ความแตกต่างของสัมมาสมาธิกับฌานสมาบัติ ๘

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 13 เมษายน 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    บันทึกครั้งแรกที่รู้แน่ชัด ๑๑-๕-๒๕๕๘ ๑๒๐๐

    ทำลายอวิชาอันเป็นเครื่องขวางกั้น จึงสามารถเปลี่ยนกระแสความตรึกนึกคิดพิจารณาให้สว่างผ่องใสนั้นได้

    จะเรียนสรรพธรรมอันใด จะต้องรู้ที่สุดของสรรพธรรมนั้นก่อน เหตุ เบื้องต้น ท่ามกลาง จนถึงที่สุดแห่งเหตุ และ การดับเหตุในสรรพธรรมนั้น

    ราคานุสัยเพราะปรารภสุขเวทนา ปฏิฆานุสัยเพราะปรารภทุกขเวทนา อวิชชานุสัยเพราะปรารภเวทนานอกนี้ พึงเกิดแก่บุคคลนั้นไซร้ บุคคลนั้น ก็ชื่อว่าประกอบพร้อมแล้วเสวย. แต่เพราะไม่เกิดจึงชื่อว่าไม่ประกอบเสวยคือสลัดออกแล้ว พ้นวิเศษแล้ว

    ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดเป็นอันชื่อว่าไม่ยินดีแล้ว เพราะความที่กิเลสทั้งหลายไม่มีพิเศษ ในอายตนะสิบสอง จักดับในอายตนะสิบสองนี้นั้นเทียว. ก็กิเลสทั้งหลายแม้ดับแล้วเพราะมาถึงนิพพาน ย่อมไม่มีในที่ใด เรียกว่าดับแล้วในที่นั้น. เนื้อความนี้นั้นพึงแสดงด้วยสมุทยปัญหาว่า ตัณหานั้น เมื่อจะดับย่อมดับในที่นั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดแม้เป็นธรรมชาติสงบแล้ว เพราะอาศัยนิพพาน จักเป็นของสงบในโลกนี้แล.

    ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเสวยอารมณ์ทั้งหลายในที่นี้มิใช่หรือ ทำไมจึงไม่ตรัสกิเลสทั้งหลายเล่า.
    ตอบว่า เพราะแม้ความเสวยอารมณ์ทั้งหลายจะเป็นของสงบ เพราะไม่มีกิเลสนั้นเทียว. ธรรมดาความที่ความเสวยอารมณ์ทั้งหลายเป็นของสงบ ไม่มีในฐานะนอกนี้ เพราะฉะนั้น คำนั้นกล่าวดีแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2015
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ฌานหรือญาน ที่ผมรู้มามีถึง ฌาน ที่ ๑๐

    ฌาน ๑ ๒ ๓ ๔ หรือ ๕ ๖ ๗ ๘ ส่วน ๙ และ๑๐

    “ฌาน” ในความหมายที่ถูกต้องคือ การเอาใจจดใจจ่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้เป็นธรรมชาติ ไม่ต้องมีการบีบบังคับ ให้จิตเป็นอารมณ์อันเดียว นั่นก็คือ สมาธิ ดังนั้นฌานก็คือ สมาธิ นั่นเอง “ญาน” เป็นผลของฌาน แปลว่าความรู้ยิ่ง ซึ่งความรู้ในที่นี่ไม่ใช่การจำได้ในสมอง (จิตมยปัญญา) แต่หมายถึงสิ่งที่เรารู้เข้าไปในใจ (ภาวนามยปัญญา) เมื่อเราฝึกจิตแล้ว ตั้งสติแล้ว มีฌานเกิดขึ้น จิตเป็นอารมณ์อันเดียว เราจึงสามารถไม่มีอคติในสิ่งนั้นๆ สามารถเห็นได้ตามที่มันเป็น (วิปัสสนาญาน)

    ไปเที่ยวบ้าน ท่านมาจากดินต่อ เรื่อง ฌาน
    บ้านเดิมอยู่ไกล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2015
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ขอตอบโดยอ้างอิงพระพุทธพจน์เป็นหลักนะครับ

    สัมมาสมาธิฌานที่๔ "อุเบกขาสติปาริสุทธิง"

    มีสติบริสุทธิ์ กุมเฉยอยู่" หรือ "ตทังควิมุตติ" คือ วิมุตติหลุดพ้นชั่วคราว

    เมื่อเทียบเคียงกับ "วิมุตติสุข" คือสุขที่เกิดจากการที่หลุดพ้น

    คำว่าหลุดพ้น หมายถึง ละสุข ละทุกข์ ดับโสมนัส และโทมนัส

    ส่วนสุขที่เกิดจากการได้หลุดพ้นนั้น เป็นสุขที่ปราศจากอามีส

    สุขที่ว่ามานั้นเพราะรู้ดีว่า ไม่ต้องกลับมาทุกข์อีกแล้วดังนี้

    ส่วนสุขที่ติดในฌานสมาบัติมีครับ ไม่ใช่ "วิมุตติสุข"

    ใครที่เคยผ่านสมาธิเสื่อมมาก่อนย่อมรู้ดี "เรื่องสุขที่ติดอยู่ในฌาน"

    รสที่ว่ามานั้นมีรสเดียว รอยเดียวเท่านั้น ต่างกันตรงบารมีที่ได้สะสมมา

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ในเมื่อคุณลีลาว่ามาก็ต้องตอบไป
    ท่านพระอาจารย์หลวงปู่เปรม เปม้งกโร ไม่ใช่ท่านอาจารย์ผมครับ
    ท่านพระอาจารย์ผมคือ หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ
    ส่วนครูผมคือ ท่านอาจารย์ไชยทรง จันทรอารีย์ โปรดเข้าใจตามนี้

    เรื่องท่านพระอาจารย์หลวงปู่เปรมนั้น
    เป็นเพราะผมได้หนังสือท่านมา ที่มีอยู่น้อยกว่าน้อย
    แต่ละเล่มทรงคุณค่ามาก เช่น "เรื่องพระนิพพาน"
    เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นต่อหน้าท่านสมเด็จพระมหาวีระวงศ์

    อีกเล่มที่สำคัญมากคือ"เรื่องวิจารณ์ความน่าเชื่อถือของพระอภิธรรม"
    เป็นที่โด่งดังมากที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
    หนังสือที่เป็นบัญชาของท่านเจ้าหนใหญ่ฝ่ายธรรมยุตให้หลวงปู่เขียน
    ถึงกับมีการโจทย์ เพื่อให้สึกท่านพระอาจารย์หลวงปู่เปรมให้ได้

    โดยการร้องผ่านท่านประธานสังฆสภา เรียกว่า"สังฆมนตรี"
    ในสมัยนั้นยังไม่มี "มหาเถรสมาคม" มีมติของสังฆมนตรีเป็นที่สุด
    ในเรื่องนี้ปรากฏว่า ได้มีการพยายามอยู่หลายครั้งมาก
    จนที่สุดได้มีการประชุม ระหว่างกลุ่มร้องเรียนกับ ท่านประธานสังฆสภา

    มีคำพูดที่หลุดออกมาว่า "เอาไว้เรียนกันเถอะ เมื่อเข้าถึงสังฆสภา
    ถึงเวลานั้นอาจจะมีการคัดบางส่วนทิ้งทะเล เมื่อเป็นมติออกมาแล้วแก้ไขไม่ได้"

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ไม่เอา มติของคนหมู่มาก ได้ไหม?ครับ อยากให้เอา ปฎิสัมภิทา ๔ และ ปาฎิหาริย์ ๓ บีบขมับเอาเลย จะดีกว่าไหม? ท่านธรรมภูติ
     
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คำถาม

    ในวิมุตินี้ ท่านเห็นว่า เป็น"ตทังควิมุตติ" คือ วิมุตติหลุดพ้นชั่วคราว หรือไม่?

    หรือท่านเข้าใจว่า วิมุติในพระสูตรนี้ ถึงที่สุดเพียงแค่ ตทังควิมุตติ หรือ วิมุตติหลุดพ้นชั่วคราว


    สากัจฉสูตร
    ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา ๕ ประการ
    [๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตน
    เอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้
    ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภ
    สมาธิสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้
    พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
    วิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทา
    ได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้
    พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภนิรุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑ ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนา
    ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.
    จบสากัจฉสูตรที่ ๕

    ต้องตรวจดูว่าเป็น ผู้แสดงวิมุติเป็นระดับใดถูกต้องหรือไม่ ?
    และถ้าใช่ ก็จะมีวิมุติที่ตอบไม่ได้อีกสำหรับผู้เข้าถึงวิมุติ
    แล้วผู้ที่ถึงวิมุติหลุดพ้นไม่ชั่วคราวแล้วคือดับสนิท
    จะเอาอาการใดมาพยากรณ์เรื่องวิมุติทัสสนสัมปทาได้


    โปรดช่วยพิจารณา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images (6).jpg
      images (6).jpg
      ขนาดไฟล์:
      10.2 KB
      เปิดดู:
      50
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2015
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    คำว่า "วิมุตติ" คือ หลุดพ้น

    การหลุดพ้นก็คือการหลุดพ้นครับ

    ความแตกต่างอยู่ที่ว่า การหลุดพ้นนั้น เป็นหลุดพ้นได้ชั่วครั้งชั่วคราว

    หรือว่า "วิมุตติสุข" คือหลุดพ้นได้ถาวร ไม่กลับมาถูกครอบงำอีกแล้ว

    ที่นี้ ในสัมมาสมาธิฌานที่๔นั้น เป็นสภาวะชั่วคราวที่ผู้ได้ใหม่ยังไม่ชำนาญ

    ดูเหมือนว่าจะง่าย แต่บอกได้เลยว่า เข็นครกขึ้นภูเขาว่ายาก ยากยิ่งกว่ายาก

    จะให้ได้ชำนาญเป็นวสีไม่ใช่เรื่องง่ายๆอย่างที่คิดกัน โค ต รยาก

    คำว่าเป็นวสีเพียงแค่น้อมก็สำเร็จ ที่หลวงตาเรียกว่า "ขณะแห่งสมาธิ"

    ที่สำคัญควรแยกฌานที่เป็นเอกคัตตารมณ์ที่เกิดจากสัญญาอันละเอียด

    ออกจากสัมมาสมาธิฌาน ที่เป็นสติสัปชัญญะ หรือที่เรียกว่า"สติปัญญา"

    เป็นการแปลงสัญญาให้เป็น"ปัญญา" คือระลึกได้แล้ว

    ฌานในสัมมาสมาธิไม่ใช่มีอารมณ์เป็นหนึ่งที่เรียกว่าเอกคัตตารมณ์

    แต่ที่ฌานที่เกิดจากการปล่อยวางอารมณ์ออกไปจนหมด เหลือแต่"รู้อยู่ที่รู้"

    การจะได้ฌานนั้นไม่ยาก แต่การประคองรักษาสภาวะฌานที่ได้นั้นยากกว่า

    ฌานคือการเพ่ง การรู้อะไรอย่างต่อเนื่องเนืองๆ เราเรียกว่าการเพ่ง

    แต่การรักษาอาการรู้นั้นให้เป็นปรกติได้นั้น เป็นเรื่องของผู้ที่ชำนิชำนาญแล้ว

    การที่จะคุยว่าตนเองได้อะไรนั้น เป็นเรื่องง่ายที่เป็นไปได้

    แต่การประคองรักษาสิ่งที่ตนเองได้นั้นสิยาก

    คนที่ได้แล้ว มักไม่ค่อยอยากคุยว่าได้อะไร

    เพราะเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความเพียรพยายามประคองไว้อย่างยิ่ง

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

    ปล. การพยากรณ์เรื่องวิมุติทัสสนสัมปทานั้น
    ขอเป็นเรื่องของพระพุทธองค์ดีกว่านะครับ
    พลาดพั้งไป อาจเป็นบาปโดยไม่รู้ตัว
     
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จะไม่ลองเปลี่ยนอาจารย์ดูบ้างเลยหรือ หลายๆอาจารย์ก็ย่อมได้หลากหลายความรู้
    แล้วเอามาเทียบเคียงว่าอันไหนถูกต้องแน่นอน อาจารย์ไหนสอนมีเหตุมีผลมากกว่ากัน
    อย่าไปหมกมุ่นแต่เพียงอาจารย์ท่านเดียวถ้าสอนถูกก็ดีไป ถ้าสอนผิดก็ซวยเลย เรียกว่าซวยไปทั้งชาติ

    คนที่ไม่เคยเรียนพระอภิธรรมก็ย่อมไม่เข้าใจพระอภิธรรม แต่ดันก็เสือกไปเข้าใจพระอภิธรรม
    ถึงกะแต่งหนังสือโจมตีพระอภิธรรมเชียวหรือ โด่งดังในสมัยนั้นแล้วทำไมไม่ถ่ายโอนมาถึงปัจจุบันล่ะ
    แสดงถึงว่ามันน่าจะมีอะไรผิดปรกติอยู่นะกับหนังสือเล่มนั้น ดีจริงมันก็ต้องสืบต่อ copy แจกมาจนถึงทุกวันนี้ใช่หรือไม่
    คนที่คิดว่าตัวเองมีเหตุมีผลแต่ทำไมเชื่ออะไรที่มันง่ายเกินไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 พฤษภาคม 2015
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ช่วยอธิบายให้ฟังหน่อยซิการหลุดพ้นชั่วคราว กับกับหลุดพ้นถาวรน่ะ
    เอาอะไรไปทำให้หลุดชั่วคราวบ้างถาวรบ้าง ธรรมที่ทำมันแตกต่างกันตรงไหน

    มันมีด้วยหรือ ยากยิ่งกว่ายาก มันอยู่ในระดับไหนเคยได้ไปสำรวจมาแล้วหรือถึงได้บอกว่ายากยิ่งกว่ายาก

    ชำนาญจนเป็น "วสี" มันเป็นยังไง? แล้วทำไมเพียงน้อมจิตก็สำเร็จ เป็น"ขณะแห่งสมาธิ" แล้วนี่จะต้อง "งง" ต่ออีกไหมล่ะนี่
    จะสอนก็ควรทำให้มันแจ้ง ไม่ใช่มาซ่อนๆ ให้เป็นข้อคิดหมกดูเหมือนว่ามีความพิเศษมีมนต์ขลังเสียอย่างนั้นแหละ

    เอกัคคตา กลายพันธ์มาเป็นสัญญาที่ละเอียด
    แปลงสัญญาให้มาเป็นเป็นปํญญา มันลึกซึ้งขนาดนั้นเลยหรือ

    ยิ่งพูด ยิ่งนานก็ยิ่งกำเริบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 พฤษภาคม 2015
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    มันยังจะมีช่องทางพอที่จะเหลือไว้ใช้เชื่อบ้างไหม ธรรมภูต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • profile.jpg
      profile.jpg
      ขนาดไฟล์:
      76.8 KB
      เปิดดู:
      66
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 พฤษภาคม 2015
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ๓๒. วิมุตติ
    ถาม วิมุตติ คืออะไร?

    ตอบ พระพุทธศาสนาแสดง วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกิเลสไว้ ๕ อย่างคือ
    ๑. วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการข่มไว้ด้วยอำนาจของฌาน เพียงปฐมฌานก็สามารถข่มธรรมอันเป็นข้าศึก คือนิวรณ์ ๕ มีกามฉันทะนิวรณ์ได้แล้ว แต่ไม่อาจละนิวรณ์ ๕ ให้ขาดไปจากใจได้ หมดอำนาจฌาน กิเลสคือนิวรณ์ก็เกิดได้อีก
    ๒. ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยองค์นั้น ด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ เพียงได้นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่แยกนามกับรูปว่าเป็นคนละอย่าง ก็สามารถละความเห็นผิดว่านามรูป เป็นตัวตนได้ชั่วคราว
    ๓. สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยการตัดขาด ด้วยมรรคญาณ กิเลสที่ถูกตัดขาดไปแล้วย่อมไม่กลับมาเกิดได้อีก
    ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส เพราะกิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผลจิต
    ๕. นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการสลัดออกจากธรรมอันเป็นข้าศึกคือกิเลส ด้วยนิพพาน
    ในวิมุตติ ๕ อย่างนี้ วิมุตติ ๒ อย่างแรกเป็นโลกียะ ส่วนวิมุตติ ๓ อย่างหลังเป็นโลกุตตระ ปัญญาคือความรู้ในวิมุตติ ๕ อย่างนั้น เรียกว่า วิมุตติญาณ
    ใน อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต กล่าวถึงวิมุตติ ๒ อย่างคือ เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ว่า
    [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติฯ

    เป็นอย่างนั้นสินะ


    แสดงว่าเราไป ฟันเอา ๒ อย่างแรกมาซึ่งเป็นของโลกียะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2015
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ใน คัมภีร์บุคคลบัญญัติ แสดงวิมุตติของพระอรหันต์ ๒ อย่าง คือ อุภโตภาควิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ไม่มีเจโตวิมุตติ
    อุภโตภาควิมุตติ ได้แก่ บุคคลที่ได้สมาบัติ ๘ คือได้ทั้งรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ออกจากสมาบัติแล้วเจริญวิปัสสนา เห็นความเสื่อมไปสิ้นไปของสังขารทั้งหลายด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยมรรคปัญญา กล่าวคือบุคคลประเภทอุภโตภาควิมุตตินี้พ้นจากรูปกายคือรูปฌานด้วยอรูปฌานหรืออรูปสมาบัติ และเพราะเจริญฌานที่มีอรูปเป็นอารมณ์ จึงชื่อว่าพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติก่อนเป็นครั้งแรก จากนั้นจึงพ้นจากนามกาย คือกิเลสด้วยอริยมรรคเป็นครั้งที่สอง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอุภโตภาควิมุตตบุคคล เพราะหลุดพ้นจากส่วนสองคือ ๒ ครั้ง ครั้งแรกพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ ครั้งที่ ๒ พ้นจากกิเลสด้วยอริยมรรค
    ท่านจัดบุคคลที่ชื่อว่าอุภโตภาควิมุตติไว้ ๕ พวกคือบุคคลที่ได้อรูปสมาบัติ ๔ ออกจากอรูปสมาบัติแต่ละสมาบัติแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วจึงบรรลุพระอรหัตต์จัดเป็น ๔ พวก กับพระอนาคามีผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว บรรลุพระอรหัตต์อีกพวกหนึ่ง จึงเป็น ๕ พวก
    สรุปว่า บุคคลที่ได้ชื่อว่า อุภโตภาควิมุตตินั้น ได้แก่พระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ ๘ เท่านั้น

    ปัญญาวิมุตติ ได้แก่บุคคลผู้มิได้ถูกต้องสมาบัติ ๘ ด้วยกาย แต่หลุดพ้นจากกิเลสเพราะเห็นด้วยปัญญา ท่านจัดปัญญาวิมุตติบุคคลไว้ ๕ พวก คือพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก คือเจริญวิปัสสนาล้วนๆ พวกหนึ่ง และบุคคลผู้ออกจากรูปฌาน ๔ แต่ละฌานแล้วเจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหันต์อีก ๔ พวกคือ
    ออกจากปฐมฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากทุติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑
    ออกจากตติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากจตุตถฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์อีก ๑ จึงรวมเป็น ๕ พวก ซึ่งพระอรหันต์ทั้ง ๕ พวกนี้ไม่มีท่านใดเลยที่ได้สมาบัติ ๘ อย่างมากก็ได้เพียงรูปฌาน ๔ เท่านั้น

    ถึงกระนั้น บุคคลทั้งสองพวกนี้ คือทั้งอุภโตภาควิมุตติและปัญญาวิมุตติต่างก็ได้ชื่อว่า พระอรหันต์ผู้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงเป็นสมุจเฉทวิมุตติด้วยกันทั้งสิ้น


    ปลายทางคืออย่างเดียวกัน ถึงจะได้มากได้น้อยก็ตาม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • -14-6.jpg
      -14-6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43.7 KB
      เปิดดู:
      48
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก
    เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลง สู่ความตรึก ละเอียด
    เป็นวิสัยของบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง
    ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้
    เป็นสภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นนี้ แม้ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
    เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
    หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้ นี้ก็แสนยากที่จะเห็นได้
    ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา
    ข้อนั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา
    จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา”


    https://youtu.be/oaAkVRnEMsE
     
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ผมพอเพียงกับการที่มีท่านพระอาจารย์หลวงพ่อสนอง แห่งวัดสังฆทานเป็นอาจารย์

    คนซวยน่าจะไม่ใช่ผมแน่นอน ถ้ามีอาจารย์ดีๆจะซวยได้ยังไงใช่หรือไม่?

    เพราะมีอาจารย์อย่างพอเพียง จึงได้มีเหลือกิน เหลือใช้ เหลือทำบุญได้บ่อยๆ

    ไม่จัดว่ารวย แต่ไม่จนแน่นอน อย่าห่วงเลยหมานเอ๋ย รู้จักห่วงตัวเองเถอะ

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ที่หมานพยายามดีสเครดิตหนะ ระดับมหาเปรียญทั้งนั้น
    แล้วหมานคิดว่าได้เรียนอภิธรรมมาหรือเปล่าล่ะ
    แสดงว่าหมานไม่พยายามอ่านให้เข้าใจ
    แต่พยายามดีสเครดิตด้วยอคติที่มีอยู่ประจำใจ

    ทางท่านประธานสังฆสภาก็กล่าวไว้ชัดๆแล้วว่า
    เอาไว้เรียนกันเถอะแม่... ถึงเวลานั้น ถ้าเอาเข้าสังฆสภาพิจารณา
    เมื่อเป็นมติออกมา คงต้องคัดทิ้งทะเลไปบ้างหละ แก้ไขไม่ได้แล้ว
    นี่ไง จึงยังคงอยู่มาไว้เรียนกันจนทุกวันนี้

    ถ้าไม่ดีจริง พระผู้ใหญ่ที่มีบัญชาให้เขียนขึ้นมา
    คงไม่มีลายเซ็นว่า "เห็นชอบตามนั้น"

    เฮ้อ!!!
    หมานเอ๋ย การจะเชื่ออาไรอย่าเชื่อแบบงมงาย
    ควรยืนอยู่บนหลักเหตุผล ที่ตริตรองตามความเป็นจริงได้
    เพราะศาสนาพุทธได้ชื่อว่า เป็นศาสนาที่มีเหตุ มีผล มีที่ มาที่ไปชัดเจน

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    หมานเอ๋ย หมานเคยผ่อนบ้านหรือเปล่า?
    ถ้าเคยผ่อน คงพอรู้นะว่าชั่วคราว กับถาวรต่างกันยังไง

    ส่วน "วิมุตติ" นั้น เป็นเรื่องของรสชาดคือ "ความอร่อย"
    หมานไม่เคยได้กินรสชาดนั้น
    จ้างให้ท่านพระอริยสาวกมาพูดเองให้หมานฟัง หมานก็ไม่เข้าใจอยู่ดี

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    หมานเอ๋ยอ่านโพสข้างบนด้วยนะ

    แล้วมีพระพุทธพจน์ตรัสไว้ว่า
    "ธรรมะของพระพุุทธองค์นั้น ละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง เข้าถึงได้ยาก
    มีเฉพาะบัณฑิตเท่านั้น ที่จะเข้าใจได้"
    แจ่มแจ้งพอหรือยัง หรือว่ามียังซ่อนเร้นอยู่
    ว่า จริงๆนะ มันง่ายๆ สบายๆ ลัดสั้น เฮ้อ!!!

    หมานเอ๋ย ที่ว่า "ยากยิ่งกว่ายาก"นั้น
    เหมือนหมานไปบอกพวกว่า ขี้เหล้า เมายาให้เลิกสิ
    อาจเข้าใจคำนี้ ดีกว่าหมานก็ได้นะ

    เมื่อยังมีปุถุขนคนอุนจิเหม็น เต็มบ้านเต็มเมืองอย่างทุกวันนี้
    คำว่า"ยากยิ่งกว่ายาก"นั้น พอเข้าใจได้
    หรือว่า หมานเป็นอริยะตราตั้งกับเค้าด้วย

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    หมานเอ๋ย

    ไม่รู้จริงๆ แกล้งโง่ หรือโง่จริงๆ บอกได้นะ

    แม้เจตนา ยังมีสองเจตนาเลย เจตนาที่จะยึด กับ เจตนาที่จะปล่อยใช่หรือไม่?

    แล้วสัญญาหละ สัญญาที่จะยึด ก็คือ คนไม่เคยฝึกจิตฝึกใจอย่างหมานไง

    แล้วสัญญาที่จะปล่อยหละ ก็คือ ภาวนามยปัญญา ใช่สัญญาแปลงเป็นปัญญามั้ย?

    แค่นี้คงพอหายโง่ได้บ้างนะ เมื่อไม่เคยพิสูจน์ก็อย่าเพิ่งปฏิเสธสิ

    หมานคงชอบกินยาแบบไม่เขย่าขวด จึงมีอาการกำเริบสืบสานแบบนี้

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โง่จริง ๆ ไม่แกล้งโง่เลย โอ๊ยๆ ยังมีเจตนามีสองเจตนาเข้ามาอีก
    อาจารย์วัดไหนสอนล่ะน่ะหรือนึกเอาเอง ยิ่งคุยด้วยก็ยิ่งเห็นโง่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
    แค่สัญญาก็หนักหนาสากัญแล้วธรรมฑูตเอ้ย อายชาวบ้านชาวช่องหรือท่านผู้เขาบ้าง
    ออกมาจากกะลาเถอะเจ้าอึ่งน้อย ทีหน้าที่หลังอย่าไปอ้างใครเขาว่าเป็นอาจารย์อีกล่ะ
    มันทำให้เสียชื่อเสียงหนักกันเข้าไปใหญ่ มีที่ไหนกลับไปทำลายอาจารย์ตัวเอง
    หรือโง่กันทั้งลูกศิษย์และอาจารย์ว๊ะเนี่ย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 พฤษภาคม 2015
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ไปมาไม่รู้กี่ครั้งแล้วไปอาศัยกินข้าวฟรี ไปดูแม่ชีสวยๆน่ะแล้วกลับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...