด้วยความคิดจากสมองเเละอัตตาเเทนเชื่อใจตัวเอง

    พวกเราจะถูกย้ายให้ไปอยู่ที่อื่นเพราะพวกเราฆ่าเเม่โลก

    เป็นกฎของจักรวาลว่า เเม่โลกจะคงอยู่ต่อไป ขึ้นอยู่กับเราว่าจะอยู่กับเธอต่อไปหรือไม่

    สิ่งที่พวกเราขอคือ จงรักให้เป็น เพียงเเค่นั้น ง่ายจริงๆเเละจิตของคุณจะนำคุณไปสู่ทางที่ถูกต้องเเน่นอน
     
  15. plamo

    plamo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +28
    นี่ถ้าลุงไม่กระตุ้นผมเรื่อง px ด้วยนี่ผมลืมไปเลยครับว่าอาจจะมีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองการมาของ
    px และ ดาวยุบ มันอาจจะเป็นอะไรที่เกินบรรยาย เช่นว่า แรงดึงดูดมหาศาลจาก นกยักษ์ จะช่วยเราได้ หรือ?? เมื่อ เกิดซุปเปอร์โนวา ..

    ลำพัง เส้นแรงแม่เหล็กโลกที่ห่อเราอยู่ก็ปะทะกับ รังษีอันโหดร้ายจากดวงอาทิตย์ ถ้าเป็นแรงบวกในทิศทางตรงข้าม นี่ถึงกับทำให้กระเจิงเชียวนะลุง

    มองโลกแง่ดี ในการมาของpx นี้น่าจะเป็น เกราะให้เราได้ระดับหนึ่ง ถ้าเผอิญ อยู่ในตำแหน่งที่ จะ ปกป้องเราได้

    ...

    คิดบวกใว้ นิดนึงก่อนครับ ไม่เซ็งดีี... แต่ข่าวนี้ต้องช่วยกันกรองนิดนึงฮะ ( ผมช่วยนิดเดียว)
    ขอตัวล่ะคร๊าบ แว๊บบ
     
  16. OLDMAN AND A CAR

    OLDMAN AND A CAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    824
    ค่าพลัง:
    +2,752
    ...ดีมากครับ..ทุกท่าน..ผมสงสัยต้องทำงานเพิ่มอีกเท่าตัว ...ช่วย กันค้นคว้าเพิ่มเติมในยามว่าง...อย่าให้เสียการงาน ก็ แล้วกัน ...

    ผมได้เอกสารล่าสุด นี้ จาก www.abovetopsecret.com ลองแวะไปเยี่ยม หากมีเวลา...

    ..สำหรับคืนนี้..ราตรีสวัสดิ์ ครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2011
  17. AmpeerA

    AmpeerA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,248
    ค่าพลัง:
    +900
    ดูท่าของเค้าแรงจริงๆแฮะ

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=_LXI9VijaYQ&feature=player_detailpage"]YouTube - Betelgeuse[/ame]

    อีกอัน

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=pl-oR7hTTYY&feature=player_profilepage"]YouTube - Betelgeuse Surface Video + Going Supernova[/ame]

    ถ้าสงสัยว่าเธอใหญ่ซักแค่ไหนกัน ก็อันนี้

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=aakvZH1Uzd4&feature=player_detailpage"]YouTube - Giant Stars[/ame]

    สรุปแล้วใช้ชีวิตให้มีความสุขอย่างที่คุณสันโดษว่ามา ก็โอเชแล้ว เพราะถ้านับ asteroid ที่จะเข้ามาเฉี่ยวโลกปีนี้เข้าไปด้วย อยู่ที่ไหนก็เหมือนกัน 5555
     
  18. noraphat

    noraphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +327
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=pl-oR7hTTYY&feature=player_profilepage"] Betelgeuse Surface Video + Going Supernova[/ame]

    เธอมีอาการน่าเป็นห่วงมา 4-5 ปีแล้วครับ ไม้ใกล้ฝั่งจะล้มตอนไหนก็ไม่รู้ ใครอย่าไปขว้างลำ....เวลาเธอล้มก็แล้วกัน...

    แต่คิดว่า...เธอ.....คงไม่ใจร้ายกับพวกเราหรอกครับ .....พวกเรา....ออกจะ...น่ารัก..

    ถ้าเธอไม่เอ็นดู ......คงต้องขึ้นยานหนี.....อย่างเดียว.....นั้นแหละ....ครับ
     
  19. Lastquarter

    Lastquarter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +272
    ถ้าเกิดขึ้นจริงแ้ล้วการมาของ PX ช่วยให้เรารอดพ้น Px ก็จะกลายเป็นพระเอกละงานนี้ (แต่ผมว่ายาก) แล้วไม่รุ้พี่ต่างดาวเค้าจะคิดยังไงกับซุปเปอร์โนวา
     
  20. fernezzo

    fernezzo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +616
    โลกมีโอกาศโดนลำแสงรังสีพุ่งชนน้อยมาก ยิ่งบวกกับเรามีดาวพฤหัสคอยปกป้องอยู่ด้วยแล้วยิ่งยากเข้าไปใหญ่ แต่ถ้าโดนขึ้นมาล่ะก็ โลกครึ่งที่โดนลำแสงตรงๆนั้นต้นไม้+สิ่งมีชีวิตจะร่างสลายไปในทันที
     

แชร์หน้านี้

Loading...