-> ตีแผ่ --> สมเด็จวังหน้า + สมเด็จวัดพระแก้ว + สมเด็จพระธาตุพนม

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย pmorn3339, 29 กันยายน 2011.

  1. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    ข้อมูลนี้
    อาจจะทำให้เซียนไม่พอใจ
    นะครับ


    ผมลองค้นหาข้อมูลแล้ว
    เหรียญ "พระธาตุพนมช่วยไทย"
    ไม่มีหลักฐานการสร้างในปี 2483-2484


    อย่าพึ่งสวดกันนะครับ
    หาข้อมูล มาศึกษาร่วมกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มิถุนายน 2015
  2. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    ข้อมูลจากงานวิจัย
    งานศึกษาวิจัยจะทำการศึกษาข้อมูลจากเอกสารหลักฐานข้อเท็จจริงจากแหล่งต่างๆ มากมายหลายแหล่งหลายชิ้น
    จึงเป็นผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือ

    [​IMG]

    โดย ผู้ทำการศึกษาวิจัย (ปกรณ์ ปุกหุต) เป็น นักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
    ได้ทำการศึกษาจาก หนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้อง จำนวน
    1. ค้นคว้าจากหนังสือ ตั้งแต่ปี 2486 - 2549 จำนวน 63 เล่ม
    2. ค้นคว้าจากงานวิจัย และรายงานการศึกษา จำนวน 3 งาน
    3. ค้นคว้าจากบทความที่เกี่ยวข้องกับพระครูวิโรจน์รัตโนบล ตั้งแต่ปี 2518-2549 จำนวน 6 บทความ

    งานศึกษาวิจัยนี้ จึง น่าจะเป็นเอกสารที่ น่าจะเชื่อถือได้

    เครดิต คุณปกรณ์ ปุกหุต

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2015
  3. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467


    เหรียญ "พระธาตุพนมช่วยไทย"

    ไม่มีหลักฐานการสร้างในปี 2483-2484



    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  4. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    [​IMG]

    พระเครื่องลำดับที่ 5
    เหรียญพระธาตุหลังแบบ ปี 2482

    [​IMG] [​IMG]

    --------------------------

    พระเครื่องลำดับที่ 6
    เหรียญพระครูวิโรจน์ฯพิมพ์นิยม ปี 2483 (รูปเหมือนรุ่นแรก)

    [​IMG]

    นอกนั้นก็จะเป็น ผ้ายันต์
    แต่ไม่มีเหรียญ "พระธาตุพนมช่วยไทย"

    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2015
  5. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467

    ผมไม่ได้บอกว่า
    เหรียญ พระธาตุพนมช่วยไทย เป็นเหรียญเก้ นะครับ
    เพียงแต่จะบอกว่า มีข้อมูลว่า เป็นเหรียญที่ไม่ได้สร้างในปี 2483 เท่านั้นครับ


    ขอบคุณครับ
     
  6. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    ประวัติท่าน
    ประดิษฐ์ ยุวะพุกกะ

    MiX Magazine : ประดิษฐ์ ยุวะพุกกะ

    “ราวปี พ.ศ.2482 มีคำสั่งจากกรมศิลปากรให้นักศึกษาไปช่วยเขียนภาพและลายเพดานตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาลให้เสร็จสมบูรณ์ อีก 1 ปีถัดมามีคำสั่งจากจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีให้ทางกรมศิลปากรออกแบบดำเนินการต่อเติมเจดีย์พระธาตุพนมให้สูงขึ้น และให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานโดยการนำของอธิบดีกรมศิลปากร หลวงวิจิตรวาทการ”

    ล้างพู่กัน..สลักหยวก

    ในระหว่างที่ทำการก่อสร้างได้เกิดสงครามอินโดจีน ตามริมฝั่งโขง มีการปะทะกันด้วยอาวุธและระเบิดเป็นครั้งคราว ในเวลากลางวันพวกผมปฏิบัติงานก่อสร้างขึ้นยอดพระธาตุ ผูกเหล็ก เทคอนกรีต พอกลางคืนก็อยู่เวรเดินยามร่วมกับตำรวจและครูประชาบาลดูแลและรักษาความปลอดภัยตามริมฝั่งแม่น้ำโขง แต่พวกเราที่เป็นนักศึกษาที่สมัครไปทำการก่อสร้างบูรณะพระธาตุพนม ก็ไม่ท้อถอย ต่างตั้งหน้าปฏิบัติงานก่อสร้างจน สำเร็จภายใน 6 เดือน ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่จะสำเร็จการศึกษา

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2015
  7. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    วัตถุประสงค์หลักในการก่อสร้างบูรณะองค์พระธาตุพนม เมื่อปี 2483 คือ
    1. เพื่อนำทองยอดพระธาตุมาเก็บรักษาให้ปลอดภัยเนื่องจากอยู่ในช่วงสงคราม
    2. เปลี่ยนรูปทรงองค์พระธาตุจาก ศิลปล้านนา เป็นแบบ เจดีย์ของไทย

    การบูรณะองค์พระธาตุพนมปี 2483-2484 อาศัย มติ ครม. โดยจอมพล ป พิบูลย์สงคราม บัญชาให้ หลวงวิจิตรวาทการนำนักเรียนช่างศิลปากรกว่า 40 คนทำการบูรณะ และนักเรียนช่างทำงานไปด้วยพร้อมกับหลบกระสุนปืนและระเบิดไปด้วยทำงานบูรณะอยู่ราว หกเดือน จึงแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2484

    ดังนั้น เนื่องจากอยู่ในระหว่างสงครามจึงต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร่งด่วน และ ต้องการเปลี่ยนรูปทรงเจดีย์จาก สถาปัตยกรรมล้านช้าง ให้เป็น ยอดเจดีย์แบบไทยภาคกลาง ตามนโยบายของทางรัฐบาล จึงน่าจะเป็นการบูรณะโดยใช้งบประมาณของทางราชการ ไม่ต้องขอรับเงินบริจาคจากประชาชน จึง ไม่น่าจะมีการสร้างเหรียญ "พระธาตุพนมช่วยไทย" เพื่อหาทุนโดยให้ประชาชนเช่า ซึ่งก็เป็นไปตามข้อมูลที่ได้มาว่าไม่มีประวัติการสร้างเหรียญ "พระธาตุพนมช่วยไทย" ในปี 2483 เพื่อระดมทุน เพราะเมื่อ ครม อนุมัติ 9 ตุลาคม 2483 ก็เริ่มทำการก่อสร้างบูรณะภายในเดือน พฤศจิกายน 2483 ในทันที

    [​IMG] [​IMG]


    ขอย้ำนะครับ
    ผมไม่ได้บอกว่า

    เหรียญ พระธาตุพนมช่วยไทย เป็นเหรียญเก้ นะครับ
    เพียงแต่จะบอกว่า มีข้อมูลว่า เป็นเหรียญที่ไม่ได้สร้างในปี 2483 เท่านั้นครับ


    ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2015
  8. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    [​IMG]

    ทีนี้พอจะเข้าใจแล้วนะครับว่า
    ทำไม คุณหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งเป็นคนรับผิดชอบการก่อสร้างบูรณะพระธาตุพนมปี 2483-2484 จึงไม่บรรจุผลงานชิ้นนี้ไว้ในทำเนียบผลงานของท่าน

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 มิถุนายน 2015
  9. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    แล้ว นิยายเรื่องนี้

    ต่อไปก็จะเหลือแต่ "ตำนาน"



    [​IMG]


    ขอย้ำอีกครั้งนะครับ
    ผมไม่ได้บอกว่า
    เหรียญ พระธาตุพนมช่วยไทย เป็นเหรียญเก้ นะครับ
    เพียงแต่จะบอกว่า มีข้อมูลว่า เป็นเหรียญที่ไม่ได้สร้างในปี 2483 เท่านั้นครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 มิถุนายน 2015
  10. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467


    การที่ หลวงวิจิตวาทการ ไม่นำเอาผลงานการบูรณะพระธาตุพนมเมื่อปี 2483-2484 บรรจุไว้เป็นผลงาน
    เพราะอะไร???

    เรามาดูสาเหตุของการพังทลายขององค์พระธาตุพนม


    h ttp://www.baanmaha.com/community/thread45094.htmlffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>

    จากการศึกษาของคณะอนุกรรมการเพื่อรักษาสภาพเดิมขององค์พระธาตุพนม และบริษัทวิศวกรรมที่เข้ามาศึกษาหาสาเหตุภัยพิบัติครั้งนี้ได้ตั้งสมมุติฐานไว้ดังนี้คือ

    1. ฐานรากขององค์พระธาตุทรุดตัวไม่เท่ากัน ทำให้อาคารเสียการทรงตัว
    2. วัสดุก่อสร้างซึ่งสร้างมานาน เป็นอิฐบางส่วนเสื่อมสภาพไม่สามารถรับน้ำหนักดีเท่าด้านอื่น ทำให้เสียศูนย์ จึงล้มพังทลาย
    3. เกิดจากแรงกดน้ำหนักภายในของวัสดุในองค์พระธาตุพนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือความชื้น จนผนังอิฐบางส่วนทนรับน้ำหนักไม่ไหว แตกร้าวล้มในที่สุด

    จากการศึกษาของบริษัทวิศวกรรมได้ขุดศึกษาชั้นดินลงมาพบชั้นกรวดในระดับความลึก 20 เมตร ซึ่งจัดว่าเป็นชั้นรากฐานที่ดีมาก และไม่มีการทรุดตัวของชั้นดินโดยรอบเลย ประเด็นในข้อที่ 1 จึงตกไป

    ส่วนในข้อที่ 2 และ 3 นั้น มีเค้าความเจริญอยู่มาก แต่ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในกรณีทั่วๆ ไป เป็นพฤติกรรมต่อเนื่องที่สร้างสมติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าสามสิบปี กล่าวคือ เมื่อมีการต่อยอดโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2483-2484 นั้น ไม่มีการเสริมความแข็งแรงฐานเรือนธาตุทั้งสองชั้นใหม่ ทั้งที่ฐานทั้งสองต้องแบกน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล

    ความแข็งแรงมั่นคงเท่าที่มีอยู่ได้กลับเป็นความรอบคอบของท่านราชครูหลวงโพนสะเม็ก การต่อยอดครั้งนั้นได้อัดอิฐดินภายในโพรงอาคารเดิมจนทึบตันรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดีและลำพังอิฐก่อสร้างอาคารในส่วนที่ดีอยู่นั้น (อยู่ในช่วงประมาณ พ.ศ. 1300-1400) มีความแข็งแรงเกือบเท่าคอนกรีต

    ความแข็งแรงทั้งหมดนี้จึงแยกน้ำหนักของยอดอาคารองค์พระธาตุได้เป็นอย่างดียิ่ง ต่อเมื่อมีการต่อยอดเสริมขึ้นใหม่นั้นเปิดช่องระบายอากาศทุกด้าน ช่องเหล่านี้เป็นทางให้น้ำฝนสาดเข้าไปได้ แต่ไม่ได้เปิดทางระบายน้ำไว้ เมื่อน้ำเข้าไปช่องเหล่านี้ก็จะไหลไปกองอยู่ที่มุมใดมุมหนึ่งที่ไม่ได้ระดับ น้ำเหล่านี้ค่อย ๆ ซึมเซาะอิฐให้เสื่อมสภาพไปอย่างช้า ๆ จนฐานรากไม่สามารถรับน้ำหนักท่อนบนไหว พังทะลายลงมาทั้งองค์

    ----------------------------------

    สรุป คือ

    พระธาตุพนมล้มลงมาทั้งองค์เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518
    เกิดจาก ความผิดพลาดของการออกแบบต่อเติม องค์พระธาตุพนมเมื่อปี พ.ศ.2483-2484


    ---------------------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มิถุนายน 2015
  11. มันตรัย

    มันตรัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    8,346
    ค่าพลัง:
    +8,189
    เยี่ยมครับพี่ ข้อมุลแท้จริงเพื่อเด็กรุ่นใหม่จะได้ไม่หลง ตอนนี้พวกวังหน้าวังหลวงก็จุกอกตายไปแล้ว
     
  12. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,670
    ผมดูข้อมูลคุณpmorn ที่ยกมาถ้าตามหลักการสืบค้นก็ไม่ได้มีข้อมูลตรงไหนบอกว่า สร้างหรือไม่สร้างนี้ครับ แต่ทางวัด หรือบุคคลในบริเวณนั้น ก็รู้ว่ามี และมีการสร้างติดต่อกันมา ถึงสามรุ่นแล้ว ถ้าจะเอาข้อมูลที่ท่านยกมา แล้ว มาหักล้างกับ ข้อมูลหลักฐานที่มีอยู่ และแหล่งข้อมูลของท่านก็ไม่ต่างกัน กับที่ท่านบอกเป็นเรื่องเล่าหรอกครับ ลองค้นข้อมูลจนแน่ใจก่อนที่จะนำเสนอดีมั๊ยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2015
  13. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,670
    และการโยงประเด็นไปมาระหว่างการล้มกับการสร้างเหรียญนี้ ผมวามันคนละส่วนกันครับ ถ้าจะสืบค้นเรื่องอะไร ก็ทำเป็นอย่างๆไปครับ ถ้าจะให้ดี ตัดเรื่องความเห็นส่วนตัวออกจาก ข้อเท็จจริงก่อนครับ ค้นข้อมูลให้แน่ใจ แล้วค่อยลง ก็ยังไม่สายครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2015
  14. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,670
    ผมให้ข้อมูลท่านนิดหนึ่งครับ เผื่อท่านไปค้นต่อ ผมเคยอ่านพบ แต่นานมาแล้วนะครับ เหรียญช่วยไทยสร้างพร้อมกันกับเหรียญพระครูวิโรจน์ และหลวงวิจิตเป็นคนจัดสร้างทั้งสองเหรียญ ครับ ขออีกอย่างนะครับ การจะสรุปอะไรเป็นเรื่องเล่าหรือนิทาน ท่านลองไปถามสมาคม เกียวกับพระเครืองที่เขาจัดประกวด ว่าเขาเอาข้อมูล มาจากไหน ทำไมถึงมีการใส่รายการนี้เข้าไป หรือว่าท่านจะสรุปว่าเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมา ถ้าจะเชื่ออย่างนั้นก็อย่าค้นเลยครับเพราะ ท่านมีธงไว้ในใจท่านแล้ว
     
  15. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,670
    อีกอย่างท่านเลือกที่จะลงข้อมูลไม่ครบ เพื่อที่จะำลายข้อมูลบางอย่างด้วยครับ
    [​IMG]

    ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลสำคัญในการตรวจค้นแต่ท่านก็มิได้ กล่าวถึง
     
  16. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,670
    ถ้าท่านกล่าวอย่างท่านที่ผมบองความเห็นมา ก็ยังน่ารับฟัง แต่ก็ยังมีระบุบุคคลที่ เป็นผู้อยู่ในเหตุการปลุกเศก

    ตามรอยพระขลังเมืองดอกบัว พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นันตโร) "ญาท่านดีโลด" ผู้เป็นต้นวงศ์กรรมฐานสายพระบ้านhttp://palungjit.org/usercp.php
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2015
  17. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,670
    เอาแนววิชาการบ้างนะครับ ผมคัดลอกมาจากบทความ "บทความนำเสนอ ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 4 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 13-14 พ.ย.51"

    ปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะแบบชาตินิยม:ปราสาทเขาพระวิหาร-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
    อรรคพล สาตุ้ม

    ขอลอกบางส่วนท่านที่สนใจ อ่านตามลิงค์นะครับ

    " อนึ่ง หนังสือพรมแดนแห่งความรู้ : รวมบทความของศิษยานุศิษย์ของพระยาอนุมานราชธนโดยกรอบของการเขียนเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะของผู้เขียนคนเดียวกัน คือ พิริยะไกรฤกษ์ ก็ปรากฏว่า วิเคราะห์ประวัติการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ตั้งแต่ รัชกาลที่ 4-2527 และกล่าวว่าช่วง 2483-2492(กระแสชาตินิยมเช่นกัน) มีความนิยมอารยธรรมตะวันตกนั้น มากกกว่าค้นคว้าเรื่องในอดีต เป็นต้น ซึ่งในสมัยช่วงศึกอินโดจีนนั้น หลวงวิจิตรวาทการ ก็สร้างเหรียญพระธาตุพนมช่วยไทย และมีพระพุทธชินราชสมัยสงครามอินโดจีน
    หลวงวิจิตรวาทการ ก็นิยมวัฒนธรรมสุโขทัยด้วย ดังนั้น บทความนี้ ผมจะวิเคราะห์ที่มาของปรัชญาประวัติศาสตร์ศิลปะแบบชาตินิยม และโบราณคดี เพิ่มเติม จากที่มีการมองผ่านเรื่องอำนาจของการเมือง แผนที่ และความรู้ทางประวัติศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานของข้อมูลประเด็นเขาพระวิหาร(ซึ่งชื่อ ก็บอกว่าอยู่บนภูเขา) ที่เสนอกันไปหลายแง่มุมแล้ว และผมมองผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิโดยผ่านกรอบคิดทางศิลปะ และสิ่งแวดล้อม นั่นเอง"
     
  18. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,670
    พลิกล๊อคครับ คิดเล่นๆนะครับ พระธาตุพนมช่วยไทย อาจ สร้างวาระเดียวกับ พระพุทธชินราชอินโดจีนครับ เจ้านาย......
     
  19. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467

    ข้อมูลนี้ มีปรากฏตามหน้าเวบที่ขายเหรียญ "พระธาตุพนมช่วยไทย" อยู่ทั่วไปครับ
    ก๊อปปี้กันไปแล้วก็ก๊อปปี้กันมา


    เป็นข้อมูลที่ คนเขียน เขา "คาดว่า"เท่านั้น
    "คาดว่า" แปลว่า คนเขียนข้อมูลนี้ "คิดเอาเอง"


    เพื่อนำมา "โยงใยใส่" ประวัติศาสตร์
    โดยไม่มี หลักฐานยืนยันข้อเท็จจริง ใดๆเลย

    เหมือนนิยายประวัติ สมเด็จวัดพระแก้ว สมเด็จพระธาตุพนม แตกกรุ เป๊ะ

    แต่ข้อมูลที่ผมนำมาเสนอ
    เป็น ผลงานศึกษาวิจัยทางวิชาการ ของ คุณปกรณ์ ปุกหุต

    "งานวิจัยทางวิชาการ" เทียบกับคำว่า "คาดว่า" หรือคำว่า "คิดเอาเอง"

    ผมไม่เถียงกับท่านว่าอันไหนน่าเชื่อถือกว่ากัน
    พสมช. ตัดสินใจได้เองครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2015
  20. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467


    ความน่าเชื่อถือของ
    ผลงานวิจัยทางวิชาการ
    ขึ้นอยู่กับ ชนิดและจำนวนเอกสาร ที่นำมาใช้ในการวิจัย


    ไม่ใช่ แค่ "คิดเอาเอง" แล้ว "คาดว่า" หรือแค่ " มีคนกล่าวว่า "




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...