แดนมังกรศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองสี่แคว

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย องค์ชายสาม, 18 สิงหาคม 2011.

  1. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261
    รวบรวมเกี่ยวกับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และพระเกจิแห่งเมืองสี่แคว
    [​IMG]
    สัญลักษณ์ประจำจังหวัดนครสวรรค์
    คำขวัญประจำจังหวัด
    เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ

    ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจังหวัดนครสวรรค์
    นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่านครสวรรค์มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ก่อนสุโขทัยเป็นราชธานี มีชื่อในศิลาจารึกของสุโขทัย โดยเรียกว่า เมืองพระบาง เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคญในการทำศึกสงคราม ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี กระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังเรียกชื่อว่า เมืองชอนตะวัน และเปลี่ยนเป็น นครสวรรค์ ในที่สุด แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกกันว่า เมืองปากน้ำโพ ในประวัติศาสตร์มีหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่า นครสวรรค์ เคยเป็นเมืองเกษตรกรรมมาตั้งแต่ยุคต้นประวัติศาสตร์ เป็นศูนย์กลางของการคมนาคม เป็นที่ตั้งของกลุ่มชนชาวจีนที่มาทำมาค้าขายระหว่างประเทศ เมืองพระบางเป็นเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยคู่กับเมืองคนที โดยตัวเมืองพระบางอยู่ที่เมืองนครสวรรค์เก่า ส่วนเมืองคนทีสันนิษฐานว่าอยู่ที่บ้านโคน ริมฝั่งแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร จากข้อมูลในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย เมืองพระบางถูกผนวกรวมกันเข้ากับอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และตั้งตัวเป็นอิสระเมื่อสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และถูกผนวกรวมอีกครั้งในสมัยพระยาลิไท พระองค์ได้ประดิษฐานพระพุทธบาทพร้อมทั้งศิลาจารึกวัดเขากบไว้ที่เขากบ เมืองพระบาง ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ ในสมัยพระมหาธรรมราชาไสลือไทที่ประกาศให้สุโขทัยเป็นเอกราชได้รวมเมืองพระบางไว้ในอาณาเขตด้วย
    เมื่ออำนาจของกรุงศรีอยุธยากล้าแข็งขึ้น เมืองพระบางจึงไปขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาในที่สุด มีหลักฐานในตำนานมูลศาสนาว่าพระญาณคัมภีร์ขอที่สร้างวัดในอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1972 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ไม่อนุญาตจึงมาขอที่ที่เมืองพระบาง เจ้าเมืองพระบางไม่ยกที่ให้ อ้างว่าเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของอยุธยา เมื่ออยุธยาไม่ให้ ทางเมืองพระบางก็ให้ไม่ได้

    เหตุที่เรียกว่าปากน้ำโพ
    บ้างเล่าว่าที่เรียกว่า "ปากน้ำโพ" ก็คือว่าเป็นบริเวณที่แม่น้ำปิง วัง ยม และน่านมาบรรจบกัน จึงเรียกว่า "ปากน้ำโผล่" และเพี้ยนมาเป็น "ปากน้ำโพ" ส่วนอีกตำรากล่าวว่า เป็นปากน้ำของแม่น้ำโพ (คือแม่น้ำน่านในปัจจุบัน) ที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิง จึงเรียกว่า ปากน้ำโพ ดังเช่น ปากยม ปากชม ปากลัด และปากน้ำอื่น ๆ

    ภูมิประเทศ
    สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนครสวรรค์อยู่ในดินแดนของลุ่มน้ำ เป็นต้นกำเนิดของแม่เจ้าสายหลักของภาคกลาง นั่นคือ แม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็น การไหลบรรจบของแม่น้ำสี่สายจากภาคเหนือ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ด้วยเหตุนี้ จังหวัดนครสวรรค์จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เมืองสี่แคว นอกจากยังมีภูเขาขนาดย่อมกระจัดกระจายในอำเภอต่าง ๆ


     
  2. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261
    [​IMG]

    ประวัติหลวงพ่อศรีสวรรค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองนครสวรรค์

    หลวงพ่อศรีสวรค์ วัดนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

    หลวงพ่อศรีสวรรค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ วัสดุโลหะลงรักปิดทอง ขนาหน้าตัก ๒.๕๐ เมตร ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์
    นับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครสวรรค์ มีความศักดิศิทธิ์ในการแผ่ พระบารมีคุ้มครองผู้มาสักการะ มีกิตติศัพท์เลื่อง
    ลือมายาวนานปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานในวัดนครสวรรค์
    วัดนครสวรรค์ เดิมชื่อวัดหัวเมือง เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่ปลายสมัยสุโขทัย มีประวัติว่าได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อพุทธศักราช ๑๙๗๒ ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ เจ้าสามพระยาแห่งกรุงศรีอยุธยา
    เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินทาง ชลมารค เพื่อเททองหล่อพระพุทธชินราชจำลองที่เมืองพิษณุโลก เพื่อนำมาประดิษฐาน ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ทรงแวะเยี่ยมวัดหัวเมือง โปรดพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดนครสวรรค์" ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงพ่อครุฑ เจ้าคณะเมืองนครสวรรค์ ณ วัดจอมคีรีนาถพรต มาเป็นเจ้าอาวาส เพื่อพัฒนาสภาพวัดนครสวรรค์ที่กำลังทรุดโทรมอย่างหนักเกิดพายุพัดพระอุโบสถพัง ลงทับพระประธานเสียหาย ต่อมาเจ้านาย พระบรมวงศ์และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงทำนุบำรุง ต่อเนื่อง
    สืบกันมา
    คือได้หล่อหลอม "หลวงพ่อศรีสวรรค์" พระพุทรูปประธานในพระอุโบสถใหม่ระห่างพุทธศักราช ๒๔๖๕ - ๒๔๗๐ มีขนาดใหญ่
    กว่าองค์เดิม นำทองเนื้อวัสดุมาหลอมรวมกับองค์ใหม่อย่างสมบูรณ์ ขณะประกอบพิธีหล่อได้มีปรากฏการณ์บังเกิดสิ่งอัศจรรย์แสดงความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารปรากฏหลายประการได้แก่ มีฉัพพรรณรังสีออกจากองค์หลวงพ่อศรีสวรรค์ตลอดทั้งเสียงพิณพาทย์ขับกล่อมบรรเลง


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2011
  3. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261

    [​IMG]

    ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม
    ณ ที่ราบริมฝั่งต้นแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณที่แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ไหลมาบรรจบมีศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพยึดเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยจีนและชนชาติต่างๆ ประชาชนทั่วไปเรียกกันว่า “ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม”หรือศาลเจ้าพ่อแควใหญ่ตั้งอยู่ตรงข้ามตลาดปากน้ำโพบนถนนสายนครสวรรค์-ชุมแสง ตัวศาลหันหน้าไปทางแม่น้ำ ประวัติความเป็นมาของศาลนี้ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าสร้างขึ้นสมัยใด ใครเป็นผู้สร้าง มีเพียงระฆังโบราณ ซึ่งจารึกเป็นภาษาจีนว่า นายหงเปียว แซ่ภู่ แห่งหมู่บ้านเคอเจี้ยซัน อำเภอวุ่นอี้(ปัจจุบันคือ วุ้นซัง) มณฑลไหหลำ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน นำมาถวายในปี ค.ศ.1870 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2413 ปลายราชวงศ์ชิงตรงกับต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ราชกาลที่ 5)
    ความศักดิ์สิทธิ์จนเกิดเป็นประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพ
    ชาวปากน้ำโพ ได้รับความเดือดร้อนจากโรคห่าและโรคฝีดาดระบาดอย่างหนักจนมีผู้คนล้มตายและเจ็บป่วย เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุที่ว่าวิทยาการแพทย์สมัยใหม่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ทำให้ชาวบ้านหันไปพึ่งหมอจีน (ซินแส) เพื่อช่วยรักษาโรค แต่ไม่สามารถหยุดโรคระบาดได้ ชาวบ้านจึงหันไปหาที่พึ่งจากเทพอารักษ์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายและมีเหตุบังเอิญ ได้มีชาวบ้านบนบานต่อเจ้าพ่อเทพารักษ์ หรือปุนเถ้ากง เพื่อขอให้ปัดเป่าโรคร้ายไปจากหมู่บ้านและได้ทำการเชิญเจ้ามาเข้าทรง เพื่อทำพิธีรักษาโรคด้วยการเขียน “ฮู้” กระดาษยันต์ และนำไปเผาใส่น้ำดื่มกิน ปรากฏว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ โรคร้ายที่ได้ดับชีวิตคนในเมืองนครสวรรค์ได้หยุดการระบาดลงผู้คนปราศจากโรคภัย จนเป็นที่เลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อเทพารักษ์ ดังนั้นชาวปากน้ำโพ จึงได้ร่วมกันอัญเชิญเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ที่อยู่ในศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ มาแห่รอบตลาด เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต และครอบครัวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


    [​IMG]

    เทวรูปไม้แกะสลักองค์เจ้าเทพารักษ์ที่ประดิษฐานอยู่ภายในศาล

    [​IMG]

    องค์เจ้าแม่ทับทิมและองค์เจ้าแม่สวรรค์พร้อมด้วยเทวารูปบริวาร

    [​IMG]

    องค์เจ้าพ่อกวนอูพร้อมด้วยทหารคู่ใจ

    [​IMG]

    ภายในศาลเจ้า

    [​IMG]

    โต๊ะแท่นบูชา

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2011
  4. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261
    [​IMG]

    ศาลหลักเมืองนครสวรรค์
    ศาลหลักเมืองจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่ ณ บริเวณเชิงเขากบ ตรงข้ามกับโรงเรียนนครสวรรค์ใกล้กับสำนักงานเทศบาลนครสวรรค์ เริ่มการก่อสร้างในสมัยที่นายวิทยา เกษรเสาวภาค เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์
    อาคารศาลและหลักเมืองออกแบบโดยกรมศิลปากร สร้างขึ้นด้วยเงินบริจาคของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นเงินทั้งสิ้น 450,000 บาท

    นายช่างผู้แทนกรมศิลปากร และสำนักผังเมือง เป็นผู้พิจารณาเลือกสถานที่ เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2516 และทำการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2516 โดยมี ฯพณฯ ถวิล สุนทรสารทูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2516 ส่วนการตกแต่งบริเวณรอบศาล ได้ใช้จ่ายเงินงบประมาณของเทศบาลเมืองนครสวรรค์ในขณะนั้น เป็นเงิน 100,000 บาท

    หลักเมืองนี้สร้างด้วยไม้ราชพฤกษ์ ได้นำทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระสุหร่ายและทรงเจิม ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2516 และได้กระทำพิธียกหลักเมืองขึ้นประดิษฐาน เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2517 เวลา 11.59 น.31


    [​IMG]


    [​IMG]

    ภาพบรรยาการภายในศาลหลักเมือง

    [​IMG]

    [​IMG]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2011
  5. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261
    [​IMG]

    หลวงพ่อเฮง วัดเขาดินใต้
    หลวงพ่อเฮง วัดเขาดินท่านเกิดปี พ.ศ. 2402 ที่บ้านมหาโพธิ์ ตำบลมหาโพธิ์ อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ โยมบิดาชื่อโยมสังข์ โยมมารดาชื่อโยมเปี่ยม พอหลวงพ่อเฮงเกิดมาครอบครัวก็มีฐานะดีขึ้นตามลำดับ โยมบิดามารดาจึงตั้งชื่อให้ว่า "เฮง" ท่านมีนิสัยเมตตาต่อสัตว์และชอบให้ทานแก่สัตว์มาตั้งแต่เด็กๆ ขนาดโยมบิดาให้ไปเฝ้านา ท่านเห็นนกมากินข้าวก็ยังไม่ยอม ไล่ เพราะท่านถือว่าเป็นการให้ทานแก่นก หลวงพ่อเฮง วัดเขาดินท่านเป็นคนที่รักการศึกษา เมื่อมีเวลาว่างจะไปหาหลวงพ่อทับ วัดมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังในสมัยนั้น เพื่อให้สอนวิชาให้ คือวิชาแพทย์แผนโบราณ คชศาสตร์ และวิทยาคมต่างๆ พออายุได้ 12 ปี ท่านก็ขอโยมบิดามารดา บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดมหาโพธิ์ใต้ อยู่ได้ 4 พรรษาก็ลาสึกออกมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ

    พออายุครบบวชในปี พ.ศ.2423 หลวงพ่อเฮงจึงได้อุปสมบท ที่วัดมหาโพธิ์ใต้ โดยมีพระครูกิ่ม เจ้าอาวาส วัดมหาโพธิ์ใต้เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ตลอดจนวิชาโหราศาสตร์ และวิทยาคมต่างๆ อีกมากมายจากพระอาจารย์กิ่ม และที่วัด มหาโพธิ์ใต้ยังเป็นแหล่งรวบรวมวิชาการและตำราต่างๆ ไว้มากมาย อีกทั้งพระอุโบสถ ของวัดก็เป็นพระอุโบสถแบบมหาอุด ซึ่งเป็นที่ปลุกเสกเครื่องรางของขลังได้ยอดเยี่ยม และมีอายุเก่าแก่กว่า 300 ปี วัดมหาโพธิ์ใต้ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง จึงมีพระเกจิอาจารย์ที่ออกธุดงค์มาแวะพักอยู่เสมอๆ หลวงพ่อเฮงจึงได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆ จากพระเกจิอาจารย์เหล่านั้นไปด้วย ต่อมาหลวงพ่อเฮงท่านก็ได้ออกธุดงค์ไปในป่าดงดิบต่างๆ ถึงพม่า เขมรและลาวหลายครั้ง และท่านก็เข้าใจธรรม ชาติของสัตว์ป่าได้ดี และสามารถเรียกอาการ 32 ของสัตว์ที่ตายแล้วให้มาเข้ารูปจำลองที่ได้สร้างขึ้นได้

    จากการที่หลวงพ่อเฮงท่านได้ธุดงค์ไปตามป่าเขาต่างๆ ท่านจึงได้รู้ว่างาช้างที่มีการทนสิทธิ์ในตัวเองมี 2 ประเภทคือ งากำจัดและงากำจาย งากำจัดคืองาที่ช้างตัวผู้ตกมันแทงงาหักติดกับต้นไม้ และงากำจายคืองาที่ช้างตัวผู้ต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงเป็นจ่าฝูง และแตกหักตกอยู่ในป่า เมื่อหลวงพ่อเฮง ท่านพบก็จะเก็บไว้เพื่อนำมาสร้างเป็นเครื่องรางของขลังต่อมา ซึ่งส่วนมากก็จะมาแกะเป็น รูปเสือ คชสีห์ สิงห์ และหมู หลวงพ่อเฮงเป็นต้น

    หลวงพ่อเฮงได้กลับมาจากธุดงค์พอดีกับทางวัดว่างเจ้าอาวาส ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดมหาโพธิ์ใต้ ในปี พ.ศ.2434 และได้เป็นพระกรรม วาจาจารย์ ต่อมาท่านก็ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดเขาดินควบคู่กันไปสองวัด เนื่องจากวัดทั้งสองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน


    ในปี พ.ศ. 2449 ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสปกครองถึง 2 วัด คือวัดมหาโพธิ์ใต้และวัดเขาดิน ซึ่งอยู่สองฝั่งแม่น้ำปิง ต่อมาท่านก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาดินเนื่องจากทางวัดกำลังก่อสร้างศาลา การเปรียญอยู่ และได้มีเหตุการณ์ที่ทำให้ชาวบ้านเลื่อมใสมากก็คือท่านได้บอกกับชาวบ้านว่า ให้จัดทำปะรำพิธีต้อนรับที่วัดเขาดิน ชาวบ้านต่างไม่เข้าใจว่าให้สร้างทำไม และในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเสด็จประพาสต้นไปกำแพงเพชร ทางชลมารคได้จอดเรือพระที่นั่งแวะที่วัดเขาดินโดยไม่มีหมายกำหนดการ และชาวบ้านแถบนั้นไม่มีใครรู้

    มีจดหมายเหตุของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 บันทึกไว้ว่า
    "เมื่อมาถึงวัดเขาดินได้ยินเสียงมโหรีและพระสวด เห็นเวลายังวันอยู่จึงได้คิดแวะถ่ายรูป แต่ชายหาดน้ำตื้นเรือใหญ่เข้าไปไม่ถึง ต้องลงเรือเล็กลำเลียงเข้าไปอีก เดินหาดร้อนเหลือกำลังทั้งเวลาก็บ่ายสี่โมงแล้ว ไม่ตั้งใจจะขึ้นเขา แต่ครั้นเข้าถ่ายรูปที่เขาแล้วเห็นวัด วัดตระเตรียมแน่นหนามาก จึงเลยไปถ่ายรูป ครั้นเข้าไปใกล้ดูคนตะเกียกตะกายกันหนักขึ้น จะต้องยอมขึ้นวัดๆ นี้มีเจ้าอธิการชื่อเฮง รูปพรรณสัณฐานดีกลางคนไม่หนุ่มไม่แก่ เป็นพระฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่คนจะนับถือมากเพิ่งมาจากวัดมหาโพธิ์ใต้ที่ฝั่งตรงกันข้ามได้ 2 ปี แต่มีคนแก่สัปบุรุษและชาวบ้านหลายคนมาคอยอธิบายชี้แจงโน้นนี่ เจ้าอธิการว่าได้สร้างศาลาไว้หลังหนึ่งขัดเครื่องมุง จึงให้เงิน 100 บาท ช่วยศาลานั้น แล้วสัปบุรุษทายกชักชวนให้เข้าไปดูในวัด ซึ่งเชื่อเสียแล้วว่าจะไม่มีอะไร แต่ทนเสียงอ้อนวอนไม่ได้ ครั้นเข้าไปถึงลานวัดเห็นวัดใหญ่โตมาก เป็นที่รักษาสะอาดหมดจดอย่างยิ่ง รู้สึกสบาย ถ่ายรูปแล้วพวกสัปบุรุษชวนให้ไปดูพระอุโบสถซึ่งอยู่บนเขา จึงรู้ว่ามีทางอีกทางหนึ่งสำหรับขึ้นมา มีบันไดอิฐขึ้นตลอดจะต่ำกว่าเขาบวชนาคสักหน่อยแต่ทางขึ้นง่าย ไม่ใช่เขาดินเป็นเขาศิลามีดินหุ้มอยู่แต่ตอนล่างๆ พวกสัปบุรุษพากันตักน้ำขึ้นไปไว้สำหรับให้กินจะให้อาบ โบสถ์นั้นรูปโปร่งเป็นศาลา ไม่มีฝา หลังใหญ่มีพระเจดีย์องค์หนึ่ง แต่ข้างหลังโบสถ์และดูภูมิที่งดงามดี คือมีบึงใหญ่เห็นจะเป็นลำเดียวกันกับบึงบ้านหูกวาง และเห็นเขาหลวงเมืองนครสวรรค์สกัดอยู่ ในที่สุดถ่ายรูปแล้วไล่เลียงเรื่องวัดนี้ ได้ความว่า พระครูหวาอยู่วัดมหาโพธิ์ใต้มาเริ่มสร้างได้ 80 ปีมาแล้วได้ปฏิสังขรณ์ต่อๆ กันมา เจ้าอธิการได้เอาแหวนถักพิรอดมาแจก แหวนนั้นทำนองเดียวกับขรัวม่วงวัดประดู่ แต่ขรัวม่วงถักด้วยกระดาษลงรัก แต่นี่ถักด้วยด้ายทำเรียบร้อยดี"

    ขณะที่อยู่ที่วัดเขาดิน การที่หลวงพ่อเฮงไปช่วยสร้างศาสนสถานที่วัดเขาดิน ท่านจึงปกครองทั้ง 2 วัด คือวัดมหาโพธิ์ใต้และวัดเขาดิน ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามฝั่งแม่น้ำถือว่าเป็นวัดพี่วัดน้องกัน หลวงพ่อเฮงท่านเป็นพระสมถะ กินง่ายอยู่ง่าย พบง่าย ชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ท่านโปรดที่จะฉันข้าวกับกล้วยน้ำหว้าสุกงอม กับน้ำปลา ปลาเค็ม ท่านเป็นที่รักเคารพและศรัทธาของชาวบ้าน ต่อมาหลวงพ่อเฮงท่านก็ปรารถนาที่จะกลับมาจำพรรษาที่วัดมหาโพธิ์ใต้และอยู่ ตลอดเรื่อยมาจนท่านมรณภาพ ในเดือน 12 พ.ศ.2485 สิริอายุได้ 83 ปี พรรษาที่ 63

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2011
  6. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261
    [​IMG]

    หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน
    หลวงพ่อพวง เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือนสิบ ปีวอก ตรงกับพ.ศ.๒๔๑๕ หลวงพ่อพวงเกิดที่บ้านฟากคลองต.หนองกระโดน อ.เมือง จ.นครสวรรค์ เมื่อเยาว์วัยได้ศึกษาเล่าเรียนที่วัดหนองกระโดน ซึ่งการเรียนนั้นมุ่งไปที่การอ่านหนังสือไทย และหนังสือขอม การท่องบทสวดมนต์ และต่อหนังสือกับพระในตอนเย็น เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยรุ่น จึงลาออกจากวัดไปช่วย บิดามารดาประกอบอาชีพ จนอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงเข้าอุปสมบทที่วัดมหาโพธิใต้ ต.มหาโพธิ อ.บรรพตพิสัยเดิม(ปัจจุบันขึ้นอ.เก้าเลี้ยว) โดยมีพระครูพิสิษฐ์สมถคุณเป็นพระอุปัชณาย์ อยู่ในสมณเพศได้ 1 พรรษา ที่วัดหนองกระโดน แล้วก็ลาสิกขา ไปช่วยบิดามารดาทำนาทำไร่ครองเพศฆราวาสอยู่ได้ไม่นานนักก็เบื่อหน่ายในฆราวาสวิสัย จึงกลับเข้าอุปสมบทอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออายุ ๒๓ ปีบริบูรณ์ ตรงกับพ.ศ.๒๔๓๘ที่วัดมหาโพธิใต้ โดยมีพระครูพิสิษฐ์สมถคุณ(หลวงพ่อเฮง)วัดเขาดินใต้เป็นพระอุปัชณาย์ แล้วกลับไปอยู่ที่วัดหนองกระโดน ในการอุปสมบทครั้งนี้ หลวงพ่อพวงได้ตั้งปณิธาน ไว้ว่าจะดำรงสมณเพศตลอดไป จึงตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัย จากพระปลัดเคลือบเจ้าอาวาสวัดหนองกระโดน การปฏิบัติตามวิสัยของหลวงพ่อพวงนั้นจะออกบิณฑบาตรเป็นกิจวัตร มีการทำวัตรเช้า-เย็นทุกวันไม่มีขาด เวลากลางคืนท่านจะนั่งเจริญกรรมฐานจนดึกทุกคืน จริยาวัตรของท่าน เป็นที่น่าเคารพเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก ยึดมั่นในสัจธรรมที่ว่า"ยถาวาที ตถาการี"หมายถึง"คนตรงพูดอย่างไรทำอย่าวนั้น" จนมีคำพูดว่าหลวงพ่อพวงเป็นพระจริงๆ ในปีพ.ศ.๒๔๕๐ หลวงพ่อพวงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองกระโดนเมื่อมีพรรษา ๑๒ พรรษา เนื่องจากพระปลัดเคลือบเจ้าอาวาสท่านเดิมนั้นประชาชนได้อาราธนาไปเป็นเจ้าอาวาสวัดหัวเมือง(วัดนครสวรรค์) ต่อมาปีพ.ศ.๒๔๖๘เมื่อต.ลาดยาว ได้ยกฐานะขึ้นเป็นอ.ลาดยาว ขณะนั้นตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลาดยาวได้ว่างลง ขุนนิพัธ์ประสาสน์ นายอำเภอลาดยาวขุนลาดบริบาล พ่อค้า ประชาชนจึงได้จัดขบวนไปรับหลวงพ่อพวงที่วัดหนองกระโดน ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลาดยาวและเจ้าคณะแขวงลาดยาว ในปีพ.ศ.๒๔๗๓ หลวงพ่อพวงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอตรี ชื่อ"พระครูนิวิฐธรรมสาร" และเป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตแขวงลาดยาวเมื่อมีอายุ๕๘ ปี พรรษาที่ ๓๕ หลวงพ่อพวงมีความรู้ด้านการช่างฝีมือเป็นอย่างดี โดยได้ช่วยพระปลัดเคลือบสร้างศาลาวัดหัวเมืองจนแล้วเสร็จ ต่อมาปีพ.ศ.๒๔๕๙ได้เป็นผู้นำการสร้างศาลาวัดหนองยาว อ.ลาดยาว ปีพ.ศ.๒๔๖๗ ได้บูรณะวัดหนองกระโดนโดยสร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ ปีพ.ศ.๒๔๖๘ได้เป็นกำลังสำคัญสร้างศาลาการเปรียญให้แก่วัดเก้าเลี้ยว ปีพ.ศ.๒๔๖๙ ได้สร้างศาลาการเปรียญให้แก่วัดทัพชุมพลและไปช่วยสร้างวัดหนองโรงต.หนองกรด อ.ปากน้ำโพนอกจากนี้ยังได้ไปช่วยหลวงพ่อขันสร้างวัดลาดยาว อ.ลาดยาว ปีพ.ศ.๒๔๗๐ ได้ก่อสร้างมณฑปที่วัดหนองกระโดนเพื่อประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองและก่อสร้าวศาลาวัดเนินขี้เหล็กและวัดบ้านไร่ ในปีพ.ศ.๒๔๗๑หลวงพ่อพวงได้เริ่มก่อสร้างวัดเขาสมุกโดยสร้างศาลาการเปรียญ โรงน้ำร้อน กุฏิ ๔ หลัง หอฉัน ศาลา ๙ ห้อง สร้างรอยพระพุทธบาทจำลองไว้บนยอดเขาสมุก และสร้างมณฑปครอบไว้ การก่อสร้างใช้เวลา ๕ ปี แล้วเสร็จเมื่อพ.ศ.๒๔๗๕ มีเนื้อที่ดิน ๓๐ ไร่เศษ หลังจากหลวงพ่อพวงได้มรณะภาพแล้ว ได้มีการปั้นรูปเหมือนหลวงพ่อพวงไว้ที่วัดหนองกระโดน วัดลาดยาว วัดเขาสมุก วัดหนองยาว และวัดศรีสุธรรมาราม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2011
  7. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261

    [​IMG]

    ตำนานไอ้ด่างเกยชัย
    ไอ้ด่างเกยชัย เป็นชื่อเรียกของจระเข้ตัวใหญ่ตัวหนึ่ง ที่เคยอาละวาดกินคนที่แม่น้ำน่าน บ้านเกยชัย จ.นครสวรรค์ เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 (ปัจจุบันคือ ต.เกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์) ซึ่งผู้คนเชื่อว่าเป็นจระเข้เจ้า ที่ได้ชื่อว่า ไอ้ด่าง เพราะปลายจมูกมันมีดวงด่างสีขาวเป็นจุดเด่น ภายหลังถูกปราบได้ด้วยหอกของหมอจระเข้ 2 คน และได้ตัดหัวเก็บไว้ ว่ากันว่ามีความใหญ่ถึงขนาดหัวถึงหางสามารถนอนขวางลำน้ำจากฝั่งหนึ่งถึงฝั่งหนึ่งได้
    คนเก่าๆได้เล่าให้ฟังว่าไอ้ด่างเกยชัยเป็นจระเข้ที่ตัวใหญ่มากๆแถมฉลาดอีกด้วย วงไวมากๆ ถ้ามันเห็นเรือพายผ่านมามันจะว่ายน้ำตามแล้วชนเรือให้ล่มเพื่อกินคนบนเรือเป็นอาหาร บางครั้งมันก็ขึ้นมานอนแกล้งตายหงายท้องอยู่บนชายหาด พอชาวบ้านต่างมารุมดูกันเยอะๆมันพลิกตัววิ่งไล่กัดกินชาวบ้าน จนคนบริเวรนั่นขยาดและหวาดระแหวงมากๆ ทำให้ชาวบ้านทนไม่ไหวแค้นใจกันมากจึงระดมผูคนโดยมีหมอจระเข้เป็นผู้นำทีมออกไล่หาแต่ก็ไม่เจอ จึงวางแผนกันซ่อนตัวอยู่ตามตลิ่งหลายวัน ด้วยสัญชาตญานของสัตว์ที่หิวโหยไอ้ด่างเกยชัยก็ลอยตัวปรากฏขึ้นบนผิวน้ำ เท่านั้นเองชาวบ้านก็ช่วยกันใช้เชือกขนาดใหญ่หลายเส้นคล้องคอ มัดขา บางมีหอกก็เอาหอกแทง บางคนมีมีดก็เอามีดแทงชาวบ้านนับร้อยช่วยกันดึงมันขึ้นมานอนบนชายหาดแล้วเอาไม่ค้ำปากมันไว้ จากนั้นก็ช่วยกันพลิกให้มันหงายท้องแล้วเอามีดผ่าท้องมัน เจอทั้งเพชรทั้งทองมากมายอยู่ในท้องมัน หมดจระเข้จึงทำการตัดหัวมันออก และตั้งศาลไว้รำลึกถึงไอ้ด่างเกยชัยอยู่ที่บ้านเกยชัยจนถึงทุกวันนี้

    เรื่องราวของไอ้ด่างเกยชัย มีบันทึกอยู่ในสมุดบันทึกของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อคราวที่ท่านเสด็จไปตรวจราชการที่เมืองเหนือ ได้บันทึกเกี่ยวกับเรื่องราวของไอ้ด่างเกยชัยไว้สั้น ๆ 2 บรรทัด มีใจความว่า ที่นี่มีศีรษะของจระเข้ใหญ่ เป็นจระเข้กินคน ชาวบ้านเล่าลือกันว่าเป็นจระเข้เจ้า มีพระยาคนหนึ่งได้นำเอาศีรษะจระเข้นี้เข้ากรุงเทพ ฯ และได้ขายต่อให้ชาวต่างชาติไป เป็นอันจบกันสำหรับเรื่องราวของศีรษะจระเข้ใหญ่
    ปัจจุบัน บันทึกของท่านตอนนี้ สามารถสืบค้นได้ที่หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี
    แต่เรื่องราวของไอ้ด่างเกยชัย มักจำสับสนกับไอ้ด่างคลองบางมุด ที่เป็นจระเข้น้ำเค็มมีขนาดลำตัวใหญ่ เคยอาละวาดกินคนเช่นเดียวกันที่คลองบางมุด อ.หลังสวน จ.ชุมพร เมื่อปี พ.ศ. 2507 ซึ่งถูกปราบได้ด้วยลูกระเบิดของนายตำรวจผู้หนึ่งในท้องถิ่น
    ซึ่งเรื่องราวของไอ้ด่างเกยชัยแห่งคลองบางมุดนี้ โด่งดังจนถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ไทย 2 ครั้ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2011
  8. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261
    [​IMG]

    หลวงพ่อทอง วัดวรนาถบรรพต (วัดเขากบ) อ.เมือง จ.นครสวรรค์

    ประวัติลึกๆแล้ว ยังไม่มีใครรวบรวมไว้เลย ที่มีปรากฏอยู่ ก็จะเป็นประวัติ ย่อๆ หลวงพ่อทอง เป็นพระธุดงค์รูปหนึ่ง ที่ธุดงค์ มาจาก จ.อุตรดิตถ์ ผ่านมาเห็นสภาพวัด ซึ่งขณะนั้นได้เป็นวัดร้าง ปกคลุมด้วยป่าไผ่ และต้นไม้น้อยใหญ่ มีความสงบร่มรื่น จึงได้ปักกลด เจริญภาวนา ครั้นชาวบ้านในพื้นที่ได้พบเห็น จึงได้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้พร้อมใจกันอาราธนานิมนต์ ให้พำนักจำพรรษา และได้ช่วยกัน บูรณะปฏิสังขรณ์วัดด้วยความที่หลวงพ่อทอง ท่านเป็นพระเถราจารย์ ที่เข้มขลัง เรืองเวทย์รูปหนึ่ง เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน ทุกหมู่เหล่า การบูรณะปฏิสังขรณ์วัด จึงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ในปี พ.ศ 2481 หลวงพ่อทอง เป็นพระเกจิอีกหนึ่งองค์ ที่ได้เข้าร่วม ในงานพิธีหล่อพระพุทธรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ต่อมาทางคณะสงฆ์ได้ส่ง พระสมุห์ทองใบ มาช่วยในงานบูรณะวัด จนถึง ปี พ.ศ 2484 หลวงพ่อทอง ก็ได้ มรณภาพลง พระสมุห์ทองใบก็ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาสต่อจาก หลวงพ่อทอง ในปีพ.ศ 2485หลวงพ่อทอง วัดเขากบ เป็นพระเถราจารย์ที่มีคุณงามความดี มีวิชาที่เข้มขลัง เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชน ทุกหมู่เหล่า น้ำมนต์ หลวงพ่อทอง ศักดิ์สิทธ์มาก แต่จะเป็นที่รู้กันของชาวบ้านว่า น้ำมนต์ หลวงพ่อทอง ให้อฐิษฐานแล้วให้ดื่มได้อย่างเดียว ห้ามใช้อาบโดยเด็ดขาด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2011
  9. อัสนี

    อัสนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,401
    ค่าพลัง:
    +3,566
    คุณ
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->องค์ชายสาม<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5009111", true); </SCRIPT>
    สมาชิก PREMIUM
    เปิดกระทู้ เมืองสี่แคว(พระบาง)มาขอแจมด้วยคนน่ะ
    เริ่มพระเกจิอาจารย์เท่าที่กระผมจำได้ก็มี
    หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ แวะไปกราบรูปหล่อท่านที่ไรมองดูเหมือนมีชีวิตทุกที
    หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว(ลูกศิษย์หลวงพ่อเดิม พุทธาคมสูงส่งเหมือนหลวงพ่อเดิมเลย)
    หลวงปู่อินทร์ วัดเกาะหงส์ เพื่อนๆแวะไปกราบสรีระท่านได้น่ะร่างท่านไม่เน่าไม่เปื่อย
    หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุนนาค สรีระท่านก็ไม่เน่าเปื่อยเหมือนกัน แถมท่านยังเป็นอาจารย์
    หลวงปู่แหวนอีก
    หลวงพ่อโอด วัดจันเสน
    หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค สรีระท่านไม่เน่าเปื่อยเหมือนกัน
    หลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ สรีระท่านไม่เน่าเปื่อย แถมเส้นเกษาเล็บยังงอกยาวออกมาอีกด้วย
    หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู
    หลวงพ่อจ่อย วัดศรีอุทุมพร


    [​IMG]
    สรีระหลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค
    [​IMG]
    รูปหลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ(ลิงขาวฉายาท่าน)
    [​IMG]
    รูปหล่อและสรีระท่าน
    [​IMG]
    เส้นเกษาท่านและเล็บยังคงงอกอยู่เสมือนท่านยังมีชีวิตอยู่​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC02117.JPG
      DSC02117.JPG
      ขนาดไฟล์:
      73.6 KB
      เปิดดู:
      4,973
    • DSC02059.JPG
      DSC02059.JPG
      ขนาดไฟล์:
      108.9 KB
      เปิดดู:
      7,239
    • DSC02061.JPG
      DSC02061.JPG
      ขนาดไฟล์:
      75.4 KB
      เปิดดู:
      7,342
    • DSC02066.JPG
      DSC02066.JPG
      ขนาดไฟล์:
      63.1 KB
      เปิดดู:
      7,067
  10. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261

    [​IMG]
    ประวัติ หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร

    หลวงพ่อจ้อย นามเดิม จ้อย (ภาษาลาวกะลา แปลว่า ผอม) ฉายา จนฺทสุวณฺโณ นามสกุล ปานสีเทา วัดศรีอุทุมพร หมู่ที่ ๙ ตำบลหนองกรด อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
    ชาติภูมิ

    ตำบลพรวงสองนาง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี

    ชาติกาล
    วันอังคารที่ ๘ เมษายน ๒๔๕๖ (ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลู) เห็นบุตรคนที่สอง ของนายแหยม นางบุญ ปานสีทา มีพี่น้องด้วยกัน ๖ คน เป็นชาย ๓ คน หญิง ๓ คน คือ
    ๑.นางทองดี (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๒.พระครูจ้อย หรือ หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ
    ๓.พระภิกษุสิงห์ (มรณภาพแล้ว)
    ๔.นางแต๋ว (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๕.นางหนู เหล่าเขตกิจ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๖.พระภิกษุสุเทพ (มรณภาพแล้ว)

    อุปสมบท
    เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๔๗๖ ที่วัดดอนหวาย ตำบลพรวงสองนาง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี โดยมีพระปลัดตุ้ยเป้นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์บุญธรรมเป็น พระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์บุญตา เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    วิทยฐานะ
    ๑. พ.ศ. ๒๔๗o จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดดอนหวาย อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
    ๒. พ.ศ. ๒๔๘o สอบนักธรรมชั้นตรีได้
    ๓. พ.ศ. ๒๔๘๑ สอบนักธรรมชั้นโทได้
    ๔. การศึกษาพิเศษ หลักสูตรพระอภิธรรม และ วิปัสสนากรรมฐาน จากวัดระฆังโฆษิตาราม และ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร
    ๕. มีความรู้ความชำนาญในการเผยแพรีธรรมแก่พุธบริษัท และพระสงฆ์ที่ไปอยู่ปริวาสเป็นอย่างดี
    ๖. มีความรู้ความชำนาญในการก่อสร้างทุกชนิด

    เมื่อหลวงพ่อจ้อย อุปสมบทแล้วได้อยู่จำพรรษาเพื่อศึกษา พระปริยัติธรรมที่วัดดอนม่วง ตำบลวังม้า อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จำพรรษาอยู่ ๕ พรรษา แล้วไปศึกษาพระอภิธรรม และปวิปัสสนากรรมฐานที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กับพระอาจารย์เจชินซึ่งมาจากประเทศพม่า และยังไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน กับท่านเจ้าคุณภาวนาภิราม (สุกปวโร) และหลวงปู่นาค ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งเป็นสายเดียวกันกับสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) โดยมีหลวงพ่อพิมพา วัดหนองตางู ก็ไปศึกษาที่นั่นด้วย ใช้เวลาศึกษาอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตารามรวมหลายปี จึได้กลับมาจำพรรษาและพัฒนาวัดศรีอุทุมพร
    หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อจ้อย นิยมการออกธุดงค์รุกมูล (อยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร) ไปยังภูมิภาคต่างๆ เพื่อแสวงหาความวิเวก ทดสอบความทดทน เพื่อเผาผลาญกิเลสตัณหา อันได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลง และเพื่อศึกษาสัจจธรรมอันเป็นหนทาง แห่งความหลุดพ้น ตลอดจน วิชาอาคมจากครูบาอาจารย์ ต่างๆ ที่เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงโด่งดัง หลวงพ่อจ้อย ได้ขึ้นไปตั่งต้นเดินธุดงค์ที่ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ลงมาจนถึงจังหวัดนครปฐม และศึกษาวิชาอาคมกับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบกับหลวงพ่อฉาบวัดคลองจัน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครปฐม ได้แลกเปลี่ยนวิชาความรู้ต่างๆ แก่กัน และหลวงพ่อยังได้มีโอกาศไปศึกษาวิชาอาคม กับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ ชื่อดังในสมัยนั้น จากนันได้ศึกษาอักขระขอมลาวจนมีความรู้แตกฉานเป็นอย่างดี

    ในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕o หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ เกิดอาการอาพาธอย่าง ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ที่ร้านข้าวสาร " บุญมาพานิช" ซึ่งเป็นร้านของหลานสาวของ หลวงพ่อจ้อย พระใบฏีกาสมศักดิ์ ปญฺญาธโร รองเจ้าอาวาส วัดศรีอุทุมพร พร้อมด้วยลูกหลาน ศิษยานุศิษย์ได้นำพาหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ โดยมีรถจากโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์มารับ อาจากในระหว่างเข้ารับการรักษานั้น มีแต่ทรงกับทรุดหรือ บางครั้งดูเหมือนว่าจะดีขึ้น ลูกหลานและศิษยานุศิษย์เกิดความสงสารเห็น ท่านอยากจะกลับวัด

    ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕o ลูกหลานและศิษยานุศิษย์ จึงได้ขออนุญาตนายแพทย์ผู้รักษา นำหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ กลับวัดศรีอุทุมพรโดยมีรถจากโรงพยาบาลมาส่ง ถึงอาคารอเนกประสงค์วัดศรีอุทุมพร

    ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕o ในเช้าวันนี้เองหลวงพ่อจ้อย ให้สัญญาณว่า จะให้พาไปจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อไปพักผ่อนที่บ้านศิษยานุศิษย์ ผู้หนึ่ง แต่เมื่อถึงที่นั่นปรากฏว่าอาการยิ่งทรุดลงมาก ลูกหลานศิษยานุศิษย์ เลยต้องนำ หลวงพ่อจ้อย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเปลาโลวชิรปราการ ระหว่างการรักษาที่แห่งนี้ อาการก็มีทั้งดีขึ้นบ้าง ทรุดลงบ้างสลับกันอยู่อย่างนี้จนกระทั่งนายแพทย์ผู้ให้การรักษาให้ความเห้นกับลูกหลานและ ศิษยานุศิษย์ว่า ควรย้ายหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล สะพานควาย กทม.
    ๑๓ มีนาคม ๒๕๕o หลวงพ่อจ้อย ได้รับการดูแลจากคณะแพทย์ แห่งนี้ด้วยดีตลอดมา อาการน่าเป็นห่วงและต่อจากนั้นในความเห้นของแพทย์ ลูกหลาน และศิษยานุศิษย์ ตกลงจะพา หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ กลับวัด ตามความประสงค์ของ หลวงพ่อจ้อย "ซึ่งจะเหมือนคนชราทั่วไปที่กล่าวว่าถ้าจะตายขอให้ไปตายที่บ้านดีกว่า" ในเวลาเช้าวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕o แพทย์ได้นำพา หลวงพ่อจ้ยอ จนฺทสุวณฺโณ กลับวัดศรีอุทุมพร โดยรถฉุกเฉินของโรงพยาบาล
    เวลาประมาณ ๑๑.o๙ น. รถฉุกเฉินของโรงพยาบาลคันนั้นได้นำหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ถึง วัดศรีอุทุมพร เครื่องช่วยกระตุ้นส่วนต่างๆ หยุดทำงานทันที ท้องฟ้าสีอันงดงามเป้นที่แปลกตาแปลกใจของผู้คนจำนวนมากที่ทราบข่าวแล้วมารอรับอยู่ที่วัด
    หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ได้จากลูกหลาน ศิษยานุศิษย์ และประชาชนที่เคารพนับถือ ไป ณ. วันเวลานั้นอย่างไม่มีวันกลับมาอีกแล้ว

     
  11. Yasamsen

    Yasamsen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2010
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +165
    พี่แล้วหลวงพ่อโอน วัดโคกเดื่อล่ะพี่
     
  12. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261
    [​IMG]


    หลวงพ่อโอน วัดโคกเดื่อ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์

    หลวงพ่อโอน ฉายา ชิตปญโญ หรือ พระครูนิมิตรพุทธิสาร เจ้าคณะอำเภอไพศาลี ท่านเกิดเมื่อ วันพุธเดือนยี่ ปีมะแม พ.ศ 2450 หมู่ที่ 3 ต.โคกเดื่อ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ ท่านบวชเมื่อ พ.ศ 2471 โดยมีพระครูนิวาสธรรมขันธ์ ( หลวงพ่อเดิม ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ อุโบสถวัดโคกเดื่อ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์...หลวงพ่อโอน ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาจาก หลวงพ่อเดิม เป็นส่วนใหญ่ ทั้งเรื่องการสร้างมีดหมอ การทำน้ำพระพุทธมนต์ และวิชาทุกๆชนิดขอ งหลวงพ่อเดิม และยังมีอีกท่านนหึ่ง คือโยมสว่าง ณ บ้านทับคล้อ.. @@@ หลวงพ่อเดิม ท่านได้มาช่วยสร้างถาวรวัตถุที่วัดโคกเดื่อไว้หลายอย่าง เช่น ศาลาการเปรียญเป็นศาลาทรงไทย 1 หลัง / สร้างเจดีย์หน้าพระอุโบสถ 1 องค์ / สร้างพระอุโบสถ 1 หลัง เมื่อปี 2466 / สร้างรูปหล่อเท่าองค์จริงมอบให้วัดโคกเดื่อ 1 องค์ เมื่อปี 2482 เป็นต้น...เมื่อเวลาผ่านไป สังขารก็ไม่เที่ยง หลวงพ่อโอน ท่านได้มรณภาพลงเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2532 อายุได้ 82 ปี
     
  13. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261
    [​IMG]
    หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
    หลวงพ่อพรหม ถาวโร ถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปี มะแม ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พศ. 2426 ณ.ตำบลบ้านแพรก อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บุตรนายหมี-นางล้อมโกสะลัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน คือ
    1.นางลอย
    2.นายปลิว
    3.หลวงพ่อพรหม
    4.นางฉาบ
    ทุกคนถึงแก่กรรม
    หลวงพ่อพรหมในขณะเยาว์วัยได้ศึกษา อ่านเขียนกับพระในวัดใกล้บ้าน ศึกษาอักษรขอมควบคู่กับภาษาไทยตั้งแต่ก่อนอุปสมบท เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดเขียนลาย ต.บ้านแพรก อ.บ้านแพรก จ.อยุธยา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2447 ได้รับฉายาว่า "ถาวโร" โดยมีหลวงพ่อถม วัดเขียนลาย เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาขอมจนชำนาญและเริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

    หลวงพ่อพรหมเริ่มศึกษาวิชาไสยศาสตร์และคาถาอาคมกับอาจารย์ที่เป็นฆราวาส ชื่ออาจารย์พ่วง ต่อมาเมื่ออุปสมบทแล้วจึงได้ศึกษาอสุภกรรมฐาน สมถะกรรมฐาน วิปัสสนา จากหลวงพ่อดำ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ไม่ทราบวัดอยู่ประมาณ 4 ปี ในพรรษาที่ 5 อาจารย์พ่วง ได้พาไปฝากอาจารย์ปู่วอน ซึ่งเป็นฆราวาส และได้ศึกษาวิชาแขนงต่างๆเป็นเวลา 5 ปีเต็ม จนกระทั่งอาจารย์ปู่วอนถึงแก่กรรม ซึ่งในภายหลังหลวงพ่อพรหมได้นำกระดูกมาเก็บไว้ที่วัดช่องแค จากนั้นหลวงพ่อพรหม ก็ไม่ได้ไปศึกษากับอาจารย์ท่านใดโดยตรงมีแต่ศึกษาแลกเปลี่ยนวิชากับอาจารย์รุ่นพี่และรุ่นเดียวกันในระหว่างธุดงค์ เช่น หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ เป็นต้น

    หลวงพ่อพรหมจะเดินธุดงค์ทั้งเส้นทางใกล้และไกล โดยหลวงพ่อเคยเดินธุดงค์ไปประเทศพม่าถึงเมืองร่างกุ้ง และได้มีโอกาสที่มนัสการพระเจดีย์ชะเวดากอง และเดินธุดงค์ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์ ผ่านเทือกเขาน้อยใหญ่ และธุดงค์อยู่ในประเทศพม่าเป็นเวลานาน จึงเดินทางกลับประเทศไทยทางด่านแม่ละเมา จ.ตาก และเดินเรื่อยๆไปจนถึงเขาช่องแค ต.พรหมนิมิตร อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เกิดฝนตกหนัก หลวงพ่อได้หลบเข้าไปอยู่ในถ้ำซึ่งเป็นถ้ำเล็กๆ ซึ่งเป็นสถานที่ที่หลวงพ่อเห็นว่าเป็นที่วิเวกเหมาะแก่การบำเพ็ญธรรม จึงเริ่มปลูกต้นไม้แห่งศรัทธาลง ณ. ช่องเขาแห่งนี้
    ขณะที่หลวงพ่อจำศีลปฏิบัติธรรมอยู่นั้น ที่วัดช่องแคมีพระภิกษุจำพรรษาอยู่แล้ว 2 รูป แต่ยังไม่มีเจ้าอาวาส ภายในวัดยังไม่มีเสนาสนะใดๆ บริเวณวัดรกร้าง

    ต่อมาชาวบ้านในแถวนั้นซึ่งมีความนับถือเลื่อมใสหลวงพ่อได้นิมนต์ให้หลวงพ่อลงมาจำพรรษาข้างล่าง คือวัดช่องแคในปัจจุบัน หลวงพ่อพรหมจึงเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดช่องแค โดยที่ชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคที่ดินเพิ่มขึ้น หลวงพ่อพรหมได้เริ่มต้นสร้างวัดจากวัดที่รกร้างไม่มีเสนาสนะใดๆ เมื่อปี 2460 มาเป็นวัดที่มีกุฏิ ศาลาการเปรียญ โรงครัว ซึ่งส่วนหนึ่งของทรัพย์สินมาจากการขายสมบัติส่วนตัวและมรดกของหลวงพ่อเอง ต่อมาเมื่อทางวัดจะสร้างโบสถ์ ซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์สูง คณะกรรมการของวัดจึงขอ อนุญาติหลวงพ่อสร้างวัตถุมงคลขึ้น

    หลวงพ่อพรหม ชอบระฆัง การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อจึงมีรูประฆังและกลายเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของหลวงพ่อพรหม
    หลวงพ่อพรหมไม่เคยย้ายไปอยู่วัดใดเลยตลอดระยะเวลา 58 ปี โดยที่หลวงพ่อได้ลาออกจากเจ้าอาวาสเมื่อปี 2514 รวมเวลาที่เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องแค 54 ปี เพื่อให้พระปลัดแบงค์ ธมมวโร เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน หลวงพ่อพรหม มรณภาพเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2518 เมื่อเวลา 15.00 น. ณ.โรงพยาบาลบ้านหมี่ จ.ลพบุรี รวมอายุได้ 91 ปี 71 พรรษา

    หลังจากหลวงพ่อพรหม มรณภาพแล้ว คณะกรรมการวัดได้บรรจุศพของท่านไว้ในโลงแก้ว อยู่บนศาลาการเปรียญ ศพของหลวงพ่อพรหมไม่เน่าเปื่อย มด ไร มอด และ แมลง ไม่ได้รบกวนทำลายชิ้นส่วนใดๆในร่างกายของท่านแม้แต่น้อย คล้ายกับหลวงพ่อนอนหลับอยู่ แม้ว่าท่านจะมรณภาพมาแล้วถึง 30กว่าปี

    สิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นคือ หลังจากหลวงพ่อได้มรณภาพแล้วศพของหลวงพ่อไม่เน่าเปื่อย แถม
    1.เส้นผมงอกยาว 5-6 มม.
    2.เส้นขนคิ้วงอกยาว 5-6 มม.
    3.เส้นขนตางอกยาว 1 ซม.
    4.หนวดงอกยาว 5-6 มม.
    5.เคราใต้คางยาว 5-6 มม.
    6.เล็บมืองอกยาว 1 ซม.
    7.เล็บเท้างอกยาว 4-5 มม.


     
  14. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261
    [​IMG]

    หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
    พระเกจิอมตะแห่งเมืองสี่แคว
    "หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร" หรือ "พระครูนิวาสธรรมขันธ์" เจ้าอาวาสวัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เป็นพระเกจิอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือในเรื่องวิทยาคมและเครื่องรางของขลัง จนเป็นที่เลื่องลือ

    ประวัติ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

    อัตโนประวัติ หลวงพ่อเดิม เกิดในสกุล ภู่มณี เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2403 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายเนียมและนางภู่ ภู่มณี


    ประวัติหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพในช่วงวัยเยาว์ก่อนอุปสมบทนั้น โยมบิดามารดา ได้นำเข้าไปหาพระหาวัด โดยการศึกษาของชาวนาหนองโพในตอนนั้นมีศูนย์กลาง คือ วัดหนองโพ

    กระทั่งเมื่ออายุครบบวช ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2423 โดยมีหลวงพ่อแก้ว วัดอินทาราม (วัดใน) เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง ต.ท่าน้ำอ้อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล ต.สระทะเล เป็นพระอนุศาสนาจารย์

    หลวงพ่อเดิม ได้รับฉายาว่า "พุทธสโร"

    เมื่อหลวงพ่อเดิม อุปสมบทแล้วได้เดินทางกลับมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดหนองโพ เพื่อศึกษาเล่าเรียนตามทางที่พระนวกะ ท่านตั้งต้นศึกษาหาความรู้เป็นการใหญ่ รวมทั้งได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและท่องพระคัมภีร์วินัย

    นอกจากนี้ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพท่านยังได้ศึกษาวิทยาคมกับนายพัน ชูพันธ์ ผู้ทรงวิทยาคุณอยู่ในบ้านหนองโพ ภายหลังนายพันธ์ถึงมรณกรรม ได้ไปศึกษาเล่าเรียนกับหลวงพ่อมี ณ วัดบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

    หลวงพ่อเดิม ท่านได้ไปเรียนทางวิปัสสนากับหลวงพ่อเงิน วัดพระปรางเหลือง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ซึ่งหลวงพ่อเดิมปฏิบัติจริงจังตลอดเวลา

    ภายหลัง หลวงพ่อเดิม ได้จัดสร้างวัตถุมงคลมากมายหลายรุ่น จนเป็นที่เลื่องลือมากในเรื่องของความขลัง เป็นที่ปรากฏว่า ประชาชนทั้งชาวบ้านและข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือนทั้งในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดที่ใกล้เคียง ตลอดไปจนจังหวัดที่ห่างไกลบางจังหวัด พากันไปเข้าไปกราบนมัสการฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อมากมาย

    ขอให้หลวงพ่อเดิมรดน้ำมนต์ แป้งขอผง น้ำมัน ตะกรุด ผ้าประเจียด จากหลวงพ่อ ที่แพร่หลายที่สุด คือ แหวนเงินหรือนิเกิล และผ้ารอบฝ่าเท้าหลวงพ่อ ผ้าประเจียด เกียรติคุณในเรื่อง "วิชาขลัง" ของหลวงพ่อนั้นเป็นที่เลื่องลือกันแพร่หลายมานานแล้ว

    นอกจากความเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแล้ว หลวงพ่อเดิมยังเป็นพระนักพัฒนาสร้างถาวรวัตถุในวัดมากมาย อาทิ สร้างกุฏิหลังแรกที่ใช้ฝาไม้กระดาน สร้างศาลาการเปรียญ สร้างโรงอุโบสถ และสร้างพระเจดีย์ 3 องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบไว้ตรงหน้าอุโบสถ เป็นต้น

    อีกทั้ง ก่อสร้างถาวรวัตถุและปฏิสังขรณ์วัดอื่นๆ ภายในจังหวัดนครสวรรค์อีก

    หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูนิวาสธรรมขันธ์ รองเจ้าคณะแขวงเมืองนครสวรรค์ ในวันที่ 30 ธันวาคม 2457 นำความปีติยินดีแก่บรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อเป็นอันมาก

    พ.ศ.2462 หลวงพ่อเดิมได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

    หลวงพ่อเดิม ได้ปฏิบัติศาสนกิจในหน้าที่มาตลอดเวลา 20 ปี กระทั่งล่วงเข้าวัยชรามาก คณะสงฆ์จึงได้เลื่อนหลวงพ่อขึ้นเป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์

    หลวงพ่อเดิม เปรียบเสมือนร่มโพธิ์และร่มไทรที่มีกิ่งก้านสาขาแผ่ออกไปอย่างไพศาล เป็นที่พึ่งพาอาศัยของประชาชน อย่างไรก็ตาม หลังจากที่หลวงพ่อกลับจากการเป็นประธานงานก่อสร้างโบสถ์ในวัดอินทาราม ต.พยุหะ อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

    ต่อมา หลวงพ่อเดิม เริ่มอาพาธ และมีอาการหนักขึ้น บรรดาศิษยานุศิษย์ ต่างพากันมาห้อมล้อมพยาบาลและฟังอาการกันเนืองแน่น

    ในที่สุด หลวงพ่อเดิม ได้ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ 92 ปี 71 พรรษา ท่ามกลางความเศร้าสลดของพุทธศาสนิกชน

    คณะศิษยานุศิษย์ได้ช่วยกันสรงน้ำศพหลวงพ่อ ก่อนบรรจุศพตั้งบำเพ็ญกุศล และจัดให้มีการพระราชทานเพลิงในวันที่ 30 สิงหาคม 2494

    หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพได้รับการขนานนามและยกย่องเป็น "เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว" ซึ่งชาวนครสวรรค์ให้ความนับถือหลวงพ่ออยู่มิเสื่อมคลาย โดยเฉพาะ วัดหนองโพได้สร้างมณฑปที่ประดิษฐานรูปหล่อโลหะของหลวงพ่อพระรูปเหมือนหลวงพ่อเดิมขนาดเท่าองค์จริง

     
  15. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261
    [​IMG]

    ประวัติ หลวงปู่พิมพา ธมฺมวโร วัดหนองตางู
    หลวงปู่พิมพา ธัมฺมวโร อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองตางู ตำบลหนองตางู อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เดิมชื่อ พิมพา สาริกิจ เกิด 22 กรกฎาคม 2452 ตำบลวังเมือง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี ก่อนย้ายตามบิดา มารดา มาอยู่ที่ บ้านวังกระชอน ตำบลหูกวาง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เมื่ออายุ 20 ได้อุปสมบทที่วัดเขาดินใต้ โดยมีหลวงพ่อเฮง วัดเขาดินใต้ เป็นพระอุปัชฌาย์ ในระหว่างที่บวชเรียนได้ศึกษาวิชากับเป็นเกจิอาจารย์หลายท่านในภูมิภาคนี้ เช่น หลวงพ่อเฮง วัดเขาดินใต้ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ และหลวงพ่อพวงวัดหนองกระโดน นครสวรรค์ ศิษย์ร่วมรุ่นคือ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จังหวัดชัยนาท และยังเรียนกับหลวงพ่อเคลือบ วัดหนองกระดี่ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี หลวงพ่อยี วัดดงตาก้อนทอง จังหวัดพิษณุโลก หลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา จังหวัดลพบุรี หลวงพ่อดี วัดหัวถนนใต้ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ศิษย์ร่วมรุ่นของท่านคือ หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ และหลวงปู่ ยังได้เรียนตำราเมตรามหานิยม ตำรายาสมุนไพรจากคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านวังกระชอนที่ท่านบวชอยู่อีกด้วย หลังจากนั้นท่านได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯเพื่อศึกษาธรรมและวิปัสสนากำมฐาน ที่วัดมหาธาตุฯและวัดระฆังฯ ในสมัยหลวงปู่นาค และได้เดินทางธุดงค์ ไปหลายแห่งทั่วประเทศเลยไปถึง ประเทศลาวและจีน
    [​IMG]
    ด้านการพัฒนา
    หลวงปู่พิมพา จำพรรษาวัดแรกคือวัดวังกระชอน อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาจำพรรษาที่วัดชายเคือง อำเภอขาณุฯ จังหวัดกำแพงเพชร นายสุข บุญสวัสดิ์ ชาวบ้านหนองตางูเลื่อมใส จึงนิมนต์ให้มาโปรดชาวหนองตางู ท่านจึงมาสร้างวัดหนองตางู ประมาณ ปี ๒๔๘๐ และได้พัฒนาทั้งทางด้านการศาสนาการศึกษาและช่วยเหลือชาวบ้านในด้านต่างๆมากมาย เช่น สร้างโรงเรียน แหล่งน้ำ ได้ก่อสร้างวัด และช่วยหาทุนบำรุงรักษาเพื่อเผยแพร่ศาสนาให้กับญาติโยมที่ห่างไกล นับได้หลายสิบวัด ทั้งในและนอกจังหวัด เลยไปถึงประเทศลาว ท่านเคยนำคณะผ้าป่าและพระประธานขึ้นเรือนำไปถวายวัดฝั่งลาว จำนวนร้อยกว่าองค์ สมเด็จพระสังฆราชของประเทศลาว ยังมาให้การต้อนรับ การก่อสร้างวัดและบำรุงพระศาสนานี้ท่านก็คงเจริญรอยตามหลวงพ่อเดิม
    [​IMG]
    ด้านวัตถุมงคล
    หลวงปู่พิมพา ได้สร้างไว้หลายรุ่น ล้วนแต่มีประสบการณ์ทั้งสิ้น รุ่นแรกท่านได้สร้างที่วัดระฆังฯเป็นสมเด็จปิดทองโดยนำผงเก่าสมเด็จวัดระฆังผสมด้วย ประมาณปี ๒๔๙๑ แล้วนำมาวัดหนองตางู ประมาณ ๓ กล่องกระดาษใหญ่ บางส่วนท่านบอกฝังไว้ที่วัดระฆังฯ แต่ภายหลังให้ลูกศิษย์ไปดูปรากฏว่าเทคอนกรีตทับหมดแล้ว อีกรุ่นเป็นสมเด็จสนิมบาตรกรุโบสถ์เก่าประมาณ ๓ บาตรพระและยังนำผงสมเด็จวัดระฆังมาด้วยใช้ผสมทำพระของท่านอีกหลายรุ่น รุ่นแรกที่จัดสร้างที่วัดหนองตางู เป็นรูปขาวดำอัดกรอบกระจก ปี ๒๕๐๓ เหรียญรุ่นแรกเหรียญเสมา ปี ๒๕๐๖ จัดทำไม่มาก รูปหล่อรุ่นแรก ปี ๒๕๒๐ สมเด็จเกศาหลังเงารุ่นแรกใช้ผงสมเด็จวัดระฆังฯ ผสมด้วยเกศาท่าน ปี ๒๕๓๔ ตะกรุด มีดหมอ ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าเรียนวิชาตะกรุดและมีดหมอ มาจากหลวงพ่อเดิมและหลวงพ่อพวง สิงห์งาแกะจากหลวงพ่อเฮงและหลวงพ่อเดิม เสือจากหลวงพ่อเฮงและหลวงพ่อยี ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าปลุกเสกแล้วโยนไปตามกอหญ้าแล้วเอาหมูหรือเนื้อเกี่ยวเบ็ดหย่อนไปถ้าเสือตัวไหนติดมาด้วยจึงจะใช้ได้ถ้ายังไม่ติดก็ปลุกเสกจนติด คนแก่เล่าให้ฟังว่าท่านยังเคยเสกปลัดวิ่งบนน้ำแข่งกับ พระอาจารย์สุพจน์ วัดศรีทรงธรรม วัตถุมงคลของท่านสร้างน้อย ส่วนใหญ่ลูกศิษย์จะเก็บไม่ค่อยนำออกมา เช่นรูปหล่อรุ่นแรกสร้างแค่ ๒๕๒๐ องค์
    วัตถุมงคลหลวงปู่พิมพาที่เคยประสบมามีทั้ง แคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน เมตรามหานิยม ลูกศิษย์ ท่านที่เป็นที่รู้จักกันดีหลายวงการ นักการเมือง เช่น ท่าน วราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการคลัง พลเอกประมาณ อดิเรกสาร สมัยเป็นรัฐมนตรีว่าการมหาดไทยเคยนำ ฮ.มาลงกราบนมัสการที่วัด และท่าน สวัสดิ์ คำประกอบ บุญชู โรจนเสถียร ดารานักร้อง ยอดรัก สลักใจ สีหนุ่ม เชิญยิ้ม ดอน สอนระเบียบ เคยมาบวชกับท่านและจำพรรษาที่วัดนี้ กรุง ศรีวิไล สรพงษ์ ชาตรี เอ็ดดี่ ผีน่ารัก โก๊ะตี๋ อารามบอย สุรชัย สมบัติเจริญ และนกน้อย อุไรพร วงเสียงอีสาน เป็นต้น
    หลวงปู่พิมพา มรณภาพเมือ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๑ อายุได้ ๙๑ ปี ร่างท่านบรรจุอยู่ในโลงแก้ว สรีระร่างไม่เน่าเปื่อย ที่วัดหนองตางู ถ้าท่านใดผ่านมาแถววัดหนองตางูอย่าลืมแวะมานมัสการท่านได้ ปัจจุบันลูกศิษย์ท่านที่เป็นผู้สืบทอดวิชาอาคม คือ พระครูนิภาธรรมวิสุทธ์ เจ้าอาวาสวัดหนองตางู องค์ปัจจุบัน และพระอาจารย์พนม ฐานิสฺสโร วัดวังปลากราย อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร
    สุดท้ายนี้ขออัญเชิญพรหลวงปู่พิมพา ไม่เจ็บ ไม่จน รวย รวย รวย
     
  16. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261

    [​IMG]

    หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุนนาค

    ท่านเป็นสหธรรมิกของลป.มั่น ภูริทัตตโต พระอาจารย์แห่งสายพระป่า เคยธุดงค์และปฏิบัติธรรมด้วยกัน และมีสหธรรมิกอีกหลายรูปที่ปรากฎชัดเจนอาทิ ลพ.กลั่น วัดพระญาติฯ ลป.ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ลป.ปาน วัดบางนมโค ส่วนตัวลป.สีท่านเองนั้นเป็นพระอาจารย์ของครูอาจารย์รุ่นหลัง ๆ หลายรูป อาทิ ลป.แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง ลป.สิม วัดถ้ำผาปล่อง ลพ.พรหม วัดช่องแค ลป.บุดดา วัดกลางชูครีเจริญสุข ลพ.ทบ วัดชนแดน ลพ.ฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ลป.เย็น วัดสระเปรียญ ลพ.เจริญ วัดตาลานใต้ ซึ่งแต่ละรูปนั้นเป็นพระภิกษุที่ควรแก่การเคารพบูชา กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ ลป.สี ท่านถือกำเนิดเมื่อวันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2392 แรม 4 ค่ำเดือน 5 ปีระกา ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ที่บ้านหนองฮะ ตำบลหนองฮะ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ โยมพ่อท่านชื่อ "ผา (เชียงผา)" ต่อมาใช้นามสกุลว่า "ดำริห์" โยมแม่ชื่อ "ข้อล้อ" มีพี่น้องทั้ง 6 คน โดยท่านเป็นบุตรคนโตของครอบครัว เด็กชายสีเติบโตท่ามกลางป่าเขาในสมัยนั้นและได้ติดตามพ่อเชียงผาพรานใหญ่เข้าไปล่าสัตว์ในป่าเพื่อนำมาเป็นอาหาร และนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นข้าวของ หยูกยา เสื้อผ้า เครื่องใช้ไม้สอยต่าง ๆ จวบจนเด็กชายสีอายุได้ 11 ขวบ ครั้งหนึ่งพ่อเชียงผาได้พาเด็กชายสีไปกราบนมัสการพระอาจารย์อินทร์ (หนังสือบางเล่มจะเรียกท่านเป็น "ญาคูอินทร์" โดยคำว่า "ญาคู" นั้นเป็นภาษาอีสานหมายถึงพระผู้ใหญ่) ซึ่งเป็นสหายเก่าของท่านแต่ได้ออกบวชและใช้ชีวิตเยี่ยงอริยสงฆ์ ถือธุดงค์และเคร่งครัดในการปฏิบัติธรรม เมื่อพระอาจารย์อินทร์ได้เพ่งพิจารณาเด็กชายสีด้วยความสนใจ ถึงกับเอ่ยปากขอจากพ่อเชียงผา เพราะท่านเล็งเห็นว่าเด็กชายสีนั้นเป็นคนมีบุญวาสนา น่าจะได้รับโอกาสในการศึกษาเล่าเรียนมากกว่าการใช้ชีวิตเป็นพรานป่า โดยพระอาจารย์อินทร์นั้นขอเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูอย่างดี เมื่อเป็นดังนั้นพ่อเชียงผาจึงได้อนุญาตและยกเด็กชายสีให้อยู่ในความอุปการะของพระอาจารย์อินทร์ และได้เริ่มต้นออกเดินทางตามพระอาจารย์อินทร์ โดยท่านเดินธุดงค์เข้าสู่กรุงเทพฯ ซึ่งในสมัยนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ การเดินทางนั้นจะต้องผ่านอุปสรรคและอันตรายต่าง ๆ มากมาย ทั้งอากาศ ทั้งสัตว์น้อยใหญ่ในป่า ทั้งไข้ป่า ตลอดระยะเวลาที่เดินทางกับพระอาจารย์อินทร์นั้น ท่านได้อบรมสั่งสอนสรรพสิ่งด้วยความเมตตามาโดยตลอด ซึ่งการเดินทางในคราวนั้นใช้เวลาหลาย ๆ เดือน ที่ท่านพระอาจารย์อินทร์พาศิษย์รักคือเด็กชายสีมาที่กรุงเทพฯ นั้น เพราะท่านมีจุดประสงค์ที่จะฝากเด็กชายสีนี้ไว้ให้เป็นศิษย์ขรัวโตแห่งวัดระฆังฯ ทั้งนี้เพราะพระอาจารย์อินทร์นั้นมีความสนิทสนมกับขรัวโตตั้งแต่คราวที่ขรัวโตไปศึกษาวิปัสสนาธุระกับพระอาจารย์แสง วัดมณีชลขันธ์ จังหวัดลพบุรี ในแผ่นดินของรัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นตักกะศิลาที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุดในสมัยนั้น หลังจากนั้นพระอาจารย์อินทร์กับขรัวโตได้มีโอกาสมาพบกันอีกครั้งเมื่อคราวแผ่นดินรัชกาลที่ 3 โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้ขรัวโตเข้าเฝ้าเพื่อแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะ แต่ขรัวโตทูลเกล้าว่าไม่ขอรับตำแหน่งนี้และได้ธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ และได้รับความช่วยเหลือจากพระอาจารย์อินทร์เป็นผู้นำทางเดินธุดงค์สู่เมืองเขมรและดินแดนแถบภาคอีสาน ทำให้พระอาจารย์อินทร์กับขรัวโตมีความสนิทสนมกันมากจนเรียกได้ว่า "รู้อัธยาศัยซึ่งกันและกัน" จนกระทั่งเข้าแผ่นดินรัชกาลที่ 4 ท่านจึงกลับมาสู่กรุงเทพฯอีกครั้งหนึ่ง พระอาจารย์อินทร์ได้พาเด็กชายสีมากราบนมัสการขรัวโตที่วัดระฆังฯ เมื่อปี พ.ศ.2403 ซึ่งขณะนั้นท่านได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง "พระเทพกวี" และเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ เมื่อขรัวโตได้พบเห็นเด็กชายสี ท่านยินดียิ่งนักด้วยบุคลิกลักษณะของเด็กชายสีถูกชะตาท่านนัก จึงได้รับเด็กชายสีไว้เป็นศิษย์ตั้งแต่นั้นสืบมา ขรัวโตท่านมีความเอ็นดูและเมตตาเด็กชายสีเป็นอันมาก ด้วยความที่เด็กชายสีเป็นผู้ที่มีความอดทน ขยัน สนใจข้อธรรม และตั้งใจศึกษาอย่างจริงจัง ขรัวโตท่านจึงอบรมสั่งสอนถ่ายทอดสรรพวิชาทั้งอ่านเขียนไทยและขอม จนเด็กชายสีนั้นมีความแตกฉานเป็นอย่างดีและเนื่องด้วยเด็กชายสีได้รับการอบรมเรื่องการปฏิบัติเป็นอย่างดีจากพระอาจารย์อินทร์ตลอดการเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์เข้าสู่กรุงเทพฯ จึงทำให้การศึกษาในสรรพวิชามีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันเด็กชายสีก็อยู่ปรนนิบัติขรัวโตท่านอย่างใกล้ชิดจนกระทั่งขรัวโตท่านได้รับพระราชเลื่อนสมณศักดิ์เป็น "สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต)" เมื่อปีพ.ศ.2407 ณ ในกาลนั้นวัดระฆังฯ นั้นคราคร่ำไปได้ฝูงชนที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาของเจ้าประคุณสมเด็จโต ท่านได้เดินทางมาร่วมฉลองกันอย่างเอิกเกริกที่วัดระฆังฯ และได้จัดให้มีการบวชพระและเณร จำนวน 108 รูป ในครั้งนั้นเด็กชายสีก็ได้ปลงผมบวชเป็นเณรด้วยเช่นกันโดยมีเจ้าประคุณสมเด็จโต เป็นพระอุปัชฌาย์ให้ ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ 15 ปี เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านยังคงรับใช้ใกล้ชิดเจ้าประคุณสมเด็จโตท่าน และได้รับการถ่ายทอดวิชาอื่น ๆ อีกมากมาย ตลอดเวลาที่อยู่รับใช้สนองงานท่าน นอกจากสามเณรสีจะได้เรียนรู้เรื่องอักขระขอมไทยแล้ว ยังร่ำเรียนการทำผงปถมังเป็นปฐม และตามด้วยผงวิเศษต่าง ๆ การทำผงยา ผงว่านต่าง ๆ อีกมากมายอันเป็นสูตรการทำผงวิเศษที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต นำมาใช้พระสมเด็จอันลือลั่นที่ทรงคุณวิเศษและแพงที่สุดในโลก ซึ่งสรรพวิชาที่ท่านถ่ายทอดให้สามเณรสีนั้น ท่านเคยถ่ายทอดให้บางคนเท่านั้นนั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าสามเณรสีนี้ได้รับการคัดเลือกจากเจ้าประคุณสมเด็จโตเป็นอย่างดีให้เป็นผู้สืบทอดวิชาต่อจากท่านมาจนครบทุกสูตร สามเณรอยู่รับใช้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตจนกระทั่งลุเข้าปี พ.ศ.2411 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตอย่างสงบ เจ้าประคุณสมเด็จโตท่านมีความโศกเศร้าเสียใจและเก็บตัวเงียบ ทำให้สามเณรสีไม่ค่อยได้รับใช้สมเด็จฯ ท่านในช่วงเวลานั้น ประกอบกับในปีนั้นพระอาจารย์อินทร์ได้กลับจากธุดงค์และได้เดินทางมาแวะเยี่ยมเจ้าประคุณสมเด็จโตที่วัดระฆังฯ สามเณรสีจึงถือโอกาสขออนุญาตสมเด็จฯ ท่านกลับไปเยี่ยมโยมพ่อโยมแม่ที่จังหวัดสุรินทร์พร้อมกับพระอาจารย์อินทร์ ซึ่งสมเด็จโตฯ ท่านก็อนุญาตให้กลับไปเยี่ยมบ้านได้ สามเณรสีเมื่อเดินทางกลับถึงบ้านได้เห็นภาพความลำบากของโยมพ่อโยมแม่ จึงอนุญาตพระอาจารย์อินทร์สึกเป็นฆราวาส ซึ่งพระอาจารย์อินทร์ได้ตรวจดวงชะตาแล้วทราบว่า "ชะตาต้องเกี่ยวข้องกับทางโลก เมื่อพ้นวาระกรรมแล้วจะบวชไม่สึกและจะสำเร็จในบั้นปลายชีวิต" จึงได้อนุญาตตามคำขอ หนุ่มสีจึงได้ใช้ชีวิตทางโลกตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งในปี พ.ศ.2416 ได้มีโอกาสเดินทางมากรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่งและตั้งใจว่าจะไปเยี่ยมนมัสการสมเด็จโต แต่ไม่ทันการณ์เสียเพราะสมเด็จโตท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2415 หนุ่มสีจึงใช้ชีวิตทางโลกตั้งแต่รับราชการทั้งทหารและตำรวจจนได้ชายาว่า "ไอ้เสือหาญ" เพราะท่านมีจิตใจเด็ดเดี่ยวประกอบวิชาต่าง ๆ ที่ท่านได้ร่ำเรียนจากสมเด็จโตฯ นั้นได้ถูกนำมาใช้ในช่วงนี้ อาทิ อยู่ยง คงกระพัน ตลอดจนเวทย์มนต์คาถาต่าง ๆ จนกระทั่งในปี 2431 ขณะนั้นหนุ่มสีมีอายุได้ 39 ปีได้เกิดความเบื่อหน่ายต่อทางโลกจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดบ้านเส้า อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี มีพระครูธรรมขันธ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "ฉันทสิริ" หลังจากนั้นท่านได้ขออนุญาตพระอุปัชฌาย์สมาทานธุดงควัตร พระอาจารย์ท่านเห็นว่าท่านได้เคยบวชเรียนมาแล้ว เป็นผู้ใหญ่ที่มีความรู้ ความสามารถ ประกอบกับท่านเคยบวชเรียนอยู่กับสมเด็จโตฯ มานานจึงได้อนุญาต ท่านจึงเริ่มชีวิตแบบพระป่าโดยจาริกแสวงบุญไปยังสถานที่ต่าง ๆ เป็นระยะเวลา 9 ปีอาทิ พระบาทสี่รอย พระมหาเจดีย์ชะเวดากอง หลวงพระบาง และที่ป่าหลวงพระบาง เมื่อปี 2438 ท่านได้พบกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และร่วมเดินธุดงค์ไปด้วยกัน ยามพักผ่อนก็นั่งสนทนาธรรมกัน พระอาจารย์มั่นอายุอ่อนกว่า ลป.สี 21 ปี และพรรษาอ่อนกว่า ลป.สี 6 พรรษา แต่ถึงแม้ครูบาอาจารย์ทั้งสองรูปนี้จะมีอายุที่แตกต่างกัน แต่มีปฏิทาในการปฏิบัติและมุ่งมั่นในพระศาสนาเหมือนกัน พระอาจารย์มั่นจึงเคารพ ลป.สี โดยเรียกท่านว่า "หลวงพี่" จริง ๆ ลป.สีท่านยังพบพระที่ปฏิบัติชอบในป่าอีกหลายรูปแต่ท่านไม่เคยเล่าให้ผู้ใดฟัง เพราะตลอดชีวิตของท่านเป็นพระพูดน้อย เรียกได้ว่า หาคนที่จะทราบประวัติที่แท้จริงของท่านนั้นน้อยมาก นอกจากคนที่ปรนนิบัติท่านใกล้ชิดจริง ๆ ครั้งหนึ่งเคยมีคนถามโน่นถามนี่ท่านได้แต่ตอบว่า "บ่มีอดีต มีแต่ปัจจุบัน ชีวิตมีแต่พุทธศาสนา ป่าและวัด.." ปีพ.ศ.2440 ท่านธุดงค์กับบ้านหมกเต่าบะฮี ตำบลเบิด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เพื่อโปรดญาติโยมที่บ้านเกิดและจำพรรษาอยู่ที่วัดอิสานหมกเต่า และถือโอกาสอยู่ดูแลโยมพ่อโยมแม่จนถึงวาระสุดท้าย แต่ท่านก็ออกธุดงค์เหมือนเช่นเคยแต่ไม่ได้ไปไกลมากเพราะเป็นห่วงโยมทั้สอง จวบจนโยมพ่อของ ลป.สี เสียชีวิตในปีพ.ศ.2475 และโยมมารดาเสียชีวิตในปีพ.ศ.2485 ขณะนั้น ลป.สีอายุ 93 ปีและเป็นครูบาใหญ่ที่วัด หลังจากสิ้นโยมพ่อและโยมแม่แล้วท่านจึงธุดงค์ต่อไปอีกหลายสถานที่จนกระทั่งในปีพ.ศ.2512 ปู่โทร หลำแพร ซึ่งเป็นศิษย์สาย "หลวงปู่โลกเทพอุดร" เหมือนท่านได้เป็นผู้แนะนำพระอาจารย์สมบูรณ์ สำนักสงฆ์เขาถ้ำบุญนาคในเวลานั้น ให้ไปนิมนต์ ลป.สี มาร่วมสร้าง โดยพระอาจารย์สมบูรณ์พร้อมด้วยคณะชาวตาคลีได้เดินทางไปนิมนต์ ลป.สีท่านที่วัดบ้านหนองลุมพุก ตำบลหนองเรือ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) ขณะนั้น ลป.สีมีอายุ 120 ปี ที่น่าแปลกใจแก่พระอาจารย์สมบูรณ์และคณะที่เดินทางไปในเวลานั้นก็คือ ลป.สีท่านสามารถหยั่งรู้ด้วยญาณทิพย์ ว่าจะมีผู้มารับท่านไปสร้างบารมี ท่านจึงเตรียมตัวรออยู่แล้ว ท่านจึงรับนิมนต์ไปจำพรรษาที่สำนักสงฆ์เขาถ้ำบุญนาคในปีนั้นจึงถึงวาระสุดท้ายคือท่านมรณภาพเมื่อวันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2520 ขึ้น 6 ค่ำเดือน 4 มะเส็ง ตรงกับรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีนับได้ว่าท่านเป็นพระภิกษุผู้มีอายุยืนนานถึง 7 รัชกาล
     
  17. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261
    [​IMG]
    หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงษ์

    ประวัติ หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงษ์ นครสวรรค์ พระครูนิโรธธรรมประยุตร์ ( หลวงพ่ออินทร์ ) มีนามเดิมว่า ทองอินทร์ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมีย พ.ศ 2425 ที่บ้านท่าประชุม อ. ศรีมหาโพธิ์ จ. ปราจีนบุรี ครั้นอายุครบ อุปสมบท ได้ทำการอุปสมบทที่ วัดบ้านเกาะ โดยมี พระอาจารย์กัน เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากอุปสมบท ท่านก็ได้ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัย จนซาบซึ้งเข้าถึงสัจธรรม พรรษาที่ 5 ท่านก็ได้รับนิมนต์ไปเป็นเจ้าอาวาส วัดหนองกรด 1 พรรษา แล้วกลับมาอยู่ วัดบ้านเกาะตามเดิม พ.ศ 2472 ท่านได้เป็นเจ้าอาวาส วัดเกาะหงษ์ และใน พ.ศ 2485 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระครูนิโรธธรรมประยุตร์ กิตติคุณวิเศษของหลวงพ่ออินทร์ คือ ด้านการแพทย์แผนโบราณ ท่านได้ศึกษาและรวบรวมตำรายาสมุนไพรไว้มากมาย และมีความเชี่ยวชาญในการรักษากระดูก เช่น กระดูกหัก กระดูกแตก นอกจากนี้ยังรักษาโรค อัมพฤกษ์ อัมพาต และยังมีพลังจิต รักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างชะงัดอีกด้วย หลวงพ่ออินทร์ ท่านได้มรณะภาพเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2513
     
  18. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261
    [​IMG]
    หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว

    พระครูนิสิตคุณากร (หลวงพ่อกัน) วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ( ประวัติโดยย่อ )หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ 2434 อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ 2454 โดยมี หลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อกัน ท่านเป็นศิษย์เอก ยุคแรกๆของ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดพุทธาคม ตลอดจนสรรพศาสตร์ต่างๆมาจนอย่างเข้มขลังหลวงพ่อกัน มรณภาพ เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ 2513 มีอายุ 79ปี ได้รับการ ฌาปณกิจ เมื่อเดือน มีนาคม 2515
     
  19. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261
    [​IMG]
    หลวงพ่อแกร วัดบางแก้ว


    ชาติภูมิ
    พระครูนิยุตธรรมศาสน์ นามเดิม แกร นามสกุล สุวรรณกิจ ฉายาฐาปโน นามโยมบิดา นิ่ม นามโยมมารดา จาด

    ชาติกาล
    วันเสาร์ แรม ๘ ค่ำเดือนยี่ ตรงกับ วันที่ 25 มกราคา พุทธศักราช ๒๔๔๒ ณ บ้านโพธิ์ขัย ตำบลหัวไผ่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
    มีพี่น้องร่วมโยมบิดา โยมมารดา คือ

    ๑.นางผั่ว ปานกล่ำ(ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๒.พระครูนิยุตธรรมศาสน์(แกร สุวรรกิจ)
    ๓.นายปาน สิงห์พลับ(ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๔.นายไกร สิงห์พลับ(ถึงแก่กรรมแล้ว)

    การศึกษาเบื้องต้น
    เมื่อปฐมวัยอายุนับได้ ๑๑ ปีเศษ เรียนหนังสือภาษาขอมโบราณ ณ วัดธรรมสังเวช ต.หัวไผ่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี จนสมารถอ่าน-เขียน ภาษาขอมโบราณได้ ครั้นอายุได้ ๑๒ ปี ได้เข้าเรียนภาษาไทยที่วัดเดียวกัน จนสำเร็จชั้นป.๓ เมื่ออายุ ๑๕ ปี ต่อจากนั้น ก็ช่วยบิดามารดา ประกอบอาชีพกสิกรรมเท่าที่เด็กในวัยนั้นจะสามารถทำได้ จนบรรลุนิติภาวะอายุไ้ด้ ๒๐ ปี(พ.ศ.2462)จึงได้เข้าคัดเืลือกทหาร แต่่ปรากฎว่าผ่านการคัดเลือก

    อุปสมบท
    หลังจากผ่านคัดเลือกทหารได้ ๑ ปี ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๖๓ อายุได้ ๒๑ ปี จึงได้เข้าอุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๓ ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์ชัย จ.สิงห์บุรี โดยมีพระเกษีวิกรม วัดสังฆราชาวาส จ.สิงห์บุี เป็นพระอุปชฌาย์ พระวินัยธรรมกิ่งสุวรรณ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย จ.สิงห์บุรี เป็นพระกรรมวาจารจารย์ ได้รับฉายาว่า "ฐาปโน" แล้วจำพรรษาอยู่ ณ วัดโพธิ์ชัย นั่นเอง

    การศึกษา-วิทยฐานะ
    พ.ศ.๒๔๖๓ สอบได้นักธรรมชั้นตรี สำนักวัดโพธิ์ชัย จ.สิงห์บุร
    พ.ศ.๒๔๖๖ สอบได้นักธรรมชั้นโทร สำนักวัดมหาธาตุฯ จ.กรุงเทพฯ
    พ.ศ.๒๔๗๔ สอบได้ ป.ธ.๕ สำนักวัดมหาธาตุฯ จ.กรุงเทพฯ
    การศึกษาพิเศษ ได้ศึกษาวิชานวกรรมจากกระบวนการช่างสิบหมู่ จนมีความรู้ด้านการออกแบบ ก่อสร้างได้

    หน้าที่การปกครอง
    พ.ศ.๒๔๙๐ เป็นเจ้าอาวาสวัดบางแก้ว อ.พรรพตพิสัย จนถึง พ.ศ.๒๔๙๘ จึงได้รับคำสั่งให้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดส้มเสี้ยว อ.พรรพตพิสัย
    พ.ศ.๒๔๙๑ เป็นเจ้าคณะ ต.บางแก้ว อ.พรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
    พ.ศ.๒๔๙๘ เป็นเจ้าอาวาสวัดส้มเสี้ยว อ.พรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
    พ.ศ.๒๔๙๘ เป็นเจ้าคณะ อ.พรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์

    ด้านปฏิบัติธรรม
    ความเป็นพระสุปฏิบัติของครูนิยุตธรรมศาสน์ ได้มีมาแต่สมัยบวชใหม่ ดังปรากฏรายละเอียดที่นาวาโทธัญนพ ผิวเผือก เล่าไว้ในเรื่อง "หลวงพ่อของเรา" และเพราะความเป็นพระนักปฏิบัตินี้เอง ทำให้ท่านได้รับความยกย่องนับถือจากพระเถรานุเถระ ทั้งที่เป็นเจ้าคณะ ลูกคณะ ภิกษุ สามเณร และประชาชนทั่วไป ความเป็นพระสุปฏิบัติในส่วนสมถะกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานนี่เอง บรรดาศิษยานุศิษย์ จึงได้หล่อรูปเหมือนของท่านไว้สักการะบูชา

    รูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริงที่ประดิษฐานในวิหารชื่อ "นิยุตธรรมศาสน์" ๕ แห่งดังนี้
    แห่งที่ ๑. วัดบางแก้ว ต.บางแก้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
    แห่งที่ ๒. วัดส้มเสี้ยว ต.ท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
    แห่งที่ ๓. วัดธรรมรักขิตาราม ต.ตาขีด อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
    แห่งที่ ๔. วัดสันติวราราม ต.ท่ามะเขือ อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร
    แห่งที่ ๕. วัดโพธิ์ขัย ต.หัวไผ่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี

    สมณศักดิ์
    พ.ศ.๒๔๙๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็์นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท
    พ.ศ.๒๕๑๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก
    พ.ศ.๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ

    บั้นปลายแห่งชีวิต
    ในระยะหลังนี้ พระครูนิยุตธรรมศาสน์ เริ่มอาพาธด้วยโรคปอดอักเสก แพทย์ได้ถวายการารักษาและถวายคำแนะนำว่าควรหยุดพักงาน และพักผ่อนให้มากขึ้น แต่ท่านก็ได้หาหยุดไม่ ยิ่งเิร่งดำเนินการในสิ่งท่ยังคั่งค้างอยู่จนแล้วเสร็จทันตา และเคยปรารภกับศิษย์ผู้ใกล้ชิดว่า "เวลายิ่งเหลือน้อยต้องทำให้มาก" งานอย่างหนึ่งซึ่งท่านใส่ใจมาตลอดก็คือ การตั้งสำนักเรียนภาษาบาลี ที่วัดส้มเสี้ยว ท่านได้พยายามจัดหาทุนเพื่อตั้งเป็นมูลนิธินักเรียนบาลี จนได้เงินประมาณ ๑ บ้านบาท เมื่อมีทุนแล้ว ท่านก็ดำเนินการสร้าง "หอประชุมสงฆ์นิยุตธรรมศาสน์" เพื่อให้เป็นทั้งหอประชุมสงฆ์ประจำอำเภอ และเป็นโรงเรียนภาษาบาลีด้วย

    ต้นเดือนมกราคา ๒๕๒๘ พระครูนิยุตธรรมศาสน์ได้เข้าเีีรียนปรึกษาต่อพระเทพเวที เรื่อกำหนดฉลองหอประชุม และเปิดโรงเรียนบาลี และได้ตกลงกันว่า กำหนดการฉลองเดือนมิถุนายนศกนี้ เห็นว่าท่านรู้สึกดีใจ ปลื้มใจ มีอาการยิ้มแย้มแจ่มใส ได้ลงมาปรึกษาเจ้าคณะภาค ๔ ถึง ๒ ครั้ง ๒ คราว ในต้นเดือนมกราคมศกเดียวกัน
    แต่ความมุ่งหวังตั้งใจของท่านก็หาได้สำเร็จลงไม่ เพราะพอถึงวันที่ ๒๐ มกราคา ๒๕๒๘ เวลา ๒๑.๒๑ น.ท่านก็มรณภาพลงด้วยอาการอันสงบ ณ โรงพยาบาลเพชรบุรีตัดใหม่ จ.กรุงเทพฯ ด้วยโรคปอดอักเสบ สิริอายุได้ ๘๕ ปี ๓๖๐ วัน

    พระครูนิยุตธรรมศาสน์ได้มีหนังสือสั่งเรื่องงานศพของท่านไว้ ๒ ข้อคือ
    ๑. ให้ตั้งศพบำเพ็ญกุศล และฌาปนกิจ ที่วัดโพธิ์ชัย จ.สิงห์บุรี
    ๒. การจัดงานศพทั้งหมดให้อยู่ในดุลยพินิจของท่านเจ้าคุณ พระเทพเวที เจ้าคณะภาค ๔ วัดสุทัศน์เพทวราราม
     
  20. องค์ชายสาม

    องค์ชายสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,681
    ค่าพลัง:
    +11,261
    [​IMG]
    หลวงพ่อแนม วัดเขาหน่อ

    พระครูนิวาตธรรมโกศล ( หลวงพ่อแนม กตปุญโญ ) เด็กชาย แนม ธรรมราช เกิดวันที่ 6 เม.ย 2465 ณ. บ้านท่าเกษม หมู่ 4 อ. สวรรคโลก จ. สุโขทัย เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้อง 7 คนของ นายน้อย-นางฝอย ธรรมราช เมื่ออายุ 9 ขวบ ได้ตามแม่ใหญ่ ชื่อแม่ขาวพวง ธรรมราช ซึ่งเป็นแม่ชีมาจากสุโขทัยจนได้มาพบกับ พระธุดงค์คือ หลวงพ่ออ๊อด ที่วัดท่าจันทร์ ต. บ้านแดน อ. บรรพตพิสัย จ. นครสวรรค์ และได้เรียนหนังสือจนจบชั้นประถมปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดบ้านแดน หลังจากนั้นหลวงพ่ออ๊อด ได้ฝาก ด.ช แนม ไว้กับ หลวงพ่อแท่น ยโสธโร ซึ่งต่อมา หลวงพ่อแท่น ท่านก็ได้นำ ด.ช แนม ไปบวชเณรกับ ท่านเจ้าคุณวิเชียรโมลี เจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพ็ชร ณ. วัดพระบรมธาตุ อ. เมือง เมื่อวันที่ 7 พ.ค 2480 จนกระทั่งเมื่อ อายุเข้า 20 ปี หลวงพ่อแท่น จึงได้พาสามเณร แนม เข้าไปอุปสมบท กับ พระครูวิบูลย์วชิรธรรม ( หลวงพ่อสว่าง ) เมื่อวันที่ 8 พ.ค 2485 ณ. วัดสังขวิจิตร ต. ตาขีด อ. บรรพตพิสัย จ. นครสวรรค์ โดยมี พระครูวิบูลย์วชิรธรรม ( หลวงพ่อสว่าง ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รัยฉายา กตปุญโญ... พระอาจารย์ ที่หลวงพ่อแนม ได้ศึกษาธรรมะและ พุทธาคม ที่ได้บันทึกไว้มีดังนี้ 1. พระวิบูลย์วชิรธรรม ( หลวงพ่อสว่าง ) วัดคหบดีสงฆ์ กำแพงเพ็ชร 2. หลวงพ่อแท่น ยโสธโร 3. หลวงปู่เภา วัดถ้ำตะโก ลพบุรี 4. หลวงพ่อฉาย วัดป่าธรรมโสภณ 5. หลวงพ่อกึ่ง วัดโพธิ์ชัย 6. หลวงพ่อสุด วัดปฐมพานิช 7. หลวงพ่อสำลี วัดเขาวัง ราชบุรี 8. หลวงพ่ออุ่ม วัดเขาวัง ราชบุรี 9. หลวงพ่อธูป วัดเขาปถะหวี 10. หลวงพ่อวัน วัดเขาวง บ้านหมี่ 11. หลวงปู่นาค วัดท่าเกษม สวรรคโลก จ.สุโขทัย 12. หลวงพ่อแกร วัดส้มเสี้ยว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์หลวงพ่อแนม ท่านเป็นผู้มีคุณธรรม มีพรหมวิหารธรรม เป็นพระนักปฏิบัติ ที่เปี่ยมล้นไปด้วยเมตตาต่อบรรดาศิษย์เป็นอย่างยิ่ง ตลอดจนผู้ไฝ่ธรรมทั้งหลายที่มากราบท่าน นมัสการท่าน จนเมื่อวันที่ 15 มิ.ย 2543 หลวงพ่อแนม ท่านมีอากาศป่วยกำเริบ ลูกศิษย์ได้นำหลวงพ่อแนม ส่งโรงพยาบาลปากน้ำโพ นครสวรรค์ และท่านก็ได้มรณะภาพ ในเวลา 15.00 น. ด้วยอาการอันสงบ เป็นที่เศร้าโศรกเสียใจต่อประชาชน ลูกศิษย์ทั้งหลาย ตลอดจนผู่ใฝ่ทางธรรม ทุกๆท่าน.... วันที่ 22 ตุลาคม 2543 ทางคณะกรรมการวัดและศิษยานุศิษย์ได้จัดงาน พระราชทานเพลิงศพ พระครูนิวาตธรรมโกศล อดีตเจ้าคณะตำบลกิตติมศักดิ์ ตำบลบ้านแดน และเจ้าอาวาส วัดเขาหน่อ นครสวรรค์ ขึ้น ณ. วัดเขาห้วยลุง ต. บ้านแดน อ. บรรพตพิสัย จ. นครสวรรค์ ท่ามกลางความโศรกเศร้า ของผู้ที่มาร่วมในวันงาน....
     

แชร์หน้านี้

Loading...