แจ้งให้ทราบจากผู้ดูแลห้อง (28 พ.ค.55) & แจ้งปัญหาหรือข้อร้องเรียนในห้อง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Komodo, 28 พฤษภาคม 2012.

  1. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    เรียนกัลยาณมิตรทุกท่าน

    ผมได้รับมอบหมายจากทางเว็บให้มาช่วยดูแลห้อง "พุทธศาสนา-ธรรมะ" และห้องย่อย 2 ห้อง ดังนั้นผมขอแจ้งแนวทางการดูแลห้องของผมนะครับ

    1. ผมจะพยายามนำเสนอหลักธรรมคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์นะครับ (ขอให้เพื่อนช่วยกันโพสต์ด้วยโดยศึกษาจากกระทู้แนะนำที่ผมทำไว้นะครับ)

    2. การตั้งคำถาม สามารถตั้งกระทู้ได้ แต่ถ้าผมพิจารณาแล้วไม่เหมาะ ผมจะลบทิ้งนะครับ

    3. ขอให้ใช้ปุ่มโมทนาแทนการพิมพ์ว่า อนุโมทนา หรือ สาธุเฉย ๆ นะครับ (ถ้าท่านใดโพสต์ไว้แล้ว ผมจะพยายามลบออกให้นะครับ)

    4. ขอให้ช่วยกันพัฒนาห้องนะครับ หากสมาชิกท่านใดมาป่วน หรือ สร้างความไม่สงบในห้องนี้ ผมจะดำเนินการขั้นเด็ดขาด เพื่อป้องกันมิให้ใครมาก่อกวนคนดี ๆ ในห้องนี้ได้นะครับ

    5. สามารถตั้งคำถามถามผมได้ในกระทู้นี้ครับ

    โมทนา

    Komodo
     
  2. อุปมา

    อุปมา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    อยากรู้ว่าตัวเรา เหมาะกับกรรมฐานแบบไหน ต้องดูอย่างไร ? เพราะกำลังจะเริ่มต้นครับ
     
  3. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ผมไม่ตอบปัญหาธรรมนะครับ เพราะไม่มีปัญญาตอบครับ

    โมทนา
     
  4. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    คุณ อุปมา

    ต้องถามก่อนว่า ที่พูดถึงกรรมฐานนั้น หมายถึงกรรมฐานแบบไหน? สมถะ หรือ วิปัสสนา?

    (อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าบอกว่า ต้องทำทั้ง 2 อย่างควบคู่กัน จะทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้)

    สมถกรรมฐานเป็นไปเพื่อเตรียมจิตให้ตั้งมั่น เพื่อพร้อมต่อการพิจารณาธรรมในขั้นสูงต่อไป

    สมถกรรมฐานนั้น ทำได้หลายแบบ เช่น เพ่งไฟ (เตโชกสิน) เพ่งน้ำ (อาโปกสิน) เพ่งลมหายใจ (อาณาปาณกสิน) ดูท้องพองยุบ ขยับมือขยับแขน เดินจงกรม เพ่งดอกบัว เพ่งช่องว่าง นึกพุทโธๆในใจ เพ่งจิตใจ เพ่งความว่าง ฯลฯ (ที่นิยมทำส่วนใหญ่มี 40 แบบ แต่จริงๆแล้วมากกว่านั้น อะไรก็ได้ที่เป็นหลักยึดให้ใจไม่ฟุ้งซ่านได้ก็ดีทั้งนั้น) แต่จะเลือกแบบไหนขึ้นอยู่กับว่า ทำอย่างไหนแล้วสบายใจ ก็เอาอันนั้นแหละ แต่แนะนำว่า ควรเป็นกรรมฐานที่มีความเกี่ยวข้องกับ ร่างกายหรือจิตใจ เช่น รู้ลมหายใจ ดูท้องพองยุบ ขยับมือขยับแขน เดินจงกรม นึกพุทโธๆในใจ จะต่อยอดไปทำวิปัสสนาได้ง่ายกว่า

    อย่างไรก็ตาม ในตำรา (พระอภิธรรมศึกษา โชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) ได้แบ่งสมถกรรมฐานที่เหมาะสำหรับ จริตนิสัยต่างๆ 6 แบบดังนี้
    การเลือกกรรมฐานให้เหมาะสมกับจริต ต้องพิจารณาว่าอุปนิสัยของของเรามีความโน้มเอียงหรือหนักไปทางใดมากที่สุด มีหลักพิจารณาดังนี้

    1. ราคจริต เป็นประเภท รักสวยรักงาม ยืน เดินละมุน ละไม ไม่รีบร้อน พิถีพิถันแต่งตัวเครื่องประดับ ชอบบริโภคอาหารรสกลมกล่อม ประณีตและหวาน ทำการใดๆก็ไม่รีบ แต่เรียบร้อยมีระเบียบ ควรเจริญ อสุภะ 10 และ กายคตสติ 32

    2. โทสจริต มีนิสัยหนักไปทางโทสะ ใจร้อน หงุดหงิดง่าย อารมณ์รุนแรง ทำการงานสะอาด แต่ไม่ค่อยเรียบร้อยปราณีต ชอบอาหารรสจัด เดินเร็ว ฝีเท้าหนัก ชอบวิวาท ยอมหักไม่ยอมงอ ควรเจริญพรหมวิหาร 4 หรือ วรรณกสิณ4 ได้แ่ก่ กสิณาีแดง ขาว เขียว เหลือง

    3.โมหจริต นิสัยหนักไปทางโมหะ เชื่อคนง่าย ตื่นข่าวลือ งมงาย ไม่กระปรี้กระเปร่า เหม่อลอย ท้อถอย ไม่ค่อยสะอาดเรียบร้อย ชอบเผลอสติ ควรเจริญอานาปานสติ

    4.สัทธาจริต นิสัยนักไปทางศรัทธา เลื่อมใสง่าย ไม่มีมารยาสาไถย เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ครูอาจารย์ ควรเจริญ อนุสสติ 6 ได้แก่
    พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ธัมมานุสสติ ระลึกถึงพระธรรมเป็นมารมณ์ สังฆนุสสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์ สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลเป็นอารมณ์
    จาคานุสสติ ระลึกถึงผลของทานการบริจาคเป็นอารมณ์ เทวตานุสสติ ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์

    5.วิตกจริต นิสัยหนักไปทางวิตกกังวล ย้ำคิด ฟุ้งซ่าน วาดวิมานในอากาศ กลัวล่วงหน้าทั้งที่เหตุการณ์ยังไม่มาถึง ควรเจริญ อานาปานสติ (เช่นเดียวกับโมหะจริต)

    6.พุทธิจริต นิสัยหนักไปทางชอบใช้เหตุผล สติปัญญา ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ชอบศึกษาครุ่นคิด ควรเจริญ มรณานุสติ อุปสมานุสติ (ระลึกถึงความสุขในนิพพานเป็นอารมณ์) จตุธาตุววัฎฐาน และ อาหาเรปฎิกูลสัญญา


    ส่วนวิปัสสนากรรมฐานคือการพิจารณาความเป็นจริงของรูปธรรมนามธรรมที่เรายึดว่าเป็นตัวเราในมุมใดมุมนึงว่า มันเปลี่ยนแปลงไป มันเกิดแล้วก็ต้องดับไป มันไม่อยู่ในอำนาจที่เราจะไปบังคับควบคุมมัน (ไตรลักษณ์) ซึ่งดูรายละเอียดได้ใน สติปัฏฐาน 4 ได้แก่
    1. กายานุปัสสนา หรือ ตามรู้กาย
    2. เวทนานุปัสสนา หรือ ตามรู้ความรู้สึก (สุข ทุกข์ เฉยๆ)
    3. จิตตานุปัสสนา หรือ ตามรู้จิต
    4. ธรรมานุปัสสนา หรือ ตามรู้สภาวธรรม

    ในตำรา (อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร,และพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช) ได้แบ่งวิปัสสนากรรมฐานที่เหมาะสำหรับ จริตนิสัย 2 แบบ คือ

    1. ตัณหาจริต คือ พวกรักสวย รักงาม ชอบความสงบ เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่วุ่นวาย ควรเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของสมถยานิก (เน้นทำสมถะมากกว่าวิปัสสนา) คือ เน้นเจริญวิปัสสนากรรมฐานในหมวด ตามรู้กาย กับ ตามรู้ความรู้สึก

    พวกตัณหาจริตแบบปัญญายังไม่แก่กล้า ให้เริ่มจาก หมวดกายานุปัสสนา เป็นหลัก
    พวกตัณหาจริตแบบปัญญาแก่กล้า ให้เริ่มจาก หมวดเวทนานุปัสสนา เป็นหลัก

    2. ทิฏฐิจริต คือ พวกช่างคิด ฟุ้งซ่าน พวกมีตรรกกะ ช่างพิจารณา ควรเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของวิปัสสนายานิก (เน้นทำวิปัสสนามากกว่าสมถะ) คือ เน้นเจริญวิปัสสนากรรมฐานในหมวด ตามรู้จิต กับ ตามรู้สภาวธรรม

    พวกทิฏฐิจริตแบบปัญญายังไม่แก่กล้า ให้เริ่มจาก หมวดจิตตานุปัสสนา เป็นหลัก
    พวกทิฏฐิจริตแบบปัญญาแก่กล้า ให้เริ่มจาก หมวดธรรมานุปัสสนา เป็นหลัก

    โดยหลักการปฏิบัติธรรมคร่าวๆคือ
    หาเครื่องอยู่ (วิหารธรรม) ที่เป็นสมถกรรมฐาน ไว้อย่าให้จิตฟุ้งซ่านนาน เพราะถ้ามีเครื่องอยู่ของจิตแล้ว เมื่อฟุ้งซ่านไปจิตก็จะรู้สึกตัวและวกกลับมาหาเครื่องอยู่นั้นๆ เมื่อทำอย่างนี้ได้บ่อยๆ จนรู้สึกตัวได้ถี่ขึ้น เรียกได้ว่า จิตใจพร้อมจะเริ่มศึกษาความจริง หรือทำวิปัสสนาแล้ว ให้ฝึกพิจารณา รูปธรรม นามธรรม ในตน ตามหลักของไตรลักษณ์บ่อยๆ จิตก็จะเริ่มขึ้นสู่วิถีวิปัสสนา เมื่อทำอย่างนี้ต่อเนื่อง ไม่เกิน 7 ปีก็จะเห็นผลของการปฏิบัติประจักษ์แก่ใจเรา ตามที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสรับรองไว้
     

แชร์หน้านี้

Loading...