อารมณ์เฉยๆแบบอุเบกขาที่เกิดขึ้นระหว่างวันเป็นฌาณได้ไหม ถ้าได้ เป็นฌาณระดับใด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Shinozuke, 30 กันยายน 2015.

  1. Shinozuke

    Shinozuke Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2015
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +60
    ขอคำชี้แนะจากท่านผู้รู้ด้วยครับ
     
  2. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    อย่าไปสนใจว่า ฌาณอะไร ขั้นอะไร

    ให้กำหนดรู้ เป็นการ ปรากฏขึ้นของ ขันธ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือ " เวทนา "

    เมื่อวางจิตวางใจ กำหนดรู้เป็น เวทนา ก็จะกำหนดรู้ตามเห็น ความไม่เที่ยง แปรปรวนไป เป็นธรรมดา

    เดี๋ยวก็ อุเบกขา เฉย อยู่

    เดี๋ยวก็ กำเริบกลับกลายเป็น สุข

    เดี๋ยวก็ กำเริบกลับกลายเป็น ปิติ

    เดี๋ยวก็ กำเริบกลับกลายเป็น วิจาร ไม่มีวิตก ( เช่น น้ำตาไหลเวลา กระทบผัสสะในทางกุศล--
    อันนี้อารมณ์โลกๆ หรือ ผัสสะที่เป็นธรรมสังวช--อันนี้ความก้าวหน้าทางการภาวนา ) แล้ว แล
    อยู่ไม่เกิดการเคลือนของจิต

    เดี๋ยวก็ กำเริบกลับกลายเป็น วิตก มีวิจาร ( เช่น น้ำตาไหลเวลา กระทบผัสสะในทางกุศล--อัน
    นี้อารมณ์โลกๆ หรือ ผัสสะที่เป็นธรรมสังวช--อันนี้ความก้าวหน้าทางการภาวนา ) ซึ่งพอเกิด
    อาการแล้ว ก็เกิดการ ปรุงแต่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ไหลไปในเรื่องเหล่านั้น


    เดี๋ยวก็ กำเริบกลับหายไปเลย เหมือนคนภาวนาไม่เป็น เหมือนไม่ได้ภาวนา จมโลกอย่าง
    ปุถุชน เกิด จลศรัทธากุมจิต ทิ้งกรรมฐาน ทิ้งศาสนา ห้ามไม่ได้ ....กำหนดรู้ได้บ่อยๆ
    จะรู้วิธีกำหนดรู้ กุปธรรม/อกุปธรรม หรือ สังขตธรรม/อสังขตธรรม
     
  3. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    พอเข้าใจ การภาวนาข้างต้น จะเริ่ม เข้าใจ " สุขใดเหนือกว่าสันติไม่มี "

    ประโยคนี้ พวกสมถยานิก เอาไปแปลงเป็น " สุขใดเหนือกว่าสงบไม่มี " ทั้งที่ บาลี ใช้คำว่า "สนฺติ"

    พอเข้าใจ สภาวะ "สันติ" คือ ความเข้าไปสงบรำงับ ( อาการ แลอยู่ พร้อมด้วย ธรรมเอก ผุด )

    ถึงจะกลับมาทำการวิจัย สมาบัติ( ฌาณสมาบัติ ที่เป็นเรื่องของ สมาธิแนว สมถะยานิก -- อารัมณูปณิชฌาณ )
    กับ สมาธิที่เป็นไปเพื่อการพิจารณา(ภาวนา วิปัสสนา -- ลักขณูปณิชฌาณ )


    ก็จะเลิก สับสน การบริหารจิต การใช้ศิลปในการ ภาวนา ธรรมสองอย่าง สมถะ กับ วิปัสสนา โดยไม่เข้าไปส่วนสุดในทั้งสอง
     
  4. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    พอไม่สนใจ ขั้น แข่น ......สัญญาปริยัติที่จะมาหลอกให้สำคัญตน จะไม่มี จะภาวนาได้แบบ
    ห่างจากข้าศึก ที่คอยกระซิบ ให้ตกจากสมาธิ ที่พระป่าว่า ตำราทับจิต สัญญาทับกรรมฐาน

    พอภาวนาไปเรื่อย สติปัฏฐาน จะค่อยๆ เป็นตัวฐานในการ ทำธรรมวิจัยยะ ฌาณจากที่
    ไม่ไปนั่งพะวงขั้น หากได้ สุญญตาสมาธิ อนิมิตสมาธิ อัปณิหิตสมาธิ นี่คือ อาหารของ สัญญาเวทยิตนิโรธน

    ดังนั้น หากไม่สนใจขั้น แข่น จิตจะโคจรด้วยผัสสะ ที่เป็นไปเพื่อ ฌาณ1-9 อยู่ในตัว

    ส่วน สมาบัติ การเข้าสมาบัติ จะเป็นเรื่องของ การเจริญสติปัฏฐานจน ญาณแก่กล้า
    สามารถกำหนด เหตุของการเกิดผัสสะ เพื่อสมาบัติชนิดต่างๆ แล้ว เข้า แล้ว อยู่
    แล้ว ออก ให้ชำนาญ [ ซึ่ง ไม่เกี่ยวอะไรกับ การวิปัสสนา เป็นเพียง การเพิ่ม
    ความชำนาญใน สมาบัติต่างๆ เพื่อให้รู้ชัดถึง ความไม่เพลินใน ฌาณตัวใดตัวหนึ่ง
    ไม่เกยตื้นอยู่ใน ความว่าง ชนิดต่างๆ ]
     
  5. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    แต่อย่า หาว่า ปรามาสเลยนะ

    ดูจาก อวตาร ชิโนะสุเกะ เนี่ยะ มันฟ้องว่า จริตนิสัย ชอบ แย๊บธรรมเหมือนเป็นของเล่น
    ซึ่งในทางธรรมนั้น จะถือเป็น มุสาวาทา อย่างหนึ่ง แม้นจะเป็นการแย๊บเพื่อ " ธรรมะ " แต่
    ถ้าเอามา แย๊บเล่นๆ มันจะเกิด วิบากจิต ที่จะไป สอยนักภาวนาให้ ล่วง จาก สมาบัติ
    เวลาที่ จิตจะเข้าได้เข้าเข็ม

    เว้นไว้แต่ จะเอา ตัวจริง มาเสวนาธรรมะ
     
  6. Shinozuke

    Shinozuke Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2015
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +60
    ขอบคุณ คุณเอกวีร์ครับ
    อยากรู้ไว้เพื่อเทียบกับที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้เท่านั้นน่ะครับ จะได้รู้ว่าเรายังอยู่ในทางหรือไม่อย่างไร ถ้าอยู่ อยู่ประมาณไหนในทาง น่ะครับ
     
  7. Shinozuke

    Shinozuke Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2015
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +60
    ชอบประโยคนี้ครับ อ่านแล้วยิ้มเลย 55
    ไม่มีตัวไหนเป็นตัวจริงหรอกครับ
    ทุกตัวก็เป็นตัวปลอมหมดทุกตัว
    จะเป็นตัวนั้นก็ได้ จะเป็นตัวนี้ก็ได้
    แต่จะหาสาระอะไรไปยึดติดกับความเป็นตัวตน
    ในการเป็นตัวนั้นตัวนี้ไม่ได้เลยซ๊ากตัว
    ยินดีที่ได้สนทนาธรรมกับท่านครับ
     
  8. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ถ้า สนใจ สมาบัติจริงๆ ต้องไม่โยน "นามกาย" ทิ้ง เอะอะเอาสัญญา ประดก ประเดิด ทับกรรมฐาน

    ถ้าไม่โยน "นามกาย" ทิ้ง จะเข้าใจ คำสอนของพระพุทธองค์ คำสอนของพระสารีบุตร
    ที่กล่าวว่า พวกเสพสมาบัติ จะอาศัย นามกายเข้าสัมผัสวิโมกข์ชนิดต่างๆ ได้

    นี่ พอเราเอา นามกาย โยนทิ้ง ด้วยการ ถือธง ตั้งทิฏฐิ เอา สัญญาขันธ์นำหน้าการปฏิบัติ

    ฟังให้ตาย อ่านให้ตาย ก็ไม่มี ต้นทุน "นามกาย" ไว้ใช้ รับรู้ เข้าใจ ได้แต่ ด้น เด้า
    เดาเอา สุดท้าย ก็กลายเป็น ก่อกรรม ด้วยการ สร้างโวหาร ว่ารู้จริงกว่า ทั้งๆที่ "มักคังคัง"

    รู้ทั้งรู้ แต่ ไปสมยอมเอา ทิฏฐิ นายช่างเรือน นำหน้า ซะงั้น
     
  9. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ถ้า ยังทนฟังได้นะ

    มาดูกัน วิธี การเสพสมาบัติ


    ก็เอา " ความสุขใจ ที่ได้สร้างโวหารทางธรรม " นั้น นั่นแหละ มากำหนดรู้

    " ความสุขใจในการสร้างข้อธรรมถกปัญหา ย้อนแย้ง " ความสุขใจ ตัวนี้
    อะไรเป็นผู้ อยู่เบื้องหลัง ชักนำให้จิต แล่นไปอย่างรวดเร็ว ไม่อาจทนอยู่ได้
    เวลา เจอมุขนัยในการย้อนแย้ง

    ย้อนเข้าไปเห็น สิ่งนั้น อย่าสักแต่ว่า

    การย้อนเข้าไปเห็น เราจะถือว่า ยกขึ้นเป็น วัตถุ ถูกสังเกตห่างๆ โดย อุบาย อันยอดเยี่ยม
    ของพระพุทธองค์ที่เรียกว่า วิภัชวิธี อยู่แล้ว

    ยกเห็นได้ ก็ถือว่า ห่างอยู่ ไม่ได้ถือเอา ไม่ได้เข้าไปเป็น แม้น มี "นามกาย" แอบซ่อนลักกิน
    "สุข" ลักกิน อุเบกขานั้นอยู่ เราก็ ยกขึ้นรู้ไปซะ ว่ามัน เสพอยู่

    พอเจอปัญหา จิตเรากระเดิด เกิดคำถาม นี่คือ มันตั้งขึ้น

    พอเสวนา มีคู่ปรับ ถกเถียง แล้วเรา เพลินอยู่ นี่คือ ตั้งอยู่

    พอสักพัก ก็ไม่มีอะไรตั้งอยู่ได้ งานสันนิบาติทุกงาน ทุกดวงใจ ว้าเหว่ ต้องเลิกรา นี่คือ ดับไป

    เนี่ยะ กำหนดรู้กระบวนการนี้ขึ้น เราก็รู้แล้วว่า หากจะ จมแช่ในสุข ในอุเบกขา ทำหน้ายังไง

    หากไม่เพลินอยู่ เห็นความอันตรธานหายไป ไม่หิวอารมณ์ แส่ส่ายหา กระทู้ใหม่ ก็เห็นว่า มันดับไป

    ฝึกยกรู้ เข้า อยู่ ออก ลากันที เพราะอาศัยระลึกความไม่เที่ยงได้ ก็จะมี ธรรมทั้งสองอย่าง
    เอาไว้ เห็น " สิ่งที่เหนือเหตุปัจจัย "


    ยกเนืองๆ ก็ได้รู้ ฌาณ1-9 ได้ทุกรูปนาม หากใช้ อุบายอันยอดเยี่ยม ของพระพุทธองค์ โดย ไม่ต้องดัดแปลงตน
    ให้ผิดไปจาก ความชาชินเดิมๆ ( ซึ่ง จะทราบชัดว่า ไม่ได้ข้องอยู่ เพราะ อาศัยระลึกความไม่เที่ยง ฯ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กันยายน 2015
  10. Shinozuke

    Shinozuke Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2015
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +60
    ไม่ว่านามกายไหน ก็เป็นแค่นามกายหลอก นามกายสมมุติ ชั่วคราวเท่านั้น
    ถ้าใช้รับรู้อยู่ ก็เป็นต้นทุน "นามกาย" อยู่
    จำเป็นอย่างไร จะต้องยึดไว้แต่ว่าเป็นนามกายนู้นนามกายนี้เท่านั้น
    จึงจะสามารถ มีต้นทุน "นามกาย" ไว้ใช้ รับรู้ เข้าใจ ได้
    นามกาย เป็นแค่เปลือก จะเปลือกนี้เปลือกไหน ก็เป็นแค่เปลือก
    สาระธรรม อยู่ที่ธรรมที่สนทนา กระผมเห็นไปอย่างนี้น่ะครับ
     
  11. Shinozuke

    Shinozuke Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2015
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +60
    อวตาร ชิโนะสุเกะ
    มีไว้เพื่อให้เราท่านพิจารณาสัญญาที่เกิดขึ้นเท่านั้นน่ะครับ
    เห็นชิโนะสุเกะแล้วเรารู้สึกอย่างไร
    เขาอวตารอย่างนี้ แสดงว่าเขาต้องเป็นอย่างไร ว่ากันไปตามสัญญาของเรา
    เป็นอวตารที่ให้เราใช้พิจารณาสัญญาที่เกิดขึ้นเท่านั้นเองครับ
    อย่างไรก็ดี คำแนะนำท่านดี มีประโยชน์ ขอบคุณครับ
     
  12. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ภาษาธรรม(นัยปฏิบัติ) กับ ภาษานกแก้ว(เข้าใจด้วยการทำสัญญาว่าเที่ยงเอาลอยๆ) จะต่างกัน

    ภาษาธรรม เวลา นักปฏิบัติธรรม ปรารภกันว่า กายไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกาย ไม่มีกายในเรา
    ...ปรารภออกมาแล้ว ก็ กินข้าว บำรุง กาย อย่างดี แบบพอเพียง ไม่มากเกินไปจนโงกง่วงภาวนาไม่
    ขึ้น นิวรณ์กุมรุม จิตห่างจากฌาณ เสียเวลากับการเลือกสรร คิดล่วงหน้า ย้อนหน้า ย้อนหลัง

    ภาษานกแก้ว เวลา นกแก้วปฏิบัติธรรม ปรารภกันว่า กายไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกาย ไม่มีกายในเรา
    ...ปรารภออกมาแล้ว ก็ กินข้าว บำรุง กาย ด้วยกามสัญญาต่างๆ นานา หากใครถามว่า
    ปฏิบัติธรรมอย่างไร ก็จะ ลอยหน้าลอยตา กินอยู่อย่างนั้น ทำประมาณว่า ไม่ยึดติดในกาย ในรส
    ในสัมผัส


    นามกาย ก็เหมือนกัน นักปฏิบัติธรรม เวลาภาวนา ว่า นามกายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่นามกาย ไม่มี
    นามกายในเรา แต่ นามกายของนักปฏิบัติจะซ่องเสพ ปิติ ตลอดเวลา หนึ่งลมหายใจ สามารถ
    เสพได้ แสนโกฏิขณะ หากมี ผัสสะใดเป็นไปในทางกุศล ปิติ จะตีพึ๊บพับ แทบจะลอยไปในอากาศ
    ซึ่งจะสามารถพูดได้เต็มปากว่า จิตปราศจากนิวรณ์ ทำปัญญาให้ ทุรพล(อ่อนกำลังลง)
    ไม่มีสัญญา ทิฏฐินำหน้า จิตอ่อน ควรแก่การงาน น้อมไปในญาณทัศนะได้ตลอดเวลา พระ
    พุทธองค์จึงระบุว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้จักฌาณ1-9 อีกทั้งสามารถแสดงฤทธิต่างๆได้ หากปราถนา(จำเป็นต่อการ ต่อธรรม )
    [ อาการมี นามกาย สัมผัส ถูกต้อง touch ปิติ ....เราจะเรียกว่า การมีวิหารธรรม บัณฑิตย่อมสรรเสริญ ไม่มีความเป็นบัณฑิต สรรเสริญไม่เป็น งง ลูกเดียว]

    นามกาย นกแก้วนกขุนทอง ทิ้งเอาดื้อๆ ไม่รู้จัก ประโยชน์ของกุศล ไม่เคยเสพจิตที่ห่างจากกาม
    สัญญา ไม่รู้จักสักนิดในอาการของจิตชำระกิเลส นิวรณ์ แต่อ้างว่า หลุดพ้นเอาดื้อๆ กามสัญญา
    ร้อยรัดหนักแน่น คิด ด้น เด้า เดาธรรมเอา นั่นเอง อะไรที่ไม่รู้ ทำไม่เป็น ก็ ติต่าง คิดเอาดุ่ยๆว่า
    สิ่งนั้นไม่มีประโยชน์ต่อศาสนา เพื่อกลบเกลือน "มักคังคัง"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กันยายน 2015
  13. Shinozuke

    Shinozuke Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2015
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +60
    ธรรมที่กล่าวมาผมว่าดี น่าพิจารณาต่อ
    แล้วอย่าง Shinozuke นี้
    ท่านเห็นเป็นแบบภาษาธรรม หรือ ภาษานกแก้วหรือขอรับ
     
  14. ธรรมภัฎ

    ธรรมภัฎ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    463
    ค่าพลัง:
    +734
    อารมณ์เฉยระหว่างวัน ที่เรารู้สึกได้ถึงความไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ไม่กังวลหรือไม่เคียดแค้น ที่ปรากฏในระหว่างวัน ยังไม่นับว่าเป็นฌาน เพราะอารมณ์เฉยๆเหล่านี้ ยังมีเจือด้วยความรู้สึกสัมผัสจากอายตนะภายนอกอยู่ เพราะถ้าเป็นฌานจริงๆ จะต้องเฉยจากอายตนะภายนอกทั้งหมด

    ทำไมจิตถึงสามารถจับความเฉยแบบนั้นได้ ก็เพราะจิตเคยชินกับควารู้สึกและสภาพตอนขณะที่เข้าฌาน แล้วจิตเกิดสัญญา และความพอใจในอารมณ์นั้น จิตจึงจับเอาความรู้สึกนั้นมาเป็นอารมณ์ยึดเอาไว้

    เปรียบง่ายๆเหมือนคนที่จับภาพพระ หรือจับภาพพระนิพพานที่ตนได้เคยไป ได้เคยเห็น ได้เคยสัมผัส แล้วระหว่างวัน จิตพอใจกับภาพพระนั้น จิตก็จะระลึกถึงอยู่ตลอดได้อยู่เรื่อยๆ

    หากจับอารมณ์แบบนั้นได้บ่อยๆ จะเป็นตัวช่วยให้จิตเข้าสู่ฌานในเวลาที่เอาจริงเอาจังที่จะเข้าฌานได้ดียิ่งขึ้น เข้าฌานได้เร็วขึ้น นับเป็นข้อดี

    สิ่งนี้ นักเล่นฌานต้องเจอกันทุกคน เพราะถ้าไม่เจอ ก็แสดงว่าฌานเสื่อม หรืกำลังของฌานยังน้อยเกินไป ต้องฝึกเพิ่มอีก

    อารมณ์แบบนี้ ต่อยอดไปต่อได้อีก คือ จับลมหายใจแล้วเอาอารมณ์เฉยๆที่เราชอบนั้นตั้งไว้ตรงหน้า จิตจะเข้าฌานได้ไว แบบไม่ต้องหลับตา กลายเป็นพวก เข้าฌานแบบลืมตา อันนี้ไม่ได้เก่งขั้นเทพ เพราะมันเก่งขั้นพรหมไปแล้ว

    เจริญธรรมครับ
     
  15. Shinozuke

    Shinozuke Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2015
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +60
    ขอบคุณท่านที่ร่วมตอบด้วยคร้าบบ
    อย่างที่ท่านว่า "เข้าฌานแบบลืมตา" นั่นแหละคร้าบบ ถ้าเทียบกับตำราแล้ว เป็นฌาณในระดับใด
    เปรียบเสมือนคนที่นั่งสมาธิระดับ ขณิก อุปจาร อัปปนา อย่างเนี๊ยะครับ
    สมมุติว่านั่งได้ สภาวะได้ แต่ถ้าไม่เปิดตำราก็ไม่รู้ ว่าเรียกว่า ขณิก อุปจาร อัปปนา ไรอย่างนี้อ่ะครับ ก็เลยอยากจะสอบถาม ว่าถ้ามันสามารถเข้าฌานแบบลืมตาอย่างที่ท่านว่าได้ มันจะเป็นฌาณระดับใด อยากจะปฏิบัติไปเทียบตำราไปดูด้วยน่ะครับ แต่ภาษาตำราอ่านแล้วงงๆ ก็เลยว่าถ้าคุยกับผู้รู้น่าจะพูดให้เข้าใจได้ง่ายกว่าน่ะครับ
     
  16. animejanai

    animejanai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    510
    ค่าพลัง:
    +494
    ถ้าได้อภิญญาแล้วค่อยสอนเถอะครับ
    นั่งฌานให้ได้ญาณก่อน แล้วตรวจดูว่าได้เพราะอะไร ถ้าไม่แน่ใจอย่าสอนดีกว่า

    วิธีผมเริ่มต้นง่ายๆ
    ฌาน1หายใจเข้าออกให้ได้ญานก่อนเถอะครับ ฌานนั่งไม่ได้ก็เหมือนไม่ได้เรียนประถมไปเรียนมัธยม
    ถ้าไม่ได้ฌาน1จะไปฌานอื่นน่ะยากครับ(ฮา)
    ไอ้ผมนี่ว่าอย่าไปทำให้เค้าเข้าใจผิดดีกว่านะครับ
    ผมหวังดี
     
  17. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ไม่ได้เป็นฌานขั้นไหนๆ หรือ ระดับฌานไหนใดๆ ทั้งนั้นครับ

    เพียงเพียงแค่ อารมณ์ ของตัวเองเฉยๆ ที่วางไว้

    ไม่ได้เป็นสมาธิ เป็นฌานครับ


    ส่วนเรื่องที่ จขกท สงสัย ไม่เข้าใจ ก็คือ จิต ใจ ต้องเป็นสมาธิ เป็นฌาน ก่อนครับ ถึงจะเป็นอารมณ์ในองค์ฌาน ที่วางอุเบกขา นั้นเอง

    ถ้าจิตไม่ได้เป็น ฌาน มันก็ไม่ใช่ ฌาน ครับ เป็นแค่อารมณ์นึง ถ้าผิดพลาดขออภัยอโหสิกรรม
     
  18. animejanai

    animejanai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    510
    ค่าพลัง:
    +494
    เมตตา-1
    กรุณา-2
    มุทิตา-3
    อุเบกขา-4
    พรหมวิหารก็เป็นธรรมของพรหม
    อธิบาย...
    คือจะบอกว่า
    ถ้ามีเมตตาก็ฌาน1
    กรุณาฌาน2
    มุทิตาฌาน3
    อุเบกขาฌาน4
    เพราะอะไรที่ทำให้อยู่ชั้นพรหมเอ่ย ฌานน่ะสิ
    ถ้าจะมีฌานได้ต้องมีสี่สิ่งนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 ตุลาคม 2015
  19. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    คนบางคน วิตก วิจาร ก็เข้าใจว่าตัวเองได้ ฌาน ทรงฌาน เพราะ วิตก วิจาร ทั้งวัน

    เพราะเข้าไปเองเออเองคิดเองเอาเองว่า ฌาน ปฐมฌาน องค์ของปฐมฌานนั้นมี มี วิตก วิจาร ตัวเอง มีวิตก วิจาร ก็แสดงว่าตัวเอง ต้องได้ฌาน ทรงฌาน อยู่ :cool:
     
  20. animejanai

    animejanai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    510
    ค่าพลัง:
    +494
    วิจาร-คิด
    วิตก-กังวล,เศร้า
     

แชร์หน้านี้

Loading...