ประสบการณ์กรรมฐานเมตตาใหญ่-กรรมฐานกับดวงจิตวิสาขบูชา66น.91-ยันต์คนมนต์พระกาฬ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ransang, 6 มิถุนายน 2011.

  1. kang_som

    kang_som เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    11,853
    ค่าพลัง:
    +27,800
    มารอชมรูปด้วยคนครับ ขออนุโมทนากับพี่นิรันดร์และคณะด้วยครับ
     
  2. ransang

    ransang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    7,389
    ค่าพลัง:
    +19,714
    พิธีหล่อพระวันที่ 28/1/55 เป็นพิธีที่ผมเสียดายที่สุดอีกพิธี เพราะว่าของในพิธีมีพลังความศักดิ์สิทธิ์สูงมาก ผมดันนำของไปเข้าพิธีน้อยเกินไปผมนำแต่ของที่จะแจกไปเข้าพิธีเป็นหลัก บางท่านที่กลับไปพักจนหายเหนื่อยมานั่งดูของที่ตนเองนำเข้าพิธี ถึงกับสะท้านและวูบวาบเลยคงหาพิธีแบบนี้ไม่ได้ง่าย ๆ อีก

    งานวันที่ 28/1/55 มีหลายคนที่มาจากพลังจิตปลื้มได้รับสิ่ง ๆ ดีในงานไปอย่างไม่คาดฝัน อย่างคณะพี่ rungaran ที่เดินทางมาไกลแต่คุ้มสุดตัวที่ได้ปู่ใหญ่มาโปรด ได้รดน้ำมนต์จนชุ่มฉ่ำและได้อะไรอีกมากมาย ดีใจด้วยจริง ๆ ครับที่ได้สมหวังได้พบของจริงกันเสียที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2012
  3. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,355
    ค่าพลัง:
    +19,459
    สวัสดีค่ะ พี่นิรัน พี่รุ่ง คุณโชค น้องโอ๊ต และ ทุกๆท่าน ขอร่วมอนุโมทนาบุญกับทุกท่านๆด้วยค่ะ มารอชมภาพและเรื่องเล่านะคะ
     
  4. จูง

    จูง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    145
    ค่าพลัง:
    +52
    พิธีเททอง พระพุทธเมตตาอโหสิกรรม 28/01/2555


    [​IMG]

    คุณโอ๊ค คุณรุ่ง คุณโอ๊ต คุณนิรัน คุณเก่ง คุณก้อย คุณบอล คุณปุ๊ย คุณหนุ่ย ท่านใดที่กระผมไม่ทราบชื่อขอภัยด้วยนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มกราคม 2012
  5. จูง

    จูง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    145
    ค่าพลัง:
    +52
    พิธีเททอง พระพุทธเมตตาอโหสิกรรม 28/01/2555
    หลวงปู่เทพโลกอุดร

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/80v2e" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/ac3/EAuby.jpg" /></a>


     
  6. rungaran

    rungaran เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    15,573
    ค่าพลัง:
    +57,321
    :cool:
    ข้าพเจ้าขออนุโมทนาบุญกับ ทุกๆท่าน ที่ไปร่วมงานหล่อพระ 28/1/55
    และ ขอเอาบุญที่ได้มา ขอยกให้ กับทุกๆคน ที่ศรัทธาสายหลวงปู่ เทพโลกอุดร
    ยกให้หมดเลยครับ

    ครั้งหนึ่งในชีวิตของข้าพเจ้า ก่อนตาย ดีใจมากที่ได้พบและได้ รับ ความเมตตาจาก ท่าน พระอาจารย์ ทั้ง 2ท่านของ น้องนิรัน และจากองค์ในกายทิพย์ของ หลวงปู่เทพโลกอุดร ที่ท่านลงมาโปรดและเมตตาสั่งสอน(ข้าพเจ้า และ คณะ) ทางรัด สู่พระนิพพานให้ พร้อมทั้งช่วยชี้ช่องทางปฎิบัติทางจิต ให้สามารถยกระดับของจิตให้ เข้าที่เข้าทางที่ควรและถูกต้องให้ได้รู้ แหะ ข้าพเจ้า ขอรับมาปฎิบัติครับ สาธุ
    ข้าพเจ้า จะ เดินตามทางของพระพุทธเจ้า+ ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา ครับ
     
  7. จูง

    จูง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    145
    ค่าพลัง:
    +52
    พิธีเททอง พระพุทธเมตตาอโหสิกรรม 28/01/2555

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jaa" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/761/xhdDiB.jpg" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jc3" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/54f/KLStHK.jpg" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jdr" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/ad1/sKKztA.jpg" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jcp" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/e80/DTBbMU.jpg" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jep" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/c35/8Ayo8z.jpg" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jfk" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/919/RWEpuT.jpg" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81ji7" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/c44/NkDVzH.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jin" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/c97/t7l0lK.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jj0" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/efe/oenhI9.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jjc" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/a55/6c0S7p.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jjn" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/6c7/x6ap0Q.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jk0" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/bb9/dIjWZ8.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jkb" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/acf/vbuy3l.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jks" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/bfd/jntYIT.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jlf" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/577/gXbpKX.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jlo" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/27e/k3NOdG.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jmg" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/aea/Ax4c01.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jn2" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/5ab/NJx4yh.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jo0" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/a36/BeTp0g.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jok" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/27e/syFrDv.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jqo" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/34d/oLZij9.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jrk" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/975/ZIXlKG.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jsb" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/2b9/xKt5fT.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jsr" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/b90/NzPFcF.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jth" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/cc8/MiXSD6.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81ju3" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/58b/qFlKzq.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jus" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/469/JJDqj2.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81jvo" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/a94/fGsfup.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81k15" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/4a4/PVchhV.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81k2h" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/393/k38ctl.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81k3p" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/692/IIrIGR.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81k4a" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/5a0/9rvZBF.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81k56" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/d48/cisU8u.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81k6a" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/e04/pJy6Fz.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81k72" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/ac7/fQWHrC.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81k7i" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/673/B3OfdR.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81k81" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/95a/RLxBLM.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81k8e" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/782/Z9ZYTy.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81k8t" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/30a/phTCEN.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81k9a" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/31f/7JGebT.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81k9m" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/689/x5X63.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81ka0" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/d9e/vRj68G.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81kaa" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/2f5/dKzHxD.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81kaj" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/783/lkZFyg.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81kbb" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/285/c9cGkN.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81kbt" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/bec/wixND.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81kc4" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/a71/AQBMXu.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81kcf" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/20f/FDFG8G.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81kcn" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/b01/jPaE7f.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81kd0" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/316/x0NdVx.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81kd9" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/21b/xnwMMO.JPG" /></a>

    <a href="http://image.ohozaa.com/view/81kdm" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/d1d/ISTK.JPG" /></a>




     
  8. moo noi

    moo noi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    6,328
    ค่าพลัง:
    +23,902
    รู้แล้วว่า "พี่นิรันดร์" คือคนที่บอกให้ moo noi ไปต่อแถวเพื่อรับพระจาก "พ่อปู่" นี่เอง ....

    แต่งานนี้ต้องยินดีกับพี่รุ่งมากที่ได้รับสิ่งเป็นมงคลจากมือ "พ่อปู่" ....

    ขอโมทนากับผู้ที่ได้รับร่วมทำบุญกันในงานนี้ทุกท่านด้วยค่ะ.....^^
     
  9. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,355
    ค่าพลัง:
    +19,459
    ดีใจกับทุกๆท่านที่ได้ไปร่วมงาน อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
     
  10. nudjinnong

    nudjinnong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    1,161
    ค่าพลัง:
    +3,012
    สวัสดีพี่ๆ ทุกท่านนะครับ วันงาน ผมไม่ได้ทักทายครบทุกท่านเพราะว่าผมเองจำใครไม่ค่อยได้ ต้องขออภัยนะครับ รู้สึกดีใจมากๆ ที่ได้เข่าร่วมพิธีดีๆ แบบนี้ อย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิต
    ขออนุโมนากับพี่ๆ ทุกท่าน และหวังว่าโอกาสหน้าจะได้พบกับพี่ๆอีกนะครับผม
     
  11. ransang

    ransang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    7,389
    ค่าพลัง:
    +19,714
    ขอขอบคุณน้อง spiritoak ที่ช่วยนำรูปมาลง ช่วงนี้ผมกับท่านอาจารย์ยังไม่ว่างเท่าไร จะลงรูปที่มีช้าหน่อยนะครับ
     
  12. จูง

    จูง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    145
    ค่าพลัง:
    +52

    คราบผม ช่วงนี้กระผมแวะเวียนมาบ่อยๆ พี่นิรัน มีโปรแกรมสร้างพระเมื่อไหร่บอกนะครับ กระผมจะชวนชาวคณะกองบุญแก้วมณีธรรมไปอีกนะครับ:cool::cool:
     
  13. ransang

    ransang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    7,389
    ค่าพลัง:
    +19,714

    ขอบคุณครับแล้วจะแจ้งให้ทุก ๆ ท่านทราบร่วมกัน แสดงว่ามีอะไรที่ทำให้ติดใจหรือป่าวครับ 5555


    ในงานนี้ผมและท่านอาจารย์ดีใจมากที่หลาย ๆ ท่านได้รับทั้งวัตถุสิ่งที่ดี คำสอนที่ดีจากหลวงปู่ไปกันถ้วนหน้าโดยเฉพาะกลุ่มพี่รุ่งจากเพชรบุรี ผมก็ต้องฝึกตัวละตัวตน ละหลาย ๆ อย่าง ไม่ยึด ต้องฝึกอีกมาก ๆ เหมือนทุก ๆ ท่าน ขอขอบพระคุณทุก ๆ ท่านเมตตามาร่วมบุญและทั้งท่านที่ส่งแรงใจมาช่วยเหลือ

    ขอขอบคุณอีกครั้งครับ

    ปล.มีคนบอกว่าของที่เข้าพิธีในวันที่ 28/1/55 นี้แรงดี อยากให้มาเล่าให้ฟังบ้างจังว่าเป็นเช่นไร
     
  14. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    พี่รันครับ...ผมขอปรึกษา....
    วันนี้วันพระ เมื่อหัวค่ำผมก็ได้สวดมนต์,นั่งสมาธิ แต่ที่รู้สึกแปลกในวันนี้คือ ระหว่างที่ภาวนาพุทโธ จะปกติเฉยๆ...แต่พอจิตผมเปลี่ยนมาลอง ภาวนาบท เมตตาอโหสิกรรมไปสักพัก ทำไมถึงรู้สึกว่าร่างกายตัวเองนั้นมันหนักๆขึ้น..เหมือนๆกับว่าร่งกายมันขยายออกเป็นสิบๆเท่า...อึดอัดมากๆครับ..แต่ก็ฮึดสู้ภาวนาต่อไป เพราะคิดไปว่ามันคงเป็นมารหรือนิวรณ์5 มารบกวนการนั่งสมาธิ.....แต่พอสู้ภาวนา บทเมตตาอโหสิกรรมไปสักพักทนไม่ไหวครับ..บารมีที่สั่งสมมาคงน้อยมากกกกกกกก
    ก็ลองเปลี่ยนมาเป็น สัมมา อะระหัง ...ความหนักๆแบบนั้นก็เบาบางลงไปครับ...แปลกดี...ก็เลยลองเขียนมาปรึกษาพี่รันดูครับ...

    ปล.. ตอนที่รู้สึกหนักๆนั้น...มันเหมือนร่างกายสังขารมันมีน้ำหนักขยายเพิ่มขึ้นหลายสิบ กก. เลยอ่ะครับ... แน่นๆ หน่วงๆ บอกไม่ถูก.. ความรู้สึกมันบอกแบบนั้น...เห้อออ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2012
  15. ransang

    ransang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    7,389
    ค่าพลัง:
    +19,714

    อ้าวทิ้งของดีไปซะได้ เป็นปิติของฌาณครับ ภาวนาด้วยบทเมตตาอโหสิกรรม ทำให้สิ่งที่ทำมากลั่นตัวตามที่เคยบอกไว้ คราวหน้าถ้าทำแล้วเป็นอีกลองหยุดแล้วค่อย ๆ หายใจลึก ๆ สัก 3 ครั้ง แล้วภาวนาใหม่นะครับด้วยบทเมตตาใหญ่นี่ละครับ ยินดีด้วยครับ ของกำลังจะส่งไปนะครับ
     
  16. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735

    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับพี่รัน.....คงเพราะญาณปัญญาผมยังน้อยนิดก็เลยมิได้หยั่งรู้ถึงสิ่งนั้นๆว่าเป็นสิ่งดีๆ...สงสัยผมจะเว้นวรรคของลมหายใจถี่ไปครับ..เด๋วต่อไปจะพยายามสูดหายใจยาวๆกว่านี้....ขอบคุณครับพี่รัน ^^

    ปล. ว่าแต่ความอึดอัด หนักๆในอนูร่างกายที่รู้สึกนั้น คือปิติเหรอครับพี่รัน... ทำไมในสมาธิตอนนั้นผมรับรู้ไม่ได้เลยว่ามันคือความปิติ...รู้สึกแน่ๆและชัดเจนในช่วงนั้นคือเสมือนว่าเนื้อหนังและธาตุข้างในมันขยายตัวทวีคูณอย่างบอกและอธิบายไม่ถูกครับ...
     
  17. ransang

    ransang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    7,389
    ค่าพลัง:
    +19,714
     
  18. ransang

    ransang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    7,389
    ค่าพลัง:
    +19,714
    คำว่า สมาบัติ แปลว่าถึงพร้อม แปลเหมือนกันกับคำว่า สมบัติ ศัพท์เดิมว่า สัมปัตติ
    แปลว่าถึงพร้อม มาแปลงเป็นบาลีไทย หมายความว่าศัพท์นั้นเป็นศัพท์บาลี แต่เรียกกันเป็นไทย ๆ
    เสีย ก็เลยเพี้ยนไปหน่อย เล่นเอาผู้รับฟังปวดเศียรเวียนเกล้าไปตามๆ กัน
    สมาบัติ แปลว่าเข้าถึงนั้น หมายเอาว่าเข้าถึงอะไร ข้อนี้น่าจะบอกไว้เสียด้วย ขอบอก
    ให้รู้ไว้เลยว่า ถึงจุดของอารมณ์ที่เป็นสมาธิหรือที่เรียกว่า ฌาน นั่นเอง เมื่ออารมณ์ของสมาธิ
    ที่ยังไม่เข้าระดับฌาน ท่านยังไม่เรียกว่า สมาบัติ เช่น

    ขณิกสมาธิ


    ขณิกสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย หรือนิดๆ หน่อยๆ คำว่า สมาธิ แปลว่า
    ตั้งใจมั่น ต้องมั่นได้นิดหน่อย เช่น กำหนดจิตคิดตามคำภาวนา ภาวนาได้ประเดี่ยวประด๋าว
    จิตก็ไปคว้าเอาความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ภายนอกคำภาวนามาคิด ทิ้งองค์ภาวนาเสียแล้ว กว่าจะรู้ตัวว่า
    จิตซ่าน ก็คิดตั้งบ้านสร้างเรือนเสียพอใจ อารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้นานอย่างนี้ ตั้งอยู่ได้
    ประเดี๋ยวประด๋าว อารมณ์จิตก็ยังไม่สว่างแจ่มใส ภาวนาไปตามอาจารย์สั่งขาดๆ เกินๆ อย่างนี้แหละ
    ที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ ท่านยังไม่เรียก ฌาน เพราะอารมณ์ยังไม่เป็นฌาน ท่านจึงไม่เรียกว่า
    สมาบัติ
    เพราะยังไม่เข้าถึงกฎที่ท่านกำหนดไว้

    ฌาน


    ขอแปลคำว่าฌานสักนิด ขอคั่นเวลาสักหน่อย ประเดี๋ยวเลยไปจะยุ่ง จะไม่รู้ว่า ฌาน
    แปลว่าอะไร คำว่า ฌาน นี้ แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญกรรมฐาน
    ถึงอันดับที่ ๑ เรียกว่าปฐมฌาน คือ ฌาน ๑ ถึงอันดับที่ ๒ เรียกว่าทุติยฌาน แปลว่า ฌาน ๒
    ถึงอันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาน แปลว่าฌาน ๓ ถึงอันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน แปลว่า ฌาน ๔
    ถึงอันดับที่แปด คือ ได้อรูปฌานถึงฌาน ๔ ครบทั้ง ๔ อย่าง เรียกว่า ฌาน ๘
    ถ้าจะเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกเหมือนฌาน ฌาน ๑ ท่านก็เรียกว่า ปฐมสมาบัติ ฌานที่ ๒
    ท่านก็เรียกว่า ทุติยสมาบัติ ฌาน ๓ ท่านก็เรียก ตติยสมาบัติ ฌาน ๔ ท่านก็เรียกจตุตถสมาบัติ
    ฌาน ๘ ท่านเรียก อัฎฐสมาบัติ หรือสมาบัติแปดนั่นเอง

    อุปจารสมาธิ


    อุปจารสมาธินี้เรียกอุปจารฌานก็เรียก เป็นสมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้จะถึงปฐมฌานหรือ
    ปฐมสมาบัตินั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอสมควร มีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้
    เป็นพื้นฐานเดิมที่จะฝึกทิพยจักษุญาณได้ อารมณ์ที่อุปจารสมาธิเข้าถึงนั้นมีอาการดังนี้
    ๑. วิตก คือความกำหนดจิตนึกคิดองค์ภาวนาหรือกำหนดรูปกสิณ จิตกำหนดอยู่ได้
    ไม่คลาดเคลื่อน ในเวลานานพอสมควร
    ๒. วิจาร การใคร่ครวญในรูปกสิณนิมิต ที่จิตถือเอาเป็นนิมิตที่กำหนด มีอาการเคลื่อนไหว
    หรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ จิตกำหนดรู้ไว้ได้ ถ้าเป็นองค์ภาวนา
    ภาวนาครบถ้วนไหม ผิดถูกอย่างไร กำหนดรู้เสมอ ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็กำหนดรู้ว่า หายใจเข้า
    ออกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เรียกว่าวิจาร
    ๓. ปีติ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน ไม่อิ่มไม่เบื่อในการเจริญภาวนา
    อารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้นไม่มืดเหมือนเดิม มีความสว่างปรากฏคล้ายใคร
    นำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏเป็นครั้งคราว แต่ปรากฏอยู่ไม่นาน
    ก็หายไป อาการของปีติมีห้าอย่างคือ
    ๓.๑ มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า
    ๓.๒ มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง
    ๓.๓ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
    ๓.๔ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
    ๓.๕ อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
    อาการทั้งห้าอย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการของปีติ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ
    อารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้ร่างกายจะสั่นหวั่นไหว บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่างแต่จิตใจก็เป็นสมาธิ
    แนบแน่นไม่หวั่นไหว มีสมาธิตั้งมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย คล่อง ทำเมื่อไร เข้าสมาธิได้
    ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้
    ๔. สุข ความสุขชื่นบาน เป็นความสุขที่ละเอียดอ่อน ไม่เคยปรากฏการณ์มาก่อนเลยในชีวิต
    จะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อยจะมีก็ต่อเมื่อคลายสมาธิแล้ว ส่วนจิตใจ
    มีความสุขสำราญตลอดเวลา สมาธิก็ตั้งมั่นมากขึ้น อารมณ์วิตกคือการกำหนดภาวนา ก็ภาวนาได้ตลอด
    เวลา การกำหนดรู้ความภาวนาว่าจะถูกต้องครบถ้วนหรือไม่เป็นต้น ก็เป็นไปด้วยดี มีธรรมปีติชุ่มชื่น
    ผ่องใส ความสุขใจมีตลอดเวลา สมาธิตั้งมั่น ความสว่างทางใจปรากฏขึ้นในขณะหลับตาภาวนา อาการ
    ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แหละ ที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ หรือเรียกว่า อุปจารฌาน คือเฉียดๆ จะถึง
    ปฐมฌานอยู่แล้ว ห่างปฐมฌานเพียงเส้นยาแดงผ่า ๓๒ เท่านั้นเอง ตอนนี้ท่านยังไม่เรียกฌานโดยตรง
    เพราะอารมณ์ยังไม่ครบองค์ฌาน ท่านจึงยังไม่ยอมเรียกว่าสมาบัติ เพราะยังไม่ถึงฌาน

    ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ

    ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่าง
    ดังต่อไปนี้
    ๑. วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำ
    ภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพกสิณอยู่ตลอดเวลา
    อย่างนี้เรียกว่าวิตก
    ๒. วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือหายใจออก
    หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบาหรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนดลมสามฐานคือ หายใจเข้า
    ลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจออกลมกระทบศูนย์ กระทบอก
    กระทบจมูกหรือริมฝีปาก
    ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการใด
    ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร
    ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไปหรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณ
    ที่เราต้องการ หรือภาพหลอนสอดแทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้
    เรียกว่า วิจาร
    ๓. ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
    ๔. ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาในกาลก่อน
    ๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้นไม่คลาดเคลื่อน
    ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้นหูยังได้ยินเสียง
    ภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยิน
    แต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญในเสียง
    ทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับจิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อยแล้ว ตามปกติจิตย่อมสนใจ
    ในเรื่องของกาย เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับ
    ปฐมฌาน กลับเฉยเมยต่อเสียง คิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติ ที่ท่านเรียกว่าปฐมสมาบัติ
    ก็เพราะอารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌาน ที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อยแล้วนั่นเอง

    อารมณ์ปฐมฌาน และปฐมสมาบัติ


    เพื่อให้จำง่ายเข้า จะขอนำอารมณ์ปฐมฌานมากล่าวโดยย่อเพื่อทราบไว้ อารมณ์ปฐมฌาน
    โดยย่อมีดังนี้
    ๑. วิตก ความตรึกนึกคิดถึงอารมณ์ภาวนา
    ๒. วิจาร ความใคร่ครวญทบทวนถึงองค์ภาวนานั้นๆ ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่เพียงใด
    ๓. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่นเบิกบานหรรษา
    ๔. สุข มีความสุขสันต์ทางกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อน เป็นความสุขอย่าง
    ประณีต
    ๕. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ทรงวิตก วิจาร ปีติ สุข ไว้ได้โดยไม่มีอารมณ์อื่นเข้ามา
    แทรกแซง
    องค์ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ ๕ อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องปรากฏพร้อมๆ กันไป คือนึก
    คิดถึงองค์ภาวนา ใคร่ครวญในองค์ภาวนานั้น ๆ ว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ประการใด มีความชุ่มชื่น
    เบิกบานใจ มีอารมณ์ผ่องใสสว่างไสวในขณะภาวนา มีความสุขสันต์หรรษา มีอารมณ์จับอยู่ในองค์ -
    ภาวนา ไม่สนใจต่ออารมณ์ภายนอก แม้แต่เสียงที่ได้ยินสอดแทรกเข้ามาทำให้ได้ยินชัดเจน แต่จิตใจ
    ก็ไม่หวั่นไหว ไปตามเสียงนั้น จิตใจคงมั่นคงอยู่กับอารมณ์ภาวนาเป็นปกติ

    เสี้ยนหนามของปฐมฌาน


    เสี้ยนหนามหรือศัตรูตัวสำคัญของปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ ก็ได้แก่เสียง เสียงเป็นศัตรู
    ที่คอยทำลายอารมณ์ปฐมฌาน ถ้านักปฏิบัติทรงสมาธิอยู่ได้ โดยไม่ต้องระแวงหวั่นไหวในเสียง คือ
    ไม่รำคาญเสียงที่รบกวนได้ก็แสดงว่าท่านเข้าถึงปฐมฌานแล้ว ข้อที่ไม่ควรลืมก็คือ ฌานโลกีย์นี้
    เป็นฌานระดับต่ำ เป็นฌานที่ปุถุชนคนธรรมดาสามารถจะทำให้ได้ถึงทุกคน เป็นฌานที่เสื่อมโทรมง่าย
    หากจิตใจของท่านไปมั่วสุมกับนิวรณ์ห้าประการอย่างใดอย่างหนึ่งเข้า แม้แต่อย่างเดียว ฌานของท่าน
    ก็จะเสื่อมทันที ต่อว่าเมื่อไร ท่านขับไล่นิวรณ์ไม่ให้เข้ามารบกวนจิตใจได้ ฌานก็เกิดขึ้นแก่จิตใจของ
    ท่านต่อไป ฌานจะเสื่อม หรือ เจริญก็อยู่ที่นิวรณ์ ด้านนิวรณ์ไม่ปรากฏ จิตว่างจากนิวรณ์ จิตก็เข้าถึงฌาน
    ถ้านิวรณ์มารบกวนจิตได้ ฌานก็จะสลายตัวไป ฌานตั้งแต่ฌานที่ ๑ ถึง ฌานที่ ๘ มีสภาพเช่นเดียวกัน
    คือต้องระมัดระวังนิวรณ์ไม่ให้เข้ามายุ่งแทรกแซงเหมือนกัน ก่อนที่จะพูดถึงฌานที่ ๒ จะขอนำเอานิวรณ์
    ศัตรูร้ายผู้คอยทำลายฌานมาให้ท่านรู้จักหน้าตาไว้เสียก่อน
    นิวรณ์ ๕

    อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่าง คือ
    ๑. กามฉันทะ ความพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส อันเป็นวิสัยของกามารมณ์
    ๒. พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
    ๓. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม
    ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิดใจ
    ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิดไว้หรือไม่
    เพียงใด
    อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นเพื่อนสนิทกับจิตใจมานับจำนวนปีไม่ถ้วน ควรจะพูดว่าจิตใจ
    ของเราคบกับนิวรณ์มานานหลายร้อยหลายพันชาติ เมื่อจิตใจเราสนิทสนมกับอารมณ์ของนิวรณ์
    มานานอย่างนี้ เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับนิวรณ์ไม่ได้ เมื่อเรามาแนะนำ
    ให้คบหาสมาคมกับฌาน ซึ่งเป็นเพื่อนหน้าใหม่ มีนิสัยตรงข้ามกับเพื่อนเก่าก็เป็นการฝืนอารมณ์
    อยู่ไม่น้อย ฉะนั้น ในฐานะที่นิวรณ์กับจิตเป็นเพื่อนสนิทกันมานาน ก็อดที่จะแอบไปคบหาสมาคม
    กันไม่ได้ อารมณ์ที่จะคอยหักล้างนิวรณ์ คืออกุศลห้าประการนี้ได้ ก็อารมณ์ ๕ ประการของปฐมฌาน
    นั่นเอง เมื่อจิตกับนิวรณ์เป็นมิตรสนิทกันมานาน ฉะนั้น การดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงอยู่ได้
    ไม่นาน ทรงอยู่ได้ชั่วครู่ชั่วขณะ จิตก็เลื่อนเคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการ
    อย่างนี้เป็นกฎธรรมดาของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้น หรือที่มีความช่ำชองชำนาญในฌานยังน้อยอยู่
    ต่อเมื่อไรได้ฝึกการดำรงฌาน กำหนดเวลาตามความต้องการได้แล้ว เมื่อนั้นแหละความเข้มข้น
    เข้มแข็งของกำลังจิตที่จะทรงฌานอยู่ได้นานตามความต้องการจึงจะปรากฏมีขึ้น ขอนักปฏิบัติจงเข้าใจ
    ไว้ด้วยว่าจิตที่เข้าสู่ระดับฌาน คือ ปฐมฌาน หรือฌานอื่นใดก็ตาม ถ้ายังไม่ฝึกฝนจนชำนาญ เข้าฌาน
    ออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิไว้ได้ไม่นาน จิตจะค่อยถอยหลังเข้าหานิวรณ์ ๕
    ประการอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออารมณ์ฌานย่อหย่อน เมื่อมีอาการอย่างนั้นบังเกิดขึ้นก็จงอย่าท้อใจ
    หมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยการกำหนดเวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน ตั้งแต่เวลานี้ถึงเวลา
    เท่านั้น แล้วเริ่มทำสมาธิเข้าสู่ระดับฌาน ทรงฌานไว้ตามเวลา จนกว่าเมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อน
    จากฌาน มีความรู้สึกตามปกติเอง เมื่อทำได้แล้วหัดทำบ่อย ๆ จากเวลาน้อย ไปหาเวลามาก คือ
    ๑ ชั่วโมง ไปหา ๒-๓-๔-๕-๖ จนถึง ๑ วัน ๒-๓-๔-๕-๖-๗ พอครบกำหนด จิตก็จะคลายตัวออกเอง
    โดยไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกหรือคนเรียก เมื่อชำนาญอย่างนี้ ชื่อว่าท่านเอาชนะนิวรณ์ได้ แต่ก็อย่าประมาท
    เพราะฌานโลกีย์ ถึงอย่างไรก็ดี ยังไม่พ้นอำนาจนิวรณ์อยู่นั่นเอง นิวรณ์ที่ไม่มารบกวนนั้น
    ไม่ใช่นิวรณ์สูญไปหรือสลายตัวเพียงแต่เพลียไปเท่านั้นเอง ต่อเมื่อไรท่านได้โลกุตตรฌาน คือ บรรลุ
    พระอริยะตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนั่นแหละท่านพอจะไว้ใจตัวได้ว่า ท่านไม่มีวันที่จะต้องตกมาอยู่
    ใต้อำนาจนิวรณ์ คืออกุศลธรรมต่อไปอีก เพราะโลกุตตรฌานคือได้ฌานโลกีย์แล้วเจริญวิปัสสนาญาณ
    จนบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นพระอริยบุคคลแล้ว อกุศลคือนิวรณ์ ๕ ประการเข้าครองจิตไม่ได้สนิทนัก
    สำหรับพระอริยะต้น พอจะกวนบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จักจูงใจให้ทำตามนิวรณ์สั่งไม่ได้ นิวรณ์บางอย่าง
    เช่น กามฉันทะ ความพอใจในความสวยงามของ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ความโกรธ ความขัด -
    เคือง พระโสดาบัน พระสกิทาคามียังมี แต่ก็มีเพียงคิดนึกไม่ถึงกับลงมือทำ เรียกว่าอกุศลกวนใจนิด -
    หน่อย พอทำได้ แต่จะบังคับให้ทำไม่ได้ สำหรับพระอนาคามี ยังตกอยู่ใต้อำนาจของอุทธัจจะ คือความคิด
    ฟุ้งซ่าน แต่ก็คิดไปในส่วนที่เป็นกุศลใหญ่มากกว่า ความคิดฟุ้งเลอะเลือนเล็กๆ น้อย ๆ พอมีบ้าง
    แต่ไม่มีอะไรเป็นภัย เพราะพระอนาคามีหมดความโกรธ ความพยาบาทเสียแล้ว
    อำนาจของนิวรณ์มีอย่างนี้ บอกให้รู้ไว้ จะได้คอยยับยั้งชั่งใจคอยระมัดระวังไว้ไม่ปล่อยให้ใจ
    ระเริงหลงไปกับนิวรณ์ ที่ชวนให้จิตมีความรู้สึกนึกคิดไปในส่วนที่เป็นอกุศลยับยั้งตนไว้ในอารมณ์ของ
    ฌานเป็นปกติ ท่านที่มีอารมณ์จิตเข้าถึงอารมณ์ฌานและเข้าฌานไว้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีหน้าตาแช่มชื่น
    เอิบอิ่มอยู่เสมอ มีอารมณ์เบิกบานไม่หดหู่ เห็นน่ารักอยู่ตลอดเวลา ฌานแม้แต่เพียงปฐมฌานจัดว่า
    เป็นฌานเบื้องต้น ก็มีผลไม่น้อยถ้าทรงไว้ได้ไม่ปล่อยให้เสื่อม ตายไปในขณะที่ทรงฌาน ก็สามารถ
    ไปเกิดในพรหมโลกได้สามชั้น คือ ปฐมฌานหยาบ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑ ปฐมฌานกลาง เกิดเป็น
    พรหมชั้นที่ ๒ ปฐมฌานละเอียด เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๓ ถ้าท่านเอาสมาธิในปฐมฌานมาเป็นกำลังของ
    วิปัสสนาญาณแล้วอำนาจสมาธิของปฐมฌานก็สามารถเป็นกำลังให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสเป็น
    สมุจเฉทปหาน คือตัดกิเลสได้เด็ดขาด จนบรรลุอรหัตตผลได้สมความปรารถนา อำนาจฌานแม้แต่
    ฌานที่ ๑ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ขอท่านนักปฏิบัติจงอย่าท้อใจ ระมัดระวังใจ อย่าหลงใหลในนิวรณ์
    จนเสียผลฌาน

     
  19. ransang

    ransang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    7,389
    ค่าพลัง:
    +19,714
    ต้องขอนำข้อความมาตอบ อย่างที่บอกผมไม่ใช่นักอ่าน ไม่ใช่นักเขียน ไม่ใช่นักพูด ผมเป็นนักทำ (ทำมั่ว ๆ ) อย่างเดียวเหมือนกัน เดี๋ยวดีบ้างไม่ดีบ้าง เดี๋ยวได้บ้างไม่ได้บ้าง เดี๋ยวรู้บ้างไม่รู้บ้างเป็นเรื่องธรรมดา วางและเฉยไว้ทำไปเรื่อย ๆ อย่างเดียว ขณะนี้ผมต้องแก้จิตและใจที่มันยึดอยู่ มันเกาะอะไรอยู่ ช่างน่าสังเวชตัวเองเสียจริง ความเลวผมยังมีอีกเยอะเลย
     
  20. rungaran

    rungaran เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    15,573
    ค่าพลัง:
    +57,321
    :cool:
    สาธุ ..............ตรงนี้ มีประโยชน์ มากครับ :cool::cool::cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...