สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
    [​IMG]
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
    [​IMG]
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
    การปฎิบัติภาวนาตามแนว "วิชชาธรรมกาย"
    ไม่ใช่เป็นเรื่องนอกเรื่อง หรือเป็นลัทธิอื่นใด
    แต่เป็น "พระพุทธวจนะ"
    ตามพระพุทธวจนะ
    ข้อนี้ "มหาเถระผู้ใหญ่" ก็ได้กล่าวยืนยันไว้
    นับตั้งแต่ พระเดชพระคุณเจ้าประคุณสมเด็จ
    พระอุปัชฌาย์ของกระผม คือ
    เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
    (หลวงพ่อวัดสามพระยา) ได้กล่าวว่า ...
    "ธรรมกาย ของจริงในพระพุทธศาสนา
    แต่พระพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ในที่สูง
    เป็นธรรมเบื้องสูง"
    นี่ยืนยันอย่างนั้น !
    และก็มาถึง
    เจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี ก็ยืนยันว่า ...
    "ธรรมกาย นั่นของจริงในพระพุทธศาสนา
    และก็เป็นของสูงด้วย"
    แต่ก่อนจะถึงของสูง
    ก็ต้องคลานไปตั้งแต่เบื้องต้นนั่นแหละ
    ... สัมมาอะระหัง
    ... ตรึกนึกให้เห็นดวงใส
    ... ใจอยู่ในกลางดวงที่ใส
    นี้เป็นส่วนแห่ง "สมถะ"
    ดำเนินไปสู่ "วิปัสสนา"
    และสุดท้ายก็เจริญ "สมถะ และ วิปัสสนา" คู่กัน
    ด้วยประการฉะนี้ !



    * พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี



    [​IMG]


    [​IMG]
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
    วิธีเจริญภาวนาให้ได้ผลดี : https://www.youtube.com/watch?v=ki0tsbYwgBw
    ธรรมบรรยายโดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ขอขอบคุณข้อความ คัดลอกบางส่วนจาก "ข่าวระฆังธรรม ฉบับ ๕"



    [​IMG]
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
    [​IMG]

    ธรรมบรรยายโดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ขอขอบคุณข้อความ คัดลอกบางส่วนจาก "ข่าวระฆังธรรม ฉบับ ๕ "

    เจริญภาวนาเพื่อเข้าใจบาปบุญคุณโทษ : พระเทพญาณมงคล - เจริญภาวนาเพื่อเข้าใจบาปบุญคุณโทษ
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
    [​IMG]






    พบใครได้ดวงหรือแช่อิ่มองค์พระ(มองเฉยๆ โดยไม่เจริญวิชชาสะสางธาตุธรรม)

    ช่วยกันแนะนำให้ต่อวิชชานะครับ


    เพระการเห็นองค์พระ เป็นเพียงแค่ " ฌาณ " เท่านั้นเอง
    ( และ ยังสามารถทำอกุศลกรรมได้ ถ้าไม่อาศัย
    ญาณพระธรรมกายเพื่อสะสางกิเลส ตัณหา และดับอวิชชา ตัดสังโยชน์ )

    " ธรรมกายของแท้ 1 คน ช่วยคนได้ครึ่งเมือง "






    [​IMG]




    ทุก1-14 พฤษภาคม กลางปี

    และ 1-14 ธันวาคม


    อบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นกลางปี (ฆราวาสเข้าร่วมอบรมได้)

    ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชุบรี
    - ขั้นพื้นฐาน เพื่อให้จิตสงบ พบดวงใส
    - ขั้นกลาง เพื่อต่อจากดวงใส เป็น 18 กาย และต่อไปถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า
    - ขั้นสูง เพื่อตรวจภพตรวจจักรวาล เจริญวิชชา และละกิเลสในใจตน
    นำโดย พระเทพญาณมงคล วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล, ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม พระวิทยากร และอุบาสก อุบาสิกาวิทยากร ที่ครูบาอาจารย์คัดเลือกให้สอนสมาธิได้

    - ปฏิบัติธรรมรวมกลุ่มใหญ่
    - ปฏิบัติธรรมแยกกลุ่มย่อยกับวิทยากร
    - ฟังธรรมจากพระมหาเถระ




    หรือใครที่ได้ดวงธรรมเบื้องต้นแล้ว......ขอเชิญ


    [​IMG]




    หมายเลขโทรศัพท์ ที่วัดหลวงพ่อสดฯ รับรอง สำหรับการใช้ติดต่อ


    090-595-5162 ปชส.1
    090-595-5164 ปชส.2
    081-586-8685 ปชส.1 (พระมหาสมชาติ สุชาโต)
    090-595-5166 ปชส.1 (พระมหาพร้อมไพบูลย์)
    090-595-9562, 083-032-8907 ปชส.1 (พระมหาอธิโชค)
    086-660-4140 พระมหาธีรชัย ธีรชโย
    086-604-3665 พระมหาอนุชา จนฺทปภาโส
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
    โอวาทพระเดชพระคุณเจ้าสมเด็จพระวันรัต

    นักปฏิบัติสำนักวัดปากน้ำ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัด
    ธนบุรี ได้นำหนังสือสมถวิปัสสนากรรมฐานมาให้อ่าน บรรยาย
    โดยนายโสภณ ชื่นชุ่ม ท่านผู้นี้ข้าพเจ้ายังไม่เคยรู้จัก เมื่อ
    อ่านตลอดแล้วเพียงคร่าวๆ ให้เกิดความเข้าใจว่า ผู้เขียน
    คำบรรยายมีภูมิธรรมสูงอย่างน่าเลื่อมใส และเข้าใจว่าคงเป็น
    นักปฏิบัติด้วย จึงพูดได้ลึกซึ้งสุขุม ถ้าเพียงแต่มีความรู้อย่าง
    เดียว คงเขียนคำบรรยายไม่ได้อย่างนี้ ต้องเป็นผู้มีลักษณะ
    ดังบาลีว่า ชานตา เป็นผู้รู้ธรรมด้วย ปสฺสตา เป็นผู้เห็นธรรม
    ด้วย เพราะธรรมดาบุคคลจะพูดถึงสิ่งอันใด ถ้าได้เห็นสิ่งนั้นมา
    ก่อนแล้ว ย่อมพูด ถึงสิ่งนั้นได้ถูกต้อง หรือ ใกล้ชิดกับความ
    จริง

    สมัยปัจจุบันนี้ สำนักกรรมฐานมีหลายสำนัก แต่ละ
    สำนักก็มุ่ง จุดหมายปลายทางอย่างเดียวกัน แต่วิธีปฏิบัติ ก็
    น่าจักเริ่มต้นต่างกัน แล้วแต่อุปนิสัยของบุคคล จะเหมาะแก่
    อารมณ์ของกรรมฐานแบบไหน ไม่จำเป็นต้องยกตนข่ม
    ท่าน ผู้ยกตนข่มท่านนั้น แสดงว่าถูกมานะทิฏฐิเข้าครอบงำ
    เสียแล้ว ควรที่จะส่งเสริมกันเพื่อสันติธรรม ไม่ใช่นำตน ไปสู่
    ดงกิเลส

    อันศีลธรรม สมาธิธรรม ปัญญาธรรม ยากนักที่จะ
    น้อมนำเข้ามาสู่ตัวเราได้ เพราะธรรม 3 ประการนั้น ย่อมเป็น
    ไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย แต่ความบริสุทธิ์นั้น
    ย่อมเกิดมีแก่บุคคลได้ยาก เพราะบรรดาสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีจิต
    เศร้าหมอง ด้วยอำนาจสัญญาวิปลาส ความสำคัญผิด 4
    ประการ คือ

    1. สุภสัญญา ความสำคัญในอารมณ์ไม่งามว่าสวยงาม
    2. สุขสัญญา ความสำคัญในทุกข์ว่าสุข
    3. นิจจสัญญา ความสำคัญในอารมณ์ที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
    4. อัตตสัญญา ความสำคัญในอารมณ์ที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน

    เพราะมีความสำคัญผิดในอารมณ์อย่างนี้ ย่อมมีความ
    ประมาท มัวเมา ระเริงหลงติดอยู่ใน ความงาม ด้วย อำนาจ
    กิเลส

    ติดอยู่ใน สุข ไม่หาอุบายแก้ทุกข์
    ติดอยู่ใน ความเที่ยง ไม่นึกถึง อนิจจธรรม
    ติดอยู่ใน ตน ยึดถือว่า เป็นสัตว์ เป็นคน เป็นเรา
    เป็นเขา ด้วยอำนาจทิฏฐิมานะนี้ จัดเป็นวิปลาส
    ทำให้ดำเนินไปในทางที่ผิด จัดว่า เป็นผู้มีจิตเศร้าหมอง

    จิตที่เศร้าหมองจะผ่องใสได้ ก็ต้อง
    อาศัย “สมถวิปัสสนากรรมฐาน” เช่นกล่าวไว้ในหนังสือนี้
    เป็นแนวทางอย่างดี ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงพระธรรม และ
    มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง ได้อย่างแท้จริง

    การปฏิบัติธรรม อย่าคิดว่าเป็นของทำได้ง่าย
    ต้องมีปณิธานมั่นคงและทำจริง ธรรมจะไม่ปรากฏแก่บุคคล
    เพียงแต่ใช้คำพูด เพียงคิดนึก ต้องลงมือปฏิบัติธรรม
    ด้วย เหมือนคนปรารถนาเป็นเศรษฐีมีเงินทองมาก มิใช่เป็น
    เศรษฐีได้เพียงคิดเอา นึกเอา หรือ พูดเอา ต้องลงมือ
    ประกอบกิจการด้วย ความเพียร ความอดทน จึงจะเข้าถึง
    ฐานะเป็นเศรษฐีได้

    หนังสือนี้เป็นประโยชน์แก่นักปฏิบัติอย่างดียิ่ง ขอ
    อนุโมทนาแก่ท่านผู้เขียน ที่ได้เสียสละเวลาเขียน เพื่อ
    ประโยชน์แก่ผู้สนใจในการปฏิบัติธรรม อย่าลืมว่า จิตที่
    เศร้าหมองนั้น จะชำระให้สะอาดได้ มีทางเดียว คือ เจริญ
    พระกรรมฐานตามแนวปฏิบัติในหนังสือนี้




    [​IMG]
    สมเด็จพระวันรัต
    วัดพระเชตุพนๆ
    14 มกราคม 2508



    ----------------------------------------------------------------


    วิธีเดินสมาบัติในวิชชาธรรมกายอาจทำได้สองวิธี

    วิธีแรกเป็นวิธีสำหรับผู้มีสมาธิแก่กล้า เมื่อได้ปฐมฌาน
    แล้ว ก็อธิษฐานจิตให้ได้ฌานที่ละเอียดกว่าขึ้นไป แล้วย้อนลง
    มา

    อีกวิธีหนึ่ง เริ่มด้วยการดูดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย
    มนุษย์ หรือ ปฐมมรรคที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ ให้เห็นเป็นดวง
    ใส แล้วขยายให้กว้างออกไป วัดเส้นผ่าศูนย์กลางด้วยฌาน
    ได้ 2 วา หนา 1 คืบ วัดโดยรอบ 6 วา สัณฐานกลมใส
    เหมือนกระจกส่องหน้า นี่เป็นปฐมฌาน แล้วธรรมกายนั่งบน
    นั้น ดังนี้เรียกว่าธรรมกายเข้าปฐมฌาน แล้วเอาตาธรรมกายที่
    นั่งบนฌานนั้น เพ่งดูดวงธรรมที่ศูนย์กลางกายทิพย์ ให้เห็นเป็น
    ดวงใส แล้วขยายส่วนให้เท่ากัน นี่เป็นทุติยฌาน เอา
    ธรรมกายน้อมเข้าฌานที่ได้จากศูนย์กลางกายรูปพรหม และ
    อรูปพรหม จะได้ตติยฌานและจตุตถฌานตามลำดับ แล้วเอา
    ธรรมกายเข้าฌาน คือ นั่งอยู่บนฌานนั้น เหล่านี้เป็นรูปฌาน
    ต่อจากนี้ไป ให้ใจธรรมกายน้อมไปในเหตุว่าง หรือ ตรงกลาง
    ของปฐมฌาน จะเห็นเป็นดวงใสเท่าจตุตถฌาน ธรรมกายก็นั่ง
    บนดวงนั้น เมื่อธรรมกายนั่งอยู่บนอากาสานัญจายตนฌานดัง
    นี้แล้ว ใจธรรมกายน้อมไปในรู้ ในเหตุว่างของ ทุติยฌาน
    อากาสานัญจายตนฌานก็จางหายไป เกิด วิญญาณัญจา
    ยตนฌาน ธรรมกายนั่งอยู่บนวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ใจ
    ธรรมกายน้อมไปในรู้ละเอียด ในเหตุ ว่างของ ตติยฌาน วิญ
    ญาณัญจายตนฌานก็จางหายไป เกิดอากิญจัญญายตนฌาน
    ธรรมกายนิ่งอยู่บนอากิญจัญญายตนฌานนั้น ใจธรรมกายน้อม
    ไปใน รู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ ในเหตุว่างของจตุตถฌาน อา
    กิญจัญญายตฌานก็จางหายไป เกิดเนวสัญญานาสัญญายตน
    ฌานขึ้นมาแทน ขณะนี้ จะมีฌานรู้สึกว่าละเอียดจริง ประณีต
    จริง เอา ธรรมกายนั่งอยู่บนเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    นั้น ถ้าเข้าฌานตั้งแต่ 1 ถึง 8 เรียกว่า อนุโลม การเดิน
    ฌานในวิชชาธรรมกาย กระทำได้ง่ายกว่าที่เข้าใจกันโดยทั่ว
    ไปมากนัก

    อันที่จริงนั้น เมื่อเห็นปฏิจจสมุปบาทธรรมแล้ว ย่อม
    ถือได้ว่า ได้เห็นอริยสัจ 4 ด้วย แต่ในด้านการปฏิบัติ เรา
    จะต้องเดินฌานแทงตลอดอริยสัจ 4 ทุกระยะ มิฉะนั้นแล้ว
    วิปัสสนาญาณจะไม่เกิดขึ้น ดวงอริยสัจ 4 นี้ ซ้อนอยู่ที่ดวง
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นเอง

    ดวงอริยสัจชั้นแรกมี 4 ดวง เป็นดวงเกิด แก่ เจ็บ ตาย
    ซึ่งรวมเรียกว่าทุกข์ มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็ก
    เท่าไข่แดงของไก่

    -ดวงเกิด มีสีขาวใส
    -ดวงแก่ มีสีดำแต่ไม่ใส ถ้าดวงยังเล็กก็เริ่มแก่ ถ้า
    ใหญ่ก็แก่มาก
    -ดวงเจ็บ สีดำเข้มยิ่งกว่าดวงแก่ ถ้าดวงเจ็บมาจรด
    เข้าในศูนย์กลางดวงแก่ ผู้นั้นจะเจ็บไข้ได้ป่วยทันที
    -ดวงตาย เป็นสีดำใสประดุจนิลทีเดียว ดวงตายนี้ถ้า
    มาจรดตรงกลางดวงเจ็บ แล้วมาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์
    กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของกายมนุษย์กับ
    กายทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อใดกายมนุษย์ไม่ต่อเนื่องกับกาย
    ทิพย์ เมื่อนั้นกายมนุษย์ก็ตายทันที

    ดวงเกิด แก่ เจ็บ ตายของแต่ละคนไม่เท่ากัน
    อย่างเล็กขนาดไข่แดงของไก่ขนาดกลาง อย่างใหญ่เท่าดวง
    พระจันทร์ ทั้งนี้แล้วแต่ว่าเกิดมามีบุญบาปติดตัวมามากน้อย
    เท่าใด แก่เจ็บจวนจะตายเร็วช้ากว่ากันเท่าใด

    ดวงอริยสัจชั้นที่สองมี 3 ดวง รวมเรียกว่า ดวง
    สมุทัย มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ อย่างเล็กเท่าเมล็ด
    โพธิ์เมล็ดไทร ดวงแรกสีดำเข้ม ดวงต่อไปมีความ
    ละเอียด และเข้มมากขึ้น ดวงทั้ง 3 ดวงนี้ คือ ดวงกาม
    ตัณหา ดวงภวตัณหา และดวงวิภวตัณหา

    ขั้นต่อไป เป็นดวงกลมใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์
    กลางวัดด้วยญาณได้ 5 วา มีสีขาวใสเรียกว่า ดวงนิโรธ
    เมื่อเข้าถึงดวงนิโรธ ความใสสว่างของนิโรธจะดับ ดวง
    สมุทัย ให้หายวับไป เสมือนแสงตะวัน ขจัดความมืดให้มลาย
    ไปฉะนั้น

    ขั้นต่อไป เป็น ดวงมรรค มีอยู่ 3 ดวง เป็นดวงศีล
    ดวงหนึ่ง สมาธิดวงหนึ่ง ปัญญาดวงหนึ่ง แต่ละดวงมีขนาด
    5 วา มีสัณฐานกลม ใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก

    การแทงตลอดอริยสัจ ทำให้มีปัญญารู้ญาณ 3 ญาณ คือ

    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายนี้ ไม่เที่ยง ไม่แน่
    นอนจริง รู้ว่าสมุทัยทำให้ทุกข์เกิดจริง นิโรธสามารถดับทุกข์
    ได้จริง มรรคเป็นทางหลุดพ้นได้จริง เรียกว่า สัจจญาณ

    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริง
    เป็นสิ่งควรรู้ รู้ว่าสมุทัยเป็นสิ่งควรละ รู้ว่านิโรธเป็นสิ่งที่ควร
    ทำให้แจ้ง และ รู้ว่ามรรคเป็นทางที่ควรเจริญ เรียกว่า กิจจญาณ

    มีปัญญารู้ว่า ได้รู้ทุกข์ชัดเจนแล้ว ละสมุทัยได้ขาด
    แล้ว สามารถทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว และสามารถทำมรรคให้
    เจริญได้แล้ว เรียกว่า กตญาณ

    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ ตามที่เขียน
    อย่างข้างบนนี้ เขียนเพื่อให้อ่านเข้าใจได้ง่าย ในด้านการ
    ปฏิบัติจริงๆ เมื่อปฏิบัติถึงดวงทุกข์ก็จะกำหนด รู้ทุกข์ทั้งในแง่
    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ เมื่อถึงสมุทัย นิโรธ
    มรรค ก็จะกำหนดรู้ได้เช่นเดียวกัน

    ญาณทั้งสามนี้เป็นปัญญาที่ผุดขึ้นมาเอง ในระหว่าง
    การปฏิบัติ ไม่ได้เป็นวิปัสสนึก เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจ
    จธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกทางไม่ท้อถอยก็จะพ้น
    จากทุกข์ได้ ญาณทั้งสามกลุ่มรวม 12 ญาณของอริยสัจ
    (4x3=12) ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ใน
    การขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่ นิพพิ
    ทาญาณ ที่นั้น ฐานทั้ง 12 ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการ
    เป็น ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 (โปรดดูปฏิสัมภิทามัคค์ มหา
    วรรคญาณกถา ข้อ 10 ถึงข้อ 29 ) ทำให้สามารถกำหนดรู้
    อนิจจัง และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้ อริยสัจ และ
    พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ซึ่งเป็นธรรมาวุธ อันคมกล้า
    ประหารสังโยชน์พินาศไปในพริบตา

    ญาณทั้งสามกลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ
    กตญาณ หรืออริยสัจ 12 นี้ จะเห็นและกำหนดรู้ได้ ก็โดย
    การปฏิบัติทางเจโตสมาธิประการหนึ่ง หรือวิชชาธรรมกาย ประการหนึ่งเท่านั้น

    (ในพระไตรปิฎกมีระบุอย่างชัดแจ้งไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
    ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎกข้อ 15 และ 16 ว่า เป็นญาณทัส
    สนะ มีรอบ 3 มีอาการ 12)

    ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ที่เคยปฏิบัติสมถะ
    มาก่อน กำหนดรู้ญาณทั้งสามนี้ได้ เมื่ออุทยัพพยญาณเกิด จะ
    ต้องแทงตลอดอริยสัจขั้นหยาบนี้ก่อน ภังคญาณจึงจะเกิด
    ตามมา
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
    วิธีฝึกการวางใจในชีวิตประจำวัน

    ในการฝึกสมาธิในชีวิตประจำวันเพื่อให้ใจคุ้นกับการวางใจ ให้ฝึกเอาใจหยุดนิ่งไปที่ศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7 ให้ถือว่าจุดนี้เป็นตำแหน่งสุดท้ายที่เราจะต้องเอาใจมาวางไว้ตลอดเวลาไม่ว่าจะหลับตา ลืมตา นั่ง นอน ยืน เดิน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด เหยียดแขน คู้แขน ถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ หรือจะทำภารกิจอะไรก็ตาม ให้ทำอย่างสบายๆ มีสติและสม่ำเสมอ ต่อเนื่องกันไป แล้วก็หมั่นสังเกตดูว่าสบายจริงหรือไม่ หมั่นปรับกาย วาจา ใจของเราตลอดเวลา จนกระทั่งใจอยู่ในสภาวะที่พอเหมาะพอดี เมื่อพอเหมาะพอดีแล้ว ใจจะถูกส่วนเอง และในไม่ช้าก็จะเข้าถึงสิ่งที่มีอยู่ในตัว

    ในช่วงก่อนนอนและตื่นนอน ก็เป็นช่วงที่เราควรจะฝึกวางใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย เนื่องจากเป็นช่วงที่มีสภาวะใจใกล้เคียงกับขณะที่ใจหยุดนิ่ง โดยก่อนนอนให้เราเอาใจใส่ แตะแผ่วๆ ที่ศูนย์กลางกาย เรื่อยไปจนหลับ เวลาตื่น สิ่งแรกที่ควรนึกถึงก่อนอื่น คือ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 จะได้คุ้นกับศูนย์กลางกายและวางใจเป็น

    <O:pนอกจากนี้ การทำการบ้าน 10 ข้อ ก็สามารถช่วยทำให้ตัวของเราคุ้นกับการวางใจ ไว้ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ถือเป็นบทฝึกอย่างดีเยี่ยม ในการฝึกรักษาใจให้ได้ตลอดทั้งวัน ซึ่งการบ้านทั้ง 10 ข้อนั้น เคยได้กล่าวไว้แล้วในสมาธิ 1 คือ
    1.นำบุญไปฝากคนที่บ้าน
    2.จดบันทึกผลการปฏิบัติธรรม
    3.ก่อนนอนนึกถึงบุญที่สั่งสมมาทั้งหมด
    4.เวลานอนหลับให้หลับในอู่แห่งทะเลบุญ
    5.เวลาตื่นนอนให้ตื่นในอู่แห่งทะเลบุญ
    6. เมื่อตื่นแล้วให้รวมใจเป็นหนึ่งกับองค์พระ 1 นาที ใน 1 นาทีนั้น ให้นึกว่าเราโชคดี ที่รอดตายมาได้อีกหนึ่งวัน ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง หลายจงมีความสุข อันตัวเรานั้น ตายแน่ ตายแน่
    7.ทั้งวันให้ทำความรู้สึกว่า ตัวเราอยู่ในองค์พระ องค์พระอยู่ในตัวเรา ตัวเราเป็นองค์พระ องค์พระเป็นตัวเรา
    8.ทุก 1 ชั่วโมง ขอ 1 นาที เพื่อหยุดใจ นึกถึงดวง องค์พระ หรือทำใจนิ่งๆ ว่างๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7
    9.ทุกกิจกรรมตั้งแต่ตื่นนอน ไม่ว่าจะเป็นการล้างหน้า อาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหาร ล้างจาน กวาดบ้าน ออกกำลังกาย ขับรถ ทำงานให้นึกถึงดวง หรือองค์พระไปด้วย
    10.สร้างบรรยากาศให้ดี สดชื่น ด้วยรอยยิ้มและปิยวาจา



    <O:p</O:p
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
    ผลเสียจากการวางใจไม่เป็น

    การวางใจนี่สำคัญมาก ถ้าใครวางใจไม่เป็น สิบปีก็ไม่ได้ผล บางคนตลอดชีวิตไม่พบเลย แสงสว่างเป็นอย่างไร<O:p</O:p
    เพราะการเข้าถึงธรรมจะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย อยู่ที่ว่าเราวางใจได้ถูกส่วน วางกันเป็นหรือเปล่า ทั้งนี้เพราะศูนย์กลางกายก็เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัว การวางใจจึงถือเป็นศิลปะ คือต้องรู้จักใช้ รู้จักทำ เหมือนแม่ครัว ผู้มีศิลปะในการปรุงอาหาร ที่รู้จักปรุงอาหารให้น่าเคี้ยวน่ากิน ใจของเราก็เช่นกัน ควรปรับปรุงศูนย์กลางกายให้ยอมรับ โดยให้ใจป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้ศูนย์กลางกาย แล้วก็จะคุ้นเคย และยอมรับใจของเราได้ <O:p</O:p
    ถ้าเราไม่ฝึกจรดใจที่ศูนย์กลางกายตลอดเวลา เวลานั่งใจจะรวมได้ช้า ต้องมัวปัดของเก่าออก ทำให้เสียเวลา <O:p</O:p
    ดังนั้น เราจึงต้องหมั่นตรวจตราดูตัวเองอย่างสม่ำเสมอ อย่าให้สิ่งที่เศร้าหมองเข้ามา เคลือบแคลงแฝงในจิตใจของเรา ให้ใจใส เยือกเย็น สังเกตว่าทำอย่างไรถึงจะเข้าถึงตรงจุดที่สบาย โล่ง โปร่ง เบา สังเกตแล้วทำให้ได้ ให้หมั่นสังเกตว่าเรามีข้อบกพร่องอะไร ทำไมใจถึงไม่หยุด พบแล้วต้องแก้ไข เมื่อทำได้เช่นนี้ เราจะก็สมหวังในการปฏิบัติธรรม <O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
    บวชลูกบวชหลานไว้ ได้ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนา
    ..............................................................
    โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่เข้าพรรษาเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
    ระหว่างวันที่ ๑๐ ก.ค. – ๒๓ ต.ค. ๒๕๕๙
    ………………………………………….
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายารามขอเชิญกุลบุตรผู้มีศรัทธาเข้าร่วมกิจกรรมอุปสมบทหมู่เฉลิมพระเกรียติเข้าพรรษาเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
    * กำหนดการ โครงการอุปสมบทหมู่เข้าพรรษา
    - เปิดรับสมัครวันนี้ – ๑๐ ก.ค. ๒๕๕๙
    - ๑๐ ก.ค. ๒๕๕๙ ลงทะเบียน เข้าอยู่วัดเตรียมตัวก่อนอุปสมบท
    - จัดพิธีบรรพชาอุปสมบทวันอาทิตย์ที่ ๑๗ ก.ค. ๒๕๕๙
    - เวลา ๗.๐๐ น. พิธีปลงผม
    - เวลา ๙.๓๐.น. ร่วมกิจกรรมฟังธรรมวันอาทิตย์
    ์- เวลา ๑๓.๐๐ น. พิธีขอขมา รับผ้าไตรจากบิดามารดา/เจ้าภาพบวช
    - เวลา ๑๓.๓๐ น. เวียนประทักษิณรอบอุโบสถ
    - เวลา ๑๔.๐๐ น. พิธีบรรพชาอุปสมบท
    * คุณสมบัติอุปสมบท
    ๑. เป็นชายแท้ มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ถึงอายุ ๖๐ ปี
    ๒. ได้รับอนุญาตจากบิดา มารดาให้บวชได้
    ๓. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อรายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการบวช หรือการบำเพ็ญศาสนกิจและต้องไม่เป็นภาระเพื่อนสหธรรมิกหรือทางวัด
    ๔. เตรียมตัวก่อนบวชโดยการลดละเลิกไม่เสพสิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษทุกชนิด เช่นบุหรี่ สุรา เป็นต้นได้เป็นเวลาสมควรก่อนมาอยู่วัด
    ๕. ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามอันเป็นเหตุให้บวชมิได้เช่น บัณเฑาะชายถูกตอน กระเทย หรือผู้เคยอุปสมบท แล้วต้องปาราชิก เป็นต้น
    ๖. ไม่มีรอยสักขนาดใหญ่ในบริเวณที่เห็นได้ชัดเจน
    * ติดต่อสมัครได้ที่ประชาสัมพันธ์ โทร. 090 5955162 , 0905955164
    หรือติดต่อได้ที่
    พระมหาชินวิชญ์ จารุธมฺโม โทร. 089 9135594
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
    การไหว้ การกราบพระนี่ จิตของเราให้อยู่ที่ศูนย์กลางกาย ระลึกถึงพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ อยู่ตรงศูนย์กลางกายเรา และยิ่งปฏิบัติไปยิ่งเข้าถึงธรรมกายแล้ว ใช่เลย แล้วปฏิบัติสุดละเอียดถึงอายตนะนิพพาน อายตนะนิพพานเป็นที่สถิตอยู่ของพระนิพพานธาตุ คือ ธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ขีณาสพนับไม่ถ้วน ถอยหลังไปนับไม่ถ้วน ก็อยู่ตรงกลางนั้นเอง


    หลวงป๋า





    [​IMG]



    [​IMG]


    [​IMG]
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498


    ปาฐกถาธรรมเรื่อง
    สติสัมปชัญญะโดย พระภาวนาวิสุทธิคุณ (เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.๖)( ปัจจุบันคือ พระเทพญาณมงคล )
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
    วันอาทิตย์ ที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒ เวลา ๐๘.๐๐ น.




    เจริญพร ญาติโยมสาธุชนผู้ฟังทุกท่าน
    สำหรับวันนี้ จะได้บรรยายธรรมเรื่อง “สติสัมปชัญญะ” ซึ่งเป็นธรรมที่มีอุปการะมากแก่การดำเนินชีวิตของทุกคนไปสู่ความเจริญและสันติสุข และให้ถึงความสิ้นทุกข์อย่างถาวรได้
    คำว่า “สติ” หมายถึง ความระลึกได้ คือ จดจำถ้อยคำหรือเรื่องราวที่ผ่านมา แม้นานแล้วได้ สามารถระลึกหรือนึกขึ้นได้ นี้อย่าง ๑ และหมายถึง การควบคุมจิตใจให้จดจ่ออยู่กับกิจที่ทำ หรือเรื่องที่กำลังเพ่งพิจารณาอยู่ได้ ไม่พลั้งเผลอ นี้อีกอย่าง ๑
    สติเป็นเจตสิกธรรมที่ประกอบกับจิตให้ระลึกนึกถึงบาป-บุญ คุณ-โทษ ทางเจริญ-ทางเสื่อม แห่งชีวิตตามที่เป็นจริงได้ จึงชื่อว่า เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การดำเนินชีวิตไปสู่ความเจริญและสันติสุข อนึ่ง ในการศึกษาและปฏิบัติธรรมเพื่ออบรมกาย วาจา ใจ ของตนให้บริสุทธิ์โดยทางศีล สมาธิ และปัญญา เป็นต้นนั้น “สติ” ยังเป็นเครื่องช่วยให้ระลึกนึกถึงเหตุในเหตุ ไปถึงต้นเหตุแห่งทุกข์ รวมทั้งเหตุในเหตุแห่งความเจริญและสันติสุข ด้วยปัญญาอันเห็นชอบได้ จึงชื่อว่า เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การปฏิบัติธรรม เพื่อถึงมรรค ผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงและที่เป็นบรมสุขได้
    ส่วน คำว่า “สัมปชัญญะ” หมายความถึง ความรู้สึกตัวพร้อม หากเผลอสติก็ระลึกถึงขึ้นได้ใหม่ สัมปชัญญะ จึงเป็นคุณเครื่องส่งเสริมสติให้เจริญ ให้เต็ม ให้มั่นคง ไม่พลั้งเผลอ สัมปชัญญะจึงเป็นเจตสิกธรรมที่มาคู่กับสติ
    กล่าวโดยสรุป สติกับสัมปชัญญะนั้นเป็นธรรมคู่กัน คือ ความระลึกนึกรู้ หรือพิจารณาเห็นด้วยปัญญาอันเห็นชอบ ก่อนคิด-พูด-ทำ ว่าความคิด หรือคำที่จะพูด หรือว่ากรรมที่กำลังจะทำนั้นดีหรือชั่ว เป็นบุญกุศลหรือเป็นบาปอกุศล เป็นทางเจริญหรือทางเสื่อม นี้ชื่อว่า “สติ” แต่เมื่อเผลอสติคิด พูดหรือทำไปก่อนแล้วโดยไม่ทันระลึกนึกรู้ได้ ว่าดีหรือชั่ว แล้วกลับมาระลึกนึกรู้ได้ หรือรู้สึกตัวได้ด้วยปัญญาอันเห็นชอบ ว่า ความคิดที่กำลังเกิด วาจาที่กำลังพูด และ/หรือ กรรมที่กำลังกระทำอยู่นั้น ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมหรือว่าผิดพลาด เป็นกุศลคุณความดี หรือว่าเป็นความชั่ว เป็นทางเจริญ ควรดำเนิน หรือว่าเป็นทางเสื่อมไม่ควรดำเนิน แล้วเลือกดำเนินหรือประพฤติปฏิบัติไปแต่ในทางเจริญ งดเว้นความประพฤติปฏิบัติไปในทางเสื่อม นี้ชื่อว่า “สัมปชัญญะ” แม้สำนึกได้ภายหลังที่ได้ คิด-พูด-ทำ ไปแล้ว ก็ชื่อว่า “สัมปชัญญะ” เหมือนกัน
    สติกับสัมปชัญญะ ด้วยปัญญาอันเห็นชอบนี้ จึงเป็นธรรมที่มีอุปการะมากแก่การดำเนินชีวิตให้ดำเนินไปแต่ในทิศทางที่ถูกที่ควร คือ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม กล่าวคือ ที่เป็นบุญกุศลคุณความดีอันจะนำชีวิตไปสู่ความสำเร็จและความเจริญสันติสุข และสูงสุดให้ถึงมรรคผลนิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงและที่เป็นบรมสุขอย่างถาวรได้
    ส่วนผู้ประมาทขาดสติสัมปชัญญะ ไม่มีความสำนึกระลึกได้ก่อนคิด-พูด-ทำ ว่าดีหรือชั่ว เป็นทางเจริญหรือทางเสื่อม และขณะที่กำลังคิด-พูด-ทำอยู่ หรือแม้ได้คิด-พูด-ทำไปแล้ว ก็ยังไม่รู้สึกตัวว่าประพฤติตนผิดพลาดหรือถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ยังไม่รู้สึกตัวว่าการดำเนินชีวิตของตนนั้นเป็นไปในทางเจริญหรือทางเสื่อมตามที่เป็นจริง การดำเนินชีวิตของผู้นั้นก็เหมือนรถไม่มีพวงมาลัย หรือเรือขาดหางเสือ ที่จะช่วยการควบคุมทิศทางการขับรถหรือขับเรือให้แล่นไปในทิศทางที่ถูกต้องตรงเป้าหมาย คือ ความสำเร็จและความเจริญสันติสุขที่ตนมุ่งหวังได้
    ดังตัวอย่าง เยาวชนหรือคนวัยหนุ่มสาวในวัยเรียนผู้ใด มีสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบว่า การที่บุคคลจะดำเนินชีวิตไปสู่ความสำเร็จในชีวิต และถึงความเจริญและสันติสุขได้ ก็จะต้องเป็นผู้มีความรู้มีความสามารถ มีคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีปัญญาอันเห็นชอบ กอปรด้วยศีลธรรม เมื่อมีสติระลึกได้อยู่อย่างนี้ เยาวชนหรือคนหนุ่มสาวในวัยเรียนนั้น ย่อมไม่ประมาทหลงมัวเมาในชีวิต รีบเร่งขวนขวาย พากเพียรศึกษาหาความรู้เต็มกำลังสติปัญญาความสามารถและฐานะของตนๆ ชนผู้นั้นเมื่อเจริญวัยขึ้น ย่อมเป็นผู้มีวิชาความรู้ มีความสามารถ และมีสติปัญญาอันเห็นชอบ รู้ทางเจริญทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริงได้ดี ด้วยความรู้ความสามารถและปัญญานั้น ย่อมช่วยให้สามารถสร้างฐานะทั้งทางเศรษฐกิจและทางสังคมให้สำเร็จและถึงความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขได้
    หากเผลอสติ ประพฤติผิดพลาดจากทำนองคลองธรรมไปบ้าง ก็มีสัมปชัญญะคือรู้สึกตัว รู้เท่าทันในความผิดพลาดนั้น รีบกลับตัวกลับใจมาประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในคุณความดี ก็ยังไม่สาย และสามารถจะดำเนินชีวิตตนไปสู่ความสำเร็จ ถึงความเจริญและสันติสุขได้อีก ในระยะเวลาไม่นานเกินรอ
    ชนผู้เช่นนี้ ชื่อว่า เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบ สติสัมปชัญญะ จึงชื่อว่า เป็นธรรมมีอุปการะมาก ด้วยประการฉะนี้
    ส่วนเยาวชนหรือคนวัยรุ่นหนุ่มสาว ที่กำลังอยู่ในวัยเรียนใด ประมาท ขาดสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบ ไม่ระลึกได้ว่า การที่บุคคลจะสามารถสร้างตัว สร้างฐานะ ให้สำเร็จถึงความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขได้ ก็จะต้องมีวิชาความรู้ความสามารถ และคุณธรรม จึงไม่ใส่ใจและไม่ขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนหาวิชารู้ และไม่หมั่นฝึกฝนอบรมตนให้มีความสามารถ และกลับประมาทมัวเมาในชีวิต หลงฟุ้งเฟ้อไปตามเพื่อน หลงเที่ยวเตร่ เสเพล และหลงติดอยู่ในโลกิยสุข ตามแหล่งอบายมุขหรือแหล่งบันเทิงเริงรมย์ต่างๆ ทั้งๆ ที่ตนเองยังหาเงินไม่เป็น และยังต้องแบมือขอเงินจากพ่อแม่อยู่ แต่กลับใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย ติดอยู่ในค่านิยมฟุ้งเฟ้อ และหมกมุ่นอยู่แต่ในกิเลสกาม บางรายก็สมสู่อยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยา ทั้งๆ ที่ยังเรียนไม่สำเร็จ และยังไม่มีงานทำเป็นหลักเป็นฐาน ครั้นเงินทองไม่พอจับจ่ายใช้สอย บางรายก็หันไปค้าสวาท หรือขายตัว นำชีวิตไปสู่ความเสื่อม เป็นโทษและเป็นความทุกข์เดือดร้อนต่อๆ ไป ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะการศึกษาเล่าเรียนไม่สำเร็จตามเป้าหมาย เมื่อวิชาความรู้สูงๆ ไม่มี หรือมีน้อย ย่อมด้อยสติปัญญาความสามารถในอันที่จะประกอบกิจการงานในอาชีพที่ดีๆ ได้ การสร้างตัวสร้างฐานะของตนและครอบครัวของผู้เป็นเช่นนี้ ก็ย่อมลำบากต่อไปในกาลข้างหน้า นี่เพราะโทษของการขาดสติสัมปชัญญะ เครื่องยับยั้งชั่งใจ ด้วยปัญญาอันเห็นชอบ รู้ทางเจริญทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริง ทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิต นำให้ชีวิตตกต่ำ และดำเนินชีวิตไปในทางเสื่อม ถึงเป็นความทุกข์เดือดร้อนได้ ในยุคปัจจุบันนี้ เยาวชนหรือคนหนุ่มสาวในวัยเรียน ที่ประมาทขาดสติสัมปชัญญะอย่างนี้มีมากขึ้นทุกที จนน่าเป็นห่วงว่าเยาวชนที่กำลังจะเป็นกำลังสำคัญของครอบครัว ของสังคม และของประเทศชาติ ว่าถ้าปล่อยให้มีพฤติกรรมเป็นกันอย่างนี้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว สังคมไทยเราจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ ?
    โทษของการขาดสติสัมปชัญญะอีกประการหนึ่ง ซึ่งเป็นปัญหาทางสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ที่ข้อมูลข่าวสารถูกส่งถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง ที่น่าเป็นห่วง คือ ผู้แสดงออกซึ่งกิริยาอาการ วาจา หรือถ้อยคำ และเจตนาความคิดอ่าน ที่แสดงต่อสาธารณชน โดยที่ผู้แสดงออกบางรายขาดสติสัมปชัญญะ คือขาดความสำนึกรู้ผิด-ชอบ ชั่ว-ดี และขาดการสำรวมระวัง แล้วแสดงออกซึ่งกิริยาอาการ วาจาหรือถ้อยคำ และเจตนาความคิดอ่านต่อสาธารณชนที่ไม่ดี คือที่ไม่เป็นจริงแท้ ไม่เหมาะสม ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล และแถมยังเป็นโทษเป็นภัยต่อสังคม และต่อชาติ ต่อพระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันหลักของประเทศชาติเราเอง เมื่อแสดงออกในลักษณะที่เป็นโทษแก่สังคมและสถาบันหลักของประเทศชาติเราไปแล้ว ผู้แสดงออกซึ่งกิริยาวาจาและเจตนาความคิดอ่านที่ไม่ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นโทษเช่นนั้นแหละ ย่อมถูกบัณฑิต คือผู้รู้ ติเตียน เป็นการทำลายเกียรติภูมิของตนเองนั้นแหละอีกด้วย ไปในตัวเสร็จ
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานหลักธรรมนั้นไว้แก่สาธุชนพุทธบริษัท เป็นแนวทางปฏิบัติตามที่มีปรากฏในอภยราชกุมารสูตร มัชฌิมนิกายมัชฌิมปัณณาสก์ มีความว่า
    “ราชกุมาร ! ตถาคต (ก็ฉันนั้นเหมือนกัน) ย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
    อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจาไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น
    ตถาคตย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
    ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
    อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย.”

    อนึ่ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้ทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นไว้ให้พระภิกษุได้ปฏิบัติตน ประพฤติตน ด้วยความสำรวมระวังความประพฤติปฏิบัติทางกายทางวาจาคือคำพูด รวมตลอดไปถึงทางจิตใจ คือ เจตนาความคิดอ่าน ให้ละเอียด ประณีต ไม่หยาบคาย ให้เรียบร้อยดี ไม่มีโทษ ยังความสันติสุข คือ ความสุขด้วยความสงบอยู่ภายในสังฆมณฑล หากมีปัญหาอะไรก็ให้ปรับปรุงแก้ไข ดูแลกันเองตามพระธรรมวินัย และกฎหมายของบ้านเมือง เพื่อรักษาศรัทธาปสาทะของประชาชนไว้ด้วยวิธีการอันถูกต้อง เหมาะสม ดังมีปรากฏ ตามวินัยพุทธบัญญัติ ในมุสาวาท วรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๙ ว่า ภิกษุบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่นแก่อนุปสัมบัน (คือผู้ที่มิได้บวชเป็นภิกษุ ได้แก่ ประชาชนทั่วไป และ/หรือแม้เล่าให้สามเณรฟัง) ต้องปาจิตตีย์ (เว้นไว้แต่ได้สมมติ) และในภูตคามวรรค ที่ ๒ สิกขาบทที่ ๓ ว่า
    “ภิกษุติเตียนภิกษุอื่นที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทำการสงฆ์ ถ้าเธอทำโดยชอบ ติเตียนเปล่าๆ ต้องปาจิตตีย์”

    หมายความว่า พระภิกษุใด ตำหนิติเตียนพระภิกษุผู้ที่สงฆ์แต่งตั้ง หรือมอบอำนาจให้ทำการสงฆ์ เช่นให้พิจารณาชำระอธิกรณ์ เป็นต้น ที่ท่านได้กระทำ คือ ดำเนินการโดยชอบ กล่าวคือ โดยถูกต้องตามพระธรรมวินัย กฎหมายและกฎมหาเถรสมาคมแล้วเป็นต้น พระภิกษุผู้ตำหนิติเตียนพระภิกษุอื่นที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทำการสงฆ์ที่ได้กระทำโดยชอบเปล่าๆ เช่นนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดังนี้เป็นต้น
    แม้คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนก็ยังต้องมีคุณสมบัติผู้ดีเป็นเครื่องคุ้มครองกิริยามารยาท คือ การแสดงออกซึ่งกิริยาวาจาและจิตใจ กล่าวคือ เจตนาความคิดอ่านที่ดี ซึ่งได้มีมาแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล ดังเช่น เมื่อท่านธนัญชัยเศรษฐี แห่งนครสาเกตุ ก่อนแต่จะส่ง “นางวิสาขา” ผู้เป็นธิดาของตนไปสู่เรือนเจ้าบ่าว หรือว่าที่สามี คือ “ปุณณวัฒนกุมาร” บุตรชายของท่านมิคารเศรษฐี ณ นครสาวัตถี ได้สอนและให้โอวาทแก่นางวิสาขา ๑๐ ข้อ มีปรากฏในขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เรื่อง “นางวิสาขา” ว่า
    “แม่ ธรรมดาหญิงผู้อยู่ในสกุลผัว รักษามารยาทนี้ และนี้จึงจะควร
    แม่ ธรรมดาหญิงที่อยู่ในสกุลพ่อผัวแม่ผัว ไม่ควรนำไฟใน ออกไปภายนอก ไม่ควรนำไฟนอก เข้าไปภายใน พึงให้แก่คนที่ให้เท่านั้น ไม่พึงให้แก่คนที่ไม่ให้ พึงให้แก่คนทั้งที่ให้ ทั้งที่ไม่ให้ พึงนั่งให้เป็นสุข พึงบริโภคให้เป็นสุข พึงนอนให้เป็นสุข พึงบำเรอไฟ พึงนอบน้อมเทวดาภายใน.”

    คำสอนของท่านธนัญชัยเศรษฐีแก่นางวิสาขา ผู้ธิดานั้น มีความหมายว่า หญิงสะใภ้ไม่ควรนำเรื่องที่ไม่ดีของพ่อผัวแม่ผัวและของสามีไปกล่าวให้คนอื่นภายนอกฟังนั่นเอง เพราะเหตุนั้น พระภิกษุนับตั้งแต่พระมหาเถระ พระเถรานุเถระ จนถึงพระนวกะผู้บวชใหม่ ผู้ได้รับการอบรมพระธรรมวินัยดีแล้ว จึงต้องอยู่ในความสงบ หากมีปัญหาในวงการสงฆ์ก็เสนอวิธิการปรับปรุงแก้ไขต่อพระภิกษุเจ้าคณะปกครองตามลำดับชั้น และ/หรือ ร่วมกันพิจารณาแก้ไขปัญหากันเองเป็นการภายใน พระพุทธศาสนาของเราจึงยืนยาวมั่นคงมาจนถึงตราบทุกวันนี้ ก็เพราะพระเถรานุเถระปฏิบัติตามพระธรรมวินัย สำรวมในศีลและอินทรีย์ ดำรงตนและหมู่คณะอยู่ในความสงบอย่างนี้ นี้คือพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐสูงสุด
    แม้ข้าราชการทุกหมู่เหล่าก็ต้องมีระเบียบวินัยทำนองนี้เหมือนกัน แบบเดียวกัน
    กล่าวคือ ข้าราชการทุกหมู่เหล่า ทั้งข้าราชการประจำและข้าราชการการเมือง ก็มีระเบียบวินัยเป็นกรอบขอบเขตในความประพฤติปฏิบัติตน ในทำนองหรือในลักษณะที่ว่า “ไม่ควรนำไฟในออกไปภายนอก” คือ ไม่ควรนำปัญหาหรือเรื่องราวที่ไม่ดีไม่งามภายในหน่วยงานของตน ออกไปพูดตำหนิ หรือ ไปวิพากษ์วิจารณ์ต่อสาธารณชนบุคคลภายนอก เหมือนกัน วิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม ก็คือ ควรปรึกษาหารือป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้นเป็นการภายใน และ/หรือ นำเสนอข้อปัญหาพร้อมทั้งวิธีการป้องกันแก้ไขปัญหานั้นๆ ไปยังผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือ ตามลำดับชั้น ตามกฎ-ระเบียบที่องค์กรนั้นๆ ได้กำหนดไว้ดีแล้ว นั่นเอง
    กล่าวโดยสรุป ทุกสังคมน้อยใหญ่ นับตั้งแต่สังคมภายในครอบครัว องค์กรศาสนา องค์กรทางราชการทุกหมู่เหล่า และองค์กรธุรกิจเอกชนทั้งหลาย ทั้งไทยและต่างชาติต่างศาสนา ต่างมีระเบียบวินัยในทำนองนี้ เพื่อป้องกันความเสื่อมเสียส่วนรวม เหมือนกันทั้งนั้น เพราะเหตุนั้น สาธุชนผู้ฟังทุกท่าน ก่อนแสดงออกซึ่งกิริยามารยาท วาจาหรือถ้อยคำและเจตนาความคิดอ่านทั้งหลายต่อสาธารณชน แม้จะอ้างว่าหวังดีต่อสังคม ก็พึงมีสติสัมปชัญญะหยุดคิด หยุดไตร่ตรอง พิจารณาผลได้ผลเสียต่อสังคมโดยส่วนรวมก่อน ว่า กิริยามารยาท วาจาหรือถ้อยคำและเจตนาความคิดอ่านที่จะแสดงออกไป หรือขณะที่กำลังแสดงออกอยู่นั้น และแม้ที่ได้แสดงออกไปแล้วว่า เป็นอาการกิริยา วาจาหรือถ้อยคำที่จริง ที่แท้หรือว่าไม่จริง ไม่แท้ ที่ก่อให้เกิดคุณประโยชน์หรือว่าเป็นโทษแก่สังคม และ/หรือองค์กรนั้นๆ และการแสดงออกนั้นเป็นการแสดงออกด้วยเจตนาความคิดอ่านที่ดี ที่บริสุทธิ์ ที่ยุติธรรม ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมและระเบียบวินัยของสังคม และขนบธรรมเนียมที่ดีของไทยพุทธเราหรือไม่ หากคิดได้ก่อนคิด-พูด-ทำ ก็ควรงดเว้นเสีย หากพลั้งเผลอผิดไป ในขณะคิด-พูด-ทำอยู่ ก็จงมีสติยับยั้งชั่งใจ กลับตัวกลับใจเสีย แม้ได้คิดผิด พูดผิด ทำผิดไปแล้ว ก็ยังไม่สายที่จะกลับตัว กลับใจมาประพฤติปฏิบัติให้ดี ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยส่วนรวม อีกได้ ขอให้มีหลักอยู่ว่า สังคมโดยส่วนรวมของประเทศชาติไทยเรา คือ สถาบันชาติ ของไทยเราจะเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขอยู่ได้อย่างมั่นคง ก็ต่อเมื่อสถาบันพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติไทยเรา ๑ กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงทศพิธราชธรรม ๑ เจริญและมั่นคง หาก ๒ สถาบันนี้ คือ สถาบันพระพุทธศาสนา กับ สถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับความกระทบกระเทือนด้วยประการใด สถาบันชาติไทยของเราก็ย่อมจะอ่อนแอลง เพราะ เมื่อประชาชนขาดศีลธรรมประจำใจ สังคมย่อมเกิดความโกลาหล จลาจลวุ่นวาย หนักขึ้น อาจถึงรบราฆ่าฟัน แย่งชิงกันมากขึ้น ความเจริญและสันติสุขภายในประเทศชาติ ก็ย่อมหมดไปเพราะความโลภ โกรธ หลง ของคนในชาติ ทุกศาสนาในประเทศไทยเราเองนี้แหละ ถ้าสถาบันพระพุทธศาสนายังคงเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขอยู่ สังคมประเทศชาติแม้ทุกศาสนาในประเทศไทยก็จะยังมีความสันติสุขอยู่ได้ เพราะพระพุทธศาสนาไม่เคยเบียดเบียนใคร แต่ถ้าพระพุทธศาสนาในประเทศไทยล่มจม สังคมทุกหมู่เหล่าและทุกศาสนาในประเทศไทยก็เสียหายล่มจมไปด้วยกันหมดทั้งประเทศ อย่าสงสัยเลย
    เพราะเหตุนั้นญาติโยมสาธุชนผู้ฟังทั้งหลายเมื่อท่านได้ยินได้ฟังข่าวสารการวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ก็จงตั้งสติสัมปชัญญะพิจารณาข่าว หรือการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับศาสนบุคคลและศาสนธรรม ให้ดี ว่าผู้พูดผู้แสดงออกทางกายคือกิริยามารยาท ทางวาจา คือ คำพูดหรือถ้อยคำต่างๆ และทางใจคือเจตนาความคิดอ่าน ที่เขาแสดงออกมานั้น ว่าน่าเชื่อถือ น่าเลื่อมใสศรัทธา ว่าถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ถูกต้องตามกฎหมายบ้านเมือง และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของไทยเราแค่ไหนเพียงไร ก่อนที่จะใช้ข้อมูลนั้นประกอบการพิจารณาตัดสินใจประพฤติปฏิบัติตนไปในแนวทางที่ให้เกิดความเจริญและสันติสุขในชีวิต จะได้ไม่เสียประโยชน์ ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะได้ไม่เสียความรู้สึกที่ดีต่อพระรัตนตรัย อันเป็นที่พึ่งประเสริฐสูงสุดของตนเอง เพราะหลงตามกระแสที่ผิดๆ ไปอย่างน่าเสียดาย
    เพราะขาดปัญญาอันเห็นชอบในทางเจริญทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริงบุคคลจึงขาดสติ คือ ความระลึกได้ก่อนคิด-พูด-ทำ ว่ากรรมที่จะกระทำหรือประพฤติปฏิบัตินั้น ดีหรือชั่ว ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมเป็นคุณประโยชน์หรือเป็นโทษขณะเมื่อคิด-พูด-กระทำกรรมนั้นอยู่ ก็ไม่มีสัมปชัญญะ คือ ไม่มีความสำนึกได้ว่าผิดหรือถูก ควรหรือไม่ควร และแม้ภายหลังที่ได้คิด-พูด-ทำความผิดพลาดหรือไม่ถูกไม่ควรไปแล้ว ก็ยังไร้ความสำนึกว่าตนเองประพฤติถูกต้องหรือผิดพลาด ไม่ถูกไม่ควร จึงหลงมัวเมาในชีวิต ดำเนินชีวิตตนไปด้วยความประมาทขาดสติสัมปชัญญะและปัญญาอันเห็นชอบนำตนไปสู่ความเสื่อมเสีย เป็นโทษ เป็นความทุกข์เดือดร้อน ต่อๆ ไป ไม่มีที่สิ้นสุด
    เพราะเหตุนั้น บัณฑิตผู้มีปัญญาจึงไม่ประมาท มีความพากเพียร เรียนรู้และประกอบคุณความดี ละเว้นความชั่ว ชำระจิตใจให้ผ่องใส เจริญสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบ ให้รอบรู้ทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริง ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป กล่าวคือ ให้รู้บาป-บุญ คุณ-โทษ ให้รู้ธรรมที่เป็นแก่นสารสาระประโยชน์ และที่ไม่เป็นแก่นสารสาระประโยชน์ กล่าวคือ ให้รู้แนวทางการดำเนินชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข อันควรดำเนิน และให้รู้ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามความเป็นจริงอันควรงดเว้น บัณฑิตผู้มีปัญญารอบรู้เช่นนั้น ย่อมดำเนินชีวิตตนและชักนำคนอื่นให้ดำเนินชีวิตไปสู่ความเจริญและสันติสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต จนถึงความพ้นทุกข์แต่ถ่ายเดียว
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงยกย่องความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ (สํ.ส.๑๕/๘๑๒/๓๐๖) ว่า
    “สติมโต สทา ภทฺทํ สติมา สุขเมธติ
    สติมโต สุเว เสยฺโย....”
    ความเจริญย่อมมีแก่ผู้มีสติทุกเมื่อ คนมีสติย่อมได้ความสุข ความดีย่อมมีแก่คนมีสติ”
    คุณเครื่องช่วยให้สติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบเกิดและเจริญขึ้นก็คือ “ศรัทธา” ในบุคคลที่ควรศรัทธา คือ นับถือ เลื่อมใส ศรัทธาในบุคคลผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ดำเนินชีวิตไปด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญาอันเห็นชอบ และมีความศรัทธาในข้อปฏิบัติที่ควรศรัทธา คือ ข้อปฏิบัติที่ดี ที่ชอบ ได้แก่ ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น อันจะนำไปสู่ความเจริญและสันติสุข ไม่ไปในทางเสื่อม เป็นโทษ เป็นความทุกข์เดือดร้อน นั่นเอง ผู้มีศรัทธาเห็นคุณค่าในความประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ว่ามีคุณประโยชน์แก่การดำเนินชีวิต เช่นนั้น จึงจะมี “วิริยะ” คือ ความเพียรพยายามประพฤติปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่ดีที่ชอบ มีทานกุศล ศีลกุศล และภาวนากุศล เป็นต้นนั้น ด้วยธรรมปฏิบัตินี้ สติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบย่อมเกิดและเจริญขึ้นได้ กล่าวคือ
    ย่อมเห็นโทษของความประพฤติชั่วหรือทุจริตทางกายได้แก่การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การลักฉ้อ การประกอบมิจฉาอาชีวะ การประพฤติผิดในกาม หรือความไม่สำรวมในกาม และอบายมุขต่างๆ เช่น เป็นนักเลงสุรา/ยาเสพติด เป็นนักเลงผู้หญิงหรือหญิงเป็นนักเลงผู้ชาย ติดเที่ยวกลางคืน คบคนชั่วหรือคนนำไปแต่ในทางให้ฉิบหาย เป็นมิตร เกียจคร้านในกิจการงานที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบ เป็นต้น ย่อมเห็นโทษความประพฤติทุจริต ทางวาจา ได้แก่ วาจาหยาบคาย โป้ปดมดเท็จ ยุแยกให้แตกสามัคคี และวาจาเหลวไหลไร้สาระ ว่า เป็นข้อปฏิบัติหรือเป็นทางให้เกิดโทษ ความทุกข์เดือดร้อน ก็ย่อมละเว้นความประพฤติชั่ว คือกายทุจริตและวจีทุจริตเหล่านั้นเสีย และตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์ สมบูรณ์ อย่างน้อยเบญจศีล คือ ศีล ๕ อยู่เสมอ นี้ประการ ๑
    อีกประการ ๑ ย่อมเห็นคุณของความประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ กอปรด้วยสาระประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น อย่างน้อยเห็นคุณของ “เบญจกัลยาณธรรม” คือ ธรรมอันดีงาม ๕ อย่าง ซึ่งเป็นตรงกันข้ามกับความประพฤติผิดศีล ได้แก่ ความเป็นผู้มีใจเมตตากรุณาต่อกัน ๑ สัมมาอาชีวะ คือ การประกอบอาชีพโดยชอบ และ/หรือ ทาน คือ การรู้จักเสียสละ แบ่งปัน การให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์สุขส่วนตน ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ๑ ความเป็นผู้รู้จักสำรวมในกาม และ/หรือเป็นผู้สันโดษในคู่ครองของตน ๑ สัจจะ คือ ความจริงใจต่อตนเองและต่อผู้อื่น ๑ ความเป็นผู้ไม่ประมาทและความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ด้วยปัญญาอันเห็นชอบ ๑
    เมื่อได้ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในคุณความดี มีเบญจศีล เบญจธรรมเป็นต้นดังนี้ กาย วาจา และใจย่อมเป็นบุญเป็นกุศล และสงบยิ่งขึ้น พร้อมๆ กับผลแห่งคุณความดีและผลแห่งการละเว้นความประพฤติชั่ว ย่อมปรากฏเป็นประสบการณ์ชีวิต ทำให้รู้ผิด-ชอบชั่ว-ดียิ่งขึ้น ยังให้สติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบ คือ ความรู้บาป-บุญ คุณ-โทษ รู้ทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริง เกิดและเจริญขึ้นเป็นลำดับ เป็นอุปการะแก่การเห็นคุณค่าและเจริญภาวนาสมาธิ และปัญญาอันเห็นชอบ ให้แก่กล้ายิ่งๆ ขึ้นไป คุณธรรมดังกล่าว คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา จึงชื่อว่า “อินทรีย์ ๕” หมายความว่า คุณธรรมที่เป็นใหญ่ ครอบงำเสียซึ่งอกุศลธรรมที่ตรงกันข้ามกัน กล่าวคือ คุณธรรมเครื่องครอบงำ ความไร้ศรัทธาในบุคคลและข้อปฏิบัติที่ควรศรัทธา ๑ ความเกียจคร้าน ๑ ความประมาท ๑ ความฟุ้งซ่าน ๑ และความหลงงมงายไม่รู้บาป-บุญ คุณ-โทษ ไม่รู้ทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริง ๑
    อินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา นี้ เมื่อปฏิบัติได้แก่กล้ายิ่งขึ้นไปอีก ก็จะเป็นพลังกล้าแข็งมั่นคง มิให้อกุศลธรรม ๕ อย่าง ได้แก่ ความไม่ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย เข้าครอบงำจิตใจได้ จึงชื่อว่า พละ ๕
    พละ ๕ นี้เอง ที่เป็นอุปการะ คือคุณเครื่องยังให้ โพชฌงค์ องค์คุณแห่งความตรัสรู้ ๗ ประการ ก็คือ สติ ๑ ธัมมวิจยะ คือ การวิจัยธรรม ได้แก่ การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม ๑ วิริยะ ๑ ปีติ ๑ ปัสสัทธิ คือ ความสงบกาย สงบใจ ๑ สมาธิ ๑ และ อุเบกขา คือ ความวางเฉย ๑ ให้เกิดและเจริญขึ้น และเป็นอุปการะให้อริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางมรรคผลนิพพาน ให้เกิดและเจริญขึ้น ได้ถึงความเจริญสันติสุขและถึงความพ้นทุกข์อันถาวรต่อไป
    ส่วนบุคคลผู้ประมาท ขาดสติสัมปชัญญะ คือ ขาดความสำนึกผิด-ชอบชั่ว-ดี ไม่มีศรัทธาในบุคคลผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ได้แก่ พระพุทธเจ้าและพระสงฆเจ้า เป็นต้น และไม่มีศรัทธาในข้อปฏิบัติที่ควรศรัทธา คือพระสัทธรรมอันสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จึงไม่ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม กลายเป็นคนไม่มีศีลธรรมประจำใจ ได้แต่หลงมัวเมาในชีวิต ประพฤติผิดศีลผิดธรรมด้วยความโง่เขลาเบาปัญญาย่อมไม่สามารถดำเนินชีวิตไปสู่ความสำเร็จ และถึงความเจริญสันติสุขได้ ดุจดังผู้ขับรถที่ขาดพวงมาลัยหรือขับเรือที่ไม่มีหางเสือเครื่องควบคุมทิศทาง ย่อมไม่อาจนำรถหรือเรือไปสู่จุดหมายปลายทางได้ถูกต้อง และย่อมถึงความอับปางหรือเสียหายได้ ฉันใด ฉันนั้น
    เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้หวังความเจริญและสันติสุข จึงต้องไม่ประมาทหลงมัวเมาในชีวิต ต้องสนใจเอาใจใส่ในการศึกษาปฏิบัติธรรม ให้มีศีลมีธรรมประจำใจ และต้องมีสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบ คือมีสำนึกรู้ผิด-ชอบ ชั่ว-ดี รู้ทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริง จึงจะสามารถดำเนินชีวิตไปสู่ความเจริญสันติสุข และถึงความพ้นทุกข์ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ในกาลทุกเมื่อ

    --------------------------------------------------------------------------------
    ก่อนยุติการบรรยายธรรมนี้ อาตมภาพขอเจริญพรสาธุชนผู้สนใจที่จะได้เทปคัสเซทบันทึกปาฐกถาธรรมนี้ และ/หรือตอนก่อนๆ ก็ติดต่อขอรับได้ที่ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    อนึ่งผู้สนใจศึกษา/ปฏิบัติธรรมศีล-สมาธิ-ปัญญาก็เข้ารับการอบรมได้ที่ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ได้ทุกวันอาทิตย์ โดยมีรถรับส่งฟรีจากปากทางเข้าวัดสระเกศ (วัดภูเขาทอง) กรุงเทพฯ ไปยังวัดหลวงพ่อสดฯ ที่อำเภอดำเนินสะดวก รถออกเวลา ๐๗.๓๐ น. และรับกลับกรุงเทพฯ เวลา ๑๕.๐๐ น. เป็นประจำ
    สำหรับวันนี้ อาตมภาพขอยุติการปาฐกถาธรรมไว้แต่เพียงนี้ก่อน โปรดติดตามรับฟังตอนต่อไปในวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนต่อไป ขอความสุขสวัสดี จงมีแด่ท่านผู้ฟังทุกท่าน เจริญพร.





    [​IMG]
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
    [​IMG]



    โอวาทธรรมจาก...หลวงป๋า




    หลวงพ่อท่านบอกว่า"ทางนี้ทางเดียว ไม่มีสองทาง"
    นี่แหละ มัชฌิมาปฏิปทาโดยทางปฏิบัติ คือ "เอกายนมรรค" ทางนี้ทางเดียว อยู่ที่กลางของกลางธาตุธรรมของเรา กลางของกลาง ดับหยาบไปหาละเอียด จนสุดละเอียดไปถึงพระนิพพาน ตรงนี้แหละที่เป็นเคล็ดลับสำคัญ คือ "เห็นดำ ทำให้ขาว" จำไว้ อย่าได้ปล่อยให้มีธาตุธรรมภาคดำในธาตุธรรมของเราเป็นอันขาด อาตมากล่าวไว้เบื้องต้นในเรื่ิงนี้เท่านี้ก่อน

    ...เวลาพิจารณาอริยสัจ ๔ จะรู้จะเห็น เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ให้เข้าใจไว้เท่านี้ก่อน เคล็ดลับที่พึงทราบในการเจริญภาวนามีมาก บางทีก็จะมีผู้ปฏิบัติหรือเจริญสมถภาวนาได้ดีๆ แล้วหลงติดฤทธิ์ อย่าไปหลงเลย จงตั้งใจปฏิบัติเพื่อรักษาตนเองให้ดี

    หรือหากจะสามารถได้อภิญญาและวิชชาที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้ ก็จงช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน โดยไม่หวังลาภสักการะ ไม่หวังชื่อเสียง ไม่หวังให้ใครเขาชมเราว่าเก่ง แต่การกำจัดกิเลสนั้นแหละ คือ "คนเก่ง ถ้าเก่งอย่างอื่นแล้ว กิเลสเฟื่องฟูอยู่ ไม่นับว่าเก่ง อย่างนั้นชื่อว่า "หมดเก่ง" เลยแพ้ภาคมารเขาตั้งแต่ยังไม่ได้ก้าวออกจากมุ้ง"

    เพราะฉะนั้น จงให้เข้าใจเสียให้ดี มีพระภิกษุสามเณรบางรูป หลงติดอิทธิปาฏิหาริย์ เลย"หมดเก่ง" ไม่ช้าอิทธิปาฏิหาริย์ก็เสื่อม แล้วก็จะกลายเป็นการหลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต ก็เสียพระเสียเณรไปเท่านั้น

    มีอยู่อย่างหนึ่ง ไม่อยากชี้โพรงให้กระรอก บอกว่าห้ามดีๆก็ยังชอบทำ แต่ถ้าไม่บอกแล้วจะยุ่ง เพราะมีคนเคยทำ อาตมาจึงต้องบอกเสียเดี๋ยวนี้เลย ไม่เช่นนั้น เป็นเปรตไม่รู้ตัวนะ เช่น บางท่านพอจิตนิ่งเป็นสมาธิ แล้วเห็นเลข เห็นเลขแล้วก็เที่ยวบอกใครต่อใคร บางทีซื้อเองด้วย ให้จำไว้เลยว่า จะได้เป็นเปรตภายในไม่กี่วัน แม้จะได้ทำเพียงไม่กี่ครั้ง จงอย่าทำเป็นอันขาด
    ............


    พระเทพญาณมงคล
    เสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    (จาก..ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ)



    [​IMG]
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
    การสืบทอดวิชชาธรรมกาย

    ๑.ในขั้น “สมถะ” หรือขั้นถึง “๑๘ กาย” แล้วเริ่มพิจารณาสภาวธรรมนั้น

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านจะถ่ายทอดให้กับบุคคลทั่วไปเป็นประจำ

    แต่ส่วนมากจะเป็นวิธีปฏิบัติเบื้องต้น...เป็นหลักใหญ่



    ๒.ในส่วน “วิปัสสนา” นั้น

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อจะใช้วิธี “แสดงพระธรรมเทศนา”

    โดยท่านจะยกเอา “พระพุทธสุภาษิต” หรือ “พุทธวจนะ” มาแสดงก่อน

    แล้วก็อธิบายพุทธวจนะนั้น ทั้งในเชิง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ



    สำหรับ “ปริยัติ” นั้น อธิบายตามพระบาลี ตามหลักพระไตรปิฎก



    ส่วน “ปฏิบัติ” นั้น หลวงพ่อทั้งปฏิบัติเอง และสอนผู้อื่นให้ปฏิบัติให้ทั้งรู้และเห็น

    เพราะฉะนั้นในการเทศน์ จึงเอาสิ่งที่ท่าน “เห็น” และสิ่งที่ท่าน “รู้” นำมาแสดง

    ซึ่งไม่มีที่ไหนแสดงถึงขนาดนี้ และผลของการปฏิบัติว่าเป็นอย่างไร...ท่านก็เอามาแสดง

    คือ ท่านแสดงพร้อมทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ



    เรื่อง "มหาสติปัฏฐาน ๔" ส่วนใหญ่จะอยู่ในพระธรรมเทศนา ซึ่งมักจะสอนคนทั่วไป

    มีเหมือนกันในบางพระธรรมเทศนา จะมี “วิชชาชั้นสูงล้ำๆ” อยู่ด้วย

    แต่ผู้ฟังอาจฟังเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง

    ผู้ที่ได้ ๑๘ กายแล้ว ตรึกตามก็พอจะเข้าใจได้



    ยังมีการถ่ายทอดอีกช่วงหนึ่งที่สำคัญมาก สำหรับ “วิชชาธรรมกายชั้นสูง” คือ

    หลวงพ่อจะสอนวิชชาให้กับพระสงฆ์ที่เป็นวิชชา...ที่หลวงพ่อวางใจด้วย

    คือ ต้องเป็นธรรมกายด้วย และต้องเป็นธาตุธรรมที่หลวงพ่อ...ตรวจดีแล้ว



    บางท่านแม้เป็นธรรมกาย หลวงพ่อก็ไม่ถ่ายทอดให้

    ท่านอาจจะมีญาณพิเศษของท่าน ว่าคนนี้ถ่ายทอดไปแล้วแทนที่จะเป็นผลดี...ก็อาจไม่ดี

    คือ จะเป็นฐานของภาคมารไป



    ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอด เท่าที่ทราบมีทั้งพระสงฆ์ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา



    ทางฝ่าย "พระสงฆ์" ที่ได้รับการ “ถ่ายทอดวิชชาชั้นสูง” คือ

    - พระมหาจัน เปรียญธรรม ๕ ประโยค และท่านยังได้ “จดบันทึก” ไว้ด้วย

    - พระครูวินัยธร (ชั้ว โอภาโส)

    - พระภาวนาโกศลเถร (ธีระ ธมฺมธโร)

    - พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)

    - ฯลฯ



    เฉพาะเท่าที่ได้ยินชื่อในฝ่าย “อุบาสก , อุบาสิกา” มี

    - อาจารย์แม่ชีปุก มุ้ยประเสริฐ

    - คุณยายทองสุข สำแดงปั้น

    - คุณครูญาณี ศิริโวหาร

    - คุณยายถนอม อาสไวย์

    - คุณยายเธียร ธีระสวัสดิ์

    - คุณครูฉลวย สมบัติสุข

    - คุณครูจันทร์ ขนนกยูง

    - คุณครูตรีธา เนียมขำ

    - คุณกุล ผ่องสุวรรณ



    ในการถ่ายทอดนั้น มีทั้งได้รับมาก ได้รับน้อย คือ

    ในวิชชาชั้นสูง หลวงพ่อจะสั่งวิชชา ให้ทำวิชชาแก้เรื่องนั้นเรื่องนี้ แก้โรคบ้าง แก้ปัญหาบ้านเมืองบ้าง เป็นต้น

    สมัยนั้นมีสงครามด้วย วิชชาธรรมกายจึงได้ถูกนำมาใช้เพื่อสันติสุขของประเทศชาติเป็นส่วนรวม









    วิชชาทั้งหมดทุกระดับนั้น



    เบื้องต้นใครๆก็ได้รับ...ไม่มีปัญหา



    เบื้องกลาง คือ ระดับวิปัสสนา ....ที่เป็นพระธรรมเทศนานั้น

    ผู้ที่บันทึกไว้คือ ท่านเจ้าคุณพิพัฒน์ธรรมคณี โดยท่านได้บันทึกเทปไว้

    ซึ่งท่านได้มอบเทปที่บันทึกไว้ทั้งหมดแก่ พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)



    และท่านพระมหาจัน เปรียญธรรม ๕ ประโยค ซึ่งจดวิชชาเอาไว้ที่เป็น “วิชชาชั้นสูง” หรือ “วิชชาครู” นั้น

    ก็ตกทอดมายัง พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) เช่นกัน



    เพราะฉะนั้น หลวงพ่อพระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)

    รองเจ้าอาวาส และ พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

    จึงเป็นที่รวมของวิชชาธรรมกายตั้งแต่ เบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องสูง



    ขณะเดียวกันท่านก็ได้ “ถ่ายทอดวิชชา” ให้กับ พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล)

    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    .... ซึ่งมีทั้งโดยตรงและโดยอ้อม

    โดยตรงก็ “สอน” กัน

    โดยอ้อมก็ให้ “รวบรวมเรียบเรียงขึ้นเป็นตำรา”

    ซึ่งได้รวบรวมเรียบเรียงใน ระดับสมถวิปัสสนา และ มหาสติปัฏฐาน ๔ รวมทั้งพระธรรมเทศนา



    หลวงพ่อพระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) ท่านได้ให้ความเมตตาไว้วางใจแก่

    พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล) ร่วมกับ พระครูสมุห์ณัฐนันท์ กุลสิริ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

    ในการรวบรวม “วิชชาธรรมกายชั้นสูง” คือ มรรคผลพิสดาร เล่มที่ ๑ / มรรคผลพิสดาร เล่มที่ ๒



    ต่อมาท่านก็ให้รวบรวม "วิชชาชั้นสูง เล่มที่ ๓” อีก

    และได้จัดพิมพ์เป็นเล่มไว้แจกแก่บุคคล (ที่ได้ธรรมกายแล้ว)

    หลังจากที่ได้มาฝึกปฏิบัติกับท่านพอสมควรแล้ว







    การถ่ายทอดวิชชาธรรมกาย...ที่สืบทอดต่อกันมานั้น มีข้อสังเกตว่า



    ๑. ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอด มีภูมิธรรมภูมิปัญญา...ไม่เท่ากัน

    การรับ......จึงไม่เท่ากัน



    ๒. วาระของการสอนออกไป

    แม้บางคนจะมีภูมิธรรมภูมิปัญญาสูง บางทีมาในขณะในสมัยที่กำลังแสดงธรรมนั้น บางทีก็ไม่ได้มา

    และบางคนที่มีภูมิธรรมปานกลางก็มา ในส่วนที่กำลังแสดงที่สำคัญบ้าง ไม่สำคัญบ้าง

    สรุปง่ายๆว่า แต่ละคนมีโอกาสเข้ามารับฟัง มาเรียนรู้ธรรมปฏิบัติ

    โดยเข้ามาไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน....จึงได้ธรรมะไปก็ไม่เท่ากันอยู่ดี



    ๓. ธาตุธรรมแก่กล้าไม่เท่ากัน

    อันนี้เป็นพื้นของเก่า หรือจะกล่าวว่ามี “บุพเพกตปุญญตา” ไม่เท่ากัน

    แล้วแต่ใครสร้างบารมีมาแบบไหน



    บางคนสร้างบารมีมาเพื่อเป็น “ปกติสาวก” เขาก็รับช่วงหนึ่งสมบูรณ์



    บางคนสร้างบารมีมาในระดับสูงกว่านั้น คือ

    ระดับ “พุทธอุปัฏฐาก” หรือว่า “อัครสาวก” หรือ “อสีติมหาสาวก” เขาก็รับได้มากกว่า



    บางคนก็ตั้งจิตอธิษฐานเข้าสู่ “พุทธภูมิ” ท่านเหล่านี้ก็ได้รับมาก



    มันจึงเป็นไปตามธาตุธรรมที่แก่กล้าไม่เท่ากัน

    และในแต่ละระดับที่ต่างกันนี้ บางทีผู้ที่ปรารถนาต่ำแต่บารมีเต็ม...กลับรับได้ชัดเจน

    เหมือนวิทยุเครื่องเล็กจิ๋ว...แต่ว่ารับได้ดี



    บางคนแม้จะสร้างบารมีมาในระดับปานกลาง อธิษฐานมาในระดับกลาง ระดับสูง

    อาจจะรับได้ดีหรือไม่ได้ดี...เท่าคนที่อธิษฐานบารมีน้อยๆก็ได้

    เพราะบารมียังไม่เต็มธาตุธรรม ยังไม่แก่



    สรุปใน ๓ เหตุ ๓ ปัจจัยนี้

    ทำให้ผู้รับการถ่ายทอด...ได้รับไปสมบูรณ์ไม่เท่ากัน

    เพราะฉะนั้นผลก็ออกไปตามส่วนอย่างนี้



    เพราะฉะนั้นจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ หลวงพ่อพระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)

    และ หลวงพ่อพระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล) มีความรู้สึกว่า

    “วิชชาธรรมกายที่บริสุทธิ์ และสมบูรณ์ถูกต้อง” ... สมควรที่จะได้รับการถ่ายทอดให้กว้างขวางขึ้น

    เผยแพร่ให้มากขึ้น และทำให้เป็นหลักเป็นฐาน

    เพื่อให้เป็นเอกสาร และพยานบุคคลอ้างอิงได้ต่อไปในอนาคต



    เพราะมิฉะนั้นแล้ว

    วิชชาธรรมกายอาจจะถูกบุคคล หรือ ศิษยานุศิษย์ที่รับไปไม่เท่ากัน

    หรือ บกพร่อง เข้าใจไม่เท่าเทียมกัน หรือ เข้าใจผิดบ้างถูกบ้าง

    นำออกไปปฏิบัติไปถ่ายทอด ที่ไขว้เขวออกไปนอกลู่นอกทางของแนววิชชาธรรมกาย (ซึ่งมีอยู่ตรงกับพระไตรปิฎก) ทำให้เป็นที่เสื่อมศรัทธาของบุคคลได้




    [​IMG]



    ทุก1-14 พฤษภาคม กลางปีและ ทุก1-14 ธันวาคม


    อบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นกลางปี (ฆราวาสเข้าร่วมอบรมได้) ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชุบรี
    - ขั้นพื้นฐาน เพื่อให้จิตสงบ พบดวงใส
    - ขั้นกลาง เพื่อต่อจากดวงใส เป็น 18 กาย และต่อไปถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า
    - ขั้นสูง เพื่อตรวจภพตรวจจักรวาล เจริญวิชชา และละกิเลสในใจตน
    นำโดย พระเทพญาณมงคล วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล, ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม พระวิทยากร และอุบาสก อุบาสิกาวิทยากร ที่ครูบาอาจารย์คัดเลือกให้สอนสมาธิได้

    - ปฏิบัติธรรมรวมกลุ่มใหญ่
    - ปฏิบัติธรรมแยกกลุ่มย่อยกับวิทยากร
    - ฟังธรรมจากพระมหาเถระ






    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 มิถุนายน 2016
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
    หลวงพ่อสดนั้นไม่เคยกล่าวว่าวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบอื่นไม่ถูกต้อง




    ถามว่ามีหลักฐานอะไรที่บ่งชี้ว่าหลวงพ่อสดไม่ได้ว่าวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบอื่นไม่ถูกต้อง ?


    ที่ปรากฏเป็นหลักฐานทางเอกสาร มีดังนี้คือ:


    ๑. ท่านแนะนำให้หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฯ ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อโหน่งวัดคลองมะดัน (ทั้งที่ตอนนั้นหลวงพ่อสดท่านค้นพบวิชชาธรรมกายแล้ว) ซึ่งเป็นพระอาจารย์กรรมฐานองค์แรกของหลวงพ่อ ((( ประชุมพระธรรมเทศนาและหลวงปู่สอนธรรม, ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์พระราช ทาน, ในงานพระราชทานเพลิงศพ, พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวรรณณเถร), เจ้าอาวาส วัดประดู่ฉิมพลี, ๒๕๔๒, กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒ หน้า. (หน้า ๑๔และหน้า ๖๑ ))) หลวงพ่อโหน่งนั้นเมื่อท่านมรณภาพปรากฏว่าศพท่านไม่เน่า หลวงพอปานวัดบางนมโคบอกว่าหลวงพ่อโหน่งเป็นพระอรหันต์


    ๒. หลวงพ่อเขียนรับรองวิชาหนอว่าถูกต้องตรงร่องรอยสติปัฏฐาน ๔ (แต่ท่านละคำว่าต้องปฏิบัติอย่างเข้าใจจริง จึงจะถูกต้อง) ซึ่งได้มีกลุ่มบุคคลนำข้อความที่ท่านเขียนรับรองวิชาหนอในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาไปบิดเบือนเพื่อสนับสนุนวิชาของพวกตน ซึ่งจะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก


    ๓. แม้หลวงพ่อชา จะได้มาพักที่วัดปากน้ำ ๑ อาทิตย์ หลวงพ่อสดก็ไม่ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะหลวงพ่อท่านทราบดีว่า หลวงพ่อชานั้นสร้างบารมีมาทางสายพระอาจารย์มั่น (ซึ่งหาอ่านได้ในประวัติหลวงพ่อชาบางเล่ม) เหมือนๆกับที่หลวงพ่อทราบว่าสมเด็จป๋าจะได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช เพราะว่าถ้าพระพิมลธรรมไม่ต้องคดีเสียก่อน สมเด็จป๋าจะไม่มีโอกาสขึ้นเป็นสมเด็จพระสังราชเลย เรียกปิดประตูตายทีเดียว


    ๔. หนังสือกรรมฐานชื่อ “สมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน” ซึ่งประพันธ์ โดยคุณโสภณ ชื่นชุ่ม เป็นศิษย์วิชชาธรรมกายรุ่นแรกๆ ของพระอาจารย์พระราชพรหมเถร วิ (วีระ คณุตฺตโม ) ต้นฉบับของหนังสือเล่มนี้พระอาจารย์พระราชพรมเถรได้ตรวจทานอย่างละเอียด


    ***ในหนังหนังสือกรรมฐานเล่มดังกล่าวมีคำอธิบายกรรมฐานแบบไตรลักษณ์ กรรมฐานแบบโบราณ และสมถวิปัสสนาแบบธรรมกาย ***



    จากหลักฐานทั้ง ๔ ข้อนี้ สามารถใช้ยืนยันได้ว่า หลวงพ่อสดไม่เคยว่าการปฏิบัติกรรมฐานของไทยสายไหนไม่ดี
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
    วิธีพิจารณาอริยสัจ ๔ เข้ามรรคผลนิพพาน





    การพิจารณาให้เห็นสัจจะทั้ง ๔ แต่ละอย่าง
    ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ
    วิธีเจริญฌานสมาบัติเข้ามรรคผลนิพพาน


    การมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อริยสัจ ๔ นี้ เป็นส่วนสำคัญยิ่ง ของการเจริญสติปัฏฐาน ๔ อันเป็น เอกายนมรรค คือ หนทางอันเอก ให้ถึงมรรค ผล นิพพาน โดยทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยว่าอริยสัจ ๔ ก็มีอริยมรรคมีองค์ ๘ และอริยมรรคมีองค์ ๘ เล่า ก็มีสติปัฏฐาน ๔ คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายนอก และ ณ ภายใน
    เฉพาะในส่วนของการมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ก็มีตั้งแต่การมีสติพิจารณา นิวรณ์ ๕ (อันเป็นธรรมปฏิบัติในขั้นอนุวิปัสสนา) อุปาทานขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ โพชฌงค์ ๗ และอริยสัจ ๔ ซึ่งก็จะมีข้อกำหนดรวมทั้งอริยมรรคมีองค์ ๘ และทั้งสติปัฏฐาน ๔ อันจะขยายผลถึงการมีสติพิจารณาเห็นธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ และ ปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ ให้เจริญขึ้นเต็มภูมิวิปัสสนา ตั้งแต่ระดับอนุวิปัสสนาถึงโลกุตตรวิปัสสนา และยังให้ข้อปฏิบัติอื่นๆ เจริญขึ้น อันเป็นทางให้บรรลุวิชชา ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด และเป็นธรรมเกื้อหนุนอริยมรรคให้เจริญขึ้น ถึงความบรรลุมรรคผลนิพพานที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงและที่เป็นบรมสุข ได้แก่
    จรณะ ๑๕ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางให้บรรลุวิชชา (ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิดทุกข์ทั้งปวง) คือ ศีลสัมปทา อินทรีย์สังวร โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ สติ ปัญญา และ รูปฌาน ๔
    โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ และธรรมเครื่องเกื้อหนุนอริยมรรค ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และ อริยมรรคมีองค์ ๘
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์เป็นปฐมเทศนาว่า
    “จกฺขุ ํ อุทปาทิ, ญาณํ อุทปาทิ, ปญฺญา อุทปาทิ, วิชฺชา อุทปาทิ, อาโลโก อุทปาทิ ...” (สํ.มหา.๑๙/๑๖๖๖-๑๖๖๙/๕๒๙-๕๓๐)
    “จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณ [ความหยั่งรู้-เห็น] เกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, ความสว่างแจ้งเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ว่า นี้คือทุกข์ ... นี้เหตุแห่งทุกข์ ... นี้ความดับทุกข์ [สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ] ... นี้ข้อปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์ ...”

    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ขณะทรงบำเพ็ญสมณธรรมใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ ในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เมื่อ ๒๕๘๘ ปีล่วงมาแล้วนั้น (ปีนี้ พ.ศ.๒๕๔๓) จึงได้ทรงเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาเพื่อเจริญวิชชา ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด เริ่มตั้งแต่ วิชชาที่ ๑ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในยามต้นแห่งราตรี, วิชชาที่ ๒ จุตูปปาตญาณ ในยามกลางแห่งราตรี และ วิชชาที่ ๓ อาสวักขยญาณ โดยการพิจารณาอริยสัจ ๔ และ ปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ ในยามปลายแห่งราตรี จนเห็นแจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ อันเป็นไปในญาณ ๓ (คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ) มีอาการ ๑๒ และมีญาณหยั่งรู้วิธีทำอาสวกิเลสให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในตอนรุ่งอรุณแห่งคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะนั้นเอง
    จึงขอแนะนำวิธีเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ ๔ ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกาย และพัฒนาขึ้นเป็นวิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ต่างเป็นธรรมกาย) ที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ปฏิบัติและสั่งสอนศิษยานุศิษย์ มีปรากฏในหนังสือ วิชชามรรคผลพิสดาร เล่มที่ ๑ และ เล่มที่ ๓ (หนังสืออาสวักขยญาณชั้นสูง) อันเป็นธรรมปฏิบัติส่วนสำคัญของสติปัฏฐาน ๔ นี้ มาแสดงไว้ก่อน เพื่อดำเนินตามรอยบาทพระพุทธองค์ ดังต่อไปนี้
    สำหรับผู้ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้พิสดารกายไปจนสุดละเอียด และให้สมาธิตั้งมั่นดีเสียชั้นหนึ่งก่อน
    ในลำดับนี้ก็จะได้แนะนำการพิจารณาอริยสัจ ๔ ให้เห็น ทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ และมรรคอริยสัจ อีกต่อไป

    การพิจารณาให้เห็นสัจจะทั้ง ๔ แต่ละอย่าง
    พึงเข้าใจเสียก่อนว่า
    ทุกข์ เป็น ผล, สมุทัย เป็น เหตุ
    นิโรธ เป็น ผล, มรรค เป็น เหตุ

    หรืออีกนัยหนึ่ง เพราะสมุทัย ทุกข์จึงเกิด, แต่ถ้ามรรคเจริญขึ้นแล้ว นิโรธก็แจ้ง กล่าวคือ เมื่อมรรคเจริญขึ้นแล้ว นิโรธคือสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะสมุทัยอันเป็นตัวเหตุดับก็แจ้ง, เมื่อสมุทัยอันเป็นตัวเหตุแห่งทุกข์ดับ ทุกข์ก็ดับลงโดยอัตโนมัติ
    ๑. ทุกขอริยสัจ
    ทุกขอริยสัจนั้นมีลักษณะสัณฐานกลม มีสีดำๆ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียด ซ้อนอยู่ในกลางดวงอัญญาตาวินทรีย์ ในกลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม มีซ้อนกันอยู่ ๔ ชั้น คือ ดวงชาติทุกข์ (ทุกข์เพราะเกิด), ดวงชราทุกข์ (ทุกข์เพราะแก่), ดวงพยาธิทุกข์ (ทุกข์เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ), และ ดวงมรณทุกข์ (ทุกข์เพราะความตาย)
    ในดวงกลมของทุกข์นั้นยังมีหุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ อีก ๔ ชั้น คือ เห็น จำ คิด รู้ และขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และวิญญาณ ของกายมนุษย์ ของทิพย์ ของรูปพรหม และของอรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะทั้งหมด แต่ทุกข์ส่วนหยาบก็มีอยู่ในกายหยาบคือกายมนุษย์ ทุกข์ส่วนละเอียดก็มีอยู่ในกายที่ละเอียดๆ คือ กายทิพย์ รูปพรหม และอรูปพรหมต่อไป ตามลำดับ
    เฉพาะทุกข์ของมนุษย์นั้น ชาติทุกข์ หรือสิ่งที่เรียกว่าเป็นความเกิดนั้น มีลักษณะเป็นดวงกลมใส ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดโพธิ์ ขนาดโต เท่าดวงจันทร์ สีขาวบริสุทธิ์ ดวงนี้เองเป็นดวงเริ่มเกิดของมนุษย์ทุกคน ถ้าดวงนี้ไม่มาจรดที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ (ของมารดา) กายมนุษย์ก็จะมาเกิดไม่ได้
    ใช้ตาหรือญาณของธรรมกายดูความเกิดและเหตุที่จะทำให้เกิด ให้เห็นตลอด แล้วก็ดูความแก่ต่อไป
    ความแก่ (ชราทุกข์) นี้ซ้อนอยู่ในกลางดวงเกิด (ชาติทุกข์), มีลักษณะกลม สีดำเป็นนิล แต่ไม่ใส ขนาดโตเท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็กเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ เวลาที่ดวงแก่นี้ยังเล็กอยู่ ก็เป็นเวลาที่เริ่มแก่, แต่ถ้าดวงนี้ยิ่งโตขึ้น กายก็ยิ่งแก่เข้าทุกที ดวงแก่นี้เองที่เป็นเหตุให้ร่างกายทรุดโทรม เมื่อแก่มากขึ้นก็ต้องมีเจ็บ (พยาธิทุกข์) เพราะดวงเจ็บนั้นซ้อนอยู่ในกลางดวงแก่นั้นเอง เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กันกับดวงเกิด ดวงเจ็บนี้มีสีดำเข้มกว่าดวงแก่ ขณะเมื่อดวงเจ็บนี้มาจรดเข้าในศูนย์กลางดวงแก่เข้าเวลาใด กายมนุษย์ก็จะต้องเจ็บไข้ทันที เมื่อดวงเจ็บนี้มาจรดหนักเข้า ดวงตาย (มรณทุกข์) ก็จะเข้ามาซ้อนอยู่ในกลางดวงเจ็บ เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กับดวงเจ็บ แต่มีสีดำใสประดุจนิลทีเดียว เมื่อดวงนี้เข้ามาจรดกลางดวงเจ็บแล้ว ถ้ามาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของมนุษย์กับทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อกายมนุษย์ไม่เนื่องกับกายทิพย์แล้ว กายมนุษย์ก็จะต้องตายทันที
    กายมนุษย์ที่เป็นทุกข์นั้น ก็เพราะอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง ๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ว่าเป็นตัวตน บุคคล เรา เขา ของเรา ของเขา จึงได้ชื่อว่า รูปูปาทานักขันโธ, เวทนูปาทานักขันโธ, สัญญูปาทานักขันโธ, สังขารูปาทานักขันโธ และ วิญญาณูปาทานักขันโธ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ในขันธ์ทั้ง ๕ คือ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั้น ต่างก็มีเห็น จำ คิด และรู้ ซ้อนประจำอยู่ แล้วขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และ วิญญาณ เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นกายเนื้อ และใจนั่นเอง
    ขันธ์ทั้ง ๕ นั้น เป็นประดุจดังว่าบ้านเรือนที่อาศัยของเห็น จำ คิด รู้ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นที่ตัวบ้านเรือนที่อาศัย ผู้อาศัยอยู่ คือ เห็น จำ คิด รู้ ซึ่งยึดติดอยู่กับรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณนั้นเองที่รู้สึกเดือดร้อน เป็นทุกข์ เพราะเข้าไปยึดว่าขันธ์แต่ละขันธ์นั้นว่าเป็นตัวเรา เราเป็นนั้น นั้นมีในเรา นั้นเป็นของเรา ซึ่งรวมเรียกว่า สักกายทิฏฐิ ๒๐ (คือแต่ละขันธ์ มีสักกายทิฏฐิ ๔, ขันธ์ ๕ ขันธ์ จึงเป็นสักกายทิฏฐิ ๒๐)
    กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดังบาลีพระพุทธภาษิตที่ว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ซึ่งก็คือ เห็น จำ คิด รู้ นั่นเองที่เข้าไปยึดถือในขันธ์ ๕ จึงเป็นทุกข์
    อนึ่ง ทุกข์ที่เกิดขึ้นก็ได้แต่เพียงกำหนดรู้ไว้ว่าเป็นทุกข์เท่านั้น จะดับทุกข์ก็ยังไม่ได้ ถ้าจะดับทุกข์ก็จะต้องละสมุทัยคือเหตุแห่งทุกข์เสียก่อน ทุกข์จึงจะดับ เพราะทุกข์นี้เกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ก็เพราะอาศัยสมุทัยเป็นเหตุ คือ ทุกข์นั้นอยู่ชั้นนอก สมุทัยซ้อนอยู่ชั้นใน ชั้นนอกจะเกิดขึ้นได้และเจริญอยู่ได้ก็เพราะอาศัยชั้นในรักษา ถ้าชั้นในซึ่งเป็นใจกลางดับ ชั้นนอกซึ่งเป็นเสมือนเปลือกหุ้มอยู่ก็ต้องดับตามไปด้วย เพราะเหตุนั้น การดับทุกข์จึงต้องดับตัวสมุทัยซึ่งเป็นตัวเหตุเสียก่อน ทุกข์ซึ่งเป็นตัวผลจึงจะดับตาม
    เมื่อกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยตาหรือญาณพระธรรมกายว่า ความเกิด แก่ เจ็บ และตายนี้ เป็นทุกข์จริง (ทุกขอริยสัจ) เรียกว่า สัจจญาณ, และกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยตาและญาณพระธรรมกายว่า ทุกขอริยสัจนี้ควรกำหนดรู้ เรียกว่า กิจจญาณ, และกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งชัดว่า ความทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้เราได้กำหนดรู้ชัดแล้ว ชื่อว่า กตญาณ เช่นนี้เรียกว่าพิจารณาทุกขสัจซึ่งเป็นไปในญาณ ๓

    ๒. สมุทัยอริยสัจ
    เหตุให้เกิดทุกข์นั้น มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ซ้อนอยู่ในกลางดวงทุกขสัจ ที่ในกลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้นแหละ ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดโพธิ์ ขนาดโต เท่าดวงจันทร์ มีซ้อนกันอยู่ ๓ ชั้น คือ ดวงกามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา มีความละเอียดและดำมากกว่ากันเข้าไปเป็นชั้นๆ ในดวงสมุทัยนี้ยังมีหุ้มซ้อนกันอยู่ ๔ ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต และ วิญญาณ ของกายทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด, รูปพรหมหยาบ รูปพรหมละเอียด และ อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะ แต่สมุทัยในแต่ละกายนี้หยาบละเอียด ตามความหยาบ-ละเอียดของแต่ละกายเข้าไปตามลำดับ
    ส่วนรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย ซึ่งเรียกว่า กามคุณ หรือ วัตถุกาม ทั้ง ๖ อย่างนี้เป็นของทิพย์ เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ดับหายไป คงทิ้งไว้แต่ความยินดี-ยินร้ายให้ปรากฏฝังใจอยู่เท่านั้น, กามตัณหา คือ ความทะยานอยากในกามคุณทั้ง ๕, ภวตัณหา คือ ความปรารถนาที่จะให้กามคุณที่พึงพอใจที่ตนมีอยู่แล้ว ให้ดำรงอยู่ และความทะยานอยากในความอยากมี อยากเป็นโน่น เป็นนี่ และ วิภวตัณหา คือ ความปรารถนาที่จะให้สิ่งที่ไม่เป็นที่พึงพอใจ พินาศไป หรือไม่อยากจะได้พบ ได้เห็น หรือความทะยานอยากที่จะไม่มี ไม่เป็นในสิ่งที่ตนไม่พึงปรารถนาทั้งหลาย เหล่านี้มีอยู่ในก้อนกายทิพย์ ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่เป็นทิพย์ เป็นต้นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ คือสิ่งสัมผัสทางกาย และ ธรรมารมณ์ เหล่านี้จึงเต็มไปด้วยตัณหา และชุ่มโชกสดชื่นไปด้วยตัณหา
    สิ่งที่เป็นทิพย์นั้น เมื่อจุติ (เคลื่อน คือตายจากภพหนึ่ง) แล้วก็จะไปแสวงหาที่เกิดใหม่ เรียกว่า กายสัมภเวสี ถ้าแสวงหาที่เกิดได้แล้ว เรียกว่า กายทิพย์ ซ้อนอยู่ภายในกายมนุษย์ละเอียดนั้นแหละ จึงกล่าวว่า ทุกข์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเจริญอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยสมุทัยซึ่งมีอยู่ในก้อนกายทิพย์เป็นเหตุ
    และก็ใคร่จะขอย้ำว่า กำเนิดเดิมของทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียดนั้น ก็มิใช่อื่นไกล ก็คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจากขันธ์ ๕ ที่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเอง
    โดยเหตุนี้ กายทั้ง ๘ คือ กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด และ กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะ จึงต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา
    เมื่อเห็นด้วยตา และรู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา ซึ่งรวมเรียกว่าสมุทัยนี้ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง (สมุทัยอริยสัจ) ชื่อว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, เห็นแจ้งด้วยตาธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณธรรมกายว่า สมุทัยอริยสัจนี้ควรละ ชื่อว่า ได้บรรลุ กิจจญาณ, และเห็นแจ้ง รู้แจ้งด้วยญาณธรรมกายว่า สมุทัยอริยสัจนี้ เราละได้แล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ ดังนี้เรียกว่า พิจารณาสมุทัยอริยสัจ เป็นไปในญาณ ๓

    ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ
    เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้งในสมุทัยอริยสัจแล้ว ก็ต้องดูให้รู้ถึงสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ที่เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ เป็นดวงกลมใส ซ้อนอยู่ในสมุทัยอริยสัจ ในกลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕ วา มีหุ้มซ้อนกันอยู่ ๔ ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต และ วิญญาณ เดิม ของกายโลกิยะ ซึ่งเปลี่ยนสภาพ เพราะวิญญาณของกายโลกิยะดับ กลับเป็นญาณของกายธรรม หรือ ธรรมกาย นั่นเอง
    เมื่อมรรคอันเป็นเหตุ เกิดและเจริญขึ้น รวมกันเป็นเอกสมังคีนั้น นิโรธธาตุอันเป็นผล ย่อมเป็นธรรมอันพระอริยเจ้าท่านได้บรรลุ พร้อมกับสมุทัยอันเป็นเหตุดับ และทุกข์อันเป็นผลของสมุทัยก็ดับทันที เหมือนรัศมีของพระอาทิตย์ที่ขจัดความมืดให้หายไป ฉะนั้น
    อนึ่ง ใคร่จะทบทวนไปถึงที่เคยได้แนะนำวิธีพิจารณาเห็นจิตในจิต คือ อาสวกิเลส ซึ่งเอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น อยู่ในเห็น จำ คิด และ รู้ ของกายโลกิยะทั้ง ๘ ว่า เมื่อเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้วนั้น ใจของธรรมกายอันประกอบด้วยเห็น จำ คิด รู้ ย่อมสิ้นรสชาติจากอาสวะจนจืดสนิท และเห็น จำ คิด รู้ นั้น ก็กลับเป็นอาสวักขยญาณ ส่วนอวิชชาเครื่องหุ้มรู้นั้น ก็กลับเป็นตัววิชชา ให้รู้แจ้งในสัจจธรรมขึ้นมาทันที เห็น จำ คิด และ รู้ จึงเบิกบานเต็มที่ ขยายโตขึ้นเต็มส่วนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักของพระธรรมกาย ส่วนเห็น จำ คิด และ รู้ ในก้อนทุกข์และสมุทัยของกายโลกิยะเดิมจึงดับหมด เป็นวิกขัมภนวิมุตติ ตั้งแต่เมื่อเจริญภาวนาถึงธรรมกาย นับตั้งแต่กายลำดับที่ ๙ ซึ่งเป็นกายโลกุตตระเป็นต้นไปจนสุดธรรมกายพระอรหัตละเอียด ต่อเมื่อละสัญโญชน์ได้หมด จึงจัดเป็นสมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นโดยเด็ดขาด โดยสิ้นเชิง
    กายธรรม หรือ ธรรมกาย ซึ่งเป็นกายโลกุตตระนั้น พ้นจากอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ กลับเป็น นิจจัง สุขัง และ อัตตา ด้วยประการฉะนี้
    เมื่อได้เห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า ความดับทุกข์ คือ สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับคือนิโรธอริยสัจ มีได้ เป็นได้จริง เรียกว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, และเห็นด้วยตาพระธรรมกาย และรู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า นิโรธอริยสัจนี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าได้บรรลุ กิจจญาณ, และเห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า นิโรธอริยสัจนี้ เราได้กระทำให้แจ้งแล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ
    ดังนี้คือการพิจารณานิโรธอริยสัจ เป็นไปในญาณ ๓

    ๔. มรรคสัจ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ข้อปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์ เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้งในนิโรธอริยสัจแล้ว ก็พึงพิจารณาและกระทำมรรคให้เกิดขึ้น ให้เจริญขึ้นอีกต่อไป
    มรรคอริยสัจนั้น เป็นดวงกลมใสสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งนัก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักและความสูงของพระธรรมกาย ซ้อนอยู่ในกลางนิโรธอริยสัจ ที่ในกลางขันธ์ ๕ ในกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเอง มรรคอริยสัจนี้ ก็คือ
    ดวงศีล ซึ่งมีซ้อนกันอยู่ ๓ ชั้น คือ สัมมาวาจา วาจาชอบ, สัมมากัมมันโต การงานชอบ, สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ
    ดวงสมาธิ ซึ่งมีซ้อนกันอยู่อีก ๓ ชั้นเข้าไปข้างใน คือ สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ, สัมมาสติ ความระลึกชอบ และ สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ
    ดวงปัญญา ซึ่งมีซ้อนกันอยู่อีก ๒ ชั้นเข้าไปข้างในอีก คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบในอริยสัจ และ สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ
    และ ในมรรคอริยสัจแต่ละดวงนี้ก็ยังมีหุ้มซ้อนอีก ๔ ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต วิญญาณ เดิมของกายโลกิยะ ซึ่งเปลี่ยนสภาพ (เพราะวิญญาณของกายโลกิยะดับ) เป็นญาณของพระธรรมกายตั้งแต่พระโสดาหยาบ (โสดาปัตติมรรค) ขึ้นไป กล่าวคือ กายธรรม เป็น พระพุทธรัตนะ, ใจ (คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ ของธรรมกาย) เป็น พระธรรมรัตนะ, จิต เป็น พระสังฆรัตนะ และ วิญญาณ ซึ่งขยายส่วนหยาบเป็นดวงรู้ของกายโลกิยะเดิมดับ กลับเป็นญาณ (ญาณรัตนะ) ของธรรมกายซึ่งขยายเต็มส่วนแล้ว
    เมื่อได้เห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า มรรคอริยสัจนี้ เป็นทางดับทุกข์ได้จริง (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ) ชื่อว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, เห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า มรรคอริยสัจนี้ควรเจริญ ชื่อว่าได้บรรลุ กิจจญาณ และเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้เจริญแล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ
    นี้คือการพิจารณาอริยสัจ เป็นไปในญาณ ๓
    ญาณ หรือ ปริวัฏ ๓ นี้ เมื่อเป็นไปในอริยสัจ ๔ จึงมีอาการ ๑๒

    วิธีเจริญฌานสมาบัติเข้ามรรคผล นิพพาน
    สำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายที่สุดละเอียด และได้ฝึกสับกาย-ซ้อนกาย เจริญฌานสมาบัติ ดีพอสมควร และได้พิจารณาสติปัฏฐาน ๔ พอให้มีพื้นฐานทั้งสมถะและวิปัสสนาดีพอสมควรแล้ว ให้ฝึกเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ ๔ เข้ามรรคผลนิพพานต่อไป
    ให้รวมใจของทุกกายอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายอรหัตที่ละเอียดที่สุด เอาใจธรรมกายอรหัตเป็นหลัก เจริญฌานสมาบัติ (รูปฌาน ๔) หมดพร้อมกันทุกกายหยาบกายละเอียด โดยอนุโลมและปฏิโลม ๑-๒-๓ เที่ยว ให้ใจผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ อ่อนโยน ควรแก่การงาน แล้วธรรมกายพระอรหัตที่สุดละเอียด ทำนิโรธ ดับสมุทัย คือพิสดารธรรมกายอรหัตในอรหัตออกจากฌานสมาบัติ (ไม่ต้องพิจารณาอารมณ์ฌาน) ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งของธาตุ-ธรรม และเห็น-จำ-คิด-รู้ อันเป็นที่ตั้งของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ของกายโลกียะ สุดกายหยาบกายละเอียด ปหานอกุศลจิตของกายในภพ ๓ ให้เป็นแต่ใจ คือญาณรัตนะของธรรมกายที่บริสุทธิ์ล้วนๆ จนสุดละเอียดปล่อยอุปาทานขันธ์ ๕ และความยินดีในฌานสมาบัติได้ (แม้ชั่วคราว) เป็นวิกขัมภนวิมุตติ โคตรภูจิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่แล้วนั้น
    ใช้ตา (ญาณ) พระธรรมกายพิจารณาอริยสัจที่กลางกายมนุษย์ เห็นแจ้งแทงตลอดอริยสัจเหล่านี้พร้อมกับเดินสมาบัติ เมื่อถูกส่วนเข้า พระธรรมกายก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลาง ๕ วา ในไม่ช้าศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม นี้เป็นธรรมกายพระโสดา กล่าวคือ
    เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาสามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในพระสัจจธรรมดังกล่าวแล้ว ธรรมกายโคตรภูละเอียดก็ตกศูนย์ แล้วธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ปรากฏขึ้นปหาน (ละ) สัญโญชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาสได้แล้ว ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระโสดาปัตติผลก็จะปรากฏขึ้นเข้าผลสมาบัติ พิจารณาปัจจเวกขณ์ ๕ คือ พิจารณามรรค, ผล, กิเลสที่ละได้, กิเลสที่ยังเหลือ และ พิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระโสดาบัน และก็จะเห็นธรรมกายพระโสดาปัตติผลใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กเข้ามาอีก

    แล้วธรรมกายพระโสดานั้นเข้าฌาน พิจารณาอริยสัจของกายทิพย์ ให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระโสดาก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๑๐ วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระสกิทาคามี กล่าวคือ
    เมื่อธรรมกายพระสกิทาคามิมรรคปรากฏขึ้นกำจัดสัญโญชน์ และสามารถละโลภะ โทสะ และ โมหะ จนเบาบางลงมากแล้ว ก็จะตกศูนย์ และปรากฏธรรมกายพระสกิทาคามิผลเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ ๕ ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระสกิทาคามี และท่านก็จะเห็นธรรมกายพระสกิทาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา

    แล้วธรรมกายพระสกิทาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระสกิทาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๑๕ วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอนาคามี กล่าวคือ
    เมื่อธรรมกายพระอนาคามิมรรคปรากฏขึ้นปหานกามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยได้อีก แล้วก็จะตกศูนย์ ปรากฏธรรมกายพระอนาคามิผล เข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ ๕ ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอนาคามีบุคคล และท่านจะเห็นธรรมกายพระอนาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา

    แล้วธรรมกายพระอนาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายอรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระอนาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอรหัตแล้ว กล่าวคือ
    เมื่อธรรมกายพระอรหัตตมรรค ปรากฏขึ้นปหานสัญโญชน์เบื้องสูงอีก ๕ ประการ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และ อวิชชาได้โดยเด็ดขาดแล้ว ก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระอรหัตตผลก็จะปรากฏขึ้นเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ ๔ คือ พิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละได้หมด และพิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอรหันตขีณาสพ แล้วท่านจะเห็นธรรมกายพระอรหัตของท่านใสละเอียดและมีรัศมีสว่างอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กลงอีก และก็จะมีญาณหยั่งรู้ว่าท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว
    เมื่อได้กายพระอรหัตนี้แล้ว ก็ให้ซ้อนสับทับทวีกับพระนิพพานต้นๆ ไปจนสุดละเอียด แล้วหยุด ตรึกนิ่ง เพื่อฟังตรัสรู้ในธรรมที่ควรรู้อีกต่อไป

    การเจริญสมาบัติพิจารณาพระอริยสัจทั้ง ๔ นี้ เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค ด้วยสัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ แล้ว ญาณทั้ง ๓ กลุ่มนี้เองที่เป็นปัญญาผุดรู้ขึ้นมาเองในระหว่างการปฏิบัติ เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจจธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกต้อง ไม่ท้อถอย ก็จะพ้นจากทุกข์ได้ ญาณทั้ง ๓ กลุ่ม รวม ๑๒ ญาณของอริยสัจ ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ในการขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่นิพพิทาญาณ ทีนั้น ญาณทั้ง ๑๒ ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการเป็นความเห็นแจ้งในปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ ทำให้สามารถกำหนดรู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้อริยสัจ และ พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา และ สพฺเพ ธมฺมา (สังขาร/สังขตธรรม ทั้งปวง) อนตฺตา ซึ่งเป็นธรรมาวุธอันคมกล้า ปหานสัญโญชน์พินาศไปในพริบตา
    ญาณทั้ง ๓ กลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ อันให้เห็นแจ้งในอริยสัจ ๑๒ นี้ จะเห็นและกำหนดรู้ได้เป็นอย่างดี โดยทางเจโตสมาธิ หรือ วิชชาธรรมกาย ด้วยประการฉะนี้แล ในพระไตรปิฎกมีระบุไว้อย่างชัดแจ้ง ไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎก ข้อ ๑๕ และ ๑๖ ว่า เป็นญาณทัสสนะมี รอบ ๓ มีอาการ ๑๒
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
    พระพุทธดำรัสว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท

    สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี พระนครสาวัตถี ได้ตรัส
    “ปฏิจจสมุปบาทธรรม” คือ ธรรมอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น ๑๒ ประการ ดังต่อไปนี้

    (ม.มู.๑๒/๔๔๘, ๔๕๐/๔๘๒-๔๘๓, ๔๘๕)


    ตรัสนัยอันเป็นปัจจัยเกิด และ ดับ
    ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น

    เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น คือ

    เพราะ อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี

    เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

    เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

    เพราะ นามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

    เพราะ สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี

    เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

    เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี

    เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี

    เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี

    เพราะ ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี

    เพราะ ชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงมี

    ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้
    เพราะ อวิชชาดับหมดมิได้เหลือ
    สังขารก็ดับ

    เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ

    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

    เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

    เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

    เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

    เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

    เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

    เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ

    เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ

    เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ

    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

    ตรัสนัยแห่งความดับ
    ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น

    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ
    เพราะ อวิชชาดับ สังขารจึงดับ

    เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ

    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

    เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

    เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

    เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

    เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

    เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

    เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ

    เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ

    เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ

    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้




    -------------------------------------------------------------------------


    วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านสอนไว้ มีความว่าดังนี้
    “ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้น หมายถึงธรรมที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ เป็นปัจจัยติดต่อกันไม่ขาดสาย คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส” (พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร), วิชชามรรคผลพิสดาร เล่มที่ ๑: หจก.พริ้นติ้ง (ไทยแลนด์), พ.ศ.๒๕๒๘, หน้า ๓๗-๓๘.)

    มีวิธีเจริญภาวนาพิจารณาเห็นได้ดังต่อไปนี้
    ขณะเมื่อพระโยคาวจรเจริญฌานสมาบัติ พิจารณาอริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นไปในญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อยู่นั้น ย่อมจะสามารถพัฒนาไปเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ ได้ กล่าวคือ ในขณะที่พิจารณาเห็นทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ ในกายมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียดอยู่นั้น หากเพ่งพิจารณาด้วย “ตา” หรือ “ญาณ” พระธรรมกาย ลงไปที่กลางทุกขสมุทัยอริยสัจ ก็จะเห็นว่า
    “อวิชชา มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำขุ่นมัว ไม่ผ่องใส เล็กประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร

    สังขาร มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของอวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ

    วิญญาณ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป

    นามรูป มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ

    สฬายตนะ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของนามรูป เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ

    ผัสสะ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของสฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา

    เวทนา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา

    ตัณหา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของเวทนา เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน

    อุปาทาน มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิดภพ

    ภพ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของอุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ

    ชาติ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของภพ เป็นปัจจัยให้เกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส
    ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกัน ประสานติดต่อกันเป็นปัจจัย อุดหนุนกันไม่ขาดสาย เหมือนลูกโซ่ จึงเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท เกิดขึ้นเพราะเป็นปัจจัยติดต่ออาศัยซึ่งกันและกันเกิด เมื่อจะดับธรรมเหล่านี้ ก็ต้องดับเบื้องต้น คือ อวิชชาดับมาก่อน แล้วธรรมอื่นๆ ก็ดับมาเป็นลำดับจนถึงเบื้องปลาย คือ ชาติดับ แต่นั่นธรรมเหล่านี้จึงจะดับขาดสายไปทุกประการ” (อ้างแล้ว. หน้า ๓๘-๓๙)

    อนึ่ง ในปฏิจจสมุปบาทธรรมแต่ละดวงนี้ ก็มีเห็น จำ คิด รู้ เจืออยู่ด้วยทุกดวง และดังที่จะได้แนะนำวิธีพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา และ จิตในจิต โดยละเอียดในลำดับต่อๆ ไปว่า ใน เห็น จำ คิด รู้ ก็มี “อนุสัย” ได้แก่ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และ อวิชชานุสัย หุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อวิชชานุสัยนั้น หุ้มซ้อนดวงรู้ของกายโลกิยะทั้ง ๘ อยู่ แต่หยาบละเอียดกว่ากันไปตามความหยาบละเอียดของกายเข้าไป เห็น จำ คิด รู้ ของกายโลกิยะทั้ง ๘ จึงไม่ขยายโตเต็มส่วนเหมือนธรรมกาย
    ต่อเมื่อเจริญภาวนาถึงธรรมกายแล้ว อนุสัยกิเลสทั้งหลาย จึงถูกถอดออกเป็นชั้นๆ จนกระทั่งหมดไปเมื่อถึงธรรมกาย อวิชชาเครื่องหุ้มรู้ เมื่อถูกถอดมาถึงกายธรรม จึงกลับเป็นวิชชา ให้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจจธรรมขึ้นมาทันที วิชชาเครื่องหุ้มนั้นก็ใสละเอียดสะอาดบริสุทธิ์ และดวงรู้ก็เบิกบานขยายโตเต็มส่วน มีขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหน้าตักและความสูงของพระธรรมกาย และ กลับเป็นญาณรัตนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นอาสวักขยญาณคือความหยั่งรู้วิธีทำอาสวะให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามคุณธรรมที่ปฏิบัติได้ต่อไป
    จึงเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกายว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้นคงมีอยู่แต่เฉพาะในกายโลกิยะทั้ง 8 เท่านั้น หาได้มีในพระธรรมกายด้วยไม่ และรู้แจ้งแทงตลอดในพระไตรลักษณ์ส่วนละเอียดด้วยญาณพระธรรมกายว่า กายโลกิยะทั้ง 8 นั้นเอง ที่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา เพราะมีอวิชชาเป็นรากเหง้าแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง ถ้าดับอวิชชาได้ ทุกข์ก็ดับหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดดับหรือขาดลง ทุกข์ก็ดับ เพราะความเป็นเหตุและผลของทุกข์ ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรม” นั้นขาดหมดตลอดทั้งสาย
    เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้ง ด้วยตา และ ญาณพระธรรมกายว่า กายโลกิยะทั้ง ๘ นั้น ตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์อย่างไรแล้ว ก็ย่อมเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกาย และ รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกาย ว่า พระธรรมกายมรรค ผล นิพพาน ชื่อว่า “พระนิพพานธาตุ” อันพระอริยเจ้า พระอรหันตเจ้าท่านได้บรรลุแล้ว ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งนี้เอง ที่กลับเป็นกาย นิจฺจํ สุขํ และ อตฺตา (แท้) ที่วิมุตติหลุดพ้น หรือ ว่าง (สูญ) จากกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่ว่างจากอัตตาโลกิยะและสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาโลกิยะนั้น หรือที่ว่างจากสังขาร จึงชื่อว่า “ว่างอย่างยิ่ง-ปรมํ สุญฺญํ” ด้วยประการฉะนี้
    ที่กล่าวข้างต้นนี้ เป็นวิธีพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม ในส่วนที่เป็นธาตุละเอียด ที่ตั้งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กัน เข้าไปข้างใน ถัดจากธาตุละเอียดของอริยสัจ ๔ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม
    สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนาที่ได้ถึงธรรมกายแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และ ธรรมในธรรม ทั้งของตนเองและของผู้อื่น และทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) จากสุดหยาบ (กายมนุษย์) ไปถึงสุดกายละเอียด
    โดยความเป็นธรรมอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒) และ ดับไป เป็นปัจจุบันธรรม ได้ ดังเช่นต่อไปนี้
    สำหรับผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายที่เจริญฌานสมาบัติให้จิตสงัดจากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา และทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับสมุทัยคือปหานอกุศลจิตของกายในภพ ๓ มีสติสัมปชัญญะ มีศีลสังวรและอินทรีย์สังวรอยู่เสมอ ย่อมสามารถพิจารณาเห็นเป็นปัจจุบันธรรม ทั้งที่ยังเป็นๆ อยู่ ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม ดังต่อไปนี้
    กายมนุษย์ละเอียด ซึ่ง เป็นกาย ณ ภายใน ของผู้ที่ปฏิบัติกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต ซอมซ่อ เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส พลอยให้กายมนุษย์หยาบ อันเป็นกาย ณ ภายนอก เศร้าหมองด้วย
    ย่อมเห็น เวทนาในเวทนา และ จิตในจิต ทั้ง ณ ภายนอก และ ทั้ง ณ ภายใน คือ ดวงเห็น-จำ-คิด-รู้ ของกายมนุษย์หยาบ และ ของกายมนุษย์ละเอียด เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส และ
    ย่อมเห็น ธรรมในธรรม อันมี “ดวงธรรม” ที่ทำให้เป็นกาย ๑ “ดวงศีล” ๑ ธาตุละเอียดของ “ทุกขสัจ” ๑ “สมุทัย” (ตัณหา) ๑ และ ภพภูมิ (ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม) ๑ อันมี เห็น-จำ-คิด-รู้ คือ “ใจ” ซ้อนอยู่ตรงกลางของกลางดวงธรรมในธรรมดังกล่าวทุกดวง มัวหมอง ไม่ผ่องใส เป็น “ทุคคติภพ” พลอยให้การดำเนินชีวิตของผู้นั้นเป็นไปไม่ดี คือ เป็น “ทุกข์” ไม่เป็น “สันติสุข” และ
    ย่อมสามารถพิจารณาเห็น กายมนุษย์ละเอียด ซึ่งเป็นกายในกาย ณ ภายใน ของผู้งดเว้น คือ ไม่ประกอบกายทุจจริต วจีทุจจริต และ มโนทุจจริต เป็นผู้มีศีลมีธรรม ประกอบด้วยทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น ผ่องใส ตามระดับภูมิธรรม เช่น
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ “มนุษยธรรม” กายมนุษย์ละเอียดก็ปรากฏผ่องใส
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ “เทวธรรม” คือประกอบด้วยหิริ โอตตัปปะ กายทิพย์ก็ปรากฏผ่องใส
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ “พรหมธรรม” คือประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม และรูปฌาน/อรูปฌาน กายรูปพรหม/อรูปพรหม ก็ปรากฏผ่องใส
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ “พุทธธรรม” ตั้งแต่โคตรภูจิตขึ้นไป “ธรรมกาย” ก็ปรากฏผ่องใสตามระดับภูมิจิต
    ธรรมในธรรมของผู้นั้น รวมทั้งเวทนาในเวทนา และ จิตในจิต ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) ของผู้นั้น ย่อมบริสุทธิ์ผ่องใส และ มีรัศมีปรากฏ เป็นสุคติภพ (ภูมิจิต) และสูงขึ้นไปเป็นโลกุตตรภูมิ ตามระดับภูมิธรรมและบุญบารมีของแต่ละท่าน
    พลอยให้การดำเนินชีวิตของท่านผู้นั้นเป็นไปด้วยดี มี “สันติสุข”
    แต่มีข้อพึงสังเกตว่า ผู้มีภูมิจิตสูงกว่า ย่อมสามารถเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ของผู้มีภูมิจิตต่ำกว่าได้ชัดเจน
    โดยนัยนี้ จึงกล่าวได้ว่า การเจริญสมถวิปัสสนาภาวนาถึงธรรมกาย ที่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านปฏิบัติ และได้สั่งสอนไว้ จึงมีสติปัฏฐาน ๔ คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) อย่างครบถ้วน อยู่ในตัวพร้อมเสร็จ ด้วยประการฉะนี้
    __________________
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,498
    วันนี้ วันพระ

    ขออนุโมทนาบุญ กับญาติโยมผู้เข้าปฏิบัติธรรมทุกวันพระ ทุกๆ ท่านด้วยน่ะครับ........



    [​IMG]
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...