การศึกษาความเป็นไปได้ของระบบสื่อสารสำรองภาคพื้นในกรณีที่ระบบหลักล่ม

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูติอาคเนย์, 26 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    รายละเอียดและที่มาของโครงการ
    เนื่องจากหากเกิดภัยต่างๆนานาสิ่งที่ตามมาคือการล่มสลายของระบบสื่อสารภาคพื้นทุกระบบ
    อ้างอิงจากภัยสึนามิที่ผ่านมา คือนอกจากระบบจะล่มลงเพราะภัยธรรมชาติแล้ว ยังเกิดจากที่ทุกคนใช้คู่สายพร้อมกัน
    ทำให้ส่งข้อมูลกันไม่ทัน (ทั้งมือถือทั้งสายโทรศัพท์บ้าน)

    แต่ในช่วงเวลาวิกฤตทางการสื่อสารนั้นกลับมีอยู่2ระบบนึงที่หลายคนมองข้ามคือ
    1.วิทยุสื่อสาร ใช้ได้เสมอยกเว้น ช่วง โซล่าสตรอม(หลายร้อยปีถึงเกิดทีอันนี้ไม่น่าเป็นห่วง) กับพายุหนักๆ
    2.อินเตอร์เนต ตราบใดที่ยังมีดาวเทียม และหรือระบบภาคพื้นบางส่วนยังใช้งานได้

    จึงทำให้เกิดการนำไอเดียวิทยุสื่อสารมาใช้กับอินเตอร์เนตที่เรียกว่า eQSO http://www.thaieqso.com/
    ผสานกับแนวคิดของ EECV http://emergency.thai.net/
    และหรือ VoIP เข้าด้วยกัน (มั่วไปหมดแล้วชักมึนๆ*-*)

    สรุป คือสามารถใช้วิทยุสื่อสาร หรือชาวบ้านเรียก วอ นั่นแหละผนวกกับอินเตอร์เนตแล้วลิงค์ 2 สถานีส่งที่อยู่ห่างไกลเข้าด้วยกันไว้จะทำให้สามารถสื่อสารระยะไกลข้ามทวีปกันได้โดยไม่ต้องใช้สาย(แต่ใช้เนต)

    หลักการ คือมีสถานีวิทยุ (จะชั่วคราวหรือถาวรก็แล้วแต่) หลายๆสถานีแล้วเชื่อมโยงมาที่เซิฟเวอร์แห่งเดียวกัน
    โดยสถานีต่างๆทำหน้าที่2ประการหลักๆคือ
    1.รับและส่งข้อมูลจากเครื่องวิทยุสื่อสารในบริเวณใกล้เคียงที่จูนคลื่นความถี่มา
    2.รับและส่งข้อมูลพร้อมสื่อสารกับสถานีย่อยอื่นผ่านระบบอินเตอร์เนต โดยผ่านตัวกลางคือระบบ internet server (eQSO) ดูได้ตามรูปที่แนบมา

    [​IMG]

    จุดประสงค์ ก็เพื่อที่จะใช้เป็นระบบสื่อสาร backup ในกรณีที่สัญญาณภาคพื้นคือพวกเครือข่ายโทรศัพท์ ทั้งมือถือและโทรสัพท์บ้านล่ม ไม่ว่าจะใช้ในการอพยพหรือในการกู้ภัยก็แล้วแต่ แต่มันคงได้ใช้แน่ๆ
    เพราะเราจะไปพึ่งภาครัฐหรือทหารตอนนั้นผมว่าไม่ทันการณ์ ขนาดภัยแบบมินิ อย่างสึนามิที่ผ่านมาก็ยังสายไปเลย

    หลังจากเกริ่นมาซะยืดยาวเหยียดดดก็ถึงเวลาที่จะรบกวนขอข้อมูลกับท่านที่เป็นสมาชิกกลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ
    หรือกลุ่มกู้ภัยอื่นๆที่คิดว่าตัวเองจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับงานนี้ช่วยกันตอบข้อมูลเล็กๆน้อยๆดังนี้


    1.ท่านมีระบบจ่ายไฟสำรองหรือไม่ เช่นเครื่องปั่นไฟขนาดเล็ก หรือโซล่าเซล หรือแบตเตอรี่สำรองจำนวนมาก

    2.ท่านมีเครื่องรับส่งวิทยุแบบที่จะใช้ตั้งเสาเป็นสถานีเคลื่อนที่หรือไม่ เท่าที่ทราบตอนนี้คือมีพี่สนั่นคนนึงแระที่มี
    ส่วนตัวผมไม่มีหรอก T-T จะมีแค่รู้จักพวกสถานีภาคพื้นแบบขึ้นเสา แต่ว่ากำลังส่งมันใกล้มาก
    หรือใครมีเส้นสายพอที่จะหาสถานีส่งกำลังสูงใช้ในยามฉุกเฉินได้บ้างก็รับกวนช่วยลงชื่อหน่อยนะครับ
    แล้วขอฝากถามพี่สนั่นว่าค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสถานีแบบเคลื่อนที่ประมาณกี่บาทครับจะได้เป็นไกด์ให้กับคนที่สนใจ

    3.ท่านมีอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียมหรือ ipstar หรือไม่อันนี้หัวใจอย่างนึงเลยทั้งสื่อสารผ่านวิทยุออนไลน์ทั้ง VoIP แต่ค่าใช้จ่ายรายเดือนมันแพงมากๆดังนั้นจึงไม่ค่อยจะใช้กันแต่บางท่านอาจจะมีจึงต้องขอรายชื่อท่านที่มี
    คือมีแค่จาน+เครื่องรับกับยูเซอร์ พาสเวิดก้อพอ


    รบกวนท่านที่มีตั้งแต่ข้อ1ยันข้อ3และสนใจในการช่วยเหลือจัดตั้งระบบสื่อสารสำรองภาคพื้นนี้ช่วยกันลงชื่อหรือแนะนำ
    แนวทางต่างๆกันด้วยครับเพื่อศึกษาความเป็นไปได้แบบเร่งด่วนจะได้รีบดำเนินการ โดยอาจจะดำเนินการได้3แบบ

    คือ1.แบบนัดมารวมกันแล้วประกอบระบบขึ้นมาในยามที่เกิดภัยแล้ว แต่เราอาจนัดเส้นทางสื่อสารกันไว้ก่อน
    หรือ 2.ประกอบก่อนเกิดภัยแล้วถ้าไม่มีภัยเกิดก็แยกย้ายอุปกรณืกลับ
    หรือ 3.บริจาคถาวรไปเลยแล้วพอเกิดภัยก้อใช้ได้ในทันที แบบนี้จะเร็วสุดแต่เปลืองตังค์สุด*-*

    อนึ่งระบบเซิฟเวอร์ผมไม่แน่ใจว่าถ้ามันเกิดภัยตามที่หลายๆท่านคาดการณ์ไว้นี้มันจะรอดหรือเปล่า เพราะส่วนใหญ่ตั้งใน isp ที่ กทม ทั้งนั้นเลยรวมทั้งเซิฟเวอรืที่ผมมีอยู่ก็ด้วย ถ้ามันไม่รอดเนี่ยคงต้องหาวิธีการเซตเซิฟเวอร์แบบเคลื่อนที่ได้ก็จะมีประโยชน์มากมายครับ
    ปัญหาหลักของระบบเซิฟเวอร์คือ กำลังไฟที่จะป้อนเลี้ยงและอินเตอร์เนตความเร็วสูงพอที่จะทำให้เกิด
    การส่งข้อมูลต่อเนื่องได้ อาจจะต้องเป็น ipstar 1mb ขึ้นไป จริงๆแล้วทีมที่ผมทำงานอยู่เกี่ยวกับ
    ระบบ online broadcast ก็มีโปรเจคที่จะทำรถคล้ายๆ OB ขึ้นมา (ทางnectecก็ทำแนวนี้แต่เรียกว่ารถ EECV) โดยติดจาน ipstar บนรถแวนแล้วมีห้องปฏิบัติการณ์ภายใน แต่ว่ามันยังไม่มีความแน่นอนของเจ้าของโปรเจคว่าจะจัดตั้งหรือไม่
    จึงมาสอบถามเพื่อที่จะดูความเป็นไปได้ในการที่จะจัดทำใช้กันเองในกลุ่มพลังจิต *-*

    ยังไงที่ผมเสนอก็ยังเป็นแค่แนวทางนะครับว่ามันอาจทำได้แต่ต้องดูกำลังของพวกเราก่อน
    หลายท่านอาจสงสัยทำไมต้องทำด้วยใช้วิทยุก้ได้ถ้าระบบมือถือล่ม คือวิทยุมันได้ระยะสั้นไม่อาจประสานงานทางไกลได้น่ะครับ เช่น
    ถ้าทีมงานที่จังหวัดนึง ได้สังเกตุการณ์ว่าเส้นทางปลอดภัยแล้วจะโทรไปรายงานกับทีมที่กำลังเดินทางขึ้นเหนือ ซึ่ง
    อาจข้ามจังหวัดกันเป็ฯ1000กิโลเมตร แบบนี้มันทำได้ลำบาก ไอ้ครั้นจะไปทำสถานีวิทยุส่งแบบทั้งประเทศเราคงไม่มีงบขนาด100ล้านพันล้านมาทำหรอกจริงไหม*-*

    อีกแนวความคิดนึงในกรณีสำรองหากเสาวิทยุยังใช้กันได้คือ จัดตั้งทีมประสานโครงข่ายวิทยุกู้ภัยทั่วประเทศ
    แต่แบบนั้นต้องใช้วิทยุแบบสอบใบอนุญาติก่อน ต้องลองดูกันอีกที

    ขอเพิ่มลิงค์กระทู้เก่าที่พี่สนั่นและพี่ๆท่านอื่นได้ปรึกษากันไว้ในเรื่องระบบสื่อสารนะครับ
    เพราะมีข้อมูลดีๆมากๆเลยเผื่อเอาไว้ไปศึกษาเพิ่มเติม
    http://palungjit.org/showthread.php?t=66866
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2008
  2. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    แนะนำว่า

    1. ระบบ internet นั้นอาจล่มได้หากเกิดการขาดของ Link หลัก ระบบจะใช้ได้ก็เมื่อ internet ไม่ล่ม

    ดังนั้น...ขอเสนอว่า...ให้ทำ Private Network ควบคู่กับระบบ internet อาจใช้ Dial-Up เพื่อเกาะสัญญาณเอาไว้

    ดังนั้นหาก ISP พังก็ยังมี Dial-Up สำรอง และ Dial-Up ยังมี Solution ได้หลายทาง

    2. หากไม่เป็น Dial-Up ก็ใช้ WiFi ....ล่าสุดมี WiFi ที่ส่งได้ถึง 300 Km.

    3. หากใช้ VoIP กับระบบสื่อสาร คนที่ Setting ต้องมีความรู้มากกว่าคนใช้วิทยุสื่อสารธรรมดา...หากขาดแทนบุคคลากรด้านนี้...ก็อาจทำงานยากขึ้นอีกมาก

    สรุปว่า...เห็นด้วยครับ...แต่ต้องวางระบบให้รอบคอบ
     
  3. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    ผมใช้ CAT CDMA เป็นเครือข่ายสำรองอยู่ครับ ตอนนี้ใช้ได้ทั่วประเทศยกเว้นภาคกลาง
     
  4. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    ขอบคุณสำหรับไอเดียจากพี่สนั่นและน้องนาคามูระนะครับ เห็นด้วยเช่นกันครับ ทั้ง dial-up และ cdma

    ผมเองมี cdma สำรองประมาณ2ตัวครับแต่ของ hutch แต่ว่ามันช้าไปหน่อยแค่พอจะใช้สื่อสารได้บ้าง

    ไม่ทราบว่าพี่สนั่น จะพอให้รายละเอียดเรื่อง wifi ระยะไกล (ใช่ wi-maxป่าวครับ)ได้หรือไม่ครับน่าสนใจเป็นอีกทางเลือกนึง

    กับ cat cdma นี่ใช่อันดียวกับ hutch ป่าวอ่ะครับ

    ส่วน VoIP เป็นแค่ตัวเลือกนึงน่ะครับเผื่อไม่มีวิทยุสื่อสาร ณ ที่นั้น
     
  5. apichan

    apichan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    825
    ค่าพลัง:
    +4,424
    กลัวว่าถึงเวลาเกิดเหตุพวก infrastructure network จะล่มหมดนะสิครับ ควรคิดอะไรที่มันเป็น worst case ไปเลยดีกว่า เพราะถ้ามันไม่ worst จริงๆ ระบบอื่นๆก็น่าจะยังใช้ได้อยู่ ซึ่งในกรณี worst case นั่นระบบที่เป็นไปได้มากทีุ่สุดถ้าไม่ต้องการส่ง data ก็พวกวิทยุสื่อสารนั่นแหละครับ ติดตั้งง่ายสุดแล้ว แต่ถ้าต้องการส่งข้อมูลอื่นๆด้วย ก็ setup ระบบ wifi (wimax เท่าที่ทราบยังอยู่ในช่วง trial) บูสท์กำลังส่งให้สูงๆ สายอากาศดีๆ ก็น่าจะส่งได้ไกลเหมือนกัน
     
  6. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    June 18, 2007 9:18 AM PDT
    New Wi-Fi distance record: 382 kilometers

    Posted by Michael Kanellos | 1 comment
    Researcher Ermanno Pietrosemoli has set what appears to be a new record for the longest communication link with Wi-Fi.
    Pietrosemoli, president of the Escuela Latinoamerica de Redes (which means networking school of Latin America) established a Wi-Fi link between two computers located in El Aguila and Platillon Mountain, Venezuela. That's a distance of 382 kilometers, or 238 miles. He used technology from Intel, which is concocting its own long-range Wi-Fi equipment, and some off-the-shelf parts. Pietrosemoli gets about 3 megabits per second in each direction on his long-range connections.
    Most Wi-Fi signals only go only a few meters before petering out. Conventional Wi-Fi transmitters, however, send signals in all directions. By directing the signal to a specific point, range can be increased.
    Honing the signal, however, means that the receiver and transmitter have to be aligned. Trees, buildings and other objects that get between them can sever the link. The curvature of Earth, misalignment between the transmitter and receiver, as well as shaking and any sort of movement at the transmitting or receiving end can also impair the signal. (To ameliorate some of these factors, Intel has created a way to electrically steer the signal, which in turn increases bandwidth.)
    Geography was on Pietrosemoli's side. El Aguila and Platillon Mountain sit in the Andes, which form fairly jagged peaks in this part of the range.
    The old record was 310 kilometers. Swedish scientists made a link between a balloon and an Earth-bound station. We say "apparently" on Pietrosemoli's record, in case someone out there has set a better record about which we are unaware.
    More details can be found in an article at the Web site for The Association for Progressive Communcations. (Inveneo, which is trying to bring PCs to emerging markets, told us about Pietrosemoli's achievement.)
    Intel, along with organizations like Inveneo, are testing the feasibility of long-range Wi-Fi as a communication link in Uganda and other emerging nations. Long-range Wi-Fi isn't as robust at WiMax, but the towers cost a lot less. Some hobbyists have accomplished a long-range Wi-Fi connection with low bandwidth.
    Similar experiments are being carried out in the United States as well. A long-range Wi-Fi link connects Intel Research's Berkeley Lab and a Sun Microsystems lab on the San Francisco Peninsula, more than 20 miles away.

    Topics:

    Processors
    Tags:

    Wi-Fi, range, Andes, emerging nations, Intel
    Bookmark:

    Digg Del.icio.us Reddit


    http://www.news.com/8301-10784_3-9730708-7.html?part=rss&subj=news&tag=2547-1_3-0-20

    http://www.slideshare.net/1ereposition/long-distance-wifi-trial/
     
  7. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    หากตั้งสถานีสื่อสารที่ภูทับเบิกได้นี่ส่งไปได้เกือบทั่วประเทศเลยครับ

    ลองวางแผนและปรึกษากันดู
     
  8. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ไม่รู้พวก mobile-satellite จะล่มด้วยป่าว แต่คงยังแพงอยู่ดี
     
  9. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    เป็นกระทู้ที่มีประโยขน์มากเลยครับ
    ที่มาร่วมวิสัชนา และ แชร์ไอเดียกัน
     
  10. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    ขอบคุณทุกความเห็นครับ
    ถ้ามีที่ตั้งเสาในที่สูงๆกำลังส่งสูงก็จะส่งได้ไกลจริงครับแต่ค่าใช้จ่ายในการตั้งทีนึง
    อย่างถูกๆนี่150,000-200,000 up(เสาเล็กๆนะประมาณ15ท่อน) *-* แล้วต้องรีบทำภายในไม่กี่เดือน ผมไม่แน่ใจว่าขอได้จนหมดเขตวันที่เท่าไหร่ แต่ไม่นานแล้ว มันจะมี พรบกำหนดอีกว่าส่งความถี่ได้เท่าไหร่ประมาณนี้น่ะครับ
    เราอาจกำหนดความถี่จำกัดก่อนก็ได้ให้ไม่เกิน พรบ พอมันเกิดเหตุก้อบูตไปเยอะๆเลยฮ่าๆกลบสถานีอื่นให้หมด*-*
    แล้วก็เอาไปใช้เป็น wi-fiได้เหมือนกัน แต่ผมไม่แน่ใจนะครับว่าถ้าสูงมากก็จริงมันจะยิงไปได้กี่กิโล
    ต้องไปถามผู้ชำนาญการณ์ก่อน
    อีกไอเดียคือถ้าเรามีลิสต์เสาที่อยู่ในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลที่จะท่วมแล้วอยู่ในเครือข่ายเดียวกันหมด
    ก็กระจายสัญญาณลิงค์กันไปมาได้โดยใช้เป็น wi-fi อย่างนี้ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ทั่วประเทศเลย แต่คงจะยกเว้นที่น้ำท่วมมิดเท่านั้นเอง
    ถ้าเรื่องนี้หากมีบุญพออาจจะจัดให้ได้ เพราะมีคนที่อยากทำเสาทั่วประเทศอยู่แล้ว กับคนที่รับจ้างทำเสาทั่วประเทศ
    ต้องไปตามตัวก่อนว่ามีวิธีใดให้มาแจมสัญญาณกันได้
    ส่วนเรื่อง wi-fi ระยะไกลสงสัยผมต้องศึกษาอีกเยอะพอสมควรเพราะไม่ชำนาญเลย ใช้เป็นแต่ระยะสั้น*-*
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลพี่สนั่นนะครับ
    อ้อ mobile sattelite ถ้าเป็นรถ OB แค่ค่าเช่าวันเดือนละล้านเท่านั้นจิ้บๆจริงๆ T-T ครับคุณ falkman เลยเสนอเป็น solution ipstar แต่ถ้าสถานีรับสัญญาณภาคพื้นจมน้ำด้วยก็จบกันv_v
    ต้องหาวิธีสื่อสารกันผ่านดาวเทียมแต่ไม่ต้องติดต่อกับสถานีเอา -.- อันนี้ยังมึนๆอยู่ว่าจะทำยังไง
    เพราะมีดาวหลายดวงให้น่าลิ้มลองแต่ว่าต้องแฮกเข้าไป*-*
    ถ้าเป็นปกติต้องเช่าช่องในการออกอ่ะครับราคาก็ประมาณเดือนละ4แสนเองจิ้บๆอีกแล้ว T-T
    สรุปแล้วคือในงบจำกัดอย่างถูกสุดๆคือขึ้นเสาบนภูทับเบิก ซึ่งถ้าพระท่านอนุญาติ และ cat อนุมัติ ผมกลัวตรงcat อนุมัติมากก่าเพราะจะขึ้นสูงๆมันคงต้องใช้เส้นสายพอประมาณทีเดียวเชียว
     
  11. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    แต่มีข้อสังเกตปัจจุบันประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและ USA มีขีดความสามารถในยิงทำลายดาวเทียม ถ้าเกิดสงครามแต่ละฝ่ายมุ่งทำลายดาวเทียมอีกฝ่ายหนึ่ง เราจะฝากความหวังไว้ที่ดาวเทียมอย่างเดียวไม่ได้
     
  12. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    สุดท้ายอาจต้องเป็นระบบแบบผสมผสาน

    ระบบพื้นฐาน

    1. ใข้ ว. แดงที่เราใช้กันอยู่...ให้ครอบคลุมพื้นที่อพยพในแต่ละแห่ง...ดังนั้น...ก็ต้องมีเสา (ซื้อเตรียมไว้)....มีสายนำสัญญาณ......มี ว.แดง....มีพลังงาน...อื่นๆ

    2. มีลูกข่ายที่ใช้ ว.แดง จัดซื้อ ว. ส่วนตัว....ตั้ง Callsign

    หลังจากได้จัดทำระบบย่อยข้างต้นแล้ว...ก็ Link ระบบเข้าด้วยกัน...กรณี Link ล่มด้วยสาเหตุใดๆ ก็ยังมีระบบพื้นฐานใช้งาน

    ระบบเชื่อมสัญญาณ (Link)

    1. VoIP....อันนี้ต้องมี PC และ Network เช่น internet หรือทำเป็น WAN หรือทั้งสองอย่าง Backup กันไป

    2. Link ด้วยช่องสื่อสารทางเสียง เช่น ช่องสัญญาณโทรศัพท์ หรืออาจใช้ Radio Link ธรรมดา (ใช้ ว.แดง หรือย่านอื่นๆทำเป็น Link)

    3. Link ดาวเทียม ...จะเป็น Data หรือแค่ Voice Channel ก็ว่ากันไป...สรุปว่าแพง

    ที่ปรียนันท์ได้ทำระบบพื้นฐานเอาไว้แล้ว
     
  13. ตลับนาค

    ตลับนาค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    114
    ค่าพลัง:
    +1,497
    นั่นสิครับ ดาวเทียมเป็นเป้าอันนึงครับ คิดว่าถ้ามีสงครามขึ้น เครือข่ายสื่อสารและ
    ระบบ GPS น่าจะถูกเอาลงก่อน ดูจากเทคโนโลยีปัจจุบันของ สหรัฐ-จีน-รัสเซีย แล้ว
    ที่สามารถทำลายดาวเทียมโดยใช้ชีปนาวุธได้ จากนั้นก็จะเกิดขยะอวกาศอีก
    จำนวนมาก ซึ่งมีโอกาสมากที่จะไปทำให้ดาวเทียมที่เหลือในอวกาศใช้การไม่ได้

    เคเบิลใต้น้ำอย่างที่ตะวันออกกลางก็ยังถูกตัดง่ายๆ

    ดาวเทียมที่เป็น Geo-synchronous ที่เราใช้ดูรายการผ่านดาวเทียมกัน ก็ต้อง
    พึ่งสถานีภาคพื้นดิน ต้องส่งสัญญาณไปควบคุมการใช้งานช่องสัญญาณ (transponder)
    และ ตำแหน่งของดาวเทียมเอง เพื่อให้เป็นตำแหน่งคงที่ในท้องฟ้า พอสถานีภาค
    พื้นดินใช้การไม่ได้ และถ้าไม่มีสถานีสำรอง ไม่นานมันก็จะหลุดออกจากตำแหน่งเดิม
    แต่ก็น่าสนใจว่า ตอนนั้นคงจะมีดาวเทียมเปล่าๆให้เรา ถ้าเราเข้าไปคุมมันได้??

    อีกอันนึงคือดาวเทียมของพวกวิทยุสมัครเล่น มันอาจจะผ่านขอบฟ้าเราหลายครั้งใน
    วันนึง แต่ครั้งนึงก็จะคิดต่อไม่นานมากไม่เกินครึ่งชั่วโมง อาจจะมีประโยชน์ในการติดต่อ
    พวกที่อยู่ไกลมากๆ ข้ามประเทศ ความเร็วข้อมูลไม่มาก

    ถึงดาวเทียม จะไม่น่าใช้ได้ แต่ก็ยังหวังว่ายังมีบางช่องสถานี สามารถออกรายการ
    ได้ เรามีความรู้ทางด้านติดตั้งจานไว้บางก็ดีครับ เราอาจจะได้รับข่าวสาร

    ระบบ wifi มันต้องใช้คอมพิวเตอร์ ถ้าไฟไม่มีก็เสร็จ แต่มีสายอากาศมันก็ไม่ทำ
    ให้ส่งได้ไกลมาก เคยเห็นโครงการที่ออสเตรเลียเขาดัดแปลง เอา usb-wifi dongle
    มาต่อกับ ของที่เป็นทรงพาราโบลิคในบ้านที่หาได้ เช่นกะทะ แล้วส่งรับข้อมูล
    ระหว่างเขา 5~10km ถ้าเล็งตรงก็พอได้อยู่ แต่ก็อีกนั่นแหละ ถ้ารับส่งได้แล้ว
    ปริมาณข้อมูลที่รับส่งกัน คงจะต้องลดลงไปด้วย จะไปคิดว่าเรามี net speed
    5 Mbps เหมือนเดิมไม่ได้แล้ว ลดลงมาเหลือเป็น terminal หรือ BBS service

    VOIP setup ถ้าจะทำทั้งระบบเองจะใช้ทรัพยากรมากครับ

    Communication infrastructure ในยามฉุกเฉินไม่น่าจะเชื่อถือได้ครับ ที่จะยังอยู่
    เห็นจะเป็น peer-to-peer อย่าง ว.แดง ที่เราใช้กัน ถ้าจะมีการส่งข้อมูลก็เห็น
    จะต้อง เอาข้อมูลไปส่งอยู่บนสัญญาณเสียง อย่างเป็นโมเด็มความเร็วต่ำๆ หรือไม่
    ก็ PSK31 เห็นมีคนพูดถึงกันอยู่เมื่อปลายปีที่แล้ว ก็ยังจะพอได้่ ส่วนระยะทางก็ขึ้นอยู่กับ
    ความแรงของเครื่องส่งเอง

    จุดสำคัญคือระบบไฟฟ้าครับ ทั้งหมดถ้าไม่มีไฟฟ้าก็ไปไม่รอด เคยลองคิดว่าถ้าแบกเป้
    ไปใบนึงไป แล้วแบก laptop ไปอันนึง แล้วก็ solarcell ขนาดเล็ก ก็ยังไม่พอ
    จ่ายไฟเลย laptop ใช้สัก 25w ส่วน solarcell แล้วแต่ขนาด เท่าที่พกได้ ก็อาจจะ
    ต้องใช้แบตเตอรี่ก้อนเล็กๆ เพื่อให้มันชาร์จจาก solarcell แล้วค่อยต่อจาก inverter
    มาใช้กับ laptop อีกที น้ำหนักนี่ก็เกือบสิบกิโลครับรวมแบตฯ แต่ถ้าเป็นเครื่องปั่นไฟดีเซล
    แบบพกพา 1-1.5KW ก็สิบห้ากิโล แถมยังต้องมีน้ำมันอีก เห็นจะต้องไปติดตั้งไว้ก่อน
    ระบบปั่นไฟด้วยกระแสน้ำ, สายลมหรือว่า แสงแดด หรือถ้าทำไบโอดีเซลใส่เครื่องจักร
    ได้ก็จะช่วยเรื่องไฟฟ้าใช้ได้อยู่

    อีกอย่างถ้าน้ำท่วม มันก็จะมีอุปกรณ์ที่ใช้ไม่ได้จำนวนนึงซึ่งเป็น infrastructure
    ปัจจุบัน ถ้าไม่มีใครใช้แล้วเรานำกลับมาซ่อมให้มันใช้งานได้ขึ้นมา (อาจจะต้องไปงม
    ขึ้นมาก่อน) ก็น่าจะเป็นประโยชน์ แต่เราก็ต้องมีเครื่องซ่อม เครื่องวัด พร้อมก่อน
    นอกจากทางอิเลคโทรนิคแล้ว เครื่องมือซ่อมต่างๆ ก็จะจำเป็น คงจะมีอะไรมาให้
    ทำเยอะครับ
     
  14. apichan

    apichan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    825
    ค่าพลัง:
    +4,424
    ถ้าจะทำ long-range wifi จริงๆก็คงต้องมีการปรับปรุง timeout ของการรอการตอบ ack กับ sensing period ครับ เพราะระยะทางมากขึ้น propagation delay ก็มากขึ้น (ใครที่เรียนวิศวะสายสื่อสารคงเข้าใจ) แนะนำให้ใช้ firmware ของ openwrt (http://forum.openwrt.org/) เพราะเราสามารถแก้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆได้ firmware นี้ส่วนใหญ่เค้าใช้กับ wifi router ของ linksys wrt54g ผมก็ยังไม่เคยเล่น แต่คิดว่าคงไม่น่ายาก
     
  15. apichan

    apichan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    825
    ค่าพลัง:
    +4,424
    เห็นที่เค้าวัดที่ระยะ 279 km ส่งได้ที่ความเร็วเฉลี่ย 2.4 kbps เองครับ ถ้าจะส่งเป็น real-time voice คงไม่ไหว ช้าเกินไป อาจจะส่งแบบ text mode ได้ หรือไม่ก็ส่งผ่าน ftp แล้วให้ปลายทางเปิดฟังเสียงก็ได้

    เปิดดูไฟล์ 285767
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2008
  16. เด็กออม

    เด็กออม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +24
    ผมว่าการสื่อสารที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงควบคุมอาจจะใช้ไม่ได้ เช่นดาวเทียมหากสถานีภาคพื้นดิน(ไทยคมอยู่กลางทุ่งนาลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี) ล่มดาวเทียมก็ล่มด้วย เพราะปัญหาเรื่องตำแหน่งดาวเทียม ตามที่คุณตลับนาคบอกใว้ ผมคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ คลื่นวิทยุ เพราะส่วนประกอบของระบบมันน้อยที่สุด คือมีตัวส่งกับตัวรับ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมได้ ส่วน Internet ก็เช่นกัน เพราะ Gategay ส่วนใหญ่อยู่กรุงเทพ Link ออกต่างประเทศก็เป็นไฟเบอร์ไต้น้ำและดาวเทียม ซึ่งถ้าเราใช้งานก็ไม่รู้ว่ามันจะใช้งานไม่ได้ตอนไหน อีตัวที่พูดถึงกันคือ WI-FI ตัวนี้ก็น่าสนใจครับ เพราะมันส่งข้อมูลได้ ซึ่งระบบมันจะคล้ายกับวิทยุมากๆ คือมีตัวส่งและตัวรับ(ตัวอย่างเช่นยี่ห้อ CANOPY WIMAx) ขึ้นเสาสูงๆยิงหากัน ก็สื่อสารกันได้ แล้วอีกเรื่องคือพลังงาน หากไม่มีไฟฟ้า เราก็ต้องหาพลังงานทดแทน Solarcell น่าจะเป็นทางที่ดีที่สุด
    หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยครับพี่ๆน้องๆ
     
  17. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    ยินดีที่ได้มีการระดมความคิดกัน...ครับ
     
  18. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    ได้ความรู้และความเป็นไปได้ขึ้นเยอะเลยขอบคุณที่ทุกท่านมาร่วมวิสัชนากัน
    วิธีติดตั้งจานดาวเทียมผมพอทำเป็นแต่ว่าการตั้งสถานีเถื่อนเพื่อใช้ควบคุมนี่ยังเกินสมองน้อยๆของข้าพเจ้าไปหน่อย v_v
    ผมลืมข้อจำกัดของ wi-fi แบบระยะไกลไปเพิ่งนึกได้คือเรื่อง timeout กับการตั้ง delay ให้ตีสัญญาณกลับ ถ้าจะเซตอัพให้ใช้ระบบนี้จำเป็นต้องมีเสาหลายๆต้นต่อเรียงๆกันแล้วใช้จานหันบีมให้ตรงกันอีก
    เหมือนคุณ apichan ว่านั่นแหละครับตรงนี้ทำให้คิดหนักเลยเพราะถ้าจะหันบีมให้องศาเดียวกันก็ยากแล้ว
    แล้วต้องต่อเสาขึ้นทุก100kmอีกอันนี้ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ยกเว้นเราจะรวบรวมพวกวิทยุชุมชนเข้ามาด้วยกันได้แบบนี้เห็นความหวังมากขึ้น

    เรื่อง ว.แดงและว.ดำ คงต้องใช้แน่ๆครับ ถ้ามีระบบนี้เป็นเบสอยู่แล้วก็ดีมากเลยขออนุโมทนาครับ

    ระบบอีกอย่างที่ผมนึกขึ้นมาได้คือ microwave อ่ะครับ แน่นอนมันเถื่อนฮ่าๆแต่ว่าสัญญาณแรงพอใช้ได้
    มีคนเอาไปใช้ทำอินเตอร์เนตเข้าไปในเกาะต่างๆในทะเลอยู่อ่ะครับ ไม่รู้ว่าการทำจะยากไหมเพราะผมไม่ค่อยมีควมรู้ตรงนี้เลย

    ส่วนดาวเทียม ผมว่าจะมีดาวเทียมจำนวนนึง ถ้าไม่โดนสอยแต่ภาคพื้นล่ม จะสามารถโคจรด้วยตัวเองได้
    เช่นเร็วๆนี้ก็ของพี่ยุ่นที่ทำเป็น internet backup เพิ่งส่งขึ้นไปไม่กี่วัน
    เพียงแต่ว่าเราจะแฮกเข้าไปยังไงเท่านั้นเองเวรกรรม*-* ข้อสังเกตุอีกประการคือมีดาวเทียมที่เลิกใช้แล้ว
    บางดวงยังลอยให้ใช้ฟรีอยู่อ่ะครับพวกที่ใช้กับ gps บางอันก็ดาวที่เขาปล่อยแล้ว ตรงนี้ผมไม่แน่ใจว่ามันยังมีการคุมระบบจากพื้นไหมหรือเป็นแบบกำหนดโคจรด้วยตัวเอง
    อีกอย่างคือดาวเทียมที่ใช้กับว.สมัครเล่นที่คุณ ตลับนาคว่ามันเป็นยังไงหรอครับน่าสนใจเหมือนกัน
    เรื่องดาวเทียมผมมีพี่ที่รู้จักเขาทำด้านจานดาวเทียมอยู่ พวกอุปกรณ์วัดองศาหรือตัวรีซิฟเวอร์/จานนี่มีพร้อมหมดอยู่แล้ว การติดตั้งคิดว่าทำได้ไม่ยาก แต่ถ้า ipstar ต้องลองถามอีกทีเพราะ ipstar ต้องเป็นคนที่ทำเรื่องนี้ใน shinsat โดยตรง ในยามปกติจาน ipstar ที่มีอยู่
    จะมีอยุ่ตามโรงเรียนต่างจังหวัดครับเพราะเป็นโปรเจคของรัฐบาล คิดว่าตอนนี้ได้ติดตั้งไปแล้วบางส่วน และในภาคเหนือและอีสานด้วย ถ้าเกิดภัยคิดว่าจานพวกนี้น่าจะรอด (แต่สถานีแม่กะระบบหลักใน กทม ไม่รู้จะรอดไหม แต่ก็เผื่อไว้ว่ามันรอดละกันครับ)

    ส่วนถ้าเขาจะยิงดาวเทียมแบบพี่ marine24 ว่า ผมว่ามันก็จริงแหละครับโดนยิงทิ้งร่วงหลายดวงแน่ๆ
    แต่คิดว่าไม่น่าจะทุกดวงจะมีรอดบ้างที่ไม่เกี่ยวกับทางทหารน่ะครับ อีกเรื่องที่น่าตกใจก็คือญี่ปุ่นกับเกาหลีก็ยิงดาวเทียมทิ้งได้แล้วครับ เห็นยิงขู่กันจัง เวรกรรม
    แต่ผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า ไทยคม เราจะรอดอ่ะครับ เชื่อแบบไม่มีเหตุผลแค่ลางสังหรณ์ เพียงแต่ถาคพื้น
    น้ำท่วมเราจะคอนโทรลยังไงเท่านั้นเอง - -"

    ส่วนเรื่องพลังงานผมเห็นด้วยกับทุกท่านครับว่าจำเป็นมากไม่ใช่แค่สื่อสารแต่อาจจะต้องใช้ในอีกหลายเคสที่เราคาดไม่ถึง
    ไม่ทราบว่ามีท่านใดศึกษาเรื่องพลังงานลมบ้างไหมครับ เพราะถ้าเป็นพื้นที่สูงผมว่าลมแรงใช่เล่นน่าจะใช้อะไรได้บ้าง
    ส่วนโซล่าเซลก็คงต้องเอาด้วยคือต้องใช้หลายๆตัวประสานกัน
    ไม่ทราบว่ามีพี่ท่านใดเป็นหัวหน้าด้านพลังงานไปลยไหมครับเพราะเป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องเหมือนกัน กับเรื่องระบบสื่อสารพี่ท่านใดที่เป็นแกนนำอยู่บ้างครับจะได้ประสานงานกันได้ถูก

    ส่วนเรื่องตั้งเสาถ้าตั้งที่สูงๆแบบที่คุณ คณานันท์บอกผมว่าสนใจมากเรื่องกำลังส่งถ้าเอาแค่มาถึง กทม ได้จาก ภูทับเบิก ก็ดีมากๆแล้วล่ะครับ ถ้าจะจัดตั้งแบบ15ท่อนก็ต้องรีบดำเนินการแล้วนะครับไม่งั้นจะไม่ทันขออนุญาติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2008
  19. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    ไฟไม่มี เครื่องใช้ไฟฟ้ารวมถึงระบบสื่อสารก็ล่ม ไหนจะขั้วแม่เหล็กโลกที่แปรปวน ลืมภัยพายุสุริยะไปหรือเปล่า

    อัตราการพัดของลมในประเทศไทยไม่คงที่ ทำให้ระดับพลังงานที่ได้ไม่คุ้มกับการตั้งอุปการณ์คือ กังหันลม แม้กระทั่งการเล่นเครื่องร่อนในประเทศไทยก็จำเป็นต้องใช้เครื่องร่อนที่มีพัดลมอยู่ด้านหลัง เพราะเครื่องร่อนแบบปีกสามเหลี่ยมต้องอาศัยแรงลมและความคงที่ของการพัดจึงจะร่อนได้ อันนี้เคยไปร่อนมาด้วยตนเอง และได้สอบถาม instructor เรื่องนี้แล้ว เค้าบอกว่าเคยมาทดลองในประเทศไทย ไม่ว่าภูเขาสูง หรือ ชายทะเล บอกว่าแรงลมไม่เพียงพอ และไม่คงที่
     
  20. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    เตรียมระบบสื่อสารทางกายภาพแล้ว อย่าลืมเตรียมระบบสื่อสารทางจิตด้วยละ ^^

    หมั่นปฎิบัติ ทำจิตเราให้เป็นตัวเครื่องรับ-ส่งสัญญาณให้ได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...