ฌาน [อธิบายอย่างละเอียด]

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Darkever, 7 มิถุนายน 2011.

  1. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,424
    ค่าพลัง:
    +35,040
    เป็นว่าเป้าหมายคือ ความละเอียดของจิต ความสะอาดบริสุทธิ์ของจิต และสุดท้ายเพื่อความหลุดพ้น..
    อนุโมทนากับทุกท่านด้วยครับ...
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    [​IMG]



    ฌาน ๔ นำไปสู่นิพพานได้




    ปัญหา ลำพังการทำสมาธิจนได้ฌานจะสามารถนำไปสู่นิพพานได้หรือไม่ ?



    พุทธดำรัสตอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศตะวันออก หลั่งไปสู่ทิศตะวันออกบ่าไปสู่ทิศตะวันออกฉันใด ภิกษุเจริญพอกพูนซึ่งฌาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพานโน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพานฉันนั้น....

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔อันภิกษุพึงเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปเพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ (คือ รูป ราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะอวิชชา) เหล่านี้แล”<O:p</O:p


    ฌานสังยุต มหา. สํ. (๑๓๐๑-๑๓๐๔ )

    ตบ. ๑๙ : ๓๙๒-๓๙๓ ตท. ๑๙ :๓๖๐-๓๖๑

    ตอ. K.S. ๕ : ๓๗๒<O:p</O:p


    <!-- google_ad_section_end -->​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2011
  3. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ชอบกระทู้เเบบนี้จัง

    ขอขอบคุณเจ้าของกระทู้ค่ะ
     
  4. หมอรวย

    หมอรวย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +105

    ขออนุโมทนากับท่านภานุเดชในข้อความอ้างอิงอันยิ่งนี้ด้วยครับ
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ผมก็โมทนาคุณ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->หมอรวย<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4748207", true); </SCRIPT> ด้วยนะครับที่ยกคำสอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน มาก่อนหน้านี้ ด้วยเหตุนี้ผมเลยยกพุทธพจน์มาเสริม เพื่อเพิ่มเติมเสริมในศรัทธาสำหรับผู้ปฏิบัติ...

    โมทนาสาธุธรรมกับทุกท่านที่ให้ธรรมทานในกระทู้นี้อีกครั้งครับ...
     
  6. zerozodiac

    zerozodiac Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +66
    ขอวิธีฝึกสำหรับคนอย่างผมได้มั้ยครับ
    รู้สึกห่างเหินจากสมาธิมานาน เลยฟุ้งซ่าน
    ระงับอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ตามอารมณ์ตัวเองไม่ทัน
    ขอพระคุณครับ
     
  7. หมอรวย

    หมอรวย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +105
    ความสำเร็จของการฝึกสมาธิ ตามวิธีของผม คร่าวๆ ดังนี้ครับ

    ก่อนการทำสมาธิ
    1. การเลือกสถานที่ เห็นว่าควรเป็นที่ร่มรื่น เย็นสบาย อากาศปลอดโปร่ง
    2. การทำความสะอาดร่างกาย รวมถึงการสวมใส่เสื้อผ้า ควรให้อยู่ในลักษณะสบายที่สุด
    3. การทำความสะอาดจิตใจ ละ วาง ความวุ่นวายทั้งหมด รักษาศีลอันบริสุทธิ์ (เห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ)

    ในการที่จะละวางนี้ ทางพระป่าอาจจะใช้วิธีจงกรมนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2011
  8. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ข้าพเจ้าเคยสอนไปหลายครั้งแล้วว่า
    ฌาน ที่ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎกนั้น เป็นการสอนหรือแนะนำให้ผู้ฝึกสมาธิ ได้รู้ว่า ผู้ที่ฝึกจะต้องประสบกับ ฌาน ทุกคนไป หากละอย่างหนึ่งได้ อย่างหนึ่งก็จะเกิด จนสุดท้าย ก็จะเป็น "สมาธิ"อย่างแท้จริง
    ดังนั้น ฌาน จึงเป็นเพียงการอธิบายผลแห่งการปฏิบัติสมาธิ หรืออธิบายว่าผู้ปฏิบัติสมาธิมักจะเกิด ฌาน ในทุกคนไป แต่จะเกิดในรูปแบบไหน ก็ขึ้นอยู่กับ สภาพสภาวะจิตใจของบุคคลนั้นๆ
     
  9. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +333
    ตั้งแต่ตื่นจนหลับ วันทั้งวัน
    อย่าให้เผลอ จากคำภาวณา
    กำหนดลมหายใจ
    จะกิน จะขี้ จะเยียว
    จะพูดจะคุย จะทำอะไรอยู่ ทำธุระหนักหนา
    กำหนดลมหายใจภาวนาไปด้วย
    ก่อนจะนอนกำหนดลมหายใจไปจนหลับ
    ตอนตื่น พอรู้ตัวว่าตื่นก็กำหนดลมหายใจเอาไว้ทันที

    ผมทำแค่นี้ ระยะเริ่มต้น
     
  10. zerozodiac

    zerozodiac Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +66
    ขอคำภวนาด้วยจะได้มั้ยครับ :D
    ขอบพระคุณครับ
     
  11. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +333
    ภาวณาด้วยจะดี เพราะจะวัดฌาน2ได้
     
  12. นายวีระศักดิ์ ท

    นายวีระศักดิ์ ท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +1,003
    ก็ถอนจิตออกมาเล็กน้อย อ้างอิงบรรทัดที่๒(คือถอยสมาธิออกมา)ผมไม่สามารถจะถอยได้ ผมจึงปล่อยเข้าสมาธิไปจนกว่าจะสมาธิจะถอยออกมาเองจึงมาพิจารณาพระไตรลักษ์ ขอเรียนถามว่าพอเข้าสมาธิ ลมหายใจหายไป คำภาวนาหายไป อารมณ์ดิ่งนิ่ง หูดับ วิธีการถอยทำอย่างไรครับ หรือกำหนดอย่างไรครับ อนุโมทนาบุญกับทุกท่านครับ
     
  13. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +333
    ศีล อบรมให้เกิด สมาธิ
    สมาธิ อบรมให้เกิด ปัญญา

    ถ้าสมาธิเต็มขั้นภูมิแล้วจะนึกถอยก็ถอยได้เอง
    ถ้าสมาธิยังไม่เต็มภูมิ ก็ให้ต้องรอมันอิ่มตัวเอง
    พอมันเริ่มอิ่มตัว มันจะเริ่มไหวตัวจะถอนออก
    คือเริ่มรู้สึกจิตไหวแล้ว ก็จับพิจารณาตรงนั้นได้เลย
     
  14. testykhun

    testykhun Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    281
    ค่าพลัง:
    +90
    คุณ dark ครับ ผมเคยนอนภาวนา จนตัวหาย หัวหาย แล้วแสงมันมาระเบิดข้างหน้า ดังตูม แล้วหูดัง อี๊~~~ เหมือนเสียงหูดับ เวลาระเบิดลงใกล้ๆ แล้วผมก็เป็นอำพาตชั่วคราว ตกใจ พยายามฝืนดันทุลังจะตื่นมาได้ ทุกวันนี้ไม่เคยกลับไปเข้าฌาณได้อีกแล้ว แม้แต่ฌาณหนึ่งก็ไม่สามารถทำได้ เป็นเวลาเกือบ 3 ปีแล้ว สลับไปฝึกกสิณ ก็จำนิมิตไม่ได้ แนะนำทีครับ ฮือๆ
     
  15. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ไม่ต้องใช้คำบริกรรมภาวนาก็ได้ครับ ถ้าถึงฌานที่มีองค์ ๓ ความตรึกถึงลม ความพิจารณาในลมจะหายไป แต่ลมไม่ได้หายไปครับ ถ้าจะวิจัยอัปปนาสมาธิกันจริงๆ ควรแบ่งรูปฌานเป็น ๕ ฌานครับ โดยฌาน ๑ จะแยกออกเป็น ๒ ฌาน คือ วิตกจะหายไปก่อน เหลือวิจาร เป็นฌาน ๒ แล้ววิจารหายไป สู่ฌาน ๓ (ฌาน ๒ ในการนับ ๔ ฌาน)

    ผู้ภาวนาควรทำทุกอย่างให้สบายๆครับ ไม่ต้องอยากได้อยากได้ อยากถึงอะไร ถ้าจับนิมิตที่เป็นภาพไม่ได้ ก็ไม่ต้องเกร็ง อาจเป็นจับลมหายใจเป็นนิมิตก็ได้ครับ เพราะถ้าไปเกร็งกับนิมิตที่เป็นภาพแล้วมันจำไม่ได้สักที มันจะเกิดความรำคาญใจเป็นโทสจิต หรือเกิดความฟุ้งซ่านเป็นโมหจิต ถ้าเกิดเพิ่มความอยากมีอยากได้เข้าไปอีกก็เกิดโลภจิตอีก อกุศลจิตทั้งหลายจะเป็นเหตุให้ไม่ถึงฌานครับ ต้องเป็นจิตที่เป็นกุศลและประกอบด้วยปัญญาเท่านั้น คือเห็นโทษของอกุศลจิต(เช่น นิวรณ์ทั้ง ๕) รู้ว่าจิตเป็นกุศลหรืออกุศล จึงจะสามารถระงับนิวรณ์ได้ครับ... สาธุครับ
     
  16. kikinlala

    kikinlala เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    4,939
    ค่าพลัง:
    +8,843
    อนุโมทนากับทุกท่านที่ฝักใฝ่ในธรรม และให้ธรรมะเป็นทานค่ะ สาธุ
     
  17. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +333
    <dl><dd>ฌานสูตร</dd></dl> <dl><dd>[๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐม</dd></dl> ฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาสนัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตน
    ฌานบ้าง ฯ
    <dl><dd>ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะ</dd></dl> อาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    เป็นโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า
    เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุ
    ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
    ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัดความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความ
    สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ
    จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
    ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือ
    ลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล
    ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆได้แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
    สงัดจากกาม ฯลฯบรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ...
    ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่อ
    อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่
    ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
    เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น
    เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    <dl><dd>ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะ</dd></dl> อาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น
    เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์
    ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์
    อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะ
    แห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิต
    ให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
    คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไป
    แห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จัก
    ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
    ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือ
    ลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล
    ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
    บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับ
    มาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    <dl><dd>ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะ</dd></dl> อาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้วดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงเพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจ
    ถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด
    เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะ
    แห่งอากาสานัญจาตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ
    นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพานเธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจาตนฌาน
    นั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอ
    ย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัม
    ภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไปด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ
    เหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน
    ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะ
    ไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจาตนฌาน ... เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ
    มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวความ
    สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้
    กล่าวแล้ว ฯ
    <dl><dd>ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะ</dd></dl> อาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌานบ้างดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
    บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณา
    เห็นธรรมทั้งหลายคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌาน
    นั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วย
    ธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็น
    ที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่ง
    อาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน
    ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความ
    ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของ
    นายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่
    พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
    เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็น
    อารมณ์ว่า อะไรๆหน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง
    เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อม
    น้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง ... นิพพาน
    เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ
    สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่พึงกลับจาก
    โลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรม
    นั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย
    อากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล
    สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีเท่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ
    เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติและฉลาดในการ
    ออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ
    <dl><dd>จบสูตรที่ ๕</dd></dl>
     
  18. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +333
    ฌานสำคัญต่อการแก้กิเลศ
    ถ้าไม่มีฌานซะแล้ว
    กิเลศก็แก้กันไม่ได้
    ศีล สมาธิ ปัญญา จำเป็นต้องมีครบ
     
  19. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    สังคีติสูตร ข้อ 233
    www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=11&A=4501&Z=7015

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มิถุนายน 2011
  20. ZeaBreeze

    ZeaBreeze สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2011
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +2
    ฌาณ4 นี่มีแสงสีเหลืองส้มด้วยหรือเปล่าครับ แบบสว่างไสวนานมาก เพิ่งเคยเจอครั้งแรกสำหรับแสงสีส้ม

    แต่ว่าลองถอยดู อธิษฐานไม่ได้ครับ

    อานาปานสติ สัมปจิตฉามิ

    ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...