อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    4B65AD55-D5A3-4A93-96A2-BD8D2E422373.jpeg

    463EF0F3-C38D-4DC5-BD10-BA539E0ABD0F.jpeg

    E75F89EC-F900-43E1-9CDC-D7D0260FE0EF.jpeg

    BCB30323-F07D-483E-80A6-C2709B7E5173.jpeg

    87BF8FA1-B506-4EF9-951A-78E0B4A19B20.jpeg

    วัดอินทารามวรวิหาร(๓)
    ตลาดพลู


    ภายในวิหารสมเด็จพระเจ้าตากสินนอกจากรูปหล่อพระเจ้าตากสินขณะทรงธรรมและทรงผนวชแล้ว ยังมีพระพุทธรูปมากมายโดยเฉพาะพระประธานนามว่าหลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านต่างเลื่อมใสศรัทธา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2022
  2. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    B33755FB-58D3-4D03-A057-5FA047FB3879.jpeg

    CAE96821-91F8-49F6-8371-62DB3AD60992.jpeg

    F3D12EA3-4942-4001-969C-38F2AAF4F773.jpeg

    8C58AB90-757E-482B-BC59-62BEE7ACBE81.jpeg

    วัดอินทารามวรวิหาร(๔)
    ตลาดพลู


    ด้านข้างวิหารสมเด็จพระเจ้าตากสิน จะเป็นอุโบสถเก่าที่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นวิหารแล้ว ภายในมีพระพุทธรูปอยู่หลายองค์ พระพุทธรูปองค์กลางด้านหน้าเชื่อว่าบรรจุพระบรมราชสรีรางคารสมเด็จพระเจ้าตากสิน
     
  3. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    7483CE27-14A1-453C-A058-AFEA9F6FB61D.jpeg

    88A9F5B9-089D-4CE4-8335-5EE3526CAEBB.jpeg

    5B3CB764-0D15-4E3A-B828-B8BECD022E6A.jpeg

    FB337AE7-12CC-455F-A395-4BCCF18A3248.jpeg

    วัดอินทารามวรวิหาร(๕)
    ตลาดพลู


    พระพุทธชินวร
    วัดอินทาราม ธนบุรี


    วัดอินทารามเป็นวัดสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในสมัยกรุงธนบุรีทรงสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและปฏิบัติกรรมฐานที่วัดนี้ ทรงถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จบรมราชชนนีพระพันปีที่วัดนี้ และสุดท้ายก็ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระบรมอัฐิก็สถิตอยู่ ณ วัดอินทารามนี้

    เมื่อสิ้นกรุงธนบุรี วัดอินทารามขาดผู้ทำนุบำรุง กลายสภาพเป็นวัดชำรุดทรุดโทรม จนพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง ศรีเพ็ญ) ได้ขอพระบรมราชานุญาติบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ สร้างพระอุโบสถพระวิหารการเปรียญขึ้นใหม่ เป็นวัดใหญ่โตสวยงาม แต่ยังคงรักษาพระอุโบสถพระวิหารเดิมไว้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามวัดว่า "วัดอินทาราม"

    (แสดงว่า ถึงสมัยกรุงธนบุรีจะเป็นพระอารามหลวงเอกพิเศษ แต่ก็ยังมีชื่อบ้านๆว่า วัดบางยี่เรือนอก)

    พระอุโบสถวัดอินทารามนี้ สร้างตรงที่ตั้งพระเมรุมาศถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ มีรูปแบบเดียวกับพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม

    ในระหว่างการสร้างวัดใหม่นี้ มีพ่อค้าซุงได้นำพระพุทธรูปองค์ใหญ่ล่องมาจากทางเหนือ พระยาศรีสหเทพเห็นเข้าจึงขอซื้อพระพุทธรูปนี้ เพื่อนำมาเป็นพระประธาน นับเป็นการ "เช่าพระ" องค์ใหญ่ที่สุด และน่าจะเป็นการ"เช่าพระ" ครั้งแรกในประวัติศาสตร์

    พระพุทธชินวร เป็นพระสุโขทัยหมวดใหญ่ หล่อสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 3.0 เมตร (ใหญ่กว่าพระพุทธชินราชซึ่งมีหน้าตัก 2.85 เมตร)

    พระยาศรีสหเทพผู้ปฏิสังขรณ์วัดอินทารามนี้ มีเกียรติประวัติน่าสนใจเป็นพิเศษ ควรที่จะกล่าวถึงคือ

    พระยาศรีสหเทพ นามเดิม ทองเพ็ง เกิดในรัชกาลที่ 1 บิดารับราชการมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีตลอดถึงรัชกาลที่ 1 มารดาเป็นมอญ เชื้อสายพระยารามจตุรงค์ (มะซอม) ข้าทูลละอองฯในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

    พระยาศรีสหเทพรับราชการในรัชกาลที่ 3 เป็นที่โปรดปราน ตรัสเรียก "เจ้าศรีทองเพ็ง" บ้าง "เจ้าศรี" บ้าง ทรงมีพระราชปรารถถึง "เบญจพละ" 5 ประการของพระองค์ ได้แก่

    1.มีพระกำลังเป็นบ่อแก้ว
    คือ พระยาราชมนตรี (ภู่) ต้นสกุล "ภมรมนตรี" (ผู้สร้างวัดคฤหบดี)

    2.มีพระกำลังเป็นช้างแก้ว
    คือ พระยาช้างเผือกทั้ง 3 ช้างของพระองค์

    3.มีพระกำลังเป็นนางแก้ว
    คือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงวิลาศ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาที่ทรงรักยิ่ง (ทรงสร้างวัดเทพธิดาพระราชทาน)

    4.มีพระกำลังเป็นขุนพลแก้ว
    คือ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์) ต้นสกุล "สิงหเสนี" แม่ทัพใหญ่ของพระองค์ (ผู้สร้างวัดปรินายก วัดจักรวรรดิราชาวาส วัดชัยชนะสงคราม)

    5.มีกำลังเป็นขุนคลังแก้ว
    คือ พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ต้นสกุล" ศรีเพ็ญ" ขุนคลังคู่พระทัย (ผู้สร้างวัดอินทาราม)

    พระยาศรีสหเทพ มีเชื้อสายมอญและมั่งมีมาก เป็นผู้มีความจงรักภักดีและสติปัญญาอย่างยิ่ง หารายไ้ด้่เข้าพระคลังหลวงมากมาย เป็นผู้ดูแลไม้สักขอน หากทางราชการต้องการไม้สักขอนในการก่อสร้างสิ่งใด พระยาศรีสหเทพก็จะหามาให้โดยไม่คิดมูลค่า

    ความโปรดปรานและใกล้ชิดเบื้องยุคลบาทนั้น เมื่อป่วยใกล้อนิจกรรม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานผ้าไตรให้พระยาศรีสหเทพได้ทำบุญก่อนตาย โดยทรงจบอธิษฐานไตรพระราชทานว่า
    "ถ้าพระยาศรีสหเทพจะต้องถึงแก่อนิจกรรมแล้ว เกิดในชาติใดก็ขอให้ได้พบกับพระองค์เสมอ"

    พระยาศรีสหเทพถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลที่ 3 มีอายุ 53 ปี

    อนึ่ง พระยาศรีสหเทพเป็นผู้นำชาวมอญ ซึ่งบรรดาญาติๆและข้าทาสบริวารได้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณ "สี่กั๊กพระยาศรี" และได้ร่วมกันก่อสร้างสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม จึงเรียกสะพานนี้ว่า “สะพานมอญ”

    ขอบคุญที่มา
    #วัดวาอารามทัวร์
    https://www.facebook.com/groups/1121095651990670/?ref=share
     
  4. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    C0F22545-7311-4CAA-8E7D-113DFE289E20.jpeg

    6464B861-7538-414D-B5CF-5DB546B7D48F.jpeg

    DB141FBB-9FFF-4F23-BD58-ABEA4E9F3ECA.jpeg

    C276A3F7-4A16-42F5-9089-9084FE033664.jpeg

    D88C024E-F43E-4C20-A73A-4EE5CE6B9AC0.jpeg

    วัดอินทารามวรวิหาร(๕)
    ตลาดพลู


    วัดอินทารามเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดประจำรัชสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน โดยประกาศไว้ในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๖ ตอนที่ ๖๔ ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒

    วัดอินทาราม เป็นคำสมาสมาจาก อินทร์ (แปลว่า เทวดาผู้ปกครองเทวดาทั้งหลาย และเป็นคติตั้งแต่ยุคต้นรัตนโกสินทร์ที่ใช้พระอินทร์เป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์) + อาราม (แปลว่า วัด) = อินทาราม วัดของพระอินทร์

    สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่เลขที่ ๔๓๒ ริมคลองบางกอกใหญ่ ถนนเทิดไท แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

    อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับคลองบางกอกใหญ่ขนานตามลำคลอง

    ทิศใต้ ติดต่อกับคู และทางรถไฟสายมหาชัย

    ทิศตะวันออก ติดต่อกับคูของวัด

    ทิศตะวันตก ติดต่อกับคลองบางยี่เรือ (คลองสำเหร่) ขนานตามลำคลอง

    แต่เดิมหน้าวัดอยู่ทางคลองบางกอกใหญ่ แต่เมื่อตัดถนนแล้วจึงใช้ทางหลังวัดเป็นหน้าวัดด้วย

    ประวัติโดยสังเขป วัดอินทารามเป็นวัดโบราณสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดบางยี่เรือนอก หรือวัดสวนพลู หรือวัดบางยี่เรือไทย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอารามและบริจาคที่ดินให้วัดเป็นจำนวนมาก ทรงตั้งให้เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ และโปรดมาทรงศีลบำเพ็ญกรรมฐาน เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชสวรรคตในปีพ.ศ. ๒๓๒๕ ได้ประดิษฐานพระบรมศพถวายพระเพลิงและบรรจุพระบรมอัฐิที่วัดนี้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระยาศรีสหเทพ (เพ็ง) ปลัดบัญชี กรมมหาดไทยได้บูรณะใหม่ น้อมเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า วัดอินทาราม แต่กลับถูกลดชั้นลงมาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหารนับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นต้นมา

    ลักษณะบริเวณวัด เดิมหน้าวัดอยู่ทางคลองบางกอกใหญ่ ต่อมาเมื่อตัดถนนแล้วได้ใช้ทางหลังวัดเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อเข้า – ออกวัดได้ด้วย เนื้อที่ของวัดเดิมเป็นแปลงเดียวกันตลอดทั้งวัด เมื่อการรถไฟสายมหาชัยตัดเข้ามาทางข้างหลังวัด กินเนื้อที่เข้ามาทางด้านตะวันออกจดคลองบางยี่เรือ และกรุงเทพมหานครได้ตัดถนนเข้ามาเฉียดกำแพงรอบนอกพระอุโบสถจดคลองบางยี่เรือ เพราะเหตุนี้ ที่ดินวัดจึงแยกออกเป็นสองแปลง เนื้อที่ประมาณ ๑๕ ไร่ ๒ งาน เป็นที่ตั้งวัด และเนื้อที่ประมาณ ๙ ไร่ ๒ งาน ๙๐ ตารางวา เป็นที่ธรณีสงฆ์สำหรับจัดหาผลประโยชน์บำรุงวัด ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๐๕ ทางวัดได้อนุญาตให้กระทรวงศึกษาธิการจัดสร้างโรงเรียนหนังสือไทย สังกัดกรมสามัญศึกษาในที่ดินของวัด ซึ่งอยู่ติดกับถนนเทิดไทย จำนวนเนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน

    สิ่งสำคัญภายในวัด ๑. พระอุโบสถเก่า

    ๒. พระอุโบสถใหม่

    ๓. พระวิหารน้อย หรือพระวิหารพระเจ้ากรุงธนบุรี

    ๔. พระเจดีย์กู้ชาติ

    ๕. พระปรางค์

    ๖. ศาลาการเปรียญ

    ๗. พระวิหารเดิม

    ๘. สีมาใหญ่

    ประวัติของสถานที่ตั้ง มูลเหตุของชื่อวัด

    วัดอินทารามเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๔๓๒ ริมคลองบางกอกใหญ่ ถนนเทิดไท แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร แต่เดิมชื่อสถานที่คือปากคลองบางยี่เรือ ตำบลตลาดพลู จังหวัดธนบุรี เคยมีทางเข้าวัดจากทางคลองบางกอกใหญ่หรือลำน้ำสายเดิมของแม่น้ำเจ้าพระยา ทางสัญจรหลักจากปากอ่าวไทยสู่กรุงศรีอยุธยาในอดีต และบริเวณแถบลำคลองสายนี้เคยเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองฑณบุรี หรือธนบุรี ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน ดังจะพบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในอดีตจากโบราณสถานจำนวนมากบริเวณลำน้ำสายนี้ ต่อมาเมื่อตัดถนนแล้วจึงใช้ทางหลังวัดเป็นหน้าวัด เป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อเข้า-ออกวัดได้อีกทางหนึ่ง

    สาเหตุที่พระเจ้ากรุงธนบุรีบูรณปฏิสังขรณ์ให้ความสำคัญกับวัดนี้เป็นพิเศษคงเป็นเพราะสภาพภูมิศาสตร์และตำแหน่งที่ตั้ง ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำสายหลักไม่ไกลจากพระราชวังมากนัก อีกทั้งเป็นสถานที่เงียบสงบไม่จอแจเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมของคณะสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนา

    วัดอินทารามเป็นวัดโบราณสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดบางยี่เรือนอก หรือวัดสวนพลู และอีกชื่อหนึ่งคือวัดบางยี่เรือไทย จากหลักฐานที่มาเก่าก่อนเล่าว่า สาเหตุที่เรียกว่าวัดบางยี่เรือนอกนั้น เพราะเมืองเดิมของธนบุรีอยู่ที่วัดคูหาสวรรค์ (วัดศาลาสี่หน้า) จากเมืองเก่าก็ต้องมาถึงวัดราชคฤห์ก่อน จึงเรียกวัดราชคฤห์ว่าวัดบางยี่เรือใน ส่วนวัดจันทารามอยู่ตรงกลางจึงเรียกว่าวัดบางยี่เรือกลาง ถัดมาก็ถึงวัดอินทารามจึงเรียกกันว่าวัดบางยี่เรือนอก ด้วยเหตุที่สมัยก่อนวัดมักไม่มีชื่อเฉพาะทีเดียวแต่มักเรียกชื่อเอาตามสถานที่ตามแต่ความเข้าใจ จากชื่อเรียกนี้เองได้ความว่าวัดบางยี่เรือนอกได้ชื่อจากเหตุที่วัดอยู่ด้านนอกนับเอาจากเมืองธนบุรีเก่าออกมา ทำให้ทราบได้ว่าวัดได้ชื่อวัดบางยี่เรือนอกมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะปรากฏว่าครั้งสมัยสมเด็จพระไชยราชาครองกรุงศรีอยุธยา คลองบางกอกใหญ่ทางป้อมวิชัยประสิทธิ์ยังคงเป็นปลายคลองอยู่ เพิ่งจะมาเป็นปากคลองเมื่อสมเด็จพระไชยราชาได้โปรดขุดลัดไปต่อกับคลองบางกอกน้อย ซึ่งส่วนที่ลัดระหว่างบางกอกน้อยกับบางกอกใหญ่นั้นถูกน้ำเซาะกว้างออกไปกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาในภายหลังต่อมา

    ส่วนสาเหตุที่วัดเคยมีชื่อว่าวัดสวนพลู เพราะครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีอยู่ในพระราชสมบัติ ที่ดินใกล้เคียงวัดอินทารามมีคนทำเป็นนา เมื่อเลิกจากนาก็เกิดสวนขึ้น แล้วมีการทำสวนพลูขึ้นในเวลาต่อมาก็เลยเรียกกันว่าวัดสวนพลูตามสิ่งที่อยู่ใกล้เคียง แต่ต่อมาสวนพลูได้กลายเป็นสวนอื่นๆ ถึงปัจจุบันกลับแวดล้อมไปด้วยบ้านเรือน ไม่มีสวนหรือที่นาหลงเหลืออยู่แล้ว

    วัดใต้ ที่เรียกติดปากกันมา ได้แก่วัดบางยี่เรือใต้ เรียกตามชื่อเมืองเก่าแต่ตัดคำว่าบางยี่เรือนอก เช่นเดียวกับวัดกลางจากชื่อวัดบางยี่เรือกลาง ซึ่งก็คือวัดที่ปัจจุบันมีชื่อว่าวัดจันทาราม

    ในสมัยรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ วัดอินทารามมีชื่อว่าวัดบางยี่เรือไทย เพราะมีวัดบางยี่เรืออีกวัดหนึ่งคือวัดราชคฤห์ที่ชาวรามัญทำนุบำรุงอยู่จึงเรียกกันว่าวัดบางยี่เรือรามัญ หรือเรียกสั้นๆว่าวัดมอญ จึงพากันเรียกวัดบางยี่เรืออินทารามนี้ว่าวัดบางยี่เรือไทยตามไปด้วย

    จนเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๓ วัดบางยี่เรือนอกได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า วัดอินทาราม นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    ประวัติวัดอินทาราม

    วัดอินทารามเป็นวัดอนุสรณ์สำคัญสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นราชธานี เพราะจากหลักฐานพงศาวดารเป็นวัดสันติสถานที่พระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีประกอบพระราชกุศลบ่อยครั้ง จึงมีโบราณวัตถุเกี่ยวเนื่องกับพระองค์หลายอย่าง ที่สำคัญคือพระแท่นที่บรรทมไสยาสน์ ซึ่งเป็นพระราชอาสน์ประทับแรมทรงศีลและทรงพระกรรมฐาน พระบรมรูปจำลองแบบทรงพระกรรมฐานประดิษฐานที่อยู่ในพระวิหารสมเด็จฯ พระบรมรูปทรงม้า และพระบรมรูปทรงครองเมืองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระเจดีย์ ๒ องค์ ด้านหน้าพระอุโบสถ ที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระบรมอัฐิของพระอัครมเหสี

    เนื้อที่ของวัดเดิมเป็นแปลงเดียวกันตลอดทั้งวัด เมื่อการรถไฟสายมหาชัยตัดเข้ามาทางข้างหลังวัด กินเนื้อที่เข้ามาทางด้านตะวันออกจดคลองบางยี่เรือ และกรุงเทพมหานครได้ตัดถนนเข้ามาเฉียดกำแพงรอบนอกพระอุโบสถจดคลองบางยี่เรือ เพราะเหตุนี้ ที่ดินวัดจึงแยกออกเป็นสองแปลง เนื้อที่ประมาณ ๑๕ ไร่ ๒ งาน เป็นที่ตั้งวัด และเนื้อที่ประมาณ ๙ ไร่ ๒ งาน ๙๐ ตารางวา เป็นที่ธรณีสงฆ์สำหรับจัดหาผลประโยชน์บำรุงวัด รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๕ ไร่เศษ ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๐๕ ทางวัดได้อนุญาตให้กระทรวงศึกษาธิการจัดสร้างโรงเรียนหนังสือไทย สังกัดกรมสามัญศึกษาในที่ดินของวัด ซึ่งอยู่ติดกับถนนเทิดไทย จำนวนเนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน

    ในสมัยกรุงธนบุรีที่มีเมืองธนบุรี เป็นศูนย์กลางได้รับการสถาปนาขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อราวพ.ศ. 2310 คือภายหลังที่ได้กอบกู้เอกราชได้สำเร็จหลังการเสียกรุงครั้งที่ 2นั้น การบูรณะปฏิสังขรณ์ศิลปกรรมในวัดวาอารามต่างๆทางเมืองธนบุรีจึงมีมาก

    วัดที่พระองค์ทรงบูรณปฏิสังขรณ์นั้น ส่วนใหญ่อยู่ในละแวกพระตำหนัก เป็นต้นว่าวัดหงส์รัตนาราม วัดท้ายตลาดหรือวัดโมลีโลกยาราม วัดบางหว้าใหญ่หรือวัดระฆังโฆสิตาราม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดบางยี่เรือใต้หรือวัดอินทาราม ที่เป็นวัดสำคัญที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าตากสินมหาราช และอาจเรียกได้ว่าเป็นวัดประจำรัชกาล ครั้งเปลี่ยนแผ่นดินเมื่อพ.ศ.2325พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

    ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างราชธานีทางด้านฝั่งตะวันออกคือ พระนครขึ้นแทนกรุงธนบุรี ด้วยเหตุนี้ศิลปกรรมต่างๆทางเมืองธนบุรีจึงขาดผู้อุปถัมภ์ดูแลและเสื่อมโทรมเป็นเวลานาน

    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง ได้ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม ขยายที่ทางไว้เป็นอันมาก ทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษเพื่อใช้เป็นที่ประกอบพระราชกุศลใหญ่ๆสำคัญหลายครั้ง เช่น งานถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระราชชนนีเมื่อพ.ศ. ๒๕๑๘ และโปรดมาทรงศีลบำเพ็ญกรรมฐาน นอกจากนี้ยังทรงโปรดให้พระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระมาประจำวัดนี้และโปรดให้ข้าละอองธุลีพระบาทปฏิบัติอุปถัมภ์พระสงฆ์ทุกรูป ในสมัยกรุงธนบุรีวัดอินทารามจึงเป็นวัดที่ใหญ่และเจริญรุ่งเรืองมาก

    สำหรับสถาปัตยกรรมที่วัดอินทาราม ซึ่งเป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏว่าผู้ใดสร้างและสร้างมาแต่ครั้งใด มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แน่ชัด ระบุว่าได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในรัชกาลที่3 โดยพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง )

    ที่มา: https://my.dek-d.com/princessofwind/blog/?blog_id=10076442
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2022
  5. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    8AC6BBD7-7888-44D2-B071-F435062FDE5B.jpeg

    23EE8809-0FE3-47D4-8732-B92897EEDBF0.jpeg

    B9935D1E-CB3F-4975-AF01-3BED28985FD4.jpeg

    วัดอินทารามวรวิหาร(๖)
    ตลาดพลู


    หลวงพ่อดำ พระประธานศาลาการเปรียญ

    วัดอินทารามเป็นวัดสำคัญในสมัยกรุงธนบุรี ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ชำรุดทรุดโทรมมาก พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง ศรีเพ็ญ)ได้ขอพระบรมราชานุญาติบูรณะปฏิสังขรณ์เป็นการใหญ่ในรัชกาลที่ 3 โดยสร้างพระอุโบสถใหม่ขนาดใหญ่ มีศาลาการเปรียญและหอไตร อยู่สองข้าง

    ตามปกติ ศาลาการเปรียญมักเป็นศาลาไม้ แต่ศาลาการเปรียญวัดอินทารามเป็นศาลาปูน มีรูปลักษณะอย่างพระวิหาร

    ภายในศาลาการเปรียญ ประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ตามพระราชนิยมการสร้างวัดในสมัยรัชกาลที่ 3 มีขนาดหน้า 3 ศอกเศษ เป็นพระพุทธรูปสุโขทัยที่งามมากองค์หนึ่ง

    ผนังศาลาการเปรียญนี้ เจาะช่องเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปไว้โดยรอบถึง 148 ซุ้ม ดูแปลกตา

    ทั้งนี้ เนื่องจากโบสถ์วิหารสมัยโบราณ เป็นโครงสร้างแบบผนังรับแรง ผนังมีความหนามาก จึงเจาะช่องเล็กประดิษฐานพระพุทธรูปได้

    ถึงรัชกาลที่ 8 วัดอินทารามที่สร้างใหม่อย่างสวยงามในรัชกาลที่ 3 ก็กลับทรุดโทรมลงอย่างหนัก หลังคาศาลาการเปรียญพังไปหมด ผนังทะลายลงมากลายเป็นกองอิฐ เหลือเพียงพระประธานนั่งตากแดดกรำฝนจนเหลือแต่ผิวโลหะสีดำ จึงเรียก "หลวงพ่อดำ"

    แม้ปัจจุบันได้บูรณะปฏิสังขรณ์และปิดทองพระประธานใหม่ ก็ยังเรียกหลวงพ่อดำตามเดิม

    อนึ่งสำหรับศาลาการเปรียญที่สร้างเป็นศาลาปูน มีเพียงไม่กี่แห่ง ได้แก่ ศาลาการเปรียญวัดพระเชตุพน ศาลาการเปรียญวัดสุทัศน์ ศาลาการเปรียญหลวงวัดราชโอรสาราม ศาลาการเปรียญหลวงวัดเฉลิมพระเกียรติ์ เป็นต้น

    ผนังที่เจาะช่องประดิษฐานพระพุทธรูป ได้แก่ ผนังพระวิหารวัดพนัญเชิง ผนังพระอุโบสถวัดกาญจนสิงหาสน์ ผนังพระอุโบสถวัดเขมาภิรตาราม ผนังพระอุโบสถวัดโปรดเกศเชษฐาราม ผนังอุโบสถวัดกันมาตุยาราม เป็นต้น

    วัดในกรุงเทพฯที่เคยชำรุดทรุดโทรม โบสถ์วิหารพังทลายเป็นซากโบราณสถานได้แก่ พระอุโบสถวัดรัชฎาธิษฐาน พระวิหารวัดนางนอง วิหารพระนอนวัดมหาพฤฒาราม พระวิหารวัดสุวรรณาราม การเปรียญหลวงวัดเฉลิมพระเกียรติ์ เป็นต้น

    ขอบคุณที่มาข้อมูล
    https://www.facebook.com/groups/1121095651990670/?ref=share
    #ป้อมธนะชัย
     
  6. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    60F3E603-7427-4CD9-AD26-E352569B63A3.jpeg

    F281EA2B-438B-43E3-9A09-E76B4E5CBD45.jpeg

    D241E6F1-20E9-426B-943F-C35FAB7B4B17.jpeg

    95610D1C-2589-44D6-8EBA-DE2631FC0B39.jpeg

    A5460CBA-D278-4355-B10D-EB497416BE53.jpeg

    0C9401D6-DEED-4229-94A9-379FCD20A062.jpeg

    วัดอินทารามวรวิหาร(๗)
    ตลาดพลู


    วิหารมหาอุด

    สิ่งที่น่าสนใจและน่ามาเยี่ยมชมคือวิหารมหาอุด ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมีทั้งหมด ๔ หลังเป็นวิหารหลังเล็กๆ ที่เรียกว่ามหาอุดเพราะมีประตูทางเข้าออกเพียงด้านเดียวไม่มีหน้าต่าง ตัววิหารตั้งสลับกับพระเจดีย์สีขาเด่นสง่า ๓ องค์ ภายในวิหารแต่ละหลังจะมีพระพุทธรูปแตกต่างกัน วิหารด้านนอกสุดหลังที่หนึ่งและหลังที่สี่เป็นพระนอนตะแคงซ้าย และพระนอนตะแคงขวา (พระนอนตะแคงซ้ายนี้หาชมได้ยากทราบว่ามีไม่กี่ที่เช่นที่ระยอง และวัดประดู่ฉิมพลี) วิหารหลังที่สองและสามจะเป็นรอยพระพุทธบาทและพระปางถวายพระเพลิง ภายในวิหารแต่ละหลังมีจิตรกรรมฝาพนังแตกต่างกันไปแต่ก็ชำรุดไปตามเวลา เป็นสิ่งที่น่ามาชมมาศึกษามาก
     
  7. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    C52CA2FB-5EC2-4EEF-AE03-879F3A479D49.jpeg

    98E1EE23-FC45-4065-B6F9-EE5F652348B6.jpeg

    E1FF8DF3-ABB1-4099-ACE9-22CBE89E977D.jpeg

    DD3D4756-3327-496D-BAF8-FA1DD6775D53.jpeg

    หลวงพ่อวัดปากน้ำ

    วัดปากน้ำภาษีเจิญ ปัจจุบันยังคงคราคร่ำไปด้วยผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาในบารมีแห่งองค์หลวงพ่อสด ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติต่างหลั่งไหลกันมากราบขอพรท่านกันไม่ขาดสาย

    ***********
    ประวัติโดยสังเขป หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ

    ชาติภูมิ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เดิมมีชื่อว่า “สด มีแก้วน้อย” เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๔๒๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่บ้าoสองพี่น้อง ต.สองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรีก่อนอุปสมบท ได้เรียนหนังสือเมื่อเยาว์วัยกับพระภิกษุซึ่งเป็นน้าชาย ณ วัดสองพี่น้อง ต่อมาได้ศึกษาอักษรสมัยที่วัดบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม

    เมื่ออายุ ๑๔ ปี โยมบิดาถึงแก่กรรม ท่านดำเนินการค้าสืบต่อจากบิดา จนถึงอายุ ๒๒ ปี และปี ๒๔๔๙ ได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง โดยมีพระอาจารย์ดี วัดประตูศาล เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อเหนี่ยง อินฺทโชโต เป็นพระกรรมวาจารย์, พระอาจารย์โหน่ง อินฺทสุวณฺโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “จนฺทสโร”

    อุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่วัดสองพี่น้อง ๑ พรรษา เรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อโหน่ง และหลวงพ่อเนียม ในระยะเวลาสั้นๆ ปวารณาพรรษา แล้วเดินทางมาจำพรรษา ณ วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ เพื่อเล่าเรียนพระปริยัติธรรมต่อไป สมัยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) กับ สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน)

    สรุปแล้วท่านเคยศึกษาสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานในสำนึกต่างๆ ดังนี้

    ๑. พระอาจารย์โหน่ง วัดสองพี่น้อง ๒. หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ๓. พระมงคลทิพยมุนี (มุ้ย) วัดสามปลื้ม ๔. พระอาจารย์ดี วัดประตูศาล ๕. พระสังวรานุวงษ์ (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม ๖. พระครูญาณวิรัต (โป๊) วัดเชตุพนวิมลมังคลาราม ๗. พระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ ๘. พระอาจารย์ปลื้ม วัดเขาใหญ่

    การศึกษาของหลวงพ่อสด จากอาจารย์ตามข้างต้นนี้ อยู่ในระยะเวลาประมาณ ๑๐ ปี จากปีที่ท่านอุปสมบทในปี ๒๔๔๙-๒๔๕๙

    เมื่อสมเด็จพระวันรัต (เผื่อน) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ องค์ต่อจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญ จ.ธนบุรี ท่านมีความประสงค์ที่จะให้หลวงพ่อสดมีวัดอยู่เป็นหลักเป็นฐาน จึงหวังเอาตำแหน่งเจ้าอาวาสผูกหลวงพ่อไว้กับวัดปากน้ำ ซึ่งเป็นพระอารามหลวงวัดหนึ่ง เพื่อไม่ให้เร่ร่อนโดยไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
    อีกต่อไป

    ปี ๒๔๕๙ หลวงพ่อสดจึงรับบัญชาออกจากวัดพระเชตุพน ไปเป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ในปี ๒๔๖๓

    เมื่อแรกที่ท่านมาปกครองวัดปากน้ำ วัดมีสภาพกึ่งร้าง ท่านได้เริ่มสร้างความเจริญให้วัด โดยกวดขันพระภิกษุสามเณรให้ปฏิบัติธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด สอนสมถวิปัสนากัมมัฏฐาน ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งสำนักเรียนทั้งนักธรรมและบาลี สร้างโรงเรียนปริยัติธรรมที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น จนวัดปากน้ำมีความเจริญขึ้นมาโดยลำดับ กลายเป็นศูนย์กลางปฏิบัติธรรมและการศึกษาบาลี ปฏิบัติสมถ-วิปัสสนากรรมฐาน

    สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณสิริ) รักษาการเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ (พ.ศ.๒๕๐๒ -๒๕๐๘) ได้เขียนไว้ว่า

    “หลวงพ่อวัดปากน้ำใช้คำว่า “ธรรมกาย” เป็นสัญลักษณ์ของสำนักกัมมัฏฐาน วัดปากน้ำ ทีเดียว เอาคำว่า “ธรรมกาย” ขึ้นเชิดชู ศิษยานุศิษย์รับเอาไปเผยแพร่ทุกทิศ”

    อีกตอนหนึ่งท่านเขียนเล่าว่า

    “คำว่า “ธรรมกาย” นั้นย่อมซาบซึ้งกันแจ่มแจ้ง เมื่อหลวงพ่อวัดปากน้ำได้มรณภาพแล้ว กล่าวคือ เมื่อทำบุญ ๕๐ วัน สรีระสังขารของพระคุณท่าน คณะเจ้าภาพได้อาราธนาเจ้าคุณพระธรรมทัศนาธร วัดชนะสงคราม มาแสดงธรรม

    เจ้าคุณพระธรรมทัศนาธร ได้ชี้แจงว่า คำว่า “ธรรมกาย” นั้นมีมาในพระสุตันตปิฎก ท่านอ้างบาลีว่า ตถาคต ๘๘ วาเสฏฐ เอตํ ธมฺมกาโยติ วจนํ ซึ่งพอจะแปลความได้ว่า “ธรรมกายนี้เป็นชื่อของตถาคต ดูกรวาเสฏฐะ” ทำให้ผู้ฟังเทศน์เวลานั้นหลายร้อยคนชื่นอกชื่นใจเป็นอย่างยิ่ง ทุกคนกราบสาธุการแด่เจ้าคุณพระธรรมทัศนาธร และประหลาดใจว่า ทำไมเจ้าคุณพระธรรมทัศนาธรจึงทราบประวัติ และการปฏิบัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำได้ถูกต้อง

    ผู้เขียน (สมเด็จพระสังฆราชปุ่น) เรื่องนี้ก็แปลกใจมาก เมื่อแสดงธรรมจบลงจากธรรมาสน์แล้วจึงถามผู้แสดงธรรมว่า คุ้นเคยกับหลวงพ่อวัดปากน้ำหรือ จึงแสดงธรรมได้ถูกต้องตามเป็นจริง

    พระธรรมทัศนาธร ตอบว่า “อ้าว ไม่รู้หรือ ผมติดต่อกับท่านมานานแล้ว หลวงพ่อวัดปากน้ำข้ามฟากไปฝั่งพระนครแทบทุกคราวไปหาผมที่วัดชนะสงคราม และผมก็หมั่นข้ามมาสนทนากับเจ้าคุณวัดปากน้ำ การที่หมั่นมานั้นเพราะได้ยินเกียรติคุณว่า มีพระเณรมาก แม้ตั้ง ๔-๕๐๐ รูป ก็ไม่ต้องบิณฑบาตฉัน วัดรับเลี้ยงหมด อยากจะทราบว่า ท่านมีวิธีการอย่างไรจึงสามารถถึงเพียงนี้และ ก็เลยถูกอัธยาศัยกับท่านตลอดมา”

    สมณศักดิ์

    พ.ศ.๒๔๖๔ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูสมณธรรมทาน”…พ.ศ.๒๔๙๒ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระภาวนาโกศลเถร”….พ.ศ.๒๔๙๔ ได้รับพระราชทานพัดยศ

    ชั้นเปรียญ…พ.ศ.๒๔๙๘ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ “พระมงคลราชมุนี”…พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ “พระมงคลเทพมุนี”

    อาพาธและมรณภาพ พระมงคลเทพมุนี หรือหลวงพ่อสด เริ่มอาพาธด้วยโรคความดันโลหิตสูง ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๙๘ มีอาการขึ้นๆ ลงๆ พล.ร.จ.เรียง วิภัตติภูมิประเทศ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลทหารเรือ เป็นแพทย์ประจำตัวดูแลรักษา

    หลังจากได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระมงคลเทพมุนี” เมื่อปี ๒๕๐๐ อาการของโรคเพิ่มมากขึ้น แต่กำลังใจของท่านนั้นเข้มแข็ง ไม่แสดงอาการรันทดใจใดๆ การต้อนรับแขกด้วยอาการยิ้มแย้มเสมอ

    หลวงพ่อสด อาพาธได้ประมาณ ๒ ปีเศษ จึงถึงแก่กาลมรณภาพด้วยอาการอันสงบ ณ ตึกมงคลจันสร เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒ เวลา ๑๕.๐๕ น. สิริอายุได้ ๗๕ ปี พรรษา ๕๓

     
  8. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    836C0213-91C3-4ABC-9450-26327DEA9F42.jpeg

    E8D87827-294D-4A85-8F59-A46C7730C7A6.jpeg

    09B72566-A32D-4B48-8339-08CBB468FD46.jpeg

    B802F16A-F0B6-42E1-BD33-9170274BE06E.jpeg

    0D637A34-7843-428D-948D-0325E5EF790A.jpeg

    614A3C5E-0F9B-4A71-9E6E-FFF90F590B98.jpeg

    403B879C-D5B3-48DF-B1E7-EFBD64FAB630.jpeg

    3973CEC5-E055-43DC-A79B-D4B65B2DE775.jpeg

    9097A0C7-B963-4949-8DE3-A855C5D50E14.jpeg

    1BAD96DD-737A-4475-847B-E8789D320708.jpeg

    พระมหาเจดีย์มหารัชมงคล
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ


    พระมหาเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมภายนอก ผสมผสานระหว่างรัตนโกสินทร์และล้านนา ตั้งอยู่บนพื้นที่ 50x50 ตารางเมตร หรือ 1 ไร่เศษ (1 ไร่เท่ากับ 1,600 ตารางเมตร) ส่วนศิลปะรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่ฐานล่างที่เป็นศิลปกรรมย่อไม้สิบสอง ขึ้นไปถึงกลางองค์เจดีย์ ถัดจากกลางองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงยอดเป็นศิลปะล้านนา

    ความคิดผสมผสานและศิลปะประยุกต์นั้น รวมถึงความคิดในการจัดสร้างพื้นที่ใช้สอยภายในองค์พระเจดีย์นั้นเกิดจากความคิดของหลวงพ่อสมเด็จเอง เพราะต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งการศึกษา หาความรู้ ฝึกอบรม และสักการบูชาเพื่อเพิ่มศรัทธาปสาทะ

    พระเจดีย์แก้วสีเขียว

    จุดแรกที่สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ พาคณะสื่อมวลชนชมคือชั้น 5 ที่มีเพดานทรงโดมสูง 10 เมตร ที่พื้นเพดานโดมมีดวงดาวสีและขนาดต่างๆ เป็นศิลปะจากการรังสรรค์ของฝีมือช่างชั้นครูทั้งสิ้น เช่น ภาพเขียนอนันตจักรวาลที่เพดานโดม รังสรรค์โดยอาจารย์จักรพันธ์ โปษยะกฤต ศิลปินแห่งชาติ มีดาวดวงใหญ่ โดดเด่นเป็นประธานศูนย์กลางจักรวาล แวดล้อมด้วยดวงดาวนับพันดวงที่สื่อถึงองค์อรหันต์ผู้ที่เป็นเอตทัคคะในแต่ละด้าน ดาวแต่ละดวงไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ทอแสงประกายระยิบระยับจากแก้วกายสิทธิ์เจียระไนสวารอฟสกี เสริมเติมสีด้วยสีทองคำ และเฉดสีต่างๆ ดูแล้วดื่มด่ำยิ่งนัก

    รอบๆ โดมเป็นภาพเขียนพระพุทธเจ้า ที่เป็นตัวแทนแห่งอดีตพุทธ 28 พระองค์ รวมทั้งพระสมณโคดม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เราชาวพุทธกราบไหว้ทุกเมื่อเชื่อวันอีกด้วย

    พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ประทับนั่งบนบัลลังก์ที่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ภายใต้ต้นไม้ที่ระบุตามประวัติแห่งพระพุทธศาสนาเช่นต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พระสมณโคดมตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น

    จุดเด่นและสำคัญยิ่งที่ชั้น 5 แห่งนี้คือ พระเจดีย์แก้วสีเขียวมรกตที่จำลองมาจากพระมหาเจดีย์องค์ใหญ่ฯ สร้างจากกระจกที่มีความหนา 1 เซนติเมตร แกะสลักด้วยมือ นำมาวางซ้อนกันจำนวน 800 ชั้น แต่ละชั้นผนึกแน่นด้วยกาวพิเศษที่สั่งจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความใสจนไม่เห็นรอยกาว สัณฐานวัดโดยรอบ 7 เมตร ความสูงจากฐานถึงยอด 8 เมตร ด้านยอดของเจดีย์แก้วจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมทั้งจะมีการสร้างเจดีย์ทองคำครอบบนยอดของเจดีย์แก้วด้วย ขณะที่ฐานของเจดีย์แก้วจะให้กระจกแกะสลักเป็นรูปพญานาคจำนวน 80 ตัว เท่ากับอายุของพระพุทธเจ้า ติดอยู่รอบฐานของเจดีย์แก้ว โดยใช้งบในการสร้างเฉพาะเจดีย์แก้วประมาณ 20 ล้านบาท

    เจดีย์แก้วสีเขียวมรกตนี้ แวดล้อมด้วยพญานาค 80 ตัว เพื่อให้จินตนาการว่าเจดีย์แก้วเขียวมรกตนี้ผุดขึ้นมาจากสะดือมหาสมุทร และถือว่าเป็นเจดีย์แก้วขนาดใหญ่องค์เดียวในโลกที่สร้างด้วยแก้วล้วนๆ บัดนี้สร้างเสร็จเรียบร้อย จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในโอกาสต่อไป ที่ยังสร้างไม่เสร็จคือส่วนของพญานาค และสร้างเจดีย์ทองครอบเท่านั้น

    เจดีย์มหารัช

    พระมหาเจดีย์มหารัชมงคล เป็นนามที่สมเด็จฯ ได้ตั้งขึ้น คำว่า “มหารัช” แปลว่า “แผ่นดินที่ยิ่งใหญ่” กล่าวคือ รัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ พระศาสนาและประชาชนได้อย่างยิ่งใหญ่ไพศาล อีกทั้งความหมายหนึ่งยังหมายถึงนามสมณศักดิ์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ อีกด้วย

    วัตถุประสงค์การก่อสร้าง

    - เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา

    - เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

    - เพื่อบูชาพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ

    - เพื่อเป็นอนุสรณียสถาน เจริญศรัทธาของ พุทธศาสนิกชน

    - เพื่อเชิดชูศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ และเพื่อเป็นอนุสรณ์ของสมเด็จฯ เองว่าในชีวิตหนึ่งได้สร้างสิ่งยิ่งใหญ่นี้ไว้ในพระพุทธศาสนา

    ต้นแบบของพระมหาเจดีย์

    รูปแบบมหาเจดีย์ได้จากโลกโมฬี ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21 ประมาณ พ.ศ. 2071 สมัยพระเมืองเกษเกล้า เจ้าเมืองเชียงใหม่ พระองค์ที่ 15 ราชวงศ์มังราย

    โดยสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมไทย ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง เป็นเจดีย์ประยุกต์ผสมผสานระหว่างศิลปะยุครัตนโกสินทร์กับศิลปะยุคล้านนาเข้าด้วยกัน ตอนล่างถึงส่วนกลางเป็นศิลปะยุครัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ส่วนกลางขึ้นไปถึงยอดพระมหาเจดีย์ เป็นศิลปะยุคล้านนา ความสูงจากฐานถึงยอด 80 เมตร ขนาดกว้าง และยาวด้านละ 50x50 เมตร

    สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺญมหาเถร ป.ธ.9) เป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระมหาเจดีย์เมื่อวันที่ 27 ส.ค. พ.ศ. 2547 เวลา 06.59 น ใช้งบประมาณการก่อสร้าง ประมาณ 300,000,000 บาท (สามร้อยล้านบาทถ้วน) หากไม่พอเพิ่มได้อีก 100 ล้านบาท โดยคุณศิริรัตน์ วัฒยากร บริจาคเริ่มแรก 5 ล้านบาท และบริจาคอีก 10 ล้านบาท ในการจัดงานอายุวัฒนมงคล 80 ปี สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ นอกจากนั้นอาจารย์ตรีธา เนียมขำ แม่ชีธัญญาณี สุดเกษ เป็นฝ่ายจัดหาทุน อาจารย์กี ขนิษฐานันท์ เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ อาจารย์วิวัฒน์ ธรรมาภรณ์พิลาส เป็นวิศวกร พระวิเชียรกวี (พุ่ม อคฺคธมฺโม ป.ธ.4, น.ธ.เอก) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ และคุณดำเกิง จินดาหรา ไวยาวัจกร วัดปากน้ำ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง

    พื้นที่ใช้สอยพระมหาเจดีย์

    สมเด็จฯ ได้พาชมจากชั้น 5 มาที่ชั้น 4 ซึ่งเป็นชั้นที่เตรียมจัดตั้งรูปเหมือนบูรพาจารย์ของวัดและของเจ้าประคุณสมเด็จ คือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถระ ป.ธ.9) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถระ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธรมหาเถร ป.ธ.9) วัดสามพระยา สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺญมหาเถร ป.ธ.9) วัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ สร้างด้วยทองคำ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ วัดพระธรรมกาย ถวายพระครูบริหารบรมธาตุ (ป่วน เกสโร) วัดนางชี พระครูวิชิตสังฆภาร (ชิต แสงฉาย) วัดสังฆราชา พระครูศีลาภิรัต (ทอง) วัดลาดกระบัง พระมหาเจดีย์มหารัชมงคล เป็นพระมหาเจดีย์ประยุกต์รัตนโกสินทร์และล้านนาเข้าด้วยกัน มีพื้นที่ใช้สอยภายในพระมหาเจดีย์ 5 ชั้น ดังนี้

    ชั้นที่ 3 : เป็นพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์หรือจะเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของเจ้าประคุณสมเด็จก็ได้ เพราะจะรวบรวมสิ่งของต่างๆ ที่ญาติโยมถวายไว้ รวมทั้งไม้เท้า มากกว่า 100 อัน และของเก่าควรค่าแก่การศึกษา และรักษาจะนำมาตั้งไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

    ชั้นที่ 2 : เป็นห้องเปิดโล่ง จุคนได้หลายร้อยคน เป็นพื้นที่ว่างสำหรับจัดประชุม ของคณะสงฆ์ และปฏิบัติธรรม ในโอกาสต่างๆ

    ชั้นที่ 1 : เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ที่มีบุคคลต่างๆ นำของมีค่ามามอบให้บ้างแล้ว

    นอกจากภายในที่มีลวดลายศิลปะงดงามตระการตาแล้ว เสาแต่ละต้นแต่ละชั้นเป็นศิลปะลายปูนปั้นปิดทองต่างยุคต่างสมัยอีกด้วย

    ส่วนยอดสูงสุดพระมหาเจดีย์หรือปลียอดนั้น หุ้มด้วยทองคำน้ำหนักทั้งสิ้น 109,220.5 กรัม (ประมาณ 109 กก.) และยังมีแผ่นทองคำน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม เป็นแผ่นกว้าง 9.9 ซม. ยาวประมาณ 4.9 เมตร มีข้อความจารึกว่า

    - สติ มตฺตญฺญุตา ชาตา
    สติเป็นเหตุให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียง

    - ปญฺจสีลํ สุรกฺขิตํ โลกสฺสตฺถิ สนฺติสุขํ
    ศีล 5 ที่รักษาดีแล้ว สันติสุขย่อมมีแก่ชาวโลก หุ้มปลียอดพระมหาเจดีย์ส่วนสุดท้าย

    สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ กล่าวว่า พระมหาเจดีย์จะสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2554 กำหนดประกอบพิธีสมโภชในปี พ.ศ. 2555 ในการสมโภชจะประกอบบุญพิธีเพียงอย่างเดียว รวม 9 วัน

    แต่ก่อนถึงวันนั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ เชิญชวนสาธุชนคนใจบุญมาเยี่ยมชมและสักการะพระมหาเจดีย์ได้ตั้งแต่บัดนี้ ท่านกล่าวว่า ได้ยินได้ฟัง ไม่เท่ากับเห็นด้วยตา เมื่อมาสักการบูชาจะได้เป็นอนุสรณ์แห่งชีวิต ว่าครั้งหนึ่งได้มากราบและชมพระมหาเจดีย์วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านจะได้ดีใจชื่นใจ จะทำให้ชีวิตจิตใจแช่มชื่นเบิกบาน และจะเป็นความสุขความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป


    ที่มา: https://www.posttoday.com/dhamma/91597




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2022
  9. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    86B371AF-3323-4ED1-9F61-86B113FE4693.jpeg

    B7055683-29EA-4108-A70C-9B26410A5F10.jpeg

    86FFE24A-DCE9-41B7-B66B-A5D81B225C6E.jpeg

    “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล”
    (สมัยที่กำลังก่อสร้าง)

    พระใหญ่วัดปากน้ำภาษีเจริญ หรือ “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล” เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ปางสมาธิ เกตุดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 40 เมตร สูง 69 เมตร หรือเท่าๆ กับอาคาร 20 ชั้น โดยสร้างจากทองแดงบริสุทธิ์ 99.99%
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ธันวาคม 2022
  10. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    CDA30CB5-6415-4FEC-AB3B-098C60CC5D4B.jpeg

    คำอธิษฐานปีใหม่
    โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

    ผู้ถาม : ที่หลวงพ่อบอกว่า ให้นั่งหน้าพระพุทธรูปแล้วอธิษฐานว่า ความรวยจงปรากฏ มันเป็นอย่างไรครับ ?

    หลวงพ่อ : ล้อ " เจ้าขวัญ " มันว่า ถ้าอยากรวยก็เอาแบบนี้ซิ ๕ ทุ่ม ๔๕ นาทีใกล้ๆจะ ๖ ทุ่มใช่ไหมเล่า ก็ไปนั่งหน้าพระพุทธรูป บูชาพระ นึกถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์ เทวดา และพรหมทั้งหมด ครูบาอาจารย์ ผู้มีคุณทั้งหมด บูชาท่านขอลาภ

    'ขอให้ความซวยทั้งหมด ความยากจน จงไปกับปีเก่า
    แล้วความรวย ความดี ความโชคดี จงมากับปีใหม่ '

    หลังจากนั้นก็ ภาวนา คาถาเงินล้าน เรื่อยๆไป พอนาฬิกาตีเป๊ง..ขึ้นปีใหม่ " ขอให้ความซวย จงหายไปพร้อมกับปีเก่า ฉันต้องการความรวย จากปีใหม่ "

    ผู้ถาม : อ๋อ....หลวงพ่อพูดกับ ขวัญ เหรอ ?

    หลวงพ่อ : ใช่

    ผู้ถาม : แล้ว ลูกๆหลานๆ ที่ไม่ใช่ขวัญ จะได้ไหมครับ ?

    หลวงพ่อ : ก็มีขวัญนี่ ลองก้มหัวดู คนไหนไม่มีขวัญทำไม่ได้ ความจริงไม่ต้องรอดึกก็ได้ ถึงวัด ถึงบ้าน อาบน้ำ สวดมนต์ไหว้พระ ก็อธิษฐานก่อนนอนเลยก็ได้ ไม่ต้องรอถึงเวลานั้น

    คำอธิษฐานได้ผล

    ผู้ถาม : กราบเท้าหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง เมื่อคืนวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๑ นี้ ลูกได้ทำตามคำแนะนำของหลวงพ่อที่อธิษฐานว่า " ความซวยจงหมดไป พร้อมกับปีเก่า และขอความร่ำรวย จงมาพร้อมกับปีใหม่ ๒๕๓๒ นี้ " ปรากฏว่าวันนี้การค้าของลูกคล่องตัว ลูกอยู่ในโอวาท (แหม..นี่แกคงจะดีใจว่า ลูกอยู่ในโอวาทนะ) หากลูกจะอธิษฐานอย่างนี้ทุกคืนๆ ไป จะผิดกฏที่เทวดาเขาสงเคราะห์อยู่ในเวลานี้หรือเปล่าเจ้าคะ ?

    หลวงพ่อ : ดีมาก ถ้าทำตามนั้นนะ จะดีมากเลย จะมีการทรงตัว เงินจะเหลือใช้ เอาทุกวันดีกว่า ไม่ใช่ทำวันเดียว

    ผู้ถาม : อ๋อ..ยิ่งว่าบ่อยๆ ยิ่งดีหรือครับ

    หลวงพ่อ : ใช่ ทำเป็นสมาธิแบบนั้น ก็ไม่ต้องใช้เวลาใกล้ ๒ ยาม เวลาไหนก็ได้ที่เราเห็นสมควร ที่ว่าใกล้ ๒ ยาม เพราะปีเก่าจะไป ปีใหม่จะมา เวลานี้เป็นเวลาของปีใหม่ ก็ใช้ได้ทุกเวลาตามที่ชอบใจ นั่นดีมากนะ ต่อไปจะรวยใหญ่ เมื่อทุกคนรวยใหญ่ ฉันก็สบายใจ สร้างวัดอีก ๑๐ วัด (หัวเราะ)

    ผู้ถาม : นี่ก็เป็นผลดีแก่แม่บ้านนะ มีผัวอยู่ในโอวาท เอ..ถ้าผู้ชายว่าบ้าง ลูกเมียจะอยู่ในโอวาท หรือเปล่าครับ ?

    หลวงพ่อ : เราอยู่ในโอวาทเขา เขาก็อยู่ในโอวาทเรา " วันทโก ปฏิวันทนัง " ผู้ไหว้ย่อมได้รับการไหว้ตอบ " ปูชา ลภเตปูชัง " ผู้บูชาย่อมได้รับการบูชาตอบ ในเมื่อเราอยู่ในโอวาทเขา เขาก็อยู่ในโอวาทเรา

    ที่มา : (จากหลวงพ่อตอบปัญหา ธัมมวิโมกข์ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒)

    คาถาเงินล้าน

    (ตั้ง นะโม 3 จบ )

    สัมปะจิตฉามิ นาสังสิโม
    พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (คาถาปัดอุปสรรค)
    พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุเม (คาถาเงินแสน )
    มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุเม (คาถาลาภไม่ขาดสาย)
    มิเตพาหุหะติ (คาถาเงินล้าน)
    พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา
    วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม (คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า)
    สัมปะติจฉามิ (คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)
    เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ


    ( บูชา ๙ จบ ตัวคาถาต้องว่าทั้งหมด)

     
  11. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    EBBE441D-89D1-4494-88B2-B01473573CAB.jpeg

    คำอธิษฐาน ขอพรขึ้นปีใหม่
    โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

    ด้วยอำนาจแห่งผลบุญที่ข้าพเจ้า เคยทำมาแล้วตั้งแต่ต้น จวบจนปัจจุบันนี้ และ อำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย โปรดช่วยให้สิ่งที่ไม่ดีต่างๆ ความยากจน ความขัดข้อง ความทุกข์และอัปมงคลทั้งปวง จงสลายไป จงหมดไป พร้อมกับปีเก่า ณ บัดนี้โดยฉับพลันเถิด

    และขอให้สิ่งที่เป็น สิริมงคลอันประเสริฐ จงมาปรากฏ แก่ข้าพเจ้า และ ครอบครัว สิ่งที่ดีทั้งหมด ความร่ำรวย ความสุข ธุรกิจการงาน เจริญรุ่งเรือง ขอให้ มีแต่ความคล่องตัว ทุกอย่าง ในปีใหม่นี้

    นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปคำว่า ไม่มี ไม่สำเร็จ ไม่สมปรารถนา จงอย่าปรากฏ แก่ข้าพเจ้าและครอบครัว ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน

    =================
    จากหนังสือ ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๒๒ หน้าที่ ๒๕
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มกราคม 2023
  12. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    09EC1276-1E02-41F1-9D63-F98EA174871B.jpeg

    5422C8C1-446C-453C-A902-E3956BC6ED88.jpeg

    1FD4BC57-4AA4-4FE6-80BF-3F60291F7B1D.jpeg

    42451D9E-B82E-4E67-A284-0F035AEC038F.jpeg

    4DF3E5A0-39E8-4889-8E2D-CA47C344CC30.jpeg

    “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล”

    พระใหญ่วัดปากน้ำภาษีเจริญ หรือ “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล” เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ปางสมาธิ เกตุดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 40 เมตร สูง 69 เมตร หรือเท่าๆ กับอาคาร 20 ชั้น โดยสร้างจากทองแดงบริสุทธิ์ 99.99%

    ปัจจุบันเป็นแลนด์มาร์กที่สำคัญย่านฝั่งธน เมื่อวานผมเข้าไปที่วัดเห็นชาวต่างชาติทั้งชาวจีนและฝรั่งให้ความสนใจกันมากต่างคนต่างหามุมกล้องเพื่อเก็บภาพความประทับใจกันเอาไว้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มกราคม 2023
  13. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    345649C6-4C7A-4038-B80F-899CF372D30F.jpeg

    24F80481-EF97-459C-BA43-314520F7F30D.jpeg

    วัดสุทธาราม สำเหร่

    วัดสุทธาราม ถือว่ามีชื่อเสียงพอสมควรจากรูปหล่อท้าวเวสสุวรรณองค์ใหญ่ในเมืองกรุง แต่ก่อนวัดนี้อาจไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนัก แต่สายนาฏศิลป์จะรู้จักกันดี

    พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ คืออดีตพระเกจิที่ขึ้นชื่อของวัดนี้(ปัจจุบันท่านลาสิกขาแล้ว) เป็นผู้สืบสายวิชาทางนาฏศิลป์ทางวังหน้าจากพ่อครูอาคม สายาคม วัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อของท่านคือพระพิราพและพระพรตมุนี

    วัดสุทธารามมีพระพุทธรูปที่เป็นที่พึ่งแก่ชาวบ้านคือหลวงพ่อพระฉิม

    ประวัติหลวงพ่อพระฉิม
    เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทอง ปางมารวิชัย หน้าตักกว้างประมาณ 52 นิ้ว เป็นพระประธานในวิหาร วัดสุทธาราม ถนนตากสิน เขตคลองสาน กรุงเทพ สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นประมาณสมัยกรุงธนบุรีหรือต้นรัตนโกสินทร์ อายุกว่า 200 ปี หลวงพ่อฉิม เป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์มากองค์หนึ่ง เค้าว่าใครมีเรื่องเดือดร้อนอะไร ไปกราบขอพร และบนบานท่านด้วยประทัด มักจะสำเร็จทุกราย แม้แต่อดีตนายกรัฐมนตรีท่านหนึ่งก็ไปกราบสักการะท่านเป็นประจำ
     
  14. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    824FDC79-7166-4D24-BB76-BA87B436564B.jpeg

    7D5BB57B-03CA-42E9-A8CD-BDC136D70F1E.jpeg

    C2C46E2F-4F9A-4096-A37D-756B60339A49.jpeg

    ท้าวเวสสุวรรณ
    วัดสุทธาราม สำเหร่


    "ปุตตะ กาโม ละเภปุตตัง ธะนะกาโม ละเภธะนัง อัตถิกาเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตังสุตตะวาฯ

    อิติปิโส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มรณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโมพุทธายะฯ

    ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชิกา ยักขะพันตา ภัทภูริโต เวสสะ พุสะ

    พุทธัง อรหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะฯ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2023
  15. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    C8F4BCEC-ED76-452F-88E1-4597FB82F2F0.jpeg

    FBF5B86B-BC30-4790-82A3-0755E48B087B.jpeg

    B7D1CEEA-6E6C-4C64-BF74-A850EBE0DC3C.jpeg

    พ่อปู่พระฤาษี ๑๐๘

    ใครสายพระฤาษีเชิญกราบขอพรได้ที่ วัดสุทธาราม สำเหร่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2023
  16. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    EA4764C6-628B-476B-8483-C756DF59EF12.jpeg

    7442077E-659F-441B-A324-F82209287181.jpeg

    6EE4A21F-92CB-4432-BF76-5CFFAF50664B.jpeg

    34BC32ED-5FE7-4769-809F-AC31DF58EB3B.jpeg

    0973002C-3061-4589-AF45-47A19B958DA4.jpeg

    355DEA00-8034-4666-B620-F506484D3FB6.jpeg

    新正如意 新年发财
    ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ
    สวัสดีปีใหม่ขอให้สมหวังมั่งคั่งร่ำรวย

    งานตรุษจีน หลวงพ่อเกษร วัดท่าพระ
    ๒๑-๒๗ มกราคม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2023
  17. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    E1714D2B-1283-4F58-8F77-81D004F4178F.jpeg

    29C03A42-76FD-4957-A538-31B5651A3146.jpeg

    590D2BDB-9BAD-463E-BFBA-EA3CAD5C6525.jpeg

    43CF22AE-1661-4B00-A420-6EEDCDB1ABD8.jpeg

    24B103A8-2A43-4DC6-B9A4-E368415C0362.jpeg

    วัดเทพพล(๑)
    ตลิ่งชัน

    วัดเทพพล นิยมเรียกกันว่า "วัดใหม่", "วัดใหม่บางพรม", หรือ "วัดใหม่เทพพล" ประวัติวัดฉบับกรมการศาสนาให้อายุวัดเก่าแก่ถึงปี พ.ศ. 2108 สมัยกรุงศรอยุธยาตอนต้น ในปี พ.ศ. 2513 พบแผ่นไม้มีจารึกระบุปี พ.ศ. 2308 พออ่านได้ว่านายแสงกับนางฉิม สร้างพระพุทธรูปและเจดีย์ (ปัจจุบันเข้าใจว่าจารึกนี้สูญหาย) รวมทั้งมีคำบอกเล่าว่ามีเจดีย์ "ทรงมอญ" องค์ใหญ่ ซึ่งก็ถูกรื้อหมดแล้ว คงเหลือแต่ใบเสมาดินเผา

    ในสมัยที่พระครูวิศิษฎ์บุญญาคม (บุญมา จันทูปโม) เป็นเจ้าอาวาสนั้น มีการก่อสร้างเขื่อนริมคลองลัดวัดใหม่และทำกำแพงล้อมรอบวัด สร้างสะพานข้ามคลองด้านหลังวัด ชักชวนญาติโยมบริจาคทรัพย์ ซื้อที่ดินประมาณ 3 ไร่เศษ ซึ่งเป็นที่ก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่และศาลาการเปรียญในปัจจุบัน หล่อพระประธาน (หลวงพ่อใหญ่) และดำเนินการนำไฟฟ้าเข้ามาในวัดเทพพล

    ต่อมาในสมัยพระครูสิทธิธรรมโสภณ (สุเทพ ภูริปญฺโญ) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ได้มีสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นคือ ย้ายกุฏิสงฆ์ที่มีอยู่เดิมไปปลูกขึ้นใหม่ สร้างศาลาการเปรียญสองชั้น หอสวดมนต์ วิหารหลวงพ่อใหญ่ วิหารหลวงพ่อปาน หอระฆัง มณฑป ศาลาเอนกประสงค์ เมรุ ซุ้มประตูทางเข้าวัด กำแพงด้านหน้าวัด อุโบถหลังปัจจุบัน และวิหารหลวงปู่เทพโลกอุดร

    พระพุทธรูปที่สำคัญได้แก่ พระประธานปางมารวิชัย ในอุโบสถและอุโบสถหลังเดิม และ "หลวงพ่อใหญ่" ในวิหาร ส่วนงานประจำปีจะมีในช่วงตรุษไทย ราวเดือนมีนาคม - เมษายน (ก่อนสงกรานต์ 3 วัน)
    ที่มา: https://www.lovethailand.org/travel/th/17-กรุงเทพมหานคร/8870-วัดเทพพล.html
     
  18. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    EE59E866-7006-4D4F-AF9C-8DD167B55DF1.jpeg

    C210AAFB-1375-4827-9DD1-DD1D0369D25A.jpeg

    FCD6E320-6780-4250-9191-465685D467EE.jpeg

    วัดเทพพล(๒)
    ตลิ่งชัน

    วิหารหลวงปู่เทพโลกอุดร
     
  19. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    431862A2-D41B-4378-99CF-0B450177C3DC.jpeg

    8549FE81-A3E4-4E73-A4DB-6CC8A04CD749.jpeg

    FF8C2B4F-4A7F-4058-BBE2-D4B6FAD0E50A.jpeg

    80BBD1FE-1129-4841-9AF2-46EC72359D0B.jpeg

    39907431-0162-4178-85FD-A9093908CF75.jpeg

    4246BF9E-8DDD-43B0-ADE7-10456F609BAF.jpeg

    วัดเทพพล(๓)
    ตลิ่งชัน

    วิหารสมเด็จองค์ปฐม
    รูปแบบเป็นวิหารยอดเจดีย์ ภายในประดับด้วยกระจกแบบวัดท่าซุง พระประธานเป็นรูปหล่อสมเด็จองค์ปฐมประดับเพชรงดงามมาก และมีรูปหล่อหลวงปู่ปานและหลวงพ่อฤาษี ให้สักการะบูชาด้วย
     
  20. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,164
    333681CF-71A2-4D62-A9F9-7A321AA6423E.jpeg

    0E47C4D1-9F0E-4889-B4D9-2FD54623087E.jpeg

    5D3A3733-7F00-48EA-AC38-0629C3949285.jpeg

    39C21003-0EBB-4381-B240-1F0DFE8B5C17.jpeg

    วัดเทพพล(๔)
    ตลิ่งชัน

    บรรยากาศทั่วๆไปภายในวัด มีพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินและท้าวเวสสุวรรณให้สักการะขอพร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2023

แชร์หน้านี้

Loading...