{{หลวงพ่อคูณ257}}ศึกษาพระสมเด็จ/เบญจภาคีองค์ครู26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68พ่อท่านคลิ้ง105

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 2 มกราคม 2012.

  1. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    ตำนานวัดเขาอ้อ

    วัดเขาอ้อ ตั้งอยู่เลขที่๑ บ้านเขาอ้อ หมู่ที่๓ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มี่ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๕ ไร่ ๑งาน ๖๗ ตารางวา น.ส. ๓ เลขที่ ๑๕๒๓ อาณาเขต ทิศเหนือยาว ๑๑๕ เมตร ติดต่อกับภูเขาอ้อ ทิศใต้ยาว ๒๗๕ เมตรติดต่อกับลำคลอง ทิศตะวันออกยาว ๒๕ เมตร ติดต่อกับถนนสาธารณะทิศตะวันตกยาว ๑๒๐ เมตร ติดต่อกับบ้านนายขำ มีที่ธรณีสงฆ์ ๔ แปลง เนื้อ ๖๗ ไร่ ๓ งาน ๖๐ตารางวา น.ส. ๓ เลขที่ ๑๕๑๘, ๑๘๑๓, ๑๘๑๑, ๑๘๑๒
    พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มและเนินเขา อาคารเสนาสนะต่างๆมี อุโปสถกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๗ ศาลาการเปรียญกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้าง พ .ศ .๒๕๒๑ กุฏีสงฆ์ จำนวน ๖ หลัง โครงสร้างเป็นอาคารไม้ มีกุฎีสงฆ์ ๓ หลัง สร้างสมัยอาจารย์ทองเฒ่า มี ๒ องค์ และโบราณวัตถุที่เป็นเครื่องใช้ เช่น จานและถ้วยฮอลแลนด์ ชามอ่างจีนลายสาหร่าย ถ้วยเบญจรงณ์นรสิงห์ พานพระศรี พระธรรมโรง กาและขันน้ำทองเหลือง
    วัดเขาอ้อ สร้างขึ้นเป็นวัดประมาณ พ.ศ. ๑๖๕๑ เดิมเรียกว่า “ วัดประดู่หอม ” ได้เปลี่ยนนามวัดเป็น “วัดเขาอ้อ” ใน สมัยของพระครูสังฆวิจารณ์ฉัตรทันต์บรรพต เป็นเจ้าอาวาสได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๖๖๑ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๐ มีโรงเรียนประถมศึกษาตั้งอยู่ด้วย โดยมีพระครูปาล ปาลธมฺโม ดำเนินการจัดสร้างขึ้น
    รายชื่อเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อที่พอนับได้ มี๑๒ รูปคือรูปที่ ๑ อาจารย์ทอง รูปที่ ๒ สมเด็จเจ้าจอมทอง รูปที่ ๓ อาจารย์พรหมทองรูปที่ ๔ อาจารย์ลงไชยทอง รูปที่ ๕ สมภารทอง รูปที่ ๖ สมภารทองในถ้ำ รูปที่ ๗ สมภารทองหน้าถ้ำรูปที่ ๘ สมภารทองหูยานรูปที่ ๙ พระครูสังฆวิจาณ์ฉัททันต์บรรพต ถึง พ.ศ.๒๔๗๐ รูปที่ ๑๐ พระครูปาล ปาลธมฺโม ถึง พ.ศ. ๒๕๒๐ รูปที่ ๑๑ พระใบฎีกากลั่น อคฺคธมฺโม ถึง พ.ศ. ๒๕๔๙ 

     
    ความเป็นมาของวัดจากพงศาวดารและจากบันทึกของพระอาจารย์เจ้าของตำราพระ อาจารย์ทุกองค์ในสำนักวัดเขาอ้อมีความรู้ความสามารถในทางไสยศาสตร์และเป็น สำนักที่สอนวิชาความรู้ทางไสยศาสตร์ให้แก่ชนทุกชั้นตั้งแต่ชันเจ้าเมืองและ นักรบมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เริ่มมาแต่สมัยศรีวิชัยตลอดมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ พระอาจารย์ที่ปรากฏองค์แรก คือพระอาจารย์ทองในสมัยนั้นทางฟากตะวันออกของทะเลสาบ ตรงกับวัดพระเกิด ต. ฝาละมี อ.ปาก พะยูนในปัจจุบัน ตามพงศาวดารเมืองพัทลุงกล่าวว่า มีตายาย ๒คน ตาชื่อ ตาสามโม ยายชื่อยายเพชร ตายายมีบุตรและธิดาบุญธรรมอยู่สองคน ผู้ชายชื่อกุมาร ผู้หญิงชื่อเลือดขาว นางเลือดขาวเป็นอัจฉริยมนุษย์ มีลักษณะพิเศษคือมีสีตัวเป็นสีขาวต่างบุคคลธรรมดา ตาสามโมเป็นนายกองช้างมีหน้าที่จับช้างเลี้ยงถวายพระยากรงทอง ปีละหนึ่งเชือก เมื่อบุตรธิดาทั้งสองเจริญวัย ตายายจึงนำไปฝากให้พระอาจารย์ทองวัดเขาอ้อสอนวิชาความรู้ พบบันทึกในตำราว่าเริ่มนำตัวไปถวายพระอาจารย์ทองเมื่อวันพฤหัสบดีปีกุน เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๓๐๑ (พ.ศ. ๑๔๘๒) จะศึกษาอยู่นานเท่าไรไม่ปรากฎ แต่ทราบว่าเป็นผู้มีวิชาความรู้ อยู่ยงคงกระพัน กำบังตัวหายตัวและวิชาอื่น ต่อมาตายายให้บุตรทั้งสองแต่งงานกัน พระยากรงทองโปรดให้เป็นเจ้าเมือง ชื่อพระกุมารและนางเลือดขาว ตั้งเมืองอยู่ที่บางแก้วฝั่งทะเลสาบตะวันตกชื่อเมืองลุง ได้สร้างวัดและเจดีย์ดีวัดตะเขียน(วัดบางแก้ว อ. เขาชัยสน จ. พัทลุง) การให้ชื่อว่าเมืองลุงอาจจะเป็นเพราะว่าเดิมเป็นที่หลักล่ามช้าง ต่อมาจึงกลายเป็นเมืองพัทลุง พระกุมารและนางเลือดขาวได้สร้างวัด พระพุทธรูป พระเจดีย์ในเขตเมืองพัทลุงเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองตรังหลายแห่ง เช่นวัดบางแก้ว วัดสทังใหญ่ เมื่อ พ.ศ.๑๔๙๓ สร้างวัดพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดตรัง ๑วัด(ในพงศาวดารฉบับหนึ่งกล่าวว่าสมัยเจ้าไสยณรงค์เป็นเจ้ากรุงสุโขทัยเมื่อปี พ.ศ. ๑๕๐๐ สร้างพระพุทธรูปปางบรรทม ๑องค์ พอจับเค้าได้ว่าวัดเขาอ้อนี้มีมาก่อนเมืองพัทลุงเพราะกุมารศึกษาวิชาความรู้มาก่อนเป็นเจ้าเมือง
     
    เมื่อจุลศักราช ๙๙๑ พ.ศ.๒๑๗๑) พระสามี ราม วัดพะโค้ะ (หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ในสมัยนั้นประชาชนยกยองถวายนามว่า สมเด็จเจ้าพะโค้ะ (เป็นพระญาติวงศ์กับสมเด็จพระนารายณ์) ท่าน ได้ไปเรียนพระปริยัติธรรม ณ กรุงศรีอยุธยาเป็นผู้แตกฉานในอรรถธรรม ครั้งนี้ยังมีพราหมณ์เป็นนักปราชญ์จากประเทศสิงหล มาตั้งปริศนาธรรมแสนยาก พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาโปรดให้พระสามรามเถระแก้ปัญหาธรรมนั้นๆ จนชนะพราหมณ์ชาวสิงหลจึงพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์เป็นพระราชมุนีในสมัยนั้น มีสมเด็จอยู่ด้วยกัน ๔ องค์ คือสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ สมเด็จเจ้าจอมทอง สมเด็จเจ้าเกาะยอ สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ เมื่อกลับมาเมืองพัทลุง ได้ก่อสร้างพระเจดีย์บรรจุพระรัตนมหาธาตุ ไว้บนเขาพะโค๊ะ สูง ๑ เส้น ๕ วา มีระเบียบล้อมรอบพระเจดีย์
     
    ตามตำนานเล่าสืบต่อมาว่า ครั้งฉลองเจดีย์นั้น ท่านพระอาจารย์เฒ่าวัดเขาอ้อ พัทลุง องค์หนึ่งชื่อสมเด็จเจ้าจอมทอง ซึ่งคงจะเป็นเช่นเดียวกันกับสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ นำพุทธบริษัทไปงานฉลองพระเจดีย์ทางเรือใบแสดงอภินิหารวิ่งเรือใบเลยขึ้นไป ถึงเขาพะโค๊ะซึ่งไกลจากทะเลมากทำให้ประชาชนเชื่อในอภินิหารเคารพนับถือ และปัจจุบันสถานที่ตรงนั้นเรียกกันว่าที่จอดเรือท่านอาจารย์วัดเขาอ้อ
     
    ต่อมาท่านสมเด็จพะโค๊ะให้คนกวนเหนียวด้วยน้ำตาลโตนดภาษาภาคใต้เรียกว่า “เหนียวกวน” ทำเป็นก้อนยาวประมาณ ๒ ศอก โตเท่าขาให้นำไปถวายสมเด็จเจ้าจอมทองวัดเขาอ้อครั้นถึงเวลาฉัน ท่านสมเด็จเจ้าจอมทอง สั่งให้เด็กวัดผ่า แบ่งถวายพระ ตลอด ถึงพระก็ไม่มีใครที่จะแบ่งได้ เอามีดมาฟันเท่าใดก็ไม่เข้าทราบถึงสมเด็จเจ้าจอมทอง ท่านสั่งให้เอามาแล้วท่านเอามือลูบ แล้วสั่งให้ศิษย์แบ่งถวายพระองค์ย่างข้าวเหนียวธรรมดา
     
    อยู่ มาวันหนึ่ง สมเด็จเจ้าจอมทองให้พระนำแต่งโมใบใหญ่ ๒ ลูกไปถวายสมเด็จพะโค๊ะ เด็กวัดนำมีดไปผ่า แต่ผ่าไม่ออก สมเด็จพะโค๊ะทราบเข้าหัวเราะชอบใจ พูดขึ้นว่า สหายเราคงแสดงฤทธิ์แก้มือเราท่านรับแตงโมแล้วลูบด้วยมือของท่านเองออกเป็น ชิ้นๆ ถวายพระแสดงอภินิหารของพระอาจารย์ครั้งโบราณฌานกีฬาประเภทหนึ่งซึ่งมีมาก อาจารย์ด้วยกัน ต่อมาจากนั้นพระอาจารย์วัดเขาอ้อทุกๆองค์ได้แสดงอิทธิฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ตลอด มา จึงเป็นที่เคราพนับถือของบุคคลทุกชนชั้นเจ้าเมืองหัวเมืองภาคใต้และเจ้า เมืองพัทลุงทุกคนต้องไปเรียนวิชาความรู้ที่วัดเขาอ้อปัจจุบันก็มีการศึกษา กันอยู่ถึงแม้พระอาจารย์สำคัญสิ้นบุญไปตามสังขารทิ้งไว้แต่บุญบารมีคุณงาม ความดีจนชั่วลูกหลาน
     
    ความ รู้ทางเวทมนต์คาถาที่พระอาจารย์วัดเขาอ้อได้สืบต่อกันมา ตำราความรู้ที่เป็นหลักคือ พระอาจารย์สำนักเขาอ้อ เริ่มต้นตั้งแต่ธาตุหนึ่งถึงธาตุห้า แม่ธาตุใหม่ โดยมีปะขาวขุนแก้วเสนา ขุนศรีสมบัติ เป็นหัวหน้าฝ่ายคฤหัสถ์ ช่วยกันซ่อมแซมพระพุทธรูปในถ้ำหนึ่งองค์ซึ่งปรักหักพัง เสร็จแล้วก็ดำเนินการก่อสร้างเสนาสนะอื่นๆ จนเป็นที่สงฆ์อาศัยอยู่ได้ ต่อมาเมื่อได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พระมหาอินทราชกับคณะดังกล่าวได้จัดสร้างอุโบสถขึ้น ซึ่งสมัยนั้นเป็นยุคของกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๒๔๒ ตรงกับแผ่นดินพระเจ้าเสือ โปรดเกล้าให้ ออกหลวงเพชรกำแพง(ตาขุนเพชร) ออกมาเป็นเจ้าเมืองพัทลุง พระครูอินทรเมาฬีศรีญาณสาครบวรนนทราชจุฬามุณีศรีอุประดิษเถระ(พระมหาอินทราช) คณะป่าแก้วเมืองพัทลุงได้เลิกพระศาสนา
     
    ใน คราวสร้างพระอุโบสถนั้น ปะขาวขุนแก้วเสนาได้มีหนังสือขอพระราชทานคุมเลข(คุมบัญชีการเงิน) ยกเว้นการใช้งานหลวงต่างๆถวายให้แก่วัดเพื่อช่วยเหลือในการสร้างอุโบสถ ๕ คน คือ นายเพ็ง นายนัด นายคง และนายกุมาร ได้ช่วยกันสร้างอุโบสถจนเสร็จเรียบร้อย แล้วมีหนังสือบอกถวายพระราชกุศลให้ทรงทราบ ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์องค์หนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าฟ้าอิ่ม” และหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปนเงินอีกองค์หนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า“เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ” ส่งไปประดิษฐานที่วัดเขาอ้อใน พ.ศ.๒๒๔๒ สมัยอยุธยา โดยพระยาราชบังสัน มหันสุริยา ได้รับการโปรดเกล้าให้ลงมารักษาการผู้สำเร็จราชการเมืองพัทลุง ได้นำพระพุทธรูปจัดส่งมาจากกรุงศรีอยุธยาโดยมาทางเรือ ผ่านเข้ามาทางคลองปากประ เมื่อมาถึงท่าเรือบ้านปากคลอง ได้นำพระพุทธรูปขึ้นพักที่ศาลาท่าเรือจัดพิธีสมโภชน์เป็นการใหญ่ ศาลานี้เรียกชื่อว่า“ศาลาพักพระ”และ ส่งไป ประดิษฐานไว้วัดเขาอ้อ ต่อจากนั้นพระมหาอินทราช พร้อมด้วย สัตบุรุษ ทายกได้จ้างช่างเขียนลายลักษณ์พระพุทธบาททำมณฑปกว้าง ๕วา สูง๖วา ขึ้นบนไหล่เขาอ้อ เป็นที่ประดิษฐานลายลักษณ์พระพุทธบาท ต่อมาพระมหาอินทราชเห็นว่าลายลักษณ์ที่ช่างเขียนไม่ถาวรจึงพร้อมด้วยขุนศรี สมบัติ เรี่ยไรเงินจากผู้มีจิตศรัทธาได้เงิน ๑๐ตำลึง ตราสังข์(๔๐บาท)จัดซื้อดีบุกจ้างช่างเขียนแผ่นยาง ๓ ศอก กว้าง ๑ คืบ ให้ช่างสลักลายพระพุทธบาท ประดิษฐานไว้ในมณฑปแทนรูปลายลักษณ์พระพุทธบาทที่เขียนประดิษฐานไว้แต่คราว ก่อนนั้น แล้วจัดการสร้างพระพุทธไสยาสน์ด้วยอิฐถือปูนขึ้น ไว้ภายในพระมณฑปพระพุทธบาทองค์หนึ่งด้วย มีขนาด๕วาและสร้างพระเจดีย์ไว้บนไหล่เขาข้างมณฑรวม ๓องค์ เมื่อสร้างพระพุทธบาทสำเร็จแล้วนั้น พระมหาอินทราชได้บอกถวาย พระราชกุศลให้ทรงทราบ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานที่ดิน กัลปนา สำหรับวัดเขาอ้อ คือ ทิศบูรพา ๓๐เส้น ทิศอาคเณย์ ๓๐ เส้น และทิศหรดี ๓๐ เส้นเพื่อให้อากรค่านามาบำรุงวัด ส่วนพระมหาอินทราชเมื่อได้สร้างพระพุทธไสยาสน์และพระเจดีย์เสร็จแล้วก็ไป เสียจากวัด พระสงฆ์องค์อื่น ๆก็อพยพไปบ้างและคนวัดทั้ง ๕ คน ซึ่งปะขาวขุนแก้วเสนาได้เคยขอพระราชทานคุมเลขไว้ก็กลับถูกพนักงานกรมการ สัสดีเรียกตัวไปใช้งานหลวงเสียทุกคนไม่มีผู้จะช่วยเหลือบำรุงวัด วัดก็เสื่อมลงอีกคราวหนึ่ง ครั้นต่อมาปะขาวขุนแก้วเสนาและขุนศรีสมบัติพร้อมด้วยชาวบ้านแถมบริเวณวัด ได้ไปนิมนต์พระมหาคงแขวงเมืองนครศรีธรรมราชมาเป็นเจ้าอาวาสวัดต่อไป แล้วขอให้ราชการได้ช่วยอนุเคราะห์แก่วัดให้เป็นไปตามเดิม อย่าให้เจ้าเมืองกรมการผู้ใดไปเรียกเอาคนวัดมาใช้งานโยธาอีกต่อไปจากสารตรา ฉบับนี้พอทราบได้ว่าวัดเขาอ้อเป็นวัดที่เก่าแก่ มาตั้งแต่ครั้งโบราณวัดหนึ่ง หลังจากพระมหาอินทราชเป็นเจ้าอาวาสแล้ว วัดนี้ไม่เคยรกร้านอีกเลย
     
    ต่อมาถึงสมัยของสมภารทองหูยาน มา ถึงสมัยของท่าน ปรากฎชื่อของวัดเปลี่ยนไป มาเรียกว่าวัดประดูหอม เมื่อท่านสมภารทองหูยานมรณภาพแล้ว ท่านทองเฒ่า(อาจารย์ทอง)ได้เป็นเจ้าอาวาสต่อมาจนได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครู สังฆพิจารณ์ฉัททันต์บรรพต เพราะมีความรู้ทางไสยศาสตร์มาก เป็นเจ้าคณะตำบลและพระอุปัชฌาย์แล้วเปลี่ยนชื่อวัดประดูหอมมาเป็นวัดเขาอ้อ จนมาถึงปัจจุบันนี้ สมภารทองเฒ่าได้สร้างกุฎีขึ้น ๓หลัง ซึ่งจัดว่าเป็นโบราณวัตถุและศิลปะวัตถุซึ่งปัจจุบันนี้กำลังจะทรุดโทรม และได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้น๑หลัง โรงครัว๑หลัง ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว เมื่อท่านพระครูสังฆพิจารณ์ฉัททันต์บรรพตได้มรณภาพแล้ว ท่านพระครูปาน ปาลธมฺโม ได้เป็นเจ้าอาวาสต่อมาได้บูรณะบ่อน้ำ จัดสร้างรางแช่ยาบนไหล่เขาอ้อ ในถ้ำและโรงเรียนประชาบาลขึ้นหนึ่งหลังซึ่งมีมาถึงยุคปัจจุบัน
     
    วัดเขาอ้อนี้เจ้าอาวาสที่ได้กล่าวมาทุกองค์ล้วนเรืองอำนาจเป็นผู้ทรงอำนาจเป็นผู้ทรงวิทยาคุณ ขึ้น ชื่อลือชาทางไสยศาสตร์เป็นผู้มีอาคมขลัง เป็นคณาจารย์ใหญ่ทั่วอาณาจักรก็ว่าได้ จะพูดว่าเป็นต้นกำเนิดทางไสยศาสตร์ทางภาคใต้ก็ว่าได้และก็เจริญรุ่งเรือง ขึ้นตามการสมัยของเจ้าอาวาสดังกล่าวมาแล้วและวัดนี้เป็นที่รู้จักกันดีของ ชาวบ้านภาคใต้
     
    ในสมัยของเจ้าอาวาสหลวงพ่อกลั่น(พระครูอดุลธรรมกิตติ์)ในสมัยนี้วัดเขาอ้อวัตถุโบราณที่มีเหลืออยู่มีพระพุทธรูปยืน๒องค์ คือ “เจ้าฟ้าอิ่ม” และเจ้าฟ้าดอกเดื่อ” ยัง มีสภาพที่สมบูรณ์ ส่วนพระพุทธรูปในถ้ำ พระพุทธไสยยาสน์ พระพุทธบาทพระเจดีย์และมณฑป ปัจจุบันได้ทรุดโทรมหมด ดั้งนั้นสมัยหลวงพ่อกลั่นได้เริ่มบูรณะตั้งแต่อุโบสถ มณฑปลายลักษณ์ พระพุทธบาทจำลอง เจดีย์ สถานที่บรรจุพระธาตุอรหันต์ที่ประดิษฐ์อยู่บนเขา กุฎีที่อาศัยต่างๆจนเรียบร้อยจากนั้นหลวงพ่อกลั่น(พระครูอดุลธรรมกิตติ์)ได้ มรณภาพในวันที่๑๓เมษายน๒๕๔๙หลังนั้นยังมีการบูรณะสิ่งที่ยังค้างคาอยู่ที่ ท่านยังดำเนินการยังไม่เสร็จ คืองานบูรณะถ้ำฉัททันต์บรรพต ท่านได้มอบหมายไว้กับ พระอาจารย์ไพรัตน์ เป็นผู้สานเจตนารมณ์ต่อในการพัฒนาถ้ำฉัตรทันต์บรรพต
    ความเป็นมาของถ้ำฉัตรทันต์บรรพต เป็นสถานที่ประกอบพีธีทางไสยศาสตร์มาแต่สมัยโบราณได้มีการบรูณะในสมัยพระมหาอินทราชเจ้าในปี พ.ศ. ๒๒๔ ๒
    ได้มีการสร้างพระประธานก่อด้วยปูน ตกแต่งถ้ำอย่างสวยงาม และสร้างพระพุทธรูปไว้อีก ๑o องค์คงแทนบารมี ๑o ทัศของ พระพุทธองค์เมื่อกาลเวลาผ่านมาเป็นเวลา ๓๐๗ ปี ได้มีการผุพังสลายไป ในการบูรณะซ่อมแซม และสร้างพระประธานประดิษฐาน เอาไว้ในถ้ำ โดยมีพระปิดตาหล่อโบราณ โดยนำแบบพะปิดตาของพระอาจารย์ทองเฒ่า อาจารย์เอียด และพระปิดตา ของพระอาจารย์ปาล มาเป็นแบบอย่างในการก่อสร้างพระ และมีพระเนื้อว่านสร้างเป็นรูปยอดขุนพล ถอดพิมพ์จากศิลปะแบบศรีวิชัยซึ่งขุดพบได้จากวัดคูหาสวรรค์ (วัดเจ้าคุณจังหวัดพัทลุง) และพระฤๅษีบรมครู
    พระปิดตา หมายถึง การปิดหรือการป้องกันสิ่งที่ไม่ดี เป็นอัปมงคลตลอดอันตรายต่างๆไม่ไห้ข้ามากล้ำกลาย ดั่งคำกลอนที่ว่า ปิดตาทั้งคู่ปิดหูทั้งสอง ปิดปากเสียบ้างนั่งนอนสบายถ้าเปิดตาทั้งคู่เปิดหูสองข้าง เปิดปากเสียแล้วนั่งนอนเป็นทุกข์
    พระยอดขุนพล หมายถึง สิ่งที่สูงสุดหรือสัญลักษณ์อันสูงสุดที่พระองค์ทรง แสดงปฎิหาริยเหล่าหมู่มารทั้งปวงย่อมมิกล้ำกลายและบ่งบอกถึงความเป็นเจ้า สฤทธ์เดชทั้งปวงซึ่งผู้ที่เป็นผู้นำของคนทั้งปวง
    พระฤาษีบรมครู หมายถึง ตัวแทนที่นำสิ่งที่ดีความเจริญความรู้มายังสถานที่ในสำนักเขาอ้อแห่งนี้ ผู้นำไปไว้ติดตัวก็จะมีความเจริญและรุ่งเรือง
    เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ พระอาจารย์ไพรัตน์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จาก สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุเพื่อนำมา ประดิษฐาน ณ วัดเขาอ้อเพื่อจะได้เป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
    ดังนั้นทางเทศบาลเมืองพัทลุงนำโดยท่านโกสินทร์ ไพศาลศิลป์นายกเทศมนตรีเมืองพัทลุงพร้อมด้วยคณะและสมาชิกร่วมกันจัดงานพิธีสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ ณ ศาลาจตุรมุขเพื่อให้พุทธศาสนิกชนผู้ใจบุญทั้งหลายได้มาสักการะบูชาเพื่อเกิดสิริมงคลในชีวิตของพวกเราท่านทั้งหลาย
     
    อ้างอิงค์ข้อมูลจาก หนังสือเก่าใน วัดเขาอ้อ และเพิ่มเติมข้อมูลส่วนปัจจุบัน โดคณะศิษย์เขาอ้อ ในโครงการแสงเทียนแห่งความฝัน
     
  2. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    ประวัติพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ จังหวัดพัทลุง

    พระอาจารย์ทองเฒ่า หรือ พ่อท่านทอง ชาวบ้านนิยมเรียกว่า ” พ่อท่านเขาอ้อ ” เป็นเจ้าอาวาสเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน เชื่อกันว่าเป็นอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมทางไสยศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณ จนเป็นที่เคารพนับถือยำเกรงของคนทั่วไป ตรงศรีษะของท่านมีเส้นผมสีขาวกระจุกหนึ่ง เล่ากันว่าไม่สามารถโกนหรือตัดให้ขาดได้

    ประวัติของ พระครูสังฆสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า)ไม่ทราบแน่ชัด สืบค้นได้จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังจะพอจดจำกันได้บ้างว่า พื้นเพของท่านเป็นชาวบ้านสำนักกอ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง บิดานั้นไม่ทราบชื่อ ส่วนมารดาชื่อ นางรอด ตัวของพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) เป็นพี่คนโต และมีน้อง 2 คน เป็นชายและหญิง ครอบครัวมีอาชีพทำนา ในการอุปสมบทจะเป็นเมื่อใด ใครเป็นพระอุปัชฌาย์ ตลอดจนพระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์ หาทราบไม่

    แต่มีเรื่องเล่ากันว่า ก่อนที่ท่านจะบวชได้ล้มป่วยมีอาการหนักมาก จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานบนบานศาลกล่าวว่า หากหายจากอาการเจ็บไข้ได้ป่วยจะบวชเป็นการถวายแก้บน หลังจากนั้นไม่นานอาการป่วยไข้ก็ทุเลาเบาบาง และหายไปในที่สุดอย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่ง ต่อมาได้อุปสมบทตามที่ตั้งจิตอธิษฐานไว้ และได้ศึกษาวิชากับพระอาจารย์เอียดเหาะได้ วัดดอนศาลา ซึ่งเป็นศิษย์สายสำนักวัดเขาอ้อ เป็นที่กล่าวขานถึงวิชาพุทธาคมของพระอาจารย์เอียดเหาะได้ว่า เหตุที่ท่านมีสมญานามเช่นนั้นสืบเนื่องมาจาก ทุกวันพระ 8 ค่ำ และ 15 ค่ำ พระอาจารย์เอียดเหาะได้ จะเหาะไปบำเพ็ญภาวนาในถ้ำที่วัดเขาอ้อเป็นประจำ ชาวบ้านหลายคนได้พบเห็นเป็นประจักษ์ต่อสายตา จึงได้ขนานนามท่านว่า “พระอาจารย์เอียดเหาะได้”

    กล่าวสำหรับ พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) ได้ชื่อว่ามีตบะบารมีสูงส่งทีเดียว ถึงกับเคยตวาดคนทีเดียวจนเป็นบ้า และเป็นผู้ที่เข้มงวดกวดขันกับบรรดาลูกศิษย์เป็นอย่างยิ่ง หากพบเห็นว่าทำสิ่งใดไม่ถูกต้องก็จะตำหนิตักเตือน ทั้งนี้ก็ด้วยความปรารถนาดีที่อยากให้ศิษย์ของท่านได้ดีในวิชาความรู้ ในส่วน ของมารดาของพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (พระอาจารย์ทองเฒ่า) ในช่วงบั้นปลายของชีวิตได้บวชชีที่วัดเขาอ้อ โดยพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) ได้ปลูกกุฏิให้พำนักอยู่ใกล้ๆ กับกุฏิของท่าน เพื่อจะสะดวกในการปรนนิบัติตามหน้าที่ของบุตรผู้กตัญญูตราบจนสิ้นอายุขัย

    สมณศักดิ์ที่ “พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต” เจ้าคณะตำบลมะกอกเหนือ ได้รับพระราชทานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนั้นยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ด้วย พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (พระอาจารย์ทองเฒ่า) ได้มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2470 ขณะอายุได้ 78 ปี สิ่งหนึ่งที่เหลือไว้สำหรับให้รำลึกถึง คือ วัตถุมงคลที่พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (พระอาจารย์ทองเฒ่า) ได้สร้างขึ้น นอกเหนือจากพิธีกรรมของสำนักวัดเขาอ้อ คือ พิธีอาบว่านแช่ยา พิธีหุงข้าวเหนียว พิธีป้อนน้ำมันงา ซึ่งในสมัยท่านเป็นพิธีกรรมที่เข้มขลังเป็นอย่างยิ่ง

    อ้างอิง : หนังสือ ที่ระลึกงานฉลองสัญญาบัตร พัดยศ พระครูอดุลธรรมกิตติ์ เจ้าอาวาสวัดเข้าอ้อ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p1.jpg
      p1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      10.8 KB
      เปิดดู:
      85
    • thong.jpg
      thong.jpg
      ขนาดไฟล์:
      24.3 KB
      เปิดดู:
      113
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 มิถุนายน 2012
  3. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    ประวัติพระอาจารย์ปาล

    ประวัติพระอาจารย์ปาล

    พระเกจิอาจารย์ผู้เข้มขลังทางวิทยาคุณ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังต่อจากท่านปรมาจารย์ทองเฒ่า เจ้าสำนักเขาอ้อ นอกจากจะมีพระอาจารย์เอียด ปทุมสโร หรือ พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เจ้าอาวาสวัดดอนศาลา แล้ว ก็ยังมีอีกรูปหนึ่งคือ พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ท่านผู้นี้นอกจากจะเป็นศิษย์เอกรูปหนึ่งของท่านปรมาจารย์ทองเฒ่าแล้ว ยังได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่เป็นเจ้าสำนักสืบต่อจากท่านด้วย

    ความจริงแล้วทราบจากศิษย์สายเข้าอ้อหลายท่านว่า ครั้งแรกท่านปรมาจารย์ทองเฒ่า ได้คัดเลือกศิษย์ที่จะให้เป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งเจ้าสำนักไว้เรียบร้อยแล้ว และได้ถ่ายทอดวิทยาคมต่างๆ ที่เจ้าสำนักควรรู้ไปให้หมดแล้ว ศิษย์เอกรูปนั้นคือ พระอาจารย์เอียด ปทุมสโร แต่เพราะความจำเป็นในเรื่องที่วัดดอนศาลา ซึ่งเป็นวัดสาขา เป็นสำนักที่ถือว่าเป็นแขนขาสำคัญแห่งหนึ่งของสำนักเขาอ้อขาดเจ้าอาวาสลง ชาวบ้านไปขอพระจากท่านปรมาจารย์ทองเฒ่า เพราะเห็นว่าวัดแห่งนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดต่อเนื่องกันมา และที่สำคัญตอนนั้นวัดที่มีพระที่เหมาะสมที่จะเป็นเจ้าอาวาสมากที่สุด คือ วัดเขาอ้อ ซึ่งตอนนั้นยังเป็นสำนักใหญ่ที่คึกคักด้วยคณาศิษย์และผู้คนที่เดินทางไปมาหาสู่ ท่านปรมาจารย์ทองเฒ่าจำเป็นต้องส่งคนที่เหมาะสมที่สุดในขณะนั้น ก็คือพระอาจารย์เอียด ปทุมสโร

    เมื่อต้องสละพระอาจารย์เอียดให้กับวัดดอนศาลาไป ท่านปรมาจารย์ทองเฒ่าจำเป็นต้องคัดเลือกศิษย์รูปใหม่ขึ้นมา เพื่อที่จะให้เป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งเจ้าสำนักเขาอ้อแทนท่านอาจารย์เอียด พิจารณาจากคุณสมบัติต่างๆ แล้วในที่สุดท่านปรมาจารย์ทองเฒ่าก็ตัดสินใจเลือก พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ศิษย์อาวุโสรองจากท่านอาจารย์เอียด

    เรื่องการคัดเลือกศิษย์ที่จะมาเป็นทายาทในการสืบทอดตำแหน่งเจ้าสำนักนั้น ถือเป็นภารกิจอย่างหนึ่งของเจ้าสำนัก ซึ่งเป็นภารกิจที่หนักหน่วงอยู่ไม่น้อย กล่าวคือ การที่จะคัดเลือกใครสักคนให้มาทำหน้าที่สำคัญที่สุดในสำนักต้องพิจารณากันหลายๆ ประการ ต้องอาศัยความรอบคอบเป็นพิเศษ เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะนำพาสำนักซึ่งโด่งดังและคงความสำคัญมาร่วมพันปีไปสู่ความเสื่อมเสียได้

    ผู้รู้ประวัติสำนักเขาอ้อท่านหนึ่งได้กรุณาอธิบายให้ฟังถึงวิธีการคัดเลือกศิษย์ ที่จะมาเป็นทายาทเจ้าสำนักว่า เนื่องจากวัดเขาอ้อเป็นวัดที่วิวัฒนาการมาจากสำนักทิศาปาโมกข์ ซึ่งแต่ก่อนมีพราหมณาจารย์ หรือ ฤาษี เป็นเจ้าสำนัก สืบทอดวิชาตามตำราของพราหมณ์ ซึ่งในตำรานั้นจารึกวิทยาการไว้มากมายหลายประการ มากเสียจนคนๆ เดียวไม่สามารถศึกษาเล่าเรียนได้หมด ต้องแบ่งกันศึกษาเล่าเรียน ฉะนั้นการแบ่งนี้ก็ต้องเลือกคนที่ต้องการจะเรียนตามความเหมาะสม การสอนให้คนที่เรียนตามจริต หรือ ความชอบ เพราะวิชาของสำนักเขาอ้อบางอย่างเหมาะกับบรรพชิต บางอย่างเหมาะกับฆราวาส บางอย่างผู้หญิงห้ามแตะต้อง บางอย่างผู้ชายทำไม่ได้ ทำได้แต่ผู้หญิง บางอย่างฆราวาสทำไม่ได้ทำได้แต่บรรพชิต บางอย่างบรรพชิตทำไม่ได้ทำได้แต่ฆราวาส แต่คนที่จะมาทำหน้าที่เจ้าสำนักต้องเรียนทั้งหมด แม้ตัวเองทำไม่ได้ ก็ต้องเรียนรู้ไว้เพื่อจะถ่ายทอดให้คนที่ทำได้เอาไปทำต่อไป ฉะนั้นคนที่เป็นเจ้าสำนักจะต้องมีความรู้มากที่สุด และต้องอาศัยสติปัญญาสูงสุดจึงจะสามารถรับถ่ายทอดวิชาทั้งหมดนั้นได้

    ทีนี้มาว่ากันถึงคุณสมบัติเบื้องต้นของคนที่จะถูกเลือกเป็นทายาทเจ้าสำนักได้ ผู้รู้ท่านนั้นท่านได้หยิบคุณสมบัติสำคัญอันดับต้นๆมาให้เพียง 3 อย่างนั่นคือ

    ๑. ต้องมีดวงชะตาดี โดยพิจารณาจากการตรวจดวงชะตาแล้ว

    ๒. ต้องมีคุณธรรมดี

    ๓. ต้องมีสติปัญญาเป็นเลิศ

    แล้วท่านก็อธิบายถึงความสำคัญของคุณสมบัติเหล่านี้ให้ฟังว่า

    ที่ต้องเอาคนดวงชะตาดีนั้น เพราะในอนาคตไม่มีใครสามารถกำหนดได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับสำนัก คนเราอาจจะดีวันนี้ แต่วันข้างหน้าไม่ดี ตามความเชื่อของพราหมณ์นั้นเชื่อในเรื่องของดวงชะตา ชะตาจะเป็นผู้กำหนดให้มนุษย์เป็นไป ฉะนั้นการตรวจดวงชะตาเป็นการช่วยทำให้ทราบความเป็นไปในอนาคตของมนุษย์ได้

    ความมีคุณธรรมเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของบุคคลที่จะถูกเลือกเป็นเจ้าสำนักเขาอ้อ เพราะหากขาดคุณสมบัติข้อนี้แล้วไซร้ ปัญหานานาประการอาจจะเกิดขึ้นได้ คุณธรรมที่ต้องมีนั้นยังระบุชัดเจนลงไปว่า

    จะต้องมีเมตตาเป็นเยี่ยม

    จะต้องมีความเสียสละเป็นเลิศ

    จะต้องรักสันโดษมักน้อยเป็นอุปนิสัย

    เพราะว่า หากผู้ถูกเลือกเป็นคนเห็นแก่ตัว ขาดเมตตาธรรม ก็มีโอกาสนำวิชาความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดไป ซึ่งมีมากที่สุด ไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง อาจส่งผลเสียต่อส่วนรวม ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของเจ้าสำนักเขาอ้อ สำนักเขาอ้อตั้งขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ โดยการเอาการเสียสละของเจ้าสำนักเป็นที่ตั้ง

    ความมักน้อยสันโดษเป็นอุปนิสัย ก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคุณธรรมข้ออื่นๆ กล่าวคือ หากบุคคลผู้นั้นเป็นคนฟุ่มเฟือย ละโมบโลภมาก ก็อาจนำวิชาความรู้ และหน้าที่ไปใช้เพื่อรับใช้กิเลสส่วนตนมากกว่าจะส่งผลประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

    มีสติปัญญาเป็นเลิศ

    คุณสมบัติข้อนี้ก็สำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนที่จะถูกเลือกเป็นเจ้าสำนักวัดเขาอ้อ ก็อย่างที่เรียนไปแล้วแต่ต้นว่าวิชาของสำนักเขาอ้อนั้นมีมากมายหลายประเภทหลายแขนง แต่ส่วนคนทั่วไป เป็นการแยกสอนให้ตามความเหมาะสม ซึ่งแต่ละส่วนก็นับว่าเรียนยาก ต้องอาศัยสติปัญญาระดับหนึ่งจึงจะเข้าถึงวิชานั้นๆได้ แต่สำหรับคนที่จะต้องทำหน้าที่เจ้าสำนักต่อไปจะต้องใช้สติปัญญาอย่างมาก เพื่อจะต้องเรียนวิชาต่างๆหมดสิ้น รู้ให้หมด ทำให้ได้ เพราะนอกจากจะเรียนเพื่อปฏิบัติเองแล้ว ยังต้องเรียนรู้ขนาดที่จะต้องถ่ายทอดให้คนอื่นในฐานะเจ้าสำนักต่อไปได้ด้วย ฉะนั้นเรื่องระดับสติปัญญานับว่าเป็นคุณสมบัติสำคัญที่ถูกหยิบยกมาพิจารณาอย่างละเอียด

    หลักเกณฑ์การคัดเลือกเจ้าสำนักดังกล่าวนี้เอง ทำให้สำนักวัดเขาอ้อสามารถรักษาวิชาสำคัญๆ และสืบทอดวิทยาการต่างๆต่อกันมาได้ จนถึงพระอาจารย์ปาล ซึ่งถือเป็นเจ้าสำนักที่ได้รับการคัดเลือกจากเจ้าสำนักรูปก่อน และอาศัยคุณสมบัติดังกล่าวเป็นรูปสุดท้าย เพราะหลังจากสิ้นท่านแล้ว สำนักวัดเขาอ้อก็กลายเป็นวัดธรรมดาๆ วัดหนึ่ง มีพระที่มีพรรษาอาวุโสสูงสุดขึ้นเป็นเจ้าอาวาส โดยการแต่งตั้งของคณะสงฆ์ที่ทำหน้าที่ปกครองในเขตนั้น พิจารณาจากคุณสมบัติทางสงฆ์ ซึ่งถือคุณสมบัติทั่วไป ประเพณีการเลือกเจ้าสำนักอันสืบทอดมาแต่เดิมก็จบสิ้นลงแค่สมัยอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ซึ่งมีเหตุผลให้จบเช่นนั้น สำนักวัดเขาอ้อซึ่งเคยมีฐานะเป็นสำนักทิศาปาโมกข์ก็เหลือเพียงตำนาน และหลักฐานทางโบราณวัตถุเพียงไม่กี่ชิ้น ซึ่งก็น่าเสียดายอยู่ไม่น้อย แต่เมื่อพิจารณาให้ดี ก็เห็นว่าความเป็นไปของสำนักนี้ เป็นไปตามกฎธรรมชาติเพราะสรรพสิ่งในโลกนี้ ไม่มีอะไรถาวร ทุกอย่างย่อมมีการเกิดเป็นจุดเริ่ม การเจริญเติบโตและตั้งอยู่เป็นท่ามกลาง มีความเสื่อมโทรมและสิ้นสุดเป็นที่สุด สำนักเขาอ้อก็ตกอยู่ในสภาพธรรมนี้ ซึ่งเหมือนกับสำนักใหญ่ๆในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นตักศิลานคร ต้นกำเนิดวิทยาการอันยิ่งใหญ่ในอดีต หรือสำนักใหญ่ๆอื่นๆ

    การเสื่อมสลายความสำคัญของสำนักเขาอ้อภายหลังยุคพระอาจารย์ปาล มีเหตุผลอยู่หลายประการ เป็นต้นว่า

    ๑. สังคมเปลี่ยนค่านิยม

    ๒. การคมนาคมเปลี่ยนเส้นทาง

    ๓. วิทยาการสมัยใหม่รุกราน

    ๔. ขาดผู้นำที่เหมาะสมมาสืบทอดต่อ

    และอีกเหตุผลหนึ่งที่คณะศิษย์เขาอ้อลงความเห็นเพิ่มเติม คือ เพราะพระอาจารย์ปาลเป็นเจ้าสำนักรูปแรกและรูปเดียวที่ไม่มีชื่อทองนำหน้าหรือต่อท้าย เหมือนกับเจ้าสำนักรูปอื่นๆที่เคยมี ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์อยู่ไม่น้อย ก็อย่างที่ว่า สำนักเขาอ้อแห่งนี้ตั้งแต่ก่อตั้งมา มีนามว่าทองขึ้นต้นหรือต่อท้ายทุกรูป ตั้งแต่พระอาจารย์ทอง ปฐมาจารย์แห่งสำนักเขาอ้อ จนถึงปรมาจารย์ทองเฒ่า ทองรูปสุดท้าย ข้อสังเกตนี้มีส่วนน่าเชื่อถือแค่ไหน เหตุการณ์ภายหลังการมรณภาพของพระอาจารย์ปาล เป็นส่วนสนับสนุนได้อีกอย่างหนึ่ง

    สำหรับประวัติพระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม นั้น ไม่ค่อยจะมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรให้อ้างถึงได้มากนัก เนื่องจากพระอาจารย์ปาลท่านเป็นพระที่หนักไปในทางสันโดษ ชอบอยู่เงียบๆ ไม่ค่อยสุงสิงกับสังคมภายนอก ประกอบกับการบันทึกหลักฐานในสมัยท่านยังไม่แพร่หลายมากนัก และที่สำคัญตัวท่านไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักฐานทางบ้านเมืองมากนัก กล่าวคือไม่เข้าสู่ระบบการปกครองของคณะสงฆ์ เหมือนกับพระอาจารย์เอียด ที่ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรและได้เป็นเจ้าคณะตำบล ทางคณะสงฆ์จึงได้บันทึกประวัติและผลงานของท่านไว้ ทำให้มีหลักฐานลายลักษณ์อักษรให้ศึกษาค้นคว้าถึงได้ไม่ยากนัก แต่สำหรับกรณีของพระอาจารย์ปาล จึงจำเป็นต้องอาศัยหลักฐานจากคำบอกเล่าของชาวบ้านไกล้วัดที่เคยได้พบเห็นท่านเป็นสำคัญ

    จากคำบอกเล่าของคุณตามงคล ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติใกล้ชิดกับพ่อท่านปาล ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพระอาจารย์ปาลมาว่า บรรพบุรุษของพระอาจารย์ปาลเป็นชาวระโนด จังหวัดสงขลา ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บริเวณบ้านเขาอ้อ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าพระอาจารย์ปาลท่านมาเกิดที่เขาอ้อ หรือเกิดที่ระโนดแล้วอพยพตามครอบครัวมา แต่ว่าแม้จะเกิดที่ระโนด ก็คงจะมาตั้งแต่เล็กๆ อย่างน้อยก็ก่อนจะเข้าโรงเรียน

    พระอาจารย์ปาลเป็นญาติกับพระอาจารย์ทองเฒ่า ส่วนจะเป็นญาติใกล้ชิดกันแค่ไหนก็ไม่สามารถระบุได้ แต่ก็เข้าใจว่าใกล้ชิดกันพอสมควร เพราะพระอาจารย์ทองเฒ่าก็มีพื้นเพเดิมเป็นชาวระโนดเช่นกัน ครอบครัวของพระอาจารย์ปาลคงจะใกล้ชิดและเคารพนับถือพระอาจารย์ทองเฒ่ามาก ด้วยเหตุนี้เมื่อพระอาจารย์ปาลมีอายุพอที่จะเรียนหนังสือได้ พ่อแม่จึงได้พาไปฝากให้อยู่ศึกษาเล่าเรียนในสำนักวัดเขาอ้อ ซึ่งสมัยนั้นเป็นสำนักใหญ่และสำคัญที่สุดในละแวกนั้น มีลูกศิษย์มากมาย

    ผู้เฒ่าท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า พระอาจารย์ปาลเป็นคนเรียนเก่ง แต่ค่อนข้างจะดื้อ มีอุปนิสัยรักสนุก ร่าเริง เป็นนักเสียสละตัวยง เป็นที่รักใคร่ของศิษย์ร่วมสำนักทุกรูปทุกคน ท่านถึงกับเคยรับโทษแทนเพื่อนหลายครั้ง พระอาจารย์ปาลเรียนอยู่ในสำนักวัดเขาอ้อนานจนมีวัยพอที่จะบวชเรียนได้ พระอาจารย์ทองเฒ่าจึงได้จัดการให้บวชเป็นสามเณรแล้วให้อยู่ศึกษาพระธรรมและวิทยาคมต่างๆ อยู่ในสำนักเขาอ้อ

    พระอาจารย์ปาลบวชตั้งแต่สามเณรจนกระทั่งได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเขาอ้อ โดยมีพระอาจารย์ทองเฒ่าเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ อุปสมบทแล้วก็ศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมและช่วยพระอาจารย์ทองเฒ่าอยู่ที่สำนักเขาอ้อต่อไป จนกระทั่งพระอาจารย์ทองเฒ่าคัดเลือกให้เป็นทายาทเจ้าสำนักถ่ายทอดวิชาสำคัญๆให้จนหมดสิ้น

    ต่อมาเมื่อพระอาจารย์ทองเฒ่ามรณภาพลง ในฐานะทายาทเจ้าสำนัก และเป็นพระที่มีพรรษาอาวุโสที่สุด พระอาจารย์ปาลจึงขึ้นเป็นเจ้าสำนักสืบทอดต่อ ทำหน้าที่ต่างๆต่อจากพระอาจารย์ทองเฒ่า

    ภายหลังการมรณภาพของพระอาจารย์ทองเฒ่า จึงมีศิษย์ของสำนักวัดเขาอ้อที่มีชื่อเสียงโด่งดังพร้อมกันสองรูป คือ พระอาจารย์เอียด เจ้าอาวาสวัดดอนศาลา ในฐานะศิษย์เอกคนโต และพระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม เจ้าสำนักเขาอ้อ แต่เจ้าสำนักทั้งสองต่างเคารพรักใคร่กันมาก ไปมาหาสู่กันไม่ได้ขาด พระอาจารย์เอียด แม้จะมีภาระใหญ่อยู่ที่วัดดอนศาลา แต่ก็ไม่ทอดทิ้งวัดเขาอ้อ เพราะตระหนักอยู่เสมอว่าเป็นสำนักที่ให้วิชาความรู้ เป็นบ้านที่ท่านเติบโตขึ้นมา ฉะนั้นเมื่อไม่มีพระอาจารย์ทองเฒ่า ก็จะต้องไปดูแลช่วยเหลือพระอาจารย์ปาลทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ เพราะโดยส่วนตัวพระอาจารย์เอียดรักใคร่เมตตาศิษย์น้องรูปนี้มาก เคยใกล้ชิดสนิทสนมกันเมื่อคราวอยู่ร่วมสำนักที่เขาอ้อ ในสายตาพระอาจารย์เอียด พระอาจารย์ปาลคือศิษย์น้องหัวดื้อ แต่เคารพรักศิษย์พี่อย่างท่านมาก

    ในขณะเดียวกัน ในสายตาพระอาจารย์ปาล พระอาจารย์เอียดคือพี่ชาย คือศิษย์พี่ที่จะต้องเคารพเชื่อฟังต่อจากอาจารย์ และโดยส่วนตัวแล้วเมื่อคราวอยู่ร่วมสำนักกัน ศิษย์พี่รูปนี้คอยช่วยเหลือเจือจุนท่านมามาก ด้วยความเคารพนับถือที่มีต่อกัน ท่านทั้งสองจึงถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ต่างระมัดระวังในบทบาทของกันและกัน ด้วยเกรงว่าจะเด่นกว่าอีกฝ่าย

    ว่ากันว่าโดยธรรมเนียมแล้ว ผู้เป็นประธานหรือควรจะมีบทบาทเด่นที่สุดในสายเขาอ้อขณะนั้น ก็คือ พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ในฐานะเจ้าสำนัก แต่เนื่องจากพระอาจารย์เอียดก็เป็นศิษย์ที่ปรมาจารย์ทองเฒ่าคัดเลือกให้เป็นทายาท ถ่ายทอดวิชาไว้ให้เท่าๆกัน และที่สำคัญมีความอาวุโสมากกว่า พระอาจารย์ปาลจึงเคารพและระมัดระวังบทบาทของตัวเองไม่ให้ยิ่งไปกว่าศิษย์พี่ พระอาจารย์เอียดเองก็ตระหนักในข้อนี้ แม้ว่าท่านจะมีความรู้ความเชียวชาญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระอาจารย์ปาล มีพรรษาอาวุโสกว่า แต่ก็ตระหนักดีว่าพระอาจารย์ปาลเป็นเจ้าสำนักใหญ่ ทานจึงให้เกียติมาก ระมัดระวังในบทบาทตัวเองอย่างสูง

    ต่อมาดูเหมือนว่าท่านทั้งสองหาทางออกได้ โดนพระอาจารย์ปาลแสดงบทบาทของตัวเองเต็มที่ในสำนัก ส่วนภายนอกมอบให้พระอาจารย์เอียด และตัวพระอาจารย์เอียดเองก็เปลี่ยนไปทำงานให้คณะสงฆ์เสียมากกว่า มอบภาระอันเป็นหน้าที่ของเจ้าสำนักเขาอ้อให้พระอาจารย์ปาลดำเนินการต่อไป ท่านอยู่ในฐานะผู้ช่วยและที่ปรึกษา

    ด้วยเหตุนี้ในสำนักเขาอ้อ พระอาจารย์ปาลจึงทำหน้าที่เจ้าสำนักได้เต็มที่

    หน้าที่หลักๆ ของเจ้าสำนักเขาอ้อมีดังนี้

    ๑. เป็นประธานอำนวยการในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ที่เคยดำเนินสืบทอดต่อๆกันมา เป็นต้นว่าพิธีอาบว่าน ปลุกเสกพระ กินน้ำมันงา และพิธีอื่นๆ

    ๒. คัดเลือกศิษย์ ถ่ายทอดวิชา และอบรมศิษย์ในสำนัก

    ๓. ช่วยสงเคราะห์ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากซึ่งเดินทางไปพึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งมีทั้งป่วยทางจิตและทางกาย ท่านก็บำบัดไปตามที่ร่ำเรียนมา ป่วยทางจิตก็ใช้เวทมนต์คาถาเข้าช่วย ป่วยทางกายก็ใช้ยาสมุนไพรเข้าช่วย

    ๔. เป็นประธานในพิธีกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับสำนักเขาอ้อ ในฐานะที่เป็นเจ้าสำนักเขาอ้อ เรียกว่าเป็นประธานโดยตำแหน่ง

    ๕. คอยดูแลและว่ากล่าวตักเตือนคณะศิษย์ของเขาอ้อที่ออกจากสำนักไปแล้ว หน้าที่นี้คือคอยดูสอดส่องและให้ความร่วมมือ ในกรณีที่ผู้ที่ร่ำเรียนวิชาจากสำนักเขาอ้อไปสร้างความเดือดร้อนให้กับสังคม อาจจะเป็นผู้ประสานงาน ช่วยเหลือเกลี้ยกล่อม ว่ากล่าวตักเตือน หรือถึงกับให้ความช่วยเหลือในการบำราบปราบปรามเอง เพราะว่าแน่นอนวิชาที่เจ้าสำนักมีอยู่ย่อมมากกว่าคนอื่น ตรงนี้ถือเป็นความรับผิดชอบที่น่าชื่นชมของสำนักแห่งนี้

    ๖. รักษาของสำคัญของสำนัก อันเปรียบเสมือนเครื่องหมายเจ้าสำนักที่แท้จริง ซึ่งมีอยู่หลายประการ ที่สำคัญก็มี ตำรา ลูกประคำดีควายที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ไม้เท้ากายสิทธิ์ ที่ใช้ในการจี้รักษาโรคและปลุกเสกวัตถุมงคล เพราะภายใต้ปลายไม้เท้าบรรจุธาตุศักดิ์สิทธิ์ไว้จำนวนมาก

    โดยสรุปแล้วท่านอาจารย์ปาลก็ทำหน้าที่ต่างๆ อยู่ที่วัดเขาอ้อเสียเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่าใหญ่อยู่ที่วัดเขาอ้อ ส่วนข้างนอกให้พระอาจารย์เอียดใหญ่บ้าง ว่ากันโดยวิทยาคุณแล้ว พระอาจารย์ปาลก็เข้มขลังไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเจ้าสำนักรูปอื่นๆ ท่านสำเร็จวิชาสำคัญๆ ของสำนักเขาอ้อแทบทุกอย่าง แต่เพราะยุคของท่านเป็นยุคเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม วัดเริ่มถูกลดบทบาทลง โดยเริ่มจากการศึกษา ซึ่งเคยเป็นหน้าที่ของวัดถูกรัฐบาลเอาไปดำเนินการเสียเอง หน้าที่และความสำคัญหลายอย่างของวัดถูกรัฐบาลนำไปทำเสียเอง วัดเลยลดความสำคัญลงไปมาก พระอาจารย์ปาลก็เลยต้องลดบทบาทลงไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามท่านก็ทำหน้าที่ของเจ้าสำนักวัดเขาอ้อได้สมบูรณ์ตามสถานการณ์จนกระทั่งมรณภาพ

    พระอาจารย์ปาลอยู่ที่วัดเขาอ้อจนกระทั่งชราภาพมากเข้า ในวาระบั้นปลายของท่าน วัดเขาอ้อเข้าสู่ภาวะซบเซา พระภิกษุสามเณรในวัดมีน้อย ในขณะเดียวกันวัดดอนศาลากลับคึกคักขึ้นมาแทน เมื่อท่านชราภาพจนช่วยเหลือตนเองไม่ค่อยสะดวก ศิษย์รูปหนึ่งของท่าน คือพระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร รองเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา ได้นำท่านมาอยู่ที่วัดดอนศาลา เพื่อจะดูแลปรนนิบัติรับใช้ได้สะดวกกว่า

    พระอาจารย์ปาลอยู่ที่วัดดอนศาลาหลายปี จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะเกือบจะสุดท้ายแห่งชีวิต ท่านทราบวาระของตัวเอง จึงขอให้ศิษย์นำกลับไปที่วัดเขาอ้ออีกครั้ง เพื่อที่จะกลับไปมรณภาพที่สำนักวัดเขาอ้อ เหมือนกับเจ้าสำนักรูปก่อนๆ คณะศิษย์เห็นใจ สนองตอบความต้องการของท่าน นำท่านกลับไปอยู่ที่วัดเขาอ้อ พระอาจารย์ปาลกลับไปอยู่ที่วัดเขาอ้อในสภาพอาพาธหนักด้วยโรคชราไม่ถึงสองเดือน ก็ถึงแก่มรณภาพ

    เรื่องที่เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับชีวประวัติเรื่องหนึ่งที่ต้องกล่าวถึง คือ เรื่องการสำเร็จวิชานิ้วชี้เพชรของท่านอาจารย์ปาล ในกระบวนวิชาสำคัญๆระดับหัวกะทิที่บุคคลระดับเจ้าสำนักถึงจะได้เรียนนั้น มีวิชานิ้วชี้เพชรเป็นวิชาหนึ่งที่น่าสนใจ เล่ากันว่าใครสำเร็จวิชานี้ นิ้วชี้ด้านขวาจะแข็งเป็นหิน มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ใช้ชี้อะไรก็สามารถกำหนดให้เป็นให้ตายได้ ผู้ที่สำเร็จวิชามรณภาพแล้ว แม้สังขารถูกเผาไฟไหม้ส่วนต่างๆได้หมด แต่นิ้วชี้เพชรจะไม่ถูกไฟไหม้ เพราะเหตุนี้ นิ้วของเจ้าสำนักวัดเขาอ้อจึงถูกเก็บไว้ เท่าที่มีผู้คนเคยเห็น ก็มีนิ้วชี้ของท่านพระอาจารย์ทองเฒ่าซึ่งเก็บรักษาไว้ที่วัดบ้านสวน วัดสาขาสำคัญอีกวัดหนึ่งของวัดเขาอ้อ สันนิษฐานสาเหตุที่ไปอยู่ที่นั้น ก็เพราะพระอาจารย์คงนำไป คือ เข้าใจว่านิ้วชี้เพชรของท่านอาจารย์ทองเฒ่านั้น ภายหลังจากเผาไม่ไหม้ พระอาจารย์เอียดหรือไม่ก็พระอาจารย์ปาลเก็บรักษาไว้ เมื่อพระอาจารย์มรณภาพ พระอาจารย์คงในฐานะศิษย์ผู้รับมรดกหลายอย่างของพระอาจารย์เอียด ก็ได้รับนิ้วชี้เพชรนั้นไปเก็บรักษาต่อ นิ้วชี้เพชรของปรมาจารย์ทองเฒ่า เคยตั้งให้คนทั่วไปชมอยู่ที่วัดบ้านสวน แต่เมื่อท่านอาจารย์คงมรณภาพก็ถูกเก็บเงียบระยะหนึ่ง แต่ก็มีผู้ยืนยันว่ายังอยู่ที่วัดบ้านสวน แต่เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี

    ส่วนนิ้วชี้เพชรของพระอาจารย์ปาลนั้นมีผู้ยืนยันว่าเก็บรักษาไว้ที่วัดเขาอ้อ แต่ในปัจจุบันไม่ทราบว่ายังอยู่หรือเปล่า เพราะข้าวของสำคัญๆ ของวัดหลายอย่างได้สูญหายไปภาพหลังท่านมรณภาพ

    อ้างอิง เวปเมืองลุง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 03.jpg
      03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.3 KB
      เปิดดู:
      570
    • arjarnpan.jpg
      arjarnpan.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.7 KB
      เปิดดู:
      182
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 มิถุนายน 2012
  4. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    ประวัติพระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา

    ประวัติพระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา จังหวัดพัทลุง

    พระครูสิทธิยาภิรัตน์ มีนามเดิมว่า เอียด ทองโอ่ เกิดที่บ้านดอนนูด ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2425 เป็นบุตรของนายรอด นางพัด มีน้องชายคนหนึ่งชื่อแก้ว เริ่มการศึกษาหลังจากบิดาได้ถึงแก่กรรมแล้ว โดยมารดาได้นำไปฝากพระอาจารย์ทองเฒ่า ที่วัดเขาอ้อ ได้ร่ำเรียนจนรู้หนังสือขอมไทย เมื่ออายุได้ 22 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดเขาอ้อ มีพระอาจารย์ทองเฒ่า เป็นอุปัชฌาย์ มีฉายาว่า ปทุมสโร ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ไสยศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณจากพระอาจารย์ทองเฒ่า ต่อมาทางวัดดอนศาลา ว่างเจ้าอาวาสลง คณะพุทธบริษัทของวัดดอนศาลา ได้พร้อมในกันนิมนต์อาจารย์เอียดมาเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาไม่นานท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลมะกอกเหนือ และเป็นพระอุปัชฌาย์ตามลำดับในปี 2473 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ต่อมาในปี 2480 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสิทธิยาภิรัตน์ แต่ชาวบ้านยังนิยมเรียกท่านว่า ” พ่อท่านเอียด ” หรือ ” พ่อท่านดอนศาลา ” บางทีก็เรียกว่า ” พระครูสิทธิ์ ”



    พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เป็นผู้ที่มีความเมตตา กรุณา ปฏิบัติต่อบุคคลอย่างเสมอภาค ใครมีความทุกข์ร้อนไปหาท่าน ถ้าท่านช่วยได้ก็จะช่วยทันที เป็นคนที่เคารพในเหตุผล จึงต้องเป็นตุลาการให้คนในหมู่บ้านอยู่เสมอ และเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านทั่วไป พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เป็นผู้นำชาวบ้านดอนศาลาและบริเวณใกล้เคียงพัฒนาท้องถิ่น จัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นในวัด และจัดสร้างอาคารเรียนถาวรให้โรงเรียนวัดดอนศาลาเป็นผลสำเร็จ ใช้เป็นที่เรียนของนักเรียนมาจนทุกวันนี้ ทั้งยังเป็นผู้นำในการขุดลอกคูคลองที่ตื้นเขิน ตัดถนนจากวัดเชื่อต่อกับถนนสายควนขนุน-ปากคลอง เพื่อให้ประชาชนได้ติดต่อกับตัวอำเภอได้สะดวกยิ่งขึ้น

    เมื่อ พ.ศ.2483 เกิดสงครามอินโดจีน ประเทศไทยได้ส่งกำลังทหารไปร่วมรบในสงครามครั้งนี้ด้วย ด้วยเหตุนี้เอง เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจให้แก่ทหารอาสาสมัคร และพลเรือนในยามสงคราม พระครูสิทธิยาภิรัตน์ จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นหลายชนิด เช่น พระเครื่อง ลูกอม ผ้าประเจียด เสื้อยันต์ ผ้ารองหมวก ตะกรุด ปลอกแขน โดยทำพิธีปลุกเสกที่วัดเขาอ้อ วัตถุมงคลเหล่านี้ได้แจกจ่ายให้แก่ ทหารอาสาสมัคร พลเรือน พระเครื่องที่สำคัญที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ คือ พระมหายันต์ และพระมหาว่าน ขาว-ดำ การสร้างเครื่องรางของขลังในครั้งนี้จึงเป็นการสร้างสนองคุณแก่ประเทศชาติ เยี่ยงพระมหาช่วย วัดป่าเลไลย์ ต.ลำปำ อ.เมือง จ.พัทลุง ที่เคยช่วยเหลือชาติบ้านเมืองมาแล้วในอดีต

    พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เป็นพระเถระที่ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่น และประเทศชาติเป็นอันมาก ท่านได้ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2491 รวมอายุได้ 66 ปี

    อ้างอิง : เวปคนใต้คลับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 มิถุนายน 2012
  5. ชัยมโนรมย์

    ชัยมโนรมย์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +96
    ขอบคุณครับที่ให้ชม สวยดีครับแต่ผมไม่มีความรู้พระพิมพ์นี้เลย รบกวนผุ้รู้ด้วยนะครับ
     
  6. ชัยมโนรมย์

    ชัยมโนรมย์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +96
    ขอความรู้ด้วยครับเห็นเนื้อสวยดี เป็นพิมพ์อะไร กรุไหนครับ ขอบคุณครับที่ให้ความรู้
     
  7. ชัยมโนรมย์

    ชัยมโนรมย์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +96
    สวยมากๆครับ
     
  8. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372

    ;aa40
    ขอบคุณมากครับ คุณชัยมโนรมย์
     
  9. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    พิธีกรรมทางไสยศาสตร์ สำนักวัดเขาอ้อ

    ความเชื่อทางไสยศาสตร์ของสำนักวัดเขาอ้อที่สำคัญถือเป็นหลัก นิยมใช้ประกอบพิธีกรรมให้สานุศิษย์และประชาชนที่ศรัทธาโดยทั่วไปมี 4 พิธี คือ พิธีเสกว่านให้กิน พิธีหุงข้าวเหนียวดำ พิธีเสกน้ำมันงานดิบ และพิธีแช่ว่าน
    นอกจากนี้ก็ยังมีพิธีอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น พิธีสอนให้ชักยันต์ด้วยดินสอ และการสร้างพระเครื่องรางของขลัง วิชาดูฤกษ์ยาม ตำรารักษาโรคภัยไข้เจ็บจากสมุนไพร และการรักษาด้วยคาถาอาคม เพื่อประโยชน์ของการศึกษาทางด้านความเชื่อทางไสยศาสตร์ จึงขอนำเอาพิธีกรรมที่กล่าวแล้วข้างต้น มาอธิบายไว้ในที่นี้พอสังเขป

    1.พิธีเสกว่านให้กิน หมายถึง การนำเอาว่านที่เชื่อว่ามีสรรพคุณทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี หรือทางด้านมหาอุด มาลงอักขระเลขยันต์ทางเวทมนต์คาถา แล้วนำไปให้พระอาจารย์ผู้ชำนาญเวท ปลุกเสกด้วยอาคมกำกับอีกครั้งหนึ่ง ว่านที่นิยมใช้ในพิธี ได้แก่ ว่านขมิ้นอ้อย ว่านสบู่เลือด ว่านสีดา ว่านเพชรตรี ว่านเพชรหน้าทั่ง ต้นว่านเหล่านี้เชื่อกันว่ามีเทพารักษ์คอยคุ้มครองรักษา พันธุ์ว่านบางชนิดต้องไปทำพิธีกินในสถานที่พบ ที่นิยมมาก ได้แก่ การกินว่านเพชรหน้าทั่ง
    การทำพิธีกินต้องหาฤกษ์ยามเสียก่อน เมื่อได้ฤกษ์แล้วพระอาจารย์จะนำสายสิญจน์ไปวนไว้รอบต้นว่าน แล้วตั้งหมากพลูบูชาเทพารักษ์ ปลุกเสกอาคมทางหลักไสยศาสตร์ เมื่อเสร็จพิธีแล้วนำมาแจกจ่ายกินกัน เชื่อว่าจะทำให้ผู้นั้นเป็นคนอยู่ยงคงกระพันชาตรี
    การเสกว่านให้กิน เมื่อสิ้นพระอาจารย์ทองเฒ่าแล้ว นิยมไปทำกันที่วัดดอนศาลา ต.มะกอกเหนือ โดยมีพระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด) เจ้าอาวาสวัดดอนศาลาเป็นผู้ประกอบพิธี เช่น การประกอบพิธีกินว่านหน้าทั่ง เมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 พ.ศ.2473 มีพระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ (ยังเป็นฆราวาส) เป็นผู้หาฤกษ์ยาม ผู้ร่วมกินมี พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช และพระเณรในวัดดอนศาลา

    2.พิธีหุงข้างเหนียวดำ นิยมทำพร้อมกับพิธีเสกน้ำมันงาดิบ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "กินเหนียวกินมัน" แต่ละปีจะประกอบพิธีกิน 2 ครั้ง คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 และ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 พิธีหุงข้าวเหนียวดำ หมายถึง การนำเครื่องยาสมุนไพร หรือว่านชนิดต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 108 ชนิด มาผสมกันแล้วต้มเอาน้ำยามาใช้หุงข้าวเหนียวดำ
    การประกอบพิธีนิยมทำกันภายในอุโบสถมากกว่าสถานที่อื่นๆ ในสมัยก่อนนิยมทำกันในถ้ำฉัตรทันต์ หม้อและไม้ฟืนทุกอัน จะต้องลงอักขระเลขยันต์กำกับด้วยเสมอ พระอาจารย์ผู้ประกอบพิธีจะเริ่มปลุกเสก ตั้งแต่จุดไฟ จนกระทั่งข้าวเหนียวในหม้อสุก แล้วนำข้าวเหนียวที่สุกแล้วไปประกอบพิธีปลุกเสกอีกครั้งหนึ่งจนเสร็จพิธี
    พิธีกินข้าวเหนียวดำ จะทำพิธีกันภายในอุโบสถ ก่อนกินถ้าสานุศิษย์คนใดไม่บริสุทธิ์ต้องทำพิธีสะเดาะ หรือเรียกว่า "พิธีการเกิดใหม่" หรือ "พิธีบริสุทธิ์ตัว" เพื่อให้ตัวเองบริสุทธิ์จากสิ่งไม่ดีชั่วร้ายทั้งปวง
    เมื่อถึงเวลาฤกษ์กินข้าวเหนียวดำ สานุศิษย์จะเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นนุ่งด้วยผ้าขาวม้าโจงกระเบนไม่ใส่เสื้อ แล้วเข้าไปกราบพระอาจารย์ผู้ประกอบพิธี 3 ครั้ง เสร็จแล้วพระอาจารย์จะให้นั่งชันเข่าบนหนังเสือ เท่าทั้ง 2 เหยียบบนเหล็กกล้าหรือเหล็กเพชร ปิดศรีษะด้วยหนังหมี มือทั้ง 2 วางบนหลังเท้าของตัวเอง พระอาจารย์ใช้มือซ้ายกดมือทั้ง 2 ไว้ พร้อมกับภาวนาพระคาถา ส่วนมือขวาปั้นข้าวเหนียวดำเป็นก้อนป้อนให้ศิษย์ครั้งละ 1 ก้อน แล้วปล่อยมือศิษย์ที่กดไว้บนเหลังเท้า มือทั้ง 2 ของศิษย์จะลูบขึ้นไปตั้งแต่หลังเท้าจนทั่วตัวจดใบหน้า การลูบขึ้นนี้เรียกว่า "การปลุก" เสร็จแล้วลูบลง เอามือทั้ง 2 ไปวางไว้บนหลังเท้าทั้ง 2 เช่นเดิม โดยกะประมาณว่ากินข้าวเหนียวก้อนแรกหมดพอดี สำหรับผู้ที่ไม่เคยกินอาจกลืนลำบาก เนื่องจากว่าข้าวเหนียวมีรสขมมาก บางคนป้อนก้อนแรกถึงกับอาเจียนออกมาก็มี แต่ถ้ากลืนก้อนแรกจนหมดได้ ก้อนต่อไปจะไม่มีปัญหา พระอาจารย์จะป้อนจนครบ 3 ก้อน ในแต่ละครั้งจะลูบขั้นลูบลง เช่นเดียวกับครั้งแรก แต่ครั้งที่ 3 นั้นเมื่อศิษย์กินข้าวเหนียวหมดแล้ว พระอาจารย์จะใช้มือซ้ายกดมือทั้ง 2 ไว้ที่เดิมหัวแม่มือขวาสะกดสะดือศิษย์ ทำทักษิณาวัตร 3 รอบ พร้อมกับภาวนาพระคาถาไปด้วย เป็นการผูกอาคม
    สำหรับคุณค่าของการกินข้าวเหนียวดำ สานุศิษย์ของสำนักเขาอ้อ เชื่อกันว่าใครกินได้ถึง 3 ครั้ง จะทำให้อยู่ยงคงกระพันชาตรี เป็นมหานิยม และยังเป็นยาแก้โรคปวดหลังปวดเอวได้เป็นอย่างดี

    3.พิธีเสกน้ำมันงาดิบ การเสกน้ำมันงาดิบ ต้องมีเครื่องบูชาครูเช่นเดียวกับการหุงข้าวเหนียวดำ คือ หมาก 9 คำ ดอกไม้ 9 ดอก เทียน 1 เล่ม ธูป 3 ดอก สายสิญจน์ หนังเสือ หนังหมี เอาวางไว้ที่หน้าเครื่องบูชา การเสกน้ำมันส่วนใหญ่นิยมใช้น้ำมันงาดิบ หรือน้ำมันยางแดงประสมว่าน พระอาจารย์ผู้ประกอบพิธีจะนั่งบริกรรมพระคาถาจนน้ำมันแห้งเป็นขี้ผึ้ง เรียกว่า "พิธีตั้งมัน"
    เมื่อเสกจนน้ำมันแห้งแล้ว พระอาจารย์จะทำพิธีป้อนน้ำมันให้สานุศิษย์แบบเดียวกับพิธีป้อนข้าวเหนียวดำ คือ ผู้ที่จะกินมันต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่เคยผิดศีลข้อกาเมมาก่อน ถ้าบุคคลใดไม่บริสุทธิ์ ต้องให้พระอาจารย์ทำพิธี "บริสุทธิ์ตัว" คือ "สะเดาะ" เสียก่อน เสร็จแล้วก็ทำเช่นเดียวกับกินข้าวเหนียวดำ โดยพระอาจารย์ ผู้ประกอบพิธีจะป้อนน้ำมันให้กิน 3 ช้อน แต่ละช้อนมีขมิ้นอ้อย 1 ชิ้น เมื่อกินช้อนที่ 3 หมด พระอาจารย์จะตักน้ำมันมาทาบบนฝ่ามือทั้ง 2 ของศิษย์ แล้วเขียนตัวอักขระตัว "นะโม" ข้างละ 1 ตัว จับมือศิษย์ทั้ง 2 ประกบกันละเลงให้น้ำมันทั่วฝ่ามือ แล้วนำไปทาบนหลังเท้าทั้ง 2 ข้าง ข้างละมือ พร้อมกับพระอาจารย์จะปลุกเสกคาถากำกับไปด้วย ต่อจากนั้นใช้มือลูบขึ้นและลูบลงเช่นเดียวกับการกินข้าวเหนียวดำ เสร็จแล้วมือซ้ายของอาจารย์จะกดมือทั้ง 2 ไว้หัวแม่มือขวาสะกดสะดือศิษย์ไว้ เช่นเดียวกับการกินข้างเหนียวดำ เพื่อเป็นการผูกอาคม เป็นอันเสร็จพิธีการกินน้ำมันงาดิบ
    คุณค่าการกินน้ำมันงาดิบของสำนักวัดเขาอ้อ เชื่อกันว่ามีคุณค่าทางด้านอยู่ยงคงกะพัน มีเมตตามหานิยม แต่มีข้อห้ามไว้ว่า ถ้าผิดลูกเมียผู้อื่นเมื่อใด น้ำมันที่กินเข้าไปจะไหลออกมาตามขุมขนจนหมดสิ้น และถ้าจะกินน้ำมันใหม่ก็ต้องทำพิธีสะเดาะใหม่อีกครั้ง

    4.พิธีแช่ว่านยา เป็นพิธีกรรมชั้นสูงทางไสยศาสตร์ของสำนักวัดเขาอ้อ การแช่ว่านยา หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ลงไปนอนแช่ในน้ำว่านยาที่ได้ทำพิธีปลุกเสกตามหลักวิชาไสยศาสตร์ จากพระอาจารย์ผู้เรืองอาคม เพื่อประสงค์ให้ตัวเองอยู่ยงคงกระพันชาตรี วัดเขาอ้อจึงได้นามอีกอย่างหนึ่งว่า "วัดพระอาจารย์หลัง" หลายคนเชื่อกันว่าวัดเขาอ้อเป็นต้นตำรับพิธีการแช่ยา ต่อมาเมื่อมีลูกศิษย์มากขึ้น พิธีการนี้ก็แพร่หลายออกไปตามวัดต่างๆ เช่น วัดดอนศาลา วัดบ้านสวน อ.ควนขนุน วัดเขาแดงออก วัดยาง วัดปากสระ อ.เมือง พัทลุง เป็นต้น
    พิธีการแช่ยาที่วัดเขาอ้อ นิยมประกอบพิธีบนไหล่เขาหรือภายในถ้ำฉัตรทันต์ ในราวเดือน 5 เดือน 10 ของทุกๆปี โดยก่อเป็นรูปอ่างน้ำสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือใช้เรือขุดจากไม้ก็ได้ให้มีขนาดพอที่จะให้คนลงไปนอนได้ประมาณ 3-4 คน ส่วนมากไม่มีการกำหนดขนาดที่แน่นอน อ่างน้ำนี้เรียกว่า "รางยา"
    เนื่องจากพิธีกรรมแช่ว่าว่านยาเป็นพิธีใหญ่มาก และเป็นพิธีชั้นสูงของสำนักวัดเขาอ้อและทำได้ยากลำบาก เครื่องบูชาครูจึงต้องมีมากเป็นธรรมดา คือ หัวหมู บายศรีไหญ่ ยอดบายศรี สวมแหวนทองคำหนัก 1 บาท หมากพลู ธูปเทียน ดอกไม้ และมีหนังสือหนังหมี เหล็กกล้า เป็นเครื่องประกอบ


    อ้างอิง เวปพระเครื่องเมืองลุง
     
  10. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    ประวัติพระอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา(นำ แก้วจันทร์)

    ประวัติพระอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา(นำ แก้วจันทร์)

    พระอาจารย์นำ ชินวโร</SPAN> เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือนเก้า (สิงหาคม) พ.ศ.2434 ที่บ้านดอนนูด ตำบลปันแต (บ้านดอนนูดมีอาณาเขาติดต่อกับ 3 ตำบล คือ ตำบลปันแต ตำบลควนขนุน ตำบลมะกอกเหนือ) เป็นบุตรของนายเกลี้ยง นางเอียด แก้วจันทร์ มารดาได้เสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเล็กอยู่ (หลังจากคลอดบุตรหญิงคนสุดท้อง) บิดาเป็นอาจารย์ที่เก่งกล้าทางไสยศาสตร์ ดังนั้นพระอาจารย์นำ จึงได้มีโอกาสศึกษาวิชาทางไสยศาสตร์เบื้องต้นแต่เยาว์วัย นอกจากนั้น บิดายังได้นำไปฝากให้ศึกษาวิชาเวทมนตร์คาถากับพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงมากสมัยนั้น

    พระอาจารย์นำอุปสมบทเมื่ออายุ 20 ปี ณ วัดดอนศาลา มีพระครูอินทรโมฬี วัดปรางหมู่นอก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูดิษฐ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ อยู่ศึกษาวิชาทางธรรมและพระคาถาอาคม ฝึกฝนวิปัสสนากับพระครูสิทธยาภิรัตในระหว่างอุปสมบทได้ 6 พรรษา จึงลาสิกขาแล้วได้สมรสกับนางสาวพุ่ม มีบุตรชาย หญิง ด้วยกัน 4 คนจนกระทั่ง พ.ศ.2506 พระอาจารย์นำ ได้ป่วยหนักจนแทบเอาชีวิตไม่รอด ได้มีลูกศิษย์ของท่านประทับทรงหลวงพ่อที่วัดเขาอ้อ (บ้างก็ว่าท่านฝันเห็นพระอาจารย์ทองเฒ่า) บอกว่าหากจะให้หายป่วยจะต้องบวช ซึ่งท่าน"อาจารย์นำ"ก็รับว่าถ้าหายป่วยแล้วจะบวชทันที ปรากฏว่าอาการป่วยของท่านก็หายเป็นปกติ ดังนั้น"พระอาจารย์นำ"จึงได้อุปสมบทอีกครั้งหนึ่งที่วัดดอนศาลา เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2506 และได้อยู่ในเพศบรรพชิตตลอดมาจนถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2519 รวมอายุได้ 85 ปี ต่อมาในปี 2520 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2520

    อ้างอิง ตั้มศรีวิชัย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 มิถุนายน 2012
  11. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    พระอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา ได้ทำคุณประโยชน์หลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่
    1. การช่วยเหลือราชการปราบปรามโจรผู้ร้าย
    ในสมัยที่ อาจารย์นำ วัดดอนศาลา ยังเป็นฆราวาส พ.ศ.2466 ทางมณฑลนครศรีธรรมราช ได้ส่งพระยาวิชัยประชาบาล ผู้บังคับการตำรวจมณฑลนครศรีธรรมราช ไปปราบโจรผู้ร้ายในจังหวัดพัทลุง ไปตั้งกองปราบที่วัดสุวรรณวิชัย ปรากฏว่าพระอาจารย์นำ ได้เป็นกำลังสำคัญในการนำสืบจับโจรผู้ร้าย ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ในการปราบปรามครั้งนั้นมาก จนสามารถปราบปรามโจรผู้ร้ายได้สงบราบคาบ
    2. การสร้างวัตถุมงคล
    อาจารย์นำ วัดดอนศาลา ได้สร้างเครื่องรางของขลังไว้มาก ทั้งที่สร้างด้วยตัวท่านเองและสร้างร่วมกับคณาจารย์ผู้อื่นเช่น พ.ศ.2483 ร่วมมือกับพระครูสิทธิยาภิรัตน์ (เอียด) สร้างพระมหาว่าน ขาว-ดำ และพระมหายันต์ แจกให้ทหารที่ไปรบในสงครามอินโดจีน พ.ศ.2512 ได้สร้างพระเนื้อผงผสมว่าน จำนวน 4 พิมพ์ พ.ศ.2513 สร้าง พระปิดตาอาจารย์นำ วัดดอนศาลา เป็นพระปิดตาเนื้อชิน ตะกั่ว พ.ศ.2519 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ได้สร้างเหรียญรูปเหมือน พระอาจารย์นำและพระกริ่งทักษิณ ชินวโร ซึ่งเป็นวัตถุมงคลรุ่นสุดท้ายของท่านอาจารย์นำ วัดดอนศาลา นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างตะกรุดและผ้ายันต์ไว้มากมาย วัตถุมงคลเหล่านี้เป็นที่เชื่อถือ ศรัทธา ของประชาชนทั่วไป ในวงการพระเครื่อง แสวงหากันมาก จนปัจจุบันกลายเป็นวัตถุมงคลที่หาได้ยากยิ่งอย่างหนึ่ง
    3. การสร้างอุโบสถ
    อาจารย์นำได้ดำริจะสร้างอุโบสถสำหรับวัดดอนศาลา โดยได้ปรึกษาหารือกับบรรดาศิษย์ และได้รวบรวมเงินจากผู้มีจิตศรัทธา จากการทอดกฐินบ้าง ทอดผ้าป่าบ้าง จึงได้เริ่มสร้างอุโบสถตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ในการดำเนินการก่อสร้างครั้งนี้ พระอุโบสถวัดดอนศาลาสำเร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ ซึ่งเป็นปีที่ท่านถึงแก่มรณภาพ
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จารึกพระปรมาภิไธยย่อ "ภ.ป.ร." ไว้ที่หน้าบันและขอบประตูหน้าต่างอุโบสถทุกบานภายในพระอุโบสถพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นค่าจ้างให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติและทศชาติชาดก ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่พระอาจารย์และชาวจังหวัดพัทลุงเป็นอย่างยิ่ง
    พระอาจารย์นำ เป็นผู้มีจิตเมตตา กรุณา มีอุเบกขา ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ที่พบเห็น ท่านได้ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อสังคมโดยส่วนรวมมากมาย และยังเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ องค์ปัจจุบัน ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ดังจะเห็นได้จาก เมื่อพระอาจารย์นำยังมีชีวิตอยู่ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จและทรงเยี่ยมอาการป่วยของท่าน โปรดประทับอยู่ในกุฏินานถึง 2 ชั่วโมง ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่พระอาจารย์นำเป็นอย่างยิ่ง
     
  12. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    ประวัติ วัดดอนศาลา

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 width=550><TBODY><TR><TD class=styles2 align=left>ประวัติวัดดอนศาลา</TD></TR><TR><TD class=styles1 align=left>วัดดอนศาลา
    การสร้างอุโบสถวัดดอนศาลา พระอาจารย์นำได้ดำริจะสร้างอุโบสถสำหรับวัดดอนศาลา โดยได้ปรึกษาหารือกับบรรดาศิษย์ และรวบรวมเงินผู้มีจิตศรัทธาจากการทอดกฐินบ้าง ทอดผ้าป่าบ้าง จึงได้เริ่มสร้างอุโบสถตั้งแต่ พ.ศ.2513

    อุโบสถวัดดอนศาลาสำเร็จเรียบร้อย เมื่อปี พ.ศ.2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จารึกพระปรมาภิไธยย่อ "ภ.ป.ร." ไว้ที่หน้าบันและขอบประตูหน้าต่างอุโบสถทุกบานภายในอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นค่าจ้างให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติและทศชาติชาดก ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่พระอาจารย์นำ ชินวโร และชาวจังหวัดพัทลุงเป็นอย่างยิ่ง
    พระอาจารย์นำ ชินวโร เป็นผู้มีจิตเมตตากรุณา มีอุเบกขา ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้พบเห็น และได้ช่วยเหลือเกื้อกูลสังคมโดยส่วนรวมอย่างมาก

    พระอาจารย์นำ ชินวโร ได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เวลา 22.00 น. สิริอายุได้ 88 ปี 12 พรรษา และในปีพ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ พระราชทานเพลิงศพ และพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ "ภ.ป.ร." ประทับด้านหลังเหรียญที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ

    สำหรับวัตถุมงคลของพระอาจารย์นำ ชินวโร โดยเฉพาะในเรื่องเหรียญปั๊มรูปเหมือนที่กล่าวว่า เหรียญที่สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2519 เป็นเหรียญปั๊มรูปเหมือน "รุ่นแรก" ของพระอาจารย์นำ ชินวโร ทั้งนี้ เมื่อปี พ.ศ.2513 ทางวัดชิโนรส กรุงเทพมหานคร ได้สร้างเหรียญปั๊มรูปเหมือนพระอาจารย์นำ ชินวโร ขึ้นมา เป็นเหรียญรูปทรงหยักแบบใบสาเก
    ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนพระอาจารย์นำ ชินวโร นั่งสมาธิเต็มรูปอยู่บนอาสนะรองปู ล่างมาเป็นรูปเสือโคร่ง มีอักขระขอมใต้ตัวเสือว่า "พุทโธ" อักษรไทยด้านข้างซ้าย-ขวา ว่า "หลวงพ่อนำ ชินวโร วัดดอนศาลา พัทลุง"
    ด้านหลัง เป็นสูตรยันต์ "นะ" และอักขระขอมว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" ล่างยันต์เป็นอักษร ว่า "รุ่น ๑" และ "13 เม.ย. 13"
    เหรียญนี้พระมหาประดับ ขออนุญาตจัดสร้างขึ้นเพื่อหาทุนปฏิสังขรณ์วัดชิโนรส จำนวนสร้างประมาณ 2,000 เหรียญ

    หากในความนิยมเหรียญปั๊มรูปเหมือน พ.ศ. 2519 ถือว่าเป็นเหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก เนื่องเพราะออกจากวัดดอนศาลาโดยตรง
    เหรียญปั๊มรูปเหมือน พ.ศ. 2519 เป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ มีหูในตัว ขนาดสูงประมาณ 3.3 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร
    ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนพระอาจารย์นำ ชินวโร ครึ่งรูป ห่มจีวรคลุม มีอักษรไทยโดยรอบว่า "พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา พัทลุง อายุ ๘๔ ปี พ.ศ.๒๕๑๙"
    ด้านหลัง เป็นอักขระเลขยันต์
    เหรียญในรุ่นนี้มีจำนวนระบุไว้ว่า เนื้อทองคำ 44 เหรียญ เนื้อเงิน 66 เหรียญ เนื้อเงินพิเศษ 7 เหรียญ เนื้อโลหะบ้านเชียงผสม 20,000 เหรียญ

    อ้างอิง เวปเทศบาลบ้านสวน พัทลุง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. ชัยมโนรมย์

    ชัยมโนรมย์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +96
    เรื่องจริงครับพี่ท่านสวยๆ
     
  14. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    วัตถุมงคลสายเขาอ้อ จังหวัดพัทลุง

    วัตถุมงคลสายเขาอ้อ จังหวัดพัทลุง
    อ้างอิง เวปพระเครื่องเมืองลุง
      
    1.พระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ อ.ควนขนุน
     
    การสร้างวัตถุมงคล
         1.1 ตะกรุด (มีตะกรุด 1 ดอก 3 ดอก 5 ดอก 7 ดอก เป็นต้น)
         1.2 ลูกสะกด
         1.3 ลูกประคำ 
         ฯลฯ
         พระอาจารย์ทองเฒ่า ไม่เคยสร้างพระเครื่องแต่ก็มักจะมีการอ้างว่าท่านได้สร้างพระเครื่องไว้ด้วย
     
  15. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    พระอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ อ.ควนขนุน

    2. พระอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ อ.ควนขนุน
     
    การสร้างวัตถุมงคล
         พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม เป็นศิษย์พระอาจารย์ทองเฒ่า เริ่มสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่ปี พ.ศ.2483-2519 ระยะแรกสร้างที่วัดเขาอ้อ แต่หลังปี พ.ศ.2503 ท่านได้ย้ายไปอยู่ที่วัดดอนศาลา ระยะหลังจึงสร้างที่วัดดอนศาลา วัตถุมงคลที่สร้างมีดังต่อไปนี้
         2.1 พระปิดตามหาลาภ มหาอุด สร้างด้วยโลหะผสม ตะกั่ง เงินยวง ผงมหาว่านเคลือบครั่ง
         2.2 พระกลีบบัว เนื้อโลหะผสม ปรอท เงินยวง
         2.3 พระกลีบบัว เนื้อผงผสมว่าน สร้างที่วัดเขาอ้อ พ.ศ.2500 และ สร้างที่วัดดอนศาลา เมื่อปี พ.ศ.2511
         2.4 เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2519 สร้างด้วยเนื้อเงิน และ ทองแดง
         2.5 ตะกรุดเนื้อตะกั่ว มี 1 ดอก 3 ดอก 5 ดอก 7 ดอก และ 16 ดอก ฯลฯ
         2.6 ลูกอม สร้างด้วยลูกดีควาย ลูกสวาท ลูกอมปรอท เงินยวง ฯลฯ
         2.7 แหวนพิรอด เนื้อโลหะผสม
     
  16. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    หลวงพ่อเอียด วัดดอนศาลา อ.ควนขนุน

    3. หลวงพ่อเอียด วัดดอนศาลา อ.ควนขนุน
     
    การสร้างวัตถุมงคล
         หลวงพ่อเอียด เป็นศิษย์อาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ การสร้างวัตถุมงคลในปี พ.ศ.2483 หลวงพ่อเอียดได้ไปประกอบพิธีจัดสร้างที่วัดเขาอ้อชาวบ้านจึงเรียกว่า "พระเขาอ้อ" วัตถุมลคงที่สร้างไว้มีดังต่อไปนี้
         3.1 พระมหาว่านขาว-ดำ หรือ พระกลีบบัววัดเขาอ้อสร้างด้วยว่านผสมผง
         3.2 พระมหายันต์ หรือ พระปิดตาวัดเขาอ้อ มี 2 แบบ คือ พระปิดตา 2 หน้า กับ พระปิดตาหน้าเดียว สร้างด้วยตะกั่วและเงินยวง
         3.3 พระปิดตามหาลาภ สร้างด้วยเนื้อชันรามโลม
         3.4 ลูกประคำดีควาย ผงมหาว่าน เขาวัว ฯลฯ
         3.5 ลูกสะกด สร้างด้วยตะกั่ว เงินยวง ปรอท ฯลฯ
         3.6 ลูกอม สร้างด้วยชันรามโลม ลูกดีควาย ลูกสวาท ลูกลาน ฯลฯ
         3.7 ตะกรุด สร้างด้วยตะกั่ว มี 1 ดอก 3 ดอก 5 ดอก 7 ดอก 9 ดอก และ 12 ดอก ฯลฯ 
         3.8 แหวนพิรอด เนื้อโลหะผสม
         3.9 หัวมะโม เนื้อโลหะผสม
         3.10 เหรียญพระครูสิทธิยาภิรัต อาจารย์ชุมไชยคีรี สร้างเมื่อ พ.ศ.2498 หลังจากพระครูสิทธิยาภิรัต มรณภาพแล้ว 7 ปี มีทั้งเนื้อทองแดง และ เนื้อเงิน
     
  17. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา อ.ควนขนุน

    4. พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา อ.ควนขนุน
     
    การสร้างวัตถุมงคล
         พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ เป็นศิษย์พระอาจารย์ทองเฒ่าแห่งสำนักวัดเขาอ้อ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ได้สร้างวัตถุมงคลไว้มากมายตั้งแต่ไม่ได้อยู่ในสมณเพศ เมื่อได้อุปสมบทเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เมื่อ พ.ศ.2506 ได้สร้างวัตถุมงคลไว้ดังต่อไปนี้
         4.1 พระปิดตา เนื้อชินตะกั่วผสมเงินยวง สร้างเมื่อ พ.ศ.2510-2518
         4.2 พระกลีบบัว เนื้อผงผสมว่าน สร้างเมื่อ พ.ศ.2512
         4.3 พระพุทธทรงสี่เหลี่ยม เนื้อผลผสมว่าน พ.ศ.2512
         4.4 พระยอดขุนพล เนื้อผงผสมว่าน พ.ศ.2512
         4.5 เหรียญรุ่นแรก สร้างที่วัดชิโนรส กรุงเทพฯ พ.ศ.2513 (รุ่นขี่เสือ)
         4.6 เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก สร้างที่วัดดอนศาลา พ.ศ.2519 เนื้อทองคำ เงิน และ ทองแดง
         4.7 รูปเหมือนลอยองค์ เนื้อนวโลหะ พ.ศ.2519
         4.8 รูปเหมือนบูชา เนื้อนวโลหะ พ.ศ.2519
         4.9 พระกริ่ง เนื้อนวโลหะ พ.ศ.2519
         4.10 เหรียญรูปเหมือน เนื้อทองแดง รุ่น ภปร. ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พ.ศ.2520
         4.11 ตะกรุด ผ้ายันต์ ปลัดขิก ลูกอม แหวนพิรอด ฯลฯ
     
  18. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    หลวงพ่อคล้าย วัดสุนทราวาส อ.ควนขนุน

    5. หลวงพ่อคล้าย วัดสุนทราวาส อ.ควนขนุน

    การสร้างวัตถุมงคล
         หลวงพ่อคล้าย เป็นศิษย์พระอาจารย์ทองเฒ่า สำนักวัดเขาอ้อ ได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลไว้ครั้งเดียว เมื่อ พ.ศ.2483-2484 วัตถุมงคลที่สร้างไว้มีดังนี้
         5.1 พระปิดตามหาอุด เนื้อโลหะผสม สร้างเมื่อ พ.ศ.2483 ในวงการพระเครื่องเล่นหาเป็นพระวัดเขาอ้อ เพื่อหวังผลประโยชน์ทางพุทธพานิชย์
         5.2 แหวนพิรอด เนื้อโลหะผสม วงการพระเครื่องเล่นหาว่าเป็นของวัดเขาอ้อ
         5.3 ลูกอม ลูกสวาท วงการพระเครื่องเล่นหาว่าเป็นของวัดเขาอ้อ
         5.4 ตะกรุด สร้างจากแผ่นตะกั่ว มีตะกรุดโทน 1 ดอก 3 ดอก 5 ดอก 7 ดอก ฯลฯ
     
  19. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    มีท่านไว้นานแล้ว ยังไม่ทราบที่มาที่ไปเลยครับ ไม่ถนัดสายนี้เลย ขอคำแนะนำ จากพี่ Amuletism และ ทุกท่าน ด้วยครับว่าเป็นนางพญาที่ใด ขอบคุณครับ
     
  20. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    เห็นพี่ Amuletism เก็บของอาจารย์นำ สวยๆไว้หลายชิ้น
    น่าจะถึงเวลาที่พี่จะเอาประวัติข้อมูลและวิธีพิจารณา
    มาเล่าให้พวกเราฟังแล้วใช่ไหมครับ :cool:
    เดี๋ยวผมจะหาภาพพระมหาว่านดำ-ขาว
    มาประกอบให้ เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหา
    เพราะของอาจารย์เอียด ราคายังไม่สูงนักครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...