พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    วันนี้ผมได้ไปใส่บาตรในตอนเช้า ก็ขอกรวดน้ำแบบคุณหนุ่มครับ
    ...............................
    สาธุ

    แต่มีความอยากจะถามครับ

    "น้องสาวผมโทรมาหาเมื่อคืนวันที่ 25 มีนาคม 2550"
    บอกว่าฝันเรื่องเดิมติดๆ กัน 2 - 3 ครั้งได้ วันนี้ผมจึงพาไปใส่บาตร
    แต่จุดที่สำคัญอยู่ตรงที่ ฝันเห็นผมนุ่งห่มผ้าเหลือง โกนหัวไปหาเขา
    เขาเห็นแล้ว ผมก็หายไป
    อยากให้ช่วยแปลความให้หน่อยครับ

    ที่ถามไม่ต้องการสร้างศรัทธา แต่ด้วยความรู้น้อย จึงอยากเข้าใจความหมายจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

    ขอขอบคุณครับ
     
  2. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    การกระทำอันใดที่ก่อด้วยจิตกุศล ที่ดีแล้ว
    ย่อมต้องมีอุปสรรค และบางสิ่งที่ลดทอนกำลังใจของเราเป็นธรรมดา
    ขออย่าได้ หวั่นไหว ตั้งมั่น เราทำของเราอย่างแน่วแน่ เป็นของจริงๆ
    มันต้องสำเร็จได้อย่างแน่นอน

    คนมันมีหลายอย่าง หลากหลาย กิเลสมันมาก ความอยากมันมี
    ความหลงมันมี มันจึงต้องสร้างความปั่นบ่วน แปรปวนอยู่แล้ว

    อย่าทำให้จิตตนเอง หลงไปกับมันเลย
    เดี๋ยวมันก็ไปของมันเองแหละครับ
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    เรื่องนี้เกินความสามารถผมครับ ไว้ผมจะไปถามให้ครับ แต่ไม่รับปากเรื่องคำตอบนะครับ เพราะว่าผมเองอาจจะโดน(ด่า)เหมือนกัน แต่จะถามให้ครับ

    ส่วนการกรวดน้ำ ขอโมทนาสาธุครับ

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammathai.org/buddha/g23.php

    "พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ที่พระโคดมพุทธเจ้าทรงพบ"
    พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์นี้ ๒๔ พระองค์ คือ พระพุทธเจ้าที่ระโคดมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ได้ทรงพบและพระโคดมพุทธเจ้าทรงได้รับพยากรณ์ว่า จะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า นิยมนับรวมพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเข้ารวมด้วยเรียกว่า "พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์" นับแต่พระองค์แรกจนถึงพระโคดมพุทธเจ้า มีดังนี้
    ๑. พระทีปังกร
    ๒. พระโกณฑัญญะ
    ๓. พระสุมัคละ
    ๔. พระสุมนะ
    ๕. พระเรวตะ
    ๖. พระโสภิตะ
    ๗. พระอโนมทัสสี
    ๘. พระปทุมะ
    ๙. พระนารทะ
    ๑๐. พระปทุมุตตระ
    ๑๑. พระสุเมธะ
    ๑๒. พระสุชาตะ
    ๑๓. พระปิยทัสสี
    ๑๔. พระอัตถทัสสี
    ๑๕. พระธรรมทัสสี
    ๑๖. พระสิทธัตถะ
    ๑๗. พระติสสะ
    ๑๘. พระปุสสะ
    ๑๙. พระวิปัสสี
    ๒๐. พระสิขี
    ๒๑. พระเวสสภู
    ๒๒. พระกกุสันธะ
    ๒๓. พระโกนาคมนะ
    ๒๔. พระกัสสปะ
    ๒๕. พระโคตมะ (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)

    <TABLE width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] สารบัญ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammathai.org/buddha/g24.php
    "พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ ในพระคัมภีร์ชั้นอรรถกถา"
    ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาแสดงย้อนหลังพระนามของพระพุทธเจ้ารวมกัน ถึง ๒๘ พระองค์ ซึ่งมักอ้างในบทสวดหรือในการประกอบพิธีหลายอย่างมีดังนี้
    <TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๑. พระตัณหังกร
    ๒. พระเมธังกร
    ๓. พระสรณังกร
    ๔. พระทีปังกร
    </TD><TD>(รวม ๔ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๕. พระโกณฑัญญะ </TD><TD>(เพียงพระองค์เดียวอุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๖. พระสุมังคละ
    ๗. พระสุมนะ
    ๘. พระเรวตะ
    ๙. พระโสภิตะ
    </TD><TD>(รวม ๔ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๑๐. พระอโนมทัสสี
    ๑๑. พระปทุมะ
    ๑๒. พระนารทะ
    </TD><TD>(รวม ๓ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๑๓. พระปทุมุตตระ </TD><TD>(เพียงพระองค์เดียวอุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๑๔. พระสุเมธะ
    ๑๕. พระสุชาตะ
    </TD><TD>(รวม ๒ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๑๖. พระปิยทัสสี
    ๑๗. พระอัตถทัสสี
    ๑๘. พระธรรมทัสสี
    </TD><TD>(รวม ๓ พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๑๙. พระสิทธัตถะ </TD><TD>(เพียงพระองค์เดียวอุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๒๐. พระติสสะ
    ๒๑. พระปุสสะ
    </TD><TD>(รวม 2 พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๒๒. พระวิปัสสี </TD><TD>(เพียงพระองค์เดียวอุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๒๓. พระสิขี
    ๒๔. พระเวสสภู
    </TD><TD>(รวม 2 พระองค์อุบัติในกัปหนึ่ง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="40%">๒๕. พระกกุสันธะ
    ๒๖. พระโกนาคมนะ
    ๒๗. พระกัสสปะ
    ๒๘. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของเราทั้งหลาย
    </TD><TD>(รวม ๔ พระองค์อุบัติแล้วในกัปนี้)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    อนึ่ง ในกัปนี้เอง จักอุบัติขึ้นในอนาคตอีกหนึ่งพระองค์ คือ "พระเมตเตยยะ" หรือ "พระศรีอารยเมตไตรย" แต่มักเรียกกันว่า "พระศรีอารย์" ซึ่งจะอุบัติขึ้นหลังจากสิ้นศาสนา พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันแล้ว ในกาลนั้นมนุษย์ มีอายุยืน ๘๐,๐๐๐ ปี
    จะเห็นได้ว่าใน ๑๑ กัปที่ผ่านมาไม่มีกัปใดที่มีพระพุทธเจ้าเกิน ๔ พระองค์ แต่ในกัปปัจจุบันนี้ (คือกัปที่ ๑๒ นับจากพระพุทธเจ้าองค์แรก คือ พระตัณหังกร) จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นถึง ๕ พระองค์ รวมทั้งพระศรีอารย์ จึงเรียกว่า "ภัททกัป" หรือ ภัทรกัป" แปลว่า กัปเจริญ
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://tripitaka.wikia.com/wiki/พระ....E0.B8.AB.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.81.E0.B8.A3

    พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ [​IMG]


    จาก พระไตรปิฎกออนไลน, สารานุกรมฟรี


    Jump to: navigation, search
    <!-- start content -->
    ที่มาจาก..เวปพลังจิตครับ โดยคุณมหาหิน..</PRE>ความแตกต่างขององค์สมเด็จพระสัมาสัมพุทธเจ้า บางประการ....
    1. วรรณะของพระองค์ (เท่าที่พบ มี พราหมณ์ และ กษัตริย์)
    2. พุทธลักษณะ ขนาดพระวรกาย
    3. พาหนะที่ทรงเสด็จออกบรรพชา
    4. ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้
    5. ระยะเวลา ที่ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้
    6. พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย
    7. จำนวนพระอรหันต์ ที่เป็นพุทธบริวารแวดล้อมตามเสด็จ
    8. พระชนมายุของพระพุทธองค์
    9. อายุ การประกาศพระศาสนา
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ย้อนขึ้นไป 28 พระองค์(นับตั้งแต่ สมเด็จองค์ปัจจุบัน) คัดลอกจากหนังสือ หลวงปู่สอนหลาน หน้า 142-170 พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ นี้ หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ได้คัดลอกจากภาษาล้านนา และแปลเก็บไว้ในหอพระไตรปิฎก ณ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอ ลี้ ลำพูน


    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธตัณหังกร

    • องค์สมเด็จพระพุทธตัณหังกร - ผู้กล้าหาญ
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้านันทราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุนันทราชาเทวี
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 10,000 ปี
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    • พระวรกายสูง 18 ศอก
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธเมธังกร

    • องค์สมเด็จพระพุทธเมธังกร – ผู้มียศใหญ่
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า เทโว
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง ยะสุนทราชาเทวี
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 80,000 ปี
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 15 วัน
    • พระวรกายสูง 18 ศอก
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธสรณังกร

    • องค์สมเด็จพระพุทธสรณังกร – ผู้เกื้อกูลแก่โลก
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุมาเลราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง ยสะเทวี
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 10,000 ปี
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 2 เดือน กับ 20 วัน
    • พระวรกายสูง 18 ศอก
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธทีปังกร

    • องค์สมเด็จพระพุทธทีปังกร – ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง
    • สถานที่ประสูติ กรุงรัมมวดีมหานคร
    • ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 8 อาสาฬหนักขัตฤกษ์
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า นรเทวราช(พระเจ้าสุเทพ)
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางเจ้า สุเมธา
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ปทุมาราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอสุภขันธกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 10,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 9 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นปิปผลิ
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุมังคลเถร และพระติสสเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสาคตเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนันทาเถรี และพระสุนันทาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า ตปุสสะ และภัลลิกะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฎฐายิกา ชื่อว่า นางสิริมา และนางโสณา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 400,000 องค์
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 100,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธพระโกณฑัญญะ

    • องค์สมเด็จพระพุทธพระโกณฑัญญะ – ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
    • สถานที่ประสูติ กรุงรัมมวดีมหานคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุนันทราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง สุชาดาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง รุจิราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระวิชิตเสนกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ 10,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียมม้าอาชาไนยคู่
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 58 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นพญารัง
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระภัททเถร และพระสุภัททเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอนุรุทธเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระติสสาเถรี และพระอุปัสสนาเถรี
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน แสนโกฏิ องค์
    • พระวรกายสูง 18 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 200,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 100,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธพระสุมังคละ

    • องค์สมเด็จพระพุทธพระสุมังคละ – ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ
    • สถานที่ประสูติ อุตตรนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อุตตรมหาราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอุตตรราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ยสาวดี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระสีวระราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 70,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 57 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นนาคพฤกษ์(กากะทิง)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระเทวเถร และพระธรรมเสนเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวราเถรี และพระอโสกาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นันทะ และวิสาขะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า อนุฬา และสุมนา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,00 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธสุมนะ

    • องค์สมเด็จพระพุทธสุมนะ – ผู้เป็นธีรบุรุษมีพระหทัยงาม
    • สถานที่ประสูติ เมขละนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุทัตตมหาราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางเจ้า สิริมา
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ฏังสกี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอนุปมราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ อยู่นาน 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 60 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นนาคพฤกษ์(กากะทิง)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสรณเถร และพระภาวิตัตตเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณาเถรี และพระอุปโสณาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะ และสรณะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า จารา และอุปจารา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 90 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 90,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธเรวตะ

    • องค์สมเด็จพระพุทธเรวตะ – ผู้เพิ่มพูนความยินดี
    • สถานที่ประสูติ สุธัญญวดีนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าวิปุลราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางวิปุลาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุทัสนา
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระวรุณราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 6,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียบม้าอาชาไนย
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นาคพฤกษ์
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระวรุณเถร และพรหมเทวะเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัมภวะเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททราเถรี และพระสุภัททราเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณ และสรภะมหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า ปาลา และอุปปาลา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธโสภิตะ

    • องค์สมเด็จพระพุทธโสภิตะ – ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ
    • สถานที่ประสูติ สุธรรมนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุธรรมราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง สุธรรมาเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง มจิลาราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระสีหราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นาคพฤกษ์ (ไม้กากะทิง)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระอสมเถร และ สุเมธเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอโนมเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนกุฬาเถรี และพระสุชาตาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายรัมมะ และ นายสุเนตตะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนกุฬา และนางสุชาตา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 58 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า

    • องค์สมเด็จพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า – ผู้อุดมสูงสุดในหมู่ชน
    • สถานที่ประสูติ จันทวดีนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า ยศวราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยโสธรา
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สิริมา
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอุปสารราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ เมื่อพระชนมายุ 10,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจนมาศ (วอทอง)
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นอชุนะ (ไม้รกฟ้า)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระนิสภเถร และอโนมเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระวรุณเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุนทราเถรี และพระสุมนาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายนันทิวัฒนะ และสิริวัฑฒะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางอุปรา และนางปทุมา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 58 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 80 ศอก
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธปทุมะ

    • องค์สมเด็จพระพุทธปทุมะ – ผู้ทำให้โลกสว่าง
    • สถานที่ประสูติ จัมปานคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อสมราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอสมาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง อุตตราเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระรัมมราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาส อยู่ 10,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียมม้าอาชาไนย
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า มหาโสณพฤกษ์
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสาลเถร และพระอุปสาลเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระวรุณเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระราธาเถรี และพระสุราธาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายสภิยะ และนายอสมะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางรุจิ และนางนันทิมาลา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 58 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธนารทะ

    • องค์สมเด็จพระพุทธนารทะ – ผู้เป็นสารถีประเสริฐ
    • สถานที่ประสูติ ธัญญวดีมหานคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุเมธราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอโนมาเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง วิชิตเสนาเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระยันทุตรราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ทรงดำเนินไปด้วยพระองค์เอง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 57 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า มหาโสณพฤกษ์
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน ตรง
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระภัททสาลเถร และพระพิชิตมิตตเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระวาเสฏฐเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอุตตราเถรี และพระผักขุนีเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุตรินท์ และวสะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางอินทอรี และนางคัณฑี มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 องค์
    • พระวรกายสูง 88 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 1 อสงไขย
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธปทุมุตระ

    • องค์สมเด็จพระพุทธปทุมุตระ – ผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์
    • สถานที่ประสูติ หงสวดีนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อานันทมหาราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุชาดาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุละทัคคเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอุตตรราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 90,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นสาละ หรือต้นรัง
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระเทวลเถร และพระสุชาตเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสุมนเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอมิตตาเถรี และพระอสมาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อมิตตะ และติสสะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางหัตถา และนางสุจิตตา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 58 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 12 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 30,000 กัลป์
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธสุเมธะ

    • องค์สมเด็จพระพุทธสุเมธะ – ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
    • สถานที่ประสูติ สุทัสสนนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุทัสสนมหาราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุทัตตาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุมนาเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระปุนัพพราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มหานิมพะ (ไม้สะเดา)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุมนเถร และพระสัพพกามเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสาครเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระรามาเถรี และพระสุรมาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุรุเวฬ และยสวา มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางยสา และนางสิริมา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 88 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://tripitaka.wikia.com/wiki/พระ....E0.B8.AB.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.81.E0.B8.A3


    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธสุชาตะ

    • องค์สมเด็จพระพุทธสุชาตะ - ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
    • สถานที่ประสูติ สุมังคลนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุคคตราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปภาวดีราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสิรินันทาเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอุปเสนราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง ชื่อ หังสวาสภราชา
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 33 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มหาเวฬุ (ไม้ไผ่ใหญ่)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 9 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุสุทัสสนเถร และพระสุเทวเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระนารทเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระนาคาเถรี และพระนาคสมาราเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุทัตต และจิตต มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสุภัททา และนางปทุมา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 50 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลกาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธปิยทัสสี

    • องค์สมเด็จพระพุทธปิยทัสสี – ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน
    • สถานที่ประสูติ สุธัญญราชธานี
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทัตตราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางจันทราราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิมาลาเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระกัญจนเวฬกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้กุ่ม
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระปาลิตเถร และพระสัพพทัสสีเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสภิตเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุชาดาเถรี และพระธัมมทินนาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สันตกะ และธัมมิก มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิสาขา และนางธัมมทินนา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธอัตถทัสสี

    • องค์สมเด็จพระพุทธอัตถทัสสี – ผู้มีพระกรุณา
    • สถานที่ประสูติ สุจิรัตถราชอุทยานแห่งสาครราชธานี
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสาครราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุทัสสนาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิสาขาราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระเสลราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 10,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้จำปา
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสันตเถร และพระอุปสันตเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอภัยเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระธรรมาเถรี และพระสุธรรมาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นกุละ และนิสภะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางมจิลา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 9 โกฏิ
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 100 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธธรรมทัสสี

    • องค์สมเด็จพระพุทธธรรมทัสสี – ผู้บรรเทามืด
    • สถานที่ประสูติ สรณราชอุทยานแห่งสรณราชธานี
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสรณราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุนันทาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิจิโกลี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระวัฒนราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 50 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ไทรย้อย
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 วัน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระปทุมเถร และปุสสเทวเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสุเนตตเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระสัจจนามาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุภัททะ และกฏิสหะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสาฬสา และนางกฬิสสา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธสิทธัตถะ

    • องค์สมเด็จพระพุทธสิทธัตถะ – ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก
    • สถานที่ประสูติ เวภารนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุเทน
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุผัสสาเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุมนาราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอนุปนราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 10,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจมาศ (วอทอง)
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นกรรณิการ์
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสัมพลเถร และพระสุมิตตเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระเรวตเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสิวลาเถรี และพระสุรามาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุปิยะ และสัมพุทธะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางรัมมา และนางสุรัมมา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 โกฏิ
    • พระวรกายสูง 60 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธติสสะ

    • องค์สมเด็จพระพุทธติสสะ – ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
    • สถานที่ประสูติ อโนมราชอุทยานแห่งเขมราชธานี
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าชนสันธราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปทุมาเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุภัทราเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอานนทราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อาสนะ (ต้นประดู่)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 15 วัน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระพรหมเทพเถร และพระอุทัยเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัมภวเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระปุสสาเถรี และพระสุทัตตาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สัมภระ และสิริ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางกีสาโคตมี และนางอุปเสนา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 องค์
    • พระวรกายสูง 60 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธปุสสะ

    • องค์สมเด็จพระพุทธปุสสะ – ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ
    • สถานที่ประสูติ กาสีราชธานี
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าชัยเสน
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางกีสาโคตมีราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอานนทราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มลกะ (ไม้มะขามป้อม)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุรักขิตเถร และพระธัมมเสนเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสภิยเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระจาลาเถรี และพระอุปจาลาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายธนัญชัย และนายวิสาข มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางปทุมา และนางสิรินาคา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 400,000 องค์
    • พระวรกายสูง 58 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 91 กัลป์
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธวิปัสสี

    • องค์สมเด็จพระพุทธวิปัสสี – ผู้หาที่เปรียบมิได้
    • สถานที่ประสูติ พันธุมดีราชธานี
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าพันธุมหาราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางพันธุมดีราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุทัสสนาราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระสมวัตตขันธราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 50 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้แคฝอย
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระขันธเถร และพระติสสเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอโสกเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระจันทราเถรี และพระจันทมิตตาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า ปุณณสุมิตต และนาคะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสิริมา และนางอุตตรา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 84,000 องค์
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 7 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 49 กัลป์
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธสิขี

    • องค์สมเด็จพระพุทธสิขี – ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สัตว์
    • สถานที่ประสูติ มิสกราชอุทยานแห่งอรุณวดีนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอรุณราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปภาวดีราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสัพพกามาเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอตุลราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 7,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 24 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นปุณฑริกะ (ไม้ซึก) คล้ายกับไม้ปาตลี
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระอภิภูเถร และพระสัมภวเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระเขมังกรเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระประทุมเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สิริวัฒนะ และนันทะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางจิตรา และนางสุจิตรา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 70,000 องค์
    • พระวรกายสูง 70 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 3 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 70,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธเวสสภู

    • องค์สมเด็จพระพุทธเวสสภู – ผู้ประทานความสุข
    • สถานที่ประสูติ อโนมนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุปตีตราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยสวดีราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุจิตราเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระสุปปพุทธราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 6,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจนมาศ (วอทอง)
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้รัง
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระโสณเถร และพระอุตตรเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอุปสันตเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระรามาเถรี และพระสุมาลาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า โสตถิกะ และรัมมะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางโคตมี และนางสิริมา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
    • พระวรกายสูง 60 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 70,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธกุกกุสันธะ

    • องค์สมเด็จพระพุทธกุกกุสันธะ – ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส
    • สถานที่ประสูติ เขมวันราชอุทยานแห่งเขมนคร
    • ประสูติในตระกูล พราหมณ์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า อัคคิทัตตพราหมณ์
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า วิสาขาพราหมณี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า โสภิณีพราหมณี
    • พระราชโอรส พระนามว่า อุตตรกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 4,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถเทียมม้าอาชาไนย
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 80 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ซึกใหญ่
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระวิธูรเถร และพระสัญชีวเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระพุทธิยะเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสามาเถรี และพระจัมปนามาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อัจจุคาตะ และสุมนะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
    • พระวรกายสูง 40 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 11 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 40,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธโกนาคมนะ

    • องค์สมเด็จพระพุทธโกนาคมนะ – ผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส
    • สถานที่ประสูติ โสภวดีราชอุทยานแห่งโสภวดีนคร
    • ประสูติในตระกูล พราหมณ์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า ยัญญทัตตพราหมณ์
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า อุตตราพราหมณี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า รุจิคัตตาพราหมณี
    • พระราชโอรส พระนามว่า สัททวาหกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 3,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อุทุมพร (ไม้มะเดื่อ)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระภิโยสเถร และพระอุตตรเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสทิชเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสมุทาเถรี และพระอุตตราเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุคคะ และโสมเทว มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวรา และนางสามา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 30,000 องค์
    • พระวรกายสูง 30 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 30,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธกัสสปะ

    • องค์สมเด็จพระพุทธกัสสปะ – ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
    • สถานที่ประสูติ อิสิปตนมิคทายวันแห่งนครพาราณสี
    • ประสูติในตระกูล พราหมณ์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พรหมทัตตพราหมณ์
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า ธนวดีพราหมณี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า สุนันทาพราหมณี
    • พระราชโอรส พระนามว่า วิชิตเสนกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 2,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 15 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้นิโครธ
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระภารทวาชเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัพพมิตตเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอนุฬาเถรี และพระอุรุเวลาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุมังคละ และฆฏิการะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิชิตเสนา และนางภัตรา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 1 โกฏิ
    • พระวรกายสูง 20 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี
    [แก้ไข] องค์สมเด็จพระพุทธโคตมะ

    • องค์สมเด็จพระพุทธโคตมะ – ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช
    • สถานที่ประสูติ กรุงกบิลพัสดุ์
    • ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 6
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์ แห่งศากยวงศ์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทน
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมหามายา
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางยโสธรา
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระราหุลราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 29 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าอัศวราช
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 14 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อัสสัตถะ (ไม้ปาเป้ง)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 ปี
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระโกลิตเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอานนทเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระอุบลวัณณาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถอาฬวก มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทมาตา และนางอุตตรา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 16 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 วา
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 ปี
    • อายุพระศาสนา 5,000 ปี
    <!-- Saved in parser cache with key tripitaka:pcache:idhash:1560-0!1!0!!th!2 and timestamp 20070325124401 --><!-- attempt to fetch shared message Wikicitieshome--><!-- attempt to fetch shared message Wikicitieshome-url--><!-- attempt to fetch shared message Shared-Problemreport--><!-- attempt to fetch shared message Shared-Problemreport-url--><!-- attempt to fetch shared message Irc--><!-- attempt to fetch shared message Irc-url--><!-- attempt to fetch shared message Lastmodifiedat-->Retrieved from "http://tripitaka.wikia.com/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2_28_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C"
    <!-- end content -->
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://xchange.teenee.com/index.php?showtopic=44916&mode=linearplus

    พระนามรวมของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์

    โดยหนูดี
    Jan 30 2007, 04:13 PM

    พระพุทธเจ้าที่บังเกิดขึ้นแล้วมีหลายแสนพระองค์ ตามอรรถกถา มหาปรินิพพานสูตร พระไตรปิฎกมหามกุฎฯ เล่มที่ 13
    หน้าที่ 411 ดังกล่าวแล้วนั้น

    พระพุทธเจ้าทุกพระองค์แต่ละพระองค์มีพระนามกลางเรียกว่า "ตถาคต"

    เท่าที่ปรากฎพระนามในพระไตปิฎก เริ่มตั้งแต่ก่อนต้นพุทธวงศ์ 3 พระองค์คือ

    1. พระตัณหังกร
    2. พระเมธังกร
    3. พระสรณังกร
    ต่อเมื่อมาถึงพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 4 ซึ่งมีพระนามว่า
    4. พระทีปังกร อันเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต้นพุทธวงศ์ แห่งวงศ์ที่พระสมณโคดมพุทธเจ้าพระองค์นี้ได้บังเกิดต่อมา

    เพราะพระทีปังกรพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์พราหมณ์ผู้ที่มีชื่อว่า "สุเมธดาบส" ในสมัยที่พระทีปังกรพุทธเจ้าบังเกิดอยู่ว่า
    สุเมธดาบสจะได้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน และแล้วพราหมณ์ผู้นั้นก็ได้มาเกิดเป็น
    "พระสมณโคดมพุทธเจ้า"เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 25 นับจากพระทีปังกรพุทธเจ้า
    ซึ่งถือเป็นองค์ต้นพุทธวงศ์นี้ตามที่ได้พยากรณ์ไว้จริง

    ถัดจากพระทีปังกรพุทธเจ้าแล้วก็มีพระพุทธเจ้าบังเกิดเป็นลำดับต่อมาดังนี้
    5. พระโกณทัญญะ
    6. พระมังคละ
    7. พระสุมนะ
    8. พระเรวตะ
    9. พระโสภิตะ
    10. พระอโนมทัสสี
    11. พระปทุมะ
    12. พระนารทะ
    13. พระปุทุมุตตระ
    14. พระสุเมธะ
    15. พรุสุชาตะ
    16. พระปิยะทัสสี
    17. พระอัตถทัสสี
    18. พระธัมมทัสสี
    19. พระสิทธัตถะ (คนละพระองค์กับพระสิทธัตถสมณโคดม)
    20. พระติสสะ
    21. พระปุสสะ
    22. พระวิปัสสี
    23. พระสิขี
    24. พระเวสสภู
    25. พระกกุสันธะ(พระพุทธเจ้าองค์ต้นของภัทรกัป คือกัปปัจจุบันที่มีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์)
    26. พระโกนาคมนะ
    27. พระกัสสปะ
    28. พระโคตมะ (พระสมณโคดม เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 25 นับจากพระทีปังกร)
    29. พระศรีอาริยเมตตรัย (ซึ่งจะบังเกิดถัดไปนับจากพระพุทธศาสนาของพระสมณโคดม)

    พระศรีอาริยะฯ ซึ่งจะบังเกิดในอนาคตนั้น เมื่อครั้งสมัยพุทธกาลของพระสมณโคดมคือ "อชิตกุมาร"
    เป็นโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรู พระหลานของพระเจ้าพิมพิสาร และได้บวชเป็นอชิตภิกษุในพระสมณโคดม
    ปัจจุบันกล่าวกันว่ากำลังบำเพ็ญบารมีอยู่ในเทวโลกชั้นดุสิต

    จากหนังสือ พระพุทธเจ้ายังอยู่ พระอรหันต์ไม่ตาย โดย ธรรมบัญชา บัญช์ บงกช หน้า 164-166

    ************************************************

    โดย เงามายา
    Jan 31 2007, 09:17 AM

    พระนามของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ในฝ่าย มหายาน

    --------------------------------------------------------------------------------

    พระนามของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ในฝ่าย มหายาน
    ฝ่ายมหายานเชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์มีจำนวนมากเท่ากับเม็ดทรายในมหาสมุทร
    แม้ว่าในกัปป์นี้จะมีพระพุทธเจ้ามาแล้วถึง 4 พระองค์ คือ
    พระกกุสันโธ
    พระโกนาคมโน
    พระกัสสโป
    พระสมณโคดม
    และในอนาคตจะมีพระพุทธเจ้ามาประสูติ อีก 1 พระองค์ คือ
    พระศรีอารยเมตไตรย

    คนไทยส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมณโคดม
    เพียงองค์เดียว ด้วยเห็นว่าเป็นพระพุทธเจ้าในกาลปัจจุบัน

    ฝ่ายมหายานเรียก สมณโคดมว่า พระศากยมุนีพุทธเจ้า
    และถือคติว่า จุดกำเนิดของพระพุทธเจ้านั้น เริ่มจากการมี
    พระอาทิพุทธ อันหมายถึง พระพุทธเจ้าองค์ปฐม ส่วน พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์
    ตลอดจนคงสรรพสัตว์ทั้งปวง ล้วนถือกำเนิด จากพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ทั้งสิ้น
    เกิดขึ้นเองไม่มีเขตต้นและปลาย ประจำอยู่ในโลกนิรันดร

    พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์พระองค์อื่น ๆ ทั้งฝ่ายฌานิพุทธ(ธนานิพุทธ)
    และมานุษีพุทธ ล้วนเกิดแต่อำนาจญาณของพระอาทิพุทธทั้งสิ้น
    ตัวอย่างพระนามของพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ในฝ่ายมหายาน
    พระพุทธเจ้า
    พระโลเกศวรราชพุทธเจ้า
    พระจันทรสูรยประทีปพุทธเจ้า
    พระปัทมวฤษภวิกรามินพุทธเจ้า
    พระมหาภชญาชญานาภิภูพุทธเจ้า
    พระสิงหธวัช(สิงหโฆษ)พุทธเจ้า
    พระนิตยปรินิรวฤตพุทธเจ้า
    พระพรหมธวัชพุทธเจ้า
    พระสรรพโลกธาตุปัทรโวทเวคปรัตยุตติรณะ
    พระเมฆัสวราชพุทธเจ้า
    พระศากยมุนีพุทธเจ้า
    พระสาครวรธรพุทธิวิกรีฑิตาภิชญะพุทธเจ้า
    พระสรรพสัตว์ปรียทรรศนะพุทธเจ้า
    พระจันทรวิมลสูรยประภาสศรีพุทธเจ้า
    พระกมลทัลวิมลนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะพุทธเจ้า
    พระชลธรครชิตโฆษ สุสวรนักษัตรราช -
    สังกุสุมิตาภิชญะพุทธเจ้า พระสหัสประภาราชศานติสถิตพุทธเจ้า
    พระปัทมประภาพุทธเจ้า
    พระรัศมีประภาสพุทธเจ้า
    พระอักโษภยะพุทธเจ้า
    พระอากาศปรติษฐิตพุทธเจ้า
    พระอินทรธวัชพุทธเจ้า
    พระอมิตายุสพุทธเจ้า
    พระตมาลปัตรจันทนคันธาภิชญะพุทธเจ้า
    พระสรรพโลกภยาชิตักขัมภิตัตววิธสังสนกรพุทธเจ้า
    พระธรรมประภาสพุทธเจ้า
    พระสัปตรัตนปัทมวิกรานตคามินพุทธเจ้า
    พระรัศมีศตสหัสรปริปูรณัทวาชพุทธเจ้า




    พระโพธิสัตว์

    พระอชิตะมหาโพธิสัตว์
    พระอนันตจิตโพธิสัตว์ (บ่อจิ่งอี่ผ่อสัก)
    เจ้าชายฮั้งไฮ้ยี้โพธิสัตว์
    พระมหาสถามะปราปต์โพธิสัตว์
    พระจินดามณีจักรอวโลกิเตศวร
    พระวัชราธรโพธิสัตว์
    พระมหาพรหมเทพราชโพธิสัตว์
    พระปัณฑราวาสินีโพธิสัตว์
    พระอุครโพธิสัตว์
    พระคำรามโพธิสัตว์
    พระอภิจารกมารวชิรโพธิสัตว์
    พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์
    พระสุวรรณาภาธวัชโพธิสัตว์
    พระรัตนมุทธราชโพธิสัตว์
    พระสมบูรณ์โพธิสัตว์
    พระวชิรธรรมจักรโพธิสัตว์
    พระตาลีบุตรโพธิสัตว์
    พระอากาศภรรภ์โพธิสัตว์
    พระมัญชุศรีโพธิสัตว์
    พระศรีครรภโพธิสัตว์
    พระไภสัชยาราชโพธิสัตว์
    พระปรัชญากูฏโพธิสัตว์
    พระวิศิษฏจาริตระโพธิสัตว์
    พระวิศุทธจาริตระโพธิสัตว์
    พระนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะโพธิสัตว์
    พระอักษยมติโพธิสัตว์
    พระไวโรจนรัศมีประมัณทิตราชโพธิสัตว์
    พระคุณากาลโพธิสัตว์
    พระกรุณาจิตโพธิสัตว์
    พระอารยะอวโลกิเตศวร มหาโพธิสัตว์
    พระธรณีโพธิสัตว์ (ถี่ผี้ผ่อสัก)
    พระสุคนธาเมฆฉัตรมหาโพธิสัตว์
    สหัสภุชสหัสเนตร อวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
    พระอมงบาศโพธิสัตว์
    พระอมฤตโพธิสัตว์
    คนธาลัยโพธิสัตว์
    พระอากาศกายโพธิสัตว์
    พญาราชสีห์โพธิสัตว์
    พระหักหาญโพธิสัตว์
    พระอมฤตกรเนตรโพธิสัตว์
    พระรัตนธวัชโพธิสัตว์
    พระคีรีสาครปัญญาโพธิสัตว์
    พระเภสัชราชโพธิสัตว์
    พระอุตรเภสัชโพธิสัตว์
    พระสัทคนธ์เทพโพธิสัตว์
    พระสมาธิฌาน โพธิสัตว์
    พระสมันตภัทรโพธิสัตว์
    พระวรประภาโพธิสัตว์
    พระธฤติปริปูรณะโพธิสัตว์
    พระมหาประติภานโพธิสัตว์
    พระสาครนาคราชโพธิสัตว์
    พระอนันจาริตระโพธิสัตว์
    พระสุปรติษฐิตจาริตระโพธิสัตว์
    พระคัทคัทสวรโพธิสัตว์
    พระสมันตรภัทรโพธิสัตว์
    พระโชติกาลโพธิสัตว์
    พระสุธรรมโพธิสัตว์



    แหล่งข้อมูล : 108 เทพแห่งสรวงสวรรค์ ฉบับ กวนอิมโพธิสัตว์


    <!--IBF.ATTACHMENT_612844--><!-- THE POST -->
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.numtan.com/nineboard/view.php?id=330

    รายชื่อพระศรีมหาโพธิ์สำหรับพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ ในอดีตและ ๑๐ พระองค์ในอนาคต

    ตำนานมูลศาสนา ชินกาลมาลีปกรณ์

    นามพระพุทธเจ้า ชื่อพระศรีมหาโพธิ์
    1.พระตัณหังกรพุทธเจ้า (ผู้กล้าหาญ) ต้นสัตตบรรณ หมายถึง ต้นตีนเป็ดขาว
    2.พระเมธังกรพุทธเจ้า (ผู้มียศใหญ่) ต้นกิงสุกะ หมายถึง ต้นทองกวาว
    3.พระสรณังกรพุทธเจ้า (ผู้เกื้อกูลแก่ชาวโลก) ต้นปาตลี หมายถึง ต้นแคฝอย
    4.พระทีปังกรพุทธเจ้า (ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง) ต้นปิปผลิ หมายถึง ต้นเลียบ
    5.พระโกณฑัญญพุทธเจ้า (ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน) ต้นสาลกัลยาณี หมายถึง ต้นขานาง
    6.พระสุมังคลพุทธเจ้า (ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ) ต้นนาค หมายถึง ต้นบุนนาค
    7.พระสุมนพุทธเจ้า (ผู้เป็นวีรบุรุษมีพระหฤทัยงาม) ต้นนาค หมายถึง ต้นบุนนาค
    8.พระเรวตพุทธเจ้า (ผู้เพิ่มพูนความยินดี) ต้นนาค หมายถึง ต้นบุนนาค
    9.พระโสภิตพุทธเจ้า (ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ) ต้นนาค หมายถึง ต้นบุนนาค
    10.พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า (ผู้สูงสุดในหมู่ชน) ต้นอัชชุนะ หมายถึง รกฟ้า
    11.พระปทุมพุทธเจ้า (ผู้ทำให้โลกสว่าง) ต้นมหาโสณกะ หมายถึง อ้อยช้างใหญ่
    12.พระนารทพุทธเจ้า (ผู้เป็นสารภีประเสริฐ) ต้นมหาโสณกะ หมายถึง อ้อยช้างใหญ่
    13.พระปทุมุตตระพุทธเจ้า (ผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์) ต้นสลฬะ หมายถึง สน
    14.พระสุเมธพุทธเจ้า (ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้) ต้นนิมพะ หมายถึง สะเดา
    15.พระสุชาตพุทธเจ้า (ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง) ต้นมหาเวฬุ หมายถึง ไผ่ใหญ่
    16.พระปิยทัสสีพุทธเจ้า (ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน) ต้นกักกุธะ หมายถึง กุ่ม
    17.พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า (ผู้มีพระกรุณา) ต้นจัมปกะ หมายถึง จำปาป่า
    18.พระธัมทัสสีพุทธเจ้า (ผู้บรรเทาความมืด) ต้นพิมพละ หมายถึง มะพลับ
    19.พระสิทธัตถพุทธเจ้า (ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก) ต้นกณิการระ หมายถึง กรรณิการ์
    20.พระติสสพุทธเจ้า (ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย) ต้นอสนะ หมายถึง ประดู่ลาย
    21.พระปุสสพุทธเจ้า (ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ) ต้นอามัณฑะ หมายถึง มะข้ามป้อม
    22.พระวิปัสสีพุทธเจ้า (ผู้หาที่เปรียบมิได้) ต้นปาตลี หมายถึง แคฝอย
    23.พระสิขีพุทธเจ้า (ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์) ต้นปุณฑริกะ หมายถึง มะม่วงป่า
    24.พระเวสสภูพุทธเจ้า (ผู้ประทานความสุข) ต้นมหาสาละ หมายถึง รังใหญ่
    25.พระกกุสันโธพุทธเจ้า (ผู้นำสัตว์ออกจากกันดารตัวกิเลส) ต้นสิรีสะ หมายถึง ซึก(กามพฤกษ์)
    26.พระโกนาคมนพุทธเจ้า (ผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส) ต้นอุทุมพระ หมายถึง มะเดื่อ
    27.พระกัสสปพุทธเจ้า (ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ) ต้นนิโครธ หมายถึง ไทรหรือกร่าง
    28.พระโคตมพุทธเจ้า (ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช) ต้นอัสสัตถะ หมายถึง โพธิใบ

    * “พระศรีมหาโพธิ์” ต้นไม้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ละพระองค์ อาศัยเป็นที่ตรัสรู้
    ** “โพธิ” มีความหมายว่า ความตรัสรู้ ความรู้ ความตื่น หรือ ความเบิกบาน

    อนาคตวงศ์ ของพระโพธิสัตว์ที่จะมาตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้า 10 พระองค์

    1.พระอชิตราชกุมาร เป็น พระศรีอาริยเมตไตรย์ ต้นกากะทิง
    2.พระราม เป็น พระรามสัมพุทโธ ต้นจันทน์แดง
    3.พระเจ้าปัสเสนทิโกศล เป็น พระธรรมราขสัมพุทโธ ต้นกากะทิง
    4.พระยามาราธิราช (ท้าวปรนิมมิตสวัตตีมาราธิราช) เป็น พระธรรมสามีพุทโธ ต้นรังใหญ่
    5.พระยาอสุรินทราหู เป็น พระนารทสัมพุทโธ ต้นจันทน์แดง
    6.พระโสณะพราหมณ์ เป็น พระพุทธรังษี ต้นดีปลีใหญ่(ต้นเลียบ)
    7.พระสุภะพราหมณ์ เป็น พระเทวเทพพุทโธ ต้นจำปา
    8.พระโตเทยยะพราหมณ์ เป็น พระนรสีหะ ต้นแคฝอย
    9.ช้างนาฬาคีรีหัตถี เป็น พระติสสะพุทโธ ต้นไทร
    10.ช้างป่าเลไลยก์ เป็น พระสุมังคะละ ต้นกากะทิง

    ที่มา
    http://www.moe.go.th/webrad/tree/tree.htmhttp://skw.school.in.th/index.php?action=article&sid=56

    โดย : ไม่บอกหรอก เมื่อ : 14/04/2003 10:43 PM

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2007
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=7848

    .... ความหมาย ของ อสงไขย , กัป , มหากัป ....



    ความหมาย ของ อสงไขย , กัป , มหากัป


    ( ๑ อันตรกัป เท่ากับระยะเวลาที่อายุของมนุษย์ ไขลงจากอสงไขยปีจนถึง ๑๐ ปี แล้ว
    ไขขึ้นจาก ๑๐ ปี จนถึงอสงไขยปีอีก ครบ ๑ คู่ เรียกว่า ๑ อันตรกัป )
    อสงไขยปีเท่ากับเลข ๑ ตามด้วยเลขศูนย์ ๑๔๐ ตัว


    ๑ มหากัปประกอบด้วย ๔ ช่วง ของจักรวาล


    ๑.๑ สังวัฏฏ (ช่วงที่กำลังถูกทำลาย ) เป็นเวลา ๖๔ อันตรกัป
    ๑.๒ สังวัฏฏฐายี ( เป็นช่วงเวลาที่มีแต่ความว่างเปล่า หลังจากจักรวาลถูกทำลาย ) เป็นเวลา ๖๔ อันตรกัป
    ๑.๓ วิวัฏฏ ( กำลังก่อตัวขึ้นของจักรวาล ) เป็นเวลา ๖๔ อันตรกัป
    ๑.๔ วิวัฏฏฐายี (จักรวาลที่ตั้งขึ้นใหม่เรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม) เป็นเวลา ๖๔ อันตรกัป


    ..... ดังนั้น ๑ มหากัป จึงเท่ากับ ๒๕๖ อันตรกัป .....


    เพราะฉะนั้น ๑ มหากัปจึงมีการทำลาย เพียง ๑ ครั้ง


    นับตั้งแต่จักรวาลถูกทำลาย จนกระทั่งเกิดใหม่ และพินาศอีกครั้งจึงเป็น
    เวลา ๔ อสงไขยกัป หรือ ๒๕๖ อันตรกัป นับเป็น ๑ มหากัป


    สรุป

    ๑ รอบอสงไขยปี เป็น ๑ อันตรกัป
    ๖๔ อันตรกัป เป็น ๑ อสงไขยกัป
    ๔ อสงไขยกัป เป็น ๑ มหากัป


    ** ( อสงไขยปี กับ อสงไขยกัป จะต่างกันตามที่กล่าว ) **


    ...ส่วนคำว่า " กัป " หมายถึงเวลาที่ยาวนานนับประมาณไม่ได้ เปรียบเหมือน
    มีภูเขาแท่งศิลาทึบ กว้าง ยาว สูง อย่างละ ๑ โยชน์ ( ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร )
    ครบร้อยทิพย์ปี มีเทวดาเอาผ้าทิพย์ที่บางเบาราวกับควันไฟมาลูบภูเขานี้ ๑ ครั้ง
    เมื่อใดภูเขาสึกกร่อนจนเรียบเสมอพื้นดิน เรียกว่า ๑ กัป


    คำว่า " กัป " กับ " มหากัป " ต่างกันดังที่กล่าว


    ในมหากัปหนึ่งๆจะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้น ๑ พระองค์
    ๒ พระองค์ ๓ พระองค์บ้าง แต่ไม่เกิน ๕ พระองค์ มหากัปที่ไม่
    มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นเลยก็มีเรียกว่า สุญกัป


    มหากัปของเรานี้จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้น ๕ พระองค์
    เรียกว่า ภัทรกัป ซึ่งเป็นกัปที่เจริญที่สุด


    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงอุบัติขึ้นแล้วคือ

    ๑. สมเด็จพระกกุสันธะพุทธเจ้า
    ๒. สมเด็จพระโกนาคมนะพุทธเจ้า
    ๓. สมเด็จพระกัสสปะพุทธเจ้า
    ๔. สมเด็จพระสมณโคดมพุทธเจ้า
    และจักเสด็จอบัติตรัสเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นองค์สุดท้าย
    ในภัทรกัปนี้ ทรงพระนามว่า
    ๕.สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า


    ตอนนี้เราอยู่ในช่วงที่เรียกว่า กัปไขยลง คือทุก ๑๐๐ ปี อายุมนุษย์จะลด
    ลง ๑ ปี อายุของพวกเราจะลดลงเรื่อยจนไปถึง ๑๐ ปี แล้วสูงขึ้นเรื่อยๆ
    ใหม่ จนกระทั่งอายุมนุษย์มีกำหนด ๘ หมื่นปี สตรีมี่อายุ ๕๐๐ ปี จึงมี
    ครอบครัว

    เวลานั้นมีความทุกข์เรื่องโรคภัยไข้เจ็บอยู่เพียง ๓ อย่าง คือ ความหิว
    ความง่วง และความแก่ ผู้คนยังทำความดีเพิ่มขึ้น อายุยิ่งทวีตาม จนกระ
    ทั่งอายุอสงไขยปี

    ในสมัยมนุษย์มีอายุอสงไขยปี มองเห็นความแก่ความตายได้ยาก ความ
    เจ็บไม่มี เลยทำให้เกิดความประมาท ทิฎฐิมานะก็เกิดอีก เวียนเป็นวัฎฎ
    จักรของมนุษย์ในยุคต้นกัปใหม่ เมื่อมีกิเลสเกิด อายุมนุษย์ก็เริ่มลดลงกระ
    ทั่งเหลือ ๘ หมื่นปี เมื่อนั้นพระศรีอริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จ
    มาอุบัติขึ้นในโลก อันเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ องค์สุดท้ายใน
    ภัทรกัปนี้

    .......ช่วงระยะเวลาระหว่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งไปยัง
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่งเรียกว่า หนึ่งพุทธธันดร

    [​IMG][​IMG] 3/11/2006 7:39

    QUOTE
    <!--quotec-->...๑ อันตรกัป เท่ากับ ระยะเวลาที่ อายุของมนุษย์ ไขลงจากอสงไขยปีจนถึง ๑๐ ปี แล้ว ไขขึ้นจาก ๑๐ ปี จนถึงอสงไขยปีอีก ครบ ๑ คู่ เรียกว่า ๑ อันตรกัป...___By ท่าน 'foox'<!--QuoteEnd-->
    <!--QuoteEEnd-->นานๆที ข้าพเจ้าถึงจะได้เห็น ท่าน foox ได้โพสท์ตั้งกระทู้นะครับ [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    ตามที่ข้าพเจ้าได้เคยศึกษาจากหนังสืออยู่บ้าง (ความสำเร็จที่มาจาก พระพุทธเจ้า โดย ท่านอาจารย์ ศิริพงษ์ อัครศรีประยุกต์ <!--coloro:#006600--><!--/coloro-->คลิ๊กที่นี้<!--colorc--><!--/colorc-->) ข้าพเจ้าได้เข้าใจว่า 1 กัลป์ จะเท่ากับ 6,420 ล้านปี (ในภพภูมิโลกมนุษย์เรา)

    ข้าพเจ้า ใคร่ขออนุญาต ท่าน foox ในการเพิ่มเติมข้อมูลจากกระทู้ก่อนหน้านี้นะครับ เผื่อจะได้เป็นประโยชน์แก่ท่านผู้สนใจ ไม่มากก็น้อยจ้า [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    <!--coloro:#000000--><!--/coloro--><!--quoteo-->QUOTE
    <!--quotec-->อสงไขย เป็น หน่วยนับ อย่างที่ทางวิทยาศาตร์ใช้ กิโล เมกะ กิกะ ฯลฯ
    ตามความหมายของคุณ 10^140 (10 ยกกำลัง 140 หรือ 1 กับ จำนวนศูษย์อีก 140 ตัว )

    กัลป์ ก็คือ อสงไขยกัลป์ นั้นเองครับ ดังนั้น อสงไขย ไม่ใช่หน่วยเวลา เป็นเพียง prefix (คำที่ถูกใช้เติมหน้าคำนามต่างๆ ซึ้งตรงกันข้ามกับ suffix ซึ้งก็คือคำที่ถูกใช้เติมหลังคำนามต่างๆ โดยทั้งนี้ เพื่อเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมความหมายของคำนามนั้นๆ said me!!!) ที่นำมาใช้เท่านั้น___By ท่าน 'yasavanso'<!--sizeo:1--><!--/sizeo-->หมายเหตุ <!--sizec--><!--/sizec--><!--sizeo:1--><!--/sizeo-->ข้าพเจ้าได้แก้ไขเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อยเท่านั้นครับ<!--sizec--><!--/sizec--><!--QuoteEnd-->
    <!--QuoteEEnd--><!--colorc-->
    <!--/colorc-->ที่มา: <!--coloro:#000099--><!--/coloro-->คลิ๊กที่นี้<!--colorc--><!--/colorc--> ความคิดเห็นที่ 3




    <!--quoteo-->QUOTE
    <!--quotec-->...สำหรับระยะเวลาหนึ่งกัปนั้น อุปมาว่า มี ภูเขาศิลาแท่งทึบ กว้าง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์ สูง 1 โยชน์ 1 โยชน์ประมาณเท่ากับ 16 กิโลเมตร <!--coloro:#006600--><!--/coloro-->ทุกๆ ร้อยปี เทวดานำผ้าที่บางราวกับควันไฟมาลูบที่ยอดเขานี้ครั้งหนึ่ง<!--colorc--><!--/colorc--> กระทำเช่นนี้เรื่อยไป ตราบจนภูเขาศิลานี้ราบเรียบเสมอผิวดิน เมื่อนั้นนับเป็น เวลา 1 กัป<!--QuoteEnd-->
    <!--QuoteEEnd-->ที่มา: <!--coloro:#000099--><!--/coloro-->คลิ๊กที่นี้<!--colorc--><!--/colorc-->

    หน่วยต่างๆ ที่ควรทราบ <!--coloro:#000099--><!--/coloro-->คลิ๊กที่นี้<!--colorc--><!--/colorc-->

    กำหนดให้ (กำหนดให้เป็นดังนี้ เพื่อสะดวกแก่การคำนวนต่อไปจากนี้) 1 กัลป์ = 6,420 ล้านปี <!--coloro:#990000--><!--/coloro-->และ<!--colorc--><!--/colorc-->
    1 อสงไขยกัลป์ = 1 กับ จำนวนศูษย์อีก 140 ตัว กัลป์

    และจากที่ ข้าพเจ้าได้ลองพยายามที่จะ ศึกษา เรียนรู้ และสังเกตุ จากเหล่า ท่านกัลยาณมิตรทั้งหลายๆ ส่วนมากแล้ว จะเห็นหลายท่านนิยมเขียนเพียงแต่ อสงไขย เท่านั้น จะไม่นิยมเขียน อสงไขยกัลป์

    ดังนั้น <!--coloro:#000099--><!--/coloro-->(ตามความเข้าใจของข้าพเจ้าเองแล้ว)<!--colorc--><!--/colorc-->

    1 อสงไขย (กัลป์) = 6,420 ล้านปี กับ จำนวนศูษย์อีก 140 ตัว <!--coloro:#990000--><!--/coloro-->หรือ<!--colorc--><!--/colorc-->
    <!--coloro:#990000--><!--/coloro--><!--coloro:#000000--><!--/coloro-->1 อสงไขย<!--colorc--><!--/colorc--><!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000000--><!--/coloro--> (กัลป์) = 642 กับ จำนวนศูษย์อีก 147 ตัว <!--coloro:#006600--><!--/coloro-->ปี<!--colorc--><!--/colorc--> <!--sizeo:1--><!--/sizeo-->(642 * 10^147 <!--sizec--><!--/sizec--><!--sizeo:1--><!--/sizeo--><!--coloro:#990000--><!--/coloro-->หรือ<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000000--><!--/coloro--><!--sizeo:1--><!--/sizeo-->642 คูณ 10 ยกกำลัง 147)<!--sizec--><!--/sizec--> <!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#990000--><!--/coloro-->หรือ<!--colorc--><!--/colorc-->
    1 อสงไขย<!--coloro:#000000--><!--/coloro--> (กัลป์) = 642 * 10^147 ปี<!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#006600--><!--/coloro-->เพราะฉะนั้นแล้ว<!--colorc--><!--/colorc-->

    4 อสงไขยกัลป์ = 4* (642 กับ จำนวนศูษย์อีก 147 ตัว) = 2,568 กับ จำนวนศูษย์อีก 147 ตัว <!--coloro:#990000--><!--/coloro-->หรือ<!--colorc--><!--/colorc-->
    4 อสงไขยกัลป์ = 2,568 * 10^147 ปี

    4 อสงไขย <!--coloro:#660000--><!--/coloro-->กับอีก<!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000099--><!--/coloro--> <!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#cc0000--><!--/coloro-->หนึ่งแสนกัป = <!--coloro:#000000--><!--/coloro-->{ (<!--colorc--><!--/colorc--><!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000000--><!--/coloro-->2,568 * 10^147) +<!--colorc--><!--/colorc--> [ 100,000 * (6,420) ] } ปี <!--coloro:#990000--><!--/coloro-->หรือ<!--colorc--><!--/colorc-->
    4 อสงไขย <!--coloro:#660000--><!--/coloro-->กับอีก<!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000099--><!--/coloro--> <!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#cc0000--><!--/coloro-->หนึ่งแสนกัป = <!--coloro:#000000--><!--/coloro-->{ (<!--colorc--><!--/colorc--><!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000000--><!--/coloro-->2,568 * 10^147) +<!--colorc--><!--/colorc--> (642 * 10^6) } ปี <!--coloro:#990000--><!--/coloro-->หรือ<!--colorc--><!--/colorc-->
    <!--coloro:#990000--><!--/coloro--><!--coloro:#000000--><!--/coloro-->4 อสงไขย <!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#660000--><!--/coloro-->กับอีก<!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000099--><!--/coloro--> <!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#cc0000--><!--/coloro-->หนึ่งแสนกัป = มากกว่าจำนวน <!--colorc--><!--/colorc--><!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000000--><!--/coloro-->2,568 * 10^147 ปี <!--coloro:#006600--><!--/coloro-->กับอีก<!--colorc--><!--/colorc--> 642 * 10^6 ปี<!--colorc--><!--/colorc-->

    8 อสงไขย <!--coloro:#660000--><!--/coloro-->กับอีก<!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000099--><!--/coloro--> <!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#cc0000--><!--/coloro-->หนึ่งแสนกัป = 2 * <!--coloro:#000000--><!--/coloro-->{ (<!--colorc--><!--/colorc--><!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000000--><!--/coloro-->2,568 * 10^147) +<!--colorc--><!--/colorc--> [ 100,000 * (6,420) ] } ปี <!--coloro:#990000--><!--/coloro-->หรือ<!--colorc--><!--/colorc-->
    8 อสงไขย <!--coloro:#660000--><!--/coloro-->กับอีก<!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000099--><!--/coloro--> <!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#cc0000--><!--/coloro-->หนึ่งแสนกัป = 2 * <!--coloro:#000000--><!--/coloro-->{ (<!--colorc--><!--/colorc--><!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000000--><!--/coloro-->2,568 * 10^147) +<!--colorc--><!--/colorc--> (642 * 10^6) } ปี <!--coloro:#990000--><!--/coloro-->หรือ<!--colorc--><!--/colorc-->
    <!--coloro:#990000--><!--/coloro--><!--coloro:#990000--><!--/coloro--><!--coloro:#000000--><!--/coloro-->8 อสงไขย <!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#660000--><!--/coloro-->กับอีก<!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000099--><!--/coloro--> <!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#cc0000--><!--/coloro-->หนึ่งแสนกัป = มากกว่าจำนวน <!--colorc--><!--/colorc--><!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000000--><!--/coloro-->2,568 * 10^147 ปี <!--coloro:#006600--><!--/coloro-->กับอีก<!--colorc--><!--/colorc--> 642 * 10^6 ปี <!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#006600--><!--/coloro-->ถึง <!--coloro:#000099--><!--/coloro-->สองเท่า<!--colorc--><!--/colorc--><!--colorc--><!--/colorc-->
    <!--colorc-->
    <!--/colorc-->
    <!--sizeo:1--><!--/sizeo--><!--coloro:#66cccc--><!--/coloro-->..<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec-->4 อสงไขย <!--coloro:#660000--><!--/coloro-->กับอีก<!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000099--><!--/coloro--> <!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#cc0000--><!--/coloro-->หนึ่งแสนกัป = 4 * <!--coloro:#000000--><!--/coloro-->{ (<!--colorc--><!--/colorc--><!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000000--><!--/coloro-->2,568 * 10^147) +<!--colorc--><!--/colorc--> [ 100,000 * (6,420) ] } ปี <!--coloro:#990000--><!--/coloro-->หรือ<!--colorc--><!--/colorc-->
    16 อสงไขย <!--coloro:#660000--><!--/coloro-->กับอีก<!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000099--><!--/coloro--> <!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#cc0000--><!--/coloro-->หนึ่งแสนกัป = 4 * <!--coloro:#000000--><!--/coloro-->{ (<!--colorc--><!--/colorc--><!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000000--><!--/coloro-->2,568 * 10^147) +<!--colorc--><!--/colorc--> (642 * 10^6) } ปี <!--coloro:#990000--><!--/coloro-->หรือ<!--colorc--><!--/colorc-->
    <!--coloro:#990000--><!--/coloro--><!--coloro:#000000--><!--/coloro-->16 อสงไขย <!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#660000--><!--/coloro-->กับอีก<!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000099--><!--/coloro--> <!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#cc0000--><!--/coloro-->หนึ่งแสนกัป = มากกว่าจำนวน <!--colorc--><!--/colorc--><!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#000000--><!--/coloro-->2,568 * 10^147 ปี <!--coloro:#006600--><!--/coloro-->กับอีก<!--colorc--><!--/colorc--> 642 * 10^6 ปี <!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#006600--><!--/coloro-->ถึง <!--coloro:#000099--><!--/coloro-->สี่เท่า<!--colorc--><!--/colorc--><!--colorc--><!--/colorc-->



    <!--quoteo-->QUOTE
    <!--quotec--><!--coloro:#000000--><!--/coloro--><!--quoteo-->QUOTE
    <!--quotec-->1) อยากทราบว่า กัป แบ่งเป็น 2 ประเภท มีอะไรบ้าง แตกต่างกันอย่างไร<!--QuoteEnd-->
    <!--QuoteEEnd-->สุญญกัป คือ มหากัปที่ไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเสด็จอุบัติแม้แต่พระองค์เดียว
    อสุญญกัป คือ มหากัปที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเสด็จอุบัติ

    <!--quoteo-->QUOTE
    <!--quotec-->2) กัปที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น มีกี่ชนิด ชื่อว่าอะไรบ้าง แตกต่างกันอย่างไร<!--QuoteEnd-->
    <!--QuoteEEnd-->1. สารกัป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ เพียง 1 พระองค์
    2. มัณฑกัป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ 2 พระองค์
    3. วรกัป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ 3 พระองค์
    4. สารมัณฑกัป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ 4 พระองค์
    5. ภัทรกัป (ภัททกัป) มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ 5 พระองค์...___By ท่าน 'MiraclE...DrEaM' (I cAn AlwayS MakE U SmilE)<!--QuoteEnd-->
    <!--QuoteEEnd--><!--colorc-->
    <!--/colorc-->ที่มา: <!--coloro:#000099--><!--/coloro-->คลิ๊กที่นี้<!--colorc--><!--/colorc--> ความคิดเห็นที่ 15


    <TABLE class=ipbtable style="CLEAR: both; BORDER-RIGHT: #a0a0a0 1px solid; BORDER-TOP: #a0a0a0 1px solid; MARGIN: 20px auto; BORDER-LEFT: #a0a0a0 1px solid; WIDTH: 85%; BORDER-BOTTOM: #a0a0a0 1px solid" cellSpacing=1><TBODY><TR><TD class=row2 style="BORDER-BOTTOM: #a0a0a0 1px solid" vAlign=top width="99%">นักเรียนอนุบาล koonpatt
    จำนวนความเห็น: 495


    <!-- REPORT / DELETE / EDIT / QUOTE DIV -->ความคิดเห็น #3
    </TD></TR><TR><TD class=post2 id=post-main-60796 style="PADDING-RIGHT: 15px; PADDING-LEFT: 15px; PADDING-BOTTOM: 15px; PADDING-TOP: 15px" vAlign=top width="100%"><!-- THE POST 60796 -->อสงไขย [ ADJ ] countless
    [ English ]incalculable; innumerable; infinite [ Syn ] นับไม่ถ้วน [ Def ] มากจนนับไม่ถ้วน, ไม่รู้จบ, ไม่มีที่สิ้นสุด

    อสงไขย [ N ] number followed by 140 ciphers
    [ English ]one followed by 140 zeros; highest of the numerals [ Def ] ชื่อมาตรานับจำนวนใหญ่ที่สุด คือ โกฏิยกกำลัง 20

    โกฏิ ชื่อมาตรานับ เท่ากับสิบล้าน

    ....................................................................................................................................................

    บรรดาบทมาติกาทั้งหลายเหล่านั้น บทว่า อสงฺเขยฺยา มีความว่า นับไม่ได้.

    <!--coloro:#990000--><!--/coloro-->ที่ชื่อว่า อสงไขย เพราะอรรถว่า ไม่ควรนับ.<!--colorc--><!--/colorc-->

    คือเริ่มนับตั้งแต่ ๑ เป็นต้นไปกระทั้งถึงจำนวนที่ยังพอประมาณได้ ชื่อว่า อสงไขย. เลยจากนั้นไป กระทั้งกำหนดลักษณะหรือประมาณไม่ได้ ก็ชื่อว่า อสงไขย. ก็อสงไขย นั้น มี ๒ อย่าง คือ สุญอสงไขย และ อสุญอสงไขย. เมื่อว่าโดยชื่อของตนแล้ว อสงไขยก็มีหลายอย่าง. บรรดาสุญอสงไขยและอสุญอสงไขย ๒ อย่างนั้น เป็นอย่างไร ฯ

    คือ ในเวลาใด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงบำเพ็ญบารมีตลอด ๒๐ อสงไขยกำไรแสนกัป จวบกระทั่งได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า. ในระหว่างนี้ พึงทราบว่าเป็นทั้งสุญอสงไขย และอสุญอสงไขย. สมจริงดังคำที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า “อสงไขย ๒ อย่าง คือ สุญอสงไขย และอสุญอสงไขย” พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้แล้ว และ อสุญอสงไขย มากไปด้วยการอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย เช่น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิทั้งหลาย ทรงอุบัติในอสุญอสงไขยแล. อสงไขยแต่ละอย่าง (นอกจากที่กล่าวถึงนี้) ก็พึงทราบเช่นเดียวกันนี้ ฯ

    พระอานนท์เถระ ได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “พระเจ้าข้า กัปหนึ่ง มีระยะเวลายาวเพียงไร” พระพุทธเจ้าตรัสวิสัชนาว่า “อานนท์ กัปหนึ่ง มีระยะเวลายาวมาก”. พระอานนท์เถระทูลถามอีกว่า “พวกข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงทราบได้อย่างไร ขอพระองค์ทรงโปรดยกอุปมาด้วย พระเจ้าข้า” ฯ

    พระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า “อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตั้งใจฟัง” ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถา ดังนี้ว่า


    ๑๐ สิบ..............เป็น....................หนึ่งร้อย
    ๑๐ ร้อย.............เป็น....................หนึ่งพัน
    ๑๐ พัน..............เป็น....................หนึ่งหมื่น
    ๑๐ หมื่น............เป็น....................หนึ่งแสน
    ๑๐ แสน............เป็น....................หนึ่งล้าน
    ๑๐ ล้าน ............เป็น....................หนึ่งโกฏิ
    ๑๐ โกฏิ.............เป็น....................หนึ่งปโกฏิ
    ๑๐ ปโกฏิ...........เป็น....................หนึ่งโกฏิปโกฏิ
    ๑๐ โกฏิปโกฏิ......เป็น....................หนึ่งนหุต
    ๑๐ นหุต............เป็น....................หนึ่งนินนหุต
    ๑๐ นินิหุต..........เป็น.....................หนึ่งอักโขภินี
    ๑๐ อักโขภินี.......เป็น.....................หนึ่งพินทุ
    ๑๐ พินทุ............เป็น.....................หนึ่งอัพภุทะ
    ๑๐ อัพภุทะ.........เป็น.....................หนึ่งนิรัพภุทะ
    ๑๐ นิรัพภุทะ........เป็น.....................หนึ่งอหหะ
    ๑๐ อหหะ...........เป็น.....................หนึ่งอัฏฏะ
    ๑๐ อัฎฎะ ..........เป็น.....................หนึ่งอัพภัพพะ
    ๑๐ อัพภัพพะ.......เป็น.....................หนึ่งโสคันธิกะ
    ๑๐ โสคันธิกะ ......เป็น....................หนึ่งอุปละ
    ๑๐ อุปละ............เป็น....................หนึ่งกุมุทะ
    ๑๐ กุมุทะ............เป็น....................หนึ่งปทุมะ
    ๑๐ ปทุมะ ............เป็น...................หนึ่งปุณฑริกะ
    ๑๐ ปุณฑริกะ.........เป็น...................หนึ่งกถานัง
    ๑๐ กถานัง ...........เป็น...................หนึ่งมหากถานัง
    ๑๐ มหากถานัง.......เป็น...................หนึ่งอสงไขย

    นักปราชญ์ผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง ท่านนับไว้อย่างนี้แล ฯ

    อสงไขยมี ๒๐ คือ
    1. นันทอสงไขย
    2. สุนันทอสงไขย
    3. ปฐวีอสงไขย
    4. มัณฑอสงไขย
    5. ธรณีอสงไขย
    6. สาครอสงไขย
    7. ปุณฑริกอสงไขย
    8. สัพพภัททอสงไขย
    9. สัพพผุลลอสงไขย
    10. สัพพรัตนอสงไขย
    11. สภักขันธอสงไขย
    12. มานิภัททอสงไขย
    13. ปทุมอสงไขย
    14. อุสภอสงไขย
    15. ขันธุตตมอสงไขย
    16. สัพพผาลอสงไขย
    17. เสลอสงไขย
    18. ภาสอสงไขย
    19. ไชยอสงไขย
    20. รูปิยอสงไขย ดังนี้
    [​IMG] 3/11/2006 9:30
    <!--IBF.ATTACHMENT_60796-->

    --------------------
    <!--fonto:Verdana--><!--/fonto--><!--coloro:#FF6666--><!--/coloro--><!--sizeo:2--><!--/sizeo-->จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
    แด่
    เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ<!--sizec--><!--/sizec--><!--colorc-->
    <!--/colorc--><!--fontc-->
    <!--/fontc-->​

    <!-- THE POST --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. อย่าลืมฉัน

    อย่าลืมฉัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +2,807
    ขอถามคุณ sitiphong ครับว่าพระของเเม่มณีจันทร์เป็นของเก่าหรือใหม่ครับ
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  14. อย่าลืมฉัน

    อย่าลืมฉัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +2,807
    ท่านอยู่ที่สํานักปฏิบัติธรรมหลวงปู่เทพโลกอุดรจังหวัดขอนเเก่นครับ
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    ผมอยากจะเรียนให้ทราบคือ พระของหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรนั้น พระพิมพ์ที่อยู่ในถ้ำ หลวงปู่ยังไม่เปิดออกมายังมีอีกเป็นจำนวนมากครับ เมื่อถึงเวลาหลวงปู่ก็จะนำออกมาให้คนได้สักการะบูชากันเอง

    ส่วนแม่มณีจันทร์ ผมเองไม่ทราบจริงๆครับว่า แท้หรือไม่ เพราะต้องดูพระพิมพ์จากองค์จริงๆ การตรวจสอบพลังจากรูปบนเว็บไซด์นั้น ดูได้ไม่เกิน 30 % ผมเองก็ตรวจสอบพลังไม่เป็น แต่มีผู้ที่อยู่ในคณะผมสามารถตรวจสอบได้ ขอบคุณครับ

    แต่พระพิมพ์ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ท่านอธิษฐานจิตให้นั้น ผมบอกได้ว่ามีเป็นจำนวนมาก มากจริงๆ (ในความคิดเห็นส่วนตัวผมเอง คาดว่ามีไม่น้อยกว่าเลข 8 หลัก) แต่ต้องขึ้นอยู่กับความศรัทธา และวาสนาบารมีแต่ละคนด้วย จึงจะมีพระพิมพ์ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรที่ท่านอธิษฐานจิตไว้ให้ บางคนมีพระหลวงปู่อยู่ แต่ไม่ทราบว่าเป็นพระที่หลวงปุ่ท่านอธิษฐานจิตไว้ให้ก็มีครับ

    โมทนาสาธุครับ
     
  16. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ผมพึ่งได้อ่านกระทู้นี้ไม่นาน ตอนนี้พยายามไปอ่านของเก่าอยู่ครับ
    ยังไม่จบ ขอเรียนถามดังนี้

    1.พระพิมพ์สมเด็จวังหน้า เนื้อพระธาตุ อายุประมาณ 130 กว่าปี ขนาดประมาณ 2.4 x 3.7 ซม มวลสารผสมกับเครื่องหอมอย่างดี ทำให้ยังมีกลิ่นหอม เหลือจำนวน 17 องค์ องค์ละ 2,500 บาท
    ยังคงมีอยู่ไหมครับ

    2.พระพิมพ์สมเด็จวังหน้าเนื้อผงยาวาสนา อายุประมาณ 130 กว่าปี ขนาดประมาณ 2.4 x 3.7 ซม มวลสารเป็นผงยาวาสนาทั้งองค์ คราบสีขาวเกิดจากตัวยาในเนื้อพระคลายตัวออกมา
    เหลือจำนวน 17 องค์ องค์ละ 2,000 บาท ยังคงมีอยู่ไหมครับ


    โอนที่ หมายเลขบัญชีเพื่อรับบริจาค
    พระมหาแผน ฐิติธัมโม 01-9408541

    สำนักสงฆ์บ่อเงินบ่อทอง
    ประเภทบัญชี : ออมทรัพย์
    หมายเลขบัญชี : 203-0-06304-5
    ธ.กรุงไทย สาขาพนมสารคาม
    ชื่อบัญชี : ร.ร.ปริยัติธรรมบ่อเงินบ่อทอง


    3.ผมเชื่อครูบาอาจารย์มีจริง หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรมีจริง

    4.แต่ผมไม่มีคุณวิเศษอันใด มีแต่ความเชื่อศรัทธา และปฏิบัติตนอยู่ในกรอบที่ดี เท่าที่ทำได้ และยังคงทำอยู่
    ตอนนี้อยากลองทำน้ำมนต์ครับ เพื่อแจก เพื่อให้ ....
    และบรรเทาความทุกข์ของคนรอบข้างบ้าง

    5. ผมคิดอย่างนี้ไม่รู้ว่าถูกหรือผิด ? ขอได้โปรดแจ้งด้วยครับ...
    และวิธีการทำ น้ำมนต์ครับ
    เพียงแวบแรกที่คิด ก็เป็นดังนี้ครับ

    ขอขอบคุณครับ
     
  17. นักเดินทาง

    นักเดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    726
    ค่าพลัง:
    +9,112
    คุณ chaipat ผมขอตอบข้อ 1 และ ข้อ 2 ยังมีเหลืออยู่นิดหน่อยครับ เหลือจากงานกฐินของ สนส บ่อเงินบ่อทอง
     
  18. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    4. แต่ผมไม่มีคุณวิเศษอันใด มีแต่ความเชื่อศรัทธา และปฏิบัติตนอยู่ในกรอบที่ดี เท่าที่ทำได้ และยังคงทำอยู่
    ตอนนี้อยากลองทำน้ำมนต์ครับ เพื่อแจก เพื่อให้ ....
    และบรรเทาความทุกข์ของคนรอบข้างบ้าง <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ผมขอเพิ่มเติมข้อมูลอีกนิดนะครับ<o:p></o:p>
    1. อยากลองทำน้ำมนต์ครับ<o:p></o:p>
    ผมขอโทษ และขอขมา ต่อครูบาอาจารย์ทั้งหลายครับ ท่านนะที่นี้ครับ<o:p></o:p>
    และอื่นๆ ที่ได้ใช้คำพูดผิดไป อย่างยิ่ง (เพราะได้พูดคุยกับพี่ที่ทำงานคนหนึ่งครับ)<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    2. จุดของมันอยู่ตรงนี้ครับ<o:p></o:p>
    เวลาผมเห็นคนเขาทุกข์ ผมก็รู้สึกอยากจะช่วยเหลือ ตามกำลังสติปัญญาที่มีครับ ประกอบกับทำงานด้านฝึกอบรม จึงพอรู้อยู่บ้างครับ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เช่น ลุงผมเองตอนนี้เป็นมะเร็งอยู่ครับ ก็บอกเสมอว่า กินข้าวกล้องเถอะดีครับ น้ำถั่วห้าสีต้ม ฟักทอง ผลไม้ต่างๆ ลุงก็บ่ายเบี่ยงเรื่อยมา พึ่งแต่ยาเคมี ทำคีโม และให้ทำบุญทุกๆ โอกาสที่ทำได้ โดยเฉพาะวันพระ ไปใส่บาตรที่วัด ฟังเทศน์ ฟังธรรม แต่ก็ไม่เอาอีก<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    แต่กับคนบางคน เช่น ผจก บ/ช ที่ทำงานครับ ให้ข้อมูลไป ทำทุกอย่าง บทสวดมนต์ก็เอา และก็ทำอยู่ทุกวันนี้ ทุกครั้งที่เจอ เขาก็ขอบคุณ เขาบอกว่าสวดมนต์แล้วหลับสบายครับ อันนี้ดีครับ โกรทฮอโมนทำงานได้ดี<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ผมเห็นความต่าง ในความคิดของลุง และของ ผจก. บ/ช เจ็บป่วยด้วย<o:p></o:p>
    โรคมะเร็งเหมือนกัน ประกอบกับข้อมูลที่ค่อยๆ อ่านของเก่าใน web นี้<o:p></o:p>
    (เพราะเข้ามาทีหลัง รู้สึกจะ หน้า 129 หรือ 130 นี้ละ ถ้าจำผิดขออภัยครับ)<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    คนนั้นมีความต่าง บางคนอยากได้ สิ่งที่เสริมกำลังใจ (จึงคิดที่จะขออันเชิญบารมี ของพระท่าน ทำน้ำมนต์ เพราะเราไม่มีบารมี เพราะบางครั้ง หากไม่สะดวก เดินทางไปหา ไปรับเอาที่วัด)<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    บางคนก็อยากได้ ความรู้เรื่องการกิน การทำจิตใจ ให้ไป เขาก็เอาไปปฏิบัติ อันนี้เห็นเขาทำแล้ว ก็พลอยสุขใจ ด้วย เพราะมันเป็นหลักพื้นๆ<o:p></o:p>
    แต่คนไม่ทำกัน โลกมันทันสมัยมากๆ อุปกรณ์มันเยอะ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    แต่ก็ไม่ได้แค้นเคืองอันใดกับคนที่เขาไม่รับฟังผมนะครับ ก็คนธรรมดานี่<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ทีนี้มาคิดได้ว่า ถ้าสามารถทำบางสิ่งได้ เพื่อเสริมกำลังใจ สำหรับคนบางคนที่เขารับได้ ก็จะดีไม่น้อย ให้เขาสุขใจ และรับหลักการพื้นๆ ไปทำเอง<o:p></o:p>
    ไปปฏิบัติเอง ก็ดีไม่น้อยต่อไปมา<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    คิดผิดถูกอย่างไร ขอโปรดตอบด้วยครับ<o:p></o:p>
    มีคนบอกผมว่า งอ งู มาก่อน ฉอ ฉิ่ง ครับ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ตอนนี้อยากเรียนรู้ และปฏิบัติไปด้วยครับ เป็นความรู้ที่ไม่เคยรู้มาก่อนครับ<o:p></o:p>
    คนเรานั้นก่อนเริ่มจะไม่รู้อะไรเลย และเมื่อรู้ ก็ต้องปฏิบัติ เพราะมันแตกต่างและต้องเรียนรู้อยู่ต่อไป เพราะมันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ในสำหรับบางสิ่ง<o:p></o:p>
    บางขณะ บางเวลา บางสถานที่ บางเหตุการณ์ บางเหตุปัจจัยครับ <o:p></o:p>
    แต่หลักการก็ยังคงหลักอยู่เช่นนั้น เพราะธรรมชาติย่อมเป็นธรรมชาติ <o:p></o:p>
    หาเป็นอื่นใดไม่ และเพราะไม่อยากจะทำผิดบ่อยๆ ครับ
    <o:p></o:p>
    ขอขอบคุณสำหรับคุณนักเดินทางครับ <o:p></o:p>
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    มีวาสนาบารมีก็ได้เจอ ไม่มีวาสนาบารมีก็ไม่ได้เจอครับ

    เรื่องการทำน้ำมนต์นั้น ทุกๆท่านสามารถทำได้ แต่หากว่ามีความรัก ความเคารพ ความศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยม ในองค์หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร

    แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ก็ไม่สามารถหลีกพ้นกฎแห่งกรรมไปได้ครับ

    พระพุทธองค์ท่านไม่สามารถพาเวไนสัตว์ทั้งหลายเข้าสู่พระนิพพานได้ทุกคน ตัวของเราก็เช่นกัน ตัวของเราบารมียังเทียบไม่ได้แม้แต่พระโพธิสัตว์เลย ทำไปตามกำลังของเรานะครับ หากให้เราถือของหนักสัก 10 กิโลกรัม แล้วเดินขึ้นยอดเขาซึ่งอยู่ห่างไปสัก 10 กิโลเมตร เราเองสามารถถือไปได้ แต่ถ้าให้เราถือของหนักสัก 100 กิโลกรัมละครับ สามารถเดินทางขึ้นยอดเขาที่อยู่ห่างไปสัก 10 กิโลเมตรได้หรือไม่ ลองตรองดูนะครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มีนาคม 2007
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่ผมเคยบอกไว้นะครับ ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยจิต จิตที่ฝึกมาดีแล้วย่อมให้ผลที่ดี (เป็นคำสอนของพระอาจารย์รูปหนึ่ง)

    พระพุทธองค์ท่านสอนให้เดินสายกลาง พินที่หย่อนไปจะให้เสียงที่ไม่ดี ส่วนพินที่ตึงไปสายก็จะขาดได้ครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...