ทำยังไงดีกับความคิด จริง หรือว่าเป็นแค่สมมุติ !?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 29 กันยายน 2011.

  1. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,430
    การที่ไม่ทำอะไรกับความคิด ความคิดมันก็ส่ง ส่ายไปเรื่อยครับ เมื่อมีเรื่องอะไรมากระทบ การไม่มีความคิดเพียงหนึ่งเดียวก็ยากที่จะเจริญธรรมในชั้นสูงได้ครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  2. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมนั่งดูจิตอยู่ทุกวันครับ ผมปฎิบัติสมาธิทุกวันครับ

    และเกือบจะทั้งวันครับ พอไม่คิดแล้วจึงเห็นจิตครับ

    ไม่ใช่จิตเห็นครับ
     
  3. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ขณะคิด ไม่ใช่รู้

    ขณะรู้ ไม่ไช่คิด

    เป็นคนละขณะจิตกันครับ

    ส่วนที่รู้ขณะนั้น เป็นปัญญาที่รู้ ไม่ใช่เราที่รู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กันยายน 2011
  4. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    -ท่านทรงอารมณ์ตลอดวันเลยหรือ ก็ขออนุโมทนา หากเปลี่ยนมาทำสติปัฏฐาน 4 บ้าง ท่านจะชัดขึ้น

    -ท่านคงเห็นจิตชัด แต่อาจจะไม่รู้จักเลยเรียกไม่ถูก
     
  5. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    จิตก็คือจิตครับ เหตุที่ต้องอบรมจิต ให้หยุดให้นิ่ง ก็เพราะจิตคุ้นเคยกับการนึกคิด

    วิธีทดลองแบบง่ายๆ ขณะที่ได้ประสบพบเจอ สิ่งที่ไม่ยินดี หรือ ยินดี

    ในขณะนั้น หากจิตยังไม่จับความรู้สึก จะไม่มีการนึกคิดอันใด

    การนึกคิดจะเกิดต่อเมื่อ จิตจับต้องความรู้สึก ที่ได้เกิดขึ้นครับ

    ตัวอย่าง มีคนนำสิ่งของมาให้ ในขณะที่เขาเอามาให้ ความดีใจยังไม่เกิดขึ้น

    จนเมื่อรับสิ่งขิงสิ่งนั้นมา ความดีใจจึงเกิดขึ้น เหตุเพราะการนึกคิดเกิดก่อนที่จะรับสิ่งของ

    ฉนั้น จิตจึงไม่ใช่การนึกคิด และ ไม่ใช่ความรู้สึก แต่อย่างใด

    ไว้คุณได้เห็นจิตด้วยตัวคุณเอง แล้วคุณจะเข้าใจที่ผมบอกกล่าวครับ

    การนึกคิด ไม่สามารถ ทำให้เห็นจิตได้ครับ จะเห็นจิตได้ ต่อเมื่อหยุดการนึกคิดเท่านั้นครับ
     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยตาด้วย รูปด้วย จึงเกิดความรู้แจ้งทางตาขึ้นการประจวบพร้อม(แห่งตา+รูป+วิญญาน)ทั้งสามอย่างนั้น ย่อมเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขบ้าง ภิกษุทั้ง หลาย บุคคลนั้น เมื่อถูก สุขเวทนากระทบแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลินพร่ำเพ้อถึง ไม่เมาหมกติดอกติดใจ อนุสัยคือ ราคะ ย่อมไม่ตามนอนในสันดานของบุคคลนั้น ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้นเมื่อทุกข์เวทนากระทบแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ระทมไม่คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ไม่ถึงความหลงลืม อนุสัยคือ ปฎิฆะ ย่อมไม่ตามนอนในสันดานของบุคคลนั้น ...................ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้น เมื่อ ถูกเวทนาอันไม่ทุกข์ ไม่สุขกระทบแล้วย่อมรู้ชัดแจ้งตรงตามความเป็นจริง ซึ่งความก่อขึ้นของเวทนานั้น ซึ่งอุบายเครื่องออกพ้นไปได้จากเวทนานั้น อนุสัยคือ อวิชชา ย่อมไม่ตามนอนในสันดานของบุคคลนั้น.......................ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้นหนอ ละ อนุสัยราคะ ในสุขเวทนาได้แล้ว บรรเทาอนุสัยคือ ปฎิฆะ ในทุกขเวทนาเสียแล้ว ถอนขึ้นได้กระทั่งราก ซึ่งอนุสัยคือ อวิชชา ในเวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุขเสียได้แล้ว ท่านละอวิชชาได้แล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว จักเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ ในปัจจุบันนี้โดยแท้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล.............(ในกรณีเกี่ยวกับ อายตนะภายใน และภายนอกคู่อื่น อันได้ประจวบกัน เกิด วิญญาน ผัสสะ และ เวทนา อีกห้าหมวดนั้น ก็มีข้อความอย่างเดียวกันกับหมวดแรกนี้ ผิดกันแต่ชื่อเรียกเท่านั้น)............................(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส)
     
  7. คุณากโร9

    คุณากโร9 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2008
    โพสต์:
    101
    ค่าพลัง:
    +54
    การไม่ทำอะไรในความหมายของผมคือเป็นผู้ดูอยู่เฉยๆครับ ไม่ต้องไปปรุงแต่งกับความคิดว่าชอบไม่ชอบ ดีหรือเลว ทั้งนี้ถ้ามีอะไรมากระทบแต่เราไม่กระเทือนไปตามสิ่งที่เรากระทบ ความคิดมันไม่ส่งไม่ส่ายครับเพราะเราอยู่ในฐานะผู้ดู มีนักปฏิบัติใหม่ๆมากมายที่จะรู้สึกไม่ดีเวลานั่งสมาธิแล้วคิดถึงสิ่งที่ไม่ดีต่างๆเช่นภาพโป๊ หรือคิดอกุศลก็จะมานั่งรู้สึกไม่ดี อันนี้คือกระทบแล้วกระเทือนครับ ขอให้คุณคุรุวาโรเจริญในธรรมเช่นกันครับ
     
  8. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อนุโมทนาครับ ควรแล้วครับกับคำกล่าวนี้
     
  9. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    การปฏิบัติขั้นแรก ยังไม่รู้จัก สติ สมาธิ
    ก็ต้องฝืนความคิดของกิเลสที่ไหลลงทางต่ำ
    กิเลสคิดผิด เราก็ิคิดให้ถูก คิดให้เป็นธรรม

    ต่อมาเมื่อรู้จักสติ สมาธิ
    เมื่อมีสมาธิมีสติอยู่
    ก็พิจารณาว่ากาย เวทนา จิต(ความคิดความปรุง) ธรรม
    นี้ สักว่าเท่านั้น
    ไม่มีกายเขากายเรา สักว่ากายเท่านั้น
    เป็นที่ประชุมของธาตุทั้งสี่เท่านั้น
    กายเขากายเราไม่มี เป็นเพียงธาตุทั้งสี่ที่ประชุมกันขึ้นมาเท่านั้น
    ไม่เกี่ยวกับสัตว์ กับบุคคล ไม่ใช่กายเขา ไม่ใช่กายเรา

    เวทนาก็สักว่า เป็นอาการหนึ่ง ๆ เท่านั้น
    เกิดแล้วก็ดับไป ไม่มีเวทนาเขาเวทนาเรา
    เพราะเป็นอาการที่มีอยู่ทั่วไป ตามธรรมดา
    ไม่เกี่ยวกับสัตว์ กับบุคคล ไม่ใช่เวทนาเขา ไม่ใช่เวทนาเรา

    จิต นี้คือ ความคิดความปรุง
    จะปรุงดีปรุงชั่วก็ดับทั้งนั้น
    หาความเป็นตัวเป็นไม่ได้
    เป็นแค่ความคิดความปรุงที่มีทั่วไป
    ไม่เกี่ยวกับสัตว์ กับบุคคล ไม่ใช่ความคิดเขา ไม่ใช่ความคิดเรา

    ธรรมก็สักว่าธรรมเท่านั้น
    เป็นธรรมของโลกที่มีอยู่ทั่วไป
    ไม่เกี่ยวกับสัตว์ กับบุคคล ไม่ใช่ธรรมของเขา ไม่ใช่ธรรมของเรา
    เป็นเพียงสิ่งที่มีอยู่เท่านั้น

    นี่คือสติปัฏฐาน 4

    จากสติปัฏฐาน 4 ก็เข้าโพชฌงค์ 7
    ก็ต้องมีธรรมวิจยะ
    เมื่อมีธรรมวิจยะ ความคิดก็จะสักว่า
    เหมือนสติปัฏฐาน 4 ไม่ได้แล้ว

    การปฏิบัติธรรม ก็มีเป็นขั้นเป็นตอนไปนั่นแหละ
    จะมาเดินไปหน้าเดียวอย่างนี้ไม่ได้
    เพราะเป็นการปิดกั้นปัญญาตนเอง

    ในขั้นที่ต้องพิจารณาว่า
    ความคิดก็สักว่าความคิด
    ก็ต้องปฏิบัิตอย่างนั้น

    ในขั้นที่ต้องใช้ความคิดพิจารณาถอดถอน
    ก็ต้องใช้ความคิดพิจารณาถอดถอน

    ปัญญาต้องพลิกแพลง
    มีดพร้า
    พลิกสันก็ต้องเป็นคม
    พลิกคมก็ต้องเป็นสัน
    ควรใช้ประโยชน์ด้านสันมีดก็ใช้
    ควรใช้ประโยชน์ด้านคมมีดก็ใช้
    ใช้ให้เหมาะกับงาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กันยายน 2011
  10. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    ขอบพระคุณ ทุกๆคำตอบครับ
    รับไปพิจารณา สาธุ

    ใครมีทัศนะเพิ่มเติมแนะนำด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กันยายน 2011
  11. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    ถ้าจะนับเริ่มแรก จริงๆ ต้องไปเรียนภาษาบาลี แล้วจะแยกภาษาไทยออก
    รากฐาน ภาษาไทยมาจาก ภาษาบาลี และการสอนธรรม
    คำบาลีกับภาษาไทย
    ความหมายคนละอย่าง เช่นคำว่า
    มานะ ถ้าของไทยก็ บ่งบอกว่า ความขยัน
    ถ้า บาลีก็บ่งบอกว่า ว่าความถือตัว

    ทีนี้มาดูคำว่า ความคิด
    ถ้าจะ เทียบกับบาลี เข้าใจว่า
    ก็จะลงกับคำว่า เจตสิก
    หรือ อารมณ์

    ฉะนั้น ความคิดก็คือ เจตสิกก็ได้
    ความคิดก็คือ อารมณ์ก็ได้

    อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อารมณ์ในภาษาไทย กับบาลี
    ความหมายก็ไม่ตรงกันซะทีเดียว ทำให้การ สนทนาเฉพาะกาล
    เกิดความคลาดเคลื่อน สำหรับผู้นำไปบอกต่อ
    ซึ่งไม่ใช่ความเข้าใจที่เกิดในระหว่างคู่การสนทนาในกาลเฉพาะหน้านั้น

    - ความคิดชั่วเท่านั้นใช่ไม๊ที่ต้องละ ?
    อันนี้ ต้องแยกออกได้ ระหว่าง ตั้งใจคิด กับไม่ตั้งใจคิด
    และแยกได้ด้วยว่า ความคิดที่ไม่ตั้งใจคิดแล้วมีสติรู้อยู่
    กับความคิดที่ไม่ตั้งใจคิดแต่ไม่มีสติรู้อยู่

    ถ้าแยกตรงนี้ออกชัดเจน จะเห็นเลยว่า ความคิดชั่ว
    ที่ไม่ตั้งใจคิดมันก็ส่วนหนึ่งสติก็รู้พร้อมส่วนหนึ่ง
    เมื่อเห็นทันความยินดี ยินร้ายกับความคิดชั่วนั้น จิตจะไม่ข้องอยู่
    เรียกภาษาบ้านๆว่า ไม่มีความคล้อยตามความคิดชั่วนั้นเพราะมีสติรู้อยู่

    แต่ถ้าแยกตรงนี้ไม่ออก ก็จะ วนเวียนใหญ่ หากไม่ยอมอยู่รู้ที่บางซื่อ
    กว่าจะเจอก็นู้น ฟ้าเหลืองที่พานิชยการแล้ว





    - ความคิดฝ่ายดีที่ไม่ละเมิดศีลหละ ต้องทำไงกับสมมุตินี้ดี ?
    ถ้าเข้าใจ ในสีม่วงแล้ว จะเข้าใจอันนี้ไปในตัว


    - คนที่ไม่คิดเลยมีไม๊ ทำยังไงดีกับความคิด หรือปล่อยมันไปเกิดดับ ?
    เข้าใจว่าถ้าไปเรียนตาม สีแดงซักนิด ก็จะเข้าใจในส่วนนี้
    และ
    จะเข้าใจเพิ่มว่า
    ทำไมต้องที่บางซื่อ
     
  12. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    แยกให้ได้ก่อนครับ.....ว่าอะไรเป็นจิต....อะไรเป็นความคิดที่เกิดจากจิต...ลักษณะอาการและกิริยา..ทั้งจิตและความคิดที่เกิดจากจิตเป็นอย่างไร...ลักษณะของเค้าทั้งสองในรูปแบบนามมธรรมเป็นอย่างไร....แล้วค่อยว่ากันนะครับ
    อนุโมทนาสาธุครับ...
     
  13. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    - คำบนเส้นใต้เขาเรียกว่า อุปทาน ครับ

    -เหตุที่ท่านไม่รู้จริงคือท่านไม่เคยเห็นการเกิด-ดับของจิต

    -จิตแสดง มายา ท่านจะต้องรู้มายาของจิต หากท่านรู้แล้วหากใครพูดเรื่องจิตในมุมใดท่านก็รู้ อุปมาดัง เขาพูดเรื่อง ลิง ที่ประเทศจีนแต่ท่านไม่เคยไปประเทศจีน แต่ลิงที่ประเทศไทยก็มีเราท่านเคยเห็นและรู้จักลิงดี ดังนั้น ลิงที่ประเทศจีนกับประเทศไทยจึงเหมือนกันในทาง นามธรรม
     
  14. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    คุณเห็นแน่เหรอ ว่าจิตเกิด-ดับ การเกิด-ดับ ใช่จิตเหรอครับ

    หรือว่าเป็นการปรุงแต่งของจิต คุณเคยเห็นจิตไหมครับ

    คุณจึงว่าผมอุปทาน ยังไม่ได้เริ่มขี่มอเตอร์ไซค์เลย แค่นั่งคิดเอา

    ว่าต้องขี่แบบนั้น แบบนี้ แล้วทึกทักว่าขี่เป็น

    หัดให้เป็นก่อน ให้รู้ก่อน ให้เห็นก่อน จะได้เข้าใจด้วยตนเองครับ

    พระอาจารย์ก็มีกล่าวไว้ เรื่องจิตดวงเดิม ที่ยังไม่มีการปรุงแต่ง

    จิตที่บริสุทธิ์ จิตที่สะอาดหมดจด จิตที่ไม่มีสิ่งใดเจือปน

    แล้วคุณจะเห็นคำว่ามายาด้วยตัวคุณเองครับ

    ถาม ตอบ ตนเองก็ได้ครับ เรื่องของ จิต ว่าใช่การนึกคิดไหมครับ
     
  15. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    -ผู้ปฏิบัติธรรมที่ฝึกจิตดีแล้วล้วนแต่เห็นการเกิด-ดับของจิตทั้งนั้น ที่ท่านเฝ้าดูจิตท่านดูอะไรของจิตหากไม่ดูการเกิด-ดับของจิต อาการของจิตก็มีแต่เกิด-ดับ หากไม่เห็นการเกิด-ดับ ผลสุดท้ายของจิตคืออารมณ์ เพราะไม่แยบคายในการเห็นจิต และท่านก็คิดว่าอารมณ์คือจิตอีกเพราะท่าน ทรงอารมณ์ ทั้งวัน

    -ยอดของการปฎิบัติธรรมคือการเห็น จิต หากท่านว่ายอดของการปฎิบัติธรรมคือการ ทรงอารมณ์ ท่านจะทะลุธรรมแล้ว พระที่เดินธุดงในป่าเพราะต้องการเห็นจิตใจชัดๆ หากพระที่ต้องการไป ทรงอารมณ์ ในป่าคือพระที่กำลัง ทะลุดง
     
  16. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    ทำยังไงดีกับความคิด จริง หรือว่าแค่สมมุติ?
    ตอบ: มันก็มีจริงแบบปรมัติ กับแบบไม่ปรมัติ การอ้างอิง สัตว์ บุคคล สิ่งของต่าง ๆ มันก็เป็นสมมุติ

    ความคิดชั่วเท่านั้นใช่ไม๊ที่ต้องล่ะ?
    ตอบ: นอกนั้นก็อีก มี ชาติ ชรา มรณะ ที่ต้องละ

    ความคิดฝ่ายดีที่ไม่ละเมิดศีลหละ ต้องทำยังไงกับสมมุตินี้ดี
    ตอบ: ศีลสังวรก็ควรรักษา สำรวมทั้งกายและวาจา

    คนที่ไม่คิดเลยมีไม๊ ทำยังไงดีกับความคิด หรือปล่อยมันไปเกิดดับ?
    ตอบ: ก็คนที่นอนหลับและไม่ได้ฝันไง ปล่อยคิดไปเรื่อย ๆ เปื่อย ๆ ก็ขาดสติ แม้ไม่ปล่อยมันก็เกิดดับอยู่แล้ว

    คร่าว ๆ คุณก็รู้ดีแทบทุกอย่างแล้ว ดูจากการตั้งคำถาม ถามเพื่อไรอ่ะ
     
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าสัตว์ สัตว์ ดังนี้ อันว่าสัตว์ด้วยเหตุเพียงเท่าไหร่เล่า? พระเจ้าข้า................................ราธะ ความพอใจอันใด ราคะอันใด นันทิอันใด ตัณหาอันใดมีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาน เพราะการติดแล้ว ข้องแล้ว ในสิ่งนั้นนั้น เพราะฉนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ดังนี้......................ราธะ เปรียบเหมือนพวกกุมารน้อยน้อย หรือ กุมารีน้อยน้อย เล่นเรือนน้อยน้อยที่ทำด้วยดินอยู่ ตราบใดเขายังมีราคะ มีฉันทะ มีความรัก มีความกระหาย มีความเร่าร้อน และมีตัณหา ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ตราบนั้นพวกเด็กน้อยนั้นนั้น ย่อมอาลัยเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ย่อมอยากเล่น ย่อมอยากมีเรือนน้อย ที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ย่อมยึดถือเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้นว่าเป็นของเรา ดังนี้..........................ราธะ แต่เมื่อใดแล พวกกุมารน้อยน้อย หรือ กุมารีน้อยน้อย เหล่านั้น มีราคะไปปราศแล้ว มีฉันทะไปปราศแล้ว มีความรักไปปราศแล้ว มีความกระหายไปปราศแล้ว มีตัณหาไปปราศแล้ว ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ในกาลนั้นแหละพวกเขาย่อมทำเรือนน้อยน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ให้กระจัดกระจายเรี่ยรายเกลื่อนกล่นไป กระทำให้จบการเล่นเสียด้วยมือและเท้าทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด? ราธะ อุปไมยก็ฉันนั้น คือ แม้พวกเธอทั้งหลายจงเรี่ยราดกระจัดกระจายออก ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาน จงขจัดเสียให้ถูกวิธี จงทำให้จบการเล่นให้ถูกวิธี จงปฎิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด......... ราธะ เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหานั้น คือ นิพพาน ดังนี้แล.....................(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส)
     
  18. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า จึงถูกเรียกว่ามาร พระเจ้าข้า ..................................ราธะเมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาน มีอยู่ จะพึงมีมาร มีผู้ให้ตาย หรือว่าผู้ตาย.......................ราธะ เพราะฉนั้น ในเรื่องนี้ เธอจงเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารและ วิญญาน ว่าเป็นมาร เห็นว่าเป็นผู้ให้ตาย เห็นว่าเป็นโรค เห็นว่าเป็นหัวฝี เห็นว่าเป็นลูกศร เห็นว่าเป็นทุกข์ เห็นว่าเป็นทุกข์ที่เกิดแล้วดังนี้ พวกใดย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญานนั้น ด้วยอาการอย่างนี้ พวกนั้นชื่อว่า ย่อมเห็นโดยชอบ แล .................... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัมมาทัสนะ(การเห็นโดยชอบ)มีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมายเล่าพระเจ้าข้า............................................................ ราธะ สัมมาทัสนะ มีนิพพิทา(ความเบื่อหน่าย)เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย..................ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ นิพพิทา(ความเบื่อหน่าย)มีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมายเล่าพระเจ้าข้า ราธะ นิพพิทาแล มีวิราคะ(ความจางคลายไป)เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย ....................ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ วิราคะ มีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมายเล่าพระเจ้าข้า ............ราธะ วิราคะแล มีวิมุติ(ความหลุดพ้น)เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย.......................ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็วิมุติมีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมายเล่าพระเจ้าข้า?..............ราธะ วิมุติแล มีนิพพานเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย.........ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ นิพพานมีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมายเล่าพระเจ้าข้า? .......ราธะเธอได้ถามเลยปัญหาเสียแล้ว เธอไม่อาจจะจับฉวยเอาที่สุดของปัญหาได้ ราธะ ด้วยว่าพรหมจรรย์ ที่ประพฤติกันอยู่นี้แล ย่อมหยั่งลงสู่นิพพาน..... มีนิพพานเป็นที่สุดท้าย...............(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส)
     
  19. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมไม่เคยกล่าวว่าจิตคืออารมณ์ และ อารมณ์ผมบอกกล่าวถึงการทรงอารมณ์นั้น

    เป็นการทรงอารมณ์ที่นิ่งสงบไว้ หากมีสิ่งใดเข้ามากระทบจิต อารมณ์จะไม่มีการสั่นไหว

    และ จิตก็คือจิต ไม่สามารถเป็นอย่างอื่นไปได้ คำว่าจิตตั้งมั่น จะเกิดขึ้นได้

    ต้องมีอารมณ์ที่นิ่งสงบ ปราศจากสิ่งเจือปน จิตจึงจะตั้งมั่นได้ และ เหมาะแก่การเจริญสมาธิ

    เหมาะแก่การเข้าถึงองค์ฌาณ แต่จิตที่ปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา เกิด-ดับตลอดเวลา

    จิตจะตั้งมั่นได้อย่างไร ในเมื่อคอยที่จะปรุงแต่ง เกิด-ดับอยู่ตลอด

    และ เรื่องที่ผมกล่าวว่าจิตจับความรู้สึกนั้น ผมเห็นด้วยตนเองแล้ว จึงได้นำมากล่าว

    การทำงานของจิต ผมก็กล่าวไปมากแล้ว และ ก็ถกไปมากแล้ว

    เมื่อศัทธามาคนละทาง ควรเดินตามทางที่ศัทธา
     
  20. รักษ์11

    รักษ์11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +516
    จิตมีสภาพคิด

    ที่ต้องมาฝึกสมาธิ ก็คือการฝึกจิตไห้มีสติ ฝึกไห้มีสัมปะชัญญะ

    เพื่อไม่ให้จิตหลงใหลไปกับอารมณ์ปรุงแต่ง ไห้มสติรู้เท่าทัน

    ต่อไป จะได้รู้ว่า อารมณ์แบบใด เราควรคิด ไม่ควรคิด

    สติ จะแยกแยะออก คิดเป็นก็เป็นพิจรณา แต่ถ้าคิดไม่เป็นก็กลาย

    เป็นฟงซ่านไป

     

แชร์หน้านี้

Loading...