วิธีเป็นอริยะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย bigtoo, 7 กันยายน 2015.

  1. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ไม่รดน้ำมนต์. ไม่สวดอ้อนวอน. ไม่ไหว้เทพทุกองค์ (ที่ไม่ใช่อริยเทวดา)ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว ไม่มีวัตถุที่เรียกว่าวัตถุมงคล. แค่นี้ก็มีสิทธิ์เป็นอริยะ
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,424
    ค่าพลัง:
    +35,040
    วิธีการแบบนี้แบบที่คนข้างบนมันเขียนนะครับ
    ผมเอาศีรษะเป็นประกันว่าพวกนี้ชาตินี้มัน
    คงไปเป็นเปรต เป็นอสูรกาย เป็นเดรัชฉาน ลงนรกไปก่อนล้านเปอร์เซนต์ครับ
    ถ้าเกิดว่าตายนะครับ เอาตอนนี้ภูมิจิตไม่เกินอสูกายซักตัว
    ที่สำคัญพวกนี้มันจะหลงตัวเอง คิดว่าตัวเองเป็นระดับโน้นนี่ทั้งก็ก
    ทั้งที่ตัวจิตไม่มีความสามารถอะไรความเข้าใจทางด้านนามธรรมก็ไม่ถูก
    ทั้งๆที่กิเลสทั้งหลายมันเป็นนามธรรมทั้งนั้น
    แต่พวกนี้จะเชื่อว่าสิ่งที่มันได้ยินได้ฟังได้วิเคราะห์มา
    คือการเป็นอริยะ ทั้งที่เกิดมา แค่ผีจะมาขอส่วนบุญมันซักตน
    ยังไม่มี คิดไปได้ ว่ามีบารมีระดับนี่เป็นระดับโน้น
    อ่านแล้วขำแทบฟันล่วง
    พวกนี้มีความทางจิตส่งอยู่ด้านหนึ่งครับ
    คือแถสญาน. อ้างสญาน ดำน้ำสญาน ปรามาสสญาน
    ยกตนเองสญานและมีอถิญญาที่๖. คือตัดต่อตำราตามใจสญาน
    รวมความว่าสำเร็จอภิญญา ๖ พอดี เป็น
    อภิญญาสายภูติอสูรกายนะครับ ๕๕๕

    อริยะนั้น. อริ(ศัตรู)ยะ คือห่างไกล
    หมายถึงห่างไกลจากเรื่องเศร้าหมอง
    ไม่ว่าจะเป็น ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ
    และห่างไกลจากกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ทั้งหลายครับ
    พวกลาภ ยศ สุข สรรเสริญ ไม่ใช่กิเลส เป็นของอยู่กับโลก
    แต่โลภะที่จะไปยึดเอามานี่หละ เป็นกิเลส ..
    โลภะ โทสะ โมหะมันอยู่ที่จิตใจของเราครับ
    มันอยู่ข้างในนี้ ส่วนลาภ ยศ สุข สรรเสริญมัน
    อยู่ข้างนอกกลาดเกลื่อนดาษดาตามพื้นปฐพี
    ...โลภะที่จะยึด โทสะที่จะโกรธเคือง โมหะที่จะหลง มันอยู่ตรง
    หนาคืบ กว้างศอกยาววา(คือจิตใจ)
    เราต้องมาพิจารณาตรงนี้ให้ดีครับ
    มันถึงจะเห็นผล

    ปล.บางคนจิตกำลังวิปลาส แต่ยังไม่รู้ตัว
    ผลกรรมที่มันปรามาสพระสงฆ์มากบารมี
    กำลังเล่นงาน เค้าเรียกวิบากฉับพลัน
    พวกนี่ถ้าได้ฟังธรรมจะไม่เข้าใจ
    และถ้าได้ปฏบัติกรรมฐานอะไรก็ตาม
    วิบากจะปิดมันทันทีชาตินี้ฝึกอะไรก็ไม่ได้แต่มัน
    มักจะอ้างว่าไม่ใช่ทางแต่มันเคยพยายามฝึกมาแล้ว
    แต่ว่าไม่สำเร็จและเกือบเพี้ยน
    ค่อยๆสังเกตุดูพฤติกรรมพวกนี้ดูให้ดีๆนะครับ
    จะเข้าใจที่ผมพูดได้เอง


     
  3. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    งั้นขอถาม
    1รดน้ำมนต์ทำไม
    2สวดอ้อนวอนเอาอะไร
    3ไหว้เทพที่ไม่ใช่อริยะเพื่ออะไร
    4เชื่อได้ไหมมงคลตื่นข่าว
    5แขวนเพื่ออะไรเครื่องรางของขลัง
    ตอบหน่อยซิ
     
  4. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    กระทู้นี้จะด่าจะว่าจะขบจะกัดอะไรไม่ถือสานะครับทำได้เลย แต่ขออย่านำคำท่านอื่นที่ไม่ได้สนทนามาโต้แย้งนะครับกรุณาใช้เหตุผลตรรกะ. แง่มุม พระสูตรมาแสดงนะครับ. เพราะจะเกิดเหตุและผล
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    วันนี้ (ระบุวันว่าวันนี้ เพราะลายเซ็นท่านเปลี่ยนไม่เว้นแต่ละวัน ชื่อไม่ซ้ำซาก ...จาก ลุงแมว,น้องแมว ลุงกล้วย (เฉยๆ) วันนี้ลุงกล้วยไข่) ลายเซ็น Neoworld (ลกข.) "ศีล ๕ ยังพร่อง!!! อย่ารีบเป็นอริยะ"

    แสดงว่า ต้องศีล ๕ เต็มเปี่ยมจึงจะเป็นอริยะได้
     
  6. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    วิธีเป็นพระอริยะต้องเลิกดื่มเหล้านะท่านๆ เจียดเงินทำบุญให้ทาน มีสติอยู่เสมอ อย่าถือเอาเวทนามาเป็นใจ ดูแลสุขภาพร่างกาย อาบน้ำสระผม ตัดผม ไม่เป็นคนดูถูกคน เป็นสัมมาทิฏฐิ และปฏิบัติธรรม
     
  7. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    เหล้าถ้าไม่มีเจตนาดื่มไม่ประกอบเนื่องๆก็ไม่ผิดนะ. ส่วนเรื่องอื่นที่แนะนำมาดีมากครับ
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ดูความหมายคำว่า "อริยะ" แล้วนึกย้อนไปครั้งพุทธกาล คือว่า พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในสังคมของคนซึ่งเขานับถือพราหมณ์มาก่อน ดังนั้น ถ้อยคำบางคำ พระพุทธเจ้าก็นำของเขามาใช้ แต่พระองค์ให้ความหมายเสียใหม่

    ..........

    ผู้ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงนิพพาน ที่ประสบผลสำเร็จบรรลุจุดหมายแล้วก็ดี ผู้ที่ดำเนินก้าวหน้ามาในทางที่ถูก จนถึงขั้นที่มองเห็นจุดหมายอยู่เบื้องหน้าแล้ว และจะต้องบรรลุถึงจุดหมายนั้นอย่างแน่นอนก็ดี ท่านจัดเข้าสังกัดในกลุ่มชนผู้เป็นสาวกที่แท้ของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่าสาวกสงฆ์ ดังข้อความในบทสวดสังฆคุณว่า "สุปฏิปนฺโน ภวคโต สาวกสงฺโฆ" ดังนี้ เป็นต้น

    มีคำเฉพาะสำหรับเรียก เพื่อแสดงคุณสมบัติพิเศษของท่านผู้เป็นสาวกที่แท้เหล่านี้ อีกหลายคำ คำที่ใช้กันทั่วไปและรู้จักกันมากที่สุด คงจะได้แก่คำว่า "อริยบุคคล" หรือ "พระอริยะ" ซึ่งแปลว่า ผู้เจริญบ้าง ท่านผู้ประเสริฐบ้าง ท่านผู้ไกลจากข้าศึกคือกิเลสบ้าง ฯลฯ

    ความจริง คำว่า "อริยบุคคล" เป็นคำที่นิยมใช้สำหรับพูดถึงอย่างกว้างๆ หรือคลุมๆ ไป ไม่ระบุตัว หาใช่เป็นคำเฉพาะมาแต่เดิมไม่ คำเดิมที่ท่านใช้เป็นศัพท์เฉพาะ สำหรับแยกประเภทหรือแสดงระดับขั้นในบาลีได้แก่คำว่า "ทักขิไณย" หรือ ทักขิไณยบุคคล

    อย่างไรก็ตาม คำว่า "ทักขิไณยบุคคล" ก็ดี "อริยบุคคล" ก็ดี ล้วนเป็นคำเลียนศัพท์ในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงเปลี่ยนแปร หรือปฏิวัติความหมายเสียใหม่ เช่นเดียวกับศัพท์อื่นๆ อีกเป็นอันมาก เช่น พรหม พราหมณ์ นหาตกะ เวทคู เป็นต้น

    คำว่า "อริยะ" ตรงกับสันสกฤต ว่า "อารยะ" เป็นชื่อเรียกเผ่าชนที่อพยพเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป คือประเทศอินเดีย เมื่อหลายพันปีมาแล้ว และรุกไล่ชนเจ้าถิ่นเติมให้ถอยร่นลงไปทางใต้และป่าเขา พวกอริยะ หรืออารยะนี้ (เวลาเรียกเป็นเผ่าชน นิยมใช้ว่า พวกอริยกะ หรืออารยัน) ถือตัวว่าเป็นพวกเจริญ และเหยียดชนเจ้าถิ่นเดิมลงว่าเป็นพวกมิลักขะ หรือมเลจฉะ คือพวกคนเถื่อน คนดง คนดอย เป็นพวกทาส หรือทัสยุ

    ต่อมา เมื่อพวกอริยะเข้าครอบครองถิ่นฐานมั่นคง และจัดหมู่ชนเข้าในระบบวรรณะลงตัว โดยให้พวกเจ้าถิ่นเดิมหรือพวกทาสเป็นวรรณะศูทรแล้ว คำว่าอริยะ หรืออารยะ หรืออารยัน ก็หมายถึงชน ๓ วรรณะต้น คือ กษัตริย์ พราหมณ์ และแพศย์ ส่วนพวกศูทรและคนทั้งหลายอื่น เป็นอนารยะทั้งหมด การถืออย่างนี้ เป็นเรื่องของชนชาติ เป็นไปตามกำเนิด จะเลือกหรือแก้ไขไม่ได้

    เมื่อพระพุทธเจ้าออกประกาศพระศาสนา พระองค์ได้ทรงสอนใหม่ว่า ความเป็นอริยะ หรืออารยะ ไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิด แต่อยู่ที่ธรรม ซึ่งประพฤติปฏิบัติและฝึกฝนอบรมให้มีขึ้นในจิตใจของบุคคล ใครจะเกิดมาเป็นชนชาติใด วรรณะไหนไม่สำคัญ ถ้าประพฤติอริยธรรมหรืออารยธรรม ก็เป็นอริยะคืออารยชนทั้งนั้น ใครไม่ประพฤติ ก็เป็นอนริยะ หรืออนารยชนทั้งสิ้น

    สัจธรรมก็ไม่ต้องเป็นของที่พวกพราหมณ์ผูกขาดโดยจำกัดตามคำสอนในคัมภีร์พระ เวท แต่เป็นความจริงที่เป็นกลาง มีอยู่โดยธรรมดาแห่งธรรมชาติ ผู้ใดรู้แจ้งเข้าใจสัจธรรมที่มีอยู่โดยธรรมดานี้ ผู้นั้นก็เป็นอริยะหรืออารยะ โดยไม่จำเป็นต้องศึกษาพระเวทของพราหมณ์แต่ประการใด และเพราะการรู้สัจธรรมนี้ทำให้คนเป็นอริยะ สัจธรรมนั้นจึงเรียกว่า "อริยสัจ"

    เมื่อว่าตามหลัก บุคคลที่จะเข้าใจอริยสัจ ก็คือท่านที่เป็นโสดาบันขึ้นไป ดังนั้น คำว่า "อริยะ" ที่ใช้ในคัมภีร์โดยทั่วไป จึงมีความหมายเท่ากับทักขิไณยบุคคล ที่จะกล่าวต่อไป และอริยสัจ ๔ บางคราวท่านก็เรียกว่า อริยธรรม หรืออารยธรรม

    อย่างไรก็ตาม คำว่า อริยธรรม หรืออารยธรรมนี้ ท่านไม่ได้จำกัดความหมายตายตัว แต่ยักเยื้องใช้ได้กับธรรมหลายหมวด บางทีผ่อนลงหมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ บ้าง ศีล ๕ บ้าง ก็มี ซึ่งโดยหลักการก็ไม่ขัดกันแต่ประการใด เพราะผู้ที่จะรักษาศีล ๕ ได้ถูกต้อง ตามความหมายอย่างแท้จริง (ไม่กลายเป็นลีลัพพตปรามาสไป) และมั่นคงยั่งยืน ไม่ด่างพร้อยตลอดชีวิต ก็คือคฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันขึ้นไป

    ในอรรถกถาทั้งหลาย เมื่ออธิบายคำว่า อริยะ ที่ใช้กับบุคคล มักอธิบายลงเป็นอย่างเดียวกันหมดว่า หมายถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้า แต่บางแห่งก็สงวนสำรับพระพุทธเจ้าอย่างเดียว

    ส่วนคำว่า อริยะ ที่ใช้เป็นคุณนามของข้อธรรมหรือการปฏิบัติ มักมีความหมายเท่ากับคำว่าโลกุตระ แต่ไม่ถึงกับแน่นอนตายตัวทีเดียว

    เท่าที่กล่าวมาเกี่ยวกับคำว่า อริยะ พอสรุปได้ว่า "อริยะ" นี้จะมีความหมายกว้างสักหน่อย แต่ในกรณีที่ใช้เรียกบุคคลแล้ว จะหมายถึงกลุ่มชนเดี่ยวกับทักขิไณยบุคคลเป็น พื้น คือหมายถึงท่านผู้พ้นจากภาวะปุถุชน และจัดเข้าในกลุ่มสาวกสงฆ์ (ที่ปัจจุบันนิยมเรียกว่าอริยสงฆ์) ยิ่งในคัมภีร์รุ่นอรรถกถาลงมาด้วยแล้ว ใช้อริยะกันในความนี้แทบจะตายตัวทีเดียว

    ในที่สุด ข้อที่ไม่ควรลืม ก็คือพระประสงค์ของพระพุทธเจ้า ที่ทรงมุ่งให้มองอริยะหรืออารยชนในความหมายใหม่ ซึ่งต่างจากพวกพราหมณ์บัญญัติไว้ เมื่อจับความหมายในแง่นี้ ก็ลงข้อสรุปได้อีกท่อนหนึ่ง ซึ่งเน้นความหมายในแง่สังคมว่า อริยะ หรืออารยชนที่เป็นสมาชิกในสังคมไทย คือชุมชนชาวพุทธนั้น เป็นอารยชนโดยอารยธรรม คือด้วยการดำเนินชีวิตตามมรรคาที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา เป็นผู้มีศีลธรรมที่เป็นไปตามเหตุผลบริสุทธิ์ เพื่อไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ให้มีชีวิตร่วมกันที่สงบสุข เอื้อแก่ความเจริญงอกงามแห่งประโยชน์ที่พึงได้พึงถึงตามลำดับ ทั้งแก่ตนและผู้อื่น
     
  9. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ประจำนี่ไม่ได้แน่นอนครับ. แต่ฉลองต้องดูเจตนาด้วยนะครับ.ถ้าไม่มีเจตนาในการดื่มเพื่อความเมามันก็น่าจะไม่ผิด. อย่าดื่มจนเกิดมิจฉาวาจานะ เพราะพระองค์กล่าวว่าเจตนาเป็นกรรม. ศิลห้านั้นต้องบริสุทธิ์ด้วยเจตนา
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    พระอรรถกถาจารย์ ได้ประมวลหลักเกณฑ์บางอย่างไว้ สำหรับ กำหนดว่า การกระทำแค่ไหนเพียงใด จึงจะชื่อว่าเป็นการละเมิดศีลแต่ละข้อๆ เป็นการให้ความสะดวกแก่ผู้รักษาศีล โดยจัดวางเป็นองค์ประกอบของการละเมิด เรียกว่าสัมภาระ หรือเรียกง่ายๆว่า "องค์"

    บุคคลจะชื่อว่าละเมิดศีล (เรียกกันง่ายๆว่าศีลข้อนั้นจะขาด) ต่อเมื่อกระทำการครบองค์ทั้งหมดของการละเมิด ดังนี้

    ศีลข้อ 1 ปาณาติบาต มีองค์ 5 คือ 1. สัตว์มีชีวิต 2. รู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต 3. จิต คิดจะฆ่า 4. มีความพยายาม 5. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

    ศีลข้อ 2 อทินนาทาน มีองค์ 5 คือ 1. ของผู้อื่นหวงแหน 2. รู้อยู่ว่าเขาหวงแหน 3. จิตคิดจะลัก 4.มีความพยายาม 5.ลักของได้ด้วยความพยายามนั้น

    ศีลข้อ 3 กาเมสุมิจฉาจาร มีองค์ 4 คือ 1. อคมนียวัตถุ ได้แก่ สตรี หรือบุรุษที่ไม่ควรละเมิด 2.จิตคิดจะเสพ 3. มีความพยายามในการเสพ 4. ยังมรรค คือ อวัยวะสืบพันธุ์ให้ถึงกัน

    ศีลข้อ 4 มุสาวาท มีองค์ 4 คือ 1. เรื่องไม่จริง 2. จิตคิดจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน 3. มีความพยายามเกิดจากจิตที่คิดจะกล่าวให้คลาดเคลื่อนนั้น 4. ผู้อื่นเข้าใจความที่พูดนั้น

    ศีลข้อ 5 สุราเมรัย ฯ มีองค์ 4 คือ 1. สิ่งนั้นเป็นของเมา 2. จิตใคร่จะดื่ม 3. มีความพยายามเกิดจากจิตที่ใคร่จะดื่มนั้น 4. กลืนให้ล่วงลำคอลงไป
     
  11. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2015
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ลกข. นี่เขาเป็นอะไร

    เวลาปฏิบัติ ก็เข้าใจว่า รับมือรับเจ้ากรรมนายเวรได้ ทั้งที่เราก็ขอเขาก่อนนั่งสมาธิทุกครั้ง

    จนกระทั่งคืนวันพระขณะกำลังทำสมาธิอยู่ จู่ๆร่างของเราก็เหมือนถูกตึง เราก็ปล่อยตามสะบายแค่ตามดู คิดว่าเป็นนิมิตธรรมดา แต่ไม่ใช่ค่ะ เพราะนิมิตธรรมดา เรากำหนดรู้มักจะหายไปได้เอง แต่นี้ไม่ใช่ เขาวิ่งผ่านตัวเราไปค่ะ กระแสของเขาตอนที่ผ่านร่าง เหมือนจิตกับกายเราจะแยกออกจากกัน ความเจ็บปวดที่เราเคยปวด ที่นั่งสมาธิตอนแรก ไม่เจ็บเท่านี้ เหมือนร่างกายเราถูกฉีก เหมือนเส้นเลือดจะระเบิดประมาณนั้นจริง ๆ ค่ะ เราแผ่เมตตาให้เขา เขาก็ไม่ยอม แรงเหวี่ยงเยอะมาก ๆ ทั้งที่ห้องปิดหมดเปิดแอร์นะ แต่มีกระแสลมหมุนตลอดเวลา

    นึกถึงครูบาอาจารย์ เขาเลยปล่อย เราเป็นไข้วันรุ่งขึ้นเลยค่ะ
     
  13. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ธรรมของพระอริยะ สูตรที่ 2


    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งพระอริยะ 10 ประการนี้แล ที่พระอริยะอยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือจักอยู่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    1. เป็นผู้ละองค์ 5 ได้
    2. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ 6
    3. เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก
    4. เป็นผู้มีอปัสเสนธรรม 4 ประการ
    5. เป็นผู้ปัจเจกสัจจะบรรเทาได้
    6. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี
    7. เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว
    8. เป็นผู้กายสังขารอันระงับได้
    9. เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี
    10. เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี


    ภิกษุผู้ละองค์ 5 ได้ คือ ละกามฉันทะ พยาบาท ถิ่นมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉาได้

    ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 ได้แก่
    - เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
    - ฟังเสียงทางหูแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
    - ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
    - ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู
    - ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
    - รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่


    ภิกษุมีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก คือ เป็นผู้ประกอบด้วยใจที่รักษาด้วยสติ

    ภิกษุผู้มีอปัสเสนธรรม 4 ประการ (ธรรมเป็นที่พึ่ง ที่พำนัก) ได้แก่พิจารณาแล้วเสพ พิจารณาแล้วเว้น และพิจารณาแล้วบรรเทา

    ภิกษุผู้ปัจเจกสัจจะบรรเทาได้ (ความเห็นของแต่ละคนที่แตกต่างกันไป) คือเห็นว่าโลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สิ้นสุดบ้าง โลกไม่มี ที่สิ้นสุดบ้างชีวะ(วิญญาณอมตะ/อาตมัน) กับสรีระ เป็นอย่างเดียวกันบ้าง ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างบ้าง หลังตายแล้ว ตถาคต(อัตตา)เกิดอีกบ้าง หลังตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีกบ้าง หลังตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี หลังตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรเทาได้ กำจัดได้ สละได้ คลายได้ ปล่อยวางได้ ละได้ สละคืนได้

    ภิกษุผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี คือ เป็นผู้ละการแสวงหากาม ละการแสวงหาภพ และระงับการแสวงหาพรหมจรรย์

    ภิกษุผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว คือ เป็นผู้ละความดำริในกาม ในพยาบาท และในวิหิงสา(การเบียดเบียน)

    ภิกษุผู้กายสังขารอันระงับได้ (ปัจจัยปรุงแต่งกาย เช่น ลมหายใจเข้า-ออก )คือ ละสุข และทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่

    ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี คือ หลุดพ้นจากราคะ โทสะ โมหะ

    ภิกษุผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี คือ รู้ชัดว่า ราคะ โทสะ และโมหะ เราละได้เด็ดขาด
    ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาล
    ที่ถูกตัดราก ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
     
  14. hitman

    hitman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +440
    ผมไม่รู้ ผมไม่ทราบ เพราะผมยังไม่เป็นพระอริยะเจ้า

    ผมฟังเทศน์ เรื่อง หนึ่งมา มีพระภิกษุสองสหายบวชในสำนักพระพุทธเจ้า

    องค์หนึ่ง ท่านกราบเรียนพระพุทธเจ้าว่าขอเรียน ด้านตำรา คัมภีร์ต่างๆ เรียนด้านคันถธุระ พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาต

    องค์หนึ่ง กราบเรียนพระพุทธเจ้าว่า กระผมแก่แล้ว ผมไม่มีแรงจะทำงานด้านใดใด ผมขอเรียนวิปัสสนาดีกว่า วิปัสสนาธุระ พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาต

    องค์ที่เรียนด้านคันถธุระ เรียนจดจำตำรา เป็น อาจารย์ใหญ่ มีลูกศิษย์ลูกหามาก

    องค์ที่เรียนด้านวิปัสสนาธุระ ก็ ไปปฏิบัติธรรมในป่า จนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ปฏิสัมภิทาญาณ

    อืม หลวงพ่อ ที่เทศน์ให้ฟังเรื่องนี้ กล่าวว่า องค์ที่เรียนคันถธุระ เป็นเสือกระดาษ

    ต่อมา องค์ที่เรียนด้านวิปัสสนาธุระ ก็ได้เป็นอาจารย์ มีพระสงฆ์ มากราบขอเรียนวิปัสสนา เมื่อลูกศิษย์ บรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์แล้ว

    องค์ที่เรียนด้านวิปัสสนาธุระ ก็กล่าวกับ ลูกศิษย์ของตน ว่า ให้ไปกราบ
    พระพุทธเจ้า และ ก็ไปกราบพระอสีติมหาสาวก และให้ไปกราบ องคืที่เรียนด้านคันถธุระ

    ช่วงแรกๆ ที่ ลูกศิษย์ของพระฝ่ายวิปัสสนาธุระ ไปกราบ พระฝ่ายคันถธุระ
    พระฝ่ายคันถธุระก็ถาม ว่าอาจารย์ที่ให้มากราบตน นั้น เป็นใครกัน

    พระอรหันต์ที่เป็นลูกศิษย์ของพระฝ่ายวิปัสสนาธุระ ก็ กราบเรียนว่า
    "อาจารย์ของพวกตนนั้นก็ คือ พระฝ่ายวิปัสสนาธุระที่เป็นสหายกับท่านไงเล่า "

    เมื่อพระฝ่ายคันถธุระเมื่อเห็น พระฝ่ายวิปัสสนาธุระ ถึงแม้อยู่ในป่าก็มีลูกศิษย์มาก แต่ยังมีทิฏฐิอยู่ว่า ตนเก่งกว่า เพราะศึกษามาเยอะกว่า

    เมื่อถึงเวลาอันสมควร อาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ก็ไปกราบพระพุทธเจ้า แล้วก็ไปกราบ พระอสีติมหาสาวก และก็ไปเยี่ยม พระภิกษุผู้เป็นอาจารย์ฝ่ายคันถธุระ สหายของท่าน

    เมื่อ พระพุทธเจ้าทรงเห้นว่า ถ้าหาก พระฝ่ายวิปัสสนาไป หา พระฝ่ายคันถธุระ ฝ่ายคันถธุระ จะปรามาสเอา ไปอยู่ภพภูมินรกกันหมด

    ก็จึงไปโปรด พระพุทธเจ้าจึงตั้งคำถามขึ้นมา ที่ฟังเทศน์ คืออารมณ์สมาธิ

    คือ รูปฌาน 4 กับ อรูปฌาน 4

    ฝ่ายวิปัสสนาธุระตอบได้ หมด เพราะท่านเป็นปฏิสัมภิทาญาณ
    ส่วน ฝ่าย คันถธุระตอบไม่ได้

    พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ พระฝ่ายวิปัสสนาธุระ

    ต่อมาลุกศิษย์ ของอาจารย์ฝ่ายคันถธุระ คัดค้าน ต่อว่า พระพุทธเจ้าว่า

    เข้าข้างพระฝ่ายวิปัสสนา ท่านไม่ได้เรียนหนังสือ จะเก่งกว่าได้ไง

    อาจารย์ของพวกเรา เรียนฝ่ายคันถธุระมากเรียนเยอะกว่า ความรู้มากกว่า ต้อง เก่งกว่า

    พระพุทธเจ้า บอกว่า อาจารย์ฝ่ายคันถธุระ ซึ่งเป็นอาจารย์ของพวกเธอ

    เปรียบดังคนเลี้ยงวัว แต่ไม่ได้กินเนื้อวัว เนื้อวัวก็เปรียบดังคำสอนของ

    พระพุทธองค์ เธอเลี้ยงอย่างเดียว เธอไม่ได้กิน เธอจะรู้จักรสชาติของเนื้อ

    วัวได้อย่างไร รักษาธรรมะไว้แต่ไม่ได้ปฏิบัติ

    พระอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ เปรียบได้ดัง คนกินเนื้อวัว ย่อมรู้จักรสชาติ

    ของเนื้อวัว คือ ผู้ที่ได้ปฏิบัติธรรมะของสมเด็จพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักรสชาติ

    ในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์นั้นแล

    วิธี ที่ บรรลุมรรคผล

    1. ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์ นึกถึงพระพุทธเจ้า ไม่ละเมิดศีล ดังเช่น ท่านเปสการีธิดา

    2. เจริญอสุภะกรรมฐาน ดังเช่นพระยส และคณะ อีก 54 ท่าน และ ท่านจิตหัตถ์

    3. เจริญธาตุ 4 ดังเช่น ท่านพระโมคคัลลาน์

    4. เจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดังเช่น ท่านพระสารีบุตร

    เป็นต้น
     
  15. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ชื่อลุงกล้วยไข่ยาวไปนิดยากต่อการเรียกและจดจำ
    จึงขออนุญาตเปลี่ยนเป็นชื่อลุงไข่ นะจ๊ะ
     
  16. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    คุณลองเลิกในสิ่งที่ผมบอกซิ. ชีวิตก็ไปได้นะไปได้แบบสบายไม่มีอะไรให้ต้องรังเร. เพราะสิ่งที่เรียนรู้ในตำรามาก็สรุปลงต้องเลิกสิ่งเหล่านี้ แล้วคุณก็จะปฎิบัติอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับคุณเลย เพิ่มศิล5ให้บริสุทธิ์. เข้าใจเรื่องปฎิจสมุปบาท. ฝึกสติ.ฝึกสมาธิ. ก็น่าจะดี
     
  17. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    เจตไม่เจตไม่ทราบ ถ้าทำให้เหล้าผ่านลำคอ
    ไปเรียบร้อยแล้ว
    โดนขึงพืด แล้วจับเหล้ามากรอกปาก อาจยกเว้นนะจ๊ะ

    อริยะที่ไหนก็ไม่เซ็นต์ให้ผ่าน นะจ๊ะ
     
  18. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ไม่ว่ากันเพราะเป็นความเห็นส่วนตัวคนเราก็คิดได้ต่างต่างๆนาว่ามันต้องอย่างนี้อย่างนั้น. มาดูกันพระองค์กล่าวอย่างไร. การประกอบเนื่องๆในการดื่มสุรา นี่คือคำตอบที่บอกแก่คหบดีบุตร
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ทำให้นึกถึงช่วงไข่ชั่งกิโล คิกๆๆๆ
     
  20. hitman

    hitman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +440
    ถ้าผมทำตามคุณแล้ว ทำอย่างไรจึงได้เป็นพระโสดาบันครับ

    เมื่อผมเป็นพระโสดาบันแล้ว ทำอย่างไรถึงเป็นพระสกิทาคามีครับ

    เมื่อผมเป็นพระสกิทาคามีแล้ว ทำอย่างไรถึงเป็นพระอนาคามีครับ

    เมื่อผมเป็นพระอนาคามีแล้วทำอย่างไรถึง เป็นพระอรหันต์ครับ

    เมื่อผมเป็นพระอรหันต์ แล้ว ต้องทำอย่างไรต่อไปครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...