ถามสาย ปฎิบัติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นราสภา, 9 มกราคม 2012.

  1. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ติดตาม ประมวลผล เฝ้าสังเกตุ ลมหายใจตนเองว่า มันลึกเเค่ใหน
    สั้น ยาวเพียงใด ช้ารู้ เบารู้ สั้นรู้ ยาวก็รู้


    กับ กําหนดตามลม รู้ว่าลงไปครบ สามฐาน จมูก หน้าอก ลิ้นปี่
    ตอนออก ก็ถวนกลับ ขึ้นมาตามลําดับ

    สองสภาวะนี้ ให้ผลเช่นเดียวกันหรือไม่ ค่ะ



    ขอบคุณค่ะ
     
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เหมือนกัน คือเป็นการทำให้จิตสงบ แต่ความละเอียดประณีตในการรู้สัมผัสต่างกัน
    การรู้สามฐาน หรือฐานเดียวก็ตามเหมาะสำหรับไปในทางสมถะ การรู้ความหยาบละเอียด ยาวสั้น เหมาะไปในทางวิปัสสนา เป็นการเจริญอานาปานสติไปในตัว อย่างหลังไม่เหมาะกับคนฟุ้ง หรือมากด้วยนิวรณ์ จะทำให้จิตไม่รวม
     
  3. somkun62

    somkun62 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +764
    ลองเอาไปฟังดูนะ ผมว่าประสบการณ์ของท่านแปลกดีครับ

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=YFUztvh6bPs&feature=related"]การปฏิบัติธรรมของอาตมา บรรยาย พระอาจารย์เยื้อน ขันติพโล - YouTube[/ame]
     
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ต่างกันครับ

    ลมหายใจกระทบที่ไหนให้รู้ที่นั้น ส่วนมากกระทบตรงโพรงจมูก

    จึงจะทราบได้ว่าลมหายใจเข้ายาวอย่างไร

    จึงจะทราบว่าลมหายใจสั้นอย่างไร

    ลมมันละเอียดมันก็เกิดจากจิต เกิดจากสังขาร

    สังเกตุตรง ลมละเอียด ลมหยาบ ระงับกายสังขาร สังเกตุตรงนี้

    เช่น จิตเป็นอกุศล ลมจะหยาบ ฯลฯ

    ไม่จำเป็นต้องท่องบริกรรมอะไร

    เพราะถ้า ท่องบริกรรม ต้องนึกถึงคุณ ถึงความหมายคำบริกรรม

    ก็จะไม่มีสติ สำเหนียกรู้ในกองลม

    สำคัญหากเจริญอานาปา ต้องมีลมหายใจเป็นอารมณ์

    สติอยู่ที่ลมกระทบ สมาธิตั้งมั่น แตกต่างกับ จิตรวมมาก

    ตรงนี้ พอตั้งมั่นในอารมณ์ที่ลมหายใจกระทบ จนตั้งมั่น

    สังเกตุดีๆ มีสติ มีกุศลมีปัญญาเกิดอยู่ทุกขณะ ที่รู้ลม

    ต่างกับจิตรวมแนบสนิทจนดิ่ง




    เวลานั่งสมาธิ ควรอย่างยิ่งให้ใส่ใจว่าเป็นกุศล สงัดจากอกุศล เป็นสัมมาสมาธิหรือยัง

    เพราะ มิฉาสมาธิ และ สัมมาสมาธินั้น องค์ธรรมไม่ต่างกันเลย มีวิตก วิจาร ปิติ เอกคัตตา ฯลฯ อินทรย์ พละ

    ต่างตรง กุศลเกิด หรือ อกุศลเกิด

    รู้ได้อย่างไร ตอบว่า สติ สัมปชัญญะ ความเพียร ปรากฏหรือไม่

    หรือ มุ่งไปเรื่อยๆ หลงลืมตรงลมกระทบ แต่กลับไปรู้ ไประลึกจิตรู้ หรือเอาสงบ เฉย ไม่รู้ธรรมอะไรแล้ว

    พวกนี้เป็นลักษณะอกุศล คือ มีโลภะ ติดอยู่ในอารมณ์ที่พอใจ

    โมหะ ธรรมอะไรเกิดก็ไม่รู้ ขาดสติ ไปขบคิดอะไรที่ไม่ใช่ธรรม สำคัญว่าเป็นธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 มกราคม 2012
  5. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ให้ผลเช่นเดียวกัน คือ "สมาธิ" คุณนราสภา

    อุปมา การนั่งรถเมล์
    นั่งรถเมล์สายเดียวถึงที่หมายเลยก็มี
    นั่งรถเมล์หลายต่อถึงที่หมายก็มี
    สุดท้ายก็ไปถึงที่หมายเหมือนกัน

    อุปมา ใช้เงินซื้อบัตรเติมเงินมือถือ ที่เซเว่น
    มีคน 2 คน ต้องการซื้อบัตรเติมเงินทรู 50 บาท
    คนแรกจ่ายเป็นแบงค์50 บาท 1 ใบ
    คนที่สองจ่ายเป็นเหรียญสิบบาท จำนวน 5 เหรียญ
    คนทั้งสองก็สามารถซื้อบัตรเติมเงิน ได้เหมือนกันใช่มั้ย
    เพราะอะไร เพราะมูลค่าเท่ากันใช่มั้ย

    ดังนั้น การจับลมหายใจเข้าออกก็ดี การจับลมสามฐานก็ดี ก็ทำไปเพื่อ "สมาธิ" นั่นแล คุณนราสภา


    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2012
  6. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    มาซุ้ม...เก็บความรู้...อนุโมทนากับ จขกท ผุ้รุ้เข้ามาปล่อยวิชา ให้ได้เก็บ สาธุๆๆๆคะ
     
  7. กสิน9

    กสิน9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +270
    สองสภาวะนี้ให้ผลอันเดียวกันคือหยุดหายใจเมื่อไร ก็ตายเมื่อนั้นครับ 555555555
     
  8. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    การกำหนดลมหายใจ หรือ อานาปานสติ ท่านว่าเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา

    สองสภาวะที่กล่าวข้างตน ต่างกันเพียงเล็กน้อย

    อย่างแรก ตามรู้อาการของลมว่ามีสภาวะสั้นยาวเบาช้าอย่างไร ซึ่งผลก็คือ จิตเป็นสมาธิ และปัญญาก็อาจเกิดตามขึ้นได้หากมีการพิจารณาไตรลักษณ์จากสภาวะของลมหายใจที่เกิดนั้น

    อย่างที่สอง กำหนดรู้ลมที่ฐานสามฐาน บ้างก็เรียก สมาธิสามฐาน ซึ่งผลก็คือ จิตเป็นสมาธิ อีกเช่นกัน การรู้เข้าไปที่ฐานนี้ ทำให้จิตเข้าไปจตจ่ออยู่ที่ฐาน ไม่วอกแวก เมื่อจิตรวม นิวรณ์คลายออก สมาธิก็เิกิดตามมา แล้วยกจิตวิปัสสนาดูอาการของลมตามแบบแรก เพื่อให้เกิดปัญญา

    ดังนั้น ปฏิบัติแบบใดก็ได้ตามแต่ถนัด แบบไหนจิตรวมง่าย ก็เลือกแบบนั้นครับ...
     
  9. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อยู่ที่ ว่าเพ่งลักษณะ
    หรือเพ่งอารมณ์

    ถ้าตามรู้กายลมชัด ในลมสั้นยาว
    รู้ในเวทนา(ของลม) ที่เปลี่ยนแปลงไม่คงที่
    รู้จิต ที่มีผลต่อลม ว่าทำให้ละเอียด หรือหยาบ เห็นกุศลอกุศล(เห็นรูปสัมพันธ์กับนาม) จนแยกลมกับจิตได้ คือรูปกับนาม(เห็นว่าลมก็แปรปรวนไปแต่จิตมั่นคงอยู่)
    รู้ธรรม ที่เป็นไตรลักษณ์ทั้งรูปและนามก็ดี เห็นว่านามนี้สั่งรูปได้ก็ดี เห็นว่านามนี้สั่งรูปไม่ได้ก็ดี(เช่นภาวะใกล้ตายลมจะหยาบและขาดแต่หากมีสมาธิดีอยู่จิตจะมั่นคงเฝ้าดูได้เฉยๆ) เห็นรูปเป็นทุกข์ นามเป็นสมุทัย การดับของนามรูปย่อมดับตาม(คนละกรณีขณะเจริญสัมมาสมาธิที่รูปดับก่อนตามด้วยเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ) ... ฯลฯ..

    ก็นับว่า เจริญสมถะถึงวิปัสสนา


    โปรดใช้วิจารณาในการรับข้อมูล
     
  10. patchara2

    patchara2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +258

    ถ้าไม่ไ้ด้ฌาณไปไ่ม่รอด จับไงก็ไม่ครบสามฐาน

    มีพลั้ง มีเผลอ มีหลุด เป็นไปด้วยความพยายามที่อึดอัด

    ถ้าจิตเข่าสู่รัดับฌาณ ไม่พลั้ง ไม่เผลอ จับลมหายใจเข้าออก

    ไดเดียิ่ง จิตใจ สมอง ก็มีแต่ความโปร่ง กำลังใจก็หนักแน่นมั่งคง
     
  11. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    รอฟัง นรา กินรวบ. เทหมดหน้าตัก
     
  12. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ให้ผลเช่นเดียวกันครับ เจริญสติ เจริญสมาธิ เพื่อพัฒนาให้ปัญญาเกิดทั้งสองแบบ

    ขอแนะนำนิดหนึ่ง ถ้าในช่วงแรกของการปฎิบัติ ตามลมแบบนี้สมาธิก็เกิดเร็วดี แต่พอสมาธิเกิดแล้ว ก็ปล่อยไปตามธรรมชาตินะครับ เลือกสักจุดก็พอ ถ้าไปฝืนต้องตามตลอด สมาธิก็อยู่แค่เบื้องต้นครับ จะไม่ไปไหน เริ่มแรกให้ตามลม พอสมาธิดี สมาธิเกิด ก็ทำแบบหนึ่งเลย ดูลมต่อ มันสั้น ยาว ปราณีต เอาเท่านั้นให้ชำนาญ ก็เหมือนเริ่มต้นของการพิจารณากายไปทีเดียวเลย

    สมาธิ ยิ่งทำ ยิ่งดี จิตใจก็สงบชุ่มเย็นไปตามลำดับ อีกทั้งยังเป็นฐานกำลัง ที่พักจิตใจ ไว้เสริมเจริญปัญญาอีกด้วย

    ที่ผมกล่าวว่าให้ผลเหมือนกัน คือ ถ้าทำบ่อย ๆ จนชำนาญ พลิกไปพลิกมาง่ายนิดเดียว เท่ากับเจริญทั้งสมถะ วิปัสสนาไปพร้อม ๆ กันเลย

    เจริญธรรมครับ ^ ^
     
  13. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    อานาปานสติตามนัยแห่งมหาสติปัฎฐานสูตร...พระวจนะ"ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ปรกติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ นั้นเป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลายในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือ โคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม ย่อมนั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอเป็นผู้มีสตินั่นเทียว หายใจเข้า มีสติ หายใจออก 1)เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว 2)หรือ เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น 3)เธอย่อมทำในบทศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะกายทั้งปวง จักหายใจเข้า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะกายทั้งปวงจักหายใจออก 4)เธอย่อมทำบทศึกษาว่า เราทำกายสังขารให้รำงับอยู่หายใจเข้า เราจักทำกายสังขารให้รำงับอยู่จักหายใจออก เช่นเดียวกับนายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ชำนาญ เมื่อเขาชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงยาว เมื่อเราชักเชือกกลึงสั้นก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงสั้น............ด้วยอาการอย่างที่กล่าวมานี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นกายในกายอันเป็นภายใน ในกายอันเป็นภายนอกอยู่บ้าง ในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง และเป้นผู้พิจารณาเห็นธรรมอันเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งกาย อยู่บ้าง เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไปในกายนี้อยู่บ้าง เห็นเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไปในกายนี้อยู่บ้าง ก็แหละสติ ว่ากายนี้มีอยู่ ดังนี้ของเธอนั้นเป็นสติ ที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่ออาศัยระลึก ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหา และทิฎฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไรอะไรในโลก ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แม้ ด้วยอาการอย่างนี้...............(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส):cool:
     
  14. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    -เอา นาม ตามรู้ รูป

    -เอา นาม ตามรู้ นาม
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ให้ผลเหมือนกัน คือ อยู่ในฐานะ เกิดการกวัดแกว่งของปุญญาภิสังขาร

    จริงๆแล้ว หาก อานาปานสติ ยังเกิดจิตดำริ กระทบฐานมากกว่า1 มากกว่า
    ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือแม้แต่ ยังเห็นเป็น ลมหายใจเข้า ลมหาย
    ใจออกนั้นเป็น สภาพธรรมที่แตกต่างกัน ก็ถือว่า ยังไม่เป็นหนึ่ง

    เรียกว่า ยังเกิดจิตสังขารมากกว่า 1 ต้อง เผิกจิตสังขารออกให้หมด สำ
    เนียกไว้เวลาเกิดการ วิตก(องค์ประกอบฌาณ)ไปเห็น สภาพธรรมไม่เป็น
    หนึ่งเข้า ก็ให้สำเนียกว่า เราจะเผิกจิตสังขารทั้งปวง

    หรือ กำหนดรู้ไปเลยว่า การเกิดสภาพธรรมมากว่า1อย่าง มากกว่าหนึ่ง
    ฐานคือ สภาพของ ทุกขสัจจที่ควรกำหนดรู้ พิจารณาไปเรื่อยๆ

    จนกว่า จะถึงจุด ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก รู้ว่ามีอยู่ทั้ง2 แต่ จิตรู้
    ในฐานที่ไม่ต่างกัน ( ตรงนี้เป็น ภาษาปฏิบัตินะ หากศึกษาเป็น
    ตรรกศาสตร์ ภาษาศาสตร์ จะ งง )

    * * * * *

    พอเข้ามาเห็นความเป็น หนึ่ง ตรงนี้ปั๊ป จะเริ่มเข้าใจว่า ทำไมเขาแบ่งสาย
    ทั้งๆที่จริงๆ มันไม่มี มันลงเป็น หนึ่ง ทั้งหมดนั่นแหละ ซึ่งจะทำให้เห็น
    สายพุทโธด้วย สายกสิณนอก กสิณในด้วย เรียกว่า มรรคมี1เดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2012
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    พอนราสภาเริ่ม เพิกจิตสังขาร ไม่มีการ ปักลงในนิมิตใด ไม่ว่าจะฝ่ายนาม หรือรูป

    ก็จะไป รู้เฉพาะอยู่ซึ่งจิต คือ รู้อยู่ว่า กำลังรู้ หรือ ไม่รู้ ( ภาวนาอินทรีย์ปรากฏ
    หรือไม่ปรากฏ หรือ กำลังเพียรอยู่ หรือว่า ไม่ได้ปฏิบัติไปแล้ว-กี่อึดใจว่าไป เรียกว่า
    ตกจากกรรมฐานหมด )

    เมื่อมาอยู่ที่รู้ ก็จะเห็นว่า รู้ กับ ไม่รู้ มันก็เป็น สอง ดังนั้น อานาปานสติ จะต้อง
    เผิกจิตออกเสีย ต้องไม่ยึดถือจิตด้วย คราวนี้ จะอยู่เหนือ รู้ทั้งหมด

    พอมาตรงนี้ ก็ค่อยเข้าเรื่อง อนิจจสัญญา ตามเห็น อนิจจังความไม่เที่ยง เนืองๆ

    แล้วก็ภาวนาเรื่อยไป ยังอีกไกล
     
  17. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    กำหนดรู้การเกิดสภาพธรรมมากกว่า1 อย่าง
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    หากลองพิจารณาดีๆ กรณีที่ ทำอานาปานสติมามาก (เท่านั้น)

    สังเกตเลยว่า เหตของการ ปักการรู้ที่ จมูกบ้าง อกบ้าง ไอ้ร้อน/เย็นบ้าง(ธาตุ)
    ไอเย็นแผ่ซ่านบ้าง(เมตตาเจตสิก) ยุบบ้าง พองบ้าง มันออกมาจาก เสียงครูยังดัง
    ยังรำพึงอยู่ในจิต เรียกตามบาลีว่า "อันเตวาสิก"

    รวมเหตุ การตรึกหรือการเกิดขึ้นของ เสียงครูในกาลก่อนๆ เสียงสรรพคุณวิเศษใน
    กาลก่อนๆ นั้นว่า เกิด "กามวิตก" "พยาบาทวิตก" "วิหิงสาวิตก" มีวิตก3อยูู่ ทำให้
    จิตยังแสวงหาโมกษะ(นิพพานแบบมิจฉาทิฏฐิเจืออยู่)ชนิดต่างๆ

    ตรงนี้เองที่ใช้พยากรณ์ว่าสัตว์ชั้นเลิศอาศัยอะไร อาศัยอาหารใดจึงเกิด และทำไม
    เรียกพวกแสวงหาโมกษะว่า เป็นพวก ที่ฟังตามๆกันไป
     
  19. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    หนึ่งไม่ชัดเจน
    ดีเทค!
     
  20. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    หากจำเส้นทางลมได้ขนาดนี้แล้ว ควรจะเปลี่ยนเป็น.."นึกน้อมอารมณ์ละเอียดนั้นๆมาแล้วก็ตั้งมั่นเป็นตัวกำหนดไปเลย"..
    .. ในอารมณ์นั้นๆที่ละเอียด และเคยเกิดมาแล้วซึ่งจำสภาวะได้..มานั่งกำหนดเลยครับ จะดีที่สุด ..
    เข้ามาสาธุท่านขันธ์ด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...