อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    C53A2B86-77A6-46FD-B6AF-324F4F59ABF4.jpeg
    9E5E2F4B-B193-4F6E-B897-210F66770B7B.jpeg

    9B1ECCC7-24CB-4918-8166-B8DCD76C7315.jpeg

    BBEBC56C-AD11-49A4-823B-A604E4F474BC.jpeg

    พระภาวนาโกศลเถระ
    (เอี่ยม สุวณฺณสโร )
    (เจ้าคุณเฒ่า)

    วัดหนัง เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร

    เกิด วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2375 เป็นบุตรของ นายทอง แม่อู๋ ทองอู๋
    บรรพชา อายุ 19 ปี
    อุปสมบท อายุ 22 ปี ณ พัทธสีมาวัดโอรสาราม
    มรณภาพ วันที่ 29 เมษายน 2469 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล
    รวมสิริอายุ 94 ปี 72 พรรษา

    พระภาวนาโกศลเถระ เดิมชื่อเอี่ยม เป็นชาวบางขุนเทียนโดยกำเนิด บ้านอยู่ริมคลองบางหว้า หลังวัดหนัง กำเนิดเมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๘ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๙ ปีมะโรง จัตวาศก ตรงกับวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และมีนามสกุลว่า ทองอู๋ ชาวบ้านบางขุนเทียนเรียกกันว่า หลวงพ่อปู่เฒ่า ส่วนบุคคลทั่วๆ ไป และนักสะสมพระเครื่องทั้งหลาย เรียกว่า หลวงพ่อวัดหนัง
    โยมบิดามารดามีชื่อว่า นายทอง และนางอู่ ซึ่งเป็นต้นตระกูล ทองอู๋ ในขณะนี้ โยมทั้งสองท่าน ประกอบอาชีพเป็นชาวสวนและมีฐานะมั่นคง เมื่อได้มีการตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ บุคคลชั้นหลังของตระกูลนี้ขอใช้นามสกุลว่า ทองอู่ อันเป็นนามรวมของโยมทั้ง ๒ แต่ต่อมาไม่นานนัก ก็ได้มีเจ้านายพระองค์หนึ่ง ทักท้วงว่าไปพ้องกับพระนามของเจ้าต่างกรมพระองค์เข้า จึงต้องเปลี่ยนมาเป็น ทองอู๋ สืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้

    เครือญาติพี่น้องร่วมท้องเดียวกับพระภาวนาโกศลเถระ มีอยู่ด้วยกัน ๓ คนคือ โยมพี่สาวชื่อ นางเปี่ยม ทองอู๋ เป็นผู้รักษาศีลอุโบสถและไม่ได้แต่งงานมีครอบครัว ดังนั้นเมื่อสิ้นโยมบิดามารดาแล้ว จึงมาฝากไว้ในความอุปการะของนายทรัพย์ ทองอู๋ บิดาของนายพูน ทองพูนกิจ ผู้เป็นบุตรผู้พี่ของพระภาวนาโกศลเถระ คือนายเอม ทองอู๋

    การศึกษาอักขร สมัยเมื่อพระภาวนาโกศลเถระ ยังเด็กอายุ ๙ ปี โยมทั้ง ๒ ของท่านได้นำมาฝาก เรียนหนังสือ ในสำนักพระครูธรรมถิดาญาณ หรือหลวงปู่รอด ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหนัง ราชวรวิหาร ในปี พ.ศ. ๒๓๘๗ ในสมัยต่อมา ได้เป็นพระอาจารย์ วิทยาคม ของพระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม) การศึกษาพระบาลีปริยัติธรรม เมื่ออายุได้ ๑๑ ปี ท่านได้ศึกษาพระบาลีปริยัติธรรม ในสำนักพระมหายิ้ม วัดบวรนิเวศวิหาร ต่อจากนั้น ได้ไปอยู่ในสำนัก พระปิฎกโกศล (ฉิม) วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ)

    ต่อมาท่านได้กลับมาบรรพชาเป็นสามเณร และศึกษาพระปริยัติธรรมต่อที่วัดหนัง ราชวรวิหาร สำนักเดิม ของท่าน อีกวาระหนึ่ง การศึกษาในระยะนี้ ดำเนินมาหลายปี ติดต่อกันจนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๓๙๔ เมื่อท่าน อายุได้ ๑๙ ปี จึงได้เข้าสอบ แปลพระปริยัติธรรมสนามหลวง ซึ่งสมัยนั้น ต้องเข้าสอบแปลปากเปล่า ต่อหน้าพระพักตร์ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่น่าเสียดายที่ท่านสอบพลาดไป เลยลาสิกขาบท กลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพอยู่ระยะหนึ่ง

    อาจจะเป็นด้วยบุญกุศลที่จะต้องเป็นสมณะเพศเพื่อพระศาสนา เพื่อการฟื้นฟูปฏิสังขรณ์สังฆาวาส เสนาสนะ แห่งวัดนี้ ให้ฟื้นฟูคืนจากสภาพอันเสื่อมโทรมขึ้นสู่ยุคอันรุ่งเรืองสูงสุด ในกาลสมัยต่อมา หรือเพื่อความเป็น พระเกจิอาจารย์ ชั้นเยี่ยมแห่งองค์พระกษัตราธิราชเจ้า และเป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ของบรรดาสานุศิษย์ทั้งหลาย ท่านจึง หันกลับเข้ามาสู่ร่มเงาแห่งกาสาวพัสตร์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อได้จากไปเพียง ๓ ปีเท่านั้น ในปี พ.ศ. ๒๓๙๗ เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ท่านได้เข้ามาอุปสมบท ตามขนบจารีตอันดั้งเดิมของชาวไทย เพื่อสืบต่อพระบวรพุทธศาสนา และเพื่อแสดง กตเวทิตธรรม แด่โยมผู้บุพการีทั้งสอง ซึ่งได้ทำการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดราชโอรสาราม (วัดจอมทอง) อ.บางขุนเทียน จ.ธนบุรี (เขตจอมทอง กรุงเทพฯในปัจจุบัน)

    วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
    วัตถุมงคลของท่าน ไม่ว่าจะเป็น เหรียญ พระปิดตาเนื้อโลหะเนื้อผง พระปิดตายันต์ยุ่ง พระชัยวัฒน์ เครื่องรางของขลัง ล้วนได้รับความนิยมสูงมาก และเป็นหนึ่งในพระเบญจภาคีของพระชนิดนั้น ๆ พร้อมทั้งยังมีวัตถุมงคลอื่น ๆ อีก เช่น หมากทุย

    เหรียญหลวงปู่เอี่ยม ปี 2467 เพื่อสมนาคุณแก่ผู้ร่วมบริจาคทรัพย์บูรณะศาลาการเปรียญ ด้านหลังมีทั้ง หลังยันต์ห้า และหลังยันต์สี่ ซึ่งเหรียญหลังยันต์สี่นั้น มีทั้งพิมพ์ 3 จุด และพิมพ์ 4 จุด เป็นเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง ส่วนเหรียญยันต์ห้า จะเป็นเหรียญเนื้อสัมฤทธิ์ นอกจากนั้นยังปรากฏเหรียญลักษณะพิเศษเป็นแบบเหรียญฉลุอีกจำนวนหนึ่ง มีทั้งเนื้อเงิน และเนื้อทองคำ

    วัตถุมงคลของท่าน ไม่ว่าจะเป็น เหรียญ พระปิดตาเนื้อโลหะเนื้อผง พระปิดตายันต์ยุ่ง พระชัยวัฒน์ เครื่องรางของขลัง ล้วนได้รับความนิยมสูงมาก และเป็นหนึ่งในพระเบญจภาคีของพระชนิดนั้น ๆ พร้อมทั้งยังมีวัตถุมงคลอื่น ๆ อีก เช่น หมากทุย

    หมากทุย หลวงปู่เอี่ยมนั้นท่านทำให้ไว้เพื่อป้องกันตัว หมากทุยเด่นทางคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด
    ปัจจุบันนั้นหายากพอสมควร ของปลอมทำเลียนแบบก็มีมานานแล้ว การพิจารณาหมากทุยนั้น ต้องอาศัยความชำนาญมาก ต้องดูความเก่าของตัวหมากและชันโรงได้

    หมากทุยของท่านนั้นบางชิ้นก็เป็นหมากเปลือยๆ ไม่ได้หุ้มอะไร บางชิ้นเจ้าของได้มาก็ถักเชือก เพื่อสะดวกในการห้อย และลงรักหรือลงยางไม้ ก็เพื่อให้เชือกมีความคงทนในการใช้

    ถ้าหมากทุยที่มีการลงรักถักเชือกหรือยางไม้ก็ให้พิจารณา เชือก รัก หรือยางไม้ว่ามีอายุความเก่าพอหรือไม่..............

    พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
    พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง เมตตามหานิยม

    ที่มา: http://www.trueamulet.com/profile/139_หลวงปู่เอี่ยม-วัดหนัง
     
  2. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    B2227462-E23F-48D3-A1FB-D71C018424CB.jpeg

    3941B640-1226-4297-99E4-9D5BA530B34F.jpeg

    01788F85-A499-4F8D-AEEE-1B89058770B2.jpeg

    เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุเจ้าคุณเฒ่า

    (หลวงปู่เอี่ยม) วัดหนัง
    และอดีตเจ้าอาวาส
     
  3. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    B997C764-C3C4-451A-9011-F8D406BAF861.jpeg 4966AFC1-E5CA-4736-B764-66C1A7992B00.jpeg 9E6C1BF4-6F4F-46F3-BC41-53B312C2C6CD.jpeg 6FCE7FF1-B3F4-42AA-AE6C-460121DA32D0.jpeg E8716AD4-B0FE-4F91-9504-B75F88268637.jpeg 1341124F-7E9E-4816-AE6B-0E8B9F44D9A8.jpeg C384D90D-5C94-49B9-857E-FF58BFEF3118.jpeg 3DAD524D-EE43-4723-A29B-73BF36E1EAC2.jpeg A912234D-7642-4373-9C0D-D1774BFD3004.jpeg CB4E5F1B-CD78-455C-A92A-E4DA16CF2D46.jpeg

    พิพิธภัณฑ์วัดหนังราชวรวิหาร

    วัดหนังมีพิพิธภัณฑ์ให้ผู้สนใจได้เข้ามาศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับชุมชนวัดหนังและองค์หลวงปู่เอี่ยม มีสองชั้น โดยชั้นแรกจะบอกเล่าเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในอดีตและชั้นสองจะบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของวัดหนังและองค์หลวงปู่เอี่ยม
    มีเจ้าหน้าที่ใจดีคอยแนะนำให้ความรู้ใครสนใจแวะมาเยี่ยมชมกันได้

    อ่านบทความเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์วัดหนังได้ที่นี่ครับ

    https://db.sac.or.th/museum/museum-detail/131?fbclid=IwAR3Eq1_5G1fdEdYXeYagEDaoh2seswet947mGpvdNg7islweepMN7fWn6kE_aem_AVK46C7mmMnAS06U0fxhobPxz8W9DcRi5b8uhOspFnBPtormT-ACl9S1fC9oIYnmaCA
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2024
  4. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    40F2D429-B047-4C09-AA6E-5B4408F3C5D9.jpeg

    669B0650-1723-4EA2-88F4-6B5F99A573D2.jpeg

    D7C9D6F9-0A7B-4B85-A750-336F8EBD9302.jpeg

    B52689A8-D370-4664-BA9E-0D35F783C2AB.jpeg

    E02F4D21-5F0B-4476-8096-43F06B1F3642.jpeg

    2B22EE7B-797E-4F78-8B6B-37880CFBF90D.jpeg

    ไฮไลท์ที่สำคัญของพิพิธภัณฑ์ก็คือห้องหลวงปู่เอี่ยม ภายในจัดแสดงข้าวของพระราชทานจากรัชกาลที่ ๕ เช่น นาฬิกาพก ลับแลหรือฉากบัง เป็นต้น ตลอดจนวัตถุมงคลและข้าวของเครื่องใช้ต่างๆของหลวงปู่ ที่สำคัญคือหุ่นขี้ผึ้งที่ภายในบรรจุอัฐิของหลวงปู่ให้ผู้คนมากราบไหว้ขอพร
     
  5. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    50979FA1-BEA9-4722-972C-ACCCAB555757.jpeg

    ABEB7407-0EC1-4100-AFE5-77979E70CA0D.jpeg

    A767C842-82C8-429F-AA41-C50B05D4A4F0.jpeg

    5364BD09-6B9D-42FD-B396-A19A331984E6.jpeg

    7D453446-A9D9-4C65-88BC-216C1CF69669.jpeg

    หลวงปู่ชู คงชูนาม วัดนาคปรก ภาษีเจริญ

    หลวงปู่ชู วัดนาคปรก พระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคม แห่งปากคลองภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

    ◉ ชาติภูมิ
    หลวงปู่ชู วัดนาคปรก ท่านเป็นชาว จ.นครศรีธรรมราช เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๑ บิดาชื่อ “นายคง” ส่วนมารดาไม่ทราบนาม บิดามีอาชีพค้าขาย มีเรือโกลนล่องมาจากนครศรีธรรมราชมาค้าขายที่กรุงเทพฯ ต่อมาได้โยกย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากที่ จ.ธนบุรี

    ◉ อุปสมบท
    ในปี พ.ศ.๒๔๑๒ ได้บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดทองนพคุณ อันเป็นสำนักสอนกัมมัฏฐานที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น หลวงปู่ชู ท่านได้ศึกษาทางด้านนี้ รวมทั้งจิตใจฝักใฝ่ในด้านพุทธาคมและไสยเวทมาตั้งแต่รุ่นหนุ่ม จึงมุ่งมั่นศึกษาวิชาต่างๆ แต่ละแขนงจนกระทั่งเชี่ยวชาญ ว่ากันว่า ท่านยังเป็นศิษย์เรียนวิชาจากสำนักวัดระฆังโฆสิตารามอีกด้วย

    ต่อมาท่านได้ลาสิกขาเพื่อสะดวกแก่การเดินทางไปศึกษาวิชาต่างๆ ท่านได้ไปขอศึกษาวิชากับ ท่านอาจารย์พลับ วัดชีตาเห็น (วัดชีโพ้นในปัจจุบัน) จ.อยุธยา ซึ่งมีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น ได้ปรนนิบัติ และศึกษาวิชากับพระอาจารย์พลับจนหมดสิ้น จึงลาพระอาจารย์เดินทางขึ้นเหนือไปยัง จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก แต่ไม่ได้มีการบันทึกไว้ว่าท่านได้ไปศึกษาวิชากับพระอาจารย์รูปใด อีกทั้งการเดินทางไปของท่าน เป็นระยะเวลานานมากและยังขาดการติดต่อกับทางบ้าน บรรดาญาติพี่น้องพากันเข้าใจว่าท่านเสียชีวิตไปแล้ว

    พอท่านกลับมาเยี่ยมบ้าน ยังความปิติยินดีแก่ญาติพี่น้องเป็นอย่างยิ่ง โยมบิดามารดาจึงจัดหาตบแต่งภรรยาให้ท่าน อยู่กินกันจนมีบุตรธิดา รวม ๓ คน เป็นชาย ๒ หญิง ๑ หลังจากท่านแต่งงานมีครอบครัวท่านก็ได้ใช้ความรู้ทางด้านสมุนไพรใบยาและเวทย์มนต์คาถาที่ได้ร่ำเรียนมา ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยาก เป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้าน พากันเรียกท่านว่า “พ่อหมอชู”

    ภายหลังเกิดเบื่อหน่ายในโลกียวิสัย มองเห็นความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร จึงได้อุปสมบทอีกครั้งหนึ่งที่วัดนางชี เขตภาษีเจริญ

    ต่อมาย้ายมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนาคปรก โดยมีพระภิกษุจากวัดนางชี ย้ายติดตามไปอยู่ด้วยจำนวน ๑๐ รูป ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดนาคปรกนั้น บูรณะซ่อมแซมเสนาสนะตลอดจนกุฏิ วิหาร ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมาอีกวาระหนึ่ง

    เป็นที่พึ่งทางใจให้แก่ชาวบ้านมาตลอด ไม่ว่าใครจะเจ็บไข้ป่วยมาให้ช่วยรักษา จึงเป็นบ่อเกิดแห่งศรัทธาและเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจเป็นอย่างดี

    ในวัดนาคปรกสมัยนั้น จะเต็มไปด้วยว่านยา สมุนไพรต่างๆ มากมาย ยาดีอีกขนานหนึ่ง คือ ยาดองมะกรูด ยานี้จะทำใส่โอ่งตั้งไว้กลางแจ้งตากแดดตากน้ำค้างเป็นจำนวนมาก ถ้าผู้ใดต้องการก็จะแจกให้ไป เป็นยาดองที่มีสรรพคุณรักษาโรค ทั้งปวดหัวตัวร้อนเป็นไข้ เป็นฝีหนอง มีอาการแพ้อักเสบต่างๆ

    อบรมพระภิกษุ-สามเณรในวัดเป็นอย่างดี มักเทศนาให้ชาวบ้านฟังเสมอๆ ว่าให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม ประกอบอาชีพทำมาหากินสุจริต

    สมัยก่อนวัดนาคปรกและบริเวณโดยรอบเต็มไปด้วยป่าครึ้ม ชาวบ้านประกอบอาชีพกสิกรรม ทำสวนผลไม้และปลูกหมากพลู มีมากจนคนขนานนามว่า ตลาดพลู การคมนาคมในสมัยก่อนยังใช้เรือเป็นพาหนะ ไฟฟ้า ประปายังไม่มี ตกค่ำก็พากันจุดไต้และตะเกียง เพื่ออ่านคัมภีร์และหนังสือธรรมะ เป็นกิจวัตรประจำวัน

    เท่าที่มีการบันทึกเรื่องราวและคำเล่าขานของชาวบ้านแถบวัดนาคปรก เล่ากันต่อมาถึงวัตรปฏิบัติปฏิปทาของหลวงปู่ชู ว่ากันว่าเรียบง่าย มีความรู้ความสามารถ แต่กลับมีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีคุณธรรม เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นที่รักเคารพ

    มีเรื่องเล่ากันว่า เป็นพระอาจารย์รูปเดียวที่ พระภาวนาโกศลเถร (หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง) พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง กล่าวยกย่องว่าเก่งทางวิทยาคมและวิชาแพทย์แผนโบราณ

    ถ้ามีคนตลาดพลูไปขอของดีจาก หลวงปู่เอี่ยม ท่านจะบอกให้มาเอาจาก หลวงปู่ชู ในทางกลับกันถ้ามีคนบางขุนเทียนมาขอของดีจากหลวงปู่ชู ท่านจะแนะนำให้ไปขอจากหลวงปู่เอี่ยม ทั้งสองนี้ต่างก็ให้ความเคารพซึ่งกันและกัน ต่างก็รู้วาระจิตกันดี และมักจะไปมาหาสู่กันเสมอ

    หลวงปู่ชู ท่านจะให้การอบรมพระภิกษุสามเณรในวัดเป็นอย่างดี ท่านจะมักเทศนาให้ชาวบ้านฟังเสมอๆ ว่าให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม ประกอบอาชีพทำมาหากินสุจริต สมัยก่อนวัดนาคปรกและบริเวณโดยรอบเต็มไปด้วยป่าครึ้ม ชาวบ้านประกอบอาชีพกสิกรรม ทำสวนผลไม้และปลูกหมากพลู มีมากจนคนขนานนามว่า ตลาดพลู การคมนาคมในสมัยก่อนยังใช้เรือเป็นพาหนะ ไฟฟ้า ประปายังไม่มี ตกค่ำก็พากันจุดไต้และตะเกียงเพื่ออ่านคัมภีร์และหนังสือธรรมะ เป็นกิจวัตรประจำวัน

    มีเรื่องเล่ากันว่า วันหนึ่งขณะที่หลวงปู่กำลังดูหนังสือทบทวนปาฏิโมกข์โดยจุดตะเกียงวางไว้บนโต๊ะใกล้หน้าต่าง มีชาวบ้านที่เดินมาด้วยกันบอกเพื่อนที่มาด้วยกันว่า เอาตะเกียงพระส่องทางดีกว่า มืดจะตาย อีกคนก็เห็นพ้องด้วยก็พากันมาตรงหน้าต่างกุฏิหลวงปู่ คนหนึ่งเอื้อมมือไปหยิบตะเกียงแต่หยิบไม่ถึง ก็บอกเพื่อนให้หาไม้มาเขี่ย ทำให้ลวงปู่รู้ว่า มีคนจะมาเอาตะเกียงด้วยความเมตตาของท่าน แทนที่จะร้องทักขึ้นกลับนั่งเงียบเสีย แล้วใช้เท้าดันตะเกียงไปชิดริมหน้าต่างเพื่อจะได้หยิบสะดวก ทั้งสองคนจึงขโมยตะเกียงของท่านไปได้อย่างง่ายดาย เมื่อไม่มีตะเกียงก็ไม่สามารถอ่านหนังสือได้จึงจำวัดพักผ่อนจวบจนรุ่งสาง เสียงไก่ขัน ได้เวลาที่ท่านจะต้องตื่นขึ้นมาทำวัตรเช้าและนั่งสมาธิเป็นประจำทุกวัน ขณะที่กำลังถือกระบวยจะตักน้ำล้างหน้า ก็มองเห็นแสงไฟริบหรี่วนไปวนมาอยู่ในสวน ซึ่งท่านก็ไม่ได้สนใจว่า ชาวบ้านกำลังทำอะไร เข้าห้องครองจีวรและสังฆาฏิเตรียมสวดมนต์ ก็ได้ยินเสียงคนมาร้องเรียกอยู่หน้ากุฏิ ท่านจึงได้เปิดประตูออกดู เห็นชายสองคนถือตะเกียงของท่าน กำลังนั่งคุกเข่าปะนมมืออยู่ พอเห็นท่านก็ก้มลงกราบด้วยความเคารพ พร้อมกับพูดขึ้นว่า “หลวงปู่ครับ ลูกขอขมาลาโทษ ลูกทำผิดอย่างใหญ่หลวง ที่ขโมยตะเกียงของหลวงปู่ไป ลูกเดินวนเวียนอยู่ในบริเวณวัดทั้งคืนหาทางกลับบ้านไม่ถูกเลย ขอหลวงปู่จงยกโมษให้ลูกด้วยเถิดครับ” หลวงปู่ได้ฟังจบ ก็ยิ้มอย่างมีเมตตาและกล่าวขึ้นว่า “หลวงปู่ให้อภัยถ้าเธอมีโทษเพราะเรื่องนี้ ความมืดภายนอกจากการสิ้นแสงอาทิตย์และเดือนดาว ยังจิตใจของคนเราให้มืดบอดไปด้วย เขาเรียกว่ามืดทั้งภายใน แต่ถ้าผู้ใดสามารถกำจัดอวิชชาตัวที่ทำให้ไม่รู้หมดสิ้นไป ผู้นั้นก็จะสว่างทั้งภายนอกและภายใน หลับอยู่ก็รู้ นอนยู่ก็เห็น ไม่จำเป็นต้องมีตะเกียงนำทาง ขอให้เธอทั้งสองจงสว่าง เห็นทางกลับบ้านอยู่กับครอบครัวอย่างเป็นสุขเถิด” ข้อความที่หลวงปู่กล่าวกินใจของคนทั้งคู่ ต่างพานก้มลงกราบด้วยความเคารพศรัทธาพร้อมกับเอ่ยปากขอฝากตัวเป็นศิษย์แล้วลากลับบ้าน

    อีกเรื่องหนึ่งที่กลายเป็นเรื่องเล่าขานกันต่อมาคือ เรื่องที่ หลวงปู่ชู ให้หวยแม่น ในสมัยนั้น ชาวบ้านย่านตลาดพลู ใครมีเรื่องทุกข์ร้อน มักจะมาหาท่านให้ท่านช่วยเหลือ บางคนที่ไม่มีอะไรจะกิน หลวงปู่ท่านจะสงเคราะห์ให้ตามสมควร จนกระทั่งมีข่าวเล่าลือว่า หลวงปู่ให้หวย อันเป็นการผิดกฎของคณะสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราชทรงทราบเรื่องจึงทรงสอบสวนวินัย โดยมอบให้ท่านเจ้าคุณวัดอนงค์คาราม เป็นผู้สอบสวน ท่านเจ้าคุณวัดอนงค์จึงเรียกให้หลวงปู่ชูมาพบที่วัด หลวงปู่ก็ไปพบแต่โดยดี ไปถึงก็กราบท่านเจ้าคุณพร้อมกับนั่งประนมมือฟังคำบัญชาด้วยใจเด็ดเดี่ยวและมั่นคงท่านเจ้าคุณวัดอนงค์จึงถามขึ้นว่า “ให้หวยเก่งนักหรือ” หลวงปู่ชู ได้ตอบไปว่า “ขอก็ให้ ไม่ขอก็ไม่ให้” ท่านเจ้าคุณวัดอนงค์ได้ฟังดังนั้นจึงสรุปว่าหลวงปู่ให้หวยผิดวินัย โกหกหลอกลวงชาวบ้าน แต่ถ้าสามารถตอบอะไรท่านได้ จะไม่ถือเอาโทษ หากตอบไม่ได้จะปรับโทษทางวินัย แล้วท่านเจ้าคุณก็เขียนหนังสือใส่ซองจดหมายอย่างหนาแล้วนำเอามาวางไว้ตรงหน้าหลวงปู่ โดยมีพระเถระเป็นสักขีพยานหลายรูป รวมทั้งมัคนายกอีกทั้งสองนายซึ่งนั่งดูการพิจารณาพิพากษาในที่นั้นอยู่ด้วย เมื่อวางซองจดหมายแล้ว เขียนว่าอย่างไรบ้าง หลวงปู่ชูจึงนั่งหลับตาอยู่ราวอึดใจหนึ่งจึงกราบเรียนท่านเจ้าคุณรวมทั้งสักขีพยานว่า ในซองนั้นเขียนคำว่า “สมภารชูให้หวย”

    วันหนึ่ง นักเลงจับยี่กีเดินโพยหวยชื่อ ตาแหวง บ้านอยู่หลังวัดปรก คิดจะทดลองความแม่นยำในการใบ้หวยของหลวงปู่ เพราะตนเพียงได้ยินเสียงเล่าลือจึงยังไม่เชื่อถือ ตาแหวงจึงขึ้นไปกราบหลวงปู่ที่กุฏิแล้วแจ้งความประสงค์แบบซื่อๆ ด้วยใจนักเลงว่า “หลวงปู่ครับ เขาลือกันว่าหลวงปู่ให้หวยแม่น ถ้าเป็นจริงดังคำเล่าลือ ขอได้โปรดเมตตาสงเคราะห์กระผมบ้าง กระผมอยากได้เลขจากหลวงปู่ เพียงตัวเดียวเท่านั้นแหละครับ” หลวงปู่ได้ฟังแล้วก็ยิ้มอย่างมีเมตตา นิ่งคิดอยู่ครู่หนึ่งจึงตอบไปว่า “แหวงเอ๊ย . . แกเป็นคนไม่มีโชคด้านนี้ ข้าให้ไปแกก็เอาไม่ได้ อย่าเล่นเลยดีกว่าเชื่อข้าเถอะ” ตาแหวงได้ยินก็สงสัยเพราะเท่าที่รู้มาใครขอท่านมักจะไม่ขัด จึงอ้อนวอนขอท่านอีกครั้งว่า “หลวงปู่ให้มาเถิดครับ ถึงรู้ว่าผมไม่มีโชค ถ้าให้แล้วไม่มีโชคจริงละก็ จะเลิกการพนันตลอดชีวิตเลยครับ” หลวงปู่ท่านจึงถามย้ำอีกครั้งว่า “จะเลิกเล่นตลอดชีวิตจริงอย่างที่ว่าหรือไม่” ตาแหวงก็ยืนยันแข็งแรง หลวงปู่ถึงถามว่า “เลขตัวเดียวได้กี่บาท” ตาแหวงก็แจกแจงบอกกติกาการเล่นให้ท่านทราบโดยละเอียด ท่านจึงบอกว่า “เลขตัวเดียวรวยช้า เอาไป ๓ ตัวตรงๆ ไม่มีการสลับตำแหน่ง เงินมีเท่าไหร่ซื้อให้หมด” พูดจบท่านก็เขียนตัวเลข ๓ ตัวใส่ระดาษส่งให้ตาแหวงไปตาแหวงเอง เมื่อได้เลขจากหลวงปู่แล้วก็นั่งฝันความเป็นเศรษฐีของตนในวันพรุ่งนี้ พอถึงวันหวยออก ก็เดินหาซื้อเลขดังกล่าว แต่วันนั้นเกิดเต็มไม่สามารถซื้อได้ทั้งที่ตนเป็นเจ้ามือวิ่งโพยเอง จึงรีบไปซื้อที่อื่นเขาก็ว่าตำรวจกวนวันนี้งดขาย ตามอยู่หลายเจ้าก็ไม่มาสารถซื้อเลขที่หลวงปู่ให้มาได้เลย จนกระทั่งถึงเวลาหวยออกตาแหวงก็ยังคงวิ่งหาซื้อเลขนี้อยู่ พอฉีกซองออกมาดู ทั้งข้อความที่ปรากฏอยู่ เป็นไปดังที่หลวงปู่กล่าวทุกประการ หลังจากนั้นได้นิมนต์ให้กลับวัดหมดโทษหมดมลทินใดๆ เพราะท่านไม่ได้หลอกลวงใครดังกล่าวหา และต่อมาภายหลังท่านเจ้าคุณวัดอนงค์ได้มาเยี่ยมเยียนหลวงปู่ชูที่วัดเสมอ จนถูกอัธยาศัยไมตรีกันตราบจนสิ้นชีวิต

    เรื่องหลวงปู่ชูให้หวยแม่นและเรื่องที่ท่านโดนท่านเจ้าคุณอนงค์เรียกไปสอบ กลายเป็นข่าวเลื่องลือไปทั่ว ถึงตอนประกาศรางวัลที่ ๑ เลข ๓ ตัวท้ายออกมาตรงกับที่หลวงปู่ให้ไม่ผิดเพี้ยนตาแหวงถึงกับเข่าอ่อนทรุดลงไปนั่งกองกับท้องร่องสวนหมากหลังวัด นึกถึงคำพูดของหลวงปู่ขึ้นมาได้ ก็วิ่งแจ้นไปยังกุฏิหลวงปู่ บอกท่านว่า “หลวงปู่ครับ ผมไม่มีโชคเหมือนที่หลวงปู่ว่า ต่อไปนี้ผมเลิกเล่นการพนันทุกชนิด หากผิดสัจจะก็ขอให้พบกับความวิบัติ และฝากตัวรับใช้หลวงปู่ตลอดไป” หลวงปู่ได้พูดปลอบใจตาแหวงว่า “วาสนาของเรามันเป็นอย่างนั้น อย่าเสียใจไปเลย เราไม่ได้สร้างกุศลเรื่องทางนี้มา จะเปรียบกับคนอื่นเขาไม่ได้ดอก พอใจในสิ่งที่ตนมี ยินดีในสิ่งที่ตนเป็น ก็มีความสุขแล้วมิใช่หรือตาแหวง” จากนั้นมา ตาแหวงก็เป็นโยมรับใช้หลวงปู่จนชั่วชีวิตตามที่ได้ให้สัจจะไว้ทุกประการ

    ◉ มรณภาพ
    หลวงปู่ชู วัดนาคปรก มรณภาพ เมื่อวันพุธ แรม ๕ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ พ.ศ.๒๔๗๗ รวมสิริอายุได้ ๗๖ ปี

    ◉ วัตถุมงคล
    หลวงปู่ชู วัดนาคปรก ชาวบ้านในละแวกวัดรวมไปถึงจังหวัดใกล้เคียงต่างพากันกล่าวถึงเกียรติคุณของท่านมาจนกระทั่งทุกวันนี้ สิ่งที่ยังคงเหลือเป็นที่รู้จักกันอย่างดีคือ วัตถุมงคลต่างๆ ที่ท่านได้สร้างไว้ อาทิ เหรียญรูปเหมือนและเหรียญหล่อเนื้อสำริด

    พระหลวงพ่อโต วัดนาคปรก พระอธิการชู คงชูนาม (หลวงปู่ชู) ท่านได้สร้างเมื่อคราวทำพิธีหล่อองค์พระหลวงพ่อโตทั้งสององค์สองครั้ง โดยสร้างหลวงพ่อโตองค์เล็กครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๖๕ เหรียญหลวงปู่ชู วัดนาคปรก รุ่นแรก จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๑ ที่ระลึกในงานทำบุญอายุครบ ๗๐ ปี จัดสร้างจำนวนเพียง ๗๐ เหรียญเท่านั้น และมีการจัดสร้างเฉพาะเนื้อเงินกะไหล่ทองเท่านั้น

    ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปทรงเสมา มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงปู่ชูนั่งสมาธิราบในรูปวงรี ด้านบนมีอักขระยันต์ โดยรอบมีข้อความจารึก “ที่ระฦกในการ ทำบุญอายุครบ ๗๐ ปี” ด้านหลังเหรียญเป็นรอยปั๊มบุ๋มแบบหลังแบบ ไม่มีอักษรใด บางเหรียญมีรอยจาร ปัจจุบันเป็นอีกเหรียญที่พบเห็นได้ยาก

    และสร้างหลวงพ่อโตองค์ใหญ่เป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ.๒๔๗๒ เพื่อประดิษฐาน ณ วิหารหลวงพ่อโต วัดนาคปรก เพื่อให้ประชนผู้เลื่อมใสศรัทธาได้กราบไหว้ในองค์หลวงพ่อโต “พระกรุหลวงพ่อโต วัดนาคปรก” เนื้อทองเหลืองแตกกรุสองครั้งคือ ครั้งแรกแตกเมื่อมีโขมยใจบาปมาแอบตัดเศียรองค์หลวงพ่อโต แต่ก็เกิดสิ่งอัศจรรย์ในคราวนั้นเมื่อขโมยไม่สามารถนำเศียรองค์ของหลวงพ่อโตไปได้ เดินหลงทางหาทางออกจากวัดไม่ได้จนเกือบใกล้รุ่ง หัวโขมยใจบาปจึงได้นำเศียรขององค์หลวงพ่อโตไปแอบซุกไว้ที่พงหญ้าริมกำแพงโบสถ์

    ต่อมาเมื่อถึงปี พ.ศ.๒๕๑๖ ทางวัดต้องการบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด และขยายถนนที่เล็กคับแคบให้กว้างขึ้น เพื่อสะดวกแก่ญาติโยมที่ต้องอาศัยทางของวัดเพื่อสัญจรเดินทาง จึงจำเป็นต้องทำการรื้อถอนเรือสำเภอปูนโบราณ ซึ่งได้สร้างขึ้นในสมัยของท่าน (หลวงปู่ชู คงชูนาม) และยังได้รื้อถอนสถูปเจดีย์เก่าที่อยู่ข้างเรือสำเภอปูนออกด้วย ในการรื้อถอนครั้งนั้นทางวัดได้พบ
    ๑.พระพิมพ์หลวงพ่อโตเนื้อทองเหลืองจำนวนหนึ่ง
    ๒.พระพิมพ์หลวงพ่อโตเนื้อดินเผาหลายสิบไห
    ๓.พระพิมพ์กลีบบัวมีทั้งเนื้อดินเผา-เนื้อว่าน-เนื้อชานหมาก-เนื้อชินตะกั่ว จำนวนไม่มากนัก
    ๔.พระพิมพ์แหวกม่านเนื้อดินเผาและเนื้อดินดิบผสมว่านจำนวนไม่มาก
    ๕.พระพิมพระสังกัลจายเนื้อดินเผาจำนวนไม่มาก
    ๖.พระหลวงพ่อโตเนื้อชินตะกั่วพิมพ์สามเหลี่ยม(นางพญา) จำนวนไม่ถึงยี่สิบองค์ อีกทั้งยังพบพระฝากกรุไว้ในสถูปเจดีย์เก่าที่อยู่ข้างเรือสำเภอปูนอีกจำนวนหนึ่ง พระที่ทางวัดพบในเรือสำเภาปูนโบราณนั้น พระทั้งหมดถูกบรรจุไว้ในไหโบราณ จึงทำให้พระกรุหลวงพ่อโต วัดนาคปรกที่พบในครั้งนั้นอยู่ในสภาพค่อนข้างดี ทางวัดนาคปรกซึ่งกำลังบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดอยู่ในขณะนั้น จึงได้เปิดให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาในองค์หลวงพ่อโตและท่าน หลวงปู่ชู วัดนาคปรก ได้มาบูชา

    ที่มา: https://www.108prageji.com/หลวงปู่ชู-วัดนาคปรก/
     
  6. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    4A43D767-831A-406B-83D7-3DD3E2764DAB.jpeg

    4C5A02BE-9C04-49BA-8B07-93C5B22F5185.jpeg

    9916C5AC-7222-4C99-94F4-3E2D193014FD.jpeg

    5CDE2F32-A559-4DD8-A930-C590A08BD2D8.jpeg

    วัดนาคปรกกับพระนาคปรก

    เวลาที่วัดสักแห่งถูกสร้างขึ้นก็ต้องมีการตั้งชื่อถูกไหมครับ ซึ่งถ้าเป็นวัดหลวงก็มักจะมีการตั้งชื่อเพราะๆยาวๆ แต่ถ้าเป็นวัดราษฎร์ล่ะ ชื่อส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นชื่อสั้นๆ แต่ไม่ว่าจะเป็นวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ ที่มาชื่อของวัดมักจะมีที่มาจากสิ่งที่อยู่ในวัดนี่แหละ จะต้นไม้ ภูมิประเทศ หรือพระประธานก็ล้วนแล้วแต่ถูกหยิบมาใช้แล้วทั้งสิ้น
    .
    อย่างเช่น "วัดนาคปรก" ซึ่งแม้ว่าแต่เดิมวัดนี้จะมีชื่อว่า "วัดปก" แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก) มาปฏิสังขรณ์ ได้มีการเพิ่มประติมากรรม "นาคปรก" ให้กับพระประธานเดิมของวัด ทำให้พระประธานเดิมที่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยกลายเป็นพระพุทธรูปนาคปรก ทำให้ชื่อของวัดถูกเปลี่ยนเป็น "วัดนาคปรก" มาจนถึงปัจจุบัน
    .
    อนึ่ง การสร้างประติมากรรม "นาคปรก" เสริมให้กับพระประธานที่มีมาแต่เดิมนั้นถือเป็นแนวความคิดใหม่ที่เพิ่มเติมขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 3 และพบที่วัดอื่นด้วยเช่นกัน เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดเศวตฉัตร เป็นต้น ทำให้แทนที่พระนาคปรกที่ควรจะแสดงปางสมาธิกลายเป็นแสดงปางมารวิชัยแทน

    ที่มาบทความ: เพจjourney of the footprint
     
  7. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    597E61EF-A75C-4B44-A672-DB863F413163.jpeg

    73B7A537-4F71-43CA-888C-98486D05922B.jpeg

    53D57E5D-D610-476B-BFCD-CBA8EB9FE566.jpeg

    7858A820-CC5A-4D46-B637-E45B38425AD2.jpeg


    หลวงพ่อเจ้าสัวพระประธานในอุโบสถ วัดนาคปรก
    พระนามของพระประธานคงได้มาจากเจ้าสัวพุกผู้สร้างวัดนี้ องค์พระประธานมีความงดงามมาก ฐานองค์พระทำเป็นรูปมังกรดูแปลกตา น่าเกรงขาม เรียกว่าวัดนี้มีทั้งพญานาคและมังกร
    จิตรกรรมฝาผนังเป็นลวดลายจีน ภายในอุโบสถโปร่งลมพัดเย็นสบายมาก

    วัดนาคปรก ภาษีเจริญ

    สำหรับประวัติความเป็นมาของวัดนาคปรกนั้น เป็นวัดที่ตั้งอยู่ ณ ถนนเทอดไทย ตำบลปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เป็นวัดราษฎร์ สร้างขึ้นในช่วงรัตนกสินทร์ตอนต้น ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 มีเนื้อที่วัดประมาณ 12 ไร่เศษ ผู้สร้างคือ เจ้าสัวพุก ชาวจีนพ่อค้าสำเภา ซึ่งตามพระยาโชฎึกราชเศษฐี เข้ามาทำมาค้าขายโดยจอดท่าเรือสำเภาไว้ที่คลองสานใกล้ๆ สุเหร่าแขก และต่อมาได้ภรรยาเป็นคนไทยเจ้าสัวพุกเป็นผู้มีความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา มีศรัทธาแรงกล้าในการจะสร้างวัดขึ้น ณ ที่ใกล้วัดนางชีอันเป็นพระอารามหลวง ซึ่งพระยาโชฎึกราชเศรษฐีเป็นผู้ถวายการบูรณะปฏิสังขรณ์ตามพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 สำหรับนามของวัดนี้ มาจากพระนามของพระพุทธรูปหนึ่งในจำนวน 2 องค์ ซึ่งเป็นพระประธานประจำพระวิหาร พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก อันปรากฏในพระพุทธประวัติว่า เมื่อครั้งเสด็จนั่งเสวยวิมุติสุขยังร่มไม้จิก

    ได้บังเกิดฝนตกพรำอยู่ตลอด 7 วันในครั้งนั้นพญามุจลินท์นาคราชออกจากนาคภพมาทำขนดล้อมพระวรกาย 7 ชั้น แล้วแผ่พังพานปกคลุมเบื้องบนเพื่อป้องกันลมและพายุฝนไม่ให้ซัดสาดมาต้องพระวรกายพระพุทธรูปปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระประจำวันของผู้ที่เกิดวันเสาร์ เข้าใจว่าภรรยา ของเจ้าสัวพุกคงจะเกิดในวันนี้ นอกจากนั้นภาพจิตรกรรมภายในวิหารยังเป็นลายไทย ส่วนภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนสีเป็นลายจีน และท่านผู้สร้างก็เป็นผู้ที่มีปฏิสัมภิทาและบุคลาธิษฐาน ซึ่งหยิบยกสิ่งที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาเป็นหลักในการอธิบายสังเกตได้จากการที่สร้างพระวิหารไว้ทางทิศเหนือ และพระอุโบสถไว้ทางทิศใต้ องค์พระหันไปทางทิศตะวันออก เปรียบเสมือนผู้หญิงอยู่ทางซ้าย ผู้ชายอยู่ทางขวาวัดนาคปรก

    วัดนาคปรก มีเจ้าอาวาสครองวัดมาแล้วหลายรูป แต่ไม่มีการจดบันทึกไว้ เริ่มมาบันทึกเป็นทางการถึงปัจจุบัน รวม 5 รูปคือ
    1.พระอธิการ คงชูนาม พ.ศ. ๒๔๕๔-๒๔๗๗
    2.พระอธิการเลี่ยม นนฺทิโย พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๕๐๕
    3.พระอาจารย์อำนาจ นราสโภ พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๑๒
    4.พระครูศรีพัฒนคุณ (พิศิษฐ สิมมามี) พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๔๒
    5.พระครูวรกิตติโสภณ (เศรษฐกิจ สมาหิโต) พ.ศ. ๒๕๔๓-ปัจจุบัน


    ที่มา: https://monkhistory.kachon.com/353479
     
  8. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    2838056B-4B5A-47D5-B589-C907924F084B.jpeg

    1F3E19E1-04CA-4A15-9BD9-99CE104DDE88.jpeg

    33B7E3A3-7133-40AF-A834-1D8CE354D53E.jpeg

    1A86D71C-DADB-44D2-80E1-89508089C5CB.jpeg

    56824A97-4164-471A-81C4-DC4D8173143A.jpeg

    A70456FC-9CED-4E4D-B039-B57881F0C3D4.jpeg

    ลอดโบสถ์วัดนาคปรก มีความเชื่อกันว่าหากได้ลอดโบสถ์จะสามารถถอดถอนคุณไสยแบะสิ่งอัปมงคลออกไปได้
    ภายใต้โบสถ์มีรูปหล่อพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ รอยพระพุทธบาท และบ่อน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ด้านล่างนี้มีผู้นิยมมาเดินเวียนขวาสามรอบกันด้วย
     
  9. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    B96DF6B4-1FC1-44E8-906B-FAFCC066F945.jpeg

    61D7AF99-76D0-4321-B9EF-51313D8D6138.jpeg

    63E14C26-B10E-4CF5-8D65-50F066967007.jpeg

    F39C4FCB-A198-4EFA-B1B6-7931B941533B.jpeg

    62DDF278-6AE6-47A5-AC43-F69F55BE8EF3.jpeg

    สวดถอนสิ่งอัปมงคลและกราบขอพรหลวงพ่อใหญ่หลวงพ่อโต
    พระสองพี่น้องวัดนาคปรกที่สร้างในสมัยหลวงปู่ชู
     
  10. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    ED51BEE9-0148-4561-98EF-B9C7F7DD813C.jpeg

    25B7361E-3BBE-4ED0-894E-8EE52C90D56F.jpeg

    8092E40F-989B-4973-8D79-770E3E9AC268.jpeg

    20E15615-03F1-4D5D-A5EA-388F09D6B9D4.jpeg

    7C873821-9232-4D6E-8411-FC78A37E7B18.jpeg

    วัดนางชี ภาษีเจริญ
    วัดนางชีจะอยู่ติดกับวัดนาคปรกสามารถเดินถึงกันได้ วัดนี้อาจะเงียบๆสักหน่อยถ้าเทียบกับวัดนาคปรก

    *******

    วัดนางชี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 14 ไร่ ทางวัดยังมีงานบุญประเพณี เรียกว่า งานชักพระวัดนางชี หรือ งานแห่พระบรมสารีริกธาตุทางน้ำ หนึ่งเดียวในกรุงเทพมหานคร (จัดงานหลังวันลอยกระทง 2 วัน)

    สันนิษฐานว่าสร้างวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ตามตำนานเล่าว่า เจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรี พระยาฤๅชัยณรงค์ และออกหลวงเสนาสุนทร ได้ร่วมกันสร้างขึ้น สาเหตุของการสร้างเนื่องจาก แม่อิ่มซึ่งเป็นลูกสาวของเจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรีป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ เจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรีฝันเห็นชีปะขาวบอกว่า ให้บนหากลูกสาวบวชชีจะหาย จนเมื่อแม่อิ่มหายป่วย จึงได้แก้บนโดยให้ลูกสาวบวชชี พร้อมกับสร้างวัดนี้ วัดนี้ก็ได้กลายเป็นวัดร้างในแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

    จนเมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียน) พ่อค้าชาวจีนที่มาทำการค้าขายและอาศัยอยู่ในแผ่นดินสยาม มีความศรัทธาต้องการบูรณปฏิสังขรณ์วัดนางชี รูปแบบศิลปกรรมของวัดจึงมีลักษณะจีน เมื่อสร้างเสร็จได้ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระราชทานพระนามว่า วัดนางชีโชติการาม

    ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 พระยาราชานุชิต (จ๋อง) ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอีกครั้ง โดยรื้อของเก่าแล้วสร้างใหม่ โดยเฉพาะหลังคาพระอุโบสถ พระวิหาร ไม่มีช่อฟ้าใบระกา และหางหงส์ ซึ่งเป็นศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3

    พ.ศ. 2556 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ร่วมกับทางวัดจัดทำโครงการบูรณปฏิสังขรณ์พระอาราม
    พ.ศ. 2558 เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระวิหาร พระปรางค์ และซุ้มพระป่าเลไลย์ ตลอดเขตพุทธาวาสฯลฯ

    พระราชปัญญาภรณ์ (หลวงพ่อสิงห์คำ) ป.ธ.๙ รองเจ้าคณะภาค ๖ เจ้าอาวาสวัดนางชี เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    ที่มา: เพจวัดนางชี
     
  11. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    CF0BF1D9-2680-4478-A62B-0592E061F53B.jpeg

    473C347B-7A8D-404B-ABA3-845E6FAE11AF.jpeg

    วัดนางชีกับเซรามิกสั่งทำพิเศษ

    วัดนางชีถือเป็นอีกหนึ่งวัดโบราณเก่าแก่ประจำย่านที่นอกจากจะมีประเพณีพิเศษที่หาชมได้ยากเพราะจัดแค่ปีละครั้งอย่าง "ประเพณีชักพระ" แล้ว ภายในวัดยังมีศิลปกรรมที่น่าสนใจหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพระประธานที่มีทั้งนั่งทั้งนอนอยู่รวมกัน ทั้งบานประตูมุกญี่ปุ่น แต่ที่จะมาชวนไปดูวันนี้คืองานเซรามิกครับ

    เนื่องจากความนิยมในงานแบบพระราชนิยม รัชกาลที่ 3 ทำให้การตกแต่งหน้าบันด้วยเซรามิกจากจีนแทนที่งานแกะสลักไม้ได้รับความนิยมมากขึ้นมาก และวัดนางชีเองก็เช่นกัน แถมใช้ทั้งบนหน้าบันหรือบนพระปรางค์เลยทีเดียว

    แต่ชิ้นที่พิเศษจริงๆก็คือเซรามิกบนหน้าบันพระอุโบสถและพระวิหาร ซึ่งเป็นงานที่สั่งนำเข้ามาจากประเทศจีนแบบสำเร็จรูปพร้อมใช้ แถมยังทำเป็นลวดลายสวยงาม แต่เพราะสั่งจากเมืองจีน ลวดลายก็เลยงานสไตล์จีนๆ เช่น ลวดลายมงคลจีน ซึ่งพอจะหาชมได้ในวัดแห่งอื่นๆ

    ทว่า
    ชิ้นที่พิเศษจริงๆนั้นอยู่บนหน้าบันพระวิหารครับ เพราะเป็นรูปเรือสำเภาซึ่งเล่ากันว่าเป็นของที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (จ๋อง) ผู้ปฏิสังขรณ์วัดในช่วงเวลานั้น ซึ่งอีกหนึ่งความพิเศษก็คือ ปัจจุบัน เซรามิกรูปเรือสำเภาแบบนี้ มีแค่ที่นี่ที่เดียวครับ

    ที่มาภาพและบทความจากเพจ journey of the Footprint
     
  12. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    B4E4AB40-26C4-4183-8FA5-58E58F27BED7.jpeg

    A572B5A9-3618-429E-9F83-B1932C417A46.jpeg

    วิหารพระปาลิไลยก์ วัดนางชี

    พระปางปาลิไลยก์ เป็นพระประจำวันพุธกลางคืน(พระราหู)
    พระปางนาคปรก เป็นพระประจำวันเสาร์

    ตามตำรากล่าวว่าเสาร์กับราหูเป็นคู่มิตรกัน คนเกิดวันเสาร์กับวันพุธกลางคืนสามารถมากราบขอพรได้จากทั้งสองวัด
     
  13. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    45116F00-C161-4C1D-B213-2F1E42F553B9.jpeg

    พระอุปคุต วัดนางชี

    ที่วัดนี้มีรูปปั้นพระอุปคุตขนาดใหญ่ทาสีขาวสะอาดตา
    ใครสายพระอุปคุตมากราบขอพรท่านกันได้
     
  14. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    0214BE65-199D-4205-851B-6304A06A461F.jpeg

    187443B1-473C-4C78-AD94-04E15BEAA91B.jpeg

    713C1F6C-D427-4B59-9E46-70B78DF5DDC4.jpeg

    ท้าวเวสสุวรรณ วัดนางชี
     
  15. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    180A224D-BB14-46C0-BAA9-D00604128F46.jpeg

    A34CF474-AC61-4C26-90FD-28B3589301EF.jpeg

    F7265B25-5526-4B2A-AAF5-3BE0C65E480F.jpeg

    วัดปราสาท อ.เมือง จ.นนทบุรี

    วัดปราสาท โบราณสถานแห่งชาติ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๘ ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลบางกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นวัดสังกัดมหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นปีที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ แก่พม่า สันนิษฐานว่าสร้างโดยเจ้าพระยากลาโหม (องค์ไล) ผู้ซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์ในพระนาม "พระเจ้าปราสาททอง" ต้นราชวงศ์ปราสาททอง เป็นพระราชบิดาของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

    วัดปราสาทสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง เสด็จมาตั้งพลับพลาเพื่อขุดคลองลัดจากวัดท้ายเมืองถึงปากคลองบางกรวยหน้าวัดเขมาภิตาราม และเป็นสถานที่ระดมพล (ค่ายทหาร) เพื่อเตรียมทัพไปรบกับพม่าที่กรุงศรีอยุธยา อุโบสถ เป็นศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายมีสภาพสมบูรณ์แบบมหาอุด คือผนังด้านข้างทั้งสองด้านไม่มีหน้าต่างด้านหน้ามีประตูทรงปราสาทประดับลวดลายปูนปั้น ด้านหลังไม่มีประตูมีเพียงช่องแสงเล็กๆตรงผนังด้านหลังพระประธาน ๑ ช่อง เพื่อให้แสงสว่างกระจายไปรอบองค์พระประธานเสมือนรัศมีอันเจิดจ้า ทำให้ดูมหัศจรรย์อย่างวิเศษสุด หลังคาด้านหน้าเชิดขึ้นเล็กน้อย ฐานเป็นเส้นโค้งแบบเดียวกับหลังคา หน้าบันจำหลักสวยงาม ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติ เขียนด้วยสีฝุ่นงดงาม

    ที่มา: https://www.tnews.co.th/variety/384615

     
  16. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    9165EC6D-1F1F-4F13-8949-18346149C948.jpeg

    3634886F-9232-473C-AFA0-13245F398F8B.jpeg

    C7C5AE24-8B99-4D6D-81F1-2241F8B1FF4E.jpeg

    0DFB9637-A767-4531-AF81-9A83FA7E377C.jpeg

    พระพุทธปราสาททอง
    (หลวงพ่อใหญ่) วัดปราสาท นนทบุรี


    เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง หรือแท้จริงต้องเรียกว่าสมัยอโยธยาตามที่ อ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ท่านเรียก ขนาดหน้าตัก ๑.๗๗ เมตร มีความงดงามมาก ประกอบกับตัวอุโบสถสมัยอยุธยา ที่เก่าแก่มากเช่นกัน พร้อมทั้งเรื่องราวเล่าขานตำนานวัด ทำให้บรรยากาศดูเข้มขลังยิ่งนัก

     
  17. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    ABDBA22D-DC54-4EAF-8F65-BE92F840D054.jpeg

    B1D6226E-DE0C-4BAC-AF28-7E7E92100738.jpeg

    F470FB7D-9AB3-47D7-B170-37CDEA2DFA0D.jpeg

    จิตรกรรมฝาผนังวัดปราสาท นนทบุรี

    เป็นเรื่องราวทศชาติ เขียนด้วยสีฝุ่น ปัจจุบันลบเลือนไปมากแต่ก็ช่วยขับบรรยากาศให้ดูเข้มขลังยิ่งนัก

    ปัจจุบันกำลังบูรณะซ่อมแซมอยู่
    (๒ กันยายน ๒๕๖๗)

     
  18. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    28EF8CD5-F17C-4E1E-B6B0-71CCAFB34D2D.jpeg

    DEC6D37B-55EF-4296-BE2B-A4DF7D878AC7.jpeg

    6AE2EAD0-3778-4AB7-A325-D326480D7431.jpeg

    81A9ADE3-42C7-49C9-B09E-B6B6D2FFFFF9.jpeg

    1A1D4B4F-55CA-43D4-BE25-A3A89B56E603.jpeg

    D1E7199F-F592-47C2-A531-72AF86E0DBA7.jpeg

    หลุมขุดสำรวจวัดปราสาท นนทบุรี พบฐานเดิมซุ้มประตูอุโบสถอยู่ลึกเมตรกว่า

    เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 เพจ วัดปราสาท จังหวัดนนทบุรี ได้เผยแพร่ภาพการขุดสำรวจรากฐานเดิมของซุ้มประตูอุโบสถและสำรวจฐานเดิมของตัวอุโบสถวัดปราสาท นนทบุรี โดยเจ้าหน้าที่กองโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร

    การขุดสำรวจได้พบรากฐานเดิมสมัยอยุธยาอยู่ลึกลงไปเมตรกว่า จากระดับฐานอุโบสถวัดปราสาทในปัจจุบัน

    ตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นของระดับรากฐานซุ้มประตูอุโบสถเดิมสมัยอยุธยาที่อยู่ลึกมากนั้น อาจมาจากพื้นที่ของวัดปราสาทมีการเปลี่ยนแปลงตลอดของพื้นที่ที่อยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำลำคลอง น้ำท่วมอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ฐานซุ้มประตูและฐานอุโบสถวัดปราสาทต้องมีการขยับสูงขึ้นจากการบูรณะในสมัยหลัง

    การขุดสำรวจรากฐานเดิมของซุ้มประตูอุโบสถวัดปราสาท ที่กำลังดำเนินการนี้เพื่อจะนำมาประกอบกับการบูรณะอุโบสถให้มีความแข็งแรงต่อไปในอนาคต

    ส่วนประวัติวัดปราสาท สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า วัดปราสาท ตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย

    ด้านหน้าและด้านหลังพระอุโบสถมีมุขยื่นออกมา ส่วนฐานมุขที่ยื่นออกมานี้จะย่อมุม 3 มุม ทำให้ฐานอาคารโดยรวมอยู่ในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าย่อมุมไม้สิบสอง ฐานของอุโบสถเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่อ่อนโค้งแบบท้องเรือสำเภา รับกับหลังคาเครื่องไม้ที่อ่อนโค้งเช่นเดียวกัน ทำให้พระอุโบสถหลังนี้มีด้านหน้าและด้านท้ายเชิดขึ้น ดูมีความอ่อนช้อยงดงาม

    หน้าบันด้านทิศตะวันออกประดับเครื่องไม้จำหลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ส่วนหน้าบันด้านทิศตะวันตกจำหลักไม้เป็นลายกระหนกก้านขด ผนังพระอุโบสถด้านข้างทึบไม่มีช่องหน้าต่างและมีประตูทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว

    ภายในอุโบสถ บนผนังเขียนภาพจิตรกรรมด้วยสีฝุ่นผสมกาว เป็นงานเขียนสมัยอยุธยาตอนกลาง-ปลาย ถือเป็นภาพจิตรกรรมที่มีอายุเก่ามากที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ภายในประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทององค์ใหญ่ที่มีลักษณะของศิลปะอู่ทอง

    วัดปราสาทมีสถานะเป็นโบราณสถานที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากร ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 79 ตอนที่ 100 หน้า 2387 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2505 โดยกำหนดพื้นที่ประกาศขึ้นทะเบียนขนาด 2 งาน 30 ตารางวา

    ที่มา: https://www.silpa-mag.com/news/article_107514

    https://youtu.be/Xjm6vsQhf2s?si=g5ipzpOyXjPrdCeT
     
  19. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    2FDB638E-341A-45C7-A4B4-5E5ECE4FFFC8.jpeg
     
  20. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    22BF5D9A-BFB4-4036-8821-6DCBF26F0F10.jpeg

    หลวงปู่ศิลา
     

แชร์หน้านี้

Loading...