จิตวิปลาส

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย จิตสิงห์, 29 ธันวาคม 2014.

  1. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    อ้อ ครับ ที่จริงคือ มีแต่มุ่งหลุดพ้นโดยสิ้นเชิงอย่างเดียวเท่านั้นเอง
    เรื่องขั้น ๆ นั่นเขาไม่มามัวสนใจกัน อัตตาหลอกให้ยึดทั้งนั้น เข้าใจครับ เข้าใจ
     
  2. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ยกตัวอย่าง ครับ คือ การที่พ่อแม่เลี้ยงลูก รักลูกเมตตาลูก อยากให้ลูกเติบโตด้วยการเป็นคนดีและเลี้ยงตัวเองเอาตัวรอดและเป็นคนดีให้ตลอดได้ โดยพ่อแม่ไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆจากลูกเลยมีแต่การให้ที่ไร้เงื่อนไข และถึงจะทะเลาะ ตีกัน ดุกัน แต่พ่อแม่ไม่เคยมีสิ่งใดติดข้องหมองใจ ในตนเองเลย

    นี่แหล่ะครับคือ สัมมากรรม ของพ่อแม่ที่เป็นพ่อแม่ผู้ประเสริฐครับ
    (ยกตัวอย่างสภาวะที่มีต่อลูกตนเองเท่านั้น)
    อรหันต์มรรคหรือโพธิสัตว์มรรค เขาทำได้กับทุกคนครับ
     
  3. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ขอบพระคุณ (ทุกท่าน) สำหรับธัมมะสากัจฉา..

    สาธุ
     
  4. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    สติปัฏฐาน เป็น สัมมาสติ มั้ย พระคุณเจ้า
     
  5. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    เจริญพร ไม่ได้พบกันนาน สบายดีเน๊อะ

    ทรงตรัส สติปัฏฐาน เป็นทางแห่งมรรคมีองค์ ๘

    โดยกล่าว อาตาปี สัมปชาโน สติมา

    อีกนัยคือ สัมมาวายามะ สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ

    การกล่าวอย่างนี้ มิได้ปฏิเสธ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ฯลฯ

    เพียงแต่ประสงค์ เน้น ความเพียร มีสติ มีปัญญา ตามกำหนดรู้ กาย เวทนา จิต ธรรม

    คำถามว่า แล้ว ที่ตรัส มรรค ๘ สัมปธาน โพชงค์ ไม่เป็นทางเดินแห่งมรรคหรือ

    ตอบว่ามีนัยเดียวกัน คือทางเดินสู่มรรคผล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2015
  6. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    สติปัฏฐาน เป็น สัมมาสติ

    สัมปธาน เป็น สัมมาวายามะ

    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็น วิรัติ เป็นศีลขันธ์

    ที่มีคำกล่าวว่า โพธิปักขิย๓๗ เป็นองค์แห่งการตรัสรู้

    โดยชื่อก็คือ มรรค ๘ เพราะประกอบด้วยเจตสิกธรรม ฝ่ายมรรค เช่น สติ ปัญญา วิริยะ ฯลฯ

    เมื่อสมังคี มรรคจิตย่อมเกิด เป็น อกาลิโก คือ ผลิผลทันทีไม่มีระหว่างขั้น
     
  7. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    สัมมากรรม...ซี๊ดด
     
  8. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    การกำหนดรู้ทุกข์ กำหนดละเหตุทุกข์ นี่คือกิจควรทำ
    ----------
    ขอถามหลวงพี่ จิตสิงห์ นะครับว่า กำหนดรู้ทุกข์อย่างเดียวได้ใหม หรือต้องกำหนดละเหตุทุกข์ด้วย เพราะทุกวันนี้มีทิฐิความเห็นว่า กำหนดรู้ทุกข์อย่างเดียวก็พอแล้ว
     
  9. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918

    <img src='http://www.matichon.co.th/online/2015/01/14202878321420288630l.jpg' width=300>

    กั๊กๆๆๆๆๆ

    ตายฮา แล้ว ภาวนาด้วย เจตนา เอา อึ๊ก รหัสพ่อรหัสแม่ อยู่อะดิ
    ถึงได้ ปล่อยไก่โต้งยอโย่ง ถามเอาแบบนี้

    ก็ นะ ภาวนามาตั้งนาน ยังไม่เคยสัมผัส การระลึก(สติ)ที่ปราศจากเจตนา
    แล้วมีญาณสัมปยุติ มันก็เลย งง เรือหาย กูภาวนาระลึกได้แล้วแต่กูก็
    เห็นว่าต้องเจตนาตครุบเงา ละ สมุทัย อีกหนึ่งจังหวะ ....โดนสอนให้
    โง่ จมโข่ง งุดโง งุดโง

    งุดโง แล้ว ต้องทำอะไรต่อ อึ๊กแล้วต้องทำอะไรต่อ กั๊กๆๆๆ ต้อง " แงะ "
    จาติง้าวงุดโงโง่บานลาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2015
  10. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    ยังไวปาน..ได้กลิ่นของเน่าเหมือนเดิมเลยนะเรื่องจับผิดเนี่ย
    ทุกข์การกำหนดรู้ทุกข์ กำหนดละเหตุทุกข์ นี้คือกิจที่ควรทำ
    ไม่ใช่ของผม ถามเพื่อดูความเห็นพระท่าน
    Okมั้ยแค่นี้
    ปล่อยไก่อีกแล้วนะ กั๊กๆๆๆๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2015
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ฮึย

    ก็รู้ๆอยุ่ ประเดนมันอนุ่ตรงที่ คุณพุดว่า

    "ทุกวันนี้มีทิฏฐิ รุ้ทุกข์ อย่างเดียวพอ"

    รึตอนนี้คุณจะบอกว่า ที่ภาวนาอยุ่ มีจังหวะ สาม สี่ ไม่เหมือนทั้งสองเคส
    ที่กล่าวมาเลย



    ฮิวววววส์
     
  12. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    เจริญควบคู่กันไปทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา

    หลายๆคนเข้าใจผิด ว่ากำหนดรู้ กำหนดละ เป็นเรื่องต้องไปปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ

    กิเลสหบายๆอย่าง เกิดจริงในชีวิตประจำวัน

    บางอย่างรู้ทุกข์รู้ ว่าสุขน้อยทุกข์มาก และ ละด้วยการไม่ก้าวล่วง คือ ศีล

    บางอย่างรู้โทษของทุกข์ และละด้วยธรรมคู่ตรงข้าม เช่น เมตตา จาคะ อสุภะ ขันติ

    บางอย่างรู้ถึงภัยในสังสารวัฏ และละได้ด้วย สติกำหนดรู้ ปัญญากำหนดละ


    ในระดับสติปัฏฐาน นั้น การไม่ละเลยกำหนดสภาวะที่เกิด ทั้งรูป และนาม ชื่อว่ากำหนดรู้ทุกข์

    โดยความที่ไม่ยั่งยืน เบียดเบียนตลอดเวลา มีแล้วไม่มี ทนต่อสภาวะตัวมันเองไม่ได้

    รู้เหตุปัจจัย รู้จักอาหารที่นำมา รู้จักความติดข้องในอารมณ์ เพลิดเพลินยินดีในการเสพ ความแสวงหาอารมณ์

    ชื่อว่า กำหนดละ

    ไม่ควรข้ามขั้นตอน ควรกำหนดพิจารณาจนนามรูปขาด จนแม่นยำในสภาวะ

    ปัญญาและสติ จะเห็นเอง ประจักษ์รสเอง จะกำหนดถูกตรงไปที่เหตุ

    ผลคือ มันคลาย มันสลัดความติดข้องออกเดี๋ยวนั้น

    ต่างจากกำหนดรู้ทุกข์ เมื่อกำหนด นามรูปก็ดับ

    ที่ดับนั้น ไม่ใช่เพราะเราไปกำหนดให้มันดับ แต่มันดับ เพราะสติตื่นจากอารมณ์ ธรรมชาติเป็นอย่างนั้น

    แม้ไม่กำหนด มันก็ดับ ก็คลาย ด้วยสภาพไม่เที่ยงของมันอยู่แล้ว

    ปัญญามีหน้าที่เข้าใจสภาพธรรม โดยไม่เข้าไปตัดสิน หาความหมายใดๆ

    ดูด้วยใจเป็นกลาง
     
  13. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    ผมกำหนดรู้ทุกข์ แบบ รู้เวทนา และแบบรู้อนิจจัง ไม่ได้ตั้งใจกำหนดรู้เหตุ และละเหตุแห่งทุกข์นั้น เพราะเห็นว่า ถ้ามันรู้ว่าเป็นทุกข์ เป็นของไม่เที่ยง มันก็จะรู้เองว่าไม่ควรยึดมั่นควรปล่อยเสีย แบบนี้ได้หรือไม่ครับ เพราะจะให้ทำอย่างละเอียดแบบที่ท่านว่า ผมว่คงทำไม่ได้ เพราะนิสัยไม่ใข่คนละเอียด และก็ไม่สะดวกเพราะการงานใช้ชีวิต
     
  14. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    ในอนาคต ถ้าสัจธรรมอันตรทาน เหลือแค่คำว่า..ทุกข์ควรกำหนดรู้..ถ้ามีคนทำตามเพียงแค่นั้น จะมีผู้บรรลุธรรมได้หรือไม่หนอ..
     
  15. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    เวลาอธิบาย จะรู้สึกว่าเยอะ มากมาย ซับซ้อน หลายลำดับขั้นตอน

    แต่การปฏิบัติจริง เป็นเรื่องแม่นยำในนามรูป ฉลาดในการเลือกเฟ้นธรรมมากำหนดรู้
     
  16. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    เป็นการกำหนดสภาวะธรรม นามรูป ได้เรื่อยๆ ไม่จบสิ้น

    เมื่อกำหนดสิ่งหนึ่ง สิ่งหนึ่งก็ปรากฏ ไม่ว่าจะกำหนดรู้อย่างไร ก็ยังเป็นเรากำหนดรู้อยู่ดี

    จนกว่าปัญญาจะเห็นว่า มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เมื่อหมดความสนใจ ย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัด

    คำถามคือ กำหนดตรงไหนล่ะ จึงจะคลายความยึดมั่นในอารมณ์ ว่าเป็นกู ของกู
     
  17. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    อิริยาบถปกปิดทุกขสัจ

    ใส่ใจดีๆ ตรง ความสบายแล้วกลับไม่สบายกาย ความพอใจแล้วกลับไม่พอใจ ดิ้นรนอยากพ้น
     
  18. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ๔. ปริญเญยยสูตร

    ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้


    [๒๘๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้ ความ
    กำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.

    [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน? คือ รูป เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้.

    [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลายความกำหนดรู้เป็นไฉน? ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้น
    ไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้.

    [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้กำหนดรู้แล้วเป็นไฉน? บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว
    ควรจะกล่าวว่าพระอรหันต์ กล่าวคือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้
    เรียกว่า บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว.

    จบ สูตรที่ ๔.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2015
  19. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    <MARQUEE bgColor=blue>พุทธวัจนะ</MARQUEE>


    กิมัตถิยสูตร

    ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกำหนดรู้ทุกข์

    [๒๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ถามพวกข้าพระองค์
    อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อประโยชน์
    อะไร? พวกข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว จึงพยากรณ์แก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
    อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนด
    รู้ทุกข์ พวกข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มี
    พระภาคตรัสไว้แล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้ง
    การคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ละหรือ.

    [๒๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช่างเถิด พวกเธอถูกถามอย่างนั้น
    แล้ว พยากรณ์อย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวตามคำที่เรากล่าวไว้แล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง พยากรณ์
    ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้
    เพราะพวกเธออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อกำหนดรู้ทุกข์.

    [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็หนทางมีอยู่หรือ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นมีอยู่หรือ? พวกเธอถูกถาม
    อย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
    หนทางมีอยู่ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นมีอยู่.

    [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็หนทางเป็นไฉน ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์เป็นไฉน.
    อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เป็นหนทาง นี้เป็น
    ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอถูกถามอย่างนั้นแล้ว พึงพยากรณ์แก่
    พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.
    จบ สูตรที่ ๕


    <img src='http://mpics.manager.co.th/pics/Images/558000000102104.JPEG' width=300>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2015
  20. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ทุกขอริยสัจ
    [๑๔๕] ในอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน
    ชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัสสอุปายาสทุกข์
    อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ โดยย่อ
    อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
    [๑๔๖] ในทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นไฉน
    ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความเกิดจำเพาะ ความปรากฏ
    แห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้
    เรียกว่าชาติ
    [๑๔๗] ชรา เป็นไฉน
    ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความ
    ที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์
    นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่าชรา
    [๑๔๘] มรณะ เป็นไฉน
    ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน ความทำลาย ความหายไป มฤตยู ความ
    ตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่ง
    ชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า มรณะ
    [๑๔๙] โสกะ เป็นไฉน
    ความโศกเศร้า กิริยาโศกเศร้า สภาพโศกเศร้า ความแห้งผากภายใน
    ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศก ของ
    ผู้ที่ถูกกระทบด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค
    ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่าง
    หนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า โสกะ
    [๑๕๐] ปริเทวะ เป็นไฉน
    ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ สภาพร้อง
    ไห้ สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรร่ำ
    กิริยาพิไรร่ำ สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถูกกระทบ ด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อม
    โภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของ
    ผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์
    อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ปริเทวะ
    [๑๕๑] ทุกข์ เป็นไฉน
    ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์
    อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส
    อันใด นี้เรียกว่า ทุกข์
    [๑๕๒] โทมนัส เป็นไฉน
    ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์
    อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
    อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส
    [๑๕๓] อุปายาส เป็นไฉน
    ความแค้น ความขุ่นแค้น สภาพแค้น สภาพขุ่นแค้น ของผู้ที่ถูกกระ
    ทบด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความ
    เสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อุปายาส
    [๑๕๔] อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ เป็นไฉน
    ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุมร่วม ความอยู่ร่วม กับอารมณ์
    อันไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจของเขาในโลก ได้แก่
    รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือกับบุคคลผู้ที่มุ่งก่อความพินาศ มุ่งทำ
    ลายประโยชน์ มุ่งทำลายความผาสุก มุ่งทำอันตรายความเกษมจากโยคะของเขา
    นี้เรียกว่า อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์
    [๑๕๕] ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ เป็นไฉน
    ความไม่ไปร่วม ความไม่มาร่วม ความไม่ประชุมร่วม ความไม่อยู่ร่วมกับ
    อารมณ์ อันเป็นที่ปรารถนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ชอบใจของเขาในโลก ได้แก่
    รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือกับบุคคลผู้ที่ใคร่แต่ความเจริญ ใคร่แต่
    ประโยชน์ ใคร่แต่ความสำราญ ใคร่แต่ความเกษมจากโยคะของเขา ได้แก่
    มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต
    นี้เรียกว่า ปิเยหิวิปปโยคทุกข์
    [๑๕๖] ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ เป็นไฉน
    ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า
    เออหนอ ขอเราทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือความเกิดอย่าได้
    มาถึงเราทั้งหลายเลยหนา ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จตามความปรารถนา นี้เรียกว่า ยัมปิจ-
    *ฉังนลภติตัมปิทุกข์ประการหนึ่ง
    ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ
    ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ฯลฯ ความ
    ปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ ความปรารถนา
    ย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา อย่าง
    นี้ว่า เออหนอ ขอเราทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส
    เป็นธรรมดา หรือโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสอย่าได้มาถึงเราทั้งหลายเลย
    หนา ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จตามความปรารถนา นี้เรียกว่า ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์
    ประการหนึ่ง
    [๑๕๗] โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน
    รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์
    วิญญาณูปาทานขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
    สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
     

แชร์หน้านี้

Loading...