อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    สัพพัตถกกัมมัฏฐาน และ ปาริหาริยกัมมัฏฐาน




    ************
    [กรรมฐาน ๒ พร้อมทั้งอธิบาย]
    กรรมฐานนั้น มีอยู่ ๒ อย่าง คือ สัพพัตถกกัมมัฏฐาน (กรรมฐานมีประโยชน์ในกุศลธรรมทั้งปวง) ๑ ปาริหาริยกัมมัฏฐาน (กรรมฐานควรบริหารรักษา) ๑. บรรดากรรมฐาน ๒ อย่างนั้นที่ชื่อว่า สัพพัตถกกัมมัฏฐาน ได้แก่เมตตา (ที่เจริญไป) ในหมู่ภิกษุเป็นต้นและมรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย). พระอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า อสุภสัญญา บ้าง.

    จริงอยู่ ภิกษุผู้จะเจริญกรรมฐาน ครั้งแรกต้องตัดปลิโพธเสียก่อน แล้วจึงเจริญเมตตาไปในหมู่ภิกษุผู้อยู่ในสีมา, ลำดับนั้น พึงเจริญไปในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมา, ถัดจากนั้นพึงเจริญไปในอิสรชนในโคจรคาม, ต่อจากนั้นพึงเจริญไปในเหล่าสรรพสัตว์กระทั่งถึงชาวบ้านในโคจรคามนั้น.

    แท้จริง ภิกษุนั้นทำพวกชนผู้อยู่ร่วมกันให้เกิดมีจิตอ่อนโยน เพราะเมตตาในหมู่ภิกษุ. เวลานั้น เธอจะมีความอยู่เป็นสุข. เธอย่อมเป็นผู้อันเหล่าเทวดาผู้มีจิตอ่อนโยน เพราะเมตตาในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมาจัดการอารักขาไว้เป็นอย่างดี ด้วยการรักษาที่ชอบธรรม. ทั้งเป็นผู้อันอิสรชนทั้งหลายผู้มีจิตสันดานอ่อนโยน เพราะเมตตาในอิรชนในโคจรคาม จัดรักษาระแวดระวังไว้อย่างดี ด้วยการรักษาที่ชอบธรรม. และเป็นผู้อันชาวบ้านเหล่านั้นผู้มีจิตถูกอบรมให้เลื่อมใส เพราะเมตตาในพวกชาวบ้านในโคจรคามนั้น ไม่ดูหมิ่นเที่ยวไป. เป็นผู้เที่ยวไปไม่ถูกอะไรๆ กระทบกระทั่งในที่ทุกสถาน เพราะเมตตาในเหล่าสรรพสัตว์.

    อนึ่ง เธอเมื่อคิดว่า เราจะต้องตายแน่แท้ด้วยมรณัสสติ ละการแสวงหาที่ไม่สมควรเสีย เป็นผู้มีความสลดใจเจริญสูงขึ้นเป็นลำดับ ย่อมเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน. ตัณหาย่อมไม่เกิดขึ้น แม้ในอารมณ์ที่เป็นทิพย์ เพราะอสุภสัญญา.

    เพราะเหตุนั้น คุณธรรมทั้ง ๓ (คือ เมตตา ๑ มรณัสสติ ๑ อสุภสัญญา ๑) นั้นของภิกษุนั้น ท่านเรียกว่าสัพพัตถกกัมมัฏฐาน เพราะทำอธิบายว่าเป็นกรรมฐานอันกุลบุตรพึงปรารถนา คือพึงต้องการในที่ทุกสถาน เพราะเป็นธรรมมีอุปการะมาก และเพราะความเป็นปทัฏฐานแห่งการหมั่นประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรตามที่ประสงค์ไป โดยนัยดังพรรณนามาฉะนี้.

    ก็บรรดาอารมณ์ ๓๘ ประการ กรรมฐานใดที่คล้อยตามจริตของกุลบุตรใด กรรมฐานนั้น ท่านเรียกว่า ปาริหาริยกรรมฐาน เพราะเป็นกรรมฐานที่กุลบุตรนั้นควรบริหารไว้เป็นนิตย์ โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นเอง แต่ในตติยปาราชิกนี้ อานาปานกรรมฐานนี้แล ท่านเรียกว่า ปาริหาริยกรรมฐาน.

    ในอธิการว่าด้วยอานาปานกัมมัฏฐานนี้ มีความสังเขปเท่านี้.

    ส่วนความพิสดารนักศึกษาผู้ต้องการกถาว่าด้วยการชำระศีลให้หมดจด และกถาว่าด้วยการตัดปลิโพธ พึงถือเอาจากปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรคเถิด.
    .............
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค ปาราชิกกัณฑ์ ตติยปาราชิกสิกขาบท
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…

    #กรรมฐาน #กัมมัฏฐาน

    kMB17rMcOKnGIiOELufIrWZQPVdBxTq6_lg84VvVQpDi&_nc_ohc=ZgZWl6o6vwMAX-ZIqs2&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    องค์ธรรม ๗ ประการมีสัมมาทิฏฐิ เป็นหัวหน้าแวดล้อมซึ่งสัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ ผู้มีสัมมาสมาธิพอเหมาะ (บริบูรณ์ครบถ้วนไม่ขาดไม่เกิน) ก็จะมีสัมมาญาณญาณะและสัมมาวิมุตติด้วย
    ************
    [๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
    สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
    คือ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาวายามะ สัมมาสติก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติก็มีพอเหมาะ

    ภิกษุทั้งหลาย พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ (แม้ในบรรดาองค์เหล่านั้น บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกไปปราศแล้ว ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนาโดยสัมมาญาณะ) ด้วยประการฉะนี้

    [๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
    สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
    คือ สัมมาทิฏฐิ ย่อมทำลายมิจฉาทิฏฐิได้ และบาปอกุศลธรรมเป็นอเนกอันมีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็เป็นอันถูกสัมมาทิฏฐินั้นทำลายแล้ว กุศลธรรมเป็นอเนกอันมีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
    สัมมาสังกัปปะ ย่อมทำลายมิจฉาสังกัปปะได้ ...
    สัมมาวาจา ย่อมทำลายมิจฉาวาจาได้ ...
    สัมมากัมมันตะ ย่อมทำลายมิจฉากัมมันตะได้ ...
    สัมมาอาชีวะ ย่อมทำลายมิจฉาอาชีวะได้ ...
    สัมมาวายามะ ย่อมทำลายมิจฉาวายามะได้ ...
    สัมมาสติ ย่อมทำลายมิจฉาสติได้ ...
    สัมมาสมาธิ ย่อมทำลายมิจฉาสมาธิได้ ...
    สัมมาญาณะ ย่อมทำลายมิจฉาญาณะได้ ...
    สัมมาวิมุตติ ย่อมทำลายมิจฉาวิมุตติได้ และบาปอกุศลธรรมเป็นอเนก อันมีมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็เป็นอันถูกสัมมาวิมุตตินั้นทำลายแล้ว กุศลธรรมเป็นอเนกอันมีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่

    ภิกษุทั้งหลาย เราจึงประกาศธรรมบรรยายชื่อว่ามหาจัตตารีสกะฝ่ายกุศล ๒๐ ประการ ฝ่ายอกุศล ๒๐ ประการ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกยังประกาศไม่ได้ไว้ ด้วยประการฉะนี้
    …ฯลฯ...
    .....................
    ข้อความบางตอนใน มหาจัตตารีสกสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=17

    อรรถกถามหาจัตตารีสกสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=252

    xj1jd8-wmHrI1PPXTpkfw8iq3KXT_Z50Kvo7DBJn1ffR&_nc_ohc=7x0BohcGTAIAX-4iGUX&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    56fykMQYNl1mxRNqgEztEAYukfMNcf_P5CJxj6-my0Q4&_nc_ohc=EhFUdvpwJ6cAX_tgxpi&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    AlfwT6dTjrCX7x-I8QhpPfuSwZGbGoBhKFB8A3vsX9gE&_nc_ohc=4QEKIg3tgQIAX-KMtOY&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    gQj8i47f-jstawqDWsCPugejKjQhB9y1XYquMimotM1K&_nc_ohc=a7hr0Fl3ko8AX-l14ta&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    uXkL8alzYEewnEiaV9oHvCDKXqWNuUroRipcJx2LqQFf&_nc_ohc=Or7v-tE8RFQAX-sYXyq&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    ?temp_hash=88cb3acb9be0a63a6ee78ffd54e07ff9.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา = ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา
    *************




    [๒๗๙] เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
    เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
    นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
    .......
    อนัตตลักขณวัตถุ มัคควรรค ขุททกนิกาย ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=29

    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ ๕๐๐ รูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สพฺเพ สงฺขารา" เป็นต้น.

    ภิกษุเรียนกัมมัฏฐาน

    ดังได้สดับมา ภิกษุเหล่านั้นเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้ว แม้พากเพียรพยายามอยู่ในป่า ก็ไม่บรรลุพระอรหัต จึงคิดว่า "เราจักเรียนกัมมัฏฐานให้วิเศษ" ดังนี้แล้ว ได้ไปสู่สำนักพระศาสดา.

    ทางแห่งความหมดจด

    พระศาสดาทรงพิจารณาว่า "กัมมัฏฐานอะไรหนอแล เป็นที่สบายของภิกษุเหล่านี้?" จึงทรงดำริว่า "ภิกษุเหล่านี้ ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ตามประกอบแล้วในอนิจจลักษณะ สิ้นสองหมื่นปี, เพราะฉะนั้น การแสดงคาถาด้วยอนิจจลักษณะนั้นแลแก่เธอทั้งหลาย สัก ๑ คาถาย่อมควร" ดังนี้แล้ว

    ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย สังขารแม้ทั้งปวงในภพทั้งหลายมีกามภพเป็นต้น เป็นสภาพไม่เที่ยงเลย เพราะอรรถว่ามีแล้วไม่มี"

    ...ฯลฯ...

    แม้ในพระคาถาที่ ๓ ก็มีนัยเช่นนั้นเหมือนกัน.

    ก็ในพระคาถาที่ ๓ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความที่ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ตามประกอบแล้วในอันกำหนดสังขาร โดยความเป็นอนัตตา ในกาลก่อนอย่างสิ้นเชิงแล้ว

    ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ขันธ์แม้ทั้งปวงเป็นอนัตตาแท้ เพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ"
    ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.
    เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ‘ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา’ เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์, ความหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด.

    แก้อรรถ

    บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า สพฺเพ ธมฺมา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาขันธ์ ๕ นี้เอง.

    บทว่า อนตฺตา ความว่า ชื่อว่า อนัตตา คือว่างเปล่า ไม่มีเจ้าของ ได้แก่ไม่มีอิสระ เพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ เพราะใครๆ ไม่อาจให้เป็นไปในอำนาจว่า "ธรรมทั้งปวงจงอย่าแก่ จงอย่าตาย."

    บทที่เหลือ ก็เช่นกับบทที่มีแล้วในก่อนนั่นเอง ดังนี้แล.
    ..............
    เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูปอื่นอีก มัคควรรควรรณนา ขุททกนิกาย อรรถกถาธรรมบท
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=30&p=2

    อรรถกถา(บาลี) http://www.84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=24&A=1155

    หมายเหตุ ในคัมภีร์ขุททกนิกาย ธรรมบท พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา" พระพุทธโฆสเถระ ได้อธิบายข้อความนี้ไว้ในคัมภีร์อรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อว่า ธัมมปัฏฐกถา ว่า
    คำว่าธรรมทั้งหลาย หมายถึง ขันธ์ ๕ ส่วนคำว่า อนัตตา หมายถึงว่างเปล่า ไม่มีเจ้าของ ไม่มีอิสระเพราะใครๆ ไม่อาจให้เป็นไปในอำนาจด้วยความคิดว่า “ธรรมทั้งปวงจงอย่าแก่ จงอย่าตาย.”
    #อนัตตา

    gnhO1HCV54o-oD4-s7bf8FeyfQOV3WdALNoLIG9aKnqU&_nc_ohc=zTpHyiYecpEAX8AMlyv&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    ธรรม ๒ ประการที่มีอุปการะมาก คือ สติ (ความระลึกได้) และ สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว)
    *********
    [๓๗๘] กตเม เทฺว ธมฺมา พหุการา ฯ สติ จ สมฺปชญฺญญฺจ ฯ อิเม เทฺว ธมฺมา พหุการา ฯ
    http://www.84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=11&A=6159
    (ก) ธรรม ๒ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
    คือ
    ๑. สติ (ความระลึกได้)
    ๒. สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว)
    นี้ คือธรรม ๒ ประการที่มีอุปการะมาก
    ………………
    ข้อความบางตอนใน ทสุตตรสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=11&siri=11
    หลายบทว่า อิเม เทฺว ธมฺมา พหูการา ความว่า ธรรมคือสติและสัมปชัญญะ ๒ เหล่านี้มีอุปการะ คือนำประโยชน์เกื้อกูลมาให้ในที่ทั้งปวง เหมือนความไม่ประมาทมีอุปการะในกิจทั้งหลายมีการบำเพ็ญศีลเป็นต้น ฉะนั้น.
    ………………
    ข้อความบางตอนใน เทฺวธมฺมวณฺณนา อรรถกถาทสุตตรสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=364
    P0y_Z5npLnts8SxC-EzZEiFT4mD6U-AtNcBrXz-qUGmJ&_nc_ohc=PkObSr6BDwEAX_EBLBO&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    3odQxtk9OjQnB64XwynUvJJTcusxjczsmGKAnOg6gIpA&_nc_ohc=zSA3mjzFw5gAX9RDd5S&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    ใช้สติฝึกจิต
    ***********
    (พระวิชิตเสนเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)

    [๓๕๕] เราจะคล้องจิตของเจ้าไว้
    เหมือนควาญช้างกักช้างไว้ที่ประตูเมือง
    เราจะไม่ชักนำเจ้าซึ่งเป็นข่ายแห่งกามเกิดในร่างกายให้เป็นไปในกรรมชั่ว

    [๓๕๖] เจ้าถูกเราคล้องไว้จะไปไม่ได้
    เหมือนช้างไม่ได้ช่องประตู หมดทางไป แน่ะจิตผู้ชั่วช้า ก็เจ้าผู้ดื้อด้าน
    จะพอใจในกรรมชั่ว เที่ยวไปเสมอๆ มิได้

    [๓๕๗] ควาญช้างผู้มีกำลังเข้มแข็ง
    ย่อมบังคับช้างที่จับได้ใหม่ ยังไม่ได้ฝึก ทั้งไม่ต้องการ(จะให้ฝึก)ด้วย ให้อยู่ในอำนาจได้ ฉันใด เราจะบังคับเจ้าให้อยู่ในอำนาจได้ ฉันนั้น

    [๓๕๘] สารถีมือหนึ่ง เก่งในการฝึกม้าให้ดี
    ย่อมฝึกม้าให้รอบรู้ได้ ฉันใด
    เราตั้งอยู่ในพละ ๕ จะฝึกเจ้าให้ได้ ฉันนั้น

    [๓๕๙] จักใช้สติผูกเจ้าไว้ จะคอยเอาใจใส่ฝึกเจ้า เจ้าจิตเอ๋ย เจ้าถูกบังคับให้ทำธุระด้วยความเพียรแล้ว จะไปไกลจากอารมณ์ภายในนี้ไม่ได้
    .........
    วิชิตเสนเถรคาถา ขุททกนิกาย เถรคาถา
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=343

    ดูเพิ่มใน อรรถกถาวิชิตเสนคาถา
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=343

    61LqkDb8pPaPW-3cTGeHJxTaLrICYz0oGzQ2CtvnBo55&_nc_ohc=UNskywR2id0AX8T2JVZ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    CRcpagPecAmRvgpDJNEnLU1_nc86EqL1rHgwaxgkz7IR&_nc_ohc=vEk6iMIU0ikAX8K4bvK&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    N5U3s2OratB2JKBGxwent35I7F5NBZYRnprOk4toemNL&_nc_ohc=AZRn8ojcEJcAX8y6tAv&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    kPRXoCWzXCl_7O8V3xLL2W68dOXyIKbQdGhbHnloOivj&_nc_ohc=YGgRv6ThNEgAX-TdbfK&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    moRLbtiRM2hM-IkY5WL97FTS9zXSomu0zVsHu7tosH6C&_nc_ohc=BK8DRIiLJDIAX93l6vY&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    เหตุแห่งการให้ทาน ๘ ประการ
    ************
    [๓๓๖] ทานวัตถุ (เหตุแห่งการให้ทาน) ๘
    ๑. ให้ทานเพราะประสบเข้า
    ๒. ให้ทานเพราะกลัว
    ๓. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาได้ให้แก่เราแล้ว’
    ๔. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาจักให้แก่เรา’
    ๕. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’
    ๖. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้ไม่ควร’
    ๗. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ กิตติศัพท์อันงาม ย่อมขจรไป’
    ๘. ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต และปรุงแต่งจิต
    ........
    ข้อความบางตอนใน สังคีติสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=11&siri=10

    ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต ในที่นี้หมายถึง ให้ทานเครื่องประดับจิตในการเจริญสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพราะทานจะทำจิตใจให้อ่อนโยน เหมาะแก่การเจริญกัมมัฏฐานทั้งสอง (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๑/๒๕๓)

    หลายบทว่า จิตฺตาลงฺการจิตฺตปริกฺขารตฺกํ ทานํ เทติ ความว่า บุคคลย่อมให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับ และเพื่อเป็นบริวารของจิตในสมถะและวิปัสสนา.

    จริงอยู่ ทานย่อมกระทำจิตให้อ่อนได้. อันผู้ใดได้วัตถุ แม้ผู้นั้นก็ย่อมมีจิตอ่อนว่า เราได้แล้ว. อันผู้ใดให้แล้ว แม้ผู้นั้นก็ย่อมมีจิตอ่อนว่า เราให้แล้ว. ทานย่อมกระทำจิตของบุคคลแม้ทั้งสองให้อ่อนได้ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า การฝึกจิตซึ่งยังไม่เคยฝึก (ชื่อว่าทาน). เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

    การฝึกจิตซึ่งยังไม่เคยฝึก ชื่อว่าทาน
    การไม่ให้เป็นเหตุประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว
    สัตว์ทั้งหลายย่อมฟูขึ้นและฟุบลง ด้วยทาน
    และวาจาที่อ่อนหวาน ดังนี้.

    ก็บรรดาทานทั้ง ๘ ประการเหล่านี้ ทานที่เป็นเครื่องประดับจิตเท่านั้นสูงสุด.
    .........
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาสังคีติสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=8#เหตุแห่งทาน
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    78778514074_o.jpg?_nc_cat=111&_nc_sid=8024bb&_nc_ohc=fXnJGx6qMYUAX9ftUZi&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    อานิสงส์ของการให้ทาน
    ****************************
    อานนท์ ในทักษิณาปาฏิปุคคลิก ๑๔ ประการนั้น

    บุคคลให้ทานในสัตว์ดิรัจฉานแล้ว พึงหวังทักษิณาอันมีอานิสงส์ ๑๐๐ อัตภาพ

    ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีลแล้วพึงหวังทักษิณาอันมีอานิสงส์ ๑,๐๐๐ อัตภาพ

    ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีลแล้วพึงหวังทักษิณาอันมีอานิสงส์ ๑๐๐,๐๐๐ อัตภาพ

    ถวายทานในบุคคลภายนอกศาสนาผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลายแล้ว พึงหวังทักษิณาอันมี
    อานิสงส์แสนโกฏิอัตภาพ

    ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลแล้ว พึงหวังทักษิณาอันมีอานิสงส์นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้

    ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในพระโสดาบัน

    ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล

    ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในพระสกทาคามี

    ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล

    ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในพระอนาคามี

    ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล

    ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในพระสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์

    ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในพระปัจเจกสัมพุทธะ

    ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย
    ************
    ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในทักขิณาวิภังคสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=42
    อรรถกถาทักขิณาวิภังคสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=706

    43791844810_n.jpg?_nc_cat=107&_nc_sid=110474&_nc_ohc=17ytXGjYRdcAX8MjWfp&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    60192646082_o.jpg?_nc_cat=106&_nc_sid=8024bb&_nc_ohc=brxLCy2iD0sAX_l8cGf&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,579
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +70,103
    ?temp_hash=08ac33fc24e18788f21e410f991335ed.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...