พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.chiangrai.ru.ac.th/%E0%B8...2%E0%B8%95.htm

    · ครั้นแรม ๔ ค่ำศกนั้น พระยาพิษณุโลกได้อาราธนาสมเด็จพระวันรัต พระอาจารย์แก้ว พระภิกษุโตบวชใหม่เข้าไปฉันในจวน เลี้ยงข้าหลวงเสมียนตรา ฝีพายพราหมณ์เสร็จแล้วก็ลงเรือล่องลงมาเป็น ๕ ลำด้วยกัน
    · วันแรม ๖ ค่ำศกนั้น ครั้นถึงวัดนิพพานาราม สมเด็จพระวันรัต พระอาจารย์แก้วได้พาภิกษุโต พระยาพิษณุโลก พระโหราธิบดี เสมียนตราด้วง เฝ้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้าพร้อมกัน กราบเรียนให้ทราบพอสมควร สมเด็จพระสังฆราชเจ้าจึงมอบให้เป็นหน้าที่ของสมเด็จพระวันรัตเป็นอาจารย์สอนและบอกคัมภีร์พระปริยัติธรรมต่อไป ด้วยพระดำรัส
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.chiangrai.ru.ac.th/%E0%B8...2%E0%B8%95.htm

    · ครั้นวัน ๗ ค่ำ เวลา ๓ ทุ่ม พระธรรมกิตติก็ไปถึงท้องพระโรง สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลาฯ เสด็จออกทรงเคารพ แล้วปราศรัยแล้วจุดเทียน พระธรรมกิตติขึ้นธรรมาสน์ ถวายศีล ถวายศักราช ถวายพระพร แล้วจึงเดินคาถาที่ผูกขึ้นว่า วมลธมมสฺส ฯลฯ กสฺมาโส วิโสจตีติ อธิบายความว่า
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.chiangrai.ru.ac.th/%E0%B8...2%E0%B8%95.htm

    · ส่วนสมเด็จพระวันรัต(เซ่ง) จึงเรียกตัวพระเทพกระวี(โต) ไปชำระตามคำอุทธรณ์ พระเทพกระวี(โต) ก็โต้คำอุทธรณ์และตอบสมเด็จพระวันรัตว่า ผมรู้ดีกว่าเจ้าคุณอีก เจ้าคุณได้รู้แต่ว่าเห็นเขาหัวแตกเท่านั้น ไม่รู้ถึงเหตุในกาลเดิมมูลกรณี ผมรู้ดีว่าคุณองค์นั้นได้ตีคุณองค์นั้นก่อน แต่เขาบ่ห่อนจะรู้สึกตัว เขามามัวแต่ถือหัว หัวเขาจึงแตก ฯ
    · สมเด็จพระวันรัต(เซ่ง) ฟังๆ ก็นึกแปลก แยกวินิจฉัยก็ไม่ออก กลับจะเป็นคนถือเอาแต่คำบอก จึงย้อนถามว่า เจ้าคุณเห็นอย่างไรจึงรู้ได้ว่า พระองค์นี้ตีพระองค์นั้นก่อน แจ้งให้ฉันฟังสักหน่อยให้แลเห็นบ้าง จะได้ช่วยกันระงับอธิกรณ์ ฯ
    · พระเทพกระวีว่า พระเดชพระคุณจะมีวิจารณ์ยกขึ้นพิจารณาแล้ว กระผมก็เต็มใจอ้างอิงพยานถวาย พระวันรัตว่า เอาเถอะผมจะตั้งใจฟังเจ้าคุณชี้พยานอ้างอิงมา พระเทพกระวีจึงว่า ผมทราบตามพุทธฎีกา บอกให้ผมทราบว่า นหิเวรานิวูปสัมมันติ ว่าเวรต่อเวรย่อมเป็นเวรกันร่ำไป ถ้าจะระงับเวรเสียด้วยไม่ตอบเวร เวรย่อมระงับ นี่แหละพระพุทธเจ้าบอกผมเป็นพยานกระผมว่าเวรต่อเวร มันจึงทำกันได้ ผมเห็นตามคำพระพุทธเจ้าบอกผมเท่านี้ ผมจึงวิจารณ์พิจารณากล้ากล่าวได้ว่า คุณตีเขาก่อน ฯ
    · สมเด็จพระวันรัต(เซ่ง) ชักงงใหญ่ จะเถียงก็ไม่ขึ้น เพราะท่านอ้างพุทธภาษิตจึงล้มเข้าหาพระเทพกระวี(โต) ว่าถ้ากระนั้นเจ้าคุณต้องระงับอธิกรณ์เรื่องนี้ว่าใครเป็นผู้ผิด ผู้ถูกโทษจะตกกับผู้ใด แล้วแต่เจ้าคุณจะตัดสินเถิด พระเทพกระวีมัดคำพระวันรัตว่าพระเดชพระคุณอนุญาติตามใจผม ผมจะชี้โทษชี้คุณให้ยินยอมพร้อมใจกันทั้งคู่ความทั้งผู้พิพากษาให้อธิกรณ์ระงับได้ ให้เวรระงับด้วย สมเด็จพระวันรัตก็อนุญาติ ฯ
    · พระเทพกระวี(โต) ก็ประเล้าประโลมโน้มน้าวกล่าวธัมมิกถาพรรณาอานิสงฆ์ของผู้ระงับเวร พรรณาโทษของผู้ต่อเวรให้โจทย์จำเลยสลดจิต คิดเห็นบาปบุญคุณโทษ ปราโมทย์เข้าหากัน ท่านจึงแก้ห่อผ้าไตรออกกับเงินอีกสามตำลึง ทำขวัญองค์ที่ศีรษะแตกแยกบทชี้เป็นสามสถาน ผู้ตีตอบเอาเป็นหมวดเวรจักไม่ตีใครต่อไป ถ้าขืนไปตีใครอีกจะลงโทษว่าเป็นผู้ก่อเวรฝืนต่อพระบวรพุทธศาสนา มีโทษหนักฐานละเมิด ฯ
    · ผู้ที่ถูกตีก็ระงับใจไม่อาฆาฏ ไม่มุ่งร้ายต่อก่อเวรอีก ถ้าขืนคดในใจทำหน้าไหว้หลังหลอกเอาฉันเป็นผู้ปกครอง หรือขืนฟ้องร้องกันต่อไป ว่าฉันเอนเอียงไม่เที่ยงธรรมแล้ว จะต้องโทษฐานบังอาจหาผู้ใหญ่ โดยหาความผิดมิได้ ทั้งจะเป็นเสี้ยนหนามต่อพระบวรพุทธศาสนาเป็นโทษใหญ่ร้อนถึงรัฐบาล จะต้องลงอาญาตามรบิลเมือง ฯ
    · ฝ่ายฉันเป็นคนผิดเอาแต่ธุระอื่น ไม่สอดส่องดูแลลูกวัด ไม่คอยชี้แจงสั่งสอนอันเตวาสิก สัทธิงวิหาริก ให้รู้ธรรมรู้วินัย จึงลงโทษตามพระวินัยว่าไม่ควรย่อมเป็นโทษแท้ ขอคดีเรื่องนี้จะเลิกระงับไปตามวินัยนี้ พระถานาที่นั่งฟังทั้งมหาและพระอันดับพระคู่ความ ก็สาธุการเห็นดีพร้อมกันอย่างเย็นใจ พระวันรัต(เซ่ง) ก็เห็นดีสงบเรื่องลงเท่านี้ ฯ
    · ครั้งหนึ่งพระวัดระฆังเต้นด่าท้าทายกันขึ้นอีกคู่ พระเทพกระวี(โต) ท่านเอกเขนกนั่งอยู่นอกกุฏิท่าน ท่านแลเห็นเข้า ทั้งได้ยินพระทะเลาะกันด้วย จึงลุกเข้าไปในกุฏิ จัดดอกไม้ธูปเทียนใส่พานรีบเดินเข้าไปในระหว่างวิวาท ซุดองค์ลงนั่งคุกเข่าไปถวายดอกไม้ธูปเทียนพระคู่นั้นแล้วอ้อนวอนวอนฝากตัวว่า พ่อเจ้าประคุณ พ่อจงคุ้มฉันด้วย ฉันฝากตัวกับพ่อด้วย ฉันเห็นจริงแล้วว่า พ่อเก่งเหลือเกิน เก่งพอได้เก่งแท้แท้ พ่อเจ้าประคุณ ลูกฝากตัวด้วย เลยพระคู่นั้นเลิกทะเลาะกัน มาคุกเข่ากราบพระเทพกระวีๆ ก็คุกเข่ากราบต่อพระ กราบกันอยู่นั่น หมอบกันอยู่นั่นนาน ฯ
    · ครั้งหนึ่งสมเด็จพระยามหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง) นิมนต์เข้าไปเทศน์ที่จวน สมเด็จเจ้าพระยาจุดเทียน พระเทพกวีขึ้นธรรมาสน์ ครั้นรับศีลเสร็จแล้ว พวกหัวเมืองเข้ามาหาสมเด็จเจ้าพระยาหมอกันเป็นแถว ส่วนตัวเจ้าพระยานั้นเอกเขนกรินน้ำชาไขว่ห้างกำลังพระเทศน์ พระเทพกวีเลยเทศน์ว่า สัมมามัวรินกินน้ำชามิจฉาหมอบก้มประนมมือ สมเด็จเลยบาดหูลุกเข้าเรือน ส่วนพระเทพกวีก็ลงจากธรรมาสน์กลับวัดระฆัง ข่าวว่าตึงกันไปนาน ฯ
    · ครั้นสมเด็จพระวันรัต(เซ่ง) ถึงมรณภาพแล้ว พระเทพกวีต้องเป็นผู้ใหญ่นั่งหน้า ครั้งหนึ่งเมื่อมีกิจการฉลองสวดมนต์ในพระบรมมหาราชวัง พระเทพกวีเป็นผู้ชักนำพระราชาคณะอ่อนๆ ลงมา ครั้นสวดเสร็จแล้วยถา พระรับสัพพีแล้วสวดคาถาโมทนาจบแล้ว พระเทพกวี(โต) จึงถวายอดิเรกขึ้นองค์เดียวดังนี้
    อติเรกวสฺสตํ ชีวตุ อติเรกวสฺสตํ ชีวตุ อติเรกวสสฺตํ ชีวตุ ฑีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ สุขิโต โหตุ มหาราชา สิทฺธิกิจฺจำ สิทฺธิกัมมํ สิทฺธิลาโก ชโย นิจฺจํ มหาราชสฺส ภวตุ สพฺพทา ขอถวายพระพรดังนี้
    · สมเด็จพระจอมเกล้าทรงโปรดมาก รับสั่งถามว่า แก้ลัดตัดเติมจะได้บ้างไหม พระเทพกระวี(โต) ถวายพระพรว่าอาตมาภาพได้เปยยาลไว้ในตัวบทคาถา สำหรับสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้าได้ทรงตรอกลง ตามพระบรมราชอัธยาศัยแล้ว สมเด็จพระจอมเกล้าทรงตรอกซ้ำลงตรงฑีฆายุอีกบันทัดหนึ่ง ทรงตรอกลงที่หน้าศัพท์มหาราชสฺสเป็นปรเมนฺ ทรงมหาราชวรสฺส นอกนั้นคงไว้ตามคำพระเทพกระวี(โต) ทุกคำ แล้วตราพระราชบัญญัติประกาศไปทุกๆ พระอารามให้เป็นขนบธรรมเนียม ต้องให้พระราชาคณะผู้นั่งหน้าถวายคาถาอติเรกนี้ก่อน จึงรับภาตุสัพฯ จึงถวายพรลาออกจากพระที่นั่งได้ ตลอดจนการพระเมรุ การถวายพระกฐินทานตามพระอารามหลวง ต้องมีพระราชาคณะถวายอติเรกนี้ทุกคราวพระราชดำเนิน จึงเป็นราชประเพณีสืบมาจนทุกวันนี้แล ฯ
    · ครั้นถึงปีกุน สัปตศก จุลศักราช ๑๒๒๗ ปี สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสถาปนาพระเทพกระวี(โต) ขึ้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ รับหิรัญบัตรมีถานา ๑0 มีนิตยภัตร ๓๒ บาท ค่าข้าวสาร ๑ บาทต่อเดือน สมเด็จฯ มีชนมายุ ๗๔ พรรษา ๕๖ ได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในปีโสกันต์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโสกันต์คราวนี้มีเขาไกรลาศ รวมที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นราชาคณะ เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังมาได้ ๑๕ ปี จึงได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในปีฉลู สัปตศก จุลศักราช ๑๒๒๗ ปี เป็นปีที่ ๑๕ ในรัชกาลที่ ๔ กรุงเทพพระมหานครแล ฯ
    · ครั้งหนึ่งมีราชการโสกันต์ สังฆการีวางฎีกาว่าย่ำรุ่งถึง แล้วถวายพระพร ถวายชัยมงคลคาถา พระฤกษ์โสกันต์วางฎีกาสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ครั้นได้เวลาย่ำรุ่งตรงท่านก็มาถึง พระมหาปราสาทยังไม่เปิดพระทวารสมเด็จพระพุฒาจารย์ก็มานั่งอยู่บนบันไดพระมหาปราสาทชั้นบน แล้วท่านก็สวดชัยมงคลคาถาชยันโตโพธิยาลั่นอยู่องค์เดียว สามจบแล้ว ท่านก็ไปฉันข้าวต้มที่ทิมสงฆ์ แล้วท่านก็ไปพักจำวัดในโรงม้าต้น ในพระบรมมหาราชวัง ครั้นเวลาสามโมงเช้า เสด็จออกจวนพระฤกษ์ สังฆการีประจุพระราชาคณะประจำที่หมดยังขาดแต่สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์เดียว เที่ยวตามหากันลั่นไปหมด สมเด็จพระจอมทรงกริ้วใหญ่ พวกทนายเลือกสนมใน บอกต่อๆ กันเข้าไปว่าได้เห็นสมเด็จหายเข้าไปในโรงม้าต้นพวกสังฆการีเข้าไปค้นคว้าเอาองค์ท่านมาได้ ช่วยกัรรุนกันดันส่งเข้าไปในพระทวาร ครั้นทอดพระเนตร์เห็นก็กริ้วแหวรับสั่งว่าถอดๆ ไม่ระวังรั้วงานราชการเป็นขุนนางไม่ได้แฉกคืนๆ เร็วๆ เอาชยันโตทีเดียวขรัวโตก็เดินชยันโตจนถึงอาสน์สงฆ์ แล้วนั่งลงเข้าแถวสวด พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงคีบพระเมาฬี พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ใหญ่ก็คีบแลโกนเป็นลำดับไป ครั้นเสด็จแล้วทรงประเคน อังคาสพระสงฆ์แล้วเสด็จเข้าในพระฉาก ฯ
    · ขรัวโตฉันแล้วก็นั่งนิ่ง เสด็จออกเร่งให้ยถา ขรัวโตก็ยถาแต่ไม่ตั้งตาลิปัต เวลานั้นพระธุระมาก มัวหันพระพักตร์ไปรับสั่งราชกิจอื่นๆ พระพุฒาจารย์โต ก็เดินดุ่มๆ รีบออกไปลงเรือข้ามฟาก พอแปรพักตร์มารับสั่งว่าถวายอติเรก จะรีบฯ พระราชาคณะรองๆ ลงมา ก็ไม่มีใครกล้านั่งงันกันไปหมด รับสั่งถามว่า อ้าวสมเด็จหายไปไหน เขาทูลว่าท่านกลับไปแล้ว อ้าวพัดยังอยู่ ชรอยจะทำใจน้อยไม่เอาพัดไป เร็วเอาพัดไปส่งตัวมาถวายอติเรกก่อน สังฆการีรับออกเรือตามร้องเรียกเจ้าคุณขอรับ นิมนต์กลับมาก่อนเอาพัดแฉก ท่านร้องตอบมาว่า พ่อจะมาตั้งสมเด็จกลางแม่น้ำได้หรือ สังฆการีว่ารับสั่งให้หา ท่านก็ข้ามกลับมาเข้าทางประตูต้นสนดุ่มๆ ขึ้นมาบนพระปราสาท แล้วรับสั่งให้ถวายอติเรกเร็วๆ ฯ ทูลว่าขอถวายพระพรถวายไม่ได้ฯ รับสั่งถามว่าทำไมถวายไม่ได้ฯ ทูลว่าขอถวายพระพร เหตุพระราชบัญญัติตราไว้ว่า ให้พระราชาคณะถวายอติเรก บัดนี้อาตมภาพกลายเป็นพระอันดับแล้ว จึงไม่ควรถวายอติเรก ขอถวายพระพรฯ รับสั่งว่า อ้อจริงๆ เอาสิตั้งกันใหม่ กรมวังออกหมายตั้งสมเด็จ บอกวิเสศเลี้ยงพระอีก สังฆการีวางฎีกาเอาพระชุดนี้ก็ได้ วิเศสทำไม่ทันก็ทำแต่น้อยก็ได้เพียง ๕ องค์ ศุภรัตน์เตรียมผ้าไตรตั้งและพระไตรพระชยันโต แล้วเสด็จพวกสังฆการี วางฎีกาพระชุดโสกันต์กำหนดเวลาเลยกลับไม่ได้
    ครั้นเวลา ๕ โมงเสด็จออกทรงประเคน พระฉันแล้ว (ประกาศตั้งสมเด็จ) ทรงประเคนหิรัญบัตร ประเคนไตร บาตร์ ตาลิปัต ย่าม พระชยันโต คราวนี้สมเด็จยกไตรแพรครองกลับเข้ามาอนุโมทนาแล้ว ถวายอติเรก ถวายพระพรลา เป็นอันเสร็จการไปคราวหนึ่ง ฯ
    · ครั้งหนึ่งเข้าไปฉันในพระบรมราชวัง ได้ทรงประเคนไตรแพร ท่านก็นำไตรแพรนั้นเช็ดปากเช็ดมือยุ่งไปหมด รับสั่งทักว่าไตรเขาดีดี เอาไปเช็ดเปรอะหมด ท่านตอบว่าอะไรถวายได้ผ้าเช็ดมือถวายไม่ได้ อาตมภาพก็ต้องเอาผ้าไตรของอาตมาเองเช็ดอาตมาเอง เป็นอันได้บริโภคของทายกแล้ว ไม่เป็นสัทธาเทยยวินิบาต ฯ
    · ครั้งหนึ่งเข้าไปฉันในพระบรมมหาราชวังอีก ถวายเงินองค์ละ ๒0 บาท สมเด็จทำดีใจรวบเงินใส่ย่ามกราว ทรงทักว่าอ้าว พระจับเงินได้หรือ ขอถวายพระพร เงินพระจับไม่ได้ผิดวินัย แต่ขรัวโตชอบ เรื่องแผลงๆ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) องค์นี้ ตั้งแต่เป็นพระธรรมกิตติ มาจนเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ต่อหน้าที่นั่งเสมอๆ มา แต่ก็ทรงอภัย ซ้ำพระราชทานรางวัลอีกด้วย ถึงวันรวบเงินนี้ ก็รางวัลอีก ๓0 บาท รวบใส่ย่ามทันที ครั้นหิ้วคอนย่ามออกมา คนนั้นล้วงบ้าง คนนี้ล้วงบ้าง จนหมดย่ามท่านคุยพึมว่า วันนี้รวยใหญ่ๆ ฯ
    · ครั้นคราวหนึ่งนักองค์ด้วง เจ้าแผ่นดินเขมร กลุ้มพระหทัยมีใบบอกเข้ามากราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดให้เผดียงสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ให้ออกไปแสดงธรรมโปรดนักองค์ด้วง ณ เมืองเขมร คราวนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์ถึงกับบ่นที่วัดระฆังว่า สมเด็จพระนั่งเกล้าก็ไม่ใช่โง่ แต่ว่าใช้ขรัวโตไม่ได้ สมเด็จพระจอมเกล้าฉลาดว่องไวกลับมาได้ใช้ขรัวโต ฯ
    · ครั้นถึงวันกำหนด ท่านก็พาพระถานา ๔ รูป ไปลงเรือสยามูปสดัมถ์ เจ้าพนักงานไปส่งถึงเมืองจันทบุรี แล้วขึ้นเกวียนไปทางเมืองตราด ไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง แขวงเมืองตราดนั้น เป็นตำบลที่มีเสือชุมมาก มันเผ่นเข้าขวางหน้าเกวียน เวลารอนๆ จวนค่ำ คนนำทางหน้าเกวียนจดพลองเล่นตีกับเสือ เจ้าเสือแยกเขี้ยวหื้อใส่รุกขนาบคนถือพลองถอยหลังทุกที จนถึงหน้าเกวียนสมเด็จ คนหน้าเกวียนยกเท้ายันคนถือพลองไว้ไม่ให้ถอย ฯ
    · สมเด็จพระพุฒาจารย์ ท่านเห็นเสือมีอำนาจดุมาก ท่านจึงบอกว่าเสือเขาจะธุระฉันคนเดียวดอกจ๊ะ ฉันจะพูดจาขอทุเลาเสือสักคืนในที่นี้ ครั้นแล้วท่านก็ลงส่งเกวียนส่งคนให้ไปคอยอยู่ข้างหน้า ท่านก็นอนขวางทางเสือเสีย เสือก็นั่งเฝ้าท่านคืนหนึ่ง เสือก็ไปไหนไม่ได้ จะไปไล่คนอื่นก็ไปไม่ได้ต้องเฝ้ายามสมเด็จยันรุ่ง ครั้นเวลาเช้าท่านเชิญเสือให้กลับไป แล้วท่านลาเสือว่า ฉันลาก่อนจ๊ะ เพราะมีราชกิจใช้ให้ไปจ๊ะ ว่าแล้วท่านก็เดินตามเกวียนไปทันกันแล้วท่านเล่าให้พระครูปลัดฟัง (พระครูปลัดคือ พระธรรมถาวรเดี๋ยวนี้) พวกครัวก็หุงต้มเลี้ยงท่าน เลี้ยงกันเสร็จแล้วก็นิมนต์สมเด็จขึ้นเกวียนคนลาก ท่านไม่ชอบวัวควายเทียมเกวียน ฯ
    · ครั้นไปถึงเมืองพระตระบอง ข้าหลวงฝ่ายสยามบอกการเข้าไปถึง กรมเมืองเมืองเขมร กรมเมืองทราบแล้ว นำความทูลนักองค์ด้วงเจ้าเมืองเขมร ๆ เขมรทรงทราบ แล้วสั่งคนนำแคร่ออกไปรับสมเด็จ เข้าไปถึงในวัง กระทำความเคารพปฏิสันฐาน ปราศรัยปรนนิบัติแก่สมเด็จเป็นอันดี แล้วสั่งให้จัดการเลี้ยงดูข้าหลวง และผู้คนที่เชิญสมเด็จมานั้น แล้วให้จัดที่พักที่อยู่ให้ตามสมควร ครั้นเวลาเช้าจัดแจงตั้งธรรมาสน์บอกกล่าวพระยาพระเขมร แล้วเจ้านายฝ่ายเขมรตลอดพ่อค้าคฤหบดีเขมร ให้มาฟังธรรมของสมเด็จจอมปราชญ์สยาม สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามรับสั่งโปรดให้สมเด็จพระพุฒาจารย์มาโปรดเขมร เขมรทั้งหลายต่างก็ยินดีเต็มใจ พร้อมใจกันมาฟังเทศนาสมเด็จทุกตัวคน ฯ
    · ครั้นเพลแล้วก็อาราธนาให้ขึ้นเทศน์ สมเด็จก็เลือกเฟ้นหาธรรมะนำมายกขึ้นแสดงชี้แจงและแปลงแก้ไขเป็นภาษาเขมร ให้พวกเขมรเข้าใจต่อตลอดมา ถึงพระมหากรุณาธิคุณของกรุงสยามด้วย เชื่อมกับสาสนปสาสน์ และพระรัฏฐปสาสน์ ให้กลมเกลียวกลืนกันเทศน์ให้ยึดโยงหยั่งถึงกัน ชักเอาเหตุผลตามชาดกต่างๆ พระสูตรต่างๆ ทางพระวินัยต่างๆ อานิสงษ์สันติภาพ และอานิสงษ์สามัคคีธรรม นำมาปรุงเป็นเทศนากัณฑ์หนึ่ง ครั้นจบลงแล้วนักองค์จันทร์มารดานักองค์ด้วง ได้สละราชบุตร ราชธิดา บูชาธรรม และสักการะด้วยแก้วแหวนเงินทองผ้าผ่อน และขัชชะโภชาหารตระการต่างๆ เขมรนอกนั้นก็เลื่อมใส เห็นจริงตามเทศนาของสมเด็จทุกคน และต่างก็เกิดความเลื่อมใสในองค์เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.chiangrai.ru.ac.th/%E0%B8...2%E0%B8%95.htm

    · สมเด็จพระพุฒาจารย์ จึงได้ฝากนางธิดากุมารี ไว้กับมารดาเจ้านักองค์ด้วงรับมาแต่เจ้ากุมารชายคนเดียว นักองค์ด้วงเจ้าเมืองเขมรจึงจัดการส่งสมเด็จ มีเกวียนส่งเข้ามาจนถึงเมืองตราด เจ้าเมืองตราดจัดเกวียนส่งมาถึงเมืองจันทบุรี เจ้าเมืองจันทบุรีจัดเรือใบเรือเสาส่งเข้ามาถึงกรุงเทพพระมหานครจอดหน้าวัดระฆังทีเดียว ฯ
    · ครั้นรุ่งเช้าสมเด็จพระพุฒาจารย์จึงเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง เสด็จออกรับและทรงสดับรายงาน การที่ไปและไปถึง และเจ้าเขมรยินดีรับรองเลื่อมใส ได้เทศน์โปรดด้วยข้อนั้น นำข้อนั้นเทียบข้อนั้น ให้เจ้าเขมรเข้าใจด้วยนัยอย่างนั้น ลงมติอย่างนั้นตลอดเสนาเขมรทั่วกัน เขมรบูชาธรรมเป็นธรรมพลีบรรณาการมาอย่างนั้นเท่านั้น ของเท่านั้นๆ ให้ทรงถวายโดยละเอียดทุกประการ ฯ
    · สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบรายงานของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) บรรยายถวาย เป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่งนัก ทรงนิยมชมเชยความสามารถของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงทรงยินดีถวายเครื่องกัณฑ์ที่ได้มานั้น จงเป็นสรรพสิทธิของเจ้าคุณทั้งหมด ทั้งทรงปวารณาว่าเจ้าคุณประสงค์สิ่งอะไร พอที่โยมจะอนุญาตได้โยมก็จะถวายแล้วก็เสด็จขึ้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ก็กลับวัดระฆัง ฯ
    · ครั้นหายเหนื่อยสองสามวัน จึงเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง เสด็จออกรับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ขอถวายพระพร ขอพระบรมราชานุญาตที่ดินที่วัดเกตุไชโยเท่านั้นวา ขอพระราชานุญาตสร้างพระใหญ่นั่งหน้าตัก ๘ วาไว้ในอำเภอไชโย ขอให้ทรงพระกรุณารับสั่งเจ้าเมืองกรมการให้วัด ให้มีพระราชลัญจกรประทับ รับสั่งว่าดีแล้ว จึงเป็นแบบที่ต้องขอพระบรมราชานุญาตก่อน ต้องมีบัตรพระราชลัญจกรอนุญาตแล้วจึงเป็นวิสุงคาม ทรงพระกรุณาโปรดมีใบพระบรมราชานุญาต ประทับตราแผ่นดินถวายสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เลยตราพระราชบัญญัติวิสุงคามสีมาต่อไปในคราวนั้นเป็นลำดับมา ฯ
    · สมเด็จจึงจำหน่ายเครื่องกัณฑ์เทศน์จากเมืองเขมรลงเป็นอิฐ เป็นปูน เป็นทราย เป็นค่าแรงงานคน เป็นทุนรองงานขึ้นไปจัดการสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ณ ที่ริมวัดเกตุไชโย เจ้าเมืองกรมการก็มารางวัดที่ตามที่มีท้องตราบังคับ ราชบุรุษทั้งปวงให้สมเด็จนำชี้ที่ สมเด็จก็ชี้หมดทั้งวัด และชี้ที่สร้างพระวิหารวัดเกตุ สำหรับคลุมองค์พระ และชี้ที่ถานสุกะชี ชี้ที่สร้างองค์พระ ราชบุรุษก็วัดตามประสงค์ ชี้ที่โบถ์ด้วย ชี้ที่อุปจารทั้งหมดด้วย รวมเนื้อที่วัดเกตุไชโยมีประมาณแจ้งอยู่ในบัญชีหรดารของหลวงเสร็จแล้ว ฯ
    · เมื่อกำลังสร้างพระใหญ่องค์นี้ พระยานิกรบดินทร์ และอำมาตย์ราชตระกูล ราษฎรพ่อค้าแม่ค้า คฤหบดี และสมเด็จพระจอมเกล้า สมเด็จพระปิ่นเกล้า และแขก ฝรั่ง เขมร ลาว มอญ จีน ก็ได้เข้าส่วนด้วยมากบ้างน้อยบ้าง สร้างอยู่นานเกือบสามปีจึงสำเร็จ จึงได้ถวายวัดไชโยเป็นวัดหลวง พระราชทานนามว่า วัดเกตุไชโย แปลว่า พระธงไชย วัดธงไชย ในอำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง มีอธิบายว่า รถต้องมีธงที่งอนรถ เป็นที่ปรากฏประเทศ เมืองหลวงว่า ราชรัฏฐะต้องมีธงทุกประเทศ ทุกชาติ ทุกภาษา พระศาสนาก็ควรมีธงประกาศให้เทวดา มนุษย์ รู้ว่าประเทศนี้นับถือพระพุทธศาสนา จึงสมมุติพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ เป็นประดุจดังธงไชย ให้ปลิวไปปลิวมาปรากฏทั่วกัน เหตุนั้นเทพยดาผู้มีฤทธิ์จึงเข้าสถิตย์ในองค์พระปฏิมากร จึงได้ศักดิ์สิทธิ์ลือขจรทั่วนานาทิศาภาคย์ คนหมู่มากเส้นสรวงบวงบน ให้คุ้มกันรักษาช่วยทุกข์ร้อนยากจน บางคนบางคราวก็ได้สมมาตร์ปรารถนาจึงมีผู้สักการะบูชามิได้ขาด เป็นด้วยอำนาจสัจจาธิฐานของสมเด็จบรมพิตรพระราชสมภารเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงปณิธานไว้อย่างหนึ่ง เป็นไปด้วยความสัจความจริงที่ดีที่แท้ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านแน่วแน่อยู่ในเมตตา กรุณา หวังว่าจะให้เป็นประโยชน์แล ความสุขสวัสดิมงคลแก่ปัจฉิมชนิกชน แต่บรรดาที่นับถือพระพุทธศาสนา ได้บูชาได้หยั่งน้ำใจแน่วแน่ลงไปถึงคุณพระพุทธเจ้าว่า มีพระคุณแก่สัตว์โลกพ้นประมาณ พระจึงบันดาลเปล่งแสงออกมาด้วยอำนาจเทวดารักษา แสดงอิทธิฤทธิ์ออกรับเส้นสรวงบวงบนของคนที่ตั้งใจมาจริง จึงให้สำเร็จประโยชน์สมคิดทุกสิ่งทุกประการ ฯ
    · แหละในขณะระหว่างการสร้างพระนั้น ท่านได้ขึ้นไปดูแลกิจการต่างๆ อยู่เสมอได้ตั้งพระสมุห์ไว้องค์หนึ่ง ชื่อพระสมุห์จั่น พระสมุห์จั่นได้เล่าให้ใครๆ ฟังอยู่เสมอว่า ได้ถามสมเด็จดูว่า พระโพธิสัตว์นั้นจะรู้จักได้อย่างไร สมเด็จก็ชูแขนของท่านว่าจงคลำดูแขนขรัวโต ครั้นพระสมุห์และใครๆ คลำแขนก็เห็นเป็นกระดูกท่อนเดียว ฯ
    · ครั้งหนึ่งท่านตั้งขรัวตาขุนเณรเป็นพระวัดชีปะขาว เป็นที่พระอุปัชฌาย์ เมื่อแห่จากวัดมาวัดเกตุไชโยแล้ว นั่งพร้อมกันบนอาสน์สงฆ์ สมเด็จเจ้าโตอุ้มไตรเข้าไปกระแทกลงที่ตักขรัวตาขุนเณรแล้วออกวาจาว่า ฉันให้ท่านเป็นอุปัชฌาย์หนาจ๋า พระอื่นก็เศกชยันโตโพธิยา ฯ
    · ขรัวตาทองวัดเกตุไชโยเล่าว่า ท่านได้ทันเห็นสมเด็จฝังตุ่มใหญ่ไว้เหนือพระโตแล้วเอาเงินใส่ไว้ ๑ บาท เอากระเบื้องหน้าวัวปิดหลุมไว้ ครั้งหนึ่งท่านขึ้นไปตรวจงานที่วัดเกตุไชโย ท่านป่าวร้องชาวบ้านมาช่วยกันทำบุญเลี้ยงพระบนศาลา ท่านแจกทานของท่านคนละเหรีญ ฬศ ๑ ในรัชกาลที่ ๔ กับผ้าขาวคนละฝ่ามือจนทั่วกันหมดทุกคน ครั้นตอนสุดที่พระแล้วท่านขึ้นไปที่วัดเกตุไชโย สัปปรุสเอาแคร่คานหามลงไปรับท่าน ครั้นท่านนั่งมาบนแคร่แล้วสองมือเหนี่ยวแคร่ไว้แน่น ปากก็ว่าไปไม่หยุดว่า หามเขาดีดีจ๊ะ อย่าให้เขาตกหนาจ๋า เขาเป็นของหลวงหนาจ๋า ฯ
    · สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านทำแปลกๆ ทำขันๆ พูดแปลกๆ พูดขันๆ แต่พูดทำแล้วแล้วไม่ซ้ำยักร่ำไป ได้ปรากฏทันตาเห็นทันหูได้ยินแจ้วๆ แว่วๆ อยู่จนทุกวันนี้ เมื่อการสร้างพระเสร็จถวายเป็นวัดหลวงแล้ว ทรงรับเข้าทะเบียนแล้ว ท่านอยู่ในกรุงเทพ ท่านก็ไม่มีเวลาว่างเปล่าสักวันเดียว มีผู้คนไปมาหาสู่ไม่ขาดสาย จนท่านต้องนำปัสสาวะสาดกุฏิบ้าง เอาทาหัวบ้างจนหัวเหลือง ต้องมาพักผ่อนอารมณ์ในป่าช้าผีดิบวัดสระเกษ เป็นที่สำราญของท่านมาก จนพวกวัดสระเกษหล่อรูปท่านไว้ ปรากฏจนทุกวันนี้ กุฏิเก่าเขาสร้างถวายท่านหลังหนึ่ง ท่านเขียนภาษิตไว้ในกุฏินี้บทหนึ่งยาวมาก จำได้บ้าง ๒ วรรค ท่านว่า
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.chiangrai.ru.ac.th/%E0%B8...2%E0%B8%95.htm


    (ทั้งสองเรื่องนัยอันนี้ เชิญออกความเห็นเอาเอง)

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    &middot; เมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยายคุ้นท้าวแฟงเก็บตลาดเอาผลกำไรได้มาก แกรู้ว่าในหลวงทรงโปรดผู้ทำบุญสร้างวัด แกจึงสร้างวัดด้วยเงินรายได้ของแก สร้างเป็นวัดไว้ที่ในตรอกแฟง พระนคร ครั้นสร้างวัดแล้ว แกทูลขอพระราชทานนาม ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานนามว่า วัดคณิกาผล แกจึงนิมนต์มหาโตไปเทศน์ฉลอง มหาโตเทศน์ว่า เจ้าภาพคิดเพื่อเหตุเช่นนี้ ทำด้วยผลทุนรอนอย่างนี้ ย่อมได้อานิสงษ์สลึงเฟื้อง เช่นตากับยายฝังเงินเฟื้องไว้ที่สิลารองหน้าบันได เงินสลึงเฟื้องหนีไปเข้าคลังเศรษฐี ไปติดอยู่กับเงินก้อนใหญ่ของเศรษฐี ตาจึงขุดตามรอยที่เงินหนีไปเข้าไปจนถึงบ้านเศรษฐี เศรษฐีจึงห้ามมิให้ขุด ตาก็จะขุดให้ได้ อ้างว่าจะขุดตาม ไอ้น้อยไปหาอ้ายใหญ่ เศรษฐีจึงถามว่าไอ้น้อยคืออะไร ตาก็บอกว่าอ้ายน้อยคือเงินที่เทวดาให้ผสมสลึงเฟื้อง เศรษฐีมั่นใจว่าเงินในคลังมีแต่ก้อนใหญ่ๆ ทั้งนั้น เงินย่อมหามีไม่ จึงท้าตาว่า ถ้าขุดตามได้เงินสลึงเฟื้อง เราจะทำขวัญให้ตาหนักเท่าตัว ถ้าขุดตามไม่ได้จะเอาเรื่องตาฐานเป็นคนร้ายบุกรุก ตาก็ยินยอมเลยขุดต่อไปได้พบเงินสลึงเฟื้อง คลานเข้าไปกอดกับเงินก้อนใหญ่ของเศรษฐีอยู่ เศรษฐีก็ยอมให้ตาปรับตามที่ตกลงกันไว้ ครั้นเอาตัวตาขึ้นชั่ง ก็ได้น้ำหนักเพียงแค่สลึงเฟื้องตามที่เทวดาเคยชั่งให้ ด้วยผลบุญที่ทำไว้น้อยตั้งมูลไว้ผิดฐาน ดังเจ้าของวัดนี้สร้างลงไปจนแล้วเป็นการดี แต่ฐานตั้งไม่ถูกบุญใหญ่ ผลจึงใหญ่ไปไม่ได้คงได้สลึงเฟื้องของเศษบุญเท่านั้น ฯ
    &middot; เจ้าของวัดขัดใจโกรธหน้าแดง แกเกือบจะด่าเสียอีก แต่เกรงเป็นหมิ่นประมาท แกประเคนเครื่องกัณฑ์กระแทกๆ ดังกุกกักใหญ่ แกก็ขึ้นไปเชิญเสด็จทูลกระหม่อมพระ มาประทานธรรมบอกอานิสงษ์บ้างต่ออีกกัณฑ์ ทูลกระหม่อมทรงแสดงถึงจิตของบุคคลที่ทำกุศลว่า ถ้าทำด้วยจิตผ่องใสไม่ขุ่นมัวจะได้ผลมาก ถ้าทำด้วยจิตขุ่นมัวย่อมได้ผลน้อย ดังเช่นสร้างวัดนี้ ด้วยเรื่องขุ่นมัวทั้งนั้น แต่ท่านมหาโตท่านชักนิทานเรื่องทุกคะตะบุรุษที่เคยทำกุศลเศร้าหมองไว้แต่ปุเรชาติ ครั้นมาชาตินี้ได้อัตตภาพเป็นมนุษย์เหมือนเขา แต่ยากจนจึงได้ไปอ้อนวอนขอเงินเทวดาที่ต้นไม้ใหญ่ เทวดารำคาญจึงชั่งตัวบุรุษนั้นแล้วให้เงินตามน้ำหนัก ครั้นจะให้น้อยก็จะว่าแกล้งให้ ครั้นจะให้มากก็ไม่เห็นมีบุญคุณ ควรจะได้มาก เทวดาจึงชั่งตัวให้เขาจะได้สิ้นธุระต่อว่าต่อขาน ชั่งให้ตามน้ำหนักตัวเป็นอันหมดแง่ที่จะค้อนติงต่อว่า เรื่องนี้ในฎีกาพระอภิธรรมพระฎีกาจารย์ท่านแต่งไว้ทำฉากให้พระมหาโตตัดสินบุญรายนี้ ว่าได้ผลแห่งบุญจะอำนวยเพียงเล็กน้อย คือท่านแบ่งผลบุญเป็น ๘ ส่วน คงได้ผลแต่ ๓ ส่วนเหมือนเงิน ๑ บาท แปดเฟื้อง โว่งเว้าหายไปเสีย ๕ เฟื้อง คือ ๕ ส่วน คงได้แต่ ๓ ส่วน นี่ยังดีนักทีเดียว ถ้าเป็นความเห็นของข้าพเจ้าแล้ว คงจะตัดสินให้ได้บุญเพียงสองไพเท่านั้น ในการสร้างวัดด้วยวิธีคิดในใจไว้แต่เดิมเท่านี้ มีดีเท่านี้ เอวัง กมี ฯ

    (เทศน์ ๒ กัณฑ์นี้ ควรผู้สดับคิดวินิจฉัยเอาเอง)

    <O:p> </O:p>
    &middot; อนึ่งในแผ่นดินสมเด็จพระจอมเกล้า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แต่เมื่อครั้งยังเป็นพระเทพกวีได้เคยเทศน์คู่กับพระพิมลธรรม (ถึก) วัดพระเชตุพนเสมอ เป็นคู่เทศน์ที่เผ็ดร้อนถึงอกถึงใจคนฟัง จนความทราบถึงพระกรรณสมเด็จพระจอมเกล้า ทรงนิมนต์เจ้าคุณทั้ง ๒ เข้าไปเทศน์ในพระบรมมหาราชวังครั้งหนึ่ง สมเด็จพระจอมเกล้าทรงติดเงินพระราชทานให้สลึงเฟื้อง พระเทพกระวีไหวทัน หันมาบอกพระพิมลธรรมว่า เจ้าถึกจ๋าเจ้าถึก เจ้าถึกรู้หรือยังฯ พระพิมลธรรมถามว่าจะให้รู้อะไรหนาฯ อ้าวท่านเจ้าถึกยังไม่รู้ตัวโง่จริงๆ แฮะๆ ท่านเจ้าถึกถามรุกใหญ่ว่า จะให้รู้อะไรอีก นอกคอกเปล่าๆ พระเทพกระวีว่า จะนอกคอกทำไม เรามาเทศน์กันวันนี้ในวังมิใช่หรือฯ รับว่าในวังนั่นซีฯ ก็ในวังในคอก ในกำแพงด้วยซ้ำรู้ไหมหละฯ รู้อะไรนะฯ จงรู้เถิดจะบอกให้ว่า ท่านเจ้าถึกนั้นหัวล้านมีศรี ฝ่ายพระเทพกระวีนั้นหัวเหลือง สมเด็จบรมพิตร จึงทรงติดให้สลึงเฟื้องรู้ไหมฯ พอหมดคำ ก็ฮาครืนแน่นคึกบนพระที่นั่ง เลยให้รางวัลองค์ละ ๑0 บาท พ่อจงเอาเงินนี้มาแบ่ง จงจัดแจงให้เข้าใจ พ่อถึกหัวล้าน พ่อโตหัวเหลือง เป็นหัวละเฟื้องสองไพฯ ได้อีกฮา ได้องค์ละ ๑0 บาท คราวนี้เจ้าจอมคึกคักกันแซ่ คุณเฒ่าคุณแก่ยิงเหงือกยิงฟันอ้าปากกันหวอไปหมด สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ก็ทรงพระสรวล แล้วถวายพระธรรมเทศนาปุจฉา วิสัชนาสืบไปจนจบ ฯ
    &middot; ครั้งหนึ่งเมื่อยังเป็นพระเทพกระวี ได้เข้าไปฉันบนพระที่นั่งแล้วยถาจบ สมเด็จพระจอมเกล้า ทรงสัพพยอกว่า ทำไมจึงไปให้เปรตเสียหมด คนผู้ที่ทำจะไม่ให้บ้างหรือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ยถาใหม่ว่า ยถาวาริ วหา ปุราปริ ปุเรนฺติสาครํ เอวเมวอิโตทินนํ ทายกานํ ทายิกานํ สพฺเพสํ อุปกปฺปติ ฯ รับสั่งว่า ยถาอุตตริ สัพพิอุตตรอย แล้วทรงรางวัล ๖ บาท สมเด็จเข้าวังทีใด อะไรมิอะไรก็ขยายให้เป็นที่พอพระราชหฤทัย ได้รางวัลทุกคราว ฯ
    &middot; การจะนิมนต์สมเด็จไปเทศน์ ถ้ากำหนดเวลาท่านไม่รับ ถ้าไม่กำหนดเวลาท่านรับทุกแห่ง ตามแต่ท่านจะไปถึง คราวหนึ่งเขานิมนต์ท่านไปเทศน์ที่วัดหนึ่งในคลองมอญ สมเด็จไปถึงแต่เช้า เจ้าภาพเลยต้องจัดให้มีเทศน์พิเศษขึ้นอีกกัณฑ์หนึ่ง เพราะกำหนดเอาไว้ว่าจะมีเทศน์คู่ตอนฉันเพลแล้ว เมื่อสมเด็จไปถึงก่อนเวลาเลยต้องนิมนต์ให้เทศน์เป็นพิเศษเสียก่อนกัณฑ์หนึ่ง พอ ๔ โมงกว่า พระพิมลธรรม (ถึก) คู่เทศน์ก็ไปถึง สมเด็จก็หยุดลงฉันเพล ครั้นฉันแล้วก็ขึ้นเทศน์ สมเด็จถามท่านเจ้าถึก ท่านเจ้าถึกติดเลยนิ่ง สมเด็จบอกกล่าวสัปปรุสว่า ดูนะดูเถิดจ๊ะ ท่านเจ้าถึกเขาอิจฉาฉัน เขาเห็นฉันเทศน์ ๒ กัณฑ์ เขาเทศน์ยังมิได้สักกัณฑ์เขาจึงอิจฉาฉัน ฉันถามเขา เขาจึงไม่พูด ถามไม่ตอบนั่งอม... ได้ยินว่าทายกเขาจัดเครื่องกัณฑ์ให้ท่านเจ้าถึกได้เท่ากับ ๒ กัณฑ์ เครื่องเท่ากันแล้ว ท่านเจ้าถึกจึงถามบ้างว่า เจ้าคุณโทโสเป็นกิเลสสำคัญ พาเอาเจ้าของต้องเสียทรัพย์ เสียชื่อเสียง เงินทอง เสียน้องเสียพี่ เสียที่เสียทาง เสียอย่างเสียธรรมเนียม เสียเหลี่ยมเสียแต้ม ก็เพราะลุแก่อำนาจโทโส ให้โทษให้ทุกข์แก่เจ้าของมากนัก ก็ลักษณะแรกโทโสจะเกิดขึ้น เกิดตรงที่ไหนก่อนนะขอรับ ขอให้แก้ให้ขาว ฯ
    &middot; สมเด็จนั่งหลับกรนเสียด้วย ทำเป็นไม่ได้ยินคำถาม ท่านเจ้าถึกก็ถามซ้ำอีก ๒-๓ ครั้ง สมเด็จก็นั่งเฉย ท่านเจ้าถึกชักฉิวตวาดแหวออกมาว่า ถามแล้วไม่ฟังนั่งหลับใน ท่านเจ้าถึกตวาดซ้ำไป สมเด็จตกใจตื่นแล้วด่าออกไปด้วยว่า อ้ายเปรต อ้ายกาก อ้ายห่า อ้ายถึกกวนคนหลับ ฯ
    &middot; ท่านเจ้าถึกมีพื้นฉิวอยู่ก่อนแล้ว ครั้นถูกด่าเสียเกียรติในที่ประชุมชนเช่นนั้น ก็ชักโกรธชักฉิวลืมสังวร จึงจับกระโถนปามาตรงสมเด็จ สมเด็จนั่งภาวนากันตัวอยู่ กระโถนไพล่ไปโดนเสาศาลา กระโถนแตกเปรี้ยงดัง สมเด็จเทศน์ผสมซ้ำแก้ลักษณะโทโสว่า สัปปรุสดูซิเห็นไหมๆ เจ้าคุณพิมลธรรมองค์นี้ ท่านดีแต่ชอบคำเพราะๆ แต่พอได้รับเสียงด่า ก็เกิดโทโสโอหัง เพราะอนิฐารมณ์ รูปร่างที่ไม่อยากจะดู มากระทบนัยน์ตา เสียงที่ไม่น่าฟังมากระทบหู กลิ่นที่ไม่น่าดมมากระทบจมูก รสที่ไม่น่ากินมากระทบลิ้น สัมผัสความกระทบถูกมากระทบถึงกาย ความคิดที่ไม่สมคิดผิดหมายมากระทบใจ ให้เป็นมูลมารับเกิดสัมผัสชาเวทนาขึ้นภายใน สำรวมไม่ทันจึงดันออกข้างนอกให้คนอื่นรู้ว่าเขาโกรธ ดังเช่นเจ้าคุณพิมลธรรมเป็นตัวอย่าง ถ้าเขายอท่านว่าพระเดชพระคุณแล้วท่านยิ้ม พอเขาด่าก็โกรธ โทโสเกิดในทวาร ๖ เพราะถูกกระทบกระเทือนสิ่งที่เป็นอนิฐารมณ์ ไม่พอใจ ก็เกิดโกรธ แต่โทโสก็ไม่มีอำนาจกดขี่เจ้าของเลยเว้นแต่เจ้าของโง่ เผลอสติเช่นพระพิมลธรรมถึกนี้ โทโสจึงกดขี่ได้ ถ้าฉลาดแล้วระวังตั้งสติไม่พลุ่มพล่ามโทโสเป็นสหชาติเกิดกับด้วยจิต ไม่ได้ติดอยู่กับใจ ถึงเป็นรากเง่าเค้ามูลก็จริง แต่เจ้าของไม่นำพา หรือคอยห้ามปรามข่มขู่ไว้โทโสก็ไม่เกิดขึ้นได้ เปรียบเช่นพืชพันธุ์เครื่องเพาะปลูก เจ้าของอย่าเอาไปดอง อย่าเอาไปแช่ อย่าเอาไปหมักในที่ฉำแฉะแล้ว เครื่องพืชพันธุ์เพาะปลูกทั้งปวงไม่ถูกชื้นแล้วงอกไม่ได้ โทโสก็เช่นกัน ถ้าไม่รับให้กระทบถูกแล้ว โทโสก็ไม่เกิดขึ้นได้ ดูแต่ท่านเจ้าถึกเป็นตัวอย่าง ตัวท่านป็นเพศพระ ครั้นท่านขาดสังวร ท่านก็กลายเป็นพระ กระโถนเลยพลอยแตกโพล๊ะ เพราะโทโสของท่าน ท่านรับรองยึดถือทำให้มูลแฉะชื้น จงจำไว้ทุกคนเถิด ฯ
    &middot; มีรายหนึ่งนิมนต์ท่านเจ้าคู่นี้ไปเทศน์ ท่านก็ใส่กันเป็นต้นว่า สมเด็จเจ้าโตท่านเทศน์บอกสัปปรุสว่า รูปไปเทศน์กลางทุ่งนายังมีหมาตัวหนึ่ง เจ้าของเขาเรียกว่า อ้ายถึก อ้ายถึกมันแห้ใส่อาตมา อาตมาไม่มีอะไรจะสู้อ้ายถึก หมา มีแต่หุบบานๆ สู้มันจะหุบบานไม่ใช่อื่นหยาบคายหนาจ๋า คือฉันเอาร่มนี่เอง กางบานแล้วหุบเข้าจ๊ะหุบบานๆๆ แล้วหมาหนี ฯ

    (อันการเทศน์ของท่านวิจิตรพิศดาร จดจำไม่หวาดไม่ไหวขอหยุดที)

    <O:p> </O:p>
    &middot; ครั้งหนึ่งเข้าบิณฑบาตเวรในพระบรมมหาราชวัง พอถึงตรงขันทรง เสื่อกระจูดลื่นแทบขะมำ แต่ท่านหลักดีมีสติสัมปชัญญะมาก ท่านผสมก้มลงจับมุมเสื่อ เต้นตามเสื่อตุ้บตั๊บไป สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงทำพระสุรเสียง โอ่ะ โห่ะๆๆ เจ้าคุณหลักดี เจ้าคุณหลักดีทรงชม ฯ
    &middot; ครั้งหนึ่งไปเทศน์บ้านขุนนางผู้หนึ่ง พอบอกศักราชแล้วคุยขึ้นว่า วันนี้เสียงคล่องเทศน์กุมารก็ได้ ขุนนางผู้นั้นเลยให้เทศน์ทำนองกุมาร ข่าวว่าเพราะดีผู้หญิงชอบ ครั้งหนึ่งเขานิมนต์ไปเทศน์ที่ศาลาบ้านหม้อ อ. บางตะนาวศรี กัณฑ์ชูชก ท่านไปถึงยามสาม เขาไปนอนกันหมด ท่านไปถึงให้คนแจวตีกลองตูมๆ ขึ้นแล้ว ท่านเทศน์ชูชกไปองค์เดียว ชาวบ้านต้องลุกมาฟังท่านยันรุ่ง ฯ
    &middot; ครั้งหนึ่งไปเทศน์ที่ไหนมา บ้านขุนนางอยู่ริมน้ำ เขาตั้งธรรมมาสน์เทศน์ยังไม่มา ท่านจอดเรือถีอคัมภีร์ขึ้นธรรมมาสน์เทศน์ว่า อด อด อด อด ๆ อยู่นานแล้วลงธรรมมาสน์ไป ฯ
    &middot; ครั้งหนึ่งไปทอดกฐินทางอ่างทอง ไปจอดนอนท้ายเกาะใหญ่ ท่านจำวัดบนโบสถ์วัดท่าซุง คนเรือนอนหลับหมด ขโมยล้วงเอาเครื่องกฐินไปหมด ท่านดีใจยิ้มแต้ แล้วกลับลงมาชาวบ้านถามว่า ท่านทอดแล้วหรือ ท่านตอบว่าทอดแล้วจ๊ะ แบ่งบุญให้ด้วย แล้วท่านเลยซื้อหม้อบางตะนาวศรีบรรทุกเต็มลำ ใคนถามว่าเจ้าคุณซื้อหม้อไปทำไมมาก ท่านตอบว่า ไปแจกชาวบางกอกจ๊ะ แล้วแจวลัดเข้าคลองบางลำภูไปออกคลองโอ่งอ่าง คลองสะพานหิน เลยออกไปแม่น้ำแล้วขึ้นวัดระฆัง วันนั้นหวยออก ม หุนหันเชิด คนคอยจับหวยถูกกันมาก แต่กินหู้หมด ท่านแจกหม้อหมดลำ ถ้าบ้านไหนนิมนต์เทศน์ท่านรับ กำหนดเวลาไม่ได้ ที่แห่งหนึ่งเจ้าของเขาหลับแล้ว ท่านไปนั่งเทศน์ที่ประตูบ้านก็มี หัวบันไดบ้านก็มี ฯ
    &middot; อนึ่งการบิณฑบาตไม่ขาด ท่านชอบไปจอดเรือในคลองบางนกแขวก พวกเข้ารีตมาก แล้วท่านออกบิณฑบาตตอนเช้า พวกเข้ารีตเข้าใจว่ามาขอทาน เขาใส่ข้าวสาร หมูดิบ ท่านก็มานั่งเคี้ยวข้าวสาร กับหมูดิบ ฯ
    &middot; บางทีไปเทศน์ทางคลองบางนกแขวก ท่านนอนจำวัดหลับไป พอบ่ายสองโมงตื่น ท่านถามคนแจวเรือว่าเพลหรือยัง เขาเรียนว่าเพลแล้วขอรับ ท่านถามว่าเพลที่ไหนจ๊ะ เขาเรียนว่าเพลที่วัดล่างขอับกระผม ฯ
    ท่านอ้อนวอนเขาว่า พ่อคุ้น พ่ออย่าเห็นกับเหน็ดกับเหนื่อย พ่อช่วยพาฉันไปฉันเพลที่วัดตีกลองเพลสักหน่อยเถอะจ๊ะ นึกว่าช่วยชีวิตฉันไว้ คนเรือแจวกลับลงไปอีกสามคุ้งน้ำถึงวัดที่ตีกลอง ท่านขึ้นไปขออนุญาตสมภารเจ้าวัด สมภารยอมปูเสื่อที่หอฉันใกล้กับกลองแล้วคนเรือยกสำรับกับข้าวขึ้นไปประเคนท่าน ท่านก็ฉัน สมภารมาคอยดูแล พระเด็กๆ แอบดู เจ้าพวกเด็กวัดก็กรูเกรียวมาห้อมล้อม บ้างตะโกนบอกกันว่า พระกินข้าวเย็นโว๊ย เด็กบางคนเกรียวเข้าไปบอกผู้ใหญ่ถึงบ้าน เขาพากันออกมา บ้างมีส้มขนมกับข้าว ลูกไม้ก็ออกมาถวายเป็นอันมาก ฉันไม่หวาดไหวเลยเลี้ยงเด็กเลี้ยงคนเรืออิ่มแต้ตามกัน ฯ
    (บางทีท่านเห็นในตติยคัณฐ๊ฎีกา แก้โภชนะมีบาลีว่า
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.chiangrai.ru.ac.th/%E0%B8...2%E0%B8%95.htm


    &middot; สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ไม่พอพระราชหฤทัย ไล่ลงธรรมมาสน์ ไป ไป ไป ไปให้พ้นพระราชอาณาจักร ไม่ให้อยู่ในดินแดนของฟ้า ไปให้พ้น พระเทพกระวีออกจากวังเข้าไปนอนในโบสถ์วัดระฆังออกไม่ได้นาน ใช้บิณฑบาตบนโบสถ์ ลงดินไม่ได้เกรงผิดพระบรมราชโองการ ครั้งถึงคราวถวายพระกฐิน เสด็จมาพบเข้ารับสั่งว่า อ้าวไล่แล้วไม่ให้อยู่ในราชอาณาจักรสยาม ทำไมยังขีนอยู่อีกละ ขอถวายพระพร อาตมาภาพไม่ได้อยู่ในพระราชอาณาจักร อาตมาภาพอาศัยอยู่ในพุทธจักร ตั้งแต่วันมีพระราชโองการ อาตมาภาพไม่ได้ลงดินของมหาบพิตรเลย ก็กินข้าวที่ไหน ไปถานที่ไหน ขอถวายพระพร บิณฑบาตบนโบสถ์นี้ฉัน ถานในกระโถน เทวดาคนนำไปลอยน้ำ รับสั่งว่า โบสถ์นี้ไม่ใช่อาณาจักรสยามหรือ ถวายพระพรว่า โบสถ์เป็นวิสุงคาม เป็นส่วนหนึ่งจากพระราชอาณาจักร กษัตริย์ไม่มีอำนาจขับไล่ได้ ขอถวายพระพร ลงท้าย ขอโทษๆ แล้วทรงถวายกฐิน ครั้นเสร็จการกฐินแล้ว รับสั่งว่าอยู่ในพระราชอาณาจักรสยามได้ แต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

    (เหตุนี้แหละทำให้พระเทพกระวี คิดถวายอติเรก ทั้งเป็นคราวหมดรุ่นพระผู้ใหญ่ด้วย)
    <O:p</O:p

    &middot; ครั้นเป็นสมเด็นพระพุฒาจารย์แล้ว ท่านก็ยิ่งเป็นตลกมากขึ้น คอยไหวพริบในราชการแจจัดขึ้น ยิ่งกว่าเป็นพระเทพกระวี ดูเหมือนคอยแนะนำเป็นปโรหิตทางอ้อมๆ ฯ
    &middot; ครั้งหนึ่งไปสวดมนต์ที่วังกรมเทวาฯ วังเหนือวัดระฆัง พอพายเรือไปถึงท้ายวังเกิดพายุใหญ่ ฝนตกห่าใหญ่เม็ดฝนโตโต คลื่นก็จัดละลอกก็จัด สมเด็จพระพุฒาจารย์เอาโอต้นเถามาใบหนึ่ง แล้วจุดเทียนติดปากโอแล้วลอยลงไป บอกพระให้คอยดูด้วยว่าเทียนจะดับเมื่อใด พระธรรรมถาวรเล่าว่าเวลานั้นท่านเป็นที่พระครูสังฆวิชัยได้เป็นผู้ตั้งตาคอยตามดู แลเห็นเป็นแต่โอโคลงไปโคลงมา เทียนก็ติดลุกแวบวาบไปจนสุดสายตาเลยหน้าวัดระฆังก็ยังไม่ดับ ฯ
    &middot; และท่านเข้าบ้านแขกบ้านจีน ส่วนใหญ่ๆ เดินได้สบายไม่ต้องเกรงสุนัขที่เขาเลี้ยงนอนขวางทาง ท่านต้องก้มให้สุนัขแล้วยกมือขอทางเจ้าสุนัขว่า ขอดิฉันไปสักทีเถิดจ๊ะแล้วก้มหลีกไป ไม่ข้ามสุนัข จะดุเท่าดุอย่างไร จะเป็นสุนัขฝรั่ง หรือสุนัขไหหลำ ก็ไม่แห้ไม่เห่าท่าน นอนดูท่านทำแต่ตาปริบๆ มองๆ เท่านั้น โดยสุนัขจูที่ปากเปรอะๆ ก็ไม่เห่าไม่ห้ามท่าน ฯ
    &middot; ครั้งหนึ่งสมโภชพระราชวังบนเขามไหสวรรค์ เมืองเพชรบุรี สังฆการีวางฎีกาท่านไปเรือญวณ ๔ แจว ออกทางปากน้ำบ้านแหลม เวลานั้นทะเลเป็นบ้าคลื่นลมจัดมากชาวบ้านในอ่าวบ้านแหลมช่วยกันร้องห้ามว่า เจ้าประคุณอย่าออกไปจะล่มตาย ท่านตอบว่าไปจ๊ะ ไปจ๊ะ ท่านออกยืนหน้าเก๋งเอาพัชนีใบตาลโบกแหวกลมหน้าเรือ ลูกคลื่นโตกว่าเรือท่านมากบังเรือมิดแต่ทางหน้าเรือคลื่นไม่มี ลมก็แหวกทางเท่ากับแจวในลำท้องร่องน้ำเรียบ แต่น้ำข้างๆ กระเซ็นบ้าง เพราะคลื่นข้างเรือทั้งสองโตเป็นตลิ่งทีเดียว พระธรรมถาวรเล่าว่า เวลานั้นท่านเป็นพระครูปลัดไปกับท่านด้วย ได้เห็นน่าอัศจรรย์ใจท่านหายๆ ดูไม่รู้ว่าจะคิดเกาะเกี่ยวอะไร สมเด็จพระพุฒาจารย์ท่านยืนโบกพัดเฉย คนก็แจวเฉยเป็นปกติจนเข้าปากน้ำเมืองเพชร ท่านจึงเข้าเก๋งเอนกายชาวปากอ่าวเมืองเพชรเกรงบารมีสมเด็จท่านมาก ยกมือท่วมๆ หัว สรรเสริญคุณสมบัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ตลอดจนเจ้าคุณนางที่ตามเสด็จคราวนั้นว่าเจ้าพระคุณสำคัญมาก แจวฝ่าคลื่นลมกลางทะเลมาได้ ตลอดปลอดโปร่งปราศจากอุทอันตราย ฯ
    &middot; สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ว่างราชการและว่างเทศนา ท่านก็อุตส่าห์ให้คนโขลกปูนเพชรผสมผงและเผาลาน โขลกกระดาษข่าวเขียนยันต์อาคมต่างๆ โขลกปนกันไป จัดสร้างเป็นพระพิมพ์ผง ฯ
    &middot; ในปีฉลู สัปตศก ๑๒๒๗ ปีนั้นเอง สมเด็จพระปวเรนทราเมศร์มหิศเรศร์รังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบวรราชวัง (วังหน้า) เสด็จสวรรคต ในพระที่นั่งอิศเรศร์ ณ วัน...เดือนยี่ เป็นปีที่ ๑๕ ในรัชกาลที่ ๔ เถลิงราชย์ ได้อุปราชาภิเศก ๑๔ ปี กับ ๓ เดือน พระชนม์ ๕๗ กับ ๔ เดือน ประกอบโกศตั้งบนพระเบญจา ในพระที่นั่งอิศเรศร์ฯ นั้น ฯ
    &middot; สมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานในพระบวรศพ แต่พอเสด็จถึงพระทวารพระที่นั่งนั้น พวกพระสวดพระอภิธรรม ๘ รูป ท่านตกใจเกรงพระบรมเดชานุภาพ ท่านลุกวิ่งหนีเข้าแอบในพระวิสูตร (ม่าน) ที่กั้นพระโกศ ทรงทราบแล้วกริ้วใหญ่ แนวๆ ว่าดูซิ ดูซิ ดูถูกข้า มาเห็นข้าเป็นเสือ เป็นยักษ์ เอาไว้ไม่ได้ต้องให้มันสึกให้หมด รับสั่งแล้วทรงพระอักษรถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ส่งให้พระธรรมเสนา (เนียม) นำลายพระราชหัตถเลขามาถวายสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง ครั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) รับจากสังฆการีมาอ่านดูแล้ว ท่านก็จุดธูป ๓ ดอก แล้วจี้ที่กระดาษที่ว่างๆ ลายพระหัตถ์นั้น ๓ รูป แล้วส่งให้พระธรรมเสนานำมาถวายคืนในเวลานั้น ฯ
    &middot; ครั้นพระธรรมเสนาทูลเกล้าถวาย ทรงทอดพระเนตรเห็นรูกระดาษไหม้ไม่ลามถึงตัวหนังสือ ก็ทรงทราบธรรมปฤษณา จึงรับสั่งว่า อ้อ ท่านให้เราดับราคะ โทษะ โมหะ อันเป็นไฟ ๓ กอง งดที งดที เอาเถอะๆ ถวายท่าน พระธรรมเสนาไปเอาตัวพระสวดมานั่งประจำที่ให้หมด แล้วทรงแนะนำสั่งสอนระเบียบจรรยาในหน้าพระที่นั่งให้พระรู้ระเบียบรับเสด็จแต่นั้นมาจนถึงทุกวันนี้ ฯ
    &middot; ครั้งหนึ่งถึงเดือน ๑๑-๑๒ ลอยกระทงหลวง เสด็จลงประทับบนพระที่นั่งชลังคะพิมาน (ตำหนักแพ) พร้อมด้วยฝ่ายในเป็นอันมาก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แจวเรือข้ามฟากฝ่าริ้วเข้ามา เจ้ากรมเรือดั้งจับเรือแหกทุ่น รับสั่งถามว่าเรือใคร เจ้ากรมกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า เรือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) รับสั่งว่าเอาเข้ามานี่ ครั้นเจ้ากรมเรือดั้งนำเรือสมเด็จฯ เข้าไปถวาย นิมนต์ให้นั่งแล้วรับสั่งว่าไปไหน ทูลขอถวายพระพรตั้งใจมาเฝ้า ทำไมเป็นถึงสมเด็จเจ้าแล้ว เหตุใดต้องแจวเรือเอง เสียเกียรติยศแผ่นดิน ทูลขอถวายพระพรอาตมาภาพทราบว่าเจ้าชีวิตเสวยน้ำเหล้า สมเด็จเจ้าก็ต้องแจวเรือ อ้อ จริง จริง การกินเหล้าเป็นโทษ เป็นมูลเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติยศแผ่นดินใหญ่โตทีเดียว ตั้งแต่วันนี้ไปโยมจะถวายพระคุณเจ้า จักไม่กินเหล้าอีกแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์เลยถวายยถาสัพพี ถวายอติเรก ถวายพระพรลา รับสั่งให้ฝีพายเรือดั้งไปส่งถึงวัดระฆัง ฯ
    &middot; เรื่องราวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) กระทำและเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม ตามที่มีผู้เล่าบอกออกความให้ฟังนั้นหลายร้อยเรื่องได้เลือกดัดจดลงแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านผู้ฟัง จะเป็นหิตานุหิตสาระประโยชน์แก่บุคคลชั้นหลังๆ ที่นับถือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และจะได้ประกอบเกียรติคุณของท่านไว้ให้เป็นที่ระลึกของคนชั้นหลังๆ จะยกขึ้นเล่าให้เป็นเรื่องหลักฐานบ้าง พอเป็นความดำริตามภูมิรู้ ภูมิเรียน ภูมิปัญญาของสุตวาชน สุตะภามะชน ธัมมฑังสิกชน เพื่อผู้แสดงความรู้ ใครเป็นพหูสูตรออกความเห็นเทียบเคียงคัดขึ้น เจรจาโต้ตอบกัน บุคคลที่ใคร่แสดงตนว่าช่างพูด ถ้าหากว่าอ่านหนังสือน้อยเรื่อง หรืออ่านแล้วไม่จำ หรือจำแล้วไม่ตริตรองตาม หรือตริตรองแล้วแต่ไม่มีวิจารณ์ วิจารณ์มีบ้างแต่ไม่มีญาณ เครื่องรู้ผุดขึ้น ก็เป็นพหูสูตรไม่ได้เพราะขาดไร้เครื่องรู้ไม่ดูตำรา เหตุนี้ท่านจึงยกย่องบำรุงตำราไว้มาก สำหรับเป็นเครื่องรู้ เครื่องเห็น เครื่องเทียบ เครื่องทาน เครื่องเรียนต่างๆ ไว้เป็นปริยัติศาสนา แต่เรื่องของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) องค์นี้ไม่มีกวีใดจะเรียบเรียงให้เป็นเรื่องราวเลย เป็นแต่เล่าสู่กันฟังพอหัวเราะแก้รำคาญ คนละคำสองคำ แต่ไม่ใคร่ตลอดเรื่องสักคนเดียว ข้าพเจ้าจึงอุตริอุตส่าห์สืบสาวราวเรื่องของท่านรวบรวมไว้ แล้วนั่งเรียงเป็นตัวร่างเสียคราวหนึ่ง ตรวจสอบอ่านทวนไปมาก็อีกคราวหนึ่ง อ่านทานแล้วขึ้นตัวหมึกนึกรวบรัดเรื่องราวของท่านไว้อีกคราวหนี่งกินเวลาช้านานราวๆ ๒ เดือน ยังจะต้องเสนอเรื่องนี้ต่อเจ้านายใหญ่ๆ ให้ทรงตรวจอีกก็หลายวัน จะต้องขออนุญาตสมุห์กรมพระนครบาลอีกก็หลายวัน ต้องพิมพ์จ้างอีกก็หลายสิบบาท หลายเวลาด้วย ฯ
    &middot; จะขอรวบรัดตัดความเบ็ดเตล็ดของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ออกเสียบ้าง จะบรรยายเรียบเรียงไว้แต่ข้อที่ควรอ่าน ควรฟัง ควรดำริ เป็นคติปัญญาบ้าง แห่งละอันพันละน้อยต่อข้อความหลัง ครั้งในแผ่นดินสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ นั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านได้ประพฤติคุณงามความดี ดำรงตะบะเดชะชื่อเสียงกระเดื่องเฟื่องฟุ้งมาในราชสำนักก็หลายประการ ในสงฆ์สำนักก็หลายประการจนท่านมีคนนับถือลือชาปรากฏ ตลอดสิ้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๔ เมื่อ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓0 เวลายาม ๑ กับ ๑ บาท สิริพระชนม์ ๖๔ เสวยราชสมบัติได้ ๑๗ ปี กับ ๖ เดือน ๑๕ วัน อายุสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้ ๘๑ ปี รับตำแหน่งสมเด็จพระพุฒาจารย์มาได้ ๔ ปี สิ้นรัชกาลที่ ๔ นี้ ฯ
    &middot; ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ คือสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเถลิงราไชยสุริยสมบัติ เป็นบรมกษัตริย์ครอบครองสยามรัฐอาณาจักรในเดือน ๑๒ แรม ๑๒ ค่ำ วันพุธ ปีมะโรง ศกนั้น พึ่งเจริญพระชนม์มายุได้ ๑๕ ปี ๗ เดือน ๙ วัน ฯ
    &middot; สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านจุดเทียนเล่มใหญ่ เข้าไปในบ้านสมเด็จพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) คือสมเด็จพระประสาท ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เอาคัมภีร์หนีบรักแร้ ตาลปัตรทำหางเสือ จุดเทียนเล่มใหญ่เข้าไปที่บ้าน สมเด็จพระประสาทในเวลากลางวันแสกแสก เดินรอบบ้านสมเด็จพระประสาท (คลองสาร) สมเด็จพระประสาทอาราธนาขึ้นบนหอนั่งแล้วว่า โยมไม่สู้มืดนักดอกเจ้าคุณ อนึ่งโยมนี้มีใจแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนาแน่นอนมั่นคงเสมอ อนึ่งโยมทะนุบำรุงแผ่นดินโดยเที่ยงธรรม และตั้งใจประคับประคองสนองพระเดชพระคุณโดยตรงโดยสุจริตคิดถึงชาติและศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นที่ตั้งตรงอยู่เป็นนิตย์ ขอเจ้าคุณอย่าปริวิตกให้ยิ่งกว่าเหตุ นิมนต์กลับได้ ฯ
    &middot; ครั้งหนึ่ง หม่อมชั้นเล็กตัวโปรดของสมเด็จพระปราสาทถึงอนิจกรรมลง สมเด็จพระประสาทรักหม่อมชั้นมาก ถึงกับโสกาไม่ค่อยห่าง จึงใช้ทนายให้ไปอาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังให้ไปเทศน์ดับโศกให้ท่านฟัง ทนายก็ไปอาราธนาว่า พณฯ หัวเจ้าท่านให้อาราธนาพระเดชพระคุณ ไปแสดงธรรมแก้โศกให้ พณฯ ท่านฟังขอรับกระผมในวันนี้ เพลแล้วขอรับกระผม ฯ
    &middot; สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) รับว่าจ๊ะ เรื่องเทศน์แก้โศกนั้น ฉันยินดีเทศน์นักจ๊ะ ฉันจะไปจ๊ะ ครั้นถึงเวลาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ลงเรือกราบสี ไปถึงบ้านสมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์นั่งที่บัญญัติพาสน์
    &middot; ฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ออกรับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ปฏิสันฐาน แล้วจุดเทียน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ขึ้นธรรมมาสน์ ให้ศีลบอกศักราชแล้วถวายพร แล้วเริ่มนิกเขปบทเป็นทำนองเส้นเหล้าในกัณฑ์ชูชกว่า
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.chiangrai.ru.ac.th/%E0%B8...2%E0%B8%95.htm

    &middot; ครั้นเข้าฤดูบวชนาค ท่านก็บวชนาคเสมอทุกวัด มีผู้เลื่อมใสนิมนต์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั่งที่พระอุปัชฌาย์ และท่านได้ประทานบรรพชาอุปสมบทแก่หม่อมเจ้าทัส อันเป็นพระบุตรสุดพระองค์ในพระราชวงศ์ วังกรมหลวงเสนีบริรักษ์ก็ทรงพระผนวชในสำนักสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง หม่อมเจ้าพระทัสพระองค์นี้ ภายหลังได้เป็นพระราชาคณะที่หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ ภายหลังได้เลื่อนขึ้นเป็นหม่อมเจ้าพระธรรมเจดีย์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร หม่อมเจ้าพระธรรมเจดีย์ (ทัส) พระองค์นี้ได้ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ผู้เรียบเรียงเรื่องนี้ด้วย ภายหลังทรงเลื่อนจากพระธรรมเจดีย์ ขึ้นเป็นหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์วัดโพธิ์ (เชตุพน) รับพระสุพรรณปัฎในรัชกาลที่ ๕ กรุงเทพพระมหานคร ฯ
    &middot; ครั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ชราภาพมากแล้ว ท่านไปไหนมา เผอิญปวดปัสสาวะ ท่านออกมาปัสสาวะกรรมหลังเก๋งข้างท้าย แล้วโยงโย่โก้งโค้งข้ามพนักเก๋งเรือกลับเข้าไปในเก๋ง พอถึงกลางพระองค์ จำเพาะคนท้ายทั้ง ๔ ออกแรงกระทุ่มแจวพร้อมกันส่งท้ายเข้า สมเด็จท่านยันไม่อยู่เพราะชราภาพมาก เลยล้มลงไปหน้าโขลกกระดานเรือปากเจ่อ ท่านก็ไม่โกรธไม่ด่า ท่านอุตส่าห์ขยับลอดศีรษะออกจากเก๋งเหลีบวหลังไปว่ากับคนท้ายว่า พ่อจ๋าพ่ออย่าเข้าใจว่าพ่อมีแรงแต่พ่อคนเดียวหนาจ๋า คนอื่นเขาจะมีแรงยิ่งกว่าพ่อก็คงมีจ๊ะ ว่าแล้วก็โยงโย่กลับเข้าเก๋งไปจำวัดอีก คราวนี้หม่อมราชวงศ์เจริญบุตรหม่อมเจ้าทัพในกรมเทวา เป็นศิษย์นั่งหน้าเก๋งไปด้วยจึงได้ยินหม่อมราชวงศ์องค์นี้ภายหลังได้เป็นสามเณร เป็นหม่อมราชวงศ์สามเณรเปรียญ ๖ ประโยค ภายหลังได้อุปสมบทในสำนักหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ ภายหลังเลื่อนเป็นพระราชาคณะที่พระราชพัทธ เจ้าอาวาสวัดท้ายตลาด ภายหลังเลื่อนเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆัง ภายหลังเลื่อนเป็นหม่อมราชวงศ์พระพิมลธรรม ภายหลังเลื่อนเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์วัดระฆัง รับพระสุพรรณปัฎทุกคราวในรัชกาลที่ ๕ ฯ
    &middot; ต่อไปนี้จะได้กลับกล่าวถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) อีกว่า ครั้นถึงปีมะเมีย โทศก จุลศักราช ๑๒๓๒ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลที่ ๕ กรุงเทพฯ ที่บ้านสมเด็จพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) มีการประชุมนักปราชญ์ทุกชาติ ทุกภาษา ล้วนเป็นตัวสำคัญๆ รอบรู้การศาสนาของชาตินั้น ฯ
    &middot; สมเด็จเจ้าพระยา ให้ทนายอาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไปแสดงเผยแผ่ความรู้ในสิ่งที่ถูกที่ชอบด้วยการโลกการธรรม ในพุทธศาสนาอีกภาษาหนึ่งในชาติของสยามไทย ครั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ยินคำอาราธนา จึงรับสั่งว่า ฉันยินดีแสดงนักในข้อเข้าใจ ทนายกลับไปกราบเรียนสมเด็จพระประสาทว่า สมเด็จฯ ที่วัดรับแสดงแล้ว ในเรื่องแสดงให้รู้ความผิดถูกทั้งปวงได้ ฯ
    &middot; พอถึงวันกำหนด สมเด็จฯ ที่วัดระฆังก็ไปถึง นักปราชญ์ทั้งหลายยอมให้นักปราชญ์ของไทยออกความก่อนในที่ประชุมปราชญ์ และขุนนางทั้งปวงก็มาประชุมฟังด้วยสมเด็จพระประสาทจึงอาราธนาสมเด็จฯ ที่วัดระฆังขึ้นบัลลังก์ แล้วนิมนต์ให้สำแดงทีเดียว ฯ
    &middot; สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ออกวาจาสำแดงขึ้นว่า พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พึมทุ้มๆ ครางๆ ไปเท่านี้นาน กล่าวพึมพำสองคำเท่านี้สักชั่วโมงหนึ่ง สมเด็จพระประสาทลุกขึ้นจี้ตะโพกสมเด็จฯ ที่วัด แล้วกระซิบเตือนว่าขยายคำอื่นให้ฟังบ้าง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็เปล่งเสียงดังขึ้นกว่าเดิมอีกชั้นหนึ่งขึ้นเสียงว่า พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา ฯลฯ ว่าอยู่นานสักหนึ่งชั่วโมงอีก สมเด็จพระประสาทลุกขึ้นมาจี้ตะโพก สมเด็จฯ ที่วัดอีก ว่าขยายคำอื่นให้เขาฟังรู้บ้างซิ สมเด็จฯ ที่วัดเลยตะโกนดังกว่าครั้งที่สองขึ้นอีกชั้นหนึ่งว่า พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา อธิบายว่า การของโลกก็ดี การของชาติก็ดี การของศาสนาก็ดี กิจที่จะพึงกระทำต่างๆ ในโลกก็ดี กิจควรกระทำสำหรับข้างหน้าก็ดี กิจควรทำให้สิ้นธุระทั้งปัจจุบันละข้างหน้าก็ดี สำเร็จกิจเรียบร้อยดีงามได้ด้วยกิจพิจารณาเป็นชั้นๆ พิจารณาเป็นเปราะๆ เข้าไปตั้งแต่หยาบๆ และปูนกลางๆ และชั้นสูงชั้นละเอียด พิจารณาให้ประณีตละเมียดเข้าจนถึงที่สุดแห่งเรื่องถึงที่สุดแห่งอาการให้ถึงที่สุดแห่งกรณีให้ถึงที่สุดแห่งวิธีให้ถึงที่สุดแห่งประโยชน์ยืดยาวพิจารณาให้รอบคอบทั่วถึงแล้ว ทุกๆ คนคงจะรู้จักประโยชน์คุณเกื้อกูลตน ตลอดทั้งเมื่อนี้ เมื่อหน้าจะรู้ประโยชน์อย่างยิ่งได้ ก็ต้องอาศัยกิจพิจารณาเลือกเฟ้นคั้นหาของดีของจริงเด่นเห็นชัดปรากฏแก่คน ก็ด้วยการพิจารณาของคนนั่นเอง ถ้าคนใดสติน้อยถ่อยปัญญา พิจารณาเหตุผล เรื่องราวกิจการงาน ของโลก ของธรรม แต่พื้นๆ ก็รู้ได้พื้นๆ ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาเป็นอย่างกลางก็รู้เพียงชั้นกลาง ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาอันละเอียดลึกซึ้ง ในข้อนั้นๆ อย่างสูงสุดไม่หลับหูหลับตา ไม่งมงายแล้ว อาจจะเห็นผลแก่ตน ประจักษ์แท้แก่ตนเอง ดังปริยายมา ทุกประการ จบที ฯ
    &middot; ครั้นจบแล้ว ท่านลงจากบัลลังก์ ก็ไม่มีนักปราชญ์ชาติอื่นๆ ภาษาอื่นๆ มีแขกแลฝรั่งเป็นต้น ก็ไม่อาจออกปากขัดคอคัดค้านถ้อยคำของท่านสักคน อัดอั้นตู้หมด สมเด็จเจ้าพระยาพยักหน้าให้หมู่นักปราชญ์ในชาติทั้งหลายที่มาประชุมคราวนั้นให้ขึ้นบัลลังก์ก็ต่างคนต่างแหยงไม่อาจนำออกแสดงแถลงในที่ประชุมได้ ถึงต่างคนต่างเตรียมเขียนมาก็จริง แต่คำของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ครอบไปหมด จะยักย้ายโวหารหรือจะอ้างเอาศาสดาของตนๆ มาแสดงในที่ประชุมเล่า เรื่องของตัวก็ชักจะเก้อ จะต่ำจะขึ้นเหนือความพิจารณาที่สมเด็จฯ ที่วัดระฆังกล่าวนั้นไม่ได้เลย ลงนั่งพยักหน้าเกี่ยงให้กันขึ้นบัลลังก์ก็ใครก็ไม่อาจขึ้น สมเด็จพระประสาทเองก็ซึมซาบ ได้ดี เห็นจริงตามปริยายของทางพิจารณา รู้ได้ตามชั้นตามภูมิ ตามกาล ตามบุคคลที่ยิ่งและหย่อน อ่อนและกล้า จะรู้ได้ก็ด้วยการพิจารณา ถ้าไม่พิจารณา ก็หาความรู้ไม่ได้เลย ถ้าพิจารณาต่ำ หรือน้อยวันพิจารณาก็มีความรู้น้อยห่างความรู้จริงของสมเด็จฯ ที่วัดทุกประการ วันนั้นก็เป็นอันเลิกประชุมปราชญ์ต่างคนต่างลากลับ ฯ
    &middot; ก็และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) องค์นี้ พูดธรรมสากัจฉากันในที่สภาการต่างๆ ถ้ามีผู้ถาม ถามขึ้นว่า คำที่เรียกกันว่านิพพานๆ นั้น บางคนเป็นนักแปล ก็แปลตามศัพท์ ว่าดับบ้าง ออกจากเครื่องร้อยรัดบ้าง แปลว่า เกิดแล้วไม่ตายบ้าง ตายแล้วไม่มาเกิดบ้าง ดับจากกิเลสบ้าง ดับไม่มีเศษเป็นนิรินทพินาสบ้าง เลยไม่บอกถิ่นฐานเป็นทางเดียวกัน จะยังกันละกันให้ได้ความรู้จักพระนิพพานเป็นเงาๆ หรือรู้รางรางบ้างก็ทั้งยาก จึงพากันหารือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ในเรื่องใคร่รู้จักนิพพาน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านว่า ท่านก็ไม่รู้แห่ง แต่จะช่วยชี้แจงอุปมาเปรียบเทียบให้รู้และเข้าใจเอาเอง ตามเหตุแลผล เทียบเทียมได้บ้างว่านิพพานจะรู้ได้อย่างไร ท่านอุปไมยด้วยหญิงสองคนพี่น้องจ้องคิดปรารภปรารมภ์อยู่แต่การมีผัว อุตส่าห์อาบน้ำทาขมิ้น นุ่งผ้าใหม่ ผัดหน้า หวีผมแปร้ ก็ประสงค์ความรักให้เกิดกับชายผู้แลหน้าจะได้มาสู่ขอเป็นสามีเท่านั้น ครั้นล่วงมาก็สบโชคสบช่องของคนพี่สาวมีผู้มีชื่อมีหน้ามาขอ ได้ตกลงแต่งงานร่วมห้องร่วมหอกันแล้ว หญิงผู้ที่เป็นนางน้องสาวก็มาเยี่ยมแล้วตั้งวิงวอนเซ้าซี้ซักถามว่าพี่จ๋า การที่พี่หลับนอนกับผัวนั้น มีรสมีชาติครึกครื้นสนุกสนานชื่นบานเป็นประการใด จงบอกให้ฉันรู้บ้าง นางพี่สาวก็ไม่รู้แห่งจะนำความรื่นรมย์สมสนิทด้วยสามีนั้น ออกมาตีแผ่เปิดเผยให้น้องสาวสมรู้ตามเห็นตามในความรื่นรมย์แห่งโลกสันนิวาสได้ นางพี่สาวก็ได้แต่บอกว่าน้องมีผัวบ้างน้องก็จะรู้เอง ไม่ต้องถามเอาเรื่องกับพี่หรอก ฯ
    &middot; ครั้นอยู่มาไม่ช้านาน นางผู้เป็นน้องได้สามีแล้วไปหาพี่สาวๆ ถามว่า การหลับนอนรมย์รื่นชื่นใจกับผัวน้องมีความรู้สึกว่าเป็นเช่นไร ลองเล่าบอกออกความให้พี่เข้าใจบ้างซีแม่น้อง นางน้องสาวฉอเลาะตอบพี่สาวทันทีว่า พี่ไม่ต้องเยาะ ไม่ต้องเยาะ และพี่น้องหญิงคู่นั้นก็นั่งสำรวลหัวเราะกันตามฐานที่รู้รสสังวาสเสมอกัน ข้ออุปมานี้ฉันใดก็ดี พระโยคาวจรกุลบุตรมีความมุ่งหมายจะออกจากชาติจากภพ เบื่อหน่ายโลกสันนิวาส เห็นว่าเป็นหม้อต้มหรือเรือนอันไฟไหม้ คิดจะออกจะหนีให้พ้น ก็ทำความพยายามแข็งข้อถกเขมรจะเผ่นข้ามให้พ้นจากหม้อต้มสัตว์ และเรือนไฟไหม้อันลุกลาม ก็เตรียมตัวทำศีลให้บริสุทธิ์ปราศจากโทษเศร้าหมอง ทำสมาธิตั้งใจตรงจงใจทำสัมมะถะกัมมัฎฐาน ทำปัญญาให้เป็นวิปัสสนาญาณอย่างยิ่งยอด ตัดสังโยชน์ให้ขาดเด็ดแล้วด้วยมีดคมกล้า กล่าวคือ โคตรภูญาณ อนุโลมญาณ มรรคญาณ ทำช่องให้เวิ้งว้างเห็นแสงสว่างปรากฏ พระโยคาวจรกุลบุตรก็กำเนิดดวงจิต จิตวางอารมณ์ วางสัญญา วางอุปาทานด้วยเครื่องยึด ทำลายเครื่องกั้นทั้ง ๕ ละวางได้ขาด ประกอบองค์ ๕ คือ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกักคตา ฟอกใจ คราวนี้ใจก็กอปรด้วยวิสุทธิ ๗ เมื่อวิสุทธิ ๗ ประการผุดขึ้นแล้ว พระโยคาวจรกุลบุตรก็มาละวิตก ละวิจารณ์ ละปิติ ละสุข ละเอกักคตา เหลือแต่อุเบกขาญาณดำเนินไปอุเบกขาญาณมีองค์ ๖ ประการ เป็นพื้นมโนธาตุ ก็กลายเป็นอัพยากฤตไม่ติดบุญ ไม่ติดบาป ต่อไปจะยังมีลมหายใจ หรือหมดลมหายใจมโนธาตุก็ตั้งอยู่ตามตำแหน่ง ไม่เข้าสิงในเบญจขันธ์ต่อไป เรียกว่า ธรรมธาตุ บริสุทธิ์จำเพาะตน เรียกว่าพระนิพพาน ท่านผู้ได้ ผู้ถึงท่านรู้กันว่า เป็นเอกันตบรมสุข ไม่ระคนปนด้วยทุกข์ต่อไปท่านไม่ต้องซักถามเซ้าซี้ เช่นหญิงทั้ง ๒ ดังสำแดงมา (จบสากัจฉา) ฯ
    (จงตริตรองตามความเปรียบเทียบแลกอปรธรรมะต่างๆ ตามความแนะนำมาก็จะเห็นพระนิพพานบ้าง)
    &middot; ในปลายปีมะเมีย โทศก นี้มา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มีลายลิขิตแจ้งแก่กรมสังฆการีว่า จะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตยกเป็นกิตติมศักดิ์ ด้วยเหตุชราทุพพลภาพไม่สามารถรับราชการเทศน์แลสวดฉัน ในพระบรมมหาราชวังได้ ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตตกเป็นพระมหาเถรกิตติมศักดิ์ และได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา หม่อมเจ้าพระ (ทัส) ในกรมสมเด็จพระราชวังหลัง ขึ้นเป็นพระราชาคณะรองเจ้าอาวาสพระราชทานพระสุบรรณบัฏ มีราชทินนามว่า หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์มีฐานา ๓ รูป มีนิตยภัตรเดือนละ ๑๖ บาท ค่าข้าวสาร ๑ บาท เป็นผู้ช่วยบัญชากิจการวัดระฆังต่อไป ฯ
    &middot; ฝ่ายสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ตั้งแต่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตปลดชรายกเป็นสมเด็จพระราชาคณะกิตติมศักดิ์แล้ว ท่านก็คลายอิสริยยศ บริวารยศแบกตาลิปัตรเอง พายเรือบิณฑบาตเอง จนเป็นที่คุ้นเคยกับอีกา กาจับป่ากินอาหารกับท่าน จนท่านพูดกับกาที่ประตูอนงคลีลา (ประตูดิน) กาตัวหนึ่งบอกว่าจะไปวัดมหาธาตุ กาตัวหนึ่งว่าจะไปท่าเตียน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ว่า ไปท่าเตียนดีกว่าไปวัดมหาธาตุ เพราะคนเขาทิ้งหัวกุ้งหัวปลาหมักหมมไว้มาก ที่วัดมหาธาตุถึงมีโรงครัวก็จริง แต่ทว่าคนเขาขนเก็บกวาดเสียหมดแล้วจ๊ะ ฯ
    &middot; เวลาจำวัดอยู่ในกุฏิของท่านที่วัดระฆังนั้น เจ้าขโมยเจาะพื้นกุฏิล้วงเอาข้าวของที่วางเกลื่อนไว้ เจ้าขโมยล้วงไม่ถึง ท่านก็ช่วยเอาไม้เขี่ยของนั้นๆ เข้าไปให้ใกล้มือขโมย เจ้าขโมยลักเข็นเรือใต้ถุนกุฏิ ท่านก็เปิดหน้าต่างสอนขโมยว่า เข็นเบาๆ หน่อยจ๊ะ ถ้าดังไปพระท่านได้ยินเข้าท่านจะตีเอาเจ็บเปล่าจ๊ะ เข็นเรือบนแห้ง เขาต้องเอาหมอนรองข้างท้ายให้โด่งก่อนจ๊ะ ถึงจะกลิ้งสะดวกดี เรือก็ไม่ช้ำไม่รั่วจ๊ะเลยเจ้าขโมยเกรงใจไม่เข็นต่อไป ฯ
    &middot; ครั้งเมื่อนางนาคบ้านพระโขนง เขาตายทั้งกลม ปีศาจนางนาคกำเริบ เขาลือกันต่อมาว่า ปีศาจนางนาคมาเป็นรูปคนช่วยผัววิดน้ำเข้านาได้ จนทำให้ชายผู้ผัวมีเมียใหม่ไม่ได้ ปีศาจนางนาคเที่ยวรังควานหลอนหลอก คนเดินเรือในคลองพระโขนงไม่ได้ตั้งแต่เวลาเย็นตะวันรอนๆ ลงไป ต้องแลเห็นปีศาจนางนาคเดินห่มสีบ้าง โหนตัวบนต้นโพธิ์ต้นไทรบ้าง พระสงฆ์ในวัดพระโขนงมันก็ล้อเล่น จนกลางคืนพระภิกษุสามเณรต้องนอนรวมกัน ถ้าปลีกไปนอนองค์เดียวเป็นต้องถูกปีศาจนางนาครบกวน จนเสียงกร็อกแกร๊กอื่นๆ ก็เหมาว่าเป็นปีศาจนางนาคไปหมด จนชั้นนักเลงกลางคืนก็ต้องหยุดเซาลงเพราะกลัวปีศาจนางนาค พวกหมอผีไปทำเป็นผู้มีวิเศษตั้งพิธีผูกมัดเรียกภูตมัน มันก็เข้ามานั่งแลบลิ้นเหลือกตาเอาเจ้าหมอต้องเจ๊งมันมาหลายคนจนพวกแย่งชิงล้วงลักปลอมเป็นนางนาคหลอกลวงเจ้าของบ้าน เจ้าของบ้านกลัวนางนาคเลยมุดหัวเข้ามุ้งขโมยเก็บเอาของไปสบายค่ำลงก็ต้องล้อมต้องนั่งกองกันยันรุ่งก็มี ฯ
    &middot; สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านรู้เหตุปีศาจนางนาคกำเริบเหลือมือหมอท่านจึงลงไปค้างที่วัดมหาบุศในคลองพระโขนง พอค่ำท่านก็ไปนั่งอยู่ปากหลุม แล้วท่านเรียกนางนาคปีศาจขึ้นมาสนทนากัน ฝ่ายปีศาจนางนาคก็ขึ้นมาพูดจาตกลงกันอย่างไรไม่ทราบลงผลท้ายที่สุดท่านได้เจาะเอากระดูกหน้าผากนางนาคที่เขาฝังไว้มาได้ แล้วท่านมานั่งขัดเกลาจนเป็นมัน ท่านนำขึ้นมาวัดระฆัง ท่านลงยันเป็นอักษรไว้ตลอด เจาะเป็นปั้นเหน่งคาดเอว ไปไหนท่านก็เอาติดเอวไปด้วย ปีศาจในพระโขนงก็หายกำเริบซาลง เมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ) ยังเป็นสามเณรอยู่ในกุฏิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นางนาคได้ออกมารบกวน ม.ร.ว.เณรๆ ก็ร้องฟ้องสมเด็จฯ ว่า สีกามากวนเขาเจ้าข้า สีกามากวนเขา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านร้องว่า นางนาคเอ๊ย อย่ารบกวนคุณเณรซี ปีศาจนั้นก็สงบไป นานๆ จึงออกมารบกวน ครั้นท่านชรามากแล้ว ท่านจึงมอบปั้นเหน่งกระดูกหน้าผากนางนาคประทานไว้กับหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ มอบหม่อมราชวงศ์สามเณรเจริญให้ไปอยู่กับหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ด้วยนานๆ นางนาคออกหยอกเย้าหม่อมราชวงศ์สามเณรเจริญ หม่อมราชวงศ์สามเณรเจริญต้องร้องฟ้องหม่อมเจ้าพระพุทธบาทฯ ต้องทรงกริ้วนางนาคว่า เป็นผู้หญิงยิงเรืออย่ามารบกวน คุณเณรจะดูหนังสือหนังหาเสร็จกริ้วแล้วก็เงียบไป (เรื่องนี้สำหรับเจ้านายหม่อมราชวงศ์วังหลังเล่าให้ฟัง) ฯ
    &middot; ส่วนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ตั้งแต่ปลดภาระการวัดการสอนให้หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์แล้ว ส่วนตัวท่านก็ไปตามสบาย กับรีบทำพระพิมพ์ ดูให้คนโขลกปูนเพชร และนั่งพิมพ์ไป บางทีไปเยี่ยมป่าช้าวัดสระเกศ เช้าก็บิณฑบาตได้อะไรก็ฉันไปพลาง บางทีเที่ยวสะพายบาตรไป ใครใส่เวลาไหน ท่านก็ฉันฉลองศรัทธาเวลานั้น บางทีก็ไปนั่งในโลหะปราสาทวัดราชนัดดารามไปคุยกับหลวงพ่อรัตวัดเทพธิดารามบ้างแล้วถูกคอ บางทีไปดูช่างเขียนประวัติของท่านที่ผนังโบสถ์วัดบางขุนพรหมใน ดูให้ช่างก่อๆ พระโต ก่อขึ้นไปจนถึงพระโสณี (ตะโพก) ถึงหน้าขึ้นพระบาท ก็ขึ้นนมัสการพระพุทธบาทเสมอทุกปีจนพวกลพบุรี สระบุรี นับถือเอาน้ำล้างเท้าท่านไปเก็บไว้รักษาฝีดาษดีนัก ถึงฝีจะร้ายแรงดาษตะกั่วก็หาย เด็กๆ ที่ออกฝีไม่มีใครเป็นอันตรายเลย เรื่องฝีดาษเป็นดีมาก จนตลอดมาถึงพระโตวัดเกตุไชโยก็ศักดิ์สิทธิ์ในการรดน้ำมนต์รักษาฝีดาษดี ชาวเมืองอ่างทองนับถือมากจนตราบเท่าทุกวันนี้ ฯ
    &middot; สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ขึ้นนมัสการพระพุทธบาทคราวใด เป็นต้องมีไตรไปพาดที่หัวนาคตีนกระได แล้วนิมนต์พระชักบังสุกุลโยมผู้หญิงของท่านที่เมืองพิจิตรทุกคราว ว่านิมนต์บังสุกุลโยมฉันด้วยจ๊ะ พระจ๋า แล้วเลยไปนมัสการพระฉายเขามันฑกบรรพตด้วย จนกระเหรี่ยงดงนับถือมากเข้าปฏิบัติ ท่านไปกับอาจารย์วัดครุฑ อาจารย์อื่นๆ บ้าง กลับมาแล้วก็มาจำวัดสบายอยู่ ณ วัดบางขุนพรหมในเป็นนิตยกาล ฯ
    &middot; และพระพิมพ์ที่วัดบางขุนพรหมในนั้น เสมียนตราด้วง ขอเอาพิมพ์ของท่านไปพิมพ์ปูนแลผงของเสมียนตราด้วง ทำตามวุฒิของเสมียนตราด้วงเอง ชาวบ้านบางขุนพรหมปฏิบัติอุปฐาก บางทีขึ้นพระบาท หายเข้าไปในเมืองลับแลไม่กลับ คนลือว่าสมเด็จถึงมรณภาพแล้วก็มี ทางราชการเอาโกศขึ้นไป ท่านก็ออกมาจากเมืองลับแล พนักงานคุมโกศต้องเอาโกศเปล่ากลับหลายคราวฯ
    &middot; ครั้นท่านกลับลงมาแล้ว ก็รีบพิมพ์พพระไป ท่านพระยานิกรบดินทร(โต) ได้ถวายทองคำเปลวมา ท่านก็ปิดพระได้สัก ๔0000 กว่า ทองนั้นก็หมด พระพิมพ์ ๘ หมื่น ๔ พันคราวนี้ เดิมตั้งใจจะถวายสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงปิดทองแต่จะได้ถวายหรือไม่ได้ถวายไม่ได้ความปรากฏ พระธรรมถาวรยังเป็นพระครูปลัดก็ไม่รู้ ผู้เรียงจะซักถามให้ได้ความจริงก็เกรงใจ เพราะเกณฑ์ให้ท่านเล่าเรื่องอื่นๆ มามากแล้วฯ
    &middot; ครั้นถึง ณ วันเดือน ๕ ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ ปี เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลที่ ๕ กรุงเทพพระมหานครฯ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ไปดูการก่อพระโตวัดบางขุนพรหมในก็ไปอาพาธด้วยโรคชราภาพ ๑๕ วัน ก็ถึงมรณภาพ บนศาลาใหญ่วักบางขุนพรหมใน ในเวลาปัจจุบันสมัยวันนั้น สิริรวมชนมายุ ๘๔ ปีบริบูรณ์ เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามมาได้ ๒๑ ปีบริบูรณ์ รับตำแหน่งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์มาได้ ๗ ปีบริบูรณ์ ถ้าจะนับปีตามจันทรคติก็ได้ ๘ ปี นับอายุตามจันทรคติก็ได้ ๘๔ ปี เพราะท่านเกิดปีวอก เดือน ๖ วอกรอบที่ ๗ ถึงวอกรอบที่ ๘ เพียงย่างขึ้นเดือน ๕ ท่านก็ถึงมรณภาพคิดขาดหักเดือนตามอายุโหราจารย์ตามสุริยคตินิยม จึงป็นอายุ ๘๔ ปีบริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้แล ฯ
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.chiangrai.ru.ac.th/%E0%B8...2%E0%B8%95.htm

    &middot; คำนวณอายุผู้เรียงเรื่องนี้ได้ ๗ ขวบยังไม่บริบูรณ์ คือหลักเหลือ ๖ ปีกับ ๓ เดือน เวลาที่สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ยังอยู่นั้น ผู้เรียงเรื่องนี้ยังอยู่กับคุณเฒ่าแก่กลิ่น ในตึงแถวเต๊งแถบข้างทิศใต้ ทางออกวัดพระเชตุพน ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน คุณกลิ่นเฒ่าแก่เคยพาขึ้นไปรับพระราชทานเบี้ยจันทร เบี้ยสูรย์ คือเงินสลึงจากพระราชหัตถ์สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็สองคราว ได้เคยฟังเทศน์สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ก็สองคราว ได้เคยเข้านมัสการท่านก็สองคราว ท่านผูกมือให้ที่พระที่นั่งทรงธรรม ยังจำได้ว่ามีต้นกาหลงใหญ่ในพระบรมมหาราชวังฯ
    &middot; ครั้งเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ถึงมรณภาพที่ศาลาใหญ่ ในวัดบางขุนพรหมในแล้วได้รับพระราชทานน้ำสรงศพ ไตรครอง ผ้าขาวเย็บถุง โกศ กลองชนะ อภิรมย์ สนมซ้าย ฝีพาย เรือตั้งบรรทุกศพ เมื่อเจ้านาย ขุนนาง คุณท้าว เฒ่าแก่ พวกอุปฐาก พวกอุบาสิกา ประชาชน ชาวบ้านบางขุนพรหม ปวงพระสงฆ์ สรงน้ำสมเด็จเจ้าโตแล้ว สนมก็กระสันตราสังศพ บรรจุใบโกศไม้ ๑๒ เสร็จแล้วก็ยกลงมาที่ท่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝีพายหลวงพายลงมาตามลำแม่น้ำ เรือตามก็ตามหลายแม่น้ำ ส่งศพกระทั่งถึงหน้าวัดระฆัง สนมเชิญโกศศพขึ้นบนกุฏิสมเด็จฯ อยู่แถบข้างท้ายวัดริมคลองคูวัดระฆัง ตั้งศพบนฐานเบ็ญจาสองชั้นมีอภิรมย์ ๖ คัน มีกลองชนะ ๒๔ จ่าปี จ่ากลองพร้อม มีพระสวดพระอภิธรรม มีเลี้ยงพระ ๓ วัน เป็นของหลวงฯ
    &middot; วันเมื่อศพสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) มาถึงวัดระฆังวันนั้น ผู้คนมาส่งศพรับศพนมัสการศพนั้นแน่นอัดคับคั่ง ทั้งผู้ดี ผู้ไพร่ พลเมืองไทย จีน ลาว มอญ ชาวละครเขมร พราหมณ์ พระสงฆ์ทุกๆ พระอาราม เด็กวัด เด็กบ้าน แน่นไปเต็มวัดระฆัง พระครูปลัดสัมพิพัฒน์(ช้าง) คือพระธรรมถาวรราชาคณะ ที่มีอยู่ ๘๔ ปี มีตัวอยู่ถึงวันเรียงประวัติเรื่องนี้ได้ตักพระพิมพ์แจกชำร่วยแก่บรรดาผู้มาส่งศพ สักการะศพ เคารพศพนั้น แจกทั่วกันคนละองค์สององค์ ท่านประมาณราวสามหมื่นองค์ที่แจกไป และต่อๆ มาก็แจกเรื่อย จนถึงวันพระราชทานเพลิงและยังมีผู้ขอ และแจกให้อีกหลายปีจนพระหมด ๑๕ กระถางมังกร เดี๋นี้จะหาสักครึ่งก็ไม่มี มีแต่จำเพาะตนๆ และปั้นเหน่งซึ่งเป็นกระดูกหน้าผากของนางนาคพระโขนงนั้นตกอยู่กับหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทรน์ ซึ่งได้เลื่อนขึ้นเป็นพระธรรมเจดีย์ ได้เป็นเสด็จอุปัชฌาย์ของผู้เรียงประวัติเรื่องนี้ ภายหลังเลื่อนขึ้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์(ม.จ.ทัศ) ไปคลองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระนคร จึงได้มอบปั้นเหน่งกระดูกหน้าผากนางนาคพระโขนง ให้กรรมสิทธิ์ไว้แก่พระพุทธโฆษาจารย์(ม.ร.ว.เจริญ) เจ้าอาวาสวัดระฆัง แต่ครั้งดำรงตำแหน่งพระพิมลธรรมนั้น (ได้ยินแว่วๆ ว่าปั้นเหน่งนั้นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้ถวาย ฯลฯ แล้ว)

    และสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ถึงมรณภาพแล้ว
    ล่วงมาถึงปีมะเมีย โทศก จุลศักราช ๑๒๙๒ ปี
    พุทธศักราชล่วงได้ ๒๔๒๓ ปี

    รัตนโกสินทรศักราชถึง ๑๔๙ ปี

    อายุรัชกาลที่ ๕ เสวยราชย์ ๔๓ ปี
    รัชกาลที่ ๖ เสวยราชย์ ๑๕ ปี
    รัชกาลที่ ๗ เสวยราชย์ ๖ ปี

    คิดแต่ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ ปี มาถึงปีมะเมีย โทศกนี้ จึงรวมแต่ปีมรณภาพนั้น มาถึงปีมะเมียนี้ได้ ๖๑ ปี กับเศษเดือนวันแลฯ (ได้ลงมือเรียบเรียงแต่วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๓)
    พระธรรมถาวรช้างบอกว่า คำแนะนำกำชับสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) นั้นดังนี้
    ๑. คุณรับเอาฟันของฉันไว้ ดียิ่งกว่า ๑00 ชั่ง ๑000 ชั่ง คุณจะมีความเจริญเอง
    ๒. คุณใคร่มีอายุยาว คุณต้องไหว้คนแก่
    ๓. คุณใคร่ไปสวรรค์ นิพพาน และมีลาภผล คุณหมั่นระลึกนึกถึง
    พุทธ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธํ อรหํ พุทโธ อิติปิโส ภควา นะโม พุทธายะฯ
    ถึงเถรเกษอาจารย์ ผู้วิเศษของเจ้าสามกรมว่าดี ก็ไม่พ้น พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทธํ พุทโธ อรหํ พุทโธฯ

    ต่อแต่นี้ไป จะขอกล่าวถึงเรื่องพระโต และเรื่องวัดบางขุนพรหมใน ตำบลบางขุนพรหม พระนครนี้สักเล็กน้อย พอเป็นที่รู้จักกันไว้บ้าง
    เดิมวัดบางขุนพรหมในนี้ เป็นวัดเก่าแก่นาน แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี หรือจะก่อนนั้นก็ไม่แน่ใจ วัดนี้เป็นวัดกลางสวน อยู่ดอนมาก ใครเป็นผู้สร้างก็ไม่ปรากฏนาม หรือชาวสวนแถวนั้นจะพร้อมใจกันสร้างไว้ คนเก่าเจ้าทิฏฐิในการถือวัด ว่าวัดเราวัดเขา ดังเคยได้ยินมา ก็ไม่สู้แน่ใจนัก แต่เป็นวัดเก่าแก่จริง โบสถ์เดิมเป็นเตาเผาปูนกลายๆ มีกุฏิฝากระแชงอ่อน มีศาลาโกรงเกรง แต่ลานวัดกว้างดี มีต้นไม้ใหญ่มากครึ้มดี มีลมเหนือ ลมตะวันตก ลมตะวันออก พัดโกรกตรงกรองส่งเข้าสู่โบสถ์แลลานวัดเย็นละเอียดดี เมื่อตั้งเป็นราชธานีแล้วในฝั่งนี้ ถึงรัชกาลที่ ๓ กรุงเทพฯ พระองค์เจ้าอินทร์ในพระราชวังบวรได้ทรงพระศรัทธาปฏิสังขรณ์เปลี่ยนแปลงทรงโบสถ์ เป็นรูปท้องพระโรงงามมีผี่งผายอ่าโถงยาว ๕ ห้อง มึมุข ๒ ข้าง ก่ออิฐถือปูนเสร็จและสร้างศาลา ขุดคลอง เหนือใต้วัด หลังวัด หน้าวัดเป็นเขตคันทำกุฏิสงฆ์ซ่อมถานเรียบร้อย ฉลองแล้วทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระกระแสรับสั่งว่า ผู้ที่ถวายตนเข้าเป็นวัดหลวงนั้น จำเพาะเจ้าของเป็นพระยาพานทรง ถ้าเป็นเจ้าต้องได้รับพระราชทานพานทองก่อน จึงถวายจัดเป็นวัดหลวงได้ ซึ่งพระองค์เจ้าอินทร์ก็ยังหาได้รับพระราชทานพานทองไม่ ได้พานทองแล้วจึงควรถวายวัดของเธอเป็นวัดหลวงได้ วัดนี้ก็คงเป็นวัดราษฎร์ วัดเจ้าอินทร์ บางขุนพรหม
    ครั้นถึงปีจอ อัฐศก จุลศักราช ๑๒๘๘ ปี มีราชการสงครามกับเจ้าอนุเวียงจันทน์ พระองค์เจ้าอินทร์เจ้าของวัดบางขุนพรหมนี้ ได้โดยเสด็จกรมพระราชวังบวรฯ ขึ้นไปปราบขบถเมืองเวียงจันทน์ มีชัยชนะกลับมาแล้วได้รับพระราชทานพานทองเป็นบำเหน็จความชอบในสงครามนั้น แล้วพระองค์เจ้าอินทร์จึงทูลเกล้าฯ ถวายวัดนี้เป็นวัดหลวงอีกครั้งหนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตำรวจราชองครักษ์และกรมเมืองมาสำรวจชัยภูมิสถานที่ของวัดนี้ ตลอดถึงทางพระราชดำเนินในการถวายพระกฐินทานด้วย เจ้าพนักงานทำรายงานถวายตลอด แต่ทางพระราชดำเนินนั้นขัดต่อทางราชการหลายประการ เพราะวัดตั้งอยู่กลางสวนทั้ง ๔ ทิศ ไม่สะดวกแก่ข้าราชบริพานที่จะโดยเสด็จ จึงมิได้ทรงรับเข้าบัญชีเป็นวัดหลวง พระองค์เจ้าอินทร์ก็ทรงทอดธุระวัดนั้นเสียไม่นำพา วัดก็ชำรุดทรุดโทรมลงอีก และพระองค์เจ้าอินทร์ก็มาสิ้นพระชนม์ไปด้วยจึงท่านพระเสมียนตราด้วงได้มีศรัทธาสละที่สวนขนัดทางหน้าวัด ตั้งแต่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดขึ้นไปถึงกำแพงวัดแถบหน้าวัดทั้ง ๒ ในปัจจุบันนี้จนจดวัดถวายแป็นที่กัลปนาบ้าง เป็นหน้าวัดบ้าง เป็นสมบัติของวัดบางขุนพรหม ด้วยพระเสมียนตราด้วงนิยมนับถือ ฟังคำสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) จึงได้อุทิศที่บ้านที่สวนออกบูชาแก่พระรัตนตรัยในเนื้อที่ๆ ว่าแล้วนั้น พระเสมียนตราด้วงแลสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) จึงได้ช่วยกันปฏิสังขรณ์วัดบางขุนพรหมในด้วยผลค่าที่กัลปนาตลอดจนมาถึงสร้างพระโต ท่านเสมียนตราด้วงก็ถึงอนิจกรรม สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ก็ถึงมรณภาพ สมภารวัดแลทายกก็ทำโลเลร่องแร่ง ผลประโยชน์ของวัดก็เสื่อมทรามหายไป วัดก็ทรุดโทรมรกรื้อ ภิกษุที่ประจำในวัดก็ล้วนรุ่มร่ามเลอะเทอะเป็นกดมะตอทั้งปทัด
    ครั้นพระมหานครมาสู่ความสะอาดรุ่งเรืองงาม จึงดลพระราชหฤทัยในรัชกาลที่ ๕ นั้น ให้ทรงสถาปนาพระมหานคร ตัดถนนสัญจรให้โล่งริ่วตลอดถึงกัน หลายชั้นหลายทาง ทะลุถึงกันหมดทุกสายทั้ง ๔ ทิศติดต่อกันไป ทางหน้าวัดบางขุนพรหมก็ถูกตัดถนนด้วยช่วยเพิ่มพระบารมีทางริมน้ำก็ถูกแลกเปลี่ยนที่ ทรงสร้างวัดลงตรงที่นั้น ๒ วัง ที่ใหม่ของหลวงที่พระราชทานให้แก่วัดบางขุนพรหมนั้นเดี๋ยวนี้ ก็ได้ยินว่าหายไปไม่ปรากฏแก่วัดบางขุนพรหม และชาวบ้านเหล่านั้นช่วยกันพยุงวัดนี้มาด้วยผลประโยชน์ส่วนตัวบ้าง ผลประโยชน์ของวัดเกิดในกัลปนาบ้างช่วยกันเสริมสร้างพระโตองค์นี้มานานก็ไม่รู้จักจะแล้วได้ ครั้นมาถึงรัชกาลที่ ๗ ในปี พ.ศ.๒๔๗๖ ท่านพระครู เป็นพระธรรมยุติกนิกายมาคิดสถาปนาพระโตองค์นี้เปลี่ยนแปลงเป็นพระยืนห้ามญาติพอเป็นองค์ขึ้นสมมติว่าแล้วนัดให้กันไม่ช้าเท่าไรก็เกิดวิบัติขึ้นแก่ผู้ต้นคิด เพราะผิดทางกำหนดในบทหนังสือปฐม ก กา ว่าขืนรู้ผู้ใหญ่เครื่องไม่เข้าการ เพราะสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) นั้น ท่านประพฤติ กาย วาจา ใจ เป็นผู้ใหญ่แท้ ท่านสร้างพระนั่งตอตะเคียนโปรดยักษ์ พระปรางนี้ไม่มีใครๆ สร้างไว้เลย แต่สยามฝ่ายเหนือลงมาก็หามีผู้สร้างขึ้นไว้ไม่ ท่านจึงคิดตั้งใจและสร้างไว้ให้ครบ ๑0๘ ปาง แต่อายุและโอกาสไม่พอแก่ความคิด พระจึงไม่แล้ว ท่านพระครูมาขืนรู้ ท่านจึงไม่เจริญกลับเป็นคนเสียกล เป็นคนทรุดเสื่อมถึงแก่ต้องโทษทางอาญา ราชภัยบันดาลเป็น เพราะโลภเจตนาเป็นเค้ามูล จึงพินาศวิบากผลปฏิสังขรณ์ อำนวยไม่ทัน วิบากของโลภแลความลบหลู่ดูหมิ่นผู้ใหญ่ โทษขืนรู้ผู้ใหญ่แรงกว่า อำนวยก่อนจึงเห็นเป็นทิฐิธรรมเวทนียะกรรมเข้า กลับเป็นบุคคลลับลี้ หายชื่อหายหน้าไม่ปรากฏเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ท่านก่อสร้างสิ่งซึ่งเป็นถาวรวัตถุชิ้นใดๆ เป็นการเกี่ยวแก่พระพุทธศาสนาตรงต่อพระมหากษัตริย์ ตรงต่อชาติ อาจทำให้ประโยชน์โสตถิผลให้แก่ประชุมชนเป็นอันมากดังสำแดงมาแล้วแต่หนหลัง
    และวัดบางขุนพรหมในนี้นั้น สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหารได้สืบเค้าเงื่อนได้ทราบเหตุการณ์บ้างว่า เดิมพระองค์เจ้าอินทร์ซ่อมแซมก่อสร้างเป็นหลักฐานไว้ก่อนสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์(ม.ร.ว.ชื่น) วัดบวรนิเวศ ได้ขนานนามวัดนี้ ให้ชื่อว่า วัดอินทรวิหาร(แปลว่าวัดเจ้าอินทร์) ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗0 นั้นมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ถ้าผู้มีทรัพย์มีอำนาจมีกำลังอานุภาพ ได้มาแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นพระนั่งบนตอตะเคียนตามประสงค์ของสมเด็จเจ้าโตได้และทำยักษ์คุกเข่าฟังพระธรรมเทศนา ได้ลุสำเร็จปฐมมรรคหายดุร้ายไม่เบียดเบียนมนุษย์ ไม่เบียดเบียนพระภิกษุสงฆ์สามเณรต่อไป ผู้แปลงใหม่ คงมั่งคั่งสมบูรณ์ พูนพิพัฒน์สถาพรประเทศก็จะรุ่งเรืองปราศจากวิหิงสาอาฆาตพยาธิก็จะไม่บีฑาเลยฯ
    ข้าพเจ้าผู้เรียบเรียงเรื่องราวของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) นี้ ได้ทรงจำและเสาะสางสืบค้นฉบับตำรับกะรุ่งกะริ่ง และได้อาศัยพึ่งพิงท่านผู้หลักผู้ใหญ่ผู้สูงอายุเล่ากล่าวสืบๆ มา จนมาติดอยู่ในสมองของข้าพเจ้า และได้ถือเอาคำของเจ้าคุณธรรมถาวร(ช้าง) ผู้มีอายุราว ๘๔ ปีบ้าง อนุมัติดัดแปลงบ้าง ประมาณบ้าง สันนิษฐานบ้าง วิจารณ์บ้าง เทียบศักราชในพงศาวดารบ้าง บรมราชประวัติแห่งสยามบ้าง พอให้สมเหตุสมผลให้เป็นต้นเป็นปลาย พิจารณาในรูปภาพที่ฝาผนังโบสถ์วัดอินทรวิหารบ้าง ได้ยกเหตุผลขึ้นกล่าว ใช้ถ้อยคำเวยยากรณ์ เป็นคำพูดตรงๆ แต่คงจะไม่เหมือนสมเด็จพระเป็นแน่ เพราะคนละยุค คนละคราว คนละสมัย และข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่าคงไม่ผิดจากความจริง เพราะข้าพเจ้าใช้คำตามหลักเป็นคำท้าว คำพระยา คำพระสงฆ์ คำบ้านนอก คำราชการ คำโต้ตอบทั้งปวงนั้น ข้าพเจ้าเขียนเองตามหลักของการแต่งหนังสือ แต่คำทั้งปวงเห็นว่าสมเหตุสมผลแล้วจึงเขียนลงแต่คงไม่คลาดจากความจริง ถ้าว่าไม่ได้ยินกับหู ไม่ได้รู้กับตา มากล่าวเล่าสู่กันฟังคล้ายกับเล่านิทานเหมือนเล่าเรื่องศรีธนชัย เรื่องไกรทอง เรื่องขุนช้างขุนแผน เรื่องอะไรทั้งหมด ที่เรียกว่านิทานแล้ว ธรรมดาต้องมีต่อมีเติมมีตัด ไม่ให้ขัดลิ้นขัดหู แต่ไม่ผิดหลักแห่งความจริง เพราะสิ่งที่จริงมีปรากฏเป็นพยานของคำนั้นๆ ถ้าหากว่าอ่านรูดรูด ฟังรูดรูดไม่ยึดถือเรื่องราว ก็เห็นมีประโยชน์เล็กน้อยแก่ผู้อ่านผู้ฟังบ้าง คือสอนพูด ถึงเป็นคนโง่ คนบ้านนอก ก็รู้การเมืองได้บ้างไม่เซอะซะต่อไป นักโต้ตอบก็จะได้ทราบหลักแห่งถ้อยคำ นักธรรมะก็พอสกิดให้เข้าใจธรรมะบ้าง นักเชื่อถือก็จะได้แน่นแฟ้นเข้าอีก นักสนุกก็พอเล่าหัวเราะแก้ง่วงเหงา ถ้าจะถือว่าหนังสือแต่งใหม่ก็ดีเหมือนกัน ถ้าท่านเห็นถ่องแท้ว่าผิดพลาดโปรดฆ่ากาแต้มตัดต่อเติมได้ให้ถูกต้องเป็นดีฯ
    นี่แหละหนาท่านทานบดีที่มีน้ำใจเลื่อมใสศรัทธาเชื่อถือสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ได้อุตส่าห์มาประชุมกันไหว้กราบสักการะพระเกตุไชโยใหญ่โต ในอำเภอไชโยนี้ทุกปีมา พระพุทธปฏิมากรองค์นี้หนา ก็เป็นพระของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ได้ขอพระบรมราชานุญาตแล้วก่อสร้างไว้ ท่านได้เชิญเทวดาฟ้าเทวดาดินเป็นผู้เฝ้าพิทักษ์รักษาป้องกันภัยอันตราย ไม่ให้มีแก่พระของท่านจึงถาวรตั้งมั่นมาถึงปีนี้นานถึง ๖0 ปีเศษล่วงมา ก็ด้วยอำนาจสัตยาธิษฐานของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ผู้มีสัตย์ มีธรรม ทั้งกอปร กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เป็นฝ่ายบุญฝ่ายกุศล ทั้งระคนข้องอยู่ในภูมิรู้ ภูมิเมตตา ภูมิกรุณา เอ็นดูแก่อาณาประชาชนนิกร ท่านตั้งใจให้ความสุขอันสุนทร และให้สุขสโมสร แก่นิกรประชาชนทั่วหน้ากัน ท่านหวังจะให้มีแต่ความปรีดิ์เปรมเกษมสันต์สารภิรมย์ ให้สมแก่ประเทศเป็นเขตพระบวรพุทธศาสนารักษาพระรัตนตรัยให้ไพบูลย์ ต่อตั้งศาสนาไว้มิให้เสื่อมสูญ เศร้าหมอง ให้บริสุทธิ์ผุดผ่องสนองพระเดชพระคุณพระพุทธเจ้า อันได้ทรงฟักฟูมใฝ่เฝ้าฝากฝังตั้งพระศาสนาไว้เป็นของบริสุทธิ์สำหรับพุทธเวไนย พุทธสาวก พุทธมามะกะ พุทธบาท พุทธบิดามารดา แห่งพระพุทธเจ้า จะได้ตรัสไปข้างหน้าใสอนาคตกาลนิกรชนะ จะได้ชวนช่วยกันรักษาศีลบำเพ็ญทานทำแต่การบุญ ผู้สละผู้บริจาคจะได้เป็นทุนเป็นเสบียงทางผลที่ทำไว้จะมิได้ระเหิดเริศร้างจางจืดชืดเชื้อ หรือยากจนค่นแค้นเต็มเข็ญเป็นไปในภายหน้า จะได้ทวีมีศรัทธากล้าปัญญาแหลมหลักอรรคภูมิวิจารณ์จะเกิดบุญจุติ กามยตาญานหยั่งรู้หยั่งเห็นพระอริยสัจจธรรม จะได้นำตนให้ข้ามพ้นจากวัฏฏะสงสารได้ก็ต้องอาศัยกุศลวัตรภูมิ ภูมิรู้ภูมิปฏิบัติในปัจจุบันชาตินี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สำเร็จความสุขความดีความงามตามวาสนาบารมีในกาลภายภาคหน้า เพราะเหตุนี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) จึงได้ชะโลชะลอ หล่อศรัทธาปสันนา ของพระพุทธศาสนิกชนไว้ใหญ่อะโข ตั้งพระไว้จะได้ระลึกนึกถึงพระพุทโธได้ง่ายๆ ต่างคนต่างจะได้ไหว้นมัสการบูชา ทุกวันทุกเวลาราตรีปีไป จะได้สมดั่งพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเทศนาสั่งสอนไว้แก่พระสาริบุตรอุตตองค์สาวกว่า
     
  9. เทพารักษ์

    เทพารักษ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +980
    โอนเงิน

    โอนเงินให้เรียบร้อยแล้วนะคะ ผ่านทางตู้ ATM ไทยพาณิชย์16,000 บาท รบกวนถามหน่อยนะคะว่ามี พระพิมพ์พระพุทธประวัติ ให้บูชาไหมคะเนื้ออะไรก้ได้
    ขอบคุณมากนะคะ
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.chiangrai.ru.ac.th/%E0%B8...2%E0%B8%95.htm

    จบบันทึกประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ฉบับของ มหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพโกษา ซึ่งเป็นฉบับที่รวบรวมโดย ม.ล. พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ได้รวบรวมขึ้นปี พ.ศ.๒๔๗๓ ตามคำโคลงตอนท้ายดังนี้.
    <O:p</O:p

    คำอธิษฐานของหลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธพจน์ พระสัจจธรรม ทั้งพระอรหันต์ พระอริยสงฆ์เจ้าทุกพระองค์ ขอประทานพระเมตตาบารมี พระฉัพพรรณรังสี พุทธบารมีทุกประการ ที่พระองค์ทรงบำเพ็ญเพียรมา จงเป็นตบะ เดชะประสิทธิ์ประสาท รักษาผืนแผ่นดินไทยน่านน้ำของไทย พระบวรพุทธศาสนา อภิบาลรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชชนนี พระโอรส พระธิดา พระวรชายา ให้ทรงพระเกษมสำราญ รักษาชีวิตผู้ปฏิบัติการรักษาผืนแผ่นดินไทยทั้งมนุษย์และวิญญาณตลอดทั้งปวงประชา ข้าราชการผู้ซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งข้าพเจ้าละครอบครัวให้รอดปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง ให้ประเทศชาติผู้คนพลเมืองอยู่เย็นเป็นสุขมั่งมีศรีสุข ให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ให้พืชพรรณธัญญาหาร ทรัพยากรธรรมชาติงอกงามอุดมสมบูรณ์ <O:p</O:p
    ขออัญเชิญพลังพระสัจจธรรม น้ำทิพย์ น้ำอมฤต โปรดหมู่มวลมนุษย์วิญญาณทั้งหลายทั่วสากลโลกให้พ้นทุกข์ มีความสุข ขอบารมีพระเมตตาของพระองค์จงบันดาลมนุษย์ทั้งหลายมีหิริโอตัปปะ รักธรรมะ ไม่เห็นแก่ตัว เลิกทุจริต พยาบาทอาฆาตจองเวรซึ่งกันและกัน ให้มีจิตเมตตาปราณี ประพฤติธรรม ผู้หลงผิดคิดกลับใจ และขอให้พระสัจจธรรมที่พระองค์ทรงประกาศไว้ว่า ใครทำดีได้ดี ใครทำชั่วได้ชั่ว ให้ปรากฏชัดแก่สายตาโลกตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป<O:p</O:p
    ขออัญเชิญพระบารมีนานาประการที่กล่าวแล้ว แผ่กระจายขยายออกไปทั่วทุกภพ มนุษย์ไตรโลกา หมื่นโลกธาตุ แสนโกฎจักวาลพิภพ จบเจ็ดคาบสมุทรตลอดสุดก้นบาดาลให้เนืองแน่นไปด้วยบารมี ให้มนุษย์ทั้งหลายพากันมานับถือพระพุทธศาสนา โลกนี้จะได้ร่มเย็นเป็นสุข ขอพุทธบารมีโปรดคำอธิษฐานทั้งปวงนี้จงเป็นผลสำเร็จ จงเป็นผลสำเร็จ จงเป็นผลสำเร็จทุกประการเทอญ ๓ ครั้ง<O:p</O:p
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมขอกราบขอบพระคุณม.ล. พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา , มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ,เว็บ http://www.chiangrai.ru.ac.th/%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%95.htm และท่านผู้พิมพ์ ชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต จากบันทึกของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) เป็นอย่างสูงครับ

    โมทนาสาธุครับ
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ เทพารักษ์ [​IMG]
    โอนเงินให้เรียบร้อยแล้วนะคะ ผ่านทางตู้ ATM ไทยพาณิชย์16,000 บาท รบกวนถามหน่อยนะคะว่ามี พระพิมพ์พระพุทธประวัติ ให้บูชาไหมคะเนื้ออะไรก้ได้
    ขอบคุณมากนะคะ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ยังมีอยู่ครับ เป็นเนื้อสีขาว และเนื้อสีขาวแตกลายงาครับ


    [​IMG]<O:p</O:p
    4.พระพิมพ์พุทธประวัติ เนื้อสีขาว จำนวน 15 องค์ มอบพระพิมพ์ 1 องค์ให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,200 บาท


    <O:p</O:p
    5.พระพิมพ์พุทธประวัติ เนื้อสีขาวแตกลายงา จำนวน 10 องค์ มอบพระพิมพ์ 1 องค์ให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,100 บาท


    โมทนาสาธุครับ

    .
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    คำสอนองค์สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

    คนเราทุกวันนี้ ดีแต่ส่องกระจกด้านหน้า แต่เพียงด้านเดียว
    ให้เอากระจกหกด้าน มาส่องเสียบ้าง แล้วจะเห็นเอง

    ท่านใดพอที่จะอธิบายได้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี สอนอะไร หมายถึงอะไร เป็นการลับสมองลองปัญญากัน ไม่มีรางวัลนะครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ผมกลัวลืม แสดงความคิดเห็นกันหน่อยนะครับ หลังจากได้อ่านประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีแล้ว

    โมทนาสาธุครับ

    .
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    ขอแนะนำให้เข้าในเว็บ อ่านสะดวกเหมือนกันครับ

    .
     
  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    โมทนาสาธุครับ
    ขนาดงดให้ข้อมูล ยังให้ข้อมูลซะขนาดนี้..
    ทิ้งห่าง"หนังสือ"ทุกเล่มที่บันทึก"ชีวประวัติสมเด็จโต"ที่มีขายตามท้องตลาดอย่างสิ้นเชิง

    save ใส่ word ได้ถึง ๕๓ หน้า ด้วย font ตัวขนาดเล็กเท่านี้...
     
  18. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    โมทนาด้วยอีกคนครับ ผม saveไป 52หน้า อ่านจนตาลาย สนุกเหมือน นวนิยายกำลังภายใน แต่สาระน่าสนใจมากๆ ก็เห็นด้วยกับคุณเพชร ผมอ่านมาหลายเล่มก็ไม่มีเล่มใดที่ให้ความละเอียดมากเท่านี้ อ่านเพลินจนมีสหายโทรมาต่อว่า เลยว่า หายเงียบไปไหนนานหายไปเลย ฮิๆ ก็ไม่ต้องมาไล่อ่านจากกระทู้ให้มึนนี่ครับ แนะนำให้ทุกท่านsave เก็บใส่ word ไว้ครับ อยากได้เป็นเล่มก็ค่อยๆ พิมพ์ออกมาอ่านครับ
    nongnooo...
     
  19. thanyaka

    thanyaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +2,497
    เข้ามาศึกษาและสนับสนุนค่ะ อ่านจนตาลายค่ะ จะอ่านข้างหลังก็ห่วงข้างหน้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2007
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    ผมขอกราบขอบพระคุณม.ล. พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา , มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ,เว็บ http://www.chiangrai.ru.ac.th/%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%95.htm และท่านผู้พิมพ์ ชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต จากบันทึกของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) เป็นอย่างสูงครับ

    โมทนาสาธุครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    ขอแนะนำให้เข้าในเว็บ อ่านสะดวกเหมือนกันครับ

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    โมทนาสาธุครับ
    ขนาดงดให้ข้อมูล ยังให้ข้อมูลซะขนาดนี้..
    ทิ้งห่าง"หนังสือ"ทุกเล่มที่บันทึก"ชีวประวัติสมเด็จโต"ที่มีขายตามท้องตลาดอย่างสิ้นเชิง

    save ใส่ word ได้ถึง ๕๓ หน้า ด้วย font ตัวขนาดเล็กเท่านี้...
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ผมเองได้อ่านแล้ว ก็อยากให้ทุกๆท่านได้อ่านกันเป็นความรู้อีกเรื่องที่บางท่านอาจจะไม่เคยได้รู้ ได้เห็น เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่

    ส่วนจะเชื่อหรือไม่ อย่างไร ก็เป็นวิจารณญาณของท่านผู้อ่านครับ

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...