" ผู้ที่ทรงอารมณ์ได้นาน ดูแบบไหน แล้วทำอย่างไรให้ทรงได้นานๆ"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฝันนิมิต, 31 กรกฎาคม 2011.

  1. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    [​IMG]

    " สวัสดีคะ"

    มณีน้อยมีข้อสงสัย และอยากถามพี่ๆ ผู้ที่ทรงสภาวะ "เป็นกลาง" ได้

    ตลอดทั้งวัน หรือ ขณะสนทนาได้ ตลอดทั้งหมด ของการสนทนา

    ให้อยู่ในสภาวะ"เป็นกลาง" โดย ไม่มีว่า" ชอบ ไม่ชอบ "อยู่ในขณะนั้นๆคะ

    มณีน้อย ท่องเว็บธรรม ของพลังจิต มานาน เข้าไปอ่านอยู่ข้อความ

    ที่บางท่านโพสไว้นั้น ส่วนมาก จะดีตอนต้น และ จะไม่ทรงเหมือน ตอนต้นเช่น

    เดิม ยกตัวอ่างเช่น " การปุจฉาเรื่องต่างๆ โดยใช้วาระจิตที่นิ่งถามอย่างตั้งใจแล้ว"

    เมื่อเกิดโดน ตอบกลับอย่างมีตัว "โมหะ"เข้าครอบงำ กลับ ไม่ทรงอารมณ์

    ความ ชอบ ไม่ชอบไว้ให้อยู่ในสภาวะ" เป็นกลาง"

    (แบบนี้มณีน้อยเป็นบ่อยมากเช่นกัน สอบตกทุกครั้งไป)

    กลับโดนโมหะ ( ความยินดีตอบกลับ)

    แบบนี้จะเรียกว่า หลุดรอบได้รึไม่ หลุดจากการพิจารณาให้เห็นใช่รึไม่

    เหตุนี้ เรียกว่า ยังเป็นผู้ยังมองไม่เห็นโดยแท้ใช่รึไม่

    อยากถามพี่ๆ น้องๆ ผู้ชินชำนาญ หรือมีข้อคิดเห็นประการใด

    เพื่อเป็นข้อฉุกคิดให้มณีน้อยคะ



    [​IMG]
     
  2. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ขอมาสนทนาด้วยเป็นคนแรกพอดีนั่งอยู่หน้าคอมฯ
    ขอสนทนาด้วยมิใช่เป็นการตอบ ถ้าคิดว่าเป็นการตอบก็จะกลายเป็นผู้รู้ไป
    การที่จะทรงสภาวะทั้งวันนั้นต้องเป็นจิตที่ฝึกมาดีแล้วนั่นเอง หมายถึงว่าสติต้องเป็นตัวกำหนดรู้คู่กับปัญญา
    หรือเรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ จะไม่อ่อนไหวไปกับอารมณ์ที่มากระทบทั้งดีและไม่ดี

    เหตุที่มีโมหะครอบงำได้นั้นให้รู้เถิดว่าขณะนั้นเราเริ่มขาดสติควบคุมจึงได้หลงลืมทำให้อ่อนไหวไปตามอารมณ์ที่มากระทบนั้นเอง
    เช่น อารมณ์ที่มากระทบนั้นมาดีก็จะยินดีพอใจไปกับอารมณ์นั้นๆ ถ้าอารมณ์ที่มากระทบไม่ดีก็จะไม่ชอบใจไปกับอารมณ์นั้นๆ
    คือขาดสติกำหนดให้สภาวะเป็นกลาง และตามธรรมชาติของจิตจะเปลี่ยนไปตามอารมณ์ที่มากระทบอยู่ตลอดเวลา
    หมายถึงว่าอารมณ์ใดมากระทบจิตก็รับอารมณ์นั้นเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตจะปรุงแต่งอารมณ์ให้จิตรู้อารมณ์นั้นว่าดีหรือไม่ดี
    ตามแต่จิตและเจตสิกรับรู้การปรุงแต่ง

    ขณะใดที่มีสติสัมปชัญญะขณะนั้นขจัดอวิชชาได้ แต่จะยาวนานหรือจะเป็นไปชั่วขณะ
    ตทังคปหาน วิกขัมปนปหาน สมุจเฉทปหาน อันนี้แล้วแต่กำลังจิตที่ฝึกมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2011
  3. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมขอร่วมสนทนาด้วยนะครับ

    การที่มีความคิดว่า"ถูก หรือ ผิด"จะเป็นข้อโต้แย้งในความรู้สึก เหตุเพราะยังมีการยึดติดกับสิ่งที่รู้ ว่าสิ่งที่รู้มานั้นถูกต้อง แต่พอมีคนมาโต้แย้งสิ่งที่ได้รู้มาจึงทำให้เกิดการโต้แย้งในความรู้สึก และ โต้แย้งผู้ที่เข้ามาแสดงข้อโต้แย้ง หรือ แสดงความคิดเห็นไปอีกทาง

    ถึงแม้ว่าเราคง"สติสัมปชัญญะ"ได้พอสมควรแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถข่มอารมณ์เอาไว้ได้ เหตุนั้นก็มาจากการยึดติดความ"ถูก ผิด"

    การปฎิบัติธรรมก็ต้องมีการผิดพลาดบ้างในบางครั้ง หรือ การนั่งปฎิบัติก็มีบ้างที่ไม่เป็นสมาธิ และ บางครั้งก็เป็นสมาธิ แต่หากว่าพอไม่เป็นสมาธิก็เลิกนั่งไปเสีย ก็จะทำให้มองไม่เห็นในบางสิ่ง

    สิ่งที่ควรเฝ้าดู คือ ความรู้สึกนึกคิดในเวลานั้นๆ เวลาที่นึกคิดในอารมณ์นั้นๆ ความขัดเคืองใจ ความไม่พอใจ มุมมองที่คิดว่าทำไมเขาคนนั้นถึงไม่เข้าใจทั้งที่เป็นเรื่องง่ายๆ แต่อาจจะลืมไปว่า ตอนที่เรายังไม่รู้ เราเหมือนกับเขาหรือไม่

    ทฤษฎีนั้นมีไว้ให้เล่าเรียน และ ทฤษฎีนั้นก็สามารถแปลเปลี่ยนไปได้ แต่จะขาดทฤษฎีก็ไม่ได้ แต่หากยึดติดในทฤษฎีแล้วไซร์ ก็จะเกิดการโต้เถียง โต้แย้งอยู่ร่ำไป ขนาดพระที่จบพระอภิธรรมยังมีการทะเลาะกันในทฤษฎีเลย พระบางท่านยังถึงกับลงไม้ลงมือเลยก็มี

    เมื่อเรียนภาคทฤษฎีแล้วก็ควรปฎิบัติไปด้วย เพื่อให้เห็นจริงตามที่มีกล่าวไว้ในทฤษฎี และ สิ่งไหนจริง หรือ ไม่จริงเราก็จะเห็นด้วยตนเอง ในตำรามากมายไม่มีเขียนไว้ให้เข้าใจโดยละเอียด เหตุเพราะว่ามนุษย์มีความแปลเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ไม่มีความคงที่ ตั้งแต่เริ่มต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย ความแปลเปลี่ยนจะเกิดขึ้นใน"ท่ามกลาง" และ นี่เป็นตัวสำคัญในการปฎิบัติ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เลิกสนใจคนอื่นได้เมื่อไร ก็จะหมดคำถามแนวๆ​
     
  5. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    การฟังธรรม นั้นเป็นเรื่องยาก ยากพอๆกับการเกิดเป็นมนุษย์
    ยากพอกับการอุบัติขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    เรามักจะลืมข้อนี้ไป แล้ว เปลี่ยนใหม่ทันที ตามความชอบใจ

    การฟังธรรมเป็นเรื่องง่าย ....... นี่คือ ต้นเหตุของ จิตไม่ตั้งมั่น

    โดยเฉพาะ เรื่อง จิตตั้งมั่น เราได้ยินแล้ว ก็ด้วยความพอใจ ก็เข้าใจ
    ทันทีว่าเป็นเรื่อง ฌาณ ทำให้ นำการทรงอารมณ์แบบ ฌาณ มา
    กลบคำว่า จิตตั้งมั่น และสุดท้ายก็สับสนในคำว่า "สมาธิ"

    พระพุทธองค์กล่าวเสมอว่า พระพุทธองค์กล่าวถึงแต่ "สุญญาตาสมาธิ"
    ไม่เคยกล่าวแสดงให้ทำ "สมาธิ" ชนิดอื่น

    พอเราไม่แยบคาย ไม่ใช้เฉพาะคำของตถาคต ไปหยิบจับคำของสาวก
    เราก็คลาดธรรมไปตามอินทรีย์ของสาวกนั้นๆ ทำให้ เราไปทำ "สมาธิ"
    ชนิดอื่นโดยไม่จำเป็น*

    ใครทำ สมาธิชนิดใดมาก่อน ก็ให้ทำอย่างนั้นไป ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง
    แต่...ให้หมั่นพิจารณาเห็นความแปรปรวน พึ่งไม่ได้ของ สมาธิที่พึ่งอยู่
    ไว้ด้วย ตรงการตามเห็นอนิจจาลักษณะของสิ่งที่เป็นอยู่ ตรงนี้ คือทาง
    เข้า "สุญญาตาสมาธิ" ที่พระพุทธองค์ตรัสสอน

    ถ้าเราฟังไม่แยบคาย ก็จะคิดว่าไปว่า ให้ทำสมาธิชนิดอื่น และเพราะความ
    พอใจ การปฏิรูปธรรมที่เกิดขึ้นทันที ทำให้ มุ่งไปสู่ทางผิดทันที แต่ถ้าฟัง
    ให้เข้าใจก่อนว่า ทำเพื่อตามเห็นอนิจจาลักษณะ (สามัญลักษณะ3) ไว้
    เนือง นั่นต่างหาก สมาธิที่พระพุทธองค์ตรัสสอน

    พอเข้าใจ ก็จะทราบทันทีว่า การตามเห็นความแปรปรวน นั่นแหละ คือ เรื่อง
    ของ จิตตั้งมั่น ในการรู้

    สรุป

    ตรงนี้ คือ การตามเห็นอันวิเศษ( วิปัสสนา ) เป็นเรื่องของการ ฝึกจิตตั้งมั่น
    ซึ่งจะพบว่า เมื่อตามเห็นแล้ว จิตจะถุกชักนำให้ เห็นหนทางการปฏิบัติทันที
    ด้วยการตั้งคำถาม ( เกิดคำถามที่นำพาไปเห็นธรรม แต่ยังข้ามกังขาไปไม่ได้
    กังขาวิตรณวิสุทธิจึงยังไม่เกิด )

    แต่ความที่ ยังยึด โมหะ ตามการฟังแบบเดิมๆ การทรงแบบเดิมๆ ความพอใจ
    ธรรมที่ฟังตามๆกันมาไปแบบเดิมๆ ทำให้คลาดการฟัง ธรรม ที่เป็นปัจจุบันที่
    ถูกต้องซึ่งอยู่ที่ตนหายวับไปในทันทีเช่นกัน

    และถ้าเข้าใจ การปฏิบัติได้แล้ว ที่ว่า สอบตกทุกครั้งนั้น จริงๆ ได้คะแนนเต็มร้อย
    แต่เพราะว่า มีโมหะ เข้าใจผิด มีผ้าบังตา เลย ปรักปรำตัวเองว่า สอบตก เป็นอัน
    โดนมันหลอกซ้ำซ้อน เอาผ้าคลุมตัวเองแล้ว ยังจับมัดมือตัวเองซ้ำ

    * * * *

    สมาธิที่ไม่ใช่ สุญญตาสมาธิ เราจะทำก็ต่อเมื่อ จำเป็น
    หรือ หมดหนทางที่จะเจริญสุญญตาสมาธิ

    ถ้าเข้าคำว่า จำเป็น ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะหน้าได้ ก็จะ เข้าใจการปฏิบัติ

    แต่หากเรา ฟังคำว่า จำเป็น ไปดัดแปลงเป็น กูพอใจ เห็นว่าเทห์
    เห็นว่า ฤทธิ์มีดีเพราะใช้สอนได้ลึกซึ้ง อันนี้ ล้วนแต่ กิเลสอ้าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2011
  6. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    มา พิจารณา พุทธวัจนะ สักหน่อย

    อันนี้ จะเป็น การนิยามการใช้คำศัพท์ อยู่ในหมวด วินัยปิฏก (ย้ำว่า วินัยปิฏก)

    คำว่า ภาชนีย์ หรือ ภาชนะ ก็คือ นิยามการใช้คำศัพท์ ข้อกำหนดให้ใช้คำศัพท์

    สังเกตนะว่า คำว่า "สมาธิ" ไม่ใช่คำว่า "ฌาณ" วินัยปิฏก ชี้ชัดว่า ให้กล่าว
    แยกออกจากกัน และ สมาธิที่พระพุทธองค์ตรัสสอน จึงมีแต่ สุญญตสมาธิเท่า
    นั้น ซึ่งประกอบด้วย สุญญตสมาธิ(มุ่งสิ้นตัณหา ไม่ใช่เอาตัณหานำหน้าอย่างที่อ้างๆกัน)
    อนิมิตตสมาธิ(ไม่มีนิมิต) อัปปณิหิตสมาธิ(ไม่มีการตั้งจุด ตั้งท่า).

    สมาบัติ เอง ก็เปลี่ยนใหม่ และ มีแต่เรื่อง สุญญตาสมาธิเท่านั้น

    เมื่อใช้ข้อกำหนด ฌาณ สมาธิ วิโมกข์ สมาบัติ ตาม พุทธบัญญัติ วินัยปิกฏ นี้แล้ว
    ค่อยปรารภข้อที่ ว่า มรรค คืออะไร จึงจะถูกต้อง

    สังเกตนะว่า เราโดนศาสนาอื่น( ธรรมวินัยนอกเหนือจากนี้ หรือ กล่าวไม่ตรงข้อนี้)
    เอา ฌาณ มาแหกตา แล้ว กล่าวเหมาไปเลยว่าเป็น มรรค8 ซ่อนเร้น ข้อวินัย ภาชนียบท
    ที่สำคัญยิ่ง หายวับไปกับตา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2011
  7. kosondesign

    kosondesign Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +66
    ตามที่ผมทำและความเข้าใจของผมนะครับครับ
    การจะทรงอารมณืให้ได้นานแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับกำลังใจของเราครับ
    ให้เรา จับอานาปานุสติให้เป็นปกติ จิตจับ ลมหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้
    เวลาเราอยู่คนเดียวหรือไม่ได้คุยกับใคร ก็ ภาวนาพุทโธ ก็จะดีขึ้นไปอีก
    ดำรงสติเฉพาะหน้าไว้ไม่สอดส่ายไปเรื่องอื่นครับ
    เวลาเราพูดคุย กับคนอื่น เราจะขาดแค่ คำภาวนาเท่านั้นคับ
    แต่จิตจับลมหายใจเป็นปกติครับ
    เป็นแบบที่ผมทำครับ ทำสบายๆ แต่ทำแบบนี้จะระงับโทสะได้ชั่วคราวนะครับ
    จึงจำเป็นต้องทำ ให้เป็นปกติ คือ ตลอดเวลา ครับ
     
  8. กาน้ำ

    กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    ผู้ที่ทรงอารมณ์ได้นาน ดูแบบไหน แล้วทำอย่างไรให้ทรงได้นานๆ

    มาไล่ข้อมรรคมีองค์๘กันนะคะ
    หมวดศีล
    ๑)สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ
    คือไม่ผิดกุศลกรรม๑๐ในข้อ๑ไม่ฆ่าสัตว์ ๒ไม่ลักทรัพย์ ๓ไม่ผิดกาม
    ๒)สัมมาวาจา วาจาชอบ
    คือไม่ผิดกุศลกรรม๑๐ในข้อ๔พูดปด ๕ไม่พูดส่อเสียด ๖ไม่พูดคำหยาบ ๗ไม่พูดเพ้อเจ้อ
    ๓)สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
    คือไม่ผิดกุศลกรรม๑๐ในข้อ๑-๗ และยังมี ๘ไม่เพ่งเล็งอยากได้ ๙ไม่คิดปองร้าย ๑๐สัมมาทิฐิ ความเห็นถูก

    หมวดสมาธิ
    ๔)สัมมาสติ สติระลึกได้ ว่าจิตเป็นโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะไม่ปล่อยให้จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
    ๕)สัมมาวายามะ เพียรชอบ ประคองจิตไว้ตั้งไว้
    เพียรละอกุศลที่ยังไม่เกิด
    เพียรละอกุศลเกิดขึ้นแล้ว
    เพียรให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น
    เพียรกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้วให้สืบต่อไป
    ๖)สัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา สงบจากนิวรณ์ จิตเป็นสมถะ พร้อมเข้าสู่วิปัสสนา
    นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ
    1กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่
    2พยาบาท ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปราถณาในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่
    3ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
    4อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ
    5วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆกลัว ไม่เต็มร้อย ไม่มั่นใจ

    หมวดปัญญา
    ๗)สัมมาสังกัปปะ ตรึกชอบ พิจารณากุศลและอกุศลธรรม กรองไว้เฉพาะกุศลธรรม
    1เนกขัมมสังกัปป์ (เนกขัมมวิตก) การตรึกที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว เสียสละเป็นกุศล เป็นอโลภะ
    2อพยาบาทสังกัปป์ (อพยาบาทวิตก) การตรึกถึงความไม่พยาบาท ไม่เคียดแค้น ชิงชัง ขัดเคือง หรือเพ่งมองในแง่ร้าย แต่มุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือเมตตา (ความปรารถนาดี มีไมตรี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข) เป็นอโทสะ
    3อวิหิงสาสังกัปป์ (อวิหิงสาวิตก) ตรึกในการไม่เบียดเบียน ไม่มีการคิดทำร้ายหรือทำลาย โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือกรุณา(คิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์) อโทสะ
    กุศลวิตก 3 ประการนี้ ไม่กระทำความมืดมน กระทำปัญญาจักษุ กระทำญาณ ยังปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
    ๘)สัมมาทิฐิ เห็นถูกต้องทางธรรมจากการโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยปัญญาเจตสิก คือความเห็นในอริยสัจ๔ คือเห็นทุกข์ เห็นสมุทัย เห็นนิโรธ เห็นมรรค
    จาก มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐
    ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 กรกฎาคม 2011
  9. เลขโนนสูง

    เลขโนนสูง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2010
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +825
    รุ้เวลาน้อย รู้เวลามาก นั้นคงเป็นเพราะเปรียญเทียบ

    แต่เหนือเปรียญเทียบ ยังมีปล่อยรู้ ไปตามธรรมดา
     
  10. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    อนุโมทนาบุญจ้ะ น้องมณีน้อย พี่ติงมาอ่านจ้ะ เพราะอยากทราบคำตอบเหมือนกัน
     
  11. taintain

    taintain สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +6
    สิ่งที่คุณมณีน้อยนั้นเป็น ผมว่าก็เป็นกับทุกคนที่ยังไม่เข้าถึงอรหัตผลนั่นแหละครับ เพราะบุคคลระดับอริยะบุคคลเบื้องต้นนั้นไม่ได้ตัดอารมณ์รักโลภโกรธหลงได้ทั้งหมด หากแต่มีแต่เพียงเบาบางรู้แล้วก็ข่มมันลงได้เท่าทันไม่ปล่อยให้ โลภะ โทสะ โมหะ ครอบงำจิตใจจนเผลอสติไปกับอารมณ์นั้นๆต่างหากครับ
     
  12. จริยากุ

    จริยากุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,314
    ค่าพลัง:
    +1,446
    ตอบด้วยคน การทรงญาณตามหลักอาปาณุสติ คือการทรงการรับรู้ ทรงไว้ซึงสติ เมื่อมีการรับ ต้องมีการรู้ รับเท่าไหนก็ต้องรู้เท่านั้นถ้าตามหลักอาปานสติเมื่อลมหายใจผ่านจมูกรู้ว่าผ่านจมูก เมื่อผ่านหน้าอกก็ต้องรู้ว่าผ่านหน้าอกเมื่อผ่านถึงท้องก็รู้ว่าถึงท้องการหายใจออกก็ต้องรู้ผ่าน 3 ฐานตามลำดับรู้ตลอดเป็นการทรงที่บางเบาถ้าต้องการให้ลึกขึ้นต้องนับจำนวนครั้งด้วย เริ่มที่10ก่อนถ้านับผิดถือเป็นโมฆะทั้งหมดเริ่มใหม่เมื่อได้แล้ว ชินแล้ว ค่อยๆเพิ่มจำนวนเพื่อให้กล้าแข็ง จนได้ 108 ซึ่งยาก เป็นการฝึกสติจากลมเพียงอย่างเดียวในหลักนี้ เท่ากับฝึกฝนการรับรู้ทางกายโดยผ่านหรือไม่ยึดสิ่งอื่นเท่ากับมีสติตลอดเมื่อมาเที่ยบกับธรรมชาติคืออรัยสัจข้อที่1 มีทุกข์ต้องรู้ว่ามีทุกข์ มีสติรู้ (ตอบจากความเข้าใจค่ะ)
     
  13. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547

    พี่ท่านสอนให้รู้ถึงการมี สติ+สัมปชัญญะ [​IMG]
     
  14. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    พี่ท่านเช่นกันสอนให้มีสติ+สัมปชัญญะ และวิสัยทัศในการกระทำ [​IMG]
     
  15. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    เล่าปัง สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Nov 2007
    ข้อความ: 1,571
    พลังการให้คะแนน: 510 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    คุณพี่เล่าปังจำแนกให้เข้าใจถึง "สมาธิ" ที่เรียกว่า "การตั่งมั่น"[​IMG]

    ตาปลา สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Jul 2011
    ข้อความ: 43
    พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG]

    ส่วนคุณตาปลา สอนให้เข้าใจสิ่งที่เรียกว่า "กลางๆ" คืออะไรบ้าง [​IMG]

    [​IMG]

    ขอบพระคุณคะ
    .....
     
  16. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    ส่านท่านสอนให้ มีการกำหนดไว้ซึ่งลมหายใจ เข้า และ ออก [​IMG]
     
  17. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    รับทราบคะท่านพี่ [​IMG]
     
  18. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    แวะมาติดตามกระทู้ และขอทักทายด้วยไมตรีจิตครับ

    สวัสดีครับ คุณมณีน้อย
     
  19. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547

    [​IMG]

    เมื่ออ่านแล้วทำความเข้าใจ
    ทำให้นึกถึงคำสุภาษิทไทยที่ว่า
    พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
    การที่ เรา ทรงความเป็นกลางได้ อย่างที่พี่ๆทุกท่านกล่าวมา
    ต้องมั่น ต้องเพียร ต้องฉุกคิด ต้องระลึกให้เสมอ เหมือนที่ว่า
    " อย่าเผลอนะ ไม่งั้นตาย" อะไรทำนองนั้น

    การทีจะทรงได้ ในกลางๆ หากยิ่งต่อ ยิ่งตามในสภาวะนั้นๆ
    เช่น โกรธ (อันนี้มองเห็นง่าย) หากเราหยุดสะ เงียบๆ การเงียบไม่ได้หมายว่า
    เรายอมแพ้ที่ไม่เถียง แต่เป็นเงียบ ฟัง สิ่งที่จะเกิดขึ้นในสมอง ที่เรียกว่า

    "สติ " เกิด "รู้" เท่าทัน แล้วส่งตรงปล่อยผ่านออกมาคือ"ปัญญา"

    การที่ได้มีการ ศึกษา"รู้" สิ่งที่เรียกว่า"เป็นกลาง" มีอะไรบ้าง
    ย่อมเป็นหนทางแห่ง "รู้" และ พิจารณาตาม ความเห็นนั้นๆ โดย" มีสมาธิ " เพื่อคิด(พิจารณา) สิ่งที่รู้มา
    กลั่นกรอง แล้วค่อยส่งออก

    เหมือนคำที่มักพูดๆกันเสมอๆว่า "สำรวมกาย วาจา ใจ "

    ตัวโมหะ เหมือน เนื้อติดมัน ที่มันค่อนข้างติด กลืนไปในเนื้อเดียวกัน
    จะตัดมันออก ก็ต้องสละตัดเนื้อทิ้งไปบ้าง

    "ใกล้ละ ขออีกรอบ เพื่อความกระจ่าง"

    คิดสะว่ามาลับปัญญาให้คมขึ้น

    "การลับมีดให้คม
    ควรลับมีดไว้เพื่อช้วยคน ตัดเชือกที่รัดตัวเค้าให้ขาด
    แต่อย่าเอามีดที่ลับให้คมไปถากถางคนอื่น
    ให้เจ็บ และมีรอยปาดแผลกันไป"


    สาธุคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 กรกฎาคม 2011
  20. เบา-ใส

    เบา-ใส Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +29
    อย่าอ่านมาก มันจะเป็นความลังเลสงสัย ในการปฏิบัติ
    ให้ปฏิบัติ นั่งสมาธิทุกวัน วันละ 30-60 นาที เวลาเดิม
    เมื่อจิต ชินกับความสงบ แล้ว ในขณะใช้ชีวิตประจำวัน
    อาณาปาณสติ ที่ทุกท่านพูดตามทฤษฏี จะเข้าโดยอัตโนมัตเอง
    หลวงปู่ หลวงพ่อที่เรานับถือ ท่านเข้าถึงเพราะการปฏิบัติ หากเรามัวแต่อ่าน
    แล้วไม่ปฏิบัติ มันจะเป็นเพียง ความรู้ ความจำ ที่ต้องรอให้สติ นึกได้ก่อนแล้วค่อยทำ
    หาก มีอารมณ์ ก่อนสติ ก็จะช้าไปแล้ว ไม่ทันการณ์ ดังนั้น ปฏิบัติ ไปอย่างมีวินัย
    เล่นจนจิต มันเข้าสู่ความสงบ จนชิน

    ..สาธุ..
     

แชร์หน้านี้

Loading...