ตะกรุดใบลานแบบไม่ชุบรัก เก่าๆ เดิมๆ หลวงปู่แก้ว วัดพวงมาลัย*0* ครับๆ!!!!!

ในห้อง 'ร้องเรียนและปัญหา' ตั้งกระทู้โดย บัวสุวรรณ56, 1 มกราคม 2011.

  1. บัวสุวรรณ56

    บัวสุวรรณ56 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2011
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอบพระคุณ คุณอาW.สุรพล มากครับที่ร่วมประมูลครับ
     
  2. Sikkha

    Sikkha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    556
    ค่าพลัง:
    +421
    สาธุอนุโมทนา:cool:
     
  3. บัวสุวรรณ56

    บัวสุวรรณ56 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2011
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +12
    ผมขอปิดประมูลครับผู้ชนะการประมูลมีดนาคเขี้ยว 5" คือคุณ w.สุรพล
    ครับในราคา 1,000 บาท ครับ ขอบพระคุณมากครับ
    แล้วผมจะส่งของไปให้ตามที่อยู่เดิมนะครับ ขอบพระคุณครับ
     
  4. บัวสุวรรณ56

    บัวสุวรรณ56 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2011
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +12
    ผมขออนุโมธนาด้วยครับคุณอา Sikkha
    ขอบพระคุณครับ
     
  5. w.สุรพล

    w.สุรพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,216
    ค่าพลัง:
    +4,544
    โอนเรียบร้อยครับ 1,000.00 25/1/54 เวลา 15.54น
    ส่ง สุรพล วัฒนกุลจรัส
    1/196 คอนโดสีลมแกรนด์เทอเรส
    ซ.ศาลาแดง ถ.สีลม ข.บางรัก
    กทม10500
     
  6. บัวสุวรรณ56

    บัวสุวรรณ56 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2011
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +12
    ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ยาว 4 "อาจารย์นอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา

    โยมบิดาตั้งนามว่า "นอ" อายุได้ 7 ขวบ ได้เข้าเล่าเรียนอักขระสมัยกับพระสวย ที่เป็นหลวงลุงที่วัดกษัตราธิราช และได้บรรพชาเป็นสามเณรที่นั่น อายุครบบวชจึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดศาลาลอย และได้เล่าเรียนวิชาอาคมกับพระอาจารย์นาค และพระอาจารย์วงษ์ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่มีอาคมแก่กล้าเป็นที่นับถือในหมู่คนทั่วไป โดยพระอาจารย์วงษ์เก่งทางด้านคงกระพัน พระอาจารย์นาคเก่งทางด้านมหาอุด โดยได้ศึกษามาจากสำนักวัดประดู่ทรงธรรมพระนครศรีอยุธยา

    ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดกลางท่าเรือเพราะญาติโยมที่เคยเห็นสรรพคุณของท่านมาก่อนได้นิมนต์มาช่วยสร้างวัด เพราะตอนนั้นวัดกลางท่าเรือเป็นวัดที่แทบจะเป็นวัดร้าง หลวงพ่อนอจึงได้ตั้งใจเด็ดเดี่ยวกับกรรมการวัดว่า ไม่เป็นไรหรอก เมื่อไว้ใจให้ฉันมาช่วยสร้างวัด คอยดูนะ ฉันจะจารตะกรุดสร้างวัดให้พวกแกดู การก็เป็นความจริง หลวงพ่อนอลงตะกรุดโทนตะกรุดหนังหน้าผากเสือหาเงินเข้าสร้างโบสถ์และเสนาสนะ ปรากฏว่าตะกรุดของท่านท้ายิงได้ทุกดอก ยิงออกไม่ต้องเอาเงินทำบุญ
    หนังสือเครื่องรางยุคเก่าจัดลำดับให้หนังหน้าผากเสือหลวงพ่อนอ อยู่ในลำดับยอดนิยมอันดับ แต่ปัจจุบันหลวงพ่อนอ น่าจะอยู่ในอันดับที่ 4 ครับ ตามลำดับ ดังนี้
    หลวงปู่นาค - หลวงปู่บุญ - หลวงพ่อหว่าง - หลวงพ่อนอ - หลวงพ่อเต๋ - หลวงพ่อตาบ - หลวงพ่อคง จันทบุรี ฯลฯ
    ฟอร์มมาตรฐาน ถักหุ้มหัวท้าย (หรือเรียกว่าลายกระสอบ) ราคาทำบุญจากวัดดอกเล็ก 500 บาท
    (ประมาณปี 2480 - 2495 ถือว่าแพงมากในสมัยนั้น และที่สำคัญมีการลองยิงในวัดทีเดียว ขลังมากครับ)
    หนังหน้าผากดีทางมหาอำนาจสูงมาก แต่ทั้งนี้เสือนั้นมีดี 3 อย่าง
    (1) เป็นเจ้าป่า มีตบะเดชะมหาอำนาจ แค่เพียงกลิ่นสาปเสือโชยไปกระทบสัตว์อื่นเป็นต้องหวาดกลัว
    (2) ถึงแม้เสือจะเป็นสัตว์ที่ดุและน่ากลัวแต่คนก็อยากเห็นและอยากเจอเสือ ข้อนี้ท่านว่าเป็นเมตตามหานิยมครับ
    (3) หากินคล่องไม่มีฝืดเคืองเรื่องอาหาร

    หลวงพ่อนอท่านลงตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ถวายพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2495 (จากบันทึกของสำนักราชเรขาธิการ ลงวันที่ถวาย 10 สิงหาคม 2495 และพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้จัดไตรครองนำมาถวายหลวงพ่อนอ 1 ชุด ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2495
    ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ สนามพระ ครับ

    แต่เดิมหลวงพ่อสร้างจะใช้แต่หนังเสือเพียงอย่างเดียวมาทำการปลุกเสกเมื่อเสร็จ ก็ทำการแจกจ่ายให้ชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหาที่อยู่ในระแวกนั้นนำไปใช้พกติกตัวทำกิจวัตรประจำวัน ทำให้ตระกรุดโดนเหงื่อโดนน้ำโดนฝน ก็ทำให้ตระกรุดเกิดความเสียหาย ยุ่ยเปื่อย เสียรูปทรงง่าย หลวงพ่อคงทราบจากชาวบ้านหรือลูกศิษย์ ก็จึงคิดพัฒนาโดยการนำไม้ไผ่มาเหลาไว้เพื่อใช้เป็นแกนกลางก่อนที่จะนำหนังเสือมาพันไว้รอบแกนไม้ไผ่อีกทีจากนั้นจึงนำมาถักเชือกลงรัก ซึ่งต่อมายุคหลังๆแกนกลางจะใช้ทองแดง คงไม่มีใครปฏิเสธ เมื่อถ้ามีโอกาสเที่ยวสวนสัตว์ หรือคนสมัยก่อนเมื่อเข้าป่า ก็อยากเห็นหรือเจอเสือ ในทางกลับกันในใจเมื่อเห็นก็กลัวสุดๆ การสร้างตระกรุดต่างๆมีการนำวัตถุหลายๆอย่างหลายประเภทมาสร้าง หนังเสือก็เป็นส่วนหนึ่งเพราะเป็นอาถรรพณ์วัตถุศักดิ์สิทธิในตัวมีทั้ง เมตตามหานิยม พลังมหาอำนาจ และแคล้วคลาด บวกกับขั้นตอนในการบรรจุวิทยาคม ของหลวงพ่อนอซึ่งขั้นตอนในการปลุดเสกไม่มีอาจารย์ท่านใดเหมือนแน่นอน ก่อนปลุกเสกท่านจะใช้เหล้าเพื่อบูชาครู จากนั้นตัวของท่านจะแดงมาก ท่านจะปิดกุฏิปลุกเสกเงียบๆคนเดียวอยู่ในกุฏิ ช่วงเวลาปลุกเสก ลูกศิษย์จะได้กลิ่นสาปเสืออบอวลทั่วทั้งบริเวณตลอดจนเป็นเรื่องเล่าขานสืบต่อมาไม่รู้จบของพิธีกรรมปลุกเสกที่เข้มขลังในยุคนั้น ตระกรุดหนังเสือเป็นเครื่องรางที่มองดูผิวเผินก็ดูจะธรรมดาๆ แต่จริงๆแล้วทุกท่านก็คงประจักษ์กันมานักต่อนักแล้วแม้นจะเป็นเรื่องเล่าขานสืบต่อหรือประสบการณ์กับตนเองในเรื่องของพุทธคุณไม่เป็นรองวัตถุมงคลใดๆเลย โดยจะเห็นได้จากปัจจุบันตระกรุดหนังเสือสำนักนี้มีราคาค่างวดสูงมากยิ่งขึ้นแรงแซงทางโค้งเนื่องจากเจตนาการสร้างดี
    พุทธคุณเป็นที่ประจักษ์ ความมาตรฐานนิยม ความหายากและจะเป็นเช่นนี้ต่อไปจวบจนนิรันดร์

    (ขอบคุณข้อมูลจากคุณathaiและพี่เกร็ดเพชร)

    คุณตาได้บอกว่า ตะกรุดดอกนี้ถ้ัายังมีกลิ่นสาปเสืออยู่ล่ะก็พุทธคูณก็ยังคงอยู่ครบ คุณตาบูชาติดตัวตลอดเวลาเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วจนห่วงฝาครบเงินหัวท้ายขาดหมดเลยครับ ตัวตะกรุดหนังหน้าผาเสือคุณตาบอกว่าตัวตะกรุดยาวประมาณ 3 นิ้วและพันด้วยหนังหน้าผาเสือ 4 นิ้วเคยมีพวกกรุงเทพขื้นมาหาของและตามขอบูชาหลายครั้งโดยให้ราตาใว้ที่ 4000 บาทครับคุณตาเลยให้ผมมาลองให้คุณอาทุกๆท่านชมและบูชาครับ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    ตะกรุดหนังหน้าผาเสืออาจารย์นอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา ยาว 4 นิ้ว

    เปิดประมูลที่ 4100 บาทครับ

    ขึ้นเท่าไรตามใจคุณอาครับ

    ปิดประมูลวันพฤหัสที่ 27/01/54 เวลา 20.00 น.ตรับ

    ขอบพระคุณมากครับ
    รับรองของแท้แน่นอน รับประกันความพอใจครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2011
  7. พลังชาตรี 13

    พลังชาตรี 13 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    3,473
    ค่าพลัง:
    +1,853
    มีของดีๆของคุณตาออกมาอีกแล้วนะครับ ต้องติดตาม 27
     
  8. บัวสุวรรณ56

    บัวสุวรรณ56 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2011
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอบพระคุณ คุณอาพลังชาตรีครับ
    ชิ้นนี้คุณตารับประกันเองเลย
     
  9. บัวสุวรรณ56

    บัวสุวรรณ56 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2011
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +12
    ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ยาว 4 "อาจารย์นอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา ของดีอยากให้มีไว้บูชาครับ

    โยมบิดาตั้งนามว่า "นอ" อายุได้ 7 ขวบ ได้เข้าเล่าเรียนอักขระสมัยกับพระสวย ที่เป็นหลวงลุงที่วัดกษัตราธิราช และได้บรรพชาเป็นสามเณรที่นั่น อายุครบบวชจึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดศาลาลอย และได้เล่าเรียนวิชาอาคมกับพระอาจารย์นาค และพระอาจารย์วงษ์ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่มีอาคมแก่กล้าเป็นที่นับถือในหมู่คนทั่วไป โดยพระอาจารย์วงษ์เก่งทางด้านคงกระพัน พระอาจารย์นาคเก่งทางด้านมหาอุด โดยได้ศึกษามาจากสำนักวัดประดู่ทรงธรรมพระนครศรีอยุธยา

    ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดกลางท่าเรือเพราะญาติโยมที่เคยเห็นสรรพคุณของท่านมาก่อนได้นิมนต์มาช่วยสร้างวัด เพราะตอนนั้นวัดกลางท่าเรือเป็นวัดที่แทบจะเป็นวัดร้าง หลวงพ่อนอจึงได้ตั้งใจเด็ดเดี่ยวกับกรรมการวัดว่า ไม่เป็นไรหรอก เมื่อไว้ใจให้ฉันมาช่วยสร้างวัด คอยดูนะ ฉันจะจารตะกรุดสร้างวัดให้พวกแกดู การก็เป็นความจริง หลวงพ่อนอลงตะกรุดโทนตะกรุดหนังหน้าผากเสือหาเงินเข้าสร้างโบสถ์และเสนาสนะ ปรากฏว่าตะกรุดของท่านท้ายิงได้ทุกดอก ยิงออกไม่ต้องเอาเงินทำบุญ
    หนังสือเครื่องรางยุคเก่าจัดลำดับให้หนังหน้าผากเสือหลวงพ่อนอ อยู่ในลำดับยอดนิยมอันดับ แต่ปัจจุบันหลวงพ่อนอ น่าจะอยู่ในอันดับที่ 4 ครับ ตามลำดับ ดังนี้
    หลวงปู่นาค - หลวงปู่บุญ - หลวงพ่อหว่าง - หลวงพ่อนอ - หลวงพ่อเต๋ - หลวงพ่อตาบ - หลวงพ่อคง จันทบุรี ฯลฯ
    ฟอร์มมาตรฐาน ถักหุ้มหัวท้าย (หรือเรียกว่าลายกระสอบ) ราคาทำบุญจากวัดดอกเล็ก 500 บาท
    (ประมาณปี 2480 - 2495 ถือว่าแพงมากในสมัยนั้น และที่สำคัญมีการลองยิงในวัดทีเดียว ขลังมากครับ)
    หนังหน้าผากดีทางมหาอำนาจสูงมาก แต่ทั้งนี้เสือนั้นมีดี 3 อย่าง
    (1) เป็นเจ้าป่า มีตบะเดชะมหาอำนาจ แค่เพียงกลิ่นสาปเสือโชยไปกระทบสัตว์อื่นเป็นต้องหวาดกลัว
    (2) ถึงแม้เสือจะเป็นสัตว์ที่ดุและน่ากลัวแต่คนก็อยากเห็นและอยากเจอเสือ ข้อนี้ท่านว่าเป็นเมตตามหานิยมครับ
    (3) หากินคล่องไม่มีฝืดเคืองเรื่องอาหาร

    หลวงพ่อนอท่านลงตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ถวายพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2495 (จากบันทึกของสำนักราชเรขาธิการ ลงวันที่ถวาย 10 สิงหาคม 2495 และพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้จัดไตรครองนำมาถวายหลวงพ่อนอ 1 ชุด ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2495
    ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ สนามพระ ครับ

    แต่เดิมหลวงพ่อสร้างจะใช้แต่หนังเสือเพียงอย่างเดียวมาทำการปลุกเสกเมื่อเสร็จ ก็ทำการแจกจ่ายให้ชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหาที่อยู่ในระแวกนั้นนำไปใช้พกติกตัวทำกิจวัตรประจำวัน ทำให้ตระกรุดโดนเหงื่อโดนน้ำโดนฝน ก็ทำให้ตระกรุดเกิดความเสียหาย ยุ่ยเปื่อย เสียรูปทรงง่าย หลวงพ่อคงทราบจากชาวบ้านหรือลูกศิษย์ ก็จึงคิดพัฒนาโดยการนำไม้ไผ่มาเหลาไว้เพื่อใช้เป็นแกนกลางก่อนที่จะนำหนังเสือมาพันไว้รอบแกนไม้ไผ่อีกทีจากนั้นจึงนำมาถักเชือกลงรัก ซึ่งต่อมายุคหลังๆแกนกลางจะใช้ทองแดง คงไม่มีใครปฏิเสธ เมื่อถ้ามีโอกาสเที่ยวสวนสัตว์ หรือคนสมัยก่อนเมื่อเข้าป่า ก็อยากเห็นหรือเจอเสือ ในทางกลับกันในใจเมื่อเห็นก็กลัวสุดๆ การสร้างตระกรุดต่างๆมีการนำวัตถุหลายๆอย่างหลายประเภทมาสร้าง หนังเสือก็เป็นส่วนหนึ่งเพราะเป็นอาถรรพณ์วัตถุศักดิ์สิทธิในตัวมีทั้ง เมตตามหานิยม พลังมหาอำนาจ และแคล้วคลาด บวกกับขั้นตอนในการบรรจุวิทยาคม ของหลวงพ่อนอซึ่งขั้นตอนในการปลุดเสกไม่มีอาจารย์ท่านใดเหมือนแน่นอน ก่อนปลุกเสกท่านจะใช้เหล้าเพื่อบูชาครู จากนั้นตัวของท่านจะแดงมาก ท่านจะปิดกุฏิปลุกเสกเงียบๆคนเดียวอยู่ในกุฏิ ช่วงเวลาปลุกเสก ลูกศิษย์จะได้กลิ่นสาปเสืออบอวลทั่วทั้งบริเวณตลอดจนเป็นเรื่องเล่าขานสืบต่อมาไม่รู้จบของพิธีกรรมปลุกเสกที่เข้มขลังในยุคนั้น ตระกรุดหนังเสือเป็นเครื่องรางที่มองดูผิวเผินก็ดูจะธรรมดาๆ แต่จริงๆแล้วทุกท่านก็คงประจักษ์กันมานักต่อนักแล้วแม้นจะเป็นเรื่องเล่าขานสืบต่อหรือประสบการณ์กับตนเองในเรื่องของพุทธคุณไม่เป็นรองวัตถุมงคลใดๆเลย โดยจะเห็นได้จากปัจจุบันตระกรุดหนังเสือสำนักนี้มีราคาค่างวดสูงมากยิ่งขึ้นแรงแซงทางโค้งเนื่องจากเจตนาการสร้างดี
    พุทธคุณเป็นที่ประจักษ์ ความมาตรฐานนิยม ความหายากและจะเป็นเช่นนี้ต่อไปจวบจนนิรันดร์

    (ขอบคุณข้อมูลจากคุณathaiและพี่เกร็ดเพชร)

    คุณตาได้บอกว่า ตะกรุดดอกนี้ถ้ัายังมีกลิ่นสาปเสืออยู่ล่ะก็พุทธคูณก็ยังคงอยู่ครบ คุณตาบูชาติดตัวตลอดเวลาเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วจนห่วงฝาครบเงินหัวท้ายขาดหมดเลยครับ ตัวตะกรุดหนังหน้าผาเสือคุณตาบอกว่าตัวตะกรุดยาวประมาณ 3 นิ้วและพันด้วยหนังหน้าผาเสือ 4 นิ้วเคยมีพวกกรุงเทพขื้นมาหาของและตามขอบูชาหลายครั้งโดยให้ราตาใว้ที่ 4000 บาทครับคุณตาเลยให้ผมมาลองให้คุณอาทุกๆท่านชมและบูชาครับ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    ตะกรุดหนังหน้าผาเสืออาจารย์นอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา ยาว 4 นิ้ว

    คุณตาเปิดประมูลที่ 3100 บาทครับ สาเหตุที่ลดราคาประมูลเพราะเมื่อคืนเว็ปล้มครับ

    ขึ้นเท่าไรตามใจคุณอาครับ

    ปิดประมูลวันพฤหัสที่ 30 /01/54 เวลา 20.00 น.ครับ

    ขอบพระคุณมากครับ
    รับรองของแท้แน่นอน รับประกันความพอใจครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  10. ongvip

    ongvip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,511
    ค่าพลัง:
    +2,216

    เอ้าาาา อาเข้ามาประเดิมให้ 3199
     
  11. ongvip

    ongvip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,511
    ค่าพลัง:
    +2,216

    เอ้าาาา อาเข้ามาช่วยประเดิม 3199 ครับ
     
  12. บัวสุวรรณ56

    บัวสุวรรณ56 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2011
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอบพระคุณคุณอา ongvip มากครับที่ร่วมประมูลขอบพระคุณครับ

    ขอบพระคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  13. บัวสุวรรณ56

    บัวสุวรรณ56 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2011
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +12
    เหลือเวลาอีกครึ่งชั่วโมงนะครับ!!!!!
    ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของแท้ครับ
    รีบ ๆ กันหน่อยนะครับ
     
  14. บัวสุวรรณ56

    บัวสุวรรณ56 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2011
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +12
    ผมขอปิดประมูล ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ยาว 4"
    อาจารย์นอ วัดกลางท่าเรือ ผู้ชนะการประมูลคือ
    คุณ ongvip ครับ ประมูลไปในราคา 3,199 บาท
    ขอบพระคุณมากครับ
     
  15. บัวสุวรรณ56

    บัวสุวรรณ56 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2011
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +12
    ผมจะจัดส่งไปให้ตามที่อยู่เดิม นะครับ

    ขอบพระคุณครับ:'(
     
  16. บัวสุวรรณ56

    บัวสุวรรณ56 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2011
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +12
    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    ตะกรุดกระดาษสา พอกครั่ง

    คุณตาบอกมาว่าได้มานานแล้วแผ่นจดหายไป เลยไม่ทราบที่ครับแต่รับประกันแท้ครับและพึ่งพอใจตลอดไปครับอาๆ

    เปิดบูชาที่ 900 บาทครับ เก่ามากๆเลยครับอาๆท่านใดทราบเก็บไว้เลยครับ ปิดประมูลวันจันทร์ที่ 7 ก.พ. 54 เวลา 20.00 น

    ขอบพระคุณมากครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2011
  17. บัวสุวรรณ56

    บัวสุวรรณ56 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2011
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +12
    ตะกรุดไม้รวก หลวงปู่ดู่ วัดสะแก อยุธยา

    ถักเชือกมาตรฐานครับ ส่วนมากที่อาๆเคยเห็นกันจะไม่ถักเชือกครับ ที่ถักเชือกมีน้อยมากครับผม

    เปิดบูชาที่ 2100 บาทครับ ปิดวันจันทร์ที่ 7 ก.พ. 54 เวลา 20.30 น.

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    ประวัติ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา

    ชาติภูมิ

    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง เป็นวันเพ็ญวิสาขปุรณมี ณ บ้านข้าวเม่า ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โยมบิดาชื่อ พุด โยมมารดาชื่อ พ่วง นามสกุล หนูศรี มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน 3 คน ตัวท่านเป็นคนสุดท้อง เมื่อหลวงพ่อถือกำเนิดได้ไม่นาน มารดาของท่านก็เสียชีวิต และเมื่อท่านอายุได้ 4 ปี บิดาของหลวงพ่อก็เสียชีวิตอีก ทำให้หลวงพ่อกำพร้าตั้งแต่วัยเยาว์ ท่านจึงได้อาศัยอยู่กับยาย และ พี่สาวชื่อ สุ่ม เป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ เมื่อท่านถึงวัยที่ต้องศึกษา ก็ได้ศึกษาเล่าเรียนที่ วัดกลางคลองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรม และวัดนิเวศธรรมประวัติ ตามลำดับ

    เมื่อตอนที่ท่านยังเป็นทารกมีเหตุอัศจรรย์ที่ทำให้เชื่อว่าท่านจะต้องเป็นผู้มีบุญวาสนามาเกิด คือในช่วงหน้าน้ำหลาก คืนหนึ่งขณะที่บิดาและมารดากำลังทำขนมอยู่นั้น มารดาท่านได้วางตัวท่านไว้บนเบาะนอกชานบ้าน แต่ไม่ทราบด้วยเหตุใดตัวท่านได้กลิ้งตกลงไปน้ำ แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ตัวท่านกลับไม่จมน้ำ กลับลอยน้ำไปติดอยู่ข้างรั้ว กระทั่งสุนัขที่บ้านเลี้ยงไว้ มาเห็นเข้าจึงเห่าและวิ่งกลับไปกลับมา มารดาท่านจึงสงลัยว่าคงจะมีเหตุการณ์ผิดปกติ จึงได้ตามสุนัขออกมาดู ก็พบท่านลอยน้ำอยู่ติดกับข้างรั้ว

    อุปสมบท

    เมื่อท่านอายุได้ 21 ปี ก็ได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2468 ตรงกับวันอาทิตย์แรม 4 ค่ำ เดือน 6 ณ อุโบสถวัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแด่ เจ้าอาวาสวัดสะแก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับ ฉายาว่า “ พรหมปัญโญ ”

    ศึกษาธรรม

    ในพรรษาแรกๆ นั้น หลวงปู่ดู่ ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัด ประดู่ทรงธรรม (ในสมัยนั้นเรียกว่าวัด ประดู่โรงธรรม) โดยศึกษากับ ท่านเจ้าคุณเนื่อง พระครูชม หลวงพ่อรอด (เสือ) เป็นต้น

    ในด้านการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน นั้น หลวงปู่ดู่ ได้ ศึกษา กับ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม ผู้เป้นพระอุปัชฌาย์ และ หลวงพ่อเภา ซึ่งเป็นศิษย์องค์สำคัญของหลวงพ่อกลั่น และ มีศักดิ์เป็นอาของท่าน เมื่อท่านบวชได้พรรษาที่ 2 ประมาณปลายปี พ.ศ. 2469 หลวงพ่อกลั่นก็ได้มรณภาพ ท่านจึงได้ศึกษากับหลวงพ่อเภาเป็นหลัก นอกจากนี้ยังได้ศึกษาจากตำราที่มีอยู่ จากชาดกบ้าง ธรรมบทบ้าง และด้วยความที่ท่านเป็นผู้รักการศึกษา ท่านจึงได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจาก พระอาจารย์อีกหลายท่าน ที่ จังหวัดสุพรรณบุรี สระบุรี ฯลฯ

    เมื่อพ.ศ. 2486 ครั้นออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อก็ออกเดินธุดงค์ จากวัดสะแก มุ่งหน้า สู่ป่าเขาแถบจังหวัดกาญจนบุรี ในระหว่างทาง ก็แวะนมัสการสถานที่สำคัญต่างๆ ทางพุทธศาสนา

    นิมิตธรรม

    ในคืนหนึ่ง ในช่วงก่อน ปี พ.ศ.2500 เล็กน้อย หลังจากที่ท่านสวดมนต์ทำวัตรเย็น และเข้าจำวัดแล้วนั้น เกิดนิมิตไปว่าได้ฉันดาว ที่มีแสงสว่างมากเข้าไป 3 ดวง ขณะที่ฉันนั้นรู้สึกว่า กรอบๆ ดี เมื่อฉันหมดก็ตกใจตื่น ท่านจึงได้พิจารณานิมิตที่เกิดขึ้น ก็เกิดความเข้าใจในนิมิตนั้นว่า ดาวสามดวง ก็คือ ดวงแก้วไตรสรณาคมน์ นั้นเอง ท่านจึงท่อง

    “ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ” ก็เกิดปิติขึ้นในจิตท่านอย่างท่วมท้น เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และมั่นใจว่า การยึดมั่นพระไตรสรณาคมน์ เป็นวิธี ที่เข้าสู่แก่นแท้ เป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา ท่านจึงกำหนดเอา พระไตรสรณาคมน์ เป็นองค์บริกรรมภาวนา

    เมตตาธรรม

    หลวงปู่ดู่ ท่านให้การต้อนรับแขกอย่างเสมอเท่าเทียมกันหมด ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ท่านจะพูดห้ามปรามหากมีผู้เสนอตัวเสนอหน้าคอยจัดแจงเกี่ยวกับแขกที่มาหาท่าน เพราะท่านทราบดีว่ามีผู้ใฝ่ธรรมจำนวนมากที่อุตสาห์เดินทางมาไกล เพื่อนมัสการและซักถามข้อธรรมจากท่าน หากมาถึงแล้งยังไม่สามารถเข้าพบได้โดยสะดวก ก็จะทำให้เสียกำลังใจ เป็นเมตตาธรรมอย่างสูงที่หลวงพ่อมีให้ศิษย์ทั้งหลาย และหากมีผู้สนใจการปฏิบัติกรรมฐาน มาหาท่าน ท่านจะเมตตาสนทนาธรรมเป็นพิเศษอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย

    หลวงปู่ทวด

    ท่านให้ความเคารพในองค์หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ เป็นอย่างมากทั้งกล่าวยกย่อง ว่าหลวงปู่ทวดท่านเป็นผู้ที่มีบารมีธรรมเต็มเปี่ยม เป็นโพธิสัตว์จะได้มาตรัสรู้ ในอนาคต ให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ยึดมั่น และระลึกถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อติดขัดในระหว่างการปฏิบัติธรรม หรือประสบปัญหาทางโลก ท่านว่า หลวงปู่ทวดท่านคอยที่จะช่วยเหลือทุกคนอยู่แล้ว แต่ขอให้ทุกคนอย่าท้อถอย หรือละทิ้งการปฏิบัติ

    สร้างพระ

    หลวงพ่อดู่ ท่านมิได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ การที่ท่านสร้าง หรืออนุญาตให้สร้างพระเครื่องหรือพระบูชา ก็เพราะเห็นว่า บุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยงทางด้านจิตใจ เพราะศิษย์ หรือ บุคคลนั้น มีทั้งที่ใจใฝ่ธรรมล้วนๆ กับ ยังต้องอิงกับวัตถุมงคล ท่านเคยพูดว่า “ติดวัตถุมงคลยังดีกว่า ที่จะไปให้ติดวัตถุอัปมงคล” แม้ว่าหลวงปู่ดู่ท่านจะรับรองในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ท่านอธิฐานจิตให้ แต่สิ่งที่ท่านยกไว้เหนือกว่านั้นก็คือการปฏิบัติ การภาวนา นี้แหละ เป็นสุดยอดแห่งเครื่องรางของขลัง บางคนมาหาท่านเพื่อต้องการของดีเช่นเครื่องรางของขลัง ซึ่งมักจะได้รับคำตอบจากท่านว่า “ ของดีนั้นอยู่ที่ตัวเรา พุทธัง ธัมมัง สังฆัง นี่แหละของดี ”

    ปัจฉิมวาร

    นับตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เป็นต้นมาสุขภาพหลวงพ่อเริ่มทรุดโทรม เนื่องการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุจากการที่ต้องต้อนรับแขก และบรรดาศิษย์ทั่วทุกสารทิศ ที่นับวันก็ยิ่งหลั่งไหลกันมานมัสการท่านมากขึ้นทุกวัน แม้บางครั้งจะมีโรคมาเบียดเบียนอย่างหนัก ท่านก็อุตส่าห์ออกโปรดญาติโยมเป็นปกติ พระที่อุปัฏฐากท่าน เล่าว่า บางครั้งถึงขนาดที่ท่านต้องพยุงตัวเองขึ้นด้วยอาการสั่น และมีน้ำตาคลอเบ้า ท่านก็ไม่เคยปริปากให้ใครต้องเป็นกังวลเลย ภายหลังตรวจพบว่า หลวงพ่อ เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว แม้ว่าทางคณะแพทย์ จะขอร้องท่านให้เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ท่านก็ไม่ยอมไป

    ประมาณปลายปี พ.ศ.2532 หลวงปู่ดู่พูดบ่อยครั้ง เกี่ยวกับ การที่ท่านจะละสังขาร ซึ่ง ในขณะนั้นหลวงปู่ดู่ท่านได้ใช้หลักธรรม ขันติ คือความอดทนอดกลั้นระงับ ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากโรคภัย จิตของท่านยังทรงความเป็นปรกติสงบเย็น จนทำให้คนที่แวดล้อมท่านไม่อาจสังเกตเห็นถึงปัญหาโรคภัยที่คุกคามท่านอย่างหนัก

    วันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2533 ช่วงเวลาบ่ายนั้น มีนายทหารอากาศผู้หนึ่งมากราบท่านเป็นครั้งแรก หลวงพ่อท่านได้ลุกขึ้นนั่งตอนรับ ด้วยใบหน้าที่สดใส ราศีเปล่งปลั่งเป็นพิเศษ จนบรรดาศิษย์ เห็นผิดสังเกต หลวงพ่อยินดีที่ได้พบกับศิษย์ผู้นี้ ท่านว่า “ต่อไปนี้ ข้าจะได้หายเจ็บไข้เสียที ” คืนนั้นมีคณะศิษย์มากรายท่าน ท่านได้พูดว่า “ ไม่มีส่วนใดในร่างกายที่ไม่เจ็บปวดเลย ถ้าเป็นคนอื่นคงเข้าห้อง ICU ไปนานแล้ว ” พร้อมทั้งพูดหนักแน่นว่า “ข้าจะไปแล้วนะ” และกล่าวปัจฉิมโอวาทย้ำให้ทุกคนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท “ถึงอย่างไรก็ขอให้อย่าได้ละทิ้งการปฏิบัติ ได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติ ก็เหมือนนักมวย ขึ้นเวทีแล้วต้องชก อย่ามัวแต่ตั้งท่า เงอะๆ งะๆ” หลังจากคืนนั้นหลวงพ่อก็กลับเข้ากุฏิ และละสังขารไปด้วยอาการสงบด้วยโรคหัวใจ ในกุฏิท่านเมื่อเวลาประมาณ 5 นาฬิกา ของ วันพุธที่ 17 มกราคมพ.ศ. 2533 รวมสิริอายุได้ 85 ปี 8 เดือน 65 พรรษา ยังความเศร้าโศกและอาลัยแก่ ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างยิ่ง อุปมาดั่งดวงประทีปที่เคยให้ความสว่าง ดับไป แต่เมตตาธรรมและคำสั่งสอนของท่านยังปรากฏ อยู่ในดวงใจของ ศิษยานุศิษย์ตลอดไป

    จึงขอยกธรรมคำสอนของหลวงพ่อที่สอนให้ศิษย์ เข้าถึงธรรมด้วยการสร้างคุณงามความดีให้เกิดขึ้นที่ตนเองดังนี้

    “ตราบใดก็ตาม ที่แกยังไม่เห็นความดีในตัวเอง

    ก็ยังไม่นับว่า แกรู้จักข้า

    แต่ถ้าเมื่อใด แกเริ่มเห็นความดีในตัวเองแล้ว

    เมื่อนั้นข้าว่า แกเริ่มรู้จักข้าดีขึ้นแล้วล่ะ”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2011
  18. บัวสุวรรณ56

    บัวสุวรรณ56 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2011
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +12
    ผมจะพยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับตะกรุดกระดาษสา
    มาเพิ่มครับ
    ขอบพระคุณ คุณอาอ๋อง ที่ให้ความกรุณาผมครับ

    ขอบพระคุณครับ
     
  19. บัวสุวรรณ56

    บัวสุวรรณ56 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2011
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +12
    ของดีครับ ขอเชิญแวะมาชมครับ เก่ามากกกกกไม่ทราบอายุเลย
    คุณตาจำไม่ได้
     
  20. บัวสุวรรณ56

    บัวสุวรรณ56 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2011
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +12
    ของใหม่มาแล้วครับ!!!

    <CENTER>หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว

    </CENTER>



    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว

    หล่อโบราณเต่า ล.ป.บุญ วัดกลางบางแก้ว เนื้อขี้นกเขาเปล้า ขนาดเล็กกว่าเหรียญ 10 บาทครับ เก่ามากๆครับเมื่อจับกล่องจะเห็นไขความเก่าตะกั่วขี้นกเขาเปล้า ที่ท้องเต่าตาบอกจะมีจารย์ยันเฑาะ ใต้ท้อง หรือยันต์นี้เรียกว่า "ยันต์จตุโร" เป็นยันต์ที่มีสื่อความหมายในการขอพรอันประเสริฐของดวงดาวบนท้องฟ้า หรือเรียกอีกอย่างก็ได้ครับว่า ตรีนิสิงเห ครับคุณอา รับประกันเก่าแท้ดูง่ายๆครับ

    เปิดประมูลที่ 3100 บาทครับ

    ขึ้นที่เท่าไรก็ได้ครับ

    ปิดประมูลวันที่ 7/02/54 เวลา 20.30 น.ครับผม



    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    ประวัติ หลวงปู่บุญ ขนฺธโชติ วัดกลางบางแก้ว

    กาลสมภพ

    หลวงปู่บุญชาตะเมื่อวันจันทร์ขึ้น ๓ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก จุลศักราช ๑๒๑๐ สัมฤทธิศกเวลาย่ำรุ่งใกล้สว่าง ตรงกับวันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๓๙๑ อันเป็นปีที่ ๒๕ แห่งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ท่านชาตะ ณ. บ้านตำบลท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร (ในครั้ง นั้นยังเป็นตำบลบ้านนางสาว อ.ตลาดใหม่ เมืองนครชัยศรี มณฑลนครชัยศรี ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นบ้านท่าไม้ อ.สามพราน จ.นครปฐม แต่ปัจจุบันนี้ ต.ท่าไม้ ได้โอนไปขึ้นกับ อ.กระทุ่มแบน จ.สุมทรสาคร)

    เหตุแห่งมีนามว่า "บุญ"

    เมื่อวัยทารก ท่านมีอาการป่วยหนักถึงแก่สลบไป และไม่หายใจในที่สุดบิดามารดาและญาติ เมื่อเห็นว่า ท่านตายเสียแล้วจึงจัดแจงจะเอาท่านไปฝัง แต่ปรากฏว่ายังไม่ทันที่จะได้ฝังท่านก็กลับฟื้นขึ้นมา บิดามารดา ได้ถือเอาเหตุนี้ตั้งชื่อให้แก่ท่านว่า "บุญ"

    การศึกษาและบรรพชา

    เมื่อครั้งที่หลวงปู่บุญ ยังอยู่ในวัยเยาว์นั้น โยมทั้งสองได้ย้ายภูมิลำเนามาทำนาที่ตำบลบางช้าง อ.สามพราน เมื่อท่านอายุได้ ๑๓ ปี โยมบิดาได้ถึงแก่กรรม โยมป้าของท่านจุงนำไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนอยู่กับพระปลัด ทอง ณ วัดกลาง ซึ่งในสมัยนั้นมีชื่อว่า "วัดคงคาราม" ต.ปากน้ำ (ปากคลองบางแก้ว) อ.นครชัยศรี เมื่อท่าน อายุได้ ๑๕ ปีเต็มพระปลัดทองจึงทำการบรรพชาให้เป็นสามเณรและได้อบรมสั่งสอนวิชาความรู้ต่างๆ ให้ เมื่อครั้งนั้นท่านได้รับใช้อย่างใกล้ชิดจึงทำให้เป็นที่รักใคร่ของพระปลัดทอง แต่เมื่อมีอายุได้ใกล้อุปสมบท ท่านมีความจำเป็นต้องลาสิกขาเนื่องด้วยความป่วยไข้เบียดเบียน

    อุปสมบท

    หลวงปู่บุญ อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ณ พัทธสีมา วัดกลางบางแก้ว เมื่อวันจันทร์เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะเส็ง จุลศักราช ๑๒๓๑ เอกศกเพลาบ่ายตรงกับวันที่ ๒๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๑๒ ในท่ามกลาง ที่ประชุมสงฆ์ ๓๐ รูป โดยมีพระปลัดปาน เจ้าอาวาสวัดพิไทยทาราม (วัดตุ๊กตา) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระ ปลัดทอง เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว พระอธิการทรัพย์ เจ้าอาวาสวัดงิ้วราย พระครูปริมานุรักษ์ วัดสุประดิษฐานราม และพระอธิการจับ เจ้าอาวาสวัดท่ามอญร่วมกันให้สรณาคมณ์กับศีลและสวดกรรมวาจา อนึ่ง การที่มีพระอาจารย์ร่วมพิธีถึง ๔ รูปเช่นนี้ก็เพราะพระเถระเหล่านี้เป็นที่เคารพนับถือ ของผู้ใหญ่ที่เป็นเจ้า ภาพอุปสมบทแล้วพระอุปัชฌาย์ขนานนามฉายาให้ว่า "ขนฺธโชติ" แล้วให้จำพรรษาอยู่กับพระปลัดทอง ที่วัดกลางบางแก้ว

    การศึกษาทางปริยัติและปฏิบัติ

    หลวงปู่บุญ ถูกว่างพื้นฐานในทางธรรมมาอย่างดีแล้วตั้งแต่เป็นเด็กวัดและสามเณร ซึ่งช่วงระยะเวลา ดังกล่าวประมาณ ๕-๖ ปี ที่ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้พระปลัดทอง จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าพื้นฐานในทางธรรม ของท่านถูกถ่ายทอดมาโดยพระปลัดทองทั้งสิ้น อาจารย์อีกรูปหนึ่งของท่านก็คือพระปลัดปาน เจ้าอาวาส วัดตุ๊กตา ซึ่งจากปากคำของพระครูธรรมวิจารณ์ (ชุ่ม) เจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม (วัดชีปะขาว) บางกอกน้อย เคยกล่าวไว้ว่าหลวงปู่บุญได้เล่าเรียนกรรมฐานและอาคมกับท่านปลัดปาน อันที่จริงนั้นอาจารย์ที่ถ่ายทอด วิชาความรู้ทางธรรม ทั้งปริยัติและปฏิบัติตลอดจนพระเวท และพุทธาคมให้แก่ท่านยังมีอีกหลายรูป แต่จะกล่าวถึงในถัดไป

    ประวัติชีวิตหลวงปู่บุญที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงส่วนย่อยในทั้งหมดของท่าน เพราะหากจะนำมาเขียนกัน จริงๆ คงต้องยืดยาวมาก อีกทั้งได้มีนักเขียนหลายท่านพรรณาไว้อย่างถูกต้องดีแล้วผู้เขียนจึงเว้นไว้เสีย ไม่นำมากล่าวถึงอีก

    เมตตาธรรม

    ปกติหลวงปู่บุญ เป็นพระที่มีความเมตตากรุณาแก่บุคคลทั้งหลายเป็นอันมาก ได้อุปการะพระลูกวัดตลอดจน สานุศิษย์ และเกื้อกูลชาวบ้านอยู่เป็นนิจ ตลอดอายุขัยของท่าน ทั้งนี้เกิดจากเป็นนิสัยโดยกำเนิดของท่านที่ เป็นผู้มีใจเป็นบุญกุศลและปฏิเสธการกระทำอันเป็นบาปมาตั้งแต่เยาว์วัยแล้ว

    ปล่อยปลาหมดข้อง

    สมัยเมื่อหลวงปู่บุญ ยังเป็นเด็กเล็กๆ อยู่กับโยมทั้งสอง ก็มีลักษณะแปลกกว่าเด็กทั้งหลายคือ ไม่ยอมฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต และไม่ชอบการจับเอาสัตว์มาเล่น ทรมานเหมือนเด็กอื่นๆ โยมทั้งสองซึ่งมีอาชีพในการทำนานั้น ขณะว่างจากงานก็จะเที่ยวหาปลาตามหนองน้ำต่างๆ เพื่อมาทำอาหารบริโภคเช่นเดียวกับชาวนาบททั้งหลาย และโยมทั้งสองก็มักจะเอาท่านไปด้วย เพราะท่านเป็นบุตรคนหัวปี โดยมอบท่าน สะพายข้องใส่ปลาที่จับได้ ตอนแรกๆ ท่านไม่ยอมไปด้วย ก็ถูกโยมดุว่า ท่านจึงจนใจต้องสะพานย่ามติดตามโยมไปด้วย ในวันหนึ่งโยม จับปลาได้มาก ต่างก็พากันดีใจปลดปลาใส่ข้องได้หลายตัว ครั้นกลับมาถึงบ้านเตรียมนำเอาปลามาทำอาหาร พอเปิดข้องออกดูปรากฏว่า ไม่มีปลาในข้องเลยแม้แต่ตัวเดียว

    เมื่อโยมถามท่านก็บอกว่าเอาปลาปล่อยไปตามทางหมดแล้ว เป็นอันว่าในวันนั้น แทบจะไม่มีกับข้าว รับประทานกันทั้งบ้าน โยมโกรธท่านมากและไม่ลงโทษเฆี่ยนตีท่าน อย่างรุงแรงหลังจากนั้นมา โยมก็มิได้ เอาท่านไปหาปลาอีกเลย และท่านก็ได้กลายเป็นเด็กที่ซึมเซาเหงาหงอยเบื่อความมีชีวิตอย่างโลภๆ หลวงปู่บุญ เคยเล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่าท่านมีความรู้สึกมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยแล้วว่า ชีวิตทางโลกเป็นหนทางที่มีแต่ความ เบียดเบียน และมีความปรารถนาจะเข้าวัดบวชเรียนเสียเร็วๆ และก็ได้มีโอกาสบวชเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี และมีชีวิตในทางธรรมมาตลอด

    อำนาจ ตบะเดชะ


    แม้ว่าหลวงปู่บุญ จะเป็นผู้เฒ่าที่ใจดี แต่ก็ไม่วายที่จะมีคนเกรงกลัวกันมาก กล่าวกันว่าท่านเป็นผู้ที่มีอำนาจ ในตัว กอปรด้วยท่านเป็นคนพูดน้อย มีแววตากล้าแข็ง จึงไม่ว่าใครๆ ต่างก็พากันเกรงขามท่านกันทั้งนั้น ใครก็ตามที่มีธุระทุกข์ร้อยมาหาท่าน ท่านก็จะรับเป็นภาระช่วยบำบัดปัดเป่าทุกข์ภัยนั้น ให้ด้วยความเมตตา กรุณาโดยทั่วหน้ากัน บางคนมาขอฤกษ์ หรือมาให้ท่านทำนายเกณฑ์ชะตาบอกข่าว ในคราวประสพ เคราะห์กรรมต่างๆ บ้างก็ขอให้ท่านรดน้ำพุทธมนต์ หรือมิฉะนั้นก็มาขอยารักษาโรคจากท่าน ครั้นเมื่อท่าน จัดการให้เรียบร้อยแล้ว ท่านก็จะนั่งนิ่งๆ ไม่พูดจาว่ากระไรอีก คนที่มาหาท่านก็จะลงมือทำงานของท่านต่อไป โดยปรกติแล้วในวันหนึ่งๆ หลวงปู่หาเวลาว่างจริงๆ ได้ยาก ท่านทำงานของท่านตลอดเวลา เว้นแต่เวลาฉัน หรือเวลาจำวัดเท่านั้น

    บุคลิกพิเศษของหลวงปู่อีกประการหนึ่งทำให้คนเกรงขามก็คือ แววนัยน์ตาอันแข็งกร้าวอย่างมีอำนาจ ของท่าน ทุกครั้งที่ท่านพูดกับใครนัยน์ตาคู่นี้จะจับต้องนัยน์ตาของผู้นั้นแน่นิ่งอยู่ตลอดเวลา นัยน์ตา ที่ทรง พลังอำนาจเช่นนี้อย่าว่าแต่คนธรรมดาเลย แม้ขุนโจรใจโหดก็จะไม่กล้าสู่นัยน์ตาท่านได้

    ครั้งหนึ่งมีพระลูกวัด ๒-๓ องค์ แอบไถลมานั่งคุยกันเล่นอย่างสนุกสนานที่ท้ายน้ำหน้าวัดพร้อมกับร้อง ทักทายชาวบ้านที่พายเรือผ่านหน้าวัดไปมา โดยละเลยต่อการปฏิบัติศาสนากิจตามกำหนด หลวงปู่เดินมา เห็นเข้าพระเหล่านั้นต่างตัวสั่นงันงกด้วยความหวาดเกรงท่าน มีอยู่องค์หนึ่งที่ตกใจมากกว่าเพื่อนไม่รู้ว่า จะหลบหนีหลวงปู่ไปทางไหนดี เลยโดดหนีลงไปในแม่น้ำต่อหน้าต่อตาท่านทั้งๆ ที่ตอนนั้นเป็นฤดูหนาว และน้ำในแม่น้ำก็เย็นจัดหลวงปู่ได้ร้องบอกว่า "ขึ้นมาเถอะคุณเดี๋ยวจะเป็นตะคริวตายเสียเปล่าๆ" แล้วท่านก็ลงมืออบรมสั่งสอนพระเหล่านั้นให้ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องทำให้พระทุกองค์พากันเข็ดขยาด ไปอีกนาน

    อีกเรื่องหนึ่งที่ หลวงปู่บุญไม่ชอบ ก็คือ ชาวบ้านที่ชอบนุ่งโสร่งเข้าวัด ท่านมักจะปรารภในเรื่องนี้ว่า "การแต่งกายเป็นเครื่องสอนนิสัยใจคอคน การเข้าวัดเข้าวาไม่ควรนุ่งโสร่งลอยชายมันไม่สุภาพ ควรนุ่งห่มให้เรียบร้อยสักหน่อยจะสมควร" ข่าวอันนี้เมื่อล่วงรู้ไปถึงชาวบ้านละแวกนั้นเข้า ก็กลายเป็น ข้อปฏิบัติที่ว่าต่อไปเมื่อใครจะเข้าวัดจะต้องแต่งกายให้เรียบร้อย โดยจะต้องไม่นุ่งโสร่งเป็นอันขาด

    อาพาธและมรณภาพ

    ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นต้นมา ซึ่งหลวงปู่บุญได้รับพระกรุณาโปรดให้เป็นพระราชาคณะที่พระพุทธวิถี นายกนั้น ท่านมีอายุได้ ๘๑ ปีแล้ว งานบริหารกิจการสงฆ์จังหวัดนครปฐมและสุพรรณบุรีที่ผ่านมาก็ได้ ดำเนินมาด้วยความเรียบร้อย กิจการศาสนาในด้านต่างๆ โดยการนำของท่านก็ประสบแต่ความเจริญรุ่งเรือง ตลอดมาด้วยดี แต่ระยะหลังๆ นี้ หลวงปู่บุญ กำลังเข้าสู่วัยชราภาพมากแล้ว สังขารก็ทรุดโทรร่วงโรยลงไปตาม วันเวลา จะเดินทางไปไหนมาไหนแต่ละครั้งก็ไม่สะดวก ท่านจึงกราบทูลขอลาออกจากคณะสงฆ์ สมเด็จพระ สังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ มีรับสั่งถามหลวงปู่ว่าเวลานี้อายุได้เท่าไร ท่านก็กราบทูลว่า ๘๑ ปีเศษ ทรงรับสั่งว่า "จงอยู่ไปก่อนเถิด"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2011

แชร์หน้านี้

Loading...