สนทนา...วิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 19 สิงหาคม 2011.

  1. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    ใช่ครับ ส่วนใหญ่ผู้ปฎิบัติ วิธีธรรมกาย มักปรุงแต่งลูกแก้วไปเอง
    เพียงแต่ว่า จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า การกำหนดจิตในลูกแก้วนั้นเพื่อให้เกิดความมั้งมั่นในอารม เพื่อใช้ในการเจริญวิปัสนา ส่วนการที่บอกว่า ปฎิบัติแล้วลงไปเห็น รูปพระ ว่ารูปพระเป็น ต้นแห่งธรรมนั่น อันนี้เป็นการปรุงแต่ง เกิดโมหะ ไม่รู้ว่า สิ่งที่เห็นเหล่านั้นคือ การปรุงแต่ง สิ่งที่จะทำให้เห็นธรรมได้นั้นคือ ปัญญา ไม่ใช่ สังขาลอย่างที่ หลงกันอยู่
     
  2. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0



    งั้นผมถามหน่อย ก่อนหน้าพระพุทะเจ้าจะตรัสรู้มีผู้ปฏิบัติสมถะมั้ยครับ
    มีแน่นอน เพราะหลายๆท่านก็ได้ฌาณมาก่อนตั้งนานแล้ว แต่ไม่มีถึงผู้เข้าถึงนิพพานสักคนเลย ถ้าปฏิบัติสมถะก็เข้าถึงนิพพานได้ก็คงไม่ต้องรอให้ท่านตรัสรู้หรอก แค่ผู้ที่ได้ฌาณก็คงประกาศวีธีทางปฏิบัติให้เข้าถึงนิพพานมาก่อนแล้ว ใช่ไหมครับ
     
  3. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    ผมว่าหลวงปู่ท่านยังอยู่ คงจะอธิบายให้เราเข้าใจได้ดีมาก ๆ เลยละครับ
     
  4. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    สาย เจโตวิมุตติ ก็มีหลายท่านนะครับ ยกตัวอย่างเช่น พระโมคลานะ
    ส่วนเหตุที่ว่า ก่อนการมาของพระพุทธเจ้าทำไมไม่มีใคร ถึงนิพพานด้วย สมถะ
    ก็เพราะว่า
    1. เพราะไม่ใช่พระพุทธเจ้า จึงรู้ชอบด้วยตนเองไม่ได้ ด้วยเพราะบารมีไม่ถึง
    2. เพราะ รู้ชอบด้วยตนเองได้ แต่ไม่สามารถสั่งสอนได้ จึงเป็น ปัจเจกพุทธเจ้า

    คำถามคือ พระพุทธเจ้าสอนอะไร ที่ทำให้สายเจโตถึงมรรคผล
    ท่านสอน เรื่องการทำจิตตั้งมั่นในอารม คือ สัมมาสมาธิ
    การเจริญสมถะอย่างเดียวที่อยู่ในความว่าง ก็คืออยู่ใน อากิญจัญญายตนะ
    ย่อมยังไม่ใช่ การทำจิตตั้งมั่น หรือ สมาธิ
    _______________________
    ส่วนคำถามที่ คุณ I2D2 สงสัยนั้น กษัตริย์มิรินทร์ ก็เคยถามพระนาคเสนไว้แล้ว
    ดังนี้

    <span class="LineNumber"> 001 </span> <H1>สมาธิลักขณปัญหา ที่ ๑๑</H1>
    <span class="LineNumber"> 002 </span> <B>ราชา</B> สมเด็จพระเจ้ามิลินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า <B>ภนฺเต นาคเสน</B> ข้า
    <span class="LineNumber"> 003 </span>แต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชา สมาธิมีลักษณะอย่างไร
    <span class="LineNumber"> 004 </span> พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขย่า <B>มหาราช </B>ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร สมาธินี้มีลักษณะ
    <span class="LineNumber"> 005 </span>เป็นประธาน อันว่ากุศลธรรมบรรดามีนั้น <B>สมาธิปมุขา</B> มีพระสมาธิเป็นประธานเป็นหัวหน้า
    <span class="LineNumber"> 006 </span><B>สมาธินินนา</B> มีพระสมาธิเป็นจอม <B>สมาธิโปณา</B> มีพระสมาธิเป็นเงื้อม <B>สมาธิปพฺภารา</B> มีพระ
    <span class="LineNumber"> 007 </span>สมาธิปกงำ ตกว่ากุศลธรรมทั้งปวงนี้ มีสมาธิเป็นปุเรจาริก ดังนี้ จึงว่าสมาธิมีลักษณะเป็นประ
    <span class="LineNumber"> 008 </span>ธาน พระราชสมภารพึงเข้าพระทัยด้วยประการฉะนี้
    <span class="LineNumber"> 009 </span> พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้ากระทำ
    <span class="LineNumber"> 010 </span>อุปมาไปก่อน
    <span class="LineNumber"> 011 </span> พระนาคเสนถวายพระพรอุปมาว่า <B>มหาราช</B> ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เปรียบดุจ
    <span class="LineNumber"> 012 </span>นิเวศเรือนมียอดอันงามยิ่ง ฝาและพรึง ชื่อเชิงกลอนและจั่วทั่วทัพพสัมภาระเครื่องเรือน
    <span class="LineNumber"> 013 </span>นั้นประชุมนักสิ้น เรียกว่าเรือนยอดนั้น <B>ภูฏนินฺนา</B> อาศัยมียอดเป็นจอม <B>กูฏโปณา</B> อาศัยมียอด
    <span class="LineNumber"> 014 </span>เป็นเงื้อม <B>กูฏปพฺภารา</B> อาศัยมียอดง้ำชะง่อนปกไป <B>ยถา </B>ฉันใด พระสมาธินี้เป็นประธานแก่กอง
    <span class="LineNumber"> 015 </span>กุศลทั้งปวงสิ้น กุศลธรรมทั้งสิ้นนั้น <B>สมาธินินฺนา</B> มีพระสมาธิเป็นยอดเป็นเงื้อมเป็นที่ปกงำดุจ
    <span class="LineNumber"> 016 </span>เรือนยอดนั้น ขอถวายพระพร
    <span class="LineNumber"> 017 </span> สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์เป็นภูมินทราธิบดีมีพระราชาโองการตรัสว่า อาราธนาพระผู้เป็นเจ้า
    <span class="LineNumber"> 018 </span>กระทำอุปมาให้ภิยโยภาวะยิ่งขึ้นไปกว่านี้
    <span class="LineNumber"> 019 </span> พระนาคเสนมีเถรวาจาอุปมาอีกเล่าว่า <B>มหาราช</B> ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประ-
    <span class="LineNumber"> 020 </span>เสริฐในสมบัติมหาศาล เปรียบปานดุจบรมกษัตริย์อันมีที่เสด็จไปสู่ประเทศอันใดอันหนึ่ง
    <span class="LineNumber"> 021 </span>ด้วยพระบวรยศอันยิ่ง มีพยุหยาตราพร้อมด้วยจตุรงคเสนาทั้ง ๔ คือ เสนาหัตถี เสนีอาชา เสนารถ
    <span class="LineNumber"> 022 </span>เสนีบทจรเดินลำลองปกป้องแห่แหนแสนสุรโยธา และเสนาจตุรงค์บรรดาที่ยกมานั้น <B>ตํปมุขา</B>
    <span class="LineNumber"> 023 </span>มีสมเด็จบรมกษัตราธิราชนั้นเป็นประธานสิ้น <B>ตนฺนินฺนา</B> มีพระมหากษัตราธิราชนั้นเป็นจอม
    <span class="LineNumber"> 024 </span>เป็นเงื้อมเป็นที่ปกงำ <B>ยถา</B> ฉันใด อันว่ากุศลธรรมทั้งหลาย ก็อาศัยพระสมาธิเป็นประธาน
    <span class="LineNumber"> 025 </span>เป็นจอมเป็นเงื้อมเป็นที่ปกงำ ดุจคนทั้งหลายอาศัยสมเด็จบรมกษัตริย์ฉะนั้น ขอถวายพระพร
    <span class="LineNumber"> 026 </span>สมด้วยวาระพระบาลีสมเด็จพระชินวรตรัสไว้ฉะนี้ <B>สมาธิ ภิกขเว ภาเวถ สมาธิโก ภิกฺขุ ยถาภูตํ
    <span class="LineNumber"> 027 </span>ปชานาตีติ </B> แปลตามกระแสพระพุทธฎีกาว่า <B>ภิกฺขเว</B> ดูรานะภิกษุผู้กลัวภัยในวัฏสงสาร <B>ตุมฺเห</B>
    <span class="LineNumber"> 001 </span>ท่านทั้งหลายจงพากันฝักใฝ่เถิด ซึ่งพระสมาธิอันประเสริฐ ภิกษุรูปใดได้จำเริญพระสมาธิอัน
    <span class="LineNumber"> 002 </span>เลิศนี้จะดีนักหนา <B>ปชานาติ</B> จะตรัสรู้มรรคและผลและไตรวิชชาสมาบัติ
    <B>ยถาภูตํ</B> เที่ยงแท้ดังนี้
    <span class="LineNumber"> 003 </span>นี่แหละพระพุทธฎีกาโปรดไว้ จงทราบในพระบวรราชสันดานด้วยประการดังนี้
    <span class="LineNumber"> 004 </span> ฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ก็มีพระราชโองการตรัสว่า <B>กลฺโลสิ</B> พระผู้เป็น
    <span class="LineNumber"> 005 </span>เจ้าวิสัชนานี้สมควรแล้ว
    <span class="LineNumber"> 006 </span> สมาธิลักขณปัญหา คำรบ ๑๓ จบเท่านี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2011
  5. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0
    “เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย, ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย, ายสฺส อธิคมาย, นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย, ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺานา.”
    แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ๑ เพื่อระงับความโศก ๑ เพื่อระงับความคร่ำครวญ ๑ เพื่อดับทุกข์ ๑ เพื่อดับโทมนัส ๑ เพื่อบรรลุอริยมรรค ๑ เพื่อเห็นแจ้งพระนิพพาน ๑ ทางเดียวนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔
     
  6. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0
    พระโมคคัลลานะท่านเป็น สมถญาณิกครับ

    คือ

    ผู้ที่ใช้สมถะเป็นบาทแห่งวิปัสสนา

    พวกนี้ต้องปฏิบัติให้ได้ฌานเสียก่อน แล้วก็ออกจากฌานมาพิจารณาองค์ฌาณถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยมีองค์ฌาณที่ดับไปแล้วเป็นอารมณ์ ซึ่งก็คือ ธรรมมานุปััสสนาสติปัฏฐาน

    หรือบางท่านพิจารณาฌาณจิตถึงความเป็นไตรลักษ์เลยก็ได้ เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ก็คือว่า ยังไงๆก็ต้องผ่านสติัปัฏฐานอยู่ดีครับ


    แต่ฌาณลาภีบุคคลสมัยก่อนไม่รู้จักการยกฌาณจิตขึ้นมาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา จึงไม่สามารถบรรลุมัคผลถึงพระนิพพานได้ครับ
     
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .....................พระวจนะ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุทั้งหลายภิกษุที่มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งอะไรเล่า รู้ได้ตามเป็นจริงอันประเสริฐ ว่า นี้ทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้วย่อมรู้ได้ตามความเป็นจริง......ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงกระทำความเพียร เพื่อให้รู้ว่า นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้เถิด..........(พระอริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส)
     
  8. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    จริงๆแล้ว ผมปฎิบัติ สายปัญญาวิมุตติ แต่ก็ไม่เคยบอกว่า การทำสมถะ ทำญาณของสายเจโตวิมุตติ นั้นไม่ถึงมรรคผล
    เป้าหมายของการปฎิบัติ ถึงมรรคผล คือ การกำจัดอวิชา และ อาสวกิเลส
    กาปฎิบัติ สาย เจโต คือ อาศัย ญาณในการกำจัดกิเลส
    ส่วนการ ปฎิบัติ ทางปัญญา คืออาศัย ปัญญา เพื่อให้เกิดวิชชา 3 ในการทำลายอวิชา
    ดังนั้น แล้ว ผมว่า เราอย่ามาคิดเห็นว่า ที่เราปฎิบัตินั้นถูกต้อง ทางอื่นไปไม่ได้
    ด้วยเพราะว่า เรายังไม่ได้ บรรลุ เป็นพระพุทธเจ้า คือ รู้รอบ

    ภูเขาหนึ่งลูก มียอดเดียว แต่ก็มีทางขึ้นได้หลายทาง
    อนุพุทธะ ก็คือ เดินในเส้นทางที่ตนเองเลือกไว้เพื่อไปให้ถึงยอดนั้น
    แต่ พระพุทธเจ้า ท่านเดินวนรอบภูเขานั้น

    ถ้ามิฉะนั้น พระพุทธเจ้าคงไม่บอก ใน

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
    ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต
    จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
    วิปัสสนา ที่อบรมแล้วย่อมเสวย ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา
    ปัญญา ที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้ ฯ
    [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
    หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
    ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุตติ
    เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติ ฯ


    ว่าไปได้ ทั้งสองทาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2011
  9. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    จริงๆแล้วสภาวะที่เกิดขึ้น ขณะนี้

    คือ นิวรณ์ 5 อยู่นะครับ คือ วิจิกิจฉา คือ ความสงสัย
    อย่า ให้ความสงสัยในพระธรรม นี้ล่อลวงเราเลยครับ
    หากสงสัย เราก็ปฎิบัติ ให้เห็นจริงตามนั้น ตามแต่ จริตแต่ละคน

    ที่เป็นอยู่ขณะนี้ ไม่ได้ลดละกิเลสนะครับ ไปๆมาๆ จะเกิด โทสะ ตามไปอีก
    ผู้ปฎิบัติ คือ ผู้ลดละกิเลส ไม่ใช่หลอครับ
     
  10. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0
    ดุตรงนี้ดีๆนะ

    สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต
    จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้

    วิปัสสนา ที่อบรมแล้วย่อมเสวย ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา
    ปัญญา ที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้



    สมถะละราคะได้ แต่ต้นเหตุของราคะยังอยู่ นั่นก็คืออวิชชา เมื่อเหตุยังอยู่ผลก้ย่อมเกิดขึ้นได้

    นั่นคืออวิชชายังสามารถทำให้เกิดราคะขึ้นมาได้อีก
     
  11. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0
    อย่าลืมว่าการละกิเลสมีหลายอย่าง คือ
    ตทังคปหาร
    วิขัมภนปหาร
    สมุฏเฉทปหาร
     
  12. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    สำหรับผม มันจบตั้งแต่ พระพุทธเจ้าใช้คำว่า
    เจโตวิมุตติ แล้วครับ หลุดพ้นโดยเจโต

    ท่านเองก็ไม่ได้บอกว่า สายเจโต ไม่ทำ ปัญญา แต่คือ สายเจโต ทำสมถะ มากกว่า วิปัสนา
    ส่วนสาย ปัญญาเอง ถ้าไม่ทำ ญาณ จิตใจก็ไม่สงบจะแยกแยะธาตุขันธ์ ก็ลำบาก เพียงแต่สาย ปัญญา ใช้ วิปัสนา มากกว่า สมถะ

    เอาละครับ ผมจบส่วนตรงนี้ เพราะผม หมดความสงสัยใดๆในพระพุทธเจ้าแล้วครับ
    ผมพิสูจน์มามากพอแล้ว ส่วนใครอยากพิสูจน์ก็ไม่เป็นไรครับ

    เจโตวิมุตติ หลุดพ้นโดยเจโต
    ปัญญาวิมุตติ หลุดพ้นโดยปัญญา
     
  13. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    เห็นท่านทั้งสองเจรจา ผมล่ะนึกถึง พระปิณโฑลภารทวาชเถระ จริง ๆ
     
  14. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..............มีพระวจนะ เรื่อง การปฎิบัติเพื่อ ความสมดุลย์แห่งสมถะและวิปัสนา...................พระองค์กล่าวถึงบุคคล4จำพวก คือ 1)บุคคลผู้ได้เจโตสมถะในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสนา พึงเข้าไปหา บุคคลที่ได้ อธิปัญญาธัมมวิปัสนา2) บุคคลที่ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสนา แจ่ไม่ได้เจโตสมถะในภายใน บุคคลนันพึงไปหาบุคคลที่ได้เจโตสมถะในภายใน3) บุคคลที่ไม่ได้ทั้ง เจโตสมถะในภายในและอธิปัญญาธัมวิปัสนา บุคคลนั้นพึงเข้าไปหา บุคคลที่ได้ทั้ง เจโตสมถะในภายใน และ อธิปัญญาธัมมวิปัสนา 4)บุคคลผู้ที่ได้ทั้ง เจโตสมถะในภายใน และ อธิปัญญาธัมมวิปัสนา บุคคลนั้นพึงดำรงตนไว้ในธรรมทั้งสองนั้น แล้วประกอบความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป...............
     
  15. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .......................ความสมดุลย์แหละครับทั้งสมถะและวิปัสนา.........................
     
  16. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    การเพ่งไตรลักษณ์ เรียกว่าวิปัสนา
    การเพิ่งอารมณ์ยกเข้าวิปัสสนาเช่น ลมหายใจบ้าง เรียกสมถะยกสู่วิปัสสนา
    แต่ลมหายใจยังนับว่ากองสังขาร มีสติอยู่กับสังขารที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ไม่มีตัวไม่มีตน หลังเพ่งแล้วออกจากฌาณ ยกจิตเข้าสู่วิปัสนาได้อยู่ สำเร็จได้เหมือนกัน ได้ทั้งสองอย่างเลยม่ะ เจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ
     
  17. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    ไม่ใช่ เพ่งครับ การเพ่งคือ การกำหนดรู้ เป็น สัญญา เป็นขันธ์ครับ เป็นทุกข์
    เราปฏิบัติ เพื่อลดกิเลส เพื่อพ้นทุกข์ ไม่ใช่สร้างทุกข์

    ดูตามสภาวะที่เกิดขึ้นครับ รู้ตามสภาวะที่ปรากฎ
    เกิด โทสะ ก็รู้ เกิด โลภะ ก็รู้ โมหะ ก็รู้
    เมื่อรู้ตามทัน เรียกว่า มีสติ เมื่อมีสติ จิตย่อมเป็นกุศล
    ภายในสภาวะการเกิด กุศล อกุศลจะเอาแทรกไม่ได้

    สุดท้ายสภาวะเหล่านั้น จะตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะมันเป็นเพียง กิเลสที่เข้ามาแทรกเท่านั้น
    เมื่อคงอยู่ไม่ได้ มันย่อมดับไปเป็นธรรมดา

    ฝึกแบบนี้ไปครับ สมถะ ก็ทำได้เช่นกัน ลมหายใจลงไปลึกก็รู้ ตื้นก็รู้ หายใจเข้าเกิดความอึดอัด ความอึดอัดหายไปก็รู้ หายใจออก เกิดความสบายโล่ง ความโล่งนั้นหายไปก็รู้
    ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆครับ ได้ทั้ง ความสงบ และ วิปัสนา
    ไม่ต้องไปเพ่งนะครับ
     
  18. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    ถ้าคุณไม่เล่นคำน่าจะเข้าใจข้อความผมได้นะครับ ถ้าอย่างนั้นลองพิจารณาคำว่า "เพ่งกสิณ" แล้วไม่ต้องมาตอบผมนะครับ ตอบตัวเองไปเลย
    ส่วนที่คุณสาธยายมา กำหนดรู้อารมณ์ตามทวารต่าง ๆ นับเข้าในการสำรวมอินทรีย์
    การพิจารณาไตรลักษณ์ก็นี้แหละครับ จะได้วัดกันที่คุณสาธยายทำมาเป็นสิบยี่สิบปีมันได้ผลไหม มรรคจิต เกิดไหม มรรคจิตเกิด ผลจิตก็เกิด หากสารวนทำอยู่อย่างนั้นไม่โน้นใจเข้าไตรลักษณ์อย่าไปทำเลยครับเสียเวลา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2011
  19. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0
    ก้ระลึกรุ้นั่นแหละครับ วิปัสสนา เพราะต้องคอยรุ้อารมณ์ที่เป็นปัจจุบันอยู่เรื่อยๆ
    ระลึกรู้ลมหายใจก้เป็นกายยาวิปัสสนาได้

    สรุปแล้วยังไงๆก็ต้องผ่านวิปัสสนาอยู่ดี
     
  20. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0
    คุณtOR_automotive ท่าทางจะเรียนอภิะรรมมาไม่น้อย กระผมก้เรียนมาบ้าง คงได้มีโอกาสมาสนทนากันนะครับ:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...