เรื่อง "การพิจารณาเห็นจิตภายในและจิตภายนอก"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xtrem, 29 เมษายน 2016.

  1. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    จิตตานุปัสสนานิเทส
    [เห็นจิตในจิตภายใน]

    [๔๔๕] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
    ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีราคะ หรือเมื่อ
    จิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากราคะ
    เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีโทสะ หรือเมื่อจิตปราศจากโทสะ
    ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโทสะ
    เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีโมหะ หรือเมื่อจิตปราศจากโมหะ
    ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโมหะ
    เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราหดหู่ หรือเมื่อจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่า จิต
    ของเราฟุ้งซ่าน
    เมื่อจิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นมหัคคตะ หรือเมื่อจิตไม่
    เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่เป็นมหัคคตะ
    เมื่อจิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นสอุตตระ หรือเมื่อจิตเป็น
    อนุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นอนุตตระ
    เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราตั้งมั่น หรือเมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า
    จิตของเราไม่ตั้งมั่น
    เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้น หรือเมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น
    ก็รู้ชัดว่า จิตของเรายังไม่หลุดพ้น
    ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุ
    นั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิต
    เข้าไปในจิตภายนอก


    [เห็นจิตในจิตภายนอก]
    [๔๔๖] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
    ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้น
    มีราคะ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้น
    ปราศจากราคะ
    เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นมีโทสะ หรือเมื่อ
    จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโทสะ
    เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นมีโมหะ หรือเมื่อ
    จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโมหะ
    เมื่อจิตของเขาผู้นั้นหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นหดหู่ หรือเมื่อจิต
    ของเขาผู้นั้นฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นฟุ้งซ่าน
    เมื่อจิตของเขาผู้นั้นเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นเป็นมหัคคตะ
    หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไม่เป็นมหัคคตะ
    เมื่อจิตของเขาผู้นั้นเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นเป็นสอุตตระ
    หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นเป็นอนุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นเป็นอนุตตระ
    เมื่อจิตของเขาผู้นั้นตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นตั้งมั่น หรือเมื่อจิต
    ของเขาผู้นั้นไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไม่ตั้งมั่น
    เมื่อจิตของเขาผู้นั้นหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นหลุดพ้น หรือ
    เมื่อจิตของเขาผู้นั้นยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นยังไม่หลุดพ้น
    ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุ
    นั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิต
    เข้าไปในจิตทั้งภายในและภายนอก


    [เห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอก]
    [๔๔๗] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่
    เป็นอย่างไร
    ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ เมื่อจิตปราศจาก-
    *ราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ
    เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ เมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า
    จิตปราศจากโทสะ
    เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า
    จิตปราศจากโมหะ
    เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน
    เมื่อจิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหัคคตะ เมื่อจิตไม่เป็นมหัคคตะ
    ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหัคคตะ
    เมื่อจิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสอุตตระ เมื่อจิตเป็นอนุตตระ ก็
    รู้ชัดว่า จิตเป็นอนุตตระ
    เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น
    เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น เมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า
    จิตยังไม่หลุดพ้น
    ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภาย
    นอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
    เสียได้ในโลก
    [๔๔๘] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ มีนิเทสว่า การ
    พิจารณาเห็นเนืองๆ เป็นไฉน
    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ
    บทว่า อยู่ มีนิเทสว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่
    บทว่า มีความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน
    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีความเพียร
    บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทสว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน
    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ
    บทว่า มีสติ มีนิเทสว่า สติ เป็นไฉน
    สติ ความตามระลึก ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติ
    บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มีนิเทสว่า โลก เป็น
    ไฉน
    จิตนั้นเอง ชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก
    อภิชฌา เป็นไฉน
    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด
    นี้เรียกว่า อภิชฌา
    โทมนัส เป็นไฉน
    ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็น
    ทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่
    เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส
    อภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ
    เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไป
    อย่างราบคาบ ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศ
    ไปแล้ว ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก


    จบ จิตตานุปัสสนานิเทส

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
    วิภังคปกรณ์...
    ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม.... ครับ:cool:
     
  2. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    เมื่อยกมาแล้ว อยู่เนืองๆ...ก็ช่วยอธิบายสภาวะ ให้ชัดแจ้งหน่อยได้มั้ย.ว่า

    การเข้าไปเห็นจิตภายนอก....อะไรคือจิตภายนอก เข้าไปเห็นจิตภายนอกได้อย่างไร แล้วตัวอะไรคือที่ไปรู้ไปเห็นจิตภายนอกนั้น
    และการเข้าไปเห็น.จิตภายใน...อะไรคือจิตภายใน เข้าไปเห็นจิตภายในได้อย่างไร แล้วตัวอะไรคือที่เข้าไปรู้เห็นจิตภายในนั้น..

    อธิบายได้หรือเปล่า หรือยกมาแสดง เพื่อให้คนรู้ว่า..มีคำว่าเนืองๆอยู่เท่านั้น

    อิอิ เนืองๆ
     
  3. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    1.พิจารณาจิต .. เห็นจิตภายใน อยู่เนืองๆ...หรือเห็นจิตที่เกิดภายใบจิต
    2.พิจารณาจิต .. เห็นจิตภายนอก อยู่เนืองๆ...หรือเห็นจิตที่เกิดภายนอกจิต
    3.พิจารณาจิต .. เห็นทั้งจิตภายใน และจิตภายนอก อยู่เนืองๆ

    อย่าพากัน อ่านว่า ยาขนานนี้กินแล้วแข็ง.. แรงไม่มี ..โรคภัยเบียดเบียนล่ะ.. มันจะตีความผิดไป

    แบบเห็นจิตในจิตนอก ...เห็นจิตในจิตใน..ไปอีกล่ะ...อันนี้แข็ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2016
  4. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    จิตผู้รู้จิตผู้ดู...หรือสติ...เป็นจิตนอกหรือ เป็นจิตใน
    จิตที่ถูกดูถูกรู้...เป็นจิตนอกหรือจิตใน
    จิตที่ถูกรู้ แต่ดูไม่ทัน เห็นแต่มันดับไป...เป็นจิตนอกหรือจิตใน
    จิตที่ถูกดูถูกรู้ ดูทันว่ามันเกิดจากที่ไหน จนเห็นมันดับ...เป็นจิตนอกหรือจิตใน

    จิตนอก..คือ จิตที่ถูกรู้ทันการเกิด ตั้งแต่ต้น
    จิตใน..คือ จิตที่ถูกรู้ทันว่ามันมีอยู่แล้วดับไป..แต่ไม่รู้ว่ามันเกิดมาจากที่ใด
     
  5. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    เอ้าท่าน เนืองๆ...ช่วยอธิบายด้วยครับ...
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อธิบาย พอได้อยู่ ฮับ

    แต่ไม่ใช่ กะ น้าวงกงกุด ที่ไม่รู้จัก จิตโคจรไม่ห่างจากฌาณ ( สุญญตา สุญญคารวิหาร )

    เพราะ น้า วงกงจุก ไม่มี จิตเลื่อมใสในสมาธิว่ามีคุณ คือ ทำให้สงัดจาก กาม ราคะสัญญา

    เพราะ น้า วงกงจุก งง แล้ว งงอีก ทำไม่ต้องซ่องเสพฌาณ ทำไม เจ็ดเมียไปภาวนาไปไม่ได้ ผิดตรงไหน

    ดังนั้น อธิบายหนะ อธิบายได้ แต่ ก็ต้อง อธิบายกับคน
    ที่เสพคุ้น มหากุศลจิตญาณสัมปยุติ( จิตไม่ห่างจากฌาณ )
    ซึ่ง จะไม่เกิดการเห็นว่ามีตน เป็นตน มีเขา มีเรา

    จึงจะ พูดเรื่อว วิญญาณขันธ์ หรือ ขันธ์5 เนี่ยะ จริงๆ
    มันเป็น ของกลาง ของสาธารณะ

    สัญญาวิปลาส(ภายใน) อุปทาน(ภายนอก) มันหลอกว่า มีตน มีนอก
    มีใน มีกะอู มีมะอึง(ภายในและภายนอก)
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ยกตัวอย่าง

    ภาษาพูด ที่เรียกว่า ภาษาไทย ....อันนี้ ก็เป็นเรื่อง "ภพ" "ชาติ"
    ไม่ใช่เรื่อง สัตว์ ตัวตน บุคคล เราเขา

    ความเป็น เผ่าพันธุ์ ไม่ใช่เรื่อง สัตว์ บุคคล ตัวตน บุคคล เรา เขา

    มันเป็น กรรม ปัจจัยของกรรม มันหลอกเอา ให้ ขนหัวตั้ง !!! ( วิญญูชน พึง ขนหัวตั้งได้ สลดสังเวช )
     
  8. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ที่ถามเนี่ย ต้องให้บอกด้วยมั้ยว่าถามแทนคนอื่น ให้อธิบายให้คนอื่นฟัง...ไม่ไช่อธิบายให้ผมฟัง....จะอธิบายได้หรือยัง...หรือจะตอบว่า นิวรณ์ก็ไม่รู้เหมือนกัน เลยเฉไฉ ไปทางอื่น อ้างโน่น อ้างนี่ อยู่เนืองๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2016
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ฮี้ ฮี้ ฮี้ ฮี้

    ธรรมะ จะต้องเป็น การสนทนา เพื่อประโยชน์ต่อ การภาวนา ข้อปัญหาติดขัด จิฮับ ( สนทนา ตามกาล เป็น มงคล )

    ถ้า คยเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เขาเรียกว่า ฝุ้งซ่าน จิตปราสจาก สมาธิ หากุศลไม่ได้ ( สนทนา ตลอดกลาย เป็น อัปมงคล อับ12เดือน!! จานลาย )
     
  10. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ว่าแล้ว.....ว่ามันต้องออกมาแบบนี้...อยู่เนืองๆ
     
  11. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    สนธนาธรรมกับคนยึดขันณ์ 6 ขันณ์ 7 จิตนอก จิตในยังไม่รู้เรื่อง อันนี้เขาเรียกคนไม่เคยปฎิบัติภาวนา สักแต่ว่าลอกธรรมจำเขามาแสดง ไปตามความเห็นตน ฮิ้ววววววววววววว:boo:
     
  12. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ตอบไม่ได้ก็ไม่เป็นไร อธิบายไม่ได้ก็ไม่เป็นไร...เพราะคาดการ ไว้ว่า จะเป็นแบบนี้อยู่แล้ว...เนืองๆ...ถนัดแต่ยกมาอยู่เนืองๆ แต่ไม่เข้าใจ...อิอิ เนืองๆ
     
  13. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    ต่อเรื่องของจิต ที่ยกมาแสดงไว้ข้างต้น มีคนเหน็บเอาว่า ยกมาแสดงแต่อธิบายไม่ได้ ด้วยสติปัญญาอันน้อยนิด ถ้าอธิบายแล้วเข้าใจ หรือ ไม่เข้าใจ ไม่เห็นด้วย อันนี้เป็นเรื่องของบุคคล และสติปัญญาของผู้นั้น
     
  14. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,207
    ตอนนี้ที่ตนเองเข้าใจได้ว่า จิตเดือดดาลมีลักษณะอย่างไร จิตโมโหฉุนเฉียวมีลักษณะอย่างไร จิตโกรธแค้นเคืองมีลักษณะอย่างไร จิตหงุดหงิดฟุ้งซ่านมีจิตลักษณะอย่างไร จิตมีความชุ่มชื่นยินดีมีลักษณะอย่างไร จิตที่มีความรักมีเมตตามีลักษณะอย่างไร จิตที่คิดดีคิดจะช่วยเหลือคิดจะให้มีลักษณะอย่างไร ลักษณะที่รู้และเข้าใจในลักษณะของจิตต่าง ๆ ที่เราจำได้ ทำให้เราเห็นความแตกต่างของแต่ละลักษณะของอารมณ์ที่เราได้แสดงออกมา ส่งผลให้ใจ
    เราเกิดความสุข ความทุกข์อย่างไร

    ความแตกต่างของอารมณ์ที่เกิดขึ้นที่ผ่านมา ความที่เราระลึกได้ แล้วนำมาเปรียบเทียบทำให้เราเห็นความแตกต่างได้ชัด เราทำให้เราเห็นว่า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วแล้วใยเราต้องปล่อยให้อารมณ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นบ่อย ๆ เพราะว่าอย่างไรไม่ว่ากุศล และ อกุศล ต่างเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ก็พยายามระลึกมีสติไม่เกิดอารมณ์อกุศล พอเกิดปุ๊บสติเราเข้าไปจับแล้วระลึกได้จากการที่เราเห็น เราก็เริ่มปล่อยวาง โดยระลึกรู้อามณ์อกุศลที่กำลังจะเกิดขึ้นปึ๊บ สติจะระลึกได้ ความเห็นที่ได้พิจารณาไว้ สติตามทันก็อารมณ์นั้นไม่ให้เกิดขึ้นต่อไป ระลึกปุ๊บก็ดับปั๊๊บ หรือ พยายามละวางโดยเร็ว หรือ ทันทีค่ะ กำลังฝึกอยู่ เอามาเล่าเป็นวิทยาทาน พอมีบทสอบไม่ผ่าน ก็นำไปเรียนรู้เป็นประสบการณ์ให้เราได้รู้เข้าใจขึ้นค่ะ ความก้าวหน้าในการปฏิบัติ ที่มีสติระลึกรู้ดูกายจิตตลอดเวลาที่เรามีเวทนาอารมณ์รู้สึก
     
  15. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ยังทำได้แค่นี้เองเหรอ...ที่ว่า ก้าวหน้า...เขาไม่ได้ให้มานั่งสังเกตุว่า จิตที่เกิดมีลักษณะอย่างไร..แค่รู้ทันว่ามันจะเกิด รู้ตามที่มันเกิด...รู้ตามที่มันจบไป..มันก็เป็นคนละส่วนกันแล้ว..จะไปแยก กุศล อกุศล..ให้มันทำไม
     
  16. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,207
    สิ่งที่อุปสรรคที่สติสัมปัชัญญะ เท่าที่ฝึกแล้วระลึกได้ มี 4 อย่าง คือ
    1.จิตเข้าไปอยู่ในความคิด
    2.จิตเข้าไปอยู่ในความนึก
    3.จิตส่งออกนอก
    4.จิตหลับไหล (สลึมสลือ นอนหลับ)

    สี่อย่างข้างต้นเป็นอุปสรรคขัดการในการฝึกสติสัมปชัญญะค่ะ
     
  17. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    อะไรของ แก....จิตเข้าไปอยู่ในความคิด...แล้วมันคนละอันกับความนึก ด้วยเหรอ
    อะไรคือจิตส่งออก ออกไปไหน ...อากาศบ้านแกมันร้อนมากเลยเหรอ..ออกจะไปแนวเนืองๆๆแล้วแก
     
  18. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,207
    ค่ะ ความก้าวหน้าที่เราไม่ไปเป็นอารมณ์ ถ้าสามารถกำจัดอฌิชา และ โทมนัส ได้ วางเฉยปล่อยวางได้จริง ๆ ก็เรียกว่า ความก้าวหน้าค่ะ ถ้าวางได้จริง ๆ เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาอารมณ์พาไปเช่นใด เราก็เป็นเช่นนั้น ก็มีสุข แล้วก็ทุกข์ พอเหตุปัจจัยหายไป แล้วก็ทุกข์ เสียก็สุขอีก ความเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในจิต ที่ส่งผลต่อใจของเราได้ ทำให้เราละได้จากเดิมก็เรียกว่าความก้าวหน้าค่ะ ถึงแม้ว่าจะยังละไม่ได้ทั้งหมด เพียงแค่ละอารมณ์อกุศลที่เกิดขึ้นได้ตอนนี้ก็ดีแล้วค่ะ
     
  19. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,207
    ไม่เคยได้ยินเหรอค่ะ คิดไปในอดีต นึกไปในอนาคต เวลาคิดนึกปรุงแต่งก็ไปเป็นความคิด ความนึกเลย เข้าไปปรุงแต่งเป็นตัวเรา 100 % ความรู้สึกตัวหายไปไหนก็ไม่รู้ มีแต่ความคิด กับอารมณ์ และอารมณ์ที่ร่วมไปกับมัน

    ส่วนอาการจิตส่งออกนอก คือ ความรู้สึกไปอยู่นอกตัวหมด ไม่เห็นตัวเอง ไม่รู้สึกว่ามีตัวเอง พอระลึกได้ ก็ดึงความรู้สึกที่ส่งออกนอกนั้นมาอยู่กับตัวเอง จึงได้รู้ว่าเมื่อกี้ที่เราไม่รู้ตัวเองเพราะจิตเราส่งออกนอกนั่นเอง
     
  20. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    แสดงว่าอกุศลในใจแก มีมากล่ะสิ...ก็ให้หัดแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์โดยไม่เจาะจง...แบบหว่านทาน ไปเลย....ทั้งวัน...ให้จิตเกิดจาคะก่อน

    อย่าพึ่งอยากเอา อยากได้ อะไรเลย..
     

แชร์หน้านี้

Loading...