สนทนา...วิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 19 สิงหาคม 2011.

  1. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84

    ได้อ่านหรือ เปล่าครับ ผมสอนไปแล้ว รวดเดียวเลย ทุกอย่างที่คุณพูดมานะแหละ
    ขณะที่ พิมพ์หน้าคอม ต้องเกิดสติด้วยนะครับ
    ฝึกปฎิบัติ อยู่ตลอดเวลา วิปัสนา ครับ
    ถ้าไม่มี สติ ย่อมเกิด ความไม่รู้ หรือ อวิชา ขึ้น
     
  2. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    ในพระวินัยปิฏกมีตอนหนึ่ง มีใจความว่า ที่แล้ว ๆ มาในศาสนาของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ในอดีต บางองค์ก็แสดงธรรมเช่น พระวินัย ชาดก ฯลฯ แต่บางพระองค์ก็ไม่ได้แสดง ผมเลยสนใจเรียนมาก อาจจะเป็นเพราะด้วยปัญญามนุษย์ยุคนี้น้อยด้วยก็ได้ ท่านเลยแสดงไว้มาก ๆ จะได้ไม่หลงกัน อีกอย่าง ผมกะเก็บไว้เป็นธรรมสัญญาของตัวเองด้วย ยินดีครับผมสำหรับเพื่อนใหม่
     
  3. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    หากคุณเข้าใจในข้อความของผมก็ไม่ควรจะยืดเยื้อขนาดนี้ ผมเองก็ขี้เกียจพิมพ์เพราะว่าเห็นมีประโยชน์น้อย หากคุณใส่มาแต่เนื้อ ๆ น้ำ ๆ ไม่มีก็จะดีมาก ๆ ผมจะใส่ยาวเป็นหางว่าวก็ได้ แต่มันไม่จำเป็นเลยอ่ะ

    วิปัสนา ต้องเห็นไตรลักษณ์ อย่างนี้ครับ ผมไม่ได้ล้อเล่นนะ
     
  4. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    วิปัสนา คือ การเห็นไตรลักษณ์ มันเป็นการอธิบายหยาบๆไปครับ
    ถ้าคนอื่นที่ไม่เคย ปฎิบัติ ปริยัติ มาอ่าน จะเข้าใจอย่างไรว่า
    เห็นอย่างไร เห็นตรงไหน ดูตรงไหน

    ดูลงไปใน สติปัฎฐานสี่ คือ การรู้กาย รู้เวทนา(ความรู้สึก) รู้จิต รู้ธรรม
    รู้อย่างไร พิจารณาอย่างไร ตรงนี้สิสำคัญ

    ดูลงไปในกาย เวทนา จิต ว่าสภาวะที่เกิดขึ้น
    1.ล้วนเป็นทุกขัง คือ เกิดความอึดอัดขับข้องใจเป็นธรรมดา ย่อมพลัดพลากจากกันเป็นธรรมดา ส่วนทุกข์ เกิดอย่างไร ดูลงไปใน ปฎิจสมุทบาท ในกรณีคนที่ฝึกสมถะ จิตจะไว เห็นสภาวะวงปฎิจสมุทบาท เกิดขึ้น ส่วนคนที่ไม่ได้ฝึกหรือฝึกมาน้อย เห็นสภาวะที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์ รู้ทัน ก็ดีแล้ว
    2.ล้วนเป็น อนิจจัง คือเกิดขึ้น เป็นธรรมดา ตั้งอยู่เป็นธรรมดา และดับไปเป็นธรรมดา ด้วยว่ากองธาตุ กองขันธ์เหล่านี้ เป็นสิ่งสมมุติ ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงสภาวะของทุกข์ที่ปรากฎ ไม่ได้มีตัวตนถาวร สภาวะดังกล่าวย่อมคงตัวอยู่ไม่ได้ ย่อมดับไปเป็นธรรมดา
    3.ล้วนเป็น อนัตตา คือ ไม่สามารถคงตัวได้ คือไม่มีตัวตนถาวร กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของเราไม่ใช่ของเขา

    ดูลงไป ในสภาวะ ของ กาย เวทนา จิต ที่ปรากฎ
    ตามดู ตามรู้ให้เห็น ถึงสภาวะดังกล่าว
    ดูไปในกาย เห็นกาย นี้เป็นกองธาตุ เรียกว่า แยกธาตุ เช่นนี้ เรียกว่า ได้ ธัมมานุปัสสนา
    ดูไปในกาย เห็นกาย นี้ไม่เที่ยงเป็น อนิจจัง อย่างนี้ก็เรียกว่า ธัมมานุปัสสนา
    ดูไปในกาย เห็นกาย นี้ไม่มีตัวตนอยู่จริง เป็นอนัตตา อย่างนี้ก็เรียกว่า ธัมมานุปัสสนา

    ดูไปในเวทนา จิต ก็เช่นกัน เห็น กองขันธ์ที่เกิดขึ้น ว่าจิตนี้ทำงานตามกองขันธ์ที่ปรากฎ เห็นรอบปฎิจสมุทบาท เห็นว่า สภาวะทั้งหลายน้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนถาวร
    ฝึกปฎิบัติ แบบนี้ ตลอดเวลา

    วิปัสนา ก็เหมือน คนกำลังวิ่ง วิ่งจนเหนื่อยก็พัก พัก ก็ทำสมถะ
    ในสมถะ ก็ทำวิปัสนา ซ้อนไปได้เช่นกัน
    ดูไปว่า ลมหายใจยาวก็รู้ สั้นก็รู้ หายใจออก รู้สึกโล่ง สุดท้ายความโล่งหายไป
    หายใจเข้า อึดอัดก็รู้ว่า อึดอัด สุดท้ายความอึดอัดหายไป
    ดูลงไปอย่างนี้
    ก็จะได้ ทั้ง สมถะ และ วิปัสนา เกิดขึ้น ตลอดเวลา

    สุดท้ายฝึกปฎิบัติลงไป จนเห็นว่ากายนี้ใจนี้ ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา
    คือเห็นปรากฎ ทุกขณะ (ไม่ใช่เกิดแล้วค่อยรู้ อย่างนี้ใช้ไม่ได้)
    ไม่ใช่ไปกำหนดสอนจิต ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา อย่างนี้ ก็ทำสัญญา ทำขันธ์เข้าไปอีก
    การเข้าไปเพ่งจับอารมก็เช่นกัน เป็น ขันธ์
    ตามดูตามรู้ สภาวะที่ปรากฎขึ้น (ขณะที่ปรากฎขึ้น)
    เอาละ อธิบายมาถึงตรงนี้ คนที่พึ่งมาใหม่พอเห็นภาพได้บ้างนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2011
  5. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    ดูที่ตัวเราครับ อย่าเพิ่งไปคิดแทนคนอื่น ว่าเขาจะไม่รู้เรื่องเขาอาจจะเก่งกว่าเราก็ได้ ผมสื่ออยู่กับคุณ ผมก็ทราบอยู่อย่างนี้

    กองกรรมฐานวิปัสสนา เป็นอุบายที่จะโน้มให้จิตพิจารณาไตรลักษณ์ ด้วยสมมติต่าง ๆ เช่น ลมหายใจบ้าง อาหารบ้าง รูปบ้าง รสบ้าง กลิ่นบ้าง เสียงบ้าง

    คุยไปคุยมาเหมือนว่าตอนนี้ไม่รู้คุยกะไรกับคุณอยู่ ผมลาแค่นี้ล่ะครับ
     
  6. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    ผมอธิบายไปแล้ว ครับ ว่าดูไปในกายว่ากายนี้ไม่เที่ยง
    ดูอย่างไร ก็ดูไปสิครับ อสุภกรรมฐาน 10 เป็นต้น
    ที่ผม อธิบาย คือ คอนเซฟหลักๆเลยครับ ส่วนประเด็นย่อยๆ
    ไม่ว่าเป็น ดูไปในกาย มีวิธีการอย่างไร
    ไหนๆ ก็ไหนๆครับ ยกพระสูตรมาเลยนะครับ

    พระไตรปิฎก ที่ 14 ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อ 276 หน้า 212-213

    มหาสติปัฏฐานสูตร กายานุปัสสนา

    สัมปชัญญบรรพ
    [ ๒๗๖ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ (ความเป็นผู้รู้พร้อม) ในการ ก้าวไปข้างหน้า และถอยกลับมาข้างหลัง ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการแลไปข้างหน้า แลเหลียวไปข้างซ้าย ข้างขวา ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการคู้อวัยวะเข้า เหยียดอวัยวะออก
    ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม
    ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
    ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และความเป็นผู้นิ่งอยู่ ดังนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียง สักว่าเป็นที่
    อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้


    _________________
    ถือโอกาศสอน ไปเลยนะครับ เวลาทำอะไรมันต้องมี คอนเซฟ
    จากนั้นค่อย แตกไปดูปลีกย่อย
    ที่คุณไม่เข้าใจ เพราะคุณไม่ได้เรียกลำดับความสำคัญเวลาปฎิบัติ
    เลยปฎิบัติได้ช้า แม้กระทั่ง ขณะพิมพ์ คุณก็อ่านไม่หมด
    แล้ว สรุปไปเอง นี่แหละครับ สติเลยไม่เกิดตลอดเวลา
     
  7. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    ว่าจะเลิกคุย เห็นตั้งใจขนาดนี้ ขอบอกว่าอย่าเสียเวลากับผมครับ เลิกตอบผมเถอะครับ ผมยอมแพ้ดีกว่าครับ
    ให้ถือเสียว่าผมเป็นบัวใต้น้ำ
     
  8. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    ที่ผมโต้มาเพราะว่า ผมเห็นคุณกำลังหลงอยู่
    หากถ้า มุ่งหวังเพื่อชนะ จะได้สิ่งใด
    ทุกสิ่ง เราต้องกระทำเอง

    หากคุณไม่เห็นการปรารถนาดี ก็สุดแท้แต่ เพราะผมวางอุเบกขาอยู่แล้วครับ
     
  9. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ที่ปฎิบัติสมถะถึงพร้อมมาแล้ว เพียงแค้ได้สดับรับฟังธรรม

    ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็บรรลุมรรคผลนิพพาน

    เรื่องแค่นี้ ใครๆเขาก็รู้ทั้งนั้นครับ ผู้ที่ถึงพร้อมแล้ว ก็รอที่จะบรรลุธรรมครับ

    เหมือนกับน้ำที่เต็มตุ่มแล้ว เมื่อตักน้ำเพิ่มก็ล้นเท่านั้นครับ
     
  10. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อนุโมทนาครับ ยินดีด้วยครับ กับธรรมที่ได้รับ มั่นเจริญให้ยิ่งขึ้นไปครับ
     
  11. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    การกล่าวของคุณบ่งบอกว่าคุณไม่เคยปฎิบัติเลยแม้แต่น้อย
     
  12. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมจะเปรียบเปรยให้ฟังครับ

    หากคุณต้องการกินมะม่วง คุณต้องปลูก จึงจะได้กิน แต่หากคุณไม่ปลูก คุณจะได้กินไหมครับ

    อย่าบอกว่าไปซื้อเอานะครับ เพราะผมเปรียบเปรยกับการปฎิบัติครับ

    การปฎิบัติไม่มีขายนะครับ อยากได้ต้องทำเอาเองครับ ทำเองรู้เองเห็นเอง
     
  13. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    นี่ไงครับ กล่าวไปๆมาๆ ก็ต้องมาลงอย่างที่ผมได้กล่าวไว้

    ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวท แค่เพียงเรียนรู้แล้วนึกคิดเอาเอง จะสำเร็จมรรคผลเหรอครับ

    คุณคิดว่าคุณมีบารมีมากขนาดนั้นเลยเหรอครับ

    หากมีคนคิดเช่นคุณ ศาสนาพุทธคงไม่อยู่มาถึงวันนี้หลอกครับ

    ถึงคุณจะนึกคิดจนเห็นความเป็นจริง แต่คุณจะเอาชนะความเคยชินได้ไหมครับ

    และที่ผู้ปฎิบัติในยุคก่อนพุทธกาล ที่สำเร็จมรรคผลน้อย เพราะยึดติดในความเคยชิน

    โดยที่ตนเองก็ไม่รู้ตัว แล้วคุณคิดว่าคุณจะทำได้ไหมครับ คุณรู้จักความเคยชินไหมครับ

    ความเคยชินที่มีชื่อทางธรรมว่า อาสวะ มีชื่อทางหลักวิชาการว่า จิตสำนึก
     
  14. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ขอขอบคุณทุกท่านที่ทำให้กระทู้เดินหน้านะครับ การเสวนาเช่นนี้ ถ้าค่อยๆ เจรจากันก็ค่อยๆ ได้ประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย สมถะ-วิปัสสนา ของคู่กัน แยกจากกันไม่ได้นะครับ ผมอธิบายปัญหาตามทิฏฐิของท่านทั้งหลายผ่านทางกระทู้เหล่านี้ไว้นานแล้ว เชิญสดับตรับฟังและอ่านดูนะครับ...เข้าไปหาความรู้เพิ่มเติมที่เวบนี้....
    http://khunsamatha.com/
    ปล. ถ้าเปิดลิ้งค์ข้างล่างไม่ได้ ให้เปิดลิ้งค์ข้างบนนี้เข้าหน้าเวบหลักได้เลยนะครับ

    <TABLE border=1 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=768 align=center height=79><TBODY><TR><TD height=73 background=../images/menu-bar_05[1].gif>
    เมนูรวม

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=768 align=center height=297><TBODY><TR><TD bgColor=#b7e2ff width=250>
    ความรู้ทั่วไปในพุทธศาสนา

    </TD><TD bgColor=#ffd5d5 width=250>
    ประวัติศาสตร์พุทธศาสนา

    </TD><TD bgColor=#ffe7ce width=254>
    สมาธิภาวนา วิชชาธรรมกาย

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#d7ffff>พระสัมมาสัมพุทธเจ้า</TD><TD bgColor=#ffe8ff>พระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่างๆ</TD><TD bgColor=#f7ffd2>เรื่องเล่าสมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำ</TD></TR><TR><TD bgColor=#d7ffff>บัญญัติ ปรมัตถ์ โลกุตตรธรรม</TD><TD bgColor=#ffe8ff>นิกายต่างๆ ในพุทธศาสนา</TD><TD bgColor=#f7ffd2>วิชชาธรรมกาย-พยานบุคคล</TD></TR><TR><TD bgColor=#d7ffff>นิพพาน</TD><TD bgColor=#ffe8ff>นักบวชประเภทต่างๆ </TD><TD bgColor=#f7ffd2>ข้อมูลสืบค้นทางประวัติืศาสตร์</TD></TR><TR><TD bgColor=#d7ffff>สมาธิ บริกรรมนิมิต - ภาวนา </TD><TD bgColor=#ffe8ff>มาร ในพระไตรปิฎก</TD><TD bgColor=#f7ffd2>หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์</TD></TR><TR><TD bgColor=#d7ffff>สมถะ - วิปัสสนา</TD><TD bgColor=#ffe8ff>พระอภิธรรมปิฎก</TD><TD bgColor=#f7ffd2>วิชชาธรรมกายเบื้องต้น</TD></TR><TR><TD bgColor=#d7ffff>ปฏิจจสมุปบาท</TD><TD bgColor=#ffe8ff>บันทึกประวัติศาสตร์</TD><TD bgColor=#f7ffd2>วิชชาธรรมกายระดับกลาง</TD></TR><TR><TD bgColor=#d7ffff>สติปัฏฐาน ๔</TD><TD bgColor=#ffe8ff>มิจฉาทิฏฐิ - สัมมาทิฏฐิ</TD><TD bgColor=#f7ffd2>วิชชาธรรมกายระดับสูง</TD></TR><TR><TD bgColor=#d7ffff>อริยสัจ ๔</TD><TD bgColor=#ffe8ff>บรรลุธรรม - อริยบุคคล</TD><TD bgColor=#f7ffd2>ธาตุธรรม ๓ ฝ่าย</TD></TR><TR><TD bgColor=#d7ffff>กาย ใจ จิต วิญญาณ</TD><TD bgColor=#ffe8ff>บทความปกิณกะ</TD><TD bgColor=#f7ffd2>คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=768 align=center height=40><TBODY><TR><TD bgColor=#ddffdd width=250></TD><TD bgColor=#ddffdd width=250></TD><TD bgColor=#ddffdd width=254></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=768 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#f0ecfd width=379></TD><TD bgColor=#f1eefd width=379></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=767 align=center height=98><TBODY><TR><TD bgColor=#fdf9c6 height=46></TD></TR><TR><TD bgColor=#00ccff height=46 width=696></TD></TR></TBODY></TABLE>​


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2011
  15. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    ขอบคุณครับ สมถะ

    ผมชอบครับ อ่านแล้วศึกษา ปฎิบัติ ไม่ใช่ว่าไปตั้งแง่ ว่าสำนักตนถูก คนอื่นผิดหมด
    แบบนี้ ไม่ถูกต้อง ปฎิบัติ อย่างไรก็แล้วแต่ ลงไปที่ สติปัฎฐานสี่ เหมือนกัน
    คือ รู้ กาย เวทนา จิต และธรรม ถือเป็นถูกหมดครับ

    ขออนุโมทนาด้วยครับ
     
  16. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
  17. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
  18. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0



    แบบนี้เราจะศึกษาพระไตรปิฏกไปทำไมครับ เข้าปฏิบัติแบบสุ่มไปก็บรรลุงั้นเหรอ

    ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวทล้วนเป็นเหตุและผลให้กันและกัน จะละเว้นหรือข้ามอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นไม่ได้

    ปริยัติคือการเรียนรู้ที่ถูกต้อง เป็นเหตุให้เกิดการปฏิบัติที่ถูกต้อง และปฏิเวทที่เป็นผลของการปฏิบัติจึงจะเกิดขึ้นได้

    ที่คุณบอกว่าสมถะอย่างเดียวก้บรรลุธรรทได้นั้นไม่สมเหตุผลกัน เพราะเมื่อไหร่ที่เราออกจากสมาธิมาพิจารณาความเป็นไตรลักษ์นั้น นั้นแหละที่เรียกว่ายกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา เพราะฉะนั้นต้องแยกให้ออกครับ

    ผมไม่เคยบอกว่าผมมีบารมีมาก ผมบอกอยู่เสมอด้วยซ้ำว่าผมเรียนเพื่อเป็นปัจจัยในภายหน้า แต่หากว่าเรายังไม่สนใจปริยัติที่ได้รักษากันมา๒๕๐๐ปี
    การปฏิบัติอย่างถูกต้องก็ไม่มามารถจะมีได้ แล้วปฏิเวทวึ่งเป็นผลของการปฏิบัติก้จะมีได้อย่างไีร


    การศึกษาปริยัติไม่เป็นเหตุทำให้ศาสนาเสื่อม ตรงกันข้าม หากศึกษาปริยัติไม่ถูกต้อง นั้นแหละเป็นเหตุให้ศาสนาเสื่อม
     
  19. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0


    นางวิสาขามหาอุบาสิกาสำเร็จเป็นพระโสดาบันตั้งแต่๗ขวบ ไม่ได้ปฏิบัติสมถะมาก่อนนี่ครับ

    ยังมีอีกหลายท่านเลยที่ไม่ได้ปฏิบัติสมถะมาก่อน แต่ท่านสั่งสมบารมีมา แล้วก็เข้าถึงเหตุและผลคืออริยะมรรค โดยวิปัสสนาญาณคือการเห็นไตรลักษ์
    นั่นถึงจะไม่ปราถนาการเกิด ไม่ปราถนารูปนาม เพราะต่่างเห็นว่าเป็นการสร้างทุกข์ นั่นจึงเข้าถึงพระนิพพานคือการหลุดพ้นจากขันธ์ ๕ คือรูปและนาม

    ส่วนสมถะนั้นเห็นว่าเป็นสุข สุขนั้นย่อมเป็นอารมณ์ของตัญหาได้ จึงไม่สามารถพ้นจากการเกิดได้แต่อย่างใด
     
  20. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0
    บางท่านครั้งพุทธกาลที่เพียงฟังธรรมแล้วบรรลุได้ทันที เพราะว่าท่านเหล่านั้นสั่งสมบารมีมามากแล้ว เมื่อได้ฟังธรรมที่เป็นการชี้แนวแห่งวิปัสสนาคือทำให้เห็นไตรลักษ์ จิตของท่านเหล่านั้นเมื่อน้อมไปในเหตุและผลให้ตั้งขึ้นแล้ว ก็ย่อมหันมาพิจารณารูปนามของท่านในขณะนั้นแหละ เมื่อเห็นของจริงเพียงชั่วขณะจิตที่เกิดขึ้นนั้น ด้วยปัญญาที่สั่งสมมาดีแล้วก็ย่อมเป็นเหตุให้เกิดวิปัสสนาญาณได้ในฉับพลัน ล่วงไปจนถึงโคตรภูญาณโดยมีไตรลักษ์เป็นอารมณ์

    จนกระทั่งสามารถน้อมเอาอารมณ์ที่เป็นโลกุตรมาสู่ตนได้ นั่นจึงได้ชื่อว่าเป็นพระนิพพาน

    ป.ล. ธรรมมะของพระพุทธองค์ไม่ใช่ว่าจะสามารถปฏิบัติได้ทุกคน หากไม่ได้ปฏิสนธิด้วยเหตุสามแล้วก็ไม่สามารถรู้ธรรมได้เลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...