การปฏิบัติธรรม "ด้วยการปฏิเสธฌานสมาธิ" จะสำเร็จได้อย่างไร.?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 5 มกราคม 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    %E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B202-travelchoice.jpg


    นัตถิ ฌานัง อะปัญญัสสะ นัตถิ ปัญญา อะฌายิโน
    ตัมหิ ฌานัญจะ ปัญญัญจะ นิพพานะสันติเก



    ฌาน ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา
    ปัญญาก็ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
    ผู้มีทั้งฌานและปัญญานั่นแล
    จึงนับว่าอยู่ใกล้นิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2020
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    ปฐมฌาน ฌานที่ ๑
    ปฐมฌาน เป็นฌานที่หนึ่ง ในรูปฌาน ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    (พระธรรมปิฎก (ป.อ.อยุตโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, หน้า ๘๑.)

    วิตก มีลักษณะ การคิด การหมายรู้อารมณ์ ความเป็นผู้ตั้งมั่น การนึกตามและการปรารถนาที่ถูกต้อง แม้ปราศจากความเข้าใจ เปรียบได้กับการท่องจำบทสวดมนต์
    เช่น ผู้ที่กำลังเจริญปถวีกสิณ ท่องคำว่า ปฐวีๆๆ หรือ ดินๆๆ อยู่ตลอดในขณะที่คิดถึงด้วยความตั้งมั่น
    ขณะนั้นชื่อว่า วิตก ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้ปฏิบัติ

    วิจาร มีลักษณะ การพิจารณา การไตร่ตรอง การผูกพันจิตไว้ในอารมณ์ โดยไม่ให้เกิดความยินดียินร้าย ในอารมณ์ที่เกิดในระหว่างที่พิจารณาอยู่นั้น ทำใจให้เป็นอุเบกขาในอารมณ์ ผู้เจริญปถวีกสิณ ใส่ใจอยู่ในอาการหลายอย่างที่จิตหยั่งเห็นในขณะที่เพ่งปถวีนิมิตอยู่ นี้เรียกว่า วิจารได้เกิดแก่ผู้ปฏิบัติอยู่

    เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวิตกกับวิจาร อุปมาเหมือนการตีระฆัง เสียงที่เกิดขึ้นครั้งแรก เปรียบได้กับวิตก เสียงสะท้อนที่เกิดตามมา เปรียบได้กับวิจาร
    อนึ่งเปรียบเหมือนความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับอารมณ์ของจิต(ธรรมารมณ์)
    ตอนเริ่มต้นเป็นวิตก ตอนที่เหลือเป็นวิจาร
    ความประสงค์ที่จะได้ฌานเป็นวิตก การรักษาฌานไว้เป็นวิจาร
    สภาพจิตที่หยาบเป็นวิตก สภาพจิตที่ละเอียดเป็นวิจาร
    ที่ใดมีวิตกที่นั่นมีวิจาร ที่ใดมีวิจารไม่จำเป็นต้องมีวิตก
    (พระอุปติสสเถระ, วิมุตติมรรค. หน้า ๘๖.)




    ปีติ ในขณะที่จิตมีความอิ่มเอิบสบายอย่างเหลือเกิน ประกอบด้วยความเย็นสนิท นี้เรียกว่า “ปีติ” เกิดได้จากสาเหตุ ๖ ประการ คือ
    ๑. เกิดจากราคะ เพราะความชอบ ความหลงและความอิ่มใจที่เกิดจากกิเลส
    ๒. เกิดจากศรัทธา เพราะความอิ่มใจของบุคคลที่มีศรัทธาอย่างแรงกล้า ต่อสิ่งที่ตนเคารพเชื่อถือ เช่น การได้เห็นพระพุทธเจ้า เป็นต้น
    ๓. เกิดจากความไม่ดื้อด้าน เพราะเป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ต่อสิ่งต่าง ๆ จนเกิดความอิ่มอกอิ่มใจ
    ๔. เกิดจากวิเวก ได้แก่ความอิ่มใจของบุคคลผู้ได้ปฐมฌาน
    ๕. เกิดจากสมาธิ ได้แก่ความอิ่มใจของบุคคลผู้เข้าทุติยฌาน
    ๖. เกิดจากโพชฌงค์ ได้แก่ความอิ่มใจที่เกิดจากการดำเนินตามโลกุตรมรรคในทุติยฌาน

    ปีติ ๕ แสดงถึงปริมาณของปีติที่เกิด ดังนี้
    ๑. ขุททกาปีติ ปีติทำให้ขนชูชันเล็กน้อย แล้วก็หายไป
    ๒. ขณิกาปีติ ปีติที่เกิดขึ้นชั่วขณะเหมือนฟ้าแลบแปลบปลาบ
    ๓. โอกกันติกาปีติ ปีติที่กระทบกายเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง คือ เกิดขึ้นแล้วก็หายไปเกิดขึ้นแล้วก็หายไปอยู่อย่างนั้น
    ๔. อฺพเพงคาปีติ ปีติที่ซาบซ่านแผ่ไปทั่วร่างกาย เหมือนก้อนเมฆหนาทึบที่เต็มไป
    ๕. ผรณาปีติ ปิติที่ซาบซ่านแผ่ไปทั่วร่างกาย เหมือนก้อนเมฆหนาทึบที่เต็มไปด้วยฝน

    ขุททกาปีติและขณิกาปีติ สามารถเข้าถึงได้ด้วยศรัทธา
    โอกกันติกาปีติที่มีมากย่อมทำอุปจารสมาธิให้เกิดขึ้นได้
    อุพเพงคาปีติที่ยึดดวงกสิณทำให้เกิดกุศลและอกุศลได้ และขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้เพ่ง
    ส่วนผรณาปีติอันบุคคลทำให้เกิดขึ้นในสภาวะแห่งอัปปนาสมาธิเท่านั้น




    สุข การประสบกับสิ่งที่ชอบใจคือความสุข มีความสงบเยือกเย็นเป็นปทัฏฐาน
    (พระอุปติสสเถระ, วิมุตติมรรค. หน้า ๘๖.)

    สุข แปลว่า ความสุข หมายถึงความสำราญ ชื่นฉ่ำ คล่องใจ ปราศจากการบีบคั้นหรือรบกวนใด ๆ
    (พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตโต) พุทธธรรม. หน้า ๘๗๓.

    เอกัคคตา หมายถึง การที่จิตมีอารมณ์เดียว คือ จิตที่ยึดอยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยไม่คิดส่ายไปในอารมณ์อื่นๆเลย แม้ช่วงขณะจิต เช่น จิตอยู่กับปฐวีนิมิต หรืออยู่กับลมหายใจ เป็นต้น เรียกจิต เช่นนั้นว่า จิตเตกัคคตา

    ก็เมื่อองค์ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้นแล้วย่อมเชื่อว่า ปฐมฌานได้เกิดขึ้นแล้ว
    เมื่อสามารถทำปฐมฌานให้เกิดขึ้นได้แล้ว อย่างเพิ่งรีบร้อนทำทุติยฌาน เพราะอาจจะทำให้ปฐมฌานนั้นเสื่อม และก็ไม่อาจทำทุติฌานให้เกิดได้อีกด้วย จะต้องสร้างความชำนาญในปฐมฌานที่ท่านเรียกว่า

    วสี ๕ ประการ ให้ชำนาญเสียก่อน ดังนี้
    ๑. อาวัชชนวสี ความสามารถในการพิจารณาองค์ฌาน ด้วยมโนทวาราวัชชนจิต
    ๒. สมปัชวสี ความสามารถในการเข้าฌาน
    ๓. อธิฏฐานวสี ความสามารถในการให้ฌานดำรงอยู่ตามกำหนด
    ๔. วุฏฐานวสี ความสามารถในการออกฌานตามกำหนด
    ๕. ปัจจเวกขณวสี ความสามารถในการพิจารณาองค์ฌานด้วยชวนจิต

    เมื่อฝึกวสีทั้ง ๕ ประการในปฐมฌานดีแล้วจึงค่อยเริ่มการฝึกเข้าสู่ทุติยฌานต่อไป ดังนี้




    ทุติยฌาน ฌานที่ ๒
    ทุติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
    (พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. หน้า ๗๑.)

    เธอบรรลุทุติยฌานซึ่งมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารระงับไป มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
    (ที.ม. ๑๐/๔๐๒/๒๖๗ มหาจุฬาเตปิกํ ๒๕๐๐.)

    จากคำอธิบายข้างต้นที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ทุติยฌานเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อวิตกและวิจารระงับไป
    คงเหลือแต่ปีติ สุข และเอกัคคตา

    การเข้าทุติยฌาน ทั้งก่อนและหลังอาหาร ทั้งปฐมยามและปัจฉิมยาม ภิกษุฝึกน้อมนึกการเข้า ความตั้งมั่นการออก และการพิจารณา ตามความปรารถนาของเธอ(ฝึกวสี ๕ ประการนั่นเอง) ถ้าเธอเข้าปฐมฌานและออกปฐมฌานบ่อย ๆ และได้รับความสะดวกในการบำเพ็ญปฐมฌาน เธอย่อมได้รับสุข และทำทุติยฌานให้เกิดขึ้นได้ และก้าวพ้นปฐมฌาน

    อนึ่งภิกษุนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า “ปฐมฌานนี้ยังหยาบ ทุติยฌานละเอียด
    เธอมองเห็นโทษของปฐมฌานและอานิสงส์ของทุติฌาน
    เมื่อน้อมนึกอยู่อย่างนี้ย่อมเห็นโทษของปฐมฌานและอานิสงส์ของทุติยฌาน
    ในที่สุดก็จะเข้าสู่ทุติยฌานได้ตามความปรารถนา
    (พระอุปติสสเถระ วิมุตติมรรค, หน้า ๙๘-๙๙.)




    ตติยฌาน ฌานที่ ๓
    ตติยฌาน มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา

    การเข้าตติยฌาน การเข้าคติยฌานก็ปฏิบัติในทำนองเดียวกับการเข้าทุติยฌาน คือ เมื่อเข้าสู่ทุติยฌานได้แล้วก็ ทำวสี ให้เกิดขึ้นคล่องแคล่วแล้ว จิตก็จะยกขึ้นสู่ตติยฌานได้เอง เมื่อปีติจางหายไปดังพระบาลีว่า

    เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
    เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า
    ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
    (ที.ม. ๑๐/๔๐๒/๒๖๗ มหาจุฬาเตปิกํ ๒๕๐๐.)




    จตุตถฌาน ฌานที่ ๔
    จตุตถฌาน มีองค์ฌานเดียว คือ เอกัคคตา

    การเข้าจตุตถฌาน การเข้าจตุตถฌานก็ปฏิบัติในทำนองเดียวกับการเข้าตติยฌาน คือ เมื่อเข้าสู่ตติยฌานได้แล้วก็ทำวสีให้เกิดขึ้นจนคล่องแคล่วแล้ว จิตก็จะยกขึ้นสู่จตุตถฌานได้เอง เพราะจิตที่ปฏิบัติไป ๆก็จะเห็นความหยาบกระด้างของฌานเก่าที่ได้อยู่ ใคร่จะได้ฌานที่ละเอียดประณีตยิ่งๆขึ้นไป ก็จะปล่อยอารมณ์ที่หยาบ(สุข) ไปจับอยู่ในอารมณ์ที่ประณีตยิ่งขึ้น(อุเบกขา) ผู้เข้าสู่จตุตตถฌานจะเป็นดังพระบาลีว่า

    เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
    เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัส และโทมนัสก่อนๆได้
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    (ที.ม. ๑๐/๔๐๒/๒๖๗ มหาจุฬาเตปิกํ ๒๕๐๐.)

    ฌานทั้ง ๔ เรียกว่า รูปฌาน เพราะยังต้องอาศัยอารมณ์หยาบที่เป็นรูปธรรมเป็นเครื่องเพ่งเพื่อให้เกิดนิมิต โดยเริ่มตั้งแต่ ขณิกสมาธิ จนถึงอัปปนาสมาธิ

    เมื่อผู้ปฏิบัติบรรลุฌาน ๔ และเกิดวสีในฌานเหล่านั้น พร้อมทั้งอนุโลมปฏิบัติในฌานทั้ง ๔ จนเกิดความชำนาญ จิตก็อ่อนโยนควรแก่การงานทางจิต พร้อมที่จะนำจิตนั้นไปกระทำกิจต่างๆ เช่น
    ทำฌานให้ยิ่งๆขึ้นไป แสดงฤทธิ์ต่างๆ
    จนถึงการเจริญวิปัสสนาจนสามารถทำตนให้หลุดพ้นจากอาสวกิเลส
    บรรลุอรหัตตผล ซึ่งเป็นเป็นหมายอันสูงสุดในพระพุทธศาสนาได้

    (ยังมีต่อ)

    ขอบคุณบทความและภาพจาก
    http://www.thammatipo.com/index.php...1&Category=thammatipocom&thispage=5&No=119555
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    (ต่อจากด้านบน)

    ....................อริยมรรคมีองค์๘...ข้อที่๘คือ "สัมมาสมาธิ"................

    สำหรับการเจริญกสิณนั้น จะขอกล่าวเฉพาะปฐวีกสิณเท่านั้น ส่วนกสิณที่เหลือมีวิธีปฏิบัติคล้ายคลึงกัน แตกต่างกันการจัดเตรียมอุปกรณ์เท่านั้น เมื่อเตรียมอุปกรณ์ในการเพ่งเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำมาใช้เป็นกสิณเพื่อเพ่งให้เกิดสมาธิได้เช่นเดียวกับปฐวีกสิณ

    นัตถิ ฌานัง อะปัญญัสสะ นัตถิ ปัญญา อะฌายิโน
    ตัมหิ ฌานัญจะ ปัญญัญจะ นิพพานะสันติเก
    ฌานไม่เกิดกับคนไม่มีปัญญา ปัญญาก็ไม่เกิดกับคนไม่มีฌาน
    ผู้ใดมีฌานและปัญญา ผู้นั้นได้อยู่ใกล้นิพพาน

    พราหมโณ ฌายี ตะปะติ
    นักพรตผู้มีฌานจึงรุ่งเรือง มีตบะกล้าในหมู่สมณะ

    ถ้าท่านปฏิเสธฌาน ญาณจะเกิดได้อย่างไร
    เพราะฌานเป็นเหตุ ญาณเป็นผล
    นั่นคือ สมถะเป็นเหตุ วิปัสสนาเป็นผล

    เย ธัมมา เหตุปภวา เตสัง เหตุง ตถาคโต.
    ผลทุกอย่างเกิดจากเหตุ เมื่อต้องการผลก็ต้องสร้างที่เหตุ
    (ถ้าค้นหาสาเหตุเจอ สถานการณ์ต่างๆ ก็แก้ไขได้)




    นอกจากนี้ วิธีการทำกรรมฐานในยุคปัจจุบัน
    แทบทุกแห่งล้วนแต่ปฏิเสธการได้ฌานทั้งนั้น
    สอนแต่เพียงให้ผู้ปฏิบัตินั่งใช้สติเฝ้าจับ "อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางอายตนะทั้ง 6"
    เป็นการไล่จับอารมณ์ไปตามอายตนะต่างๆ ที่รับรู

    ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้เกิดฌานได้ เพราะฌานจะเกิดได้จิตจะต้องนิ่งอยู่ในใจอย่างเดียว พยายามตัดการรับรู้อารมณ์ภายนอกทั้งหมดทิ้ง จิตจะนิ่งอยู่กับอารมณ์ทางใจอย่างเดียว(เอกัคคตา) ฌานจึงจะเกิดได้
    ถ้าหากว่าการใช้กรรมฐานซึ่งเป็นวิธีการฝึกจิตที่เป็นระบบตามหลักการของพระพุทธศาสนาจริง ๆ
    เรื่องของฌานสมาธิก็ไม่ได้เกินวิสัยของมนุษย์ที่จะทำได้

    ในข้อนี้พวกเราในยุคหลังก็ควรท่องคติพจน์ของพระพุทธองค์ ตอนที่ไปศึกษายังสำนักอาจารย์สองท่านจนทำให้ได้ฌาน 8 ระดับไว้ในใจด้วย เผื่อจะเป็นกำลังใจในการลงมือปฏิบัติดู เพื่อให้เกิดฌานจริงๆ โดยพระพุทธองค์ตั้งคติประจำใจว่า
    ท่านเป็นมนุษย์ เราก็เป็นมนุษย์
    ท่านมีความเพียร เราก็มีความเพียร
    ดังนั้น ถ้าท่านทำได้ เราก็ต้องทำได้




    ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาได้พูดถึงเรื่องฌานที่มีผลต่อการบรรลุธรรมและทำให้เกิดอานุภาพต่างๆไว้หลายอย่าง เพื่อความเข้าใจกระจ่างในเรื่องนี้ จะขอนำความหมายและผลที่ได้จากสมาธิมาอธิบายให้ฟัง ดังนี้

    ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสถึงภิกษุผู้ได้ฌานแม้ได้เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ชั่วดีดนิ้วมือครั้งหนึ่งว่า
    การได้ฌานเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ขนาดนั้นก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ห่างไกลจากฌาน ที่จะทำได้ในกาลต่อไป
    ชื่อว่าได้ทำได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดา ได้ปฏิบัติตามโอวาทของพระศาสดาแล้ว
    ถ้าผู้นั้นเป็นพระภิกษุ ก็จะฉันบิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า
    นี้พูดถึงการปฏิบัติได้ชั่วเวลาสั้นๆ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผู้ที่ทำได้นานๆ หรือทำได้มากกว่านี้

    นอกจากนี้แล้ว พระพุทธองค์ยังตรัสต่อไปอีกว่า ฌานสมาธินี้สามารถที่จะทำให้สิ้นอาสวะกิเลสได้
    ตั้งแต่ฌานขั้นแรกขึ้นไปก็สามารถปราบนิวรณ์ให้สงบระงับได้แล้ว แม้จะไม่หมดไปทีเดียวแต่ก็สามารถปราบได้เป็นคราวๆไป ไม่จำเป็นต้องพูดไปจนถึงฌานระดับที่สูงกว่านี้ ซึ่งแต่ละฌานล้วนมีหน้าที่ในการเผากิเลสเหมือนกันทั้งหมด

    ในตอนหนึ่งพระพุทธองค์ตรัสว่า เพียงแค่คนที่ทำฌาน 4 อย่างได้ คือ
    ตั้งแต่ขั้นแรกไปจนถึงขั้นที่ 4 อย่างใดอย่างหนึ่งนี้จนเกิดความชำนาญ
    ผู้นั้นจะไหลไปสู่นิพพาน(นิพพานนินโน) จะน้อมไปสู่นิพพาน(นิพพานโปโณ)
    และทำนิพพานให้เต็มบริบูรณ์ได้ (นิพพานปัพภาโร)



    ในพระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกได้บรรยายคุณของพระพุทธเจ้าที่ทรงได้ปัญญาในการตรัสรู้ว่า เพราะสาเหตุมาจากการได้ฌานเหล่านี้เป็นฐานให้ ตั้งแต่ฌานที่ 1 ไปจนถึงฌานที่ 8 หรือจะพูดให้ถูกต้อง ก็เป็นเพราะผลมาจากฌานสมาธินี้เองที่ทรงทำให้มีปัญญาตรัสรู้ได้

    ดังนั้น แสดงว่าฌานสมาธินี้มีผลต่อการบรรลุธรรมในทางพระพุทธศาสนาโดยตรง และที่สำคัญฌานยังเป็นข้อสำคัญของมรรคมีองค์ 8 ประการ ข้อสุดท้าย คือ สัมมาสมาธิ (สมาธิที่ประกอบด้วยฌาน) ถ้าขาดข้อนี้ มรรคก็คงเหลือแค่ มรรค 7 ไม่ครบองค์แห่งการตรัสรู้แน่นอน

    ในพระพุทธพจน์บทหนึ่งได้พูดถึงฌานที่ทำให้เกิดปัญญาและปัญญาได้มาจากฌานว่า
    นัตถิ ฌานัง อะปัญฺญัสสะ แปลว่า ฌานไม่มีกับคนที่ไม่มีปัญญา
    นัตถิ ปัญญา อะฌายิโน แปลว่า ปัญญาก็ไม่เกิดกับคนที่ไม่มีฌานเหมือนกัน
    และพระพุทธองค์ก็ยังทรงย้ำสรุปต่อไปอีกว่า
    ถ้าผู้ใดมีฌานจนทำให้เกิดปัญญาหรือมีฌานและมีปัญญา ผู้นั้นจะได้อยู่ใกล้นิพพาน(นิพพานสันติเก) อย่างแน่นอน

    การได้ฌานสมาธิที่เป็นผลมาจาก การฝึกจิตเป็นระบบตามวิธีการสอนของพระพุทธเจ้า
    ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้ผู้ฝึกสามารถสำเร็จผลของการเป็นผู้ปฏิบัติธรรมได้อย่างสมบูรณ์




    ดังมีคราวหนึ่งในตอนเย็นวันพระ 15 ค่ำ พระอานนท์ได้ยืนมองพระอาทิตย์ที่กำลังจะตกดินที่มีรัศมีส่องประกายก่อนจะลับขอบฟ้าไปอย่างสวยงามมาก ท่านยืนมองไปจนพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว
    ครั้นหันกลับมามองไปยังทางทิศตะวันออกซึ่งพระจันทร์เต็มดวงกำลังโผล่ขึ้นพ้นขอบฟ้าขึ้นมาอีกฟากหนึ่ง พระจันทร์เต็มดวงในวันเพ็ญก็สวยงามไม่แพ้พระอาทิตย์กำลังจะตกดินเหมือนกัน ท่านพระอานนท์กำลังดื่มด่ำกับการมองพระอาทิตย์และพระจันทร์อยู่

    แต่เมื่อกลับหลังหันมามองพระพุทธเจ้าซึ่งนั่งอยู่ท่ามกลางหมู่ภิกษุสงฆ์ภายใต้แสงจันทร์อันนวลผ่อง
    แต่พระรัศมีของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายออกมา กลับมีความสวยงามกว่าแสงพระอาทิตย์และแสงดวงจันทร์ที่กำลังโผล่ขึ้นขอบฟ้ามาเสียอีก
    พระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนี้แก่พระพุทธองค์ว่า
    แสงแห่งพระอาทิตย์ในเวลาจะตกดิน และแสงพระจันทร์เต็มดวงที่ขึ้นสู่ขอบฟ้า
    ในยามที่ปราศจากเมฆหมอก ยังสวยสู้พระรัศมีของพระพุทธเจ้าไม่ได้

    พระพุทธองค์ได้ทรงอธิบายถึงสิ่งที่รุ่งเรืองและงดงามในโลกนี้ 5 อย่าง คือ
    - พระอาทิตย์ จะรุ่งเรืองในตอนกลางวัน
    - พระจันทร์จะรุ่งเรืองในตอนกลางคืน
    - พระราชาจะรุ่งเรืองในขณะทรงเครื่องพระราชอิสริยยศ
    - เหล่านักพรตผู้ที่จะรุ่งเรืองที่สุด ก็คือ ผู้มีฌาน
    - แต่พระพุทธเจ้าจะรุ่งเรืองทั้งกลางวันทั้งกลางคืนเหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด




    จากเรื่องฌานสมาธิที่พูดมานี้ แสดงว่าการมีฌานสมาธิไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจตามที่มีหลายคนเข้าใจ แต่เป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญควรยกย่องและควรเชื้อเชิญให้มีการนำไปฝึกปฏิบัติกันมากๆ เพื่อผลแห่งการชิมรสพระสัทธรรมของพระพุทธองค์

    การทำสมาธิด้วยวิธีการทางพระพุทธศาสนาที่สามารถทำฌานสมาธิให้เกิดได้นี้ ไม่ว่าจะเป็นกสิณชนิดใดก็ตาม สามารถทำฌานได้สูงสุดเหมือนกัน และเมื่อเราทำภาพนิมิตกสิณให้เด่นชัดขึ้นมาในใจได้ ภาพกสิณที่ผุดขึ้นมาในใจนั้นจะเด่นชัดยิ่งกว่าพระอาทิตย์กำลังจะตกดินหรือกำลังโผล่พ้นขึ้นขอบฟ้าในยามเช้ามืดเสียอีก
    ในขณะที่เราเห็นภาพกสิณนิมิตเช่นนี้บ่อยๆ จิตจะสามารถหยุดนิ่งอยู่กับอารมณ์กสิณนั้นได้
    และเมื่อเพ่งอยู่กับนิมิตกสิณนั้นนานๆ จิตเริ่มเป็นสมาธิมากขึ้น

    ดังนั้น ผลของสมาธิที่ได้จากฌาน จึงทำให้เกิดปัญญารู้เข้าใจความจริงขึ้นมาได้
    เพราะอำนาจของฌานสมาธินี้เป็นผลทำให้เกิด
    ท่านจึงเรียกว่า "ฌานเป็นเหตุ ญาณ(ความรู้)เป็นผล" หรือ "สมถะเป็นเหตุ วิปัสสนาเป็นผล"
    ทั้งฌานและปัญญา 2 สิ่งนี้จะต้องเกิดต่อเนื่องกันไปไม่ใช่แยกกันทำ




    การปฏิบัติธรรมด้วยวิธีการปฏิเสธฌานสมาธิ จึงเป็นเรื่องยากที่จะทำให้เกิดฌานได้
    เพราะเมื่อปฏิเสธฌานที่เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญาแล้ว ปัญญาที่หวังกันจึงเกิดขึ้นไม่ได้
    และอีกอย่างหนึ่งเพราะความเข้าใจผิดของผู้ปฏิบัติเอง ที่มุ่งเน้นเพื่อให้เกิดปัญญาโดยทั้งๆที่ไม่มีฐานรองรับจึงไม่อาจจะทำให้สำเร็จได้
    เพราะเหตุนี้เองจึงทำให้คนจำนวนมากคิดว่า ฌานสมาธิเป็นเรื่องเกินเลยวิสัยไม่อาจทำได้ในยุคปัจจุบัน
    แต่ถ้าเรารู้ถึงหลักวิธีการและปฏิบัติตามวิธีที่พระพุทธเจ้าวางไว้ก็สามารถที่จะทำได้ เพราะว่าวิธีปฏิบัติหรือการบรรลุมรรคผล

    พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นอกาลิโก แปลว่าไม่ขึ้นต่อยุคต่อสมัย สามารถปฏิบัติได้ตลอดทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต ถ้าเราชาวพุทธรู้หลักการข้อนี้แล้ว การเดินตามรอยบาทของพระพุทธองค์ก็คงไม่ยากเท่าที่ควรนัก ขอเพียงอย่างพึงด่วนสรุปว่า เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เท่านั้นก็พอ


    ขอบคุณบทความและภาพจาก
    http://www.thammatipo.com/index.php...&Category=thammatipocom&thispage=5&No=1195557
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2020
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    O อารัมมณูปนิชฌาน - ลักขณูปนิชฌาน O

    ****************************************************

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑-หน้าที่ 504 บทว่า ฌาน ฌานมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌานเพ่งอารมณ์ และ ลักขณูปนิชฌาน - เพ่งลักษณะ ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ เข้าไปเพ่งอารมณ์มีปฐวีกสิณเป็นต้น ชื่อว่า
    อารัมมณูปนิชฌาน.



    วิปัสสนามรรคและผล ชื่อว่า
    ลักขณูปนิชฌาน. ในวิปัสสนามรรคและผลเหล่านั้น วิปัสสนาชื่อว่า ลักขณูปนิชฌานเพราะเข้าไปเพ่ง ซึ่งลักษณะมีอนิจลักษณะเป็นต้น, มรรคชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะกิจทำด้วยวิปัสสนาสำเร็จด้วยมรรค,ส่วนผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งนิโรธสัจอันเป็นลักษณะที่จริงแท้.
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    สภาวฌาน หมายถึงสภาวจิตที่เพ่งพินิจจนเป็น สมาธิแน่วแน่ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ


    ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ

    (1) การเพ่งอารมณ์บัญญัติ คือ รูปฌาน และอรูป ฌาน เป็นสมถภาวนา ให้ผลสูงสุด คือ สมาบัติ 8 และอภิญญา 5 เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน


    (2) การ เพ่งอารมณ์ปรมัตถ์ คือการเพ่งลักษณะของสังขารให้ เห็นความเป็นไตรลักษณ์ เป็นวิปัสสนาภาวนา ให้ผล สูงสุดคือ มรรค ผล นิพพาน เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน


    ลักขณูปนิชฌาน หมายถึงการเพ่งลักษณะ ซึ่งเป็นปรมัตถ์อารมณ์ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค ผล วิปัสสนาชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งพินิจ สังขารโดยไตรลักษณ์ มรรคชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนาให้สำเร็จ ผลชื่อว่า ลักขณู ปนิชฌาน เพราะเพ่งพินิจอันมีลักษณะสุญญตะ อนิมิตตะและอัปปณีหิตะอย่างหนึ่ง และเพราะเห็น ลักษณะสัจจภาวะนิพพานอย่างหนึ่ง


    การเจริญวิปัสสนาภาวนาเป็นหนทางการทำให้ เกิด ลักขณูปนิชฌาน ซึ่งมีวิธีหลักใหญ่ อยู่ 2 วิธีคือ

    (1) สมถปุพพังคมวิปัสสนา
    เป็นการเจริญวิปัสสนา โดยใช้ฌานเป็นบาทฐาน ผู้ที่ปฏิบัติแนวนี้เรียกว่า สมถยานิก

    (2) วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ
    เป็นการเจริญ วิปัสสนา โดยไม่มีฌานเป็นบาทฐาน แต่ใช้ขณิกสมาธิ จนเกิดกำลังเทียบเท่า ฌาน ผู้ปฏิบัติแนวนี้เรียกว่า วิปัสสนายานิก


    ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้ เป็นการเจริญวิปัสสนา ตามหลักสติปัฏฐานสูตร อันเป็นทางสายเดียวที่ สามารถพ้นจากอำนาจครอบงำของกิเลสที่สุดคือนำ ไปสู่ความหลุดพ้นที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง


    ......อยู่ที่ใครจะถนัดและเลือกเดินทางสายไหน เมื่อเดินตามอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้วก็จะถึงความดับทุกข์เช่นกัน......
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    [๒๗๓] บรรดามรรค มรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐที่สุด
    บรรดาสัจจะ อริยสัจ ๔ ประเสริฐที่สุด
    บรรดาธรรม วิราคธรรมประเสริฐที่สุด
    บรรดาสัตว์สองเท้า ตถาคตผู้มีจักษุ ประเสริฐที่สุด
    [๒๗๔] ทางเพื่อความหมดจดแห่งทัสสนะ
    คือทางนี้เท่านั้น มิใช่ทางอื่น
    เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงดำเนินไปตามทางนี้แล
    เพราะทางนี้เป็นทางลวงมารให้หลง
    [๒๗๕] ด้วยว่า เธอทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้ว
    จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
    เรารู้วิธีถอนลูกศรคือกิเลสแล้ว
    จึงชี้บอกทางนี้แก่เธอทั้งหลาย
    [๒๗๖] เธอทั้งหลายควรทำความเพียรเองเถิด
    ตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้บอกเท่านั้น
    ผู้บำเพ็ญภาวนา ดำเนินตามทางนี้แล้ว เพ่งพินิจอยู่
    จักพ้นจากเครื่องผูกแห่งมารได้
    ..............
    ข้อความบางตอนใน ปัญจสตภิกขุวัตถุ มัคควรรค ขุททกนิกาย ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=29

    ดูเพิ่มใน เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป มัคควรรควรรณนา ขุททกนิกาย อรรถกถาธรรมบท
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…
    #ความเพียร

    c_oc=AQktTd5F4u4-13YtmVx2PhlPO5AykNG8VUThcx8Pu7kneMWZ0pQ-IqgoTgDUhKLYFG4&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    จะรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ต้องอาศัยสมาธิ
    ******************
    ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้
    สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย
    วิญญาณมีสังขารเป็นที่อาศัย
    นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย
    สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัย
    ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อาศัย
    เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย
    ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัย
    อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย
    ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย
    ชาติมีภพเป็นที่อาศัย
    ทุกข์มีชาติเป็นที่อาศัย
    ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย
    ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย
    ปีติมีปราโมทย์เป็นที่อาศัย
    ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อาศัย
    สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อาศัย
    สมาธิมีสุขเป็นที่อาศัย
    ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย
    นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อาศัย
    วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อาศัย
    วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อาศัย
    ขยญาณมีวิมุตติเป็นที่อาศัย
    ……………
    ข้อความบางตอนใน อุปนิสสูตร สังยุตตนิกาย นิทานวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=19

    บทว่า ยถาภูตญาณทสฺสนํ แปลว่า ความเห็น กล่าวคือความรู้ตามสภาวะที่เป็นจริง.

    ทรงแสดงวิปัสสนาอย่างอ่อน ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะนั้น.

    จริงอยู่ วิปัสสนาอย่างอ่อน ย่อมเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาที่มีกำลัง.

    คำว่า วิปัสสนาอย่างอ่อน เป็นชื่อของญาณ ๔ คือ สังขารปริเฉทญาณ กังขาวิตรณญาณ สัมมสนญาณ มัคคามัคคญาณ.

    บทว่า สมาธิ ได้แก่ สมาธิที่มีฌานเป็นบาท.

    จริงอยู่ สมาธินั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาอย่างอ่อน.

    ข้อความบางตอนในอรรถกถาอุปนิสสูตร http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=68
    #สมาธิ #ความรู้เห็นตามเป็นจริง #ปัญญา

    c_oc=AQlql__-UL3kKbEcpinK4ym4MPfkHKi0fyclqq5A2WN-JPFrao7K9ziam1dyWqKLsQI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    ธรรมที่อาศัยกันทั้งสายเกิดทุกข์และสายดับทุกข์
    ******************
    ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้
    สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย
    วิญญาณมีสังขารเป็นที่อาศัย
    นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย
    สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัย
    ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อาศัย
    เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย
    ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัย
    อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย
    ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย
    ชาติมีภพเป็นที่อาศัย
    ทุกข์มีชาติเป็นที่อาศัย
    ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย
    ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย
    ปีติมีปราโมทย์เป็นที่อาศัย
    ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อาศัย
    สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อาศัย
    สมาธิมีสุขเป็นที่อาศัย
    ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย
    นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อาศัย
    วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อาศัย
    วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อาศัย
    ขยญาณมีวิมุตติเป็นที่อาศัย
    ……………
    ข้อความบางตอนใน อุปนิสสูตร สังยุตตนิกาย นิทานวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=19

    บทว่า ยถาภูตญาณทสฺสนํ แปลว่า ความเห็น กล่าวคือความรู้ตามสภาวะที่เป็นจริง.

    ทรงแสดงวิปัสสนาอย่างอ่อน ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะนั้น.

    จริงอยู่ วิปัสสนาอย่างอ่อน ย่อมเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาที่มีกำลัง.

    คำว่า วิปัสสนาอย่างอ่อน เป็นชื่อของญาณ ๔ คือ สังขารปริเฉทญาณ กังขาวิตรณญาณ สัมมสนญาณ มัคคามัคคญาณ.

    บทว่า สมาธิ ได้แก่ สมาธิที่มีฌานเป็นบาท.

    จริงอยู่ สมาธินั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาอย่างอ่อน.

    ข้อความบางตอนในอรรถกถาอุปนิสสูตร http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=68

    #สมาธิ #ความรู้เห็นตามเป็นจริง #ปัญญา

    [​IMG]
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    วิธีปฏิบัติฌาน (สมาธิ) ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ๑๑ วิธีคือ
    ๑. การตั้งจิตมั่น http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…
    ๒. การเข้า http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…
    ๓. การตั้งอยู่ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…
    ๔. การออก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…
    ๕. ความพร้อม http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…
    ๖. อารมณ์ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…
    ๗. โคจร http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…
    ๘. อภินิหาร http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…
    ๙. การทำโดยเคารพ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…
    ๑๐. การทำความเพียรต่อเนื่อง http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…
    ๑๑. การทำสัปปายะ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…
    ……………
    ดูรายละเอียดใน ฌานสังยุต สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในการเข้าสมาธิ
    คือบุคคลที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่าดีที่สุดในหมู่ผู้ได้ฌาณ
    **********
    [๖๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
    บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
    ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
    ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
    ๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
    ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในการเข้าสมาธิ
    ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในการเข้าสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด

    ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใสจากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสดเป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาด
    ในการเข้าสมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุดและยิ่งใหญ่ที่สุด”
    .....................
    สมาธิมูลกสมาปัตติสูตร สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…

    หมายเหตุ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงบุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก คือ
    ๑. ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
    ๒. ผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
    ๓. ผู้ไม่ฉลาดทั้งในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และในการเข้าสมาธิ
    ๔. ผู้ฉลาดทั้งในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และในการเข้าสมาธิ
    พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญบุคคลจำพวกที่ ๔ว่าดีที่สุด เหมือนยอดเนยใสดีกว่านมสด นมส้ม เนยข้น และเนยใส

    #ฌาน #สมาธิ #วิธีปฏิบัติ
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน

    ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่

    เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่

    เพราะปีติจางคลายไป มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยกาย (นามกาย) บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้

    เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่

    นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

    ...........................

    ข้อความบางตอนใน สัจจวิภังค์ พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕
    (พระไตรปิฏกไทย) http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=14

    (พระไตรปิฏกบาลี) http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php…

    ว่าด้วยนิเทศสัมมาสมาธิ (บาลีข้อ ๑๗๐)
    พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสัมมาสมาธิ ต่อไป.

    ฌาน ๔ มีความต่างกันแม้ในส่วนเบื้องต้น แม้ในขณะแห่งมรรค ในส่วนเบื้องต้นต่างกันด้วยอำนาจสมาบัติ ในขณะแห่งมรรคต่างกันด้วยอำนาจแห่งมรรค. ความจริง ปฐมมรรคของบุคคลคนหนึ่งย่อมเป็นธรรมประกอบด้วยปฐมฌาน แม้มรรคดวงที่ ๒ เป็นต้นก็เป็นธรรมประกอบด้วยปฐมฌาน หรือประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งมีทุติยฌานเป็นต้น. ปฐมมรรคของบุคคลคนหนึ่งก็ประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งมีทุติยฌานเป็นต้น. แม้ทุติยมรรคเป็นต้นก็เป็นธรรมประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งแห่งทุติยฌานเป็นต้น หรือว่าประกอบด้วยปฐมฌาน. ด้วยอาการอย่างนี้ มรรคแม้ทั้ง ๔ ย่อมเป็นเช่นเดียวกันบ้าง ไม่เป็นเช่นเดียวกันบ้าง หรือเป็นเช่นเดียวกันบางอย่าง ด้วยอำนาจฌาณ.

    ส่วนความแปลกกันของมรรคนั้น ด้วยกำหนดฌานเป็นบาทมีดังต่อไปนี้.

    ว่าด้วยนิยาม (การกำหนด) มรรคที่มีฌานเป็นบาทก่อน เมื่อบุคคลผู้ได้ปฐมฌานออกจากปฐมฌานแล้วเห็นแจ้งอยู่ มรรคเป็นธรรมประกอบด้วยปฐมฌานก็เกิดขึ้น และในมรรคนี้ องค์มรรคและโพชฌงค์ย่อมเป็นธรรมบริบูรณ์ทีเดียว เมื่อบุคคลได้ทุติยฌานออกจากทุติยฌานพิจารณาเห็นแจ้งอยู่ มรรคประกอบด้วยทุติยฌานก็เกิดขึ้น แต่ในมรรคนี้ องค์มรรคย่อมมี ๗ องค์ เมื่อได้ตติยฌานออกจากตติยฌานแล้วพิจารณาเห็นแจ้งอยู่ มรรคประกอบด้วยตติยฌานก็เกิดขึ้น แต่ในมรรคนี้ องค์มรรคมี ๗ โพชฌงค์มี ๖. นับตั้งแต่จตุตถฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็นัยนี้. ฌานที่เป็นจตุกนัยและปัญจกนัยย่อมเกิดขึ้นในอรูปภพ ก็ฌานนั้นแลตรัสเรียกว่า โลกุตระมิใช่โลกิยะ.

    ถามว่า ในอธิการนี้เป็นอย่างไร.
    ตอบว่า ในอธิการนี้ พระโยคาวจรออกจากฌานใด บรรดาปฐมฌานเป็นต้น ได้เฉพาะซึ่งโสดาปัตติมรรคแล้วเจริญอรูปสมาบัติเกิดขึ้นในอรูปภพ มรรค ๓ (เบื้องต้น) ของเขาประกอบด้วยฌานนั้นแหละ ย่อมเกิดขึ้นในภพนั้น ด้วยอาการอย่างนี้ ฌานที่เป็นบาทนั่นเอง ย่อมกำหนดมรรค.

    แต่พระเถระบางพวกย่อมกล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาย่อมกำหนด บางพวกกล่าวว่า อัชฌาสัยของบุคคลย่อมกำหนด บางพวกกล่าวว่า วิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินีย่อมกำหนด บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยวาทะของพระเถระเหล่านั้น โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในการวรรณนา บทภาชนีย์ว่าด้วยโลกุตระในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลังนั่นแล.

    คำว่า อยํ วุจฺจติ สมฺมาสมาธิ (นี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ) ความว่า เอกัคคตา (สมาธิจิต) ในฌาน ๔ เหล่านี้ เราเรียกชื่อว่า สัมมาสมาธิ เป็นโลกิยะในส่วนเบื้องต้น แต่ในกาลภายหลังเป็นโลกุตระ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงมรรคสัจจะด้วยสามารถเป็นโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการฉะนี้.

    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาวิภังค์ พระอภิธรรมปิฎก
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…

    #สัมมาสมาธิ #สมาธิ #ฌาน

    c_oc=AQk5BSTGpLi2XqwJqAyt0pB1Tpkrh8DTy6eltQDAwLnk00U7uskC_-ECrGtMZ4WAW24&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    ลักษณะสมาธิจิตที่ใช้เป็นบาทฐานวิปัสสนา
    ************
    [๑๓๑] โส เอวํ สมาหิเต จิตฺเต ปริสุทฺเธ
    ปริโยทาเต อนงฺคเณ วิคตูปกฺกิเลเส
    มุทุภูเต กมฺมนิเย ฐิเต อาเนญฺชปฺปตฺเต
    ญาณทสฺสนาย จิตฺตํ อภินีหรติ อภินินฺนาเมติ ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php…

    [๒๓๔] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง
    ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง
    อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น
    ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
    ภิกษุนั้น น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ
    …………..
    ข้อความบางตอนใน สามัญญผลสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=09&siri=2
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    เมื่อจิตเป็นสมาธิ จึงรู้ชัดว่ากายนี้ไม่เที่ยง
    ***************
    [๔๗๒] อริยปัญญาขันธ์ ที่ท่านพระโคดมตรัสสรรเสริญและทรงให้ประชาชนสมาทานตั้งมั่นอยู่เป็นอย่างไร ท่านอานนท์”

    ท่านพระอานนท์ตอบว่า “เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘กายของเรานี้คุมกันเป็นรูปร่าง ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากบิดามารดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา วิญญาณของเราอาศัยและเนื่องอยู่ในกายนี้’

    เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงดงามตามธรรมชาติ มีแปดเหลี่ยม ที่เจียระไนดีแล้ว สุกใสเป็นประกายได้สัดส่วน มีด้ายสีเขียว เหลือง แดง ขาวหรือสีนวลร้อยอยู่ข้างใน คนตาถึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณารู้ว่า ‘แก้วไพฑูรย์อัน
    งดงามตามธรรมชาติ มีแปดเหลี่ยม ที่เจียระไนดีแล้ว สุกใสเป็นประกายได้สัดส่วนมีด้ายสีเขียว เหลือง แดง ขาวหรือสีนวลร้อยอยู่ข้างใน’

    ฉันใด เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘กายของเรานี้คุมกันเป็นรูปร่าง ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากบิดามารดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตก กระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา วิญญาณของเราอาศัยและเนื่องอยู่ในกายนี้’ ฉันนั้น
    ข้อนี้จัดเป็นปัญญาอย่างหนึ่งของภิกษุ
    .....................
    ข้อความบางตอนใน สุภสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=10

    ดูเพิ่มในอรรถกถาสุภสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=314

    หมายเหตุ สุภสูตรนี้มีเนื้อหาโดยสรุปว่า พระสูตรนี้เป็นการสนทนาระหว่างท่านพระอานนท์กับสุภมาณพ ช่วงเวลาหลังจากพระผู้มีพระภาคปรินิพพานไปแล้วไม่นาน

    สุภมาณพ เรียนถามท่านพระอานนท์ว่า พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญธรรมอะไร ทรงชักชวนให้ประชาชนตั้งมั่นอยู่ในธรรมอะไร ท่านพระอานนท์ตอบว่าทรงสรรเสริญขันธ์ ๓ และทรงชักชวนให้ประชาชนตั้งมั่นอยู่ในขันธ์ ๓

    สุภมาณพเรียนถามว่าขันธ์ ๓ คืออะไร ท่านพระอานนท์ตอบว่าขันธ์ ๓ คือ สีลขันธ์ (กองศีล) สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ) และปัญญาขันธ์ (กองปัญญา) และอธิบายความอย่างเดียวกับ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระเจ้าอชาตศัตรู ดังปรากฏในสามัญญผลสูตรทุกประการ

    ในคำว่า "เมื่อจิตเป็นสมาธิ" หมายถึง ลักษณะของจิตเป็นสมาธิที่ใช้เป็นฐานให้เกิดปัญญา มีลักษณะ ๘ ประการ คือ (๑) บริสุทธิ์ (๒) ผุดผ่อง (๓) ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน (๔) ปราศจากความเศร้าหมอง (๕) อ่อน (๖) เหมาะแก่การใช้งาน (๗) ตั้งมั่น (๘) ไม่หวั่นไหว

    #สมาธิ #ฌาน #วิปัสสนา

    c_oc=AQm4GFuXPhV5d5lP-mZPxCZGcG49isXAt3H1ZLjVnUMKgAO7XfPfpjdaL7KjmwkDa58&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    ผู้มีจิตเป็นสมาธิย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง
    ********
    [๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขออวิปปฏิสารจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา

    บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่ปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารนี้ เป็นธรรมดา
    บุคคลผู้มีปราโมทย์ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปีติจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่ปีติเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา

    บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอกายของเราจงสงบ’ การที่บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติมีกายสงบนี้ เป็นธรรมดา
    บุคคลผู้มีกายสงบไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเสวยสุข’ การที่บุคคลผู้มีกายสงบเสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา

    บุคคลผู้มีสุขไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอจิตของเราจงเป็นสมาธิ’ การที่บุคคลผู้มีสุขมีจิตเป็นสมาธินี้ เป็นธรรมดา

    บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงรู้เห็นตามความเป็นจริง’ การที่บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิรู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา

    บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเบื่อหน่ายคลายกำหนัด’ การที่บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา

    บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงทำให้แจ้งวิมุตติญาณทัสสนะ’ การที่บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดทำให้แจ้งวิมุตติญาณทัสสนะนี้ เป็นธรรมดา

    นิพพิทาและวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาและวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาและวิราคะเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์

    ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ย่อมให้ธรรมทั้งหลายบริบูรณ์ เพื่อออกจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้น อย่างนี้แล
    ................
    เจตนากรณียสูตร ว่าด้วยกรรมที่ไม่ต้องทำด้วยความตั้งใจ
    อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…

    c_oc=AQkdn_ajxOAg98zM9CuPr9p2r3RzBkpP6K6SWtOinEoXcsu9QzhlckWH84i23bE6oRw&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    ?temp_hash=f3290b60c3a68261a9ab7b42b003248b.jpg






    สมาธิภาวนามีประโยชน์อย่างไร

    ****************
    [๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้

    สมาธิภาวนา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

    ๑. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

    ๒. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ

    ๓. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ

    ๔. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

    สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นอย่างไรคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

    สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มนสิการถึงอาโลกสัญญา (ความกำหนดหมายในแสงสว่าง) อธิษฐานทิวาสัญญา (ความกำหนดหมายว่ากลางวัน) ว่า กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัดไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ

    สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป รู้แจ้งสัญญาที่เกิดขึ้น ... รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ

    สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า “รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ สัญญาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้” สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

    ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้แล

    ภิกษุทั้งหลาย ก็คำนี้เรากล่าวไว้ในปุณณกปัญหาในปารายนวรรค หมายถึง ข้อความนี้ว่า

    บุคคลใดรู้สิ่งสูงต่ำในโลก
    ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้หวั่นไหวในโลกไหนๆ
    เรากล่าวว่า บุคคลเป็นผู้สงบ
    ไม่มีควันคือความโกรธ
    ไม่มีกิเลสกระทบจิต ไม่มีความหวัง
    ข้ามพ้นชาติและชราได้แล้ว

    ************
    สมาธิภาวนาสูตร อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=41

    https://youtu.be/0dHxfPHU7NM

    พระไตรปิฎก http://pratripitaka.com ๕. โรหิตัสสวรรค หมวดว่าด้วยโรหิตัสสเทพบุตร ๑. สมาธิภาวนาสูตร ว่าด้วยสมาธิภาวนา {๔๑}[๔๑] พร....

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • e_1510884.jpg
      e_1510884.jpg
      ขนาดไฟล์:
      101.3 KB
      เปิดดู:
      374
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา


    [๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ


    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ



    อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์ อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง ฯ


    [๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิวิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ


    ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯ
    คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคเกิดอย่างไร ฯ
    สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสังกัปปะด้วย อรรถว่าดำริ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวายามะด้วยอรรถ
    ว่าประคองไว้ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคย่อมเกิด มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ
    คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ดังนี้ ความว่า ย่อมเสพอย่างไร ฯ
    ภิกษุนั้น นึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ เห็นอยู่ชื่อว่าเสพพิจารณาอยู่ชื่อว่าเสพ อธิษฐานจิตอยู่ชื่อว่าเสพ น้อมจิตไปด้วยศรัทธาชื่อว่า เสพ ประคองความเพียรไว้ชื่อว่าเสพ ตั้งสติไว้มั่นชื่อว่าเสพ ตั้งจิตไว้อยู่ ชื่อว่าเสพ ทราบชัดด้วยปัญญาชื่อว่าเสพ รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งอยู่ชื่อว่าเสพ
    กำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ชื่อว่าเสพ ละธรรมที่ควรละชื่อว่าเสพ เจริญธรรมที่ควรเจริญชื่อว่าเสพ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ ย่อมเสพอย่างนี้ ฯ
    คำว่า เจริญ ความว่า เจริญอย่างไร ฯ
    ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ ... ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่า เจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้ ฯ
    คำว่า ทำให้มาก ความว่า ทำให้มากอย่างไร ฯ
    ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก ... ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าทำให้มาก ทำให้มากอย่างนี้ ฯ
    คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างไร ฯ
    ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฐิอนุสัย วิจิกิจฉาอนุสัย ย่อมสิ้นไปด้วย โสดาปัตติมรรค ฯ
    ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ฯ
    ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียดๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ฯ
    ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา อนุสัย ๓ นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตมรรค ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ

    [๕๓๖] ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความไม่พยาบาท เป็นสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่ง อาโลกสัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมาธิ วิปัสสนาด้วยอรรถว่า พิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ





    ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ... ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯ
    คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯ
    สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด ... มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ ฯลฯ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ความว่า ย่อมเสพอย่างไร ฯ
    ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควร ทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ ย่อมเสพอย่างนี้ ฯ
    คำว่า ย่อมเจริญ ความว่า ย่อมเจริญอย่างไร ฯ
    ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ รู้อยู่ชื่อว่าเจริญ ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้ ฯ
    คำว่า ทำให้มาก ความว่า ย่อมทำให้มากอย่างไร ฯ
    ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก รู้อยู่ชื่อว่าทำให้มาก ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าทำให้มาก ย่อมทำให้มากอย่างนี้ ฯ
    คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างไร ... ฯ

    [๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
    วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ วิปัสสนาด้วย อรรถว่าพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์ และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนามีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯ
    คำว่า มรรคย่อมเกิด ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา และมรณะ โดยความเป็นสภาพ ไม่เที่ยง ฯลฯ โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมี
    การปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์ และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ คำว่า ย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างนี้ ฯ


    [๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ
    ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ ด้วย ความเป็นอารมณ์ ๑ ด้วยความเป็นโคจร ๑ ด้วยความละ ๑ ด้วยความสละ ๑ ด้วยความออก ๑ ด้วยความหลีกไป ๑ ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑ ด้วยความเป็นธรรมประณีต ๑ ด้วยความหลุดพ้น ๑ ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑ ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ๑ ด้วยความไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่างเปล่า ๑ ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน ๑ ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ
    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอารมณ์อย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่าน จึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะ และวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ อย่างนี้ ฯ
    ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจรอย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นโคจร เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจร ฯ


    [๕๓๙] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความละอย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละกิเลสอัน ประกอบด้วยอวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะ และวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความละ ฯ
    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละอย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วย อวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกัน และกัน ด้วยความสละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละ ฯ
    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความออกอย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุออกจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุออกจาก กิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกันเป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความออก เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง กล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความออก ฯ
    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไปอย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุหลีกไปจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิคือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุหลีกไป จากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลีกไป เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไป ฯ


    [๕๔๐] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียดอย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า พิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะ และวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียด เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็น คู่กัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ฯ
    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต อย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า พิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและ วิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต ฯ
    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลุดพ้นอย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า พิจารณาเห็น เป็นหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ ชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุติเพราะสำรอกอวิชชา ด้วยประการดังนี้ สมถะ และวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลุดพ้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลุดพ้น ฯ


    [๕๔๑] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะอย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
    ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีอาสวะ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ ฯ
    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้ามอย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลส อันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าว
    ว่า เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ฯ
    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนา ด้วยความไม่มีนิมิตร อย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีนิมิตร เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีนิมิตร ฯ
    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง อย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ฯ
    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า อย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความว่างเปล่า เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น อันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่าอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยอาการ ๑๖ เหล่านี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กันอย่างนี้ ฯ


    [๕๔๒] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมี อย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงโอภาสว่า โอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิต ที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร) อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น) อุเบกขา นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความ ฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความ เป็นจริงซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความ เป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรม ถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ฯลฯ เมื่อภิกษุ มนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ


    [๕๔๓] เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา เมื่อภิกษุมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความ พอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งชราและมรณะอันปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบ อยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อม เกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้อย่างนี้ ฯ


    จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจาก ความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ ๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความ นึกถึงโอภาสเป็นต้นอันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน และย่อมไม่ถึง ความหลงใหล จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง และเคลื่อนจาก จิตภาวนา จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง ภาวนาย่อมเสื่อมไป จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ภาวนาย่อมไม่เสื่อม จิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง และไม่เคลื่อนจากจิตภาวนาด้วยฐานะ ๔ ประการนี้ ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตกวัด แกว่งฟุ้งซ่าน ถูกโอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ ฉะนี้แล ฯ


    จบยุคนัทธกถา
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 504

    บทว่า ฌาน ฌานมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌานเพ่งอารมณ์ และ ลักขณูปนิชฌาน - เพ่งลักษณะ ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ เข้าไปเพ่งอารมณ์ มีปฐวีกสิณเป็นต้น ชื่อว่า อารัมมณูปนิชฌาน. วิปัสสนามรรคและผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน. ในวิปัสสนามรรคและผลเหล่านั้น วิปัสสนาชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่ง ซึ่งลักษณะมีอนิจลักษณะ เป็นต้น, มรรคชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะกิจทำด้วยวิปัสสนาสำเร็จด้วยมรรค, ส่วนผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งนิโรธสัจ อันเป็นลักษณะที่จริงแท้.
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

    ------------------------------------------------------------------

    [​IMG]
    [๑๔๓] ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขาร
    นิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณอย่างไร ฯ
    ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิเพราะอรรถว่าเห็น
    ย่อมออกจากมิจฉาทิฐิ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย
    (คืออรูปขันธ์ ๔ อันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น เบญจขันธ์พร้อมด้วยรูปอันมีทิฐินั้นเป็น
    สมุฏฐานและวิบากขันธ์อันจะพึงเกิดขึ้นในอนาคต) และจากสรรพนิมิตภายนอก
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส
    ขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ
    เพราะอรรถว่าดำริออก ย่อมออกจากมิจฉาสังกัปปะ ... เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่า
    สัมมาวาจา เพราะอรรถว่ากำหนดเอา ย่อมออกจากมิจฉาวาจา ... เป็นมรรคญาณ
    ญาณชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ย่อมออกจากมิจฉา-
    *กัมมันตะ ... เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะอรรถว่าขาวผ่อง
    ย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ ... เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะ
    อรรถว่าประคองไว้ ย่อมออกจากมิจฉาวายามะ ... เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาสติ
    เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมออกจากมิจฉาสติ ... เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่า
    สัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากมิจฉาสมาธิ จากเหล่ากิเลส
    ที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะ
    เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และ
    สังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ
    [๑๔๔] ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่า
    เห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราค-
    *สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ จากเหล่ากิเลส
    ที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะ
    เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขาร
    นิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ
    [๑๔๕] ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถ
    ว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราค-
    *สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ย่อม
    ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพ-
    *นิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจาก
    กิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ
    [๑๔๖] ในขณะแห่งอรหัตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น
    ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากรูปราคะ อรูปราคะ
    มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมออกจาก
    เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิต
    ภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส
    ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ
    [๑๔๗] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วย
    โลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว
    โลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิ
    ต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์ ถ้าพระ
    โยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้วย่อมเห็นแจ้งฉันใด ถ้าเมื่อเห็นแจ้งก็
    พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดีฉันนั้น สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วใน
    ขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่
    ความเห็นว่า
    สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข ชื่อว่าปัญญาที่ออก
    จากธรรมทั้งสอง ย่อมถูกต้องอมตบท พระโยคาวจรผู้ฉลาด
    ในความเป็นต่างกัน และความเป็นอันเดียวกันแห่งวิโมกข์
    เหล่านั้น ย่อมรู้วิโมกขจริยา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ
    เพราะความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง ฉะนี้แล ฯ

    ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์
    และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสองเป็นมรรคญาณ ฯ
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,337
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา จักไม่มีความเคารพในสมาธิ

    ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา ก็ชื่อว่ามีความเคารพในสมาธิด้วย พระพุทธเจ้าข้า
    .................
    ข้อความบางตอนใน สักกัจจสูตร ว่าด้วยความเคารพ อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=67

    หมายเหตุ สักกัจจสูตร พระสูตรนี้มีเนื้อความโดยย่อว่า ท่านพระสารีบุตรเกิดความคิดว่า ภิกษุสักการะเคารพอาศัยอะไร จึงละอกุศล เจริญกุศลได้ ท่านคิดได้ว่าภิกษุสักการะเคารพธรรม ๗ ประการ คือ (๑)พระศาสดา (๒) พระธรรม (๓) พระสงฆ์ (๔) สิกขา (๕) สมาธิ (๖) ความไม่ประมาท และ (๗) ปฏิสันถาร จึงละอกุศล เจริญกุศลได้
    หลังจากนั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเล่าเรื่องที่ตนคิดให้ฟัง พระบรมศาสดาตรัสรับรองว่าท่านพระสารีบุตรคิดถูกแล้ว
    จากนั้นท่านพระสารีบุตร จึงได้อธิบายโดยพิสดารว่าธรรม ๗ ประการนั้นมีความสัมพันธ์กันเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน เช่น ความสัมพันธ์กันระหว่าง พระศาสดา กับ พระธรรม ท่านพระสารีบุตรได้อธิบายโดยพิสดารไว้ ๓ นัย คือ
    ๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา จักมีความเคารพในพระธรรม ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพในพระธรรมด้วย
    ๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา จักไม่มีความเคารพในพระธรรม ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่ามีความเคารพในพระธรรมด้วย
    ๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา จักมีความเคารพในพระธรรมด้วย ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่ามีความเคารพในพระธรรมด้วย

    Hsz6uUoaBP_YwslIhwkYIypstQ92TOvP7TpfBMnT-C45h6Kx0dPR5EB4KWvsgtfUsqM3qyh3&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...