ทฤษฎีสัมพันธภาพและกลศาสตร์ควอนตัม สู่การเดินทางของจิต การมองเห็นวิญญาน และกาลเวลา

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย gotodido, 6 พฤษภาคม 2008.

  1. gotodido

    gotodido เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +147
    จากความรู้เรื่องควาร์ก
    มีการพยากรณ์ ว่า โปรตอนไม่น่าจะเสถียรอย่างสมบูรณ์แต่ก็น่าจะสลายด้วยช่วงชีวิตประมาณ 10 <SUP>31</SUP> ปี

    เมื่อถึงเวลาที่โปรตอนสลายตัว อนุภาค ควาร์ก และกลูออน จะมีความเป็นอิสระ

    เกิดเป็น สถานะที่เรียกว่าควาร์ก กลูออนพลาสม่า ซึ่งคาดว่าจะมีอุณหภูมิสูงประมาณ 100000เท่า ของอุณหภูมิที่ใจกลางดวงอาทิตย์
    กินเวลา 4 pico-second หรือ 4 ส่วนพันล้านของวินาที

    บางท่านบอกวาสภาวะตรงนี้คือบิ๊กแบง
    (ตรงจุดนี้ ถ้าการทดลองครั้งใหม่ของศูนย์วิจัยนานาชาติเซิร์น ประสบผลสำเร็จ เราอาจได้คำตอบที่ชัดเจน)

    ที่เวลาประมาณหนึ่งในล้านวินาทีหลังจากบิกแบง อุณหภูมิของเอกภพจะต่ำลงพอที่จะให้ควาร์กรวมตัวกัน (เกิดการหดตัวของเอกภพ) กลายเป็นโปรตอน นิวตรอนและอนุภาคอื่นๆ ซึ่งประกอบเป็นสสารต่างๆ ที่เราเห็นในปัจจุบัน


    http://en.wikipedia.org/wiki/Quark-gluon_plasma
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2008
  2. Nemo

    Nemo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2005
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +97
    จิต ไม่มีมวล ไม่ใช่หรือครับ
    รูป นาม
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    รูป
    - รูป
    นาม
    - เวทนา
    - สัญญา
    - สัญญา
    - สังขาร
    - วิญญาณ

    ปรมัตถธรรม 4 ประการ
    - จิต
    - เจตสิก
    - รูป
    - นิพพาน
     
  3. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ผมว่าสมมุติ แกนมิติ
    X,Y,Z เป็นแกน รูปธรรม หรือ รูปร่างขนาด กว้าง ยาว สูง
    T เป็นแกนเวลา
    อาจจะต้องมีแกน พิเศษ เป็นแกน M คือ จิต(Mind)
    แกนนี้อยู่ร่วมจุด O (origin) จุดเริ่มต้นเดียวกัน
    เป็น 5 แกน
    กระแสจิต จะไปตามแกน M
    เวลาไปตามแกน T
    รูปไปตามแกน X,Y,Z

    กระแสพระนิพพาน เห็นด้วยครับว่าลู่ลงจนเป็นเส้นตรง
    แต่ผมว่าต้องขนานไปตามแกน M
    นิพพานจึงจะไม่ขึ้นกับรูปร่าง(ขนาด) หรือเวลา (หรือที่ไอสไตน์เรียกว่า Space-Time)

    โมทนาครับ เห็นว่ามีประโยชน์จริงๆ
    การเดินทางต้องไปด้วยจิต
    แต่ผู้สำเร็จอภิญญา จะนำจิต หรือยกกาย ท่องไปทั่ว 3 แดนโลกธาตุย่อมทำได้
     
  4. afaps_new

    afaps_new เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +154
    อจินไตย...^^
     
  5. นิพันธะ

    นิพันธะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +90
    การศึกษาเรื่องจักรวาลเป็นเรื่อง" อจิณไตย" คือเรื่องไม่ควรศึกษา ศึกษาเท่าใดก็ไม่มีวันจบ ท่าน(พระพุทธเจ้า)ไม่สอนและไม่กล่าวถึง ตามที่ฟังเขาเล่ามา ยิ่งนำมาเปรียบเทียบกับวิทยาศาสตร์ถ้าไม่รู้จริง เดี๋ยวก็บ้าเท่นนั้นแหละ
     
  6. bhang

    bhang Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +25
    น่าสนใจมากๆ เลยค่ะ
    ตอนนี้กำลังสนใจเรื่องนี้อยู่พอดี
    ขอบคุณนะคะ
    แล้วเอามาให้อ่านกันอีกนะ
     
  7. felies

    felies เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,370
    อ่านแล้วนึกถึงหนังสือ "ไอน์สไตล์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" เลย

    อิอิ

    ^ ^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2008
  8. Mela

    Mela สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +15
    ขอบคุณ คุณ Gotodido มากค่ะ กำลังอยากรู้เรื่องนี้พอดีเลย ขออนุโมทนาบุญนะคะ :>
     
  9. อรวี จุฑากรณ์

    อรวี จุฑากรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +188
    ลึกซึ้งเกินบรรยาย

    (good) (good) บังเอินเรียนศิลปภาษามา
    จะพยายามเข้าใจให้ได้มากที่สุด
    ขอบคุณกระทู้ดีดีทีนำมาให้เราชาวพลังจิต
    ได้เปิดโลกกว้างว่าตอนนี้เขาไปถึงไหนกันแล้ว
     
  10. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    (tm-love) มึนครับ
     
  11. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
  12. ttoorrhh

    ttoorrhh Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +26
    เอาเข้าไป อจินไตย=เถียงกันจะเป็นจะตาย+ความเชื่อส่วนตัว+ความเชื่อผู้อื่น+ตัวเลขเยอะแยะ=ยังสรุปไม่ได้
     
  13. gotodido

    gotodido เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +147
    ถูกครับสมัยก่อนเป็นเรื่องของอจินไตย ตอนนี้ก็ยังเป็นอยู่ อนาคตก็ยังเป็นต่อไป

    แต่ทำมัยเราต้องเรียนฟิสิกส์ ทำไมทุกวันนี้ฟิสิกส์ถูกบรรจุเป็นหลักสูตรที่สำคัญ แขนงนึง เรื่องนี้อธิบายได้ชัด เห็นได้ชัด เพราะทุกวันนี้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่ท่านใช้อยู่ก็ล้วนมาจากการศึกษาในเรื่องเหล่านี้ ตอนนี้มีflash drive, SD-MMC-compact card ความจุมากๆมาให้ใช้ ท่านว่ามันดีรึเปล่า
    การที่ไมโครคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้ความสมารถเทียบเท่าเครื่องเมนเฟรมสมัยก่อนนั่นคือใช้งานหลายคน หลายงานจากเครื่องๆเดียว จาก1-2,2-4,4-8,8-16,... ของสถาปัตย์ cpu core ปัจจุบัน
    การที่อนาคตของการเก็บ-อ่านข้อมูลเข้าสู่เทคโนฯที่ไม่มีส่วนใดเคลื่อนไหว (ฮาร์ดดิสแบบจานหมุนจะถูกยกเลิก)

    อย่างตอนนี้ blu-ray dise ที่มีความจุ 20g เริ่มก็เริ่มใช้กันเยอะแล้ว cd,dvd อีกหน่อยคงหายไปเหมือน drive B สมัยก่อน(FDD, ผมยังใช้อยู่ครับ^^)

    ในแง่ทางโลกเค้าได้ประโยชน์จากเรื่องพวกนี้มาก

    ขออ้างอิงจากบทความ
    อีก 18 ปีหุ่นยนต์จะทำงานแทนคนญี่ปุ่น 3.5 ล้านคน
    นี่ประโยชน์ส่วนนึง

    และในเรื่องของภัยพิบัติต่างๆ อุปกรณ์ที่ถูกนำไปช่วยเหลือ ฯลฯ

    เอาง่ายๆก็ไฟฟ้า โทรศัพท์ เรายังใช้กันเป็นปกติ เหมือนเป็นปัจจัยพื้นฐานของสังคม

    จะเห็นว่าอยู่รอบตัวเราก็คือเรื่องเหล่านี้ ตราบใดที่เรายังเป็นปุถุชนย่อมหนีไม่พ้น

    ปุถุชน
    -มีขันธ์ที่อยู่บนฐานของความอยาก ความต้องการ
    -มีความอยากที่อยู่บนฐานของอวิชชา ความสงสัย ความไม่รู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2008
  14. Little Raccoon

    Little Raccoon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +89
    ข้อความเดิมจากคุณ gotodido
    "ขอแสดงความเห็นนะครับ
    เราอยู่ในโลกที่มีสี่มิติ เวลาคือมิติที่สี่ มีลักษณะเป็น relative ถูกอ้างอิงตามพลังงาน จากสมการE= mc^2, E ก็คือมวลที่ถูกสะลายเป็นอนุภาคจนมีสถานะเป็นพลัง (ฟิสิกส์ควอนตัม)

    -ระเบิดอะตอมที่ใช้ทำลายเมืองฮิโรชิม่า ใช้หลักการยิงอนุภาคนิวตรอนไปยังนิวเครียสของอะตอมยูเรเนียม-235 ทำให้เกิดการแตกตัวของยูเรเนียม-235 เป็นนิวเคลียสที่เล็กลง โดยให้นิวตรอน และพลังงานจำนวนมากออกมา(E) เกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่

    ถ้าเรามองที่พลังงานที่ถูกปล่อยออกมา พลังงานนั้นย่อมมีทิศทางและระยะทางในการเคลื่อนที่ เวลาก็เกิดจากการเคลื่อนที่นั้นด้วย(อธิบายการเคลื่อนของพลังงานได้จากจุดที่อยู่ใกล้จุดระเบิดจะมีความเข้มของพลังงานมาก พลังงานกระจายออกทุกทิศทาง - การกระจายของความร้อน) พลังงานที่เกิดไม่มีวันสูญสลายไป แต่มีการเปลี่ยนรูปแบบ (กฏของพลังงาน)"

    ที่ผมเขียนไปนั้นเป็นการอธิบายความหมายตามสูตรของสมการ E = mc^2 ซึ่งคุณบุคคลทั่วไป 3 คนมีความสงสัยว่าทำไมไม่มี t อยู่ในสมการ

    ตามที่คุณ gotodido แสดงความเห็นมานั้นผมขออธิบายดังนี้ครับ

    E = mc^2 นั้นตามสมการจะให้ความหมายว่ามวลจำนวนหนึ่งจะแปลงเป็นพลังงานทั้งหมดได้เท่าไร่หรือในทางกลับกันพลังงานจะแปลงเป็นมวลได้เท่าไร่

    ในสมการไม่ได้บอกว่ามวลจะเปลี่ยนไปเป็นพลังงาน จะต้องใช้เวลาเท่าไร่

    อันนี้ผมขออธิบายเปรียบเทียบกับ... ผมสมมุติว่ามีสมการทางการแลกเปลี่ยนเงินตราเป็น Bath = 30USD. ในที่นี้หมายความว่า เงินดอลล่าห์จะแปลงมาเป็นเงินบาทได้จำนวนเท่าไร่ และเงินบาทจะแปลงเป็นจำนวนเงินดอลล่าห์ได้เท่าไร่
    ซึ่งในสมการจะไม่ได้บอกว่า เมื่อเรานำเงินบาทไปแลกเป็นเงินดอลล่าห์แล้ว จะต้องใช้เวลาเท่าไร่ หรือเมื่อเราแลกดอลล่าห์มาเป็นเงินบาทแล้ว จะต้องใช้เวลาเท่าไร่

    ความหมายของสมการ E = mc^2 ก็เป็นเช่นนั้น คือบอกถึงปริมาณของพลังงานที่ได้จากมวล ไม่ได้บอกว่าการสลายของมวลไปเป็นพลังงานจะใช้เวลาเท่าไร่

    ส่วนที่คุณยกตัวอย่างเรื่องการระเบิดและการกระจายของพลังงานจากการระเบิดนั้น การคำนวณหาเวลาของการเคลื่อนตัวของรัศมีการทำลายของระเบิดนั้นจะมีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแน่นอนครับ แต่วิธีการคำนวณนั้นค่อนข้างสลับซับซ้อน ส่วนสมการ E = mc^2 จะบอกว่า Uranium-235 ที่นำมาใช้ทำระเบิดปรมาณูจะให้พลังงานในการทำลายล้างออกมาเท่าไร่ครับ

    -----------------------------------------------------------------------

    ข้อความเดิมจากคุณ gotodido
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Little Raccoon [​IMG]

    ทีนี้ถ้าหากเราใส่พลังงานเข้าไปเพื่อเคลื่อนที่วัตถุให้ใกล้ความเร็วแสง จะเกิดอะไรขึ้น?
    ตัวทฤษฎีบอกเราว่า เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว เวลาของวัตถุนั้นจะหดสั้นลง มวลจะเพิ่มขึ้นและความยาวก็จะหดสั้นลง ทั้งหมดนี้เทียบกับผู้สังเกตที่หยุดนิ่ง
    และเมื่อยิ่งความเร็วเพิ่มขึ้น มวลก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ตาม ท.บอกเราว่าเมื่อเคลื่อนที่ถึงความเร็วแสง มวลจะมีขนาดเป็นอนันต์จึงทำให้ไม่ว่าเราจะใส่พลังงานเข้าไปเท่าไร่ เราจึงไม่อาจทำให้วัตถุเคลื่อนที่เร็วกว่าแสงได้ หรือเราจะตีความว่าพลังงานที่ใส่เข้าไปทั้งหมดนั้นกลายเป็นมวล(ไม่ใช่มวลสลายไป เนื่องจากเราต้องใส่พลังงานให้กับระบบและพลังงานนั้นดันให้วัตถุเคลื่อนที่และกลายเป็นมวลต้านการเคลื่อนที่) ดังนั้นเราจึงไม่สามารถเติมพลังงานเข้าไปอีกเพื่อเคลื่อนมวลที่เป็นอนันต์ได้



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ยังมีบางสมการที่แย้งกับเรื่องนี้อยู่ครับ สมการที่ว่า E = &frac12; mv^2 เมื่อ พลังงาน E เป็นค่าคงที่ใดๆ มวล m จะแปรผกผัน กับ ค่าความเร็ว v (m=1/v) กล่าวคือเมื่อค่าความเร็ว v เพิ่มขึ้น มวล m จะมีค่าลดลง
    ตรงนี้เองปัจจุบันเรารู้ว่า อิเล็กตรอนซึ่งเป็นอนุภาควิ่งด้วยด้วยอัตราเร็วของแสง มีมวล 9.109 x 10^-31 kg


    โอกาสที่อิเล็กตรอนจะวิ่งได้เร็วกว่านั้น ต้องหาอะไรที่วิ่งเร็วได้เท่ากันจะได้ตามมันทัน เพื่อไปเตะก้นมัน

    จากตรงนี้เองเครื่อง Large Hadron Collider จึงถูกสร้างขึ้นมา


    สำหรับสมการ E = 1/2mv^2 เป็นสมการแสดงพลังงานจลน์ของวัตถุที่เคลื่อนที่
    การนำสมการทางฟิสิกส์มาใช้นั้นเราต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ขอบเขตของมันก่อนจึงจะใช้ได้ถูกต้อง
    สมการนี้ปัจจุบันเรามักจะเรียกว่า Newtonian kinetic energy เนื่องจากเป็นสมการพลังงานจลน์ของวัตถุก่อนยุคไอน์สไตน์ซึ่งเรามักจะเรียกว่าเป็นฟิสิกส์ยุคของนิวตัน
    ขอบเขตของมันจะถูกต้องเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำกว่าแสงมากๆ และมวลจะต้องคงที่
    ในยุคนั้นมีกฎทางฟิสิกส์สำคัญคือ
    1. กฏการอนุรักษ์มวล
    2. กฏการอนุรักษ์พลังงาน

    1. กฎการอนุรักษ์มวล (ซึ่งเราจะพบมากในวิชาเคมี) กล่าวว่า มวลไม่มีการสูญสลาย หรือผลรวมของมวลทั้งหมดในระบบย่อมคงที่เสมอ
    2. กฏการอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า พลังงานไม่มีการสูญสลาย หรือผลรวมของพลังงานทั้งหมดในระบบย่อมคงที่เสมอ

    ดังนั้นที่คุณกล่าวว่า m แปรผกผันกับ v จึงไม่เป็นจริง เพราะมวลไม่มีการสูญสลาย การเพิ่มขึ้นของความเร็วไม่ได้มีผลให้มวลลดลงสำหรับสูตรนี้ (สมมุติว่าเราเผากระดาษ ไม่ได้หมายความว่ามวลของระบบลดลง หากเราสามารถรวบรวมกองขี้เถ้า, ไอน้ำ และสสารทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการเผามารวมกันจะพบว่ามวลรวมจะต้องเท่าเดิม)

    กรณีนี้ผมขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับสูตร F = ma ถ้าเรากลับข้างของสมการจะพบว่า m แปรผกผันกับ a เช่นเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงในระดับทั่วไป (ความเร็วต่ำกว่าแสงมากๆ) เราจะพบว่ามวลไม่ได้เปลี่ยนแปลงตามความเร่ง

    แต่เมื่อใดที่วัตถุมีความเร็วเข้าใกล้ความเร็วแสงหรืออยู่ในอิทธิพลของสนามความโน้มถ่วงที่มีปริมาณสูงมาก เราจะไม่สามารถใช้ Classical Physics (หรือฟิสิกส์ยุคนิวตันก่อนยุคไอน์สไตน์) มาพิจารณาการเคลื่อนที่ของวัตถุได้ ทฤษฎีสัมพัทธภาพจะเข้ามาอธิบายตรงส่วนนี้แทน
     
  15. misteryo

    misteryo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    112
    ค่าพลัง:
    +586
    ความสุขใจใด หาเท่าความสุขจากการเข้าใจธรรมชาติไม่

    สาธุครับ อยากจะมีญาณจัง
     
  16. Little Raccoon

    Little Raccoon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +89
    สำหรับคำถามของคุณ WebSnow (ผมไม่ค่อยได้แสดงความเห็นในกระทู้เท่าไร่ ยังทำอ้างอิงไม่เป็นครับ)

    ถามผู้รู้
    -------

    เรื่อง บิกแบง การระเบิดแล้วการเกิดของจักรวาล
    ตอนนั้นจักรวาลไม่มีอะไร จะว่างๆ มืดๆ

    คำถามคือ

    1. แล้วเอาอนุภาคที่ไหนมาชนกันแล้วเกิดระเบิดขึ้นมาได้ ?
    2. อะไรเป็นตัวขับเคลื่อนทำให้เกิดการระเบิด


    คำถามนี้ถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดินจะบอกว่าอยู่นอกขอบเขตของฟิสิกส์ปัจจุบัน แต่ก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ

    ก่อนที่จะอธิบายเพิ่มเติม ผมคงต้องย้อนกลับไปยังฟิสิกส์สมัยของนิวตันเพื่อให้เข้าใจแนวคิดทางฟิสิกส์ดั้งเดิมมาก่อน

    ก่อนยุคสมัยของไอน์สไตน์หรือยุคของนิวตันนั้น วิชาฟิสิกส์เชื่อกันว่าจักรวาลนั้นคงตัวและเวลาดำเนินไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด หมายความว่าไม่มีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของเวลาหรือไม่มีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของจักรวาล

    แต่เมื่อไอน์สไตน์เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพทำให้ภาพของเวลาเปลี่ยนแปลงไปมีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดซึ่งทำให้แนวคิดของ ท.บิ๊กแบงที่เป็นจุดเริ่มต้นของเอกภพได้รับความสนใจ

    หลังการประกาศ ท.นี้ ได้รับการสนับสนุนจากทางศาสนจักรเป็นอย่างมากเนื่องจากตั้งแต่สมัยของนิวตั้นเป็นต้นมา นักวิทยาศาสตร์ไม่เชื่อเรื่องจุดเริ่มต้นของเอกภพ แต่เมื่อ ท.สัมพัทธภาพเข้ามาทำให้เอกภพมีจุดเริ่มต้นซึ่งนั่นหมายความว่าจะต้องมีผู้สร้างเอกภพหรือพระเจ้าขึ้นมา

    ส่วนที่ผมกล่าวว่าอยู่นอกขอบเขตของฟิสิกส์ปัจจุบันนั้นก็เพราะว่า ที่จุด Singularity นั้น (ลองย้อนกลับไปอ่านจุดนี้ได้ในกระทู้นี้นะครับ) ท.สัมพัทธภาพจะไม่เป็นจริง ณ.จุดนี้ หรือไม่สามารถใช้ ท.ทางฟิสิกส์ใดๆอธิบายเหตุการณ์ก่อนจุด Singularity ได้

    ความเป็นจริงแล้วคำถามที่คุณ WebSnow ถามนี้ สตีเฟ่น ฮอร์กิ้น ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ระดับโลกในปัจจุบันได้เคยถามคำถามนี้มาก่อนแล้ว และได้ให้คำตอบไว้ว่าไม่มีความจำเป็นใดๆที่เราจะกล่าวถึงเหตุการณ์ก่อนจุด Singularity โดยให้เหตุผลถึงความไม่จำเป็นนั้นในแง่ของวิทยาศาสตร์

    ด้วยเหตุผลนี้ การทดลองที่ CERN เราจึงค้นหาไปที่กำเนิดของเอกภพ ณ.เวลาจำลองหลังการเกิดเอกภพในเสี้ยววินาที (เวลาเท่าไร่ขอให้ดูตามข่าวนะครับ)
     
  17. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    การทดลองของ CERN ที่ว่าเป็นการค้นหาไปที่กำเนิดของเอกภพ ก็เพราะว่าเป็นการเอาอนุภาคมาชนกันใช่หรือเปล่าครับ เพราะว่าช่วงที่เกิดบิ๊กแบง ในช่วงเสี้ยววินาทีแรก ช่วงนั้นจะมีแต่อนุภาคพื้นฐาน

    ดังนั้นการทดลองของ CERN ที่เอาอนุภาคมาชนกัน ก็จะทำให้เราเห็นได้ว่า หลังจากที่อนุภาคพื้นฐานมาชน มารวมตัวกันแล้วจะเกิดอะไรเป็นลำดับต่อๆ ไป เช่น เกิดฮีเลียม แล้วเกิดแต่กลุ่มแก๊ซของฮีเลียม หรือว่าเกิดธาตุอื่นๆ ที่หนักกว่าด้วย หรือว่าฮีเลียมมาชนกันแล้วหลอมเป็นธาตุที่หนักขึ้น เพราะตอนนั้นอุณหภูมิก็น่าจะสูงอยู่

    การพยายามจะหาว่าช่วงเกิดบิ๊กแบง สสารต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร มันมีความรู้สึกเหมือนกับการหาคำตอบทางชีววิทยาที่ว่า สารที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไร เช่น พวกโปรตีนที่ประกอบกันเป็นเซล ที่เคยได้ยินมาว่ามีนักวิทยาศาสตร์ทดลองเอาไอน้ำ แอมโมเนีย มีเทนและไฮโดรเจน มารวมกันโดยใช้กระแสไฟฟ้าช่วยทำให้เกิดเป็นสารอินทรีย์ประเภทโปรตีนขึ้น
     
  18. gotodido

    gotodido เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +147
    ขอบคุณ คุณLittle Raccoon [​IMG] มากครับ
    ขอไม่แย้งครับ เพราะมันจะเป็นการเถียงที่ค่อนข้าง ข้างๆคูๆของผม

    คือพอดีผมสนใจเรื่องที่ดร.วรภัทร์ ยกมาพูดเปรียบเทียบกะพุทธศาสนาบวกกับ การค้นหาข้อเท็ขจริงต่อจากนั้น ด้วยคีเวิร์ดเท่าที่รู้

    จนได้มาพบการทดลองของ CERN เรื่องอนุภาค คาร์ก และ แลปตอน
    และล่าสุดยังมี เรื่องอนุภาค ฮิกส์ ที่เรียกกันว่าเป็นอนุภาคพระเจ้า
    ยิ่งการทดลองล่าสุด ที่จะมีขึ้นเร็วๆนี้ ก็ส่วนนึงก็เพื่อสนับสนุนให้ อนุภาค ฮิกส์ มีความชัดเจน เป็นที่ยอมรับ

    เห็นว่าน่าสนใจเผื่อท่านอื่นจะสนใจ กระทู้นี้เลยกะว่าจะลองรวบรวมบทความที่เกี่ยวของจากที่ต่างๆมาลงให้ผู้สนใจ ได้อ่าน ศึกษาได้สะดวกไม่ต้องเสียเวลาค้นหา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2008
  19. Mrs.Kim

    Mrs.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,086
    ค่าพลัง:
    +2,306
    อ่านแล้วก็มีส่วนที่เข้าใจบ้างและไม่เข้าใจบ้างเพราะบางเรื่องยากเกินไปค่ะ
    แต่ยิ่งอ่านก็ยิ่งรู้สึกตื่นเต้นค่ะ...ดีค่ะได้สาระทั้งทางโลกและทางธรรมเลยค่ะ
    ช่างเป็นกระทูที่น่าสนใจและน่าติดตามมากๆเลยค่ะจะคอยอ่านไปเรื่อยๆนะค่ะ
    ขออุโมทนาบุญสำหรับทุกท่านที่นำความรู้มาให้อ่านด้วยค่ะ
     
  20. sapmoden

    sapmoden สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +12
    ข้อสงสัยค่ะ

    ถึงคุณเจ้าของกระทู้
    จากที่ติดตามอ่านกระทู้มาตั้งแต่อันแรก มีข้อสงสัยดังนี้ค่ะ
    1.ที่คุณบอกว่าคนเราเห็นผีได้ง่ายกว่าเห็นเทวดา เพราะผีมีความถี่สูง ความยาวคลื่นน้อยกว่าเทวดา แล้วความถี่ของผีเท่ากับเท่าไหร่คะ ความถี่ของเทวดาเท่ากันบเท่าไหร่ ส่วนความถี่ของตาเนื้อนั้นพอเข้าใจเพราะแยกออกมาเป็นช่วงของสเปกตรัมอยู่แล้ว อีกอย่างการวัดความถี่ของผีนี้วัดยังไงเหรอคะ
    2.การขัดข้องของแรงนิวเคลียร์นี้มันเป็นยังไงเหรอคะ
    3. ความแรงของแรงนิวเคลียร์นี้ คืออะไรคะ แรงดึงดูด แรงพันธะ แรงตึงหรือแรงระหว่างประจุ แรงระหว่างอะตอม

    Little Raccoon ที่ตอบคำถามนี้นะคะ :
    แล้วเอาอนุภาคที่ไหนมาชนกันแล้วเกิดระเบิดขึ้นมาได้ ?
    => ที่คุณตอบนั้นไม่ถูกต้องนะคะ ขออธิบายเป็นความรุ้คร่าวๆดังน้นคะ การระเบิดของทางฟิสิกส์นั้นมี 2 แบบค่ะ คือปฏิกิริยาฟิชชั่น ซึ่งเกิดจากการยิงอนุภาคไปยังอะตอมธาตุ (เช่นการระเบิดนิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น) เกิดการแตกตัวของธาตุหลักเป็นอนุภาคขนาดเล็กและมีการแผ่รังสีอออกมาค่ะ หรือบางทีอาจจะเกิดจากการสลายตัวของธาตุเองก็ได้ค่ะ เช่น ยูเรเนียม-238 และจะแตกตัวไปเรื่อยๆจนกว่าธาตุจะเข้าสู่สภาวะเสถียรค่ะ
    ส่วนปฏิกิริยาฟิวชั่นนั้นจะเกิดตรงข้ามกับฟิชชั่น คือ ยิงอนุภาคขนาดเล็ก 2 อนุภาค เกิดการชนกันและจับตัวกันเป็นธาตุใหม่และมีการปลดปล่อยพลังงานรังสีออกมาค่ะ แตฟิวชั่นจะเกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด สำหรับตัวอย่างก็บางประเทศที่มีการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยพลังงงานนิวเคลียร์บางแห่งจะเลือกการเกิดกระแสโดยปฏิกิริยาฟิวชั่นค่ะ
    ส่วนเครื่อง CERN นี้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแน่นอนค่ะ คิดง่ายๆ ลำโพงของเราเองเมื่อตั้งไว้ใกล้ๆ กับจอทีวีหรือจอคอมพิวเตอร์เมื่อเปิดฟังเพลงจะมีคลื่นแม่เหล็กแผ่ออกมาด้วยและเหนี่ยวนำให้จอทีวีเราเสียได้ค่ะ

    ฝากสักนิดค่ะ : ฟิสิกส์นั้นมีทั้งระดับอนุภาค ระดับอะตอม หรือมีระดับใหญ่ที่เราเห็นโดยทั่วที่เป็นจลน์ศาสตร์ ฉะนั้นเรื่องของเอกภพที่พยายามทำความเข้าใจกันเพียงไม่กี่หน้ากระดาษนั้น เราเข้าใจมันไม่ได้ทั้งหมดอยู่แล้วค่ะและส่วนใหญ่เป็นเรื่องของทฤษฏีทางฟิสิกส์ซึ่งมีตัวแปรทางคณิตศาสตร์ทั้งซับซ้อนมากมาย เมื่ออ่านแล้วขอให้เข้าใจเพียงว่า ทุกสิ่งมีเกิดก็ต้องมีดับไปเป็นธรรมดาของโลก ฟิสิกส์แปลว่า "ธรรมชาติ" ซึ่งก็เหมือนกับ "ธรรมะ" คือ"ธรรมชาติ"ค่ะ ขอแค่เข้าใจในธรรมชาติเท่านั้นก็พอค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...