ทำความเข้าใจ ก่อนการปฏิบัติเจริญเมตตาภาวนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยอดคะน้า, 22 สิงหาคม 2011.

  1. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    ว่าด้วยอานิสงส์เมตตา<!-- google_ad_section_end -->





    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><SCRIPT language=JavaScript src="http://a.admaxserver.com/servlet/ajrotator/812264/0/vj?z=admaxasia2&dim=280733&pid=f9495e6b-a541-414e-932e-d0ad5d5e6065&asid=871aa1a6-3e72-4cdc-b7bc-7b296a0f7713"></SCRIPT><!--/* OpenX Javascript Tag v2.8.7 */--><SCRIPT type=text/javascript><!--//<![CDATA[ document.MAX_ct0 ='http://a.admaxserver.com/click/CiRkODJkZTcwNC0wNmIwLTQzZGMtYmRlMC1lOTBiNjJjY2M2YWQQze4xGOTpMSIDQ1BDKOLpMTCdkRE9EJ4TQEADSOjJMVDnyTFaJGY5NDk1ZTZiLWE1NDEtNDE0ZS05MzJlLWQwYWQ1ZDVlNjA2NWICdmptIQ0rOngAgAEAiAEAkgEAmgEkNjk1Y2IzMzQtNzczNi00N2U3LWJiMDYtZWEyOWFhZmM1NTU3ogEkYmE0YTI2YWItMmE5MS00MWE5LWFjYjEtMzQ2YzI1NDg3MDYwqgEkYjA1ZjNiNmYtNmQ0NS00ZTc0LWIwNzItNzIxNjcyYTBjNDNisAEBuAEB/'; var m3_u = (location.protocol=='https:'?'https://www2.adsstat.com/adsmanager/www/delivery/ajs.php':'http://www2.adsstat.com/adsmanager/www/delivery/ajs.php'); var m3_r = Math.floor(Math.random()*99999999999); if (!document.MAX_used) document.MAX_used = ','; document.write ("<scr"+"ipt type='text/javascript' src='"+m3_u); document.write ("?campaignid=188"); document.write ('&cb=' + m3_r); if (document.MAX_used != ',') document.write ("&exclude=" + document.MAX_used); document.write (document.charset ? '&charset='+document.charset : (document.characterSet ? '&charset='+document.characterSet : '')); document.write ("&loc=" + escape(window.location)); if (document.referrer) document.write ("&referer=" + escape(document.referrer)); if (document.context) document.write ("&context=" + escape(document.context)); if ((typeof(document.MAX_ct0) != 'undefined') && (document.MAX_ct0.substring(0,4) == 'http')) { document.write ("&ct0=" + escape(document.MAX_ct0)); } if (document.mmm_fo) document.write ("&mmm_fo=1"); document.write ("'><\/scr"+"ipt>");//]]>--></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://www2.adsstat.com/adsmanager/www/delivery/ajs.php?campaignid=188&cb=89320874218&charset=utf-8&loc=http%3A//palungjit.org/threads/%u0E27%u0E48%u0E32%u0E14%u0E49%u0E27%u0E22%u0E2D%u0E32%u0E19%u0E34%u0E2A%u0E07%u0E2A%u0E4C%u0E40%u0E21%u0E15%u0E15%u0E32-285544.html&referer=http%3A//palungjit.org/.45/%u0E1E%u0E23%u0E30%u0E44%u0E15%u0E23%u0E1B%u0E34%u0E0E%u0E01%u0E17%u0E31%u0E48%u0E27%u0E44%u0E1B/index2.html&ct0=http%3A//a.admaxserver.com/click/CiRkODJkZTcwNC0wNmIwLTQzZGMtYmRlMC1lOTBiNjJjY2M2YWQQze4xGOTpMSIDQ1BDKOLpMTCdkRE9EJ4TQEADSOjJMVDnyTFaJGY5NDk1ZTZiLWE1NDEtNDE0ZS05MzJlLWQwYWQ1ZDVlNjA2NWICdmptIQ0rOngAgAEAiAEAkgEAmgEkNjk1Y2IzMzQtNzczNi00N2U3LWJiMDYtZWEyOWFhZmM1NTU3ogEkYmE0YTI2YWItMmE5MS00MWE5LWFjYjEtMzQ2YzI1NDg3MDYwqgEkYjA1ZjNiNmYtNmQ0NS00ZTc0LWIwNzItNzIxNjcyYTBjNDNisAEBuAEB/"></SCRIPT><NOSCRIPT></NOSCRIPT><OBJECT id=Advertisement classid=clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000 width=300 height=250>
























    </p>&nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &ampnbsp</p>&ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp</p>&ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp</p>&ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp</p>&ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampnbsp
    &nbsp

    </OBJECT>
    <SCRIPT type=text/javascript><!--// <![CDATA[var ox_swf = new FlashObject('http://www2.adsstat.com/adsmanager/www/delivery/ai.php?filename=naturegift_300x250.swf&contenttype=swf', 'Advertisement', '300', '250', '10');ox_swf.addVariable('clickTARGET', '_blank');ox_swf.addVariable('clickTAG', 'http%3A%2F%2Fwww2.adsstat.com%2Fadsmanager%2Fwww%2Fdelivery%2Fck.php%3Foaparams%3D2__bannerid%3D281__zoneid%3D0__cb%3De59db9da50__oadest%3Dhttp%253A%252F%252Fa.admaxserver.com%252Fclick%252FCiRkODJkZTcwNC0wNmIwLTQzZGMtYmRlMC1lOTBiNjJjY2M2YWQQze4xGOTpMSIDQ1BDKOLpMTCdkRE9EJ4TQEADSOjJMVDnyTFaJGY5NDk1ZTZiLWE1NDEtNDE0ZS05MzJlLWQwYWQ1ZDVlNjA2NWICdmptIQ0rOngAgAEAiAEAkgEAmgEkNjk1Y2IzMzQtNzczNi00N2U3LWJiMDYtZWEyOWFhZmM1NTU3ogEkYmE0YTI2YWItMmE5MS00MWE5LWFjYjEtMzQ2YzI1NDg3MDYwqgEkYjA1ZjNiNmYtNmQ0NS00ZTc0LWIwNzItNzIxNjcyYTBjNDNisAEBuAEB%252Fhttp%25253A%25252F%25252Fwww.naturegift.co.th');ox_swf.addParam('allowScriptAccess','always');ox_swf.write('ox_10599a63bc86214cbae0c45ae5d5fcaa');if (ox_swf.installedVer.versionIsValid(ox_swf.getAttribute('version'))) { document.write("[​IMG]
    "); } else { document.write("[​IMG]
    "); }// ]]> --></SCRIPT>[​IMG]
    <NOSCRIPT></NOSCRIPT><NOSCRIPT></NOSCRIPT>
    พระไตรปิฎกมหาวิตถาร ๕,๐๐๐ กัณฑ์
    (ฉบับส.ธรรมภักดี)
    คัมภีร์อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต
    กัณฑ์ที่ ๒๑
    ว่าด้วยอานิสงส์เมตตา

    มา ภิกฺขเว ปุญฺญานํ ภายิตฺุถ สุขสฺเสตํ ภิกฺขเว อธิวจนํ ยทิทํ ปุญญานนฺติ.


    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงคัมภีร์อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต
    กัณฑ์ที่ ๒๑ ว่าด้วยอานิสงส์เมตตาสืบต่อไป
    เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา
    และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดกาลนาน

    บาลี

    ดำเนินความตามวาระพระบาลี อันมีในพระสูตรที่ ๙ วรรคที่ ๑
    ปัณณาสกสงเคราะห์ คัมภีร์อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาตนั้นว่า
    พระพุทธองค์ได้ทรงสอนภิกษุทั้งหลายไว้ว่า

    เธอทั้งหลายอย่ากลัวบุญ เพราะคำว่า บุญนี้ เล็งเอาสิ่งที่ให้เกิดความสุข
    เรารู้ได้ว่า เราได้รับผลอันเป็นที่ต้องการ เป็นที่รักใคร่พอใจอยู่ตลอดกาลนาน
    คือ เราได้เจริญเมตตาจิตอยู่ ๗ ปี
    แล้วไม่ได้กลับมาสู่โลกนี้อีกถึง ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัล์ป
    ในเวลากัล์ปฉิบหาย เราได้อยู่ในอาภัสสรพรหมโลก
    ในเวลากัล์ปเจริญ เราได้อยู่ในวิมานพรหมที่ว่างเปล่า
    ในเวลาที่เราได้อยู่ในวิมานพรหมนั้น เราได้เป็นมหาพรหม
    เป็นผู้ครอบงำสิ่งทั้งปวง ไม่มีสิ่งใดครอบงำได้ เป็นผู้เห็นทุกสิ่ง
    เป็นผู้มีอำนาจ

    ต่อมาเราก็ได้เป็นท้าวสักกะ จอมของเทพเจ้าทั้งหลายอยู่ถึง ๓๖ ชาติ
    ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ผู้เป็นใหญ่ในโลก ผู้สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
    คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ขุนพลแก้ว
    อยู่หลายร้อยชาติ

    เวลาเราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น เรามีบุตรมากกว่าพัน
    ล้วนแต่แกล้วกล้าสามารถอาจย่ำยีข้าศึกได้ทั้งนั้น
    แม้เราได้ครอบครองแผ่นดิน อันมีมหาสมุทรเป็นที่สุดนี้โดยชอบธรรม
    ไม่ต้องใช้อำนาจอาชญาสาตราวุธอย่างใด

    ครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาซึ่งมีเนื้อความว่า
    ผู้ต้องการสุขทั้งหลาย จงดูผลแห่งบุญกุศลเถิด
    เราได้อบรมจิตเมตตาอยู่ ๗ ปี ก็ไม่ได้มาสู่โลกนี้อีกถึง ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัล์ป
    เมื่อโลกฉิบหาย เราก็ได้เกิดในอาภัสสรพรหมโลก
    เมื่อโลกเจริญ เราก็ได้ลงมาเกิดในวิมานพรหม ชั้นพรหมกายิกา
    เราได้เป็นมหาพรหมอยู่ ๗ ชาติ ได้เป็นท้าวสักกเทวราชอยู่ ๓๖ ชาติ
    ได้เป็นจักรพรรดิราชอยู่หลายร้อยชาติ
    ได้สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการอยู่ทุกชาติ ที่เป็นจักรพรรดิราช
    พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้สงเคราะห์โลก
    ข้อความเหล่านี้เป็นของที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทรงแสดงไว้ดีแล้ว
    บุคคลได้เป็นเจ้าของแห่งปฐพีด้วยเหตุอันใด
    เหตุอันนั้น ย่อมมีแก่ผู้ประเสริฐ
    เราได้เป็นพระราชาผู้มีเครื่องเปลื้องใจมาก ผู้มีเดชมาก มีฤทธิ์มาก
    มียศมาก ใครได้ฟังแล้วจะไม่เลื่อมใส เว้นไว้แต่ผู้ใจบาปเท่านั้น
    เพราะฉะนั้น
    ผู้ที่มุ่งความเจริญให้แก่ตน มุ่งความเป็นใหญ่ให้แก่ตน
    ควรนึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า
    ควรเคารพพระสัทธรรม ดังนี้
    สิ้นเนื้อความในพระบาลีเพียงเท่านี้


    อรรถกถา

    ในอรรถกถามีว่าไว้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น กล่าวคือ
    คำว่า เธอทั้งหลายอย่ากลัวบุญนั้น
    หมายความว่า
    ผู้ที่ทำบุญอย่ากลัวบุญ
    คำว่า อบรมจิตเมตตานั้น ได้แก่อบรมจิต อันประกอบด้วยเมตตา
    จนได้ฌานให้ประณีต

    คำว่าเมื่อกัล์ปฉิบหายนั้น คือ เมื่อไฟไหม้กัล์ป
    คำว่า ครอบครองแผ่นดิน อันมีมหาสมุทรเป็นที่สุดนั้น
    คือ ครอบครองแผ่นดินซึ่งมีภูเขาจักรวาลเป็นขอบเขต
    มีมหาสมุทรในภายในภูเขาจักรวาลเป็นที่สุด ดังนี้

    ธัมมัตถาธิบาย

    ในอรรถาธิบายว่า เมื่อครั้งพระพุทธองค์ยังทรงสร้างบารมีอยู่นั้น
    ครั้งหนึ่ง พระองค์ได้ทรงเจริญเมตตาจนได้สำเร็จฌานอยู่ถึง ๗ ปี
    ในครั้งนั้น พระองค์ได้เกิดเป็นฤาษี มีนามว่า อรกศาสดา
    มีศิษย์บริวารอยู่เป็นอันมาก ดังที่ปรากฏอยู่ในอรกชาดก
    คัมภีร์ทุกกนิบาต ซึ่งจะยกมาแสดงต่อไป

    บาลี

    เอกสฺมิํ สมเย สตฺถา
    กล่าวคือ ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ทรงสอนภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเกี่ยวข้องอบรม
    กระทำให้มาก
    กระทำให้เป็นยานพาหนะ
    ทำให้เป็นวัตถุ
    ทำเนืองๆ สะสมไว้ดี
    ปรารถนาไว้ดี
    ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติแล้ว
    ต้องหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการฯ
    ก็อานิสงส์ ๑๑ ประการนั้น คือประการใดบ้าง
    คือ
    หลับเป็นสุข ๑
    ตื่นเป็นสุข ๑
    ไม่ฝันร้าย ๑
    เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ๑
    เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ๑
    เทวดาทั้งหลายรักษา ๑
    ไม่ถูกไฟไหม้ ไม่ถูกยาพิษ ไม่ถูกสาตรา ๑
    จิตย่อมเบิกบาน ย่อมตั้งมั่น ๑
    สีหน้าผ่องใส ๑
    ไม่หลงใหลเวลาจะตาย ๑
    เมื่อยังไม่สำเร็จธรรมอันยิ่ง ย่อมไปเกิดในพรหมโลก ๑


    ครั้นพระพุทธองค์ ทรงสรรเสริญการอบรมเมตตา
    อันมีอานิสงส์ ๑๑ ประการนี้
    แล้วจึงตรัสว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุต้องอบรมเมตตา
    โดยเจาะจงและไม่เจาะจงในสตว์ทั้งปวง
    ต้องแผ่จิตเมตตาไปในผู้มีประโยชน์เกื้อกูลบ้าง
    ไม่มีประโยชน์เกื้อกูลบ้าง
    ผู้เป็นกลางๆ บ้าง
    ต้องอบรมกรุณา มุทิตา อุเบกขา
    ในสัตว์ทั้งปวงโดยเจาะจงและไม่เจาะจงอย่างนี้
    ต้องเจริญพรหมวิหาร ๔ อย่างนี้
    ผู้เจริญพรหมวิหาร ๔ อย่างนี้ เมื่อยังไม่ได้มรรคผล
    ก็ได้เกิดในพรหมโลก
    บัณฑิตทั้งหลายในปางก่อน อบรมเมตตาอยู่ ๗ ปี
    แล้วได้ไปอยู่ในพรหมโลกถึง ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัล์ป
    ครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงทรงนำเรื่องอดีตมาแสดง

    อตีเต เอกสฺมิํ กปฺเป โพธิสตฺโต พฺราหฺมณกุเล นิพฺพตฺเตตฺวา
    กล่าวคือ ในกัล์ปหนึ่งซึ่งล่วงมาแล้ว
    พระโพธิสัตว์เจ้าเกิดในตระกูลพราหมณ์
    ถึงยามเติบโตแล้ว ก็ออกบรรพชาเป็นฤาษี เจริญพรหมวิหาร ๔
    มีนามว่า อรกศาสดา อยู่ในป่าหิมพานต์ มีบริวารเป็นอันมาก
    ได้สั่งสอนหมู่บริวารว่า
    ธรรมดาบรรพชิต ต้องอบรมจิตเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
    อันจิตเมตตานี้ถึงซึ่งอัปปนา คือ
    ความแน่นแฟ้นแล้วย่อมให้ไปเกิดในพรหมโลก ดังนี้

    เมื่อจะชี้อานิสงส์เมตตาโดยย่อ จึงได้กล่าวคาถา ซึ่งมีเนื้อความว่า
    ผู้ใดอนุเคราะห์โลกทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ
    ทางขวาง หาประมาณมิได้ด้วยจิตเมตตา
    จิตเมตตาอันหาประมาณมิได้ ที่บุคคลอบรมดีแล้ว
    กรรมอันมีประมาณ คือกรรมเล็กน้อยย่อมไม่เหลืออยู่ในจิตนั้น ดังนี้

    ถ้อยคำเหล่านี้มีคำอธิบายว่า ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นกษัตริย์ หรือพราหมณ์
    หรือคฤหบดี เวศย์ ศูทร สมณพราหมณ์
    อย่างไรก็ตาม ถ้าอนุเคราะห์สัตวโลกทั้งสิ้นด้วยจิตเมตตา
    อันถึงความแนบแน่น คือ
    แผ่จิตเมตตาขึ้นไปในเบื้องบน
    เริ่มแต่แผ่นดินขึ้นไปจนถึงพรหมโลกชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ
    แผ่จิตเมตตาลงไปในเบื้องต่ำจนถึงนรกใหญ่เป็นที่สุด
    แผ่จิตเมตตาไปในทางขวางตลอดโลกทั้งปวงว่า

    จักรวาลมีอยู่ประมาณเท่าใด สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในจักรวาลมีประมาณเท่าใด
    จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่ถูกปองร้าย ไม่มีความคับแค้น จงมีแต่ความสุขเถิด

    คำว่า จิตเมตตาอันหาประมาณมิได้นั้นเป็นจิตเมตตาในสัตว์ทั้งปวง
    อันบุคคลอบรมหาประมาณมิได้เป็นจิตบริบูรณ์ เป็นจิตเจริญดี
    กรรมอันเล็กน้อย คือกรรมที่เป็นกามาวจรที่มีอยู่แล้ว
    ย่อมไม่เหลืออยู่ในจิตอันหาประมาณไม่ได้นั้น
    เปรียบเหมือนห้วงน้ำน้อยที่ถูกห้วงน้ำใหญ่ท่วม
    ย่อมไม่เหลืออยู่ได้
    เหลืออยู่แต่ห้วงน้ำใหญ่เท่านั้น ข้อนี้ฉันใด
    กรรมอันเล็กน้อยคือกรรมที่เป็นกามาวจร
    ถูกกรรมใหญ่ตัดแล้วก็หมดโอกาสที่จะให้ผล
    ไม่เหลืออยู่ในภายในแห่งกรรมใหญ่นั้นได้ ไม่อาจให้ผลได้
    มีแต่กรรมใหญ่เท่านั้นให้ผล ดังนี้

    ครั้นพระโพธิสัตว์เจ้า
    แสดงอานิสงส์การอบรมเมตตาแก่พวกอันเตวาสิกอย่างนี้แล้ว
    เวลาฌานไม่เสื่อมก็ได้เกิดในพรหมโลก
    ไม่กลับมาถึงโลกนี้อีก ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัล์ป ดังนี้

    ครั้นองค์พระชินศรี ทรงนำเรื่องนี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า
    หมู่ฤาษีในคราวนั้นได้มาเป็นพุทธบริษัทในบัดนี้
    ส่วนอรกศาสดานั้นได้มาเป็นเราตถาคต ดังนี้
    สิ้นเรื่อง อรกศาสดา ตามชาดกเพียงเท่านี้

    ธัมมัตถาธิบาย

    ต่อนี้ไป เป็นเนื้อความในอรรถาธิบาย ในคำว่า

    ท่านทั้งหลายอย่ากลัวบุญ
    คำว่า บุญ เล็งเอาเหตุให้เกิดสุข ดังนี้ฯ

    ข้อนี้มีผู้แปลผิดกันอยู่โดยมาก คือ

    คำว่า สุขสฺเสตํ อธิวจนํ ยทิทํ ปุญฺญานํ
    ซึ่งได้แปลไว้แล้วว่า
    คำว่า บุญนี้ เล็งเอาเหตุให้เกิดสุขนั้น
    มีผู้แปลผิดโดยมาก

    คือ แปลว่า คำว่า บุญนี้เป็นชื่อแห่งความสุข ดังนี้
    การแปลอย่างนี้เมื่อไม่พิจารณาให้ละเอียดแล้ว ก็ไม่เห็นว่าแปลผิด
    ต่อเมื่อพิจารณาละเอียดจึงเห็นว่าแปลผิด
    ที่ว่าผิดนั้นคือ อย่างไร

    คือ ถ้าแปลว่าบุญนี้เป็นชื่อแห่งความสุข ดังนี้
    ก็ต้องหมายความว่า บุญเป็นตัวผล ไม่ใช่บุญเป็นเหตุ
    เพราะคำว่าสุขเป็นผล ไม่ใช่เป็นเหตุ
    การทำผลย่อมทำไม่ได้ ทำได้แต่เหตุเท่านั้น
    เช่น ทำมะม่วงเป็นต้น ย่อมทำไม่ได้
    ทำได้ก็แต่ปั้นดินให้เป็รูปผลมะม่วงเท่านั้น
    จะทำได้ก็ต้องทำเหตุ คือปลูกต้นมะม่วงขึ้นแล้วดูแลจนให้โตใหญ่
    จึงจะเกิดดอกผลออกได้

    คำว่า สุข ทุกข์เป็นผลทั้งนั้น ไม่ใช่เป็นเหตุ
    คำว่า บาป บุญ เป็นเหตุทั้งนั้น ไม่ใช่เป็นผล
    เพราะฉะนั้น
    ถ้าแปลว่า บุญนี้เป็นชื่อแห่งความสุข หรือเล็งเอาความสุข
    หรือหมายความสุข ดังนี้ ก็เป็นอันแปลผิดแท้

    เพราะฉะนั้น

    ที่ถูกจะต้องแปลว่า คำว่า บุญนี้ เล็งเอาเหตุให้เกิดความสุข ดังนี้
    คำว่า สุขสฺส นั้น ท่าน ลบบทปลายเสีย เหมือนคำว่า สุขํ
    ท่านลบคำว่า อาวหนกํ เสีย
    เวลาแปลต้องไข คือไขคำว่า สุขํ เป็นสุขาวหนกํ จึงจะถูก
    คำนี้ต้องไขฉันใด คำว่า สุขสฺส ก็ต้องไขฉันนั้น
    คือไขคำว่า สุขสฺส เป็นสุขาวหนกสฺส จึงจะถูก

    เพราะฉะนั้น

    ขอท่านผู้รู้บาลีทั้งหลายจงจำไว้เป็นแบบแผน อย่าได้แปลผิดๆ
    ให้คนทั้งหลายฟังอีก

    เพราะเมื่อแปลผิดๆ

    คนทั้งหลายก็จะไม่เข้าใจ คือ
    ถ้าแปลว่า คำว่า บุญนี้ เป็นชื่อแห่งความสุข
    คนทั้งหลายก็จะเข้าใจว่า ความสุขนั้นเป็นของทำเอาได้
    ความสุขนั้นเป็นผล การทำบุญเขาก็จะเข้าใจว่า
    ได้แก่การทำความสุข เมื่อเขาเข้าใจอย่างนี้ก็เป็นความเข้าใจผิดของเขา
    เมื่อเขาเข้าใจผิด เขาก็ทำผิด
    เมื่อเขาเข้าใจถูก เขาก็ทำถูก

    ถ้าแปลให้เขาฟังว่า คำว่า บุญนี้ หมายเอาเหตุให้เกิดสุข
    หมายเอาเหตุที่จะให้เกิดสุข หมายเอาสิ่งนำสุขมาให้
    เขาก็จะเข้าใจถูกว่า คำว่า บุญนี้ ไม่ใช่อื่นไกล ได้แก่สิ่งที่จะนำความสุขมาให้

    เมื่อเขาเข้าใจอย่างนี้ เขาก็จะเข้าใจต่อไปว่า
    สิ่งที่จะนำความสุขมาให้นี้
    ก็ได้แก่
    ทาน ศีล ภาวนา ดังที่เขาเคยกระทำมา
    ทาน ศีล ภาวนานี้แหละเป็นเหตุที่จะให้เกิดสุข
    เป็นสิ่งที่จะนำสุขมาให้
    เมื่อเขาเข้าใจอย่างนี้แล้ว
    เขาก็จะได้ทำ ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา
    ตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา ปฏิบัติมารดาบิดาตามกำลังของเขา
    บางพวกหรือบางคนก็จักได้เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบาขา
    บางคน หรือบางพวกก็จะได้เจริญกรรมฐานอื่นๆ
    ตามความชอบใจของเขา
    แล้วเขาก็จักได้ผลดี คือ สุขต่อไป
    สิ้นเนื้อความในเทศนากัณฑ์นี้เพียงเท่านี้.

    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ฯ


    จากท่าน anand<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4601402", true); </SCRIPT> ผู้เอื้อเฟื้อพิมพ์​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 สิงหาคม 2011
  2. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    สรุปแล้วใน "ธัมมัตถาธิบาย" ต้องการสำทับ เน้นย้ำ กับคำว่า "บุญ" (ทาน ศีล ภาวนา)

    ให้เข้าใจตรงกันว่า :

    "บุญ นี้เป็นเหตุให้เกิดความสุข"

    ไม่ใช่ "บุญ นี้เป็นชื่อแห่งความสุข"
    ซึ่งหมายไปว่า บุญนี้เป็นตัวผล ซึ่งไม่ใช่ ที่จะเข้าใจอย่างนั้น

    ไม่รู้ว่าผม กำลังทำความเข้าใจ กับเนื้อหา ถูกหรือป่าว ที่พี่ยอดคะน้า นำมาลง ต้องการจะสื่อ
     
  3. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    [​IMG]


    สายสวัสครับ เส๋ ร๊าฟ กาแฟ ครับกาแฟ




    แม่นแล้วครับ เส๋ จะเข้าใจอย่างนั้นก๊ะได้ขอรั๊บ

    ในพระไตรปิฎก บท ที่แปลทำความเข้าใจ
    เป็นการแปลที่ทำให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้นขอรั๊บ
     
  4. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    เอ..เส๋ ร๊าฟ กระผ๊ม ไม่ได้อ่านบอร์ดไม่กี่วัน นอกจาก เทรนดื่มแบร์นจะเบาๆ

    เดี๋ยวนี้ มีเทรน ล๊อกกระทู้ฮิตแทนเหรอขอรั๊บ เส๋ร๊าฟ

    [​IMG]
     
  5. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    นั่นคงเป็น เจ้าตัวล่ะ

    ไม่รู้ว่าเป็นเพราะ "อาฉี เสียงหล่อ..!" หรือป่าว ที่ร่วมเหตุการณ์

    อะแอ้ม..!
    บัดซบ จริงๆ เลย..!
     
  6. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710

    อ้อ ผิดที่อาฉีนี่เองเร๊อ บัดซบจริงๆเลย

    อัตตาข้า ใครอย่าแตะ ว่างั้น :cool:


    นักปฏิบัติ ยิ่งปฏิบัติ ความน้อยใจ คับแค้นใจ ยิ่งเพิ่มพูน
    แล้วจะปฏิบัติธรรมไปหาอาฉีทำไมเน่ :p
     
  7. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    หากเข้าใจได้ดังนี้ ลองนำเอาไปใช้ ให้เป็นการปฏิบัติ เป็นข้อเท็จจริงของตน

    ลองเอาไปสังเกตุดู เช่น พระเทศนาว่า "ว่างๆ ว่างๆ"

    พระท่านนั้น กำลังพุดส่วนไหน ส่วนเป็น บุญ-บาป หรือ ชี้ส่วน "ผล"

    หาก พระท่านใดเอา "ว่างๆ ว่างๆ" โดยชี้แต่ส่วนผล พูดกี่ที ก็ชี้ไปที่
    ส่วนผล ให้เข้าใจผิดว่าเขาปฏิบัติเพื่อเอาส่วนผล ร้อยวันผันปีก็ยัง จำจี้
    จำไชให้เห็นว่า "ว่างๆ ว่างๆ" นั้นคือ ส่วนผลที่เขาทำกัน เอากัน

    แบบนี้ เทศนาธรรมนั้น ไม่ได้ ชี้ส่วน บุญ-บาป ให้เห็น ไม่ได้ชี้
    ส่วนที่เป็น "เหตุ" ให้สดับ แต่มุ่งแต่ จะยกส่วนผล ขึ้นมาสำแดง
    ให้เข้าใจไปว่า "ว่างๆ ว่างๆ" เป็นผล

    ถ้าแบบนี้ คนฟังธรรม ก็ไม่ได้รับการปลูกฝัง การ ชี้แต่ส่วนเหตุ และ
    การดับไปของส่วนเหตุ

    แต่เป็นการ ชี้แต่ส่วนผล และการดับไปของส่วนผล ซึ่ง ชี้ให้ตาย คน
    ฟังก็ไม่อาจเข้าใจ บุญ-บาป ขึ้นมาได้ เพราะ ไปขยันชี้ผิด

    แต่หาก "ว่างๆ ว่างๆ" นี้คือ ส่วนเหตุ และ พูดถึงการ ดับชของเหตุ
    เหล่านั้น อันนี้ จะไม่มีการขัดแย้งอะไรกันเลย

    เพราะว่า มันจะเป็นการชี้มาที่ มรรค ที่จะต้องมี "ว่างๆ ว่างๆ" เป็นเหตุ
    เป็นบาทฐานของกรรมฐานอยู่แล้ว และเพราะ เป็นการชี้เหตุ และการชี้
    การดับของส่วนเหตุ ดังนั้น ไม่มีใครโง่ ลืมชี้ "ว่างๆ ว่างๆ" นั้นเป็น
    สภาพธรรมที่เกิด ดับ เหมือนกัน หากชี้แบบนี้ ชี้มาที่ส่วนเหตุแบบ
    นี้ ชี้มาที่การเกิดดับ ของเหตุเหล่านี้ ก็จะมี คนฉลาดในการฟังธรรม

    และจะเกิด คนที่รู้จัก บุญบาป ในการฟังธรรม ขึ้นมาทันที

    แต่ถ้าไปชี้ "ว่างๆ ว่างๆ" แบบ จี้ให้เข้าใจว่า เป็นส่วนผล คนฟังธรรม
    ส่วนใหญ่จะออกมาแล้วโง่ ต่อ บุญ-บาป

    และกว่านั้น ยังพ้นไปจาก บุญ-บาป อีกด้วย

    หรือ ยังพ้นไปจาก การเพียรที่เหตุ เห็นการเกิดดับของเหุ เห็นการเกิด
    ดับของบุญบาป อีกด้วย

    หากพ้นการเห็นการเกิดดับ ของ บุญ-บาป การเห็นการเกิดดับของเหตุ
    เหล่าใดๆ อีกแสนกัปก็ไม่พ้น

    สุดท้ายของเทศนาก็ไม่มี "นิพพาน" แต่เป็นการ ขมวดไปที่ ปัจจัตตังสะสม
    บุญบาป(แบบเอาผล)แก่คนๆนั้น แล้วก็ เอวังดังๆ ไปเท่านั้น ไร้อรรถสาระสำคัญไปอย่าง
    ไม่น่าจะเป็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 สิงหาคม 2011
  8. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    คำแปล : นักปฏิบัติ ยิ่งปฏิบัติ ความน้อยใจ คับแค้นใจ ยิ่งเพิ่มพูน
    แล้วจะปฏิบัติธรรมไปหาอะแอ้มทำไมเน่
     
  9. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    ตัวอย่างรูปประกอบ
    ธรรมมะไม่มีติดคอ ที่ติดคอไม่ใช่ธรรมมะ​


    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=2 width="99%" bgColor=#400606><TBODY><TR><TD colSpan=3 align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD colSpan=3 align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    [​IMG]

    "ว่างๆ ว่างๆ" (ดับเบิ้ล ว่างๆ) = กลวงๆ โหวงๆ เหวงๆ

    นั่นแหละ มิจฉาสมาธิ..!

    แต่ถ้า "ว่างๆ ว่างๆ ว่างๆ" (ทริปเปิ้ล ว่างๆ) นั่นคือ สัมมาสมาธิ..!

    อย่างนี้ หรือป่าว ที่ โยกเยก..! เข้าใจ

    ถึงจุดเปลี่ยน พี่คะน้า(ข้างบน)
     
  11. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    หุหุ ขี้แตกอ่ะดี บ่งบอกว่า เกิดการสมดุลตามปกติ
    ขี้ไม่แตกนี่ดิ เกิดการผิดปกติแน่นอน​


    กิเลสยังไม่สิ้น เพียงแต่ ขี้ให้ถูกกาละเทสะก็โอเช ​

    [​IMG]



    เห็นมีสมาธิมาเกริ่น ​

    เส๋ ร๊าฟ เคยได้ยิน คำว่า
    พระโสดาบัน
    มีศีลสมบูรณ์ มีสติเล็กน้อย มีสมาธิเล็กน้อย มีปัญญาเล็กน้อย บ้างไหม​


    เส๋ร๊าฟ ว่า ปุถุชน จะมี สติได้ขนาดไหนเน่ ก่งก๊ง​
     
  12. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201


    เคยได้ยินมานานแล้วของขั้นอริยภูมิในแต่ละขั้น กับคำว่า
    "เล็กน้อย ปานกลาง สมบูรณ์"

    เริ่มอยากรู้ขึ้นมาทันที ไหนลองอธิบาย หน่อยสิ ในวิสัยปุถุชน​
     
  13. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710


    [​IMG] ได้เวลาหม่ำ แว๊ป เดี๊ยวมา
     
  14. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ตกลง ไม่เข้าใจเรื่อง เหตุ การชี้แต่เหตุ การกล่าวไปถึงการดับของเหตุ

    คุณครับ หากคุณเข้าใจ "เหตุ การชี้แต่เหตุ การกล่าวไปถึงการดับของเหตุ"

    คุณก็จะตัดสินใจได้เองว่า ว่างๆ กี่อัน มันก็โง่เท่านั้น หาก ชี้ว่าเป็น "ผล"

    อย่าง ที่คุณยกมา "กลวงๆ โหวงๆ เหวงๆ" นี้ คุณพูด ชี้ไปที่ ผล ใช่ไหม

    หากใช่ นั้นแหละ โง่กินกบาลคุณแล้ว ดังนั้น จะกี่ "ว่างๆ" มันก็ โง่ เอา
    ตรงที่ พูดถึง เหตุ หรือ พูดถึง ผล
     
  15. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    อย่าฝืนทีท่า จะให้ผมฉลาด ขึ้นมาเลย คุณฉลาดคนเดียว นั่นแหละดีแล้ว

    ผมนี่โง่มาก โง่ ที่จะทำให้คนอื่นฉลาด

    ฉะนั้น "ความว่างสาม 41" มีอยู่
    จะด้วยเหตุ หรือผลใด เชิญ..!
     
  16. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    แทนที่จะเอา สีข้างเข้าถู

    ยอมรับไปเสียว่า ไม่รู้จัก

    "เหตุ การชี้แต่เหตุ การกล่าวไปถึงการดับของเหตุ"

    และก็ให้ยอมรับไปเสียเถอะว่า ยังแสวงหา บทเทศน์ที่
    ไม่ได้เกี่ยวกับ

    "เหตุ การชี้แต่เหตุ การกล่าวไปถึงการดับของเหตุ"

    เมื่อยอมรับว่า

    ตนไม่รู้ นี้ 1

    อีกทั้ง การแสวงหา ก็ยังอยู่ในส่วนที่ไม่อาจทำให้ รู้ อีก 1

    พึงทราบไว้ว่า อีกแสนกัป ฟังธรรม แล้วปล่อยจิตไหลไปตามที่ฟังนั้น
    ก็ไม่ได้อะไรเลย

    แต่ถ้าเห็น อาการไหลไปนะ เห็นอาการเผลอ ไปตามธรรมที่ไม่ชี้ส่วนเหตุนะ

    อันนี้ ก็ว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง
     
  17. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710

    มีแรงแระ :cool:


    ที่กระผ๊ม ยกมา ก็ชวนมาให้เอ๊ะใจ ว่าทำไม
    ในคำกล่าวที่ว่า พระโสดาบัน มีสติเล็กน้อยไปได้
    ทั้งๆที่เป็น ภูมิโลกุตรจิตไปแล้ว

    ทีนี้ ผู้ใดฝึกฝนแล้ว บอกว่า ตัวเองมี สติรู้ตัวตลอดเวลา

    น่าจะตอบคำถามเสนอเส๋ร๊าฟได้อย่างแช่ม ชื่น
    ด้วยเหตุว่า มีสติมากกว่าพระโสดาบัน

    และทีนี้ ผู้ใดฝึกฝนแล้ว ได้ถึงขั้นฌาน น่าจะกล่าวได้ดีกว่า
    เพราะคำว่าขั้นฌานได้นั้น บางท่านรวมไปเป็นสมาธิ

    ซึ่งหากนับไปถึงขั้นนั้น จะเรียกได้ไหมว่า
    มีสมาธิมากกว่า คำว่า สมาธิเล็กน้อย
    หากเรียกได้ แสดงว่าผู้นั้น มีสมาธิมากกว่าพระโสดาบัน

    อีกทีนี้ สมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา หากว่าตามข้างต้น
    สติก็มาก สมาธิก็มาก ปัญญาย่อมมีตามมามากเช่นกัน
    ผู้นั้น มีทรัพย์ประเสริฐ มากกว่าพระโสดาบันเป็นแน่แท้

    สรุปและทีนี้ ผู้ใด มีอาการ ตามการกล่าวข้างต้น
    แต่ กิเลสไม่ได้สำรอกออกแม้แต่น้อยนิด แสดงว่าผู้นั้น

    ยังไม่ได้รู้จัก สติ ที่พระโสดาบันรู้จัก
    ยังไม่ได้รู้จัก สมาธิ ที่พระโสดาบันรู้จัก
    ยังไม่ได้รู้จัก ปัญญา ที่พระโสดาบันรู้จัก


    ก่งก๊งไหมขอรั๊บ เส๋ ร๊าฟ
     
  18. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    ต้องให้คุณ "ตทังค" หรือ "วิกขัมภน" มาอธิบายเรื่องนี้ แล้วล่ะ

    นอกจาก "สมุจเฉท" แล้ว
     
  19. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    [​IMG]


    ด้วยอาการอย่างนี้อ๊ะป่าวขอรั๊บ เส๋ร๊าฟ :cool:
     
  20. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    (๖) โมหวิจเฉทนี :
    ขอบเขตของอารมณ์และกรรมทวารในบุญกิริยาวัตถุ

    ขอบเขตของอารมณ์และกรรมทวาร
    ในบุญกิริยาวัตถุ



    [๒๖] บัดนี้ เพราะบุญกิริยาวัตถุเหล่านี้ แม้จะมี ๑๐ อย่าง
    ก็สงเคราะห์ได้ใน ๓ อย่าง คือ ในทานมัย ในศีลมัย ในภาวนามัย. ​

    แท้จริง
    การตามเพิ่มให้ซึ่งส่วนบุญ สงเคราะห์เข้าได้ในทานมัย และในอรรถกถากล่าวว่า
    แม้การอนุโมทนาส่วนบุญก็สงเคราะห์เข้าได้ในทานมัย. ​


    การอ่อนน้อมถ่อมตน และความช่วยขวนขวาย สงเคราะห์เข้าได้ในสีลมัย. ​


    การแสดงธรรม การฟังธรรมและการทำความเห็นให้ตรง สงเคราะห์เข้าได้ในภาวนามัย. ​

    ฉะนั้น
    เราจักประกอบความเป็นไปแห่งกุศลที่มีรูปเป็นอารมณ์
    ในทวารทั้ง ๓ โดยทาน ศีล และภาวนา แสดง. แม้ความเป็นไปเช่นนั้น โดยปริยาย
    นอกจากทาน ศีล และภาวนา บัณฑิตก็อาจที่จะทราบได้ โดยครรลองนั้นแล​

    แท้จริง กุศลเมื่อมีสีเป็นอารมณ์บังเกิดขึ้น
    ย่อมเป็นไปในทวาร ๓ โดย ทาน ศีล และภาวนานั่นเอง. ​


    เป็นไปอย่างไร?
    ก็ในกาลใด บุคคลได้ไทยธรรมมีดอกไม้และผ้าเป็นต้น
    อันวิจิตรด้วยสีมีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้น
    กำหนดใจโดยสีว่า "จักเป็นวรรณทาน (การให้สี) ของเรา"
    แล้วบูชาที่เจดีย์เป็นต้นด้วยมือของตน,
    ในกาลนั้น ทานมัยบุญกิริยาวัตถุนั้นเป็น ๓ อย่าง
    คือ
    บุรพเจตนา,
    สันนิฏฐานเจตนา,
    อปรเจตนา.
    แม้ในวาระทั้งปวงเบื้องหน้า ก็พึงทราบว่าเป็น ๓ อย่าง อย่างนี้. ​

    แต่ในกาลใด บุคคลสั่งด้วยวาจายังบุตรและภริยาเป็นต้น
    ให้วัตถุตามที่กล่าวแล้วนั้นนั่งแล,
    ในกาลนั้น ทานมัย บุญกิริยาวัตถุมีรูปเป็นอารมณ์
    เป็นไปในวจีทวาร,​

    แต่ในกาลใดบุคคลคิด หวัง ว่าจักให้วัตถุที่มีอยู่นั้นนั่นแล,
    ยังกิจให้สำเร็จความประสงค์;
    ในกาลนั้น ทานมัยบุญกิริยาวัตถุ ชื่อว่าเป็นไปในมโนทวารโดยปริยาย
    ด้วยสามารถบุรพเจตนา.
    ทานมัยกิริยาวัตถุที่มีรูปเป็นอารมณ์เป็น ๓ อย่างโดยทวาร ด้วยประการฉะนี้. ​


    ก็ในกาลใด บุคคลได้ไทยธรรมที่มีสีมีประการดังกล่าวแล้ว
    คิดว่า "ขึ้นชื่อว่าการสละไทยธรรมอันมีสีที่พึงใจอย่างนี้
    นี้เป็นวัตรที่มาโดยสกุลวงศ์ของเรา" จึงบูชาด้วยมือของตน,
    หรือละสมบัติมีของที่ผู้อื่นหวงแหนเป็นต้น อันมีสีเช่นนั้น รักษาศีล,
    ในกาลนั้น ศีลมีรูปเป็นอารมณ์ เป็นไปในกายทวาร.​



    ในกาลใด บุคคลสั่งด้วยวาจายังคนอื่นๆ ให้ให้ไทยธรรมมีประการดังกล่าวแล้ว
    ด้วยสามารถสกุลวงศ์เป็นต้น,
    หรือบอกปัดสมบัติมีของที่ผู้อื่นหวงแหนเป็นต้น เช่่นนั้น รักษาศีล;
    ในกาลนั้น ศีลมีรูปเป็นอารมณ์ และเป็นไปในวจีทวาร​



    ส่วนในกาลใด บุคคลคิดว่า "เราจักให้วัตถุที่มีอยู่เช่นนั้น ด้วยสามารถสกุลวงศ์เป็นต้น"
    หรือว่า "เราจักรักษาศีลไม่ัจับต้องของที่ผู้อื่นหวงแหนเป็นต้น เช่นนั้น;
    ในกาลนั้น ศีลมีรูปเป็นอารมณ์ เป็นไปในมโนทวาร.
    สีลมัยบุญกิริยาวัตถุ มีรูปเป็นอารมณ์ เป็น ๓ อย่างโดยทวาร ด้วยประการฉะนี้.​



    ก็ในกาลใด โยคีให้ไทยทานอันมีสีมีประการดังกล่าวแล้ว จงกรมอยู่ เห็นแจ้งสีนั้นแล
    หรือรูปายตนะทั้งปวง;
    ในกาลนั้นภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุมีรูปเป็นอารมณ์ เป็นไปในกายทวาร.
    เมื่อโยคีทำการเปล่งวาจาพิจารณารูปายตนะนั้นนั่นแล
    ภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุมีรูปเป็นอารมณ์ เป็นไปในวจีทวาร.
    เมื่อโยคีไม่ยังองค์คือกายและองค์คือวาจาให้ไหวพิจารณารูปายตนะนั้นนั่นแล
    ภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุมีรูปเป็นอารมณ์ เป็นไปในมโนทวาร.
    ภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุมีรูปเป็นอารมณ์ เป็น ๓ อย่าง โดยทวาร ด้วยประการฉะนี้.​



    วิภาคความเป็นไปในกรรมทวารที่เป็น ๙
    โดยบุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่างแห่งกุศลอันมีรูปเป็นอารมณ์ พึงทราบด้วยประการฉะนี้.​


    วิภาคความเป็นไปในกรรมทวารที่เป็น ๓๐ แม้โดยบุญกิรยิวัตถุ ๑๐
    แห่งกุศลอันมีรูปเป็นอารมณ์ ก็พึงประกอบทราบโดยนัยนี้เทียว. ​

    วิภาคและนัยแห่งการประกอบ โดยทวารของบุญกิริยาวัตถุ
    แม้แห่งกุศล ๕ มีกุศลอันมีเสียงเป็นอารมณ์เป็นต้น
    ก็พึงทราบตามสมควร เหมือนอย่างกุศลอันมีรูปเป็นอารมณ์ฉะนั้น. ​

    อีกอย่างหนึ่งชื่อว่าเสียง ใครๆ ไม่อาจที่จะเอามือถือมาให้ราวกะเง่ามัน
    แต่เมื่อใดบุคคลผูกใจว่า "นี้เป็นสัทททาน (การให้เสียง) ของเรา "
    ให้เครื่องดนตรีมีกลองเป็นต้น,
    หรือทำอุปหาร- การบูชาด้วยเครื่องดนตรีเล่านั้นแก่พระัรัตนตรัย,
    ให้ยาเสียงเป็นต้น แก่พระธรรมกถึกเป็นต้น,
    เป่าประกาศการฟังธรรม, หรือทำธรรมกถาโดยสรภัญญะ เป็นต้น;
    เมื่อนั้นกุศลเป็นบุญมีเสียงเป็นอารมณ์. ​

    แม้ในการบริจาควัตถุมีของหอมเป็นต้น
    กุศลก็เป็นบุญมีกลิ่นเป็นต้นเป็นอารมณ์อย่างเดียวกัน.
    ส่วนธรรมารมณ์ พึงทราบโดยโอชา ชีวิตินทรีย์
    และธรรมอันเนื่องด้วยโอชา และชีวิตินทรีย์นั้น.
    ก็ในกาลใด บุคคลให้ข้าว น้ำ เนยใส เนยข้นเป็นต้น อันมีโอชา
    ด้วยคิดว่า "จักเป็นเป็นโอชาทนของเรา,"
    จัดหายาหรือหมอให้คนไข้, หรือกำจัดอาวุธ ข่ายและไซ เป็นต้น
    อันเป็นอันตรายต่อสัตว์มีชีวิต, หรือปล่อยสัตว์ที่จะถูกฆ่า,
    ทำในใจว่า "จักเป็นชีวิตทานของเราเพราะเป็นพฤติการณ์อันเนื่องด้วยชีวิต
    และทำในใจโดยปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖ จิตและเจตสิกว่า
    "จักเป็นการให้ประสาทเป็นต้นของเรา;"
    ในกาลนั้น กุศลเป็นบุญมีธรรมเป็นอารมณ์.
    อารมณ์ที่เหลือก็เช่นนั้นแหละ.
    นี้เป็นการประกอบอารมณ์ที่ตั้งอยู่ในวัตถุต่างๆ.​




    [๒๗] แม้ในวัตถุอันหนึ่ง ก็ได้อารมณ์ ๖ ทีเดียว.
    แท้จริงเพียงในบิณฑบาตอันหนึ่ง พึงทราบอารมณ์ถึง ๖ อย่าง
    คือ
    สีก็เป็นที่พอใจ,
    ในเวลาเคี้ยวกินก็มีเสียง มุรุ มุรุ, มีกลิ่น, มีรส , มีโผฏฐัพพะ, มีโอชา
    หรือมีชีวิตและประสาทเป็นต้นที่เนื่องด้วยโอชานั้น
    และมีวิญญาณเป็นต้น อันมีโอชานั้นเป็นอารมณ์.
    พึงทราบอารมณ์ ๖ ตามสมควรในบริขารจีวรเป็นต้น
    และในวัตถุมีผ้าเป็นต้นอย่างนี้. ​

    แม้ในที่นี้ก็พึงทราบความเป็นบุญสำเร็จด้วยทาน ศีล ภาวนา,
    ความเป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม, โดยนัยที่กล่าวแล้ว.
    ขอบเขตแห่งอาีรมณ์และกรรมทวาร และนัยแห่งการประกอบในบุญกิริยาวัตถุ
    แม้ของอกุศล ก็พึงทราบตามความประกอบโดยครรลองที่กล่าวแล้วเหมือนกุศล​

    อนึ่ง
    บรรดากุศลเหล่านี้ ซึ่งต่างโดยอารมณ์ โดยบุญกิริยาวัตถุ โดยกรรม และโดยทวาร
    เป็นจำนวนหลายพันอย่างนี้ เอาแต่กุศลกึี่งหนึ่งที่เป็นฝ่ายญาณสัมปยุตแต่ละอย่าง
    ยังเป็น ๔ อย่างโดยอธิบดี ๔;
    ส่วนอีกกึ่งหนึ่งที่เป็นฝ่ายญาณวิปยุต
    แต่ละอย่างยังเป็น ๓ อย่างโดยอธิบดี ๓ เ้ว้นวิมังสาธิบดี. ​

    ทั้ง ๒ ฝ่ายนั้น แต่ละอย่างยังแจกออกอีกเป็น ๓ อย่าง โดยหีนติกะ
    (ทราม ปานกลาง ประณีต). ​

    อนึ่ง
    กุศลเหล่านั้นยังแจกออกไปอีก เป็นบุญมีปริมาณไม่มีที่สุด
    เพราะบังเกิดโดยประการไมมีที่สุด
    มีความเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน หยาบและสุขุม เป็นต้น ​

    ในสัตว์หนึ่งๆ ในบรรดาสัตว์ไม่มีปริมาณ
    ในจักรวาฬอันไม่มีประมาณแต่ละจักวาฬอีกเล่า.
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดกุศลเหล่านั้นทั้งหมด โดยอาการทั้งปวง
    ด้วยพุทธญาณอันไม่มีที่สุด ราวกะว่าทรงชั่งอยู่ด้วยคันชั่งมหึมา,
    ราวกะว่าทรงใส่เข้าในหม้อมหึมาตวงอยู่
    แล้วจึงทรงน้อมเข้าไปสู่ความเป็นชั้นเดียวกันเพราะเป็นธรรมคล้ายกัน
    โดยความเป็นกามาวจร ​


    แล้วทรงแสดงทำให้เป็นส่วนๆ
    โดยอรรถคือสหรคตด้วยโสมนัสและอุเบกขา,
    โดยอรรถคือสัมปยุตด้วยญาณและวิปยุตจากญาณ,
    และโดยอรรถคือเป็นอสังขาริกและสสัขาริก ​

    ด้วยพระมหากรุณา สมกับที่ทรงเป็นโลกวิทู ๒ ผู้รู้แจ้งโลก,
    ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายแล. ​

    นี้เป็นความย่อในกามาวจรกุศลธรรมนี้;
    ส่วนความพิศดารพึงทราบโดยอาการทั้งปวงในธัมมสังคณี
    และในอรรถกถาของธัมมสังคณีนั้นอันชื่อว่า อัฏฐสาลีนี จำเดิมแต่ต้น แล.​


    กามาวจรกุศลธรรม จบ​



    จากท่าน anand<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4601402", true); </SCRIPT> ผู้เอื้อเฟื้อพิมพ์

    <!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...