อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,596
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,113
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,596
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,113
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    รักษากำลังใจอยู่เสมอ จิตตกได้เพราะผัสสะเวทนา แบ่งเงินทำบุญ ไม่ละเมิดศีล สร้างกำลังใจให้ตัวเองเสมอต่อธรรมารมณ์ที่มากระทบ สติอยู่ที่ธรรมปัจจุบัน ไม่ก่อบาปกรรม ทำกรรมดี อ่านให้มาก ถามให้มาก ปฏิบัติให้มาก วิมุติย่อมตามมา ก็มีความสุข
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,596
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,113
    "รู้ไม่จริงให้นิ่งไว้ก่อน"





    https://youtu.be/GEz6ImFLVJc







    10 มี ค 58 เช้า
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,596
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,113
    [​IMG]




    ...ปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ ที่ดับสูญไปเสีย ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยปรมัตถเทศนา ซึ่งมีมาในพระปรมัตถปิฏก ยกอุเทศในเบื้องต้นขึ้นแสดงก่อน เพื่อจะได้เป็นอุทาหรณ์แนะนำแก่ท่านทั้งหลายสืบไปเป็นลำดับๆ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา เริ่มต้นแห่งปรมัตถปิฎกนี้ว่า
    ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา ในพระอภิธรรมปิฏกนั้น กล่าวโดยความประสงค์แล้ว ถ้าจะกล่าวโดยอรรถอันลึกซึ้ง โดยปรมัตถ์ ก็จัดเป็น ๔ ประการ (๑) จิต (๒) เจตสิก (๓) รูป (๔) นิพพาน, ๔ ประการเท่านี้ พระพุทธศาสนามีปิฎก ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ที่ท่านทั้งหลายได้เคยสดับตรับฟังแล้วโดยมาก ในพระวินัยบ้าง พระสูตรบ้าง ในพระปรมัตถ์ไม่ค่อยจะได้ฟังนัก วันนี้จะแสดงในพระปรมัตถปิฎก เพราะเวลานี้วัดปากน้ำกำลังเล่าเรียนพระปรมัตถปิฎกอยู่ ควรจะฟังพระปรมัตถปิฎกนี้ให้ชำนิชำนาญ ให้เข้าเนื้อเข้าใจ จะได้จำไว้เป็นข้อวัตรปฏิบัติ เป็นธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงตรัส
    ในเริ่มแรกเริ่มเบื้องต้น ทรงตรัสในดาวดึงส์เทวโลก ได้ทรงตรัสพระปรมัตถปิฎกนี้ สนองคุณพระพุทธมารดา และแก่หมู่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่พากันมาสดับตรับฟัง ทรงตรัสอยู่ถ้วนไตรมาสสามเดือน เมื่อเวลารุ่งเช้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพุทธนิมิตให้ตรัสพระอภิธรรมปิฎก พระบรมครูทรงไปแสวงหาอาหารบิณฑบาตในอุตตรกุรุทวีป ไปฉันในป่าหิมพานต์ พระสารีบุตรเถรเจ้าไปปฏิบัติสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกๆ วัน แล้วพระองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎกนั้นแก่พระสารีบุตร พระสารีบุตรก็นำเอาพระอภิธรรมปิฎกนั้นมาแก่มนุษย์ มนุษย์ทั้งหลายจึงได้สดับฟัง
    เมื่อพระองค์ทรงตรัสเทศนาจบพระปรมัตถปิฎกแล้ว เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกที่เมืองสังกัสสนคร ในคราวนั้นพระองค์ทรงเปิดโลก ให้สัตว์นรก เทวดา มนุษย์ เห็นกันและกัน พร้อมกัน เห็นปรากฏเป็นมหัศจรรย์ ในครั้งนั้นพระพุทธาภินิหารเป็นมหัศจรรย์ สรรพสัตว์เหล่านั้นตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า อยากเป็นพระพุทธเจ้า จนกระทั่งมดดำแดง อยากเป็นพระพุทธเจ้ากันทั้งนั้น อันนี้เป็นความมหัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า เพราะเหตุนั้น ที่ท่านทั้งหลายจะพึงได้สดับในเนื้อความของปรมัตถปิฎก ณ เวลาวันนี้ นับว่าเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ ดังจะแสดงต่อไป
    ตามวาระพระบาลีที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา จตุธา ปรมตฺถโต จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมิติ สพฺพถาติ แปลว่า เนื้อความในพระปรมัตถปิฎกนั้น ถ้าจะกล่าวโดยเนื้ออันยิ่งใหญ่แล้ว กล่าวโดยปรมัตถ์ จัดเป็น ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ๔ ประการนี้เท่านั้นเรียกว่า พระปรมัตถปิฎก เป็นเนื้อความของพระปรมัตถปิฎกทีเดียว จำไว้ให้มั่น จิตถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง เจตสิก ถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง ๕๒ ดวง นี่ส่วนเจตสิก รูปถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง ๒๘ รูป มหาภูตรูป ๔, อุปาทายรูป ๒๔ รวมเป็น ๒๘ นิพพานแยกออกไปเป็น ๓ คือ กิเลสนิพพาน ขันธนิพพาน ธาตุนิพพาน นิพพานแยกเป็น ๓ ดังนี้
    วันนี้จะแสดงในเรื่อง จิต เป็นลำดับ จิต ๘๙ ดวง หรือจิต ๑๒๑ ดวง ท่านจัดไว้ดังนี้ อกุศลจิต ๑๒ ดวง อเหตุกจิต ๑๘ ดวง กามาวจรจิต ๒๔ ดวง รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง และโลกุตตรจิต ๘ ดวง นี่เป็นจิต ๘๙ ดวง จำไว้เสียให้มั่น คือ อกุศลจิต ๑๒ ดวง อเหตุกจิต ๑๘ ดวง ๑๘ กับ ๑๒ รวมกันเป็น ๓๐ กามาวจร ๒๔ รวมกันเข้าเป็น ๕๔ ดวง รูปาวจรจิต ๑๕ รวมกันเข้าเป็น ๖๙ ดวง อรูปาวจรจิต ๑๒ รวมกันเข้า เป็น ๘๑ ดวง โลกุตตรจิต ๘ ดวง รวมเข้าเป็น ๘๙ ดวง ดังนี้ นี่โดยย่อ ถ้าโดยพิสดาร ต้องแยกโลกุตตรจิตออก ยกฌานขึ้นรับรองจิตทั้ง ๘ ดวงนี้ คงเหลือจิต ๘๑ ดวง จิต ๘๙ ดวง ยกเอาโลกุตตรจิต ๘ ดวงออกเสีย ยกฌานทั้ง ๕ ขึ้นเป็นที่ตั้ง จิตเดินในฌานทั้ง ๕ นั้น ฌานละ ๘ ดวง คูณกับ ๕ เป็น ๔๐ ดวง จิต ๘๑ ดวงเป็นโลกิยจิต ยกเอาโลกุตตรจิต ๔๐ ดวง มาบวกกันเข้า ๘ ก็รวมเป็นจิต ๑๒๑ ก็จิต ๘๑ ดวงนั่นเอง แต่ว่ายกเอาโลกุตตรจิต ๘ ดวง ออกเสีย ถ้าว่าเอาโลกุตตรจิตมาเพียง ๘ ดวง ก็เป็นจิต ๘๙ ดวง ถ้าหากว่าโลกุตตรจิต ๘ ดวงนั้นแยกพิสดารออกไปตามฌานทั้ง ๕ ก็เป็น ๑๒๑ ดวง นี่รู้จักแล้วว่าจิตมีเพียงเท่านี้ จะชี้แจงแสดงจิตเป็นลำดับไป ให้จำไว้เป็นหลักฐานเป็นประธาน
    ต่อไปนี้จะแสดงคัมภีร์ปรมัตถ์ที่เป็นหลักเป็นประธานให้เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว เพราะเป็นเนื้อธรรมจริงๆ ที่เราได้ยินได้ฟังเข้าเนื้อเข้าใจแล้วนั้นยังไม่ถึงเนื้อธรรม เมื่อถึงจิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงล่ะ จงตั้งอกตั้งใจฟัง ยาก ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของละเอียดด้วย ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ไม่ใช่อยู่กับคนที่มีกิเลสหนาปัญญาหยาบ ต้องมีกิเลสบาง ปัญญาละเอียดทีเดียว จึงจะฟังเข้าเนื้อเข้าใจได้ ถ้าจะเทียบละก้อ ต้องเข็มเล็กๆ ด้ายเส้นเล็กๆ เย็บตะเข็บผ้าจึงจะละเอียดได้ ถ้าเข็มโตไป ด้ายเส้นโต จะเย็บตะเข็บผ้าให้เล็กลงไปไม่ได้ ฉันใดก็ดี ปรมัตถปิฎกนี้เป็นของละเอียด ต้องปัญญาละเอียดไปตามกัน จึงจะฟังเข้าเนื้อเข้าใจ เหตุนั้นจงตั้งใจฟังให้ดี
    ในอกุศลจิต ๑๒ ดวงนี้นั้น แบ่งออกเป็น ๓ จำพวก โลภมูล ความโลภ มี ๘ ดวง โทสมูล ความโกรธมี ๒ ดวง โมหมูล ความหลงมี ๒ ดวง ๘ กับ ๔ รวมเป็น ๑๒ ดวง นี้อกุศลจิต อกุศลจิตนี้แหละที่สากลโลก ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ที่จะทำความชั่วร้ายไม่ดีไม่งามก็เพราะอกุศลจิต ๑๒ ดวงนี้แหละ ไม่ใช่ทำด้วยอย่างอื่นเลย ทำด้วยอกุศลจิต ๑๒ ดวงนี้ทั้งนั้น ทำชั่วน่ะ เราต้องรู้ตัวเสีย ให้เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว คำว่าที่เรียกว่าจิตน่ะมันเป็นดวงๆ ที่จะจัดนี้มีถึง ๑๒ ดวง ดังนี้คือ

    จิตโลภ จัดเป็น ๘ ดวง
    จิตที่เกิดพร้อมด้วยความยินดีมาก ที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความ เห็นผิด และเกิดขึ้นตามลำพัง นี่ดวง ๑
    จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือ ชักจูง นี้ดวง ๑
    จิตที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดโดยลำพังนี้ดวง ๑ นี้ดวงที่ ๓
    จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้น หรือชักจูง นี้อีกดวง ๑ รวมเป็น ๔ ดวง
    จิตที่เกิดประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้น โดยลำพัง นี้ดวง ๑ เป็นดวงที่ ๕
    จิตที่ประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดย ถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง ๑ เป็นดวงที่ ๖
    จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดย ลำพัง นี้ดวง ๑ เป็น ๗ ดวง
    จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดโดย ถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง ๑ เป็น ๘ ดวง
    นี้ชั้นหนึ่ง ๘ ดวงนี้เป็นส่วนโลภะ ความอยาก

    จิตโกรธ จัดเป็น ๒ ดวง
    จิตโกรธเกิดขึ้นตามลำพัง ดวง ๑
    จิตโกรธเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง ๑
    จิตหลง ก็มี ๒ ดวง
    จิตหลงเกิดขึ้นโดยความสงสัย ดวง ๑
    จิตหลงเกิดขึ้นโดยความฟุ้งซ่าน ดวง ๑
    รวมเป็น ๑๒ ดวงด้วยกัน นี้เป็นอกุศลจิต ๑๒ ดวงเท่านี้ ฟังยากไหมล่ะ ยากจริงๆ ไม่เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว ฟังเหมือนบุรุษคนหนึ่งนั่งกินข้าวอยู่ทีละคำๆ มันก็อิ่มเป็นลำดับขึ้นไป บุรุษคนหนึ่งนั่งกินลมอยู่เป็นคำๆ เข้าไป พอเลิกแล้วไม่อิ่มสักนิด อ้ายกินข้าวกินลมมันลึกซึ้ง อย่างนี้จริงไหม นี้ฟังเรื่องปรมัตถ์เหมือนกินลม ไม่มีเนื้อมีหนังเลย ไม่อิ่มไม่ออกเลยทีเดียว เห็นไหมล่ะ แต่รสชาติอัศจรรย์นักนะ อุตส่าห์ตั้งอกตั้งใจฟัง
    จิตดวงที่ ๑ ที่ประกอบด้วยความยินดีมาก จิตดวงนี้เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมาก และประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง จิตดวงนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร นี่ต้องอย่างนี้ล่ะ จึงจะมีรส ค่อยมีรสหน่อย เราจะต้องพินิจพิจารณา หากว่าจิตของเราเองมันเกิดขึ้น มีความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง เออ อ้ายประกอบด้วยความเห็นผิดน่ะ เห็นอย่างไร ลักษณะเห็นผิดน่ะเหมือนเรายินดีมากในสิ่งที่ผิด เมื่อเราเห็นทรัพย์เข้าก้อนหนึ่ง ไม่ใช่ของเรา มันเป็นของเขา ก็รู้เหมือนกันว่าเป็นของเขา แต่มันอยากได้เหลือทน ทรัพย์ก้อนนั้นมันใหญ่พอประมาณอยู่ ถ้าได้เข้าแล้วมันเลี้ยงชีพได้ตลอดสาย นับเป็นล้านๆ หรือนับเป็นแสนๆ ทีเดียว เมื่อไปเห็นทรัพย์เข้าเช่นนั้นแล้ว เราไม่ได้คิดไว้เลยว่าจะเอาทรัพย์ก้อนนั้น หรือจะขโมยหรือจะลักเขา ไม่ได้คิดเลย พอไปเห็นทรัพย์ก้อนนั้นเข้า ในที่ที่ควรจะได้ เจ้าของเผลอ พอเห็นทรัพย์เข้าเท่านั้น ใจมันปลาบปลื้มยินดีอย่างชนิดปล่อยชีวิตจิตใจทีเดียวอย่างนี้ ความยินดีมากมันเกิดขึ้นเองแล้ว จิตที่เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมากนั่นแหละ นี่ทรัพย์ก้อนนี้เราหยิบเอาเสีย ธนบัตรสักแสนหนึ่งไม่เท่าไร ถ้าใบละหมื่นก็ ๑๐ ใบ เท่านั้น ใบละพันๆ ก็ ๑๐๐ ใบเท่านั้น เป็นแสนหนึ่งเสียแล้ว เอ นี่จะเอาหรือไม่เอา นี่ความเห็นผิดเกิดขึ้น เอาได้ เราก็รวย พอเห็นผิดเกิดขึ้นเช่นนั้น ไม่ต้องมีใครชักชวนกระตุ้นละก้อ คว้าเอาทรัพย์ของเขาเข้าทีเดียว คว้าทีเดียวซ่อนทีเดียว นี่สำเร็จสมความปรารถนาของตัวแล้ว เอาไปได้สำเร็จ สมเจตนาด้วย และไม่มีใครรู้เห็นด้วย ทำสนิททีเดียว นี่แหละจิตดวงนั้นแหละเกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมาก และประกอบด้วยความเห็นผิดด้วย มันเห็นว่าของเขา ไม่ใช่ของเรา นี่มันไปลักของเขานี้จะไม่ผิดอย่างไรเล่า มันก็ผิดนะซี่ เกิดขึ้นตามลำพังของตัว ไม่มีใครกระตุ้นหรือชักจูง ไม่ว่าในป่าหรือในที่ลับใดๆ หรือในที่มืดใดๆ ก็ตามเถอะ เอาทรัพย์ของเขามาได้สมเจตนา ไม่แต่เพียงแสนหนึ่งนะ สตางค์หนึ่งก็ดี สองสตางค์ก็ดี ถ้าว่าเป็นของเขาละก้อ แบบเดียวกัน อย่างนี้ทั้งหมด ถ้าว่าจิตเกิดขึ้นโดยความยินดีเช่นนั้น ถือเอาของเขามาเช่นนั้น นี่แหละโลภมูลดวงหนึ่ง นี้เป็นดวงต้นเกิดขึ้น เป็นอกุศลทีเดียว เราต้องไปนรกแน่ ต้องได้รับทุกข์แน่ เชื้อจิตดวงนี้ ต้องได้รับทุกข์แน่ รับบาปแน่ทีเดียว นี่ที่จะทำบาปลงไปชัดๆ มันปรากฏแก่ตนดังนี้ นี่ดวงหนึ่ง
    ดวงที่ ๒ ต่อไป จิตประกอบด้วยความยินดีมาก และเห็นผิดอีกเหมือนกัน คือ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง คราวนี้เห็นทองคำเข้าก้อนหนึ่ง หรือไปเห็นสายสร้อยเข้าเส้นหนึ่ง ราคานับแสนทีเดียว โดยเป็นของหลวงด้วย ราคานับแสนๆ ไม่ใช่ของราษฎร์ แต่ว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดเขาเอามาซ่อนไว้ ไปเห็นเข้า หรือตกหล่นอยู่ อย่างหนึ่ง อย่างใดก็ตามเถอะ ไปเห็นเข้า รู้ทีเดียวนี่ไม่ใช่ของธรรมดา ราคามากทีเดียว เมื่อไปเห็นเข้า เช่นนั้นไม่กล้า เพราะรู้ว่าเป็นของหลวง มันไม่กล้าลักของหลวง กลัวติดคุกติดตะรางขึ้นมาเสียแล้ว ก็มากระซิบกับเพื่อนกัน เออ! ข้าไปพบของสำคัญไว้ที่นั่นแน่ะทำอย่างไรนี่ อยู่ที่นั่นแน่ะ ข้าไปพบเข้าแล้วจะทำอย่างไร อ้ายเพื่อนก็ว่า ทำไมไม่เอาเสียล่ะ เพื่อนกระตุ้นเข้าแล้วว่าทำไมไม่เอาเสียล่ะ พอว่าเท่านั้นแหละก็แพล็บไปเอามาสมความปรารถนา นี่ถูกกระตุ้น หรือชักจูงเข้าแล้ว ไปเอาของของเขามาแล้ว โดนอกุศลเข้าอีกดวงหนึ่ง นี้เป็นอกุศลสำคัญ นี้แหละเป็นโลภมูล เกิดจากความโลภ เป็นอกุศลร้ายกาจอย่างนี้หนา นี้ว่าถึงลักถึงขโมย ไม่ใช่ ลักไม่ใช่ขโมยอย่างเดียว ที่ชั่วละก้อ ทั้งนั้นแหละ แบบเดียวกัน ชักตัวอย่างให้เข้าใจ ให้เข้าใจ ว่าดวงจิตดวงนี้มันเป็นอย่างนั้น ให้รู้จักหลักนี้
    ดวงที่ ๓ จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง ยินดีมากเมื่อไปเห็นสิ่งของของคนอื่นที่มีค่าเข้า ที่มีค่ามาก จะเป็นเงินทองหรือแก้วแหวนชนิดใดๆ หรือผ้านุ่งผ้าห่มชนิดใดๆ ก็ตามเถอะ เป็นวัตถุชนิดหนึ่งชนิดใดใช้ได้ จนกระทั่งสตางค์เดียวก็ใช้ได้ ใช้ได้ทั้งนั้น เมื่อไปเห็นเข้าแล้วก็รู้ว่าของนี่เจ้าของเขาพิทักษ์รักษาอยู่ เขาดูแลอยู่ เราไปพบทองเข้าหนักขนาดพันบาท นี่ก็มากอยู่หนักขนาดพันบาท แต่ว่าทองนี้ ถ้าเราเอาไปได้ เราก็ใช้ได้นาน ลงทุนลงรอนได้ ถ้าเราเอาไปไม่ได้เราก็จนอยู่แค่นี้ ถ้าเราเอาไปได้ละก้อ ตั้งเนื้อตั้งตัวได้เชียว ถ้าหากเขาจับเราได้ก็ต้องเข้าคุกตะรางไป ถ้าเขาจับเราไม่ได้ล่ะ เราก็ตั้งเนื้อตั้งตัวได้ แต่ว่าไม่มีความเห็นผิดอะไร เห็นว่าถ้าเราเอาไปได้ก็เป็นประโยชน์แก่เรา เราไม่เอาไปก็ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เข้าใจว่าจะหลบหลีกพ้น แต่เราต้องได้รับผลชั่วเพราะเราขโมยเขา จะทำอย่างไรได้ ก็มันจนนี่ มันก็ต้องขอไปทีสิ คว้าทองนั้นเข้าก้อนหนึ่งโดยความยากจน มาเป็นของตัวแล้ว ไม่มีใครกระตุ้นหรือชักจูงเลย คิดตกลงในใจของตัวเอง เอาของของเขาไปดังนี้ แล้วก็รู้ด้วยว่าเป็นบาปเป็นกรรมเป็นอกุศลเป็นโทษ เห็นก็ไม่ใช่เห็นผิด เห็นถูกนี่แหละเห็นว่าเป็นบาปเป็นกรรมเป็นโทษ แต่ว่ามันจนเต็มที มันก็ต้องขอไปที ใจกล้าหน้าด้านเอาทีหนึ่ง มันก็เป็นอกุศลจิตเหมือนกัน อกุศลอีกนั่นแหละ ลักเขาขโมยเขาไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เห็นถูก นี้เป็นจิตอีกดวงหนึ่ง ดวงที่ ๓
    ดวงที่ ๔ ก็แบบเดียวกันอย่างนั้นอีก จิตที่ประกอบด้วยความอยากมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด แบบเดียวกันกับเห็นทองอย่างนั้นแหละ เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง ทีนี้เราเห็นเพชรสักเม็ดหนึ่งราคานับล้านแต่ไม่ใช่ของเราแบบเดียวกัน เออ! เมื่อไปเห็นเพชรเข้าเช่นนั้นแล้ว จะตกลงใจอย่างไรล่ะ ราคามันมากขนาดนี้เมื่อไรจะพบกันล่ะ แต่ยังไม่กล้า ที่จะเอาเพชรเม็ดนั้นด้วยกลัวเกรงอันตรายหรือกลัวติดคุกติดตะราง นำเอาเรื่องไปบอกพวกเพื่อนๆ พวกเพื่อนๆ บอกว่าทำไมจึงไม่เอา เอ็งนี่มันโง่เกินโง่อย่างนี้นี่ พอเพื่อนว่าเข้าเท่านั้น ก็ไปลักเพชรเม็ดนั้นได้สมความปรารถนา เอาไปเก็บไว้สมเจตนาของตน นี้ต้องมีผู้กระตุ้น หรือชักจูงเป็นจิตดวงที่ ๔
    สี่ดวงนี้เป็นโลภมูลทั้งนั้น โลภมูลอีกสี่ดวงต่อมาเป็น ๘ ดวง
    ดวงที่ ๕ จิตที่เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ แต่ว่าประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง จิตดวงนี้เกิดขึ้นด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่มีความยินดีมากมายใหญ่โตนัก ได้ก็เอา ไม่ได้ก็แล้วไป พอสมควรแต่ว่ากิริยาแบบเดียวกัน นี่เป็นจิตดวงที่ ๕
    ดวงที่ ๖ จิตที่เกิดขึ้นด้วยความยินดีพอประมาณแบบเดียวกัน และประกอบด้วยความเห็นผิด ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูง จึงจะสำเร็จสมความปรารถนา ก็แบบเดียวกันอย่างที่ได้อธิบายมาแล้ว แต่ว่ามันไม่ยินดีมากนัก ดวงก่อนยินดีมาก ดวงหลังยินดีพอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นเพราะความอยากได้พอประมาณ เช่น ไปเห็นทองหรือเพชรดังกล่าวแล้วแบบเดียวกัน ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงจึงจะสำเร็จความปรารถนา นี้เป็นดวงที่ ๖
    ดวงที่ ๗ จิตที่อยากได้พอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นมีความอยากได้พอประมาณ แต่ว่าไม่มีความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยลำพัง ก็แบบเดียวกัน ดังอธิบายมาก่อน นี่เป็นดวงที่ ๗
    ดวงที่ ๘ จิตที่อยากได้พอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความอยากได้พอประมาณ ไม่มีความเห็นผิด แต่ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูง จึงจะสำเร็จสมความปรารถนาแบบเดียวกันนั่นแหละ นี้เป็นดวงที่ ๘
    จิต ๔ ดวงก่อนกับ ๔ ดวงหลัง ไม่ได้ต่างจากกัน สี่ดวงก่อน จิตที่เกิดขึ้นด้วยความอยากมากยินดีมาก สี่ดวงหลังนี่ยินดีพอประมาณเท่านั้น เมื่อรู้จักจิต ๘ ดวงนี้แล้ว มันก็อยู่ในตัวของเรานี่เองเกิดขึ้นแก่เราเอง เราเคยพบมานี่ อ้ายพวกนี้ เคยพบเคยปะอยู่บ้าง แต่ว่าเราไม่รู้จักมัน วันนี้เราจะรู้จักมันล่ะ พอมีรสบ้าง แต่ว่ายังมีรสน้อยเต็มที กว้างกว่านี้ ยังจะมีรสมากว่านี้อีก แต่ว่าให้รู้จักเสียชั้นหนึ่งก่อนโดยย่อ
    จิตที่เป็นอกุศล จิตโทสะ มี ๒ ดวง
    จิตโทสะดวงที่ ๑ เกิดขึ้นโดยลำพัง อ้ายนี่อกุศลจิต เกิดขึ้นโดยลำพังมันเป็นอย่างไร อกุศลจิตเกิดขึ้นโดยลำพัง เช่น เราไปในสถานที่ใดๆ ก็ช่าง อยู่ในบ้านก็ช่าง ไม่มีใครชักจูง ไม่มีอะไรทั้งหมด ใจมันโกรธ จิตดวงนี้เป็นจิตโกรธ มันโกรธขึ้นไม่มีใครทำอะไรเลย อยู่ดีๆ มันก็พลุ่งพล่านโกรธขึ้นอย่างนั้น ไม่มีใครว่าไม่มีใครทำอะไรทั้งหมด โกรธขึ้นมาก็มีอาการต่างๆ ใครจะพูดกระทบกระเทียบเข้านิดๆ หน่อยๆ ไม่ได้ก็แปลบๆ ขึ้นมาทีเดียว นั่นมันเรื่องอะไร ไม่มีใครรู้เรื่องของตัวเลย มันโกรธอยู่ในใจอย่างนั้นแหละ นี่โกรธขึ้นโดยลำพัง ไม่มีใครชักจูง ไม่มีว่ากล่าวกระทบกระเทียบเลย มันเกิดขึ้น มันพลุ่งพล่านอยู่ภายในของตัวเอง อ้ายนี้แหละเขาเรียกว่าโทสจริต นี่แหละโทสจริตมันเกิดขึ้นอย่างนี้แหละ เกิดขึ้นโดยลำพัง
    จิตโทสะดวงที่ ๒ มันเกิดขึ้นโดยมีคนชักจูงหรือกระตุ้นเตือน มีคนชักจูงหรือกระตุ้นขึ้น อ้ายนั่นมันยั่วให้โกรธน่ะซี สามียั่วให้ภรรยาโกรธบ้าง ภรรยายั่วให้สามีโกรธบ้าง หรือชาวบ้านยั่วให้โกรธบ้าง คนโน้นคนนี้ยั่วให้โกรธบ้าง ไม่ได้เกิดขึ้นโดยลำพัง มีคนยั่วให้โกรธ เอารูปที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอาเสียงที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอากลิ่นที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอารสที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง ยั่วเข้ามันก็โกรธน่ะซี่ นั่นแหละมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงให้โกรธขึ้น
    จิต ๒ ดวงนี้ก็ร้ายเหมือนกัน จิต ๒ ดวงนี้เกิดขึ้นโดยลำพังดวง ๑ เกิดขึ้นโดยมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงดวง ๑ จิตเหล่านี้พออธิบายง่ายหรอก จิตโกรธนี่น่ะ
    จิตหลงนี่น่ะลึกซึ้งนัก จิตหลงมี ๒ ดวง
    จิตหลงดวงที่ ๑ เกิดขึ้นโดยสงสัยลังเลไม่ตกลงใจ อ้ายนี่สำคัญอยู่ จิตหลงเกิดขึ้นโดยสงสัยลังเลไม่ตกลงในใจ จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง ในการครองเรือนของตนก็ดี จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง หรือไม่ได้ครองเรือนก็ดี จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง ลังเล ไม่ตกลงในใจอย่างนั้นแหละร่ำไป อย่างนี้เขาเรียกว่าจิตหลง จะทำอะไรก็ไม่แน่นอนลงไป เข้าทำราชการก็ไม่แน่นอน แต่จะทำหรือไม่ทำก็ไม่แน่นอน ทำส่วนตัวก็ไม่แน่นอน ทำนา ทำไร่ ไม่แน่นอนทั้งนั้น ไม่ตกลงในใจ ถึงทำกิจการอันหนึ่งอันใดก็ไม่ตกลงในใจทั้งนั้น เมื่อสั่งการงานไม่ตกลงในใจอย่างนี้ มันลังเลอยู่เช่นนี้ มันก็ทำอะไรไม่ได้ มันก็หลงงมงายอยู่เช่นนั้น นี่เขาเรียกว่าจิตหลงมันเกิดขึ้น ลังเลไม่ตกลงในใจ สิ่งใดที่ลังเลไม่ตกลงในใจแล้ว พูดออกไปก็ดี ทำลงไปก็ดี มีผิดกับถูกสองอย่างเท่านั้น ถูกก็มี ผิดก็มี เพราะมันลังเล ไม่ตกลงในใจเสียแล้ว การที่จิตลังเลไม่ตกลงในใจน่ะ เช่น เรารักษาศีลอย่างนี้แหละไปเจอ ทรัพย์เข้าหรือสัตว์เข้าตัวใหญ่ๆ ที่ชอบอกชอบใจที่มีค่ามาก เราฆ่าลงไปเป็นอาหารของเราได้นาน เราลักเอาไป ก็เป็นอาหารได้นาน แต่เราไม่ตกลงในใจ เราจะรักษาศีลดี หรือรักชีวิตดี จะลักเขาดีหรือจะฆ่าเขาดี หรือว่าจะไม่ลักไม่ฆ่าเขาดี ถ้าไม่ลักไม่ฆ่าเขาเราก็อด เราก็จน ถ้าลักเขาฆ่าเขาได้ เราเลิกอดเลิกจน ลังเลไม่ตกลงในใจอย่างนี้ นี่เขาเรียกว่าจิตหลง มันระคนจิตหลงเข้าคละอยู่ด้วย ถ้าทำลงไปด้วยอำนาจจิตหลงอย่างนั้น ถ้าทำผิดมันก็ผิดไป ถ้าทำถูกมันก็ถูกไป แต่ว่าในที่นี้ประสงค์เอาที่ผิดเพราะว่าเป็นอกุศลจิต ไม่ใช่กุศลจิต ประสงค์ที่ผิดฝ่ายเดียว เรียกว่าลังเลไม่ตกลงในใจ นี้เป็นจิตหลงดวง ๑
    จิตหลงดวงที่ ๒ อาการทำโดยฟุ้งซ่านน่ะ อ้ายนี่มันครึ่งบ้าครึ่งดี ลูกเต้าใกล้เคียง เหวี่ยงปึงลงไปให้ก็ตายเลย กำลังมันไม่สบายอกสบายใจ ทำโดยฟุ้งซ่าน ด้วยหลงเหมือนกัน เหมือนคนทำโดยฟุ้งซ่านทำมันแรงเกินไป ไม่ปรารถนาให้ตายหรอก มันไปตายเข้าก็เลยติดคุก นั่นเพราะทำด้วยจิตฟุ้งซ่าน นี้เป็นจิตหลงดวง ๑
    จิตหลง ๒ ดวงนี้สำคัญมาก ต้องคอยระแวดระวังสำคัญอยู่ ไม่ให้ไปทางถูก ให้ไปทางผิดร่ำไป
    นี้จิต ๑๒ ดวงนี่แหละมันควบคุมเราอยู่ ให้เราไปเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ เราตกต่ำเลวทรามลงได้ด้วยประการใดๆ ก็เพราะจิต ๑๒ ดวงนี่เอง ต้องควบคุมไว้ให้ดี ต้องเล่าเรียนเสียให้ชัดทีเดียว ถ้าว่าเล่าเรียนเสียให้ชัดแล้ว รู้หน้ารู้ตารู้ขอบรู้เขตของมันแล้ว มันจะข่มเหงเราไม่ได้ ถ้าเราไม่รู้เท่าทันมันเสียแล้วมันก็จะข่มเหงเราตามชอบใจ ในตัวของเรานี้ไม่ใช่ที่อื่น นี่แหละมันเนื้อหนังปรมัตถ์ทีเดียว ฝ่ายความชั่วล่ะ เป็นเนื้อหนังของพระอภิธรรมปิฎกทีเดียว จิต ๑๒ ดวงนี่แหละ
    ที่แสดงวันนี้แสดงแต่เพียง ๑๒ ดวง เวลาไม่เพียงพอ แล้วต่อไปจะแสดงเป็นลำดับไป อเหตุกจิต กามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรวิต พอหมดเรื่องจิตแล้วละก็จะแสดงรูป ๒๘ มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔ หมดรูปแล้วจะแสดงนิพพาน ให้เข้าเนื้อเข้าใจแตกฉานใน ๔ อย่างนี้ให้ได้ เพราะวัดปากน้ำเริ่มลงมือเล่าเรียนกันแล้วใน ๔ อย่างนี้ ภิกษุสามเณรเล่าเรียนกันแล้ว ที่แสดงนี้ก็เป็นอุปการะแก่ภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกาที่กำลังเล่าเรียนกันอยู่นี้ กำลังศึกษาอยู่ มีครูสอน พระทิพย์ปริญญาเป็นผู้สอนปรมัตถปิฎกนี้ ผู้สอนปรมัตถ์ ไม่ใช่เล่นๆ หนา ต้องมีภูมิพอ ต้องมีการศึกษาพอ ถ้าไม่มีการศึกษาพอละก้อ ลูกศิษย์สู้ครู ถามกันเจ๊งแน่ทีเดียว ไม่ต้องสงสัยละ เพราะเป็นของที่ลึกซึ้งมาก ถามเจ๊งแน่ ถามติดแน่ทีเดียว เพราะฉะนั้นอุบาสกอุบาสิกาควรตั้งอกตั้งใจศึกษาเถิด
    ปรมัตถปิฎกเป็นเนื้อหนังพุทธศาสนาจริงๆ ส่วนวินัยปิฎกเป็นข้อห้ามข้อปรามไม่ให้ทำชั่วด้วยกายด้วยวาจาเท่านั้น ส่วนสุตตันตปิฎก เป็นสายบรรทัด เป็นตัวอย่างว่าคนนั้นทำอย่างนี้เป็นสุขอย่างนี้ คนนั้นทำดังนี้ พ้นจากทุกข์ พ้นจากไตรวัฏ ไปสู่นิพพานอย่างนี้ นั่นเป็นหน้าที่ของสุตตันตปิฎก ไม่ใช่เนื้อหนังของธรรม ส่วนปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ ที่ดับสูญไปเสีย ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้


    จบเทศนา โดยหลวงปู่สดฯ เรื่อง พระปรมัตถปิฎก




    ............................................
     
  6. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    เมื่อเช้าตรู่ เห็นข้อความคุณฟางว่าน อ่านเสร็จแล้วก็รู้สึกชื่นใจมากๆครับ ชื่นใจจริงๆ

    พอสักครู่นึง ก็เห็นความชื่นใจนั้นดับลง เอ้า ไม่เป็นไรครับ ถือซะว่า ผมบอกให้รู้ก็แล้วกัน
     
  7. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    จำไว้ให้ดีนะครับ เวลาที่เรารู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้รู้ไปแบบนั้นครับ รู้โดยที่ไม่ตกแต่งในสิ่งใด เพื่อให้เป็นอะไร

    ซึ่งเป็นการรู้ ที่ตรงทางตรงธรรมครับ อย่าไปตกแต่ง และ ให้ค่าในสิ่งที่ตนรู้ แม้กระทั่งให้ค่าในพระธรรม

    คัมภีร์เพราะการให้ค่านั้น จะกลายเป็นความยึดติดอีกทีนึงครับ...สัพเพ ธัมมา อนัตตา แม้นธรรมทั้งหลาย

    ย่อมไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,596
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,113

    การหยิบยกพุทธพจน์มาอ้างอิง ไม่ตรงกับสถานะการณ์เดียวกับที่พระท่านกล่าวตอนนั้น ทำให้ความหมายผิดไปมาก


    โดยเฉพาะที่คุณมังกรฯกล่าว" สัพเพ ธัมมา อนัตตา " แล้วตีความหมายว่า
    " แม้ธรรมทั้งหลายย่อมไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน " นั้น


    ตอนนั้น พระพุทธองค์กำลังกล่าวถึงเรื่องขันธ์ห้า ( เป็นภาษาบาลี ) ว่าเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง แล้วมีประโยคนี้ตบท้ายว่า สัพเพธัมมาอนัตตา ซึ่งตามหลักแล้ว ธัมมาในที่นี้ คือ ธรรมอันเป็นไตรลักษณ์ที่ไม่เทียง (ขันธฺ์ห้า ) ไม่ได้เหมาเอาไปถึง ธรรมที่ที่ช่สิ่งปรุงแต่ง ไม่ได้เหมาไปถึงธรรมมที่เหนือการเวียนว่ายตายเกิด พลาดกันมาก


    -----------------------------


    <TABLE style="TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT: 12px Tahoma, Verdana, Arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; LETTER-SPACING: normal; COLOR: rgb(0,0,0); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center><TBODY><TR><TD style="FONT: 16px/20px Tahoma, Verdana, Arial, sans-serif" class=postbody vAlign=top><HR style="BORDER-BOTTOM: rgb(204,204,204) 0px solid; BORDER-LEFT: rgb(204,204,204) 0px solid; HEIGHT: 0px; BORDER-TOP: rgb(204,204,204) 1px solid; BORDER-RIGHT: rgb(204,204,204) 0px solid">
    "....รูปัง อะนิจจัง,
    รูปไม่เที่ยง;

    เวทนา อะนิจจา,
    เวทนาไม่เที่ยง;

    สัญญา อะนิจจา,
    สัญญาไม่เที่ยง;

    สังขารา อะนิจจา,
    สังขารไม่เที่ยง;

    วิญญานัง อะนิจจัง,
    วิญญาณ ไม่เที่ยง;

    รูปปัง อนัตตา,
    รูปไม่ใช่ตัวตน;

    เวทะนา อนัตตา
    เวทนาไม่ใช่ตัวตน;

    สัญญา อนัตตา
    สัญญาไม่ใช่ตัวตน;

    สังขารา อนัตตา,
    สังขารไม่ใช่ตัวตน;

    วิญญาณัง อนัตตา,
    วิญญาณ ไม่ใช่ตัวตน;

    สัพเพ สังขารา อนิจจา,
    สังขารทั้งหลาย ทั้งปวง ไม่เที่ยง;

    สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ,
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้...."





    เป็นบางส่วนที่คัดลอกมาจากบท "สังเวคปริกิตตนปาฐะ"
    อันกล่าวอ้างถึงพระธรรม
    ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงให้เราได้รู้เกี่ยวกับธรรมที่เป็นเครื่องปรุงแต่ง (ขันธ์ห้า) ซึ่งตกในอาณัติแห่ง
    ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


    แต่คนจำนวนมากก็พลาด เพราะไม่เข้าใจหลักการอ่านและแปล ขยายความของพระบาลีมาเป็นไทย น้อมเอาไปตามความคิด ความนึกและทิฐิตน

    บางรายหนักไปจนถึงปรามาส จาบจ้วง ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญให้เป็นอกุศลวิบากกรรมกับตนไป โดยไม่รู้ตัว

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 มิถุนายน 2016
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,596
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,113
    เรื่อง "นิพพานเที่ยง"

    "สิ้นสมมติแล้ว นิพพานเที่ยง จิตพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ จิตพระอรหันต์ทุกองค์ ทรงธรรมที่ว่า นิพพานเที่ยง"

    (วิสัชนาธรรมโดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

    ลูกศิษย์ : หลวงตาคะ คำว่า นิพพานเที่ยง ถูกหรือผิดคะ

    หลวงตา : ถูกหรือผิดมันมีความหมายอย่างไรบ้าง มันมีแง่อยู่นั่นน่ะ

    ลูกศิษย์ : คือมันถูกหรือไม่ล่ะคะ นิพพานเที่ยง

    หลวงตา : ถ้าผิดพระพุทธเจ้าก็ผิดไปนานแล้ว ถ้าถูกก็องค์ศาสดาถูกไปก่อนพวกเราแล้ว ไปเถียงกันเป็นบ้าหาอะไร อย่างนั้นซีปุ๊บปั๊บเอาแล้ว

    ลูกศิษย์ : แสดงว่าถูกนะคะ

    หลวงตา : ไม่เอา ไม่ตอบ ตอบหาอะไร สิ่งที่ไม่น่าตอบ ตอบจะเป็นปัญหาขึ้นมาทันที เพราะอันนี้สิ้นปัญหาโดยสิ้นเชิงแล้ว สมบูรณ์แบบแล้วอยู่กับว่านิพพานเที่ยง หมดปัญหา ไม่มีพระอรหันต์องค์ใดจะเป็นข้อสงสัย นอกจากพวกที่หันไปหาเสื่อหันไปหาหมอนมันสงสัยวันยังค่ำพวกนี้ เข้าใจไหม ไม่ตอบแหละนิพพานเที่ยง ไม่ตอบ พอเข้าใจกันหมดแล้วนี่นะ คำว่าเที่ยงก็เทศน์ให้ฟังแทบทุกวัน ๆ จิตสิ้นกิเลสเท่านั้นปั๊บเลย ไม่ต้องถามหานิพพานเที่ยงไม่เที่ยง ท่านไม่ถามใคร ปึ๋งขึ้นในจิตของท่าน จะว่านิพพานหรืออะไรก็แล้วแต่ท่านไม่สงสัย แต่พวกเรานี้หางมนั้นงมนี้ไป โลกไม่อยากไป โลกไม่สนใจสิ่งที่เที่ยง สิ่งที่หมุนกันอยู่เหมือนฟุตบอลนี้โลกชอบมาก

    เข้าใจหรือเปล่าล่ะ นิพพานเที่ยง ท่านก็เขียนไว้แล้วในตำราเต็มไปหมด แล้วต้นเหตุที่เป็นนิพพานเที่ยงมาจากไหน ก็มาจากจิตที่บริสุทธิ์ เพราะจิตดวงนี้ตามธรรมชาติแล้วจะไม่เคยฉิบหาย ไม่เคยตาย อย่างร่างกายตาย คนนั้นเกิดคนนี้ตาย มีแต่ร่างเท่านั้นเปลี่ยนสภาพแปรสภาพ หมดสภาพแล้วก็แปรลงไป เขาเรียกว่าสัตว์ตาย คนตาย ทีนี้จิตดวงที่อยู่ข้างในมันออกแล้ว ตัวนี้ไม่ตาย ไปตามกรรมของตัวเอง กรรมดีไปทางดี กรรมชั่วไปทางชั่ว ที่จะให้ฉิบหายไม่มี แม้แต่ไปจมในนรกกี่กับกี่กัลป์ ก็ต้องทนทุกข์ทรมานตามอำนาจแห่งกรรมหนักเบาของตน จะทุกข์ขนาดไหนก็ยอมรับว่าทุกข์แต่ไม่ยอมฉิบหายคือจิตดวงนี้

    เหล่านี้เป็นแดนสมมุตินะที่ว่านรกอเวจี สวรรค์ชั้นพรหม เหล่านี้เป็นแดนสมมุติทั้งนั้น พอพ้นจากนี้ปึ๊บแล้วนั้นเรียกว่าแดนแห่งนิพพาน นั่นละนิพพานเที่ยง คือจิตที่บริสุทธิ์พอพ้นจากสิ่งสมมุติทั้งหลายเหล่านี้แล้ว ด้วยการชำระซักฟอก หรือสร้างบารมีคุณงามความดีนั้นแหละพูดง่าย ๆ ว่าชำระซักฟอก บริสุทธิ์เต็มที่แล้วก็ดีดผึงเลย อันนี้เองที่ไปเสวยบรมสุข เสวยแบบนิพพาน เสวยแบบนอกสมมุติ ไม่ใช่เสวยในสมมุติ เข้าใจไหม แต่เมื่อโลกมีสมมุติท่านก็ต้องแยกออกมาว่าเสวยบรมสุข หรือเสวยวิมุตติ แยกมาตามสมมุติ หลักธรรมชาตินั้นท่านรู้ท่านเองท่านไม่ไปถามใคร นี่เรียกว่าจิตเที่ยง เที่ยงนี้จะไม่เอนเอียงเลย สมมุติไม่เข้าไปถึงแล้ว นี่เรียกว่าแดนนิพพาน

    ความไม่สูญไม่สิ้นคือจิตใจ นอกนั้นมีแปรสภาพทั้งหมด แปรเป็นโลก อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา จิตนี้เวลามีสมมุติอยู่ก็เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เหมือนกัน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาแต่ไม่ยอมฉิบหายเท่านั้นเอง พอชำระซักฟอกบริสุทธิ์แล้วก็ดีดผึงเลย นี่ถึงที่ว่านิพพานเที่ยง คือจิตพระอรหันต์นั้นแหละผู้ทรงนิพพานเที่ยง พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอรหันต์ทุกองค์ ทรงธรรมที่ว่านิพพานเที่ยงทั้งนั้น ท่านไม่ต้องไปถามใคร นี่เรียกว่านิพพานเที่ยง เข้าใจหรือยัง

    ลูกศิษย์ : เข้าใจแล้วค่ะ
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,596
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,113
    ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ‬


    เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา
    เตสํ เหตุํ ตถาคโต
    เตสญฺจ โย นิโรโธ จ
    เอวํ วาที มหาสมโณ



    ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ
    พระตถาคตเจ้าทรงตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้น
    และความดับเหตุของธรรมเหล่านั้น
    พระมหาสมณเจ้าทรงตรัสอย่างนี้.






    [​IMG]
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,596
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,113
    "จงอย่ามุ่งเอาชนะผู้อื่น ให้มุ่งเอาชนะใจตนเอง
    ชนะกิเลสที่ตนเอง

    เราไม่สามารถจะห้ามคนชั่วทำชั่วได้ฉันใด
    เราก็ควรหยุดจิต หยุดอารมณ์ของตนเองให้ได้ก่อน

    หาความชั่วที่จิตของเราให้ได้ก่อน จึงจะละความชั่วได้ และละที่จิตของเราเท่านั้น

    คนเราถ้าเอาจริงทำให้จริง ก็จักรู้จักคำว่าชนะ

    หากทำแม้ครั้งเดียว วันต่อ ๆ ไป ก็จักชนะมันได้

    การปฏิบัติทั้งทางโลกและทางธรรมก็จักเจริญขึ้นได้สืบต่อไป

    ขอจงอย่าละความเพียรเสียอย่างเดียว

    การเผลอบ้างก็ต้องมีเป็นธรรมดา อย่าติตนว่าเลว ให้ลงตัวธรรมดา เพราะยังมิใช่พระอรหันต์"





    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
    คัดลอกจาก ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๘
    พระราชพรหมยานมหาเถระ หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง
    รวบรวมโดย พล.ต.ท นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน





    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,596
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,113
    [​IMG]


    "...การไม่เสพคนพาลนี้ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากในชีวิตมนุษย์
    คนเรานั้น ถ้าหากว่าได้ไปคบคนที่ไม่ซื่อ คนที่ปากหวานก้นเปรี้ยว
    ปากพูดไปอย่างหนึ่ง แล้วก็ใจนั้นนะเป็นไปอีกอย่างหนึ่งอย่างนี้
    เราก็คบไม่ได้

    พระพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าหาคนที่ดีไม่ได้ ก็ไปคนเดียวดีกว่า
    ถ้าไปหาคนดีไม่ได้ก็ให้เดินคนเดียว พระองค์ตรัสว่าอย่างนั้น

    เพราะฉะนั้น การคบคนพาลนี่ มันจะทำงานอะไรๆ ก็ติดขัดไปหมด มันจะทำงานอะไรก็มีแต่ล้มเหลว ในที่สุดมันก็เกิดอันตราย เพราะว่า คนที่ไม่ซื่อนั้น มันสามารถที่จะทำร้ายทำลายเราได้ทุกขณะทุกเวลา ไม่ทำลายทางตรงก็ทำลายทางอ้อม

    เพราะฉะนั้น ท่านถึงเรียกว่าเป็นคนพาล

    คนพาลนี้พูดกันตามความเป็นจริงแล้ว ก็คือคนที่ไม่รู้จักคุณคนนั่นเอง แม้เราจะกรุณาเขามากเพียงใด ให้เขาได้ดิบได้ดีแล้ว คนพาลนั้นมันก็แว้งกัดเจ้าของ มันเป็นอย่างนั้น..."

    พระธรรมมงคลญาณ
    (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
    เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล
    ประธานผู้ก่อตั้งมูลนิธิสถาบันพลังจิตตานุภาพ


    จากหนังสือ ..ธรรมะต่างแดน ตอนที่ 15 หน้า 62
    ขอขอบคุณผู้มีส่วนแห่งสาระธรรมและรูปภาพประกอบนี้
    ADMIN:SRIJAN31046

    https://www.facebook.com/1045723063...4572306359817/600597836757259/?type=3&theater
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,596
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,113
    ของแก้ไขได้ยากที่สุด คือใจเจ้ากรรม ยิ่งเฉพาะใจเป็นเจ้าของกรรมดี ส่วนกรรมชั่วนั้นพอที่จะละได้ เพราะผู้รับโทษทุกข์เห็นๆ กันอยู่
    จิตใจที่ติดดีนี้ยากนักยากหนา ต้องเอาจริงๆ ในศีลธรรม ในสมาธิธรรม ในปัญญาธรรม จึงพ้นไปได้..

    หลวงปู่จาม มหาปุญโญ..

    [​IMG]
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,596
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,113
    "วิธีไม่ผูกเวร" ทำอย่างไร ?

    "วิธีไม่ผูกเวร" ทำอย่างไร ?



    อาตมาซาบซึ้งในคำว่า
    "อมนสิการ" นี่พูดกันภาษาธรรม
    คือ "ด้วยการไม่ทำใจไว้"

    คือเมื่อเรามีเรื่องกระทบกระทั่งบาดหมางใจกับใคร
    หรือใครประทุษร้ายเราก็ดี
    หรือญาติพี่น้องของเรา หรือทรัพย์สินของเราก็ดี
    ... ถูกประทุษร้าย
    แล้วเราจะต้องทำอย่างไร ?
    ท่านบอกว่าต้องทำ "อมนสิการ"
    คือ ไม่ใส่ใจ ปล่อยวางเสีย มันแล้วไปแล้ว
    การทำสมาธิ ทำให้เกิดสติสัมปชัญญะ
    และนำ "พระพุทธพจน์" มาใช้
    ถ้าเรา "ไม่ใส่ใจ" ... เรื่องก็จะไม่มี
    ถ้าเราใส่ใจ ... ก็จะทำให้ 'ใจขุ่น' อยู่นั่นแหละ
    นี่คือ "การผูกเวร"
    กระดิกใจถึงเมื่อไหร่ ... ผูกเวรเมื่อนั้น
    เมื่อยาวนานไปเท่าไหร่
    จะผูกพันจิตใจเราไปนับภพนับชาติไม่ถ้วน
    เพราะฉะนั้นด้วย "อมนสิการ"
    ไม่ผูกใจเจ็บ ไม่ผูกใจคิดถึง
    นึกอย่างเดียวว่า ... ตัวใครตัวมัน
    ใครทำดี ... ได้ดี
    ใครทำชั่ว ... ได้ชั่ว
    ใครพูดว่าเรา ตำหนิติฉินเรา
    ตราบใดที่เราตั้งใจทำดีที่สุดแล้ว
    คนที่ว่าเรานั้นเหมือน "ซัดธุลี ทวนลม"
    ... ตกโดนเขาเอง !





    พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,596
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,113
    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 กรกฎาคม 2016
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,596
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,113
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,596
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,113
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,596
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,113
    [​IMG]



    พระพุทธเจ้าทรงยึดสมถภาวนาเป็นอารมณ์
    ธรรมโอวาท หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง




    "..ถ้าใครเขาว่าสมถภาวนาไม่มีความสำคัญ
    ไม่ใช่จุดหมายปลายทางของการบรรลุมรรคผล
    ก็อย่าไปเชื่อเขา เพราะสมถภาวนาถ้าไม่ดีจริงๆ
    พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงสอนให้เราปฏิบัติ และ
    พระพุทธเจ้าก็จะไม่ยึดสมถภาวนาไว้เป็นอารมณ์
    ทั้งๆที่พระองค์ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
    นี่จงอย่าลืมว่าพระอรหันต์ทุกท่าน แม้แต่องค์สมเด็จ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี ใช้กรรมฐาน ๔๐ กอง
    ควบกับวิปัสสนาญาณเพื่อความอยู่เป็นสุข
    ไม่ใช่ว่าเป็นพระอรหันต์แล้วเลิกกัน อย่างนั้น
    เข้าใจผิด พระอรหันต์นี่ท่านกลับขยันกว่าเรา
    ทั้งหมด เพราะท่านเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
    หมายถึงว่าการเห็นสภาวะตามความเป็นจริงของ
    ขันธ์ ๕ ท่านเห็นเป็นปกติ ท่านไม่ยอมปล่อย ไม่ยอมละ.."



    https://www.facebook.com/BuddhaSattha/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,596
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,113
    "การหลับนอนของนักปราชญ์ ท่านเพียงเพื่อบรรเทาธาตุขันธ์ไปชั่วระยะเท่านั้น ไม่ได้หวังความสุขความสำราญอะไรจากการระงับความอ่อนเพลียทางธาตุขันธ์นั้นเลย พระนอนตามแบบพระจริงๆ ต้องระวังตัวเพื่อจะตื่นเหมือนแม่เนื้อนอน ซึ่งมีสติระวังตัวดีกว่าปกติเวลาเที่ยวหากิน คำว่าจำวัตร ก็คือความระวังตั้งสติหมายใจจะลุกตามเวลาที่กำหนดไว้ตอนก่อนนอน มิได้นอนแบบขายทอดตลาด ดังสินค้าที่หมดราคาแล้วตามแต่ลูกค้าจะให้ในราคาเท่าไรตามความชอบใจของตน"
    ...หลวงปู่ขาว อนาลโย


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,596
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,113
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...