<VSN><<<มาใหม่ สายเขาอ้อ อ.ชุม,อ.ปาล,อ.คง, สรุปรายการหน้า๑๐๓>>><NSV>

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย momotaro67, 25 ธันวาคม 2010.

  1. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    ได้รับแล้วครับขอบคุณมากครับ
     
  2. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
  3. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    เหรียญโสฬส อ.ชุม ไชยคีรี หลังพระปิดตาปี๑๘ เหรียญที่๑


    เหรียญ รูปเหมือนอาจารย์ชุม ไชยคีรี หลังพระปิดตา บรรจุเม็ดกริ่ง พิธีปลุกเสกทีละเหรียญตามตำราโสฬส โดยวิญญาณหลวงปู่คง ปรมาจารย์ขุนแผน วิญญาณหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน วิญญาณมหาเทพบรมครู พระพิฆเณศวรที่สำนัก อาจารย์ชุม ไชยคีรี 16 วัน 16 คืน เสกทีละเหรียญ เหรียญสร้างจากเนื้อโสฬสธาตุ 16 อย่าง ส่วนหนึ่งได้นำมาจากชนวนสร้างพระโสฬสมงคล พระภควัมบดีของหลวงพ่อวัดแหลมทราย จ.สงขลาตั้งแต่ปี 2481 ก่อนประกาศสงครามโลกครั้งที่ 2 พิธีจำกัด 2,517 เหรียญ

    โสฬส 16 อย่างมี 1.เหล็กไหล 2.เจ้าน้ำเงิน 3.ทองคำ 4.เงินบริสุทธิ์ 5.นาค 6.ทองแดง 7.ทองเหลือง 8.แร่ดีบุก 9.แร่วุลแฟรม 10.แร่จักรนารายณ์ 11.แร่สังควานร 12.แร่ชิณ 13.แร่ตะกั่วดำ 14.แร่ตะกั่วเถื่อน 15.แร่เหล็กน้ำพี้ 16.เหล็กยอดพระปรางค์

    หายากครับ


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3589.jpg
      SAM_3589.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      177
    • SAM_3579.jpg
      SAM_3579.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      176
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2011
  4. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    เหรียญโสฬส อ.ชุม ไชยคีรี หลังพระปิดตาปี๑๘ เหรียญที่๒


    เหรียญ รูปเหมือนอาจารย์ชุม ไชยคีรี หลังพระปิดตา บรรจุเม็ดกริ่ง พิธีปลุกเสกทีละเหรียญตามตำราโสฬส โดยวิญญาณหลวงปู่คง ปรมาจารย์ขุนแผน วิญญาณหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน วิญญาณมหาเทพบรมครู พระพิฆเณศวรที่สำนัก อาจารย์ชุม ไชยคีรี 16 วัน 16 คืน เสกทีละเหรียญ เหรียญสร้างจากเนื้อโสฬสธาตุ 16 อย่าง ส่วนหนึ่งได้นำมาจากชนวนสร้างพระโสฬสมงคล พระภควัมบดีของหลวงพ่อวัดแหลมทราย จ.สงขลาตั้งแต่ปี 2481 ก่อนประกาศสงครามโลกครั้งที่ 2 พิธีจำกัด 2,517 เหรียญ

    โสฬส 16 อย่างมี 1.เหล็กไหล 2.เจ้าน้ำเงิน 3.ทองคำ 4.เงินบริสุทธิ์ 5.นาค 6.ทองแดง 7.ทองเหลือง 8.แร่ดีบุก 9.แร่วุลแฟรม 10.แร่จักรนารายณ์ 11.แร่สังควานร 12.แร่ชิณ 13.แร่ตะกั่วดำ 14.แร่ตะกั่วเถื่อน 15.แร่เหล็กน้ำพี้ 16.เหล็กยอดพระปรางค์

    หายากครับ

    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3581.jpg
      SAM_3581.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      235
    • SAM_3585.jpg
      SAM_3585.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      138
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2011
  5. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
  6. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    [​IMG]
    ตำนานพระกริ่ง-พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาราชพุทธเจ้า


    พระพุทธเจ้าแห่งทิศตะวันออกจอมราชันย์แห่งศาสตร์การแพทย์ พระวรกายสีน้ำเงินประดุจท้องฟ้าอันมหาศาลพระหัตถ์ขวาในท่าภาวนา พระหัตถ์ซ้ายถือบาตรยาหรือหม้อยาพระกริ่งที่สร้างกันในประเทศไทยก็คือพระ พุทธเจ้าพระองค์นี้

    ศาสตร์การแพทย์คือศาสตร์ที่พระศากยะมุนีพุทธเจ้า ทรงยกย่องว่า เป็นสุดยอดแห่งศาสตร์ทั้งปวง การแพทย์แห่งพุทธเน้นแนวทางในการรักษาแบบองค์รวมนั้นคือเน้นความสัมพันธ์ใน การรักษาทั้ง กาย วาจา ใจไปพร้อมกัน โดยใช้สมุนไพรใบยาการภาวนามนตรา สมาธิจิตความอ่อนแอในทางสุขอนามัยของสรรพสัตว์ ซึ่งเป็นตัวขัดขวางการบำเพ็ญเพียรเพื่อสู่การหลุดพ้นเป็นเหตุให้พระไภษัช ยพุทธเจ้าต้องเสด็จมาเพื่อโปรดสรรพสัตว์

    พระองค์ทรงเข้าร่วมใน กิจกรรมทางการแพทย์ทุกขั้นตอนพีธีกรรมในการปรุงยา พระองค์ทรงเป็นประธานและผู้ลงมือกระทำการเพื่อความมีประสิทธิภาพสูงสุดแห่ง ยาในการรักษาการภาวนา พระองค์ทรงประทานคาถาในการภาวนาเพื่อความเชื่อมั่นแน่วแน่ในการสู่สุขภาพที่ ดี การทำสมาธิน้อมอัญเชิญพระองค์เข้าสู่ตัวเราหลอมรวมพระองค์และเราเป็นหนึ่ง เดียว ความเจ็บป่วยทั้งปวงถูกหลอมละลายเป็นอากาศธาตุพระองค์และเราเข้าสู่ศูนยตา สภาวะ เราออกจากสมาธิในสภาวะว่างเปล่านั่นคือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆมลายหายไปด้วย

    ปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันในวงการแพทย์อย่างกว้างขวางว่าสมาธิจิตเป็นยาวิเศษชนิด หนึ่งในการบำบัดความเจ็บป่วยการรักษาในแนวทางแห่งพุทธนี้ไม่เพียงได้ความสุข ทางกายเพียงประการเดียวสมาธิจิตที่ได้เป็นยานพาหนะนำพาเราเข้าสู่การหลุดพ้น สู่ความเป็นพุทธะในที่สุดบังเกิดความสุขอันนิรันดร
    ตามตำนานกล่าวว่า ในครั้งนั้น พระเถระผู้อารธนาพระไภษัชยคุรุอธิษฐานขออนุภาพ ขณะที่เขย่าได้ปรากฏนินิตอันมหัศจรรย์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ถึงกับอุทานออกมาว่า "กึ กุสโล" แปลเป็นไทยได้ว่า "นี่เป็นกุศลอะไร"

    ประวัติ ศาสตร์หน้าแรกของพระกริ่งที่เกี่ยวข้องกับชนชาติไทย คงต้องเริ่มตั้งแต่สมัยยูนนาน หนองแส เป็นลักษณะพระกริ่งใหญ่ องค์ค่อนข้างโต มีบัวสองชั้นแบบบัวคว่ำบัวหงาย เนื้อทองสีดอกบวบ หลังจากนั้นเชื่อว่ามีการสร้างขึ้นอีกหลายครั้ง หลายยุคสมัย แต่มีจำนวนไม่มากนัก และมีเนื้อต่างๆกันเช่น โลหะผงผสม ดินผสมผง ฯลฯ สร้างจำนวนไม่มากนักในแต่ละครั้ง และบรรจุไว้ตามกรุต่างๆ มีตั้งแต่ สมัยละโว้ สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา เรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์


    พระกริ่ง โค็ทภาษาจีน สวยมากกกก


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3557.jpg
      SAM_3557.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      130
    • SAM_3594.jpg
      SAM_3594.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      234
    • SAM_3561.jpg
      SAM_3561.jpg
      ขนาดไฟล์:
      736 KB
      เปิดดู:
      108
    • SAM_3568.jpg
      SAM_3568.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.8 MB
      เปิดดู:
      128
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2011
  7. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    พระธาตุพนม

    [​IMG]
    พระธาตุพนม เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ของภาคอีสาน ประดิษฐานบนเนินที่เรียกว่าภูกำพร้า ปัจจุบันเป็นบริเวณวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนมราว ๕๒กิโลเมตร พระธาตุพนมสร้างขึ้นแต่สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ประมาณ พ.ศ.๘ โดยเจ้าเมือง ๕องค์คือ พระยาสุวรรณภิงคารนะ พระยาคำแดง พระยาอินทปัตถะนคร พระยาจุลนีพรหมทัต และพระยานันทเสน เพื่อบรรจุพระอุงรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ลักษณะพระเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยม หรือทรงแจกัน ก่อด้วยอิฐมีลวดลายจำหลักลงไปในแผ่นอิฐ มีซุ้มคั่นด้านละซุ้ม ซ้อมกัน ๓ชั้น ลดหลั่นกันลงมาอย่างวิจิตร
    พระธาตุพนมได้รับการบูรณะเรื่อยมาตามกาลเวลา และในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ องค์พระธาตุพนมได้หักโค่นลง ประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศได้ร่วมกันสละทุนทรัพย์ก่อสร้างขึ้นใหม่ และมีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นบรรจุอีกครั้งในวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๒


    คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนโม 3 จบ)
    ปุริมายะ ทักขิณายะ ปัจฉิมายะ อุตตะรายะ เหฎฐิมายะ อุปะริมายะ
    ทิสายะ กะปะณะสิริส สะมิง
    ปัพพะเต กัสสะเปนะ ฐาปิตัง
    พุทธะอุรังคะธาตุง สิระสา นะ มามิ เสตะฉัตตัง สุวัณณะระชะตัง
    ระตะนัง ปะณีตัง พุทธะอุรังคะเจติยัง
    อะหัง วันทามิ สัพพะทา


    พระผงพระธาตุพนม พิมพ์พระพุทธปางนาคปรก ปี๒๕๑๘

    พระผงพระธาตุพนม พิมพ์พระพุทธปางนาคปรก ปี๒๕๑๘ พิมพ์ใหญ่ เนื้อขาว
    พิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ หลวงปู่ฝั้น, หลวงปู่คำพันธ์, พระอาจารย์สายกรรมฐานหลายท่าน และเกจิภาคอีสานร่วมปลุกเสกเพียบ ได้ร่วมปลุกเสกเมื่อประมาณปี๒๕๑๘ โดยได้ใช้ส่วนผสมพระแตกหักในกรุองค์พระธาตุ ดินในองค์พระธาตุ ว่านต่างๆที่บรรจุในองค์พระธาตุพนม ผงพระธาตุในพระเจดีย์ของพระธาตุพนมซึ่งมีอายุหลายร้อยปี เป็นมวลสารสำคัญ มากด้วยประสพการณ์ สภาพสวยเดิมๆ


    [FONT=&quot]ให้บูชา 650บ. ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3552.jpg
      SAM_3552.jpg
      ขนาดไฟล์:
      968 KB
      เปิดดู:
      539
    • SAM_3555.jpg
      SAM_3555.jpg
      ขนาดไฟล์:
      976.4 KB
      เปิดดู:
      408
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 สิงหาคม 2011
  8. ศรัทธาพญาเวนไตย

    ศรัทธาพญาเวนไตย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    866
    ค่าพลัง:
    +1,380
    เจอสายเขาอ้ออีกละครับ ชอบครับ ไม่ทราบมีทั้งหมดกี่เหรียญอะครับ
     
  9. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    หวัดดี เช่นกันครับ ยินดีที่ได้รู้จักครับ ตอนนี้ผมมีสองเหรียญนี้ละครับ
     
  10. ศรัทธาพญาเวนไตย

    ศรัทธาพญาเวนไตย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    866
    ค่าพลัง:
    +1,380
    ใจจริงอยากเก็บสายเขาอ้อมากครับ นับถือมาก ฮาๆๆพอดีช่วงนี้ตังหมดกระเป๋า หากเหรียญอาจารย์ชุมไม่ไปเสียก่อน ผมต้องมาบูชาเเน่ เก็บตังๆต่อไปครับ
     
  11. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    ใจรักสายใต้ แต่รูปนี้ไหว้พระเหนืออยู่นี้ครับ อิอิ แซวเล่นนะครับ
     
  12. ศรัทธาพญาเวนไตย

    ศรัทธาพญาเวนไตย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    866
    ค่าพลัง:
    +1,380
    พอดีเรียนลำปางครับ ไปไหว้หลวงพ่อเกษมบ่อยมากครับ
     
  13. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    โอ้วเหรอครับ ลำปางผมเคยไปมีเพื่อนซี้ผมอยู่ลำปาง บ้านเขาขายข้าวมันไก่อยู่ข้างโรงแรมเขลาง นะครับ หลวงพ่อเกษม ก็เป็นพระรูปแรกเลยนะครับที่ผมเริ่มศึกษา ประวัติ และเริ่มศึกษาและสะสมพระเครื่องครับ
     
  14. รับโชค

    รับโชค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,131
    ค่าพลัง:
    +11,878
    ไปเที่ยวปักษ์ใต้วันไหนครับท่านโม :cool::cool::cool:
     
  15. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    น่าจะเป็นวันที่ 12 นี้ครับ
    กลับไปช่วยซับน้ำตาชาวใต้ครับ
     
  16. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    [​IMG]

    พระประวัติและปฏิปทา
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
    พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๖


    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
    แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร



    พระประวัติในเบื้องต้น

    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
    มีพระนามเดิมว่า “ปุ่น สุขเจริญ” พระนามฉายาว่า “ปุณฺณสิริ”
    ทรงเป็นชาวสุพรรณบุรี ประสูติเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๓๙
    ตรงกับวันอังคาร แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๔ ปีวอก เวลา ๒๔ นาฬิกาเศษ
    ณ ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

    โยมบิดามีนามว่า “เน้า สุขเจริญ” โยมมารดามีนามว่า “วัน สุขเจริญ”
    ทรงเป็นบุตรคนที่ ๖ ในจำนวนพี่น้องร่วมตระกูลทั้งหมด ๘ คน

    [​IMG]
    โยมมารดา “วัน สุขเจริญ”


    ในเบื้องต้นทรงเล่าเรียนภาษาไทยกับโยมบิดา
    จนสามารถอ่านหนังสือแบบเรียนเร็ว เล่ม ๑-๒ ได้จบ

    ต่อมาโยมบิดาจึงพาไปฝากเป็นศิษย์ พระอาจารย์หอม แห่งวัดสองพี่น้อง
    ซึ่งเป็นญาติกัน จากนั้นจึงทรงเริ่มศึกษาภาษาบาลีอักษรขอม
    และ คัมภีร์มูลกัจจายน์ ที่เรียกกันว่า หนังสือใหญ่
    กับ พระอาจารย์หอม และ พระอาจารย์จ่าง ปุณฺณโชติ
    ซึ่งภายหลังได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระครูอุภัยภาดารักษ์
    และเมื่อตกเย็นก็ทรงต่อสวดมนต์กับพระอาจารย์ ที่เรียกว่า ต่อหนังสือค่ำ

    [​IMG]
    พระรูปเมื่อครั้งยังทรงเป็นสามเณร พ.ศ. ๒๔๕๔


    พ.ศ. ๒๔๕๔

    เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐ พรรษา
    พระอาจารย์หอมได้พามาฝากเป็นศิษย์อยู่วัดมหาธาตุ
    กับ พระอาจารย์ป่วน ผู้เป็นญาติฝ่ายโยมมารดา
    (ภายหลังย้ายไปอยู่วัดพระเชตุพน ต่อมาได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น
    พระครูบริหารบรมธาตุ เจ้าอาวาสวัดนางชี ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ)



    ทรงบรรพชาและอุปสมบท

    พ.ศ. ๒๔๕๕

    พระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ย้ายมาอยู่กับ พระอาจารย์สด จนฺทสโร
    (ซึ่งภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่
    พระมงคลเทพมุนี วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ)

    ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา ณ วัดพระเชตุพน

    [​IMG]
    พระอาจารย์สด จนฺทสโร


    และในปีนั้น ได้ทรงกลับไปบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสองพี่น้อง
    ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี อันเป็นภูมิลำเนาเดิม
    โดยมี พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต)
    เจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง เป็นพระอุปัชฌาย์

    พ.ศ. ๒๔๕๖

    ต้องทรงลาสิกขาออกไปช่วยครอบครัวทำนาอยู่ระยะหนึ่ง
    เพราะท่านบิดาป่วย ครั้นพระชนมายุ ๑๘ พรรษา
    ก็กลับบรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งหนึ่ง
    แล้วทรงกลับมาอยู่ วัดพระเชตุพน เพื่อทรงศึกษาเล่าเรียนต่อ

    [​IMG]
    พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินทฺโชโต) วัดสองพี่น้อง พระอุปัชฌาย์


    พ.ศ. ๒๔๖๐

    พระชนมายุ ๒๒ พรรษา ทรงกลับไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดสองพี่น้อง
    อันเป็นภูมิลำเนาเดิม โดยมี พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต)
    เจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง และเจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์โหน่ง อินฺทสวณฺโณ วัดสองพี่น้อง
    (ต่อมาย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน ตำบลดอนมะดัน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระศากยปุตติยวงศ์ (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) วัดพระเชตุพน
    (สุดท้ายได้รับสถาปนาเป็นที่ สมเด็จพระวันรัตน) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง

    [​IMG]
    พระอาจารย์โหน่ง อินฺทสวณฺโณ วัดสองพี่น้อง พระกรรมวาจาจารย์

    การศึกษาพระปริยัติธรรม

    เมื่อเข้ามาอยู่ วัดพระเชตุพน แล้ว
    จึงทรงเริ่มศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างจริงจังในสำนักของ
    สมเด็จพระวันรัตน (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) แต่ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่
    พระศากยปุตติยวงศ์ และกับ พระมหาปี วสุตฺตโม
    ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๕ เป็นต้นมา สอบไล่ได้นักธรรม
    และเปรียญชั้นต่างๆ มาเป็นลำดับ ดังนี้

    [​IMG]
    สมเด็จพระวันรัตน (เผื่อน ติสฺสทตฺโต ป.ธ. ๙) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่
    พระศากยปุตติยวงศ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระอนุสาวนาจารย์


    [​IMG]
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร)
    สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ที่ ๑๗



    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    พ.ศ. ๒๕๑๕

    ครั้นเมื่อถึงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ นี้
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้สถาปนาสมเด็จพระวันรัตน (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ขึ้นเป็น
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    สืบต่อจาก สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายีมหาเถร) วัดมกุฏกษัตริยาราม
    ดังมีสำเนาประกาศสถาปนาดังนี้

    [​IMG]
    อาลักษณ์อ่านประกาศกระแสพระบรมราชโองการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช


    ประกาศสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช
    ภูมิพลอดุลยเดช ปร.


    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี
    จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราซ บรมนาถบพิตร
    มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรตกระหม่อมให้ประกาศว่า

    โดยทื่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆฑรณายก ได้ว่างลง
    เป็นการสมควรที่จะสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะ
    ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
    เพื่อจักได้บริหารการพระศาสนาให้สมบูรณ์
    ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๐๕
    และตามระเบียบราชประเพณีสืบไป
    และโดยที่ได้ทรงสดับคำกราบบังคมทูลของหัวหน้าคณะปฏิวัติ
    และสังฆทัศนะในมหาเถรสมาคมโดยเอกฉันทมติ

    จึงทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระวันรัตน เป็นพระมหาเถระ
    เจริญในสมณคุณเนกขัมมปฏิบัติ
    สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร รัตตัญญูมหาเถรกรณธรรม
    ดำรงสถาพรอยู่ในสมณพรหมจรรย์ตลอดมาเป็นเวลาช้านาน
    ได้ประกอบกรณียกิจเป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่พุทธจักร
    และอาณาจักรอย่างไพศาล
    ดั่งมีอรรถจริยาปรากฏเกียรติสมภาร
    ตามความพิสดารในประกาศสถาปนาเป็นสมเด็จพระราซาคณะ มหาสังฆนายก
    เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๔ แล้วนั้น

    ครั้นต่อมา สมเด็จพระวันรัตน ยิ่งเจริญด้วยอุตสาหวิรยาธิคุณมิได้ท้อถอย
    สามารถประกอบพุทธศาสนกิจยังการพระศาสนา
    ให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นเป็นลำดับตลอดมา
    ในการปกครองคณะสงฆ์ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๐๕
    สมเด็จพระวันรัตน ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม
    เป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง เป็นเจ้าคณะนครหลวงกรุงเทพธนบุรี
    และเป็น แม่กองงานพระธรรมทูต ตามที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

    อนึ่ง ในคราวที่สมเด็จพระสังฆราชเสด็จไปเยือนประเทศศรีลังกา
    เป็นทางราชการ ตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลประเทศนั้น
    สมเด็จพระวันรัตก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช
    เมื่อเดือนกุมภาพันธ์พุทธศักราช ๒๕๑๐

    ในการปริยัติศึกษา เป็นกรรมการพิจารณาร่างหลักสูตรพระปริยัติธรรม
    แผนกภาษาบาลี ตั้งแต่ชั้นเปรียญตรีถึงชั้นเปรียญเอก

    ในฐานะนายกสภาแห่งสภาพระธรรมกถึก
    ได้จัดตั้งทุนไว้สำหรับส่งเสริมให้พระภิกษุผู้สำเร็จการศึกษา
    จากมหาวิทยาลัยสงฆ์ ไปศึกษาวิชาเพิ่มเติม ณ ต่างประเทศ
    เป็นผู้อุปถัมภ์อภิธรรมมูลนิธิวัดพระเชตุพนฯ
    ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพระอภิธรรมแก่ประชาชน
    และได้จัดสร้างอาคารเรียนขึ้น ๑ หลัง
    สำหรับใช้เป็นสถานศึกษาพระอภิธรรม

    ในการปกครองพระอาราม ก็ได้เอาใจใส่ควบคุมดูแลระวังรักษา
    และจัดการบูรณะปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมปูชนียวัตถุ
    และสิ่งก่อสร้างในพระอาราม ซึ่งชำรุดทรุดโทรมเสียหาย
    ทั้งในบริเวณพุทธาวาสและสังฆาวาส
    ให้กลับคืนดีในสภาพมั่นคงถาวรสะอาดเรียบร้อยดีขึ้นตลอดมา
    ดังเป็นที่ปรากฏอยู่แล้ว

    อนึ่ง สมเด็จพระวันรัตน ไต้จัดตั้งมูลนิธิขึ้นไว้เป็นทุนถาวร
    สำหรับบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามเริ่มตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ เป็นต้นมา
    มูลนิธินี้ ได้รับพระราชทานนามว่า “มูลนิธิทุนพระพุทธยอดฟ้า ๑”

    นับว่า สมเด็จพระวันรัตน เป็นผู้ทรงคุณธรรม
    มีปรีชาสามารถในการปกครองพระอารามหลวงที่สำคัญเป็นอย่างดียิ่ง
    สมพระราชประสงค์ในการส่งเสริมการศึกษาของชาติ

    ในฐานะนายกสภาแห่งสภาพระธรรมกถึก
    ได้จัดพระภิกษุไปเป็นครูสอนศีลธรรมแก่นักเรียนโรงเรียนต่างๆ
    ในส่วนกลางตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่งถึงปีที่ห้า

    นอกจากนั้น สมเด็จพระวันรัตยังได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้เป็นประธานดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนสงเคราะห์เด็กอนาถา
    ที่ วัดศรีจันทรประดิษฐ์ จังหวัดสมุทรปราการ
    ที่ วัดสันติการาม และที่ วัดป่าไก่ จังหวัดราชบุรี อีกด้วย

    ส่วนการพระศาสนาในต่างประเทศ
    สมเด็จพระวันรัตน ได้ไปเป็นประธานสงฆ์ในการผูกพัทธสีมา
    วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย
    แล้วเลยไปสังเกตการณ์พระศาสนา ณ ประเทศเนปาล

    เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ ไปเป็นประธานสงฆ์ในการผูกพัทธสีมา
    วัดเชตวัน สหพันธ์มาเลเซีย

    เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ ไปเยี่ยม วัดพุทธปทีป ประเทศอังกฤษ
    แล้วเลยไปสังเกตการณ์พระศาสนา
    ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม
    ลักเซมเบอร์ก เยอรมนี สวิส และ อิตาลี

    เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๑ เป็นผู้แทนคณะสงฆ์ไทย
    ไปร่วมงานถวายพระเพลิงพระศพ สมเด็จพระสังฆราชแห่งกัมพูชา

    เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ และในปีพุทธศักราช ๒๕๑๕
    ได้รับอาราธนาจากรัฐบาลอเมริกัน ให้ไปเยือนสหรัฐอเมริกา
    และสมเด็จพระสันตะปาปา ประมุขแห่งศาสนาคาทอลิก
    ได้อาราธนาให้ไปเยือน สำนักวาติกัน
    เพื่อเป็นการส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา

    บัดนี้ ก็เป็นที่ประจักษ์ว่า สมเด็จพระวันรัตน
    เป็นผู้เจริญยิ่งด้วยพรรษายุกาลรัตตัญญูมหาสถาวีรธรรม
    มั่นคงในพระพุทธศาสนา เป็นอจลพรหมจริยาภิรัต
    สงเคราะห์พุทธบริษัท ปกครองคณะสงฆ์
    ดำรงตำแหน่งสมณศักดื้ติดต่อกันมาเป็นเวลาช้านานได้เป็นครู
    และอุปัธยาจารย์แห่งมหาชนเป็นอันมาก
    มีศิษยานุศิษย์แพร่หลายไพศาล
    เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกบริษัททั่วสังฆมณฑล
    ตลอดจนอาณาประชาราษฎรทั่วไป

    สมควรจะสถาปนาขึ้นเป็น
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประธานาธิบดีแห่งสังฆมณฑล
    เพื่อเป็นศรีศุภมงคลแด่พระบวรพุทธศาสนาสืบไป

    จึงมีพระบรมราชโองการโปรดสถาปนา
    สมเด็จพระวันรัตน ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
    มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า


    [​IMG]
    อาลักษณ์จารึกพระสุพรรณบัฏพระนามสมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร)
    ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม



    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธำรง
    สกลมหาสงฆปริณายก ตรีปิฎกกลาสุโกศล วิมลคัมภีรญาณ
    ปุณณสิริภิธานสังฆวิสุตปาวจนุตตมสิกขวโรปการ
    ศีลขันธสมาจารยสุทธิปฏิบัติ พุทธบริษัทคารวสถาน
    วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณอดุลธรรมวิสารสุนทร
    บวรธรรมบพิตร สมเด็จพระสังฆราช


    เสด็จสถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง
    เป็นประธานในสังฆมณฑลทั่วราชอาณาจักร

    ขออาราธนาให้ทรงรับธุระพระพุทธศาสนา
    เป็นภาระสั่งสอนช่วยระงับอธิกรณ์
    และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรในสังฆมณฑลทั่วไป
    โดยสมควรแก่พระอิสริยยศ ซึ่งพระราชทานนี้

    จงทรงเจริญพระชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสิริสวัสดึ่
    จิรัฏฐิติวิรุฬหิไพบูลย์ในพระพุทธศาสนาเทอญ
    ให้ทรงมีพระราชาคณะและพระครูฐานานุกรมประดับพระอิสริยยศ ๑๕ รูป

    คือ พระทักษิณคณาธิกร สุนทรธรรมสาธก
    พุทธปาพจนดิลกมหาเถรกิจการี คณาธิบดีศรีรัตนคมกาจารย์
    พระราชาคณะปลัดขวา ๑
    พระอุดรคณาภิรักษ์ อัครศาสนกิจบรรหาร มหาเถราธิการธุรการี
    สมุหบดีศรีธรรมภาณกาจารย์
    พระราชาคณะปลัดซ้าย ๑
    พระครูธรรมกถาสุนทร ๑ พระครูวินัยกรณ์โสภณ ๑
    พระครูพรหมวิหาร พระครูพระปริต ๑ พระครูฌานวิสุทธิ์ พระครูพระปริต ๑
    พระครูวินัยธร ๑ พระครูธรรมธร ๑ พระครูพิมนสรภาณ พระครูคู่สวด ๑
    พระครูพิศาลสรคุณ พระครูคู่สวด ๑ พระครูพิบูลบรรณวัตร ๑
    พระครูพิพัฒน์บรรณกิจ ๑ พระครูสังฆบริหาร ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑
    ขอให้พระคุณผู้ได้รับตำแหน่งทั้งปวงนั้น
    มีความสุขสิริสวัสดิ์สถาพรในบวรพุทธศาสนาเทอญ

    ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕
    เป็นปีที่ ๒๗ ในรัชกาลปัจจุบัน


    [​IMG]
    ริ้วกระบวนเชิญพระสุพรรณบัฏ พัดยศ เครื่องยศสมณศักดิ์ พระตราประจำตำแหน่ง
    จากพระบรมมหาราชวังสู่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


    [​IMG]
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธ กล่าว “สงฺฆราชฏฐปนานุโมทนา”


    ใบกำกับพระสุพรรณบัฏ

    ให้สถาปนา สมเด็จพระวันรัต ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
    มีพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ
    และให้ทรงมีพระราชาคณะและพระครูฐานานุกรมประดับพระอิสริยยศ ๑๕ รูป

    คือ พระทักษิณคณาธิกร สุนทรธรรมสาธก พุทธปาพจนดิลกมหาเถรกิจการี
    คณาธิบดีศรีรัตนคมกาจารย์ พระราชาคณะปลัดขวา ๑
    พระอุดรคณาภิรักษ์อัครศาสนกิจบรรหาร มหาเถราธิการธุรการี
    สมุหบดีศรีธรรมภาณกาจารย์ พระราชาคณะปลัดซ้าย ๑
    พระครูธรรมกถาสุนทร ๑ พระครูวินัยกรณ์โสภณ ๑ พระครูพรหมวิหาร
    พระครูพระปริต ๑ พระครูฌานวิสุทธิ์ พระครูพระปริต ๑ พระครูวินัยธร ๑
    พระครูธรรมธร ๑ พระครูพิมลสรภาณ พระคู่สวด ๑ พระครูพิศาลสรคุณ
    พระครูคู่สวด ๑ พระครูพิบูลบรรณวัตร ๑ พระครูพิพัฒน์บรรณกิจ ๑
    พระครูสังฆบริหาร ๑พระครูใบฎีกา ๑


    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถวายพัดยศและเครื่องสมณศักดิ์แด่สมเด็จฯ
    ในงานพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



    ขออาราธนาให้ทรงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอน
    ช่วยระงับอธิกรณ์และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรในสังฆมณฑลทั่วไป
    ตามสมควรแก่พระอิสริยยศ ซึ่งพระราชทานนี้
    และจงทรงเจริญพระชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสิริสวัสดิจิรัฏฐิติ
    วิรุฬหิไพบูลย์ ในพระพุทธศาสนาเทอญ

    ตั้งแต่วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕
    เป็นปีที่ ๒๗ ในรัชกาลปัจจุบัน

    สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ปร.


    [​IMG]
    สมเด็จพระราชาคณะถวายศีลในการพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช
    เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

    [​IMG]
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร)

    พระเมตตาคุณและพระเกียรติคุณ

    เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ทรงเจริญอยู่ในพรหมวิหารธรรม
    ทรงเป็นครุฐานียอภิปูชนียบุคคล
    เป็นที่รักเป็นที่เคารพบูชาสักการะอย่างยิ่งแห่งปวงบรรพชิตและคฤหัสถ์
    ทรงได้รับยกย่องพระเกียรติคุณเป็นอย่างสูง
    จนมีพระนามที่ชาวไทยต่างเรียกเป็นพิเศษว่า “สมเด็จป๋า”
    เพราะมีพระทัยเมตตากรุณาแก่ทุกคนไม่เลือกชั้นวรรณะ
    เปรียบประดุจบิดามีเมตตาต่อบุตร ห่วงใยเอื้ออาทรรักใคร่เสมอหน้า

    พระเครื่องและเหรียญพระรูป ที่ทรงสร้างขึ้นในวาระต่างๆ หรือที่มีผู้มาขออนุญาตพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานกุศล ปรากฏว่าเป็นที่นิยมกันมาก

    ๑. พระเครื่อง “สมเด็จแสน” ทรงพิมพ์พระองค์แรกเป็นปฐมฤกษ์ มีจำนวน ๑๗๐,๐๐๐ องค์ แจกในงานบำเพ็ญกุศลพระชนม์ ๗๒ ปี

    ๒. พระกริ่ง “สมเด็จฟ้าลั่น” และ “สมเด็จฟ้าแจ้ง” (ธรรมจารี)
    ทรงเททองหล่อในวันคล้ายวันประสูติ พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๖ จำนวน ๑,๗๐๐ องค์

    ๓. เหรียญพระรูป “เหรียญ ๖๐” “เหรียญ ๗๒” “สมเด็จรอบโลก”
    “เหรียญทรงฉัตร” ทั้งหมดพิมพ์ประมาณ หกแสนเหรียญ

    ๔. วัด ส่วนราชการ องค์การกุศล ที่ทรงโปรดอนุญาตให้พิมพ์เหรียญพระรูป เท่าที่รวบรวมได้ ๕๕ แบบพิมพ์ จำนวนประมาณ หนึ่งล้านเหรียญ

    ๕. เหรียญพระรูปเหรียญสุดท้าย “สมเด็จเพิ่มบารมี” เป็นที่ระลึกในวันครบปีสถาปนา จำนวน หนึ่งแสนเหรียญ

    เหรียญสมโภช สมเด็จพระอริยวงศาตคญาณ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๗ ณ จังหวัดสุพรรณบุรี ปี๒๕๑๕ พิธีปลุกเสกยิ่งใหญ่ หลวงพ่อมุ่ยร่วมปลุกเสก กะไหล่ทอง สภาพสวย


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3661.jpg
      SAM_3661.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      548
    • SAM_3662.jpg
      SAM_3662.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      389
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2011
  17. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    [​IMG]

    ชิวิตปฐมวัยของหลวงพ่อ

    หลวงพ่อสร้อยท่านถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ.2472 ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเส็ง พื้นที่เขตตำบลละหานทราย(ปัจจุบันเป็นอำเภอแล้ว) อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โยมบิดาของท่านมีนามว่า วัน และโยมมารดาของท่าน มีนามว่ากรด (ส่วนท่านกำเนิดในสกุลใดนั้นในหนังสือเขียนไว้ไม่กระ จ่าง ผมจึงขอละเว้นที่จะนำเสนอเพื่อป้องกันความสับสนต่อไป ) ท่านมีพี่สาวเพียงคนเดียวมีนามว่า คิด ภายหลังท่านกำเนิดมาได้ 7วัน โยมบิดาของท่านก็ได้ถึงแก่กรรม และเมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบ โยมมารดาของท่านก็ได้ถึงแก่กรรม ซึ่งท่านก็ได้อยู่ในความดูแลของคุณยายท่านมานับแต่นั ้น ซึ่งคุณยายของท่านนับเป็นบุคคลที่ชอบเข้าวัดฟังธรรมต ามวิถีชีวิตชนบท ซึ่งจะพาท่านไปด้วยเสมอ ทำให้ท่านได้ใกล้ชิดกับวัดมาตลอดนับแต่วัยเด็ก

    สามเณรสร้อย

    ด้วยในวัยเด็กท่านได้มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับวัดมาตลอด และในช่วงหนึ่งท่านได้มีโอกาสถวายน้ำตาลแด่พระธุดงค์ โดยพระรูปนั้นได้กล่าวกับท่านว่า เมื่อใหญ่แล้วให้บวชนะ ซึ่งท่านได้ระลึกถึงคำนี้มาตลอด จนท่านเรียนจบประถม 4 จึงได้ขออนุญาตคุณยายของท่านบวชเป็นสามเณร โดยคุณยายของท่านได้เห็นชอบด้วยจึงพาท่านไปบวชที่วัด ชุมพร ซึ่งอยู่ในละหานทรายนั่นเอง โดยมีหลวงพ่อมั่น เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากที่ท่านบรรพชาเรียบร้อยแล้วท่านก็ได้อยู่กับห ลวงพ่อมั่นนั่นเอง โดยหลวงพ่อมั่นท่านได้สอนให้สามเณรรูปใหม่(หลวงพ่อสร ้อย) หัดบริกรรมด้วยการตกลูกประคำเป็นการฝึกสมาธิ และระวังวัตรถากท่านเช่นการบีบนวด หลวงพ่อมั่นก็จะกล่าวบรรยายอบรมข้อธรรมต่างๆไปพร้อมก ัน จนหลวงพ่อมั่นเห็นว่าสามเณรสร้อยมีจิตใจที่นิ่งมั่นค งดีแล้ว ท่านจึงได้สอนอาคมต่างๆควบคู่ไปกับการปฏิบัติสมาธิด้ วย และยังได้พาท่านออกธุดงค์ รุกขมูลเพื่อให้ได้รับข้อธรรมต่างให้เพิ่มพูน(เรื่องราวการธุดงค์ ผมขอละเว้นไว้นะครับ)

    พระสร้อย ขันติสาโร

    ท่านได้อยู่เป็นสามเณรกับหลวงพ่อมั่นมา จนล่วงได้อายุ 22 ปี จึงได้ทำการอุปสมบทโดยมีหลวงพ่อมั่นเป็นพระอุปัชฌาย์ มีหลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทองเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อสุตเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ขันติสาโร หลังจากที่เสร็จสิ้นการอุปสมบท หลวงพ่อสุขได้กล่าวชวนท่านไปด้วย ยังความดีใจแก่ท่าเป็นที่สุด ได้กราบลาหลวงพ่อมั่นขออนุญาต ตามหลวงพ่อสุขไป โดยเริ่มแรกหลวงพ่อสุขได้ให้ท่านขึ้นครูกรรมฐาน โดยในช่วงต้นหลวงพ่อสุขได้เน้นหนักท่านในเรื่องการปฏิบัติกรรมฐาน ท่านเล่าว่าท่านปฏิบัติจนมีความสุขบางทีถึงกับไม่ได้ หลับได้นอนเลย แต่ก็ไม่มีความง่วงเหงาหาวนอนแต่อย่างใด ในพรรษาถัดมาหลวงพ่อมั่นซึ่งเปรียบดังบิดาของท่านก็ไ ด้มรณภาพลง ท่านจึงได้กลับไปจัดงานถวายแก่หลวงพ่อมั่น เสร็จสิ้นแล้วจึงกลับมายังวัดหลวงพ่อสุขดังเดิม โดยหลวงพ่อสุขได้เริ่มสอนวิชาต่างๆแก่ท่านซึ่งวิชาที ่สำคัญคือการตรวจดูบุญวาสนา และเวรกรรมของผู้ป่วย เพื่อช่วยในการรักษาโรคภัยต่างๆ อยู่ต่อมาในระหว่างอยู่ศึกษากับหลวงพ่อสุขอยู่นั้น(ใ นหนังสือไม่ได้บวกว่าช่วงพรรษาใด)ท่านได้เกิดอาการปว ดศีรษะ อย่างแรงขณะปฏิบัติสมาธิอยู่บนศาลาจึงขอหลวงพ่อสุขไป พัก โดยระหว่างนั้นเองขณะนอนลงพัก วิญญาณของท่านก็ได้หลุดจากร่าง(ช่วง ระหว่างวิญญาณท่านออกไปนี้ ผมขอละไว้นะครับ) ซึ่งการมรณะครั้งนี้ท่านได้สิ้นลมไป 7 วันเต็มๆ ซึ่งในระหว่างนั้นหลวงพ่อสุขได้ทำพิธีเพื่อตามท่านนำ ท่านกลับมา(ซึ่งวิชาเดียวกันนี้ท่านได้ใช้ช่วยชีวิตเด็กชาวกระเหรียงให้ฟื้น คืนมาแล้ว)


    ออกหาความรู้ ธุดงค์ รุกขมูล

    เข้าสู่ปี พ.ศ.2497 หลวงพ่อสร้อยได้ขอลาหลวงปู่สุขเข้าสู่กรุงเทพ โวยจุดหมายคือวัดมหาธาตุ ด้วยขณะนั้นขึ้นชื่อในเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐ าน ท่านได้อยู้ศึกษาเป็นเวลา 7 เดือนท่านจึงลาพระอาจารย์ชาดกผู้สอนท่านกลับคืนยังบุ รีรัมย์ เมื่อญาติโยมได้รู้ข่าวการกลับมาของท่าน จึงได้ทำการต้อนรับและนิมนต์ให้ท่านอยู่ที่วัดกลางนา รองเป็นเจ้าอาวาสดูแลวัด ท่านได้นำพาหมู่คณะปฏิบัติตามที่ท่านได้ศึกษามา
    แต่หลังจากออกพรรษาท่านได้ตัดสินใจออกรุกขมูลโดยท่าน ได้ล่ำลาญาติโยมแล้วก็ออกเดินรุกขมูลลัดเลาะไปตามจัง หวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ ต่อไปยังอุบล จนยาวไปถึงนครพนม ข้ามไปยังฝั่งลาวแล้วข้ามกลับมายังมุกดาหาร ต่อเรื่อยไปจนเข้าสู่เทือกเขาภูพาน เขตสกลนครซึ่งท่านได้พบกับพระเถระรูปหนึ่งและได้ขอร่ ำเรียนวิชาด้วย เรื่อยไปจนเข้าหล่มสักเข้าพิษณุโลก ซึ่งช่วงนี้ท่านหลงป่าอยู่ จนทะลุออกมายังอุตรดิตถ์ จากการหลงป่าครั้งนี้ท่านจึงเปลี่ยนมาเดินโดนใช้เส้น ทางรถไฟช่วย ล่วงได้ 7 วัน ท่านก็ล่วงถึงดอยสะเก็ด เชียงใหม่ โดยพบกับหลวงปู่แหวน และได้ขอศึกษาข้อธรรมต่างๆจากหลวงปู่แหวนโดยช่วงนั้น หลวงปู่แหวนท่านกำลังเน้นไปทางอสุภะกรรมฐาน ซึ่งช่วงนี้ท่านว่าท่านได้พบกับข้อธรรมที่ลึกซึ้งมาก ขึ้น จากนั้นท่านได้ลาหลวงปู่แหวน ออกรุกขมูลต่อรอนแรมไปจนถึงแม่สะเรียง พักที่วัดศรีบุญเรืองท่านตั้งใจจะไปหาเพื่อนที่แม่ฮ่ องสอนแต่ด้วยติดกาลพรรษาท่านจึงได้ประจำพรรษาที่วัดศ รีบุญเรื่อง จนล่วงกาลพรรษา ท่านจะออกเดินทางต่อ พอดีได้ทราบจากญาติโยมว่าที่ท่าสองยางมีวัดร้างอยู่ ท่านจึงคิดอยากไปที่นั่นดูด้วยคิดว่าคงเหมาะแก่การปฏ ิบัติธรรม (ความจริงลายละเอียดช่วงธุดงค์ของท่านในหนังสือได้กล ่าวลงในรายละเอียดไว้อีกแต้ผมขอตัดมาให้กระชับ)

    สร้างวัดมงคลคีรีเขตร์

    เส้นทางการมายังท่าสองยางนี่นับว่าลำบากเอาการ โดยจากแม่สะเรียง ผ่านไปยังแม่กระตวนจนสุดที่แม่ระมาด ต่อเรือไปยังแม่วะ แล้วเดินต่อไปยังแม่กะ จนลุถึงท่าสองยางชาวบ้านก็ดีใจที่ได้พบพระสงฆ์ ได้ให้ท่านอยู่โปรดโดยช่วยกันสร้างกุฏิให้ท่านด้วยใบ ตองตึง โดยพรรษานั้นท่านได้อธิฐานอยู่พรรษาแต่รูปเดียว ซึ่งระหว่างนั้นได้มีลูกหลานชาวบ้านนามว่าเด็กชายสม แสนไชย คอยอยู่วัตรถากท่าน ต่อมาด้วยท่านมุ่งที่จะใช้เวลาในการปฏิบัติให้มากขึ้ น จึงหลบการพบผู้คนด้วยการลงไปกางกลด อยู่ในบริเวณป่าช้า ซึ่งเด็กชายสมก็ได้ตามไปด้วย โดยเลือกอยู่ใต้ต้นตะเคียนต้นหนึ่ง(เรื่องราวต่างๆใน ช่วงการอยู่ป่าช้าผมขอละเว้นไว้นะครับ)
    ต่อมาชาวบ้านได้นิมนต์ท่านกลับไปยังวัดตามเดิม โดยได้ร่วมใจปรับปรุงวัดให้ท่าน ในวันที่ท่านย้ายกลับเข้าวัดนั้นปรากฏว่าตะเคียนต้นท ี่ท่านใช้อยู่ระหว่างปฏิบัติที่ป่าช้าถึงกับโค่นลง
    ต่อมาในปี พ.ศ.2500 ท่านได้จัดให้มีการบวชพระ และสามเณรขึ้น ทำให้วัดมีพระอยู่จำพรรษาขึ้น รวมได้ 11รูป ล่วงมาปี พ.ศ.2503 ช่วงพรรษาหลังฉันเช้าแล้วท่านมีอาการครั่นเนื้อครั่น ตัว จึงได้นอนพัก ปรากฏว่าวิญญาณท่านได้ออกจากร่างไปอีกครั้งเหมือนดัง เช่นเคยเกิดกับท่านสมัยอยู่กับหลวงปู่สุข แต่ครั้งนี้ท่านหายไปเพียง 1 วัน(รายละเอียดช่วงนี้ขอละไว้นะครับ ความจริงแล้วน่าสนใจมากเพราะสอนให้เราได้เห็นถึงบาปบ ุญคุณโทษอีกด้วย มีโอกาสจะนำมาพิมพ์อีกทีครับ) ล่วงมาปี พ.ศ. 2505 ท่านมีดำริจะสร้างวัดให้ดีขึ้น ให้ถูกต้องมี วิสุงคามวาสี เหมือนกับเทวดาที่รักษาวัดจะทราบเรื่องราว คืนนั้นในสมาธิเทวดาซึ่งเดิมเป็นเจ้าของที่แห่งนั้น ได้มาปรากฎ และถามถึงความต้องการของท่าน ท่านก็บอกไปว่าจะบูรณะปรับปรุงวัดให้ดีขึ้น ท่านเจ้าของที่ได้อนุโมทนายกที่ให้ท่าน แล้วลาท่านไปอยู่ที่แห่งใหม่ ยังเทือกเขาแถบนั้น โดยในสมาธินั้น ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับตำแหน่งต่างๆในบริเวณวัดที่จ ะทำการปลูกสร้างถาวรวัตถุ แต่มาติดที่บริเวณหนึ่งซึ่งกำหนดจะเป็นที่ตั้งของศาล า มีหินก้อนใหญ่ สองก้อนกีดขวางอยู่ซึ่งท่านคิดว่าลำพังกำลังชาวบ้านค นยากที่จะเอาออกได้ ในสมาธินั้นท่านว่าเจ้าที่ท่านได้ช่วยเอาออกให้ ปรากฎเป็นควายตัวใหญ่สองตัวเอาเขาขวิดจนหินสองก้อนนั ้นกลิ้งหายไป จนต่อมาได้สบโอกาสที่จะทำการสร้างศาลา ท่านก็มาติดปัญหาที่หินสองก้อนนี้ ซึ่งทำให้ท่านหวนคิดถึงนิมิตในครั้งนั้นว่าเจ้าที่ท่ านช่วยเอาหินออกแล้วนี่ จนช่างผู้คุมงานเสนอให้ท่านย้ายที่ตั้งศาลา แต่ปรากฏว่าในขณะนั้นได้มีรถที่ใช้ก่อสร้างทางของกรม ทางมาจอดที่วัด เจ้าหน้าที่ทั้งสองคนได้มาบอกหลวงพ่อว่าได้รับคำสั่ง ให้มาช่วยยกหินสองก้อนนั้นออกไป ทำให้การสร้างศาลาลุล่วงไปด้วยดี จนแล้วเสร็จในราวเดือนห้าของปี 2506

    และท่านก็ได้พัฒนาปรับปรุงวัดเรื่อยมา และในระหว่างนั้นท่านก็ได้ให้การอุปถัมภ์ทั้งวัดต่างๆ และหน่วยงานของราชการเช่นโรงพยาบาล เสียดายที่รายละเอียดส่วนนี้ไม่มีบันทึกไว้ แต่ที่แน่ๆทั้งละหานทราย และนางรอง ท่านก็ได้ให้การช่วยเหลือหลายแห่งเหมือนกัน


    ชีวิตบั้นปลาย
    หลวงพ่อสร้อยท่านได้ตรากตรำ อย่างนักในช่วงชรา ผมเองจำได้ว่าครั้งนึงก่อนท่านมรณะไม่เท่าไหร่ ท่านยังมีเมตตาช่วยเททองวัตถุมงคล ให้กับวัดที่หลวงปู่สุขให้ให้การทำนุบำรุงมาก่อนอย่า งเต็มใจ แม้ช่วงนั้นท่านจะไม่แข็งแรงเท่าไหร่ ซึ่งหลังจากเททองเสร็จ ไม่เท่าไหร่ท่านก็มรณภาพ ไม่ทันได้กลับมาปลุกเสก (อาจนับได้ว่าเป็นวัตถุมงคลชุดสุดท้ายของท่านก็ว่าได ้)

    จนในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ลูกศิษย์ได้นำท่านเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลนครธนพระราม 2 จนวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2541 หลวงปู่หงษ์ท่านได้มาเยี่ยมหลวงพ่อสร้อย ด้วยหลวงปู่หงษ์ท่านว่าท่านฝัน (นิมิตของท่านแหละครับ แต่ท่านชอบพูดว่าฝัน) หลวงพ่อสร้อยท่านกระโดดลงจากเตียง เมื่อพบกัน หลวงปู่หงส์ท่านได้ทำด้ายคล้องคอให้แก่หลวงพ่อสร้อย และหลวงพ่อสร้อยท่านได้กล่าวกับหลวงปู่หงส์ในทำนองว่า “จะขอลาแล้ว ขอลามรณภาพจะได้ไหม” ซึ่งหลวงปู่หงส์ท่านก็นิ่ง แล้วก็เดินทางกลับ จากนั้น วันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2541 หลวงพ่อสร้อยท่านได้เรียกพระลูกวัดที่อยู่ที่นั้นมาร วมกัน ได้จับมือจับแขนพระทุกรูป และได้กล่าวอบรบเป็นครั้งสุดท้าย ในลักษณะว่า “ต่อไปเราจะไม่ได้เจอกันอีกแล้วนะ ให้ปฏิบัติตัวกันให้ดี ขยันทำงาน มีอะไรก็ทำไป ให้ประหยัดและอดทนทุกคนนะ” มาวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2541 หลวงพ่อสร้อยได้สั่งให้ลูกศิษย์นับเงินที่ลูกศิษย์มา ร่วมทำบุญกับท่านเพื่อเตรียมเป็นค่าใช้จ่ายแก่โรงพยา บาล ยังความตกใจและหวั่นใจของลุกศิษย์เป็นอย่างมากเนื่อง ด้วยท่านเองยังไม่หาย และอาการก็ทรุดหนัก แต่ท่านเตรียมออกจากโรงพยาบาล เข้าช่วงกลางคืนของวันที่18 มกราคม พ.ศ.2541ท่านได้สำลักเสมหะ และท่านได้เข้าสมาธิจนถึงราวตีสามย่างตีสี่ ได้เรียกให้พระมาช่วยพลิกตัวท่าน ถึงนาทีนั้นพระทุกรูปได้รวมกันนั่งสมาธิภาวนาอยู่หน้ าห้องหลวงพ่อ จนล่วงเข้าเวลา 07.19น. ของวันที่19 ธันวาคม พ.ศ.2541 ท่านก็ได้หยุดดับธาตุขันธ์ ทิ้งเหลือไว้แต่คุณงามความดี ที่ยังคงประทับอยู่ในหัวใจของลูกศิษย์ทุกคน สิริอายุ ๖๙ ปี


    เหรียญ “ครูบาศักดิ์สิทธิ์” ครูบาสร้อย ขันติสาโร ปี 2538 อ.ท่าสองยาง จ.ตาก


    เหรียญครูบาสร้อย เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านแคล้วคลาดปลอดภัย


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3663.jpg
      SAM_3663.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      131
    • SAM_3665.jpg
      SAM_3665.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      119
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  18. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    <table style="width: 917px; height: 1162px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td align="center" height="350" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td> วัดลาดพร้าวสร้างเมื่อประมาณพ.ศ ๒๔๑๓ (จ.ศ. ๑๒๒๔, ร.ศ. ๘๘) เริ่มแรกทีเดียว ไม่ได้ตั้งอยู่ในสถานที่ปัจจุบัน แต่ตั้งอยู่ที่ บริเวณเชิงสะพานตรงข้าม กับร้านเซเวนอีเลฟเว่น (อยู่ห่างจากที่วัดปัจจุบัน ประมาณ ๑๐๐ เมตร และที่ดินบางส่วนของวัดยังมีอยู่) ในสมัยสร้าง
    วัดใหม่ๆ ชาวบ้านลาดพร้าว ได้ร่วมแรงร่วม ใจกันสร้าง กุฏิสงฆ์ขึ้นประมาณ ๒ – ๓ หลัง แล้วได้นิมนต์พระอาจารย์เพิ่ม มาอยู่ปกครองวัด ในระยะแรกนี้ ยังเป็นเพียง สำนักสงฆ์เท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ ๒๔๑๗ (จ.ศ. ๒๓๖, ร.ศ.๙๓) คณะสงฆ์และชาวบ้านลาดพร้าว ได้มีความห็นพร้อง
    ต้องกันว่า สมควรย้ายวัดมาอยู่ที่วังลาดพร้าว (วังคือแอ่งน้ำขังที่กว้างใหญ่กว่าบึง) เพราะ สถานที่เดิม นั้นเป็นที่ดอนไม่สะดวกต่อการที่ พระสงฆ์ สามเณรจะใช้น้ำ จึงได้ย้ายวัดมาสร้างใหม่ที่วังลาดพร้าว นี้ (สถานที่ ปัจจุบัน) เพราะที่แห่งใหม่นี้อยู่ใกล้แหล่งน้ำกว่า และเป็นทางแยก คลอง
    ทรง กระเทียม กับคลองลาด พร้าว ทั้ง เป็นที่ลุ่ม เป็นวังกว้าง จึงสะดวกต่อการใช้น้ำ

    เมื่อย้ายมาอยู่ในที่แห่งใหม่แล้ว คณะสงฆ์และกรรมการจึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้าง กุฏิขึ้น ประมาณ ๗ หลัง และศาลาการ เปรียญอีก ๑ หลัง ล้วนเป็นไม้ทั้งสิ้น แล้วได้นิมนต์พระอาจารย์ตุ๊ มาเป็นเจ้า อาวาส ปกครองวัดจนถึงท่านมรณภาพ เมื่อพระอาจารย์ตุ๊มรณภาพ แล้ว คณะกรรมการก็ได้นิมนต์พระอธิการ ขวัญมาเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดแทนจนถึงมรณภาพ พระอาจารย์เผือก ซึ่งมาจากวัดบางกระบือ ก็ขึ้น เป็น อาวาสวัดลาดพร้าวปกครองสืบแทนจนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๒ จึงได้มรณภาพ หลังจากนั้นพระครูสุวรรณวรวัฒน์ (ผิน สุวณฺโณ) ก็ได้รับการ แต่งตั้งให้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนต่อมาจนถึง พ.ศ. ๒๕๒๕ จึงได้มรณภาพ

    เมื่อพระครูสุวรรณวรวัฒน์มรณภาพ คณะสงฆ์และกรรมการวัดลาดพร้าว พระครูประสิทธิสุภการ (ทองใบ ฐานงกโร) ได้ขึ้นดำรง ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลาดพร้าวแทนในวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๕ จนถึงวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๔๙ ท่านก็มรณภาพเมื่อพระครู ประสิทธิสุภการ มรณภาพแล้ว พระครูวิศิษฏ์สุทธิ คุณ (จำรัส เหมวณฺโณ) ได้ขึ้นเป็นเจ้าวาสแทนมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันวัดลาดพร้าว มีเนื้อที่ ทั้งหมด ๒๔ ไร่เศษ</td></tr><tr><td>รายนามเจ้าอาวาสวัดลาดพร้าว
    ๑ พระอาจารย์เพิ่ม เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๔๑๓ – ๒๔๑๗ รวม ๔ ปี
    ๒ พระอาจารย์ตุ๊ เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๔๑๗ – ๒๔๒๕ รวม ๘ ปี
    ๓ พระอุปัชฌาขวัญ เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๔๒๕ – ๒๔๔๕ รวม ๒๐ ปี
    ๔ พระปลัดเผือก เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๔๔๕ – ๒๔๘๐ รวม ๓๕ ปี
    ๕ พระครูสุวรรณวรวัฒน์ (ผิน สุวณฺโณ) เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๔๘๐– ๒๕๒๕ รวม ๔๕ ปี
    ๖.พระครูประสิทธิ์สุภการ (ทองใบ ฐานงกโร) เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๔๙ รวม ๒๙ ปี
    ๗.พระครูวิศิษฏ์สุทธิคุณ (จำรัส เหมวณฺโณ) เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๔๙ จนถึงปัจจุบัน


    เหรียญพระครูประสิทธิ์สุภการ วัดลาดพร้าว
    เหรียญพระครูประสิทธิ์สุภการ วัดลาดพร้าว เนื้อทองแดง สภาพสวยมากๆ ครับ ได้รับมาประมาณปี 2526 ลูกศิษย์ย่านวัดลาดพร้าวคงทราบกิตติศัพท์ขอท่านเป็นอย่างดีครับ เหรียญสวยน่าสะสม เก็บอย่างดี มีจารเดิมๆ ที่หลังเหรียญด้วย หายากมากๆ ครับ สภาพนี้


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
    </td></tr></tbody></table>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3696.jpg
      SAM_3696.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      176
    • SAM_3698.jpg
      SAM_3698.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      148
    • SAM_3699.jpg
      SAM_3699.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      142
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  19. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    เหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นเพชรน้ำเอก เนื้อทองแดง พ.ศ.๒๕๓๖ ปลุกเสกเพื่อศิษย์เอกไสว พราหมมณี เป็นกรณีพิเศษ

    พระเครื่องหลวงพ่อคูณ รุ่นเพชรน้ำเอก เหรียญรุ่นนี้หลวงพ่อคูณปลุกเสกเพื่อศิษย์เอกโดยเฉพาะ คือ ท่านไสว พรามห์มณี ปลุกเสกเป็นกรณีพิเศษเมื่อปี2536 ตอกโค๊ต "ส" ที่สังฆาฏิ เป็นเหรียญทีมีประสพการณ์หลวงพ่อคูณท่านปลุกเสกให้นานมากกว่าพระรุ่นอื่นๆ เป็นเหรียญอีกรุ่นหนึ่งที่น่าเก็บสะสมมาก

    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3700.jpg
      SAM_3700.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      136
    • SAM_3706.jpg
      SAM_3706.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      136
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  20. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    หลวงพ่อขวัญดี ปิยสีโล พระเกจินั่งสมาธิมรณภาพ

    หลวง พ่อขวัญดี ปิยสีโล' พระเกจิดังแห่งวัดท่ามะปราง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก เจ้าตำรับตะกรุดขุนพล และแหวนพิรอดอันโด่งดัง ได้ละสังขารอย่างสงบ ด้วยวัยวุฒิ 72 ปี พรรษา 38 เมื่อช่วงเช้าวันที่ 19 กันยายน 2553


    แต่ที่สร้างความฮือฮาให้แก่บรรดาคณะลูกศิษย์และสาธุชน ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง คือ การมรณภาพในอิริยาบถนั่งสมาธิ ซึ่งต่างเชื่อว่าเป็นการกำหนดวันละสังขารด้วยการนั่งสมาธิถอดจิต ขณะปลุกเสกวัตถุมงคลในกุฏิพร้อมกันไปด้วย


    สำหรับประวัติ หลวงพ่อขวัญดี มีนามเดิมว่า ขวัญเมือง โพธิ์ทอง เกิดปี พ.ศ.2482 ปีเถาะ ที่ ต.บ้านไร่ อ.บาง กระทุ่ม จ.พิษณุโลก โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายหวน และนางโปร่ง มีพี่น้อง 6 คน หลวงพ่อขวัญดีเป็นคนที่ 3


    โยมบิดาเสีย ชีวิตตั้งแต่อายุ 3 ขวบ โยมแม่ต้องเลี้ยงดูด้วยความลำบาก ก่อนพามาฝากไว้ที่วัดไพรสุวรรณ กับพระครูสมุห์สังข์ เจ้าอาวาส และหลวงตาพ่วง เพื่อให้เรียนหนังสือ


    ช่วงวัยหนุ่มไปอยู่กับคณะลิเก ได้เรียนรู้สรรพวิชาจากพระอาจารย์มากมาย รวมทั้งหลวงปู่สุนทร ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า


    ในปี พ.ศ.2518 ได้บวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดราชบูรณะ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ก่อนเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2519 ที่วัดนางพญา อ.เมือง จ.พิษณุโลก โดยมีพระครูศีลสัมปัน เจ้าอาวาสวัดสระแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาจำลอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดพรม เป็นพระอนุสาวนาจารย์


    หลัง อุปสมบท ได้ไปเรียนวิชากับหลวงพ่อม้วนและหลวงพ่อถนอม พร้อมกับออกธุดงค์ในป่า เรียนกัมมัฏฐาน ที่ยอดเขาสมอแคลง ฝึกสมาธิ ฉันมื้อเดียว มีพระครูศรัทธาธรรมกิจ เจ้าอาวาสวัดประสาทธ์ศรัทธาธรรม ต.ย่านยาว อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก ร่วมฝึกจิตสมาธิ


    ต่อมา โยมพี่ชายได้มาขอร้องหลวงพ่อขวัญดีลาสิกขา เพราะเป็นห่วงน้องชายกลัวจะลำบาก แต่หลวงพ่อขวัญดีได้ปฏิเสธ ขอปวารณาสืบทอดพระพุทธศาสนาตลอดชีวิต พร้อมกับอุทิศร่างกายให้โรงพยาบาลนเรศวร จ.พิษณุโลก


    เวลานั้น ญาติโยมได้นิมนต์หลวงพ่อขวัญดี มาอยู่จำพรรษาที่วัดท่ามะปราง อ.เมืองพิษณุโลก


    ใน ยามว่างศาสนกิจ หลวงพ่อขวัญดี มักออกธุดงค์ปลีกวิเวก ในเขต อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ได้พบกับหลวงพ่อค่อม วัดถ้ำสมบัติ ได้เรียนธรรมะ ฝึกกัมมัฏฐาน และวิทยาคม


    หลักการปฏิบัติที่หลวงพ่อขวัญดี ยึดถือมาโดยตลอด คือ "ละกิเลส ละจากทุกอย่าง อย่ายึดถือยึดติด"


    หลวง พ่อขวัญดี ท่านได้สร้างวัตถุมงคลจำนวนหลายรุ่น โดยเฉพาะ "ตะกรุดขุนพล" ซึ่งเป็นตะกรุดที่โด่งดังในอดีต เซียนพระเครื่องทั้งหลายต่างให้ความนิยมเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ท่านยังได้สร้าง "แหวนพระรอด" ซึ่งถักด้วยผ้าสังฆาฏิเป็นแหวนที่หายากและมีผู้นิยมจำนวนมาก


    ล่า สุด หลวงพ่อขวัญดี ยังได้สร้างพระรูปหล่อลอยองค์ รุ่นฉลองกุฏิ ปี 2550 ซึ่งปัจจุบันยังเก็บไว้ในกุฏิของหลวงพ่อ และเป็นที่ต้องการของบรรดาเซียนพระ โดยเฉพาะพระเครื่องนเรศวรอุ้มไก่ ที่หลวงพ่อร่วมพิธีพุทธาภิเษกด้วยตนเอง


    นอกจากนี้ ยังมีตะกรุดฝาบาตร ที่หลวงพ่อปลุกเสกครั้งแรก แต่มีจำนวนน้อยมาก ผ้ายันต์ที่หลวงพ่อนั่งเขียนเอง เหรียญรูปไข่หลวงพ่อขวัญดีรุ่นแรก เป็นต้น


    หลวงพ่อขวัญดี มีวัตรปฏิบัติ ตื่นตั้งแต่ตีสาม เพื่อนั่งสมาธิเจริญจิตตภาวนา เป็นคนพูดน้อย แต่มีเมตตา ตลอดทั้งปลุกเสกวัตถุมงคล


    ใน ช่วงแรกที่มาอยู่จำพรรษาที่วัดท่ามะปราง หลวงพ่อขวัญดี ยังรับกิจนิมนต์ แต่ครั้นต่อมา สุขภาพร่างกายเริ่มอ่อนแอ ไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินทางไกล หลวงพ่อจึงไม่รับกิจนิมนต์ มีเพียงญาติโยมที่จะเข้ามากราบและสนทนาธรรมกับท่านที่กุฏิ


    จนกระทั่ง เมื่อช่วงเช้าวันที่ 19 กันยายน 2553 คณะศิษย์ต่างได้รับข่าวร้าย เมื่อหลวงพ่อขวัญดี ละสังขารจากไปอย่างสงบ


    หลัง ทราบข่าวได้มีชาวบ้านเดินทางมาที่วัดท่ามะปราง ต่างยืนจับกลุ่มพูดคุยอยู่บริเวณด้านหน้ากุฏิเป็นจำนวนมาก ทุกคนอยู่ในอาการโศกเศร้า แต่สิ่งที่สร้างความฮือฮาให้กับคณะศิษย์ คือ หลวงพ่อขวัญดี นั่งมรณภาพในท่านั่งขัดสมาธิ หลังพิงอยู่กับประตูทางเข้ากุฏิ


    เจ้าหน้าที่ได้นำสังขารนอนลงกับ พื้น เพื่อชันสูตร โดยไม่พบสิ่งปกติใดๆ หลังจากชันสูตรหลวงพ่อขวัญดี ทางญาติและพระภายในวัดท่ามะปราง ต่างไม่ติดใจในการมรณภาพ


    คณะลูก ศิษย์วัดท่ามะปราง จึงได้เคลื่อนย้ายศพหลวงพ่อในท่านั่งสมาธิออกจากกุฏิไปตั้งบำเพ็ญกุศลบนศาลา การเปรียญ ในระหว่างที่เคลื่อนย้ายสังขารของท่าน มีหลายคนสังเกตเห็นดวงตาหลวงพ่อลืมขึ้นเล็กน้อย ผิดกับตอนแรกที่พบ ดูแล้วคล้ายกับท่านยังมีชีวิตอยู่


    พระใกล้ชิดกับหลวงพ่อขวัญดี ได้เล่าว่า หลวงพ่อได้มรณภาพในช่วงเช้าที่ผ่านมา ก่อนทราบเรื่องมีญาติโยมนำอาหารเช้ามาถวาย พบว่าหลวงพ่อนั่งสมาธิอยู่ จึงไม่กล้าเรียก จากนั้นได้ไปบอกพระลูกวัด ให้นำอาหารมาถวายตั้งไว้ที่หน้ากุฏิ ครั้นพระลูกวัดนำอาหารมาให้ พบว่าหลวงพ่อยังนั่งในท่าขัดสมาธิ รู้สึกผิดปกติ จึงได้เรียกปลุกหลวงพ่อ แต่ท่านได้มรณภาพแล้ว จึงได้แจ้งให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมแพทย์มาชันสูตร โดยก่อนหน้าหลวงพ่อได้มอบร่างกายให้กับโรงพยาบาลนเรศวร แต่ปรากฏว่าช่วงหลังมีการผ่าตัดลำไส้ จึงไม่ต้องมอบร่างให้กับทางโรงพยาบาล


    อย่าง ไรก็ตาม ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิด กล่าวว่า หลวงพ่อขวัญดี เคยบอกว่าหากท่านมรณภาพไปแล้ว ไม่ต้องการให้เก็บไว้นาน อย่างมากแค่ 3 วัน เนื่องจากไม่ต้องการให้ยึดติดสังขาร แต่ขอให้ยึดหลักธรรมคำสั่งสอนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนศพหลวงพ่อขวัญดี นำไปตั้งไว้ที่ศาลาการเปรียญ เพื่อจัดสวดพระอภิธรรมศพ


    วันฌาปนกิจศพหลวงพ่อขวัญดี วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน เวลา 16.00 น. ที่เมรุวัดท่ามะปราง อ.เมืองพิษณุโลก


    เหรียญ หลวงพ่อขวัญดี

    คอลัมน์ เปิดตลับพระใหม่ ที่มา ข่าวสด


    หลวงพ่อขวัญดี ปิยสีโล พระเกจิดังแห่งวัดท่ามะปราง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก เจ้าตำรับตะกรุดขุนพล และแหวนพิรอดอันโด่งดัง ได้ละสังขารอย่างสงบ ด้วยวัยวุฒิ 72 ปี พรรษา 38 เมื่อช่วงเช้าวันที่ 19 กันยายน 2553


    แต่ที่สร้างความฮือฮาให้แก่บรรดาคณะลูกศิษย์และสาธุชน ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง คือ การมรณภาพในท่านั่งสมาธิของหลวงพ่อขวัญดี ซึ่งศิษย์ต่างเชื่อว่า ท่านกำหนดวันละสังขารด้วยการนั่งสมาธิถอดจิต ในขณะปลุกเสกพระเครื่องในกุฏิพร้อมกันไปด้วยสร้างความเศร้าสลดอาลัยเป็นอย่างยิ่ง


    หลวงพ่อขวัญดี มีนามเดิมว่า ขวัญเมือง โพธิ์ทอง เกิดปีเถาะ พ.ศ.2482 ที่ ต.บ้านไร่ อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก


    ในวัยเด็กได้บวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัด ราชบูรณะ อ.เมืองพิษณุโลก ก่อนเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2519 ที่วัดนางพญา อ.เมือง จ.พิษณุโลก โดยมีพระครูศีลสัมปัน เจ้าอาวาสวัดสระแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังอุปสมบทได้ไปเรียนวิชากับหลวงพ่อม้วนและหลวงพ่อถนอม พร้อมกับออกธุดงค์ในป่าเรียนกัมมัฏฐาน ที่ยอดเขาสมอแคลง


    หลวงพ่อขวัญดีท่านได้สร้างวัตถุมงคลจำนวนหลายรุ่น โดยเฉพาะ 'ตะกรุดขุนพล' ซึ่งเป็นตะกรุดที่โด่งดังในอดีต เซียนพระเครื่องทั้งหลายต่างให้ความนิยมเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก


    นอกจากนี้ ยังได้จัดสร้าง "เหรียญหลวงพ่อขวัญดีรุ่นแรก" ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงจากบรรดาคณะศิษยานุศิษย์


    เหรียญหลวงพ่อขวัญดีรุ่นแรก เป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดงรมมันปู ในปี พ.ศ.2547 จำนวนการสร้าง 3,000เหรียญ


    ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปหลวงพ่อขวัญดีครึ่งองค์หันหน้าตรง มีตัวหนังสือด้านล่าง เขียนชื่อ
    "หลวงพ่อขวัญดี ปิยสีโล" ด้านโค้งขอบเหรียญด้านซ้าย เขียนว่า "รุ่นแรก" ด้านโค้งขอบเหรียญขวาของเหรียญ เขียนว่า "รุ่นเดียว"

    ด้านหลังเหรียญ เป็นอักขระขอม ว่าด้วยหัวใจของพระคาถาประจำตัวของหลวงพ่อ ตรงกลางเหรียญ คือ คาถานะหน้าทอง ประกอบด้วยอักขระขอม คือ นะโมพุทธายะ (คาถาพระเจ้าห้าพระองค์) คาถาด้านข้าง คือ จรณะ, ด้านบน เป็นคาถาหัวใจพระไตรปิฎก (มะอะอุ) บนยอดเป็นตัว นะ มีพุทธคุณทางด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ และแคล้วคลาดปลอดภัย ขอบเหรียญด้านหลังล้อมรอบด้วยอักขระคาถา มงกุฎพระเจ้า (อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ) มีพุทธคุณทางด้านป้องกันภัยได้ร้อยแปด ด้านล่างตรงกลางเหรียญเขียนคำว่า
    "วัดท่ามะปราง พิษณุโลก"

    เหรียญหลวงพ่อขวัญดีรุ่นแรก เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการพระเครื่อง มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นโชคลาภ แคล้วคลาดปลอดภัย เมตตามหานิยม ภายหลังจากที่ท่านได้มรณภาพไปแล้ว เหรียญรุ่นดังกล่าวเริ่มหายาก ส่วนใหญ่ถูกตามเก็บเข้ากรุ ราคาเช่าบูชาพุ่งขึ้นถึงหลักพัน นับว่าเป็นเหรียญอีกหนึ่งรุ่นที่น่าเก็บสะสมไว้อีกเหรียญหนึ่ง ไม่เก็บตอนนี้ระวังอีกหน่อยหาไม่ได้นะครับ



    [FONT=&quot]ให้บูชา 1,250บ. ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3679.jpg
      SAM_3679.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      202
    • SAM_3681.jpg
      SAM_3681.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      204
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...