38.ท่องตามตำนาน ไหว้พระธาตุเมืองเหนือ

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 24 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    Upload รูปไม่ได้ ลงตัวหนังสือให้อ่านไปก่อน....
     
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    วัดต่อไปที่คณะของเราจะไปก็คือ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดนี้ไม่ได้อยู่ในโปรแกรมการไหว้พระครั้งนี้ เป็นวัดที่เพิ่มขึ้นมาอย่างปัจจุบันทันด่วน เนื่องจากพระเดชพระคุณ พระธรรมนันทโสภณ เจ้าคณะจังหวัดน่าน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ท่านได้เมตตาจัดหาผ้าห่มพระธาตุช้างค้ำ เพื่อให้ชาวคณะได้ร่วมกันทำบุญและขึ้นห่มพระธาตุ งานนี้หัวหน้าคณะหลวงพี่พระวิทยากรร่วมปีนพระธาตุห่มเองเลยหล่ะ (แต่ไม่ได้ถ่ายรูปมาให้ชม)
    มาทราบข้อมูลของวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารกันหน่อยนึงนะ....



    a.jpg

    วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร


    วัดช้างค้ำวรวิหาร มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป คือ วัดช้างค้ำ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร และวัดหลวงกลางเวียงวัดนี้ตั้งอยู่กลางใจเมือง ในเขตเทศบาลเมืองน่าน เลขที่ ๑๓ ถนนสุริยพงษ์ บ้านช้างค้ำ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ตรงข้ามวัดเป็นเทศบาลเมืองน่าน และศาลจังหวัดน่าน ปัจจุบันสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย


    วัดช้างค้ำวรวิหารมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๓ งาน ๗๒ ตารางวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๑๙๔๖ เขตวิสุงสีมา กว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๑๙.๕๐ เมตร มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๗ ไร่ ๓ งาน ๙ ตารางวา อาณาเขตของวัดมีกำแพงล้อม รอบทั้ง ๔ ด้าน ปัจจุบันวัดช้างค้ำวรวิหารเป็นวัดอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชพระบรมราชาอนุญาตให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ ๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๐๑ จึงนับได้ว่าวัดช้างค้ำวรวิหารเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกและแห่งเดียวในจังหวัดน่าน


    a.jpg

    ตามประวัติที่แจ้งไว้กล่าวว่าวัดพระธาตุช้างค้ำสร้างเมื่อ พ.ศ.๑๙๔๖ แต่พงศาวดารน่าน ชื่อ “พระญาภูเข่ง” หรือ “ภูเช็ง” เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อจุลศักราช ๗๖๘ ตรงกับพ.ศ. ๑๙๔๙ เดิมวัดนี้เป็นวัดหลวงประจำเมืองที่เจ้าเมืองใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญของบ้านเมือง นอกจากนี้วัดช้างค้ำยังตั้งอยู่กลางใจเมืองด้วย จึงมีชื่อเรียกวัดนี้ว่าวัดหลวงบ้าง วัดหลวงกลางเวียงบ้าง รวมถึงชื่อ วัดหลวงกลางเมือง สำหรับชื่อ “วัดช้างค้ำ” หรือ“พระธาตุช้างค้ำ” ที่เรียกกันในปัจจุบันนี้ สืบเนื่องมาจากที่วัดมีพุทธเจดีย์หรือพระธาตุหลวงก่อเป็นรูปช้างล้อมสัณฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกฐานสูง ก่ออิฐถือปูนปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัวโผล่หน้าออกมารอบองค์พระเจดีย์ไว้จึงเรียกกันว่า “วัดช้างค้ำ” สืบมาและชื่อดังกล่าวเพิ่งจะมาเรียกในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง



    พระธาตุเจดีย์ช้างค้ำวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีลิกธาตุไว้ภายใน นับเป็นปูชนียสถานสำคัญ เป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะสุโขทัยจากเจดีย์ทรงลังกาคือเจดีย์วัดช้างล้อมนั่นเอง พระธาตุเจดีย์สร้างด้วยอิฐถือปูน มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลื่ยมจัตุรัสซ้อนกัน ๓ ชั้น กว้างด้านละ ๙ วา ฐานจากชั้นแรกสูงถึงชั้นสองมีรูปช้างค้ำอยู่ในลักษณะเหมือนฐานรองรับไว้ด้านละ ๖ เชือก รวมทั้งหมด ๒๔ เชือก ช้างแต่ละตัวโผล่ส่วนหัวลอยออกมาครึ่งตัว ขาหน้าทั้งคู่ยื่นพ้นออกมาจากเหลี่ยมฐานเหนือขึ้นไปเป็นฐานปัทม์(ฐานบัว) ซ้อนกัน ๓ ชั้น และเป็นองค์ระฆังแบบลังกา ต่อจากองค์ระฆังทำเป็นฐานเขียงรองรับมาลัยลูกแก้วลดหลั่นกันไปเป็นส่วนยอด ปัจจุบันพระธาตุเจดีย์ช้างค้ำได้รับการบูรณะซ่อมแซมและหุ้นด้วยแผ่นทองเหลืองทั้งองค์ มีความสวยงามมาก

    a.jpg

    นอกจากนี้ยังมีตำนานการสร้างวัดช้างค้ำวรวิหารเพิ่มเติมอีกว่า เมื่อครั้งที่กองทัพพม่ายกมาหมายจะยึดเอานครน่านเป็นเมืองออกนั้น เจ้าผู้ครองนครน่านเห็นว่าศึกครั้งนี้เกินกำลังที่จะรับได้ จึงใช้อุบายขอทำศึกด้วยธรรมะ คือให้แข่งขันกันสร้างพระเจดีย์ โดยเริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ตกดินจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น หากฝ่ายใดสร้างเสร็จและยกฉัตรพระเจดีย์ขึ้นก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะ ฝ่ายนครน่านใช้ไม่ไผ่สานสังเวียนขนาดใหญ่น้อยลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ ให้มีรูปลักษณะเหมือนองค์พระเจดีย์ และระดมทั้งกำลังคนและกำลังช้างขน ดิน กรวด ทรายทับถมลงไปในสังเวียนแล้วใช้ผ้าขาวหุ้มมองดูแต่ไกลเหมือนองค์เจดีย์ ก่อนรุ่งเช้าเพียงเล็กน้อยทางนครน่านก็ยกยอดฉัตรขึ้นสำเร็จ ทางฝ่ายพม่าสร้างเจดีย์เสร็จทีหลังจึงยอมแพ้เลิกทัพกลับไป เจ้าผู้ครองนครเห็นว่า เพื่อเป็นอนุสรณ์ในชัยชนะครั้งนั้น จึงโปรดฯ ให้สร้างพระเจดีย์ของจริงขึ้นพร้อมกับสร้างวัดขึ้น ณ บริเวณที่ก่อสร้างพระเจดีย์เทียมแข่งกับพม่านั้นเอง โดยที่รอบฐานของพระเจดีย์ชั้นที่ ๒ ทรงโปรดฯ ให้สร้างรูปปั้นช้างเป็นสัญลักษณ์ว่าช้างมีส่วนสำคัญในการค้ำจุนให้พระองค์ได้รับชัยชนะ (ตำนานดังกล่าวไม่มีปรากฏในพงศาวดารหรือจดหมายเหตุใดๆ) นับแต่นั้นเป็นต้นมาวัดพระธาตุช้างค้ำก็ได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้าผู้ครองนครอย่างสืบเนื่องกันมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา จนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


    a.jpg

    หอไตรวัดช้างค้ำวรวิหาร เป็นหอพระไตรปิฎก ใหญ่ที่สุดในประเทศ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชดังปรากฏในพระประวัติของพระองค์ว่า "ร.ศ.๑๒๗ พ.ศ.๒๔๕๓ ก่อสร้างหอพระไตรปิฏกในบริเวณวัดช้างค้ำ ๑ หลัง ๘ ห้อง ยาว ๑๖ วา ๑ ศอก กว้าง ๕ วา ๒ ศอก สูงตั้งแต่ดินถึงอกไก่ ๑๓ วา หลังคาทำเป็นชั้น ๆ ก่ออิฐทาสี เครื่องบนไม้สักมุงกระเบื้องไม้สักทำอย่างแน่นหนา มีเพดานจั่ว ๒ ข้าง และเพดานทำด้วยลวดลายต่าง ๆ พระสมุห์อินเจ้าอาวาสวัดหัวข่วงกับจีนอิ๋วจีนซางเป็นสล่าสิ้นเงิน ๑๒,๕๕๘ บาท ลักษณะโครงสร้างสถาปัตยกรรมมีลักษณะอย่างเดียวกับวิหารและโบสถ์ ตั้งอยู่ด้านหน้าคู่กับพระวิหารหลวง อาคารก่ออิฐโบกปูน ยกพื้นสูงมีสิงห์ยืนอยู่ด้านหน้า ตรงเชิงบันใดด้านละ ๑ ตัว ตั้งเสารายรับหลังคาเชิงชายแทนผนังและก่อผนังปิด ทำเป็นห้องไว้พระธรรม และพระไตรปิฏก ตรงแนวเสาที่รับคาน มีทางเข้าด้านหน้าเป็นประตูทางเดียว บานประตูสลักเป็นรูปเทวดา ๒ องค์ และมีลายปูนปั้นเป็นรูปยอดปราสาท ทำเป็นชั้นติดหน้าต่างด้านละ ๓ บาน ผนังด้านหลังปิดทึบ ด้านนอกสองข้างทาง ระหว่างเสารายและผนังเป็นทางเดินถึงกันได้ตลอดโดยรอบ อาคารสูงหลังคาช้อน ๓ ชั้น ไม่มีมุขลดที่หน้าบันใช้แผ่นไม้เรียงต่อกันเป็นแผ่นๆ ประดับลายปูนปั้นเป็นรูปกนกล้อพระยาครุฑระหว่างช่วงเสาประดับด้วยแผ่นไม้จำหลักลายกนกเป็นรูปสามเหลี่ยมสลับลายพุ่มข้าวบิณฑ์คว่ำ และรูปพระยาครุฑห้อยลงมาตามแบบสถาปัตยกรรมของล้านนา



    a.jpg

    ภายในมีลักษณะส่วนกว้างแคบส่วนยาวลึกเข้าไปภายในและส่วนสูงชะลูดขึ้นไปมาก ใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฏก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นใบลาน จารอักษรตัวธรรมมีอยู่เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นวิหารใช้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมนีซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคำ ๖๕% ปางลีลา สูง ๑๔๕ เซนติเมตร ยอดพระโมฬีทำเสริมเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๒ หนัก ๖๙บาท เจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๑๔ แห่งราชวงค์ภูคาเป็นผู้สร้างเมื่อวันพุธ เดือน ๖ เหนือ พ.ศ.๑๙๖๙ เป็นศิลปะสุโขทัย



    a.jpg

    คำบูชา
    ตั้งนะโม ๓ จบ "อิมัสะมิง นันทะปุระภิรัมเม ปะติฏฐิตัง ชินะปะระมะธาตุยา ฐะปะนัง หัตถิถัมภะ วะระธาตุเจติยัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา"



    ................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7757_1a.jpg
      IMG_7757_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      381.6 KB
      เปิดดู:
      3,498
    • IMG_7759_1a.jpg
      IMG_7759_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      337.4 KB
      เปิดดู:
      2,066
    • IMG_7767_1a.jpg
      IMG_7767_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      389.9 KB
      เปิดดู:
      1,648
    • IMG_7773_1a.jpg
      IMG_7773_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      334.7 KB
      เปิดดู:
      1,925
    • IMG_7780_1a.jpg
      IMG_7780_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      460.7 KB
      เปิดดู:
      1,569
    • IMG_7786_1a.jpg
      IMG_7786_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      496.9 KB
      เปิดดู:
      1,520
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ในระหว่างที่ชาวคณะฯ กำลังง่วนอยู่กับการเวียนพระธาตุและการห่มผ้าพระธาตุ สร้อยฟ้าฯ กับพี่ในกลุ่มอีกคนหนึ่ง(ไม่เอ่ยชื่อเนอะ) ได้ชวนกับไปดูภาพปู่ม่านย่าม่านกระซิบรักบรรลือโลกที่วัดภูมินทร์ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามของวัดพระธาตุช้างคำวรวิหาร นีแหล่ะที่สร้อยฟ้าฯ ชอบออกนอกกลุ่มเพราะว่า ได้อยู่นอกเหนือโปรแกรมที่คณะจัดขึ้น ได้เห็นอะไรมากกว่าชาวคณะฯ เหมือนตอนกระทู้หอมกลิ่นอุบล ยลดวงจำปาและกระทู้เดินเล่นดูเมือง ชมเอื้องเวียงเหนือ ที่ออกไปซนนอกกลุ่มเลยได้เห็นอะไรๆ เยอะกว่าเพื่อน ที่จริงตรงนี้ได้เข้าไปดูคุ้มของเจ้าราชบุตรด้วยหล่ะ แต่ไม่ขอลงภาพนะ มาดูเรื่องราวของวัดภูมินทร์กัน

    a.jpg

    วัดภูมินทร์

    เป็นวัดที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง ที่ประชาชนชาวน่านและจังหวัดใกล้เคียงนิยมเดินทางมาทำบุญสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล ที่ทรงคุณค่าความงดงามทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองน่านมาช้านาน


    a.jpg

    ประวัติของวัดปรากฏในจารึกพงศาวดารของเมืองน่านว่า สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๑๓๙ โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้สร้างวัดขึ้นหลังจากที่ท่านครองนครน่านได้ ๖ มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” แต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ สามร้อยปีต่อมาวัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๐ (ปลายสมัยรัชกาลที่ ๔) ใช้เวลาซ่อมนานถึง ๗ ปีจิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้ ลักษณะอุโบสถ เป็นอาคารจัตุรมุข มีประตูทั้ง ๔ ทิศมีพญานาค ๒ ตัว โผล่ส่วนหัวออกมาจากฝาผนังอุโบสถเลื้อยเป็นราวบันไดแบบสะดุ้งชูหัวอย่างสง่า ด้านทิศเหนือ ลำตัวลอดอุโบสถ ส่วนหางโผล่ออกจากฝาผนัง ทิศใต้เลื้อยเป็นราวบันไดลงขนาดหางไว้ทางทิศใต้ ตรงกลางในอุโบสถมีพระประธานปูนปั้นแบบสุโขทัย ๔ องค์ มีชื่อเรียกว่า “พระพุทธมหาพรหมอุดมศักยมุนี” เป็นปริศนาธรรมคือ พรหมวิหารสี่ ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา


    วัดภูมินทร์นั้นมีกิตติศัพท์ในด้านความงามที่เป็นเอกลักษณ์ และถือว่ามีพระอุโบสถจัตุรมุขหลังแรกของเมืองไทย ภายในพระอุโบสถหลังนี้ได้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ๔ องค์ ประทับนั่งหันเบื้องพระปฤษฎางค์ชนกันประทับบนฐานชุกชีหันพระพักตร์สู่ประตูทั้งสี่ทิศ มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าทั้ง ๔พระองค์ คือ พระกกุสันโท พระโกนาคมนะ พระกัสสปะและพระสมนโคดม ดังนั้นไม่ว่าผู้ที่มาสักการะจะเข้ามาทางประตูทิศใดก็จะพบพระพักตร์ของพระพุทธรูปทุกด้าน


    a.jpg

    a.jpg


    ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
    จิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ “ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็นชาดกในพุทธศาสนาแต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพ เช่น ภาพเด่นของภาพปู่ม่านย่าม่าน ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อในสมัยโบราณกระซิบสนทนากัน ผู้ชายสักหมึกผู้หญิงแต่งกายไตลื้ออย่างเต็มยศ ภาพวาดของหนุ่มสาวคู่นี้มีความประณีตมาก ภาพนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์ มีการใช้สีแดง ฟ้าดำ น้ำตาลเข้มเป็นปื้นใหญ่ๆคล้ายภาพสมัยใหม่ ภาพธรรมเนียมการอยู่ข่วงของชาวไทลื้อ พ่อแม่จะอนุญาตให้หนุ่มสาวพบปะกันที่ชานบ้านในเวลาค่ำ ขณะหญิงสาวกำลังปั่นฝ้าย หรือ “อยู่ข่วง” หากสาวเจ้าตกลงปลงใจด้วยก็จะจัดพิธีแต่งงาน หรือที่เรียกว่า “เอาคำไป ป่องกั๋น” หรือเป็นทองแผ่นเดียวกัน การค้าขายแลกเปลี่ยนในชุมชน ภาพชาวพื้นเมืองซึ่งอาจเป็นชาวเขา “เป๊อะ” ของป่าบนศีรษะ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกับคน ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองน่าน หญิงสาวกำลังทอผ้าด้วยกี่พื้นเมือง นอกชานมีเรือนเล็กๆ ตั้งหม้อน้ำดินเผาที่เรียกว่า “ร้านน้ำ”ส่วนชายหนุ่มไว้ผมทรงหลักแจวหรือทรงมหาดไทย แสดงให้เห็นอิทธิพลตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานในวิถีพื้นเมืองน่าน ภาพชาวต่างประเทศที่เข้ามาเมืองน่าน ช่วงรัชกาลที่ ๕ทรงผมและเครื่องแต่งกายของผู้หญิงเป็นรูปแบบเดียวกับที่กำลังเป็นที่นิยมในยุโรปขณะนั้น นอกจากนี้เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวของพุทธประวัติ คันธกุมารและเนมีราชชาดก มีสิ่งที่น่าตื่นเต้น ประทับ ใจที่สุดคือภาพบุคคลขนาดใหญ่เท่าตัวคน ที่อาจมีชีวิตอยู่จริงในเวลานั้นความใหญ่โตมโหฬารของภาพบุคคล ๖ภาพ มิใช่จะทำให้คนชมต้องตะลึงเท่านั้น หากภาพวาดมีความงดงามมากเพราะบรรยายถึงอาภรณ์ การแต่งกายของหญิงชายโดยเฉพาะสามารถถ่ายทอดอารมณ์ชีวิตชีวาและแสดงถึงลีลาอันอ่อนช้อยได้เป็นอย่างดีภาพเหล่านี้ส่วนมากเขียนอยู่บนบานประตู ซึ่งเมื่อเปิดประตูออกบานประตูจะบังภาพไปบางส่วน


    a.jpg

    ความเชื่อ
    วัดภูมินทร์นั้นเป็นวัดที่เคารพศรัทธาของชาวน่าน และชาวจังหวัดใกล้เคียง มีความเชื่อว่าหากได้มาสักการะที่หน้าพระพักตร์แห่งประธานทั้งสี่ทิศแล้ว จะเป็นสิริมงคล บุญกุศลจะส่งให้มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตปลอดภัยในทุกทิศทางที่ก้าวย่างไป


    a.jpg

    เสียดายที่เวลามีจำกัด เลยต้องรีบๆๆๆ ไปเสียทุกอย่าง เพราะกลัวว่าทางคณะฯ จะเสร็จพิธีการเสียก่อน เลยรีบเดินกลับมาที่วัดพระธาตุช้างค้ำฯ ปรากฏว่ายังไม่เสร็จ แต่ขาฉันเสร็จไปแล้ว ปวดยิ่งกว่าวันก่อน เลยไปนั่งคอยอยู่บนรถบัส รู้อย่างงี้ไม่น่ารีบเลย เสียดายได้ถ่ายรูปจิตรกรรมฝาผนังมาได้หน่อยเดียว...

    a.jpg

    ...........................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7794_1a.jpg
      IMG_7794_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      366.2 KB
      เปิดดู:
      1,538
    • IMG_7796_1a.jpg
      IMG_7796_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      546.5 KB
      เปิดดู:
      1,488
    • IMG_7798_3a.jpg
      IMG_7798_3a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      430.4 KB
      เปิดดู:
      1,945
    • IMG_7803_2a.jpg
      IMG_7803_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      419.8 KB
      เปิดดู:
      1,500
    • IMG_7806_1a.jpg
      IMG_7806_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      430.6 KB
      เปิดดู:
      1,477
    • IMG_7808_1a.jpg
      IMG_7808_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      507.5 KB
      เปิดดู:
      1,622
    • IMG_7810_1a.jpg
      IMG_7810_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      501.4 KB
      เปิดดู:
      1,667
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023
  4. ท่องตะวัน

    ท่องตะวัน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +30
    ได้ดูรูปพระพุทธรูป และ พระเจดีย์ ในแต่ละรูป ก็ยกมือขึ้นวันทา
    ขออนุโมทนา สาธุ ครับ
     
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    งามปะล่ำปะเหลือกะเจ้า... คิ คิ

    มีฮูปแม่หญิงลำปางหลวงโต้ยกะเจ้า กะลังตัดสินใจ๋ว่าจะลงดีไหมกะเจ้า... คิ คิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มีนาคม 2011
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ โต้ยกะเจ้า....
     
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ได้เวลาที่ต้องออกจากจังหวัดน่านแล้ว ตอนนี้เวลาประมาณห้าโมงเช้า สถานที่ต่อไปที่ชาวคณะจะเดินทางไปและเป็นพระธาตุแห่งสุดท้ายที่พวกเราจะไปกันแต่ไม่ใช่สถานที่ท้ายสุดที่พวกเราจะไป นั่นคือ วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ วัดพระธาตุช่อแฮนี้ คุณภัทรอังคารเคยมาตั้งกระทู้ไว้เมื่อปีก่อน เป็นการรวมพลของเสือสาว ๓ คน ที่ไปผจญภัยไหว้พระธาตุด้วยกัน วันนี้สร้อยฟ้าฯ ก็ได้มีโอกาสมาไหว้บ้างถึงแม้จะไม่ได้เกิดปีขาล


    [​IMG]
    เดินขึ้น ปวดขามาก

    วัดพระธาตุช่อแฮ พระธาตุประจำปีเกิดปียี ปีขาล(เสือ)
    วัดพระธาตุช่อแฮ เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรีชนิดสามัญ

    พระธาตุช่อแฮ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของจังหวัดแพร่ ของล้านนาไทยเป็นเจดีย์พุกามรูปแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองศิลปะแบบเชียงแสน บุด้วยทองดอกบวบสูง ๓๓ เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๑๑ เมตร ลักษณะองค์พระธาตุตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม ๑ ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม ๓ ชั้นรองรับ ถัดไปเป็นฐานบัวคว่ำและชุดท้องไม้แปดเหลี่ยม ซ้อนลดชั้นกันขึ้นไป ๗ ชั้น จากนั้นเป็นบัวระฆัง ๑ ชั้น และหน้ากระดานหนึ่งชั้น จนถึงองค์ระฆังแปดเหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังค์ย่อมุมไม้สิบสองและปล้องไฉน ส่วนยอดฉัตรประดับตกแต่งด้วยเครื่องบนแบบล้านนา หุ้มด้วยทองจังโก้ตลอดทั้งองค์กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติมีประเพณีเทศกาลนมัสการพระธาตุนี้ในกลางเดือน ๖ เหนือซึ่งจะมีประชาชนไปนมัสการเสมอแม้ในยามปกติ พระธาตุชื่อแฮนี้เป็นธาตุปีเกิดหรือพระธาตุเจดีย์ของผู้ที่เกิดในปีขาล


    [​IMG]

    พระธาตุช่อแฮ ซึ่งพบว่าเขียนเป็นอักษรธรรมว่า "ช่อแฮ"และ "ช่อแร" ซึ่งอ่านว่า "ช่อแฮ" ทั้งสองอย่าง มีความหมายว่า ธงสามเหลี่ยมทำด้วยแพร เป็นชื่อปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของชาวแพร่ (เมืองแพร่ มีหลักฐานการเขียนทั้ง "แพล่"และ "แพร่"คำแรกเป็นศัพท์ที่เก่าแก่กว่า มีความหมายเหมือนกัน คือ "เจริญ งอกงาม" ทั้งคู่)


    มีตำนานเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัพพัญญูตัญญาณได้ ๒๕ พรรษาแล้ว ครั้งที่ประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหารนั้น คืนหนึ่งพระองค์ก็รำพึงว่า พระองค์ก็ทรงมีอายุ ๖๐ พรรษาแล้ว เมื่ออายุแปดสิบ พระองค์จะปรินิพพาน จึงคิดว่าควรอธิษฐานธาตุของพระองค์ให้เป็น ๓ ส่วน แจกให้เทวดาและมนุษย์เอาไว้กราบไหว้บูชา เพราะสัตว์โลกยังเห็นพระองค์ไม่ทั่วถึง และพระองค์จะอธิษฐานให้ธาตุของพระองค์ ไปสถิตอยู่ยังสถานที่อันสมควร เมื่อออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๓ องค์ คือ พระโสณะ พระอุตตระ พระรัตนะและพระมหาเถรอีกรูปหนึ่ง ได้เสด็จไปโปรดสัตว์โลกตั้งแต่เมืองกุสินาราจนถึงเมืองแพร่ ได้มาประทับที่ใต้ร่มไม้แห่งหนึ่งเรียก "ไม้จ้องแค่" บนดอย"โกสิยธชคบรรพต" ไม้ต้นนั้นมีสาขางดงามและมีผลสะพรั่ง ขุนลัวะผู้หนึ่งชื่อ"อ้ายก๊อม"ทราบข่าวก็ไปกราบไหว้พระพุทธเจ้า และทูลว่าผู้กินผลไม้นั้นจะเป็นบ้า พระพุทธเจ้าก็ได้กิน "หมาก" นั้น พร้อมกับปูนและพลูและแสดงปาฏิหาริย์ให้ขุนลัวะผู้นั้นดู แล้วกล่าวว่าถ้าใครกินหมากนั้นก็จะเป็นบ้าแล่นไป เหตุนั้นเมืองนี้จะได้ชื่อว่า"เมืองแพร่" จากนั้นพระองค์ได้ประทานเกศาเส้นหนึ่ง ให้ลัวะอ้ายก๊อมบรรจุไว้ในถ้ำลึก ๒๐๐๐ วาซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของดอยลูกนั้น ประชาชนต่างดีใจก็ได้นำข้าวของมาถวายไว้ในถ้ำ พระอินทร์ก็แต่งยนต์จักรมาถวายพร้อมกับปิดปากถ้ำด้วยหิน ๓ ก้อน พระพุทธเจ้าได้รับสั่งต่อไปว่า ถ้าพระองค์ปรินิพพานแล้ว ให้เอาพระธาตุศอกข้างซ้ายมาบรรจุไว้ที่นี่ เพื่อว่าสถานที่นั้นจะได้ชื่อว่าเมืองแพร่เพราะพระองค์เคยประทับนั่งใต้ต้นหมากนั้นแล้ว จากนั้นก็เสด็จไปยังเมืองต่างๆ เพื่อบรรจุพระธาตุแล้วเสด็จกลับเชตวันมหาวิหาร


    [​IMG]

    เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๒๑๘ ปี พระเจ้าธรรมาโศกราช(หรือพระเจ้าอโศก) กับท้าวพญาต่างๆ ในชมพูทวีปก่อพระเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ องค์ แล้วอัญเชิญพระธาตุมาบรรจุ และอธิษฐานอัญเชิญไปสถิตยังสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงหมายไว้ พระธาตุก็เสด็จลอยไปทางอากาศไปยังที่นั้นๆ พระอรหันต์ทั้งหลายกล่าวว่า เจดีย์องค์หนึ่งจะตั้งอยู่ในพลนคร บนดอยโกสิยธชคบรรพตทิศตะวันออกของแม่น้ำยมุนาคือแม่น้ำยม เมื่อบรรจุพระธาตุศอกซ้ายที่ดอยดังกล่าวแล้ว มีพระอรหันต์ ๗ องค์ พญา ๕ องค์เป็นผู้อุปถัมภ์ แล้วทำการสักการะบูชาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และพระธาตุก็มักกระทำปาฏิหาริย์อยู่เสมอ


    ต่อมาเมื่อ "พญาลิไทเป็นกษัตริย์แห่งล้านนา" พระองค์ได้ยกพลมายังพลนครคือเมืองแพร่ เพื่อปฏิสังขรณ์เจดีย์บนดอยโกสิยธชคบรรพต เมื่อกลับไปถึงบ้านกวาง(ในท้องที่อำเภอสูงเม่นปัจจุบัน) ช้างซึ่งบรรทุกของได้ลมเชือกหนึ่ง จึงให้เฉลี่ยของไปบรรทุกช้างเชือกอื่น ในที่นั้นได้ชื่อว่า "บ้านกวานช้างมูบ" แล้วไปพักที่ดอยจวนแจ้ง (ดอยจอมแจ้ง-ศาลนางแก๋วนางแมน) เมื่อจัดที่พักแก่ข้าราชบริพารสตรีและบุรุษแล้ว ก็ปฏิสังขรณ์เจดีย์ดังกล่าวจนแล้วเสร็จจึงเสด็จกลับ ต่อนั้นมาเจ้านายไพร่ฟ้าประชาชนก็ร่วมแรงร่วมใจกันบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุช่อแฮมาตราบเท่าทุกวันนี้


    [​IMG]

    ตำนานการสร้างวัดพระธาตุช่อแฮ มีตำนานประวัติความเป็นมากล่าวไว้หลายทางดังนี้ ๑.จากพระราชพงศาวดารว่าด้วยกรุงสุโขทัย หอสมุดแห่งชาติ กล่าวถึงวัดพระธาตุช่อแฮว่า สร้างขึ้นระหว่างจุลศักราช ๕๘๖ - ๕๘๘ (พ.ศ.๑๘๙๗ - ๑๘๘๑) ในสมัยที่พระมหาธรรมราชาธิราช(ลิไท) ยังทรงเป็นพระมหาอุปราช พระราชบิดาโปรดพระราชทานให้ไปครองเมืองศรีสัชนาลัย(สวรรคโลก) พระองค์มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงสั่งสอนศีลธรรมแก่ประชาชนและทรงวางแบบแผนคณะสงฆ์ตามลังกาทวีป โปรดจัดให้มีพระสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ คามวาสี ศึกษาพระธรรมวินัย เพื่อสั่งสอนคน และอรัญญวาสี ศึกษาวิปัสสนา มุ่งความสงบแห่งจิตใจนอกจากนั้นยังทรงทะนุบำรุงพระพุทธศานาโดยโปรดให้สร้างสถานที่ทางศาสนาตามที่ปรากฏในพุทธประวัติในที่ต่างๆและทางเลือกสถานที่ยอดดอยโกสิยธชัคคะจึงโปรดให้สร้างพระเจดีย์ ๑ องค์ และขนานนามตามความหมายของยอดดอยว่า "พระธาตุช่อแฮ" ตำนานเมืองสุโขทัยกล่าวถึงความตอนนี้ว่า พระมหาธรรมราชาลิไท พระราชทาน พระบรมสารีริกธาตุแก่ขุนลัวะอ้ายก้อม นำไปบรรจุไว้ในฐานเจดีย์ที่สร้างให้คนทั้งหลายกราบไหว้แทนพระพุทธองค์ ฝ่ายขุนลัวะอ้ายก้อมได้ชักชวนหัวเมืองต่างๆได้มาร่วมกันสร้างพระเจดีย์ โดยช่วยกันสำรวจสถานที่ที่จะสร้าง เมื่อขุนลัวะอ้ายก้อมมาถึงบริเวณดอยโกสิยธชัคคะเห็นเป็นทำเลดีเหมาะสมจึงให้สร้างพระเจดีย์ขึ้น ขุนลัวะอ้ายก้อมเอาผอบพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในสิงห์ทองคำสร้างแท่นที่ตั้งผอบด้วยเงินและทองแล้วตั้งสิงห์ทองคำไว้ ให้โบกปูนทับอีกชั้นหนึ่ง หลังจากนั้นก็จัดงานบำเพ็ญกุศลเฉลิมฉลอง ๗ วัน ๗ คืน ในเวลาต่อมาเมืองแพร่ได้เข้ามารวมอยู่ในอาณาจักรลานนาไทยเมื่อ พ.ศ.๑๙๘๖ กษัตริย์ลานนาก็ได้ทรงทะนุบำรุงเสริมสร้างพระธาตุช่อแฮมาโดยลำดับ


    จนกระทั่งราชวงศ์นี้หมดอำนาจลง มิได้เป็นใหญ่ในล้านนาแล้ว พระธาตุช่อแฮก็ทรุดโทรมปรักหักพังลงเป็นอันมาก ล่วงมาจนถึง พ.ศ.๒๔๖๗ ครูบาศรีวิชัย(หรือตุ๊เจ้าวัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน) นักบุญแห่งลานนาได้มาเป็นประธานบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุ ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดแพร่ ประชาชนชาวจังหวัดแพร่ ซึ่งมี พระมหาเมธังกร(พรหม พฺรหฺมเทโว) อดีตเจ้าคณะจังหวัดแพร่ โดยรื้อเอาทองจังโกออกแล้วเสริมสร้างองค์พระเจดีย์ให้มีขนาดกว้างและสูงขึ้น โดยกว้าง ๑๑ เมตร สูง ๓๓ เมตร โดยรอบองค์พระธาตุมีลำเวียง หรือรั้วเหล็กล้อมรอบหนาแน่น มีประตูเข้า ออก ๔ ประตู อยู่ทิศละประตูแต่ละประตูมีซุ้มสลักลวดลายอย่างงดงาม



    คำบูชา
    โกเสยยะ ธะชัคคะ ปัพพะเต สัตตะมะโนรัมเม พุทธะ
    เกสาธาตุ ปะติฏฐิตา อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส



    [​IMG]

    การเดินทางในวันสดุท้ายของการไปทำบุญครั้งนี้ เป็นความทรหดกว่าทุกวัน เพราะเนื่องจากโปรแกรมที่ทางคณะวางไว้ถูกเบียดมาอยู่ในวันนี้และมีโปรแกรมพิเศษเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งอย่างคือที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จึงทำให้ทุกอย่างถูกบีบไปหมดแม้แต่เวลาทานอาหารกลางวันก็ไม่มีเวลาเลยหล่ะ อีกอย่างหนึ่งตรงลานด้านล่างของวัดพระธาตุช่อแฮ มีร้านอาหารตามสั่งไม่กี่แห่ง นอกนั้นเป็นร้านขนมและของฝาก ข้าวกลางวันจึงต้องอดตามๆ กัน ได้แต่ทานขนมพอประทังไปพลางๆ...


    ........................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7861_1a.jpg
      IMG_7861_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      901.3 KB
      เปิดดู:
      1,668
    • IMG_7866_1a.jpg
      IMG_7866_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      453.4 KB
      เปิดดู:
      1,909
    • IMG_7865_1a.jpg
      IMG_7865_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      510.5 KB
      เปิดดู:
      1,516
    • IMG_7879_1a.jpg
      IMG_7879_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      510.4 KB
      เปิดดู:
      1,590
    • IMG_7915_1a.jpg
      IMG_7915_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      983.5 KB
      เปิดดู:
      1,841
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  8. สายฝนฉ่ำเย็น

    สายฝนฉ่ำเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,474
    ค่าพลัง:
    +7,070

    แม่หญิงลำปางหลวง...งามขนาดไหนหนอ....อิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2011
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    อยากเห็นรูปไหมหล่ะ .... คิ คิ
     
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    เส้นทางขากลับคณะของเราใช้ทางจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นทางลงเขาขึ้นเขา บางช่วงและหลายๆ ช่วงอยู่ระหว่างการก่อสร้างขยายถนน หลวงพี่พระวิทยากรบอกว่าสถานที่แห่งสุดท้ายที่จะแวะกันนี้ขึ้นอยู่กับเวลาว่าสามารถไปถึงทันวิหารปิดหรือไม่ เพราะกว่าจะออกจากวัดพระธาตุช่อแฮก็เป็นเวลาบ่ายสองโมงกว่าแล้ว ถ้าไม่ทันก็คงไว้โอกาสหน้าฯ และในที่สุดคณะของเราก็มาทันจนได้ มาถึงพระวิหารยังไม่ปิดแต่พระอาทิตย์เริ่มหมดแรงแล้วหล่ะ พวกเรามาถึงเมืองพิษณุโลกเวลาประมาณเกือบห้าโมงเย็นที่พวกเราจะแวะเป็นที่สุดท้ายของการเดินทาง คงจะเดากันถูก “วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร” “พระพุทธชินราช” ที่นี่สร้อยฟ้าฯ แทบวิ่งถ่ายรูปเพราะว่าแสงจะหมดแล้ว แต่ก็ต้องกัดฟันไปด้วย เท้าบวมปวดอย่างหนัก.... พระพุทธชินราช สร้อยฟ้าฯ เคยมาไหว้หลายครั้งแล้ว และเคยเขียนอยู่ในกระทู้เรื่องเหนือสุดแดนสยาม มาคราวนี้ก็มาโพต์ข้อมูลอีกครั้งคงจะมีซ้ำกันบ้าง....


    a.jpg

    พระพุทธชินราช


    ตำนานการสร้างพระพุทธชินราช แย้งกันเป็น ๒ นัย นัยหนึ่งกล่าวว่า สร้างเมื่อราวจุลศักราช ๓๑๙ (พ.ศ.๑๕๐๐) แต่อีกนัยหนึ่งกล่าวว่าสร้าง เมื่อราวจุลศักราช ๗๑๙ (พ.ศ.๑๙๐๐) ในที่นี้จะ กล่าวถึงตำนานพระพุทธชินราชที่หล่อขึ้นในจุลศักราช ๓๑๙ (พ.ศ.๑๕๐๐) เป็นตำนานที่กล่าวไว้ในพงศาวดารเหนือปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ว่าด้วยเรื่องพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา และพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องพระพุทธชินราชความว่า เมื่อพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกผู้ครองนครเชียงแสนได้ยกกองทัพลงมาตี เมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งมีพระเจ้าพสุจราช ปกครองอยู่ทหารทั้งสองฝ่ายรบราฆ่าฟันกันตายลงเป็นอันมากมิได้แพ้ชนะกัน พระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่มีความเศร้าสลดใจในการศึกครั้งนี้ จึงเข้าทำการไกล่เกลี่ยให้พระราชาทั้งสองเป็นสัมพันธไมตรีกัน พระราชาทั้งสองก็ยอมปฏิบัติตาม พระเจ้าพสุจราชได้ทรงยกพระนางประทุมราชเทวี ราชธิดาอภิเษกให้เป็นมเหสีแห่งพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมีพระราชโอรสด้วยพระนางประทุม ราชเทวี ๒ พระองค์ ทรงพระนามว่าเจ้าไกรสรราชกับเจ้าชาติสาคร พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมีพระประสงค์จะป้องกันการรุกรานของชาติขอมซึ่งขณะนั้นมีอำนาจอยู่ทางละโว้ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการแผ่ราชอาณาจักรให้ไพศาลออกไปจึงได้สร้างเมืองพิษณุโลกเพื่อให้ราชโอรสขึ้นครองเมือง

    ตามพงศาวดารกล่าวว่า เมืองพิษณุโลกได้สร้างเมื่อจุลศักราช ๓๑๕ (พ.ศ.๑๔๙๖) เมื่อสร้างเสร็จแล้วพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกได้เสด็จลงมาอภิเษกเจ้าไกรสรราชขึ้นครองเมือง พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกนี้ทรงพระปรีชาสามารถรอบรู้แตกฉานพระไตรปิฎกมากจึงได้รับเฉลิมนามาภิไธย ดังนั้นขณะที่เสด็จประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลกที่ได้สร้างขึ้นใหม่ ก็มีพระราชประสงค์จะบำเพ็ญบุญกุศลทำนุบำรุงพระศาสนาและไว้พระเกียรติยศพระนามปรากฏในภายหน้าจึงตรัสสั่งให้สร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุขึ้นเป็นคู่กับเมือง สร้างพระมหาธาตุเป็นรูปปรางค์สูงราว ๘ วา ตั้งกลางแล้วสร้างพระวิหารรอบปรางค์ทั้ง สี่ทิศ มีระเบียง ๒ ชั้น

    a.jpg

    พระศรีศาสดา
    พระองค์ต้องการจะสร้างพระ พุทธรูปขึ้น ๓ องค์ เพื่อเป็นพระประธานในพระวิหาร
    พระองค์ที่ ๑ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า "พระพุทธชินราช" มีขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว มีความสูง ๗ ศอก พระเกศสูง ๑๕ นิ้ว เป็นปางมารวิชัย
    พระองค์ที่ ๒ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า "พระพุทธชินสีห์" มีขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว เป็นปางมารวิชัย
    พระองค์ที่ ๓ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า "พระศรีศาสดา" มีขนาดหน้าตักกว้าง ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว เป็นปางมารวิชัย


    พระศรีธรรมไตรปิฎกทรงเลือกลักษณะอาการตามชอบพระทัยให้ช่างทำคือ สัณฐานอาการนั้นอย่างพระพุทธรูปเชียงแสน ไม่เอาอย่างพระพุทธรูปในเมืองศรีสัชนาลัย สวรรคโลกและเมืองสุโขทัยที่ทำนิ้วสั้นไม่เสมอกันอย่างมือคน ทรงรับสั่ง ให้ทำนิ้วให้เสมอกันตามที่พระองค์ทราบว่า เป็นพุทธลักษณะ พระลักษณะอื่นๆ ก็เป็นอย่างเชียงแสนบ้าง อย่างศรีสัชนาลัยและสวรรคโลก สุโขทัยบ้าง


    จวบจนวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ สัปตศก จุลศักราช ๓๑๗ ได้มงคลฤกษ์ กระทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ และเมื่อเททองหล่อเสร็จแล้ว กระทำการแกะพิมพ์ออกมาปรากฎว่า พระองค์ที่ ๒ คือพระพุทธชินสีห์ และพระองค์ที่ ๓ คือพระศรีศาสดา องค์พระบริบูรณ์ดีมีน้ำทองแล่นติดตลอดเสมอกันสวยงาม ๒ องค์เท่านั้น ส่วนรูปพระพุทธชินราชนั้น ทองแล่นไม่เต็มองค์ ไม่บริบูรณ์ นับว่าเป็นอัศจรรย์ของช่างและผู้มาร่วมพิธีเป็นอันมาก ช่างได้ช่วยกันทำหุ่น และเททองหล่ออีกถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่สำเร็จเป็นองค์พระได้ คือทองแล่นไม่ติดเต็มองค์


    a.jpg
    พระพุทธชินสีห์

    พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรงรู้สึกประหลาดพระทัยยิ่งนัก พระองค์จึงตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงเอาบุญบารมีของพระองค์เป็นที่ตั้ง อีกทั้งขอให้ทวยเทพเทวดาช่วยดลใจให้สร้างพระพุทธรูปสำเร็จตามพระประสงค์เถิด แล้วให้ช่างปั้นหุ่นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในครั้งหลังนี้ ปรากฏว่ามีตาปะขาวคนหนึ่ง ไม่มีผู้ใดทราบว่าชื่อไรมาจากไหนเข้ามาช่วยปั้นหุ้นและช่วยเททอง ทำการงานอย่างแข็งแรงทั้งกลางวันและกลางคืนจนเสร็จโดยไม่พูดจากับผู้ใด

    ครั้นได้มหามงคลฤกษ์ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง นพศกจุลศักราช ๓๑๙ (ลุพุทธศาสนากาลล่วงแล้ว ๑๕๐๐ หย่อนอยู่ ๗ วัน) ก็ประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราช คราวนี้น้ำทองที่เทก็แล่นเต็มบริบูรณ์ตลอดทั่วองค์พระ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรงปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสสั่งให้ตาปะขาวผู้มาช่วยปั้นหุ่นและช่วยเททองนั้น แต่มิได้พบ ปรากฏว่าเมื่อหล่อพระเสร็จแล้ว ก็เดินทางออกประตูเมืองด้านทิศเหนือ พอถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งก็หายไปไม่มีใครพบเห็นอีก จึงพากันเข้าใจว่า ตาปะขาวผู้นั้นคือเทพยดาแปลงกายมาหล่อพระพุทธชินราช อันเป็นเหตุทำให้ เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธรูปองค์นี้ยิ่งขึ้น ตำบลบ้านที่ตาปะขาวหายไปนั้นได้ชื่อว่า บ้านตาปะขาวหายต่อมาจนถึงทุกวันนี้

    พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก โปรดฯ ให้อัญเชิญเข้าประดิษฐานไว้ในสถานที่ทั้ง ๓ คือพระพุทธชินราช อยู่ในพระวิหารใหญ่ผันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก พระพุทธชินสีห์อยู่ทิศเหนือ และพระศาสดาอยู่ทิศใต้ สำหรับพระวิหารใหญ่ทิศตะวันออกนั้น เป็นที่ฟังธรรมสักการะที่ถวายนมัสการพระมหาธาตุและเป็นที่ชุมนุมสงฆ์

    อนึ่ง เมื่อเวลาหล่อพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาเสร็จแล้วนั้น ทองชลาบและชนวนของพระพุทธรูปทั้ง ๒ องค์ที่เหลืออยู่ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกรับสั่งให้รวมลงในทองซึ่งจะหล่อพระพุทธชินราช หล่อองค์พระใหม่เรียกว่า "พระเหลือ" ส่วนชนวนและชลาบของพระที่เรียกว่าพระเหลือนั้นก็หล่อรูปพระสาวก ๒ องค์ สำหรับพระเหลือนั่นเอง ครั้นเมื่อการหล่อพระเสร็จแล้ว จึงรับสั่งให้เก็บอิฐซึ่งก่อเป็นเตาหลอมและเตาสุม หุ้มหล่อพระทั้งปวงนั้นมาก่อเป็นชุกชี สูง ๓ ศอก และให้ขุดดินที่อื่นมาผสมกับดินพิมพ์ที่ต่อยจากพระพุทธรูปถมในชุกชีนั้น แล้วทรงปลูกต้นมหาโพธิ์ ๓ ต้น หันหน้าต่อทิศอุดรแล้วเชิญพระเหลือกับสาวกอีก ๒ องค์เข้าไว้ในที่นั้น ให้เป็นหลักฐานแสดงที่ซึ่งหล่อพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์

    ที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นความในพงศาวดารเหนือ ที่ปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนอีกนัยหนึ่งมีกล่าวว่า สร้างเมื่อประมาณ จุลศักราช ๗๑๙ นั้น เป็นพระวิจารณ์แห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสือ "เที่ยวเมืองพระร่วง" มีความดังต่อไปนี้

    เรื่องตำนานการสร้างเมืองพิษณุโลกและการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์นั้น สอบสวนหลักฐานจะเห็นว่ารูปเรื่องจะเป็นดังกล่าวในพงศาวดาร แต่พงศาวดารเหนือลงนามเป็นของพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกนั้น มิใช่ผู้อื่น คือ พระมหาธรรมราชาลิไท รัชกาลที่ ๔ ในราชวงศ์พระร่วงนั่นเอง


    a.jpg

    มีเรื่องในศิลาจารึกว่า เมื่อเป็นพระมหาราชครองเมืองศรีสัชนาลัยก่อนจะได้รับราชสมบัติมีศัตรูยกกองทัพลงมาติดเมืองสุโขทัย ในเวลาที่พระบิดาประชวรหนักจึงได้ครองราชอาณาจักร ตรงกับที่ว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกยกทัพมาติดเมืองสวรรคโลกได้ราชสมบัติในเมืองนั้น และพระมหาธรรมราชาลิไททรงรอบรู้พระไตรปิฎกจึงสามารถแต่ง เรื่อง "พระไตรปิฎก" หรือไตรภูมิ ตรงกับที่เรียกว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมีแต่พระองค์เดียวเท่านั้น


    a.jpg

    อีกประการหนึ่งโบราณวัตถุที่สร้างไว้ ณ เมืองพิษณุโลก เป็นแบบอย่างครั้งกรุงสุโขทัย เมื่อรับลัทธิพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์มาแล้ว ยกตัวอย่างดังเช่น พระพุทธรูป พระชินราช พระชินสีห์ คงจะเชื่อได้ดังกล่าวในพงศาวดารเหนือว่า เป็นประชุมช่างอย่างวิเศษ ทั้งที่มณฑลพายัพและในอาณาเขตสุโขทัยมาให้ช่วยกันถอดแบบอย่าง แต่พึงสังเกตได้ที่ทำปลายนิ้วพระหัตถ์เท่ากันทั้ง ๔ นั้น เป็นความคิดที่เกิดขึ้นด้วยวินิจฉัยคัมภีร์มหาปุริสลักขณะกันอย่างถ้วนถี่ ในชั้นหลัง พระพุทธรูปชั้นก่อนหาทำนิ้วพระหัตถ์เช่นนั้นไม่

    ในที่สุดยังมีหลักฐานอีกอย่างหนึ่ง ด้วยในพงศาวดารเมืองเชียงแสนมิได้ปรากฏว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก หรือพระเจ้าเชียงแสนองค์ใดได้ลงมาตีเมืองสวรรคโลกเหมือนอย่างกล่าวใน พงศาวดารเหนือด้วยมีหลักฐานต่างๆ ดังกล่าวมา จึงสันนิษฐานว่า พระมหาธรรมราชาลิไทเป็นผู้สร้างเมืองสองแควขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง และหล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์เมื่อราว พ.ศ. ๑๙๐๐


    a.jpg
    โบราณสถานและโบราณวัตถุในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ(วัดใหญ่)
    บาน ประตูประดับมุก ที่ทางเข้าพระวิหารด้านหน้า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๙ เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนปลายในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมโกศ ตรงกลางประตูมีสันอกเลาประดับลวดลายพุ่มข้าวบิณฑ์ สองข้างเป็นลายกนกก้านแย่ง ช่วงกลางอกเลามีรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เรียกว่า "นมอกเลา" เป็นรูปบุษบก มีรูปพระอุณาโลมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์ประดิษฐานบนบัลลังก์อยู่ใน บุษบก สองข้างเป็นรูปชุมสายซึ่งเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตรสามชั้น ใต้ฐานบุษบกมีหนุมานแบกฐานไว้ ส่วนเชิงล่างของอกเลาทำเป็นรูปกุมภัณฑ์ยืนถือกระบองท่าสำแดงฤทธิ์ ส่วนลวดลายบานประตูเป็นลายกนกที่มีภาพสัตว์หิมพานต์ เช่น ราชสีห์ คชสีห์ เหมราช ครุฑ กินรีรำ และภาพสัตว์อื่น ๆ และยังมีลาย "อีแปะ" ด้านละ ๙ วงมัดนกหูช้างประกอบช่องไฟระหว่างวงกลม หรือวงกลมเป็นลายกรุยเชิง มีลายประจำยามก้ามปูประดับขอบรอบบานประตู เดิมบานประตูวิหารพระพุทธชินราชทำด้วยไม้สักแกะสลัก เมื่อทำบานประตูประดับมุกเสร็จแล้ว บานประตูเก่าได้นำไปประดับประตูวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์


    พระปรางค์ประธานศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ เดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์(ดอกบัวตูม) แบบสุโขทัยแท้ต่อมาถูกแปลงให้เป็นพระปรางค์ ในสมัยอยุธยา

    a.jpg

    พระอัฏฐารส
    เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติด้านหลังพระวิหาร สูง ๑๘ ศอก สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราชในราว พ.ศ.๑๘๐๐เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารใหญ่แต่วิหารได้พังไปจนหมด เหลือเพียงเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ ๓ – ๔ต้น และเนินพระวิหารบางส่วน เรียกว่า “เนินวิหารเก้าห้อง” ในปัจจุบันกรมศิลปากรได้ทำการบูรณะขุดแต่งทางโบราณคดีในบริเวณที่เรียกว่า “เนินวิหารเก้าห้อง” ซึ่งขุดพบฐานพระวิหารเดิมและพระพุทธรูปวัตถุโบราณจำนวนหนึ่ง


    a.jpg

    พระวิหารพระเจ้าเข้านิพพาน
    วิหารพระเจ้าเข้านิพพาน เป็นวิหารขนาดกลางตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารพระพุทธชินราชนอกเขตระเบียงคต ภายในประดิษฐานหีบปิดทอง(สมมติ)บรรจุพระบรมศพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำด้วยศิลาตั้งอยู่บนจิตรากาธานประดับด้วยลวดลายลงรักปิดทองร่องกระจกสวยงาม ที่ปลายหีบมีพระบาททั้งสองยื่นออกมา และบริเวณด้านหน้า หรือด้านท้าย หีบพระบรมศพ มีพระมหากัสสปะเถระ นั่งนมัสการพระบรมศพ ซึ่งนับว่าเป็นโบราณวัตถุที่สำคัญของวัดพระศรีรัตนมหาวรวิหาร โดยผู้สร้างถือคติว่าเป็นการจำลองสังเวชนียสถานของพระพุทธเจ้า คาดว่ามีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย


    อิเมหิ นานา สักกาเรหิ อภิปูชิเตหิ ทีฆายุโก โหมิฯ อะโรโค สุขิโต สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง ปิยัง มะมะ ปะสิทธิลาโภ ชะโย โหตุ สัพพะทา พุทธะชินะราชา อภิปาเลตุ มังฯ นะโม พุทธายะฯ

    และแล้วก็ถึงการปิดฉากการเดินทางไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิด(บางปี เพราะไหว้ได้ไม่ครบ เนื่องจากบางพระธาตุอยู่ต่างภาค) แต่สิ่งทีน่าคิดและไม่น่ยึดนำมายึดเป็นสิ่งสำคัญคือ พระธาตุแต่ละสถานที่ก็ล้วนแต่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ควรแก่การสักการะบูชา ไม่ว่าจะเกิดปีใดก็สามารถไหว้ได้ทั้งนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องเจาะจงว่าจะต้องไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนเองเป็นการเฉพาะ



    a.jpg

    คณะเมตตาบารมีโดยการนำของพระอาจารย์พิสิษฐ์ ฐิตปัญโญก็ได้เดินทางมาถึง ณ จุดเริ่มต้นของการเดินทางเมื่อเวลา ๕ ทุ่มเศษ สิ่งที่สร้อยฟ้าฯ ไม่เคยพบก็ได้พบ ไม่เคยเห็นก็ได้เห็น ที่เคยแค่ได้ยินมาก็ได้มีโอกาสมาประสบด้วยตนเอง นี่แหล่ะ ธรรมชาติ และเวทนาที่เกิดขึ้น วันพรุ่งนี้สังขารจะเดินไหวไหมเนี่ยะ....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7955_1a.jpg
      IMG_7955_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      450.4 KB
      เปิดดู:
      1,535
    • IMG_7958_1a.jpg
      IMG_7958_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      390.6 KB
      เปิดดู:
      5,111
    • IMG_7965_1a.jpg
      IMG_7965_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      376.2 KB
      เปิดดู:
      4,364
    • IMG_7970_1a.jpg
      IMG_7970_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      412.9 KB
      เปิดดู:
      3,191
    • IMG_7985_1a.jpg
      IMG_7985_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      483.6 KB
      เปิดดู:
      2,538
    • IMG_7988_1a.jpg
      IMG_7988_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      484.4 KB
      เปิดดู:
      5,145
    • IMG_8006_1a.jpg
      IMG_8006_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      355.9 KB
      เปิดดู:
      4,709
    • IMG_8012_1a.jpg
      IMG_8012_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      374.2 KB
      เปิดดู:
      4,435
    • IMG_8021_1a.jpg
      IMG_8021_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      318.2 KB
      เปิดดู:
      2,244
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ท้ายสุดนี้ กุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำในครั้งนี้ขออุทิศถวายแด่ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดาคุณมารดา วงศาคณาญาติทั้งหลาย คุณครูบาอาจารย์ เจ้าฟ้า พระมหากษัตริย์ เจ้านายพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เทพยดาทั้งหลาย พระอินทร์ พระพรหม พระยม พระกาฬ ท่านท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ท่านท้าวเวสสุวรรณ เจ้ากรุงพาลี ภูมิเจ้าที่ทั้งหลาย คุณแม่พระธรณี พระคงคา พระพาย พระเพลิง พระโพสพ ภูมิเจ้าที่ พระยายมราช ตั้งแต่ชั้นจตุมหาราชิกาจนถึงเบื้อบนพรหมมา เบื้องล่างตั้งแต่อเวจีจนถึงมนุษยโลก โดยรอบสุดขอบจักรวาล อนันตจักรวาล เทวดารักษาตัวของข้าพเจ้า เจ้ากรรมนายเวร ดวงวิญญาณทุกดวงในสถานที่ที่ข้าพเจ้าได้ไปเยือน และขอให้ผลบุญจงได้สำเร็จผลแด่เพื่อนๆ สมาชิกในเว็ปพลังจิต ทุกท่าน ด้วยกุศลนี้จงเป็นเหตุปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้พบพระพุทธเจ้าและศาสนาของพระองค์ในทุกๆ ชาติ จนถึงพระนิพพานเป็นที่สุด

    ....................................................................

    ข้อมูลอ้างอิงจาก



    วัดพระธาตุลำปางหลวง พระธาตุประจำปีเกิดปีฉลู จังหวัดลำปาง
    http://thaigovweb.com/mophweb/file/doc/news2985-231109-092736.pdf
    on Lampang art: 0003 พระธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง
    ��к�������ԡ�ҵ������¾�оط��ҷ�Ѵ��иҵ��ӻҧ��ǧ


    วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร พระธาตุประจำปีระกา จังหวัดลำพูน
    `��� ��иҵػ�Шӻ��С� ��иҵ�����ح��� �Ӿٹ `���
    วัดประตูป่า: ตำนานพระธาตุเจ้าหริภุญไชย
    17-19�.�.��ԡ�������ح��� 1,354�� �Զ��Ѳ������Ӿٹ - �ѧ�����Թ������������§����-�Ӿٹ CM108.com


    วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร พระธาตุประจำปีชวด จังหวัดเชียงใหม่
    ประวัติพระบรมธาตุเจ้าศรีจอมทอง



    วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร พระธาตุประจำปีมะโรง จังหวัดเชียงใหม่
    ตำนานวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
    www.santidham.com/tatu1st/foryear/foryear5.html
    web.chiangrai.net/tourcr/promotion/9temple/
    www.oknation.net/blog/watphrasing-chiangmai/2007/12/13/entry-3


    วัดเกตการาม พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี พระธาตุประจำปีจอ จังหวัดเชียงใหม่
    www.oknation.net/blog/art-1/2009/06/18/entry-3
    www.santidham.com/tatu1st/foryear/foryear11.html
    www.chiangmai-thailand.net/temple/gategaram/gategaram.html
    www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G7401884/G7401884.html


    วัดโพธารามมหาวิหาร พระธาตุเจ็ดยอด พระธาตุประจำปีมะเส็ง จังหวัดเชียงใหม่
    www.thailand-travel-destination.com/Northern/Chiang%20Mai/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94-111.html
    www.dannipparn.com/thread-269-2-1.html


    วัดศรีโสดา พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่
    www.watsrisoda.com/
    www.somdej.ac.th
    www.songsakarn.com/forum/viewthread.php?tid=3819


    วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร พระธาตุประจำปีมะแม(แพะ) จังหวัดเชียงใหม่
    www.soonphra.com/topic/doisuthep/
    www.heritage.thaigov.net/religion/pratat/index02.htm


    วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง พระธาตุประจำปีเกิดปีเถาะ จังหวัดน่าน
    www.thaitravelcommunity.com/
    www.nan2day.com/forum/index.php?topic=356.0


    วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จังหวัดน่าน
    www.danpranipparn.com/web/pratttas/pratta25mini15.html
    www.oceansmile.com/N/Nan/watchangkam.htm


    วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน
    www.moohin.com/108tripsboon/108trips037c003.shtml
    www.oceansmile.com/N/Nan/watpuminPratad.htm
    www.paiduaykan.com/76_province/north/nan/watpumin.html


    วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง จังหวัดแพร่
    www.lannaworld.com/story/legend/shorhae.htm
    th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%AE


    วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก
    kanchanapisek.or.th/kp8/culture/psl/phis351.html
    th.wikipedia.org/
    www.shockfmclub.com/story_detail.php?historyshock_id=229
    www.paiduaykan.com/76_province/north/phitsanulok/wat-phasrimahathat.html


    ตำนานและการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของล้านนา
    www.9bbank.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94-14/
    www.horasadthai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=375451


    ................................................


    ภาพโดย สร้อยฟ้ามาลา
    เรียบเรียงโดย สร้อยฟ้ามาลา
    เรื่องราวโดย สร้อยฟ้ามาลา

    .......................





    [​IMG]



    ..............

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  12. นิพ_พาน

    นิพ_พาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,984
    ค่าพลัง:
    +7,810
    โมทนาสาธุค่ะ พี่เพิ่งไปไห้วพระธาตุแช่แห้ง
    เมื่อวันตรุษจีนที่ผ่านมานี้เองจ้า.........
     
  13. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    อนุโมทนา สาธุ .. ภาพถ่ายสวยงามมาก ๆ ... (ชมบ่อย ๆ เบื่ออะยัง ^^)


    เสียอย่างเดียว ... ไม่มีถ่ายภาพอาหารทางเหนือมาให้ชม
     
  14. สายฝนฉ่ำเย็น

    สายฝนฉ่ำเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,474
    ค่าพลัง:
    +7,070
    อนุโมทนา สาธุ ด้วยทุกประการจ๊ะ...น้องฮัก....
     
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556

    สาธุ จ่ะ พี่นิพ_พาน ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมนะ....^^
     
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    อนุโมทนา สาธุ .. ภาพถ่ายสวยงามมาก ๆ ... (ชมบ่อย ๆ เบื่ออะยัง ^^)
    ชมบ่อยๆ ไม่เบื่อหรอก กลัวคนชมจะเบื่อซะก่อนอ่ะจ่ะ.....

    ส่วนอาหาร ก็นึกว่าจะได้ทานแบบไปเที่ยวสัมมนาอะไรอย่างนี่อ่ะจ่ะ
    แต่ปรากฏว่าไม่ใช่ ทุกอย่างต้องรีบทาน เป็นอาหารง่ายๆ บางครั้งก็ มาม่าคัพ ก็เลยไม่ถ่ายมาดีกว่า....
     
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556

    สาธุเจ้า แต่ฮูปยังบ่หมดนะเอื้อย....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2011
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    เรียงความ ภาพถ่าย


    [​IMG]


    วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง


    ..................​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7116_1a.jpg
      IMG_7116_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      363.2 KB
      เปิดดู:
      1,082
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    เรียงความ ภาพถ่าย


    a.jpg

    วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง
    (มุมเดิม)


    .................​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7123_1a.jpg
      IMG_7123_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      410.2 KB
      เปิดดู:
      956
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023
  20. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    มาตอนจบเรื่องพอดี ช่วงนี้เข้าเว็บต้องรีเฟรชบ่อยเลยไม่รอ
    แต่พี่แอ๊ดก็มาชมภาพและทันที่คุณสร้อยเล่าไว้ได้ต่อเนื่องค่ะ

    ภาพเหมือนกับที่เคยไปเลย...แต่ทำไมดูในกระทู้นี้จะเต็มตา
    สวยกว่าและเต็มอิ่มกับข้อมูลดีๆเสมอ

    ขอให้ได้มีโอกาสไปเที่ยวที่อุบลฯอีกนะคะ ยังดูภาพได้ไม่จุใจเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...