การปฏิบัติธรรม "ด้วยการปฏิเสธฌานสมาธิ" จะสำเร็จได้อย่างไร.?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 5 มกราคม 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    ศีล สมาธิ ปัญญา
    ................................

    [๔๖๒] “แม่เจ้าขอรับ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นอย่างไร”
    “ท่านวิสาขะ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ
    ๑. สัมมาทิฏฐิ
    ๒. สัมมาสังกัปปะ
    ๓. สัมมาวาจา
    ๔. สัมมากัมมันตะ
    ๕. สัมมาอาชีวะ
    ๖. สัมมาวายามะ
    ๗. สัมมาสติ
    ๘. สัมมาสมาธิ”

    “อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตธรรม หรือเป็นอสังขตธรรม”
    “อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตธรรม”

    “พระผู้มีพระภาคทรงจัดขันธ์ ๓ ประการ เข้าในอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือว่า ทรงจัดอริยมรรคมีองค์ ๘ เข้าในขันธ์ ๓ ประการ”

    “พระผู้มีพระภาคไม่ทรงจัดขันธ์ ๓ ประการ เข้าในอริยมรรคมีองค์ ๘ แต่ทรงจัดอริยมรรคมีองค์ ๘ เข้าในขันธ์ ๓ ประการ คือ

    ๑. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ทรงจัดเข้าในสีลขันธ์

    ๒. สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ทรงจัดเข้าในสมาธิขันธ์

    ๓. สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ ทรงจัดเข้าในปัญญาขันธ์”
    …………..

    ข้อความบางตอนใน จูฬเวทัลลสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=44

    อรรถกถาจูฬเวทัลลสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=505

    gc3UXw7futbSouKCAv-lyESQQdfWi3ZO2SyD--Q2LzIe&_nc_ohc=d8HoiUKqEMAAX_Rac2n&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    จะรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ต้องอาศัยสมาธิ
    ******************
    ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้
    สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย
    วิญญาณมีสังขารเป็นที่อาศัย
    นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย
    สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัย
    ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อาศัย
    เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย
    ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัย
    อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย
    ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย
    ชาติมีภพเป็นที่อาศัย
    ทุกข์มีชาติเป็นที่อาศัย
    ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย
    ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย
    ปีติมีปราโมทย์เป็นที่อาศัย
    ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อาศัย
    สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อาศัย
    สมาธิมีสุขเป็นที่อาศัย
    ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย
    นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อาศัย
    วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อาศัย
    วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อาศัย
    ขยญาณมีวิมุตติเป็นที่อาศัย
    ……………
    ข้อความบางตอนใน อุปนิสสูตร สังยุตตนิกาย นิทานวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=19

    บทว่า ยถาภูตญาณทสฺสนํ แปลว่า ความเห็น กล่าวคือความรู้ตามสภาวะที่เป็นจริง.

    ทรงแสดงวิปัสสนาอย่างอ่อน ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะนั้น.

    จริงอยู่ วิปัสสนาอย่างอ่อน ย่อมเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาที่มีกำลัง.

    คำว่า วิปัสสนาอย่างอ่อน เป็นชื่อของญาณ ๔ คือ สังขารปริเฉทญาณ กังขาวิตรณญาณ สัมมสนญาณ มัคคามัคคญาณ.

    บทว่า สมาธิ ได้แก่ สมาธิที่มีฌานเป็นบาท.

    จริงอยู่ สมาธินั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาอย่างอ่อน.

    ข้อความบางตอนในอรรถกถาอุปนิสสูตร http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=68
    #สมาธิ #ความรู้เห็นตามเป็นจริง #ปัญญา

    Dqnr-UPYzG4i9SRcASCEhraKsv02CODpc3luELKU_a-q&_nc_ohc=6KpfM9VKI0YAX_ucmjE&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    เรื่อง "ฌานกับสมาธิ "
    ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

    ฌาน และ สมาธิ เป็นอันเดียวกันและต่างกัน ฌาน ได้แก่การเพ่งในอารมณ์นั้นๆ ให้เป็นไป ตามปรารถนาของตน เมื่อสังขารปรุงแต่งอยู่นั้น จิตก็จะรวมลงในอารมณ์ที่ปรุงแต่งนั้น แล้วก็เป็นไป ตามปรารถนาของตน ดังอธิบายมาแล้ว เรียกว่า ฌาน

    สมาธิ ได้แก่การพิจารณาให้เห็นเหตุผลของมันตามความเป็นจริงจนจิตหยุดนิ่งอยู่ไม่คิด ไม่นึกต่อไป ยังเหลือแต่ ผู้รู้ เรียกว่า สมาธิ

    ฌาน และ สมาธิ นี้จิตรวมเหมือนกัน ถ้าจิตไม่รวมก็ไม่เรียกว่า สมาธิ และ ฌาน มีแปลก ต่างกันที่ ฌาน นั้น เมื่อจิตรวมเข้าแล้วจะลืมสติ เพ่งพิจารณาแต่อารมณ์อันเดียว หรือมีสติอยู่ แต่ไป เพลินหลงอยู่กับภาพนิมิตและความสุขอันนั้นเสีย ไม่พิจารณาพระไตรลักษณญาณต่อไป หรือที่เรียก ว่าความเห็นไปหน้าเดียว นี่เรียกว่า ฌาน ส่วน สมาธิ นั้น เมื่อจิตรวมหรือไม่รวมก็มีสติรักษาจิตอยู่ ตลอดเวลา รู้ตัวอยู่ว่าเราอยู่ในสภาพเช่นไร พิจารณาอะไร หยาบหรือละเอียดแค่ไหน เรียกว่า สมาธิ

    บางทีเมื่อจิตถอนออกมาจากฌานแล้ว มาพิจารณาองค์ฌานนั้น หรือพิจารณาอารมณ์อันใด ก็ตาม จนจิตแน่วแน่อยู่เฉพาะอารมณ์อันนั้น หรือเพ่งอารมณ์ของฌานอยู่ แต่กลับไปพิจารณา พระไตรลักษณญาณ เสีย จิตไม่รวมลงเป็น ภวังค์ เรียกว่า ฌานกลับมาเป็นสมาธิ

    เมื่อพิจารณาอารมณ์ของสมาธิอยู่ หรือออกจากสมาธิแล้วก็ตาม จิตไปยินดีน้อมเข้าไปสู่ ความสงบสุข เลยไม่พิจารณาอารมณ์ของสมาธินั้น จิตรวมเข้าไปเป็น ภวังค์ เรียกว่า สมาธิกลับมาเป็นฌาน

    ฌานและสมาธินี้กลับเปลี่ยนกันไปกันมาอยู่อย่างนี้ เป็นธรรมดาของผู้ปฏิบัติ ไม่เป็นการเสีย หายอะไร ขอแต่ให้รู้เรื่องของมันว่า อันนี้เป็น ฌาน อันนี้เป็น สมาธิ อย่าไปติดในอารมณ์นั้น ๆ ก็แล้วกัน ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว แล้วจะอยู่ในอารมณ์อันใดก็ได้ พระบรมศาสดาเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ หรือพระสาวกทั้งหลายเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ต้องเพ่งพิจารณา ฌาน นี้เป็น วิหารธรรม เครื่องอยู่ของท่าน ธรรมดาจิตจำเป็นจะต้องมีความคิดความนึกอยู่เสมอ ท่านเห็นโทษในอารมณ์นั้น ๆ ว่าเป็นไปเพื่อ วัฏฏะ เพราะฉะนั้นท่านจึงน้อมเอาจิตมาพิจารณาให้เป็น ฌาน เสีย เพื่อเป็นเครื่องอยู่ใน ทิฏฐธรรม ของท่าน

    ฌาน และ สมาธิ นี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน พระองค์จึงตรัสว่า ผู้ไม่มีฌานก็ไม่มีสมาธิ ผู้ไม่มี สมาธิก็ไม่มีฌาน ดังนี้ เอวํ ฯ.
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด สมาบัตินั้นๆ แล ภิกษุเข้าก็ได้ ออกก็ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน(๑) ด้วยจิตที่อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน เธอจึงเจริญอัปปมาณสมาธิ(๒) ด้วยอัปปมาณสมาธิที่เจริญดีแล้ว เธอจึงน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ เมื่อมีเหตุ(๓) เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ

    ดูรายละเอียดใน คาวีอุปมาสูตร อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=198
    และอรรถกถาคาวีสูตร http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=239
    ***********************
    (๑) เหมาะแก่การใช้งาน ในที่นี้หมายถึงจิตอยู่ในระดับฌานที่ ๔ ที่เป็นบาทแห่งอภิญญา (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๕/๓๐๘)

    (๒) อัปปมาณสมาธิ หมายถึงสมาธิในพรหมวิหาร ๔ บ้าง หมายถึงมัคคสมาธิและผลสมาธิบ้าง แต่ในที่นี้ หมายถึงสมาธิที่ชำนาญคล่องแคล่วในอารมณ์สมถกัมมัฏฐานที่ได้ขยายให้กว้างใหญ่ไพบูลย์ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๕/๓๐๘, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๔)

    (๓) เมื่อมีเหตุ แปลจากบาลีว่า สติ อายตเน (เมื่อมีเหตุแห่งสติ) หมายถึงฌานที่เป็นบาท (เครื่องบรรลุ) กล่าวคือบุพเหตุแห่งอภิญญาบ้าง หมายถึงอรหัตตผลที่เป็นเหตุแห่งอภิญญา ๖ ประการบ้าง หมายถึง วิปัสสนาที่เป็นเหตุแห่งอรหัตตผลบ้าง แต่ในที่นี้หมายถึงเหตุคืออุปนิสสัยแห่งการบรรลุคุณวิเศษนั้น ๆ
    (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๒/๒๕๕, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๗๑-๗๔/๑๗๕)


    ?temp_hash=556354b8c245bc6cc54bf3f58d7b449f.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    จงเจริญสมาธิจิต
    ************
    [๓๔๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสโอวาทดังนี้)
    เธอละกามคุณ ๕ ซึ่งน่ารัก น่ารื่นรมย์ใจแล้ว
    ออกจากเรือนบวชด้วยศรัทธา
    จงทำที่สุดแห่งทุกข์เถิด
    [๓๔๑] เธอจงคบกัลยาณมิตร ยินดีเสนาสนะอันสงัด
    ปราศจากเสียงอึกทึกครึกโครม
    จงเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
    [๓๔๒] เธอจงอย่าทำความอยากในปัจจัย ๔ เหล่านี้ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชที่เกิดขึ้น
    เธออย่ากลับมายังโลกนี้อีกเลย
    [๓๔๓] เธอจงเป็นผู้สำรวมในปาติโมกข์ และอินทรีย์ ๕ จงเจริญกายคตาสติกัมมัฏฐาน
    จงเป็นผู้เบื่อหน่ายในสังสารวัฏให้มาก
    [๓๔๔] จงเว้นสุภนิมิตอันเป็นเหตุให้เกิดราคะเสีย
    จงเจริญสมาธิจิตด้วยอสุภภาวนา
    จนจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง และตั้งมั่นด้วยดี*
    [๓๔๕] จงเจริญกัมมัฏฐานที่ไม่มีนิมิต จงละมานานุสัยกิเลส เพราะละมานะได้นั่นเอง เธอก็จะเป็นผู้สงบระงับ

    ทราบว่า พระผู้มีพระภาคตรัสสอนท่านพระราหุลด้วยคาถาเหล่านี้อยู่เนืองๆด้วยประการฉะนี้
    ....................
    เฃิงอรรถ * มีอารมณ์เป็นหนึ่ง หมายถึงแน่วแน่ด้วยอุปจารสมาธิ
    ตั้งมั่นด้วยดี หมายถึงตั้งมั่นแนบแน่นด้วยอัปปนาสมาธิ (ขุ.สุ.อ. ๒/๓๔๔/๑๖๐)

    ข้อความบางตอนใน ราหุลสูตร ขุททกนิกาย สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=250

    บาทพระคาถาว่า อสุภาย จิตฺตํ ภาเวหิ ความว่า จงอบรมจิตโดยประการที่อสุภภาวนาในกายที่มีวิญญาณหรือไม่มีวิญญาณ จะสำเร็จได้.

    บาทพระคาถาว่า เอกคฺคํ สุสมาหิตํ ความว่า จิตเช่นนี้ของท่านจะเป็นจิตที่มีอารมณ์เดียวได้โดยอุปจารสมาธิ (และ) จะเป็นจิตตั้งมั่นได้ด้วยอัปปนาภูมิแห่งจิตนั้นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงวิปัสสนาจึงตรัสว่า อนิมิตฺตํ เป็นต้น.
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาราหุลสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=328

    WLUssQy9dPhobyJBd2DbZaxHLkBmzVDcqsOANUHzSoUS&_nc_ohc=F33xhDX9O5oAX_SshwM&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    การเจริญสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นเหตุให้ได้รับผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผล หรืออนาคามิผล
    ************
    [๔๕] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

    “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้พอใจในการหลีกเร้น ยินดีในการหลีกเร้น หมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด

    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายพอใจในการหลีกเร้น ยินดีในการหลีกเร้น หมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่างอยู่ พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
    หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นอนาคามี”

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
    ชนทั้งหลายมีจิตสงบแล้ว มีปัญญารักษาตน
    มีสติ เพ่งพินิจอยู่ ไม่ไยดีในกามทั้งหลาย
    ย่อมเห็นแจ้งธรรมโดยชอบ
    เป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท
    มีปกติเห็นภัยในความประมาท
    เป็นผู้ไม่ควรเสื่อม ดำรงอยู่ใกล้นิพพานทีเดียว
    แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
    ...................
    ปฏิสัลลานสูตร ว่าด้วยการหลีกเร้น ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=160

    บทว่า สติมนฺโต จ ฌายิโน ได้แก่ ชื่อว่ามีสติ เพราะสติอันเป็นเหตุไม่ละกรรมฐาน ในการยืนและการนั่งเป็นต้น. ชื่อว่ามีฌาน เพราะมีฌานมีลักษณะเข้าไปเพ่งอารมณ์.

    บทว่า สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสนฺติ กาเมสุ อนเปกฺขิโน ความว่า ไม่มีความเพ่งเล็ง คือไม่มีความต้องการในวัตถุกามและกิเลสกาม โดยนัยมีอาทิว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนโครงกระดูกในก่อนนั้นแล ด้วยพิจารณาถึงโทษ ครั้นละกามทั้งหลายเหล่านั้นแล้วกระทำอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิให้เป็นบาท แล้วกำหนดนามรูปและปัจจัยแห่งนามรูปนั้น ย่อมเห็นธรรมคือขันธ์ ๕ ไม่วิปริตโดยชอบตามลำดับมีการพิจารณากลาปะ (กลุ่มก้อน) เป็นต้น โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น.
    ............
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาสัลลานสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=223

    wPb8PAPhMQiq-Ih-ssScwrOWP_bpAiXPRD_gXZV53f43&_nc_ohc=jTnO0mkA3fkAX_JG1r_&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    พระผู้มีพระภาคตรัสสอนท่านพระราหุลด้วยคาถาเหล่านี้อยู่เนืองๆ
    ************
    [๓๔๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสโอวาทดังนี้)
    เธอละกามคุณ ๕ ซึ่งน่ารัก น่ารื่นรมย์ใจแล้ว
    ออกจากเรือนบวชด้วยศรัทธา
    จงทำที่สุดแห่งทุกข์เถิด

    [๓๔๑] เธอจงคบกัลยาณมิตร ยินดีเสนาสนะอันสงัด
    ปราศจากเสียงอึกทึกครึกโครม
    จงเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค

    [๓๔๒] เธอจงอย่าทำความอยากในปัจจัย ๔ เหล่านี้ คือ
    จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชที่เกิดขึ้น
    เธออย่ากลับมายังโลกนี้อีกเลย

    [๓๔๓] เธอจงเป็นผู้สำรวมในปาติโมกข์ และอินทรีย์ ๕
    จงเจริญกายคตาสติกัมมัฏฐาน
    จงเป็นผู้เบื่อหน่ายในสังสารวัฏให้มาก

    [๓๔๔] จงเว้นสุภนิมิตอันเป็นเหตุให้เกิดราคะเสีย
    จงเจริญสมาธิจิตด้วยอสุภภาวนา
    จนจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง และตั้งมั่นด้วยดี

    [๓๔๕] จงเจริญกัมมัฏฐานที่ไม่มีนิมิต จงละมานานุสัยกิเลส
    เพราะละมานะได้นั่นเอง เธอก็จะเป็นผู้สงบระงับ

    ทราบว่า พระผู้มีพระภาคตรัสสอนท่านพระราหุลด้วยคาถาเหล่านี้อยู่เนืองๆด้วยประการฉะนี้
    ....................

    ข้อความบางตอนใน ราหุลสูตร ขุททกนิกาย สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=250

    บาทพระคาถาว่า เอกคฺคํ สุสมาหิตํ ความว่า จิตเช่นนี้ของท่านจะเป็นจิตที่มีอารมณ์เดียวได้โดยอุปจารสมาธิ
    (และ) จะเป็นจิตตั้งมั่นได้ด้วยอัปปนาภูมิแห่งจิตนั้นอย่างนี้แล้ว
    เมื่อจะแสดงวิปัสสนาจึงตรัสว่า อนิมิตฺตํ เป็นต้น.
    …………….
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาราหุลสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=328
    .....................
    หมายเหตุ :
    คำว่า มีอารมณ์เป็นหนึ่ง หมายถึง แน่วแน่ด้วยอุปจารสมาธิ
    คำว่า ตั้งมั่นด้วยดี หมายถึง ตั้งมั่นแนบแน่นด้วยอัปปนาสมาธิ

    XtVu0ukZWDQy29TtuoXeMpPWks5HlV9iX8dpBBapqS8I&_nc_ohc=8yKL1OblNmYAX-JTtcA&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน
    ……
    [๒๐๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
    ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ
    และไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
    พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ตื่นอยู่โดยมาก
    ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น พึงเข้าไปตัดความตรึกธรรมที่อาศัยความตรึกและความคะนอง

    ...ฯลฯ...

    คำว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ในคำว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ตื่นอยู่โดยมาก อธิบายว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ

    ๑. ภิกษุเป็นผู้ประกอบ คือ ขวนขวาย มุ่งมั่น มุ่งมั่นเสมอเพื่อทำปฐมฌานที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นผู้ประกอบ ขวนขวาย มุ่งมั่น มุ่งมั่นเสมอเพื่อทำทุติยฌานที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ... เพื่อทำตติยฌานที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น... เพื่อทำจตุตถฌานที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น รวมความว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน เป็นอย่างนี้บ้าง

    ๒. ภิกษุซ่องเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งปฐมฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ซ่องเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งทุติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ... ตติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ...จตุตถฌานที่เกิดขึ้นแล้ว รวมความว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน เป็นอย่างนี้บ้าง

    คำว่า ตื่นอยู่โดยมาก อธิบายว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการเดินจงกรม และการนั่งตลอดวัน คือ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการเดินจงกรม และการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์ โดยตะแคงด้านขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ กำหนดเวลาตื่นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้น แล้วชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการเดินจงกรม และการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
    รวมความว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ตื่นอยู่โดยมาก

    คำว่า ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น อธิบายว่า
    คำว่า อุเบกขา ได้แก่ อุเบกขา คือ ความเพิกเฉย ความเพิกเฉยอย่างยิ่ง ความที่จิตสงบ ความที่จิตสงัด ความที่จิตเป็นกลางในจตุตถฌาน

    คำว่า มีจิตตั้งมั่น ได้แก่ ความตั้งมั่น ความดำรงมั่น ความไม่คลอนแคลน ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ

    คำว่า ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น อธิบายว่า ปรารภอุเบกขาในจตุตถฌาน มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่ซัดส่าย รวมความว่า ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น
    …….
    ข้อความบางตอนใน สารีปุตตสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=16

    บทว่า ฌานานุยุตฺโต พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน คือประกอบด้วยฌานที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเสพฌานที่เกิดแล้ว.
    บทว่า อุเปกฺขมารพฺภ สมาหิตตฺโต พึงเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นปรารภอุเบกขา คือพึงเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นยังอุเบกขาในจตุตถฌานให้เกิด.
    บทว่า ตกฺกาสยํ กุกฺกุจฺจิยูปจฺฉินฺเท พึงตัดวิตก ที่อยู่ของวิตกและความคะนอง คือพึงตัดวิตกมีกามวิตกเป็นต้น ที่อยู่ของวิตกมีกามสัญญาเป็นต้น และความคะนองมีคะนองมือเป็นต้น.
    บทว่า อนุปฺปนฺนสฺส วา ปฐมฌานสฺส อุปฺปาทาย เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานที่ยังไม่เกิด คือเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานที่ยังไม่เกิดในอัตภาพนั้น หรือเกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป เพื่อได้เฉพาะในสันดานของตน.
    พึงทราบความในบทมีอาทิว่า อุปฺปนฺนญฺจ ปฐมชฺฌานํ อาเสวติ เสพปฐมฌานที่เกิดขึ้นแล้วต่อไป
    ในบทนี้มีความว่า เสพโดยเอื้อเฟื้อกระทำให้คล่องแคล่ว ทำให้เกิด ทำให้เจริญ ทำให้มาก ทำบ่อยๆ.
    บทว่า อุเปกฺขา ความเพิกเฉย คือตัตรมัชฌัตตุเบกขาอันเกิดขึ้นในจตุตถฌาน.
    บทว่า อุเปกฺขา เป็นบทแสดงสภาวะ.
    บทว่า อุเปกฺขนา กิริยาที่เพิกเฉย คืออาการเห็นแต่การเข้าถึง.
    บทว่า อชฺฌุเปกฺขนา กิริยาที่เพิกเฉยยิ่ง คือเห็นเป็นอย่างยิ่ง.
    บทว่า จิตฺตสมตา ความที่จิตสงบ คือความที่จิตเสมอเว้นความหย่อนและความมากเกินไป.
    บทว่า จิตฺตปสฺสทฺธตา ความที่จิตระงับ. อธิบายว่า ความที่จิตไม่คะนอง จิตไม่กระด้าง.
    บทว่า มชฺฌตฺตตา จิตฺตสฺส ความที่จิตเป็นกลาง. อธิบายว่า ความที่จิตไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล เป็นกลาง.
    บทว่า จตุตฺเถ ฌาเน อุเปกฺขํ อารพฺภ ปรารภอุเบกขาในจตุตถฌาน คืออาศัยตัตรมัชฌัตตุเบกขา อันเกิดขึ้นในจตุตถฌาน.
    บทว่า เอกคฺคจิตฺโต คือเป็นผู้มีจิตเป็นไปแล้วในอารมณ์เป็นหนึ่ง.
    บทว่า อวิกฺขิตฺตจิตฺโต คือ เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่านเว้นจากอุทธัจจะ. วิตก ๙ มีนัยดังกล่าวแล้ว.
    ………..
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาสาริปุตตสุตตนิทเทส https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29.0&i=881&p=2
    #ขวนขวายในฌาน #ฌาน #สมาธิ

    XJVAemPAyUyImIZaEystL5SBHxQ5hqcR81ajMTyufWHy&_nc_ohc=MIMIPhGonB4AX8cu9p6&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย
    วิญญาณมีสังขารเป็นที่อาศัย
    นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย
    สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัย
    ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อาศัย
    เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย
    ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัย
    อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย
    ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย
    ชาติมีภพเป็นที่อาศัย
    ทุกข์มีชาติเป็นที่อาศัย

    ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย
    ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย
    ปีติมีปราโมทย์เป็นที่อาศัย
    ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อาศัย
    สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อาศัย
    สมาธิมีสุขเป็นที่อาศัย
    ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย
    นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อาศัย
    วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อาศัย
    วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อาศัย
    ขยญาณมีวิมุตติเป็นที่อาศัย

    ……………
    ข้อความบางตอนใน อุปนิสสูตร สังยุตตนิกาย นิทานวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=19

    บทว่า ยถาภูตญาณทสฺสนํ แปลว่า ความเห็น กล่าวคือความรู้ตามสภาวะที่เป็นจริง.

    ทรงแสดงวิปัสสนาอย่างอ่อน ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะนั้น.

    จริงอยู่ วิปัสสนาอย่างอ่อน ย่อมเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาที่มีกำลัง.

    คำว่า วิปัสสนาอย่างอ่อน เป็นชื่อของญาณ ๔ คือ สังขารปริเฉทญาณ กังขาวิตรณญาณ สัมมสนญาณ มัคคามัคคญาณ.

    บทว่า สมาธิ ได้แก่ สมาธิที่มีฌานเป็นบาท.

    จริงอยู่ สมาธินั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาอย่างอ่อน.

    ข้อความบางตอนในอรรถกถาอุปนิสสูตร http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=68

    #สมาธิ #ความรู้เห็นตามเป็นจริง #ปัญญา

    ZjS9UDkiHko9TB1QkcQiK_Y9yNufHyGL8zwsBpXeIYZr&_nc_ohc=QTPvGjdZwhIAX9wgz4g&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    ฌาน คือ ทางแห่งการตรัสรู้
    ***********
    ...จะพึงมีทางอื่นที่จะตรัสรู้บ้างไหม’ เราจึงมีความดำริว่า ‘เราจำได้อยู่ เมื่อคราวงานของท้าวสักกาธิบดีซึ่งเป็นพระราชบิดา เรานั่งอยู่ใต้ต้นหว้าอันร่มเย็น ได้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ทางนั้นพึงเป็นทางแห่งการตรัสรู้หรือหนอ’ เรามีความรู้แจ้งที่ตามระลึกด้วยสติว่า ‘ทางนั้นเป็นทางแห่งการตรัสรู้’ เราจึงมีความดำริว่า ‘เรากลัวความสุขที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายหรือ’ เราก็ดำริว่า ‘เราไม่กลัวความสุขที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายเลย’
    [๓๘๒] อัคคิเวสสนะ เราจึงมีความดำริต่อไปว่า ‘เราผู้มีกายซูบผอมมากอย่างนี้ จะบรรลุความสุขนั้นไม่ใช่ทำได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรกินอาหารหยาบ คือข้าวสุกและขนมกุมมาส’ เราก็กินอาหารหยาบคือข้าวสุกและขนมกุมมาส ครั้งนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่เฝ้าบำรุงเราด้วยหวังว่า ‘พระสมณโคดมบรรลุธรรมใด จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย’ เมื่อใด เรากินอาหารหยาบ คือข้าวสุกและขนมกุมมาส เมื่อนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์นั้น ก็เบื่อหน่ายจากไปด้วยเข้าใจว่า ‘พระสมณโคดมมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเสียแล้ว’
    ฌาน ๔ และวิชชา ๓
    [๓๘๓] อัคคิเวสสนะ เรากินอาหารหยาบให้ร่างกายมีกำลัง สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเช่นนั้น ก็ครอบงำจิตของเราอยู่ไม่ได้
    เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเช่นนั้น ก็ครอบงำจิตของเราอยู่ไม่ได้
    เพราะปีติจางคลายไป เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเช่นนั้นก็ครอบงำจิตของเราอยู่ไม่ได้
    เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว เราบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเช่นนั้น ก็ครอบงำจิตของเราอยู่ไม่ได้
    [๓๘๔] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๑ นี้ ในปฐมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเช่นนั้นก็ครอบงำจิตของเราอยู่ไม่ได้
    [๓๘๕] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ในมัชฌิมยามแห่งราตรีกำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้นเหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเช่นนั้น ก็ครอบงำจิตของเราอยู่ไม่ได้
    [๓๘๖] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเรารู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
    อัคคิเวสสนะ เราบรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ในปัจฉิมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเช่นนั้น ก็ครอบงำจิตของ
    เราอยู่ไม่ได้
    ……………….
    ข้อความบางตอนใน มหาสัจจกสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=36
    หมายเหตุ : ในอรรถกถาอธิบายว่า สัจจกนิครนถ์ได้ฟังพระธรรมเทศนาถึง ๓ ภาณวาร แต่ไม่ได้บรรลุมรรคผลอะไร ไม่ได้ขอบรรพชา ไม่ได้ประกาศตนเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัย ถามว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่เขาทำไม ตอบว่า ทรงแสดงเพื่อผลในอนาคตกาล คือทรงเห็นว่า ในชาตินี้ เขาไม่มีอุปนิสัย พอจะรู้แจ้งธรรม แต่หลังจากพุทธปรินิพพานแล้ว ๒๐๐ ปี พระพุทธศาสนาจะไปเจริญในลังกา สัจจกนิครนถ์จะไปเกิดที่นั้นจะได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา และจะบรรลุอรหัตตผลเป็นพระขีณาสพ มีชื่อว่า กาฬพุทธรักขิตตะ
    ดูรายละเอียดใน อรรถกถามหาสัจจกสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=405
    sF6oLzYDybn14t0KDFqcdlKAkcEbFCstB784I0uKrWOm&_nc_ohc=Yotr9QTZ0jAAX_Y1WuO&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    [๒๓๔] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘กายของเรานี้คุมกันเป็นรูปร่าง ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากบิดามารดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมสดไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา วิญญาณของเราอาศัยและเนื่องอยู่ในกายนี้’
    ………….
    ข้อความบางตอนใน สามัญญผลสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙
    https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=9&siri=2
    ภิกษุนั้น ในคำว่า โส เอวํ สมาหิเต จิตฺเต อภินีหรติ นี้ คำว่า ญาณทัสสนะ ท่านกล่าวหมายถึงมรรคญาณก็ได้ ผลญาณก็ได้ สัพพัญญุตญาณก็ได้ ปัจจเวกขณญาณก็ได้ วิปัสสนาญาณก็ได้.
    …ฯลฯ...
    แต่คำว่า ญาณทสฺสนายน จิตฺตํ ในที่นี้ท่านกล่าวหมายถึงญาณทัสสนะที่เป็นตัววิปัสสนาญาณ.
    .........
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาสามัญญผลสูตร https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=09.0&i=91&p=6
    #วิปัสสนาญาณ #สมาธิ #วิปัสสนา
    ChStrkVm5OCNbPTimxHz-T_St24dOEBX4luiMAxPzcSE&_nc_ohc=ZbvBqaZN00kAX9cO-3C&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    บุพภาคปฏิปทาของผู้ใดบริสุทธิ์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงจะตรัสบอกวิปัสสนาแก่ผู้นั้น
    ********************
    บุพภาคปฏิปทา ข้อปฏิบัติส่วนเบื้องต้น
    เหตุใดพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงแสดงบุพภาคปฏิปทาแก่บางคน
    เหตุใดพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบุพภาคปฏิปทาแก่บางคน
    ************
    บทว่า ฉธาตุโร อยํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสข้อปฏิบัติส่วนเบื้องต้นแก่กุลบุตร แต่ทรงปรารภเพื่อตรัสบอกวิปัสสนาลักษณะเท่านั้น ซึ่งมีความว่างเปล่าอย่างยิ่งอันเป็นปทัฎฐานแห่งพระอรหัต แต่เบื้องต้น.
    จริงอยู่ บุพภาคปฏิปทาของผู้ใดยังไม่บริสุทธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสบอกบุพภาคปฏิปทานี้ คือศีลสังวร ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ การประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่น สัทธรรม ๗ ฌาน ๔ แก่ผู้นั้นก่อนเทียว.
    แต่บุพภาคปฏิปทานั้นของผู้ใดบริสุทธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่ตรัสบุพภาคปฏิปทานั้น แต่จักตรัสบอกวิปัสสนานั้นแล ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตแก่ผู้นั้น. ก็บุพภาคปฏิปทาของกุลบุตรบริสุทธิ์แล้ว.
    จริงอย่างนั้น กุลบุตรนั้นอ่านพระสาส์นแล้วขึ้นปราสาทอันประเสริฐนั้นเทียว ยังอานาปานจตุตถฌานให้เกิดขึ้นแล้ว จึงเดินทางไปตลอด ๑๙๒ โยชน์ ยังกิจในยานให้สำเร็จ. แม้สามเณรศีลของกุลบุตรนั้นก็บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสบุพภาคปฏิปทา แต่ทรงปรารภเพื่อจะตรัสบอกวิปัสสนาลักษณะอันมีความว่างเปล่าอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตเท่านั้นแก่กุลบุตรนั้น.
    ...........
    จากข้อความบางตอนใน อรรถกถาธาตุวิภังคสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14.0...
    และศึกษาเพิ่มเติมใน ธาตุวิภังคสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=40
    rcldOmgstBHRhBCyFblCPFtrTjzO2TnFCIINLKn_i2Rj&_nc_ohc=xd8n6kg7An0AX_abnNZ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค


    [​IMG]
    ๔. นวสูตร


    [๖๙๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล ภิกษุใหม่รูปหนึ่ง เดินกลับ
    จากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เข้าไปสู่วิหารแล้ว เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย
    นิ่งอยู่ ไม่ช่วยเหลือภิกษุทั้งหลายในเวลาทำจีวร ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกัน
    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง
    ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

    [๖๙๗] ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
    ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใหม่รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้เดินกลับจาก
    บิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัตเข้าไปสู่วิหารแล้ว เป็นผู้มีความขวนขวายน้อยนิ่งอยู่
    ย่อมไม่ช่วยเหลือภิกษุทั้งหลายในเวลากระทำจีวร ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค
    ตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอจงไปบอกภิกษุนั้นตามคำของเราว่า
    พระศาสดาให้หา ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้วเข้าไปหาภิกษุนั้น ครั้น
    เข้าไปหาแล้วได้กล่าวกะเธอว่า พระศาสดาตรัสเรียกท่าน เธอรับคำของภิกษุนั้น
    แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
    ข้างหนึ่ง ครั้นภิกษุนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเธอว่า จริงหรือ
    ภิกษุ ได้ยินว่าเธอเดินกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เข้าไปสู่วิหารแล้ว
    เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย นิ่งอยู่ ไม่ช่วยเหลือภิกษุทั้งหลายในเวลากระทำจีวร ฯ
    ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ก็กระทำกิจส่วนตัว
    เหมือนกัน ฯ

    [๖๙๘] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของ
    ภิกษุนั้นด้วยพระทัย จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่า
    ยกโทษภิกษุนี้เลย ภิกษุนี้เป็นผู้มีปรกติ ได้ฌาน ๔ อันเป็นสุขวิหารธรรมในปัจจุบัน อันอาศัยอธิจิต ตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ฯ
    [๖๙๙] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว
    จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
    บุคคลปรารภความเพียรอันย่อหย่อน ปรารภความเพียรด้วย
    กำลังน้อย ไม่พึงบรรลุพระนิพพานอันเป็นเครื่องปลดเปลื้อง
    กิเลสทั้งปวงได้ แต่ภิกษุหนุ่มรูปนี้ เป็นอุดมบุรุษ ชำนะมาร
    ทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมทรงไว้ซึ่งอัตภาพมีในที่สุด ดังนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๔
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    สมาธิทำให้เกิดญาณ
    ***********
    ญาณย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้น
    อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น
    สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง ด้วยประการฉะนี้
    ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    ปัญญาในการตัดขาดอาสวะเพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่านชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ
    ..........................
    ข้อความบางตอนใน อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=36
    และดูรายละเอียดในอรรถกถาอานันตริกสมาธิญาณนิทเทส ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=211
    #สมาธิ
    IKMZdvY-W5TZVspnlvR5CzmYyTwZOhoFA1tqFzA2Cr-8&_nc_ohc=llevulbdLV0AX8VgwFy&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    วิธีปฏิบัติฌาน (สมาธิ) ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ๑๑ วิธีคือ
    ๑. การตั้งจิตมั่น http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17...
    ๒. การเข้า http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17...
    ๓. การตั้งอยู่ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17...
    ๔. การออก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17...
    ๕. ความพร้อม http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17...
    ๖. อารมณ์ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17...
    ๗. โคจร http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17...
    ๘. อภินิหาร http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17...
    ๙. การทำโดยเคารพ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17...
    ๑๐. การทำความเพียรต่อเนื่อง http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17...
    ๑๑. การทำสัปปายะ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17...
    ……………
    ดูรายละเอียดใน ฌานสังยุต สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗
    #ฌาน #สมาธิ #วิธีปฏิบัติ
    -DnhU--VqKnem9tC4TI-IpqI3TD_wIVxUHM1X4MP8MXI&_nc_ohc=oOnUPD1Y9lQAX89U0lC&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    https://www.facebook.com/TipitakaStudies/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อบรรลุความเป็นพระอรหันต์
    ***************
    ...ส่วนในกายานุปัสสนานี้ ภิกษุผู้บรรลุจตุตถฌานแล้วอย่างนั้น มีความประสงค์ที่จะเจริญกรรมฐาน ด้วยอำนาจการกำหนดและการเปลี่ยนแปลง แล้วบรรลุความหมดจด กระทำฌานนั้นนั่นแล ให้ถึงความชำนิชำนาญ (วสี) ด้วยอาการ ๕ อย่าง กล่าวคือ อาวัชชนะ การรำพึง สมาปัชชนะ การเข้า อธิฏฐานะ การตั้งใจ วุฏฐานะ การออก และ ปัจจเวกขณะ การพิจารณา แล้ว กำหนด รูปและอรูปว่า รูป มีอรูปเป็นหัวหน้า หรืออรูป มีรูปเป็นหัวหน้าแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา.
    ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
    แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป.
    อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้นครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ในบรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุและทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป.
    อีกอย่างหนึ่ง เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่งลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลมย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้นของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อมเข้าออก เพราะอาศัยกายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล. ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออกและกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป.
    ครั้น เธอกำหนดนามรูปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ย่อมแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น. และเธอเมื่อแสวงหาอยู่ ก็ได้เห็นปัจจัยมีอวิชชาและตัณหาเป็นต้นนั้นแล้ว ย่อมข้ามความสงสัยปรารภความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลทั้ง ๓ เสียได้.
    เธอนั้น ข้ามความสงสัยได้แล้ว ยกไตรลักษณ์ขึ้นด้วยอำนาจพิจารณากลาป ละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง มีโอภาสเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในส่วนเบื้องต้น ด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ) กำหนดปฏิปทาญาณที่พ้นจากอุปกิเลสว่า เป็นมรรค ละความเกิดเสีย ถึงภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) เบื่อหน่ายคลายกำหนัดพ้นไปในสรรพสังขาร ซึ่งปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ด้วยพิจารณาเห็นความดับติดต่อกันไป ได้บรรลุอริยมรรคทั้ง ๔ ตามลำดับ แล้วตั้งอยู่ในพระอรหัตผล ถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง เป็นอัครทักขิไณยแห่งโลก พร้อมทั้ง
    เทวดา. ก็การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ ของภิกษุผู้ประกอบในอานาปานกรรมฐานนั้น ตั้งต้นแต่การนับ จนถึงมรรคผลเป็นที่สุด จบบริบูรณ์เพียงเท่านี้แล.
    ................
    สมันตปาสาทิกา มหาวิภังคอรรถกถา
    วิ.มหา.อ. (ไทย) ๒/๓๗๐-๓๗๑ มหามกุฏ ฯ https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=01.0&i=176&p=2
    xHDW7d1pf9K6lh7h0W6tUNz95ZOmXd8k1JurAM_dbw8e&_nc_ohc=yOZqsPbJ55MAX-zfB3Y&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,378
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,468
    m30g_byukj7t1by1fmolcoj3737r1hzpbdqn-_nc_ohc-7iefghmrmxqax8nafqf-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg-jpg.jpg

    ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตตผล


    ***********
    [๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการบรรลุอรหัตตผลด้วยขั้นเดียวเท่านั้น แต่การบรรลุอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการบำเพ็ญสิกขา โดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญกิริยาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญปฏิปทาโดยลำดับ

    การบรรลุอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการบำเพ็ญสิกขาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญกิริยาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญปฏิปทาโดยลำดับ เป็นอย่างไร

    คือ กุลบุตรในศาสนานี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปหา เมื่อเข้าไปหาย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลงสดับ เงี่ยโสตลงสดับแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังธรรมแล้วย่อมทรงจำไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว เมื่อพิจารณา
    เนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรเพ่งพินิจ เมื่อมีการเพ่งพินิจธรรมอยู่ ฉันทะย่อมเกิด กุลบุตรนั้นเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมอุทิศกายและใจ เมื่ออุทิศกายและใจแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง
    สัจจะอันยอดเยี่ยมด้วยนามกาย และเห็นแจ่มแจ้งสัจจะอันยอดเยี่ยมนั้นด้วยปัญญา

    ภิกษุทั้งหลาย ถ้าศรัทธาไม่มี การเข้าไปหา การนั่งใกล้ การเงี่ยโสตลงสดับ การฟังธรรม การทรงจำธรรม การพิจารณาเนื้อความ ความเพ่งพินิจธรรม ฉันทะ อุตสาหะ การไตร่ตรอง และการอุทิศกายและใจก็ไม่มี เธอทั้งหลายเป็นผู้ปฏิบัติพลาด
    เป็นผู้ปฏิบัติผิด โมฆบุรุษเหล่านี้ได้ก้าวออกไปจากธรรมวินัยนี้ไกลเท่าไร

    [๑๘๔] ภิกษุทั้งหลาย คำอธิบายสัจจะ ๔ ประการมีอยู่ เมื่อยกคำอธิบายดังกล่าวขึ้นมาแสดง วิญญูชนพึงเข้าใจเนื้อความได้ด้วยปัญญาในไม่ช้า เราจักแสดงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักเข้าใจถึงเนื้อความได้”

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นคนเช่นไร และผู้เข้าใจถึงธรรมได้ เป็นคนเช่นไร”

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับแต่อามิสอยู่ ข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นก็ยังไม่ต่อรองเลยว่า ‘เมื่อสิ่งเช่นนี้พึงมีแก่เรา เราพึงทำสิ่งนั้น เมื่อสิ่งเช่นนี้ไม่พึงมีแก่เรา เราก็ไม่พึงทำสิ่งนั้น’ ตถาคตไม่ข้องอยู่ด้วยอามิสโดยประการทั้งปวงจะสมควรกับการต่อรองหรือ สาวกผู้มีศรัทธาผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา ย่อมมีหลักปฏิบัติว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาเราเป็นสาวก พระผู้มีพระภาคทรงรู้ เราไม่รู้’

    คำสอนของศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา

    สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา ย่อมมีหลักปฏิบัติว่า

    ‘หนัง เอ็น และกระดูกจงเหือดแห้งไปเถิด เนื้อและเลือดในสรีระของเรา จงเหือดแห้งไปก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรนั้น’
    ภิกษุทั้งหลาย สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา จะพึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ (๑) อรหัตตผลในปัจจุบัน (๒) เมื่อมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จะเป็นอนาคามี”
    ………
    ข้อความบางตอนใน กีฏาคิริสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=20
    อรรถกถากีฏาคิริสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222

    หมายเหตุ ข้อปฏิบัติ ๑๒ ประการ เพื่อบรรลุอรหัตตผล คือ (๑) ศรัทธา (๒) การเข้าไปหา (๓) การนั่งใกล้ (๔) การเงี่ยโสตลงสดับ (๕) การฟังธรรม (๖) การทรงจำธรรม (๗) การพิจารณาเนื้อความ (๘) ความเพ่งพินิจธรรม (๙) ฉันทะ (๑๐) อุตสาหะ (๑๑)การไตร่ตรอง (๑๒) การอุทิศกายและใจ

    นอกจากนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสสอนให้ภิกษุยึดหลักศรัทธาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดา ตนเป็นสาวก ควรปฏิบัติตามคำสั่งสอนด้วยความเพียรอย่างสูงสุดคือ ตั้งใจว่า “แม้หนัง เอ็น กระดูก เนื้อและเลือด จะเหือดแห้งไป ถ้ายังไม่บรรลุ อรหัตตผลก็จักไม่ลุกขึ้น” ทรงสรุปว่า สาวกผู้มีศรัทธาเมื่อปฏิบัติตามที่ทรงแนะนำจะได้รับผล ๒ อย่าง คือ อรหัตตผล หรืออนาคามิผล
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...