เชิญช่วยกันระดมความคิดเห็นเรื่อง"จิต" เพื่อสัจธรรมความจริง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 17 มิถุนายน 2013.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ก็บอกแล้วว่า "วิญญาณธาตุ" กับ"วิญญาณขันธ์" มันคนละเรื่องแต่เนื่องด้วยกัน

    อย่าตีไข่ใส่สี มั่วรวมเป็นเรื่องเรื่องกันสิ แบบนี้พระพุทธพจน์เสียหายหมด

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    แค่นี้ก็รู้แล้วว่ามั่วชัดๆ จุติบ้านไหนที่แปลว่า "ดับ"

    ไปดูในมหาสติปัฏฐานสูตร ชัดเจน "จุติ" ความเคลื่อนไป(หาภพใหม่) ไม่ใช่ "ดับ"

    ฉะนั้น จุติจิต คือจิตที่เคลื่อนไป โดยมีปฏิสนธิวิญญาณ(แจ้งในอารมณ์)ไปด้วย

    ขอเถอะอย่าตีความเอง เป็นไปได้หรือที่วิญญาณหลุดพ้นจากวิญญาณ

    ไม่เลยพบเจอในพระพุทธพจน์ในพระสูตรเลย

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  3. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้ คือธาตุทั้งหลาย
    ๖ ประการ
    " ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมอง
    ไม่ได้ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้. ข้อนี้ เป็นธรรมที่เรากล่าวแล้วอย่างนี้ เราอาศัย
    ซึ่งอะไรเล่า จึงกล่าวแล้วอย่างนี้? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธาตุทั้งหลาย ๖ ประการเหล่านี้
    คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุดังนี้.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้คือ ธาตุทั้งหลาย ๖ ประการ"
    ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียน
    ไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้ อันใด อันเรากล่าวแล้ว;
    ก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราอาศัยซึ่งธาตุทั้งหลาย๖ ประการ การก้าวลงสู่ครรภ์ย่อมมี; เมื่อการก้าวลงสู่ครรภ์ มีอยู่, นามรูปย่อมมี;
    เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ; เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย
    จึงมี ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราย่อม
    บัญ ญ ติว่า "นี้ เป็น ค วาม ทุกข์" ดังนี้; ว่า "นี้ เป็น ทุกขส มุทัย" ดังนี้; ว่า "นี้
    เป็นทุกขนิโรธ" ดังนี้; ว่า "นี้ เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา" ดังนี้; แก่สัตว์ผู้สามารถ
    เสวยเวทนาอยู่
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า? แม้ความเกิด
    ก็เป็นทุกข์, แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์, แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์, แม้โสกะปริเทวะทุกขะ-
    โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์, การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์, ความ
    พลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์, ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์:
    กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า? เพราะมี
    อวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

    เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ;
    เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;
    เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน;
    เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ; เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ; เพราะมี
    ชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น
    ครบถ้วน: ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า? เพราะ
    ความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร;
    เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; เพราะมีความดับแห่ง
    วิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป; เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับ
    แห่งสฬายตนะ; เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ; เพราะมี
    ความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา; เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมี
    ความดับแห่งตัณหา เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน;
    เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ; เพราะมีความดับแห่งภพ
    จึงมีความดับแห่งชาติ; เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-
    ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น: ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี
    ด้วยอาการอย่างนี้.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร
    เล่า? มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นี้นั่นเอง, กล่าวคือ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามาะ สัมมาสติ
    สัมมาสมาธิ.
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ขอลิ้งต้นทาง เพราะเป็นไปไม่ได้ที่พระพุทธพจน์จะเขียนว่า

    แต่วิญญาณของท่าน ย่อมไม่เป็น"วิญญาณ"ที่เปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของ"วิญญาณ"

    เนื่องจากมีเว็บหนึ่งที่วงเล็บแอบใส่คคห.ตนเองเข้าไปและคนก็ชอบไปเอามาอ้าง

    เพราะอะไร ในบริบทต่อมา กลับมีว่า

    ย่อมไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะความไม่ยึดมั่นแห่งจิต

    คนที่อ่านด้วยความเป็นธรรมแล้ว จะรู้สึกมึนตึบขึ้นมาเลยทันที่ว่า

    ทำไมไม่ทรงตรัส หรือ กล่าวว่า "ย่อมไม่ครอบงำวิญญาณของเขาตั้งอยู่"หละ

    ในตอนต้นพูดถึงวิญญาณของท่านอยู่หยกๆ กลับเป็น

    ย่อมไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะจิตหมดความยึดมั่นถือมั่นแล้ว

    เพราะมีพระพุธพจน์ในพระสูตรที่ทรงตรัสชัดเจว่า ตน(จิต)ไม่ใชวิญญาณ
    V
    V

    มหาปุณณมสูตร

    ...(ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง)

    [๑๒๖] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฐิจะไม่มีได้อย่างไร

    พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ
    ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ
    ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ

    ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง
    ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้างไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง
    ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง
    ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง
    ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง
    ไม่เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง
    ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง
    ไม่เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง
    ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง
    ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง

    ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล สักกายทิฐิจึงไม่มี ฯ

    อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ
    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
    จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
    รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว
    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ


    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป
    ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ

    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=1980&Z=2186&pagebreak=0

    ^
    ^
    พระสูตรนี้ สอดคล้องกับอีกหลายพระสูตรที่มีมาในพระสุตันตปิฎก
    พระสูตรก็ชัดเจนออกมาในแนวเดียวกันชัดๆโดยไม่ต้องตีความใดๆเลย

    พระพุทธพจน์ตรัสถึง ความไม่มีสักกายทิฐิได้อย่างไร? ซึ่งเป็นสังโยชน์ตัวแรกใช่หรือไม่??
    คือไม่เล็งเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่ามีในตน(จิต)
    ไม่เล็งเห็นตน(จิต)มีในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณบ้าง

    ท้ายพระสูตรก็ชัดเจน แม้โดยทางภาษาหรือทางตรรกะก็ตาม
    เมื่อ"จิตที่เป็นของตน"เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
    แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ
    จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นดีแล้ว

    เพื่อกันความสับสน พระพุทธพจน์ทรงตรัสเน้นย้ำซ้ำลงไปว่า
    ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ

    เจริญใฯธรรมที่สมควรแก่ธรรมนั้นทุกๆท่าน
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เฮ้อ!!!

    ถึงว่า คุยอยู่กับพวกที่จำเอามาพูดนั้นเอง

    ที่ว่าขัดแย้ง เพราะไม่รู้ หรือ แกล้งโง่ซะงั้น?

    รู้จักหรือเปล่า ระหว่าง "ธาตุแท้" กับ "ธาตุผสม"

    ธรรมธาตุ หรือ อมตะธาตุ อมตะธรรมนั้น คือธาตุแท้ ที่เรียกว่า"อสังขตธรรมธาตุ" ที่ได้รับความบริสุทธิ์(วิราคธรรม)

    ส่วนที่คุณอ้างมานั้น มันธาตุผสม ที่เป็นสังขตธรรมธาตุล้วนๆ

    มันคนละเรื่องกันจำเอาไว้นะ อย่ามั่ว ต้องบอกว่า"ธรรมที่เป็นธาตุ"

    จะได้ไม่ปล่อยไก่ออกมาอีก ถ้าเป็นที่พันทิพ โดยหนอนตำรากระหน่ำตายแน่55+

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    อ้างพระพุทธพจน์ ไปเอาลิ้งต้นทางมา อย่ามั่วเอาสิ

    เป็นไปไม่ได้ มีที่ไหนพูดถึง"วิญญาณ"หยกๆ พอหลุดพ้นกลับแปลงร่างเป็น"จิต"ไปเฉยเลย

    พอดีมีพระพุทธพจน์บทนี้อยู่เหมือนกัน จะได้รู้ว่าใครมั่วซั่วเดาสวดเอาเอง

    หัดมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองบ้าง เมื่อไม่มีสัจธรรมความจริงก็หาไม่ได้เช่นกัน55+

    เจริญในธรรมที่เป็นสัจธรรมความจริงทุกๆท่าน
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เอามาให้อ่านเพื่อพิจารณาให้รู้เห็นตามความเป็นจริง

    มหาตัณหาสังขยสูตร...พระสาติกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยเข้าใจผิดว่า จิตคือวิญญาณขันธ์

    มหาตัณหาสังขยสูตร
    ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก

    [๔๔๐] ...ฯลฯ...สมัยนั้น ภิกษุชื่อสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร (บุตรชาวประมง)
    มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
    เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
    วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไปไม่ใช่อื่น

    [๔๔๒] ...ฯลฯ...พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
    ดูกรสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
    เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
    วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?

    สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
    วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?

    สาติภิกษุทูลว่า
    สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย
    ทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ


    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า

    ดูกรโมฆบุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น
    เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ
    ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี


    ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วยขุดตนเสียด้วย
    จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว

    ดูกรโมฆบุรุษก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์
    เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.

    ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ

    [๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้นก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ

    วิญญาณอาศัย จักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ
    วิญญาณอาศัย โสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ
    วิญญาณอาศัย ฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ
    วิญญาณอาศัย ชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณ
    วิญญาณอาศัย กายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ
    วิญญาณอาศัย มนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ

    ส่วนหนึ่งจาก มหาตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก

    ^
    ? พระสาติ มีทิฐิลามก กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระสาติมีความเห็นผิดว่า
    วิญญาณ(ขันธ์)นี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น
    วิญญาณ(ขันธ์)ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลายทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่ว

    ? พระพุทธองค์จึงตรัสแก้ให้ฟังว่า
    วิญญาณ(ขันธ์)อาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น
    ความเกิดแห่งวิญญาณ(ขันธ์) เว้นจากปัจจัย ไม่ได้

    วิญญาณ(ขันธ์)อาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้นก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ

    วิญญาณอาศัย จักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ
    วิญญาณอาศัย โสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ
    วิญญาณอาศัย ฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ
    วิญญาณอาศัย ชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณ
    วิญญาณอาศัย กายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ
    วิญญาณอาศัย มนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ

    ? ซึ่งตรงกับ ฉฉักกสูตร ที่กล่าวไว้ถึง หมวดวิญญาณ ๖

    [๘๑๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
    พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ

    บุคคลอาศัยจักษุและรูป จึงเกิด จักษุวิญญาณ
    อาศัยโสตะและเสียง จึงเกิด โสตวิญญาณ
    อาศัยฆานะและกลิ่น จึงเกิด ฆานวิญญาณ
    อาศัยชิวหาและรส จึงเกิดชิวหาวิญญาณ
    อาศัยกายและโผฏฐัพพะ จึงเกิดกายวิญญาณ
    อาศัยมโนและธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ

    ? และตรงกับ มหาปุณณมสูตร ที่กล่าวว่า
    นามรูป เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ วิญญาณขันธ์ ฯ

    ? สรุป

    พระสาติ มีทิฐิลามก กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระสาติมีความเห็นผิดว่า
    วิญญาณ(ขันธ์)นี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น
    วิญญาณ(ขันธ์)ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลายทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่ว

    เพราะ พระสาติ เข้าใจผิดว่า จิต คือ วิญญาณขันธ์ นั่นเอง
    เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีความเห็นว่า จิต คือ วิญญาณขันธ์
    ก็น่าจะเข้าข่ายมีทิฐิลามก กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าแบบพระสาติ

    เพราะ จิตคือตัวเสวยวิบากกรรมทั้งดีทั้งชั่ว
    ไม่ใช่วิญญาณขันธ์เสวยวิบากกรรมทั้งดีทั้งชั่ว

    ? โดยอธิบาย

    *วิญญาณขันธ์ เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕

    วิญญาณขันธ์เป็นอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์
    คือการรับรู้อารมณ์ของจิตทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    วิญญาณขันธ์ จึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
    เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ตามเหตุปัจจัย

    และนามรูป เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดวิญญาณขันธ์ นั่นคือ
    ตา+รูป เกิดวิญญาณทางตา
    หู+เสียง เกิดวิญญาณทางหู
    จมูก+กลิ่น เกิดวิญญาณทางจมูก
    ลิ้น+รส เกิดวิญญาณทางลิ้น
    กาย+กายสัมผัส เกิดวิญญาณทางกาย
    ใจ+ธัมมารมณ์ เกิดวิญญาณทางใจ


    *วิญญาณขันธ์ จึงไม่ใช่ตัวรองรับวิบากของกรรม

    จิตคือตัวบันทึกกรรม ตัวเสวยวิบากของกรรมทั้งหลายทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่ว
    จิตจุติ(เคลื่อน)ออกจากร่างกายที่ตายไป ไปเกิดตามอำนาจกรรมดีกรรมชั่ว
    โดยจิตเกาะกุมอารมณ์สุดท้าย(มโนวิญญาณ)ในเวลาใกล้จะตาย
    เป็นปฏิสนธิวิญญาณพาไปเกิดในภพภูมิใหม่ตามแรงกรรม

    จิต ไม่ใช่ วิญญาณ(ขันธ์)

    จิตคือวิญญาณธาตุ(ธาตุรู้) ไม่ใช่วิญญาณขันธ์
    จิตมีดวงเดียว (เอกจรํ=ดวงเดียวเที่ยวไป) ไม่เป็นกอง แต่ขันธ์เป็นกอง

    วิญญาณขันธ์ มี ๖ แบ่งตามวิถีทางที่อารมณ์เข้ามา
    คือ วิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    วิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จัดเป็นสสังขาริก...อาศัยทวารทั้ง ๕ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
    วิญญาณทางใจ จัดเป็นอสังขาริก...ไม่อาศัยทวารทั้ง ๕

    จิตคือธาตุรู้ ทรงความรู้ทุกกาลสมัย

    ธาตุรู้ยังไงก็เป็นธาตุรู้วันยังค่ำ ไม่อาจแปรเปลี่ยนเป็นธาตุดิน น้ำ ลม หรือ ไฟ

    แต่สิ่งที่ถูกจิตรู้ต่างหากที่แปรเปลี่ยนตลอดเวลา
    เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปจากจิตตลอดวันตลอดคืน นั่นคือ

    *จิตไม่เกิดดับ

    แต่ขันธ์ ๕ ซึ่งรวมถึงวิญญาณขันธ์ เกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต

    ไม่ว่าวิญญาณทางตาจะเกิดขึ้นแล้วดับไป
    เกิดวิญญาณทางหูขึ้นแทนแล้วดับไป
    เกิดวิญญาณทางอื่นๆขึ้นแทน...ฯลฯ...
    จิตย่อมรู้ตลอดเวลาที่วิญญาณเหล่านั้นเกิดขึ้นและดับไปจากจิต

    ถ้าจิตเกิดดับ หรือจิตคือวิญญาณขันธ์
    ตอนที่จิตดับคือรู้ดับ ก็ต้องไม่รู้ไรเลย แต่ทำไมยังรู้ล่ะว่าวิญญาณทางตาดับ
    เกิดวิญญาณทางหูแทน วิญญาณทางหูดับ เกิดวิญญาณทางอื่นขึ้นแทน...ฯลฯ...
    ถ้าไม่รู้ไรเลย ย่อมบอกออกมาไม่ได้!!!

    จิตคือธาตุรู้ รู้ผิด หรือรู้ถูก

    ปุถชน จิตรู้ผิดจากความเป็นจริง ไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    เพราะจิตมีอวิชชาครอบงำ หลงผิดยึดขันธ์ ๕ เป็นตน
    เมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป จิตก็แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป

    พระอริยสาวก จิตรู้ถูกตามความเป็นจริง รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    เพราะจิตหลุดพ้นจากการครอบงำของอวิชชา เกิดวิชชาขึ้นแทนที่
    จิตไม่หลงผิด จิตปล่อยวางการยึดขันธ์ ๕ เป็นตน
    เมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป จิตก็ไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป

    ดังมีกล่าวไว้ใน นกุลปิตาสูตร ว่า

    ปุถุชน กายกระสับกระส่าย จิตกระสับกระส่าย
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวน ทุกข์จึงเกิดขึ้นที่จิต

    พระอริยสาวก กายกระสับกระส่าย จิตหากระสับกระส่ายไม่
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวน ทุกข์ไม่เกิดขึ้นที่จิต

    ยินดีในธรรมทุกๆท่านครับ

    Bloggang.com : ˹
     
  8. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า ภพ ภพ ดังนี้ ภพย่อมมีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร เล่า....อานนท์ ถ้ากรรม มี กามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ กามภพ จะพึงปรากฎได้แลหรือ......"หามิได้พระเจ้าข้า" อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป้นเนื้อนา วิญญานเป็นเมล็ดพืช ตัรหาเป็นยาง ของพืชความเจตนาก็ดี ความปราถนาก้ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นทราม การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ อานนท์ ถ้ากรรม มีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ รูป ภพ จะพึงปรากฎได้แลหรือ ---หามิได้พระเจ้าข้า อานนท์ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป้นเนื้อนา วิญญานเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยางของพืช ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป้นเครื่องกั้น มีตัรหาเป็นเครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นกลาง การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ ต่อไปย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้...........อานนท์ ถ้ากรรมมีรูปธาตุเป้นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ อรูปภพ จะพึงปรากฎได้แลหรือ ---หามิได้พระเจ้าข้า ---อานนท์ ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญานเป็นเมล้ดพืช ตัรหาเป็นยาง ของพืช ความเจตนา ก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นปราณีต การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ ต่อไปย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ อานนท์ภพย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล--ติก.อํ.20/288/517...:cool:
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณาสืบต่อไป ย่อมพิจารณาลึกไปอีกว่า อุปธินี้เล่า มีอะไรเป้นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด และมีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมีอยู่ อุปธิก็มีอยู่ เมื่ออะไรไม่มี อุปธิก็ไม่มี ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น เมื่อพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ได้ชัดอย่างนี้ว่า อุปธิมีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด มีตัณหาเป้นเครื่องก่อให้เกิด มีตัรหาเป้นเครื่องกำเนิด และมีตัรหาเป้นแดนเกิด เมื่อตัณหามีอยู่ อุปธิก็มีอยู่ เมื่อตัรหาไม่มี อุปธิ ก็ไม่มีดังนี้แล----นิทาน.สํ.16/131/257...:cool:
     
  10. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย อาหารสี่อย่างเหล่านี้ มีอยู่ เพื่อความตั้งอยู่ได้ของสัตว์ผู้เกิดแล้วบ้าง เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ผู้กำลังแสวงหาที่เกิดบ้าง อาหารสี่อย่างอะไรเล่า สี่อย่างคือ อาหารที่หนึ่ง คือ อาหารคือคำข้าว หยาบก็ตามละเอียดก็ตาม อาหารที่สองคือ ผัสสะ อาหารที่สามคือ มโนสัญเจตนา อาหารที่สี่คือวิญญาน ภิกษุทั้งหลาย อาหารสี่อย่างเหล่านี้แลมีอยู่ เพื่อความตั้งอยู่ได้ของสัตว์ผู้เกิดแล้วบ้าง เพื่ออนุเคราะห์สัตวืผู้กำลังแสวงหาที่เกิดบ้าง ภิกษุทั้งหลาย ก็อาหารสี่อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุใหเกิด (นิทาน) มีอะไรเป้นเครื่องก่อให้เกิด(สมุทัย) มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด(ชาติกะ) และมีอะไรเป็นแดนเกิด(ปภพ) ภิกษุทั้งหลาย อาหารสี่อย่างเหล่านี้ มี ตัณหาเป็นเหตุให้เกิด มีตัณหาเป็นเครื่องก่ิอให้เกิด มีตัรหาเป็นเครื่องกำเนิด และมีตัรหาเป็นแดนเกิด-----นิทาน.สํ.16/14/28-29...:cool:
     
  11. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    จิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์ สรุป วิญญาณขันธ์มีได้เพราะอาศัยจิตเป็นที่ตั้ง เมื่อไม่มีจิตย่อมไม่มีวิญญาณขันธ์ เพราะจิตที่ปราศจากกิเลสไม่ได้อาศัยวิญญาณขันธ์ในการรับรู้ ไม่มีเครื่องกั้นกลางคอยรบกวนและคอยเบี่ยงเบน ดังนั้นจึงเรียกว่า จิตเห็นจิตจึงกระจ่างแจ้ง สว่างไสว ไร้มลทิน ใช่อะป่าว
    สาธุคั๊บ
     
  12. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ถามตรงๆเถอะ ยังจะแกล้งโง่ต่อไปโดยไม่ยอมรับความจริงอีกหรือ?

    ที่ยกมาชัดๆว่า เป็นอสังขตธรรมธาตุ ที่ผสมรวมตัวกันเข้าเป็นธาตุผสม

    ที่เรียกว่ารูป-นามขันธ์๕ไปแล้ว จัดเป็นสังขารธรรม

    มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ด้วยนะในเรื่องเหล่านี้

    เพราะพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์นั้น ล้วนเชื่อโยงกันหมด

    อ่านซะ

    V
    V
    ฉวิโสธนสูตร (๑๑๒)
    พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ
    ตรัสไว้ชอบ นี้มี ๖ ประการ ๖ ประการเป็นไฉน
    คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุเตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ
    ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้แลธาตุ ๖ ประการอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
    ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธตรัสไว้ชอบแล้ว

    ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้ ฯ

    ***
    ^
    ^
    พระพุทธพจน์ชัดๆ โดยไม่ต้องตีความใดๆทั้งสิ้น

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน



     
  13. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    [
    ^
    ^
    บทนี้เป็นคำของพระสารีบุตร พูดตรงตามที่ตถาคตได้บัญญัติไว้
    จะไม่มีความเป็นเรา เข้าไปอยู่ เข้าไปเห็น เข้าไปแจ้ง ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร
    เเต่จะเป็นวิญญาน ที่เข้าไปตั้งอาศัย
    เพราะฉะนั้น ตัววิญญาน(ตัวจิต) มันจะไม่รู้ว่าตัวมันเองนั้นละต้นเหตุ. เป็นสมุทัย เครื่องทำให้รูปนามเกิด. มันจึงยึดว่า ตัวมันเป็นอัตตา
    พระมหากัจจายนะ ถึงอธิบายว่า เเม้วิญญาน ก็อย่ายึด วิญญาณ เพราะ มันจะเป็น
    วิญญาญูปาทานขันธ์ (อุปทานตัวจิตว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นอัตตาของเรา)


    ขันธ์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
    กระทั้งการทำงานของขันธ์์5 คือ วิญญานกับนามรูป.
    ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

    เปรียบเหมือนไม้2แห้ง2กำ ทำให้เกิดไฟได้ฉันใด
    การทำงาน วิญญานกับนามรูปก็ฉันนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2013
  14. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2013
  15. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419

    น่าจะเป็นกุศโลบาย.เเต่ มันตรวจสอบง่ายๆ
    ถ้ายังมี ความพอใจ ราคะอันใด นันทิอันใด ตัณหาอันใด
    ที่มีอยู่ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน เพราะการติด เพราะการข้องเเวะ มันจึงเป็นอุปทาน. บทนี้สอนว่า
    เเม้ตัวรู้ก็อย่าไปพอใจ วิญญานธาตุ. เมื่อไม่ยึดตัวอื่นโดนตามหมด
    เเต่ถ้าไม่มีอะไร ที่ทำให้เพลิน ให้พอใจ (อุปทาน)
    จิตก็หลุดพ้น เพราะไม่ยึดมั่น นามรูป และตัวจิตเอง ยังไงหล่ะ
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    จะมั่วทั้งที่ก็รู้จักเกรงใจพระพุทธพจน์บ้าง

    เห็นอ้างมันแต่พระพุทธพจน์ แต่ดันคิดเองเออเอง

    มีพระพจน์ที่ไหนตรัสไว้บ้างในพระสูตรว่า

    จิตหลุดพ้นจากอุปาทานขันธ์๕ และตัวจิตเอง

    จะบ้าไปแล้ว ไอ้และตัวจิตเองข้างหลังนั้น

    มันเกิดจากการตีสีใส่ไข่เข้าไปเอง เรียกว่าตีความชัดๆ เฮ้อ!!!

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ก่อนอื่นต้องมารู้จักคำว่า "วิญญาณ"ให้เข้าใจ อย่างสิ้นสงสัย แต่คงจะไม่ง่ายนัก เพราะเป็นอาการของจิตที่ใกล้ชิดติดอยู่กับจิตที่มีอวิชชาครอบงำอยู่ จนแยกแยะออกมาได้ยากพอสมควร

    จึงทำให้เกิดความสับสนขึ้นระหว่างจิตกับวิญญาณขันธ์ ซึ่งวิญญาณขันธ์เป็นเพียงอาการหนึ่งของจิตที่ใกล้ชิดจิตมาก

    สำหรับพวกนักตำรานิยมแล้ว มักฟันธงตามที่ตำราที่ว่าไว้อย่างนั้นเป็นอันเดียวกันแยกกันไม่ได้

    ส่วนผู้ที่ผ่านการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาอย่างจริงจังย่อมเห็นได้ชัดเจน ถึงความแตกต่าง ระหว่างจิตกับวิญญาณ

    ต้องเริ่มจากนามขันธ์ ๔ คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเป็นอาการของจิตที่วนเวียนไปมาระหว่างนามขันธ์ จนกดดันทับซ้อนหมักดองอย่างหนาแน่นกลายเป็นอนุสัยสันดานดองอยู่ณ.ภายในจิตของตน

    เมื่อจิตจุติ(ปฏิสนธิวิญญาณ)เข้ามาอาศัยในร่างกายใหม่นี้ จิตก็นำเอาอนุสัยที่กดดันทับซ้อนหมักดองอย่างหนาแน่นมาด้วยเช่นกัน จึงเกิดแจ้งในอารมณ์(วิญญาณ)ต่างๆ ที่เคยเป็นธรรมารมณ์สะสมอยู่ณ.ภายในจิตใจ

    เช่นเมื่อเกิดเวทนาขึ้นมา สัญญาก็จดจำเอาไว้ สังขารก็ปรุงแต่งต่อไปตามอารมณ์กิเลสที่เกิดขึ้นในขณะนั้น สิ่งต่างๆเหล่านี้กลายธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยใจ เกิดเป็นวิญญาณทางใจขึ้นมา ถูกบันทึกลงที่จิตของตน

    เมื่อมีอารมณ์เป็นแขกจรเข้ามาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นจากอายตนะทางไหนก็ตาม ธรรมารมณ์ที่เคยถูกบันทึกไว้ เมื่อกระทบทางอายตนะ ก็แจ้งในอารมณ์(วิญญาณ)นั้นทันทีเช่นกัน สังขารก็ปรุงต่อจนเกิดเวทนาขึ้นมาใหม่ สัญญาจดจำไว้ได้ วนเวียนไปมาจนหาที่สุดไม่ได้

    นักปฏิบัติทั้งหลายต้องเคยได้รู้ได้เห็นตามความจริงอย่างหนึ่งว่า ถ้าไม่มีจิตเสียอย่างเดียว นามขันธ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดขึ้นมาไม่ได้เช่นกัน

    แล้ววิญญาณขันธ์คือการรู้แจ้งในอารมณ์นั้นมาจากไหน ถ้าไม่มีจิตผู้รู้ชักนำให้เกิดอาการแจ้งในอารมณ์เหล่านั้นขึ้นมา

    เพราะถ้าไม่มีตัวรู้(ธาตุรู้)เสียอย่างเดียว อาการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณย่อมต้องมีไม่ได้เช่นกัน

    เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็พอที่ไล่เลี่ยงให้รู้เห็นตามความเป็นจริงได้ว่า เมื่อกายจะแตกทำลายลงไปนั้น อาตยนะทั้งหลายย่อมค่อยๆดับลงไปตามลำดับ จนขณะสุดท้ายที่กายจะแตกทำลายลงไปนั้น สิ่งที่มาประชิดจิตในวาระสุดท้ายก็คืออารมณ์ที่จิตประทับใจมากๆ ที่เคยได้ทำกรรมไว้(ธรรมารมณ์)จะแจ้งขึ้นมาทันทีในขณะนั้น

    หรือเรียกว่ามีวิญญาณผุดขึ้นมาประชิดจิตในระหว่างที่จิตจะเคลื่อนออกจากกายไปแสวงหาภพภูมิใหม่ เพื่อเข้าร่วมกับจิต(ปฏิสนธิ) เมื่อจิตมีการปฏิสนธิวิญญาณนั้นจะนำพาให้จุติจิตเป็นไปตามอำนาจของกิเลส กรรม วิบาก(อารมณ์)ที่ได้ปฏิสนธิขณะนั้นเช่นกัน....หวังว่าพอจะเข้าใจ

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  18. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ดูก่อนมาคัณฑิยะ! อุปไมยก็ฉันนั้น.
    เราแสดงธรรมแก่ท่านว่า "อย่างนี้เป็นความไม่มีโรค; อย่างนี้ เป็นนิพพาน", ดังนี้.
    ท่านจะรู้จักความไม่มีโรคจะพึงเห็นนิพพานได้ก็ต่อเมื่อท่านละความเพลิดเพลินและความกำหนัด ในอุปาทานขันธ์ห้าเสียได้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งธรรมจักษุของท่านนั้น.
    อนึ่ง ความรู้สึกจะพึงเกิดขึ้นแก่ท่านว่า "ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายเอ๋ย! นานจริงหนอ ที่เราถูกจิตนี้
    คดโกง หลอกลวง ปลิ้นปลอกจึงเมื่อเรายึดถือ ก็ยึดถือเอาแล้ว ซึ่งรูป,ซึ่งเวทนา, ซึ่งสัญญา, ซึ่งสังขาร, และซึ่งวิญญาณ นั่นเทียว :
    เพราะความยึดถือของเรานั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ;เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ:
    เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
    ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้".ดังนี้.
     
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [๙๒] พ. ดูกรอานนท์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้
    ซึ่งกามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้
    ทั้งที่มีในภพหน้า ซึ่งรูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
    และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ทั้งที่มีในภพหน้า ซึ่งอาเนญชสัญญา
    ซึ่งอากิญจัญญายตนสัญญา ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
    ซึ่งสักกายะเท่าที่มีอยู่นี้
    ซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น ฯลฯ

    ดูกรอานนท์กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
    ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความอนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย
    กิจนั้นเราทำแล้วแก่พวกเธอ
    ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท
    อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
    ท่านพระอานนท์ ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๑๔๔๐ - ๑๕๗๐. หน้าที่ ๖๑ - ๖๖.
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=1440&Z=1570&pagebreak=0

    ^
    ^
    ซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น ฯลฯ

    ซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น ฯลฯ

    ซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น ฯลฯ

    ซึ่งอมตะ(พระนิพพาน) คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว

    เจริญในธรรมที่สมควรแก่ธรรม
     
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ถามไม่เคยตอบ คิดแต่จะพูดในสิ่งที่อยากพูดเท่านั้น ถ้าจะมั่วต่อ

    ถามไปช่วย ตอบชัดๆนะ "เพราะความยึดถือของ เรา นั้น"

    เราคือใคร? จิต หรือ วิญญาณขันธ์

    เมื่อ เรา ยึดถือ ก็ยึดถือเอาแล้วซึ่งรูป,ซึ่งเวทนา, ซึ่งสัญญา, ซึ่งสังขาร, และซึ่งวิญญาณ นั่นเทียว :

    เราคือใคร? จิต หรือ วิญญาณขันธ์ เฮ้อ!!!

    โอ้ว!!! พระสูตรชัดเจนขนาดนี้ ไม่ต้องตีความใดๆ มันยังจะเถียงให้ชนะให้ได้

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...