ขออุบายให้จิตเข้าวิมุตติหน่อยค่ะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย บ้องแบ้ว, 18 พฤศจิกายน 2015.

  1. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ถ้าท่านสมาชิกเป็นผู้หญิง และต้องปฏิบัติเพื่อเข้าถึงวิมุตติ แต่ใจปรารถนาการมีสามีและลูก ท่านจะจัดการกับความขัดแย้งอย่างไร มีพระอาจารย์ช่วยเต็มที่ แต่จิตไม่ยอมไป ได้มากสุดแค่นิพพิทา
     
  2. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    กราบขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
     
  3. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    คุยกับตัวเองมาเป็นเดือนแล้วยังไม่จบเลยค่ะ คุณพ่อคุณแม่บอกว่าไม่ต้องเร่ง แต่การมีราคะไปเรื่อยๆก้อทำให้ดิฉันละอายใจนะคะ
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น เป็นวัตถุประสงค์มุ่งหมายของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ดังพุทธภาษิตว่า
    <table style="border-collapse: collapse; margin: default 10px auto 10px auto; width: auto;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" align="center"> <tbody><tr> <td style="padding: 10px;" valign="top" width="20">[​IMG]</td> <td>
    พรหมจรรย์นี้มิได้มีลาภสักการะสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิได้มีกามสุขในสวรรค์เป็นอานิสงส์ มิได้มีการเข้าถึงความเป็นอันเดียวกับพรหมในพรหมโลกเป็นอานิสงส์ แต่ว่ามีวิมุตติเป็นอานิสงส์ ดังนี้
    </td> <td style="padding: 10px;" valign="bottom" width="20">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    • ตทังควิมุตติ คือ การพ้นไปจากอำนาจของ"ตัวกู-ของกู"ด้วยอำนาจของสิ่งที่บังเอิญประจวบเหมาะ
    • วิกขัมภนวิมุตติ คือความดับแห่ง"ตัวกู" ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจของการประพฤติหรือการกระทำทางจิต หมายถึง ขณะนั้นมีการกระทำจิตให้ติดอยู่กับอารมณ์ของสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งตามแบบของการทำสมาธิ
    • สมุจเฉทวิมุตติ คือความดับ"ตัวกู" ด้วยการกระทำทางปัญญา คือการทำลายอวิชชาลงอย่างสิ้นเชิง

    เปรียบเทียบได้ว่า อย่างแรกนั้นอาศัยอำนาจของการประจวบเหมาะ อย่างที่ 2 หรืออย่างกลางนั้นอาศัยอำนาจของจิตที่ปฏิบัติถูกวิธี ส่วนอย่างที่ 3 หรืออย่างสูงนั้นอาศัยอำนาจของปัญญา
    วิมุตติ 2

    วิมุตติ 2 คือ ความหลุดพ้นด้วยสมาธิและปัญญา ได้แก่

    1. เจโตวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นแห่งจิต ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ
    2. ปัญญาวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา ความหลุดพ้นแห่งจิตจากจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง

    นอกจากนี้ยังมี วิมุตติ 5 มีความหมายเดียวกับ นิโรธ 5
     
  5. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    <table height="50" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td vspace="0" bgcolor="mistyrose" valign="bottom" width="100%" align="center">บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ </td></tr> <tr><td hspace="0" vspace="0" height="1" bgcolor="peachpuff" width="100%"> <table cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table> <table background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%" align="center"> <tbody><tr><td align="center">
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    </td></tr></tbody></table> <table height="50" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="650" align="center"> <tbody><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="goldenrod" width="100%">[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" width="100%">
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    นานาปัญหา </td></tr><tr><td align="right">โดย คณะสหายธรรม
    </td></tr></tbody></table>
    <center>๓๒. วิมุตติ</center> ถาม วิมุตติ คืออะไร?

    ตอบ พระพุทธศาสนาแสดง วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกิเลสไว้ ๕ อย่างคือ
    ๑. วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการข่มไว้ด้วยอำนาจของฌาน เพียง<wbr>ปฐม<wbr>ฌานก็สามารถข่มธรรมอันเป็นข้าศึก คือนิวรณ์ ๕ มีกามฉันทะนิวรณ์ได้แล้ว แต่ไม่อาจละนิวรณ์ ๕ ให้ขาดไปจากใจได้ หมดอำนาจฌาน กิเลสคือนิวรณ์ก็เกิดได้อีก
    ๒. ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยองค์นั้น ด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ เพียงได้นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่แยกนามกับรูปว่าเป็นคนละอย่าง ก็สามารถละความเห็นผิดว่านามรูป เป็นตัวตนได้ชั่วคราว
    ๓. สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยการตัดขาด ด้วยมรรคญาณ กิเลสที่ถูกตัดขาดไปแล้วย่อมไม่กลับมาเกิดได้อีก
    ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส เพราะกิเลสทั้ง<wbr>หลายสงบระงับไปในขณะแห่งผลจิต
    ๕. นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการสลัดออกจากธรรมอันเป็นข้าศึกคือกิเลส ด้วยนิพพาน
    ในวิมุตติ ๕ อย่างนี้ วิมุตติ ๒ อย่างแรกเป็นโลกียะ ส่วนวิมุตติ ๓ อย่างหลัง<wbr>เป็น<wbr>โลกุต<wbr>ตระ ปัญญาคือความรู้ในวิมุตติ ๕ อย่างนั้น เรียกว่า วิมุตติญาณ
    ใน อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต กล่าวถึงวิมุตติ ๒ อย่างคือ เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ว่า
    [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติฯ

    ขยายความ โดยปริยายหนึ่งๆ ว่า :-
    เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยใจ ได้แก่ ผลสมาธิ คือสมาธิที่ประกอบกับอรหัตต<wbr>ผล<wbr>จิต
    ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ได้แก่ ผลปัญญา คือปัญญาที่ประกอบกับ<wbr>อรหัตต<wbr>ผล<wbr>จิต
    เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยพระอภิธรรมแล้ว เจโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตติ จึงเกิดขึ้นพร้อมกันกับอรหัตตผลจิต ก็เจโตวิมุตตินั้น ได้แก่ เอกัคคตาหรือสัมมาสมาธิ ปัญญาวิมุตติ ได้แก่ ปัญญาหรือสัมมาทิฐิ ที่ประกอบด้วยอรหัตตผลจิต
    อริยมรรค ชื่อว่า กำลังหลุดพ้นจากกิเลส
    อริยผล ชื่อว่า หลุดพ้นแล้วจากกิเลส
    อริยมรรคนั้นเป็นกุศลจิตมี ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอร<wbr>หัตต<wbr>มรรค
    อริยผลเป็นผลของมรรคเป็นวิบากจิต ก็มี ๔ เท่ากับอริยมรรค คือโสดาปัตติผล สก<wbr>ทา<wbr>คา<wbr>มิ<wbr>ผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
    ในขณะที่มรรคจิตอันเป็นกุศลเกิดขึ้น ทำลายกิเลสให้ขาดเป็นสมุจเฉทแล้วดับไป ผลจิตอันเป็นวิบากจะเกิดขึ้นสืบต่อจากมรรคจิตทันที โดยไม่มีจิตอื่นมาเกิดคั่นในระหว่างนั้น นั่นคือเมื่อมรรคอันเป็นเหตุเกิดขึ้นแล้วดับลง ผลของมรรคจะเกิดต่อทันที โดยไม่มีจิตอื่นมาคั่น
    การที่มรรคจิตอันเป็นกุศลเกิดขึ้นแล้วดับไปผลจิตอันเป็นวิบากก็เกิดขึ้นทันที โดยไม่ต้องรอเวลา นี้แหละชื่อว่า อกาลิโก เพราะไม่มีกาลเวลาในการให้ผลกุศลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมหากุศลหรือฌานกุศลเมื่อเกิดขึ้นและดับไปแล้วที่จะให้ผลทันทีเหมือนมรรคจิตหามีไม่ ต้องรอเวลาที่จะให้ผลทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นมรรคจิตเท่านั้นจึงชื่อว่า อกาลิโก กุศลอื่นๆ ไม่ชื่อว่าอกาลิโก

    ในอรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สัททสูตร กล่าวว่า สมาธิชื่อว่า เจโตวิมุตติ เป็นผลของสมถะ และที่สมาธิได้ชื่อว่าเจโตวิมุตติเพราะพ้นจากราคะ
    ปัญญาชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เป็นผลของวิปัสสนา และที่ปัญญาได้ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะพ้นจากอวิชชา

    ใน คัมภีร์บุคคลบัญญัติ แสดงวิมุตติของพระอรหันต์ ๒ อย่าง คือ อุภโตภาควิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ไม่มีเจโตวิมุตติ
    อุภโตภาควิมุตติ ได้แก่ บุคคลที่ได้สมาบัติ ๘ คือได้ทั้งรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ออก<wbr>จาก<wbr>สมาบัติ<wbr>แล้ว<wbr>เจริญ<wbr>วิปัสสนา เห็น<wbr>ความ<wbr>เสื่อม<wbr>ไป<wbr>สิ้นไปของสังขารทั้ง<wbr>หลายด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยมรรคปัญญา กล่าวคือบุคคลประเภทอุภโตภาควิมุตตินี้พ้นจากรูปกายคือรูปฌานด้วยอรูปฌานหรืออรูปสมาบัติ และเพราะเจริญฌานที่มีอรูปเป็นอารมณ์ จึงชื่อว่าพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติก่อนเป็นครั้งแรก จากนั้นจึงพ้นจากนามกาย คือกิเลสด้วยอริยมรรคเป็นครั้งที่สอง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอุภโตภาควิมุตตบุคคล เพราะหลุดพ้นจากส่วนสองคือ ๒ ครั้ง ครั้งแรกพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ ครั้งที่ ๒ พ้นจากกิเลสด้วยอริยมรรค
    ท่านจัดบุคคลที่ชื่อว่าอุภโตภาควิมุตติไว้ ๕ พวกคือบุคคลที่ได้อรูปสมาบัติ ๔ ออก<wbr>จาก<wbr>อรูป<wbr>สมาบัติ<wbr>แต่<wbr>ละ<wbr>สมาบัติแล้ว พิจารณาสังขารทั้ง<wbr>หลายแล้วจึงบรรลุพระอรหัตต์จัดเป็น ๔ พวก กับพระอนาคามีผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว บรรลุพระอรหัตต์อีกพวกหนึ่ง จึงเป็น ๕ พวก
    สรุปว่า บุคคลที่ได้ชื่อว่า อุภโตภาควิมุตตินั้น ได้แก่พระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ ๘ เท่านั้น

    ปัญญาวิมุตติ ได้แก่บุคคลผู้มิได้ถูกต้องสมาบัติ ๘ ด้วยกาย แต่หลุดพ้นจากกิเลสเพราะเห็นด้วยปัญญา ท่านจัดปัญญาวิมุตติบุคคลไว้ ๕ พวก คือพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก คือเจริญวิปัสสนาล้วนๆ พวกหนึ่ง และบุคคลผู้ออกจากรูปฌาน ๔ แต่ละฌานแล้วเจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหันต์อีก ๔ พวกคือ
    ออกจากปฐมฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากทุติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑
    ออกจากตติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากจตุตถฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์อีก ๑ จึงรวมเป็น ๕ พวก ซึ่งพระอรหันต์ทั้ง ๕ พวกนี้ไม่มีท่านใดเลยที่ได้สมาบัติ ๘ อย่างมากก็ได้เพียงรูปฌาน ๔ เท่านั้น
    ถึงกระนั้น บุคคลทั้งสองพวกนี้ คือทั้งอุภโตภาควิมุตติและปัญญาวิมุตติต่างก็ได้ชื่อว่า พระอรหันต์ผู้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงเป็นสมุจเฉทวิมุตติด้วยกันทั้งสิ้น

    หมายเหตุ
    สมาบัติ ๘ นั้นได้แก่ รูปฌาน ๔ คือปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน และอรูปฌาน ๔ คืออากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    นิโรธสมาบัติหรือสัญญาเวทยิตนิโรธ คือการเข้าสมาบัติด้วยการดับสัญญาและเวทนา ซึ่งรวมไปถึงการดับจิตและเจตสิกอื่นๆ พร้อมทั้งรูปที่เกิดจากจิตด้วย แต่รูปที่เกิดจากกรรม จากอุตุและอาหารยังคงเป็นไปอยู่ เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติจึงยังมีชีวิตอยู่ ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติได้นั้นมี ๒ พวก คือพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ ๘ เท่านั้น พระอริยบุคคลนอกจากนั้นเข้าไม่ได้ และท่านจะเข้านิโรธสมาบัติกันอย่างมาก ๗ วัน ก่อนเข้าท่านจะต้องทำบุพกิจ ๔ อย่าง คือ
    ๑. อธิษฐานไม่ให้บริขารและร่างกายของท่านเป็นอันตราย
    ๒. อธิษฐานขอให้ออกจากฌานได้โดยไม่ต้องมีใครมาเรียก เมื่อสงฆ์ต้องการพบท่าน
    ๓. อธิษฐานขอให้ออกจากฌานได้โดยไม่ต้องมีใครมาเรียก เมื่อพระพุทธองค์ทรงมีพระประสงค์จะพบท่าน
    ๔. พิจารณาอายุของท่านว่าจะอยู่ได้ครบ ๗ วันหรือไม่ ถ้าอยู่ครบ ท่านก็อธิษฐานกำหนดเวลาเข้า ถ้าอยู่ไม่ครบ ๗ วัน ท่านก็กำหนดเวลาเข้าให้น้อยกว่า ๗ วัน
    <center>________________________________________</center>
    ที่มา อ้างอิง และแนะนำ :-

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    มหาเวทัลลสูตร ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
     
  6. hydraxis

    hydraxis เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2012
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +529
    วิมุต สำหรับผมคือไม่ยึดมั่นของๆเรา ทั้งร่างกายและสิ่งต่างๆรอบตัว นี้คือวิมุติในฉบับของผม เมื่อละย่อมไม่ยึดติดเมื่อไม่ยึดติดย่อมหลุดพ้น
     
  7. misterj

    misterj Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2015
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +83
    สำรวจ อาการจิตได้ดังนี้ครับ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
    ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต
    จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
    วิปัสสนา ที่อบรมแล้วย่อมเสวย ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา
    ปัญญา ที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้ ฯ
    [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
    หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
    ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุตติ
    เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติ ฯ

    เจโตวิมุตติ - ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ (แต่ถึงอย่างไรก็ตามต้องเกิดปัญญาวิมุตติ จึงจักทำให้เป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อ) เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติ อันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)
    ปัญญาวิมุตติ - ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นที่บรรลุด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ทำให้สำเร็จอรหัตตผล และทำให้เจโตวิมุตติ เป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อไป
     
  8. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424


    เป็นที่วัยด้วยมั้ง วัยกำหนัด หรือกูกำหนัด ดูให้ออก
     
  9. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ใช้ลมหายใจเป็นอนุสสติ คงจะต้องจัดอยู่ในเจโตวิมุตติใช่มั้ยคะ? ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ค่ะ เพราะปฏิบัติไปได้ไม่ละเอียด ตอนนี้เข้าใจแต่ว่าดูลมไปให้ถึงที่สุดค่ะ แล้วจะทำยังไงต่อ คงต้องไปถามพระอาจารย์ เวลาเราอยากทำกลับจับลมไม่ได้เลย แต่ถ้าทำจิตใจให้ว่างๆสบายๆ จะจับลมได้ดีมากค่ะ
     
  10. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    คือรู้สึกว่าช่วงที่ระลึกถึงศีล8จิตเค้าจะเข้าวิถีนิพพิทาได้ดีมากเลยค่ะ ยังไงการปฏิบัติคงต้องอาศัยเพศพรหมจรรย์เป็นฐานด้วยใช่มั้ยคะ? รู้สึกไปเองว่าศีล5ไม่พอ
     
  11. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    เมื่อคุณรู้จักอารมณ์ของความเบื่อหน่าย
    บ้างแล้ว ต้องฝึกให้ความเบื่อหน่าย
    ให้มากๆ พอจะคลายออก ก็ให้นวลปราง
    ฝึกทำพระวิปัสสนาควบคู่กันไปด้วย
     
  12. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424


    ข้อดีของศีล ๘ คือ เป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริม
    การสำรวมอินทรีย์ ตัดส่วนเกิน เจริญส่วนขาดได้ดี
    พอเหตุแห่งความฟุ้งซ่านลด ความสงบก็เริ่มตั้งมั่น
    ขึ้น ก็อาศัยดูความแปรปรวนตามเหตุปัจจัยเหล่านี้ไป เดี๋ยวสงบ เดี๋ยวไม่สงบ เดี๋ยวฟุ้ง เดี๋ยวฟู เดี๋ยวแฟบ ฯลฯ

    ทีนี้ที่บอกว่า เป็นที่วัย วัยกำหนัด หรือกูกำหนัด คือ
    วัยมันก็มีส่วน คนอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ฮอร์โมนก็เป็น
    ยังงั้นเอง ถ้าไม่ไปมีอุปาทานไปตามวัย มันก็แค่วัย
    วัยกำหนัด ไม่ใช่กูกำหนัด ก็แค่นั้น กูกำหนัดก็ตอนที่
    ไปคว้าเอาความมีวัยกำหนัดตามธรรมชาติของ
    ธาตุขันธ์มาเป็นตัวกูของกูนั่นเอง ต้องแยกแยะให้เป็น

    แต่อย่าเพิ่งไปคิดมากก็ได้ ฝึกสำรวมอินทรีย์ไปก็ดี
    เหมือนกัน ได้ความสงบความตั้งมั่นเป็นพื้นฐานแล้ว
    การเห็นจะชัดเจนขึ้นเอง ว่าแต่อย่าไปเผลอหลง
    พวกนิมิตภาวะอารมณ์ จนจมไปกับโลก กู่ไม่กลับ
    เสียก่อนก็เท่านั้นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2015
  13. ssahn34

    ssahn34 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2013
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +75
  14. ssahn34

    ssahn34 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2013
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +75
    :boo:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2015
  15. ssahn34

    ssahn34 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2013
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +75
    อ่านยังไม่จบเลย เจอ คำ นิพพิทา จึงลงให้คุณลองอ่านดู
    แค่นี้แหละไม่มีไรครับ
     
  16. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ความเดิม จากตอนที่แว้ววววววว

    " การจะตั้งคำถามทางธรรมะ จะต้องให้ถูก กาละ เทศะ ถ้าถามผิดที่
    การได้ยินคำว่า " ภวสวะ สาสวะ อาสวะ อวิชชา " จะทำให้ ปุถุชน
    ที่ไม่เคยสดับธรรมะ กล่าวไปในทางปฏิเสธธรรมบัญญัติเหล่านั้น แล้ว
    วิบากที่ ปุถุชนเสียศรัทธาไปจากธรรม จะมีผล ต่อ ผู้ตั้งกระทู้

    อะไรประมาณนี้ เจ้าของกระทู้ ก็เลยลองมา หย่อน ระเบิด ลงที่ห้องอภิญญา

    ทีนี้ แปลกแต่จริง การเข้ามายังสถาณที่ ที่เป็นที่ " ถกธรรมะ " ของคนเคย
    สดับ แต่ทว่า " มือใหม่หัดรู้หัดดู " ก็ต้อง มีหลักเกณฑ์ให้แม่นๆ ว่า เราจะต้อง
    มุ่งพิจารณา อะไรที่เรียกว่า " โลภะ(ราคะ) โทษะ โมหะ "

    และ จะต้องพิจารณาเฉพาะอุบายวิธี ภาษิตที่ น้อมนำไปใส่ใจ ใคร่ครวญ นมสิการ
    ปฏิบัติแล้ว โลภะ(ราคะ) โทษะ โมหะ จะต้อง เบาาาาาาบางงงงงงง ลง หน่าคร้าบ
    ไม่ใช่ หนาขึ้น

    การจะ ตั้งจิตตั้งใจ ทำการ สิกขา พิจารณา โลภะ โทษะ โมหะ แล้ว น้อมนำไป
    ปฏิบัติให้ อกุศลมูลทั้ง3นี้ เบาบางลง จะเกิดไม่ได้เลย หาก ยังกำหนดรู้ทุกข์
    อันเกิดจากการเวียนว่ายตายเกิด ไม่ถูก

    ถ้ามาภาวนาแค่ อาศัยเป็นกุศล เป็นกองบุญ ไม่ต้องภาวนาก็ได้ ไม่ต้องถาม
    ธรรมะก็ได้ ไปทำบุญ ทำทาน รักษาศีล นั่งสมาธิเป็นคอสๆ มันก็ สนองกิเลส
    ได้อยู่แล้ว กำหนัดจะค่อยๆเกิด พอกล้ามากๆเข้า พระเพรอะเจอเอาที่ชอบที่
    ใช่ก็กระโดดคร่อมกันมานักต่อนักแล้ว

    ดีไม่ดีนะ ไอ้คนที่ตอบธรรมะได้แบบ +++ เนี่ยะ .......มันรอยกล้อเลย



    ถ้าไม่จริงใจต่อธรรม ไม่กำหนดรู้ทุกข์ให้ถูก เสียเวลาเปล่า ไม่ว่าจะเดิน
    เข้าวัด หรือบอร์ดไหนก็ตาม แล้วเป็นการ รบกวน "พระ" "สมาชิก" ทำให้เกิด วิบากติดตัว

    สะท้อนเป็นอาการหันรีหันขวาง กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ไม่รู้จะไปทางไหน
    ปรากฏที่จิต ลืมกำหนดรู้ จิตหันรีหันขวาง ลังเล เพื่อแจ้งแทงตลอดธรรม
    ลงปัจจุบัน ไปเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2015
  17. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,611
    ค่าพลัง:
    +3,015




    เพ่งอสุภะ ให้มากๆ เข้าไว้
    เมื่อถึงเวลา จิตรวมได้ดี
    จะเห็นคนอื่นต้องตาย
    กลายเป็นผี
    เมื่อนั้น จิตก็จะคลายจากคู่ครอง ลูกเต้า ได้บ้าง

    ให้ฝึกตัด วงจรปกิจสมุปบาท บ่อยๆ
    จะได้เห็น ภพชาติ ได้ง่าย
    เมื่อเห็นภพชาติได้บ่อยๆ
    ก็จะเห็น ทุกข์ ของการเกิด เจืออยู่ในนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 พฤศจิกายน 2015
  18. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    ทำใจให้สบาย

    เพิ่ม กุศลกรรมบท 10 สังโยชน์ 3 บวกกับ ศีล 5

    เวลาปฎิบัติ ปล่อยวางภาระต่างๆไปก่อน

    ลดมานะ

    หมั่นสร้างบารมี ละการทำสิ่งอกุศล

    ฝึกสติ ฝึกสัมปชัญญะ ทุกวัน ให้ได้มากที่สุด

    ฝึกสมาธิเป็นประจำ ระหว่างวันหรือเวลาทำงานก็ อานา ไปด้วย

    ปฎิบัติด้วยความรู้สึกสบายๆ ว่างก็เพิ่ม งานยุ่งก็ลด

    ทางโลกก็ต้องทำไปตามหน้าที่ ทางธรรมก็ทำไปเรื่อยๆ
     
  19. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +1,210
    อาการ32
    อสุภะ10
    มรณสติ
    ครับ
     
  20. zhayun

    zhayun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +425
    พระพุทธเจ้า พระองค์ไม่ได้ห้ามเรื่องการครองเรือน

    หากท่านปรารถนา การครองเรือน ก็ครองเรือนไปสิ

    แม้ครองเรือนก็ยังปฏิบัติธรรมได้อยู่



    ดูอย่าง นางวิสาขา ท่านก็บรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว แต่ท่านก็ยังครองเรือน

    แม้ท่านจะครองเรือน ท่านก็สามารถปฏิบัติธรรมได้



    ถ้าท่านยังต้องการครองเรือน ก็ครองเรือนไป แล้วดูว่าการครองเรือนนั้นเป็นสุขหรือเป็นทุกข์อย่างไร

    แล้วก็ปฏิบัติธรรมไปตามกำลังใจของตน

    เวลาปฏิบัติธรรม พระท่านไม่ให้ฝืนกำลัง เราทำได้แค่ไหน ก็ทำตามกำลัง

    ทำไปเรื่อยๆ จากกำลังน้อย ก็มีกำลังมากขึ้น ตามลำดับ

    จนมีกำลังใจเต็ม สามารถบรรลุธรรมได้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...