<VSN><<<มาใหม่ สายเขาอ้อ อ.ชุม,อ.ปาล,อ.คง, สรุปรายการหน้า๑๐๓>>><NSV>

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย momotaro67, 25 ธันวาคม 2010.

  1. THANAT BOON

    THANAT BOON Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2011
    โพสต์:
    488
    ค่าพลัง:
    +48
    ได้เลยครับ..MO แต่...%%%%%%%%%%%%%.....ฮิๆๆๆๆๆๆๆๆ
     
  2. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    อะ แวะมาพิมพ์ตอนไหนเนีย...ไวจริง
     
  3. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    รายการใหม่จัดส่งให้แล้วนะครับเช้านี้ 6/7/54

    akachiro: EI527619238TH
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  4. akachiro

    akachiro เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    519
    ค่าพลัง:
    +1,327
    ครับพี่ ไม่ศุกร์ก็วันเสาร์คงได้บูชาท่านครับ
     
  5. THANAT BOON

    THANAT BOON Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2011
    โพสต์:
    488
    ค่าพลัง:
    +48
    แวะมาเยี่ยมน้องชายครับ....ไปทำงานก่อนนะ
     
  6. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    คร้าบบ พี่ ว่าแต่พระในรูปนะสวยดีนะ
     
  7. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    น่าจะประมาณนั้นครับท่าน
     
  8. akachiro

    akachiro เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    519
    ค่าพลัง:
    +1,327
    ไม่ครับพี่
    วันนี้บ่ายโมงกว่าก็ได้แล้ว ไปรษณีย์ไทยสุดยอดครับ วันเดียวถึง กทม.-ชม.
     
  9. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    ได้รับแล้วถูกใจนะครับ
     
  10. akachiro

    akachiro เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    519
    ค่าพลัง:
    +1,327
    ถูกใจครับ พระรักษาอย่างดี
    ตบะบารมีก็ดีครับ มีรุ่นน้องที่เคยทำงานที่บริษัทแล้วลาออกไป ปกติน้องไม่ค่อยทักหรอกครับ
    วันนี้แปลกมือไม้อ่อน ไหว้เราซะงั้น อิอิ
     
  11. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    โอ้.....ดีครับมีประสบการณ์ตั้งแต่วันแรกเลย แสดงว่าวัตถุมงคลนี้ถูกโฉลกกับตัวเราครับ
     
  12. akachiro

    akachiro เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    519
    ค่าพลัง:
    +1,327
    เมตตาก็ใช่ย่อยครับ
    ผมเคยห้อย เหรียญหลังสิงห์ของหลวงปู่ที่ผมเคารพอยู่องค์หนึ่ง เวลาเข้าหาเจ้านายจะโดนประจำ เลยต้องบูชาไว้ที่บ้าน ห้อยเข้าที่ทำงานลำบาก โดนแล้วบางทีก็ไม่เข็ดเข้าข้างตนเองว่ามันไม่เกี่ยว แต่ห้อยทีไรโดนทุกทีครับ

    โชคดีที่มาเจอสายวัดสาลีโขครับ ได้หลายอย่างในเหรียญเดียว
    เห็นพี่ลงไว้ตั้งนานแล้วไม่มีใครติดต่อบูชา สงสัยท่านรอเจ้าของตัวจริงละครับ
     
  13. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    ครับวัตถุมงคลสายสาลีโข จะจัดสร้างวัตถุมงคลตามตำราโบราณ เดิมทุกประการ สร้างและเสกมาอย่างดี เรี่องพุทธคุณครอบคลุมทุกประการครับ

    ส่วนเรื่องวัตถุมงคลรอเจ้าของตัวจริง เป็นเรื่องจริงครับ มงคลวัตถุที่ปลุกเสกตามตำราโบราณเดิมถูกต้อง จะมีเทพเทวาคุ้มครองครับ และเทพเทวาที่คุ้มครองนั้นก็จะเลือกผู้ที่รักษาวัตถุมงคลชิ้นนั้นได้ หรือมีบุญเกื้อหนุนกันมาแต่อดีต

    ขอให้ผู้รักษามงคลวัตถุนั้น มีศีล มีธรรม ยึดมั่นในพระรัตนตรัย ยิ่งจะช่วยส่งผลให้ให้ผู้ครอบครองมงคลวัตถุนั้น สำเร็จดังหวังทุกประการแล
     
  14. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    เหรียญมหาลาภ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    เป็นเหรียญโลหะ สีเงิน สร้างเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อและชื่อ พระสุธรรมยานเถร ทั้ง ๒ แบบเหรียญ ด้านหลังเหรียญหนึ่งเป็นยันต์เกราะเพชร และเขียนว่า ทำบุญต่ออายุ พ.ศ.๒๕๓๐ ส่วนด้านหลังอีกเหรียญหนึ่งเป็นรูปในหลวง ร.๙ และเขียนว่าทำบุญถวายพระราชกุศล ๒๕๓๐

    อาราธนา ด้วยพระคาถา
    ( ตั้ง นะโม ๓ จบ )
    “ อิทธิฤทธิ พุทธะนิมิตตัง ขอเดชะ เดชัง ขอเดชเดชะ จงมาเป็นที่พึ่ง แก่มะอะอุนี้เถิด ”

    อานุภาพ เด่นในเรื่องโชคลาภ หลวงพ่อท่านบอกไว้ว่า ให้พกเหรียญมหาลาภนี้ไว้ในกระเป๋า เงินทองจะไม่ขาดมือ...

    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • lpls1.jpeg
      lpls1.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      66.9 KB
      เปิดดู:
      146
    • lpls2.jpeg
      lpls2.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      67.8 KB
      เปิดดู:
      113
    • lpls3.jpeg
      lpls3.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      47.6 KB
      เปิดดู:
      102
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  15. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    [​IMG]
    หลวงพ่อแดงพุทโธ เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดถ้ำเขาเงินเมื่อ 69 ปีล่วงมาแล้ว (พ.ศ. 2545) ในสมัยท่านมีชีวิตอยู่ท่านเป็นพระวาจาสิทธิ์เชี่ยวชาญในทางวิปัสสนา ให้พรผู้ใดก็มักเป็นไปตามพรที่ท่านให้ ปกติท่านพูดใช้คำ "พุทโธ" เป้นประจำติดปากจนประชาชนทั่วไปเรียกชื่อท่านว่า หลวงพ่อแดงพุทโธ นอกจากนั้นหลวงพ่อแดงยังมีความชำนาญในทางไสยศาสตร์แสดงอภินิหารอย่างน่า มหัศจรรย์ เป็นที่เคารพนับถือและเป็นที่พึ่งของประชาชนทั่วไปจนกระทั่งบัดนี้

    ชาติกำเนิด
    ภูมิลำเนาของหลวงพ่อแดง เกิดที่บ้านแหลมน้ำ หมู่ที่ 9 ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ ... เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2379 บิดาชื่อนายหนู มารดาชื่อนางอ่อน
    เมื่อหลวงพ่อแดงเจริญวัยขึ้นพอที่จะศึกษาวิชาการได้แล้ว บิดาของท่านผู้เห็นการไกลก้ได้นำหลวงพ่อแดงไปฝากให้ศึกษากับ ท่านอาจารย์หลวงพ่อภารรัตน์แก้ว ณ สำนักวัดถ้ำเขาเงิน หลวงพ่อภารรัตน์แก้วท่านได้เอาใจใส่อบรมสั่งสอนจนมีความรู้ความชำนาญในภาษา ไทย และศึกษาภาษาขอม เมื่อมีความรู้ดีแล้วสมควรที่จะให้อุปสมบทเป็นภิกษุ ในสมัยนั้นภิกษุหลวงพ่อแดงได้ศึกษาธรรมวินัยจนแตกฉานแล้ว ก็ศึกษามุ่งตรงในทางวิปัสสนา โดยอาจารย์หลวงพ่อภารรัตน์แก้วให้การศึกษาอบรมจนเป็นที่ชำนาญ นอกจากศึกษาธรรมวินัย และปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดแล้ว อาจารย์หลวงพ่อภารรัตน์แก้วยังประสิทธิ์ประสาทเวทย์ศาสตร์และไสยศาสตร์ ให้หลวงพ่อแดงได้ศึกษา จนมีความชำนาญแสดงอภินิหาร ได้อย่างน่าอัศจรรย์จนเป็นที่นับถือเลื่องลือทั่วไปของประชาชน เมื่ออาจารย์หลวงพ่อภารรัตน์แก้ว มรณภาพแล้วหลวงพ่อแดงก็รับตำแหน่งเจ้าอาวาสแทนท่านอาจารย์ ในฐานะที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสก้ได้ปรับปรุงบูรณะวัดถ้ำเขาเงินให้มีความเป็น อยู่ดีขึ้นหลายประการ เป็นต้นว่าได้สร้างกุฏิเพื่มขึ้น และนอกจากนั้นหลวงพ่อแดงได้วางโครงการสร้างเจดีย์หน้าถ้ำเขาเงินไว้แต่ไม่ สำเร็จ การสร้างพระเจดีย์หน้าถ้ำนี้เพิ่งมาสำเร็จ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสถ้ำเขาเงิน และรับสั่งให้พระยาจรูญราชโภคากรเจ้าเมืองหลังสวนในสมัยนั้นเป็นผู้สร้างโดย พระองค์พระราชทานราชทรัพย์ดำเนินการ

    กิจวัตรของหลวงพ่อแดงพุทโธ
    โดยปกติท่านปฏิบัติธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นตัวอย่างที่ดีของบรรดาศิษย์ มีเมตตากรุณาแก่คนทั่วไป กิจวัตรประจำวันของท่าน เช่น บิณฑบาตเป็นประจำทุกวัน แม้ว่าตอนหลังพรรษาของท่านมากขึ้น และร่างกายของท่านทรุดโทรมไปตามภาวะของสังขารการบิณฑบาตนี้ ท่านมิได้ท้อถอยคงปฏิบัติเป็นประจำตลอดมา จนถึงชาวบ้านมีความสงสาร นำอาหารมาให้ท่านบิณฑบาตไกล้ๆ วัดและยังมีกิจวัตรการบำเพ็ญวิปัสสนา อีกอย่างหนึ่งที่หลวงพ่อแดงพุทโธท่านปฏิบัติเป็นประจำโดยเคร่งครัดเมื่อถึง กำหนดเวลา แม้ว่ามีแขกมาหาท่าน ท่านก็เข้าปฏิบัติกิจของท่านทันที จนเป็นที่ทราบกันทั่วไป นอกจากหลวงพ่อแดงพุทโธท่านปฏิบัติด้วยตนเองในวิปัสสนาแล้ว ท่านยังมีความเมตตาให้การฝึกอบรมพระภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกาให้เจริญ วิปัสสนาด้วย ดังนั้นสำนักวัดถ้ำเขาเงินของหลวงพ่อแดงจึงอบอวลไปด้วยธรรม เป็นสังฆารามที่เต็มไปด้วยสันติสุขโดยอาศัยสันติธรรมเป็นแนวทาง ยังมีกิจวัตรอีกอย่างหนึ่งที่หลวงพ่อแดงปฏิบัติเป็นประจำเช่นเดียวกันคือการ รับนิมนต์ ทั้งนี้ก็ด้วยความเมตตากรุณาของท่านเอง เมื่อใครนิมนต์ท่านไปเจริญพระพุทธมนต์หรือพิธีใดๆ อันเป็นมงคลหรืองานอวมงคล หลวงพ่อแดงพุทโธท่านไปในงานนั้นเป็นที่ชื่นชอบของชาวพุทธทั่วไป มีครั้งหนึ่งความเมตตาของท่านก่อให้เกิดความลำบากแก่หลวงพ่อคือ เนื่องจากสมัยนั้นมีอั้งยี่ดาษดื่นทั่วไป ได้มีบุคคลพวกหนึ่งได้มาอาราธนาขอศีลจากหลวงพ่อแดง ณ วัดถ้ำเขาเงิน เมื่อรับศีลแล้ว บุคคลของพวกนั้นก็กลับจากวัดไป ภายหลังทางราชการทำการปราบปรามคณะอั้งยี่ต่างๆ และคณะบุคคลที่อาราธนาหลวงพ่อให้ศีลก็เป็นอั้งยี่คณะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้หลวงพ่อแดงพุทโธจึงถูกทางการเพ่งเล็งกล่าวหาว่าเป็นผู้สนับ สนุนคณะอั้งยี่ ความจริงหลวงพ่อให้ศีลแก่บุคคลพวกนั้นด้วยเจตนาบริสุทธิ์เพื่อเฉลิมฉลอง ศรัทธา ด้วยเมตตาจิตของหลวงพ่อเท่านั้น มิได้มีเจตนาที่จะส่งเสริมบุคคลคณะนั้นไปในทางชั่วแต่ประการใด เพราะผู้รับศีลย่อมตั้งตนและถือปฏิบัติเป็นคนดี เพราะหลวงพ่อแดงสอนให้คนทำดีต่างหาก แต่เมื่อทางราชการเห็นเป็นอย่างนั้นก็เป็นกรรมของหลวงพ่อแดงพุทโธ จึงถูกทางราชการอาราธนาเข้ากรุงเทพฯ เพื่อทำการสอบสวนก่อนที่จะมีการสอบสวน ทางการได้ให้หลวงพ่อแดงพุทโธลาสิกขาบท และเมื่อได้สอบสวนเป็นที่แน่ชัดแล้ว ปรากฏว่าหลวงพ่อแดงพุทโธเป็นผู้บริสุทธิ์จึงพระยาวุฒิไกรชาญคดีธรรมการได้ จัดการให้หลวงพ่อแดงพุทโธอุปสมบทเป็นภิกษุตามเดิม ณ อุโบสทวัดสามปลื้มตอนนั้นหลวงพ่อมีพรรษา 45 พรรษา เมื่ออุปสมบทใหม่แล้วหลวงพ่อแดงพำนักอยู่วัดสามปลื้มครึ่งเดือน แล้วเดินทางกลับหลังสวน ตามที่หลวงพ่อแดงพุทโธเดินทางไปกรุงเทพฯ ครั้งนั้นมีศิษย์ตืดตามไปด้วยสามคน คือ นายหนู ศักดิ์แสง เวลานั้นอายุ 58 ปี และยังมีชีวิตอยู่ และนายเชื่อม นายศึก สองคนนี้เสียชีวตแล้วตามคำบอกเล่าของนายหนู ศักดิ์แสง ว่าเวลาที่หลวงพ่อแดงพุทโธพำนักอยู่ที่วัดสามปลื้มนั้นเป็นที่เคารพของพระยา วุฒิไกรชาญคดีธรรมการ และปรชาชนเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากภรรยาของพระยาผู้นี้ถึงกำหนดคลอดบุตรแล้วมีความเจ็บปวดใน การคลอดเป็นอย่างมาก แต่ไม่ยอมคลอดภรรยาของพระยาผู้นี้เจ็บปวดทรมานอยู่หลายวัน ต่อมาด้วยเมตตาจิตรของหลวงพ่อแดงพุทโธ ที่จะสองคุณโยมอุปฐากจึงได้นำน้ำมนต์เสดาะอันศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อไป ประพรมภรรยาของพระยาดังกล่าว ผลปรากฏว่าคลอดออกมาเรียบร้อยและสุขสบายทั้งมารดาและทารก นี่เป็นสาเหตุที่อภินิหารของหลวงพ่อแดงพุทโธ ปรากฏใต้ฟ้ากรุงเทพมหานคร

    เมื่อหลวงพ่อกลับถึงหลังสวนได้พำนักที่วัดน้ำฉ่า (วัดชลธารวดี ปัจจุบัน) ชั่วคราว เพราะหลวงพ่อแดงพุทโธเป็นที่ชอบพอถูกอัธยาศัยกับหลวงพ่อนวล เจ้าอาวาสวัดน้ำฉ่า หลวงพ่อแดงพักอยู่พอสมควรแล้วกลับมาอยู่ประจำวัดถ้ำเขาเงินตามเดิมจนวัยชรา แม้ว่าสังขารของหลวงพ่อแดงพุทโธไม่ค่อยอำนวยให้เกี่ยวกับการปฏิบัติกิจวัตร ประจำวันก็ตามแต่หลวงพ่อก็ไม่ได้ท้อถอยคงปฏิบัติกิจเป็นประจำ จนวาระสุดท้ายของหลวงพ่อมาถึงอันเป็นไปตามกฏแห่งกรรม


    มรณภาพ
    หลวงพ่อแดงพุทโธมรณภาพด้วยโรคชรา ในอาการนั่งสมาธิโดยสงบมีพรรษา 97 พรรษาเมื่อ พ.ศ. 2476 ยังความเศร้าโศกแก่บรรดาศิษยานุศิษย์ ญาติโยมและประชาชนทั่วไป เหตุที่มหัศจรรย์ก่อนที่หลวงพ่อแดงพุทโธจะมรณภาพคือท่านกำหนดรู้เวลามรณภาพ ของท่าน กล่าวคือในวันที่หลวงพ่อจะมรณภาพหลวงพ่อสั่งให้พระภิกษุคล้อย (ในกาลต่อมาเป็นผู้ใหญ่คล้อย ฉิ่งวังตะกอ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 ต.วังตะกอ) ไปแจ้งข่าวแก่พระครูภมร จริยคุณ ศิษย์ของหลวงพ่อผู้หนึ่ง ณ วัดสมุเขตตาราม ให้บอกว่าหลวงพ่อจะมรณภาพวันนี้ตอนบ่าย และสั่งไว้ว่า เมื่อหลวงพ่อมรณภาพแล้าให้จัดบูชาเพลิงศพของหลวงพ่อที่ต้นสารภีไกล้กับกุฏิ ของท่านเป็นที่น่าเสียดาย พระครูภมร จริยคุณ มาถึงตอนบ่ายช้าไปเพียงเล็กน้อย หลวงพ่อมรณภาพเสียแล้วเวลาประมาณบ่าย 2 โมง (14 นาฬกา) มิฉะนั้นคงจะได้ฟังเรื่องการดำเนินการบำเพ็ญศพจากปากของหลวงพ่อว่าควร ปฏิบัติอย่างไรจึงจะสมควร แต่ถึงอย่างไรก็ตาม พระครูภมรได้ปรึกษาญาติโยมพร้อมกันแล้วก็อาราธนาศพหลวงพ่อแดงพุทโธไปตั้ง บำเพ็ญกุศล ณ วัดสมุเขตตาราม 7 วัน 7 คืน เมื่อครบกำหนดแล้วให้เก็บศพไว้เพื่อเตรียมการบูชาเพลิงศพต่อไปเวลาล่วงเลยมา พอสมควร เมื่อพระครูภมรจริยคุณ ได้เตรียมเมรุเสร็จแล้วก็กำหนดการบำเพ็ญกุศล และจัดบูชาเพลิงศพหลวงพ่อแดงพุทโธ แต่ตอนที่ยกศพขึ้นเมรุ ปรากฏว่ายกศพไม่ขึ้นเป็นที่น่าอัศจรรย์ ผู้ที่ไปยกนั้นมีเหตุเป็นไปต่างๆ จนไม่สามารถยกศพขึ้นเมรุได้ เมื่อเกิดเหตุดังนั้นพระครูภมรจริยคุณระลึกถึงคำสั่งของหลวงพ่อแดงพุทโธได้ และดูเหมือนยังก้องโสตประสาทอยู่ว่า ให้นำไปบูชาเพลิงที่วัดถ้ำเขาเงินไกล้ต้นสารภี พระครูภมรจริยคุณ จึงตัดสินใจนำศพกลับมาบูชาเพลิง ณ วัดถ้ำเขาเงิน ส่วนอัฐิของหลวงพ่อแดงก็เก็บไว้เป็นที่เรียบร้อยจนเสร็จพิธีบารมีความดีที่ หลวงพ่อแดงพุทโธ ได้บำเพ็ญมาตามแนวทางพุทธศาสนา ตลอดเมตตาธรรมของหลวงพ่อที่มีแก่ชาวพุทธทั่วไปนั้น ได้ประมวลให้บรรดาศิษย์ของหลวงพ่อตลอดผู้ที่เคารพนับถือหลวงพ่อได้ยึดถือ เป็นแนวทางปฏิบัติ และน้อมระลึกถึงคุณงามความดีของหลวงพ่อตลอดมา

    หลังจากหลวงพ่อแดงพุทโธมรณภาพแล้ว ผู้ที่เคารพนับถือหลวงพ่อเชื่อกันว่าดวงวิญญาณของหลวงพ่อยังมีความเมตตาธรรม อยู่เนืองนิจ เมื่อมีเรื่องเหตุเดือดร้อนประการใดก็ตาม ก็บวงสรวงดวงวิญญารของหลวงพ่อให้ช่วยเหลือดลบันดาลให้พ้นทุกข์ และก็เป็นที่ประจักษ์ว่า เป็นความจริงสมความมุ่งหมาย จนเป็นที่เลื่องลือในอภินิหารในเมตตาธรรมของหลวงพ่อเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง นัก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ นายเขียน อบแพทย์ ผู้เป็นญาติของหลวงพ่อแดงพุทโธ ได้เสียสละเงินส่วนตัว 80 บาทจัดดำเนินการสร้างรูปปั้นของหลวงพ่อขึ้นไว้สำหรับประชาชนทั่วไปได้เคารพ โดยมีนาย นายแอบ ยอดอุดม เป็นช่างปั้นรูปปั้นหลวงพ่อแดงพุทโธจึงมีมาจนถึงปัจจุบัน

    [​IMG]
    อภินิหาร
    สำหรับอภินิหารของหลวงพ่อแดงพุทโธ สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นได้สอบถามจากบรรดาศิษย์ของหลวงพ่อตลอดจนผู้ไก ล้ชิดที่มีชีวิตอยู่ มีรายชื่อดังนี้ (พ.ศ. 2545)
    1. นายหนู ศักดิ์แสง ศิษย์ก้นกุฏิขณะอายุ 80 ปี (พ.ศ. 2545) อยู่หมู่ที่ 12 ต.ท่ามะพลา อ.หลังสวน จ.ชุมพร
    2. นายซ้อน เพชรโสม เป็นทั้งศิษย์และญาติ อยู่หมู่ที่ 1 ต.ท่ามะพลา อ.หลังสวน จ.ชุมพร
    3. นายพร้อม ศิริรัตน์ ศิษย์หลวงพ่อ อยู่หมู่ที่ 12 ต.ท่ามะพลา อ.หลังสวน จ.ชุมพร
    4. นายชวน ยิ่งคีรี ศิษย์ก้นกุฏิขณะอายุ 80 ปี (พ.ศ. 2545) อยู่หมู่ที่ 8 ต.ท่ามะพลา อ.หลังสวน จ.ชุมพร
    5. นายสุวรรณ ศิริรัตน์ ศิษย์หลวงพ่อ อยู่หมู่ที่ 4 ต.ท่ามะพลา อ.หลังสวน จ.ชุมพร
    6. นายอ้วน ขาวสมุทร ศิษย์หลวงพ่อ อยู่หมู่ที่ 3 ต.ท่ามะพลา อ.หลังสวน จ.ชุมพร

    1. หลวงพ่อแดงพุทโธรักษาโรคภัยด้วยนิ้วเพชร
    จากคำบอกเล่าของ นายหนู ศักดิ์แสง ว่านิ้วเพชรของหลวงพ่อไม่ตัดแต่ก็ยาวไม่ออก เมื่อใครเจ็บป่วยเป็นอะไรมาหาหลวงพ่อ เช่น เป็นฝี, ปวดท้อง, แผลเน่าเปื่อย เป็นต้น เมื่อมาถึงหลวงพ่อก็จะกล่าววาจาว่า "พุธโธจา พุทโธเอย" แล้วชี้ด้วยนิ้วเพชร ปรากฏว่าหายทุกรายไป
    มีอยู่ครั้งหนึ่ง เรื่องมีอยู่ว่าหลวงพ่อผู้หนึ่งไปตั้งกองตัดไม้ ณ ทุ่งแร่ หมู่ที่ 10 ต.วังตะกอ ได้ตั้งทับอยู่ไกล้หนองน้ำชื่อว่า หนองนาคบุค หนองนี้เป็นที่เลื่องลือว่า เป็บปราบโป่งเทพารักษ์สิงสถิตย์อยู่เฮี้ยนนักใครไปทำไม่ดีก็เป็นให้โทษทุก ราย จนเป็นที่หวั่นเกรงของชาวบ้านทุ่งแร่ยิ่งนัก เหตุเกิดในเช้าวันหนึ่งหลวงพ่อท่านไปตักน้ำแล้วล้างหน้าลงในหนองน้ำ ต่อมาก็ปรากฏว่าจมูกของท่านบวมโตใช้ยาอะไรรักษาก็ไม่ผ่อนคลายความเจ็บปวด อยู่หลายวัน หลวงพ่อผู้นี้นึกถึงหลวงพ่อแดงขึ้นได้ จึงมาหาหลวงพ่อแดงที่วัดถ้ำเขาเงิน พร้อมพูดว่า "ขรัวแดงที่เขาว่าเก่งนัก ลองชี้จมูกให้หายบวมสักที่" ทันไดหลวงพ่อก็กล่าวว่า "พุทโธๆ พุทโธเอย จาพุทโธ" พร้อมกับชี้ตรงไปที่จมูกพอลดนิ้วเพชรก็ปรากฏว่าจมูกที่บวมก็ผ่อนคลาย หายบวมโตลงทีละนิดๆ จนหายเป็นปกติเป็นที่อัศจรรย์ในความศักดิ์สิทธิ์ของนิ้วเพชรหลวงพ่อยิ่งนัก เป็นที่นับถือของ พระธรรมรามคณีฯ เป็นอย่างยิ่งและก็สมัยที่พระธรรมรามคณีสุปรีชา จัดหาไม้สร้างอุโบสถนั่นเองได้ให้คนงานมาตัดโค่นไม้ตะเคียนที่หน้าถ้ำเขา เงินริมตลิ่งสูงแม่น้ำหลังสวน ตรงที่ต้นตะเคียนปัจจุบัน เมื่อคนงานโค่นต้นตะเคียนตกลงไปในวังน้ำวัดถ้ำเขาเงิน ใช้คนเท่าไรก็ตามจนถึงร้อยๆ คนก็ดึงต้นตะเคียนไม่ขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้าคุณธรรมารามคณีฯ ซึ่งเคยเชื่อในอภินิหารของหลวงพ่อแดงพุทโธ ระลึกถึงหลวงพ่อแดงพุทโธ เมื่อระลึกถึงหลวงพ่อแดงพุทโธขึ้นมาได้จึงจัดให้คนงานทำเสลี่ยงไปนิมนต์หลวง พ่อแดงให้มาชี้ไม้ต้นตะเคียน หลวงพ่อรับนิมนต์แล้วก็ขึ้นนั่งบนเสลี่ยงคนหามมาสู่ท่าน้ำหาดวัดถ้ำเขาเงิน ครั้นมาถึงหลวงพ่อใช้ให้ นายแดง สัจจาครุฑ นำเชือกลงไปผูกไม้ตะเคียนแล้วให้คนงานช่วยกันดึง ต่อจากนั้นหลวงพ่อก็ยืนทำพิธีบริกรรมบนหาด ใช้นิ้วเพชรของหลวงพ่อชี้ไปที่ต้นตะเคียน ทันใดนั้นคนงานก้ดึงต้นตะเคียนลอยน้ำขึ้นสู่หาดทรายทันที สร้างความตื่นเต้นต่อประชาชนทั้งหลายตลอดทั้งเจ้าคุณพระธรรมารามคณีฯ ทำให้ชื่อเสียงของหลวงพ่อแดงพุทโธลือกระฉ่อนไปทั่ว เป็นเหตุให้ผู้เจ็บป่วยหลั่งไหลมาให้ท่านรักษาเพื่มขึ้นทุกวันทั้งใกล้และ ไกล

    2. หลวงพ่อแดงพุทโธเสกกระต่ายขูดมะพร้าวให้ชนกัน

    นายหนู ศักดิ์แสง ศิษย์ก้นกุฏิหลวงพ่อเล่าว่าถ้าวันใหนหลวงพ่ออารมณ์ดี ท่านก็ทดลองอภินิหารให้ดู วันหนึ่งตอนบ่ายหลวงพ่อให้ศิษย์ 2 คนไปจัดนำกระต่ายขูดมะพร้าวจากกุฏิแม่ชี กระต่ายไม้สองตัวนี้มีอวัยวะที่นายช่างจัดสร้างไว้ครบเมื่อมองจะเห็นมี หู ตา ปาก จมูก มีหาง เป็นต้น ได้มาแล้วหลวงพ่อให้ตั้งไว้ห่างกันประมาณสองวาแล้วเอาผ้าคลุมไว้ ต่อจากนั้นหลวงพ่อก็ทำพิธีปลุกเสกเป่าพลาง พรมน้ำหระพุทธมนต์พลางปรากฏว่ากระต่ายทั้งสองตัวต่างก็เดินอยู่ไปมา หลวงพ่อจึงใหเอาผ้าคลุมออกหลังจากนั้นกระต่ายทั้งสองตัวก็กระโดดเข้าชนกัน เป็นที่สนุกสนานของศิษย์วัดตลอดจนเป็นขวัญตาของภิกษุสามเฌรและชาวบ้านผู้ไป ชมในบารมีของหลวงพ่อแดง

    3. หลวงพ่อแดงพุทโธ ประจุอักษรวิเศษให้ศิษย์
    จากคำบอกเล่าของนายหนู ศักดิ์แสง เล่าว่าหลวงพ่อแดงท่านมีเมตตามอบอักขระวิเศษให้แกศิษย์เกือบทุกคน โดยหลวงพ่อเขียนอักษรตัวขอม เช่น ตัวมี นะ โม พุท ธา ยะ ลงบนกระดานชนวนแล้วให้ศิษย์เลือกตัวที่ชอบที่สุด เมื่อเลือกได้แล้วหลวงพ่อก็จะถามว่าจะเอาไว้ตรงไหน เช่น ไว้ที่หน้าผาก ที่แขน ที่หน้าอก เป็นต้น ถ้าเมื่อตอบหลวงพ่อว่าไว้ที่หน้าผาก อักษรตัวนั้นก็จะไปปรากฏอยู่ที่หน้าผากโดยไม่ต้องเขียนเลยแล้วก็หายไป เป็นวิธีประจุอักษรของหลวงพ่อ อักษรที่หลวงพ่อประจุประจุให้นี้เป็นอักษรวิเศษทางเมตตามหานิยม ถ้าศิษย์ผู้ใดต้องการให้อักษรปร่กฏชัดก็ได้ โดยยกมือประณมมือระลึกถึงหลวงพ่อแล้วยกมือขวาตบหน้าผากสามครั้ง อักษรที่ประจุไว้ก็ปรากฏเด่นชัด โดยเฉพาะของนายหนู ศักดิ์แสง ประจุไว้ที่หน้าผาก เป็นอักษรตัวพุท นายซ้อน เพชรโสม ตัวพุท ประจุไว้ที่หน้าผาก ผู้ใหญ่สุวรรณ ศิริรัตน์ ประจุตัวพุท ไว้ที่หน้าผาก เช่นเดียวกัน
    โดยเฉพาะของนายหนู ศักดิ์แสงได้แสดงให้อาจารย์ชุม ไชยคีรี อาจารย์หนังเหนียวชื่อดังทั่วเมืองไทยชมเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2511 ในโอกาสที่ อาจารย์ชุม ไชยคีรี มาดำเนินการสร้างรูปพระเครื่องหลวงพ่อแดงพุทโธ การแสดงขแงนายหนู ศักดิ์แสง ก็โดยยกมือประฌมระลึกถึงหลวงพ่อ ก้ปรากฏว่าอักษรตัวพุท ปรากฏชัดเจนที่หน้าผากท่ามกลางประชาชนผู้สนใจชมอภินิหารของหลวงพ่อ อาจารย์ชุม ไชยคีรี เห็นเช่นนั้นก็ปลาบปลื้มใจมากที่ดวงวิญญาณหลวงพ่อแม้ล่วงลับไปแล้วประมาณ 40 ปี ก็ยังต้อนรับท่านอย่างเมตตาจิต

    4. หลวงพ่อแดงพุทโธทำน้ำให้เป็นเหล้า
    จากคำบอกเล่าของนายซ้อน เพชรโสม ศิษย์ของหลวงพ่อแดงพุทโธผู้หนึ่งว่า วันหนึ่งมีชาวบ้านจำนวนมากมาช่วยงานหลวงพ่อเลื่อยไม้ทำกุฏิ พอตกตอนเย็นชาวบ้านเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามาก หลวงพ่อเห็นเช่นนั้นก็เกิดเมตตาคิดอยากให้ทุกคนหายเนื่อย จะเลี้ยงอาหารก็ไกลจากวัดอีกทั้งเป็นเวลาเย็นจะจัดอะไรเลี้ยงก็ไม่ทันกาล หลวงพ่อจึงสั่งให้คนงานตักน้ำมาใส่โอ่ง แล้วหลวงพ่อก็ทำพิธีปลุกเสกน้ำเสรจแล้วพูดว่า "เอาไปกินกันซิ แต่อย่ากินมากประเดี๋ยวจะเมา" พอหลวงพ่อพูดขาดคำ คนงานก็เข้ามาตักน้ำดื่ม ปรากฏว่าน้ำนั้นกลายเป็นน้ำเหล้าไปแล้ว ต่างคนก็ต่างดื่มกันอย่างสนุกสนานหายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเหมือนปลิดทิ้ง มีอยู่รายหนึ่งดื่มมากไปหน่อย เพื่อนต้องช่วยกันลากเข็นกลับบ้านนี่แหละอภินิหารของหลวงพ่อ ปลุกเสกน้ำเป็นเหล้า เป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป

    5. หลวงพ่อแดงพุทโธหายตัว
    จากคำบอกเล่าของนายกลับ รื่นฤทัย อยู่บ้านหมู่ที่ 1 ต.ท่ามะพลา นายกลับเล่าว่าตอนที่ตนบวชอยู่กับหลวงพ่อ วันหนึ่งหลวงพ่อเรึยกให้ไปหา เมื่อไปถึงก็เห็นหลวงพ่อนั่งอยู่หน้ากุฏิ เมื่อตนนมัสการแล้วก็นั่งสงบอยู่ หลวงพ่อบอกว่านั่งก่อนและให้หลับตาชั่วอึดใจด้วย พอลืมตาขึ้นมาก็ไม่เห็นหลวงพ่อ สำคัญว่าหลวงพ่อเข้าไปในกุฏิก็นั่งรออยู่ที่เดิมนั่นเองหลังจากนั้น หลวงพ่อก็พูดว่านี่แหละการกำบังกายหายตัว นายกลับ รื่นฤทัย บอกว่าขณะนั้นตนรู้สึกปลื้มปิติจนขนลุกซู่ไปทั้งตัว ด้วยเห็นอภินิหารของหลวงพ่อแดง และเล่าว่าศิษย์หลายคนตลอดชาวบ้านได้มีโอกาสชมอภินิหารแบบนี้เช่นกัน

    6. หลวงพ่อแดงพุทโธ สั่งให้ผู้ถูกงูกัดหายเจ็บปวด
    จากคำบอกเล่าของนายพร้อม ศิริรัตน์ ศิษย์ผู้หนึ่งของหลวงพ่อ อยู่บ้านหมู่ที่ 12 ต.ท่ามะพลา เล่าว่าเวลาตนบวชอยู่กับหลวงพ่อได้ถูกงูกะปะกัด มีความเจ็บปวดมากได้ไปหาหลวงพ่อให้ช่วยปัดเป่าให้ หลวงพ่อท่านพูดว่า "จาพุทโธเอย จาเอย" พูดแล้วใช้นื้วเพชรชี้ที่แผลงูกัด พร้อมกับออกคำสั่งว่าให้หายเจ็บเสีย ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นตนก็หายเจ็บปวดเป็นที่น่าอัศจรรย์ ต่อจากนั้นหลวงพ่อพูดว่า "ต่อไปถ้าถูกงูกัดแล้วให้ระลึกถึงท่านที่สั่งไว้ว่า หลวงพ่อสั่งไม่ให้เจ็บปวด" พรือถ้าใครถูกงูกัดก็ให้พูดเช่นเดียวกัน จนกระทั่งบัดนี้นายพร้อม ศิริรัตน์ ถูกงูกัดก็ไม่เคยเจ็บปวดเลยตลอดมาและถ้ามีใครถูกงูกัดมาหานายพร้อม ศิริรัตน์ ให้ช่วยปัดเป่า นายพร้อมก็ใช้คำสั่งของหลวงพ่อที่ว่า "ให้หลวงพ่อสั่งไว้ว่างูกัดไม่ให้เจ๊บปวด" ซึ่งก็หายทุกรายไปจนเป็นที่เลื่องลือของประชาชนทั่วไป

    ข้อมูลโดย : เซียนตุ่น

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_5632.jpg
      SAM_5632.jpg
      ขนาดไฟล์:
      214.5 KB
      เปิดดู:
      11,332
    • SAM_5634.jpg
      SAM_5634.jpg
      ขนาดไฟล์:
      171.3 KB
      เปิดดู:
      3,937
  16. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    พระรูปเหมือนหลวงพ่อแดง พุทโธ วัดถ้ำเขาเงิน พิธีใหญ่ชุมนุมศิษย์สายเขาอ้อ ปี2511

    รูปเหมือนลพ.แดง พุทโธ พิธีที่วัดถ้ำเขาเงิน ชุมพร ปี2511 ขุนพันธ์ฯเป็นประธานจัดสร้าง มีการสร้างวัตถุมงคลหลายพิมพ์ด้วยกัน เนื้อผงอาทิเช่นพิมพ์ขุนแผนใหญ่-เล็ก ปิดตา พระสีวลี พระทุ่งเศรษฐี ฯลฯ


    พระทำจากเนื้อดินผสมว่านเกสรศักดิ์สิทธิ์นานาชนิด เนื้อสีแดงปนม่วงหรือสีหมาก มีคราบน้ำว่านบนผิว

    พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง, หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน จ.พัทลุง, พระอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ, หลวงปู่หมุน วัดเขาแดงตะวันออก จ.พัทลุง, พระครูปลัดพวง วัดประสาทนิกร จ.ชุมพร, หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน จ.ชุมพร, อาจารย์ชุม ไชยคีรี เขาไชยสน จ.พัทลุง ปลุกเสกตามตำรับไสยเวทย์ของเขาอ้อ จึงเป็นที่มั่นใจได้ว่าใช้บูชาดีเด่นในทุกทาง
    [​IMG][​IMG]



    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_5361.jpg
      SAM_5361.jpg
      ขนาดไฟล์:
      136.5 KB
      เปิดดู:
      976
    • SAM_5368.jpg
      SAM_5368.jpg
      ขนาดไฟล์:
      138.2 KB
      เปิดดู:
      928
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2012
  17. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
  18. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    [​IMG]

    พระราชพุทธิรังษี (หลวงพ่อดำ นนทิโย) วัดมุจลินทวาปีวิหาร (ตุยง) จังหวัดปัตตานี


    พระราชพุทธิรังษี (หลวงพ่อดำ) ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ชาวไทยพุทธเลื่อมใสศรัทธาว่าท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระ ธรรมวินัย และมีวาจาศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันทางวัดมุจลินทวาปีวิหาร (วัดตุยง) ได้สร้างศาลาประดิษฐานรูปปั้นหลวงพ่อดำเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้เคารพสักการะ หลวงพ่อดำ มีนามเดิมว่า ดำ นามสกุล จันทรักษ์ เกิดวันเสาร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๗ ที่ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา บิดามีนามว่า หลวงจรานุรักษ์เขตร (พลับ จันทรักษ์) มารดามีนามว่า นางพ่วนเหนี่ยว จันทรักษ์ เด็กชายดำ จันทรักษ์ เริ่มการศึกษาที่บ้าน โดยเรียนกับบิดาจนอ่านออกเขียนได้ จนถึงอายุได้ ๑๙ ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดนาทับ ได้ศึกษาหนังสือขอม ทั้งขอมไทยและขอมบาลีจนบรรลุ ระหว่างที่เป็นสามเณรได้เกิดอาพาธจึงได้ลาสิกขาชั่วคราว เหตุผลเพราะยาโบราณต้องผสมสุรา เมื่อหายอาพาธแล้วจึงได้กลับมาอุปสมบทในขณะที่มีอายุ ๒๒ ปี ได้นามฉายาครั้งแรกว่า "นนฺทิยมาโน" ต่อมาได้เดินทางไปกรุงเทพฯ โดยได้ไปจำวัดที่วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์) วัดราชบพิธ ได้ทรงเปลี่ยนนามฉายาให้ใหม่เป็น "นนฺทิโย" ซึ่งเป็นคำนาม แปลว่า "ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความเพลิดเพลิน" แล้วทรงฝากให้ศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกสามัญและแผนกบาลีที่วัดมหาธาตุยุว ราชรังสฤษฎิ์ โดยมิได้เข้าสอบสนามหลวง โดยท่านได้เดินทางกลับปัตตานีอีกครั้ง มาประจำอยู่ที่วัดมุจลินทวาปีวิหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และได้เปิดสอนนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ขึ้นที่วัดมุจลินทวาปีวิหาร โดยท่านสามารถสอบนักธรรมชั้นตรีได้ ซึ่งข้อสอบทุกวิชาจะมีวิชาละ ๑๔ ข้อ (ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๐ เปลี่ยนข้อสอบเหลือเพียง ๗ ข้อเท่านั้น) ใครสอบผ่านได้จะต้องใช้ความเพียรและใข้สติปัญญาอย่างมาก หลวงพ่อดำ จำพรรษาที่วัดมุจลินทวาปีวิหารตลอดมา จนถึงวาระมรณภาพ

    โดยมีตำแหน่งและสมณศักดิ์ต่างๆ ดังนี้
    วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็นฐานานุกรมของพระครูพิบูลย์สมณวัตร (หลวงพ่อชุม) เจ้าอาวาสวัดมุจลินทวาปีวิหารที่ "พระใบฎีกา"
    วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ พระเทพญาณโมลี เจ้าคณะจังหวัดปัตตานี ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง "เจ้าคณะหมวดตุยง"
    วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระเทพญาณโมลี เจ้าคณะจังหวัดปัตตานี ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง "ผู้ช่วยเจ้าคณะแขวงตุยง"
    วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สัญญาบัตรเป็นที่ "พระครูกนิตสมณวัตร"
    วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งสาธารณูปการจังหวัดปัตตานี
    วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สัญญาบัตรเป็นพระราชาคณะ (เจ้าคุณ) ชั้นสามัญที่ "พระมุจลินทโมลี"
    วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดปัตตานี
    วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สัญญาบัตรเป็นพระราชาคณะ ชั้นราชที่ "พระราชพุทธิรังษี"

    พระราชพุทธิรังษี หรือหลวงพ่อดำ ได้บริหารคณะสงฆ์และงานก่อสร้างสังฆเสนาสนะตลอดถึงงานทุกอย่างเสร็จเรียบ ร้อยประหนึ่งปาฏิหาริย์ ทั้งนี้เป็นเพราะปาฏิหาริย์ประพฤติดีประพฤติชอบ โดยงานก่อสร้างแม้จะเต็มมือ แต่ก็ยังคงปฏิบัติสมณกิจอย่างสม่ำเสมอ และท่านยังได้เดินจงกรมตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. เป็นประจำ อีกทั้งยังเข้าห้องนั่งสมาธิตลอดมาจนถึงวาระสุดท้าย ท่านได้มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ รวมอายุได้ ๙๐ ปี พุทธศาสนิกชนส่วนมากเรียกท่านว่า "หลวงพ่อดำ" ชาวพุทธจากที่ต่างๆ เมื่อเดินทางมาจังหวัดปัตตานี มักแวะมาเคารพสักการะรูปเหมือนหลวงพ่อดำที่วัดมุจลินทวาปีวิหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ด้วยความรู้สึกที่เลื่อมใสศรัทธาตลอดมา


    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
    พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตก์ พระบรมราชินีนาถ
    ได้เสด็จมาเยี่ยมวัดมุจลินทวาปีวิหาร เป็นการส่วนพระองค์

    พร้อมนี้ได้สนทนาธรรมกับพระราชพุทธิรังษี (หลวงพ่อดำ นนฺทิโย)
    และทรงประทานเภสัชแด่หลวงพ่อดำ เจ้าอาวาสวัดมุจลินทวาปีวิหาร

    (วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙ )


    หลวงพ่อดำ (พระราชพุทธิรังสี) วัดมุจลินทวาปีวิหาร (วัดตุยง) เกจิดังของจังหวัดปัตตานี เหรียญนี้เป็นเหรียญรุ่นที่ 4 ของท่านสร้างเมื่อพ.ศ. 2522 ทันท่านปลุกเสกครับ เหรียญสภาพสวยมากครับ



    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_5555.jpg
      SAM_5555.jpg
      ขนาดไฟล์:
      216.2 KB
      เปิดดู:
      104
    • SAM_5557.jpg
      SAM_5557.jpg
      ขนาดไฟล์:
      258.5 KB
      เปิดดู:
      98
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2011
  19. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    ท่านเจ้าคุณโพธิ์ วัดชัยพฤกษมาลา

    วัดชัยพฤกษมาลา เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ปากคลองมหาสวัสดิ์ เลขที่ 2 หมู่ 4 ถนนชัยพฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน กทม. เดิมขึ้นกับตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ปัจจุบันขึ้นกับเขตตลิ่งชัน กทม. วัดชัยพฤกษมาลาเป็นวัดโบราณ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่าวัดชัยพฤกษ์ ต่อมากลายเป็นวัดร้างก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อสร้างกรุงใหม่ๆ นั้นได้สร้างกำแพงป้องกันพระนคร ขณะทำกำแพงพระนครด้านหนึ่งนั้นได้ขอพระบรมราชานุญาตไปรื้อเอาอิฐจากวัด ชัยพฤกษ์มาก่อสร้างทำกำแพงพระนคร (ใบประชุมพงศาวดารภาคที่ 25 ว่ารื้อเอาอิฐมาสร้างกำแพงกรุงรัตนโกสินทร์)

    ครั้นถึงปีพ.ศ.2328 เมื่อก่อสร้างกำแพงพระนครและพระราชมณเฑียรเสร็จลงแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร บูรณะสถาปนาวัดขึ้นใหม่ในที่เดิม ทำนองเป็นผาติกรรมตามประเพณี และเพื่อความเป็นสิริมงคล เมื่อรับพระราชโองการแล้ว สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ได้ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นค่าไม้ อิฐ ปูน ให้ข้าในกรมไปสร้างพระอุโบสถ ภายในมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นพระประธาน กับรูปพระอัครสาวก 2 องค์ กับพระวิหารอีกหลังหนึ่ง ซึ่งภายในมีพระพุทธรูป 4 องค์ นอกจากนี้ ยังสร้างอาคารสถานที่ซึ่งเป็นส่วนประกอบจำเป็นสำหรับวัด มีศาลาการเปรียญและหอระฆังอย่างละหนึ่งหลัง และปลูกกุฏิสำหรับพระสงฆ์จำพรรษา แต่การก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์เนื่องจากสภาวะบ้านเมืองยังไม่ปกติ ยังมีสงครามมาโดยตลอด แม้กระนั้นก็ทรงถือพระอารามแห่งนี้อยู่ในพระอุปถัมภ์ เมื่อถึงฤดูกฐินได้เสด็จฯ ทรงถวายผ้าพระกฐินบ้าง พระราชทานผ้าไตรจีวรบริขารให้พระโอรส-พระราชธิดาทรงนำไปถวายแทนบ้างเป็นเช่น นี้ทุกปีมิได้ขาด
    ครั้นพอถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วัดชัยพฤกษ์มาอยู่ในบัญชีพระอารามหลวง และทรงมอบให้เป็นพระธุระของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ เสด็จฯ ไปทรงจุดเทียนพรรษาและถวายผ้าพระกฐินทุกปี

    พอถึง พ.ศ.2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงบริจาคพระราชทรัพย์เป็นอันมากหลายร้อยชั่งให้ปฏิสังขรณ์วัดชัยพฤกษ์และ วัดเขมา และพระราชทานนามใหม่ทั้งสองพระอารามว่า วัดชัยพฤกษมาลา และวัดเขมาภิตาราม ส่วนวัดชัยพฤกษมาลานั้นมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสเป็นแม่กองทำให้จัดซื้อสวนถวายเพิ่มเข้าให้ใหญ่ กว้างออกไป และขุดคูรอบวัด ให้สร้างพระอุโบสถ พระวิหารของค้างเดิม ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ให้สำเร็จ แล้วทรงสร้างศาลาการเปรียญลงในข้างหน้าระหว่างพระอุโบสถและพระวิหาร มีพระเจดีย์ใหญ่และพระเจดีย์น้อยในสี่ทิศ สร้างหมู่กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ หอระฆัง สะพานท่าน้ำ สะพานข้ามคลอง พร้อมมูลบริบูรณ์แล้วเสร็จทุกอย่าง

    ทีนี้มาพูดกันถึงพระเครื่องที่พบที่วัดชัยพฤษมาลากันบ้าง คือเมื่อปีพ.ศ. 2509 ได้มีพระเครื่องแตกกรุมาจากวัดชัยพฤกษมาลา อันเนื่องมาจากทางวัดได้รื้อหลังคาพระอุโบสถที่ชำรุดทรุดโทรมเพื่อซ่อมแซม ได้พบพระเครื่องเนื้อดินเผาบนเพดานตรงบริเวณพระเกศของพระประธาน ทางวัดจึงเก็บรวบรวมได้หลายปี๊บ ประมาณหลายหมื่นองค์ พระเครื่องเหล่านี้สร้างโดยท่านเจ้าคุณโพธิ์ สันนิษฐานว่าสร้างในราวปีพ.ศ.2443 เมื่อครั้งท่านยังเป็นเจ้าอาวาส วัดบางอ้อยช้าง ตำบลบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ในปีนั้นท่านเจ้าคุณโพธิ์ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น "พระครูนนทปรีชา" และได้สร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาแจกแก่ลูกศิษย์ เล่าขานกันว่าท่านสำเร็จผงและเป็นพระคณาจารย์ผู้เรืองวิทยาคุณ ต่อมาในปีพ.ศ.2444 ท่านเจ้าคุณโพธิ์ได้เป็นพระอุปัชฌาย์และก็ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ชัยพฤกษมาลา เชื่อกันว่าท่านได้นำพระเครื่องเนื้อดินเผาดังกล่าวมาไว้ที่วัดชัยพฤกษมาลา ด้วย ในปีพ.ศ.2455 ท่านเจ้าคุณโพธิ์ก็ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ "พระนันทวิริยะ" และในปีพ.ศ.2459 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี ท่านเจ้าคุณโพธิ์ มรณภาพเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2469 สิริอายุได้ 76 ปี
    [​IMG][​IMG]
    เหรียญหลวงปู่โพธิ์ วัดชัยพฤกษ์มาลา ที่ระลึกในคราวงานฝังลูกนิมิตร ปี2522 ตลิ่งชัน เหรียญสวยมากครับ


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_5569.jpg
      SAM_5569.jpg
      ขนาดไฟล์:
      124.8 KB
      เปิดดู:
      1,043
    • SAM_5566.jpg
      SAM_5566.jpg
      ขนาดไฟล์:
      127.5 KB
      เปิดดู:
      974
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  20. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,458
    [​IMG]
    วัดป่าตึง อยู่ในหมู่บ้านป่าตึง หมู่ 7 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ สร้างเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2425 ปัจจุบันอายุ 111 ปี โดย ครูบาปินตาพบว่าสถานที่แห่งนี้เดิมเป็นวัดร้าง คู่กับวัดเชียงแสน ก่อนที่จะสร้างวัดนี้ขึ้นมาได้พบพระบรมสารีริกธาตุ และของมีค่ามากมายหลายอย่าง อาทิ วัตถุโบราณ พระพุทธรูป เครื่องถ้วยชามสังคโลก บริเวณวัดมีโบราณวัตถุอยู่ทั่วไป และมีการพบเจอเตาเผาเครื่องถ้วยชามสังคโลกที่มีการสร้างขึ้นมาในอดีตเป็น ร่องรอยทางประวัติศาสตร์ นอกจากบริเวณวัดแล้วตามป่าเขารอบ ๆ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 10,000 ไร่ ก็จะมีเตาเผาสังคโลกอยู่ทั่วไป
    วัดป่าตึงได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 พฤษศจิกายน 2526 ได้ดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถหนังหนึ่ง และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระเสด็จพระราชดำเนิน ยกช่อฟ้า ตัดลูกนิมิต และพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ ภปร ติดหน้าบันพระอุโบสถด้วย เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2532 วัดป่าตึงเจริญรุ่งเรืองมาตลอดทุกวันนี้
    นอกจากวัดป่าตึงจะเป็นวัดที่มีประวัติศาตร์ที่ยาวนานแล้ว วัดป่าตึงยังเคยมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง หลวงปู่หล้า มีชื่อ หล้า ฉายา จนฺโท (อ่านว่าจันโท) ฉายา หรือชื่อที่อุปัชฌาย์ คือ พระเถระผู้บวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนาตั้งให้ท่านได้แก่ “จนฺโท” นั้นแปลว่า พระจันทร์ การตั้งฉายาเป็นไปตามวันเกิด ซึ่งท่านเกิดในวันพฤหัสบดี แต่ปัจจุบันท่านได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว แต่ทางวัดยังคงเก็บรักษาศพของท่านเอาไว้อยู่ นับเป็นเรื่องที่น่าแปลกที่ศพของท่านไม่เน่าเปื่อย ศพของท่าเก็บรักษาไว้ในโรงแก้ว เราสามารถมองเห็นได้ เก็บไว้ในศาลาการเปรียญ ให้ผู้ที่มีศรัทธาได้บูชา
    [​IMG]

    ประวัติหลวงปู่หล้า
    หลวง ปู่หล้า มีชื่อ หล้า ฉายา จนฺโท (อ่านว่าจันโท) ฉายา หรือชื่อที่อุปัชฌาย์ คือ พระเถระผู้บวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนาตั้งให้ท่านได้แก่ "จนฺโท"นั้นแปลว่า พระจันทร์ การตั้งฉายาเป็นไปตามวันเกิด หลวงปู่หล้าเกิดวันพฤหัสบดี

    เกิดที่บ้านปง

    หลวง ปู่หล้า เกิดวันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 11 (เดือนเกี๋งเหนือ) ตรงกับวันที่ 22 กันยายน 2411 ซึ่งเป็นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) แต่หากดูจากพระประวัติเมืองเชียงใหม่แล้ว อยู่ในช่วงผลัดเปลี่ยนเจ้าผู้ครองนครจากเจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 7 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ หรือ "เจ้าหลวงตาขาว"(พ.ศ.2426 - 2439 เป็นเจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 8 คือ เจ้าอินทวโรสสุริยวงศ์ (พ.ศ. 2442-2452)
    หลวง ปู่หล้า เกิดที่บ้านปง ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ (บ้านปงอยู่ห่างจากวัดป่าตึงประมาณ 1 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้) สำหรับบริเวณนี้ ในอดีตเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาของภาคเหนือ จึงปรากฎเตาเผาและเครื่องปั้นดินเผา โดยอาจารย์ไกรศรี นิมมนานเหมินท์ สำรวจเตาเผา เมื่อ พ.ศ.2495 มีจำนวนถึง 83 เตา จึงได้ทำการเผยแพร่ในปี พ.ศ.2503 ในชื่อ "เตาสันกำแพง" ผลผลิตส่วนหนึ่งชาวบ้าน และอาจารย์ไกรศรี ได้นำถวายหลวงปู่หล้าไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัดป่าตึง เพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษาต่อไป

    สกุลบุญมาคำ

    โยมพ่อ ชื่อ นายเงิน โยมแม่ชื่อ นางแก้ว นามสกุลบุญมาคำ เหตุที่มีนามสกุลนี้ หลวงปู่หล้าเล่าว่า "เพราะพ่ออุ้ย (ปู่) อบุญมา แม่อุ๊ย (ย่า) ชื่อคำ เมื่อมีการนามสกุล กำนันจึงตั้งให้เป็น "บุญมาคำ" ทุกคนทั้งโยมพ่อโยมแม่ พ่ออุ้ย แม่อุ้ย เป็นชาวบ้านปงมีอาชีพทำนา มีรากอยู่ที่บ้านปงมานานแล้ว หลวงปู่หล้าเป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัว จึงมีชื่อเดิมว่า "หล้า" ซึ่งหมายถึงสุดท้าย หลวงปู่หล้า มีพ่อน้อง 4 คน เสียชีวิตหมดแล้วได้แก่
    1. นายปวน
    2. แม่แสง
    3. นางเกี๋ยงคำ
    4. นายคำ
    หลวง ปู่หล้ากำพร้าพ่อตั้งแต่อายุ 1 ขวบเท่านั้น โยมแม่จึงเลี้ยงดูบุตรทั้งหมดเพียงลำพังตนเอง หลวงปู่หล้าเล่าให้ฟังว่า "การเลี้ยงลูกสมัยก่อน ต้องช่วยกันทำงาน ช่วยเลี้ยงวัว ทำผิดก็ถูกเฆี่ยน ทำพลาดก็ถูกเอ็ด” เด็กวัดป่าตึง

    หลวงปู่หล้า หรือเด็กชายหล้า บุญมาคำ อายุได้ 8 ขวบ โยมแม่ก็นำไปฝากกับครูปินตา เจ้าอาวาสวัดป่าตึง ให้เป็นเด็กวัด (สมัยก่อนชาวบ้านนิยมฝากบุตรชายให้เป็นเด็กวัดเพื่อศึกษาเล่าเรียน) หลวงปู่หล้าจึงได้เรียนหนังสือเป็นครั้งแรกกับครูบาปินตา แต่ขณะนั้นหลวงปู่หล้าเรียนหนังสือพื้นเมือง (ช่วงนั้นตรงกับ พ.ศ. 2450เกิดความขัดแย้งระหว่างพระสงฆ์พื้นเมือง ภายใต้การนำของครูบาฝายหิน เจ้าอาวาสวัดฝายหิน เชียงใหม่ ซึ่งได้รับสถาปนาเป็นปฐมสังฆนายกองค์ที่ 1 พ.ศ. 2438กับพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตนิกาย นำโดยมหาปิงเจ้าคุณนพีสีศาลคุณ จนมีการกล่าวขวัญเรื่องนี้ว่า "จะไหว้ตุ๊ป่า หรือ จะไหว้ตุ๊บ้าน" คำว่า ตุ๊ หมายถึง พระจนความทราบถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญานวโรส สมเด็จพระสังฆราช และรัชกาลที่ 5 จึงทรงมีรับสั่งให้อาราธนาครูบาฝายหินลงไปเฝ้าใน

    ปี พ.ศ. 2499 ขณะนั้นครูบาฝายหินมีอายุ 75 ปี ครูบาฝายหินได้ถวายพระพรให้ทรงทราบเป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่ง โปรดเกล้าถวายสมณศักดิ์ตำแหน่งพระราชาคณะให้ครูบาฝายหินเป็นพระอภัยสารทะ สังฆปาโมกข์ ฉะนั้น ปีที่หลวงปู่หล้าไปเป็นเด็กวัดป่าตึงนั้น ทรงราชการส่งเสริมให้ทุก ๆ วัดจัดการศึกษาแก่กุลบุตร โดยยังคงผ่อนผันให้ใช้อักษรพื้นเมืองในการเรียนการสอน)

    สู่ร่มสกาวพัสตร์

    หลวง ปู่หล้าเป็นเด็กวัด ศึกษาเล่าเรียนกับครูบาปินตา จนกระทั้งอายุ 11 ขวบ ก็บวชเป็นสามเณรในช่วงเข้ารุกขมูล เข้ากรรมอยู่ในป่า มีผู้บวชพร้อมกันครั้งนั้น7 คน ครูบาปินตาเป็นผู้บวชให้ทุกคนต้องไปอยู่รุกขมูลในป่าช้า การเข้ากรรม หรืออยู่กรรม หรือ การไปอยู่รุกขมูล เรียกว่าประเพณีเข้าโสสานกรรมซึ่งเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของพุทธศาสนา มักทำกันในบริเวณป่าช้าที่อยู่นอกวัด ผู้เข้าบำเพ็ญโสสานกรรมต้องถือปฏิบัติเคร่งครัดเพื่อต้องการบรรเทากิเลส ตัณหา ความห่วงต่อวัตถุ ต้องสร้างความดีด้านจิตใจให้เกิด

    นักอนุรักษ์นิยม

    ขณะ ที่บวชเป็นสามเณรอยู่นั้น หลวงปู่หล้ามิได้เรียน แต่เพียงหนังสือพื้นเมืองเท่านั้นแต่ได้เรียนหนังสือไทยด้วย โดยเรียนกับพระอุ่น ซึ่งเคยไปจำพรรษาที่วัดอู่ทรายคำในเมืองเชียงใหม่ และเรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนประจำมณฑลพายัพ (ปัจจุบันคือโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย) แต่ครูบาปินตาไม่สนับสนุนให้พระเณรเรียนหนังสือไทย ในที่สุดพระอุ่นจึงต้องเลิกสอน (ช่วงนั้นทางการพยายามให้ทุกท้องถิ่นเรียนรู้ภาษาไทยภาคกลาง ซึ่งโรงเรียนเคร่งครัดมาก ผู้ใดพูดภาษาพื้นเมืองต้องถูกปรับ พระสงฆ์พื้นเมืองกลุ่มหนึ่งต้องการรักษาเอกลักษณ์ทางภาษาของท้องถิ่นไว้ จึงไม่สนับสนุนการเรียนภาษาไทยภาคกลางและครูบาปินตาก็เป็นผู้หนึ่งด้วย)

    เข้าเมืองเชียงใหม่

    หลวง ปู่หล้าศึกษาเล่าเรียนทั้งอักขรวิธี และธรรมปฏิบัติกับครูบาปินตาเรื่อยมาจวบจนกระทั้งอายุ 18 ปี จึงเดินทางเข้าไปจำพรรษาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ เพื่อเรียนนักธรรมที่วัดเชตุพน ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมือง ซึ่งการเดินทางสมัยก่อนลำบากมากไม่มีถนนหนทาง ไม่มีรถรา พาหนะใด ๆ ก็ไม่มี จะไปไหนก็ต้องเดินไป อย่างเช่นจะไปเชียงใหม่ ชาวบ้านปงก็ต้องออกเดินทางตั้งแต่ตี 2 ก็จะไปสว่างเอาที่เชียงใหม่ หลวงปู่หล้าเล่าว่า "หลวงปู่หล้าก็ต้องเดินเหมือนกัน"

    อุปสมบท

    หลวง ปู่หล้าเรียนนักธรรมที่วัดเชตุพนเพียง 1 ปี ยังไม่ทันสำเร็จ ก็ต้องเดินทางกลับวัดป่าตึง เพื่อปรนนิบัติครูบาปินตาที่ชราภาพ ด้วยความกตัญญู นอกจากปรนนิบัติแล้วก็ติดตามครูบาปินตาไปตามที่ต่าง ๆ ด้วย เมื่ออายุครบ 20 ปี ก็อุปสมบทในอุโมสถน้ำ ปัจจุบันอุโบสถน้ำหลังนี้ถูกรื้อไปแล้ว (การอุปสมบทในอุโบสถน้ำ หรือการอุปสมบทแบบนทีสีมา หรืออุทกกุกเขปสีมาหรือแพโบสถ์ในน้ำ เป็นประเพณีที่รับมาจากสำนักมหาวิหารของลังกา สมัยโบราณนิยมกันมาก พระสุมนเถระผู้นำพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทมาเผยแพร่ในล้านนา เมื่อ พ.ศ.1912 สมัยพระเจ้ากือนากษัตริย์องค์ที่ 6 พ.ศ.1894-1928 ได้กระทำอุปสมบทกุลบุตรชาวล้านนาครั้งแรกด้วยวิธีสมมตินทีสีมา หรือแพโบสถ์ในน้ำที่แม่ปิง บริเวณใกล้วัดจันทร์ภาโน)การอุปสมบทของหลวง ปู่หล้าในครั้งนั้น ครูบาปินตาเป็นพระอุปัชฌาย์ ครูบาอิ่นเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระญาณวิชัยศรีเป็นพระอนุสาวนาจารย์

    นมัสการครูบาศรีวิชัย

    หลวง ปู่หล้าได้ติดตามพระญาณวิชัย เจ้าคณะตำบลออนใต้ ไปนมัสการครูบาศรีวิชัย ที่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ตอนนั้นหลวงปู่หล้าอายุ 23 ปีได้เดินทางด้วยเท้าจากท่าเดื่อ ท่าตุ้ม บ้านโฮ่ง ไปถึงบ้างปาง ใช้เวลาเดินทางถึง 2 วันและ 2 คืน แต่เมื่อไปบ้านปางปรากฎว่า ครูบาศรีวิชัยไปที่พระธาตุดอยเกิ้ง หลวงปู่หล้าจึงรออยู่ที่บ้านปาง 2 คืน ครูบาศรีวิชัยจึงได้เดินทางกลับ หลวงปู่หล้าจึงได้เข้านมัสการแล้ว ได้เดินทางกลับวัดป่าตึง แต่ขากลับระหว่างเดินทางหลวงปู่หล้าฉันอาหารผิดสำแดงทำให้ท้องเสีย ถึงกับอาพาธนาน 1 เดือน ต้องพักกลางทางที่ฮอด (อำเภอ) และที่สบขาน ครูบาศรีวิชัยมาจำพรรษาที่วัดสิงห์ เมืองเชียงใหม่ หลวงปู่หล้าได้ไปนมัสการอีกหลายครั้ง

    ผู้สอนวิปัสสนากรรมมัฏฐาน

    หลวง ปู่หล้าได้เรียนวิปัสสนากรรมมัฏฐาน กับครูบาสุริยะ วัดจอมแจ้ง ขณะที่ครูบาสุริยะจะไปวัดจอมแจ้งได้รับนิมนต์ไปจำพรรษาที่วัดเชียงแสนตำบล ออนใต้ อำเภอสันกำแพง (ครูบาสุริยะ วัดจอมแจ้ง เป็นศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งของครูบาศรีวิชัย ซึ่งต่อมาถูกทางการบังคับให้ลาสิขา เพราะครูบาศรีวิชัยเป็นผู้บวชให้ ส่วนวัดเชียงแสนเป็นวัดเก่าที่สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 2031 ตั้งอยู่ห่างจากวัดป่าตึงเข้าไปประมาณ 2 กม. แต่ปัจจุบันเป็นวัดร้างพระพุทธรูปองค์สำคัญของวัดเชียงแสน คือพระเจ้าฝนแสนห่า และหลักศิลาจารึกของหมื่นดาบเรือน ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่วัดป่าตึง)

    สูญเสียครั้งใหญ่

    หลวง ปู่หล้าปรนนิบัติครูบาปินตา จนกระทั้งล่วงเข้าปี พ.ศ.2467 ครูบาปินตาก็มรณภาพด้วยวัย 74 ปี ขณะนั้นหลวงปู่หล้า อายุ 27 ปีเท่านั้นเรียกว่าเป็น "พระหนุ่ม" ก็ต้องรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าตึงต่อจากครูบาปินตาต่อมาอีก 4 ปี หลวงปู่หล้าอายุ 31 ปี โยมแม่ซึ่งอายุ 63 ปีก็เสียชีวิตไปอีกหลังโยมพ่อ 30 ปี

    เจ้าอาวาสวัดป่าตึง

    หลวงปู่หล้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าตึง พ.ศ.2467 ต่อจากครูบาปินตา เจ้าอาวาสรูปแรก และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลออนใต้ พ.ศ.2476 (ช่วงรัชกาลที่ 7 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 1 ปี มีการยุบเลิกมณฑลพายัพและการบริหารราชการระดับมณฑล คงเหลือแต่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน)หลวงปู่หล้าได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุ 40 ปี

    ทำถนนขึ้นดอยสุเทพ

    ปี พ.ศ. 2477 ครูบาศรีวิชัยได้อำนวยการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ โดยใช้เวลา 5 เดือน 22 วัน ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2477 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2478ผู้มีศรัทธาต่อครูบาศรีวิชัยทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาส โดยเฉพาะพวกกเหรี่ยงจากอำเภอลี้จังหวัดลำพูน ได้มาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก ระยะทางที่สร้าง 11,530 กม.

    หลวงปู่หล้าเดินทางไปร่วมสร้างถนนขึ้น ดอยสุเทพตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มสร้างมีคณะศรัทธาจำนวนหนึ่งติดตามไปจากวัดป่า ตึง หลวงปู่หล้าเล่าว่า "การสร้างถนนมีการแบ่งงานกันตามกำลังของผู้ไปร่วม ชาวบ้านที่ติดตามไปจากวัดป่าตึงทำได้ 5 วา ใช้เวลา 14 วัน พวกที่ไปจากเมืองพานทำได้60 วา"


    พระครูจันทสมานคุณ

    หลวง ปู่หล้าได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็น "พระครูจันทสมานคุณ" ปี พ.ศ. 2504 อายุ 63 ปี ท่านได้เดินทางไปกรุงเทพ เพื่อรับพระราชทานพัดยศจากสมเด็จพระสังฆราช พระวันรัต (ปลด กิตติโสภโณ วัดเบญจมบพิตร ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช)
    การเดินทางไปกรุงเทพนับเป็น ครั้งที่ 3 โดยครั้งแรก พ.ศ.2499 ติดตามครูบาอินถา เจ้าอาวาสวัดเชียงมั่น ครั้งที่สอง พ.ศ. 2500 เข้าอบรมเกี่ยวกับการปกครองของคณะสงฆ์ ที่วัดสามพระยา ได้มีโอกาสร่วมในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษด้วย

    ครูบาปินตา

    หลวง ปู่หล้าได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับครูบาปินตา พระอุปัชฌาย์ว่า "ครูบาปินตา เป็นคนบ้านแม่ผาแหน บวชเรียนตั้งแต่เป็นสามเณร เป็นศิษย์ของครูบากันธิยะ วัดแม่ผาแหน ท่านเป็นผู้สร้าง วัดป่าตึงองค์แรก หลวงปู่หล้าเป็นเจ้าอาวาส องค์ที่ 2 เมื่อตอนที่สร้างวิหาร ครูบาปินตาต้องขออนุญาตเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เพื่อตัดไม้สักมาสร้าง ครูบาปินตาเป็นพระที่เคร่งครัด ในการวิปัสนากรรมมัฎฐาน ฉันมื้อเดียวตลอดชีวิต มีความเชี่ยวชาญในหนังสือพื้นเมือง เป็นผู้สอนหนังสือพื้นเมืองให้หลวงปู่หล้า เพราะไม่ต้องการให้มีการเรียนการสอนภาษาไทยภาคกลางในวัด แต่ต้องการให้พระเณรเรียนหนังสือพื้นเมือง หลวงปู่หล้าบวชเมื่อครูบาปินตาอายุ 59 ปี และมรณภาพอายุ 74 ปี ขณะหลวงปู่หล้าอายุ 27 ปี"

    สบายอย่างตุ๊เจ้า

    ตามที่มี การพูดเชิงวิจารณ์ถึงพระภิกษุในเมืองเหนือว่า "สบายอย่างตุ๊เจ้า" คือพระเมืองเหนืออยู่สุขสบายกัน จึงไม่ปรากฎว่ามีความสำเร็จในการศึกษาได้เปรียญสูง ๆ เหมือนกับพระทางภาคอีสานนั้น หลวงปู่หล้าตอบเรื่อง่นี้ว่า พระเมืองเหนือมิใช่ว่าจะไม่อยากเรียน สมัยก่อนไม่มีระบบ ไม่ได้จัดเป็นระเบียบใครใคร่เรียนก็เรียน ไม่อยากเรียนก็ได้

    สำหรับ สาเหตุที่พระเณรชอบลาสิกขา จนมีคติว่า "น้อยเวย หนานช้า" โดยชาวล้านนาเรียกผู้ที่สึกจากเณรว่า "น้อย" ผู้ที่สึกจากพระเรียกว่า "หนาน"ซึ่งแปลว่า สึกจากเณรเรียกน้อยมักรวดเร็ว แต่สึกจากพระคือหนานมักช้า หลวงปู่หล้าอธิบายว่า เพราะชาวเหนือนิยมบวฃตั้งแต่เป็นเด็กพออายุ 18-19 ปี ก็เกิดการเบื่อหน่าย โดยเฉพาะที่อายุ 27-28 ปี จะยิ่งเบื่อมาก ๆ จึงลาสิกขาบท


    หลวงปู่หล้าตาทิพย์

    มีคนยกย่องว่า "หลวงปู่หล้า ตาทิพย์" เล่ากันว่า มีอยู่วันหนึ่งฝนตั้งเค้าจะตกหนัก หลวงปู่หล้าบอกให้พระเณรรีบออกจากกุฏิ เพราะกุฏิเก่าทรุดโทรมและมีต้นลานใหญ่อยู่ข้าง ปรากฎว่าวันนั้นฝนตกหนักกิ่งต้นลานก็หักโค่นลงมาทับกุฏิพังทุกคนปลอดภัย และพากันสรรเสริญว่า "ตาทิพย์"

    อีกเรื่องหนึ่งคือ มีคณะผู้มากราบนมัสการหลวงปู่หล้าเกินจำนวนที่แจ้งขอของขลังจากท่าน แต่ได้รับแจกกันครบทุกคน จึงพากันเห็นเป็นอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์


    นอก จากนั้น นายอนันต์ อดีตครูใหญ่โรงเรียนบ้านป่าตึงได้เล่าเพิ่มเติมว่า "เช้าวันหนึ่งประมาณตี 5 หลวงปู่หล้าให้พระเณรรีบทำความสะอาดวิหารจะมีแขกมาหาที่วัด ปรากฎว่าพอถึง 6 โมงเช้า พระศรีธรรมนิเทศ เจ้าอาวาสวัดสันป่าข่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นำญาติโยมมาหา"หลังจาก นั้นชาวบ้านของหายหรือถูกลักขโมย มาถามหลวงปู่ก็บอกให้ไปตามทิศนั้นทิศนี้ได้ของคืนมาทุกครั้ง แต่หากท่านห้ามไม่ต้องไปตามจะไม่ได้คืน ก็จะเป็นจริง


    เหรียญครูบาหล้า ตาทิพย์ วัดป่าตึง
    อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ศิษท์สร้างถวาย สร้างเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2532


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_5575.jpg
      SAM_5575.jpg
      ขนาดไฟล์:
      131.7 KB
      เปิดดู:
      97
    • SAM_5578.jpg
      SAM_5578.jpg
      ขนาดไฟล์:
      136.2 KB
      เปิดดู:
      115
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...